SlideShare a Scribd company logo
_12-14(001-054)P3.indd 1   8/23/12 8:45:08 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต



                  ความหมายของการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ
                        การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ คือ การใช้แรงกระทำจากภายนอก
                  ในการช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในองศาการเคลื่อนไหวปกติ
                  แรงกระทำจากภายนอกอาจเกิดจากแรงคน แรงโน้มถ่วงของโลก หรือแรงจากเครื่องมือ
                  นอกจากนั้น การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อควรมีการผสมผสานการยืด
                  กล้ามเนื้อเข้าไปด้วยเพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด

                  ข้อบ่งชี้ในการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ 
                            การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อมักทำในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ

                  การเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ 

                  ผู้ ป่ ว ยที่ มี อ าการปวดขณะมี ก ารหดตั ว ของกล้ า มเนื้ อ ในช่ ว งหลั ง การผ่ า ตั ด เพื่ อ เตรี ย ม

                  ความพร้อมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป และผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไม่รู้สึกตัว ฯลฯ

                  หลักการของการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ
                        1.			ผู้ดูแลอธิบายความสำคัญของการทำการเคลื่อนไหวข้อต่อให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็น

                  การช่วยทำการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนที่อ่อนแรงอย่างถูกวิธี ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหดรั้ง 

                  ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และลดภาวะข้อต่อติดแข็งได้ และยังช่วยในการส่งเสริมต่อ

                  การทำกายภาพบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                        2.			การช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อควรทำช้า ๆ ด้วยความนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไป
                  อย่าผลัก ดัน โถม ขย่ม หรือกระตุกข้อต่อในขณะทำการเคลื่อนไหว เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ
                  การฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นหุ้มข้อต่อได้
                        3.			ต้องไม่ทำการเคลื่อนไหวเพื่อยืดข้อต่ออย่างรุนแรง ควรยืดทีละเล็กทีละน้อยเท่าที่มี
                  อาการตึงและผู้ป่วยทนได้ ขณะทำผู้ป่วยต้องไม่มีอาการเจ็บปวดทรมาน หรือแม้กระทั่งหลัง
                  ทำการเคลื่อนไหวข้อต่อก็ไม่ควรมีอาการเจ็บปวดค้างอยู่ ถ้ายังพบว่ามีอาการระบมบริเวณ

                  ข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหวควรปรึกษานักกายภาพบำบัด 




_12-14(001-054)P3.indd 2                                                                                                    8/23/12 8:45:08 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต     


                              4.			จำนวนครั้งในการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ โดยทั่วไปทำ

                      ท่าละประมาณ 10-20 ครั้ง ขณะทำการเคลื่อนไหว ถ้าพบว่า มีอาการตึงหรือกล้ามเนื้อ

                      เกร็งต้านที่องศาการเคลื่อนไหวใด สามารถยืดกล้ามเนื้อค้าง ณ องศานั้น ๆ ไว้ประมาณ 

                      10-30 วินาที ควรออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อวันละ 1-2 รอบ ทำเป็น
                      ประจำต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะช่วยทำให้การช่วยทำการเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพและประโยชน์
                      แก่ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น และได้ผลดีในที่สุด 

                      ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ
                            1.			ป้องกันการยึดติดของข้อต่อ
                            2.			ช่ ว ยลดภาวะการหดรั้ ง ของกล้ า มเนื้ อ เยื่ อ หุ้ ม ข้ อ ต่ อ เอ็ น ยึ ด กระดู ก และเอ็ น

                      กล้ามเนื้อ
                            3. 	ช่วยคงสภาพความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
                            4. 	ช่วยส่งเสริมและคงสภาพของการไหลเวียนโลหิตบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว
                            5. 	ช่วยส่งเสริมการรับความรู้สึกบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว
                            6. 	ช่วยส่งเสริมการนำสารอาหารไปสู่กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว
                            7. 	ช่วยลดอาการปวดได้ในบางกรณี

                      ข้อควรระวังในการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ	
                            1. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในส่วนที่มีกระดูก
                      หัก และ/หรืออยู่ในช่วงระยะแรกของการเชื่อมต่อกระดูกที่หัก
                            2. ขณะออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อแล้วพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น 

                      มีอาการปวดมากขึ้น มีอาการบวมมากขึ้น ควรหยุดทำทันทีและควรปรึกษานักกายภาพบำบัด
                      โดยเร็วที่สุด
                             3. ควรป้ อ งกั น การบาดเจ็ บ หรื อ อาการปวดที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น ของตั ว ผู้ ช่ ว ยทำการ
                      เคลื่อนไหวเอง ดังนั้น ผู้ช่วยเหลือควรอยู่ในท่ายืนที่ถนัด หลังตรงเสมอ ไม่ควรเอี้ยวตัว

                      ขณะช่วยทำการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย ถ้าต้องขยับตัวควรใช้ขาเป็นตัวขยับเสมอ หรือถ้า
                      ทำการเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อแขน ผู้ช่วยเหลือสามารถนั่งเพื่อช่วยทำการเคลื่อนไหวได้ 




_12-14(001-054)P3.indd 3                                                                                                       8/23/12 8:45:08 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต



                        4. ในผู้ ป่ ว ยที่ มี ค วามผิ ด ปกติ ข องการรั บ ความรู้ สึ ก ของข้ อ ต่ อ หรื อ แขนขาส่ ว นที่ จ ะ
                  ทำการเคลื่อนไหว เช่น การรับความรู้สึกลดลง หรือสูญเสียการรับความรู้สึก ต้องเคลื่อนไหว
                  ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงองศาการเคลื่อนไหวสุดท้าย

                  การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อโดยผู้ดูแล
                           1.		ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
                           					ท่าเริ่มต้น
                        					ผู้ ป่ ว ยนอนบนเตี ย งอยู่ ใ นท่ า นอนหงายชั น เข่ า ทั้ ง 2 ข้ า งขึ้ น ผู้ ดู แ ลจั บ เข่ า ทั้ ง

                  2 ข้าง (รูปที่ 1 ก)
                           
                           
                           
                           
                                                                                                   
                                                                    รูปที่ 1 ก

                                                                          
                           					การทำการเคลื่อนไหว
                           					ผู้ดูแลดันเข่าที่อยู่ชิดกันทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยขึ้นไปตรง ๆ ในทิศทางเข้าหาลำตัวจน
                  รู้สึกตึง (รูปที่ 1 ข) แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น 
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                        
                                                                                                   
                                                                    รูปที่ 1 ข
                                                                          
                                                                          
                                                                          
_12-14(001-054)P3.indd 4                                                                                                            8/23/12 8:45:10 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต             


                             					ข้อควรระวัง
                             					ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่า ผู้ดูแลอาจต้องอยู่ในตำแหน่งด้านข้าง แขนสอด

                      ใต้เข่าเพื่อลดการกดเบียดของข้อเข่า จึงสามารถทำการเคลื่อนไหวได้ (รูปที่ 1 ค)
                             
                             
                             
                             
                             
                                                                                                         
                                                                        รูปที่ 1 ค

                                                                              
                             2.		ท่ายืดกล้ามเนื้อลำตัวและต้นขาด้านข้าง
                             					ท่าเริ่มต้น
                             					ผู้ ป่ ว ยนอนบนเตี ย งอยู่ ใ นท่ า นอนหงายชั น เข่ า ทั้ ง 2 ข้ า งขึ้ น ผู้ ดู แ ลจั บ เข่ า ทั้ ง

                      2 ข้าง (รูปที่ 2 ก)
                                                                            
                                                                            
                                                                            

                                                                            
                                                                            
                                                                            
                                                                            
                                                                            
                                                                                                          
                                                                        รูปที่ 2 ก
                             					การทำการเคลื่อนไหว
                             					ผู้ดูแลบิดสะโพกผู้ป่วยไปด้านซ้ายจนรู้สึกตึง (รูปที่ 2 ข) จากนั้นบิดสะโพกไปทาง
                      ด้านขวาจนรู้สึกตึง (รูปที่ 2 ค) แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น 




_12-14(001-054)P3.indd 5                                                                                                                 8/23/12 8:45:12 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต


                                                                     
                                                                     
                                                                     
                                                                     

                                                                     
                                                                     
                                                                     
                                                                                             
                                                                 รูปที่ 2 ข
                                                                       
                                                                       
                                                                       

                                                                       

                                                                       

                                                                       
                                                                       
                                                                       
                                                                                             
                                                                 รูปที่ 2 ค
                           					ข้อควรระวัง
                           					ขณะบิดสะโพกผู้ป่วยไปด้านซ้าย ระวังอย่าให้ไหล่ขวาของผู้ป่วยยกลอยจากเตียง
                  และขณะบิดสะโพกผู้ป่วยไปด้านขวา ระวังอย่าให้ไหล่ซ้ายของผู้ป่วยยกลอยจากเตียง
                           	
                           

                  	        3.		ท่าเปิดสะบัก 
                        					ก่อนทำการเคลื่อนไหวในท่าเปิดสะบัก ควรยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และยืด

                  กล้ามเนื้อลำตัวและต้นขาด้านข้างก่อน เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อส่วนดังกล่าว
                         					ท่าเริ่มต้น 
                         					ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ดูแลจับข้อมือผู้ป่วย ข้อศอกของผู้ดูแลช่วยดันข้อศอก

                  ผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะเหยียดตรง มืออีกข้างหนึ่งของผู้ดูแลสอดใต้สะบักของผู้ป่วยโดยใช้
                  ปลายนิ้วเกี่ยวที่ขอบสะบักด้านใน (รูปที่ 3 ก)



_12-14(001-054)P3.indd 6                                                                                       8/23/12 8:45:14 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต   


                                                                     
                                                                     
                                                                     
                                                                     
                                                                     

                                                                     
                                                                     
                                                                     

                                                                     
                                                                                             
                                                                 รูปที่ 3 ก
                            					การทำการเคลื่อนไหว 
                              					ผู้ดูแลใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสะบักออกมาด้านข้าง พร้อมทั้งประคองแขนของผู้ป่วยให้

                      อยู่ในลักษณะยืดแขนขึ้นตรง ๆ ทิศทางการเคลื่อนของแขนขึ้นด้านบนชี้ขึ้นหาเพดานห้อง 

                      (รูปที่ 3 ข)
                                                                     
                                                                     

                                                                     
                                                                     
                                                                     
                                                                     
                                                                     

                                                                     
                                                                     
                                                                     
                                                                                             
                                                                 รูปที่ 3 ข
                            					ข้อควรระวัง 
                            					ก่อนทำการเคลื่อนไหวข้อไหล่ในท่าต่าง ๆ ควรทำการเคลื่อนไหวท่าเปิดสะบัก

                      ก่อน เพื่อช่วยคลายแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ สะบัก และยังช่วยไม่ให้เกิดการฉีกขาด

                      ของเนื้อเยื่อหุ้มข้อต่อ




_12-14(001-054)P3.indd 7                                                                                               8/23/12 8:45:16 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต



                           4.		ท่าหุบและกางแขนขณะแขนตั้งฉาก
                         					ท่าเริ่มต้น 
                         					ผู้ ป่ ว ยอยู่ ใ นท่ า นอนหงาย ผู้ ดู แ ลจั บ ข้ อ มื อ ผู้ ป่ ว ย มื อ อี ก ข้ า งหนึ่ ง ของผู้ ดู แ ลจั บ

                  ใต้ข้อศอกผู้ป่วย และจัดแขนผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะตั้งฉากทั้งข้อไหล่และข้อศอก (รูปที่ 4 ก)
                           
                                                                             

                                                                             
                                                                             

                                                                             
                                                                             
                                                                             
                                                                             
                                                                             

                                                                                                          
                                                                        รูปที่ 4 ก
                        					การทำการเคลื่อนไหว 
                        					ผู้ดูแลดันแขนผู้ป่วยไปยังไหล่ด้านตรงข้ามอย่างนุ่มนวลจนสุดช่วงการเคลื่อนไหว
                  หรือจนรู้สึกตึง ให้แขนอยู่ระดับอกเสมอ (รูปที่ 4 ข) และกางต้นแขนผู้ป่วยออกวางบนเตียง
                  แขนส่วนปลายยังคงตั้งฉาก (รูปที่ 4 ค)
                                                                             
                                                                             
                                                                             

                                                                             
                                                                             
                                                                             
                                                                             
                                                                             

                                                                             

                                                                                                         
                                                                        รูปที่ 4 ข




_12-14(001-054)P3.indd 8                                                                                                                     8/23/12 8:45:18 PM
คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต   


                                                                    
                                                                    
                                                                    
                                                                    
                                                                    
                                                                    
                                                                    
                                                                    
                                                                    
                                                                                             
                                                                รูปที่ 4 ค

                                                                      
                            5. ท่าหมุนแขนเข้าและออก
                              					ท่าเริ่มต้น 
                              					ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ดูแลจับข้อมือผู้ป่วย มืออีกข้างหนึ่งของผู้ดูแลจับใต้

                      ข้อศอกผู้ป่วย กางแขนผู้ป่วยออกระดับไหล่พร้อมทั้งงอข้อศอกของผู้ป่วยตั้งขึ้น 90 องศา 

                      (รูปที่ 5 ก)
                            
                            
                            
                            
                            

                      
                                                                      

                                                                                                 
                                                                รูปที่ 5 ก




_12-14(001-054)P3.indd 9                                                                                              8/23/12 8:45:20 PM
10 คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต


                            					การทำการเคลื่อนไหว 
                         					ผู้ดูแลจับแขนผู้ป่วยที่ตั้งฉากให้ฝ่ามือชี้ลงสู่ปลายเท้าประมาณ 80 องศา โดยแขน
                 ท่อนล่างและฝ่ามือไม่ถึงเตียง หรือจนรู้สึกตึง (รูปที่ 5 ข) แล้วจับแขนกลับขึ้นมาสู่ท่าเริ่มต้น
                 จากนั้นจับแขนขึ้นไปด้านศีรษะ แขนท่อนล่างวางบนเตียงในลักษณะตั้งฉากหรือจนรู้สึกตึง
                 (รูปที่ 5 ค)
                            
                                                                 

                                                                 

                                                                 

                                                                 

                                                                 
                                                                 
                                                                 
                                                                 

                                                                                       
                                                            รูปที่ 5 ข
                                                                  
                                                                  
                                                                  
                                                                  

                                                                  
                                                                  
                                                                  
                                                                  
                                                                  
                                                                                       
                                                            รูปที่ 5 ค
                      					ข้อควรระวัง 
                      					ขณะทำการเคลื่ อ นไหว กระดู ก ต้ น แขนผู้ ป่ ว ยอยู่ ใ นลั ก ษณะกางออกระดั บ ไหล่

                 แขนส่วนปลายอยู่ในลักษณะขนานกับตัวผู้ป่วย มือที่จับบริเวณข้อศอกจะช่วยหมุนกระดูก

                 ต้นแขนตามแขนท่อนล่างที่เคลื่อนไป



_12-14(001-054)P3.indd 10                                                                                       8/23/12 8:45:22 PM

More Related Content

Similar to 9789740330165

โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคนโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคนnokbiology
 
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
Utai Sukviwatsirikul
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
Utai Sukviwatsirikul
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
Utai Sukviwatsirikul
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
Patella fracture
Patella fracturePatella fracture
Patella fracture
Trad Rumpeungsuk
 
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2sonsukda
 
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
Pain clinic pnk
 

Similar to 9789740330165 (10)

โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคนโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน
โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน
 
Fracture Clavicle
Fracture ClavicleFracture Clavicle
Fracture Clavicle
 
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa kneeguideline
 
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee 2553
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม Oa knee guideline
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
 
Patella fracture
Patella fracturePatella fracture
Patella fracture
 
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
 
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
45 ผลการเปรียบเทียบการใช้ Water Support กับ Jel Support ที่มีผลต่อการป้องกันก...
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

Recently uploaded

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
pakpoomounhalekjit
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
CholapruekSangkamane1
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
NuttavutThongjor1
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
NuttavutThongjor1
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
SweetdelMelon
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
NuttavutThongjor1
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
Postharvest Technology Innovation Center
 

Recently uploaded (7)

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
 

9789740330165

  • 1. _12-14(001-054)P3.indd 1 8/23/12 8:45:08 PM
  • 2. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต ความหมายของการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ คือ การใช้แรงกระทำจากภายนอก ในการช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในองศาการเคลื่อนไหวปกติ แรงกระทำจากภายนอกอาจเกิดจากแรงคน แรงโน้มถ่วงของโลก หรือแรงจากเครื่องมือ นอกจากนั้น การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อควรมีการผสมผสานการยืด กล้ามเนื้อเข้าไปด้วยเพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด ข้อบ่งชี้ในการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อมักทำในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ การเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ ป่ ว ยที่ มี อ าการปวดขณะมี ก ารหดตั ว ของกล้ า มเนื้ อ ในช่ ว งหลั ง การผ่ า ตั ด เพื่ อ เตรี ย ม ความพร้อมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไป และผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไม่รู้สึกตัว ฯลฯ หลักการของการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ 1. ผู้ดูแลอธิบายความสำคัญของการทำการเคลื่อนไหวข้อต่อให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็น การช่วยทำการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนที่อ่อนแรงอย่างถูกวิธี ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหดรั้ง ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และลดภาวะข้อต่อติดแข็งได้ และยังช่วยในการส่งเสริมต่อ การทำกายภาพบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. การช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อควรทำช้า ๆ ด้วยความนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไป อย่าผลัก ดัน โถม ขย่ม หรือกระตุกข้อต่อในขณะทำการเคลื่อนไหว เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ การฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นหุ้มข้อต่อได้ 3. ต้องไม่ทำการเคลื่อนไหวเพื่อยืดข้อต่ออย่างรุนแรง ควรยืดทีละเล็กทีละน้อยเท่าที่มี อาการตึงและผู้ป่วยทนได้ ขณะทำผู้ป่วยต้องไม่มีอาการเจ็บปวดทรมาน หรือแม้กระทั่งหลัง ทำการเคลื่อนไหวข้อต่อก็ไม่ควรมีอาการเจ็บปวดค้างอยู่ ถ้ายังพบว่ามีอาการระบมบริเวณ ข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหวควรปรึกษานักกายภาพบำบัด _12-14(001-054)P3.indd 2 8/23/12 8:45:08 PM
  • 3. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต 4. จำนวนครั้งในการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ โดยทั่วไปทำ ท่าละประมาณ 10-20 ครั้ง ขณะทำการเคลื่อนไหว ถ้าพบว่า มีอาการตึงหรือกล้ามเนื้อ เกร็งต้านที่องศาการเคลื่อนไหวใด สามารถยืดกล้ามเนื้อค้าง ณ องศานั้น ๆ ไว้ประมาณ 10-30 วินาที ควรออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อวันละ 1-2 รอบ ทำเป็น ประจำต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะช่วยทำให้การช่วยทำการเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพและประโยชน์ แก่ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น และได้ผลดีในที่สุด ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ 1. ป้องกันการยึดติดของข้อต่อ 2. ช่ ว ยลดภาวะการหดรั้ ง ของกล้ า มเนื้ อ เยื่ อ หุ้ ม ข้ อ ต่ อ เอ็ น ยึ ด กระดู ก และเอ็ น กล้ามเนื้อ 3. ช่วยคงสภาพความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ 4. ช่วยส่งเสริมและคงสภาพของการไหลเวียนโลหิตบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว 5. ช่วยส่งเสริมการรับความรู้สึกบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว 6. ช่วยส่งเสริมการนำสารอาหารไปสู่กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อที่ทำการเคลื่อนไหว 7. ช่วยลดอาการปวดได้ในบางกรณี ข้อควรระวังในการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อ 1. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในส่วนที่มีกระดูก หัก และ/หรืออยู่ในช่วงระยะแรกของการเชื่อมต่อกระดูกที่หัก 2. ขณะออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อแล้วพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น มีอาการบวมมากขึ้น ควรหยุดทำทันทีและควรปรึกษานักกายภาพบำบัด โดยเร็วที่สุด 3. ควรป้ อ งกั น การบาดเจ็ บ หรื อ อาการปวดที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น ของตั ว ผู้ ช่ ว ยทำการ เคลื่อนไหวเอง ดังนั้น ผู้ช่วยเหลือควรอยู่ในท่ายืนที่ถนัด หลังตรงเสมอ ไม่ควรเอี้ยวตัว ขณะช่วยทำการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย ถ้าต้องขยับตัวควรใช้ขาเป็นตัวขยับเสมอ หรือถ้า ทำการเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อแขน ผู้ช่วยเหลือสามารถนั่งเพื่อช่วยทำการเคลื่อนไหวได้ _12-14(001-054)P3.indd 3 8/23/12 8:45:08 PM
  • 4. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต 4. ในผู้ ป่ ว ยที่ มี ค วามผิ ด ปกติ ข องการรั บ ความรู้ สึ ก ของข้ อ ต่ อ หรื อ แขนขาส่ ว นที่ จ ะ ทำการเคลื่อนไหว เช่น การรับความรู้สึกลดลง หรือสูญเสียการรับความรู้สึก ต้องเคลื่อนไหว ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงองศาการเคลื่อนไหวสุดท้าย การออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อโดยผู้ดูแล 1. ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ท่าเริ่มต้น ผู้ ป่ ว ยนอนบนเตี ย งอยู่ ใ นท่ า นอนหงายชั น เข่ า ทั้ ง 2 ข้ า งขึ้ น ผู้ ดู แ ลจั บ เข่ า ทั้ ง 2 ข้าง (รูปที่ 1 ก) รูปที่ 1 ก การทำการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลดันเข่าที่อยู่ชิดกันทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยขึ้นไปตรง ๆ ในทิศทางเข้าหาลำตัวจน รู้สึกตึง (รูปที่ 1 ข) แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น รูปที่ 1 ข _12-14(001-054)P3.indd 4 8/23/12 8:45:10 PM
  • 5. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต ข้อควรระวัง ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่า ผู้ดูแลอาจต้องอยู่ในตำแหน่งด้านข้าง แขนสอด ใต้เข่าเพื่อลดการกดเบียดของข้อเข่า จึงสามารถทำการเคลื่อนไหวได้ (รูปที่ 1 ค) รูปที่ 1 ค 2. ท่ายืดกล้ามเนื้อลำตัวและต้นขาด้านข้าง ท่าเริ่มต้น ผู้ ป่ ว ยนอนบนเตี ย งอยู่ ใ นท่ า นอนหงายชั น เข่ า ทั้ ง 2 ข้ า งขึ้ น ผู้ ดู แ ลจั บ เข่ า ทั้ ง 2 ข้าง (รูปที่ 2 ก) รูปที่ 2 ก การทำการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลบิดสะโพกผู้ป่วยไปด้านซ้ายจนรู้สึกตึง (รูปที่ 2 ข) จากนั้นบิดสะโพกไปทาง ด้านขวาจนรู้สึกตึง (รูปที่ 2 ค) แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น _12-14(001-054)P3.indd 5 8/23/12 8:45:12 PM
  • 6. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต รูปที่ 2 ข รูปที่ 2 ค ข้อควรระวัง ขณะบิดสะโพกผู้ป่วยไปด้านซ้าย ระวังอย่าให้ไหล่ขวาของผู้ป่วยยกลอยจากเตียง และขณะบิดสะโพกผู้ป่วยไปด้านขวา ระวังอย่าให้ไหล่ซ้ายของผู้ป่วยยกลอยจากเตียง 3. ท่าเปิดสะบัก ก่อนทำการเคลื่อนไหวในท่าเปิดสะบัก ควรยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และยืด กล้ามเนื้อลำตัวและต้นขาด้านข้างก่อน เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อส่วนดังกล่าว ท่าเริ่มต้น ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ดูแลจับข้อมือผู้ป่วย ข้อศอกของผู้ดูแลช่วยดันข้อศอก ผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะเหยียดตรง มืออีกข้างหนึ่งของผู้ดูแลสอดใต้สะบักของผู้ป่วยโดยใช้ ปลายนิ้วเกี่ยวที่ขอบสะบักด้านใน (รูปที่ 3 ก) _12-14(001-054)P3.indd 6 8/23/12 8:45:14 PM
  • 7. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต รูปที่ 3 ก การทำการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสะบักออกมาด้านข้าง พร้อมทั้งประคองแขนของผู้ป่วยให้ อยู่ในลักษณะยืดแขนขึ้นตรง ๆ ทิศทางการเคลื่อนของแขนขึ้นด้านบนชี้ขึ้นหาเพดานห้อง (รูปที่ 3 ข) รูปที่ 3 ข ข้อควรระวัง ก่อนทำการเคลื่อนไหวข้อไหล่ในท่าต่าง ๆ ควรทำการเคลื่อนไหวท่าเปิดสะบัก ก่อน เพื่อช่วยคลายแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ สะบัก และยังช่วยไม่ให้เกิดการฉีกขาด ของเนื้อเยื่อหุ้มข้อต่อ _12-14(001-054)P3.indd 7 8/23/12 8:45:16 PM
  • 8. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต 4. ท่าหุบและกางแขนขณะแขนตั้งฉาก ท่าเริ่มต้น ผู้ ป่ ว ยอยู่ ใ นท่ า นอนหงาย ผู้ ดู แ ลจั บ ข้ อ มื อ ผู้ ป่ ว ย มื อ อี ก ข้ า งหนึ่ ง ของผู้ ดู แ ลจั บ ใต้ข้อศอกผู้ป่วย และจัดแขนผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะตั้งฉากทั้งข้อไหล่และข้อศอก (รูปที่ 4 ก) รูปที่ 4 ก การทำการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลดันแขนผู้ป่วยไปยังไหล่ด้านตรงข้ามอย่างนุ่มนวลจนสุดช่วงการเคลื่อนไหว หรือจนรู้สึกตึง ให้แขนอยู่ระดับอกเสมอ (รูปที่ 4 ข) และกางต้นแขนผู้ป่วยออกวางบนเตียง แขนส่วนปลายยังคงตั้งฉาก (รูปที่ 4 ค) รูปที่ 4 ข _12-14(001-054)P3.indd 8 8/23/12 8:45:18 PM
  • 9. คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต รูปที่ 4 ค 5. ท่าหมุนแขนเข้าและออก ท่าเริ่มต้น ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย ผู้ดูแลจับข้อมือผู้ป่วย มืออีกข้างหนึ่งของผู้ดูแลจับใต้ ข้อศอกผู้ป่วย กางแขนผู้ป่วยออกระดับไหล่พร้อมทั้งงอข้อศอกของผู้ป่วยตั้งขึ้น 90 องศา (รูปที่ 5 ก) รูปที่ 5 ก _12-14(001-054)P3.indd 9 8/23/12 8:45:20 PM
  • 10. 10 คู่มือการออกกำลังกายแบบช่วยทำการเคลื่อนไหวข้อต่อในผู้ป่วยอัมพาต การทำการเคลื่อนไหว ผู้ดูแลจับแขนผู้ป่วยที่ตั้งฉากให้ฝ่ามือชี้ลงสู่ปลายเท้าประมาณ 80 องศา โดยแขน ท่อนล่างและฝ่ามือไม่ถึงเตียง หรือจนรู้สึกตึง (รูปที่ 5 ข) แล้วจับแขนกลับขึ้นมาสู่ท่าเริ่มต้น จากนั้นจับแขนขึ้นไปด้านศีรษะ แขนท่อนล่างวางบนเตียงในลักษณะตั้งฉากหรือจนรู้สึกตึง (รูปที่ 5 ค) รูปที่ 5 ข รูปที่ 5 ค ข้อควรระวัง ขณะทำการเคลื่ อ นไหว กระดู ก ต้ น แขนผู้ ป่ ว ยอยู่ ใ นลั ก ษณะกางออกระดั บ ไหล่ แขนส่วนปลายอยู่ในลักษณะขนานกับตัวผู้ป่วย มือที่จับบริเวณข้อศอกจะช่วยหมุนกระดูก ต้นแขนตามแขนท่อนล่างที่เคลื่อนไป _12-14(001-054)P3.indd 10 8/23/12 8:45:22 PM