SlideShare a Scribd company logo
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 1
เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง
โดย
นางสาวพนมพร ชินชนะ
โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
กระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 2
คานา
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ละครพื้นบ้าน ได้จัดทาขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา นาฏศิลป์ และสามารถใช้ควบคู่ประกอบกิจกรรมการ
เรียนการสอนได้ในขณะเวลาเดียวกัน ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และนาไป
ศึกษาทั้งในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ผู้เรียนสามารถอ่านได้อย่างบ่อยครั้งตามต้องการ
สาหรับเอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ ได้จัดทาขึ้นสาหรับครูผู้สอนและนักเรียนได้ใช้
ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ อันเป็นประโยชน์ต่อ
การแก้ปัญหาและพัฒนาความรู้วิชานาฏศิลป์ ณ โอกาสต่อไป
พนมพร ชินชนะ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 3
นาฏศิลป์พื้นเมือง หมายถึง ศิลปะการแสดงร่ายรําประกอบดนตรี ได้แก่ ระบํา รํา ฟ้อนต่างๆที่
นิยมเล่นกัน หรือแสดงกันในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะสภาพแวดล้อม ความเชื่อ ศาสนา
ภาษา อุปนิสัย และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็น 4
ภูมิภาค และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป
ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง มีที่มาดังนี้
1. พิธีกรรมและความเชื่อของคนในท้องถิ่น ที่มักประกอบพิธีกรรม บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงเกิดการฟ้อนรําขึ้น
2. เกิดจากการละเล่นพื้นเมือง เนื่องจากคนในท้องถิ่นมีการละเล่นในงานเทศกาลต่างๆจึงเกิดการร่ายรํา
เพื่อให้งานหรือเทศกาลนั้นมีความสนุกสนาน
3. เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยและสร้างความบันเทิงใจให้กับคนในท้องถิ่น จึงเกิดการแสดงต่างๆขึ้น
การแสดงนาฏศิลป์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิง และใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในท้องถิ่น
เช่น การฟ้อนผีมดผีเม็ง เป็นการฟ้อนรําเพื่อบูชาผีปู่ย่า ระบําตารีกีป๎ส เป็นการร่ายรําเพื่อเฉลิมฉลองใช้ในงานรื่น
เริงต่างๆ
ฟ้อนผีมดผีเม็ง ระบําตารีกีป๎ส
https://www.google.co.th/search?q=ฟ้อนผีมดผีเม็งพะเยา https://www.google.co.th/search?q
วัฒนธรรมและนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทย 4 ภูมิภาค
1.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 4
1.1 วัฒนธรรมภาคเหนือ
วัฒนธรรมภาคเหนือ หรือวัฒนธรรมไทยล้านนา เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีคนไทย
หลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศพม่าและลาว
วัฒนธรรมภาคเหนือ มีลักษณะ ดังนี้
1.1.1 วัฒนธรรมทางสังคม คนในภาคเหนือจะอยู่กับแบบครอบครัว รักสงบ มีนิสัยอ่อนโยน เป็นมิตร จึง
ได้ชื่อว่า ถิ่นไทยงาม
1.1.2 วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย คนในภาคเหนือนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาและใบตอง
ตึง มีไม้กาแลที่แกะสลักลวดลายสวยงามไขว้ที่หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ
1.1.3 วัฒนธรรมด้านภาษา ในภาคเหนือจะมีภาษพูดและภาษาท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกันเรียกว่า ภาษาคํา
เมือง ซึ่งมีลักษณะเสียงที่ไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน แต่อาจมีสําเนียงแตกต่างกันไปตามแต่ละ
ท้องถิ่น
ตัวอย่างภาษาเหนือ
โฮงเฮียน โรงเรียน
จะอี้ แบบนี้ อย่างนี้
ขี้จุ๊ โกหก
ซว่างอกซว่างใจ๋ สบายอกสบายใจ
แอ๋ว เที่ยว ล
ลักษณะบ้านของชาวภาคเหนือ
https://www.google.chttps://www.google.co.th/search?q=o.th/search?q=
1.1.4 วัฒนธรรมด้านอาหาร ชาวล้านนานิยมรับประทานอาหารตามธรรมชาติอาจเป็นผักป่า ผักข้างรั้ว
ต่างๆ และรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก รสชาติของอาหารจะมีรสเค็มและเผ็ด นิยมแกงแบบน้ําขลุกขลิก ไม่ใช้
กะทิเยอะเหมือนภาคกลาง การจัดสําหรับอาหารจะจัดใส่ขันโตก อาหารภาคเหนือ เช่น แกงโฮะ แกงฮังเล
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 5
แคบหมูน้ําพริกหนุ่ม น้ําพริกอ่อง ผักกาดจอ จิ๊นส้ม (แหนม) ไส้อั่ว ข้าวซอย ขนมจีนน้ําเงี้ยว ( ผักกาดจอ เป็น
แกงที่มีเครื่องปรุงหลัก ได้แก่ ผักกวางตุ้ง กระดอกหมู ถั่วเน่า และน้ํามะขามเปียก มีรสชาติเปรี้ยว รับประทาน
กับพริกทอด)
ขันโตกภาคเหนือ อาหารภาคเหนือ
1.1.5 วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การแต่งกายของชาวเหนือจะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติและกลุ่มชน ซึ่ง
มีลักษณะ ดังนี้
ผู้หญิง – สวมเนื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มสไบทับและเกล้าผมสวมเครื่องประดับเงิน หรือทอง
ผู้ชาย – สวมเสื้อคอกลมหรือคอจีน สวมกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า หรือผ้าโพกศีรษะ หรือ
สวมเสื้อม่อฮ่อม สวมกางเกงสามส่วนมีผ้าคาดเอว และสวมเครื่องประดับเงินหรือทอง
การแต่งกายภาคเหนือ https://www.google.co.th/search?q
นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัย การดํารงชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวเหนือแล้ว
ภาคเหนือยังมีประเพณีที่สําคัญ และแสดงถึงวัฒนธรรมทางภาคเหนือ เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณียี่เป็ง
ประเพณีบวชลูกแก้ว
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 6
ล
Xiประเพณียี่เป็ง การลอยโคมปร ประเพณีตานก๋วยสลาก
1.2 ลักษณะเฉพาะของนาฏสิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่ส่งผลให้ลักษณะการแสดงนาฏศิลป์มี
ความอ่อนหวาน นุ่มนวล เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนดาบ ฟ้อนชมเดือน นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่มีความ
ฮึกเหิม สนุกสนานตื่นเต้น เช่น การตีกลองสะบัดชัย อีกทั้งการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง พื้นเมืองภาคเหนือบางการ
แสดงยังได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ฟ้อนม่านมงคล มีอิทธิพล
มาจากวัฒนธรรมของประเทศพม่า ฟ้อนกิ่งกะหร่าล]มีอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ ระบาเก็บใบชา จาก
วัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา เป็นต้น
Ahฟ้อนม่านมงคล ฟ่อนกิ่งกะหร่า
https://www.google.co.th/search?q https://www.gotoknow.org/posts
ลักษณะการแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองจะแต่งกายตามวัฒนธรรมของชาวเหนือ อาจมี
การดัดแปลงให้สวยงามมากขึ้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดง
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกลองแอว วงสะล้อ ซอ ซึง เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 7
ตีกลองสะบัดชัย
การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะกากรแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนา ที่มีลีลาท่าทางโลดโผนรวมถึงใช้อวัยวะ
ต่างๆประกอบการตีกลองสะบัดชัย จุดประสงค์ของการตีกลองสะบัดชัย คือ
1. ใช้ตีบอกสัญญาณ เช่น ตีบอกสัญญาฯการโจมตี
ของข้าศึก ตีสัญญาณบอกข่าว เป็นต้น
2. ใช้เป็นมหรสพ
3. ใช้เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ
4. ใช้เป็นเครื่องประโคมเพื่อความสนุกสนาน
ลักษณะการแสดง จะเป็นการตีกลองสะบัดชัยด้วย
ลีลาต่างๆ ซึ่งกลองสะบัดชัยประกอบด้วย กลองสองหน้า การแสดงตีกลองสะบัดชัย
ขนาดใหญ่ 1 ลูก กลองขนาดเล็กหรือ เรียกว่า ลูกตุบ 2-3 ลูก https://www.google.co.th/search?q
การตีกลองจะมีจังหวะในการตี ซึ่งแบ่งลักษณะการตีออกเป็นแบบต่างๆดังนี้
 ตีเรียกคน มีการประชุมกัน ก็จะตีเฉพาะกลองใหญ่ โดยตีจากจังหวะช้าและเร่งเร็วขึ้น
 ตีบอกเหตุฉุกเฉิน เช่นไฟไหม้ ไล่ขโมย จะตีเฉพาะกลองใหญ่ มีจังหวะเร่งเร็วติดๆกัน
 ตีบอกวันพระ วันโกน จะตีทั้งกลองใหญ่และลูกตุบ มีฉาบและฆ้องประกอบจังหวะด้วย
 ตีในงานบุญ จะตีทั้งกลองใหญ่และลูกตุบ มีจังหวะเร่งเร็วเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีคนใช้แส้ไม้ไผ่ที่
เรียกว่า ไม้แสะ ฟาดหน้ากลองให้จังหวะ แต่ไม่มีฉาบและฆ้องประกอบ
การตีแบบต่างๆนี้ เป็นการตีอยู่กับที่ ต่อมาเมื่อนํามาตีในขบวนต่างๆจึงใช้จังหวะและทํานอง ล่องน่าน
ลีลาการตีกลองสะบัดชัย จะมีการออกลวดลายของผู้ตี ซึ่งใช้อวัยวะต่างๆ เช่น ศีรษะ ศอก กําป๎่น เป็นต้น
แต่เป็นเพียงลีลาเท่านั้น จะไม่สัมผัสถูกหน้ากลองจริง เพราะถือว่ากลองเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์
การตีกลองสะบัดชัยเป็นที่นิยมแพร่หลาย มีการประกวดหรือแข่งขันกันทุกปี มีการคิดประดิษฐ์ท่าทางใหม่ๆ
มีการแปรขบวน ต่อตัว พ่นไฟ จึงเป็นการแสดงที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 8
2.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง
2.1 วัฒนธรรมภาคกลาง
ภาคกลาง มีประชากรอาศัยอยู่จํานวนมาก มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม เพราะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ําหลายสายไหล่ผ่าน จึงเหมาะแก่การทําเกษตรกรรม และได้ชื่อ
ว่า เป็นอู่ข้าวอู่น้าของไทย
วัฒนธรรมทางสังคม คนในภาคกลางจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รักพวกพ้อง ให้ความช่วยเหลือและ
พึ่งพาอาศัยกัน ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ํา เพราะเป็นแหล่งที่อุดาสมบูรณ์
วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย ลักษณะที่อยู่อาศัยของคนในภาคกลางจะมีใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ําท่วม
และใช้เก็บเครื่องมือและผลิตผลทางการเกษตร มีหลังคาทรงจั่ว เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และทําให้ฝนที่ตก
ลงมาไม่ค้างอยู่บนหลังคา เพื่อให้น้ําฝนระบายไหลลงมาได้รวดเร็ว
วัฒนธรรมด้านภาษา ภาษาในภาคกลางจะมีภาษาพูด และภาษาเขียนที่เป็นภาษากลาง แต่อาจมี
ลักษณะสําเนียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐม จะมีสําเนียง
เหน่อ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี จะมีสําเนียงการพูดเป็นภาษากลางที่ชัดเจน เป็นต้น
วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารของภาคกลางมีหลากหลาย โดยจะรับประทานข้าวเจ้ากับอาหาร
คาวหรือเรียกว่า กับข้าว และอาหารภาคกลางยังได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เนื่องจากเมืองหลวงของไทยตั้งอยู่
ในภาคกลางจนถึงป๎จจุบัน ทําให้ประเทศไทยมีการติดต่อการค้ากับชาวต่างชาติ จึงได้รับอิทธิพลด้านอาหารมาด้วย
จนกลายเป็นอาหารประจําภาคกลางและบางอย่างก็กลายเป็นอาหารประจําชาติอาหารของภาคกลางมีลักษณะดังนี้
https://www.google.co.th/search?q
บ้านภาคกลาง ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง
https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?q
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 9
 อาหารประเภทเครื่องแกงและแกงกะทิ เช่น แกงมัสมั่น แกงส้ม เป็นต้น
 อาหารที่มีการประดิษฐ์ให้มีความสวยงาม เช่น ลูกชุบ ช่อม่วง จ่ามงกุฎ ข้าวแช่ หรืออาหารที่ตกแต่งด้วย
การแกะสลักเพื่อความสวยงาม เป็นต้น
 อาหารที่มีเครื่องเคียง เช่น น้ําพริกลงเรือ มีเครื่องเคียงเป็นผักและหมูหวาน สะเดาน้ําปลาหวาน จะ
รับประทานกับปลาดุกย่าง เป็นต้น
 อาหารว่างและขนมหวาน เช่น กระทงทอง ขนมสอดไส้ ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมชั้น เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าของภาคกลางมีความหลากหลายและมีหลายรสชาติ คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน ตาม
ชนิดของอาหารส่วนใหญ่มีเครื่องเทศและกะทิเป็นส่วนประกอบ ทําให้วัฒนธรรมด้านอาหารของภาคกลางมีความโดด
เด่น และเป็นที่รู้จักทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ เช่น ต้มยํากุ้ง
ผัดเปรี้ยวหวาน น้ําพริกกับอาหารเครื่องเคียง
https://www.google.co.th/search?q
วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย ในอดีตคนภาคกลางผู้หญิงจะนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก
ต่อมาเปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอก ผู้ชายนุ่งกางเกงขาสามส่วน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น เน้นความ
เรียบง่าย สวมใส่สบาย เป็นการแต่งกายแบบชาวบ้าน แต่ถ้าเป็นการแต่งกายในวัฒนธรรมหลวงจะเป็นเครื่องขุด
ไทยต่างๆ เช่น ชุดไทยพระราชนิยม ชุดไทยจักรี มีเครื่องประดับที่สวยงาม ซึ่งใช้ในงานต่างๆ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 10
นอกจากวัฒนธรรมด้านต่างๆแล้ว ภาคกลางยังมีประเพณีที่แสดงถึงความร่วมมือร่วมใจ ความ
สามัคคีของคนในท้องถิ่น การเคารพบูชาศาสนาอีกด้วย เช่น ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแข่งเรือยาว
ประเพณีรับบัว เป็นต้น
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแข่งเรือยาว
https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?q
2.2 ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง
ลักษณะของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลางจะมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในภาค
สะท้อนถึงการประกอบอาชีพ มีความเรียบง่าย เน้นความสนุกสนาน บันเทิง เพื่อผ่อนคลายหลังจากการทํางานเสร็จ
บางการแสดงมีดนตรีประกอบ เช่น รําเถิดเทิง ระบําชาวนา และบางการแสดงเป็นการขับร้อง หรือที่เรียกว่า ด้น
สด โดยใช้ปฏิภาณไหวพริบในการขับร้องระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง เช่น ลําตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เป็นต้น
เครื่องดนตรีที่ใช้ เช่น กลองยาว โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง เป็นต้น
นอกจากการแสดงที่เป็นลักษณะของพื้นบ้านแล้ว ภาคกลางยังมีการแสดงที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหลวงที่
เป็นมาตรฐานด้วย เช่น รําวงมาตรฐาน ระบําต้นวรเชษฐ์ เป็นต้น และใช้วงปีพาทย์บรรเลงประกอบการแสดง
ระบำชาวนา
เป็นการแสดงที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนภาคกลาง ทํานองเพลง
ระบําชาวนาแต่งโดย อาจารย์มนตรี ตราโมท และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ออกแบบท่ารํา
ลักษณะการแสดง ผู้แสดงจะแสดงท่ารําประกอบทํานองเพลง ไม่มีบทขับร้อง มีจังหวะสนุกสนาน และมี
อุปกรณ์ประกอบการแสดงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํานา เช่น เมล็ดข้าว เคียวเกี่ยวข้าว รวงข้าว กระด้ง เป็นต้น
เป็นการร่ายรําท่าทางการทํานาตั้งแต่หว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝ๎ดข้าว เป็นต้น
การแต่งกายจะเป็นชุดพื้นบ้านที่เรียบง่าย คือ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 11
ผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งโจงกระเบนสีดํา
ผู้ชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงสามส่วน ดนตรี
ที่ใช้ประกอบการแสดง เช่น กลองยาว โทน ฉิ่ง
ฉาบ กรับ เป็นต้น
ระบําชาวนา
3.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
3.1 วัฒนธรรม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาและมี
อาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงเป็นภาค
ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ บ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม การดําเนินชีวิตของคน
ในภาค
วัฒนธรรมทางสังคม ชาวอีสานจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีความเป็นกันเอง
ใช้ชีวิตแบบธรรมชาติ อยู่ง่าย กินง่าย มีน้ําใจ
ชาวอีสานจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จึงทําให้เกิดประเพณีต่างๆมากมาย เช่น
ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมว เป็นต้น
ประเพณีบุญบั้งไฟ https://www.google.co.th/search?q
วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย
คนในภาคอีสานจะสร้างบ้านเรือนด้วยการฝ๎งเสา
เป็นบ้านเรือนไม้ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่าง มีประตู
ช่องออกทางด้านหน้าเรือนไว้ป้องกันลม
เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดแรง หลังคาเป็น ลักษณะบ้านภาคอีสาน
ทรงจั่วเหมือนเรือนไทยภาคกลาง https://www.google.co.th/search?q
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 12
วัฒนธรรมด้านภาษา ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือจะมีลักษณะสําเนียงที่แตกต่างกันไป หรือ พอกะเทิน ไม่มากไม่น้อย
เรียกว่า ภาษาถิ่นอีสาน ในวัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ สะเดิด สะดุ้ง
และกลางจะมีสําเนียงลาว กลุ่มวัฒนธรรมอีสานใต้จะมี ขี้ตั๋ว โกหก
สําเนียงเขมร กลุ่มวัฒนธรรมโคราชจะมีสําเนียงโคราช
แต่ลักษณะของคําและความหมายจะคล้ายกัน สามารถ
เข้าใจกันได้ทั่วทั้งภาค
วัฒนธรรมด้านอาหาร
อาหารอีสาน เป็นอาหารที่รู้จักและนิยมทั่วไป เป็น
สิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวอีสานที่มีความเป็นอยู่ที่
เรียบง่าย กินง่าย โดยหาสิ่งของในท้องถิ่นมาดัดแปลงปรุงเป็น
อาหาร อาหารอีสานจะมีรสชาติเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว และ
เครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า และจะรับประทานข้าว
เหนียวเป็นส่วนใหญ่ อาหารอีสาน เช่น ลาบ ก้อย ส้มตํา
อาหารอีสาน อ่อม หมก หม่ํา ซุบหน่อไม้ เป็นต้น
https://www.google.co.th/search?q
วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่าง
หลังจากฤดูทํานา การแต่งกายจึงใช้ผ้าที่มีลวดลายสวยงาม ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นที่มีลายสวยงามยาวคลุมเข่า สวมเสื้อ
แขนกระบอก ห่มสไบ ผมเกล้ามวย สวมเครื่องประดับเงิน ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อม่อฮ่อมแขนสั้น มี
ผ้าขาวม้าคาดเอวหรือพาดบ่า ลักษณะการแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามโอกาสและภาคจะวันออกเฉียงเหนือยังมีผ้า
ที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก คือ ผ้าไหม ซึ่งเป็นผ้าที่มีความสวยงาม เพราะคนในภาคนี้ประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
จึงมีการทอผ้าไหมลวดลายต่างๆ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 13
นอกจากนี้ยังมีประเพณี ที่เป็นที่รู้จักและสะท้อนถึง
วัฒนธรรมของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
เป็นประเพณีที่สร้างความสุข ความสามัคคีให้คนใน
ท้องถิ่น เช่นประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีไหล
เรือไฟ ประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นต้น
ผ้าไหม เป็นผ้าสวยงามของอีสาน https://www.google.co.th/search?q
ประเพณีแห่เทียน ประเพณีไหลเรือไฟ
https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?q
3.1 ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
การแสดงนาฏศิลป์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการแสดงที่มีความเรียบง่ายมีจังหวะ และ
ทํานองที่สนุกสนาน ถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นในด้านความเชื่อ อาชีพ และความบันเทิงต่างๆ เช่น เซิ้ง
สวิง ถ่ายทอดวิถีชีวิตการหาปลา เซิ้งบั้งไฟ ถ่ายทอดวีชีวิต ความเชื่อ เป็นต้น
ลักษณะการแสดงนาฏศิลป์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแบ่งออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรมคือ กลุ่ม
อีสานเหนือ กลุ่มอีสานใต้ และกลุ่มอีสานเฉพาะเมืองโคราช ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 14
 กลุ่มอีสานเหนือ จะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศลาว ซึ่งได้แก่ เซิ้ง ฟ้อน และลํา เช่น
เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งกระหยัง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการ
แสดง เช่น แคน พิณ ซอ โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น
 กลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศกัมพูชา ซึ่งได้แก่ เรือม เช่น เรือมลูดอันเร
(รํากระบทสาก) รํากระโน๊บติงต็อง (รําตั๊กแตนตําข้าว) เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เช่น กลองกันตรึม
ปี่สไล รํามาะนา พิณ เป็นต้น
 กลุ่มอีสานเฉพาะเมืองโคราช เป็นกลุ่มวัฒนธรรมเฉพาะในเขตจังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะการแสดง
ที่โดดเด่น คือ การเล่นเพลงโคราช ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการละเล่นประเภทเพลงฉ่อย ลําตัดของภาคกลาง มี
ความสนุกสนาน เป็นการใช้ปฏิภาณไหวพริบของผู้ขับร้อง
เซิ้งแหย่ไข่มดแดง
การประกอบอาหารหรือหาอาหารของชาวอีสาน มักจะอยู่กับธรรมชาติ เช่น ตามทุ่งนา แม่น้ํา ลําครอง
เป็นต้น ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (ป๎จจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) จึงได้คิดค้นประดิษฐ์ชุดการ
แสดงเซิ้งแหย่ไข่มดแดง โดยอาจารย์ประชัน คะเนวัน และอาจารย์ดรรชนี อุบลเลิษ
ไข่มดแดงถือว่าเป็นอาหารอีสานที่หารับประทานได้ในช่วงหน้าแล้ง เป็นอาหารที่ได้รับความนิยม หาได้ง่าย
ในท้องถิ่น ซึ่งมีวิธีการหาไข่มดแดงและอุปกรณ์การหาไข่มดแดงเพื่อนํามาปรุงอาหาร
อาจารย์ประชัน คะเนวัน และอาจารย์ดรรชนี อุบลเลิศ ได้ศึกษาขั้นตอนและวิธีการหาไข่มดแดงอย่าง
ละเอียดเพื่อมาประดิษฐ์ท่ารําที่มีความสนุกสนานเร้าใจ
ลักษณะการแสดง เริ่มตั้งแต่เดินออกจากบ้านฝ่ายหญิงถือคุใส่น้ําและเศษผ้าเหน็บไว้ที่เอว ฝ่ายชายถือไม้
ยาวผูกตะกร้าที่ปลายไม้สําหรับแหย่รังมดแดง และเริ่มมองหารังมดแดง จากนั้นเป็นท่าแหย่มดแดงได้เทลงในคุใส่น้ํา
นําผ้ากวนมดแดง เพื่อแยกตัวมดแดงออกจากไข่มดแดง เทน้ําออกจากคุ สุดท้ายเป็นท่าเก็บอุปกรณ์และเดินทาง
กลับบ้าน
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศีรษะ
ฝ่ายหญิงนุ่งผ้าซิ่นสั้นแค่เข่า สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม ห่มสไบผมเกล้ามวย ติดดอกไม้สวมเครื่องประดับเงิน
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 15
4.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
4.1 วัฒนธรรมภาคใต้
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศติดกับชายฝ๎่งทะเล ประชากรในภูมิภาคส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพประมง และทําสวนยางพารา เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมหลากหลายได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก
ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซีย ทําให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม
วัฒนธรรมทางสังคม
ชาวใต้จะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รักเพื่อนพ้อง ช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน เข้มแข็ง ห้าวหาญ มีความอดทน ส่วน
ใหญ่ประกอบอาชีพประมง และทําสวนยางพารา (การทําสวนยางพารา https://www.google.co.th/search?q)
วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย
ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวใต้จะเป็นบ้านหรือเรือน ซึ่ง
ชาวใต้จะเรียกว่า เริน มี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่อง
ผูกและเรือนเครื่องสับ ( ลักษณะบ้านภาคใต้ https://www.google.co.th/search?q )
เรือนเครื่องผูก คือเรือนที่นําวัสดุต่างๆ เช่น
ไม้ไผ่ ไม้ยืนต้นขนาดเล็กมาประกอบกันเป็นตัวเรือน
โดยการผูกยึดด้วยเชือกหรือเถาวัลย์ แต่ไม่คงทนถาวร
สามารถซ่อมแซมได้ง่าย (เรือนเครื่องผูก https://www.google.co.th/search?q)
เรือนเครื่องสับ คือเรือนที่ตกแต่งด้วยไม้เหลี่ยม
ที่ใช้ขวานตกแต่ง จึงเรียกเรือนเครื่องสับ มีใต้ถุนสูงเพื่อ
ป้องกันน้ําท่วม และมีชองระบายลม
(เรือนเครื่องสับ https://www.google.co.th/search?q )
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 16
วัฒนธรรมด้านภาษา ภาษใต้หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาษาป๎กษ์ใต้ ในแต่ละจังหวัดจะมีสําเนียงที่
แตกต่างกันไปและบางจังหวัดจะมีการใช้ภาษายาวีด้วย เช่น จังหวัดนราธิวาส ป๎ตตานี ยะลา เป็นต้น
หรอยจังหู อร่อยมาก
หวิบอย่างแรง โกรธมาก
พันพรือ อย่างไร
วัฒนธรรมด้านอาหาร ภาคใต้ เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝ๎่งทะเล ประกอบอาชีพประมงเป็นส่วน
ใหญ่ ทําให้อาหารของชาวใต้จึงเป็นอาหารทะเลมีรสจัดและมีกลิ่นเครื่องเทศโดยเฉพาะขมิ้น เพราะช่วยดับกลิ่นคาว
ของอาหารทะเลได้ดี อาหารป๎กษ์ใต้จึงมีสีออกเป็นสีเหลืองๆ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ คั่วกลิ้ง แกง
พริก และมีผักสดรับประทานเป็นเครื่องเคียง
วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การแต่งกายของชาวใต้ ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่นยาวคลุมถึงข้อเท้า มี
ลวดลาย เรียกว่าผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ สวมเสื้อรัดรูปปล่อยชาย ผู้ชายจะนิยมนุ่งโสร่ง สวมเสื้อปล่อยชาย
นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวแล้ว ภาคใต้ยังมีประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อต่างๆซึ่งแสดงถึงความ
สามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจกัน การเคารพบูชาในศาสนา เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีชิงเปรต ประเพณีสารท
เดือนสิบ เป็นต้น
ประเพณีชักพระ ประเพณีชิงเปรต
https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?tbm=isch&tbs=rimg%3ACZdDx92dhiw-
IjigCf0XP3LJnpGOuhqOWclbz4g1WSYhSbnNSs_1VeWmiSWIacdQe7xFITev3BheBU
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 17
4.2 ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ จะแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของ
ชาวใต้ เช่น ระบําร่อนแร่ ระบํากรีดยาง เป็นต้น ลักษณะการแสดงจะมีจังหวะ และทํานองที่คึกคักสนุกสนาน
บางการแสดงอาจผสมผสานกับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซียด้วย
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้แบ่งออกตามลักษณะพื้นที่ ดังนี้
 ภาคใต้ตอนบน เช่น โนรา เพลงบอก เพลงเรือ เป็นต้น
 ภาคใต้บริเวณลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลา เช่น หนังตะลุง โนรา กาหลอ โต๊ะครีม เป็นต้น
 ภาคใต้บริเวณชายฝ๎่งทะเลอันดามัน เช่น ลิเกป่า รองเง็ง เป็นต้น
 ภาคใต้ตอนล่าง เช่น ลิเกฮูลู กรือโต๊ะ ซีละ เป็นต้น
ซึ่งการแสดงแต่ละการแสดงจะมีลักษณะรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันไป ใช้แสดงในงานรื่นเริง หรือ
โอกาสพิเศษต่างๆ สร้างความสุข สนุกสนานให้กับคนในท้องถิ่น
ระบำปาเต๊ะ
ระบําปาเต๊ะ เป็นระบําที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาจารย์ดรุณี สัจจากุล ภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูยะลา
เมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนาน ถ่ายทอดวิถีชีวิตการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ของชาวใต้
ลักษณะการแสดง เป็นการแสดงขั้นตอนการทําผ้าปาเต๊ะ โดยนําขั้นตอนการทํามาผสมผสานเป็นท่ารํา
โดยเริ่มจากท่าแบกภาชนะใส่เทียนไปเคี่ยวบนไฟร้อน ท่าถือกรอบไม้ออกมาขึงผ้าเพื่อเขียนลวดลาย ท่าย้อมผ้า ท่า
นําผ้าที่ย้อมมาตาก และท้ายการแสดงทุกกลุ่มก็จะออกมาร่ายรํา ระบํากันอย่างสนุกสนาน และใช้ดนตรีพื้นเมือง
บรรเลงประกอบการแสดง
ระบําปาเต๊ะ https://www.google.co.th/search?q=ระบํา
ปาเต๊ะ&biw=1517&bih=735&noj=1&site=webhp&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=EBTRVPbKNIPi8AWTg
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 18
ละครไทย
ละครไทย
ละครรำ ละครปรับปรุงขึ้นใหม่ ละครร้อง ละครพูด
ละครชาตรี ละครดึกดาบรรพ์ ละครร้องล้วนๆ ละครพูดล้วนๆ
ละครใน ละครพันทาง ละครร้องสลับพูด ละครพูดสลับลา
ละครนอก ละครสังคีต ละครสังคีต ละครพูดคาฉันท์
โขน ละครหลวงวิจิตรวาทการ
1. ละครรา
ละครรํา เป็นละครที่ใช้ศิลปะการร่ายรําดําเนินเรื่อง มีดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงมีลักษณะการ
แต่งกายที่งดงาม แบ่งได้ดังนี้
1.1 ละครชาตรี
ละครชาตรี นิยมเล่นกันทางภาคใต้ เรื่องที่แสดงคือ พระสุธน มโนราห์ จึงเรียกละครประเภทนี้ว่า
โนราชาตรี และได้เริ่มแพร่หลายเข้ามาในกรุงรัตนโกสินทร์ ละครชาตรีในสมัยอดีตจะใช้ผู้ชายแสดงเท่านั้น มีตัว
ละคร คือ นายโรง ตัวนาง และตัวตลก แต่ต่อมาใช้ผู้หญิงแสดง การแต่งกายในสมัยอดีตจะไม่สวมเสื้อ ต่อมาเมื่อมี
ผู้หญิงแสดงจึงให้สวมเสื้อและแต่งเครื่องสวยงาม
ละครชาตรีจะใช้วงปี่พาทย์ชาตรีบรรเลงประกอบการแสดงการเริ่มต้นแสดงจะเริ่มทําพิธีบูชาครูเบิก
โรงพระออกมารําซัดหน้าบทตามเพลง แล้วจึงเริ่มเรื่อง เมื่อเลิกแสดงก็รําซัดชาตรีอีกครั้งหนึ่ง
เพลงที่ใช้ขับร้องมักจะมีคําว่า ชาตรี อยู่ด้วย เช่น รําชาตรี ชาตรีตะลุง เป็นต้น
ละครชาตรี
https://www.google.co.th/search?q=ละครชาตรี+พระสุธน+มโนราห์&biw
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 19
1.2 ละครนอก
ละครนอก เป็นละครที่เล่นกันนอกเขตพระราชฐาน มีวิวัฒนาการมาจากละครชาตรีในสมัยอดีต จะ
ใช้ผู้ชายแสดง ต่อมาจึงให้ผู้หญิงแสดงได้ การแต่งกายเลียนแบบละครใน มีความสวยงาม
ละครนอกมีการดําเนินเรื่องรวดเร็ว
จึงใช้ผู้แสดงที่มีความคล่องแคล่วในการรําและร้อง
สอดแทรกตลกขบขัน ไม่ยึดถือหรือเน้นขนบธรรมเนียม
ประเพณีใช้ถ้อยคําแบบชาวบ้านทันเหตุการณ์ เพื่อ
เอาใจผู้ชม และใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าบรรเลงประกอบ
การแสดง เรื่องที่นิยมแสดง เช่น สังข์ทอง ไกรทอง ละครเรื่องสังข์ทอง
ลักษณวงศ์ คาวี สังข์ศิลป์ชัย เป็นต้น https://www.google.co.th/search?q
1.3 ละครใน
ละครใน เป็นละครที่แสดงในเขตพระราชฐานมีความงดงาม
ถือเป็นละครชั้นสูง มีความงดงามในทุกด้านทั้งผู้แสดง
การขับร้อง บทเพลง ดนตรี การแต่งกายและการร่ายรํา
การแสดงละครในจะใช้ผู้หญิงแสดงเท่านั้น แต่ต่อมาเริ่มให้
ผู้ชายแสดงด้วยได้ การแต่งกายในการแสดงจะแต่งกาย
แบบกษัตริย์ เรียกว่า ยืนเครื่องพระ-ยืนเครื่องนาง เป็นการ
แสดงที่มีความอ่อนช้อยงดงามมากเพราะเน้นกระบวนท่ารํา
ละครในเรื่องอิเหนา และแสดงเพียง 3 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท
http://www.sahavicha.com/?name=media&file= และอิเหนา
readmedia&id=1039
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 20
1.4 โขน
โขน เป็นศิลปะกาแสดงที่พัฒนามาจาก
การเล่นชักนาคดึกดําบรรพ์ หนังใหญ่ และกระบี่กระบอง
เป็นกาแสดงที่ใช้ท่าเต้น ท่าร่ายรําและมีเอกลักษณ์ต่าง
จากการแสดงอื่น คือผู้แสดงจะสวมศีรษะโขนตามลักษณะ
ตัวละครต่างๆเป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราว มีบทพากย์
บทเจรจา ขับร้อง การแต่งกายจะแต่งแบบยืนเครื่อง การแสดโขน เรื่อง รามเกียรติ์
เรื่องที่นิยมแสดง คือ รามเกียรติ์ https://www.google.co.th/search?q
2. ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นละครไทยที่มีการปรับปรุงรูปแบบการแสดงให้มีความสนุกสนานมีการ
ดัดแปลงหรือนําแบบอย่างของละครต่างชาติเข้ามาผสมผสาน ทําให้การแสดงมีความน่าสนใจมากขึ้น ละครที่
ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีดังนี้
2.1 ละครดึกดาบรรพ์
ละครดึกดําบรรพ์ เป็นละครที่ปรับปรุงขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5
โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และเจ้าพระยา
เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร ) โดยนําการแสดง
อุปรากรมาประยุกต์กับการแสดงให้ผู้แสดงขับร้องเอง และ
แสดงที่โรงละครดึกดําบรรพ์ ใช้วงปี่พาทย์ดึกดําบรรพ์บรรเลง
ประกอบการแสดงจึงเรียกละครประเภทนี้ว่า ละครดึกดาบรรพ์
ละครดึกดําบรรพ์ คาวี
https://www.google.co.th/search?q=ละครดึกดําบรรพ์&biw
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 21
2.2 ละครพันทาง
ละครพันทางเป็นละครที่เกิดขึ้นโดย เจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธํารง เป็นละครที่มีเรื่องราวการแสดงเกี่ยวข้อง
กับต่างชาติ มีลักษณะการแสดงตามแบบละครนอก
การแต่งกายของผู้แสดงจะแต่งตามชาตินั้นๆ เช่น
เรื่องที่แสดงเกี่ยวกับชาติจีน การแต่งกายก็เป็นแบบจีน
เป็นต้น มีการดําเนินเรื่องด้วยการร้อง และแทรก
บทเจรจา บทพูดบ้างท่ารําก็ผสมผสานกันระหว่าง
ของไทยกับต่างชาติและใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลง
ประกอบการแสดง บทเพลงที่ขับร้องจะเป็น ละครพันทาง เรื่องราชาธิราช
เพลงภาษา เช่น ลามชมดง มอญดูดาว เป็นต้น https://www.google.co.th/search?q=ละครพันทางเรื่องราชาธิราช+
เรื่องที่นิยมแสดง เช่น ราชาธิราช สามก๊ก พระลอ ตอนสมิงพระรามแต่งงาน&biw
2.3 ละครเสภา
ละครเสภา เป็นละครที่ปรับปรุงมาจากการเล่านิทาน เสภามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นการเล่าเรื่อง
แบบคํากลอนและใช้กรับประกอบการเล่าเรื่อง จึงเรียกว่า การขับเสภา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิป
ประพันธ์พงศ์ได้นําละครพันทางมาดําเนินเรื่อง ด้วยการขับเสภาประกอบการรํา จึงเรียกว่า ละครเสภา โดยการ
แสดงจะมีลักษณะคล้ายกับละครพันทางแต่นําการขับเสภามาสอดแทรกในเรื่อง ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการ
แสดง มีการแต่งกายตามท้องเรื่องเปลี่ยนฉากไปตามเนื้อเรื่อง และเรื่องที่นิยมแสดง เช่น ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง
ละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนแสนสะท้าน
http://drartchula.blogspot.com/2009/02/blog-post_9429.html
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 22
2.4 ละครหลวงวิจิตรวาทการ
ละครหลวงวิจิตรวาทการ เป็นละครที่ปลุกใจคนให้รักชาติ
ถือกําเนิดโดยหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา)
ขณะที่ท่านดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านได้เป็นถึง
คุณค่าของประวัติศาสตร์ จึงได้นํามาปรับปรุงเป็นการแสดง
เนื้อเรื่องจะมีทั้งความรัก การรบที่หลากหลายอารมณ์ ละครหลวงวิจิตรวาทการ
ตัวเอกของเรื่องจะรักชาติยอมตามเพื่อชาติ จึงเรียกละครนี้ว่า เรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคําแหง
ละครหลวงวิจิตรวาทการ ลักษณะการแต่งกายจะคล้ายกับ https://www.google.co.th/search?q=ละครเรื่อง+อานุภาพพ่อขุนรามคําแหง&sa
ละครพันทาง มีการรํา ระบํา สอดแทรกในการแสดง มีการขับร้องเพลงทั้งเพลงไทยและวงดนตรีสากลบรรเลง
ประกอบการแสดง เรื่องที่แสดงเช่น ศึกถลาง อานุภาพพ่อขุนรามคําแหง เป็นต้น
3.ละครร้อง
ละครร้อง เป็นละครที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงริเริ่มขึ้น โดยปรัปปรุงมา
จากการแสดงของละครต่างประเทศ ทรงปรับปรุงแก้ไขละครร้องให้นําไปเล่นที่โรงละครปรีดาลัย ภายหลังเปลี่ยนชื่อ
เป็น ละครหลวงนฤมิตร แต่บางครั้งก็เรียน ละครปรีดาลัย เรื่องที่นิยมแสดง เช่น สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก
ขวดแก้วเจียระไน เป็นต้น ละครร้องแบ่งออกเป็นดังนี้
3.1 ละครร้องสลับพูด
ละครร้องสลับพูดจะใช้ผู้หญิงแสดงเท่านั้น ยกเว้นตัวตลกจะใช้ผู้ชาย
แสดง โดยการแสดงจะเน้นการร้องเป็นหลักแต่จะมีการพูด
สอดแทรกบ้างโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
เป็นผู้ริเริ่มทําให้ประชาช เรียกว่า ละครกรมพระนราธิปหรือ
ละครปรีดาลัย โดยการแสดงจะมีฉากตามท้องเรื่อง แต่งกาย
ละครร้องเรื่อง สาวเครือฟ้า ตามสมัย และใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง
https://www.google.co.th/search?q=ละครร้อง+เรื่องสาวเครือฟ้า&biw
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 23
3.2 ละครร้องล้วนๆ
ละครร้องล้วนๆ เป็นละครที่ดําเนินเรื่องด้วยการร้องเพียงอย่างเดียว ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดง โดยพระ
บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงริเริ่ม ซึ่งเลียนแบบจากละครอุปรากร มีการแสดงคล้ายละคร
พันทาง มีฉากตามเนื้อเรื่อง การแต่งกายตามสมัย ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง เรื่องที่แสดง เช่น สาวิตรี
3.3 ละครสังคีต
ละครสังคีต เป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจาก
ละครพูดสลับลํา ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง มีการแต่งกายตามสมัยใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลง
ประกอบการแสดง เรื่องที่แสดงจะนิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น
หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาห์พระสมุทร เป็นต้น
4. ละครพูด
ละครพูดเป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแสดงเรื่องใดก็ได้ ซึ่งจัด
โดยเหล่าขุนนาง ข้าราชบริพาร (อ่านว่า ข้า-ราด-ชะ-บอ-ริ-พาน) จัดแสดงถวายทอดพระเนตร ต่อมาสมเด็จพระ
บรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6 ) เสด็จนิวัติประเทศไทย จึงได้เริ่มสร้างการ
แสดงละครพูดแบบใหม่ โดยผสมผสานกับละครตะวันตกโดยเรียกว่า ละครเวทีปัญญา ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น
ละครศรีอยุธยา ถือว่าในสมัยของรัชกาลที่ 6 เป็นยุครุ่งเรืองของละครพูด ละครพูดแบ่งออกเป็น ดังนี้
4.1 ละครพูดล้วนๆ
ละครพูดล้วนๆ ในระยะแรกจะใช้ผู้ชายแสดงเท่านั้น ต่อมาใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงตามเนื้อเรื่อง
แต่งกายตามสมัย ดําเนินเรื่องโดยการพูดอย่างเดียว เรื่องที่แสดงเช่น โพงพาง เจ้าข้า สารวัด เป็นต้น และใช้วง
ดนตรีสากลหรือวงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลงประกอบการแสดง
4.2 ละครพูดคาฉันท์
ละครพูดคําฉันท์ จะดําเนินเรื่องด้วยการพูดที่เป็นคําประพันธ์ประเภทกลอน โคลงฉันท์ แสดงตามเนื้อ
เรื่อง แต่งกายตามเนื้อเรื่อง ใช้วงดนตรีสากลหรือปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงประกอบการแสดง เรื่องที่แสดง มัทนะ
พาธา
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 24
4.3 ละครพูดสลับลา
ละครพูดสลับลํา เป็นละครที่ดําเนินเรื่องด้วยการพูดสลับการขับร้องแต่ยังคงมีบทพูดเป็นหลัก
โดยบทร้องจะแทรกเพื่อความสนุก หรือไม่มีก็ได้ การแต่งกายตามสมัย แสดงตามเนื้อเรื่อง เรื่องที่นิยมแสดง ได้แก่
เรื่องชิงนาง และเรื่องปล่อยแก่ ใช้วงดนตรีสากลหรือวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง
ละครพื้นบ้าน
ละครพื้นบ้าน เป็นการแสดงละครที่มีบทละคร เนื้อเรื่อง นํามาจากนิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก หรือ
นิทานท้องถิ่น ที่แสดงถึงภูมิป๎ญญาของคนในสมัยอดีต ซึ่งนิทานเหล่านี้จะสอดแทรกข้อคิดต่างๆไว้มากมาย เช่น
ความกตัญํูกตเวที ความซื่อสัตย์ ความเมตตา เป็นต้น
เมื่อนํามาสร้างสรรค์เป็นละครพื้นบ้าน จึงทําให้ผู้ชมได้ชมและเพลิดเพลิน อีกทั้งได้ข้อคิดจากละครด้วย
ละครพื้นบ้าน มีรูปแบบการแสดงคล้ายกับละครนอกและละครชาตรี ที่มีเรื่องราวสนุกสนานมีการใช้เวท
มนต์คาถา อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ทําให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจไปกับการแสดง ซึ่งจัดว่าละครพื้นบ้านเป็นมหรสพท้องถิ่นอย่าง
หนึ่งการแต่งกายในการแสดงละครพื้นบ้าน จะแต่งคามลักษณะของเรื่อง เช่น ถ้าตัวละครเป็นกษัตริย์ จะมีการแต่ง
กายแบบกษัตริย์ ถ้าเป็นชาวบ้าน ก็แต่งแบบชาวบ้าน เป็นต้น
ป๎จจุบันละครพื้นบ้านยังมีแสดงอยู่และถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ มีรูปแบบการแสดงที่ทันสมัยมาก
ขึ้น แต่เนื้อเรื่องยังมีเค้าโครงเดิม อาจมีการประพันธ์บทละครให้เกิดความสนุกสนานทันสมัยมากขึ้น การแต่งกายมี
ความงดงามหลากหลายมากขึ้น และยังมีการนําเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ทําให้ตัวละครที่แสดงเป็นยักษ์มี
ร่างกายสูงใหญ่แข็งแรงเหมือนยักษ์ หรือมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งละครพื้นบ้านในป๎จจุบันถือว่าเป็นละครที่สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชม พร้อมทั้งสอดแทรกข้อคิดที่ดีไว้
เพื่อนํามาปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้ และละครพื้นบ้านยังมีคุณค่าและประโยชน์ ดังนี้
https://www.google.co.th/search?q=ละครพื้นบ้านสังข์ทอง&biw https://www.google.co.th/search?q
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 25
ละครพื้นบ้านมีคุณค่าทางด้านความบันเทิง คือ ให้
ความผ่อนคลายสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้รับชม
คุณค่าและประโยชน์ ละครพื้นบ้านมีคุณค่าต่อประเพณีไทย เพราะในการ
ของ แสดงบางเรื่องจะมีการสอดแทรกประเพณีไทยต่างๆ
ละครพื้นบ้าน ไว้ เช่น ประเพณีแต่งงาน ประเพณีโกนจุก เป็นต้น
ละครพื้นบ้านมีคุณค่าทางสังคม เพราะละครพื้นบ้าน
สะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต
ของคนในสังคมได้ รวมถึงการปกครองและการละเล่น
ของไทยด้วย
ละครพื้นบ้านที่ได้รับความนิยม เช่น แก้วหน้าม้า ปลาบู่ทอง สังข์ทอง พิกุลทอง ฯลฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ]
หน้า 26
อ้างอิง
วริฏฐา ศิริธงชัยกุล หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ดนตรี – นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด ดนตรี – นาฏศิลป์ ม.2 สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

More Related Content

What's hot

เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
Panomporn Chinchana
 
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)Panomporn Chinchana
 
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3 ปี 2557
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3  ปี 2557นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3  ปี 2557
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3 ปี 2557Panomporn Chinchana
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
kruthai40
 
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6
Panomporn Chinchana
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง เทคนิคการจัดการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง  เทคนิคการจัดการแสดงเอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง  เทคนิคการจัดการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง เทคนิคการจัดการแสดง
Panomporn Chinchana
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาดGob Chantaramanee
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
Pikaya
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์  เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯเอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์  เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯ
Panomporn Chinchana
 
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
Beerza Kub
 
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557Panomporn Chinchana
 
ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1
peter dontoom
 
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียนข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2teerachon
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองพัน พัน
 
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)Panomporn Chinchana
 
นาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมืองนาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมือง
ดวงฤทัย ช่วงชัย
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4
เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์   เรื่อง  บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์   เรื่อง  บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4
เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4
Panomporn Chinchana
 
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4peter dontoom
 
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์Jiraporn
 

What's hot (20)

เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
 
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
 
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3 ปี 2557
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3  ปี 2557นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3  ปี 2557
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม.3 ปี 2557
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง เทคนิคการจัดการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง  เทคนิคการจัดการแสดงเอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่อง  เทคนิคการจัดการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง เทคนิคการจัดการแสดง
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์  เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯเอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์  เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตฯ
 
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
 
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557
วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย ม.6 ปี2557
 
ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1
 
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียนข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
แบบทดสอบ ภาษาไทย ม.2
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง
 
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
 
นาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมืองนาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมือง
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4
เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์   เรื่อง  บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์   เรื่อง  บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4
เอกสารประกอบการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ม.4
 
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
 
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
 

Similar to เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นเมือง ม.2

เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรูปแบบการแสดง ชุดที่ 3
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่องรูปแบบการแสดง  ชุดที่  3เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่องรูปแบบการแสดง  ชุดที่  3
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรูปแบบการแสดง ชุดที่ 3
Panomporn Chinchana
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
kalayatookta
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔kalayatookta
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯเอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
Panomporn Chinchana
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)Panomporn Chinchana
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
Boonlert Aroonpiboon
 
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55อำนาจ ศรีทิม
 
Appเพลงสิ่งแวดล้อม
Appเพลงสิ่งแวดล้อมAppเพลงสิ่งแวดล้อม
Appเพลงสิ่งแวดล้อม
Prasong Somarat
 
THAI DANCE
THAI  DANCETHAI  DANCE
ประวัตินาฏศิลป์วิชาคอม
ประวัตินาฏศิลป์วิชาคอมประวัตินาฏศิลป์วิชาคอม
ประวัตินาฏศิลป์วิชาคอมPUy Praputsron
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกrever39
 
ที่มาของนาฏศิลป์ไทย
ที่มาของนาฏศิลป์ไทยที่มาของนาฏศิลป์ไทย
ที่มาของนาฏศิลป์ไทยnasaporn
 
สาระที่ 2 หน่วยที่ 9
สาระที่ 2 หน่วยที่ 9  สาระที่ 2 หน่วยที่ 9
สาระที่ 2 หน่วยที่ 9 khomkrit2511
 
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงบ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงPN17
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4 คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4 อำนาจ ศรีทิม
 
บ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักบ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักPN17
 
หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...
หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...
หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...0894239045
 

Similar to เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นเมือง ม.2 (20)

หน้า 1
หน้า 1หน้า 1
หน้า 1
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรูปแบบการแสดง ชุดที่ 3
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่องรูปแบบการแสดง  ชุดที่  3เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  เรื่องรูปแบบการแสดง  ชุดที่  3
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรูปแบบการแสดง ชุดที่ 3
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯเอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่องรำวงมาตรฐาน (เผยแพร่)
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
 
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
 
Appเพลงสิ่งแวดล้อม
Appเพลงสิ่งแวดล้อมAppเพลงสิ่งแวดล้อม
Appเพลงสิ่งแวดล้อม
 
THAI DANCE
THAI  DANCETHAI  DANCE
THAI DANCE
 
ประวัตินาฏศิลป์วิชาคอม
ประวัตินาฏศิลป์วิชาคอมประวัตินาฏศิลป์วิชาคอม
ประวัตินาฏศิลป์วิชาคอม
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
 
ที่มาของนาฏศิลป์ไทย
ที่มาของนาฏศิลป์ไทยที่มาของนาฏศิลป์ไทย
ที่มาของนาฏศิลป์ไทย
 
สาระที่ 2 หน่วยที่ 9
สาระที่ 2 หน่วยที่ 9  สาระที่ 2 หน่วยที่ 9
สาระที่ 2 หน่วยที่ 9
 
หลักสูตรศิลปะ มัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักสูตรศิลปะ มัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรศิลปะ มัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักสูตรศิลปะ มัธยมศึกษาตอนปลาย
 
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุงบ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง
 
5
55
5
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4 คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
 
บ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนักบ้านจ๊างนัก
บ้านจ๊างนัก
 
หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...
หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...
หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : ทัศนศิลป์ เรื่องเส้นสายลาย...
 

More from Panomporn Chinchana

เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆ
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆเอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆ
Panomporn Chinchana
 
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
Panomporn Chinchana
 
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
Panomporn Chinchana
 
อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...
อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...
อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...
Panomporn Chinchana
 
รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)Panomporn Chinchana
 
รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557
รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557
รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557Panomporn Chinchana
 
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557Panomporn Chinchana
 
การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557
การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557
การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557Panomporn Chinchana
 

More from Panomporn Chinchana (8)

เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆ
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆเอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การบูรณาการนาฏศิลป์กับแขนงและกลุ่มสาระอื่นๆ
 
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
 
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
 
อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...
อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...
อบรมการใช้โปรแกรม dbookPRO ...โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ สพม.27 อบรม โปรแกรม ...
 
รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
 
รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557
รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557
รำวงมาตรฐาน ใช้สอน ปี 2557
 
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
นาฏยศัพท์ ภาษาท่า ม.1 ปี 2557
 
การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557
การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557
การอนุรักษ์นาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการจัดการแสดง ม.6 ปี2557
 

Recently uploaded

ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (10)

ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 

เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นเมือง ม.2

  • 1. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 1 เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง โดย นางสาวพนมพร ชินชนะ โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 2 คานา เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ละครพื้นบ้าน ได้จัดทาขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา นาฏศิลป์ และสามารถใช้ควบคู่ประกอบกิจกรรมการ เรียนการสอนได้ในขณะเวลาเดียวกัน ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และนาไป ศึกษาทั้งในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ผู้เรียนสามารถอ่านได้อย่างบ่อยครั้งตามต้องการ สาหรับเอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ ได้จัดทาขึ้นสาหรับครูผู้สอนและนักเรียนได้ใช้ ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ อันเป็นประโยชน์ต่อ การแก้ปัญหาและพัฒนาความรู้วิชานาฏศิลป์ ณ โอกาสต่อไป พนมพร ชินชนะ
  • 3. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 3 นาฏศิลป์พื้นเมือง หมายถึง ศิลปะการแสดงร่ายรําประกอบดนตรี ได้แก่ ระบํา รํา ฟ้อนต่างๆที่ นิยมเล่นกัน หรือแสดงกันในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะสภาพแวดล้อม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา อุปนิสัย และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง มีที่มาดังนี้ 1. พิธีกรรมและความเชื่อของคนในท้องถิ่น ที่มักประกอบพิธีกรรม บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงเกิดการฟ้อนรําขึ้น 2. เกิดจากการละเล่นพื้นเมือง เนื่องจากคนในท้องถิ่นมีการละเล่นในงานเทศกาลต่างๆจึงเกิดการร่ายรํา เพื่อให้งานหรือเทศกาลนั้นมีความสนุกสนาน 3. เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยและสร้างความบันเทิงใจให้กับคนในท้องถิ่น จึงเกิดการแสดงต่างๆขึ้น การแสดงนาฏศิลป์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิง และใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น การฟ้อนผีมดผีเม็ง เป็นการฟ้อนรําเพื่อบูชาผีปู่ย่า ระบําตารีกีป๎ส เป็นการร่ายรําเพื่อเฉลิมฉลองใช้ในงานรื่น เริงต่างๆ ฟ้อนผีมดผีเม็ง ระบําตารีกีป๎ส https://www.google.co.th/search?q=ฟ้อนผีมดผีเม็งพะเยา https://www.google.co.th/search?q วัฒนธรรมและนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทย 4 ภูมิภาค 1.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ
  • 4. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 4 1.1 วัฒนธรรมภาคเหนือ วัฒนธรรมภาคเหนือ หรือวัฒนธรรมไทยล้านนา เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีคนไทย หลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศพม่าและลาว วัฒนธรรมภาคเหนือ มีลักษณะ ดังนี้ 1.1.1 วัฒนธรรมทางสังคม คนในภาคเหนือจะอยู่กับแบบครอบครัว รักสงบ มีนิสัยอ่อนโยน เป็นมิตร จึง ได้ชื่อว่า ถิ่นไทยงาม 1.1.2 วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย คนในภาคเหนือนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาและใบตอง ตึง มีไม้กาแลที่แกะสลักลวดลายสวยงามไขว้ที่หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ 1.1.3 วัฒนธรรมด้านภาษา ในภาคเหนือจะมีภาษพูดและภาษาท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกันเรียกว่า ภาษาคํา เมือง ซึ่งมีลักษณะเสียงที่ไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน แต่อาจมีสําเนียงแตกต่างกันไปตามแต่ละ ท้องถิ่น ตัวอย่างภาษาเหนือ โฮงเฮียน โรงเรียน จะอี้ แบบนี้ อย่างนี้ ขี้จุ๊ โกหก ซว่างอกซว่างใจ๋ สบายอกสบายใจ แอ๋ว เที่ยว ล ลักษณะบ้านของชาวภาคเหนือ https://www.google.chttps://www.google.co.th/search?q=o.th/search?q= 1.1.4 วัฒนธรรมด้านอาหาร ชาวล้านนานิยมรับประทานอาหารตามธรรมชาติอาจเป็นผักป่า ผักข้างรั้ว ต่างๆ และรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก รสชาติของอาหารจะมีรสเค็มและเผ็ด นิยมแกงแบบน้ําขลุกขลิก ไม่ใช้ กะทิเยอะเหมือนภาคกลาง การจัดสําหรับอาหารจะจัดใส่ขันโตก อาหารภาคเหนือ เช่น แกงโฮะ แกงฮังเล
  • 5. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 5 แคบหมูน้ําพริกหนุ่ม น้ําพริกอ่อง ผักกาดจอ จิ๊นส้ม (แหนม) ไส้อั่ว ข้าวซอย ขนมจีนน้ําเงี้ยว ( ผักกาดจอ เป็น แกงที่มีเครื่องปรุงหลัก ได้แก่ ผักกวางตุ้ง กระดอกหมู ถั่วเน่า และน้ํามะขามเปียก มีรสชาติเปรี้ยว รับประทาน กับพริกทอด) ขันโตกภาคเหนือ อาหารภาคเหนือ 1.1.5 วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การแต่งกายของชาวเหนือจะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติและกลุ่มชน ซึ่ง มีลักษณะ ดังนี้ ผู้หญิง – สวมเนื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มสไบทับและเกล้าผมสวมเครื่องประดับเงิน หรือทอง ผู้ชาย – สวมเสื้อคอกลมหรือคอจีน สวมกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า หรือผ้าโพกศีรษะ หรือ สวมเสื้อม่อฮ่อม สวมกางเกงสามส่วนมีผ้าคาดเอว และสวมเครื่องประดับเงินหรือทอง การแต่งกายภาคเหนือ https://www.google.co.th/search?q นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัย การดํารงชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวเหนือแล้ว ภาคเหนือยังมีประเพณีที่สําคัญ และแสดงถึงวัฒนธรรมทางภาคเหนือ เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณียี่เป็ง ประเพณีบวชลูกแก้ว
  • 6. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 6 ล Xiประเพณียี่เป็ง การลอยโคมปร ประเพณีตานก๋วยสลาก 1.2 ลักษณะเฉพาะของนาฏสิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่ส่งผลให้ลักษณะการแสดงนาฏศิลป์มี ความอ่อนหวาน นุ่มนวล เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนดาบ ฟ้อนชมเดือน นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่มีความ ฮึกเหิม สนุกสนานตื่นเต้น เช่น การตีกลองสะบัดชัย อีกทั้งการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง พื้นเมืองภาคเหนือบางการ แสดงยังได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ฟ้อนม่านมงคล มีอิทธิพล มาจากวัฒนธรรมของประเทศพม่า ฟ้อนกิ่งกะหร่าล]มีอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ ระบาเก็บใบชา จาก วัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา เป็นต้น Ahฟ้อนม่านมงคล ฟ่อนกิ่งกะหร่า https://www.google.co.th/search?q https://www.gotoknow.org/posts ลักษณะการแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองจะแต่งกายตามวัฒนธรรมของชาวเหนือ อาจมี การดัดแปลงให้สวยงามมากขึ้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกลองแอว วงสะล้อ ซอ ซึง เป็นต้น
  • 7. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 7 ตีกลองสะบัดชัย การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะกากรแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนา ที่มีลีลาท่าทางโลดโผนรวมถึงใช้อวัยวะ ต่างๆประกอบการตีกลองสะบัดชัย จุดประสงค์ของการตีกลองสะบัดชัย คือ 1. ใช้ตีบอกสัญญาณ เช่น ตีบอกสัญญาฯการโจมตี ของข้าศึก ตีสัญญาณบอกข่าว เป็นต้น 2. ใช้เป็นมหรสพ 3. ใช้เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ 4. ใช้เป็นเครื่องประโคมเพื่อความสนุกสนาน ลักษณะการแสดง จะเป็นการตีกลองสะบัดชัยด้วย ลีลาต่างๆ ซึ่งกลองสะบัดชัยประกอบด้วย กลองสองหน้า การแสดงตีกลองสะบัดชัย ขนาดใหญ่ 1 ลูก กลองขนาดเล็กหรือ เรียกว่า ลูกตุบ 2-3 ลูก https://www.google.co.th/search?q การตีกลองจะมีจังหวะในการตี ซึ่งแบ่งลักษณะการตีออกเป็นแบบต่างๆดังนี้  ตีเรียกคน มีการประชุมกัน ก็จะตีเฉพาะกลองใหญ่ โดยตีจากจังหวะช้าและเร่งเร็วขึ้น  ตีบอกเหตุฉุกเฉิน เช่นไฟไหม้ ไล่ขโมย จะตีเฉพาะกลองใหญ่ มีจังหวะเร่งเร็วติดๆกัน  ตีบอกวันพระ วันโกน จะตีทั้งกลองใหญ่และลูกตุบ มีฉาบและฆ้องประกอบจังหวะด้วย  ตีในงานบุญ จะตีทั้งกลองใหญ่และลูกตุบ มีจังหวะเร่งเร็วเสมอต้นเสมอปลาย โดยมีคนใช้แส้ไม้ไผ่ที่ เรียกว่า ไม้แสะ ฟาดหน้ากลองให้จังหวะ แต่ไม่มีฉาบและฆ้องประกอบ การตีแบบต่างๆนี้ เป็นการตีอยู่กับที่ ต่อมาเมื่อนํามาตีในขบวนต่างๆจึงใช้จังหวะและทํานอง ล่องน่าน ลีลาการตีกลองสะบัดชัย จะมีการออกลวดลายของผู้ตี ซึ่งใช้อวัยวะต่างๆ เช่น ศีรษะ ศอก กําป๎่น เป็นต้น แต่เป็นเพียงลีลาเท่านั้น จะไม่สัมผัสถูกหน้ากลองจริง เพราะถือว่ากลองเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ การตีกลองสะบัดชัยเป็นที่นิยมแพร่หลาย มีการประกวดหรือแข่งขันกันทุกปี มีการคิดประดิษฐ์ท่าทางใหม่ๆ มีการแปรขบวน ต่อตัว พ่นไฟ จึงเป็นการแสดงที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ
  • 8. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 8 2.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง 2.1 วัฒนธรรมภาคกลาง ภาคกลาง มีประชากรอาศัยอยู่จํานวนมาก มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เพราะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ําหลายสายไหล่ผ่าน จึงเหมาะแก่การทําเกษตรกรรม และได้ชื่อ ว่า เป็นอู่ข้าวอู่น้าของไทย วัฒนธรรมทางสังคม คนในภาคกลางจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รักพวกพ้อง ให้ความช่วยเหลือและ พึ่งพาอาศัยกัน ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ํา เพราะเป็นแหล่งที่อุดาสมบูรณ์ วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย ลักษณะที่อยู่อาศัยของคนในภาคกลางจะมีใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ําท่วม และใช้เก็บเครื่องมือและผลิตผลทางการเกษตร มีหลังคาทรงจั่ว เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และทําให้ฝนที่ตก ลงมาไม่ค้างอยู่บนหลังคา เพื่อให้น้ําฝนระบายไหลลงมาได้รวดเร็ว วัฒนธรรมด้านภาษา ภาษาในภาคกลางจะมีภาษาพูด และภาษาเขียนที่เป็นภาษากลาง แต่อาจมี ลักษณะสําเนียงที่แตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐม จะมีสําเนียง เหน่อ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี จะมีสําเนียงการพูดเป็นภาษากลางที่ชัดเจน เป็นต้น วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารของภาคกลางมีหลากหลาย โดยจะรับประทานข้าวเจ้ากับอาหาร คาวหรือเรียกว่า กับข้าว และอาหารภาคกลางยังได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เนื่องจากเมืองหลวงของไทยตั้งอยู่ ในภาคกลางจนถึงป๎จจุบัน ทําให้ประเทศไทยมีการติดต่อการค้ากับชาวต่างชาติ จึงได้รับอิทธิพลด้านอาหารมาด้วย จนกลายเป็นอาหารประจําภาคกลางและบางอย่างก็กลายเป็นอาหารประจําชาติอาหารของภาคกลางมีลักษณะดังนี้ https://www.google.co.th/search?q บ้านภาคกลาง ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?q
  • 9. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 9  อาหารประเภทเครื่องแกงและแกงกะทิ เช่น แกงมัสมั่น แกงส้ม เป็นต้น  อาหารที่มีการประดิษฐ์ให้มีความสวยงาม เช่น ลูกชุบ ช่อม่วง จ่ามงกุฎ ข้าวแช่ หรืออาหารที่ตกแต่งด้วย การแกะสลักเพื่อความสวยงาม เป็นต้น  อาหารที่มีเครื่องเคียง เช่น น้ําพริกลงเรือ มีเครื่องเคียงเป็นผักและหมูหวาน สะเดาน้ําปลาหวาน จะ รับประทานกับปลาดุกย่าง เป็นต้น  อาหารว่างและขนมหวาน เช่น กระทงทอง ขนมสอดไส้ ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมชั้น เป็นต้น จะเห็นได้ว่าของภาคกลางมีความหลากหลายและมีหลายรสชาติ คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน ตาม ชนิดของอาหารส่วนใหญ่มีเครื่องเทศและกะทิเป็นส่วนประกอบ ทําให้วัฒนธรรมด้านอาหารของภาคกลางมีความโดด เด่น และเป็นที่รู้จักทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ เช่น ต้มยํากุ้ง ผัดเปรี้ยวหวาน น้ําพริกกับอาหารเครื่องเคียง https://www.google.co.th/search?q วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย ในอดีตคนภาคกลางผู้หญิงจะนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก ต่อมาเปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอก ผู้ชายนุ่งกางเกงขาสามส่วน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น เน้นความ เรียบง่าย สวมใส่สบาย เป็นการแต่งกายแบบชาวบ้าน แต่ถ้าเป็นการแต่งกายในวัฒนธรรมหลวงจะเป็นเครื่องขุด ไทยต่างๆ เช่น ชุดไทยพระราชนิยม ชุดไทยจักรี มีเครื่องประดับที่สวยงาม ซึ่งใช้ในงานต่างๆ
  • 10. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 10 นอกจากวัฒนธรรมด้านต่างๆแล้ว ภาคกลางยังมีประเพณีที่แสดงถึงความร่วมมือร่วมใจ ความ สามัคคีของคนในท้องถิ่น การเคารพบูชาศาสนาอีกด้วย เช่น ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแข่งเรือยาว ประเพณีรับบัว เป็นต้น ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแข่งเรือยาว https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?q 2.2 ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง ลักษณะของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลางจะมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในภาค สะท้อนถึงการประกอบอาชีพ มีความเรียบง่าย เน้นความสนุกสนาน บันเทิง เพื่อผ่อนคลายหลังจากการทํางานเสร็จ บางการแสดงมีดนตรีประกอบ เช่น รําเถิดเทิง ระบําชาวนา และบางการแสดงเป็นการขับร้อง หรือที่เรียกว่า ด้น สด โดยใช้ปฏิภาณไหวพริบในการขับร้องระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง เช่น ลําตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เป็นต้น เครื่องดนตรีที่ใช้ เช่น กลองยาว โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง เป็นต้น นอกจากการแสดงที่เป็นลักษณะของพื้นบ้านแล้ว ภาคกลางยังมีการแสดงที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหลวงที่ เป็นมาตรฐานด้วย เช่น รําวงมาตรฐาน ระบําต้นวรเชษฐ์ เป็นต้น และใช้วงปีพาทย์บรรเลงประกอบการแสดง ระบำชาวนา เป็นการแสดงที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนภาคกลาง ทํานองเพลง ระบําชาวนาแต่งโดย อาจารย์มนตรี ตราโมท และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ออกแบบท่ารํา ลักษณะการแสดง ผู้แสดงจะแสดงท่ารําประกอบทํานองเพลง ไม่มีบทขับร้อง มีจังหวะสนุกสนาน และมี อุปกรณ์ประกอบการแสดงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํานา เช่น เมล็ดข้าว เคียวเกี่ยวข้าว รวงข้าว กระด้ง เป็นต้น เป็นการร่ายรําท่าทางการทํานาตั้งแต่หว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝ๎ดข้าว เป็นต้น การแต่งกายจะเป็นชุดพื้นบ้านที่เรียบง่าย คือ
  • 11. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 11 ผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งโจงกระเบนสีดํา ผู้ชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงสามส่วน ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง เช่น กลองยาว โทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น ระบําชาวนา 3.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 3.1 วัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีเทือกเขาและมี อาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงเป็นภาค ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ บ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม การดําเนินชีวิตของคน ในภาค วัฒนธรรมทางสังคม ชาวอีสานจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีความเป็นกันเอง ใช้ชีวิตแบบธรรมชาติ อยู่ง่าย กินง่าย มีน้ําใจ ชาวอีสานจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงทําให้เกิดประเพณีต่างๆมากมาย เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมว เป็นต้น ประเพณีบุญบั้งไฟ https://www.google.co.th/search?q วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย คนในภาคอีสานจะสร้างบ้านเรือนด้วยการฝ๎งเสา เป็นบ้านเรือนไม้ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่าง มีประตู ช่องออกทางด้านหน้าเรือนไว้ป้องกันลม เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดแรง หลังคาเป็น ลักษณะบ้านภาคอีสาน ทรงจั่วเหมือนเรือนไทยภาคกลาง https://www.google.co.th/search?q
  • 12. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 12 วัฒนธรรมด้านภาษา ภาคตะวันออก เฉียงเหนือจะมีลักษณะสําเนียงที่แตกต่างกันไป หรือ พอกะเทิน ไม่มากไม่น้อย เรียกว่า ภาษาถิ่นอีสาน ในวัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ สะเดิด สะดุ้ง และกลางจะมีสําเนียงลาว กลุ่มวัฒนธรรมอีสานใต้จะมี ขี้ตั๋ว โกหก สําเนียงเขมร กลุ่มวัฒนธรรมโคราชจะมีสําเนียงโคราช แต่ลักษณะของคําและความหมายจะคล้ายกัน สามารถ เข้าใจกันได้ทั่วทั้งภาค วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารอีสาน เป็นอาหารที่รู้จักและนิยมทั่วไป เป็น สิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวอีสานที่มีความเป็นอยู่ที่ เรียบง่าย กินง่าย โดยหาสิ่งของในท้องถิ่นมาดัดแปลงปรุงเป็น อาหาร อาหารอีสานจะมีรสชาติเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว และ เครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า และจะรับประทานข้าว เหนียวเป็นส่วนใหญ่ อาหารอีสาน เช่น ลาบ ก้อย ส้มตํา อาหารอีสาน อ่อม หมก หม่ํา ซุบหน่อไม้ เป็นต้น https://www.google.co.th/search?q วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่าง หลังจากฤดูทํานา การแต่งกายจึงใช้ผ้าที่มีลวดลายสวยงาม ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นที่มีลายสวยงามยาวคลุมเข่า สวมเสื้อ แขนกระบอก ห่มสไบ ผมเกล้ามวย สวมเครื่องประดับเงิน ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อม่อฮ่อมแขนสั้น มี ผ้าขาวม้าคาดเอวหรือพาดบ่า ลักษณะการแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามโอกาสและภาคจะวันออกเฉียงเหนือยังมีผ้า ที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก คือ ผ้าไหม ซึ่งเป็นผ้าที่มีความสวยงาม เพราะคนในภาคนี้ประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จึงมีการทอผ้าไหมลวดลายต่างๆ
  • 13. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 13 นอกจากนี้ยังมีประเพณี ที่เป็นที่รู้จักและสะท้อนถึง วัฒนธรรมของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เป็นประเพณีที่สร้างความสุข ความสามัคคีให้คนใน ท้องถิ่น เช่นประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีไหล เรือไฟ ประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นต้น ผ้าไหม เป็นผ้าสวยงามของอีสาน https://www.google.co.th/search?q ประเพณีแห่เทียน ประเพณีไหลเรือไฟ https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?q 3.1 ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) การแสดงนาฏศิลป์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการแสดงที่มีความเรียบง่ายมีจังหวะ และ ทํานองที่สนุกสนาน ถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นในด้านความเชื่อ อาชีพ และความบันเทิงต่างๆ เช่น เซิ้ง สวิง ถ่ายทอดวิถีชีวิตการหาปลา เซิ้งบั้งไฟ ถ่ายทอดวีชีวิต ความเชื่อ เป็นต้น ลักษณะการแสดงนาฏศิลป์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแบ่งออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรมคือ กลุ่ม อีสานเหนือ กลุ่มอีสานใต้ และกลุ่มอีสานเฉพาะเมืองโคราช ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
  • 14. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 14  กลุ่มอีสานเหนือ จะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศลาว ซึ่งได้แก่ เซิ้ง ฟ้อน และลํา เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งกระหยัง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการ แสดง เช่น แคน พิณ ซอ โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น  กลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากประเทศกัมพูชา ซึ่งได้แก่ เรือม เช่น เรือมลูดอันเร (รํากระบทสาก) รํากระโน๊บติงต็อง (รําตั๊กแตนตําข้าว) เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เช่น กลองกันตรึม ปี่สไล รํามาะนา พิณ เป็นต้น  กลุ่มอีสานเฉพาะเมืองโคราช เป็นกลุ่มวัฒนธรรมเฉพาะในเขตจังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะการแสดง ที่โดดเด่น คือ การเล่นเพลงโคราช ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการละเล่นประเภทเพลงฉ่อย ลําตัดของภาคกลาง มี ความสนุกสนาน เป็นการใช้ปฏิภาณไหวพริบของผู้ขับร้อง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง การประกอบอาหารหรือหาอาหารของชาวอีสาน มักจะอยู่กับธรรมชาติ เช่น ตามทุ่งนา แม่น้ํา ลําครอง เป็นต้น ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (ป๎จจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) จึงได้คิดค้นประดิษฐ์ชุดการ แสดงเซิ้งแหย่ไข่มดแดง โดยอาจารย์ประชัน คะเนวัน และอาจารย์ดรรชนี อุบลเลิษ ไข่มดแดงถือว่าเป็นอาหารอีสานที่หารับประทานได้ในช่วงหน้าแล้ง เป็นอาหารที่ได้รับความนิยม หาได้ง่าย ในท้องถิ่น ซึ่งมีวิธีการหาไข่มดแดงและอุปกรณ์การหาไข่มดแดงเพื่อนํามาปรุงอาหาร อาจารย์ประชัน คะเนวัน และอาจารย์ดรรชนี อุบลเลิศ ได้ศึกษาขั้นตอนและวิธีการหาไข่มดแดงอย่าง ละเอียดเพื่อมาประดิษฐ์ท่ารําที่มีความสนุกสนานเร้าใจ ลักษณะการแสดง เริ่มตั้งแต่เดินออกจากบ้านฝ่ายหญิงถือคุใส่น้ําและเศษผ้าเหน็บไว้ที่เอว ฝ่ายชายถือไม้ ยาวผูกตะกร้าที่ปลายไม้สําหรับแหย่รังมดแดง และเริ่มมองหารังมดแดง จากนั้นเป็นท่าแหย่มดแดงได้เทลงในคุใส่น้ํา นําผ้ากวนมดแดง เพื่อแยกตัวมดแดงออกจากไข่มดแดง เทน้ําออกจากคุ สุดท้ายเป็นท่าเก็บอุปกรณ์และเดินทาง กลับบ้าน เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงนุ่งผ้าซิ่นสั้นแค่เข่า สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม ห่มสไบผมเกล้ามวย ติดดอกไม้สวมเครื่องประดับเงิน
  • 15. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 15 4.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ 4.1 วัฒนธรรมภาคใต้ ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศติดกับชายฝ๎่งทะเล ประชากรในภูมิภาคส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพประมง และทําสวนยางพารา เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมหลากหลายได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซีย ทําให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม วัฒนธรรมทางสังคม ชาวใต้จะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รักเพื่อนพ้อง ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เข้มแข็ง ห้าวหาญ มีความอดทน ส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพประมง และทําสวนยางพารา (การทําสวนยางพารา https://www.google.co.th/search?q) วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวใต้จะเป็นบ้านหรือเรือน ซึ่ง ชาวใต้จะเรียกว่า เริน มี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่อง ผูกและเรือนเครื่องสับ ( ลักษณะบ้านภาคใต้ https://www.google.co.th/search?q ) เรือนเครื่องผูก คือเรือนที่นําวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ยืนต้นขนาดเล็กมาประกอบกันเป็นตัวเรือน โดยการผูกยึดด้วยเชือกหรือเถาวัลย์ แต่ไม่คงทนถาวร สามารถซ่อมแซมได้ง่าย (เรือนเครื่องผูก https://www.google.co.th/search?q) เรือนเครื่องสับ คือเรือนที่ตกแต่งด้วยไม้เหลี่ยม ที่ใช้ขวานตกแต่ง จึงเรียกเรือนเครื่องสับ มีใต้ถุนสูงเพื่อ ป้องกันน้ําท่วม และมีชองระบายลม (เรือนเครื่องสับ https://www.google.co.th/search?q )
  • 16. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 16 วัฒนธรรมด้านภาษา ภาษใต้หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาษาป๎กษ์ใต้ ในแต่ละจังหวัดจะมีสําเนียงที่ แตกต่างกันไปและบางจังหวัดจะมีการใช้ภาษายาวีด้วย เช่น จังหวัดนราธิวาส ป๎ตตานี ยะลา เป็นต้น หรอยจังหู อร่อยมาก หวิบอย่างแรง โกรธมาก พันพรือ อย่างไร วัฒนธรรมด้านอาหาร ภาคใต้ เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝ๎่งทะเล ประกอบอาชีพประมงเป็นส่วน ใหญ่ ทําให้อาหารของชาวใต้จึงเป็นอาหารทะเลมีรสจัดและมีกลิ่นเครื่องเทศโดยเฉพาะขมิ้น เพราะช่วยดับกลิ่นคาว ของอาหารทะเลได้ดี อาหารป๎กษ์ใต้จึงมีสีออกเป็นสีเหลืองๆ เช่น แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ คั่วกลิ้ง แกง พริก และมีผักสดรับประทานเป็นเครื่องเคียง วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การแต่งกายของชาวใต้ ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่นยาวคลุมถึงข้อเท้า มี ลวดลาย เรียกว่าผ้าบาติก หรือ ปาเต๊ะ สวมเสื้อรัดรูปปล่อยชาย ผู้ชายจะนิยมนุ่งโสร่ง สวมเสื้อปล่อยชาย นอกจากวัฒนธรรมดังกล่าวแล้ว ภาคใต้ยังมีประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อต่างๆซึ่งแสดงถึงความ สามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจกัน การเคารพบูชาในศาสนา เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีชิงเปรต ประเพณีสารท เดือนสิบ เป็นต้น ประเพณีชักพระ ประเพณีชิงเปรต https://www.google.co.th/search?q https://www.google.co.th/search?tbm=isch&tbs=rimg%3ACZdDx92dhiw- IjigCf0XP3LJnpGOuhqOWclbz4g1WSYhSbnNSs_1VeWmiSWIacdQe7xFITev3BheBU
  • 17. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 17 4.2 ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ จะแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของ ชาวใต้ เช่น ระบําร่อนแร่ ระบํากรีดยาง เป็นต้น ลักษณะการแสดงจะมีจังหวะ และทํานองที่คึกคักสนุกสนาน บางการแสดงอาจผสมผสานกับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซียด้วย การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้แบ่งออกตามลักษณะพื้นที่ ดังนี้  ภาคใต้ตอนบน เช่น โนรา เพลงบอก เพลงเรือ เป็นต้น  ภาคใต้บริเวณลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลา เช่น หนังตะลุง โนรา กาหลอ โต๊ะครีม เป็นต้น  ภาคใต้บริเวณชายฝ๎่งทะเลอันดามัน เช่น ลิเกป่า รองเง็ง เป็นต้น  ภาคใต้ตอนล่าง เช่น ลิเกฮูลู กรือโต๊ะ ซีละ เป็นต้น ซึ่งการแสดงแต่ละการแสดงจะมีลักษณะรูปแบบการแสดงที่แตกต่างกันไป ใช้แสดงในงานรื่นเริง หรือ โอกาสพิเศษต่างๆ สร้างความสุข สนุกสนานให้กับคนในท้องถิ่น ระบำปาเต๊ะ ระบําปาเต๊ะ เป็นระบําที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาจารย์ดรุณี สัจจากุล ภาควิชานาฏศิลป์วิทยาลัยครูยะลา เมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนาน ถ่ายทอดวิถีชีวิตการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ของชาวใต้ ลักษณะการแสดง เป็นการแสดงขั้นตอนการทําผ้าปาเต๊ะ โดยนําขั้นตอนการทํามาผสมผสานเป็นท่ารํา โดยเริ่มจากท่าแบกภาชนะใส่เทียนไปเคี่ยวบนไฟร้อน ท่าถือกรอบไม้ออกมาขึงผ้าเพื่อเขียนลวดลาย ท่าย้อมผ้า ท่า นําผ้าที่ย้อมมาตาก และท้ายการแสดงทุกกลุ่มก็จะออกมาร่ายรํา ระบํากันอย่างสนุกสนาน และใช้ดนตรีพื้นเมือง บรรเลงประกอบการแสดง ระบําปาเต๊ะ https://www.google.co.th/search?q=ระบํา ปาเต๊ะ&biw=1517&bih=735&noj=1&site=webhp&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=EBTRVPbKNIPi8AWTg
  • 18. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 18 ละครไทย ละครไทย ละครรำ ละครปรับปรุงขึ้นใหม่ ละครร้อง ละครพูด ละครชาตรี ละครดึกดาบรรพ์ ละครร้องล้วนๆ ละครพูดล้วนๆ ละครใน ละครพันทาง ละครร้องสลับพูด ละครพูดสลับลา ละครนอก ละครสังคีต ละครสังคีต ละครพูดคาฉันท์ โขน ละครหลวงวิจิตรวาทการ 1. ละครรา ละครรํา เป็นละครที่ใช้ศิลปะการร่ายรําดําเนินเรื่อง มีดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงมีลักษณะการ แต่งกายที่งดงาม แบ่งได้ดังนี้ 1.1 ละครชาตรี ละครชาตรี นิยมเล่นกันทางภาคใต้ เรื่องที่แสดงคือ พระสุธน มโนราห์ จึงเรียกละครประเภทนี้ว่า โนราชาตรี และได้เริ่มแพร่หลายเข้ามาในกรุงรัตนโกสินทร์ ละครชาตรีในสมัยอดีตจะใช้ผู้ชายแสดงเท่านั้น มีตัว ละคร คือ นายโรง ตัวนาง และตัวตลก แต่ต่อมาใช้ผู้หญิงแสดง การแต่งกายในสมัยอดีตจะไม่สวมเสื้อ ต่อมาเมื่อมี ผู้หญิงแสดงจึงให้สวมเสื้อและแต่งเครื่องสวยงาม ละครชาตรีจะใช้วงปี่พาทย์ชาตรีบรรเลงประกอบการแสดงการเริ่มต้นแสดงจะเริ่มทําพิธีบูชาครูเบิก โรงพระออกมารําซัดหน้าบทตามเพลง แล้วจึงเริ่มเรื่อง เมื่อเลิกแสดงก็รําซัดชาตรีอีกครั้งหนึ่ง เพลงที่ใช้ขับร้องมักจะมีคําว่า ชาตรี อยู่ด้วย เช่น รําชาตรี ชาตรีตะลุง เป็นต้น ละครชาตรี https://www.google.co.th/search?q=ละครชาตรี+พระสุธน+มโนราห์&biw
  • 19. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 19 1.2 ละครนอก ละครนอก เป็นละครที่เล่นกันนอกเขตพระราชฐาน มีวิวัฒนาการมาจากละครชาตรีในสมัยอดีต จะ ใช้ผู้ชายแสดง ต่อมาจึงให้ผู้หญิงแสดงได้ การแต่งกายเลียนแบบละครใน มีความสวยงาม ละครนอกมีการดําเนินเรื่องรวดเร็ว จึงใช้ผู้แสดงที่มีความคล่องแคล่วในการรําและร้อง สอดแทรกตลกขบขัน ไม่ยึดถือหรือเน้นขนบธรรมเนียม ประเพณีใช้ถ้อยคําแบบชาวบ้านทันเหตุการณ์ เพื่อ เอาใจผู้ชม และใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าบรรเลงประกอบ การแสดง เรื่องที่นิยมแสดง เช่น สังข์ทอง ไกรทอง ละครเรื่องสังข์ทอง ลักษณวงศ์ คาวี สังข์ศิลป์ชัย เป็นต้น https://www.google.co.th/search?q 1.3 ละครใน ละครใน เป็นละครที่แสดงในเขตพระราชฐานมีความงดงาม ถือเป็นละครชั้นสูง มีความงดงามในทุกด้านทั้งผู้แสดง การขับร้อง บทเพลง ดนตรี การแต่งกายและการร่ายรํา การแสดงละครในจะใช้ผู้หญิงแสดงเท่านั้น แต่ต่อมาเริ่มให้ ผู้ชายแสดงด้วยได้ การแต่งกายในการแสดงจะแต่งกาย แบบกษัตริย์ เรียกว่า ยืนเครื่องพระ-ยืนเครื่องนาง เป็นการ แสดงที่มีความอ่อนช้อยงดงามมากเพราะเน้นกระบวนท่ารํา ละครในเรื่องอิเหนา และแสดงเพียง 3 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท http://www.sahavicha.com/?name=media&file= และอิเหนา readmedia&id=1039
  • 20. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 20 1.4 โขน โขน เป็นศิลปะกาแสดงที่พัฒนามาจาก การเล่นชักนาคดึกดําบรรพ์ หนังใหญ่ และกระบี่กระบอง เป็นกาแสดงที่ใช้ท่าเต้น ท่าร่ายรําและมีเอกลักษณ์ต่าง จากการแสดงอื่น คือผู้แสดงจะสวมศีรษะโขนตามลักษณะ ตัวละครต่างๆเป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราว มีบทพากย์ บทเจรจา ขับร้อง การแต่งกายจะแต่งแบบยืนเครื่อง การแสดโขน เรื่อง รามเกียรติ์ เรื่องที่นิยมแสดง คือ รามเกียรติ์ https://www.google.co.th/search?q 2. ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นละครไทยที่มีการปรับปรุงรูปแบบการแสดงให้มีความสนุกสนานมีการ ดัดแปลงหรือนําแบบอย่างของละครต่างชาติเข้ามาผสมผสาน ทําให้การแสดงมีความน่าสนใจมากขึ้น ละครที่ ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีดังนี้ 2.1 ละครดึกดาบรรพ์ ละครดึกดําบรรพ์ เป็นละครที่ปรับปรุงขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และเจ้าพระยา เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร ) โดยนําการแสดง อุปรากรมาประยุกต์กับการแสดงให้ผู้แสดงขับร้องเอง และ แสดงที่โรงละครดึกดําบรรพ์ ใช้วงปี่พาทย์ดึกดําบรรพ์บรรเลง ประกอบการแสดงจึงเรียกละครประเภทนี้ว่า ละครดึกดาบรรพ์ ละครดึกดําบรรพ์ คาวี https://www.google.co.th/search?q=ละครดึกดําบรรพ์&biw
  • 21. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 21 2.2 ละครพันทาง ละครพันทางเป็นละครที่เกิดขึ้นโดย เจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธํารง เป็นละครที่มีเรื่องราวการแสดงเกี่ยวข้อง กับต่างชาติ มีลักษณะการแสดงตามแบบละครนอก การแต่งกายของผู้แสดงจะแต่งตามชาตินั้นๆ เช่น เรื่องที่แสดงเกี่ยวกับชาติจีน การแต่งกายก็เป็นแบบจีน เป็นต้น มีการดําเนินเรื่องด้วยการร้อง และแทรก บทเจรจา บทพูดบ้างท่ารําก็ผสมผสานกันระหว่าง ของไทยกับต่างชาติและใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลง ประกอบการแสดง บทเพลงที่ขับร้องจะเป็น ละครพันทาง เรื่องราชาธิราช เพลงภาษา เช่น ลามชมดง มอญดูดาว เป็นต้น https://www.google.co.th/search?q=ละครพันทางเรื่องราชาธิราช+ เรื่องที่นิยมแสดง เช่น ราชาธิราช สามก๊ก พระลอ ตอนสมิงพระรามแต่งงาน&biw 2.3 ละครเสภา ละครเสภา เป็นละครที่ปรับปรุงมาจากการเล่านิทาน เสภามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นการเล่าเรื่อง แบบคํากลอนและใช้กรับประกอบการเล่าเรื่อง จึงเรียกว่า การขับเสภา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิป ประพันธ์พงศ์ได้นําละครพันทางมาดําเนินเรื่อง ด้วยการขับเสภาประกอบการรํา จึงเรียกว่า ละครเสภา โดยการ แสดงจะมีลักษณะคล้ายกับละครพันทางแต่นําการขับเสภามาสอดแทรกในเรื่อง ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการ แสดง มีการแต่งกายตามท้องเรื่องเปลี่ยนฉากไปตามเนื้อเรื่อง และเรื่องที่นิยมแสดง เช่น ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง ละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนแสนสะท้าน http://drartchula.blogspot.com/2009/02/blog-post_9429.html
  • 22. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 22 2.4 ละครหลวงวิจิตรวาทการ ละครหลวงวิจิตรวาทการ เป็นละครที่ปลุกใจคนให้รักชาติ ถือกําเนิดโดยหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) ขณะที่ท่านดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านได้เป็นถึง คุณค่าของประวัติศาสตร์ จึงได้นํามาปรับปรุงเป็นการแสดง เนื้อเรื่องจะมีทั้งความรัก การรบที่หลากหลายอารมณ์ ละครหลวงวิจิตรวาทการ ตัวเอกของเรื่องจะรักชาติยอมตามเพื่อชาติ จึงเรียกละครนี้ว่า เรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคําแหง ละครหลวงวิจิตรวาทการ ลักษณะการแต่งกายจะคล้ายกับ https://www.google.co.th/search?q=ละครเรื่อง+อานุภาพพ่อขุนรามคําแหง&sa ละครพันทาง มีการรํา ระบํา สอดแทรกในการแสดง มีการขับร้องเพลงทั้งเพลงไทยและวงดนตรีสากลบรรเลง ประกอบการแสดง เรื่องที่แสดงเช่น ศึกถลาง อานุภาพพ่อขุนรามคําแหง เป็นต้น 3.ละครร้อง ละครร้อง เป็นละครที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงริเริ่มขึ้น โดยปรัปปรุงมา จากการแสดงของละครต่างประเทศ ทรงปรับปรุงแก้ไขละครร้องให้นําไปเล่นที่โรงละครปรีดาลัย ภายหลังเปลี่ยนชื่อ เป็น ละครหลวงนฤมิตร แต่บางครั้งก็เรียน ละครปรีดาลัย เรื่องที่นิยมแสดง เช่น สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน เป็นต้น ละครร้องแบ่งออกเป็นดังนี้ 3.1 ละครร้องสลับพูด ละครร้องสลับพูดจะใช้ผู้หญิงแสดงเท่านั้น ยกเว้นตัวตลกจะใช้ผู้ชาย แสดง โดยการแสดงจะเน้นการร้องเป็นหลักแต่จะมีการพูด สอดแทรกบ้างโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ริเริ่มทําให้ประชาช เรียกว่า ละครกรมพระนราธิปหรือ ละครปรีดาลัย โดยการแสดงจะมีฉากตามท้องเรื่อง แต่งกาย ละครร้องเรื่อง สาวเครือฟ้า ตามสมัย และใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง https://www.google.co.th/search?q=ละครร้อง+เรื่องสาวเครือฟ้า&biw
  • 23. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 23 3.2 ละครร้องล้วนๆ ละครร้องล้วนๆ เป็นละครที่ดําเนินเรื่องด้วยการร้องเพียงอย่างเดียว ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดง โดยพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงริเริ่ม ซึ่งเลียนแบบจากละครอุปรากร มีการแสดงคล้ายละคร พันทาง มีฉากตามเนื้อเรื่อง การแต่งกายตามสมัย ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง เรื่องที่แสดง เช่น สาวิตรี 3.3 ละครสังคีต ละครสังคีต เป็นละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจาก ละครพูดสลับลํา ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง มีการแต่งกายตามสมัยใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลง ประกอบการแสดง เรื่องที่แสดงจะนิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาห์พระสมุทร เป็นต้น 4. ละครพูด ละครพูดเป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแสดงเรื่องใดก็ได้ ซึ่งจัด โดยเหล่าขุนนาง ข้าราชบริพาร (อ่านว่า ข้า-ราด-ชะ-บอ-ริ-พาน) จัดแสดงถวายทอดพระเนตร ต่อมาสมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6 ) เสด็จนิวัติประเทศไทย จึงได้เริ่มสร้างการ แสดงละครพูดแบบใหม่ โดยผสมผสานกับละครตะวันตกโดยเรียกว่า ละครเวทีปัญญา ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ละครศรีอยุธยา ถือว่าในสมัยของรัชกาลที่ 6 เป็นยุครุ่งเรืองของละครพูด ละครพูดแบ่งออกเป็น ดังนี้ 4.1 ละครพูดล้วนๆ ละครพูดล้วนๆ ในระยะแรกจะใช้ผู้ชายแสดงเท่านั้น ต่อมาใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงตามเนื้อเรื่อง แต่งกายตามสมัย ดําเนินเรื่องโดยการพูดอย่างเดียว เรื่องที่แสดงเช่น โพงพาง เจ้าข้า สารวัด เป็นต้น และใช้วง ดนตรีสากลหรือวงปี่พาทย์ไม้นวมบรรเลงประกอบการแสดง 4.2 ละครพูดคาฉันท์ ละครพูดคําฉันท์ จะดําเนินเรื่องด้วยการพูดที่เป็นคําประพันธ์ประเภทกลอน โคลงฉันท์ แสดงตามเนื้อ เรื่อง แต่งกายตามเนื้อเรื่อง ใช้วงดนตรีสากลหรือปี่พาทย์ไม้นวม บรรเลงประกอบการแสดง เรื่องที่แสดง มัทนะ พาธา
  • 24. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 24 4.3 ละครพูดสลับลา ละครพูดสลับลํา เป็นละครที่ดําเนินเรื่องด้วยการพูดสลับการขับร้องแต่ยังคงมีบทพูดเป็นหลัก โดยบทร้องจะแทรกเพื่อความสนุก หรือไม่มีก็ได้ การแต่งกายตามสมัย แสดงตามเนื้อเรื่อง เรื่องที่นิยมแสดง ได้แก่ เรื่องชิงนาง และเรื่องปล่อยแก่ ใช้วงดนตรีสากลหรือวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง ละครพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน เป็นการแสดงละครที่มีบทละคร เนื้อเรื่อง นํามาจากนิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก หรือ นิทานท้องถิ่น ที่แสดงถึงภูมิป๎ญญาของคนในสมัยอดีต ซึ่งนิทานเหล่านี้จะสอดแทรกข้อคิดต่างๆไว้มากมาย เช่น ความกตัญํูกตเวที ความซื่อสัตย์ ความเมตตา เป็นต้น เมื่อนํามาสร้างสรรค์เป็นละครพื้นบ้าน จึงทําให้ผู้ชมได้ชมและเพลิดเพลิน อีกทั้งได้ข้อคิดจากละครด้วย ละครพื้นบ้าน มีรูปแบบการแสดงคล้ายกับละครนอกและละครชาตรี ที่มีเรื่องราวสนุกสนานมีการใช้เวท มนต์คาถา อิทธิฤทธิ์ต่างๆ ทําให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจไปกับการแสดง ซึ่งจัดว่าละครพื้นบ้านเป็นมหรสพท้องถิ่นอย่าง หนึ่งการแต่งกายในการแสดงละครพื้นบ้าน จะแต่งคามลักษณะของเรื่อง เช่น ถ้าตัวละครเป็นกษัตริย์ จะมีการแต่ง กายแบบกษัตริย์ ถ้าเป็นชาวบ้าน ก็แต่งแบบชาวบ้าน เป็นต้น ป๎จจุบันละครพื้นบ้านยังมีแสดงอยู่และถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ มีรูปแบบการแสดงที่ทันสมัยมาก ขึ้น แต่เนื้อเรื่องยังมีเค้าโครงเดิม อาจมีการประพันธ์บทละครให้เกิดความสนุกสนานทันสมัยมากขึ้น การแต่งกายมี ความงดงามหลากหลายมากขึ้น และยังมีการนําเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ทําให้ตัวละครที่แสดงเป็นยักษ์มี ร่างกายสูงใหญ่แข็งแรงเหมือนยักษ์ หรือมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งละครพื้นบ้านในป๎จจุบันถือว่าเป็นละครที่สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชม พร้อมทั้งสอดแทรกข้อคิดที่ดีไว้ เพื่อนํามาปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้ และละครพื้นบ้านยังมีคุณค่าและประโยชน์ ดังนี้ https://www.google.co.th/search?q=ละครพื้นบ้านสังข์ทอง&biw https://www.google.co.th/search?q
  • 25. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 25 ละครพื้นบ้านมีคุณค่าทางด้านความบันเทิง คือ ให้ ความผ่อนคลายสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้รับชม คุณค่าและประโยชน์ ละครพื้นบ้านมีคุณค่าต่อประเพณีไทย เพราะในการ ของ แสดงบางเรื่องจะมีการสอดแทรกประเพณีไทยต่างๆ ละครพื้นบ้าน ไว้ เช่น ประเพณีแต่งงาน ประเพณีโกนจุก เป็นต้น ละครพื้นบ้านมีคุณค่าทางสังคม เพราะละครพื้นบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ของคนในสังคมได้ รวมถึงการปกครองและการละเล่น ของไทยด้วย ละครพื้นบ้านที่ได้รับความนิยม เช่น แก้วหน้าม้า ปลาบู่ทอง สังข์ทอง พิกุลทอง ฯลฯ
  • 26. เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครไทย ฯ รวบรวมโดย คุณครูพนมพร ชินชนะ[พิมพ์ข้อความ] หน้า 26 อ้างอิง วริฏฐา ศิริธงชัยกุล หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ดนตรี – นาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด ดนตรี – นาฏศิลป์ ม.2 สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)