SlideShare a Scribd company logo
การวิเคราะห์
ต้นทุนภาษี
บทที่
ไม่ว่าธุรกิจจะมีผลการดําเนินงานเป็นกําไรหรือขาดทุนก็ตาม ธุรกิจเหล่านั้น
ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้อย่างแน่นอน ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะ
ละเลยถึงผลกระทบของภาษีเงินได้ที่มีต่อการประเมินค่าโครงการลงทุน หรือ
นโยบายการดําเนินกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กรได้และแม้ว่านโยบายเกี่ยวกับ
อัตราภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
นโยบายของรัฐบาล โดยอาจมีผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น สภาพ
เศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเมือง กฎหมาย การเปิดเสรี
ทางการค้าในลักษณะต่างๆ เป็นต้น แต่กระบวนการวิเคราะห์ที่จะกล่าวถึง
ต่อไปนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานสําหรับการวิเคราะห์ต้นทุนภาษี ซึ่งสามารถ
นําไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
จุดประสงค์หลัก ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนภาษี
กระแสเงินสดหลังภาษี
• กระแสเงินสดสุทธิของโครงการ มีความหมายถึงกระแสเงินสด
หลังภาษี เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการตัดสินใจว่าจะลงทุนใน
โครงการใดโครงการหนึ่งของธุรกิจได้หรือไม่
• ผู้บริหารจะยอมรับโครงการลงทุนเมื่อคาดการณ์ว่าโครงการ
ลงทุนนั้นจะเพิ่มความมั่งคั่งให้กับธุรกิจ
1. รายได้ของโครงการ เป็นรายได้ที่กิจการคาดว่าจะได้รับ หรือ
หาได้ เนื่องมาจากกิจการได้จัดหา หรือส่งมอบสินค้า หรือการ
บริการใดๆ ให้แก่ลูกค้า
2. ค่าใช้จ่ายของโครงการ เป็นต้นทุนของการดําเนินงานของ
กิจการ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนหรือสร้างรายได้ในการดําเนินงาน
สําหรับงวดเวลา
การคํานวณกําไรสุทธิ
• กิจการอาจมีความจําเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ซึ่งรายจ่ายเพื่อการลงทุนจะถูกปันส่วนเป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุ
การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์จากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ค่าใช้จ่ายที่ถูกปันส่วนจะเรียกว่า ค่าเสื่อมราคา
• ค่าเสื่อมราคาที่คํานวณได้ในแต่ละปี จะนําไปรวมกับค่าใช้จ่าย
อื่นๆ และนําไปหักออกจากรายได้ที่เกิดขึ้นในงวดเวลาเดียวกัน
การจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคา
จากที่กล่าวมาข้างต้น คํานวณกําไรสุทธิในรูปแบบของ
งบกําไรขาดทุนได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1
กิจการแห่งหนึ่ง ซื้อเครื่องจักรมาในราคา 560,000 บาท และ
คาดว่าจะมีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี เมื่อครบอายุการใช้งาน
เครื่องจักรนี้ไม่มีมูลค่าที่เหลือ กิจการมีนโยบายในการคิดค่าเสื่อมราคา
เครื่องจักรตามวิธีเส้นตรง เนื่องจากคาดการณ์ว่าประโยชน์ที่จะได้รับจาก
การใช้เครื่องจักรในการผลิตนั้นเป็นไปอย่างสมํ่าเสมอ ประมาณการ
รายได้และค่าใช้จ่ายสําหรับปีแรกของการดําเนินงานมีดังนี้
รายได้จากการขาย 1,000,000 บาท
ต้นทุนขาย 400,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 80,000 บาท
ค่าใช้จ่ายดําเนินงานอื่นๆ 120,000 บาท
อัตราภาษีเงินได้เท่ากับ 15%
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณหากําไรสุทธิสําหรับปีของโครงการได้ดังนี้
การรายงานผลกําไรขาดทุนจากการดําเนินงานควรจะต้องกระจาย
ต้นทุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนออกไปให้สอดคล้องกับการได้รับ
ประโยชน์จากมูลค่าของเครื่องจักรในแต่ละช่วงเวลา
• กระแสเงินสด มีความสําคัญสําหรับวัตถุประสงค์ในการประเมิน
ค่าโครงการ เมื่อต้องการประเมินค่าโครงการลงทุน ควรปรับ
กระทบยอดกําไรสุทธิในทางบัญชีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของ
กระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละโครงการ
• กําไรสุทธิ สามารถนํามาใช้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการประมาณการ
กระแสเงินสดของโครงการได้ เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
กระแสเงินสดเปรียบเทียบกับกําไรสุทธิ
ตัวอย่างที่ 2
จากข้อมูลในตัวอย่างที่ 1 สมมติข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
1. รายได้จากการขายทั้งหมดเป็นเงินสด
2. ค่าใช้จ่ายทุกรายการยกเว้นค่าเสื่อมราคาได้ถูกจ่ายเป็นเงินสดใน
ระหว่างงวด
จากข้อมูลข้างต้น คํานวณเปรียบเทียบกําไรสุทธิและกระแส
เงินสดสุทธิ ได้ดังนี้
ตารางที่ 9.1
เปรียบเทียบกําไรสุทธิและกระแสเงินสดสุทธิ
ภาพที่ 9.1 กําไรสุทธิเปรียบเทียบกระแสเงินสดสุทธิ
ผลกระทบทางภาษี
เนื่องจากความแตกต่างของวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา
• การคิดค่าเสื่อมราคาแต่ละวิธี จะมีผลทําให้ค่าใช้จ่ายปันส่วนที่เกิดขึ้น
ในแต่ละปี และผลประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้น
ในแต่ละปีมีจํานวนแตกต่างกันไป
• ที่ระดับของผลประโยชน์ทางภาษีที่เท่ากัน ณ วันใดวันหนึ่ง ถ้า
ระยะเวลาของโครงการลงทุนมีช่วงเวลาที่นานมากขึ้นหรืออัตราคิดลด
(อัตราดอกเบี้ย) ยิ่งสูงขึ้น มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ทางภาษียิ่ง
ต่างกันมากขึ้น
ตัวอย่างที่ 3
บริษัทธาดา จํากัด ซื้อเครื่องจักรในราคา 200,000 บาท
ประมาณการว่าจะมีอายุการใช้ประโยชน์ได้ 5 ปี มีมูลค่าที่เหลือ
ณ สิ้นปีที่ 5 เท่ากับ 10,000 บาท ถ้าคิดค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง
ค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละปีจะเท่ากับเท่าไหร่
จากข้อมูลข้างต้น นํามาคํานวณหาค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง ได้ดังนี้
ตารางที่ 9.2
ค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง
ตัวอย่างที่ 4
จากตัวอย่างที่ 3 ถ้าบริษัทธาดา มีนโยบายคิดค่าเสื่อมราคา
วิธีผลรวมจํานวนปี การคํานวณหาค่าเสื่อมราคาทําได้ดังนี้
ตารางที่ 9.3 ค่าเสื่อมราคาวิธีผลรวมจํานวนปี
จากตารางที่ 9.3 จะเห็นได้ว่าค่าเสื่อมราคาที่คํานวณโดยวิธี
ผลรวมจํานวนปีนั้น จะมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคากระจายไปใน
แต่ละปีนั้นมีจํานวนแตกต่างกัน
ตัวอย่างที่ 5
จากตัวอย่าง 3 ถ้าบริษัทมีนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคา โดย
ใช้วิธียอดลดลงทวีคูณ การคิดค่าเสื่อมราคาคํานวณได้ดังนี้
ตารางที่ 9.4
ค่าเสื่อมราคาวิธียอดลดลงทวีคูณ
จากตารางที่ 9.4 จะเห็นได้ว่า ค่าเสื่อมราคาที่คํานวณโดยวิธี
ยอดลดลงทวีคูณที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนั้นมีจํานวนแตกต่างกัน โดย
ในช่วงปีแรกๆ จํานวนค่าเสื่อมราคานั้นมีจํานวนที่สูงกว่าเมื่อเทียบ
กับช่วงเวลาในปีหลัง
ตัวอย่างที่ 6
จากตัวอย่างที่ 3 ถ้าบริษัทธาดา มีนโยบายการคิดค่าเสื่อม
ราคาโดยใช้วิธีตามจํานวนทรัพยากรที่ใช้ไปในแต่ละช่วงเวลา
(ชั่วโมงการทํางาน หรือจํานวนผลผลิต) การคิดค่าเสื่อมราคาคํานวณ
ได้ดังนี้
จากข้อมูลเดิม เครื่องจักรนี้มีทรัพยากรที่เป็นชั่วโมงการ
ทํางานเต็มกําลังการผลิตสูงสุดเท่ากับ 40,000 ชั่วโมง และจะมีการ
ใช้ทรัพยากรที่เป็นชั่วโมงเครื่องจักรในปีที่ 1 - 5 ดังนี้
คํานวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาได้ดังนี้
ตารางที่ 9.5
ค่าเสื่อมราคาวิธีจํานวนทรัพยากรที่ใช้ไป
จากตารางที่ 9.5 จะเห็นได้ว่า ค่าเสื่อมราคาที่คํานวณโดยวิธี
จํานวนทรัพยากรที่ใช้ไปนั้น จะมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมราคา
กระจายไปในแต่ละปี
จากผลของการคํานวณค่าเสื่อมราคาในแต่ละวิธีข้างต้นนั้น
จะเห็นได้ว่ามูลค่าของค่าเสื่อมราคาที่แสดงเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปี
นั้นแตกต่างกันไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังส่วนที่เป็น
ผลประโยชน์ในทางภาษีที่เกิดขึ้นเนื่องจากค่าเสื่อมราคาเหล่านั้นด้วย
ตารางที่ 9.6
ผลประโยชน์ทางภาษีเนื่องจากค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงและวิธีผลรวมจํานวนปี
ตารางที่ 9.7
ผลประโยชน์ทางภาษีจากค่าเสื่อมราคาวิธียอดลดลงทวีคูณและวิธีจํานวนทรัพยากรที่ใช้ไป
จากตารางที่ 9.6 และ 9.7 จะเห็นได้ว่า มูลค่าของค่าเสื่อม
ราคาที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เมื่อนํามาคํานวณหาผลประโยชน์ทางภาษี
เนื่องจากค่าเสื่อมราคา ทําให้กิจการเสียภาษีในแต่ละช่วงเวลาที่
แตกต่างกันไปตามสัดส่วนจํานวนเงินของค่าเสื่อมราคาที่คํานวณได้
แต่เมื่อคํานวณผลรวมของผลประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับตลอดอายุ
ของโครงการแล้ว พบว่ามีจํานวนที่เท่ากัน ซึ่งในกรณีของบริษัท
ธาดานี้มีค่าเท่ากับ 38,000 บาท
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตารางที่ 9.8 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เมื่อต้องการทราบอัตราภาษีที่มีผลบังคับจริง หรืออัตราภาษี
เฉลี่ย (Effective (Average) Tax Rate) คํานวณหาได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 7
บริษัทเอบีซีจํากัด เป็นบริษัทตัวแทนจําหน่ายเครื่องปรับอากาศ
มีค่าเช่าพื้นที่ว่างสําหรับเพื่อตั้งโชว์สินค้าและคลังสินค้าสําหรับปีเท่ากับ
100,000 บาท และมีการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการตรวจเช็คและ
ทดสอบระบบมูลค่า 650,000 บาท อายุการใช้ประโยชน์จากเครื่องดังกล่าว
ประมาณ 5 ปี ไม่มีมูลค่าที่เหลือ กิจการมีนโยบายในการคิดค่าเสื่อมราคาวิธี
เส้นตรง ยอดขายโดยประมาณเท่ากับ 6,250,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการ
ดําเนินงานระหว่างปีดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น นํามาคํานวณหากําไรที่จะต้องนํามาเสียภาษีได้ดังนี้
• กรณีที่ 1 นิติบุคคลทั่วไป
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้คํานวณได้ดังนี้
• กรณีที่ 2 นิติบุคคลที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
คํานวณหาค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ได้ดังนี้
จากจํานวนเงินค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รวมข้างต้น นํามาคํานวณหา
อัตราภาษีเฉลี่ยได้ดังนี้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับการวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยี
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวร
ไม่รวมที่ดิน มูลค่าไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงาน
ไม่เกิน 200 คน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการ
หักค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษ ดังนี้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาอัตราพิเศษ
ตารางที่ 9.9
ระยะเวลาและวิธีการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
ตัวอย่างที่ 8
จากตัวอย่างที่ 7 ถ้าเครื่องจักรที่ซื้อมานั้น เป็นเครื่องจักรที่ซื้อมาเพื่อ
การทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อปฏิบัติที่เข้าข่าย
ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษ
ให้คํานวณหากําไรที่จะต้องเสียภาษี และค่าภาษีเงินได้สําหรับปีที่ 1
และ 2
การคํานวณค่าเสื่อมราคาในกรณีของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ แสดง
การคํานวณได้2 วิธี
วิธีที่ 1 คํานวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่ได้รับสิทธิประโยชน์
ทางภาษี
ตารางที่ 9.10 อัตราค่าเสื่อมราคาที่ได้รับสิทธิประโยชน์
จากอัตราค่าเสื่อมราคาข้างต้น นํามาคํานวณหาค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงแต่ละปี
ได้ดังนี้
ปีที่ 1 = 650,000 × 52% = 338,000 บาท
2 - 5 = 650,000 × 12% = 78,000 บาท
วิธีที่ 2 คิดค่าเสื่อมราคาตามอัตราพิเศษในส่วนแรก และนําจํานวนที่เหลือ
มาคิดค่าเสื่อมราคาตามรอบระยะเวลาบัญชีที่กําหนด
คํานวณหากําไรที่จะต้องเสียภาษีในแต่ละปีได้ดังนี้
จากผลกําไรข้างต้น นํามาคํานวณค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ดังนี้
จากจํานวนเงินค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รวมข้างต้น นํามาคํานวณหา
อัตราภาษีเฉลี่ยได้ดังนี้
จากผลกําไรข้างต้น นํามาคํานวณค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ดังนี้
จากจํานวนเงินค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รวมข้างต้น นํามาคํานวณหา
อัตราภาษีเฉลี่ยได้ดังนี้
• ได้รับการยกเว้นเงินได้จากการดําเนินงานเป็นจํานวนร้อยละ 100
ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อการทําการวิจัยและพัฒนา
ซึ่งได้จ่ายไปให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามที่รัฐบาล
กําหนด
• ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมได้ทํา
การพัฒนาผลผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้มากขึ้น
สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับรายจ่ายเพื่อการวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยี
ตัวอย่างที่ 9
บริษัท เอบีซี จํากัด อยู่ในข่ายของผู้ประกอบการขนาดกลาง
มีข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานในระหว่างปีบัญชีที่ผ่านมาดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น มาคํานวณหากําไรที่จะต้องเสียภาษีได้ดังนี้
จากผลกําไรข้างต้น นํามาคํานวณค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ดังนี้
จากจํานวนเงินค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รวมข้างต้น นํามาคํานวณหา
อัตราภาษีเฉลี่ยได้ดังนี้
ภาษีเงินได้ของผลกําไรหรือขาดทุนจากการขาย
หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่คิดค่าเสื่อมราคา
การคํานวณผลกําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายสินทรัพย์
ประการแรกต้องทราบราคาตามบัญชี (Book Value : BV) ของ
สินทรัพย์ที่มีการคิดค่าเสื่อมราคา ณ วันที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน
ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่มีการคิดค่าเสื่อมราคา คํานวณได้ดังนี้
ผลกําไรหรือผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ที่มีการคิดค่าเสื่อมราคา คํานวณหาได้ดังนี้
• ผลกําไรจากการขายสินทรัพย์
นํามาคํานวณหาค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่จะต้องจ่าย
• ผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์
นํามาคํานวณหาผลประโยชน์ทางภาษี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ภาษีเงินได้ที่สามารถประหยัดได้
ภาพที่ 9.2 ผลกําไร (ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์
ตัวอย่างที่ 10
บริษัทพีซีเอช จํากัด ซื้อเครื่องจักรมาใช้ในราคาทุนเริ่มแรก
1,150,000 บาท อายุการใช้ประโยชน์ประมาณ 5 ปี คิดค่าเสื่อมราคา
วิธีเส้นตรง กิจการขายเครื่องจักรดังกล่าวสิ้นปี ที่ 3 นับแต่ซื้อ
เครื่องจักรมา
ให้คํานวณหาผลกําไร (ขาดทุน) จากการขายเครื่องจักรและ
ผลกระทบทางภาษีที่ได้รับในแต่ละกรณีดังนี้
1. ราคาขาย 500,000 บาท
2. ราคาขาย 460,000 บาท
3. ราคาขาย 400,000 บาท
คํานวณหาราคาตามบัญชีของเครื่องจักร ณ สิ้นปีที่ 3
• กรณีที่ 1 ถ้าขายเครื่องจักรในราคา 500,000บาท
ผลกําไรจากการขายเครื่องจักร จะต้องนํามาคํานวณค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
ดังนี้
• กรณีที่ 2 ถ้าขายเครื่องจักรในราคา 460,000บาท
ในกรณีที่ 2 นี้จะเห็นได้ว่า ราคาตามบัญชีของเครื่องจักรเท่ากับ
460,000 บาท ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับราคาขายเครื่องจักรจํานวน 460,000 บาท
ดังนั้น จึงไม่เกิดผลกําไร (ขาดทุน) จากการขายเครื่องจักร จึงไม่มี
ผลกระทบทางภาษีด้วย กรณีนี้กิจการจะได้รับเงินสุทธิจากการขาย
เครื่องจักรเท่ากับ 460,000 บาท ซึ่งเท่ากับมูลค่าตามบัญชี
• กรณีที่ 3 ถ้าขายเครื่องจักรในราคา 400,000บาท
ผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์จะมีผลในทางภาษี คือ ช่วยทําให้
เสียค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ลดลงหรือประหยัดค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

More Related Content

What's hot

ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ครู กรุณา
 
กสพท. เคมี 2563
กสพท. เคมี 2563กสพท. เคมี 2563
กสพท. เคมี 2563
9GATPAT1
 
10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
Physciences Physciences
 
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
Pa'rig Prig
 
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2 2003
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2  2003บทที่ 4 ชั้นกลาง 2  2003
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2 2003
Pa'rig Prig
 
05 ma
05 ma05 ma
4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน
4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน
4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน
Apirak Potpipit
 
บทที่ 3 การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
บทที่  3   การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชีบทที่  3   การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
บทที่ 3 การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
Pa'rig Prig
 
คอมพลีเมนต์
คอมพลีเมนต์คอมพลีเมนต์
คอมพลีเมนต์Aon Narinchoti
 
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันบทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันJariya Jaiyot
 
ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6
ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6
ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6
Nattapong Boonpong
 
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตSumalee Khvamsuk
 
สอนเตรียมสารละลาย 3
สอนเตรียมสารละลาย 3สอนเตรียมสารละลาย 3
สอนเตรียมสารละลาย 3Duduan
 
ชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
ชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วนชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
ชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
พิทักษ์ ทวี
 
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพการแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
พัน พัน
 

What's hot (20)

ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
 
5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์
5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์
5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์
 
กสพท. เคมี 2563
กสพท. เคมี 2563กสพท. เคมี 2563
กสพท. เคมี 2563
 
คค
 
10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
10ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
 
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
 
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2 2003
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2  2003บทที่ 4 ชั้นกลาง 2  2003
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2 2003
 
05 ma
05 ma05 ma
05 ma
 
4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน
4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน
4. โจทย์ปัญหาการซื้อขาย กำไร ขาดทุน
 
บทที่ 3 การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
บทที่  3   การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชีบทที่  3   การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
บทที่ 3 การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
 
คอมพลีเมนต์
คอมพลีเมนต์คอมพลีเมนต์
คอมพลีเมนต์
 
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันบทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
 
ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6
ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6
ข้อสอบกลางภาค ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ชั้น ม.6
 
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
 
สอนเตรียมสารละลาย 3
สอนเตรียมสารละลาย 3สอนเตรียมสารละลาย 3
สอนเตรียมสารละลาย 3
 
ลีลาศ
ลีลาศลีลาศ
ลีลาศ
 
ชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
ชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วนชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
ชุดที่ 6 การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
 
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพการแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
 
R61(1)
R61(1)R61(1)
R61(1)
 
การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2
 

Recently uploaded

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
pakpoomounhalekjit
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
Postharvest Technology Innovation Center
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
NuttavutThongjor1
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
CholapruekSangkamane1
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
SweetdelMelon
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
NuttavutThongjor1
 

Recently uploaded (6)

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
 

09 ma