SlideShare a Scribd company logo
1 of 29
Download to read offline
แนวคิดต้นทุน
2
บทที่
จุดประสงค์หลัก ในการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดต้นทุน
การบัญชีเพื่อการจัดการ เป็นกระบวนการของการวัดมูลค่าต้นทุนเพื่อ
นําไปใช้ให้สอดคล้องตามความต้องการของ เนื่องจากต้นทุนเป็นสิ่งที่
สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของทรัพยากรที่ถูกนําไปใช้ในกิจกรรมการ
ปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ต่างๆขององค์กร
ต้นทุนสามารถจําแนกได้หลากหลายกลุ่มตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการ
จําแนก และการวิเคราะห์ลักษณะของต้นทุน ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องมีความ
เข้าใจเกี่ยวกับประเภทและลักษณะของต้นทุนต่างๆ เพื่อจะได้สามารถนํา
ต้นทุนเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับประเด็นปัญหาที่
ต้องตัดสินใจต่อไป
คําจํากัดความของต้นทุน
• ต้นทุน เป็นทรัพยากรที่ต้องสูญเสียไปเพื่อทําให้กิจการสามารถ
บรรลุวัตถุประสงค์ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องการได้
• ต้นทุน สามารถวัดค่าเป็นหน่วยเงินตราที่กิจการจะต้องจ่ายไป
เพื่อทําให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือการบริการต่างๆ ที่ต้องการ
• ต้นทุนที่เกิดขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิง
เศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่องค์กร
ภาพที่ 2.1 การรับรู้ต้นทุน
การจําแนกประเภทของต้นทุน
ภาพที่ 2.2 การจําแนกประเภทต้นทุน
การจําแนกประเภทต้นทุนในทางบัญชีเพื่อการจัดการจําแนกได้
เป็น 5 ประเภท แสดงสรุปไว้ในภาพที่ 2.2 ดังนี้
1. การจําแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน
ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะความสัมพันธ์
ของกิจกรรมการดําเนินงานในแต่ละส่วนงานว่าจะมีผลต่อระดับ
ต้นทุนของทรัพยากรเหล่านั้นอย่างไรบ้าง การวิเคราะห์ต้นทุนตาม
พฤติกรรมต้นทุน จําแนกต้นทุนได้เป็น 3 ประเภทคือ
1.1 ต้นทุนผันแปร
1.2 ต้นทุนคงที่
1.3 ต้นทุนผสม
1.1 ต้นทุนผันแปร (Variable Costs)
ลักษณะพฤติกรรมของต้นทุนผันแปร คือต้นทุนรวมจะมีการ
เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของระดับกิจกรรม
การดําเนินงาน แต่ต้นทุนต่อหนึ่งหน่วยจะมีค่าคงที่
การผลิตชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย ผ้าปูที่นอน 1 ผืน หมอน 2 ใบ
มีต้นทุนของวัตถุดิบต่อหน่วยผลิตเท่ากับ 100 บาท ถ้าผลิตชุดเครื่องนอน
จํานวน 1,000 ชุด จะมีต้นทุนของวัตถุดิบรวมเท่ากับ 100,000 บาท ถ้าผลิต
เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ชุด จะมีต้นทุนของวัตถุดิบรวมเท่ากับ 200,000 บาท
*จะเห็นได้ว่า ต้นทุนรวมของวัตถุดิบจะผันแปรไปตามจํานวน
หน่วยผลิต แต่ต้นทุนของวัตถุดิบต่อทุกๆ หนึ่งหน่วยของการผลิตจะมี
ค่าคงที่ ในที่นี้คือหน่วยละ 100 บาท
ตัวอย่าง
ภาพที่ 2.3 ต้นทุนผันแปรรวมและต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
เปรียบเทียบลักษณะของพฤติกรรมต้นทุนผันแปรรวม และต้นทุน
ผันแปรต่อหน่วย ได้ดังภาพที่ 2.3
1.2 ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs)
ลักษณะพฤติกรรมของต้นทุนคงที่ คือ มูลค่าของต้นทุนรวมจะ
ยังคงเท่าเดิมแม้ว่าระดับกิจกรรมการดําเนินงานจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่
ต้นทุนต่อหนึ่งหน่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกันกับ
การเปลี่ยนแปลงของระดับกิจกรรม
* ถ้ากิจกรรมการดําเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ต้นทุน
คงที่ต่อหนึ่งหน่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงลดลง แต่ถ้ากิจกรรมดําเนินงานมี
การเปลี่ยนแปลงลดลง ต้นทุนคงที่ต่อหนึ่งหน่วยจะมีการเปลี่ยนแปลง
เพิ่มขึ้น
ค่าเช่าอาคารโรงงานที่ใช้เป็นสถานที่ผลิตชุดเครื่องนอน สัญญา
เช่าตกลงจ่ายค่าเช่าเดือนละ 20,000 บาท ไม่ว่าจะผลิตชุดเครื่องนอนได้
1,000 ชุด 2,000 ชุด หรือ 4,000 ชุดก็ตาม ค่าเช่าต่อเดือนยังคงเท่ากับ
20,000 บาท แต่ถ้าคิดค่าเช่าอาคารโรงงานต่อหน่วยผลิตจะพบว่าไม่เท่ากัน
ดังนี้
ตัวอย่าง
ภาพที่ 2.4 ต้นทุนคงที่รวมและต้นทุนคงที่ต่อหน่วย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น นํามาแสดงให้เห็นในลักษณะของแผนภาพ
เปรียบเทียบกันระหว่างพฤติกรรมต้นทุนคงที่รวมและต้นทุนคงที่ต่อหน่วย
ได้ดังภาพที่ 2.4 ดังนี้
ภาพที่ 2.4 ต้นทุนคงที่รวมและต้นทุนคงที่ต่อหน่วย (ต่อ)
1.3 ต้นทุนผสม (Mixed Costs)
ต้นทุนที่มีทั้งพฤติกรรมของต้นทุนผันแปร และพฤติกรรม
ต้นทุนคงที่รวมอยู่ในต้นทุนรายการเดียวกัน กล่าวคือ มีบางส่วนของ
ต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม และมีบางส่วนของ
ต้นทุนที่ยังคงเท่าเดิมแม้ว่าระดับกิจกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
ต้นทุนผสมนี้บางครั้งอาจเรียกว่า ต้นทุนกึ่งผันแปร
การใช้โทรศัพท์พื้นฐาน ถ้าระดับกิจกรรมของการใช้
โทรศัพท์เท่ากับ 1 ครั้งจะมีต้นทุนเกิดขึ้น 103 บาท โดยต้นทุนจํานวน
100 บาท เป็นส่วนของค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมขั้นตํ่าที่ต้องจ่าย
ส่วนต้นทุนที่เกิดขึ้นอีก 3 บาทเป็นค่าใช้โทรศัพท์จํานวน 1 ครั้ง ถ้า
จํานวนการใช้โทรศัพท์เปลี่ยนเป็น 10 ครั้ง จะมีต้นทุนของค่า
โทรศัพท์เกิดขึ้นจํานวน 130 บาท โดยต้นทุนจํานวน100 บาท ยังคง
เป็นค่าบริการพื้นฐานเหมือนเดิม ส่วนต้นทุนที่เกิดขึ้นอีก 30 บาทเป็น
ค่าใช้โทรศัพท์จํานวน 10 ครั้งๆ ละ 3 บาท
ตัวอย่าง
ภาพที่ 2.5 ต้นทุนผสมรวมและต้นทุนผสมต่อหน่วย
จากข้อมูลของค่าโทรศัพท์ข้างต้น นํามาแสดงในลักษณะของแผนภาพ
ระหว่างต้นทุนผสมรวม และต้นทุนผสมต่อหน่วยได้ดังภาพที่ 2.5 ดังนี้
2. การจําแนกต้นทุนเพื่อการจัดสรรเข้าหน่วยต้นทุน
เป็นการติดตามหาสาเหตุของการเกิดต้นทุนว่าเป็นผล
สืบเนื่องโดยตรงมาจากหน่วยต้นทุนใด ซึ่งการจัดสรรต้นทุนเข้าสู่
หน่วยต้นทุนนั้นก็เพื่อประโยชน์ในการวัดมูลค่าต้นทุนที่ถูกต้อง
การจําแนกต้นทุนเพื่อการจัดสรรเข้าสู่หน่วยต้นทุน จําแนก
ต้นทุนได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ต้นทุนทางตรง
2.2 ต้นทุนทางอ้อม
2.1 ต้นทุนทางตรง (Direct Costs)
ต้นทุนที่สามารถระบุถึงสาเหตุของการเกิดต้นทุนเข้าสู่หน่วย
ต้นทุนต่างๆ ได้ง่าย เช่น ค่าวัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงาน
ของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิต ค่าคอมมิชชั่นที่สัมพันธ์กับ
ยอดขาย ค่าขนส่งที่สัมพันธ์กับจํานวนนํ้าหนักสินค้าที่ขนส่ง เป็นต้น
2.2 ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Costs)
ต้นทุนที่ไม่สามารถระบุ หรือติดตามสาเหตุของการเกิดต้นทุน
ได้ง่าย หรือได้อย่างชัดเจนว่าเป็นผลมาจากการทํา งานของหน่วยต้นทุนใด
เช่น ค่าเช่าอาคารโรงงาน เงินเดือนหัวหน้าโรงงาน วัสดุซ่อมบํารุงใน
โรงงาน
3. การจําแนกต้นทุนตามความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
3.1 ต้นทุนส่วนที่แตกต่าง (Differential Costs)
เป็นต้นทุนส่วนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อนํา
ทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้มาเปรียบเทียบกัน
3.2 ต้นทุนจม (Sunk Costs)
เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ได้หลังจากที่ตัดสินใจไปแล้ว
3.3 ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Costs)
เป็นจํานวนเงินของรายได้ที่มีโอกาสจะได้รับแต่ไม่สามารถ
รับได้เนื่องจากมีข้อจํากัด
4. การจําแนกต้นทุนตามหน้าที่งาน
การจัดจําแนกต้นทุนโดยพิจารณาจากหน้าที่งานภายใน
องค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น จําแนกต้นทุนได้เป็น 2 ประเภท
ด้วยกันดังนี้
4.1 ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Costs)
4.2 ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต (Non - manufacturing Costs)
4.1 ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Costs)
4.1.1 วัตถุดิบทางตรง (Direct Material Costs)
4.1.2 ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor Costs)
4.1.3 ค่าใช้จ่ายการผลิต หรือค่าใช้จ่ายโรงงาน
(Manufacturing Overhead or Factory Expenses)
4.2 ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต
4.2.1 ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses)
4.2.2 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative Expenses)
5. การจําแนกต้นทุนตามวัตถุประสงค์เพื่อการรายงานในงบการเงิน
5.1 ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Costs)
เป็นต้นทุนที่เป็นส่วนประกอบเกี่ยวกับการผลิต 3 รายการ
ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต
5.2 ต้นทุนงวดเวลา (Period Costs)
เป็นต้นทุนที่จะต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดเวลาที่มี
รายการของต้นทุนเหล่านั้นเกิดขึ้นในทันที จําแนกได้2 ประเภทคือ
ค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหาร
งบการเงินสําหรับธุรกิจอุตสาหกรรม
ภาพที่ 2.6 การไหลของต้นทุนของธุรกิจอุตสาหกรรม
ภาพที่ 2.7 การไหลของต้นทุนของธุรกิจซื้อขายสินค้า
1. งบแสดงฐานะการเงินสําหรับธุรกิจอุตสาหกรรม
ภาพที่ 2.8 การไหลของต้นทุนการผลิตไปสู่งบแสดงฐานะการเงิน
2. งบกําไรขาดทุนสําหรับธุรกิจอุตสาหกรรม
• ประเด็นสําคัญ คือ ที่มาของต้นทุนขาย
• ถ้าเป็นธุรกิจซื้อขายสินค้า จะซื้อสินค้าสําเร็จรูปที่ผลิตเสร็จ
เรียบร้อยแล้วมาจําหน่ายต่อ
• ถ้าเป็นต้นทุนขายของธุรกิจอุตสาหกรรม จะเป็นต้นทุนที่ได้
จากกระบวนการผลิต โดยการแปรสภาพวัตถุดิบทางตรงด้วย
ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตจนกลายเป็นสินค้า
สําเร็จรูป
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 3

More Related Content

What's hot

บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติบทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
Ornkapat Bualom
 
การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค
พัน พัน
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
Jariya Jaiyot
 
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
Sarawut Messi Single
 
หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า
หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้าหลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า
หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า
NeeNak Revo
 

What's hot (20)

บทที่ 4 ชั้นกลาง 2 2003
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2  2003บทที่ 4 ชั้นกลาง 2  2003
บทที่ 4 ชั้นกลาง 2 2003
 
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตบทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
 
บทที่ 2 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กลไก เครื่องมือและผลกระทบ
บทที่ 2 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  กลไก เครื่องมือและผลกระทบบทที่ 2 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  กลไก เครื่องมือและผลกระทบ
บทที่ 2 ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ กลไก เครื่องมือและผลกระทบ
 
05 ma
05 ma05 ma
05 ma
 
03 ma
03 ma03 ma
03 ma
 
02 abc
02 abc02 abc
02 abc
 
06 ma
06 ma06 ma
06 ma
 
บทที่ 1 การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ
บทที่ 1 การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการบทที่ 1 การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ
บทที่ 1 การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม
 
2 กฎของบอยล์
2 กฎของบอยล์2 กฎของบอยล์
2 กฎของบอยล์
 
Chapter3 ความยืดหยุ่น
Chapter3 ความยืดหยุ่นChapter3 ความยืดหยุ่น
Chapter3 ความยืดหยุ่น
 
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติบทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
 
การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค
 
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
 
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
ทัศนคติกับพฤติกรรมผู้บริโภค1
 
หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า
หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้าหลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า
หลักการเบื้องต้นในการออกแบบและเขียนแบบไฟฟ้า
 
บทที่ 4 รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 4 รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับอีคอมเมิร์ซบทที่ 4 รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 4 รูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับอีคอมเมิร์ซ
 
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซบทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
 

02 ma