SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม จัดทำโดย นางสาวภัสราภรณ์   อนุสุเรนทร์   เลขที่20  6/3 เสนอ อาจารย์  คเชนทร์  กองพิลา โรงเรียนฝางวิทยายน
ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม  ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ1. ความผิดปกติของออโทโซม (โครโมโซมร่างกาย)2.ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
ความผิดปกติของออโทโซม ความผิดปกติของออโทโซม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ร่างกาย มีความผิดปกติ 2 ชนิด คือ1. ความผิดปกติที่จำนวนออโทโซม เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง
ตัวอย่างความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่เกินมา มีดังนี้ 1) กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome)เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมโดยคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้เด็กในระยะแรกเกิดจะมีตัวอ่อนปวกเปียก ศีรษะแบน ดั้งจมูกแบน ตาห่าง และตาชี้ขึ้นบน ใบหูผิดรูป ปากปิดไม่สนิท มีลิ้นจุกปาก นิ้วมือสั้นป้อม เส้นลายมือขาด ที่เท้ามีช่องกว้างระหว่างนิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วที่สอง ลายเท้าผิดปกติ อาจมีหัวใจพิการแต่กำเนิด และปัญญาอ่อน อายุสั้น พ่อแม่ที่มีอายุมากมีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการดาวน์
2) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's syndrome)เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมโดยคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ลักษณะที่ปรากฏจะมีลักษณะหัวเล็ก หน้าผากแบน คางเว้า หูผิดปกติ ตาเล็ก นิ้วมือบิดงอ และกำเข้าหากันแน่น หัวใจพิการ ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีลักษณะปัญญาอ่อนร่วมอยู่ด้วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะเสียชีวิตก่อนอายุ 1 ขวบ ดังรูป รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด
3) กลุ่มอาการพาเทา (Patau's syndrome) เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม ลักษณะที่ปรากฏจะพบว่ามีอาการปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ หูหนวก นิ้วเกิน ตาอาจพิการ หรือตาบอด ส่วนใหญ่อายุสั้นมาก ดังรูป รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการพาเทา
2. ความผิดปกติที่รูปร่างของออโทโซม เป็นความผิดที่ออโทโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางส่วน เช่น โครโมโซมคู่ที่ 5 หายไป 1 โครโมโซม แต่จำนวนโครโมโซมเท่ากับคนปกติ คือ 46 แท่ง
ตัวอย่างความผิดปกติที่รูปร่างของออโทโซมขาดหายไปบางส่วน มีดังนี้# กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome)เกิดจากแขนโครโมโซมคู่ที่ 5 หายไป 1 โครโมโซม ลักษณะที่พบ คือ มีศีรษะเล็กกว่าปกติ หน้ากลม ใบหูต่ำกว่าปกติ ตาห่าง มีอาการปัญญาอ่อน ลักษณะที่เด่นชัดในกลุ่มอาการนี้คือ มีเสียงร้องแหลมเล็กคล้ายเสียงแมวร้อง จึงเรียกกลุ่มอาการนี้อีกอย่างหนึ่งว่า Cat-cry-syndrome ดังรูป รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการคริดูชาต์
ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ส่วนใหญ่เกิดจากจำนวนโครโมโซมเพศ คือ โครโมโซม X หรือ โครโมโซม Y ขาดหายหรือเกินมาจากปกติ และยังถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานอีกด้วย ความผิดปกติเช่นนี้ แบ่งได้ 2 แบบ คือ1. ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X2. ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y
ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Xความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X มี 2 กรณี คือ1. โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซม ทำให้เหลือโครโมโซม X เพียงแท่งเดียว และเหลือโครโมโซมในเซลล์ร่างกาย 45 แท่ง พบได้ในเพศหญิงเป็นแบบ 44+XO เรียกผู้ป่วยลักษณะนี้ว่า กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner's syndrome)ลักษณะของผู้ป่วย คือ ตัวเตี้ย คอมีพังพืดกางเป็นปีก แนวผมท้ายทอยอยู่ต่ำ หน้าอกกว้าง หัวนมเล็กและอยู่ห่างกัน ใบหูใหญ่อยู่ต่ำมีรูปร่างผิดปกติ แขนคอก รังไข่ไม่เจริญ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมันมีอายุยืนยาวเท่าๆ กับคนปกติทั่วๆ ไป ดังรูป รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการเทอร์เนอร์
2. โครโมโซม X เกินมาจากปกติ พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย มีดังนี้2.1 ในเพศหญิง โครโมโซมเพศ เป็น XXX หรือ XXXX จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47 โครโมโซม หรือ 48 โครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึงเป็นแบบ 44+XXX หรือ 44+XXXX เรียกผู้ป่วยที่เป็นแบบนี้ว่า ซูเปอร์ฟีเมล (Superfemale) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศหญิงทั่วไปดูปกติ สติปัญญาต่ำกว่าระดับปกติ ลูกที่เกิดมาจากแม่ที่มีโครโมโซมแบบนี้อาจมีความผิดปกติเช่นเดียวกับแม่
     2.2 ในเพศชาย โครโมโซมเพศเป็น XXY หรือ XXXY จึงทำให้มีโครโมโซมในเซลล์      ร่างกายเป็น 47 โครโมโซม หรือ 48 โครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึงเป็นแบบ 44+XXY หรือ 44+XXXY เรียกผู้ป่วยแบบนี้ว่า กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์(Klinefelter's syndrome)ลักษณะของผู้ป่วยในเพศชายมีลักษณะคล้ายเพศหญิง สะโพกพาย หน้าอกโต จะสูงมากกว่าชายปกติ ลูกอัณฑะเล็ก ไม่มีอสุจิ จึงทำให้เป็นหมัน ดังรูป รูปแสดงลักษณะกลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์
ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Yความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y โดยมีโครโมโซม Y เกินมาจากปกติ โครโมโซมเพศ จึงเป็นแบบ XYY จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47 โครโมโซมเป็นแบบ 44+XYY เรียกผู้ป่วยที่เป็นแบบนี้ว่า ซูเปอร์เมน (Super men)ลักษณะของผู้ป่วยในเพศชายจะมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าปกติ มีอารมณ์ร้าย โมโหง่าย บางรายมีจิตใจปกติ และไม่เป็นหมัน ดังรูป รูปแสดงลักษณะผู้ป่วยกลุ่มซูเปอร์เมน
ข้อควรทราบความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นสภาวะผิดปกติที่บุคคลนั้นได้รับการถ่ายทอดมากับยีนหรือโครโมโซม ความผิดปกติทางพันธุกรรมเหล่านี้มีสาเหตุเกิดมาจากการผ่าเหล่า หรือการเปลี่ยนแปลงภายในดีเอ็นเอของคน บางกรณีการผ่าเหล่าเกิดขึ้นขณะที่มีการสร้างเซลล์เพศในการแบ่งตัวระยะไมโอซิส กรณีอื่นๆ อาจเกิดได้จากการที่พ่อแม่ถ่ายทอดเซลล์ซึ่งเกิดการผ่าเหล่าอยู่แล้วในร่างกายให้กับลูกๆ
โรคความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคความผิดปกติทางพันธุกรรม ได้แก่# โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic fibrosis)เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งทำให้ร่างกายสร้างเยื่อเมือกที่หนามากผิดปกติในปอดและลำไส้ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะหายใจลำบากเพราะปอดเต็มไปด้วยเยื่อเมือกหนาและอาจทำให้ปอดติดเชื้อเป็นอันตรายจากแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในเยื่อเมือกนั้น ถ้าเยื่อเมือกหนาในลำไส้ทำให้ย่อยอาหารได้ยากลำบากสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคซีสติกไฟโบรซีสคือ การผ่าเหล่าในอัลลีลลักษณะด้อย อัลลีลที่ก่อให้เกิดโรคนี้พบมากในหมู่คนที่มาจากยุโรปตอนเหนือ ในประเทศนี้ทุกๆ วันเด็กทารกที่เกิดมาจะเป็นโรคนี้ 4 คน ดังรูป รูปแสดงความผิดปกติในปอด
ปัจจุบันยังไม่มีทางใดที่จะรักษาโรคซีสติกไฟโบรซีสให้หายขาดได้ มีเพียงการบรรเทาโดยการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการทำกายภาพบำบัดเพื่อสลายเยื่อเมือกในปอด ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของโรคนี้ดีขึ้น และอาจจะช่วยหาวิธีการบำบัดที่ได้ผลดีกว่า# โรคซิกเกิลเซลล์ (Sickle-cell) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นกับเลือด ความผิดปกตินี้เกิดจากการผ่าเหล่าที่ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์เฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญที่ทำหน้าที่นำออกซิเจนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง คนที่เป็นโรคซิกเกิลเซลล์จะสร้างเฮโมโกลบินให้มีรูปร่างผิดปกติ เมื่อความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ เซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีรูปร่างผิดปกติเป็นรูปเคียว ดังรูป รูปแสดงลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ
เมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างแบบรูปเคียวจะไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนได้มากเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีรูปร่างปกติ การที่รูปร่างผิดปกติจะทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน คนที่เป็นโรคนี้ต้องทุกข์ทรมานมากกับการขาดออกซิเจนในเลือด และอ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรงปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่จะรักษาโรคซิกเกิลเซลล์ได้ บุคคลที่เป็นโรคนี้จะได้รับยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดเท่านั้น
# โรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เลือดของคนที่เป็นโรคนี้จะแข็งตัวได้ช้ามาก หรือไม่แข็งตัวเลย เพราะคนที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถสร้างโปรตีนชนิดที่จำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือดตามปกติได้ คนที่เป็นโรคนี้ถ้ามีบาดแผลเลือดจะไหลไม่หยุดจะตายได้ นอกจากนี้การกระทบกระแทกเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดการฟกช้ำและมีอันตรายสูงจากการมีเลือดไหลภายในได้ โรคฮีโมฟิเลียเป็นความผิดปกติเกี่ยวเนื่องกับเพศ ทำให้ผู้ชายเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง รูปแสดงผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟิเลีย
เวบไซต์ที่เกี่ยวข้อง http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/02.htm

More Related Content

Viewers also liked

Refreshr - HowToWeb Presentation
Refreshr - HowToWeb PresentationRefreshr - HowToWeb Presentation
Refreshr - HowToWeb PresentationEmanuel Lainas
 
TERJ: SPIRAL OF SILENCE
TERJ: SPIRAL OF SILENCETERJ: SPIRAL OF SILENCE
TERJ: SPIRAL OF SILENCERaidah Yusuf
 
Media audiovisual i
Media audiovisual iMedia audiovisual i
Media audiovisual iRaidah Yusuf
 
Media audio visual iii
Media audio visual iiiMedia audio visual iii
Media audio visual iiiRaidah Yusuf
 
Media audio visual iii kuliah 2
Media audio visual iii   kuliah 2Media audio visual iii   kuliah 2
Media audio visual iii kuliah 2Raidah Yusuf
 
How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...
How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...
How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...Ranjan Sharan
 
Komunikasi politik 2
Komunikasi politik 2Komunikasi politik 2
Komunikasi politik 2Raidah Yusuf
 
Media audiovisual i kuliah2
Media audiovisual i kuliah2Media audiovisual i kuliah2
Media audiovisual i kuliah2Raidah Yusuf
 
วิธีทำ2
วิธีทำ2วิธีทำ2
วิธีทำ2passaraporn
 
สรรพคุณ
สรรพคุณสรรพคุณ
สรรพคุณpassaraporn
 
Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3
Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3
Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3Keith Ross
 

Viewers also liked (18)

Refreshr - HowToWeb Presentation
Refreshr - HowToWeb PresentationRefreshr - HowToWeb Presentation
Refreshr - HowToWeb Presentation
 
TERJ: SPIRAL OF SILENCE
TERJ: SPIRAL OF SILENCETERJ: SPIRAL OF SILENCE
TERJ: SPIRAL OF SILENCE
 
Media audiovisual i
Media audiovisual iMedia audiovisual i
Media audiovisual i
 
Refreshr
RefreshrRefreshr
Refreshr
 
Media audio visual iii
Media audio visual iiiMedia audio visual iii
Media audio visual iii
 
Lecture1
Lecture1Lecture1
Lecture1
 
Media audio visual iii kuliah 2
Media audio visual iii   kuliah 2Media audio visual iii   kuliah 2
Media audio visual iii kuliah 2
 
OPINI PUBLIK 1
OPINI PUBLIK 1OPINI PUBLIK 1
OPINI PUBLIK 1
 
How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...
How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...
How to answer hard interview questions and everything else you need to know t...
 
Opini Publik 2
Opini Publik 2Opini Publik 2
Opini Publik 2
 
Komunikasi politik 2
Komunikasi politik 2Komunikasi politik 2
Komunikasi politik 2
 
Agenda setting
Agenda settingAgenda setting
Agenda setting
 
Media audiovisual i kuliah2
Media audiovisual i kuliah2Media audiovisual i kuliah2
Media audiovisual i kuliah2
 
วิธีทำ2
วิธีทำ2วิธีทำ2
วิธีทำ2
 
สรรพคุณ
สรรพคุณสรรพคุณ
สรรพคุณ
 
Lecture3
Lecture3Lecture3
Lecture3
 
Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3
Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3
Qrqc 8 d competition 2011 presentation logistics rev3
 
5555555
55555555555555
5555555
 

Similar to ภัสราภรณ์

โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมโรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมfainaja
 
โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมโรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมqwertyuio00
 
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdnaติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdnaWichai Likitponrak
 
หลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายpop Jaturong
 
โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1tanyapornrattanapan
 
โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1tanyapornrattanapan
 
พันธุกรรม
พันธุกรรมพันธุกรรม
พันธุกรรมkrudararad
 
607.เลขที่14.40
607.เลขที่14.40607.เลขที่14.40
607.เลขที่14.40nabdowsj13
 

Similar to ภัสราภรณ์ (20)

ยีนและโครโมโซม
ยีนและโครโมโซมยีนและโครโมโซม
ยีนและโครโมโซม
 
โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมโรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม
 
โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรมโรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม
 
pantugam
pantugampantugam
pantugam
 
Endocrine system
Endocrine systemEndocrine system
Endocrine system
 
Benign Ovarian Tumor
Benign Ovarian TumorBenign Ovarian Tumor
Benign Ovarian Tumor
 
Health
HealthHealth
Health
 
Gene2003
Gene2003Gene2003
Gene2003
 
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdnaติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
 
Gene91
Gene91Gene91
Gene91
 
Biopsychology final unit 9-16
Biopsychology final unit 9-16Biopsychology final unit 9-16
Biopsychology final unit 9-16
 
Cpg menopause
Cpg menopauseCpg menopause
Cpg menopause
 
ฮอร์โมน
ฮอร์โมนฮอร์โมน
ฮอร์โมน
 
หลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
หลักพยาธิบ.7ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
 
โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1
 
โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1โรคขาดโปรตีน1
โรคขาดโปรตีน1
 
พันธุกรรม
พันธุกรรมพันธุกรรม
พันธุกรรม
 
607.เลขที่14.40
607.เลขที่14.40607.เลขที่14.40
607.เลขที่14.40
 
Genetics
GeneticsGenetics
Genetics
 
แนวข้อสอบ Pisa
แนวข้อสอบ Pisaแนวข้อสอบ Pisa
แนวข้อสอบ Pisa
 

ภัสราภรณ์