SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
50 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬
ค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี
ที่ 10/2556
เรื่อง การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือด
ค�ำถาม : การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือดมีข้อชี้ขาดอย่างไร อนุญาตให้มุสลิม
กระท�ำได้หรือไม่ ?
ข้อมูลประกอบค�ำวินิจฉัย
	 		 	เลือด (โลหิต) คือของเหลวชนิดหนึ่ง ปกติมีสีแดงอยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน
และสัตว์ ประกอบด้วยน�้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดงเกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง (1)
เลือด (โลหิต) มีความส�ำคัญมากในการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ และตามข้อเท็จจริงของ
วิทยาศาสตร์การแพทย์ มนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นสิ่งทดแทนเลือดของมนุษย์ได้ และเลือด
ของสัตว์ก็ไม่เหมาะสมในการน�ำมาใช้ทดแทนเลือดของมนุษย์ในการถ่ายเลือด เนื่องจากเลือด
ของสัตว์มีองค์ประกอบและคุณสมบัติที่แตกต่างจากเลือดของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์  ทรง
สร้างเลือดในร่างกายของมนุษย์เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เลือดที่อยู่ในระบบการไหลเวียนท�ำ
หน้าที่ในการถ่ายเทสารอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์ในร่างกาย และ 2) เลือดส�ำรองที่อยู่
ในตับ ม้าม เป็นต้น เลือดตามลักษณะที่สองนี้จะเป็นเลือดที่ถูกน�ำมาใช้ทดแทนเลือดในส่วน
ที่สูญเสียไปจากร่างกาย เซลล์ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด ที่เรียกว่าเม็ดเลือด หรือเม็ดโลหิต มี 2
ชนิด คือ เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่น�ำออกซิเจนไปสู่เซลล์ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเม็ด
เลือดขาวมีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและท�ำลายเชื้อโรคในร่างกาย ปัจจุบันในทางการแพทย์
มีการใช้เลือดของมนุษย์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับภาวะเลือดผิดปกติ การผ่าตัด
ผู้ป่วย และการถ่ายเลือดในกรณีฉุกเฉินของผู้ประสบอุบัติเหตุที่มีการเสียเลือดมาก ตลอดจน
กรณีการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
	 		 ดังนั้น  ตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์  เมื่อมนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นสิ่งอื่น
มาทดแทนเลือดของมนุษย์ได้ กอปรกับเลือดของสัตว์ก็ไม่สามาราถน�ำมาใช้ทดแทนเลือด
ของมนุษย์ได้ ดังที่กล่าวมาข้างต้น อันเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกในเรื่องนี้ นอกจากการใช้เลือด
(1)	 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 : หน้า 746
‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 51
ของมนุษย์ในการรักษาผู้ป่วยโดยการถ่ายเลือดจากมนุษย์สู่มนุษย์เท่านั้น หรือโดยการให้เลือด
มนุษย์แก่ผู้ป่วย หรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่มีการสูญเสียเลือด ซึ่งในหลายกรณีมีความจ�ำเป็น
ในการใช้เลือดจ�ำนวนมากการบริจาคเลือดจากญาติของผู้ป่วย  หรือจากบุคคลที่เป็นอาสาสมัคร
ให้แก่ผู้ป่วยโดยตรง หรือให้แก่ธนาคารเลือดหรือสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่มีความจ�ำเป็น
เกิดขึ้นตามมา และเนื่องจากการถ่ายเลือดจากบุคคลที่มีสภาพร่างกายเป็นปกติไปยังผู้ป่วย
ไม่เคยเป็นที่รู้จักในหมู่นักนิติศาสตร์อิสลามรุ่นก่อน เพราะการถ่ายเลือดเพิ่งจะถูกค้นพบราว
คริสต์ศตวรรษที่ 18 / ฮิจเราะห์ศตวรรษที่ 12
	 ค�ำวินิจฉัย
: ‫وبعد‬ ... ‫أمجعني‬ ‫وصحابته‬ ‫آله‬ ‫وعلى‬ ‫حممد‬ ‫سيدنا‬ ‫على‬ ‫والسالم‬ ‫والصالة‬ ‫العاملني‬ ‫رب‬ ‫هلل‬ ‫احلمد‬
	 นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นต่างกันในการอนุญาตให้ท�ำการรักษาด้วยการถ่าย
เลือดเป็น 2 ทัศนะ ดังนี้
	 ทัศนะที่หนึ่ง ไม่อนุญาตให้ท�ำการรักษาด้วยการถ่ายเลือด โดยอาศัยหลักฐานจากอัล-กุรอาน
และหะดีษ อาทิ อายะห์อัล-กุรอานที่ว่า
‫اآلية‬ ﴾ ...ِ‫ر‬ْ‫ي‬ِ‫ز‬ْ‫ن‬ِ ْ‫ال‬ ُ‫ْم‬ َ‫ل‬ َ‫و‬ ُ‫م‬َّ‫د‬‫ال‬َ‫و‬ ُ‫ة‬َ‫ت‬ْ‫َي‬ْ‫ل‬‫ا‬ ْ‫م‬ُ‫ك‬ْ‫َي‬‫ل‬َ‫ع‬ ْ‫ت‬َ‫م‬ٍّ‫ر‬ُ‫ح‬ ﴿
ความว่า “ซากสัตว์ เลือด และเนื้อสุกรเป็นที่ต้องห้ามเหนือพวกท่าน” (อัล-มาอิดะฮ์ : 3)
	 และหะดีษที่ว่า
ٍ‫م‬‫ا‬َ‫ر‬َ ِ‫ب‬ ‫وا‬ُ‫و‬َ‫ا‬‫د‬َ‫ت‬َ‫ت‬ َ‫ال‬َ‫و‬ ‫وا‬ُ‫او‬َ‫د‬َ‫ت‬َ‫ت‬َ‫ف‬ ً‫اء‬َ‫و‬َ‫د‬ ٍ‫ء‬َ‫ا‬‫د‬ ِّ‫ل‬ُ‫ك‬ِ‫ل‬ َ‫ل‬َ‫ع‬َ‫ج‬َ‫و‬ ،َ‫اء‬َ‫و‬َّ‫د‬‫ال‬َ‫و‬ َ‫اء‬َّ‫د‬‫ال‬ َ‫ل‬َ‫ز‬ْ‫ن‬َ‫أ‬ َ‫اهلل‬ َّ‫ن‬ِ‫إ‬
ความว่า “แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์  ทรงประทานโรคและยารักษาโรคลงมา และพระองค์
ทรงก�ำหนดยารักษาโรคเอาไว้ส�ำหรับทุกโรค ดังนั้น พวกท่านจงเยียวยารักษา และพวกท่าน
อย่าเยียวยารักษาด้วยสิ่งต้องห้าม” (อบูดาวูด : 3874)
	 อายะฮ์อัล-กุรอานและหะดีษมีนัยบ่งชี้ว่า ซากสัตว์ เลือด และเนื้อสุกรเป็นสิ่งต้องห้าม เมื่อ
ปรากฏว่าเลือดเป็นสิ่งต้องห้ามก็ย่อมไม่อนุญาตในการเอาประโยชน์จากเลือดนั้น และนัยของหะดีษ
ก็บ่งชี้ว่าไม่อนุญาตให้เยียวยารักษาด้วยบรรดาสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งที่เป็นนะญิส ซึ่งเป็นทัศนะของ
ปวงปราชญ์ (ญุมฮูรอัล-อุละมาอ์) (1)
และเลือดหรือโลหิตเป็นนะญิสโดยไม่มีข้อขัดแย้งในมัซฮับ
อัชชาฟิอีย์ ยกเว้นมีค�ำกล่าวของนักเทววิทยาอิสลาม (มุตะกัลลิมีน) บางคนที่มีทัศนะว่าเลือดเป็น
(1)	 นัยลุลเอาว์ฏ็อร; อัชเชากานีย์ : 9/93
52 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬
สิ่งที่สะอาด ซึ่งเป็นทัศนะที่ไม่ได้รับการยอมรับในหมู่นักนิติศาสตร์อิสลาม (1)
	 และถึงแม้ว่าเลือดที่อยู่ในร่างกายตามภาวะปรกตินั้นจะไม่ใช่นะญิส สิ่งที่เป็นนะญิสนั้นมี
บัญญัติห้ามมิให้น�ำมาใช้ประโยชน์หรือเอาประโยชน์จากสิ่งนั้น ดังนั้น การถ่ายเลือดจึงเป็นสิ่ง
ต้องห้าม เพราะเป็นการเอาประโยชน์จากสิ่งที่ศาสนาบัญญัติห้ามไว้ และเมื่อเลือดเป็นนะญิส เลือด
จึงมิใช่สิ่งมีค่าหรือทรัพย์ที่ประเมินราคาได้ เหตุนี้จึงไม่อนุญาตให้มีการบริจาคเลือด ตลอดจนการ
ซื้อ-ขายเลือด นอกจากนี้เลือดในร่างกายของมนุษย์ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเป็นที่ต้องห้าม
ในการเอาประโยชน์จากส่วนหนึ่งส่วนใดของมนุษย์ (2)
	 ทัศนะที่สอง อนุญาตให้เยียวยารักษาด้วยการถ่ายเลือด (โลหิต) โดยอาศัยหลักฐาน
จากอัล-กุรอานที่ระบุว่า
‫اآلية‬ ﴾ ٍ‫ج‬َ‫ر‬َ‫ح‬ ْ‫ن‬ِ‫م‬ ِ‫ن‬ْ‫ي‬ِّ‫د‬‫ال‬ ِ‫ف‬ ْ‫م‬ُ‫ك‬ْ‫َي‬‫ل‬َ‫ع‬ َ‫ل‬َ‫ع‬َ‫ج‬ َ‫ا‬‫م‬َ‫و‬ ﴿
ความว่า “และพระองค์มิได้ทรงก�ำหนดเหนือพวกท่านในศาสนาให้มีความยากล�ำบากอันใด
เลย” (อัล-ฮัจญ์ : 78)
	 อายะฮ์ดังกล่าวได้ขจัดความล�ำบากและอุปสรรคให้แก่ผู้ป่วยและผู้ที่มีลักษณะเดียวกัน
ตลอดจนอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยในการมีหนทางที่จะออกจากความล�ำบาก สู่ความกว้าง
ขวางของสิ่งที่ศาสนาอิสลามมีบัญญัติเอาไว้ในเรื่องการรักษาเยียวยา ถึงแม้ว่าจะต้องมีการใช้เลือด
ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดความล�ำบากและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่ง
สิ่งนี้เป็นหนึ่งจากบรรดาเป้าหมายของหลักนิติธรรมอิสลามโดยรวม กล่าวคือการรักษาชีวิตมิให้เกิด
การสูญเสีย และไม่มีข้อสงสัยอันใดที่ว่า เลือดเป็นสื่อหนึ่งในการช่วยชีวิต และการสละหรือบริจาค
เลือดให้แก่ผู้ป่วยยังถือเป็นการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอิสลามส่งเสริมให้ผู้ศรัทธาได้กระท�ำอีกด้วย
ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ มีทัศนะว่า หนึ่งในบรรดาการบริจาคที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ดี อัน
เป็นที่ทราบกัน คือการที่บุคคลท�ำการบริจาคส่วนหนึ่งจากร่างกายของเขาซึ่งเป็นส่วนที่เป็นประโยชน์
แก่ผู้อื่นและไม่มีอันตรายต่อผู้นั้น อาทิ การบริจาคส่วนหนึ่งจากเลือดของเขาให้แก่สถานพยาบาล
บางแห่งหรือธนาคารเลือด เพื่อเป็นเลือดส�ำรองส�ำหรับบรรดาผู้ที่ต้องการเลือดในการผ่าตัด ใน
กรณีดังกล่าวเป็นการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย บรรเทาทุกข์แก่ผู้ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และเป็นการ
ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไป (3)
(1)	 อัล-มัจญมูอ์ ชัรฺฮุลมุฮัซซับ; อัน-นะวาวีย์ : 2/575-576
(2)	 สรุปความจาก บทความวิชาการ เรื่อง ข้อชี้ขาดทางศาสนบัญญัติว่าด้วยการถ่ายเลือด อัล-หุกม์อัช-ชัรอีย์
ลิ นักลิดดัม www.med-ethics.com อินายะฮ์อัค-ลากียาตอัล-มิฮันอัศ-ศิฮ์หิยะฮ์
(3)	 ฟะตาวา มุอาศิเราะฮ์; ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ : 3/665
‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 53
	 นักวิชาการฝ่ายนี้ได้อาศัยหลักฐานจากหะดีษที่มีรายงานเกี่ยวกับการกรอกเลือดของท่าน
เราะซูล  ซึ่งระบุว่าท่านเคยกรอกเลือดและจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้ที่ท�ำการกรอกเลือด (1)
ตลอดจน
มีทัศนะของนักนิติศาสตร์อิสลามที่เห็นพ้องว่าอนุญาตให้ท�ำการรักษาด้วยการกรอกเลือด (2)
โดย
อธิบายว่า ท่านเราะซูล  ได้วางบัญญัติการรักษาด้วยการกรอกเลือด อันเป็นการถ่ายเลือดออก
จากร่างกาย เหตุนั้นจึงเป็นที่อนุญาตในการน�ำเอาเลือดเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่ต้องการรับเลือด โดย
มีประเด็นของการรักษาร่วมกันทั้ง 2 กรณี (3)
และนักวิชาการบางท่านที่สังกัดมัซฮับอัล-ฮะนะฟีย์
และมัซฮับอื่นๆ มีค�ำวินิจฉัยว่า อนุญาตให้ดื่มเลือด ปัสสาวะ และกินซากสัตว์ได้เพื่อการรักษา ตาม
การวินิจฉัยของแพทย์ที่เชื่อถือได้ ว่าเป็นเหตุให้หายจากการป่วย และไม่พบว่ามีสิ่งที่อนุญาตอื่นมา
ทดแทนสิ่งดังกล่าว (4)
ตลอดจนมีการถ่ายทอดอิจญ์มาอ์ว่า อนุญาตให้กินสิ่งที่เป็นนะญิสทั้งหลาย
เช่น เลือด และสิ่งที่มีความหมายเดียวกันส�ำหรับผู้ที่ตกอยู่ในภาวะจ�ำเป็นขั้นอุกฤษฏ์ (5)
	 ทั้งนี้ในภาวะของผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับเลือดซึ่งต้องได้รับการถ่ายเลือด และใน
ภาวะการสูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุซึ่งมีความจ�ำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาด้วยเลือด
รวมถึงภาวะอุกฤษฏ์อื่นๆ เช่น กรณีเกิดสงคราม และเกิดสาธารณภัยที่มีความจ�ำเป็นในการใช้
เลือดส�ำรองจากธนาคารเลือดที่ได้จากการบริจาคเลือดจากผู้มีจิตอาสา ทั้งหมดที่กล่าวมาย่อมถือเป็น
ภาวะคับขันและมีความจ�ำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ ซึ่งมีบัญญัติทางศาสนารองรับว่าสามารถกระท�ำได้ อาทิ
กฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์อิสลามที่ว่า
ِ‫ات‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ْظ‬َ ْ‫ال‬ ُ‫ح‬ْ‫ي‬ِ‫ب‬ُ‫ت‬ ُ‫ات‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ر‬ َّ‫لض‬َ‫ا‬
“ความจ�ำเป็นขั้นอุกฤษฏ์ย่อมท�ำให้บรรดาสิ่งต้องห้ามเป็นที่อนุมัติ” (6)
	 และกฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ที่ระบุว่า
‫ا‬َ‫ه‬ِ‫ر‬ْ‫د‬َ‫ق‬ِ‫ب‬ ُ‫ر‬َّ‫د‬َ‫ق‬ُ‫ت‬ ُ‫ات‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ر‬ َّ‫لض‬َ‫ا‬
“ความจ�ำเป็นขั้นอุกฤษฏ์จะถูกประเมินตามขนาดของความจ�ำเป็นที่อุกฤษฏ์นั้น” (7)
(1)	 ฟัตหุลบารีย์ : 10/53, ชัรฮุนนะวาวีย์ อะลา เศาะเฮียะห์มุสลิม : 14/192
(2)	 เมาว์ซูอะฮ์ อัล-อิจญ์มาอ์; ดร.สะอ์ดีย์อบูหะบีบ : 1/415
(3)	 ฟิกฮุลเกาะฎอยา อัฏ-ฏิบบียะฮ์ อัล-มุอาศิเราะฮ์; ศาสตราจารย์อะลี อัล-กุรอฮ์ดาฆีย์, ศาสตราจารย์อะลี อัล-
มุฮัมมะดีย์ : หน้า 545
(4)	 ฮาชิยะฮ์ อิบนิ อาบิดีน : 5/283
(5)	 เมาว์ซูอะฮ์ อัล-อิจญ์มาอ์ : 1/115
(6)	 ชัรฮุลเกาะวาอิด อัล-ฟิกฮียะฮ์; ชัยค์ อะห์มัด อิบนุ ชัยค์ มุฮัมมัด อัซ-ซัรฺกอ : หน้า 185
(7)	 อ้างแล้ว : หน้า 187
54 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬
	 และการเป็นที่ต้องห้ามของเลือดเนื่องจากเป็นนะญิส ซึ่งห้ามในการเอาประโยชน์จากสิ่งที่
เป็นนะญิสจะไม่ถูกน�ำมาพิจารณาในกรณีของการรักษา ตามทัศนะของนักวิชาการที่ระบุว่า
ِ‫ء‬‫ا‬َ‫ف‬ ْ‫ش‬ِ‫ت‬ْ‫ِس‬‫إل‬‫ا‬ َ‫د‬ْ‫ن‬ِ‫ع‬ ُ‫ط‬ُ‫ق‬ ْ‫س‬َ‫ت‬ َ‫ة‬َ‫م‬ْ‫ُر‬ ْ‫ال‬ ّ‫ن‬ِ‫إ‬
“แท้จริงความเป็นที่ต้องห้ามจะไม่ถูกน�ำมาพิจารณาขณะท�ำการรักษาผู้ป่วย”
	 และเมื่อพิจารณาถึงภาวะความต้องการเลือดเพื่อการรักษาผู้ป่วยในสถานพยาบาล และการมี
เลือดส�ำรองในภาวะฉุกเฉินของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น โรงพยาบาลของรัฐและธนาคาร
เลือด เป็นต้น การตอบสนองความต้องการดังกล่าวมีเพียงการบริจาคเลือดจากผู้มีจิตอาสาเท่านั้น
ทั้งนี้หากสถานพยาบาลหรือธนาคารเลือดไม่สามารถรับการบริจาคเลือด เพื่อส�ำรองเอาไว้อย่างเพียง
พอก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่มีชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นเดิมพัน ความต้องการใน
การรับบริจาคเลือดในกรณีดังกล่าว ย่อมเข้าอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์อิสลามที่ว่า
‫ة‬َ‫ن‬ِّ‫ي‬َ‫ع‬َ‫ت‬ُ‫م‬ ‫ت‬َ‫ام‬َ‫د‬‫ا‬َ‫م‬ ِ‫ة‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ر‬ َّ‫الض‬ َ‫ة‬َ‫ل‬ِ‫ز‬ْ‫ن‬َ‫م‬ ُ‫ل‬َّ‫ز‬َ‫ن‬ُ‫ت‬ َ‫ة‬َ‫َاج‬ ْ‫ال‬ َّ‫ن‬ِ‫إ‬
“แท้จริงความต้องการย่อมถูกน�ำลงมาอยู่ในสถานะเดียวกันกับภาวะอุกฤษฏ์ ตราบที่ความ
ต้องการนั้นเป็นกรณีที่เจาะจงแน่นอน” (1)
	 ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ  เลือดที่เป็นที่ต้องการในภาวะฉุกเฉินซึ่งไม่มีทางอื่นที่จะได้มาเพียงพอเพื่อ
การส�ำรองนอกจากการบริจาคเลือดของผู้มีจิตอาสาเท่านั้น
	 ในการประชุมรอบที่ 4 ของสภานิติศาสตร์อิสลาม ณ เมืองญิดดะฮ์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย
ระหว่างวันที่ 18-23 ญุมาดา อัล-อาคิเราะฮ์ ฮ.ศ.1408/611 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1988 มีแถลงการณ์
ฉบับที่ 1 เรื่อง “การที่มนุษย์ใช้ประโยชน์จากอวัยวะในร่างกายของผู้อื่นทั้งที่มีชีวิตหรือเสียชีวิต
แล้ว” ในข้อที่สองระบุว่า อนุญาตให้ถ่ายอวัยวะจากร่างกายของมนุษย์ไปยังร่างกายของมนุษย์ผู้อื่น
ได้ หากปรากฏว่าอวัยวะนั้นมีการสร้างขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติ เช่น เลือดและผิวหนัง เป็นต้น โดย
กรณีดังกล่าวจะต้องค�ำนึงถึงเงื่อนไขที่ว่า ผู้ยอมสละอวัยวะนั้น มีนิติภาวะที่สมบูรณ์ และมีเงื่อนไข
ตามศาสนบัญญัติอย่างเป็นรูปธรรมครบถ้วน (2)
และส่วนหนึ่งจากบรรดานักวิชาการร่วมสมัย
ที่มีทัศนะว่าอนุญาตให้ถ่ายเลือดและบริจาคเลือดได้ โดยมีเงื่อนไขข้างต้น ได้แก่ ชัยค์ มุฮัมมัด
มุตะวัลลีย์อัช-ชะอ์รอวีย์ (3)
ชัยคฺ อับดุลอะซีซอิบนุ อับดิลลาฮ์อิบนิ บ๊าซ (4)
ชัยคฺมุฮัมมัด อัล-หะซัน
(1)	 ชัรฮุลเกาะวาอิด อัล-ฟิกฮียะฮ์; ชัยค์ อะห์มัด อิบนุ ชัยค์ มุฮัมมัด อัซ-ซัรฺกอ : หน้า 209
(2)	 อัล-ฟิกฮุลอิสลามีย์ ว่า อะดิลละตุฮู; ดร.วะฮ์บะฮ์ อัซ-ซุฮัยลีย์ : เล่มที่ 9 (ภาคผนวก) หน้า 523
(3)	 อัล-ฟะตาวา ลิช-ชะอ์รอวีย์; รวบรวมโดย ดร.อัส-สัยยิดอัล-ญะมีลีย์ : หน้า 30, 403
(4)	 อ้างจาก www.binbaz.org.sa
‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 55
อัด-ดะดู อัช-ชันกีฏีย์ (1)
ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ (2)
และชัยค์ อับดุลหัยย์ยูซุฟ อาจารย์ประจ�ำ
มหาวิทยาลัยคาร์ทูม ประเทศซูดาน เป็นต้น
	 ส่วนเงื่อนไขที่นักวิชาการฝ่ายนี้ก�ำหนดเอาไว้ได้แก่
1)	กรณีดังกล่าวต้องมีความจ�ำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ (อัฎ-เฎาะรูเราะฮ์) หรือมีความต้องการ
	 (อัล-หาญะฮ์) ที่จะต้องมีการถ่ายเลือดและการรับบริจาคเลือด
2)	ไม่ปรากฏว่ามีสิ่งอื่นมาทดแทนในการรักษาผู้ป่วยนอกจากเลือด
3)	ผู้บริจาคเลือดไม่ได้รับอันตรายใดๆ อันเป็นผลมาจากการบริจาคเลือดนั้น
4)	ผู้บริจาคเลือดมีความยินยอมโดยสมัครใจ
5)	คุณภาพของเลือดที่มีการถ่ายหรือการบริจาคต้องมีสภาวะเป็นปกติ  และได้รับการเก็บรักษา
	 ตามกระบวนการจัดเก็บรักษาของห้องแล็ปเป็นอย่างดี
6)	การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือดต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้ช�ำนาญการ
7)	ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้ช�ำนาญการว่าอัตราความส�ำเร็จในการถ่ายเลือด หรือการ
	 ใช้เลือดเพื่อการรักษาผู้ป่วยนั้นมีความเป็นไปได้สูง
8)	การถ่ายเลือดหรือการดึงเลือดจากผู้บริจาคต้องเป็นไปตามขนาดที่มีความจ�ำเป็นเท่านั้น (3)
	 พิจารณาแล้ว จึงมีค�ำวินิจฉัย ให้น�้ำหนักแก่ทัศนะของนักวิชาการฝ่ายที่สอง ซึ่งถือว่า
การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือดตามเงื่อนไขข้างต้น เป็นสิ่งที่อนุญาตให้มุสลิมกระท�ำได้ เนื่องจาก
มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีหลักนิติธรรมอิสลามรองรับ
‫بالصواب‬ ‫اعلم‬ ‫واهلل‬
อาศิส พิทักษ์คุมพล
จุฬาราชมนตรี
* * *
(1)	 อ้างจาก islamway.net/fatwa
(2)	 ฟะตาวา มุอาศิเราะฮ์ : 3/665
(3)	 ฟิกฮุลเกาะฎอยา อัฏ-ฏิบบียะฮ์ อัล-มุอาศิเราะฮ์ : หน้า 547

More Related Content

What's hot

Kaidah kausalitas 10
Kaidah kausalitas 10Kaidah kausalitas 10
Kaidah kausalitas 10
Ardi Muluk
 
Investasi yang Tidak Pernah Rugi
Investasi yang Tidak Pernah Rugi Investasi yang Tidak Pernah Rugi
Investasi yang Tidak Pernah Rugi
Erwin Wahyu
 
Kaidah kausalitas 11
Kaidah kausalitas 11Kaidah kausalitas 11
Kaidah kausalitas 11
Ardi Muluk
 
case study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
case study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมcase study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
case study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
techno UCH
 

What's hot (20)

Hakekat qurban
Hakekat qurbanHakekat qurban
Hakekat qurban
 
Potensi Pemuda Muslim
Potensi Pemuda MuslimPotensi Pemuda Muslim
Potensi Pemuda Muslim
 
11. hakekat hidup muslim mabda islam Aqidah Islam
11. hakekat hidup muslim mabda islam Aqidah Islam11. hakekat hidup muslim mabda islam Aqidah Islam
11. hakekat hidup muslim mabda islam Aqidah Islam
 
5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
 
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee OsteoarthritisLifestyle and Knee Osteoarthritis
Lifestyle and Knee Osteoarthritis
 
Kaidah kausalitas 10
Kaidah kausalitas 10Kaidah kausalitas 10
Kaidah kausalitas 10
 
Cpg obesity
Cpg obesityCpg obesity
Cpg obesity
 
Investasi yang Tidak Pernah Rugi
Investasi yang Tidak Pernah Rugi Investasi yang Tidak Pernah Rugi
Investasi yang Tidak Pernah Rugi
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่666 3-ปี
 
เนื้อหาบท2
เนื้อหาบท2เนื้อหาบท2
เนื้อหาบท2
 
Materi Kajian Umum - Konsekuensi Iman
Materi Kajian Umum - Konsekuensi ImanMateri Kajian Umum - Konsekuensi Iman
Materi Kajian Umum - Konsekuensi Iman
 
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
 
Kaidah kausalitas 11
Kaidah kausalitas 11Kaidah kausalitas 11
Kaidah kausalitas 11
 
พฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด
พฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดพฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด
พฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด
 
case study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
case study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมcase study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
case study การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
 
5. Hakikat Rezeki.pptx
5. Hakikat Rezeki.pptx5. Hakikat Rezeki.pptx
5. Hakikat Rezeki.pptx
 
Pesanan Rasulullah Untuk Pemuda
Pesanan Rasulullah Untuk PemudaPesanan Rasulullah Untuk Pemuda
Pesanan Rasulullah Untuk Pemuda
 
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgiaMyofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
 
Vit&mineral acr56
Vit&mineral acr56Vit&mineral acr56
Vit&mineral acr56
 
อาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไตอาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไต
 

Viewers also liked

คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
Om Muktar
 
تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي العلامة أحمد بن إبراهيم ب...
تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي  العلامة أحمد بن إبراهيم ب...تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي  العلامة أحمد بن إبراهيم ب...
تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي العلامة أحمد بن إبراهيم ب...
Om Muktar
 
رفع الملام عن الأئمة الأعلام
رفع الملام عن الأئمة الأعلامرفع الملام عن الأئمة الأعلام
رفع الملام عن الأئمة الأعلام
Om Muktar
 
التعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدة
التعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدةالتعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدة
التعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدة
Om Muktar
 
تأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضية
تأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضيةتأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضية
تأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضية
Om Muktar
 

Viewers also liked (20)

คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
 
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
การ "ยกมือ" ขอดุอาอ์หลังละหมาด (สุนนะฮ์)
 
براءة أهل الحديث والسنة من بدعة المرجئة
براءة أهل الحديث والسنة من بدعة المرجئةبراءة أهل الحديث والسنة من بدعة المرجئة
براءة أهل الحديث والسنة من بدعة المرجئة
 
เปิดปมเมาลิดนบี - มุรีด ทิมะเสน
เปิดปมเมาลิดนบี - มุรีด ทิมะเสนเปิดปมเมาลิดนบี - มุรีด ทิมะเสน
เปิดปมเมาลิดนบี - มุรีด ทิมะเสน
 
تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي العلامة أحمد بن إبراهيم ب...
تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي  العلامة أحمد بن إبراهيم ب...تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي  العلامة أحمد بن إبراهيم ب...
تنبيه النبيه و الغبي في الرد على المدراسي و الحلبي العلامة أحمد بن إبراهيم ب...
 
Language, Hierarchy and Hegemony: Thai Muslim Discourse Strategies
Language, Hierarchy and Hegemony: Thai Muslim Discourse StrategiesLanguage, Hierarchy and Hegemony: Thai Muslim Discourse Strategies
Language, Hierarchy and Hegemony: Thai Muslim Discourse Strategies
 
Dr. Yasir Qadhi’s Unusual Methods – Part 2
Dr. Yasir Qadhi’s Unusual Methods – Part 2Dr. Yasir Qadhi’s Unusual Methods – Part 2
Dr. Yasir Qadhi’s Unusual Methods – Part 2
 
الرد الوافر على من زعم بأن من سمى ابن تيمية «شيخ الإسلام» كافر
الرد الوافر على من زعم  بأن من سمى ابن تيمية «شيخ الإسلام» كافرالرد الوافر على من زعم  بأن من سمى ابن تيمية «شيخ الإسلام» كافر
الرد الوافر على من زعم بأن من سمى ابن تيمية «شيخ الإسلام» كافر
 
رفع الملام عن الأئمة الأعلام
رفع الملام عن الأئمة الأعلامرفع الملام عن الأئمة الأعلام
رفع الملام عن الأئمة الأعلام
 
أصول وضوابط في التكفير
أصول وضوابط في التكفيرأصول وضوابط في التكفير
أصول وضوابط في التكفير
 
Ibn Taymiyya against the Greek Logicians
Ibn Taymiyya against the Greek LogiciansIbn Taymiyya against the Greek Logicians
Ibn Taymiyya against the Greek Logicians
 
الانْـتِصار لِكتَابِ العَزيز الْجبَّار ولأصحابِ مُحَمَّد صلى الله عليه وسلم ا...
الانْـتِصار لِكتَابِ العَزيز الْجبَّار ولأصحابِ مُحَمَّد صلى الله عليه وسلم ا...الانْـتِصار لِكتَابِ العَزيز الْجبَّار ولأصحابِ مُحَمَّد صلى الله عليه وسلم ا...
الانْـتِصار لِكتَابِ العَزيز الْجبَّار ولأصحابِ مُحَمَّد صلى الله عليه وسلم ا...
 
من أصول سيد قطب الباطلة المخالفة لأصول السلف
من أصول سيد قطب الباطلة المخالفة لأصول السلفمن أصول سيد قطب الباطلة المخالفة لأصول السلف
من أصول سيد قطب الباطلة المخالفة لأصول السلف
 
التعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدة
التعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدةالتعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدة
التعليقات المفيدة على رسالة منهج الأشاعرة في العقيدة
 
فتح المعبود في الرد على ابن محمود
فتح المعبود في الرد على ابن محمودفتح المعبود في الرد على ابن محمود
فتح المعبود في الرد على ابن محمود
 
فكر التكفير قديما وحديثا
فكر التكفير قديما وحديثافكر التكفير قديما وحديثا
فكر التكفير قديما وحديثا
 
أصول الفرق والأديان والمذاهب الفكرية
أصول الفرق والأديان والمذاهب الفكريةأصول الفرق والأديان والمذاهب الفكرية
أصول الفرق والأديان والمذاهب الفكرية
 
بيان فساد المعيار حوار مع حزبي متستر
بيان فساد المعيار حوار مع حزبي متستربيان فساد المعيار حوار مع حزبي متستر
بيان فساد المعيار حوار مع حزبي متستر
 
الإلحاد الخميني في أرض الحرمين
الإلحاد الخميني في أرض الحرمين الإلحاد الخميني في أرض الحرمين
الإلحاد الخميني في أرض الحرمين
 
تأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضية
تأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضيةتأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضية
تأكيد المسلمات السلفية في نقض الفتوى الجماعية بأن الأشاعرة من الفرقة المرضية
 

Similar to คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือด

หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
Puku Wunmanee
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
appcheeze
 

Similar to คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือด (20)

Update cardiac prevention rehabilitation 2014
Update cardiac prevention rehabilitation 2014Update cardiac prevention rehabilitation 2014
Update cardiac prevention rehabilitation 2014
 
Clu1
Clu1Clu1
Clu1
 
5.1นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
5.1นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ5.1นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
5.1นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
 
อาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดอาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือด
 
Highlights of the 2010 American Heart Association Guidelines for CPR and ECC
Highlights of the 2010 American Heart Association Guidelines for CPR and ECCHighlights of the 2010 American Heart Association Guidelines for CPR and ECC
Highlights of the 2010 American Heart Association Guidelines for CPR and ECC
 
โปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาท
โปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาทโปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาท
โปรแกรมตรวจสุขภาพ 13 รายการ 999 บาท
 
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
 
Basic cancer knowledge for alls
Basic cancer knowledge for allsBasic cancer knowledge for alls
Basic cancer knowledge for alls
 
คู่มือ การประเมินโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับ อสม.
คู่มือ การประเมินโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับ อสม.คู่มือ การประเมินโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับ อสม.
คู่มือ การประเมินโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับ อสม.
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
 
Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104
 
Traumatic shock
Traumatic shockTraumatic shock
Traumatic shock
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การผ่าตัดชิ้นเนื้อและการรับเลือด
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การผ่าตัดชิ้นเนื้อและการรับเลือดคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การผ่าตัดชิ้นเนื้อและการรับเลือด
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การผ่าตัดชิ้นเนื้อและการรับเลือด
 
Triage
TriageTriage
Triage
 
Present blood program
Present blood programPresent blood program
Present blood program
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problems
 
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
 
Hepatocellular carcinoma
Hepatocellular carcinomaHepatocellular carcinoma
Hepatocellular carcinoma
 
Hom 2014 th_update_june_fullversion
Hom 2014 th_update_june_fullversionHom 2014 th_update_june_fullversion
Hom 2014 th_update_june_fullversion
 

More from Om Muktar

พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
Om Muktar
 
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Om Muktar
 
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
Om Muktar
 

More from Om Muktar (20)

الردود والتعقبات على النووي في شرح صحيح مسلم
الردود والتعقبات على النووي في شرح صحيح مسلمالردود والتعقبات على النووي في شرح صحيح مسلم
الردود والتعقبات على النووي في شرح صحيح مسلم
 
بلوغ المنى في حكم الاستمنى
بلوغ المنى في حكم الاستمنىبلوغ المنى في حكم الاستمنى
بلوغ المنى في حكم الاستمنى
 
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفيةالدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
الدلائل الوفية في تحقيق عقيدة (النووي)؛ أسلفية أم خلفية
 
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوانالتاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
التاريخ الأسود للجماعة بين يهودية حسن البنا وماسونية الإخوان
 
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
Acts of Terrorism Done in the Name of Islam Do Not Equate to Acts Condoned by...
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : บุหรี่
 
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
Jihad in Two Faces of Shari’ah: Sufism and Islamic Jurisprudence (FIQH) and t...
 
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
พัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์อิสลามในสังคมไทย (ยุครัฐจารีต-พ.ศ.2511)
 
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
Diseases of the Hearts & their Cures (Ibn Taymiyyah)
 
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبيةأمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
أمراض القلوب وشفاؤها ويليها التحفة العراقية في الأعمال القلبية
 
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
(مسألة السماع حكم ما يسمى : (أناشيد إسلامية
 
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
(الرد على علي حسن الحلبي (رفع اللائمة عن فتوى اللجنة الدائمة
 
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذيعقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
عقيدة أهل السنة والجماعة للإمام الترمذي
 
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطيالأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
الأمر بالإتباع والنهي عن الإبتداع للإمام السيوطي
 
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายอิสลามกับประมวลกฎหมาย...
 
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقديةالإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
الإمام الأشعري حياته وأطواره العقدية
 
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقدمنهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
منهج إمام الحرمين في دراسة العقيدة : عرض ونقد
 
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويممنهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
منهج الشهرستاني في كتابه الملل والنحل عرض وتقويم
 
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدةالإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
الإمام الخطابي ومنهجه في العقيدة
 
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباريمنهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
منهج الحافظ ابن حجر العسقلاني في العقيدة من خلال كتابه - فتح الباري
 

คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือด

  • 1. 50 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ ค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี ที่ 10/2556 เรื่อง การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือด ค�ำถาม : การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือดมีข้อชี้ขาดอย่างไร อนุญาตให้มุสลิม กระท�ำได้หรือไม่ ? ข้อมูลประกอบค�ำวินิจฉัย เลือด (โลหิต) คือของเหลวชนิดหนึ่ง ปกติมีสีแดงอยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน และสัตว์ ประกอบด้วยน�้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดงเกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง (1) เลือด (โลหิต) มีความส�ำคัญมากในการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ และตามข้อเท็จจริงของ วิทยาศาสตร์การแพทย์ มนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นสิ่งทดแทนเลือดของมนุษย์ได้ และเลือด ของสัตว์ก็ไม่เหมาะสมในการน�ำมาใช้ทดแทนเลือดของมนุษย์ในการถ่ายเลือด เนื่องจากเลือด ของสัตว์มีองค์ประกอบและคุณสมบัติที่แตกต่างจากเลือดของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์  ทรง สร้างเลือดในร่างกายของมนุษย์เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เลือดที่อยู่ในระบบการไหลเวียนท�ำ หน้าที่ในการถ่ายเทสารอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์ในร่างกาย และ 2) เลือดส�ำรองที่อยู่ ในตับ ม้าม เป็นต้น เลือดตามลักษณะที่สองนี้จะเป็นเลือดที่ถูกน�ำมาใช้ทดแทนเลือดในส่วน ที่สูญเสียไปจากร่างกาย เซลล์ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด ที่เรียกว่าเม็ดเลือด หรือเม็ดโลหิต มี 2 ชนิด คือ เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่น�ำออกซิเจนไปสู่เซลล์ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเม็ด เลือดขาวมีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและท�ำลายเชื้อโรคในร่างกาย ปัจจุบันในทางการแพทย์ มีการใช้เลือดของมนุษย์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับภาวะเลือดผิดปกติ การผ่าตัด ผู้ป่วย และการถ่ายเลือดในกรณีฉุกเฉินของผู้ประสบอุบัติเหตุที่มีการเสียเลือดมาก ตลอดจน กรณีการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อมนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นสิ่งอื่น มาทดแทนเลือดของมนุษย์ได้ กอปรกับเลือดของสัตว์ก็ไม่สามาราถน�ำมาใช้ทดแทนเลือด ของมนุษย์ได้ ดังที่กล่าวมาข้างต้น อันเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกในเรื่องนี้ นอกจากการใช้เลือด (1) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 : หน้า 746
  • 2. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 51 ของมนุษย์ในการรักษาผู้ป่วยโดยการถ่ายเลือดจากมนุษย์สู่มนุษย์เท่านั้น หรือโดยการให้เลือด มนุษย์แก่ผู้ป่วย หรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่มีการสูญเสียเลือด ซึ่งในหลายกรณีมีความจ�ำเป็น ในการใช้เลือดจ�ำนวนมากการบริจาคเลือดจากญาติของผู้ป่วย หรือจากบุคคลที่เป็นอาสาสมัคร ให้แก่ผู้ป่วยโดยตรง หรือให้แก่ธนาคารเลือดหรือสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่มีความจ�ำเป็น เกิดขึ้นตามมา และเนื่องจากการถ่ายเลือดจากบุคคลที่มีสภาพร่างกายเป็นปกติไปยังผู้ป่วย ไม่เคยเป็นที่รู้จักในหมู่นักนิติศาสตร์อิสลามรุ่นก่อน เพราะการถ่ายเลือดเพิ่งจะถูกค้นพบราว คริสต์ศตวรรษที่ 18 / ฮิจเราะห์ศตวรรษที่ 12 ค�ำวินิจฉัย : ‫وبعد‬ ... ‫أمجعني‬ ‫وصحابته‬ ‫آله‬ ‫وعلى‬ ‫حممد‬ ‫سيدنا‬ ‫على‬ ‫والسالم‬ ‫والصالة‬ ‫العاملني‬ ‫رب‬ ‫هلل‬ ‫احلمد‬ นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นต่างกันในการอนุญาตให้ท�ำการรักษาด้วยการถ่าย เลือดเป็น 2 ทัศนะ ดังนี้ ทัศนะที่หนึ่ง ไม่อนุญาตให้ท�ำการรักษาด้วยการถ่ายเลือด โดยอาศัยหลักฐานจากอัล-กุรอาน และหะดีษ อาทิ อายะห์อัล-กุรอานที่ว่า ‫اآلية‬ ﴾ ...ِ‫ر‬ْ‫ي‬ِ‫ز‬ْ‫ن‬ِ ْ‫ال‬ ُ‫ْم‬ َ‫ل‬ َ‫و‬ ُ‫م‬َّ‫د‬‫ال‬َ‫و‬ ُ‫ة‬َ‫ت‬ْ‫َي‬ْ‫ل‬‫ا‬ ْ‫م‬ُ‫ك‬ْ‫َي‬‫ل‬َ‫ع‬ ْ‫ت‬َ‫م‬ٍّ‫ر‬ُ‫ح‬ ﴿ ความว่า “ซากสัตว์ เลือด และเนื้อสุกรเป็นที่ต้องห้ามเหนือพวกท่าน” (อัล-มาอิดะฮ์ : 3) และหะดีษที่ว่า ٍ‫م‬‫ا‬َ‫ر‬َ ِ‫ب‬ ‫وا‬ُ‫و‬َ‫ا‬‫د‬َ‫ت‬َ‫ت‬ َ‫ال‬َ‫و‬ ‫وا‬ُ‫او‬َ‫د‬َ‫ت‬َ‫ت‬َ‫ف‬ ً‫اء‬َ‫و‬َ‫د‬ ٍ‫ء‬َ‫ا‬‫د‬ ِّ‫ل‬ُ‫ك‬ِ‫ل‬ َ‫ل‬َ‫ع‬َ‫ج‬َ‫و‬ ،َ‫اء‬َ‫و‬َّ‫د‬‫ال‬َ‫و‬ َ‫اء‬َّ‫د‬‫ال‬ َ‫ل‬َ‫ز‬ْ‫ن‬َ‫أ‬ َ‫اهلل‬ َّ‫ن‬ِ‫إ‬ ความว่า “แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์  ทรงประทานโรคและยารักษาโรคลงมา และพระองค์ ทรงก�ำหนดยารักษาโรคเอาไว้ส�ำหรับทุกโรค ดังนั้น พวกท่านจงเยียวยารักษา และพวกท่าน อย่าเยียวยารักษาด้วยสิ่งต้องห้าม” (อบูดาวูด : 3874) อายะฮ์อัล-กุรอานและหะดีษมีนัยบ่งชี้ว่า ซากสัตว์ เลือด และเนื้อสุกรเป็นสิ่งต้องห้าม เมื่อ ปรากฏว่าเลือดเป็นสิ่งต้องห้ามก็ย่อมไม่อนุญาตในการเอาประโยชน์จากเลือดนั้น และนัยของหะดีษ ก็บ่งชี้ว่าไม่อนุญาตให้เยียวยารักษาด้วยบรรดาสิ่งต้องห้ามหรือสิ่งที่เป็นนะญิส ซึ่งเป็นทัศนะของ ปวงปราชญ์ (ญุมฮูรอัล-อุละมาอ์) (1) และเลือดหรือโลหิตเป็นนะญิสโดยไม่มีข้อขัดแย้งในมัซฮับ อัชชาฟิอีย์ ยกเว้นมีค�ำกล่าวของนักเทววิทยาอิสลาม (มุตะกัลลิมีน) บางคนที่มีทัศนะว่าเลือดเป็น (1) นัยลุลเอาว์ฏ็อร; อัชเชากานีย์ : 9/93
  • 3. 52 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ สิ่งที่สะอาด ซึ่งเป็นทัศนะที่ไม่ได้รับการยอมรับในหมู่นักนิติศาสตร์อิสลาม (1) และถึงแม้ว่าเลือดที่อยู่ในร่างกายตามภาวะปรกตินั้นจะไม่ใช่นะญิส สิ่งที่เป็นนะญิสนั้นมี บัญญัติห้ามมิให้น�ำมาใช้ประโยชน์หรือเอาประโยชน์จากสิ่งนั้น ดังนั้น การถ่ายเลือดจึงเป็นสิ่ง ต้องห้าม เพราะเป็นการเอาประโยชน์จากสิ่งที่ศาสนาบัญญัติห้ามไว้ และเมื่อเลือดเป็นนะญิส เลือด จึงมิใช่สิ่งมีค่าหรือทรัพย์ที่ประเมินราคาได้ เหตุนี้จึงไม่อนุญาตให้มีการบริจาคเลือด ตลอดจนการ ซื้อ-ขายเลือด นอกจากนี้เลือดในร่างกายของมนุษย์ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งเป็นที่ต้องห้าม ในการเอาประโยชน์จากส่วนหนึ่งส่วนใดของมนุษย์ (2) ทัศนะที่สอง อนุญาตให้เยียวยารักษาด้วยการถ่ายเลือด (โลหิต) โดยอาศัยหลักฐาน จากอัล-กุรอานที่ระบุว่า ‫اآلية‬ ﴾ ٍ‫ج‬َ‫ر‬َ‫ح‬ ْ‫ن‬ِ‫م‬ ِ‫ن‬ْ‫ي‬ِّ‫د‬‫ال‬ ِ‫ف‬ ْ‫م‬ُ‫ك‬ْ‫َي‬‫ل‬َ‫ع‬ َ‫ل‬َ‫ع‬َ‫ج‬ َ‫ا‬‫م‬َ‫و‬ ﴿ ความว่า “และพระองค์มิได้ทรงก�ำหนดเหนือพวกท่านในศาสนาให้มีความยากล�ำบากอันใด เลย” (อัล-ฮัจญ์ : 78) อายะฮ์ดังกล่าวได้ขจัดความล�ำบากและอุปสรรคให้แก่ผู้ป่วยและผู้ที่มีลักษณะเดียวกัน ตลอดจนอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยในการมีหนทางที่จะออกจากความล�ำบาก สู่ความกว้าง ขวางของสิ่งที่ศาสนาอิสลามมีบัญญัติเอาไว้ในเรื่องการรักษาเยียวยา ถึงแม้ว่าจะต้องมีการใช้เลือด ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดความล�ำบากและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่ง สิ่งนี้เป็นหนึ่งจากบรรดาเป้าหมายของหลักนิติธรรมอิสลามโดยรวม กล่าวคือการรักษาชีวิตมิให้เกิด การสูญเสีย และไม่มีข้อสงสัยอันใดที่ว่า เลือดเป็นสื่อหนึ่งในการช่วยชีวิต และการสละหรือบริจาค เลือดให้แก่ผู้ป่วยยังถือเป็นการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอิสลามส่งเสริมให้ผู้ศรัทธาได้กระท�ำอีกด้วย ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ มีทัศนะว่า หนึ่งในบรรดาการบริจาคที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ดี อัน เป็นที่ทราบกัน คือการที่บุคคลท�ำการบริจาคส่วนหนึ่งจากร่างกายของเขาซึ่งเป็นส่วนที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้อื่นและไม่มีอันตรายต่อผู้นั้น อาทิ การบริจาคส่วนหนึ่งจากเลือดของเขาให้แก่สถานพยาบาล บางแห่งหรือธนาคารเลือด เพื่อเป็นเลือดส�ำรองส�ำหรับบรรดาผู้ที่ต้องการเลือดในการผ่าตัด ใน กรณีดังกล่าวเป็นการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย บรรเทาทุกข์แก่ผู้ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และเป็นการ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไป (3) (1) อัล-มัจญมูอ์ ชัรฺฮุลมุฮัซซับ; อัน-นะวาวีย์ : 2/575-576 (2) สรุปความจาก บทความวิชาการ เรื่อง ข้อชี้ขาดทางศาสนบัญญัติว่าด้วยการถ่ายเลือด อัล-หุกม์อัช-ชัรอีย์ ลิ นักลิดดัม www.med-ethics.com อินายะฮ์อัค-ลากียาตอัล-มิฮันอัศ-ศิฮ์หิยะฮ์ (3) ฟะตาวา มุอาศิเราะฮ์; ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ : 3/665
  • 4. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 53 นักวิชาการฝ่ายนี้ได้อาศัยหลักฐานจากหะดีษที่มีรายงานเกี่ยวกับการกรอกเลือดของท่าน เราะซูล  ซึ่งระบุว่าท่านเคยกรอกเลือดและจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้ที่ท�ำการกรอกเลือด (1) ตลอดจน มีทัศนะของนักนิติศาสตร์อิสลามที่เห็นพ้องว่าอนุญาตให้ท�ำการรักษาด้วยการกรอกเลือด (2) โดย อธิบายว่า ท่านเราะซูล  ได้วางบัญญัติการรักษาด้วยการกรอกเลือด อันเป็นการถ่ายเลือดออก จากร่างกาย เหตุนั้นจึงเป็นที่อนุญาตในการน�ำเอาเลือดเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่ต้องการรับเลือด โดย มีประเด็นของการรักษาร่วมกันทั้ง 2 กรณี (3) และนักวิชาการบางท่านที่สังกัดมัซฮับอัล-ฮะนะฟีย์ และมัซฮับอื่นๆ มีค�ำวินิจฉัยว่า อนุญาตให้ดื่มเลือด ปัสสาวะ และกินซากสัตว์ได้เพื่อการรักษา ตาม การวินิจฉัยของแพทย์ที่เชื่อถือได้ ว่าเป็นเหตุให้หายจากการป่วย และไม่พบว่ามีสิ่งที่อนุญาตอื่นมา ทดแทนสิ่งดังกล่าว (4) ตลอดจนมีการถ่ายทอดอิจญ์มาอ์ว่า อนุญาตให้กินสิ่งที่เป็นนะญิสทั้งหลาย เช่น เลือด และสิ่งที่มีความหมายเดียวกันส�ำหรับผู้ที่ตกอยู่ในภาวะจ�ำเป็นขั้นอุกฤษฏ์ (5) ทั้งนี้ในภาวะของผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับเลือดซึ่งต้องได้รับการถ่ายเลือด และใน ภาวะการสูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุซึ่งมีความจ�ำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาด้วยเลือด รวมถึงภาวะอุกฤษฏ์อื่นๆ เช่น กรณีเกิดสงคราม และเกิดสาธารณภัยที่มีความจ�ำเป็นในการใช้ เลือดส�ำรองจากธนาคารเลือดที่ได้จากการบริจาคเลือดจากผู้มีจิตอาสา ทั้งหมดที่กล่าวมาย่อมถือเป็น ภาวะคับขันและมีความจ�ำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ ซึ่งมีบัญญัติทางศาสนารองรับว่าสามารถกระท�ำได้ อาทิ กฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์อิสลามที่ว่า ِ‫ات‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ْظ‬َ ْ‫ال‬ ُ‫ح‬ْ‫ي‬ِ‫ب‬ُ‫ت‬ ُ‫ات‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ر‬ َّ‫لض‬َ‫ا‬ “ความจ�ำเป็นขั้นอุกฤษฏ์ย่อมท�ำให้บรรดาสิ่งต้องห้ามเป็นที่อนุมัติ” (6) และกฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ที่ระบุว่า ‫ا‬َ‫ه‬ِ‫ر‬ْ‫د‬َ‫ق‬ِ‫ب‬ ُ‫ر‬َّ‫د‬َ‫ق‬ُ‫ت‬ ُ‫ات‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ر‬ َّ‫لض‬َ‫ا‬ “ความจ�ำเป็นขั้นอุกฤษฏ์จะถูกประเมินตามขนาดของความจ�ำเป็นที่อุกฤษฏ์นั้น” (7) (1) ฟัตหุลบารีย์ : 10/53, ชัรฮุนนะวาวีย์ อะลา เศาะเฮียะห์มุสลิม : 14/192 (2) เมาว์ซูอะฮ์ อัล-อิจญ์มาอ์; ดร.สะอ์ดีย์อบูหะบีบ : 1/415 (3) ฟิกฮุลเกาะฎอยา อัฏ-ฏิบบียะฮ์ อัล-มุอาศิเราะฮ์; ศาสตราจารย์อะลี อัล-กุรอฮ์ดาฆีย์, ศาสตราจารย์อะลี อัล- มุฮัมมะดีย์ : หน้า 545 (4) ฮาชิยะฮ์ อิบนิ อาบิดีน : 5/283 (5) เมาว์ซูอะฮ์ อัล-อิจญ์มาอ์ : 1/115 (6) ชัรฮุลเกาะวาอิด อัล-ฟิกฮียะฮ์; ชัยค์ อะห์มัด อิบนุ ชัยค์ มุฮัมมัด อัซ-ซัรฺกอ : หน้า 185 (7) อ้างแล้ว : หน้า 187
  • 5. 54 รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี | ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ และการเป็นที่ต้องห้ามของเลือดเนื่องจากเป็นนะญิส ซึ่งห้ามในการเอาประโยชน์จากสิ่งที่ เป็นนะญิสจะไม่ถูกน�ำมาพิจารณาในกรณีของการรักษา ตามทัศนะของนักวิชาการที่ระบุว่า ِ‫ء‬‫ا‬َ‫ف‬ ْ‫ش‬ِ‫ت‬ْ‫ِس‬‫إل‬‫ا‬ َ‫د‬ْ‫ن‬ِ‫ع‬ ُ‫ط‬ُ‫ق‬ ْ‫س‬َ‫ت‬ َ‫ة‬َ‫م‬ْ‫ُر‬ ْ‫ال‬ ّ‫ن‬ِ‫إ‬ “แท้จริงความเป็นที่ต้องห้ามจะไม่ถูกน�ำมาพิจารณาขณะท�ำการรักษาผู้ป่วย” และเมื่อพิจารณาถึงภาวะความต้องการเลือดเพื่อการรักษาผู้ป่วยในสถานพยาบาล และการมี เลือดส�ำรองในภาวะฉุกเฉินของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น โรงพยาบาลของรัฐและธนาคาร เลือด เป็นต้น การตอบสนองความต้องการดังกล่าวมีเพียงการบริจาคเลือดจากผู้มีจิตอาสาเท่านั้น ทั้งนี้หากสถานพยาบาลหรือธนาคารเลือดไม่สามารถรับการบริจาคเลือด เพื่อส�ำรองเอาไว้อย่างเพียง พอก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่มีชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นเดิมพัน ความต้องการใน การรับบริจาคเลือดในกรณีดังกล่าว ย่อมเข้าอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์อิสลามที่ว่า ‫ة‬َ‫ن‬ِّ‫ي‬َ‫ع‬َ‫ت‬ُ‫م‬ ‫ت‬َ‫ام‬َ‫د‬‫ا‬َ‫م‬ ِ‫ة‬َ‫ر‬ْ‫و‬ُ‫ر‬ َّ‫الض‬ َ‫ة‬َ‫ل‬ِ‫ز‬ْ‫ن‬َ‫م‬ ُ‫ل‬َّ‫ز‬َ‫ن‬ُ‫ت‬ َ‫ة‬َ‫َاج‬ ْ‫ال‬ َّ‫ن‬ِ‫إ‬ “แท้จริงความต้องการย่อมถูกน�ำลงมาอยู่ในสถานะเดียวกันกับภาวะอุกฤษฏ์ ตราบที่ความ ต้องการนั้นเป็นกรณีที่เจาะจงแน่นอน” (1) ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ เลือดที่เป็นที่ต้องการในภาวะฉุกเฉินซึ่งไม่มีทางอื่นที่จะได้มาเพียงพอเพื่อ การส�ำรองนอกจากการบริจาคเลือดของผู้มีจิตอาสาเท่านั้น ในการประชุมรอบที่ 4 ของสภานิติศาสตร์อิสลาม ณ เมืองญิดดะฮ์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ระหว่างวันที่ 18-23 ญุมาดา อัล-อาคิเราะฮ์ ฮ.ศ.1408/611 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1988 มีแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เรื่อง “การที่มนุษย์ใช้ประโยชน์จากอวัยวะในร่างกายของผู้อื่นทั้งที่มีชีวิตหรือเสียชีวิต แล้ว” ในข้อที่สองระบุว่า อนุญาตให้ถ่ายอวัยวะจากร่างกายของมนุษย์ไปยังร่างกายของมนุษย์ผู้อื่น ได้ หากปรากฏว่าอวัยวะนั้นมีการสร้างขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติ เช่น เลือดและผิวหนัง เป็นต้น โดย กรณีดังกล่าวจะต้องค�ำนึงถึงเงื่อนไขที่ว่า ผู้ยอมสละอวัยวะนั้น มีนิติภาวะที่สมบูรณ์ และมีเงื่อนไข ตามศาสนบัญญัติอย่างเป็นรูปธรรมครบถ้วน (2) และส่วนหนึ่งจากบรรดานักวิชาการร่วมสมัย ที่มีทัศนะว่าอนุญาตให้ถ่ายเลือดและบริจาคเลือดได้ โดยมีเงื่อนไขข้างต้น ได้แก่ ชัยค์ มุฮัมมัด มุตะวัลลีย์อัช-ชะอ์รอวีย์ (3) ชัยคฺ อับดุลอะซีซอิบนุ อับดิลลาฮ์อิบนิ บ๊าซ (4) ชัยคฺมุฮัมมัด อัล-หะซัน (1) ชัรฮุลเกาะวาอิด อัล-ฟิกฮียะฮ์; ชัยค์ อะห์มัด อิบนุ ชัยค์ มุฮัมมัด อัซ-ซัรฺกอ : หน้า 209 (2) อัล-ฟิกฮุลอิสลามีย์ ว่า อะดิลละตุฮู; ดร.วะฮ์บะฮ์ อัซ-ซุฮัยลีย์ : เล่มที่ 9 (ภาคผนวก) หน้า 523 (3) อัล-ฟะตาวา ลิช-ชะอ์รอวีย์; รวบรวมโดย ดร.อัส-สัยยิดอัล-ญะมีลีย์ : หน้า 30, 403 (4) อ้างจาก www.binbaz.org.sa
  • 6. ‫ية‬‫ز‬‫ي‬‫ز‬‫ع‬ ‫فـتاوى‬ | รวมค�ำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี 55 อัด-ดะดู อัช-ชันกีฏีย์ (1) ดร.ยูซุฟ อัล-กอรฎอวีย์ (2) และชัยค์ อับดุลหัยย์ยูซุฟ อาจารย์ประจ�ำ มหาวิทยาลัยคาร์ทูม ประเทศซูดาน เป็นต้น ส่วนเงื่อนไขที่นักวิชาการฝ่ายนี้ก�ำหนดเอาไว้ได้แก่ 1) กรณีดังกล่าวต้องมีความจ�ำเป็นในขั้นอุกฤษฏ์ (อัฎ-เฎาะรูเราะฮ์) หรือมีความต้องการ (อัล-หาญะฮ์) ที่จะต้องมีการถ่ายเลือดและการรับบริจาคเลือด 2) ไม่ปรากฏว่ามีสิ่งอื่นมาทดแทนในการรักษาผู้ป่วยนอกจากเลือด 3) ผู้บริจาคเลือดไม่ได้รับอันตรายใดๆ อันเป็นผลมาจากการบริจาคเลือดนั้น 4) ผู้บริจาคเลือดมีความยินยอมโดยสมัครใจ 5) คุณภาพของเลือดที่มีการถ่ายหรือการบริจาคต้องมีสภาวะเป็นปกติ และได้รับการเก็บรักษา ตามกระบวนการจัดเก็บรักษาของห้องแล็ปเป็นอย่างดี 6) การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือดต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้ช�ำนาญการ 7) ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้ช�ำนาญการว่าอัตราความส�ำเร็จในการถ่ายเลือด หรือการ ใช้เลือดเพื่อการรักษาผู้ป่วยนั้นมีความเป็นไปได้สูง 8) การถ่ายเลือดหรือการดึงเลือดจากผู้บริจาคต้องเป็นไปตามขนาดที่มีความจ�ำเป็นเท่านั้น (3) พิจารณาแล้ว จึงมีค�ำวินิจฉัย ให้น�้ำหนักแก่ทัศนะของนักวิชาการฝ่ายที่สอง ซึ่งถือว่า การถ่ายเลือดและการบริจาคเลือดตามเงื่อนไขข้างต้น เป็นสิ่งที่อนุญาตให้มุสลิมกระท�ำได้ เนื่องจาก มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีหลักนิติธรรมอิสลามรองรับ ‫بالصواب‬ ‫اعلم‬ ‫واهلل‬ อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี * * * (1) อ้างจาก islamway.net/fatwa (2) ฟะตาวา มุอาศิเราะฮ์ : 3/665 (3) ฟิกฮุลเกาะฎอยา อัฏ-ฏิบบียะฮ์ อัล-มุอาศิเราะฮ์ : หน้า 547