SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
วารสาร	

ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552

ชมรมครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ISSN 1905-758X
TSMT Journal สนับสนุนโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
2

วารสาร สควค.	

ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552

15 พ.ย. 2552 :: ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ
สสวท. พร้อมด้วย รศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการ
สภาการศึกษา และคณะผู้บริหารสภาการศึกษาของ
ราชอาณาจักรไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย เข้าร่วมพิธี
เปิดการประชุมการวิจัยการศึกษาไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 2
ในหัวข้อ “Research-Driven Education Reform :
Innovation for Quality Improvement” ณ โรงละคร
อักษรา ซอยรางนํ้า กรุงเทพมหานคร

15-18 พ.ย. 2552 :: สสวท. สนับสนุนครู สควค. จำ�นวน 52 คน เข้าร่วมการประชุมการวิจัยการศึกษาไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 2
และคัดเลือกผลงานวิจัยของ ครูเจษฎา เนตรสว่างวิชา และ ครูศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ให้ร่วมนำ�เสนอในเวทีระดับนานาชาติ

10-12 พ.ย. 2552 :: ครู สควค. ป.โท ขอนแก่น เข้าร่วมเสนอ 17 ต.ค. 2552 :: ศิษย์เก่า (ครู สควค.) มรภ.อุบลราชธานีจัดงาน
ผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ศึกษาที่รัฐปีนัง สหพันธรัฐมาเลเซีย
“สควค. รำ�ลึก” มีอาจารย์และศิษย์เก่าร่วมงานจำ�นวนมาก

10-13 ธ.ค. 2552 :: ครู สควค. ป.โท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อชุมชนลุ่มนํ้าโขง และประธานชมรมครู สควค. มอบหนังสือแก่ห้องสมุดวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สปป.ลาว
ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552	

วารสาร สควค.

3

สารบัญ

บทบรรณาธิการ

ครูศักดิ์อนันต์ อนันตสุข
E-mail :: anantasook@gmail.com

	
สวัสดีครับ พีนองเพือนสมาชิกชมรมครู สควค. และ
่ ้ ่
ท่านผู้อ่าน “วารสาร สควค.” ทุกท่าน
	
ก้าวสู่ปีที่ 4 พร้อมๆ กับการเติบโตของเครือข่าย
ทางวิชาการของครู สควค. โดยในเดือนตุลาคม ชมรมครู
สควค. ทั้ง 4 ภูมิภาค ได้จัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนา
เครือข่ายและวิชาชีพครู สควค. ในภูมิภาคของตนเอง
ซึงนับเป็นจุดเริมต้นของการได้รวมคิด ร่วมทำ� เพือขับเคลือน
่
่
่
่
่
ภารกิจพัฒนาชาติดวยการศึกษา ซึงในปีงบประมาณ 2553
้
่
สสวท. ยังคงสนับสนุนงบประมาณแก่ชมรมครู สควค.
เพื่อจัดกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้
ทุกทีมงานได้พัฒนาตนเองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งต้อง
ขอกราบขอบพระคุณ สสวท. เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
	
ช่วง 3 เดือนนี้ ครู สควค. ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งกันและกันมากมายทั้งใน
และต่ า งประเทศ สิ่ ง เหล่ า นี้ ช่ ว ยให้ เราได้ เ ปิ ด โลกทั ศ น์
ของการเรียนรูวา คนอืนเขาคิดและทำ�อะไรอยู่ เราอยูจดไหน
้่
่
ุ่
เราจะต้องพัฒนาตนเองอย่างไร รวมถึง เราจะร่วมมือกัน
พัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันอย่างไร ปีใหม่ ขอให้
ทุกท่านมีความสุขและมีพลัง คิดสร้าง ทำ�ไทย ยิงใหญ่ยงยืน
่
ั่
	
กองบรรณาธิการ เปิดรับบทความจากทุกท่าน หากมี
ข้อเสนอแนะประการใด ทีมงานขอน้อมรับด้วยความยินดี

หน้า
-	 พระราชพิธีทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ	4
-	 แนะนำ�ผู้อำ�นวยการ สสวท.	5
-	 ห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ :: ศูนย์ท่าจีนศึกษา 	 6
-	 การสอนแบบเปรียบเทียบโดยใช้ FARGUIDE 	
7
-	 แผนภาพโบราณดาราศาสตร์และธรณีวิทยา	
8
	 จากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์
-	 ความเครียดกับการเรียนรู้ 	
10
-	 แนะนำ�อาเซียน	11
-	 ไอซีที มีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาไทยอย่างไร 	 12
-	 เว็บไซต์องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี	 14
-	 การจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการ	
15
	 และวิชาชีพครู สควค. 4 ภูมิภาค
-	 ครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้	
16

วัตถุประสงค์
	
1. 	เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ชมรมครูที่มีความ
สามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
	 2. 	เพื่ อ เป็ น เวที ใ นการแลกเปลี่ ย นความรู้
ทางวิชาการ ประสบการณ์การสอน การวิจัยในชั้นเรียน
ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อพัฒนาการสอนของครูและการเรียนรู้ของผู้เรียน
	
3. 	เพือเผยแพร่ความรูทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
่
้
และเทคโนโลยี ให้กว้างขวางและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

“วันวชิราวุธ-วันประถมศึกษา” ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี
	
การศึกษาในระบบโรงเรียนมีข้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2427 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้ง
ึ

โรงเรียนหลวงสำ�หรับราษฎร์ข้นเป็นครั้งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ึ
ได้ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตประถมศึกษาขึน ซึงมีผลให้เด็กทีมอายุ 7 ปีบริบรณ์ทกคน ต้องเรียนหนังสืออยูในโรงเรียนจนอายุครบ
ิ
้ ่
่ี
ู ุ
่
14 ปีบริบรณ์ โดยไม่ตองเสียค่าเล่าเรียน โดยมีผลบังคับตังแต่วนที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2464 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ก�หนดให้ วันที่ 1 ตุลาคม
ู
้
้ ั
ำ
ของทุกปี (พ.ศ. 2491-2509) เป็น “วันประถมศึกษาแห่งชาติ” และได้เริมมีขนใหม่ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2523 ซึงเป็นวันคล้ายวันสวรรคต
่ ้ึ
่
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหว จนถึงปัจจุบน
่ ั
ั

ขอเชิญครูทุน สควค. ในภูมิภาคต่างๆ ส่งภาพข่าวที่เกี่ยวกับผลงานเด่นของตนเอง รวมถึงงานเขียน บทความเกี่ยวกับ
การพัฒนาการเรียนการสอน ประสบการณ์การวิจย เพือเผยแพร่ ในวารสาร สควค. หรือเผยแพร่ในเว็บไซต์ www.krusmart.com
ั ่
บทความในวารสาร สควค. เป็นความคิดเห็นและทัศนะของผู้เขียน ชมรมครู สควค. ไม่จำ�เป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
4

วารสาร สควค.	

เรื่องจากปก

ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552

พระราชพิธีทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ข้อมูลจาก สำ�นักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, พระราชพิธีทรงผนวช www.identity.opm.go.th

	
เมือ พุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหว
่
่ ั
ภูมพลอดุลยเดช มีพระราชประสงค์ทจะทรงผนวชในพระบวร
ิ
ี่
พุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี นายกรัฐมนตรีได้กราบ
บังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชภาระ สนองพระเดชพระคุณ
ในการทรงผนวชในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย
โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตังสมเด็จพระนางเจ้าฯ
้
พระบรมราชินี เป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความ
เห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
	
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์
ข้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท และคณะทู ต านุ ทู ต เข้ า มาเฝ้ า
ทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เพื่อ
ทรงแถลงพระราชดำ�ริในการที่จะเสด็จออกทรงผนวช และ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลพระบาท
ี
หน้ า พระที่ นั่ ง สุ ท ไธสวรรยปราสาท เพื่ อ มี พ ระราชดำ � รั ส
แก่ประชาราษฎร ความตอนหนึงว่า “ข้าพเจ้ามีความยินดีททาน
่
่ี ่
ทั้งปวงมาร่วมประชุมกัน ณ ที่นี้ ขอถือโอกาสแจ้งดำ�ริที่จะ
บรรพชาอุปสมบทให้บรรดาอาณาประชาราษฎรทราบทัวกัน”
่
	
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เวลา 14.00 น. พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
เสด็ จ ฯ ยั ง วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม หลั ง จากทรงเจริ ญ
พระเกศาโดยสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงจรดพระกรรไกรบิด
เปลื้องพระเกศาเป็นปฐมฤกษ์แล้ว ทรงเครื่องเศวตพัสตรี
ทรงจุ ด ธู ป เที ย นบู ช าพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร
พระสัมพุทธพรรณี และพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่
1 และรัชกาลที่ 2 ทรงรับผ้าไตรจากสมเด็จพระราชชนนีแล้ว
ทรงเข้าบรรพชาอุปสมบทในท่ามกลางสังฆสมาคม ซึงมีสมเด็จ
่
พระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน
	
เมื่อเสร็จพิธีแล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว ซึ่งทรงได้รับสมญานามจากพระราชอุปัชฌาจารย์ว่า
“ภูมิพโล” ในระหว่างที่ทรงดำ�รงสมณเพศ ทรงรับประเคน
ผ้าไตรจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ผูส�เร็จราชการ
้ำ
แทนพระองค์ และทรงรับไทยธรรมจากสมเด็จพระบรมราช
ชนนี ตามลำ�ดับ

	
จากนั้ น พระภิ ก ษุ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว
เสด็จพระราชดำ �เนินไปยังพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน
ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพิธีตามขัตติยราช
ประเพณี แล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำ�หนักปั้นหย่า
วัดบวรนิเวศวิหาร
	
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติ
พระราชกิจ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น
เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำ�วัตรเช้า–เย็น ตลอดจนทรงสดับ
พระธรรมและพระวินัย นอกจากนี้ ยังได้เสด็จพระราชดำ�เนิน
ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่นๆ เช่น
	
วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปยังวัดพระศรี
รัตนศาสดาราม ทรงร่วมสังฆกรรมในพิธีผนวชและอุปสมบท
นาคหลวงในพระบรมราชินูปถัมภ์
	
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับ
บิ ณ ฑบาต จากพระบรมวงศานุ ว งศ์ แ ละข้ า ทู ล ละอองธุ ลี
พระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในโอกาสนี้สมเด็จพระบรม
โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี
พระบาทด้วย
	
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับ
บิณฑบาต ณ วังสระปทุม วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
เสด็จฯ ไปทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และ
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาต
จากประชาชนทังในบริเวณถนนพระสุเมรุ อนุสาวรียชยสมรภูมิ
้
์ั
และสี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี อีกด้วย
	
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระภิกษุพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลาพระผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
รวมเวลาทรงพระผนวชทั้งสิ้น 15 วัน
	
อนึ่ ง ในการทรงผนวชครั้ ง นี้ เมื่ อ ถึ ง วั น เฉลิ ม
พระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2499 ได้มีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ เ ฉลิ ม พระอิ ส ริ ย ศั ก ดิ์ สมเด็ จ
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ขึนเป็น สมเด็จพระบรมราชินนาถ
้
ี
และวันที่ 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช
พระราชอุปชฌาจารย์ ขึนเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และถวาย
ั
้
ฐานันดรศักดิ์ เป็น กรมหลวง
ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552	

ข่าวประชาสัมพันธ์

วารสาร สควค.

5

แนะนำ�ผู้อำ�นวยการ สสวท. :: ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร
บุญเลี้ยง จอดนอก สควค. รุ่น 6 ครู คศ.1 ร.ร.บ้านหัวบึง จ.อุดรธานี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
สถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.) แต่งตัง นางพรพรรณ
้
ไวทยางกูร เป็นผู้อำ�นวยการ
สสวท. เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม
พ.ศ. 2552 ซึ่ ง นอกจาก
ภารกิจในการบริหาร สสวท.
ให้ประสบความสำ�เร็จแล้ว ท่านยังเป็นผู้บริหารระดับสูงของ
สสวท. ที่ดูแลและสนับสนุนโครงการ สควค. มาเป็นเวลา
ยาวนาน ในโอกาสพิเศษนี้ จึงขอนำ�ประวัติการทำ�งานของ
ท่านมาเล่าสู่กันฟัง
	
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม
พ.ศ. 2497 จบประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
จากโรงเรี ย นเตรี ย มอุ ด มศึ ก ษา ปริ ญ ญาตรี วิ ท ยาศาสตร์
บัณฑิต (วท.บ) สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป : เคมี-ชีววิทยา จาก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทครุศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และปริญญาเอก Ph.D (Computer Science Teaching)
จาก University of North Texas, Denton, TX, USA
	
ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร เริ่มต้นทำ�งานที่ สสวท.
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ในตำ�แหน่งวิทยากรสาขาเคมี ช่วยงาน
ผูอ�นวยการ (ดร. นิดา สะเพียรชัย) หลังจากนันได้ปฏิบตหน้าที่
้ำ
้
ัิ
อื่นๆ ตามลำ�ดับดังนี้
	
	 วิทยากรสาขาคอมพิวเตอร์
	
	 ผู้ชำ�นาญการสาขาคอมพิวเตอร์
	
	 ได้รบการคัดเลือกให้เป็นพนักงานดีเด่นของ สสวท.
ั
		 ในปี พ.ศ. 2536
	
	 หัวหน้าสำ�นักงานผู้อำ�นวยการ รักษาการหัวหน้า
		 สำ�นักบริการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
	
	 หัวหน้าสำ�นักนโยบายและแผน
	
	 หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
	
	 ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ
	
	 รองผู้อำ�นวยการ สสวท.

	
	 ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการ สสวท.
		 ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
	
ผู้อำ�นวยการ สสวท. คนใหม่มีประสบการณ์ทางด้าน
การส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และ
เทคโนโลยีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา และปรับปรุง
หลักสูตร หนังสือเรียน คู่มือครู และสื่อประกอบหลักสูตร
วิ ท ยาศาสตร์ คณิ ต ศาสตร์ คอมพิ ว เตอร์ ออกแบบและ
เทคโนโลยี ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ชั้นปี การพัฒนา
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย คณิตศาสตร์ปฐมวัย
การพัฒนาครู ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรการศึกษา
วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ออกแบบและ
เทคโนโลยี การส่งเสริมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้
ซอฟต์แวร์ GSP การวิจัยร่วมกับนานาชาติ ในโครงการศึกษา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพือการศึกษา (SITIES) Module 1
่
Module 2 และ SITIES 2006 รวมทั้งงานร่วมมือและสร้าง
เครือข่ายกับหน่วยงานภายในและต่างประเทศอีกหลายโครงการ
	
วิสัยทัศน์ภายใต้การบริหารของผู้อำ�นวยการ สสวท.
คนใหม่ คือ พัฒนา สสวท. เป็นผู้นำ�วิชาการด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพือยกระดับคุณภาพ
่
การศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหัวใจหลัก โดยขับเคลื่อนร่วมกับ
เครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้อง
กับการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เช่น สพฐ. เครือข่าย
มหาวิทยาลัย กทม. องค์กรท้องถิน สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ ใช้ ICT
่
เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีให้เท่าเทียมกับนานาชาติ
	
นอกจากนี้ ยังมุงเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
่
ในองค์กร และเฟ้นหาคนเก่ง คนดีเข้ามาร่วมงาน
	
ด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งทางด้านวิชาการ
และการบริหารจัดการ เราจึงมีความมั่นใจว่า ผู้อำ�นวยการ
สสวท. คนใหม่ จะนำ�พาองค์กรและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
คณิ ต ศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ข องคนไทยให้ เ ป็ น เลิ ศ ได้ ต าม
เป้าหมายที่กำ�หนดในอนาคตอันใกล้ และเราชาวข้าราชการ
ครู สควค. มีความยินดีและพร้อมสำ�หรับทุกภารกิจที่จะได้รับ
มอบหมายเพื่อสร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
6

วารสาร สควค.	

แหล่งเรียนรู้

ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552

ห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ :: ศูนย์ท่าจีนศึกษา
จารุวรรณ เตชะสุทธิรัฐ สควค. รุ่น 5 ครู คศ.1 ร.ร.วัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท) จ.นครปฐม

	
ศูนย์ท่าจีนศึกษา ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนวัดดอนหวาย
(นครรั ฐ ประสาท) สำ � นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษานครปฐม
เขต 2 อำ�เภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กำ�เนิดขึ้นด้วยความ
ร่วมมือจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ร่วมกับ ชมรมเรารักแม่นาท่าจีน นครปฐม ภายใต้การสนับสนุน
ํ้
งบประมาณจากกองทุนสิงแวดล้อม และโรงเรียนวัดดอนหวาย
่
(นครรัฐประสาท) จังหวัดนครปฐม
วัตถุประสงค์
	
1. 	เพือพัฒนากระบวนการเรียนรูการอนุรกษ์ทรัพยากร
่
้
ั
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแม่นํ้าท่าจีน
	
2. 	เพือพัฒนาผูน�เยาวชนด้านการอนุรกษ์ทรัพยากร
่
้ ำ
ั
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแม่นํ้าท่าจีน
	
3. 	เพื่อขยายเครือข่ายการเรียนรู้สู่เยาวชนในสถาน
ศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แม่นํ้าท่าจีน/ชุมชน/หน่วยงานอื่นๆ
การบริการทางวิชาการ
	
มีการกำ�หนดกรอบการปฏิบัติงานเพื่อการบริการ
ทางวิชาการไว้ใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
	
1. 	ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยนิทรรศการประจำ�
ศูนย์ท่าจีนศึกษา ได้แก่
		 1.1 	พระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
		 1.2 	ประวัตแม่นาท่าจีน แหล่งกำ�เนิดของสายนําท่าจีน
ิ ํ้
้
		 1.3 	นํ้าคือชีวิต ประโยชน์ท่าจีน
		 1.4 	สืบสานวัฒนธรรมประเพณี วิถีชาวท่าจีน
		 1.5 	เศรษฐกิจชุมชนคนท่าจีน อาชีพริมนํ้าท่าจีน
		 1.6 	กิจกรรมดีดีมีเพื่อคนท่าจีน
		 1.7 	แม่นํ้าท่าจีน สายนํ้าสายชีวิต
		 1.8 	ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวท่าจีน
		 1.9 	กลุ่มองค์กรของชาวท่าจีน
	
2. 	การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาเยาวชน
รักท่าจีนและเครือข่าย ได้ด�เนินการจัดตังคณะทำ�งานขับเคลือน
ำ
้
่
กิจกรรมของศูนย์ทาจีนศึกษาจังหวัดนครปฐม มีชอว่า “นักสืบ
่
ื่
สายนํ้า แม่นํ้าท่าจีน” อย่างต่อเนื่อง ได้แก่
		 2.1	จัดกิจกรรมพัฒนาวิทยากรท่าจีน สู่เยาวชน
ต้นแบบด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จังหวัดนครปฐม

		 2.2 	จัดกิจกรรมแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมทังในและนอกสถานศึกษา
่
้
		 2.3 	จัดกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมให้กับเครือข่าย
ภายนอกสถานศึกษา/โรงเรียน/ชุมชน/ผู้ศึกษาดูงาน/สื่อสาร
มวลชน/หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนทั่วไป
	
3. 	การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นแม่นํ้าท่าจีน
นครปฐม โดยการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ในแม่นํ้าท่าจีน ซึ่งสนับสนุนการสร้างปฏิสัมพันธ์ของนักเรียน
ต่อชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ดำ�เนินการ
จัดการเรียนรู้ ภายใต้ค�ขวัญ “มนต์เสน่หทาจีน ห้องปฏิบตการ
ำ
์ ่
ัิ
ทางธรรมชาติ ในมุมมองวิทยาศาสตร์ คลังความรู้ คู่บริการ
สู่ความเป็นเลิศ” ซึ่งเป็นการดำ�เนินการต่อยอดจากกิจกรรม
ศูนย์ท่าจีนศึกษา จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพิ่มเติมดังนี้
	
1.	 เพื่ อ พั ฒ นาการจั ด กิ จ กรรมสร้ า งเครื อ ข่ า ยการ
เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จากแหล่งการเรียนรู้
แม่นํ้าท่าจีน
	
2. 	เพื่ อ พั ฒ นาผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นกลุ่ ม สาระ
การเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ จ ากแหล่ ง การเรี ย นรู้ แ ม่ นํ้ า ท่ า จี น
ของนักเรียนโรงเรียนวัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท)
	
3. 	เพือสร้างและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรูภายนอก
่
้
สถานศึกษา ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงในแหล่งการเรียนรู้
	
ทั้งนี้ได้ดำ�เนินการส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนต้นแบบ
เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนในกลุ่มเยาวชน พัฒนาความรู้ความ
เข้าใจ ทักษะต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนบรรลุ
วัตถุประสงค์ด้วยกระบวนการ Training for The Trainers
ในเครือข่ายต่างๆ พร้อมทังส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ การสร้าง
้
องค์ความรูจากห้องปฏิบตการทางธรรมชาติ ทีเ่ กียวข้องใกล้ชด
้
ัิ
่
ิ
กับโลกธรรมชาติ เพื่อทำ�ให้คนเห็นคุณค่า ตระหนักและเข้าใจ
ถึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน
	
ผูสนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิมเติมทีเ่ ลขาธิการ
้
่
ชมรมเรารักแม่นํ้าท่าจีนนครปฐม ผศ.เด่นศิริ ทองนพคุณ
โทร.08-9776-6623 หรือศูนย์ท่าจีนศึกษา ผู้ประสานงาน
ครูบุญมี อบเชย โทร.08-9789-1824 Fax. (034) 288-068
ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552	

คลินิกการสอน

วารสาร สควค.

7

การสอนแบบเปรียบเทียบโดยใช้ FARGUIDE
สมฤทัย สังฆคราม สควค. รุ่น 6 ครู คศ.1 ร.ร.โนนเมือง จ.ชัยภูมิ

	
การสอนด้วยวิธการสอนแบบเปรียบเทียบ (analogy)
ี
เป็นวิธการสอนโดยการใช้สงต่างๆ ทีงาย บุคคลคุนเคย มีความ
ี
ิ่
่่
้
เป็นรูปธรรมมาเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจมโนมติที่มีความเป็น
นามธรรม ยากในการทำ�ความเข้าใจ โดยมีนักวิทยาศาสตร์
ศึกษา กล่าวถึงการเปรียบเทียบไว้หลายท่าน ที่จะนำ�มากล่าว
ในที่นี้คือ Glynn, S.M (2008) กล่าวว่า analogy คือ การ
เปรียบเทียบระหว่างความเหมือนของสองมโนมติ มโนมติ
ที่คุ้นเคย เรียกว่า Analog และมโนมติที่ไม่คุ้นเคย เรียกว่า
target ซึ่งทั้งสองมโนมติ มีการใช้คุณลักษณะต่างๆ ร่วมกัน
ระหว่าง analog และ target และต้องสามารถบอกความ
แตกต่างระหว่าง analog กับ target ได้
	
Duit (1991) บอกชนิดของการเปรียบเทียบตามความ
สัมพันธ์ระหว่างตัวทีใช้เปรียบเทียบกับสิงทีกล่าวถึง ได้ 4 ชนิด
่
่ ่
ได้แก่
	
1. 	ใช้รปภาพประกอบการอธิบาย (pictorial/verbal)
ู
เพือถ่ายทอดความคิดหรือเป็นตัวแทนของมโนมติทมความเป็น
่
ี่ ี
นามธรรม เช่น กราฟ ไดอะแกรม หรือรูปภาพ
	
2. 	โดยใช้ตัวบุคคล (personal analogies) เป็นการ
เปรียบเทียบมโนมติทางวิทยาศาสตร์กับอวัยวะส่วนต่างๆ
ในร่างกายมนุษย์
	
3. 	ใช้ สิ่ ง เปรี ย บเที ย บที่ ห ลากหลาย (Multiple
Analogies) เป็นการอธิบายมโนมติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ใช้
หลายๆ analog ช่วยในการอธิบาย เช่น การเปรียบเทียบเรื่อง
ภาวะเรือนกระจก โดยสวนที่อยู่ในกระจกใช้เปรียบเทียบกับ
ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของ
คาร์บอนไดออกไซด์ทเี่ ป็นสาเหตุท�ให้โลกร้อนขึนนัน ใช้เปรียบ
ำ
้ ้
เทียบกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในร่างกายที่เกิดจากการ
ใส่เสื้อหลายชั้นซึ่งดูเหมือนจะทำ�ให้เข้าใจได้ดีกว่า
	
4. 	การเปรียบเทียบทีละขันตอน (Bridging Analogies)
้
เป็ น การเปรี ย บเที ย บที่ เชื่ อ มโยงจากมโนมติ ห นึ่ ง ไปยั ง อี ก
มโนมติหนึ่ง เพื่อลดช่องว่างระหว่าง analog และ target ที่มี
ขนาดใหญ่และซับซ้อน นักเรียนทำ�ความเข้าใจได้ยาก
	
วิธีการสอนแบบเปรียบเทียบ มีนักการศึกษาได้กล่าว
ไว้หลายรูปแบบแต่รปแบบ Focus–Action–Reflection (FAR)
ู
Guide เป็นวิธการเปรียบเทียบทีเ่ ป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ี
โดยมีขั้นตอนที่สำ�คัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้

	
1. 	ขั้น Focus ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
		 1.1 	Concept :: ครูวเิ คราะห์และคัดเลือกมโนมติ
ที่เข้าใจยาก ไม่คุ้นเคย หรือเป็นนามธรรม
		 1.2 	Student :: ครูวิเคราะห์พื้นฐานความรู้เดิม
ของนักเรียนเกี่ยวกับ มโนมติที่ศึกษาเป็นอย่างไร และนักเรียน
คุ้นเคยกับมโนมติใดบ้างที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยใช้แบบสำ�รวจ
		 1.3	 Analog :: ครูวเคราะห์เลือกสิงทีจะนำ�มาใช้
ิ
่ ่
ในการเปรียบเทียบ ต้องเป็นสิงทีคล้ายกับมโนมติทจะสอนและ
่ ่
ี่
นักเรียนมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี
	
2. 	ขั้น Action ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่
		 2.1 	Like :: ครู แ ละนัก เรียนอภิปรายร่ ว มกั น
เพื่อหาความเหมือนระหว่างตัวเปรียบเทียบ (analog) กับ
มโนมติที่ศึกษา (Target)
		 2.2 	Unlike :: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
เพื่อหาความแตกต่างระหว่างตัวเปรียบเทียบ (analog) กับ
มโนมติที่ศึกษา (Target)
	
ในขั้ น นี้ ค รู ต้ อ งช่ ว ยให้ นั ก เรี ย นสามารถสรุ ป ความ
เหมือนและความแตกต่างให้ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียน
เกิดมโนมติที่คลาดเคลื่อน (misconception) ไปจากมโนมติ
วิทยาศาสตร์ (Scientific conception)
	
3. 	ขั้น Reflection ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ
ได้แก่
		 3.1 	Conclusion :: ครูวิเคราะห์และสรุปผล
จากการเรียนรูโดยใช้ตวเปรียบเทียบ (analog) ว่าทำ�ให้นกเรียน
้
ั
ั
เรียนรู้หรือนักเรียนสับสน
		 3.2 	Improvement :: ครูจะต้องปรับปรุง แก้ไข
หรือมีการเพิ่มวิธีการอื่นๆ ในการสอนเรื่องนี้หรือไม่ และ
พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้สิ่งที่ใช้ (analog) ในครั้ง
ต่อไป
	
การสอนแบบเปรียบเทียบ ช่วยกระตุ้นความสนใจ
ของนั ก เรี ย น ช่ วยให้ ส ามารถจดจำ � ได้ ดี แต่ อ าจทำ �ให้ เกิ ด
มโนมติคลาดเคลื่อนและเกิดความสับสนมากขึ้นได้ ผู้นำ�ไปใช้
ควรเลือก analog ให้ง่ายต่อความเข้าใจ
8

วารสาร สควค.	

ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552

แผนภาพโบราณดาราศาสตร์และธรณีวิทยา
จากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์

ผลงานวิจัยครู สควค.

ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข สควค.รุ่น 6 ครู คศ.1 ร.ร.นารายณ์คำ�ผงวิทยา จ.สุรินทร์

ความสำ�คัญและความเป็นมาของการวิจัย
	
จังหวัดสุรินทร์ มีคำ�ขวัญประจำ�จังหวัดว่า “สุรินทร์
ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำ�สวย รํ่ารวยปราสาท ผักกาด
หวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” กล่าวเฉพาะ
เรื่อง ปราสาท จังหวัดสุรินทร์มีปราสาทที่ขึ้นทะเบียนกับ
กรมศิลปากรจำ�นวนกว่า 30 แห่ง แต่เมื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
ปราสาทแต่ ล ะแห่ ง จากหลายหน่ ว ยงานและหลายแหล่ ง
ข้อมูล พบว่ามีการนำ�เสนอเฉพาะบางปราสาทที่สำ�คัญ และ
เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับมิติทางศิลปะ ตำ�นานและวัฒนธรรม
เป็ น หลั ก ผู้ วิ จั ย จึ ง ต้ อ งการนำ � เสนอองค์ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ
“ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์” ในเชิงวิทยาศาสตร์ 2 ประเด็น
คือ โบราณดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับทิศทางการวางตัวปราสาท
โดยวัดจากทิศเหนือภูมิศาสตร์ และธรณีวิทยาเกี่ยวกับวัสดุ
ก่อสร้างปราสาทแต่ละแห่ง เพื่อหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
แล้ ว จั ด ทำ � แผนภาพเป็ น สื่ อ เสริ ม การเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์
ท้องถิ่น เผยแพร่และใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
	
1. 	ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ วัตถุประสงค์
การสร้างและประเภทปราสาทกับทิศทางการวางตัวปราสาท
	
2. 	ออกแบบและจัดทำ�แผนภาพ โบราณดาราศาสตร์
และธรณีวิทยาจากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์
	
3. 	ออกแบบและจัดทำ�คูมอบทปฏิบตการดาราศาสตร์
่ื
ัิ
กับภูมปญญาท้องถิน เรือง “โบราณดาราศาสตร์และธรณีวทยา
ิ ั
่ ่
ิ
จากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์”
วิธีดำ�เนินการวิจัย
	
ตอนที่ 1 การเก็ บ ข้ อ มู ล ภาคสนามและการวิ จั ย
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ วัตถุประสงค์การสร้าง
และประเภทปราสาทกับทิศทางการวางตัวปราสาท
	
1. 	ศึกษาคนควา รวบรวมขอมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ
ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ที่อยู่ อายุ วัตถุประสงค์
การสร้างปราสาทแต่ละแห่ง โดยผู้วิจัย ได้สำ �รวจปราสาท
ศีขรภูมิ ปราสาทสังแก ปราสาทยายเหงา ปราสาทภูมิโปน
ปราสาทบ้านพลวงและปราสาทเมืองที เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม
2551 เพื่ อ หามิ ติ ท างวิ ท ยาศาสตร์ จ ากปราสาทและใช้
เข็มทิศวัดทิศทางการวางตัวปราสาท พบว่ามีค่ามุมการวางตัว
แตกต่างกัน

	
2. 	จัดทำ�แบบเก็บข้อมูลภาคสนามและสร้างอุปกรณ์
วัดทิศทางการวางตัวปราสาทจากทิศเหนือภูมิศาสตร์ และ
ทดลองใช้อุปกรณ์ดังกล่าวโดยทำ�การวัดทิศทางการวางตัว
ปราสาท จากปราสาทจำ�นวน 5 แห่ง ได้แก่ ปราสาทขุมดิน
ปราสาทสนม ปราสาทวัดโพธิ์ศรีธาตุ ปราสาทบ้านหนองหิน
ปราสาทนางบัวตูม ในวันที่ 6 กันยายน 2551 และให้อาสา
สมัครและยุววิจัย ม.ต้น ทดสอบวัดทิศทางการวางตัวปราสาท
ทั้ง 5 แห่งซํ้าอีกครั้ง ในวันที่ 10 กันยายน 2551
	
3. 	กำ�หนดเส้นทางการเดินทางเพือเก็บข้อมูลระหว่าง
่
วันที่ 13-14 กันยายน 2551 ผูวจยให้นกเรียนมีสวนร่วมในการ
้ิั ั
่
เก็บข้อมูลภาคสนามโดยแบ่งเป็น 4 กลุม คือ ผูวจยและนักเรียน
่
้ิั
ยุววิจัย 3 กลุ่ม ทำ�การวัดกลุ่มละ 6 จุด รวม 24 จุดต่อปราสาท
แต่ละแห่ง
	
4. 	ดำ � เนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ภาคสนามของปราสาท
แต่ละแห่ง 3 รายการ คือ
		 - 	บันทึกภาพปราสาทด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศ
ตะวันออก ทิศตะวันตก ลักษณะเด่นของปราสาท และการวัด
ทิศทางการวางตัวปราสาท
	
	 - 	วัดทิศทางการวางตัวปราสาท จากแนวการ
เรียงวัสดุก่อสร้างปราสาทหรือรอยขีดที่มนุษย์โบราณทำ�ไว้
นำ�ค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยและกำ�หนดเครื่องหมาย + หมายถึง
องศาตะวันออก และเครื่องหมาย - หมายถึง องศาตะวันตก
		 -	สำ�รวจวัสดุที่ใช้ก่อสร้างองค์ปราสาท
	
5. 	จำ�แนกประเภทปราสาทจากวัสดุก่อสร้างองค์
ปราสาท
	
6. 	วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล เพื่ อ หาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง
อายุ วัตถุประสงค์การสร้างและประเภทปราสาทกับทิศทาง
การวางตัวปราสาท
ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552	

ผลการวิจัย
	
ตอนที่ 1
	
1. อายุการก่อสร้างปราสาท มีความสัมพันธ์กบทิศทาง
ั
การวางตัวปราสาท โดยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสลับไปมา
ซึ่งหากการสร้างปราสาทในแต่ละแห่ง ใช้ดวงอาทิตย์แรกขึ้น
ทางทิ ศ ตะวั น ออกเป็ น จุ ด สั ง เกตและเริ่ ม สร้ า งในวั น วิ ษุ วั ต
(equinox) จะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสลับไปมา โดยช่วง
พุทธศตวรรษที่ 16-17 และ 23-24 ทิศทางการวางตัวเป็นองศา
ตะวันออก นั่นคือ ปราสาทหันหน้าเอียงไปทางทิศใต้ (ตามจุด
ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น) และช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน)
และ 18 ทิศทางการวางตัวเป็นองศาตะวันตก นั่นคือ ปราสาท
หันหน้าเอียงไปทางทิศเหนือ (ตามจุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้น)
	
2.	 วัตถุประสงค์การสร้าง มีความสัมพันธ์กับอายุ
การก่อสร้าง โดยพุทธศตวรรษที่ 13-17 สร้างเพือเป็นเทวสถาน
่
พุ ท ธศตวรรษที่ 18 ส่ ว นใหญ่ ส ร้ า งเพื่ อ เป็ น อโรคยาศาลา
(โรงพยาบาล) และพุทธศตวรรษที่ 23-24 สร้างเพื่อเป็น
พุทธสถาน และมีความสัมพันธ์กับทิศทางการวางตัวปราสาท
เช่นเดียวกับอายุการก่อสร้างปราสาท
	
3.	 ประเภทปราสาท มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ อายุ
การก่อสร้าง โดยพุทธศตวรรษที่ 13-17 ปราสาทสร้างด้วยอิฐ
และมีทับหลัง พุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน) ปราสาทสร้าง
ด้วยหินทรายและศิลาแลง พุทธศตวรรษที่ 18 ปราสาทสร้าง
ด้วยศิลาแลง และพุทธศตวรรษที่ 23-24 สร้างจากอิฐ และมี
ความสัมพันธ์กับทิศทางการวางตัวปราสาท เช่นเดียวกับอายุ
การก่อสร้างปราสาท
	
ตอนที่ 2 การจัดทำ�แผนภาพ : สื่อเสริมการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในการทำ�
บทปฏิบตการดาราศาสตร์กบภูมปญญาท้องถิน เรือง “โบราณ
ัิ
ั ิ ั
่ ่
ดาราศาสตร์และธรณีวิทยาจากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์”
ในรายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
	
ผูวจยออกแบบและจัดทำ�แผนภาพขนาด 21 x 30 นิว
้ิั
้
ด้วยโปรแกรม Illustrator โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ ประเภท
อายุ วัตถุประสงค์การก่อสร้าง ทิศทางการวางตัวปราสาท และ
พิกดภูมศาสตร์ (ละติจด ลองจิจด จาก www.pointasia.com)
ั ิ
ู
ู
ของปราสาทจำ�นวน 34 แห่ง
	
ตอนที่ 3 การจัดทำ�คู่มือบทปฏิบัติการดาราศาสตร์
กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
	
ผู้ วิ จั ย ออกแบบบทปฏิ บั ติ ก าร รายงานการทำ �
บทปฏิบตการ พร้อมทังจัดทำ�เฉลยรายงานการทำ�บทปฏิบตการ
ัิ
้
ัิ

วารสาร สควค.

9

“ดาราศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อเป็นคู่มือสำ�หรับ
นักเรียนที่เรียนวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ (ม.ปลาย)
ได้ปฏิบตการโดยใช้เวลาในชันเรียน 2 ชัวโมง และนอกชันเรียน
ัิ
้
่
้
1 ชั่วโมง ซึ่งผลการศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
ร.ร.นารายณ์ค�ผงวิทยา จังหวัดสุรนทร์ ทีเ่ รียนในภาคเรียนที่ 2
ำ
ิ
ปีการศึกษา 2551 จำ�นวน 45 คน พบว่า นักเรียนให้ความ
สนใจกับการเรียน ทำ�กิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างกระตือรือร้น
รูจกปราสาทในจังหวัดสุรนทร์มากขึน และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์
้ั
ิ
้
ทางการเรียนเรือง ดาราศาสตร์กบภูมปญญาท้องถิน ผ่านเกณฑ์
่
ั ิ ั
่
ร้อยละ 70 ทุกคน
	
นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่ อ ใช้ บ ทปฏิ บั ติ ก ารดาราศาสตร์ กั บ ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น
ในการจัดการเรียนการสอน และจัดทำ�ชุดการเรียนรู้ ออนไลน์
บนเว็บไซต์ www.anantasook.com เพื่อใช้จัดการเรียนรู้
บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและให้ครูหรือผู้ที่สนใจได้นำ�ไปใช้
จัดการเรียนการสอนและใช้ประโยชน์ทางการศึกษาอย่าง
กว้างขวางต่อไป
ข้อสังเกตผลการวิจัย
	
ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็ก
สร้างโดยคนท้องถิ่น การก่อสร้างปราสาทแต่ละแห่ง น่าจะ
สังเกตตำ�แหน่งการขึนของดวงอาทิตย์เป็นจุดสังเกต การสร้าง
้
ปราสาทหันหน้าไปทิศนั้น แต่อาจสร้างโดยสะดวก ไม่ได้คำ�นึง
ถึงแนวการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในวันวิษุวัตอย่างแท้จริง
ก็ได้ แต่ค่าที่ได้จากการทำ�วิจัย ก็แสดงให้เห็นว่า ขอมโบราณ
มีความรู้ในเรื่อง การกำ�หนดทิศเหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก
โดยสังเกตการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เป็นอย่างดี
หมายเหตุ ::
	
งานวิจัยนี้ ได้รับคัดเลือกจาก สสวท. ให้เป็น 1 ใน 2
ผลงานคุณภาพของครู สควค. นำ�เสนอผลงานวิจัยในการ
ประชุ มสั ม มนาการวิจัย การศึ ก ษาไทย-มาเลเซี ย ครั้ง ที่ 2
ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ วันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2552
ค่ายวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสำ�หรับนักเรียนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 2
10 วารสาร สควค.	

ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552

บทความพิเศษ

ความเครียดกับการเรียนรู้
นันทรัตน์ แก้วไกรษร สควค. รุ่น 7 ครู คศ.1 ร.ร.โนนสะอาดชุมแสงวิทยา จ.อุดรธานี

	
การเรียนรู้ระดับสูงและซับซ้อน นักเรียนจะเรียนรู้
ได้ดีในบรรยากาศที่ยั่วยุและท้าทาย แต่ถ้ามีบรรยากาศของ
ความเครียดและความกดดันมากๆ จะทำ�ให้ไม่เกิดการเรียนรู้
อาการของความเครียด
	
ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการใช้พลังงานมาก
และมีการเปลียนแปลงกระบวนการทางสรีรวิทยาของร่างกาย
่
เมื่อมีตัวเร่งความเครียด (stressor) กระตุ้น ก็จะเกิดปฏิกิริยา
ทางร่างกายเพื่อปรับตัว 3 ขั้น ได้แก่
	
1.	 อาการบอกเหตุ (alarm reaction stage) จะเกิดขึน
้
เฉพาะแห่งเนื่องจากตัวเร่งความเครียด ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
จะเกิดโดยผ่านระบบประสาทและต่อมไม่มีท่อ เช่น pituitary
จะหลั่งฮอร์โมนออกมาทำ�ให้ร่างกายสามารถต่อต้านต่อตัวเร่ง
ความเครียด และซ่อมแซมร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล
	
2. 	อาการต่อต้าน (resistance stage) ในระหว่าง
ช่วงนี้ การเปลียนแปลงทางชีววิทยาจะเกิดขึนเพือรักษาสภาพ
่
้ ่
ต่อต้านของสิ่งมีชีวิตต่อตัวเร่งความเครียด ในบางสถานการณ์
ทำ�ให้เกิดระดับการสมดุลทางสรีรวิทยาเกิดขึ้น
	
3. 	ขันหยุดทำ�งาน (exhaustion stage) ถ้าอยูภายใต้
้
่
เหตุการณ์ที่มีความเครียดนานๆ ความต้านทานไม่สามารถ
จะทำ�ให้ร่างกายคงรักษาสภาพคงที่ไว้ได้ และความเครียด
ยังคงมีอยู่ต่อไป อาจถึงตายได้เพราะอวัยวะหยุดการทำ�งาน
	
ตัวเร่งความเครียดต่างๆ มีผลต่ออารมณ์ ส่งผลต่อ
การทำ�งานร่วมกันระหว่างระบบประสาท และระบบต่อมไร้
ท่อ โดยจะมีเซลล์ประสาทรับกระแสความรู้สึกส่งไปยังสมอง
ส่วน hypothalamus ทำ�ให้มการหลังฮอร์โมน corticotrophin
ี
่
releasing hormone (CRH) ผ่านเข้าไปในเส้นเลือด ซึ่งจะไป
มีผลต่อต่อมใต้สมอง pituitary ทำ�ให้มีการหลั่งฮอร์โมน
ทีเ่ รียกว่า adrencorticotrophic hormone (ACTH) ทีควบคุม
่
การทำ�งานของต่อมหมวกไตส่วนคอร์เท็กซ์ (adrenal cortex)
เป็ น ผลทำ � ให้ ก ลู โ คครอติ ค อยด์ (glucocorticoid) ชนิ ด
คอร์ติซอลฮอร์โมน หลั่งออกมาเข้าสู่เลือดและนํ้าลาย ทั้งนี้
คอร์ติซอลฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะยับยั้งการดูดซึมโปรตีน
ทำ�ให้เซลล์ทเกิดใหม่ขาดวัตถุดบในการสร้างความเจริญเติบโต
ี่
ิ
และพัฒนาการของเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ประสาทตาย ทำ�ให้
ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และความจำ�ลดลง

คอร์ติซอล ในนํ้าลายกับความเครียด
	
การตอบสนองต่อความเครียดมีทั้งทางชีวภาพหรือ
กายภาพและการหลั่งฮอร์โมน ซึ่งเป็นการปรับสภาพสมดุล
ของร่ า งกาย และเป็ น การปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สภาพแวดล้ อ ม
ทางสังคมแบบใหม่ คอร์ติซอลฮอร์โมน เป็น glucocorticoid
ตัวหนึงทีมผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายในหลายระบบหน้าที่
่ ่ี
ที่สำ�คัญอย่างหนึ่งของ glucocorticoid คือ การสลายกรด
อะมิโนและไขมันจากเซลล์เพื่อสร้างพลังงานหรือสังเคราะห์
สารประกอบใหม่ขึ้นมา การทำ�หน้าที่เช่นนี้จะเป็นตัวกลาง
ทีส�คัญในการตอบสนองของร่างกายทังทางด้านสรีรวิทยาและ
่ำ
้
ด้านจิตวิทยาต่อการจัดการภาวะความเครียดจากการกระตุ้น
โดย stressors ต่างๆ นอกจากนี้ glucocorticoid ยังมีผล
ต่อการอักเสบของเนือเยือจากการบาดเจ็บ มีผลกดการทำ�งาน
้ ่
ของระบบภูมคมกันของร่างกาย ในระบบประสาทส่วนกลางนัน
ิ ุ้
้
พบว่า glucocorticoid มีความสำ�คัญในการทำ�งานของสมอง
หลายๆ กิจกรรม การศึกษาในปัจจุบันพบว่า glucocorticoid
มีความสำ�คัญต่อการทำ�งานของสมองในส่วนของการรับรู้
(prefrontal cortisol cognitive function) โดยเฉพาะในส่วน
ของความทรงจำ� (memory) นอกจากนี้ ยังมีส่วนในการตอบ
สนองในด้านพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในหลายๆ กิจกรรม
เช่น การนอนหลับ ภาวะการแสดงออกของอารมณ์ และการ
รับรู้ความรู้สึกต่างๆ เป็นต้น
	
นอกจากนี้ คอร์ติซอล ยังเป็นตัวชี้วัดในการศึกษา
ด้ า นจิ ต ใจในมนุ ษ ย์ ซึ่ ง การตรวจวั ด ระดั บ ของคอร์ ติ ซ อล
ในนํ้าลาย และพลาสมาจะสามารถบ่งบอกระดับความเครียด
ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผูปวย
้ ่
ของโรคบางอย่าง เช่น โรค Cushing’s disease จะมีผลทำ�ให้
ระดับคอร์ติซอล สูงขึ้นกว่าปกติ โดยพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย
จะมีปัญหาทางด้านจิตใจและภาวะเครียดร่วมด้วย
การวิจัยของนักการศึกษา
	
จากการศึกษาของ Kirschbaum and Heehammer
(1994) พบว่า ภาวะความเครียดส่งผลต่อการเปลียนแปลงทาง
่
สรีรวิทยาในสองส่วนคือ การกระตุ้นระบบแกนไฮโปธาลามัส
(HPA) และการกระตุ้ น ผ่ า นทางระบบประสาทอั ต โนวั ติ
(sympathetic activity)
ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552	

	
การกระตุ้นทำ�ให้มีการคัดหลั่งฮอร์โมนความเครียด
คือ คอร์ติซอลฮอร์โมน (cortisol hormone) ออกมาในเลือด
และนํ้าลายมากกว่าปกติ และการเปลี่ยนแปลงของระบบ
การทำ�งานของแกนไฮโปธาลามัส (HPA) ที่มีสาเหตุมาจาก
ภาวะเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อระดับปริมาณคอร์ติซอลฮอร์โมน
ในนํ้าลายเพิ่มสูงขึ้น และ Hellhammer et al. (2009) พบว่า
ระดับความเครียดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับปริมาณ
คอร์ติซอลฮอร์โมน ที่หลั่งออกมาทั้งในเลือดและในนํ้าลาย
นอกจากนี้ Vedhara et al. (2000) ยังพบว่า ปริมาณคอร์ตซอล
ิ
ที่เพิ่มขึ้นทำ�ให้ความสามารถในการเรียนรู้ จดจำ�และสมาธิ
ลดลง
	
ดังนั้น การศึกษาผลการเรียนรู้และระดับความเครียด
ของนักเรียนที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้ปริมาณ
ฮอร์ โ มนคอร์ ติ ซ อลในนํ้ า ลาย และการรั บ รู้ ค วามเครี ย ด
ด้ ว ยตนเอง เป็ น ดั ช นี ชี้ วั ด ภาวะความเครี ย ดของนั ก เรี ย น
ซึ่งเป็นวิธีการวัดที่ไม่เป็นอันตราย สะดวกและมีประสิทธิภาพ
ในการชี้ วั ด ภาวะเครี ย ดที่ ท างการแพทย์ ใ ห้ ก ารยอมรั บ
เพือเป็นการยืนยันประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ อันจะนำ�
่
ไปสูกระบวนการเรียนรูวทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
่
้ิ

วารสาร สควค. 11

เอกสารอ้างอิง
ภาสินี มุกดาวงษ์. ความเครียดและวิธการเผชิญความเครียด
ี
ของนักเรียนชันมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์
้
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
พยาบาลสุ ข ภาพจิ ต และจิ ต เวช บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.
อารี สัณหฉวี. ทฤษฎีการเรียนรู้ของสมอง สำ�หรับพ่อแม่ ครู
และผู้บริหาร. กรุงเทพ: เบรน-เบส บุ๊ค, 2550.
Hellhammer DH, Wu¨st S, Kudielka BM. Salivary
cortisol as a biomarker in stress research.
Psychoneuroendocrinology 2009; 34:163-171.
Kirachbaum C, Hellhammer DH. Saliva cortisol in
psychological stress and risk for hypertension.
Psychoneuroendocrinology 1994; 19:313-333.
Vedhara K, Hyde J, Gilchrist ID, Tytherleigh, M, Plummer
	
S. Acute stress, memory, attention and
	
cortisol. Biological Psychology 2000; 25:
535-549.

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน [ASEAN]
กำ�เนิดอาเซียน
	
สมาคมประชาชาติ แ ห่ ง เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้
(Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN)
ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ
ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5
ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีตางประเทศ
่
อินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
มาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีตางประเทศฟิลปปินส์)
่
ิ
นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีตางประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก
่
(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในต่อมา
มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (8 ม.ค. 2527) เวียดนาม ( 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า
(23 ก.ค. 2540) และกัมพูชา (30 เม.ย. 2542) ตามลำ�ดับ
รวมมีสมาชิก 10 ประเทศ หลังการลงนามในกฎบัตรอาเซียน
เมือเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ทำ�ให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับ
่
สหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น และกำ�ลังก้าวสู่ความเป็นประชาคม
อาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
	
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทาง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร
ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความ
ร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่าง
ประเทศ
หน่ ว ยประสานงานและติ ด ตามผลการ
ดำ�เนินงานของอาเซียน
	
1. 	สำ�นักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat
ทีกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อ
่
ระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN
Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำ�นักงาน ผู้ดำ�รงตำ�แหน่ง
คนปัจจุบันเป็นคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระ
ดำ�รงตำ�แหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
	
2. 	สำ�นักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National
Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่าง
ประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการ
อาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำ�เนินงาน สำ�หรับ
ประเทศไทยหน่วยงานทีรบผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวง
่ั
การต่างประเทศ
12 วารสาร สควค.	

ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552

บทความ

ไอซีที มีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาไทยอย่างไร

นิตยาพร กินบุญ สควค. รุ่น 6 นักศึกษา ป.เอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น

	
การพัฒนาการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 เราคง
ปฏิเสธกันไม่ได้ที่จะเห็นว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความเจริญ
ก้ า วหน้ า เป็ น อย่ า งมาก ในวงการศึ ก ษาของประเทศไทย
มีความชัดเจนว่าได้มีการนำ� ICT เข้ามาใช้ในระดับนโยบาย
ของประเทศกันเลยทีเดียว และโรงเรียนต่างๆ นัน ก็ได้รบจัดสรร
้
ั
เงินทุนสนับสนุนด้าน ICT กันอย่างทัวถึง ทังโรงเรียนขนาดใหญ่
่
้
ขนาดกลางและขนาดเล็กตามสัดส่วน โดยที่วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีในทศวรรษ 2020 มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
และคุณค่าก็อยู่ที่การค้นพบสิ่งใหม่ ที่นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจ สังคมและตัวความรู้เอง ความมั่งคั่งของแต่ละ
ชาติจะเคลื่อนย้าย จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเงินทุน
ในอดีต ไปสู่ความรู้และความชำ�นาญ ด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
	
การพั ฒ นาอย่ า งรวดเร็ ว ของวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
เทคโนโลยี ทำ � ให้ ห ลายประเทศในโลกที่ เ ห็ น ความสำ � คั ญ
ของการศึ ก ษา ต่ า งปรั บ เปลี่ ย นระบบเศรษฐกิ จ ที่ พึ่ ง พา
อุตสาหกรรมเป็นหลัก มาเป็นระบบทีเน้นความรูในการพัฒนา
่
้
ประเทศแทน เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้
มีรายได้ของประชากร ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ
ที่ ส่ ง ออกที่ เ กี่ ย วกั บ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ส่ ว น
ประเทศไทยเป็ น หนึ่ ง ในประเทศที่ กำ � ลั ง พั ฒ นา เพื่ อ ไปสู่
ประเทศที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรม ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว
กำ�ลังจะปรับเปลี่ยนไปสู่ สังคมดิจิตอลไปแล้ว วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งนั้นทำ�ให้โครงสร้าง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การ
โคลนนิ่ง การตัดต่อพันธุกรรม การถอดรหัสพันธุกรรมของ
สิ่งมีชีวิต สิ่งเหล่านี้คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผล
กับการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ยังช่วยในการรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุและ
วัฒนธรรมอันเก่าแก่ไม่ให้เสือมไปตามกาลเวลา ช่วยศึกษาอดีต
่
อันรุ่งโรจน์ของอาณาจักรหรือเมืองแห่งประวัติศาสตร์ต่างๆ
ในอดีตได้ด้วย
	
ทั้ ง หมดที่ ก ล่ า วมาคื อ ผลของวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
เทคโนโลยี ซึงหากผูน�ประเทศมองเห็น และมีวสยทัศน์ทกว้าง
่
้ ำ
ิั
ี่
ไกล ก็สามารถแข่งขันกับนานาประเทศที่พัฒนาแล้วได้

พลิกโฉมการเรียนด้วยนวัตกรรมใหม่ทางไอซีที
	
ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันจำ�เป็น
ที่ เราต้ อ งเรี ย นรู้ แ ละก้ า วทั น กั บ ความเปลี่ ย นแปลงต่ า งๆ
ทีเ่ กิดขึน เพือให้สามารถนำ�เทคโนโลยีนนมาประยุกต์ใช้ในชีวต
้ ่
ั้
ิ
ประจำ�วัน รวมถึงนำ�มาใช้ในวงการศึกษาด้วย
	
ICT เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำ�มาใช้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลอย่างยิ่งในการเรียนการสอน
โดยการตั้ ง จุ ด มุ่ ง หมายให้ ทั้ ง ผู้ ส อนและผู้ เรี ย นมี ส มรรถนะ
ในการใช้ ICT ได้ ในส่วนของการใช้ในเนื้อหาบทเรียนและใช้
เป็นเครื่องมือการเรียน ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ และ
ลักษณะการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสร้าง
ให้ ก ารเรี ย นการสอนด้ ว ย ICT มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น
(กิดานันท์ มลิทอง, 2548)
มุมมองทางสังคมกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไทย
	
ถ้ามีคนถามเด็กๆ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ส่วนใหญ่
จะตอบว่า หมอ ตำ�รวจ ทหาร ข้าราชการ น้อยคนนักที่จะ
ตอบว่าอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักพัฒนาเทคโนโลยี เพราะ
สังคมของประเทศไทยนั้นยังไม่เข้าใจในวิทยาศาสตร์เพียงพอ
ไม่รวาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนนเข้าไปมีสวนกับทุกๆ เรือง
ู้ ่
ั้
่
่
ของชีวต พอพูดถึงเรืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลายๆ คน
ิ
่
มักจะนึกถึงสมการการคำ�นวณอันซับซ้อนและเรื่องเลวร้าย
ที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ เช่น เหตุการณ์เตาปฏิกรณ์ปรมาณูรั่ว
ที่รัสเซีย แก็สพิษรั่วที่อินเดีย ระเบิดปรมาณู เป็นต้น จนทำ�ให้
สังคมเหล่านั้นปิดกั้นไม่อยากรับรู้ หรือเข้าใจวิทยาศาสตร์
ว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ
	
งานประชุ ม วิ ช าการวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ซึ่งจัดที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และโรงแรมรอยัล ออคิด มีจำ�นวนผู้เข้าลงทะเบียนประมาณ
800 คน เมื่อเปรียบเทียบประชากรกว่า 60 ล้านคน สังคม
ไทยยังมองไม่เห็นบทบาทของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีบทบาท
ในการสร้างชาติ เหมือนกับนักการเมือง และนักเศรษฐศาสตร์
ในการประชุมครั้งนั้นมีข้อหนึ่งที่ต้องการให้มีการถ่ายทอด
ความรู้ และความตื่นเต้นทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ให้สังคมได้รับรู้บ้างและควรเป็นหน้าที่ของใคร
TSMT Journal13 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 13)
TSMT Journal13 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 13)
TSMT Journal13 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 13)
TSMT Journal13 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 13)

More Related Content

Viewers also liked

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)Aphisit Aunbusdumberdor
 
รวมเล่มโครงการสอน
รวมเล่มโครงการสอนรวมเล่มโครงการสอน
รวมเล่มโครงการสอนWichai Likitponrak
 

Viewers also liked (8)

แผนBioม.6 2
แผนBioม.6 2แผนBioม.6 2
แผนBioม.6 2
 
แผนBioม.6 1
แผนBioม.6 1แผนBioม.6 1
แผนBioม.6 1
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
แผนBioม.5 1
แผนBioม.5 1แผนBioม.5 1
แผนBioม.5 1
 
แผนBioม.4 2
แผนBioม.4 2แผนBioม.4 2
แผนBioม.4 2
 
แผนBioม.5 2
แผนBioม.5 2แผนBioม.5 2
แผนBioม.5 2
 
รวมเล่มโครงการสอน
รวมเล่มโครงการสอนรวมเล่มโครงการสอน
รวมเล่มโครงการสอน
 
แผนBioม.4 1
แผนBioม.4 1แผนBioม.4 1
แผนBioม.4 1
 

Similar to TSMT Journal13 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 13)

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5
10กรุงรัตนโกสินทร์ร510กรุงรัตนโกสินทร์ร5
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5JulPcc CR
 
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)JulPcc CR
 
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)JulPcc CR
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยhall999
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยhall999
 
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จ
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จพระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จ
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จTeeraporn Pingkaew
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8JulPcc CR
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8JulPcc CR
 
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร712รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7JulPcc CR
 
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร712รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7JulPcc CR
 
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 รJulPcc CR
 
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 รJulPcc CR
 
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 รJulPcc CR
 
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษาสรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษาPasit Suwanichkul
 

Similar to TSMT Journal13 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 13) (20)

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
 
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5
10กรุงรัตนโกสินทร์ร510กรุงรัตนโกสินทร์ร5
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5
 
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
 
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
10กรุงรัตนโกสินทร์ร5 (1)
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
 
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทยนำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
นำเสนอประวัติการศึกษาของไทย
 
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จ
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จพระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จ
พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเด็จ
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
 
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร712รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
 
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร712รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
 
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
 
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
 
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
09กรุงรัตนโกสินทร์ร.1 ร
 
i
ii
i
 
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษาสรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
 
Sk7 so
Sk7 soSk7 so
Sk7 so
 

More from SAKANAN ANANTASOOK

เกมเติมคำ สำนวนไทย
เกมเติมคำ สำนวนไทย เกมเติมคำ สำนวนไทย
เกมเติมคำ สำนวนไทย SAKANAN ANANTASOOK
 
วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา
วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา
วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา SAKANAN ANANTASOOK
 
ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6
ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6
ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6SAKANAN ANANTASOOK
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง SAKANAN ANANTASOOK
 
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทยSAKANAN ANANTASOOK
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานSAKANAN ANANTASOOK
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือSAKANAN ANANTASOOK
 
บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่
บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่
บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่SAKANAN ANANTASOOK
 
สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์
สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์
สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์SAKANAN ANANTASOOK
 
Eratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-version
Eratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-versionEratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-version
Eratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-versionSAKANAN ANANTASOOK
 
Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.
Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.
Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)
TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)
TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)
TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)
TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)
TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)
TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)
TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)
TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)
TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)
TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)
TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)
TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)SAKANAN ANANTASOOK
 
TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)
TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)
TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)SAKANAN ANANTASOOK
 

More from SAKANAN ANANTASOOK (20)

เกมเติมคำ สำนวนไทย
เกมเติมคำ สำนวนไทย เกมเติมคำ สำนวนไทย
เกมเติมคำ สำนวนไทย
 
วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา
วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา
วารสารและอนุสรณ์ปีการศึกษา 2562 นารายณ์คำผงวิทยา
 
ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6
ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6
ชุดฝึกทักษะสร้างสรรค์การออกแบบ เรื่อง เรียนรู้ Adobe photoshop cs6
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทฤษฎีของแสงและอัตราเร็วแสง
 
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ไทย
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
 
บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่
บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่
บทเรียนการ์ตูน วิชาภาษาไทย ชุด เสียงในภาษา เรื่อง อักษรสามหมู่
 
สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์
สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์
สะเต็มศึกษากับดาราศาสตร์
 
Eratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-version
Eratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-versionEratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-version
Eratosthenes-on-vernal-equinox-report-thai-version
 
Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.
Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.
Korcorsor2557 รายชื่อผู้สมัคร ก.ค.ศ.
 
PISA2015THAILAND
PISA2015THAILANDPISA2015THAILAND
PISA2015THAILAND
 
TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)
TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)
TSMT Manual (คู่มือการปฏิบัติตนของครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้)
 
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
 
TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)
TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)
TSMT Journal12 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 12)
 
TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)
TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)
TSMT Journal11 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 11)
 
TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)
TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)
TSMT Journal10 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 10)
 
TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)
TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)
TSMT Journal09 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 9)
 
TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)
TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)
TSMT Journal08 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 8)
 
TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)
TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)
TSMT Journal07 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 7)
 

TSMT Journal13 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 13)

  • 1. พระราชาเป็นประมุขของประชาชน วารสาร ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 ชมรมครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ISSN 1905-758X TSMT Journal สนับสนุนโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • 2. 2 วารสาร สควค. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 15 พ.ย. 2552 :: ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ สสวท. พร้อมด้วย รศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการ สภาการศึกษา และคณะผู้บริหารสภาการศึกษาของ ราชอาณาจักรไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย เข้าร่วมพิธี เปิดการประชุมการวิจัยการศึกษาไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “Research-Driven Education Reform : Innovation for Quality Improvement” ณ โรงละคร อักษรา ซอยรางนํ้า กรุงเทพมหานคร 15-18 พ.ย. 2552 :: สสวท. สนับสนุนครู สควค. จำ�นวน 52 คน เข้าร่วมการประชุมการวิจัยการศึกษาไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 2 และคัดเลือกผลงานวิจัยของ ครูเจษฎา เนตรสว่างวิชา และ ครูศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ให้ร่วมนำ�เสนอในเวทีระดับนานาชาติ 10-12 พ.ย. 2552 :: ครู สควค. ป.โท ขอนแก่น เข้าร่วมเสนอ 17 ต.ค. 2552 :: ศิษย์เก่า (ครู สควค.) มรภ.อุบลราชธานีจัดงาน ผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ศึกษาที่รัฐปีนัง สหพันธรัฐมาเลเซีย “สควค. รำ�ลึก” มีอาจารย์และศิษย์เก่าร่วมงานจำ�นวนมาก 10-13 ธ.ค. 2552 :: ครู สควค. ป.โท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อชุมชนลุ่มนํ้าโขง และประธานชมรมครู สควค. มอบหนังสือแก่ห้องสมุดวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สปป.ลาว
  • 3. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 วารสาร สควค. 3 สารบัญ บทบรรณาธิการ ครูศักดิ์อนันต์ อนันตสุข E-mail :: anantasook@gmail.com สวัสดีครับ พีนองเพือนสมาชิกชมรมครู สควค. และ ่ ้ ่ ท่านผู้อ่าน “วารสาร สควค.” ทุกท่าน ก้าวสู่ปีที่ 4 พร้อมๆ กับการเติบโตของเครือข่าย ทางวิชาการของครู สควค. โดยในเดือนตุลาคม ชมรมครู สควค. ทั้ง 4 ภูมิภาค ได้จัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนา เครือข่ายและวิชาชีพครู สควค. ในภูมิภาคของตนเอง ซึงนับเป็นจุดเริมต้นของการได้รวมคิด ร่วมทำ� เพือขับเคลือน ่ ่ ่ ่ ่ ภารกิจพัฒนาชาติดวยการศึกษา ซึงในปีงบประมาณ 2553 ้ ่ สสวท. ยังคงสนับสนุนงบประมาณแก่ชมรมครู สควค. เพื่อจัดกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ ทุกทีมงานได้พัฒนาตนเองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งต้อง ขอกราบขอบพระคุณ สสวท. เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ช่วง 3 เดือนนี้ ครู สควค. ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งกันและกันมากมายทั้งใน และต่ า งประเทศ สิ่ ง เหล่ า นี้ ช่ ว ยให้ เราได้ เ ปิ ด โลกทั ศ น์ ของการเรียนรูวา คนอืนเขาคิดและทำ�อะไรอยู่ เราอยูจดไหน ้่ ่ ุ่ เราจะต้องพัฒนาตนเองอย่างไร รวมถึง เราจะร่วมมือกัน พัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันอย่างไร ปีใหม่ ขอให้ ทุกท่านมีความสุขและมีพลัง คิดสร้าง ทำ�ไทย ยิงใหญ่ยงยืน ่ ั่ กองบรรณาธิการ เปิดรับบทความจากทุกท่าน หากมี ข้อเสนอแนะประการใด ทีมงานขอน้อมรับด้วยความยินดี หน้า - พระราชพิธีทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 4 - แนะนำ�ผู้อำ�นวยการ สสวท. 5 - ห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ :: ศูนย์ท่าจีนศึกษา 6 - การสอนแบบเปรียบเทียบโดยใช้ FARGUIDE 7 - แผนภาพโบราณดาราศาสตร์และธรณีวิทยา 8 จากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์ - ความเครียดกับการเรียนรู้ 10 - แนะนำ�อาเซียน 11 - ไอซีที มีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาไทยอย่างไร 12 - เว็บไซต์องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 14 - การจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการ 15 และวิชาชีพครู สควค. 4 ภูมิภาค - ครู สควค. ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 16 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ชมรมครูที่มีความ สามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2. เพื่ อ เป็ น เวที ใ นการแลกเปลี่ ย นความรู้ ทางวิชาการ ประสบการณ์การสอน การวิจัยในชั้นเรียน ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการสอนของครูและการเรียนรู้ของผู้เรียน 3. เพือเผยแพร่ความรูทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ่ ้ และเทคโนโลยี ให้กว้างขวางและเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง “วันวชิราวุธ-วันประถมศึกษา” ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี การศึกษาในระบบโรงเรียนมีข้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2427 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้ง ึ โรงเรียนหลวงสำ�หรับราษฎร์ข้นเป็นครั้งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ึ ได้ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตประถมศึกษาขึน ซึงมีผลให้เด็กทีมอายุ 7 ปีบริบรณ์ทกคน ต้องเรียนหนังสืออยูในโรงเรียนจนอายุครบ ิ ้ ่ ่ี ู ุ ่ 14 ปีบริบรณ์ โดยไม่ตองเสียค่าเล่าเรียน โดยมีผลบังคับตังแต่วนที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2464 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ก�หนดให้ วันที่ 1 ตุลาคม ู ้ ้ ั ำ ของทุกปี (พ.ศ. 2491-2509) เป็น “วันประถมศึกษาแห่งชาติ” และได้เริมมีขนใหม่ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2523 ซึงเป็นวันคล้ายวันสวรรคต ่ ้ึ ่ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหว จนถึงปัจจุบน ่ ั ั ขอเชิญครูทุน สควค. ในภูมิภาคต่างๆ ส่งภาพข่าวที่เกี่ยวกับผลงานเด่นของตนเอง รวมถึงงานเขียน บทความเกี่ยวกับ การพัฒนาการเรียนการสอน ประสบการณ์การวิจย เพือเผยแพร่ ในวารสาร สควค. หรือเผยแพร่ในเว็บไซต์ www.krusmart.com ั ่ บทความในวารสาร สควค. เป็นความคิดเห็นและทัศนะของผู้เขียน ชมรมครู สควค. ไม่จำ�เป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
  • 4. 4 วารสาร สควค. เรื่องจากปก ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 พระราชพิธีทรงผนวช ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ข้อมูลจาก สำ�นักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, พระราชพิธีทรงผนวช www.identity.opm.go.th เมือ พุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหว ่ ่ ั ภูมพลอดุลยเดช มีพระราชประสงค์ทจะทรงผนวชในพระบวร ิ ี่ พุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี นายกรัฐมนตรีได้กราบ บังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชภาระ สนองพระเดชพระคุณ ในการทรงผนวชในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตังสมเด็จพระนางเจ้าฯ ้ พระบรมราชินี เป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความ เห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ ข้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาท และคณะทู ต านุ ทู ต เข้ า มาเฝ้ า ทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เพื่อ ทรงแถลงพระราชดำ�ริในการที่จะเสด็จออกทรงผนวช และ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลพระบาท ี หน้ า พระที่ นั่ ง สุ ท ไธสวรรยปราสาท เพื่ อ มี พ ระราชดำ � รั ส แก่ประชาราษฎร ความตอนหนึงว่า “ข้าพเจ้ามีความยินดีททาน ่ ่ี ่ ทั้งปวงมาร่วมประชุมกัน ณ ที่นี้ ขอถือโอกาสแจ้งดำ�ริที่จะ บรรพชาอุปสมบทให้บรรดาอาณาประชาราษฎรทราบทัวกัน” ่ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เวลา 14.00 น. พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็ จ ฯ ยั ง วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม หลั ง จากทรงเจริ ญ พระเกศาโดยสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงจรดพระกรรไกรบิด เปลื้องพระเกศาเป็นปฐมฤกษ์แล้ว ทรงเครื่องเศวตพัสตรี ทรงจุ ด ธู ป เที ย นบู ช าพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร พระสัมพุทธพรรณี และพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ทรงรับผ้าไตรจากสมเด็จพระราชชนนีแล้ว ทรงเข้าบรรพชาอุปสมบทในท่ามกลางสังฆสมาคม ซึงมีสมเด็จ ่ พระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน เมื่อเสร็จพิธีแล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ซึ่งทรงได้รับสมญานามจากพระราชอุปัชฌาจารย์ว่า “ภูมิพโล” ในระหว่างที่ทรงดำ�รงสมณเพศ ทรงรับประเคน ผ้าไตรจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ผูส�เร็จราชการ ้ำ แทนพระองค์ และทรงรับไทยธรรมจากสมเด็จพระบรมราช ชนนี ตามลำ�ดับ จากนั้ น พระภิ ก ษุ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็จพระราชดำ �เนินไปยังพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพิธีตามขัตติยราช ประเพณี แล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำ�หนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติ พระราชกิจ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำ�วัตรเช้า–เย็น ตลอดจนทรงสดับ พระธรรมและพระวินัย นอกจากนี้ ยังได้เสด็จพระราชดำ�เนิน ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่นๆ เช่น วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปยังวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ทรงร่วมสังฆกรรมในพิธีผนวชและอุปสมบท นาคหลวงในพระบรมราชินูปถัมภ์ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับ บิ ณ ฑบาต จากพระบรมวงศานุ ว งศ์ แ ละข้ า ทู ล ละอองธุ ลี พระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในโอกาสนี้สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทด้วย วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับ บิณฑบาต ณ วังสระปทุม วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาต จากประชาชนทังในบริเวณถนนพระสุเมรุ อนุสาวรียชยสมรภูมิ ้ ์ั และสี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี อีกด้วย วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระภิกษุพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลาพระผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร รวมเวลาทรงพระผนวชทั้งสิ้น 15 วัน อนึ่ ง ในการทรงผนวชครั้ ง นี้ เมื่ อ ถึ ง วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2499 ได้มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ เ ฉลิ ม พระอิ ส ริ ย ศั ก ดิ์ สมเด็ จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ขึนเป็น สมเด็จพระบรมราชินนาถ ้ ี และวันที่ 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปชฌาจารย์ ขึนเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และถวาย ั ้ ฐานันดรศักดิ์ เป็น กรมหลวง
  • 5. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 ข่าวประชาสัมพันธ์ วารสาร สควค. 5 แนะนำ�ผู้อำ�นวยการ สสวท. :: ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร บุญเลี้ยง จอดนอก สควค. รุ่น 6 ครู คศ.1 ร.ร.บ้านหัวบึง จ.อุดรธานี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ สถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แต่งตัง นางพรพรรณ ้ ไวทยางกูร เป็นผู้อำ�นวยการ สสวท. เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่ ง นอกจาก ภารกิจในการบริหาร สสวท. ให้ประสบความสำ�เร็จแล้ว ท่านยังเป็นผู้บริหารระดับสูงของ สสวท. ที่ดูแลและสนับสนุนโครงการ สควค. มาเป็นเวลา ยาวนาน ในโอกาสพิเศษนี้ จึงขอนำ�ประวัติการทำ�งานของ ท่านมาเล่าสู่กันฟัง ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 จบประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรี ย นเตรี ย มอุ ด มศึ ก ษา ปริ ญ ญาตรี วิ ท ยาศาสตร์ บัณฑิต (วท.บ) สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป : เคมี-ชีววิทยา จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอก Ph.D (Computer Science Teaching) จาก University of North Texas, Denton, TX, USA ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร เริ่มต้นทำ�งานที่ สสวท. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ในตำ�แหน่งวิทยากรสาขาเคมี ช่วยงาน ผูอ�นวยการ (ดร. นิดา สะเพียรชัย) หลังจากนันได้ปฏิบตหน้าที่ ้ำ ้ ัิ อื่นๆ ตามลำ�ดับดังนี้ วิทยากรสาขาคอมพิวเตอร์ ผู้ชำ�นาญการสาขาคอมพิวเตอร์ ได้รบการคัดเลือกให้เป็นพนักงานดีเด่นของ สสวท. ั ในปี พ.ศ. 2536 หัวหน้าสำ�นักงานผู้อำ�นวยการ รักษาการหัวหน้า สำ�นักบริการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ หัวหน้าสำ�นักนโยบายและแผน หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ สสวท. ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการ สสวท. ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ผู้อำ�นวยการ สสวท. คนใหม่มีประสบการณ์ทางด้าน การส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และ เทคโนโลยีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา และปรับปรุง หลักสูตร หนังสือเรียน คู่มือครู และสื่อประกอบหลักสูตร วิ ท ยาศาสตร์ คณิ ต ศาสตร์ คอมพิ ว เตอร์ ออกแบบและ เทคโนโลยี ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ชั้นปี การพัฒนา มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย คณิตศาสตร์ปฐมวัย การพัฒนาครู ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรการศึกษา วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ออกแบบและ เทคโนโลยี การส่งเสริมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ ซอฟต์แวร์ GSP การวิจัยร่วมกับนานาชาติ ในโครงการศึกษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพือการศึกษา (SITIES) Module 1 ่ Module 2 และ SITIES 2006 รวมทั้งงานร่วมมือและสร้าง เครือข่ายกับหน่วยงานภายในและต่างประเทศอีกหลายโครงการ วิสัยทัศน์ภายใต้การบริหารของผู้อำ�นวยการ สสวท. คนใหม่ คือ พัฒนา สสวท. เป็นผู้นำ�วิชาการด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพือยกระดับคุณภาพ ่ การศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหัวใจหลัก โดยขับเคลื่อนร่วมกับ เครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เช่น สพฐ. เครือข่าย มหาวิทยาลัย กทม. องค์กรท้องถิน สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ ใช้ ICT ่ เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีให้เท่าเทียมกับนานาชาติ นอกจากนี้ ยังมุงเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ่ ในองค์กร และเฟ้นหาคนเก่ง คนดีเข้ามาร่วมงาน ด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งทางด้านวิชาการ และการบริหารจัดการ เราจึงมีความมั่นใจว่า ผู้อำ�นวยการ สสวท. คนใหม่ จะนำ�พาองค์กรและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิ ต ศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ข องคนไทยให้ เ ป็ น เลิ ศ ได้ ต าม เป้าหมายที่กำ�หนดในอนาคตอันใกล้ และเราชาวข้าราชการ ครู สควค. มีความยินดีและพร้อมสำ�หรับทุกภารกิจที่จะได้รับ มอบหมายเพื่อสร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
  • 6. 6 วารสาร สควค. แหล่งเรียนรู้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 ห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติ :: ศูนย์ท่าจีนศึกษา จารุวรรณ เตชะสุทธิรัฐ สควค. รุ่น 5 ครู คศ.1 ร.ร.วัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท) จ.นครปฐม ศูนย์ท่าจีนศึกษา ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนวัดดอนหวาย (นครรั ฐ ประสาท) สำ � นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษานครปฐม เขต 2 อำ�เภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กำ�เนิดขึ้นด้วยความ ร่วมมือจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ ชมรมเรารักแม่นาท่าจีน นครปฐม ภายใต้การสนับสนุน ํ้ งบประมาณจากกองทุนสิงแวดล้อม และโรงเรียนวัดดอนหวาย ่ (นครรัฐประสาท) จังหวัดนครปฐม วัตถุประสงค์ 1. เพือพัฒนากระบวนการเรียนรูการอนุรกษ์ทรัพยากร ่ ้ ั ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแม่นํ้าท่าจีน 2. เพือพัฒนาผูน�เยาวชนด้านการอนุรกษ์ทรัพยากร ่ ้ ำ ั ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแม่นํ้าท่าจีน 3. เพื่อขยายเครือข่ายการเรียนรู้สู่เยาวชนในสถาน ศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม่นํ้าท่าจีน/ชุมชน/หน่วยงานอื่นๆ การบริการทางวิชาการ มีการกำ�หนดกรอบการปฏิบัติงานเพื่อการบริการ ทางวิชาการไว้ใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยนิทรรศการประจำ� ศูนย์ท่าจีนศึกษา ได้แก่ 1.1 พระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1.2 ประวัตแม่นาท่าจีน แหล่งกำ�เนิดของสายนําท่าจีน ิ ํ้ ้ 1.3 นํ้าคือชีวิต ประโยชน์ท่าจีน 1.4 สืบสานวัฒนธรรมประเพณี วิถีชาวท่าจีน 1.5 เศรษฐกิจชุมชนคนท่าจีน อาชีพริมนํ้าท่าจีน 1.6 กิจกรรมดีดีมีเพื่อคนท่าจีน 1.7 แม่นํ้าท่าจีน สายนํ้าสายชีวิต 1.8 ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวท่าจีน 1.9 กลุ่มองค์กรของชาวท่าจีน 2. การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ก ารพั ฒ นาเยาวชน รักท่าจีนและเครือข่าย ได้ด�เนินการจัดตังคณะทำ�งานขับเคลือน ำ ้ ่ กิจกรรมของศูนย์ทาจีนศึกษาจังหวัดนครปฐม มีชอว่า “นักสืบ ่ ื่ สายนํ้า แม่นํ้าท่าจีน” อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 2.1 จัดกิจกรรมพัฒนาวิทยากรท่าจีน สู่เยาวชน ต้นแบบด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครปฐม 2.2 จัดกิจกรรมแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมทังในและนอกสถานศึกษา ่ ้ 2.3 จัดกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมให้กับเครือข่าย ภายนอกสถานศึกษา/โรงเรียน/ชุมชน/ผู้ศึกษาดูงาน/สื่อสาร มวลชน/หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนทั่วไป 3. การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นแม่นํ้าท่าจีน นครปฐม โดยการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในแม่นํ้าท่าจีน ซึ่งสนับสนุนการสร้างปฏิสัมพันธ์ของนักเรียน ต่อชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ดำ�เนินการ จัดการเรียนรู้ ภายใต้ค�ขวัญ “มนต์เสน่หทาจีน ห้องปฏิบตการ ำ ์ ่ ัิ ทางธรรมชาติ ในมุมมองวิทยาศาสตร์ คลังความรู้ คู่บริการ สู่ความเป็นเลิศ” ซึ่งเป็นการดำ�เนินการต่อยอดจากกิจกรรม ศูนย์ท่าจีนศึกษา จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพิ่มเติมดังนี้ 1. เพื่ อ พั ฒ นาการจั ด กิ จ กรรมสร้ า งเครื อ ข่ า ยการ เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จากแหล่งการเรียนรู้ แม่นํ้าท่าจีน 2. เพื่ อ พั ฒ นาผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นกลุ่ ม สาระ การเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ จ ากแหล่ ง การเรี ย นรู้ แ ม่ นํ้ า ท่ า จี น ของนักเรียนโรงเรียนวัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท) 3. เพือสร้างและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรูภายนอก ่ ้ สถานศึกษา ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงในแหล่งการเรียนรู้ ทั้งนี้ได้ดำ�เนินการส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนต้นแบบ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนในกลุ่มเยาวชน พัฒนาความรู้ความ เข้าใจ ทักษะต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนบรรลุ วัตถุประสงค์ด้วยกระบวนการ Training for The Trainers ในเครือข่ายต่างๆ พร้อมทังส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ การสร้าง ้ องค์ความรูจากห้องปฏิบตการทางธรรมชาติ ทีเ่ กียวข้องใกล้ชด ้ ัิ ่ ิ กับโลกธรรมชาติ เพื่อทำ�ให้คนเห็นคุณค่า ตระหนักและเข้าใจ ถึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผูสนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิมเติมทีเ่ ลขาธิการ ้ ่ ชมรมเรารักแม่นํ้าท่าจีนนครปฐม ผศ.เด่นศิริ ทองนพคุณ โทร.08-9776-6623 หรือศูนย์ท่าจีนศึกษา ผู้ประสานงาน ครูบุญมี อบเชย โทร.08-9789-1824 Fax. (034) 288-068
  • 7. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 คลินิกการสอน วารสาร สควค. 7 การสอนแบบเปรียบเทียบโดยใช้ FARGUIDE สมฤทัย สังฆคราม สควค. รุ่น 6 ครู คศ.1 ร.ร.โนนเมือง จ.ชัยภูมิ การสอนด้วยวิธการสอนแบบเปรียบเทียบ (analogy) ี เป็นวิธการสอนโดยการใช้สงต่างๆ ทีงาย บุคคลคุนเคย มีความ ี ิ่ ่่ ้ เป็นรูปธรรมมาเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจมโนมติที่มีความเป็น นามธรรม ยากในการทำ�ความเข้าใจ โดยมีนักวิทยาศาสตร์ ศึกษา กล่าวถึงการเปรียบเทียบไว้หลายท่าน ที่จะนำ�มากล่าว ในที่นี้คือ Glynn, S.M (2008) กล่าวว่า analogy คือ การ เปรียบเทียบระหว่างความเหมือนของสองมโนมติ มโนมติ ที่คุ้นเคย เรียกว่า Analog และมโนมติที่ไม่คุ้นเคย เรียกว่า target ซึ่งทั้งสองมโนมติ มีการใช้คุณลักษณะต่างๆ ร่วมกัน ระหว่าง analog และ target และต้องสามารถบอกความ แตกต่างระหว่าง analog กับ target ได้ Duit (1991) บอกชนิดของการเปรียบเทียบตามความ สัมพันธ์ระหว่างตัวทีใช้เปรียบเทียบกับสิงทีกล่าวถึง ได้ 4 ชนิด ่ ่ ่ ได้แก่ 1. ใช้รปภาพประกอบการอธิบาย (pictorial/verbal) ู เพือถ่ายทอดความคิดหรือเป็นตัวแทนของมโนมติทมความเป็น ่ ี่ ี นามธรรม เช่น กราฟ ไดอะแกรม หรือรูปภาพ 2. โดยใช้ตัวบุคคล (personal analogies) เป็นการ เปรียบเทียบมโนมติทางวิทยาศาสตร์กับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ 3. ใช้ สิ่ ง เปรี ย บเที ย บที่ ห ลากหลาย (Multiple Analogies) เป็นการอธิบายมโนมติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ใช้ หลายๆ analog ช่วยในการอธิบาย เช่น การเปรียบเทียบเรื่อง ภาวะเรือนกระจก โดยสวนที่อยู่ในกระจกใช้เปรียบเทียบกับ ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของ คาร์บอนไดออกไซด์ทเี่ ป็นสาเหตุท�ให้โลกร้อนขึนนัน ใช้เปรียบ ำ ้ ้ เทียบกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในร่างกายที่เกิดจากการ ใส่เสื้อหลายชั้นซึ่งดูเหมือนจะทำ�ให้เข้าใจได้ดีกว่า 4. การเปรียบเทียบทีละขันตอน (Bridging Analogies) ้ เป็ น การเปรี ย บเที ย บที่ เชื่ อ มโยงจากมโนมติ ห นึ่ ง ไปยั ง อี ก มโนมติหนึ่ง เพื่อลดช่องว่างระหว่าง analog และ target ที่มี ขนาดใหญ่และซับซ้อน นักเรียนทำ�ความเข้าใจได้ยาก วิธีการสอนแบบเปรียบเทียบ มีนักการศึกษาได้กล่าว ไว้หลายรูปแบบแต่รปแบบ Focus–Action–Reflection (FAR) ู Guide เป็นวิธการเปรียบเทียบทีเ่ ป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ี โดยมีขั้นตอนที่สำ�คัญ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้น Focus ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1 Concept :: ครูวเิ คราะห์และคัดเลือกมโนมติ ที่เข้าใจยาก ไม่คุ้นเคย หรือเป็นนามธรรม 1.2 Student :: ครูวิเคราะห์พื้นฐานความรู้เดิม ของนักเรียนเกี่ยวกับ มโนมติที่ศึกษาเป็นอย่างไร และนักเรียน คุ้นเคยกับมโนมติใดบ้างที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยใช้แบบสำ�รวจ 1.3 Analog :: ครูวเคราะห์เลือกสิงทีจะนำ�มาใช้ ิ ่ ่ ในการเปรียบเทียบ ต้องเป็นสิงทีคล้ายกับมโนมติทจะสอนและ ่ ่ ี่ นักเรียนมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี 2. ขั้น Action ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1 Like :: ครู แ ละนัก เรียนอภิปรายร่ ว มกั น เพื่อหาความเหมือนระหว่างตัวเปรียบเทียบ (analog) กับ มโนมติที่ศึกษา (Target) 2.2 Unlike :: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน เพื่อหาความแตกต่างระหว่างตัวเปรียบเทียบ (analog) กับ มโนมติที่ศึกษา (Target) ในขั้ น นี้ ค รู ต้ อ งช่ ว ยให้ นั ก เรี ย นสามารถสรุ ป ความ เหมือนและความแตกต่างให้ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียน เกิดมโนมติที่คลาดเคลื่อน (misconception) ไปจากมโนมติ วิทยาศาสตร์ (Scientific conception) 3. ขั้น Reflection ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 3.1 Conclusion :: ครูวิเคราะห์และสรุปผล จากการเรียนรูโดยใช้ตวเปรียบเทียบ (analog) ว่าทำ�ให้นกเรียน ้ ั ั เรียนรู้หรือนักเรียนสับสน 3.2 Improvement :: ครูจะต้องปรับปรุง แก้ไข หรือมีการเพิ่มวิธีการอื่นๆ ในการสอนเรื่องนี้หรือไม่ และ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้สิ่งที่ใช้ (analog) ในครั้ง ต่อไป การสอนแบบเปรียบเทียบ ช่วยกระตุ้นความสนใจ ของนั ก เรี ย น ช่ วยให้ ส ามารถจดจำ � ได้ ดี แต่ อ าจทำ �ให้ เกิ ด มโนมติคลาดเคลื่อนและเกิดความสับสนมากขึ้นได้ ผู้นำ�ไปใช้ ควรเลือก analog ให้ง่ายต่อความเข้าใจ
  • 8. 8 วารสาร สควค. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 แผนภาพโบราณดาราศาสตร์และธรณีวิทยา จากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์ ผลงานวิจัยครู สควค. ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข สควค.รุ่น 6 ครู คศ.1 ร.ร.นารายณ์คำ�ผงวิทยา จ.สุรินทร์ ความสำ�คัญและความเป็นมาของการวิจัย จังหวัดสุรินทร์ มีคำ�ขวัญประจำ�จังหวัดว่า “สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำ�สวย รํ่ารวยปราสาท ผักกาด หวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” กล่าวเฉพาะ เรื่อง ปราสาท จังหวัดสุรินทร์มีปราสาทที่ขึ้นทะเบียนกับ กรมศิลปากรจำ�นวนกว่า 30 แห่ง แต่เมื่อสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ ปราสาทแต่ ล ะแห่ ง จากหลายหน่ ว ยงานและหลายแหล่ ง ข้อมูล พบว่ามีการนำ�เสนอเฉพาะบางปราสาทที่สำ�คัญ และ เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับมิติทางศิลปะ ตำ�นานและวัฒนธรรม เป็ น หลั ก ผู้ วิ จั ย จึ ง ต้ อ งการนำ � เสนอองค์ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ “ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์” ในเชิงวิทยาศาสตร์ 2 ประเด็น คือ โบราณดาราศาสตร์ที่เกี่ยวกับทิศทางการวางตัวปราสาท โดยวัดจากทิศเหนือภูมิศาสตร์ และธรณีวิทยาเกี่ยวกับวัสดุ ก่อสร้างปราสาทแต่ละแห่ง เพื่อหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แล้ ว จั ด ทำ � แผนภาพเป็ น สื่ อ เสริ ม การเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ ท้องถิ่น เผยแพร่และใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ วัตถุประสงค์ การสร้างและประเภทปราสาทกับทิศทางการวางตัวปราสาท 2. ออกแบบและจัดทำ�แผนภาพ โบราณดาราศาสตร์ และธรณีวิทยาจากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์ 3. ออกแบบและจัดทำ�คูมอบทปฏิบตการดาราศาสตร์ ่ื ัิ กับภูมปญญาท้องถิน เรือง “โบราณดาราศาสตร์และธรณีวทยา ิ ั ่ ่ ิ จากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์” วิธีดำ�เนินการวิจัย ตอนที่ 1 การเก็ บ ข้ อ มู ล ภาคสนามและการวิ จั ย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ วัตถุประสงค์การสร้าง และประเภทปราสาทกับทิศทางการวางตัวปราสาท 1. ศึกษาคนควา รวบรวมขอมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ที่อยู่ อายุ วัตถุประสงค์ การสร้างปราสาทแต่ละแห่ง โดยผู้วิจัย ได้สำ �รวจปราสาท ศีขรภูมิ ปราสาทสังแก ปราสาทยายเหงา ปราสาทภูมิโปน ปราสาทบ้านพลวงและปราสาทเมืองที เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2551 เพื่ อ หามิ ติ ท างวิ ท ยาศาสตร์ จ ากปราสาทและใช้ เข็มทิศวัดทิศทางการวางตัวปราสาท พบว่ามีค่ามุมการวางตัว แตกต่างกัน 2. จัดทำ�แบบเก็บข้อมูลภาคสนามและสร้างอุปกรณ์ วัดทิศทางการวางตัวปราสาทจากทิศเหนือภูมิศาสตร์ และ ทดลองใช้อุปกรณ์ดังกล่าวโดยทำ�การวัดทิศทางการวางตัว ปราสาท จากปราสาทจำ�นวน 5 แห่ง ได้แก่ ปราสาทขุมดิน ปราสาทสนม ปราสาทวัดโพธิ์ศรีธาตุ ปราสาทบ้านหนองหิน ปราสาทนางบัวตูม ในวันที่ 6 กันยายน 2551 และให้อาสา สมัครและยุววิจัย ม.ต้น ทดสอบวัดทิศทางการวางตัวปราสาท ทั้ง 5 แห่งซํ้าอีกครั้ง ในวันที่ 10 กันยายน 2551 3. กำ�หนดเส้นทางการเดินทางเพือเก็บข้อมูลระหว่าง ่ วันที่ 13-14 กันยายน 2551 ผูวจยให้นกเรียนมีสวนร่วมในการ ้ิั ั ่ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยแบ่งเป็น 4 กลุม คือ ผูวจยและนักเรียน ่ ้ิั ยุววิจัย 3 กลุ่ม ทำ�การวัดกลุ่มละ 6 จุด รวม 24 จุดต่อปราสาท แต่ละแห่ง 4. ดำ � เนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ภาคสนามของปราสาท แต่ละแห่ง 3 รายการ คือ - บันทึกภาพปราสาทด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศ ตะวันออก ทิศตะวันตก ลักษณะเด่นของปราสาท และการวัด ทิศทางการวางตัวปราสาท - วัดทิศทางการวางตัวปราสาท จากแนวการ เรียงวัสดุก่อสร้างปราสาทหรือรอยขีดที่มนุษย์โบราณทำ�ไว้ นำ�ค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยและกำ�หนดเครื่องหมาย + หมายถึง องศาตะวันออก และเครื่องหมาย - หมายถึง องศาตะวันตก - สำ�รวจวัสดุที่ใช้ก่อสร้างองค์ปราสาท 5. จำ�แนกประเภทปราสาทจากวัสดุก่อสร้างองค์ ปราสาท 6. วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล เพื่ อ หาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง อายุ วัตถุประสงค์การสร้างและประเภทปราสาทกับทิศทาง การวางตัวปราสาท
  • 9. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 ผลการวิจัย ตอนที่ 1 1. อายุการก่อสร้างปราสาท มีความสัมพันธ์กบทิศทาง ั การวางตัวปราสาท โดยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสลับไปมา ซึ่งหากการสร้างปราสาทในแต่ละแห่ง ใช้ดวงอาทิตย์แรกขึ้น ทางทิ ศ ตะวั น ออกเป็ น จุ ด สั ง เกตและเริ่ ม สร้ า งในวั น วิ ษุ วั ต (equinox) จะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสลับไปมา โดยช่วง พุทธศตวรรษที่ 16-17 และ 23-24 ทิศทางการวางตัวเป็นองศา ตะวันออก นั่นคือ ปราสาทหันหน้าเอียงไปทางทิศใต้ (ตามจุด ที่ดวงอาทิตย์ขึ้น) และช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน) และ 18 ทิศทางการวางตัวเป็นองศาตะวันตก นั่นคือ ปราสาท หันหน้าเอียงไปทางทิศเหนือ (ตามจุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้น) 2. วัตถุประสงค์การสร้าง มีความสัมพันธ์กับอายุ การก่อสร้าง โดยพุทธศตวรรษที่ 13-17 สร้างเพือเป็นเทวสถาน ่ พุ ท ธศตวรรษที่ 18 ส่ ว นใหญ่ ส ร้ า งเพื่ อ เป็ น อโรคยาศาลา (โรงพยาบาล) และพุทธศตวรรษที่ 23-24 สร้างเพื่อเป็น พุทธสถาน และมีความสัมพันธ์กับทิศทางการวางตัวปราสาท เช่นเดียวกับอายุการก่อสร้างปราสาท 3. ประเภทปราสาท มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ อายุ การก่อสร้าง โดยพุทธศตวรรษที่ 13-17 ปราสาทสร้างด้วยอิฐ และมีทับหลัง พุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน) ปราสาทสร้าง ด้วยหินทรายและศิลาแลง พุทธศตวรรษที่ 18 ปราสาทสร้าง ด้วยศิลาแลง และพุทธศตวรรษที่ 23-24 สร้างจากอิฐ และมี ความสัมพันธ์กับทิศทางการวางตัวปราสาท เช่นเดียวกับอายุ การก่อสร้างปราสาท ตอนที่ 2 การจัดทำ�แผนภาพ : สื่อเสริมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในการทำ� บทปฏิบตการดาราศาสตร์กบภูมปญญาท้องถิน เรือง “โบราณ ัิ ั ิ ั ่ ่ ดาราศาสตร์และธรณีวิทยาจากปราสาทในจังหวัดสุรินทร์” ในรายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ผูวจยออกแบบและจัดทำ�แผนภาพขนาด 21 x 30 นิว ้ิั ้ ด้วยโปรแกรม Illustrator โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ ประเภท อายุ วัตถุประสงค์การก่อสร้าง ทิศทางการวางตัวปราสาท และ พิกดภูมศาสตร์ (ละติจด ลองจิจด จาก www.pointasia.com) ั ิ ู ู ของปราสาทจำ�นวน 34 แห่ง ตอนที่ 3 การจัดทำ�คู่มือบทปฏิบัติการดาราศาสตร์ กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ วิ จั ย ออกแบบบทปฏิ บั ติ ก าร รายงานการทำ � บทปฏิบตการ พร้อมทังจัดทำ�เฉลยรายงานการทำ�บทปฏิบตการ ัิ ้ ัิ วารสาร สควค. 9 “ดาราศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อเป็นคู่มือสำ�หรับ นักเรียนที่เรียนวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ (ม.ปลาย) ได้ปฏิบตการโดยใช้เวลาในชันเรียน 2 ชัวโมง และนอกชันเรียน ัิ ้ ่ ้ 1 ชั่วโมง ซึ่งผลการศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ร.ร.นารายณ์ค�ผงวิทยา จังหวัดสุรนทร์ ทีเ่ รียนในภาคเรียนที่ 2 ำ ิ ปีการศึกษา 2551 จำ�นวน 45 คน พบว่า นักเรียนให้ความ สนใจกับการเรียน ทำ�กิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างกระตือรือร้น รูจกปราสาทในจังหวัดสุรนทร์มากขึน และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ้ั ิ ้ ทางการเรียนเรือง ดาราศาสตร์กบภูมปญญาท้องถิน ผ่านเกณฑ์ ่ ั ิ ั ่ ร้อยละ 70 ทุกคน นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่ อ ใช้ บ ทปฏิ บั ติ ก ารดาราศาสตร์ กั บ ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ในการจัดการเรียนการสอน และจัดทำ�ชุดการเรียนรู้ ออนไลน์ บนเว็บไซต์ www.anantasook.com เพื่อใช้จัดการเรียนรู้ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและให้ครูหรือผู้ที่สนใจได้นำ�ไปใช้ จัดการเรียนการสอนและใช้ประโยชน์ทางการศึกษาอย่าง กว้างขวางต่อไป ข้อสังเกตผลการวิจัย ปราสาทในจังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็ก สร้างโดยคนท้องถิ่น การก่อสร้างปราสาทแต่ละแห่ง น่าจะ สังเกตตำ�แหน่งการขึนของดวงอาทิตย์เป็นจุดสังเกต การสร้าง ้ ปราสาทหันหน้าไปทิศนั้น แต่อาจสร้างโดยสะดวก ไม่ได้คำ�นึง ถึงแนวการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในวันวิษุวัตอย่างแท้จริง ก็ได้ แต่ค่าที่ได้จากการทำ�วิจัย ก็แสดงให้เห็นว่า ขอมโบราณ มีความรู้ในเรื่อง การกำ�หนดทิศเหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก โดยสังเกตการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เป็นอย่างดี หมายเหตุ :: งานวิจัยนี้ ได้รับคัดเลือกจาก สสวท. ให้เป็น 1 ใน 2 ผลงานคุณภาพของครู สควค. นำ�เสนอผลงานวิจัยในการ ประชุ มสั ม มนาการวิจัย การศึ ก ษาไทย-มาเลเซี ย ครั้ง ที่ 2 ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ วันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2552 ค่ายวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสำ�หรับนักเรียนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 2
  • 10. 10 วารสาร สควค. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 บทความพิเศษ ความเครียดกับการเรียนรู้ นันทรัตน์ แก้วไกรษร สควค. รุ่น 7 ครู คศ.1 ร.ร.โนนสะอาดชุมแสงวิทยา จ.อุดรธานี การเรียนรู้ระดับสูงและซับซ้อน นักเรียนจะเรียนรู้ ได้ดีในบรรยากาศที่ยั่วยุและท้าทาย แต่ถ้ามีบรรยากาศของ ความเครียดและความกดดันมากๆ จะทำ�ให้ไม่เกิดการเรียนรู้ อาการของความเครียด ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการใช้พลังงานมาก และมีการเปลียนแปลงกระบวนการทางสรีรวิทยาของร่างกาย ่ เมื่อมีตัวเร่งความเครียด (stressor) กระตุ้น ก็จะเกิดปฏิกิริยา ทางร่างกายเพื่อปรับตัว 3 ขั้น ได้แก่ 1. อาการบอกเหตุ (alarm reaction stage) จะเกิดขึน ้ เฉพาะแห่งเนื่องจากตัวเร่งความเครียด ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น จะเกิดโดยผ่านระบบประสาทและต่อมไม่มีท่อ เช่น pituitary จะหลั่งฮอร์โมนออกมาทำ�ให้ร่างกายสามารถต่อต้านต่อตัวเร่ง ความเครียด และซ่อมแซมร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล 2. อาการต่อต้าน (resistance stage) ในระหว่าง ช่วงนี้ การเปลียนแปลงทางชีววิทยาจะเกิดขึนเพือรักษาสภาพ ่ ้ ่ ต่อต้านของสิ่งมีชีวิตต่อตัวเร่งความเครียด ในบางสถานการณ์ ทำ�ให้เกิดระดับการสมดุลทางสรีรวิทยาเกิดขึ้น 3. ขันหยุดทำ�งาน (exhaustion stage) ถ้าอยูภายใต้ ้ ่ เหตุการณ์ที่มีความเครียดนานๆ ความต้านทานไม่สามารถ จะทำ�ให้ร่างกายคงรักษาสภาพคงที่ไว้ได้ และความเครียด ยังคงมีอยู่ต่อไป อาจถึงตายได้เพราะอวัยวะหยุดการทำ�งาน ตัวเร่งความเครียดต่างๆ มีผลต่ออารมณ์ ส่งผลต่อ การทำ�งานร่วมกันระหว่างระบบประสาท และระบบต่อมไร้ ท่อ โดยจะมีเซลล์ประสาทรับกระแสความรู้สึกส่งไปยังสมอง ส่วน hypothalamus ทำ�ให้มการหลังฮอร์โมน corticotrophin ี ่ releasing hormone (CRH) ผ่านเข้าไปในเส้นเลือด ซึ่งจะไป มีผลต่อต่อมใต้สมอง pituitary ทำ�ให้มีการหลั่งฮอร์โมน ทีเ่ รียกว่า adrencorticotrophic hormone (ACTH) ทีควบคุม ่ การทำ�งานของต่อมหมวกไตส่วนคอร์เท็กซ์ (adrenal cortex) เป็ น ผลทำ � ให้ ก ลู โ คครอติ ค อยด์ (glucocorticoid) ชนิ ด คอร์ติซอลฮอร์โมน หลั่งออกมาเข้าสู่เลือดและนํ้าลาย ทั้งนี้ คอร์ติซอลฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะยับยั้งการดูดซึมโปรตีน ทำ�ให้เซลล์ทเกิดใหม่ขาดวัตถุดบในการสร้างความเจริญเติบโต ี่ ิ และพัฒนาการของเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ประสาทตาย ทำ�ให้ ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และความจำ�ลดลง คอร์ติซอล ในนํ้าลายกับความเครียด การตอบสนองต่อความเครียดมีทั้งทางชีวภาพหรือ กายภาพและการหลั่งฮอร์โมน ซึ่งเป็นการปรับสภาพสมดุล ของร่ า งกาย และเป็ น การปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สภาพแวดล้ อ ม ทางสังคมแบบใหม่ คอร์ติซอลฮอร์โมน เป็น glucocorticoid ตัวหนึงทีมผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายในหลายระบบหน้าที่ ่ ่ี ที่สำ�คัญอย่างหนึ่งของ glucocorticoid คือ การสลายกรด อะมิโนและไขมันจากเซลล์เพื่อสร้างพลังงานหรือสังเคราะห์ สารประกอบใหม่ขึ้นมา การทำ�หน้าที่เช่นนี้จะเป็นตัวกลาง ทีส�คัญในการตอบสนองของร่างกายทังทางด้านสรีรวิทยาและ ่ำ ้ ด้านจิตวิทยาต่อการจัดการภาวะความเครียดจากการกระตุ้น โดย stressors ต่างๆ นอกจากนี้ glucocorticoid ยังมีผล ต่อการอักเสบของเนือเยือจากการบาดเจ็บ มีผลกดการทำ�งาน ้ ่ ของระบบภูมคมกันของร่างกาย ในระบบประสาทส่วนกลางนัน ิ ุ้ ้ พบว่า glucocorticoid มีความสำ�คัญในการทำ�งานของสมอง หลายๆ กิจกรรม การศึกษาในปัจจุบันพบว่า glucocorticoid มีความสำ�คัญต่อการทำ�งานของสมองในส่วนของการรับรู้ (prefrontal cortisol cognitive function) โดยเฉพาะในส่วน ของความทรงจำ� (memory) นอกจากนี้ ยังมีส่วนในการตอบ สนองในด้านพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ในหลายๆ กิจกรรม เช่น การนอนหลับ ภาวะการแสดงออกของอารมณ์ และการ รับรู้ความรู้สึกต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ คอร์ติซอล ยังเป็นตัวชี้วัดในการศึกษา ด้ า นจิ ต ใจในมนุ ษ ย์ ซึ่ ง การตรวจวั ด ระดั บ ของคอร์ ติ ซ อล ในนํ้าลาย และพลาสมาจะสามารถบ่งบอกระดับความเครียด ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผูปวย ้ ่ ของโรคบางอย่าง เช่น โรค Cushing’s disease จะมีผลทำ�ให้ ระดับคอร์ติซอล สูงขึ้นกว่าปกติ โดยพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย จะมีปัญหาทางด้านจิตใจและภาวะเครียดร่วมด้วย การวิจัยของนักการศึกษา จากการศึกษาของ Kirschbaum and Heehammer (1994) พบว่า ภาวะความเครียดส่งผลต่อการเปลียนแปลงทาง ่ สรีรวิทยาในสองส่วนคือ การกระตุ้นระบบแกนไฮโปธาลามัส (HPA) และการกระตุ้ น ผ่ า นทางระบบประสาทอั ต โนวั ติ (sympathetic activity)
  • 11. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 การกระตุ้นทำ�ให้มีการคัดหลั่งฮอร์โมนความเครียด คือ คอร์ติซอลฮอร์โมน (cortisol hormone) ออกมาในเลือด และนํ้าลายมากกว่าปกติ และการเปลี่ยนแปลงของระบบ การทำ�งานของแกนไฮโปธาลามัส (HPA) ที่มีสาเหตุมาจาก ภาวะเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อระดับปริมาณคอร์ติซอลฮอร์โมน ในนํ้าลายเพิ่มสูงขึ้น และ Hellhammer et al. (2009) พบว่า ระดับความเครียดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับปริมาณ คอร์ติซอลฮอร์โมน ที่หลั่งออกมาทั้งในเลือดและในนํ้าลาย นอกจากนี้ Vedhara et al. (2000) ยังพบว่า ปริมาณคอร์ตซอล ิ ที่เพิ่มขึ้นทำ�ให้ความสามารถในการเรียนรู้ จดจำ�และสมาธิ ลดลง ดังนั้น การศึกษาผลการเรียนรู้และระดับความเครียด ของนักเรียนที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้ปริมาณ ฮอร์ โ มนคอร์ ติ ซ อลในนํ้ า ลาย และการรั บ รู้ ค วามเครี ย ด ด้ ว ยตนเอง เป็ น ดั ช นี ชี้ วั ด ภาวะความเครี ย ดของนั ก เรี ย น ซึ่งเป็นวิธีการวัดที่ไม่เป็นอันตราย สะดวกและมีประสิทธิภาพ ในการชี้ วั ด ภาวะเครี ย ดที่ ท างการแพทย์ ใ ห้ ก ารยอมรั บ เพือเป็นการยืนยันประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ อันจะนำ� ่ ไปสูกระบวนการเรียนรูวทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ่ ้ิ วารสาร สควค. 11 เอกสารอ้างอิง ภาสินี มุกดาวงษ์. ความเครียดและวิธการเผชิญความเครียด ี ของนักเรียนชันมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ้ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลสุ ข ภาพจิ ต และจิ ต เวช บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547. อารี สัณหฉวี. ทฤษฎีการเรียนรู้ของสมอง สำ�หรับพ่อแม่ ครู และผู้บริหาร. กรุงเทพ: เบรน-เบส บุ๊ค, 2550. Hellhammer DH, Wu¨st S, Kudielka BM. Salivary cortisol as a biomarker in stress research. Psychoneuroendocrinology 2009; 34:163-171. Kirachbaum C, Hellhammer DH. Saliva cortisol in psychological stress and risk for hypertension. Psychoneuroendocrinology 1994; 19:313-333. Vedhara K, Hyde J, Gilchrist ID, Tytherleigh, M, Plummer S. Acute stress, memory, attention and cortisol. Biological Psychology 2000; 25: 535-549. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน [ASEAN] กำ�เนิดอาเซียน สมาคมประชาชาติ แ ห่ ง เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีตางประเทศ ่ อินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ มาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีตางประเทศฟิลปปินส์) ่ ิ นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีตางประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก ่ (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในต่อมา มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (8 ม.ค. 2527) เวียดนาม ( 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (23 ก.ค. 2540) และกัมพูชา (30 เม.ย. 2542) ตามลำ�ดับ รวมมีสมาชิก 10 ประเทศ หลังการลงนามในกฎบัตรอาเซียน เมือเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ทำ�ให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับ ่ สหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น และกำ�ลังก้าวสู่ความเป็นประชาคม อาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทาง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่าง ประเทศ หน่ ว ยประสานงานและติ ด ตามผลการ ดำ�เนินงานของอาเซียน 1. สำ�นักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ทีกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อ ่ ระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำ�นักงาน ผู้ดำ�รงตำ�แหน่ง คนปัจจุบันเป็นคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระ ดำ�รงตำ�แหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012) 2. สำ�นักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่าง ประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการ อาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำ�เนินงาน สำ�หรับ ประเทศไทยหน่วยงานทีรบผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวง ่ั การต่างประเทศ
  • 12. 12 วารสาร สควค. ปีที่ 4 ฉบับที่ 13 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 บทความ ไอซีที มีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาไทยอย่างไร นิตยาพร กินบุญ สควค. รุ่น 6 นักศึกษา ป.เอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น การพัฒนาการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 เราคง ปฏิเสธกันไม่ได้ที่จะเห็นว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความเจริญ ก้ า วหน้ า เป็ น อย่ า งมาก ในวงการศึ ก ษาของประเทศไทย มีความชัดเจนว่าได้มีการนำ� ICT เข้ามาใช้ในระดับนโยบาย ของประเทศกันเลยทีเดียว และโรงเรียนต่างๆ นัน ก็ได้รบจัดสรร ้ ั เงินทุนสนับสนุนด้าน ICT กันอย่างทัวถึง ทังโรงเรียนขนาดใหญ่ ่ ้ ขนาดกลางและขนาดเล็กตามสัดส่วน โดยที่วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในทศวรรษ 2020 มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และคุณค่าก็อยู่ที่การค้นพบสิ่งใหม่ ที่นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ สังคมและตัวความรู้เอง ความมั่งคั่งของแต่ละ ชาติจะเคลื่อนย้าย จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเงินทุน ในอดีต ไปสู่ความรู้และความชำ�นาญ ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี การพั ฒ นาอย่ า งรวดเร็ ว ของวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี ทำ � ให้ ห ลายประเทศในโลกที่ เ ห็ น ความสำ � คั ญ ของการศึ ก ษา ต่ า งปรั บ เปลี่ ย นระบบเศรษฐกิ จ ที่ พึ่ ง พา อุตสาหกรรมเป็นหลัก มาเป็นระบบทีเน้นความรูในการพัฒนา ่ ้ ประเทศแทน เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้ มีรายได้ของประชากร ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ ที่ ส่ ง ออกที่ เ กี่ ย วกั บ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ส่ ว น ประเทศไทยเป็ น หนึ่ ง ในประเทศที่ กำ � ลั ง พั ฒ นา เพื่ อ ไปสู่ ประเทศที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรม ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว กำ�ลังจะปรับเปลี่ยนไปสู่ สังคมดิจิตอลไปแล้ว วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งนั้นทำ�ให้โครงสร้าง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การ โคลนนิ่ง การตัดต่อพันธุกรรม การถอดรหัสพันธุกรรมของ สิ่งมีชีวิต สิ่งเหล่านี้คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผล กับการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ยังช่วยในการรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุและ วัฒนธรรมอันเก่าแก่ไม่ให้เสือมไปตามกาลเวลา ช่วยศึกษาอดีต ่ อันรุ่งโรจน์ของอาณาจักรหรือเมืองแห่งประวัติศาสตร์ต่างๆ ในอดีตได้ด้วย ทั้ ง หมดที่ ก ล่ า วมาคื อ ผลของวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี ซึงหากผูน�ประเทศมองเห็น และมีวสยทัศน์ทกว้าง ่ ้ ำ ิั ี่ ไกล ก็สามารถแข่งขันกับนานาประเทศที่พัฒนาแล้วได้ พลิกโฉมการเรียนด้วยนวัตกรรมใหม่ทางไอซีที ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันจำ�เป็น ที่ เราต้ อ งเรี ย นรู้ แ ละก้ า วทั น กั บ ความเปลี่ ย นแปลงต่ า งๆ ทีเ่ กิดขึน เพือให้สามารถนำ�เทคโนโลยีนนมาประยุกต์ใช้ในชีวต ้ ่ ั้ ิ ประจำ�วัน รวมถึงนำ�มาใช้ในวงการศึกษาด้วย ICT เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำ�มาใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลอย่างยิ่งในการเรียนการสอน โดยการตั้ ง จุ ด มุ่ ง หมายให้ ทั้ ง ผู้ ส อนและผู้ เรี ย นมี ส มรรถนะ ในการใช้ ICT ได้ ในส่วนของการใช้ในเนื้อหาบทเรียนและใช้ เป็นเครื่องมือการเรียน ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ และ ลักษณะการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสร้าง ให้ ก ารเรี ย นการสอนด้ ว ย ICT มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น (กิดานันท์ มลิทอง, 2548) มุมมองทางสังคมกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไทย ถ้ามีคนถามเด็กๆ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ส่วนใหญ่ จะตอบว่า หมอ ตำ�รวจ ทหาร ข้าราชการ น้อยคนนักที่จะ ตอบว่าอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักพัฒนาเทคโนโลยี เพราะ สังคมของประเทศไทยนั้นยังไม่เข้าใจในวิทยาศาสตร์เพียงพอ ไม่รวาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนนเข้าไปมีสวนกับทุกๆ เรือง ู้ ่ ั้ ่ ่ ของชีวต พอพูดถึงเรืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลายๆ คน ิ ่ มักจะนึกถึงสมการการคำ�นวณอันซับซ้อนและเรื่องเลวร้าย ที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ เช่น เหตุการณ์เตาปฏิกรณ์ปรมาณูรั่ว ที่รัสเซีย แก็สพิษรั่วที่อินเดีย ระเบิดปรมาณู เป็นต้น จนทำ�ให้ สังคมเหล่านั้นปิดกั้นไม่อยากรับรู้ หรือเข้าใจวิทยาศาสตร์ ว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ งานประชุ ม วิ ช าการวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ซึ่งจัดที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรมรอยัล ออคิด มีจำ�นวนผู้เข้าลงทะเบียนประมาณ 800 คน เมื่อเปรียบเทียบประชากรกว่า 60 ล้านคน สังคม ไทยยังมองไม่เห็นบทบาทของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีบทบาท ในการสร้างชาติ เหมือนกับนักการเมือง และนักเศรษฐศาสตร์ ในการประชุมครั้งนั้นมีข้อหนึ่งที่ต้องการให้มีการถ่ายทอด ความรู้ และความตื่นเต้นทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้สังคมได้รับรู้บ้างและควรเป็นหน้าที่ของใคร