SlideShare a Scribd company logo
1 of 35
Download to read offline
บรรยายสรุป
อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
แผนที่อําเภอวัฒนานคร
รายนามและประวัติผู้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอวัฒนานคร
ลําดับที่ ชื่อ - สกุล ระยะเวลาการดํารงตําแหน่ง
ตั้งแต่ ถึง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
/20
นายแสวง วิมุกตานนท์
นายสุรินทร์ ชัชวาลย์
นายเพ็ชร อภิรัตนรังษี
เรืออากาศเอกสมศักดิ์ โสมาภา
นายถนอม เกตุงาม
นายสหัส พินทุเสนีย์
นายเกษม ชัยสิทธิ์
นายจเด็จ อินสว่าง
นายชัยขรรค์ ชาครียรัตน์
นายสมชาย ชุ่มรัตน์
นายปรีชา บุตรศรี
นายจารุพงศ์ พลเดช
นายศานิตย์ นาคสุขศรี
นายโชคชัย เดชอมรธัญ
นายเสรี ทวีพันธุ์
นายสมชาย อัชฌากุล
นายบรรลือ สง่าจิตร
นายอรรถสิทธิ์ สุขธรรมนิยม
นายวิฑูรย์ ปิสาวงษ์
นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์
15 ก.ค. 2499
23 ส.ค. 2509
17 ก.พ. 2510
15 ก.ค. 2514
28 พ.ค. 2516
26 ส.ค. 2521
25 ต.ค. 2525
6 ต.ค. 2527
6 ธ.ค. 2531
3 ธ.ค. 2533
12 ต.ค. 2535
8 พ.ย. 2536
1 พ.ย. 2538
10 พ.ย. 2540
22 พ.ย. 2542
20 พ.ย. 2543
6 ต.ค. 2546
25 ก.ย. 2549
24 พ.ย. 2551
22 ก.พ 2553
11 ส.ค.2509
17 ก.พ.2510
15 ก.ค. 2514
22 มี.ค. 2516
25 ส.ค. 2521
24 ต.ค. 2525
6 ต.ค. 2527
17 ต.ค. 2531
2 ธ.ค. 2533
5 ต.ค. 2535
7 พ.ย. 2536
1 พ.ย. 2538
1 พ.ย. 2540
22 พ.ย. 2542
19 พ.ย. 2543
6 ต.ค. 2546
24 ก.ย. 2549
23 พ.ย. 2551
21 ก.พ 2553
6 ม.ค. 2555
อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
 ประวัติความเป็นมาของอําเภอวัฒนานคร
วัฒนานคร เคยมีฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันออก
ของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีเจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง
รับผิดชอบดูแลมาแต่ก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 111 )พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ทําการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินครั้งใหญ่ โดยยกเลิกการปกครอง
แบบจตุสดมภ์และจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ตามเยี่ยงอย่างตะวันตก ตั้งกระทรวง
ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบอย่างเป็นสัดส่วน การจัดกาปกครองหัวเมืองก็ได้โปรดเกล้าให้ตั้ง
มณฑล จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้านขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานในการบริหารการปกครอง
แผ่นดินตราบเท่าทุกวันนี้ และคงทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองวัฒนานครในขณะนั้นเป็นเมือง
ขนาดเล็กที่มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก จึงโปรดเกล้าให้ยุบเมืองวัฒนานครตั้งเป็นอําเภอวัฒนานคร
เมื่อปี พ.ศ. 2437
ในขณะที่ยุบเมืองวัฒนานครลงมาเป็นอําเภอวัฒนานครนั้น เจ้าเมืองวัฒนานคร
คนสุดท้ายมีบรรดาศักดิ์เป็นที่พระบริบูรณ์เสบียง ปลัดเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงลําเลียงนิกร
และยกกระบัตรเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงกรโภชนา
ในปี พ.ศ. 2449 ได้มีการยุบอําเภออรัญประเทศลงเป็นกิ่งอําเภอและ
ให้ขึ้นการปกครองกับอําเภอวัฒนานคร แต่ต่อมาประชากรของอําเภอวัฒนานครลดลง
จึงถูกลดฐานะจากอําเภอวัฒนานครเป็นกิ่งอําเภอ ขึ้นการปกครองกับอําเภออรัญประเทศ
ในปี พ.ศ. 2456
อําเภอวัฒนานคร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอําเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 6
มิถุนายน 2499 ตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2499 ซึ่งได้
ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 56 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2499
คําขวัญอําเภอวัฒนานคร
ปราสาทห้วยพะใย นํ้าเย็นใสเขื่อนพระปรง สักการะองค์นเรศวรเจ้า
ไหว้หลวงพ่อขาวประจําปี แทนไมตรีด้วยข้าวหลาม
พันธุ์ไม้งามสวนเฉลิมพระเกียรติ
วิสัยทัศน์อําเภอวัฒนานคร
วัฒนานครเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง
เคียงคู่อุตสาหกรรมการเกษตร เขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอําเภอ
1. ด้านกายภาพ
ลักษณะที่ตั้ง
ที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร เป็นอําเภอหนึ่งในจังหวัดสระแก้วที่ตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันตกของจังหวัดสระแก้ว ห่างจากรอยต่อจังหวัดประมาณ 29 กิโลเมตร
เนื้อที่
อําเภอวัฒนานครมีเนื้อที่ 1,560 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 975,000 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอครบุรี อําเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอตาพระยา อําเภออรัญประเทศ และกิ่งอําเภอโคกสูง จังหวัด
สระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอเมืองสระแก้ว อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ทางตอนเหนือเป็นที่ราบสูงลาดเทลงมาทางตอนใต้ นํ้าจึงไหลมาทางตอนใต้
ซึ่งแยกเป็น 2 สาย สายที่ 1 ไหลผ่านอําเภอเมืองสระแก้วไปบรรจบกับลําคลองพระสทึง
ไหลไปกบินทร์บุรีรวมกับแม่นํ้าบางประกง สายที่ 2 ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านคลอง
พรมโหดเข้าอําเภออรัญประเทศเข้าสู่ประเทศกัมพูชา
ภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน หรือฤดูก่อนฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือน
พฤษภาคม อากาศอบอ้าวโดยเฉพาะเดือนเมษายน เป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด
2. ฤดูฝน หรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็น
ระยะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย อากาศจะเริ่มชุ่มชื้น จะมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
โดยมีฝนตกมากที่สุด ในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน แต่ในระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม
อาจจะมีอากาศแล้งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้ เนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง
3. ฤดูหนาวหรือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือน
กุมภาพันธ์ อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง แต่เนื่องจากจังหวัดสระแก้วอยู่ปลายกระแสลมหนาว และ
เทือกเขาทางตอนเหนือของจังหวัดขวางกั้นมวลอากาศเย็น อากาศจึงไม่หนาวเย็นมากนัก
พื้นที่และการใช้ประโยชน์
พื้นที่ของอําเภอวัฒนานคร ด้านเหนือมีสภาพเป็นภูเขา ยังมีป่าไม้หนาแน่นอยู่ในเขตอุทยาน
ชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของชาติ การถือครองที่ดินของราษฎรส่วนใหญ่เป็นหนังสือ
รับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.)และโฉนดที่ดิน
2. การปกครอง
แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 11 ตําบล
(เป็น อบต.ทั้ง 11 แห่ง ) 115 หมู่บ้าน มีเทศบาลตําบล 1 แห่ง (เทศบาลตําบลวัฒนานคร) ดั้งนี้
1. ตําบลวัฒนานคร มี 14 หมู่บ้าน
2. ตําบลหนองนํ้าใส มี 10 หมู่บ้าน
3. ตําบลห้วยโจด มี 7 หมู่บ้าน
4. ตําบลช่องกุ่ม มี 9 หมู่บ้าน
5. ตําบลผักขะ มี 13 หมู่บ้าน
6. ตําบลท่าเกวียน มี 14 หมู่บ้าน
7. ตําบลโนนหมากเค็ง มี 9 หมู่บ้าน
8. ตําบลหนองหมากฝ้าย มี 8 หมู่บ้าน
9. ตําบลหนองแวง มี 7 หมู่บ้าน
10. ตําบลหนองตะเคียนบอน มี 10 หมู่บ้าน
11. ตําบลแซร์ออ มี 14 หมู่บ้าน
ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น 79,767 คน แยกเป็นชาย 40,226 คน หญิง 39,541 คน จํานวน 23,756 ครัวเรือน
3. ด้านโครงการสร้างพื้นฐาน
การไฟฟ้า
มีสํานักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 แห่ง ราษฎรมีไฟฟ้าใช้ จํานวน 19,579 ครัวเรือน
การประปา
มีการประปาระดับอําเภอและตามตําบล หมู่บ้าน ดังนี้
1. การประปาส่วนภูมิภาค จํานวน 1 แห่ง
2. การประปาหมู่บ้าน จํานวน 21 แห่ง
ครัวเรือนมีประปาใช้ 7,619 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ..........
การโทรศัพท์
มีหมู่บ้านที่มีโทรศัพท์ใช้ 100 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 86.95
มีครัวเรือนที่มีโทรศัพท์ใช้ 860 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 4.16 %
จํานวนโทรศัพท์สาธารณะ 115 แห่ง
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอําเภอต่าง ๆ และจังหวัดสระแก้ว รวมทั้งการคมนาคมภายในตําบล
หมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 33 สระแก้ว - อรัญประเทศ
2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 317 สระแก้ว - จันทบุรี
3. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 348 อรัญประเทศ - ตาพระยา - บุรีรัมย์
4. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3197 ห้วยโจด - บ้านบ่อนางชิง
5. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3198 วัฒนานคร - บ้านแซร์ออ - บ้านหนองสังข์
6. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3393 บ้านช่องกุ่ม - บ้านแก้วเพชรพลอย
7. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3395 วัฒนานคร - คลองหาด - ทุ่งขนาน
8. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3307 บ้านหนองเทา - บ้านวังรี
9. ทางหลวงชนบท หมายเลข 3317 ระหว่างบ้านท่าเกษม ถึงบ้านคลองทราย
10. ทางหลวงชนบท หมายเลข 3013 ระหว่างบ้านไทยสามารถ ถึงบ้านบุกะสัง
11. ทางหลวงชนบท หมายเลข 3077 ระหว่างบ้านแซร์ออ ถึงบ้านเขาน้อยพรมสุวรรณสําหรับ
เส้นทางเชื่อมต่อตําบลและหมู่บ้านเป็นสภาพถนนลูกรัง จํานวน 22 สาย
การคมนาคมติดต่อสื่อสาร
มีที่ทําการไปรษณีย์โทรเลข จํานวน 1 แห่ง
การสาธารณูปโภค
แหล่งนํ้าอุปโภค บริโภค มีดังนี้
1. บ่อนํ้าบาดาล บ่อตอก บ่อเจาะ จํานวน 565 แห่ง
2. บ่อนํ้าตื้น จํานวน 843 แห่ง
3. สระนํ้า ( 100 ตารางวาขึ้นไป ) จํานวน 538 แห่ง
4. ประปาหมู่บ้าน จํานวน 21 แห่ง
5. อ่างเก็บนํ้า จํานวน 24 แห่ง
6. หนองบึง จํานวน 61 แห่ง
4. ด้านเศรษฐกิจ
รายได้
1. น้อยกว่า 10,000 จํานวน 2,692 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 16.4
2. 10,000 - 19,999 จํานวน 3,910 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 23.9
3. 20,000 - 29,999 จํานวน 3,122 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 19.1
4. 30,000 - 49,999 จํานวน 3,069 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 18.7
5. 50,000 - 99,999 จํานวน 1,873 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.4
6. 100,000 - 499,999 จํานวน 744 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 4.5
7. 500,000 ขึ้นไป จํานวน 135 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.8
( ไม่ทราบข้อมูล 837 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 5.1 )
การเกษตรกรรม
อําเภอวัฒนานครมีพื้นที่ทําการเกษตรทั้งสิ้น 447,715 ไร่ ราษฎรประกอบอาชีพทางการเกษตร
จํานวน 11,848 ครัวเรือน สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สําคัญได้แก่ ข้าว มันสําปะหลัง ถั่วเหลือง ข้าวโพด
อาหารสัตว์ อ้อย และปอแก้ว
การประมง
มีการประมงนํ้าจืดบริเวณเขื่อนพระปรง และการเลี้ยงปลานํ้าจืด จํานวน 886 บ่อ ในพื้นที่
249.47 ไร่ จํานวน 848 ครัวเรือน
การปศุสัตว์
มีการเลี้ยงโคนม กระบือ สุกร แพะ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ และเป็ดเทศ
การอุตสาหกรรม
มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ดําเนินการและประกอบการจํานวน ........ แห่ง อยู่ที่
ตําบลหนองนํ้าใส ตําบลวัฒนานคร ตําบลห้วยโจด และตําบลแซร์ออ
แรงงาน
จากจํานวนประชากร 79,767 คน มีแรงงานชายที่มีงาน 70 % ว่างงาน 10 % แรงงานอพยพ
20 % แรงงานหญิงที่มีงานทํา 62 % ว่างงาน 18 % แรงงานอพยพ 20 %
การพาณิชย์
1. มีตลาดศูนย์การค้าเทศบาลตําบลวัฒนานคร จํานวน 1 แห่ง
2. มีตลาดศูนย์การค้าสุวิทยพันธุ์ (โรงแรมนครอินทร์ ) จํานวน 1 แห่ง
3. สหกรณ์ 5 แห่ง ได้แก่
3.1 สหกรณ์การเกษตรวัฒนานคร จํากัด
3.2 สหกรณ์การเกษตรตําบลหนองนํ้าใส จํากัด
3.3 สหกรณ์ปศุสัตว์บ้านแซร์ออ จํากัด
3.4 สหกรณ์ออมทรัพย์ ร.12 พัน 2 รักษาพระองค์ จํากัด
3.5 สหกรณ์เดินรถยนต์วัฒนา จํากัด
การบริการ
มีโรงแรม จํานวน 3 แห่ง สถานบริการและเริงรมย์ จํานวน 1 แห่ง
การท่องเที่ยว
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญ ได้แก่
1. สวนเฉลิมพระเกียรติอําเภอวัฒนานคร
2. อ่างเก็บนํ้าท่ากระบาก
3. อ่างเก็บนํ้าทับประดู่
4. ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าช่องกลํ่าบน
5. อ่างเก็บกักนํ้าห้วยพระใย
6. ปราสาทน้อยห้วยพระใย
7. โบราณสถานคลองหินสิ่ว
8. เขื่อนพระปรง
การเงินการคลัง
มีธนาคาร จํานวน 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ( มหาชน ) จํากัด ธนาคารออมสิน จํากัด และ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โรงรับจํานําเทศบาลตําบล 1 แห่ง
5. สภาพทางสังคม
การศึกษา
มีสถานศึกษาสังกัด - ทบวงมหาวิทยาลัย จํานวน 1 แห่ง ( ม.บูรพา )
- กรมอาชีวศึกษา จํานวน 1 แห่ง (วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว)
- สพฐ. จํานวน 53 โรงเรียน รวมโรงเรียนมัธยม
ระบบการศึกษานอกโรงเรียน
- กลุ่มวิชาชีพระยะสั้น จํานวน 44 กลุ่ม
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจําหมู่บ้าน จํานวน 20 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน จํานวน 1 แห่ง
การศึกษาอื่น ๆ
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม จํานวน 10 แห่ง
- หน่วยอบรมประชาชน จํานวน 4 แห่ง
การศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา ดังนี้
1. วัด จํานวน 46 แห่ง
2. ที่พักสํานักสงฆ์ จํานวน 22 แห่ง
3. ศาลเจ้า จํานวน 1 แห่ง
4. โบสถ์คาทอลิก จํานวน 1 แห่ง
ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
อําเภอวัฒนานคร มีประเพณีที่สําคัญ ๆ ดังนี้
1. ประเพณีสงกรานต์และวันกตัญ�ู จะดําเนินการจัดงานทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี
2. ประเพณีลอยกระทง จะจัดงานช่วงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
3. ประเพณีสืบสานวัฒนธรรมไทยในเทศกาลเข้าพรรษา จะจัดงานช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
4. ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนครธรรม จะจัดงานช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
5. จัดงานรําลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะจัดงานในวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี
การสาธารณสุข
มีการให้บริการด้านการสาธารณสุข ดังนี้
1. โรงพยาบาลวัฒนานคร ( 60 เตียง ) จํานวน 1 แห่ง
2. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ จํานวน 1 แห่ง
3. สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ จํานวน 1 แห่ง
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จํานวน 21 แห่ง
5. สํานักงานควบคุมโรคนําโดยแมลงที่ 3.2.5 จํานวน 1 แห่ง
6. สถานพยาบาลของเอกชน จํานวน 3 แห่ง
7. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จํานวน 6 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดนํ้า 100 %
- มีหอกระจายข่าว จํานวน 97 แห่ง ครอบคลุมได้ 88.99 %
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีสถานีตํารวจภูธรอําเภอ / ตําบล จํานวน 3 แห่ง คือ
1. สถานีตํารวจภูธรวัฒนานคร
2. สถานีตํารวจภูธรหนองหมากฝ้าย
3. สถานีตํารวจภูธรบ้านทับใหม่
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรดิน
สภาพดินของอําเภอวัฒนานครมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย และในบางพื้นยังต้องมีการปรับปรุงดิน
จึงจะสามารถปลูกพืชไร่ ทําสวนและทํานาได้
ทรัพยากรนํ้า
การเกษตรในเขตอําเภอวัฒนานคร ส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยฝนธรรมชาตินอกจากนี้ยังมีห้วยพรมโหดซึ่งเป็น
แหล่งนํ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่ต้องมีการปรับปรุงให้มีสภาพที่ดีขึ้นกว่านี้จึงจะสามารถให้การรองรับกับความ
ต้องการของเกษตรกรได้
ทรัพยากรป่าไม้
อําเภอวัฒนานครมีพื้นที่ป่าไม้ที่สําคัญ ได้แก่ บริเวณอุทยานแห่งชาติปางสีดา มีเนื้อที่ 175,833 ไร่
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4 ตําบล คือ ตําบลหนองหมากฝ้าย ตําบลหนองตะเคียนบอน ตําบลแซร์ออ และตําบล
ช่องกุ่ม
ปัญหาความต้องการของอําเภอ
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ถือว่าเป็นปัญหาหลักที่ต้องเร่งให้มีพัฒนาเพื่อรองรับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ซึ่งอําเภอ
วัฒนานคร มีศักยภาพพร้อมที่จะดําเนินการได้ แต่ยังขาดผู้ลงทุนและงบประมาณจากทางราชการให้การ
สนับสนุน
2. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมการเกษตรและอาชีพ
ถือว่าเป็นปัญหาที่สําคัญอีกปัญหาหนึ่ง ซี่งมีปัญหาความต้องการที่สําคัญ เช่น การเพิ่มพูน
รายได้ ด้านการตลาด ขาดการลงทุนด้านอุตสาหกรรม
3. การพัฒนาสังคมและชุมชน
มีปัญหามากมาย เช่น การสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชรา การว่างงาน หนี้สิน
ประชาชน ที่ดินทํากิน การปลูกฝังจิตสํานึกและยกระดับจิตใจของประชาชนให้สูงขึ้น
4. ความปลอดภัยในชีวิตประจําวันและทรัพย์สินตลอดจนภัยธรรมชาติ
เนื่องจากอําเภอวัฒนานครมีพื้นที่ไม่ติดกับแนวชายแดน จึงทําให้เหมาะสมที่จะเป็นเมืองที่อยู่
อาศัย หรือเป็นศูนย์กลางของจังหวัดในด้านการค้า เพราะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูงโดยเฉพาะ
ความปลอดภัยในปัญหายาเสพติด ซึ่งชุมชนนั้นมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างดี ปัญหาในด้านนี้ที่
พอจะพบเห็นและต้องการการแก้ไข เช่น ลักลอบขนยาเสพติดผ่านแดน หลบหนีเข้าเมือง และแรงงานต่างด้าว
5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
อําเภอวัฒนานคร ถือว่าเป็นอําเภอที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมาก เป็นต้น
กําเนิดของแม่นํ้า เนื่องจากทิศเหนือของอําเภอเป็นเทือกเขาบรรทัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ ทําให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ
ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปัญหาลักลอบตัดไม้ ปัญหาบุกรุกที่ป่าสงวน และปัญหามลพิษในเขตเมือง
6. การพัฒนาการบริหารและงานบริการ
การบริหารและบริการมีปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น ขาดศูนย์เทคโนโลยีประจําหมู่บ้าน ขาดศูนย์
การศึกษาซึ่งต้องเข้าไปให้ถึงระดับหมู่บ้าน และการให้บริการของรัฐที่ไม่ทั่วถึง
สถานที่และสิ่งสําคัญอําเภอวัฒนานคร
 พระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ พระครูวัฒนานครกิจ เจ้าอาวาสวัดนครธรรม ซึ่งเป็นเจ้าคณะ
อําเภอได้นิมนต์จากพระทีมิยะเว อะมะระวังสะ มหาเถระ อธิบดีสงฆ์วัดอะภินะวะรามะเมืองโอเบ
เสกะระปุระ ประเทศศรีลังกา ให้เดินทางไปรับพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็น
ประธานฝ่ายสงฆ์ และประธานาธิบดีศรีลังกาเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์
2535 โดยการประสานงานของพระมหาสมเสียน แสนบัติ ผู้อํานวยการศูนย์เผยแพร่พระศาสนา
ในประเทศศรีลังกาเป็นผู้ประสานงาน
พระบรมสารีริกธาตุองค์นี้มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วเขียว มีขาวใสสุกสกาวสวยงามมาก
ไม่ปรากฎว่าพระบรมสารีริกธาตุบริเวณส่วนใดของพระพุทธองค์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดนครธรรม
อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มาเป็นเวลาสิบสี่ปีแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพุทธศาสนิกชน
ชาวพุทธได้มานมัสการปิดทองพระบรมสารีริกธาตุเป็นประจําทุกปี และเมื่อปี พ.ศ. 2537 ใน
โอกาสที่อําเภอวัฒนานครครบ 100 ปีได้เริ่มให้มีการแห่สมโภชน์องค์พระบรมสารีริกธาตุออกไป
โปรดพุทธศาสนิกชนรอบเมืองวัฒนานคร โดยจัดขบวนแห่ประกอบด้วยนางฟ้าและผู้ทรงศีลร่วม
ขบวนถึง 2,000 กว่าคน และได้จัดเป็นประจําในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีผู้มาร่วมขบวน
แห่และนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเป็นจํานวนมาก
 หลวงพ่อขาว
หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปที่รับการสร้างให้เป็นพระประธานประดิษฐานประจํา ณ
วัดบ้านจิก ตําบลวัฒนานคร อําเภอวัฒนานคร มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ไม่มีผู้ใดทราบว่าสร้างขึ้น
โดยใครและเมื่อใด เพียงแต่มีคําบอกเล่าสืบทอดกันมาว่า หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปทองคําขาว
ที่ได้รับการอัญเชิญมาจากกรุงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี
การอพยพของพลเมืองในสมัยก่อน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นอันตราย จึงได้ทําการพอกปูนปั้น
องค์พระครอบหลวงพ่อขาวซึ่งเป็นทองคําขาวไว้ภายใน ตั้งประดิษฐานเป็นพระประธาน อยู่วัด
บ้านจิก ตําบลวัฒนานคร
ต่อมาวัดบ้านจิกได้ทรุดโทรมขาดการดูแลเอาใจใส่ ไม่สามารถปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมวัดได้
จึงถูกทอดทิ้งให้เป็นวัดร้าง เมื่อมีการสร้างวัดนครธรรม (วัดสระลพ) ตําบลวัฒนานคร ขึ้นเป็น
การถาวร จึงได้มีการอัญเชิญหลวงพ่อขาวไปประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในวิหารซึ่งสร้าง
เป็นอาคารไม้มุงสังกะสีอยู่บริเวณใจกลางวัดนครธรรม
หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธโบราณมีลักษณะเป็นปางมารวิชัยสร้างด้วยปูนนํามาประดิษฐาน
ไว้ในอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ. 2468 กล่าวกันว่า ขณะที่อัญเชิญไปวัดนครธรรมนั้น ได้ใช้ล้อเลื่อน
บรรทุกไปใช้เชือกมะลิลาโยงให้ประชาชนช่วยกันฉุดลากและได้เกิดอภินิหารนํ้าพระเนตรไหล
ออกจากพระเนตรของหลวงพ่อขาวและได้เกิดฝนตกติดตามมาอย่างหนัก โดยที่ไม่มีเมฆฝนตั้ง
เค้ามาก่อนเลย
หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปที่ชาววัฒนานครให้ความเคารพนับถือในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดประกอบ
กรรมดี ก็จะได้ผลดีตอบสนอง ผู้ใดประกอบกรรมชั่ว หากนําไปสาบานต่อองค์
หลวงพ่อขาว จะสารภาพผลกรรมของตนทุกรายไป หลวงพ่อขาวก็เหมือนพระพุทธรูปโดยทั่วไป
ที่ผู้ที่มีจิตศรัทธาสร้างจะนําอัญมณีมีค่า แก้วแหวนเงินทอง บรรจุลงในองค์พระประธาน ต่อมาปรากฎว่ามี
คนร้ายได้เจาะขุดค้นเอาของมีค่าไปหมด ซึ่งคนร้ายก็ได้รับผลกรรมอย่างสาสมกับความผิดที่กระทํา ด้วยความ
ตายโดยก่อนตายได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส
ปัจจุบันนี้วิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว ซึ่งเป็นเรือนไม้หลังคามุงสุงกะสี ซึ่งมีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่มี
ความสวยงามมาก นับเป็นวิหารโบราณที่เก่าแก่อีกหลังหนึ่งในเขตอําเภอ
วัฒนานคร
 ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นศาลหลักเมืองของเมืองวัฒนานครมาแต่โบราณเป็นที่เคารพ
สักการะของประชาชนในเขตอําเภอวัฒนานคร ตั้งอยู่ที่บ้านเมือง หมู่ที่ 5 ตําบลวัฒนานคร
อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ไม่มีผู้ใดทราบว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด เป็นศาลที่คน
วัฒนานครได้กราบไหว้เคารพบูชา เป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนพื้นบ้านมาโดยตลอด นับเป็น
โบราณสถานที่สําคัญแห่งหนึ่งของวัฒนานคร
 ค่ายพระทํานบ
ค่ายพระทํานบ เป็นชื่อสถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
และพระเอกาทศรถ ที่ทรงเสด็จในการทําสงครามกับกัมพูชาในปี พ.ศ. 2126 หรือศักราช
ที่ 945 ดังปรากฎในหลักฐานพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และพระราช
พงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ว่า
“ ศักราช 945 ปีมะแม เบญจศก ( พ.ศ. 2126 ) สมเด็จพระนเรศวร ครั้นเสด็จ
การพระราชพิธีอาสวยุชแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ พลฉกรรณ์ลําเครื่อง
แสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กําหนดเดือนจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี
วันศุกร์ขึ้นคํ่าหนึ่ง เดือนอ้าย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดํารัสให้ไปตั้งพิธีชุมพล ตําบลทุ่งหันตรา...วันอังคาร
ขึ้นห้าคํ่า เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกา 5 บาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอาภรณ์วิจิตร
อลังการประดับสําหรับในพิชัยยุทธเสร็จ ครั้นได้เพชรฤกษ์มงคลอันประเสริฐพระโหราลั่นฆ้องไชย มีพ่อ
พราหมณ์ถวายเสียงสังข์ สมเด็จพระนเรศวรทรงเจ้าพญาไชยานุภาพเป็นพระคชาธาร สมเด็จพระเอกาทศรถทรง
เจ้าพระปราบไตรจักร เข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ราชาคณะประพรมนํ้าพระพุทธมนต์พญานนท์ตัดไม้ข่มนามโดย
ศาสตร์ เสด็จกรีฑาพลเดินโดยสถลมารคทางด่านพระจฤติ ( พระจารึก ) ประทับรอนแรมไปตามระยะก็ถึง
ตําบลค่ายทํานบ”
ค่ายทํานบเป็นค่ายที่ทรงพักทัพและเป็นที่รวบรวมเสบียงทัพก่อนเสด็จในราชการสงคราม
ไปจับพญาละแวกกับพระศรีสุพรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2126 ค่ายนี้ปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก
ของบ้านสระลพ และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร (หลังเก่า ) โดยห่าง
จากที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร (หลังเก่า )ไปเป็นทางตรงประมาณ 400 เมตร สภาพค่ายทํานบ
ปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยเป็นคันดินกว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 3 – 4 เมตร ยาวประมาณ 400 เมตร
สภาพปัจจุบันพื้นที่ค่ายทํานบกลายเป็นพื้นที่ทําการเกษตรของราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงไปแล้ว
 ปราสาทหินบ้านแซร์ออ
เป็นปราสาทหิน ตั้งอยู่บริเวณบ้านใหม่พัฒนา ตําบลแซร์ออ อําเภอวัฒนานคร ขึ้นทะเบียน
เป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเนื้อที่ 76 ไร่ 2 งาน
 โบราณสถานหนองสิม
เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นหนองนํ้าขนาดใหญ่ มีความกว้างมาก จํานวน 2 แห่ง
ด้วยกัน ตั้งอยู่บริเวณบ้านโนน ตําบลท่าเกวียน อําเภอวัฒนานคร บริเวณที่หนึ่งมีประมาณ 3 ไร่
3 งาน 4 ตารางวา บริเวณที่สองมีประมาณ 4 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา นับเป็นโบราณสถาน
ที่สําคัญอีกแห่งหนึ่ง
 พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ ทรงเสด็จทําสงครามกับกัมพูชาใน
ปี พ.ศ. 2126 หรือศักราชที่ 945 และทรงนํากองทัพเดินทางไปในราชการสงคราม ทรงหยุด
ประทับแรมตรวจราชการบริเวณค่ายทํานบ (หลังที่ว่าการอําเภอวัฒนานครหลังเก่า ) และทรงเคย
เสด็จบริเวณนี้ถึง 2 ครั้งด้วยกัน อําเภอวัฒนานครจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อ
เป็นการรําลึกสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงมีต่อชาติไทย
โดยเฉพาะที่พระองค์ทรงประกาศอิสรภาพไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่าจนทําให้ชาติไทยเป็น
เอกราชมาตราบเท่าทุกวันนี้ และอําเภอวัฒนานครได้ทําพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นเมื่อ
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2538 และบวงสรวงดวงพระวิญญาณในวันที่ 3 เมษายน 2539 เนื่องจาก
ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ท่าน ลักษณะเป็นพระบรมรูปยืน พระหัตถ์ขวาชู
พระขรรค์ ปัจจุบันประดิษฐานที่สวนเฉลิมพระเกียรติอําเภอวัฒนานคร หมู่ที่ 10 ตําบลวัฒนานคร
อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
 ปราสาทหินบ้านน้อยห้วยพะใย
ปราสาทหินบ้านน้อยห้วยพะใย เป็นปราสาทหินตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตําบลผักขะ อําเภอวัฒนานคร
ซึ่งได้รับการขุดตรวจทางด้านโบราณคดีจากกรมศิลปากรจํานวน 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2514 และ 2516
โดยนายศิริ ดวงดี หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 5 ในขณะนั้น
ปราสาทหลังนี้มีกําแพงสองชั้น ชั้นนอกเป็นกําแพงหินกว้าง 67 เมตร ยาว 80 เมตร กําแพง
สูง 2.15 เมตร ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ระหว่างกําแพงชั้นนอกและกําแพงชั้นใน
ด้านหน้าของปราสาททิศเหนือมีสระนํ้ากรุด้วยก้อนศิลาแลง มีความกว้าง 18 เมตร ลึก 2.50 เมตร
ทางเข้าปราสาท มีทางเข้าทางเดียว คือ ทางทิศตะวันออก ตรงกลางด้านทิศตะวันตก มีซาก
โบราณสถานก่อด้วยอิฐไม่มีปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหนึ่งหลัง
ด้านในกําแพงทิศเหนือมีซากโบราณสถานคล้ายที่เก็บของหรือที่พักอาศัยของผู้ดูแลรักษา จํานวน
1 หลัง ตรงประตูทางเข้า – ออก มีกรอบประตูทําด้วยหินสีเขียว
ก่อนการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้มีประชาชนในตลาดวัฒนานครมอบเสากลมหินเขียว
แกะสลักลวดลายสวยงาม 1 ชิ้น ยาวประมาณ 168 เซนติเมตร เป็นโบราณวัตถุเก่าแก่สมัยขอม
เป็นศิลปกําพงพระ ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ซึ่งนํามาจากปราสาทหินแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้าน
เรียกกันว่าอุโมงค์หรือถํ้าปราสาท และขณะที่ทําการขุดแต่งโบราณวัตถุ จํานวน 12 ชิ้น ได้นําส่ง
กองโบราณคดี สําหรับโบราณวัตถุที่พบเป็นรูปฤาษี รูปทวารบาล รูปยักษ์ รูปครุฑ เศียรยักษ์
พระพุทธรูปนาคปรกดินเผา เครื่องประกอบหาบหามเป็นศิลปลพบุรี สําหรับเครื่องปั้นดินเผาเป็น
ศิลปสมัยทวาราวดี และยังพบเศษกระเบื้องกาบกล้วยมุงหลังคา เครื่องถ้วยชามสมัยราชวงศ์ซ้อง
และเศษโอ่งไหในสมัยลพบุรีอีกด้วย
โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างถนนสายสุวรรณศร ( วัฒนานคร – อรัญประเทศ ) ประมาณ
3 กิโลเมตร ในปี 2538 อําเภอวัฒนานครได้ทําการจัดทําถนนสายหลักเข้าไปยังโบราณสถาน
แห่งนี้ เพื่อจะได้จัดเป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวของอนุชนรุ่นหลังต่อไป
 โบราณสถานหนองบอน
โบราณสถานหนองบอน เป็นโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานใน
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2532 หน้า 15 -18 ( ฉบับพิเศษ ) ระบุว่า
เป็นโบราณสถานที่อยู่บริเวณบ้านพร้าว ตําบลวัฒนานคร อําเภอวัฒนานคร มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ
34 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวา
จาการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นโบราณสถานชุมชนสองสมัย โดยสมัยแรกเป็นสมัยขอม ซึ่งมีอายุประมาณ
900 – 1,000 ปี บริเวณดังกล่าวคาดกันว่า จะเป็น “อาโรคยาศาลา” แต่เดิมซึ่งหมายถึงสถานีอนามัยในสมัย
ปัจจุบัน ประกอบด้วยอาคารศาสนสถานหนึ่งหลัง มีบ่อนํ้าทิพย์รักษาโรค หน้าศาสนสถาน จํานวน 1 บ่อ
และมีนํ้าสําหรับผู้ผ่านทางตลอดจนผู้ป่วยไข้ได้อาศัยในการอุปโภค บริโภค มีความกว้างยาวถึง 10 ไร่เศษ
จากคําบอกเล่าทราบว่ามีการขุดพบเทวรูปและพระนางบีบมวยผม ตั้งอยู่ในบริเวณศาสนสถานอีกด้วย สมัยที่
สองเป็นสมัยถัดมา ได้ปรับเปลี่ยนบริเวณดังกล่าวเป็นวัด มีพระพุทธรูปและสถานที่ของสงฆ์ปฏิบัติธรรม
อาศัยอยู่ระหว่างชุมชุนใหญ่สองชุมชน บริเวณตําบลท่าเกวียนและตําบลวัฒนานครในปัจจุบัน
 โบราณสถานอ่างศิลา
โบราณสถานอ่างศิลา เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณ
สถานเมื่อปี พ.ศ. 2532 เช่นเดียวกับโบราณสถานหนองบอน ตั้งอยู่บริเวณบ้านนางาม ตําบล
ท่าเกวียน อําเภอวัฒนานคร มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา
โบราณสถานดังกล่าวมีอ่างศิลาขนาดใหญ่ มีเส้นรอบวงประมาณ 10 เมตร เป็นอ่างศิลาแลง
ลักษณะกลมได้สัดส่วนสวยงาม มีหลุมอีกประมาณ 7 – 8 หลุม ซึ่งเป็นโพรงศิลาแลงเช่นเดียวกัน
บริเวณใกล้เคียงมีคลองหินศิลาแลง ที่มีลักษณะตัดหินศิลาแลงทําเป็นคลอง ชาวบ้านเรียกว่า
“คลองหินสิ่ว” มีความยาวถึง 3,400 เมตร ลึก 1.50 เมตร มีลักษณะเป็นคลองระบายนํ้า ใน
อ่างศิลามีโพรงศิลาจํานวนถึง 8 สายด้วยกัน สามารถทะลุถึงกันได้หมดทุกสาย นับเป็นโบราณ
สถานเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของอําเภอวัฒนานคร
สรุปผลการดําเนินงาน
ของ
ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอําเภอวัฒนานคร
 ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอําเภอวัฒนานคร ได้ดําเนินการประกาศเป็นอําเภอ
เข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนถาวรเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 และปัจจุบันได้กําลังดําเนินการตาม
แผนปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด ( 1 มี.ค. – 31 ส.ค. 49 ) ในการดําเนินการสร้างความเข้มแข็ง
ของพลังแผ่นดิน และชุมชนในการเอาชนะยาเสพติดให้ดํารงอยู่อย่างยั่งยืน ตามโครงการประสานพลังแผ่นดิน
เอาชนะยาเสพติดหมู่บ้าน / ชุมชน และได้จัดตั้ง “ ชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี ”เมื่อวันที่ 12
เมษายน 2547 จํานวน 1 ชมรม ณ ที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร มีจํานวนสมาชิก 450 คน นอกจากนี้
ได้ดําเนินการปฏิบัติการร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 1- 4 (1 มี.ค. 2547 – 30 ก.ย. 2548 ) ทุกตําบล / หมู่บ้าน/
ชุมชน รวมทั้งสิ้น 11 ตําบล / 1 เทศบาล (115 หมู่บ้าน / 1 ชุมชน) มีศูนย์ประสานพลังแผ่นดินตําบล/เทศบาล
11 ตําบล / 1 เทศบาล รวมทั้งสิ้น 12 แห่ง วิทยากรครู ก. 35 คน วิทยากร ครู ข. จํานวน 360 คน
ผู้ประสานพลังแผ่นดิน ทุกเครือข่าย จํานวน 4,217 คนและสมาชิกตามโครงการ TO BE NUMBER ONE
จํานวน 48,105 คน ปัจจุบันได้ปรับสถานะหมู่บ้าน / ชุมชน เข้มแข็งเอาชนะปัญหายาเสพติดเป็นหมู่บ้าน /
ชุมชน (ประเภท ก.) เรียบร้อยแล้ว
การปฏิบัติงานของศูนย์ฯ โดยการระดมทุกส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
ผู้นําประชาชน องค์กรเอกชน ทุกภาคส่วน ตลอดจนผู้ประสานพลังแผ่นดินตําบล/หมู่บ้าน ได้ดําเนินการ
ร่วมกันตรวจสอบเป้าหมาย (Re X – Ray) ซึ่งสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
1. จัดทําโครงการฝึกอบรมผู้ประสานพลังแผ่นดิน ประจําปี 2549 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 โดยมี
เป้าหมายเป็นผู้ปกครองท้องที่ เพื่อให้นําความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาใน
หมู่บ้าน
2. จัดทําโครงการฝึกอบรมผู้ประสานพลังแผ่นดินเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 10-11
มิถุนายน 2549 โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นําชุมชน ผู้นําท้องถิ่น กลุ่มพลังมวลชน และตัวแทนเยาวชนอาสา
ต่อต้านยาเสพติดในพื้นที่ 115 หมู่บ้าน
3. จัดทําโครงการจัดตั้งกองทุน “ แม่ของแผ่นดิน ” เป้าหมาย 11 ตําบล 11 หมู่บ้าน ปัจจุบัน ได้จัดตั้ง
หมู่บ้านกองทุนต้นแบบให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แล้ว จํานวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านใหม่ไทยพัฒนา หมู่ที่ 6
ต.หนองตะเคียนบอน และมีหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์การจัดตั้งได้รับคัดเลือกให้เข้ารับพระราชทานเงินขวัญ
ถุง ในวันที่ 25 มิถุนายน 2549 อีกจํานวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองเรือ หมู่ที่ 1 ต.หนองนํ้าใส ชึ่ง
ศตส.อ.วัฒนานคร ได้จัดทีมวิทยากรกระบวนการ เข้าดําเนินการตามแผนการจัดตั้งอย่างต่อเนื่อง คาดว่า
จะสามารถจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ครบตามเป้าหมายได้ภายใน 30 พฤศจิกายน
2549
4. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อชุมชนเข้มแข็ง โดยให้พลัง
แผ่นดินให้หมู่บ้านเป็นผู้ดูแลและติดตามผู้ผ่านการบําบัด ผู้พ้นโทษ และผู้ได้รับการพักโทษที่อยู่ใน
หมู่บ้าน ซึ่งจะต้องมีการรับรองในที่ประชุมของหมู่บ้านทุกเดือน
5) การบริหารจัดการของ ศตส.อ.ฯ
- การบริหารจัดการด้านนโยบาย และอํานวยการการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด ภายในองค์ประกอบของคณะกรรมการ ศตส.อําเภอ
1 ) เร่งรัดการปราบปรามจับกุมผู้ค้ายาเสพติดที่ยังหลงเหลือตาม พ.ร.บ.มาตรการ
ในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534, พ.ร.บ.ป้องกันและปรามปรามการฟอก
เงิน พ.ศ.2542 และกฎหมายภาษีอากร
2) การปราบปราม กดดัน จับกุม ผู้ค้ายาเสพติด ( Supply )
- ปราบปรามจับกุมผู้ค้าที่ผ่านการอบรมตามโครงการทําความดีเพื่อแผ่นดินและกลับไปค้ายาเสพติดอีก
และติดตาม ควบคุมดูแล ช่วยเหลือผู้ผ่านโครงการทําความดีเพื่อแผ่นดินไม่ให้กลับมาค้าอีก
- กดดันให้ผู้ค้ารายย่อยที่หลงเหลือ / รายใหม่ เข้ารายงานตัวและนําเข้าโครงการทําความดีเพื่อแผ่นดิน
- กดดันจับกุมผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่ยังไม่เลิกพฤติการณ์ และส่งเข้าระบบบังคับบําบัด ฟื้นฟู รวมทั้ง
จัดการติดตามดูแลช่วยเหลือและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดที่ผ่านการบําบัดให้สามารถใช้ชีวิตปกติ และไม่หวน
กลับไปเสพซํ้า
3) การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด ( Demand )
- ป้องกันกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ควบคุมปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริม สมาชิกของ
หมู่บ้าน / ชุมชน มีส่วนร่วมดําเนินกิจกรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และดํารงความ เข้มแข็งของพลัง
แผ่นดินชุมชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
- ดูแลและป้องกัน โรงเรียนและสถานประกอบการ ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยการให้
การศึกษาให้ตระหนักถึงโทษ พิษภัยยาเสพติด ตลอดจนจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งจัดระเบียบควบคุม
ตรวจตราแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติดและแหล่งมั่วสุมในโรงเรียน สถานประกอบการ บ้านพักและหอพัก
4) การเสริมสร้างหมู่บ้าน / ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
- ขยายการดําเนินงานสร้างหมู่บ้าน / ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้ครบทุกพื้นที่แล้ว และดํารงความเข้มแข็ง
ของพลังแผ่นดินและชุมชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางดําเนินการ ดังนี้
ผลการดําเนินงานของ ศตส.อ.วัฒนานคร
 จากการดําเนินการป้องกันและปราบปราม ในช่วงปฏิบัติการพลังไทยทั้งชาติขจัดยาเสพติด ของ ศตส.อ.
วัฒนานคร สามารถลดสัดส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเพิ่มจํานวนผู้ประสานพลังแผ่นดินฯ
ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยตั้งแต่ 1 ต.ค. 2548 จนถึงปัจจุบัน สามารถจับกุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
และเพิ่มจํานวนผู้ประสานพลังแผ่นดินฯ ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1) จับกุมผู้ค้า จํานวน 16 ราย 20 คน เป็นชาวกัมพูชา 1 คนของกลาง
ยาบ้า 2,125 เม็ด ยาไอซ์ 0.5 กรัม
2) จับกุมผู้เสพ จํานวน 40 ราย 40 คน ส่งดําเนินคดีและบําบัดแล้ว
จํานวน 39 คน อยู่ระหว่างติดตามดําเนินคดี จํานวน 1 คน
3) จัดตั้งผู้ประสานพลังแผ่นดินเพิ่มเติม จํานวน 2,210 คน
รายละเอียดผลการดําเนินงานคาราวานแก้จน
 ความสําเร็จในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม
 - รูปแบบการแก้ไขปัญหาที่โดดเด่น ศตจ.อ.วัฒนานครได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร ได้ให้ความช่วยเหลือนางมาลา เชื้อเนตร ผู้จดทะเบียนปัญหาหนี้สินภาค
ประชาชน ( หนี้นอกระบบ )
 เดิมนางมาลา ฯ ได้เช่าที่ทํานาแล้วเกิดแห้งแล้ง ขาดทุนไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าที่ต้องไปกู้หนี้นอกระบบมา
ลงทุนทํานาใหม่ก็ขาดทุนอีกเลยหันเหชีวิตมาเป็นแม่ค้าขายของ พอมีรายได้เพิ่มมาก็ต้องเอาไปใช้หนี้ให้กับ
เจ้าหนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันลูกๆ ก็ต้องศึกษาสูงขึ้น ทําให้นางมาลา ฯ ต้องกู้หนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าเก่าทําให้ไม่มีเงิน
ที่จะไปใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้คืน จึงทําให้เจ้าหนี้ต้องทวงถามเกี่ยวกับหนี้สินนางมาลา ฯ ต้องทํางานหนักเพิ่มขึ้น
แต่รายได้ก็ยังไม่พอเพียงที่ใช้จ่ายในครอบครัวและใช้หนี้ จึงทําให้สามีต้องแยกไปทํางานต่างจังหวัดเพื่อหาเงิน
มาใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ จนกระทั่งเดือนมกราคม 2547 รัฐบาลประกาศให้ประชาชนที่มี
ปัญหาต่าง ๆ มาจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน กับทางอําเภอ นางมาลา ฯ ได้มาจดทะเบียน
กับทางอําเภอในปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และปัญหาที่อยู่อาศัย ซึ่งทางอําเภอได้จัดทําโครงแก้ไขปัญหา
หนี้สินภาคประชาชน ในเดือนมิถุนายน 2547 นางมาลา ฯ ได้เดินทางมาพบกับคณะทํางานแก้ไขปัญหาหนี้สิน
ภาคประชาชน เพื่อประนีประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ แต่แล้วเจ้าหนี้ก็ไม่มาพบตามที่ได้ตกลงกับนางมาลา ฯ ไว้
จึงทําให้นางมาลา ฯ ต้องทําแบบ น.2 ยุติ ไป ต่อมาเมื่อวันที่ 25 เดือนมกราคม 2548 นางมาลา ฯ ได้มา
ร้องเรียนขอความช่วยเหลือกับทางอําเภอ โดยแจ้งว่านางมาลา ฯ ได้ไปกู้เงินจากนายยงยศ วัฒนะพยา
จํานวน 6 ครั้ง รวมเป็นเงิน 73,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 7 บาทต่อเดือน โดยไม่ได้ทําสัญญากู้ยืมนางมาลา ฯ
ตกลงจะใช้หนี้ให้เดือนละ 5,350 บาท แต่นางมาลา ฯ ไม่สามารถใช้หนี้ได้จึงทําให้นายยงยศ วัฒนะพยา
ขู่บังคับให้ใช้หนี้ โดยที่นางมาลา ฯ ไม่สามารถใช้หนี้ได้ จึงร้องขอความช่วยเหลือให้ทางอําเภอช่วยประนอมหนี้
กับนายยงยศ ฯ ให้ ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ทําหนังสือถึงนายยงยศ ฯ เพื่อมาพบและเจรจาประนอมหนี้กับ
นางมาลา ฯ ซึ่งผลปรากฏว่า นายยงยศ ฯ ได้ตกลงกับนางมาลา ฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ว่า ขอเงินต้นแค่ 70,000
บาท ดอกเบี้ยไม่คิดขอแต่เงินต้นคืนเท่านั้น ทางอําเภอจึงได้จัดทํา แบบ น.2 ขึ้นใหม่ อีก 1 ฉบับ ลงวันที่
10 กุมภาพันธ์ 2548 ส่งให้ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาวัฒนานคร เพื่อพิจารณาดําเนินการ
ต่อไป หลังจากนั้นไม่นานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาวัฒนานคร ได้พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้กับ
นางมาลา ฯ โดยมีบุคคลที่ร่วมกลุ่มคํ้าประกัน
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 โดยมีนายยงยศ ฯ เป็นคนไปรับเงินพร้อมกับนางมาลา ฯหลังจากที่นางมาลา ฯ ได้ใช้
หนี้ให้กับนายยงยศ ฯ แล้ว สภาพความเป็นอยู่ของนางมาลา ฯ ก็ดีขึ้น เป็นหนี้ในระบบดอกเบี้ยถูก ครอบครัวมี
ความสุข มีเงินเก็บ สามารถปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และต่อเติมที่อยู่อาศัยจากบ้านหลังเล็ก ๆ เป็นบ้านที่
มั่นคง ลูก ๆ ได้เรียนสูงขึ้น คนโตเรียน ปวส. ปีที่ 2 โรงเรียน พานิชยการธนบุรี เขตธนบุรี กรุงเทพ คนเล็ก
เรียน ชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนสําเร็จวิทยา อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สามีประกอบอาชีพรับจ้าง
ขับรถสิบล้อ รายได้ดี
 สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน
- การร่วมมือของหน่วยงาน / องค์กรที่เกี่ยวข้อง ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการ
เอกชน ห้างร้านต่าง ๆ ในการช่วยเหลือผู้จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน เช่น ปัญหานักเรียน /
นักศึกษาให้มีรายได้ที่เหมาะสม ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้จัดทําหนังสือถึงหน่วยงานเอกชน ห้างร้านต่าง ๆ เพื่อ
สอบถามความต้องการที่จะจ้างนักเรียน / นักศึกษา ทํางานหารายได้ช่วงปิดภาคเรียนบ้างหรือไม่
- การบูรณาการการแก้ไขปัญหา ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาความ
ยากจนในรูปแบบของคณะกรรมการพหุภาคีโดยมีการจัดประชุมมอบหมายภารกิจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
3. การแก้ไขปัญหา
- ผลการดําเนินงานแยกตามรายปัญหา
1. ปัญหาที่ดินทํากิน มีผู้จดทะเบียนจํานวน 8,953 ราย
- ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 8,477 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 476 ราย
- ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ จํานวน 83 ราย
- อยู่ระหว่างการช่วยเหลือ จํานวน 12 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 381 ราย
2. ปัญหาคนเร่ร่อน มีผู้จดทะเบียนจํานวน 3 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 3 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 3 ราย
3. ปัญหาประกอบอาชีพผิดกฎหมาย มีผู้จดทะเบียนจํานวน 6 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 6 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 6 ราย
4. ปัญหานักเรียน / นักศึกษา มีรายได้เหมาะสม มีผู้จดทะเบียน จํานวน 655 ราย
- ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 157 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 498 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 498 ราย
5. ปัญหาการถูกหลอกลวง มีผู้จดทะเบียน จํานวน 46 ราย
- ไม่ประสงค์ขอรับการช่วยเหลือ จํานวน 21 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 25 ราย
- ได้รับความช่วยเหลือแล้ว จํานวน 25 ราย
6. ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน มีผู้จดทะเบียน จํานวน 7,592 ราย
- ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 7,346 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 246 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 246 ราย
7. ปัญหาที่อยู่อาศัย มีผู้จดทะเบียน จํานวน 2,758 ราย
- ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 2,227 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 531 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 22 ราย
- อยู่ระหว่างการช่วยเหลือ จํานวน 509 ราย
8. ปัญหาด้านอื่น ๆ มีผู้จดทะเบียน จํานวน 395 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 395 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 395 ราย
สรุปข้อมูลผู้จดทะเบียน
- ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 18,228 ราย
- ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 2,180 ราย
- ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ จํานวน 83 ราย
- อยู่ระหว่างการช่วยเหลือ จํานวน 521 ราย
- ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 1,576 ราย
- ปัญหาอุปสรรค
- ด้านการจัดเก็บข้อมูล Re-Check ของผู้จดทะเบียนแก้ไขปัญหาสังคมแลความยากจน
ดําเนินการ แล้วเสร็จเป็นบางส่วนเนื่องจากส่วนที่เหลือ ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ออกไปจัดเก็บข้อมูลแล้ว แต่
ราษฎรบางส่วนไม่อยู่ในพื้นที่บางส่วนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร
- ด้านระบบออนไลน์ มีปัญหาในเรื่องของคอมพิวเตอร์ใช้งานมานาน Ram ตํ่าและมีปัญหา
ขัดข้องบ่อยครั้ง จึงทําให้การบันทึกข้อมูล Re-Check ลงในระบบออนไลน์บันทึกได้เฉลี่ยวันละ 50 คน
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอในการคีย์ข้อมูล จะคีย์ข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อภารกิจของ งานทะเบียนและบัตรแล้ว
แล้วเสร็จไม่มีราษฎรมาใช้บริการจึงจะได้ดําเนินการ
- ข้อเสนอแนะ
- เห็นควรเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ให้มี Ram สูงขึ้นกว่าเก่า
4. ผลการดําเนินการของชุมชน/ องค์กรชุมชนที่มีผลงานดีเด่น
- รูปแบบการดําเนินการ ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้จัดทําคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง
ภาครัฐและเอกชน
- ผลงานโดยรวม หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
5. การดําเนินงานภาคประชาชน
- รูปแบบการดําเนินงาน ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ออกจัดเก็บข้อมูล
Re-Check แบบเคาะประตูบ้าน
- การดําเนินงานของภาคประชาชนที่มีผลงานดีเด่น
ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร
ได้ให้ความช่วยเหลือนางมาลา เชื้อเนตร ผู้จดทะเบียนปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ( หนี้นอกระบบ )
ภาพถ่ายกิจกรรม
โครงการ SML
 ปี 2549 อําเภอวัฒนานครมีหมู่บ้านในโครงการ SML ทั้งหมด 112 หมู่บ้าน ดังนี้
 หมู่บ้านขนาด S 41 หมู่บ้าน 56 โครงการ
 หมู่บ้านขนาด M 50 หมู่บ้าน 68 โครงการ
 หมู่บ้านขนาด L 21 หมู่บ้าน 28 โครงการ
 จํานวนเงินโอนโครงการ SML เป็นเงิน 27,050,000 บาท
 หมู่บ้านที่เบิกจ่ายเงินแล้วมี 107 หมู่บ้าน เป็นจํานวนเงิน 26,047,006 บาท
 หมู่บ้านที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินและได้รับการอนุมัติแล้วมี 3 หมู่บ้านดังนี้
 บ้านหนองยาง หมู่ที่ 3 ตําบลโนนหมากเค็ง ( S ) ไม่ทราบเหตุผล
 บ้านบุกะสังข์ หมู่ที่ 2 ตําบลหนองแวง ( S ) ไม่ทราบเหตุผล
 บ้านห้วยโจด หมู่ที่ 1 ตําบลห้วยโจด ( L ) ไม่ทราบเหตุผล
 หมู่บ้านที่เบิกจ่ายเงินยังไม่หมดมี 1 หมู่บ้านดังนี้
 บ้านทางหลวง หมู่ที่ 9 ตําบลวัฒนานคร ( S ) คณะกรรมการหมู่บ้านได้ดําเนินการเบิกจ่ายเงิน
ไปเพียง 197,006 บาท คงเหลือ 52,994 บาท ไม่ทราบเหตุผลเพิ่มเติม
 หมู่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงการที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติมี 1 หมู่บ้านดังนี้
 บ้านแซร์ออ หมู่ที่ 11 ตําบลแซร์ออ ( M ) เพราะโครงการเดิมราษฎรในหมู่บ้านไม่ยินยอม
สรุปจํานวนเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายทั้งสิ้น 1,002,994 บาท
เศรษฐกิจพอเพียง
 อําเภอวัฒนานครมีหมู่บ้านเป้าหมายที่จะดําเนินงานตามเศรษฐกิจพอเพียง 9 หมู่บ้าน ใน
ปี 2549 ดังนี้
 บ้านทดหลวง หมู่ที่ 6 ตําบลผักขะ
 บ้านโคกสว่าง หมู่ที่ 2 ตําบลหนองหมากฝ้าย
 บ้านหนองหมู หมู่ที่ 6 ตําบลหนองแวง
 บ้านทางหลวง หมู่ที่ 9 ตําบลวัฒนานคร
 บ้านหนองเรือ หมู่ที่ 1 ตําบลหนองนํ้าใส
 บ้านแผ่นดินเย็น หมู่ที่ 9 ตําบลแซร์ออ
 บ้านทับประดู่ หมู่ที่ 10 ตําบลท่าเกวียน
 บ้านเนินพัฒนา หมู่ที่ 7 ตําบลห้วยโจด
 บ้านคลองทราย หมู่ที่ 8 ตําบลหนองตะเคียนบอน
นายอําเภอวัฒนานคร
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร
ปกครอง ป้องกัน ทะเบียน
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง
สํานักงาน บัตรการเงินและบัญชี
สย
พนักงานราชการ สย
สย สย
สย สย
สย
นักการภารโรง
อัตรากําลังอําเภอวัฒนานคร
บรรยายสรุป
อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
ที่ทําการปกครองอําเภอ
ฝ่ายบริหารงานปกครองอําเภอ
โทร / โทรสาร 0 3726 1110

More Related Content

What's hot

เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)Choengchai Rattanachai
 
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563SuparatMuangthong
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปกshikapu
 
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพร
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพรแบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพร
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพรNontaporn Pilawut
 
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)Nomjeab Nook
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นโครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นอนุชา โคยะทา
 
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561ungpao
 
รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ แผ่อำนาจ
รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ  แผ่อำนาจรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ  แผ่อำนาจ
รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ แผ่อำนาจSomchart Phaeumnart
 
รายงานออกแบบ
รายงานออกแบบรายงานออกแบบ
รายงานออกแบบparwaritfast
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจPawit Chamruang
 
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheetPrachoom Rangkasikorn
 
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์Thanawut Rattanadon
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชChoengchai Rattanachai
 
แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์098108120511
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51
สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51
สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51Watcharapon Donpakdee
 
คีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยคีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยleemeanshun minzstar
 
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565MungMink2
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชChoengchai Rattanachai
 

What's hot (20)

เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
 
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำวันพฤหัสบดี 1-2563
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพร
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพรแบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพร
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองนนทพร
 
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นโครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
 
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
 
รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ แผ่อำนาจ
รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ  แผ่อำนาจรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ  แผ่อำนาจ
รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานตำแหน่งครูผู้ช่วย นายสมชาติ แผ่อำนาจ
 
รายงานออกแบบ
รายงานออกแบบรายงานออกแบบ
รายงานออกแบบ
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
 
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 2+443+dltvsocp3+T2 p1 3-sheet
 
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51
สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51
สรุป หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51
 
คีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยคีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทย
 
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 

Viewers also liked

ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7Nongkran Jarurnphong
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)Nongkran Jarurnphong
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙Nongkran Jarurnphong
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓Nongkran Jarurnphong
 

Viewers also liked (7)

กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑
 
ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
 
กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
 
Flickr
FlickrFlickr
Flickr
 

More from Thida Noodaeng

คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียน
คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนคุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียน
คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนThida Noodaeng
 
พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์Thida Noodaeng
 
โครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
โครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาโครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
โครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาThida Noodaeng
 
แรงจูงใจในการทำงาน
แรงจูงใจในการทำงานแรงจูงใจในการทำงาน
แรงจูงใจในการทำงานThida Noodaeng
 
ความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรอง
ความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรองความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรอง
ความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรองThida Noodaeng
 
ลักษณะของการเจรจาต่อรอง
ลักษณะของการเจรจาต่อรองลักษณะของการเจรจาต่อรอง
ลักษณะของการเจรจาต่อรองThida Noodaeng
 
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์Thida Noodaeng
 
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรองกระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรองThida Noodaeng
 
การจัดการคุณภาพ 1
การจัดการคุณภาพ 1การจัดการคุณภาพ 1
การจัดการคุณภาพ 1Thida Noodaeng
 
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟThida Noodaeng
 
รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์Thida Noodaeng
 
บทที่ 5 นโยบายมหาภาค
บทที่ 5 นโยบายมหาภาคบทที่ 5 นโยบายมหาภาค
บทที่ 5 นโยบายมหาภาคThida Noodaeng
 
การใช้พลังงานนิวเคลียร์
การใช้พลังงานนิวเคลียร์การใช้พลังงานนิวเคลียร์
การใช้พลังงานนิวเคลียร์Thida Noodaeng
 
พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้าThida Noodaeng
 

More from Thida Noodaeng (14)

คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียน
คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนคุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียน
คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียน
 
พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์
 
โครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
โครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาโครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
โครงการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
 
แรงจูงใจในการทำงาน
แรงจูงใจในการทำงานแรงจูงใจในการทำงาน
แรงจูงใจในการทำงาน
 
ความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรอง
ความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรองความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรอง
ความหมายและความสำคัญของการเจรจาต่อรอง
 
ลักษณะของการเจรจาต่อรอง
ลักษณะของการเจรจาต่อรองลักษณะของการเจรจาต่อรอง
ลักษณะของการเจรจาต่อรอง
 
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์
 
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรองกระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
 
การจัดการคุณภาพ 1
การจัดการคุณภาพ 1การจัดการคุณภาพ 1
การจัดการคุณภาพ 1
 
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
ผู้นำ ลีดเดอร์ชิฟ
 
รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์
 
บทที่ 5 นโยบายมหาภาค
บทที่ 5 นโยบายมหาภาคบทที่ 5 นโยบายมหาภาค
บทที่ 5 นโยบายมหาภาค
 
การใช้พลังงานนิวเคลียร์
การใช้พลังงานนิวเคลียร์การใช้พลังงานนิวเคลียร์
การใช้พลังงานนิวเคลียร์
 
พลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า
 

ข้อมูลทั่วไปของอำเภอวัฒนานคร (อ้างอิงจากนายวิฑูรย์)

  • 3. รายนามและประวัติผู้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอวัฒนานคร ลําดับที่ ชื่อ - สกุล ระยะเวลาการดํารงตําแหน่ง ตั้งแต่ ถึง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 /20 นายแสวง วิมุกตานนท์ นายสุรินทร์ ชัชวาลย์ นายเพ็ชร อภิรัตนรังษี เรืออากาศเอกสมศักดิ์ โสมาภา นายถนอม เกตุงาม นายสหัส พินทุเสนีย์ นายเกษม ชัยสิทธิ์ นายจเด็จ อินสว่าง นายชัยขรรค์ ชาครียรัตน์ นายสมชาย ชุ่มรัตน์ นายปรีชา บุตรศรี นายจารุพงศ์ พลเดช นายศานิตย์ นาคสุขศรี นายโชคชัย เดชอมรธัญ นายเสรี ทวีพันธุ์ นายสมชาย อัชฌากุล นายบรรลือ สง่าจิตร นายอรรถสิทธิ์ สุขธรรมนิยม นายวิฑูรย์ ปิสาวงษ์ นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ 15 ก.ค. 2499 23 ส.ค. 2509 17 ก.พ. 2510 15 ก.ค. 2514 28 พ.ค. 2516 26 ส.ค. 2521 25 ต.ค. 2525 6 ต.ค. 2527 6 ธ.ค. 2531 3 ธ.ค. 2533 12 ต.ค. 2535 8 พ.ย. 2536 1 พ.ย. 2538 10 พ.ย. 2540 22 พ.ย. 2542 20 พ.ย. 2543 6 ต.ค. 2546 25 ก.ย. 2549 24 พ.ย. 2551 22 ก.พ 2553 11 ส.ค.2509 17 ก.พ.2510 15 ก.ค. 2514 22 มี.ค. 2516 25 ส.ค. 2521 24 ต.ค. 2525 6 ต.ค. 2527 17 ต.ค. 2531 2 ธ.ค. 2533 5 ต.ค. 2535 7 พ.ย. 2536 1 พ.ย. 2538 1 พ.ย. 2540 22 พ.ย. 2542 19 พ.ย. 2543 6 ต.ค. 2546 24 ก.ย. 2549 23 พ.ย. 2551 21 ก.พ 2553 6 ม.ค. 2555
  • 4. อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว  ประวัติความเป็นมาของอําเภอวัฒนานคร วัฒนานคร เคยมีฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันออก ของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีเจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง รับผิดชอบดูแลมาแต่ก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 111 )พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ทําการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินครั้งใหญ่ โดยยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์และจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ตามเยี่ยงอย่างตะวันตก ตั้งกระทรวง ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบอย่างเป็นสัดส่วน การจัดกาปกครองหัวเมืองก็ได้โปรดเกล้าให้ตั้ง มณฑล จังหวัด อําเภอ ตําบล หมู่บ้านขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานในการบริหารการปกครอง แผ่นดินตราบเท่าทุกวันนี้ และคงทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองวัฒนานครในขณะนั้นเป็นเมือง ขนาดเล็กที่มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก จึงโปรดเกล้าให้ยุบเมืองวัฒนานครตั้งเป็นอําเภอวัฒนานคร เมื่อปี พ.ศ. 2437 ในขณะที่ยุบเมืองวัฒนานครลงมาเป็นอําเภอวัฒนานครนั้น เจ้าเมืองวัฒนานคร คนสุดท้ายมีบรรดาศักดิ์เป็นที่พระบริบูรณ์เสบียง ปลัดเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงลําเลียงนิกร และยกกระบัตรเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงกรโภชนา ในปี พ.ศ. 2449 ได้มีการยุบอําเภออรัญประเทศลงเป็นกิ่งอําเภอและ ให้ขึ้นการปกครองกับอําเภอวัฒนานคร แต่ต่อมาประชากรของอําเภอวัฒนานครลดลง จึงถูกลดฐานะจากอําเภอวัฒนานครเป็นกิ่งอําเภอ ขึ้นการปกครองกับอําเภออรัญประเทศ ในปี พ.ศ. 2456 อําเภอวัฒนานคร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอําเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2499 ตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2499 ซึ่งได้ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 56 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2499
  • 5. คําขวัญอําเภอวัฒนานคร ปราสาทห้วยพะใย นํ้าเย็นใสเขื่อนพระปรง สักการะองค์นเรศวรเจ้า ไหว้หลวงพ่อขาวประจําปี แทนไมตรีด้วยข้าวหลาม พันธุ์ไม้งามสวนเฉลิมพระเกียรติ วิสัยทัศน์อําเภอวัฒนานคร วัฒนานครเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่อุตสาหกรรมการเกษตร เขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอําเภอ 1. ด้านกายภาพ ลักษณะที่ตั้ง ที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร เป็นอําเภอหนึ่งในจังหวัดสระแก้วที่ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันตกของจังหวัดสระแก้ว ห่างจากรอยต่อจังหวัดประมาณ 29 กิโลเมตร เนื้อที่ อําเภอวัฒนานครมีเนื้อที่ 1,560 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 975,000 ไร่ อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอครบุรี อําเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอตาพระยา อําเภออรัญประเทศ และกิ่งอําเภอโคกสูง จังหวัด สระแก้ว ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอเมืองสระแก้ว อําเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทางตอนเหนือเป็นที่ราบสูงลาดเทลงมาทางตอนใต้ นํ้าจึงไหลมาทางตอนใต้ ซึ่งแยกเป็น 2 สาย สายที่ 1 ไหลผ่านอําเภอเมืองสระแก้วไปบรรจบกับลําคลองพระสทึง ไหลไปกบินทร์บุรีรวมกับแม่นํ้าบางประกง สายที่ 2 ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านคลอง พรมโหดเข้าอําเภออรัญประเทศเข้าสู่ประเทศกัมพูชา
  • 6. ภูมิอากาศ ลักษณะทางภูมิอากาศแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ 1. ฤดูร้อน หรือฤดูก่อนฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือน พฤษภาคม อากาศอบอ้าวโดยเฉพาะเดือนเมษายน เป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด 2. ฤดูฝน หรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็น ระยะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย อากาศจะเริ่มชุ่มชื้น จะมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยมีฝนตกมากที่สุด ในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน แต่ในระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม อาจจะมีอากาศแล้งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้ เนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง 3. ฤดูหนาวหรือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือน กุมภาพันธ์ อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง แต่เนื่องจากจังหวัดสระแก้วอยู่ปลายกระแสลมหนาว และ เทือกเขาทางตอนเหนือของจังหวัดขวางกั้นมวลอากาศเย็น อากาศจึงไม่หนาวเย็นมากนัก พื้นที่และการใช้ประโยชน์ พื้นที่ของอําเภอวัฒนานคร ด้านเหนือมีสภาพเป็นภูเขา ยังมีป่าไม้หนาแน่นอยู่ในเขตอุทยาน ชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของชาติ การถือครองที่ดินของราษฎรส่วนใหญ่เป็นหนังสือ รับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.)และโฉนดที่ดิน 2. การปกครอง แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 11 ตําบล (เป็น อบต.ทั้ง 11 แห่ง ) 115 หมู่บ้าน มีเทศบาลตําบล 1 แห่ง (เทศบาลตําบลวัฒนานคร) ดั้งนี้ 1. ตําบลวัฒนานคร มี 14 หมู่บ้าน 2. ตําบลหนองนํ้าใส มี 10 หมู่บ้าน 3. ตําบลห้วยโจด มี 7 หมู่บ้าน 4. ตําบลช่องกุ่ม มี 9 หมู่บ้าน 5. ตําบลผักขะ มี 13 หมู่บ้าน 6. ตําบลท่าเกวียน มี 14 หมู่บ้าน 7. ตําบลโนนหมากเค็ง มี 9 หมู่บ้าน 8. ตําบลหนองหมากฝ้าย มี 8 หมู่บ้าน 9. ตําบลหนองแวง มี 7 หมู่บ้าน 10. ตําบลหนองตะเคียนบอน มี 10 หมู่บ้าน 11. ตําบลแซร์ออ มี 14 หมู่บ้าน
  • 7. ประชากร มีประชากรทั้งสิ้น 79,767 คน แยกเป็นชาย 40,226 คน หญิง 39,541 คน จํานวน 23,756 ครัวเรือน 3. ด้านโครงการสร้างพื้นฐาน การไฟฟ้า มีสํานักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 แห่ง ราษฎรมีไฟฟ้าใช้ จํานวน 19,579 ครัวเรือน การประปา มีการประปาระดับอําเภอและตามตําบล หมู่บ้าน ดังนี้ 1. การประปาส่วนภูมิภาค จํานวน 1 แห่ง 2. การประปาหมู่บ้าน จํานวน 21 แห่ง ครัวเรือนมีประปาใช้ 7,619 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ .......... การโทรศัพท์ มีหมู่บ้านที่มีโทรศัพท์ใช้ 100 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 86.95 มีครัวเรือนที่มีโทรศัพท์ใช้ 860 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 4.16 % จํานวนโทรศัพท์สาธารณะ 115 แห่ง การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างอําเภอต่าง ๆ และจังหวัดสระแก้ว รวมทั้งการคมนาคมภายในตําบล หมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้ 1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 33 สระแก้ว - อรัญประเทศ 2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 317 สระแก้ว - จันทบุรี 3. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 348 อรัญประเทศ - ตาพระยา - บุรีรัมย์ 4. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3197 ห้วยโจด - บ้านบ่อนางชิง 5. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3198 วัฒนานคร - บ้านแซร์ออ - บ้านหนองสังข์ 6. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3393 บ้านช่องกุ่ม - บ้านแก้วเพชรพลอย 7. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3395 วัฒนานคร - คลองหาด - ทุ่งขนาน 8. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3307 บ้านหนองเทา - บ้านวังรี 9. ทางหลวงชนบท หมายเลข 3317 ระหว่างบ้านท่าเกษม ถึงบ้านคลองทราย 10. ทางหลวงชนบท หมายเลข 3013 ระหว่างบ้านไทยสามารถ ถึงบ้านบุกะสัง 11. ทางหลวงชนบท หมายเลข 3077 ระหว่างบ้านแซร์ออ ถึงบ้านเขาน้อยพรมสุวรรณสําหรับ เส้นทางเชื่อมต่อตําบลและหมู่บ้านเป็นสภาพถนนลูกรัง จํานวน 22 สาย
  • 8. การคมนาคมติดต่อสื่อสาร มีที่ทําการไปรษณีย์โทรเลข จํานวน 1 แห่ง การสาธารณูปโภค แหล่งนํ้าอุปโภค บริโภค มีดังนี้ 1. บ่อนํ้าบาดาล บ่อตอก บ่อเจาะ จํานวน 565 แห่ง 2. บ่อนํ้าตื้น จํานวน 843 แห่ง 3. สระนํ้า ( 100 ตารางวาขึ้นไป ) จํานวน 538 แห่ง 4. ประปาหมู่บ้าน จํานวน 21 แห่ง 5. อ่างเก็บนํ้า จํานวน 24 แห่ง 6. หนองบึง จํานวน 61 แห่ง 4. ด้านเศรษฐกิจ รายได้ 1. น้อยกว่า 10,000 จํานวน 2,692 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 16.4 2. 10,000 - 19,999 จํานวน 3,910 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 23.9 3. 20,000 - 29,999 จํานวน 3,122 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 19.1 4. 30,000 - 49,999 จํานวน 3,069 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 18.7 5. 50,000 - 99,999 จํานวน 1,873 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.4 6. 100,000 - 499,999 จํานวน 744 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 4.5 7. 500,000 ขึ้นไป จํานวน 135 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.8 ( ไม่ทราบข้อมูล 837 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 5.1 ) การเกษตรกรรม อําเภอวัฒนานครมีพื้นที่ทําการเกษตรทั้งสิ้น 447,715 ไร่ ราษฎรประกอบอาชีพทางการเกษตร จํานวน 11,848 ครัวเรือน สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สําคัญได้แก่ ข้าว มันสําปะหลัง ถั่วเหลือง ข้าวโพด อาหารสัตว์ อ้อย และปอแก้ว การประมง มีการประมงนํ้าจืดบริเวณเขื่อนพระปรง และการเลี้ยงปลานํ้าจืด จํานวน 886 บ่อ ในพื้นที่ 249.47 ไร่ จํานวน 848 ครัวเรือน การปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโคนม กระบือ สุกร แพะ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ และเป็ดเทศ
  • 9. การอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ดําเนินการและประกอบการจํานวน ........ แห่ง อยู่ที่ ตําบลหนองนํ้าใส ตําบลวัฒนานคร ตําบลห้วยโจด และตําบลแซร์ออ แรงงาน จากจํานวนประชากร 79,767 คน มีแรงงานชายที่มีงาน 70 % ว่างงาน 10 % แรงงานอพยพ 20 % แรงงานหญิงที่มีงานทํา 62 % ว่างงาน 18 % แรงงานอพยพ 20 % การพาณิชย์ 1. มีตลาดศูนย์การค้าเทศบาลตําบลวัฒนานคร จํานวน 1 แห่ง 2. มีตลาดศูนย์การค้าสุวิทยพันธุ์ (โรงแรมนครอินทร์ ) จํานวน 1 แห่ง 3. สหกรณ์ 5 แห่ง ได้แก่ 3.1 สหกรณ์การเกษตรวัฒนานคร จํากัด 3.2 สหกรณ์การเกษตรตําบลหนองนํ้าใส จํากัด 3.3 สหกรณ์ปศุสัตว์บ้านแซร์ออ จํากัด 3.4 สหกรณ์ออมทรัพย์ ร.12 พัน 2 รักษาพระองค์ จํากัด 3.5 สหกรณ์เดินรถยนต์วัฒนา จํากัด การบริการ มีโรงแรม จํานวน 3 แห่ง สถานบริการและเริงรมย์ จํานวน 1 แห่ง การท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญ ได้แก่ 1. สวนเฉลิมพระเกียรติอําเภอวัฒนานคร 2. อ่างเก็บนํ้าท่ากระบาก 3. อ่างเก็บนํ้าทับประดู่ 4. ศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าช่องกลํ่าบน 5. อ่างเก็บกักนํ้าห้วยพระใย 6. ปราสาทน้อยห้วยพระใย 7. โบราณสถานคลองหินสิ่ว 8. เขื่อนพระปรง
  • 10. การเงินการคลัง มีธนาคาร จํานวน 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ( มหาชน ) จํากัด ธนาคารออมสิน จํากัด และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โรงรับจํานําเทศบาลตําบล 1 แห่ง 5. สภาพทางสังคม การศึกษา มีสถานศึกษาสังกัด - ทบวงมหาวิทยาลัย จํานวน 1 แห่ง ( ม.บูรพา ) - กรมอาชีวศึกษา จํานวน 1 แห่ง (วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว) - สพฐ. จํานวน 53 โรงเรียน รวมโรงเรียนมัธยม ระบบการศึกษานอกโรงเรียน - กลุ่มวิชาชีพระยะสั้น จํานวน 44 กลุ่ม - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจําหมู่บ้าน จํานวน 20 แห่ง - ห้องสมุดประชาชน จํานวน 1 แห่ง การศึกษาอื่น ๆ - โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม จํานวน 10 แห่ง - หน่วยอบรมประชาชน จํานวน 4 แห่ง การศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา ดังนี้ 1. วัด จํานวน 46 แห่ง 2. ที่พักสํานักสงฆ์ จํานวน 22 แห่ง 3. ศาลเจ้า จํานวน 1 แห่ง 4. โบสถ์คาทอลิก จํานวน 1 แห่ง ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี อําเภอวัฒนานคร มีประเพณีที่สําคัญ ๆ ดังนี้ 1. ประเพณีสงกรานต์และวันกตัญ�ู จะดําเนินการจัดงานทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี 2. ประเพณีลอยกระทง จะจัดงานช่วงเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี 3. ประเพณีสืบสานวัฒนธรรมไทยในเทศกาลเข้าพรรษา จะจัดงานช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี 4. ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนครธรรม จะจัดงานช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี 5. จัดงานรําลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะจัดงานในวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี
  • 11. การสาธารณสุข มีการให้บริการด้านการสาธารณสุข ดังนี้ 1. โรงพยาบาลวัฒนานคร ( 60 เตียง ) จํานวน 1 แห่ง 2. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ จํานวน 1 แห่ง 3. สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ จํานวน 1 แห่ง 4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จํานวน 21 แห่ง 5. สํานักงานควบคุมโรคนําโดยแมลงที่ 3.2.5 จํานวน 1 แห่ง 6. สถานพยาบาลของเอกชน จํานวน 3 แห่ง 7. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จํานวน 6 แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดนํ้า 100 % - มีหอกระจายข่าว จํานวน 97 แห่ง ครอบคลุมได้ 88.99 % ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสถานีตํารวจภูธรอําเภอ / ตําบล จํานวน 3 แห่ง คือ 1. สถานีตํารวจภูธรวัฒนานคร 2. สถานีตํารวจภูธรหนองหมากฝ้าย 3. สถานีตํารวจภูธรบ้านทับใหม่ 6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรดิน สภาพดินของอําเภอวัฒนานครมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย และในบางพื้นยังต้องมีการปรับปรุงดิน จึงจะสามารถปลูกพืชไร่ ทําสวนและทํานาได้ ทรัพยากรนํ้า การเกษตรในเขตอําเภอวัฒนานคร ส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยฝนธรรมชาตินอกจากนี้ยังมีห้วยพรมโหดซึ่งเป็น แหล่งนํ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่ต้องมีการปรับปรุงให้มีสภาพที่ดีขึ้นกว่านี้จึงจะสามารถให้การรองรับกับความ ต้องการของเกษตรกรได้ ทรัพยากรป่าไม้ อําเภอวัฒนานครมีพื้นที่ป่าไม้ที่สําคัญ ได้แก่ บริเวณอุทยานแห่งชาติปางสีดา มีเนื้อที่ 175,833 ไร่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4 ตําบล คือ ตําบลหนองหมากฝ้าย ตําบลหนองตะเคียนบอน ตําบลแซร์ออ และตําบล ช่องกุ่ม
  • 12. ปัญหาความต้องการของอําเภอ 1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถือว่าเป็นปัญหาหลักที่ต้องเร่งให้มีพัฒนาเพื่อรองรับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ซึ่งอําเภอ วัฒนานคร มีศักยภาพพร้อมที่จะดําเนินการได้ แต่ยังขาดผู้ลงทุนและงบประมาณจากทางราชการให้การ สนับสนุน 2. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมการเกษตรและอาชีพ ถือว่าเป็นปัญหาที่สําคัญอีกปัญหาหนึ่ง ซี่งมีปัญหาความต้องการที่สําคัญ เช่น การเพิ่มพูน รายได้ ด้านการตลาด ขาดการลงทุนด้านอุตสาหกรรม 3. การพัฒนาสังคมและชุมชน มีปัญหามากมาย เช่น การสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชรา การว่างงาน หนี้สิน ประชาชน ที่ดินทํากิน การปลูกฝังจิตสํานึกและยกระดับจิตใจของประชาชนให้สูงขึ้น 4. ความปลอดภัยในชีวิตประจําวันและทรัพย์สินตลอดจนภัยธรรมชาติ เนื่องจากอําเภอวัฒนานครมีพื้นที่ไม่ติดกับแนวชายแดน จึงทําให้เหมาะสมที่จะเป็นเมืองที่อยู่ อาศัย หรือเป็นศูนย์กลางของจังหวัดในด้านการค้า เพราะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูงโดยเฉพาะ ความปลอดภัยในปัญหายาเสพติด ซึ่งชุมชนนั้นมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างดี ปัญหาในด้านนี้ที่ พอจะพบเห็นและต้องการการแก้ไข เช่น ลักลอบขนยาเสพติดผ่านแดน หลบหนีเข้าเมือง และแรงงานต่างด้าว 5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อําเภอวัฒนานคร ถือว่าเป็นอําเภอที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมาก เป็นต้น กําเนิดของแม่นํ้า เนื่องจากทิศเหนือของอําเภอเป็นเทือกเขาบรรทัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ ทําให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปัญหาลักลอบตัดไม้ ปัญหาบุกรุกที่ป่าสงวน และปัญหามลพิษในเขตเมือง 6. การพัฒนาการบริหารและงานบริการ การบริหารและบริการมีปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น ขาดศูนย์เทคโนโลยีประจําหมู่บ้าน ขาดศูนย์ การศึกษาซึ่งต้องเข้าไปให้ถึงระดับหมู่บ้าน และการให้บริการของรัฐที่ไม่ทั่วถึง
  • 13. สถานที่และสิ่งสําคัญอําเภอวัฒนานคร  พระบรมสารีริกธาตุ พระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ พระครูวัฒนานครกิจ เจ้าอาวาสวัดนครธรรม ซึ่งเป็นเจ้าคณะ อําเภอได้นิมนต์จากพระทีมิยะเว อะมะระวังสะ มหาเถระ อธิบดีสงฆ์วัดอะภินะวะรามะเมืองโอเบ เสกะระปุระ ประเทศศรีลังกา ให้เดินทางไปรับพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็น ประธานฝ่ายสงฆ์ และประธานาธิบดีศรีลังกาเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2535 โดยการประสานงานของพระมหาสมเสียน แสนบัติ ผู้อํานวยการศูนย์เผยแพร่พระศาสนา ในประเทศศรีลังกาเป็นผู้ประสานงาน พระบรมสารีริกธาตุองค์นี้มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วเขียว มีขาวใสสุกสกาวสวยงามมาก ไม่ปรากฎว่าพระบรมสารีริกธาตุบริเวณส่วนใดของพระพุทธองค์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดนครธรรม อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มาเป็นเวลาสิบสี่ปีแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพุทธศาสนิกชน ชาวพุทธได้มานมัสการปิดทองพระบรมสารีริกธาตุเป็นประจําทุกปี และเมื่อปี พ.ศ. 2537 ใน โอกาสที่อําเภอวัฒนานครครบ 100 ปีได้เริ่มให้มีการแห่สมโภชน์องค์พระบรมสารีริกธาตุออกไป โปรดพุทธศาสนิกชนรอบเมืองวัฒนานคร โดยจัดขบวนแห่ประกอบด้วยนางฟ้าและผู้ทรงศีลร่วม ขบวนถึง 2,000 กว่าคน และได้จัดเป็นประจําในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีผู้มาร่วมขบวน แห่และนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเป็นจํานวนมาก
  • 14.  หลวงพ่อขาว หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปที่รับการสร้างให้เป็นพระประธานประดิษฐานประจํา ณ วัดบ้านจิก ตําบลวัฒนานคร อําเภอวัฒนานคร มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ไม่มีผู้ใดทราบว่าสร้างขึ้น โดยใครและเมื่อใด เพียงแต่มีคําบอกเล่าสืบทอดกันมาว่า หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปทองคําขาว ที่ได้รับการอัญเชิญมาจากกรุงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี การอพยพของพลเมืองในสมัยก่อน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นอันตราย จึงได้ทําการพอกปูนปั้น องค์พระครอบหลวงพ่อขาวซึ่งเป็นทองคําขาวไว้ภายใน ตั้งประดิษฐานเป็นพระประธาน อยู่วัด บ้านจิก ตําบลวัฒนานคร ต่อมาวัดบ้านจิกได้ทรุดโทรมขาดการดูแลเอาใจใส่ ไม่สามารถปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมวัดได้ จึงถูกทอดทิ้งให้เป็นวัดร้าง เมื่อมีการสร้างวัดนครธรรม (วัดสระลพ) ตําบลวัฒนานคร ขึ้นเป็น การถาวร จึงได้มีการอัญเชิญหลวงพ่อขาวไปประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในวิหารซึ่งสร้าง เป็นอาคารไม้มุงสังกะสีอยู่บริเวณใจกลางวัดนครธรรม หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธโบราณมีลักษณะเป็นปางมารวิชัยสร้างด้วยปูนนํามาประดิษฐาน ไว้ในอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ. 2468 กล่าวกันว่า ขณะที่อัญเชิญไปวัดนครธรรมนั้น ได้ใช้ล้อเลื่อน บรรทุกไปใช้เชือกมะลิลาโยงให้ประชาชนช่วยกันฉุดลากและได้เกิดอภินิหารนํ้าพระเนตรไหล ออกจากพระเนตรของหลวงพ่อขาวและได้เกิดฝนตกติดตามมาอย่างหนัก โดยที่ไม่มีเมฆฝนตั้ง เค้ามาก่อนเลย
  • 15. หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปที่ชาววัฒนานครให้ความเคารพนับถือในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดประกอบ กรรมดี ก็จะได้ผลดีตอบสนอง ผู้ใดประกอบกรรมชั่ว หากนําไปสาบานต่อองค์ หลวงพ่อขาว จะสารภาพผลกรรมของตนทุกรายไป หลวงพ่อขาวก็เหมือนพระพุทธรูปโดยทั่วไป ที่ผู้ที่มีจิตศรัทธาสร้างจะนําอัญมณีมีค่า แก้วแหวนเงินทอง บรรจุลงในองค์พระประธาน ต่อมาปรากฎว่ามี คนร้ายได้เจาะขุดค้นเอาของมีค่าไปหมด ซึ่งคนร้ายก็ได้รับผลกรรมอย่างสาสมกับความผิดที่กระทํา ด้วยความ ตายโดยก่อนตายได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ปัจจุบันนี้วิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว ซึ่งเป็นเรือนไม้หลังคามุงสุงกะสี ซึ่งมีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่มี ความสวยงามมาก นับเป็นวิหารโบราณที่เก่าแก่อีกหลังหนึ่งในเขตอําเภอ วัฒนานคร  ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นศาลหลักเมืองของเมืองวัฒนานครมาแต่โบราณเป็นที่เคารพ สักการะของประชาชนในเขตอําเภอวัฒนานคร ตั้งอยู่ที่บ้านเมือง หมู่ที่ 5 ตําบลวัฒนานคร อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ไม่มีผู้ใดทราบว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด เป็นศาลที่คน วัฒนานครได้กราบไหว้เคารพบูชา เป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนพื้นบ้านมาโดยตลอด นับเป็น โบราณสถานที่สําคัญแห่งหนึ่งของวัฒนานคร  ค่ายพระทํานบ ค่ายพระทํานบ เป็นชื่อสถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ ที่ทรงเสด็จในการทําสงครามกับกัมพูชาในปี พ.ศ. 2126 หรือศักราช ที่ 945 ดังปรากฎในหลักฐานพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และพระราช พงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ว่า “ ศักราช 945 ปีมะแม เบญจศก ( พ.ศ. 2126 ) สมเด็จพระนเรศวร ครั้นเสด็จ การพระราชพิธีอาสวยุชแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ พลฉกรรณ์ลําเครื่อง แสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กําหนดเดือนจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี
  • 16. วันศุกร์ขึ้นคํ่าหนึ่ง เดือนอ้าย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดํารัสให้ไปตั้งพิธีชุมพล ตําบลทุ่งหันตรา...วันอังคาร ขึ้นห้าคํ่า เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกา 5 บาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอาภรณ์วิจิตร อลังการประดับสําหรับในพิชัยยุทธเสร็จ ครั้นได้เพชรฤกษ์มงคลอันประเสริฐพระโหราลั่นฆ้องไชย มีพ่อ พราหมณ์ถวายเสียงสังข์ สมเด็จพระนเรศวรทรงเจ้าพญาไชยานุภาพเป็นพระคชาธาร สมเด็จพระเอกาทศรถทรง เจ้าพระปราบไตรจักร เข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ราชาคณะประพรมนํ้าพระพุทธมนต์พญานนท์ตัดไม้ข่มนามโดย ศาสตร์ เสด็จกรีฑาพลเดินโดยสถลมารคทางด่านพระจฤติ ( พระจารึก ) ประทับรอนแรมไปตามระยะก็ถึง ตําบลค่ายทํานบ” ค่ายทํานบเป็นค่ายที่ทรงพักทัพและเป็นที่รวบรวมเสบียงทัพก่อนเสด็จในราชการสงคราม ไปจับพญาละแวกกับพระศรีสุพรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2126 ค่ายนี้ปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของบ้านสระลพ และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร (หลังเก่า ) โดยห่าง จากที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร (หลังเก่า )ไปเป็นทางตรงประมาณ 400 เมตร สภาพค่ายทํานบ ปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยเป็นคันดินกว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 3 – 4 เมตร ยาวประมาณ 400 เมตร สภาพปัจจุบันพื้นที่ค่ายทํานบกลายเป็นพื้นที่ทําการเกษตรของราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงไปแล้ว  ปราสาทหินบ้านแซร์ออ เป็นปราสาทหิน ตั้งอยู่บริเวณบ้านใหม่พัฒนา ตําบลแซร์ออ อําเภอวัฒนานคร ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเนื้อที่ 76 ไร่ 2 งาน  โบราณสถานหนองสิม เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นหนองนํ้าขนาดใหญ่ มีความกว้างมาก จํานวน 2 แห่ง ด้วยกัน ตั้งอยู่บริเวณบ้านโนน ตําบลท่าเกวียน อําเภอวัฒนานคร บริเวณที่หนึ่งมีประมาณ 3 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา บริเวณที่สองมีประมาณ 4 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา นับเป็นโบราณสถาน ที่สําคัญอีกแห่งหนึ่ง
  • 17.  พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ ทรงเสด็จทําสงครามกับกัมพูชาใน ปี พ.ศ. 2126 หรือศักราชที่ 945 และทรงนํากองทัพเดินทางไปในราชการสงคราม ทรงหยุด ประทับแรมตรวจราชการบริเวณค่ายทํานบ (หลังที่ว่าการอําเภอวัฒนานครหลังเก่า ) และทรงเคย เสด็จบริเวณนี้ถึง 2 ครั้งด้วยกัน อําเภอวัฒนานครจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อ เป็นการรําลึกสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงมีต่อชาติไทย โดยเฉพาะที่พระองค์ทรงประกาศอิสรภาพไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่าจนทําให้ชาติไทยเป็น เอกราชมาตราบเท่าทุกวันนี้ และอําเภอวัฒนานครได้ทําพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นเมื่อ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2538 และบวงสรวงดวงพระวิญญาณในวันที่ 3 เมษายน 2539 เนื่องจาก ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ท่าน ลักษณะเป็นพระบรมรูปยืน พระหัตถ์ขวาชู พระขรรค์ ปัจจุบันประดิษฐานที่สวนเฉลิมพระเกียรติอําเภอวัฒนานคร หมู่ที่ 10 ตําบลวัฒนานคร อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
  • 18.  ปราสาทหินบ้านน้อยห้วยพะใย ปราสาทหินบ้านน้อยห้วยพะใย เป็นปราสาทหินตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตําบลผักขะ อําเภอวัฒนานคร ซึ่งได้รับการขุดตรวจทางด้านโบราณคดีจากกรมศิลปากรจํานวน 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2514 และ 2516 โดยนายศิริ ดวงดี หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 5 ในขณะนั้น ปราสาทหลังนี้มีกําแพงสองชั้น ชั้นนอกเป็นกําแพงหินกว้าง 67 เมตร ยาว 80 เมตร กําแพง สูง 2.15 เมตร ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ระหว่างกําแพงชั้นนอกและกําแพงชั้นใน ด้านหน้าของปราสาททิศเหนือมีสระนํ้ากรุด้วยก้อนศิลาแลง มีความกว้าง 18 เมตร ลึก 2.50 เมตร ทางเข้าปราสาท มีทางเข้าทางเดียว คือ ทางทิศตะวันออก ตรงกลางด้านทิศตะวันตก มีซาก โบราณสถานก่อด้วยอิฐไม่มีปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหนึ่งหลัง ด้านในกําแพงทิศเหนือมีซากโบราณสถานคล้ายที่เก็บของหรือที่พักอาศัยของผู้ดูแลรักษา จํานวน 1 หลัง ตรงประตูทางเข้า – ออก มีกรอบประตูทําด้วยหินสีเขียว ก่อนการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2516 ได้มีประชาชนในตลาดวัฒนานครมอบเสากลมหินเขียว แกะสลักลวดลายสวยงาม 1 ชิ้น ยาวประมาณ 168 เซนติเมตร เป็นโบราณวัตถุเก่าแก่สมัยขอม เป็นศิลปกําพงพระ ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ซึ่งนํามาจากปราสาทหินแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้าน เรียกกันว่าอุโมงค์หรือถํ้าปราสาท และขณะที่ทําการขุดแต่งโบราณวัตถุ จํานวน 12 ชิ้น ได้นําส่ง กองโบราณคดี สําหรับโบราณวัตถุที่พบเป็นรูปฤาษี รูปทวารบาล รูปยักษ์ รูปครุฑ เศียรยักษ์ พระพุทธรูปนาคปรกดินเผา เครื่องประกอบหาบหามเป็นศิลปลพบุรี สําหรับเครื่องปั้นดินเผาเป็น ศิลปสมัยทวาราวดี และยังพบเศษกระเบื้องกาบกล้วยมุงหลังคา เครื่องถ้วยชามสมัยราชวงศ์ซ้อง และเศษโอ่งไหในสมัยลพบุรีอีกด้วย โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างถนนสายสุวรรณศร ( วัฒนานคร – อรัญประเทศ ) ประมาณ 3 กิโลเมตร ในปี 2538 อําเภอวัฒนานครได้ทําการจัดทําถนนสายหลักเข้าไปยังโบราณสถาน แห่งนี้ เพื่อจะได้จัดเป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวของอนุชนรุ่นหลังต่อไป
  • 19.  โบราณสถานหนองบอน โบราณสถานหนองบอน เป็นโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2532 หน้า 15 -18 ( ฉบับพิเศษ ) ระบุว่า เป็นโบราณสถานที่อยู่บริเวณบ้านพร้าว ตําบลวัฒนานคร อําเภอวัฒนานคร มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ 34 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวา จาการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นโบราณสถานชุมชนสองสมัย โดยสมัยแรกเป็นสมัยขอม ซึ่งมีอายุประมาณ 900 – 1,000 ปี บริเวณดังกล่าวคาดกันว่า จะเป็น “อาโรคยาศาลา” แต่เดิมซึ่งหมายถึงสถานีอนามัยในสมัย ปัจจุบัน ประกอบด้วยอาคารศาสนสถานหนึ่งหลัง มีบ่อนํ้าทิพย์รักษาโรค หน้าศาสนสถาน จํานวน 1 บ่อ และมีนํ้าสําหรับผู้ผ่านทางตลอดจนผู้ป่วยไข้ได้อาศัยในการอุปโภค บริโภค มีความกว้างยาวถึง 10 ไร่เศษ จากคําบอกเล่าทราบว่ามีการขุดพบเทวรูปและพระนางบีบมวยผม ตั้งอยู่ในบริเวณศาสนสถานอีกด้วย สมัยที่ สองเป็นสมัยถัดมา ได้ปรับเปลี่ยนบริเวณดังกล่าวเป็นวัด มีพระพุทธรูปและสถานที่ของสงฆ์ปฏิบัติธรรม อาศัยอยู่ระหว่างชุมชุนใหญ่สองชุมชน บริเวณตําบลท่าเกวียนและตําบลวัฒนานครในปัจจุบัน  โบราณสถานอ่างศิลา โบราณสถานอ่างศิลา เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณ สถานเมื่อปี พ.ศ. 2532 เช่นเดียวกับโบราณสถานหนองบอน ตั้งอยู่บริเวณบ้านนางาม ตําบล ท่าเกวียน อําเภอวัฒนานคร มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา โบราณสถานดังกล่าวมีอ่างศิลาขนาดใหญ่ มีเส้นรอบวงประมาณ 10 เมตร เป็นอ่างศิลาแลง ลักษณะกลมได้สัดส่วนสวยงาม มีหลุมอีกประมาณ 7 – 8 หลุม ซึ่งเป็นโพรงศิลาแลงเช่นเดียวกัน บริเวณใกล้เคียงมีคลองหินศิลาแลง ที่มีลักษณะตัดหินศิลาแลงทําเป็นคลอง ชาวบ้านเรียกว่า “คลองหินสิ่ว” มีความยาวถึง 3,400 เมตร ลึก 1.50 เมตร มีลักษณะเป็นคลองระบายนํ้า ใน อ่างศิลามีโพรงศิลาจํานวนถึง 8 สายด้วยกัน สามารถทะลุถึงกันได้หมดทุกสาย นับเป็นโบราณ สถานเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของอําเภอวัฒนานคร
  • 20. สรุปผลการดําเนินงาน ของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอําเภอวัฒนานคร  ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอําเภอวัฒนานคร ได้ดําเนินการประกาศเป็นอําเภอ เข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนถาวรเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 และปัจจุบันได้กําลังดําเนินการตาม แผนปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด ( 1 มี.ค. – 31 ส.ค. 49 ) ในการดําเนินการสร้างความเข้มแข็ง ของพลังแผ่นดิน และชุมชนในการเอาชนะยาเสพติดให้ดํารงอยู่อย่างยั่งยืน ตามโครงการประสานพลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติดหมู่บ้าน / ชุมชน และได้จัดตั้ง “ ชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี ”เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2547 จํานวน 1 ชมรม ณ ที่ว่าการอําเภอวัฒนานคร มีจํานวนสมาชิก 450 คน นอกจากนี้ ได้ดําเนินการปฏิบัติการร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 1- 4 (1 มี.ค. 2547 – 30 ก.ย. 2548 ) ทุกตําบล / หมู่บ้าน/ ชุมชน รวมทั้งสิ้น 11 ตําบล / 1 เทศบาล (115 หมู่บ้าน / 1 ชุมชน) มีศูนย์ประสานพลังแผ่นดินตําบล/เทศบาล 11 ตําบล / 1 เทศบาล รวมทั้งสิ้น 12 แห่ง วิทยากรครู ก. 35 คน วิทยากร ครู ข. จํานวน 360 คน ผู้ประสานพลังแผ่นดิน ทุกเครือข่าย จํานวน 4,217 คนและสมาชิกตามโครงการ TO BE NUMBER ONE จํานวน 48,105 คน ปัจจุบันได้ปรับสถานะหมู่บ้าน / ชุมชน เข้มแข็งเอาชนะปัญหายาเสพติดเป็นหมู่บ้าน / ชุมชน (ประเภท ก.) เรียบร้อยแล้ว การปฏิบัติงานของศูนย์ฯ โดยการระดมทุกส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ผู้นําประชาชน องค์กรเอกชน ทุกภาคส่วน ตลอดจนผู้ประสานพลังแผ่นดินตําบล/หมู่บ้าน ได้ดําเนินการ ร่วมกันตรวจสอบเป้าหมาย (Re X – Ray) ซึ่งสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
  • 21. 1. จัดทําโครงการฝึกอบรมผู้ประสานพลังแผ่นดิน ประจําปี 2549 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 โดยมี เป้าหมายเป็นผู้ปกครองท้องที่ เพื่อให้นําความรู้ความเข้าใจไปปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาใน หมู่บ้าน 2. จัดทําโครงการฝึกอบรมผู้ประสานพลังแผ่นดินเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน 2549 โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นําชุมชน ผู้นําท้องถิ่น กลุ่มพลังมวลชน และตัวแทนเยาวชนอาสา ต่อต้านยาเสพติดในพื้นที่ 115 หมู่บ้าน 3. จัดทําโครงการจัดตั้งกองทุน “ แม่ของแผ่นดิน ” เป้าหมาย 11 ตําบล 11 หมู่บ้าน ปัจจุบัน ได้จัดตั้ง หมู่บ้านกองทุนต้นแบบให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แล้ว จํานวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านใหม่ไทยพัฒนา หมู่ที่ 6 ต.หนองตะเคียนบอน และมีหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์การจัดตั้งได้รับคัดเลือกให้เข้ารับพระราชทานเงินขวัญ ถุง ในวันที่ 25 มิถุนายน 2549 อีกจํานวน 1 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองเรือ หมู่ที่ 1 ต.หนองนํ้าใส ชึ่ง ศตส.อ.วัฒนานคร ได้จัดทีมวิทยากรกระบวนการ เข้าดําเนินการตามแผนการจัดตั้งอย่างต่อเนื่อง คาดว่า จะสามารถจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ครบตามเป้าหมายได้ภายใน 30 พฤศจิกายน 2549 4. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อชุมชนเข้มแข็ง โดยให้พลัง แผ่นดินให้หมู่บ้านเป็นผู้ดูแลและติดตามผู้ผ่านการบําบัด ผู้พ้นโทษ และผู้ได้รับการพักโทษที่อยู่ใน หมู่บ้าน ซึ่งจะต้องมีการรับรองในที่ประชุมของหมู่บ้านทุกเดือน 5) การบริหารจัดการของ ศตส.อ.ฯ - การบริหารจัดการด้านนโยบาย และอํานวยการการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด ภายในองค์ประกอบของคณะกรรมการ ศตส.อําเภอ 1 ) เร่งรัดการปราบปรามจับกุมผู้ค้ายาเสพติดที่ยังหลงเหลือตาม พ.ร.บ.มาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534, พ.ร.บ.ป้องกันและปรามปรามการฟอก เงิน พ.ศ.2542 และกฎหมายภาษีอากร 2) การปราบปราม กดดัน จับกุม ผู้ค้ายาเสพติด ( Supply ) - ปราบปรามจับกุมผู้ค้าที่ผ่านการอบรมตามโครงการทําความดีเพื่อแผ่นดินและกลับไปค้ายาเสพติดอีก และติดตาม ควบคุมดูแล ช่วยเหลือผู้ผ่านโครงการทําความดีเพื่อแผ่นดินไม่ให้กลับมาค้าอีก - กดดันให้ผู้ค้ารายย่อยที่หลงเหลือ / รายใหม่ เข้ารายงานตัวและนําเข้าโครงการทําความดีเพื่อแผ่นดิน - กดดันจับกุมผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่ยังไม่เลิกพฤติการณ์ และส่งเข้าระบบบังคับบําบัด ฟื้นฟู รวมทั้ง จัดการติดตามดูแลช่วยเหลือและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดที่ผ่านการบําบัดให้สามารถใช้ชีวิตปกติ และไม่หวน กลับไปเสพซํ้า
  • 22. 3) การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด ( Demand ) - ป้องกันกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ควบคุมปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริม สมาชิกของ หมู่บ้าน / ชุมชน มีส่วนร่วมดําเนินกิจกรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และดํารงความ เข้มแข็งของพลัง แผ่นดินชุมชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน - ดูแลและป้องกัน โรงเรียนและสถานประกอบการ ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยการให้ การศึกษาให้ตระหนักถึงโทษ พิษภัยยาเสพติด ตลอดจนจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งจัดระเบียบควบคุม ตรวจตราแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติดและแหล่งมั่วสุมในโรงเรียน สถานประกอบการ บ้านพักและหอพัก 4) การเสริมสร้างหมู่บ้าน / ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน - ขยายการดําเนินงานสร้างหมู่บ้าน / ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้ครบทุกพื้นที่แล้ว และดํารงความเข้มแข็ง ของพลังแผ่นดินและชุมชน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางดําเนินการ ดังนี้ ผลการดําเนินงานของ ศตส.อ.วัฒนานคร  จากการดําเนินการป้องกันและปราบปราม ในช่วงปฏิบัติการพลังไทยทั้งชาติขจัดยาเสพติด ของ ศตส.อ. วัฒนานคร สามารถลดสัดส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเพิ่มจํานวนผู้ประสานพลังแผ่นดินฯ ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยตั้งแต่ 1 ต.ค. 2548 จนถึงปัจจุบัน สามารถจับกุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และเพิ่มจํานวนผู้ประสานพลังแผ่นดินฯ ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1) จับกุมผู้ค้า จํานวน 16 ราย 20 คน เป็นชาวกัมพูชา 1 คนของกลาง ยาบ้า 2,125 เม็ด ยาไอซ์ 0.5 กรัม 2) จับกุมผู้เสพ จํานวน 40 ราย 40 คน ส่งดําเนินคดีและบําบัดแล้ว จํานวน 39 คน อยู่ระหว่างติดตามดําเนินคดี จํานวน 1 คน 3) จัดตั้งผู้ประสานพลังแผ่นดินเพิ่มเติม จํานวน 2,210 คน
  • 23. รายละเอียดผลการดําเนินงานคาราวานแก้จน  ความสําเร็จในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม  - รูปแบบการแก้ไขปัญหาที่โดดเด่น ศตจ.อ.วัฒนานครได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร ได้ให้ความช่วยเหลือนางมาลา เชื้อเนตร ผู้จดทะเบียนปัญหาหนี้สินภาค ประชาชน ( หนี้นอกระบบ )  เดิมนางมาลา ฯ ได้เช่าที่ทํานาแล้วเกิดแห้งแล้ง ขาดทุนไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าที่ต้องไปกู้หนี้นอกระบบมา ลงทุนทํานาใหม่ก็ขาดทุนอีกเลยหันเหชีวิตมาเป็นแม่ค้าขายของ พอมีรายได้เพิ่มมาก็ต้องเอาไปใช้หนี้ให้กับ เจ้าหนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันลูกๆ ก็ต้องศึกษาสูงขึ้น ทําให้นางมาลา ฯ ต้องกู้หนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าเก่าทําให้ไม่มีเงิน ที่จะไปใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้คืน จึงทําให้เจ้าหนี้ต้องทวงถามเกี่ยวกับหนี้สินนางมาลา ฯ ต้องทํางานหนักเพิ่มขึ้น แต่รายได้ก็ยังไม่พอเพียงที่ใช้จ่ายในครอบครัวและใช้หนี้ จึงทําให้สามีต้องแยกไปทํางานต่างจังหวัดเพื่อหาเงิน มาใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ จนกระทั่งเดือนมกราคม 2547 รัฐบาลประกาศให้ประชาชนที่มี ปัญหาต่าง ๆ มาจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน กับทางอําเภอ นางมาลา ฯ ได้มาจดทะเบียน กับทางอําเภอในปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และปัญหาที่อยู่อาศัย ซึ่งทางอําเภอได้จัดทําโครงแก้ไขปัญหา หนี้สินภาคประชาชน ในเดือนมิถุนายน 2547 นางมาลา ฯ ได้เดินทางมาพบกับคณะทํางานแก้ไขปัญหาหนี้สิน ภาคประชาชน เพื่อประนีประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ แต่แล้วเจ้าหนี้ก็ไม่มาพบตามที่ได้ตกลงกับนางมาลา ฯ ไว้ จึงทําให้นางมาลา ฯ ต้องทําแบบ น.2 ยุติ ไป ต่อมาเมื่อวันที่ 25 เดือนมกราคม 2548 นางมาลา ฯ ได้มา ร้องเรียนขอความช่วยเหลือกับทางอําเภอ โดยแจ้งว่านางมาลา ฯ ได้ไปกู้เงินจากนายยงยศ วัฒนะพยา จํานวน 6 ครั้ง รวมเป็นเงิน 73,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 7 บาทต่อเดือน โดยไม่ได้ทําสัญญากู้ยืมนางมาลา ฯ ตกลงจะใช้หนี้ให้เดือนละ 5,350 บาท แต่นางมาลา ฯ ไม่สามารถใช้หนี้ได้จึงทําให้นายยงยศ วัฒนะพยา ขู่บังคับให้ใช้หนี้ โดยที่นางมาลา ฯ ไม่สามารถใช้หนี้ได้ จึงร้องขอความช่วยเหลือให้ทางอําเภอช่วยประนอมหนี้ กับนายยงยศ ฯ ให้ ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ทําหนังสือถึงนายยงยศ ฯ เพื่อมาพบและเจรจาประนอมหนี้กับ นางมาลา ฯ ซึ่งผลปรากฏว่า นายยงยศ ฯ ได้ตกลงกับนางมาลา ฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ว่า ขอเงินต้นแค่ 70,000 บาท ดอกเบี้ยไม่คิดขอแต่เงินต้นคืนเท่านั้น ทางอําเภอจึงได้จัดทํา แบบ น.2 ขึ้นใหม่ อีก 1 ฉบับ ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 ส่งให้ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาวัฒนานคร เพื่อพิจารณาดําเนินการ ต่อไป หลังจากนั้นไม่นานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาวัฒนานคร ได้พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้กับ นางมาลา ฯ โดยมีบุคคลที่ร่วมกลุ่มคํ้าประกัน
  • 24. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 โดยมีนายยงยศ ฯ เป็นคนไปรับเงินพร้อมกับนางมาลา ฯหลังจากที่นางมาลา ฯ ได้ใช้ หนี้ให้กับนายยงยศ ฯ แล้ว สภาพความเป็นอยู่ของนางมาลา ฯ ก็ดีขึ้น เป็นหนี้ในระบบดอกเบี้ยถูก ครอบครัวมี ความสุข มีเงินเก็บ สามารถปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และต่อเติมที่อยู่อาศัยจากบ้านหลังเล็ก ๆ เป็นบ้านที่ มั่นคง ลูก ๆ ได้เรียนสูงขึ้น คนโตเรียน ปวส. ปีที่ 2 โรงเรียน พานิชยการธนบุรี เขตธนบุรี กรุงเทพ คนเล็ก เรียน ชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนสําเร็จวิทยา อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สามีประกอบอาชีพรับจ้าง ขับรถสิบล้อ รายได้ดี  สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน
  • 25.
  • 26. - การร่วมมือของหน่วยงาน / องค์กรที่เกี่ยวข้อง ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการ เอกชน ห้างร้านต่าง ๆ ในการช่วยเหลือผู้จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน เช่น ปัญหานักเรียน / นักศึกษาให้มีรายได้ที่เหมาะสม ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้จัดทําหนังสือถึงหน่วยงานเอกชน ห้างร้านต่าง ๆ เพื่อ สอบถามความต้องการที่จะจ้างนักเรียน / นักศึกษา ทํางานหารายได้ช่วงปิดภาคเรียนบ้างหรือไม่ - การบูรณาการการแก้ไขปัญหา ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาความ ยากจนในรูปแบบของคณะกรรมการพหุภาคีโดยมีการจัดประชุมมอบหมายภารกิจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
  • 27. 3. การแก้ไขปัญหา - ผลการดําเนินงานแยกตามรายปัญหา 1. ปัญหาที่ดินทํากิน มีผู้จดทะเบียนจํานวน 8,953 ราย - ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 8,477 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 476 ราย - ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ จํานวน 83 ราย - อยู่ระหว่างการช่วยเหลือ จํานวน 12 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 381 ราย 2. ปัญหาคนเร่ร่อน มีผู้จดทะเบียนจํานวน 3 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 3 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 3 ราย 3. ปัญหาประกอบอาชีพผิดกฎหมาย มีผู้จดทะเบียนจํานวน 6 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 6 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 6 ราย 4. ปัญหานักเรียน / นักศึกษา มีรายได้เหมาะสม มีผู้จดทะเบียน จํานวน 655 ราย - ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 157 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 498 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 498 ราย 5. ปัญหาการถูกหลอกลวง มีผู้จดทะเบียน จํานวน 46 ราย - ไม่ประสงค์ขอรับการช่วยเหลือ จํานวน 21 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 25 ราย - ได้รับความช่วยเหลือแล้ว จํานวน 25 ราย
  • 28. 6. ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน มีผู้จดทะเบียน จํานวน 7,592 ราย - ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 7,346 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 246 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 246 ราย 7. ปัญหาที่อยู่อาศัย มีผู้จดทะเบียน จํานวน 2,758 ราย - ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 2,227 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 531 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 22 ราย - อยู่ระหว่างการช่วยเหลือ จํานวน 509 ราย 8. ปัญหาด้านอื่น ๆ มีผู้จดทะเบียน จํานวน 395 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 395 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 395 ราย สรุปข้อมูลผู้จดทะเบียน - ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ จํานวน 18,228 ราย - ต้องการความช่วยเหลือ จํานวน 2,180 ราย - ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ จํานวน 83 ราย - อยู่ระหว่างการช่วยเหลือ จํานวน 521 ราย - ได้รับการช่วยเหลือแล้ว จํานวน 1,576 ราย - ปัญหาอุปสรรค - ด้านการจัดเก็บข้อมูล Re-Check ของผู้จดทะเบียนแก้ไขปัญหาสังคมแลความยากจน ดําเนินการ แล้วเสร็จเป็นบางส่วนเนื่องจากส่วนที่เหลือ ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ออกไปจัดเก็บข้อมูลแล้ว แต่ ราษฎรบางส่วนไม่อยู่ในพื้นที่บางส่วนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร - ด้านระบบออนไลน์ มีปัญหาในเรื่องของคอมพิวเตอร์ใช้งานมานาน Ram ตํ่าและมีปัญหา ขัดข้องบ่อยครั้ง จึงทําให้การบันทึกข้อมูล Re-Check ลงในระบบออนไลน์บันทึกได้เฉลี่ยวันละ 50 คน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอในการคีย์ข้อมูล จะคีย์ข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อภารกิจของ งานทะเบียนและบัตรแล้ว แล้วเสร็จไม่มีราษฎรมาใช้บริการจึงจะได้ดําเนินการ
  • 29. - ข้อเสนอแนะ - เห็นควรเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ให้มี Ram สูงขึ้นกว่าเก่า 4. ผลการดําเนินการของชุมชน/ องค์กรชุมชนที่มีผลงานดีเด่น - รูปแบบการดําเนินการ ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้จัดทําคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง ภาครัฐและเอกชน - ผลงานโดยรวม หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 5. การดําเนินงานภาคประชาชน - รูปแบบการดําเนินงาน ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ออกจัดเก็บข้อมูล Re-Check แบบเคาะประตูบ้าน - การดําเนินงานของภาคประชาชนที่มีผลงานดีเด่น ศตจ.อ.วัฒนานคร ได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร สาขาวัฒนานคร ได้ให้ความช่วยเหลือนางมาลา เชื้อเนตร ผู้จดทะเบียนปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ( หนี้นอกระบบ )
  • 31.
  • 32. โครงการ SML  ปี 2549 อําเภอวัฒนานครมีหมู่บ้านในโครงการ SML ทั้งหมด 112 หมู่บ้าน ดังนี้  หมู่บ้านขนาด S 41 หมู่บ้าน 56 โครงการ  หมู่บ้านขนาด M 50 หมู่บ้าน 68 โครงการ  หมู่บ้านขนาด L 21 หมู่บ้าน 28 โครงการ  จํานวนเงินโอนโครงการ SML เป็นเงิน 27,050,000 บาท  หมู่บ้านที่เบิกจ่ายเงินแล้วมี 107 หมู่บ้าน เป็นจํานวนเงิน 26,047,006 บาท  หมู่บ้านที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินและได้รับการอนุมัติแล้วมี 3 หมู่บ้านดังนี้  บ้านหนองยาง หมู่ที่ 3 ตําบลโนนหมากเค็ง ( S ) ไม่ทราบเหตุผล  บ้านบุกะสังข์ หมู่ที่ 2 ตําบลหนองแวง ( S ) ไม่ทราบเหตุผล  บ้านห้วยโจด หมู่ที่ 1 ตําบลห้วยโจด ( L ) ไม่ทราบเหตุผล  หมู่บ้านที่เบิกจ่ายเงินยังไม่หมดมี 1 หมู่บ้านดังนี้  บ้านทางหลวง หมู่ที่ 9 ตําบลวัฒนานคร ( S ) คณะกรรมการหมู่บ้านได้ดําเนินการเบิกจ่ายเงิน ไปเพียง 197,006 บาท คงเหลือ 52,994 บาท ไม่ทราบเหตุผลเพิ่มเติม  หมู่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงการที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติมี 1 หมู่บ้านดังนี้  บ้านแซร์ออ หมู่ที่ 11 ตําบลแซร์ออ ( M ) เพราะโครงการเดิมราษฎรในหมู่บ้านไม่ยินยอม สรุปจํานวนเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายทั้งสิ้น 1,002,994 บาท
  • 33. เศรษฐกิจพอเพียง  อําเภอวัฒนานครมีหมู่บ้านเป้าหมายที่จะดําเนินงานตามเศรษฐกิจพอเพียง 9 หมู่บ้าน ใน ปี 2549 ดังนี้  บ้านทดหลวง หมู่ที่ 6 ตําบลผักขะ  บ้านโคกสว่าง หมู่ที่ 2 ตําบลหนองหมากฝ้าย  บ้านหนองหมู หมู่ที่ 6 ตําบลหนองแวง  บ้านทางหลวง หมู่ที่ 9 ตําบลวัฒนานคร  บ้านหนองเรือ หมู่ที่ 1 ตําบลหนองนํ้าใส  บ้านแผ่นดินเย็น หมู่ที่ 9 ตําบลแซร์ออ  บ้านทับประดู่ หมู่ที่ 10 ตําบลท่าเกวียน  บ้านเนินพัฒนา หมู่ที่ 7 ตําบลห้วยโจด  บ้านคลองทราย หมู่ที่ 8 ตําบลหนองตะเคียนบอน
  • 34. นายอําเภอวัฒนานคร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร ปกครอง ป้องกัน ทะเบียน หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง สํานักงาน บัตรการเงินและบัญชี สย พนักงานราชการ สย สย สย สย สย สย นักการภารโรง อัตรากําลังอําเภอวัฒนานคร