SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh
www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts
วาทะพระอรหันต์
ปิยเมธี
คติธรรมประจำ�วัด
	 สติมโต สทา ภทฺทํ
	 คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา
The mind is very hard to check
and swift, it falls on what it wants.
The training of the mind is good,
a mind so tamed brings happiness.
เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ที่ปรึกษา :
	 พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี)
	 พระราชพุทธิวิเทศ
	 พระครูปริยัติธรรมาภิราม
	 พระครูสิริอรรถวิเทศ
	 พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร
	 คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี
	 คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม
กองบรรณาธิการ :
	 คณะสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา
รูปเล่ม/รูปภาพ
	 พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ
Dhammaratana Journal is published by
Wat PadhammaratanaThe Buddhist Meditation Center of Pittsburgh)
5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207
Tel(412)521-5095
E-mail : bmcpitts@hotmail.com, bmcpitts@yahoo.com
Homepage : www.bmcpitts.org
www.facebook.com/bmcpitts
www.youtube.com/watpadhammaratana
CONTENT - สารบัญ
ยืนด้วยขาตนเอง		 	 5
น้ำ�ขุ่นไว้ใน น้ำ�ใสไว้นอก		 9
อย่าริลองสูบบุหรี่	 	 12
สร้างนิสัยประหยัด	 	 15
ยิ้มแย้มแจ่มใส	 	 	 17
สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง	 19
ขอให้เป็นคนดี	 	 	 21
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 5
คำ�นำ�
	 พ่อแม่คือพระเจ้าผู้สร้างลูก จะเสกสรร
ปั้นแต่งลูกให้เป็นคนอย่างไรในสังคม ท่านทั้ง
สองถือว่ามีบทบาทที่สำ�คัญยิ่ง ในพระพุทธศาสนา
มีหน้าที่ข้อหนึ่งของพ่อแม่ คือ สอนให้บุตรธิดาเป็น
คนดี เมื่อพ่อแม่ทำ�หน้าที่ไม่บกพร่อง สังคมจึงมี
ความหวังและทางรอดจากวิกฤติการณ์ต่างๆ ในยุค
ปัจจุบัน
	 คำ�สอนของพ่อแม่จึงเสมือนคำ�ของพระ
อรหันต์ เพราะท่านมีความรักอันบริสุทธิ์ต่อลูกทุก
คน(Unconditional love) ผู้เขียนถือโอกาสนำ�คำ�
สอนของแม่มาเล่าสู่กันฟัง ขอให้ญาติธรรมทุกท่าน
จงเจริญในธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไป
ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน คือ ทางพ้นทุกข์ เทอญ
ด้วยไมตรีธรรม
ปิยเมธี
ยืนด้วยขาตนเอง
	 หน้าที่ตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของพ่อแม่
คือสอนลูกให้เป็นคนดี คำ�สอนของพ่อแม่ เป็นคำ�
สอนที่ล้ำ�ค่า มีราคามากกว่าทรัพย์สินเงินทองและ
สิ่งอื่นใดในโลกหล้า ในครอบครัวของข้าพเจ้า การ
อบรมเลี้ยงดูลูกเป็นหน้าที่หลักของแม่ ส่วนพ่อ
จะเป็นคนชอบทำ�ไม่ชอบพูดจนบางครั้งคนทั่วไป
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 6 7
ชอบล้อท่านว่าเป็นใบ้ จะขอนำ�คำ�สอนของแม่มา
แชร์เป็นการเทิดทูนพระคุณท่านไว้ในโอกาสวัน
แม่แห่งชาติ
	 หลังจากจบชั้นปฐมศึกษาแล้ว แม่
บังคับให้บวชเป็นสามเณรกับหลวงลุง ต่อมา
ท่านได้ส่งให้ไปศึกษาเล่าเรียนนักธรรมบาลี
ที่จ.สมุทรปราการ ชีวิตของข้าพเจ้าจึงอยู่โดย
ปราศจากเงาแม่ตั้งแต่เด็ก แม้กระนั้นแม่ก็ไม่คลาย
ความห่วงใย ถึงจะไม่มีโอกาสสั่งสอนลูกโดยตรง
เพราะอยู่ไกลกันกอรปกับในสมัยนั้นเครื่องมือ
สื่อสารยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนในปัจจุบัน แต่
ท่านก็พากเพียรเขียนจดหมายมาถามข่าวคราวและ
ไม่ลืมที่จะแนบคำ�สอนมาด้วยทุกครั้ง ซึ่งจดหมาย
ทุกฉบับของแม่นั้นข้าพเจ้าได้เก็บไว้เป็นอย่างดี
	 ครั้งหนึ่งแม่เขียนจดหมายมาและบอก
ว่า ให้ลูกพยายามยืนด้วยขาตนเอง ข้าพเจ้าตั้ง
คำ�ถามกับตนเองและถามแม่ในใจว่า แล้วที่ยืน
อยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้ยืนด้วยขาตัวเองเหรอ ? แต่เมื่อ
มีประสบการณ์ในชีวิตมากขึ้น จึงทำ�ให้เข้าใจคำ�
พูดอันลึกซึ้งของแม่ว่า มันยิ่งใหญ่เพียงใด การ
ยืนด้วยขาตนเอง ก็คือ การเรียนรู้ที่จะพึ่งพาอาศัย
ตนเอง ด้วยการหมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ในด้านต่างๆ ตรงกับคำ�สอนในทางพระพุทธ
ศาสนาว่า อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ แปลว่า ตนแล
เป็นที่พึ่งแห่งตน
	 การพึ่งคนอื่นนั้น พึ่งได้ช่วงครั้งช่าว
คราว ไม่สามารถพึ่งได้ตลอดหรือทุกเรื่อง มีผู้รู้
ทางศาสนากล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าเปรียบด้วย
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 8 9
พ่อ พระธรรมเปรียบด้วยแม่ และพระสงฆ์เปรียบ
ด้วยพี่ ตอนนี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
เหลือแต่พระธรรม(แม่)และพระสงฆ์(พี่) เหล่า
พุทธศาสนิกชนพึ่งพาอาศัยท่านเหล่านั้นคอย
แนะนำ�พร่ำ�สอน จนสามารถยืนด้วยขาตนเอง
ได้หรือพึ่งพาตนเองได้ นั้นคือเป้าหมายสูงสุด
ท่านไม่สามารถทำ�แทนเราได้ องค์พระศาสดา
ตรัสย้ำ�ว่า อักขาตาโร ตะถาคะตา พระตถาคต
เจ้า(พระพุทธเจ้า)เป็นเพียงผู้บอก (ไม่สามารถทำ�
แทนได้)
	 เมื่อนึกถึงคำ�สอนของแม่ในเรื่องพึ่งพา
ตนเองทีไร จึงได้แต่ยกมือท่วมหัวและอุทานใน
ใจว่า จริงแท้หนอ ถูกแท้หนอ คำ�สอนของพระ
อรหันต์
	 เมื่อสอบบาลีสนามหลวงเสร็จ วัดที่
ข้าพเจ้าอาศัยอยู่จะจัดโครงการบรรพชาสามเณร
ฤดูร้อน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนมีโอกาสใกล้
ชิดพระพุทธศาสนาศึกษาธรรมะประมาณ ๒๑ วัน
หลังจบโครงการแล้ว มีเวลาว่างประมาณ ๑-๒
น้ำ�ขุ่นไว้ใน น้ำ�ใสไว้นอก
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 10 11
อาทิตย์ ข้าพเจ้าจึงถือโอกาสนี้กลับบ้านไปเยี่ยม
พ่อแม่พี่น้องปีละครั้งก่อนเปิดเรียนบาลี
	 การไปเยี่ยมบ้านแต่ละครั้ง แม่จะเป็นห่วง
เสมอ อาหารอะไรดีๆ ท่านจะหามาให้เราทาน
และเมื่อมีโอกาสท่านก็ไม่พลาดที่จะสอดแทรกคำ�
สอนเข้าไปด้วย
	 ในขณะที่นั่งคุยกัน แม่ก็ได้โอกาสบอกว่า
ลูก น้ำ�ขุ่นให้เอาไว้ข้างใน น้ำ�ใสให้เอาไว้นอก คำ�
สอนนี้ข้าพเจ้าพอตีความออกว่าแม่ต้องการสอน
อะไร ท่านต้องการให้เราเป็นคนมีความอดทน
อดกลั้น เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เป็น
ธรรมดาย่อมมีการกระทบกระทั่งกันบ้างไม่ต่าง
จากลิ้นกับฟัน ถ้าหากเราไม่มีความอดทน ไม่
พอใจอะไรก็แสดงออกเลย จะทำ�ให้เราเสียเพื่อน
ฝูง เสียงานใหญ่
	 น้ำ�ขุ่นที่แม่บอก คือ ความไม่พอใจ ความ
โกรธ ความอิจฉาริษยา ความน้อยใจ ความเห็นแก่
ตัว เป็นต้น ควรเก็บไว้ในใจเราและพยายามปล่อย
มันไป เรียนรู้วิธีการจัดการกับมันในทางที่ดี
	 ส่วนน้ำ�ใส คือ ความเสียสละ ความเมตตา
กรุณา มุทิตา ความมีน้ำ�ใจ คำ�พูดที่ไพเราะเสนาะ
โสต ไม่ควรเก็บไว้ ควรแสดงออกให้ถูกกาละ
เทศะ บุคคล และสถานที่
	 เมื่อนึกถึงคำ�สอนนี้ของแม่ทีไร ก็ได้แต่
ถอนหายใจว่า ทำ�ไมมันทำ�ยากจัง แม่ ! แต่ลูกจะ
พยายาม เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีกับตัวลูกเอง และคน
ที่เขาอยู่กับลูก
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 12 13
	 เมื่อตอนอายุ ๑๕ ปี ยังจำ�ได้ดีว่า วันหนึ่ง
ได้รับจดหมายจากแม่เขียนมาเชิงตักเตือนแกม
บังคับว่า ห้ามสูบบุหรี่ แม่คงเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ
ของลูก เพราะเด็กในวัยนั้นกำ�ลังอยากรู้อยากลอง
แต่คำ�เตือนของแม่ก็ได้ผลเสมือนประกาศิต เพราะ
ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกว่าอยากลอง
สูบบุหรี่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย
	 ในสังคมส่วนมากจะมีค่านิยมผิดๆ เกิด
ขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ว่า ถ้าได้ทำ�
อย่างนั้นและอย่างนี้ ถือว่าเป็นคนเท่ห์ เก่ง และก็
ยอมรับกันในหมู่เพื่อนฝูง แม่คงเข้าใจในจุดนี้ จึง
พยายามพร่ำ�บอกว่า อย่าทำ�นั้น อย่าทำ�นี้ ซึ่งสิ่งที่
ท่านบอก เมื่่อย้อนกลับไปคิดก็ล้วนเป็นประโยชน์
แก่ลูกทั้งนั้น
	 การสูบบุหรี่นั้นเมื่อหลายสิบปีก่อนในต่าง
จังหวัด ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ชาย และ
ยังมีค่านิยมว่า ลูกผู้ชายแท้ต้องสูบบุหรี่ ถึงจะได้รับ
การยอมรับจากสังคม จนกระทั่งมีการถวายบุหรี่
แก่พระภิกษุสงฆ์เวลานิมนต์ท่านไปสวดมนต์ที่
อย่าริลองสูบบุหรี่
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 14 15
บ้านหรือทำ�บุญในที่ต่างๆ
	 แต่ต่อมาเมื่อสังคมยุคปัจจุบันไม่ยอมรับ
เรื่องบุหรี่ ทำ�ให้พระภิกษุสงฆ์ต้องปรับตัว เพื่อให้
สังคมยอมรับ ประเพณีการถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์
ในต่างจังหวัดจึงค่อยๆ จางหายไป ถึงแม้จะหลง
เหลืออยู่แต่ก็น้อยมาก
	 การสูบบุหรี่ ถึงเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ก็
ต้องระวังพอสมควร เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวใน
โลก แม้ในต่างประเทศก็มีการจำ�กัดสถานที่ให้สูบ
กัน
	 วันนี้ขอเล่าเรื่องแม่ต่ออีกตอนหนึ่งใน
เทศกาลวันแม่ เพื่อบูชาพระคุณท่าน
	 ทุกปี พอสอบเสร็จปิดภาคเรียนก็จะกลับ
ไปเยี่ยมคุณแม่ พอเวลาใกล้เปิดเทอม ต้องเดินทาง
กลับมาเตรียมตัวเรียน แม่จะกรอกน้ำ�ฝนใส่ขวด
พลาสติกให้ ห่อข้าวและกับให้ไปกินระหว่างทาง
สร้างนิสัยประหยัด
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 16 17
ปกติเวลากลับบ้านจะนิยมโดยสารรถไฟชั้น ๓
บ้าง ชั้น ๒ พัดลมบ้าง  แม่ไม่ได้พูดอะไรเลย แต่
สิ่งที่เรารับรู้ได้คือความห่วงใยที่ท่านมี และสิ่ง
ที่ต้องการสอนเรา คือ ต้องการสร้างนิสัยการ
ประหยัด เพราะบางอย่างที่เรามี ก็ไม่จำ�เป็นต้อง
ไปซื้อให้เสียเงิน
	 ปกติจะโทรศัพท์คุยกับแม่เป็นประจำ�เกือบ
ทุกวัน เพราะอยู่ห่างไกลกันมาก และไม่ได้อยู่กับ
ท่านตั้งแต่เรียนจบป.๖
	 ทุกๆ ครั้งที่คุยกัน แม่จะมีข้อคิดดีๆ มาเล่า
ให้ฟังเสมอ ครั้งหนึ่ง ท่านเล่าเรื่องชีวิตวัยเด็กที่ต้อง
กำ�พร้าแม่ เพราะแม่ของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยัง
เล็ก
ยิ้มแย้มแจ่มใส
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 18 19
	 ฉะนั้นชีวิตของท่านจึงต้องอาศัยอยู่กับพ่อ
และลุงเป็นส่วนใหญ่ มีลูกพี่ลูกน้องที่เติบโตมากับ
แม่ด้วยกัน๒คนซึ่งจะชอบทะเลาะกันเป็นประจำ� 
แต่ลุงที่ดูแลทุกคนจะมีกฎเหล็กอยู่อย่างหนึ่งว่า จะ
ทะเลาะเบาะแว้งกันที่ไหนก็ได้ ถ้าอยู่ในบ้านลุง
ทุกคนต้องยิ้มแย่มแจ่มใสและอารมณ์ดี ห้ามแสดง
ความไม่รักกันให้เห็น
	 กฎนี้ ทำ�ให้ท่านเป็นคนเข้มแข็งและต้อง
ฝึกฝืนอารมณ์ตัวเองบ่อยๆ จนกลายเป็นความ
เคยชินที่ดี ไม่ลุแก่อำ�นาจความโกรธ
	 ฟังแม่เล่าจบ ก็แอบชื่นชมคุณลุงที่มี
กุศโลบายดีๆ คอยสอน ลูกหลานของท่านให้เป็น
คนหนักแน่น
	 คำ�แม่สอนอีกเรื่องหนึ่งที่อยากนำ�มาเล่าให้
ท่านทั้งหลายฟังในวันนี้ เป็นเรื่องที่ทำ�ให้ข้าพเจ้าทึ่ง
ในความชาญฉลาดของคุณแม่
	 มีอยู่ครั้งหนึ่งข้าพเจ้ากลับบ้าน ครั้งนั้นพ่อ
เห็นว่าเริ่มโตเป็นหนุ่มแล้ว ลูกผู้ชายควรจะมีอะไร
ไว้ป้องกันตัว ท่านจึงกล่าวว่าควรจะไปเรียนวิชา
คงกระพันชาตรีซึ่งเป็นมรดกตกทอดของปู่
สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 20 21
	 แต่แม่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านโดยประการทั้ง
ปวง บอกไม่ให้เรียนไม่ให้เอา มันไม่ดี
และกล่าวต่อว่า
	 "ลูกไม่ต้องเรียนวิชาอะไรเลย ขอให้ลูกเป็น
คนดี ความดีจะปกป้องรักษาลูกเอง"
	 หลายปีต่อมา ข้าพเจ้าได้ถามความคิดเห็นว่า
ทำ�ไมไม่อยากให้เรียน
	 แม่เล่าว่า ท่านเห็นตัวอย่างมาเยอะ คนที่เรียน
วิชาพวกนี้แล้ว
	 ส่วนมากจะหลงตัวและใช้ไปในทางที่ผิด
และเกิดโทษภัยแก่ตัวเอง
	 นึกถึงคำ�สอนแม่แล้วทำ�ให้นึกถึงโคลงพระ
ราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕ ว่า
        ความรู้คู่เปรียบด้วย	 กำ�ลัง กายแฮ
   สุจริตคือเกราะบัง	 ศาสตรพ้อง
   ปัญญาประดุจดัง	 อาวุธ
   กุมสติต่างโล่ห์ป้อง	 อาจแกล้วกลางสนามฯ
	 เนื่องจากบวชเรียนมาหลายสิบปี ด้วย
ความหวังดี คนที่รู้จักส่วนมากถวายคำ�แนะนำ�ให้
บวชตลอดชีวิต พร้อมเล่าถึงสารพัดทุกข์ของชีวิต
ฆราวาส
	 ตอนยังเป็นสามเณร เหมือนแม่จะไม่
เหนื่อยกับพร่ำ�สอนหลายเรื่องในชีวิต คงเป็นห่วง
ขอให้เป็นคนดี
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์
	 All are cordially invited to participate
in the meditation programs and Buddhist activities at
Wat Padhammaratana(Buddhist Meditation Centre of Pittsburgh)
Activity Day Time
1. Chanting Daily Morning and
Evening
05.30 - 6.30 a.m.
5.30 - 6.30 p.m.
2. Dhamma Talk Daily Morning 10.45 - 11.15 a.m.
3.Buddhist Study(Thai) Every Sunday 01.00 - 03.00 p.m.
4. Meditation(English) Every Saturday 03.00 - 05.00 p.m.
All activities will be held at the upper or lower level of the temple.
For further  information, please contact Wat Padhammaratana, PA.
Tel.412-521-5095, E-mail : bmcpitts@hotmail.com,
www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts
- To serve as a Buddhism promotion center
in the U.S.
-ToserveasameditationcenterinPittsburgh
- To promote virtues, Buddhist culture and
traditions
- To be a center of all Buddhists, regardless
of nationalities
OBJECTIVES
22
ตามธรรมชาติของคนเป็นแม่
	 แต่พอบวชเป็นพระแล้ว ท่านกลับเงียบไม่
ค่อยสอนเหมือนเดิมเพียงแค่บอกว่า ลูกโตแล้ว รู้
ว่าอะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร
	 มีอยู่ครั้งหนึ่งแม่พูดกับข้าพเจ้าว่า ลูกจะ
บวชต่อไปหรือจะสึก แม่ไม่ห้าม ขออย่างเดียว ขอ
ให้เป็นคนดี
	 ในชีวิตข้าพเจ้าพบเจอคนมาก็มากใน
หลากหลายประเทศ แต่เมื่อนึกถึงแม่ทีไร ก็คิดว่า
ท่านเป็นบุคคลผู้หนึ่่ง ที่มีความคิดที่เป็นเสรี และ
เปิดกว้างมาก เหมือนแม่จะมองทะลุว่า สาระของ
ชีวิตคือคุณงามความดี

More Related Content

What's hot

ใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4page
ใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4pageใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4page
ใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1page
ใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1pageใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1page
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Watpadhammaratana Pittsburgh
 
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษาพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4page
ใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4pageใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4page
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
หน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธหน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธprimpatcha
 
351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3niralai
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมPanda Jing
 
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammaScript พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammablcdhamma
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธีPanuwat Beforetwo
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Watpadhammaratana Pittsburgh
 

What's hot (20)

Dhammaratana journal 4
Dhammaratana journal 4Dhammaratana journal 4
Dhammaratana journal 4
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010
 
ใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4page
ใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4pageใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4page
ใบความรู้ การสวดมนต์และแผ่เมตตา ป.1+416+dltvsocp1+55t2soc p01 f21-4page
 
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1page
ใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1pageใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1page
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-1page
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
 
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาการศึกษา
 
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4page
ใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4pageใบความรู้  การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4page
ใบความรู้ การสวดมนต์แผ่เมตตา ป.2+433+dltvsocp2+55t2soc p02 f09-4page
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
 
หน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธหน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธ
 
351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
 
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammaScript พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
 
The good buddhist
The good buddhistThe good buddhist
The good buddhist
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
 
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
 

Similar to วาทะพระอรหันต์

Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับWatpadhammaratana Pittsburgh
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555Carzanova
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
หน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docxหน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docxpinglada1
 
หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธหน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธleemeanshun minzstar
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555Carzanova
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
คำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตรคำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตรniralai
 

Similar to วาทะพระอรหันต์ (20)

Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
 
Dhammaratana journal 3
Dhammaratana journal 3Dhammaratana journal 3
Dhammaratana journal 3
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
 
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
หน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docxหน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docx
 
หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธหน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
 
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรมธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
Immortality Thama.Pps
Immortality Thama.PpsImmortality Thama.Pps
Immortality Thama.Pps
 
คำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตรคำมั่นสัญญาพุทธบุตร
คำมั่นสัญญาพุทธบุตร
 

More from Watpadhammaratana Pittsburgh

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016Watpadhammaratana Pittsburgh
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCPWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Watpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กWatpadhammaratana Pittsburgh
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระWatpadhammaratana Pittsburgh
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธWatpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 

More from Watpadhammaratana Pittsburgh (17)

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
 
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระ
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
 
Buddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburghBuddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburgh
 
1 years
1 years1 years
1 years
 
Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10
 
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
 

วาทะพระอรหันต์

  • 1. The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts วาทะพระอรหันต์ ปิยเมธี
  • 2. คติธรรมประจำ�วัด สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา The mind is very hard to check and swift, it falls on what it wants. The training of the mind is good, a mind so tamed brings happiness. เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ที่ปรึกษา : พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) พระราชพุทธิวิเทศ พระครูปริยัติธรรมาภิราม พระครูสิริอรรถวิเทศ พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม กองบรรณาธิการ : คณะสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา รูปเล่ม/รูปภาพ พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ Dhammaratana Journal is published by Wat PadhammaratanaThe Buddhist Meditation Center of Pittsburgh) 5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207 Tel(412)521-5095 E-mail : bmcpitts@hotmail.com, bmcpitts@yahoo.com Homepage : www.bmcpitts.org www.facebook.com/bmcpitts www.youtube.com/watpadhammaratana CONTENT - สารบัญ ยืนด้วยขาตนเอง 5 น้ำ�ขุ่นไว้ใน น้ำ�ใสไว้นอก 9 อย่าริลองสูบบุหรี่ 12 สร้างนิสัยประหยัด 15 ยิ้มแย้มแจ่มใส 17 สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง 19 ขอให้เป็นคนดี 21
  • 3. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 5 คำ�นำ� พ่อแม่คือพระเจ้าผู้สร้างลูก จะเสกสรร ปั้นแต่งลูกให้เป็นคนอย่างไรในสังคม ท่านทั้ง สองถือว่ามีบทบาทที่สำ�คัญยิ่ง ในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ข้อหนึ่งของพ่อแม่ คือ สอนให้บุตรธิดาเป็น คนดี เมื่อพ่อแม่ทำ�หน้าที่ไม่บกพร่อง สังคมจึงมี ความหวังและทางรอดจากวิกฤติการณ์ต่างๆ ในยุค ปัจจุบัน คำ�สอนของพ่อแม่จึงเสมือนคำ�ของพระ อรหันต์ เพราะท่านมีความรักอันบริสุทธิ์ต่อลูกทุก คน(Unconditional love) ผู้เขียนถือโอกาสนำ�คำ� สอนของแม่มาเล่าสู่กันฟัง ขอให้ญาติธรรมทุกท่าน จงเจริญในธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน คือ ทางพ้นทุกข์ เทอญ ด้วยไมตรีธรรม ปิยเมธี ยืนด้วยขาตนเอง หน้าที่ตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของพ่อแม่ คือสอนลูกให้เป็นคนดี คำ�สอนของพ่อแม่ เป็นคำ� สอนที่ล้ำ�ค่า มีราคามากกว่าทรัพย์สินเงินทองและ สิ่งอื่นใดในโลกหล้า ในครอบครัวของข้าพเจ้า การ อบรมเลี้ยงดูลูกเป็นหน้าที่หลักของแม่ ส่วนพ่อ จะเป็นคนชอบทำ�ไม่ชอบพูดจนบางครั้งคนทั่วไป
  • 4. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 6 7 ชอบล้อท่านว่าเป็นใบ้ จะขอนำ�คำ�สอนของแม่มา แชร์เป็นการเทิดทูนพระคุณท่านไว้ในโอกาสวัน แม่แห่งชาติ หลังจากจบชั้นปฐมศึกษาแล้ว แม่ บังคับให้บวชเป็นสามเณรกับหลวงลุง ต่อมา ท่านได้ส่งให้ไปศึกษาเล่าเรียนนักธรรมบาลี ที่จ.สมุทรปราการ ชีวิตของข้าพเจ้าจึงอยู่โดย ปราศจากเงาแม่ตั้งแต่เด็ก แม้กระนั้นแม่ก็ไม่คลาย ความห่วงใย ถึงจะไม่มีโอกาสสั่งสอนลูกโดยตรง เพราะอยู่ไกลกันกอรปกับในสมัยนั้นเครื่องมือ สื่อสารยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนในปัจจุบัน แต่ ท่านก็พากเพียรเขียนจดหมายมาถามข่าวคราวและ ไม่ลืมที่จะแนบคำ�สอนมาด้วยทุกครั้ง ซึ่งจดหมาย ทุกฉบับของแม่นั้นข้าพเจ้าได้เก็บไว้เป็นอย่างดี ครั้งหนึ่งแม่เขียนจดหมายมาและบอก ว่า ให้ลูกพยายามยืนด้วยขาตนเอง ข้าพเจ้าตั้ง คำ�ถามกับตนเองและถามแม่ในใจว่า แล้วที่ยืน อยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้ยืนด้วยขาตัวเองเหรอ ? แต่เมื่อ มีประสบการณ์ในชีวิตมากขึ้น จึงทำ�ให้เข้าใจคำ� พูดอันลึกซึ้งของแม่ว่า มันยิ่งใหญ่เพียงใด การ ยืนด้วยขาตนเอง ก็คือ การเรียนรู้ที่จะพึ่งพาอาศัย ตนเอง ด้วยการหมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ในด้านต่างๆ ตรงกับคำ�สอนในทางพระพุทธ ศาสนาว่า อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ แปลว่า ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน การพึ่งคนอื่นนั้น พึ่งได้ช่วงครั้งช่าว คราว ไม่สามารถพึ่งได้ตลอดหรือทุกเรื่อง มีผู้รู้ ทางศาสนากล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าเปรียบด้วย
  • 5. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 8 9 พ่อ พระธรรมเปรียบด้วยแม่ และพระสงฆ์เปรียบ ด้วยพี่ ตอนนี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เหลือแต่พระธรรม(แม่)และพระสงฆ์(พี่) เหล่า พุทธศาสนิกชนพึ่งพาอาศัยท่านเหล่านั้นคอย แนะนำ�พร่ำ�สอน จนสามารถยืนด้วยขาตนเอง ได้หรือพึ่งพาตนเองได้ นั้นคือเป้าหมายสูงสุด ท่านไม่สามารถทำ�แทนเราได้ องค์พระศาสดา ตรัสย้ำ�ว่า อักขาตาโร ตะถาคะตา พระตถาคต เจ้า(พระพุทธเจ้า)เป็นเพียงผู้บอก (ไม่สามารถทำ� แทนได้) เมื่อนึกถึงคำ�สอนของแม่ในเรื่องพึ่งพา ตนเองทีไร จึงได้แต่ยกมือท่วมหัวและอุทานใน ใจว่า จริงแท้หนอ ถูกแท้หนอ คำ�สอนของพระ อรหันต์ เมื่อสอบบาลีสนามหลวงเสร็จ วัดที่ ข้าพเจ้าอาศัยอยู่จะจัดโครงการบรรพชาสามเณร ฤดูร้อน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนมีโอกาสใกล้ ชิดพระพุทธศาสนาศึกษาธรรมะประมาณ ๒๑ วัน หลังจบโครงการแล้ว มีเวลาว่างประมาณ ๑-๒ น้ำ�ขุ่นไว้ใน น้ำ�ใสไว้นอก
  • 6. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 10 11 อาทิตย์ ข้าพเจ้าจึงถือโอกาสนี้กลับบ้านไปเยี่ยม พ่อแม่พี่น้องปีละครั้งก่อนเปิดเรียนบาลี การไปเยี่ยมบ้านแต่ละครั้ง แม่จะเป็นห่วง เสมอ อาหารอะไรดีๆ ท่านจะหามาให้เราทาน และเมื่อมีโอกาสท่านก็ไม่พลาดที่จะสอดแทรกคำ� สอนเข้าไปด้วย ในขณะที่นั่งคุยกัน แม่ก็ได้โอกาสบอกว่า ลูก น้ำ�ขุ่นให้เอาไว้ข้างใน น้ำ�ใสให้เอาไว้นอก คำ� สอนนี้ข้าพเจ้าพอตีความออกว่าแม่ต้องการสอน อะไร ท่านต้องการให้เราเป็นคนมีความอดทน อดกลั้น เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น เป็น ธรรมดาย่อมมีการกระทบกระทั่งกันบ้างไม่ต่าง จากลิ้นกับฟัน ถ้าหากเราไม่มีความอดทน ไม่ พอใจอะไรก็แสดงออกเลย จะทำ�ให้เราเสียเพื่อน ฝูง เสียงานใหญ่ น้ำ�ขุ่นที่แม่บอก คือ ความไม่พอใจ ความ โกรธ ความอิจฉาริษยา ความน้อยใจ ความเห็นแก่ ตัว เป็นต้น ควรเก็บไว้ในใจเราและพยายามปล่อย มันไป เรียนรู้วิธีการจัดการกับมันในทางที่ดี ส่วนน้ำ�ใส คือ ความเสียสละ ความเมตตา กรุณา มุทิตา ความมีน้ำ�ใจ คำ�พูดที่ไพเราะเสนาะ โสต ไม่ควรเก็บไว้ ควรแสดงออกให้ถูกกาละ เทศะ บุคคล และสถานที่ เมื่อนึกถึงคำ�สอนนี้ของแม่ทีไร ก็ได้แต่ ถอนหายใจว่า ทำ�ไมมันทำ�ยากจัง แม่ ! แต่ลูกจะ พยายาม เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีกับตัวลูกเอง และคน ที่เขาอยู่กับลูก
  • 7. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 12 13 เมื่อตอนอายุ ๑๕ ปี ยังจำ�ได้ดีว่า วันหนึ่ง ได้รับจดหมายจากแม่เขียนมาเชิงตักเตือนแกม บังคับว่า ห้ามสูบบุหรี่ แม่คงเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ ของลูก เพราะเด็กในวัยนั้นกำ�ลังอยากรู้อยากลอง แต่คำ�เตือนของแม่ก็ได้ผลเสมือนประกาศิต เพราะ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกว่าอยากลอง สูบบุหรี่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ในสังคมส่วนมากจะมีค่านิยมผิดๆ เกิด ขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ว่า ถ้าได้ทำ� อย่างนั้นและอย่างนี้ ถือว่าเป็นคนเท่ห์ เก่ง และก็ ยอมรับกันในหมู่เพื่อนฝูง แม่คงเข้าใจในจุดนี้ จึง พยายามพร่ำ�บอกว่า อย่าทำ�นั้น อย่าทำ�นี้ ซึ่งสิ่งที่ ท่านบอก เมื่่อย้อนกลับไปคิดก็ล้วนเป็นประโยชน์ แก่ลูกทั้งนั้น การสูบบุหรี่นั้นเมื่อหลายสิบปีก่อนในต่าง จังหวัด ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้ชาย และ ยังมีค่านิยมว่า ลูกผู้ชายแท้ต้องสูบบุหรี่ ถึงจะได้รับ การยอมรับจากสังคม จนกระทั่งมีการถวายบุหรี่ แก่พระภิกษุสงฆ์เวลานิมนต์ท่านไปสวดมนต์ที่ อย่าริลองสูบบุหรี่
  • 8. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 14 15 บ้านหรือทำ�บุญในที่ต่างๆ แต่ต่อมาเมื่อสังคมยุคปัจจุบันไม่ยอมรับ เรื่องบุหรี่ ทำ�ให้พระภิกษุสงฆ์ต้องปรับตัว เพื่อให้ สังคมยอมรับ ประเพณีการถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์ ในต่างจังหวัดจึงค่อยๆ จางหายไป ถึงแม้จะหลง เหลืออยู่แต่ก็น้อยมาก การสูบบุหรี่ ถึงเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ก็ ต้องระวังพอสมควร เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวใน โลก แม้ในต่างประเทศก็มีการจำ�กัดสถานที่ให้สูบ กัน วันนี้ขอเล่าเรื่องแม่ต่ออีกตอนหนึ่งใน เทศกาลวันแม่ เพื่อบูชาพระคุณท่าน ทุกปี พอสอบเสร็จปิดภาคเรียนก็จะกลับ ไปเยี่ยมคุณแม่ พอเวลาใกล้เปิดเทอม ต้องเดินทาง กลับมาเตรียมตัวเรียน แม่จะกรอกน้ำ�ฝนใส่ขวด พลาสติกให้ ห่อข้าวและกับให้ไปกินระหว่างทาง สร้างนิสัยประหยัด
  • 9. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 16 17 ปกติเวลากลับบ้านจะนิยมโดยสารรถไฟชั้น ๓ บ้าง ชั้น ๒ พัดลมบ้าง แม่ไม่ได้พูดอะไรเลย แต่ สิ่งที่เรารับรู้ได้คือความห่วงใยที่ท่านมี และสิ่ง ที่ต้องการสอนเรา คือ ต้องการสร้างนิสัยการ ประหยัด เพราะบางอย่างที่เรามี ก็ไม่จำ�เป็นต้อง ไปซื้อให้เสียเงิน ปกติจะโทรศัพท์คุยกับแม่เป็นประจำ�เกือบ ทุกวัน เพราะอยู่ห่างไกลกันมาก และไม่ได้อยู่กับ ท่านตั้งแต่เรียนจบป.๖ ทุกๆ ครั้งที่คุยกัน แม่จะมีข้อคิดดีๆ มาเล่า ให้ฟังเสมอ ครั้งหนึ่ง ท่านเล่าเรื่องชีวิตวัยเด็กที่ต้อง กำ�พร้าแม่ เพราะแม่ของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยัง เล็ก ยิ้มแย้มแจ่มใส
  • 10. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 18 19 ฉะนั้นชีวิตของท่านจึงต้องอาศัยอยู่กับพ่อ และลุงเป็นส่วนใหญ่ มีลูกพี่ลูกน้องที่เติบโตมากับ แม่ด้วยกัน๒คนซึ่งจะชอบทะเลาะกันเป็นประจำ� แต่ลุงที่ดูแลทุกคนจะมีกฎเหล็กอยู่อย่างหนึ่งว่า จะ ทะเลาะเบาะแว้งกันที่ไหนก็ได้ ถ้าอยู่ในบ้านลุง ทุกคนต้องยิ้มแย่มแจ่มใสและอารมณ์ดี ห้ามแสดง ความไม่รักกันให้เห็น กฎนี้ ทำ�ให้ท่านเป็นคนเข้มแข็งและต้อง ฝึกฝืนอารมณ์ตัวเองบ่อยๆ จนกลายเป็นความ เคยชินที่ดี ไม่ลุแก่อำ�นาจความโกรธ ฟังแม่เล่าจบ ก็แอบชื่นชมคุณลุงที่มี กุศโลบายดีๆ คอยสอน ลูกหลานของท่านให้เป็น คนหนักแน่น คำ�แม่สอนอีกเรื่องหนึ่งที่อยากนำ�มาเล่าให้ ท่านทั้งหลายฟังในวันนี้ เป็นเรื่องที่ทำ�ให้ข้าพเจ้าทึ่ง ในความชาญฉลาดของคุณแม่ มีอยู่ครั้งหนึ่งข้าพเจ้ากลับบ้าน ครั้งนั้นพ่อ เห็นว่าเริ่มโตเป็นหนุ่มแล้ว ลูกผู้ชายควรจะมีอะไร ไว้ป้องกันตัว ท่านจึงกล่าวว่าควรจะไปเรียนวิชา คงกระพันชาตรีซึ่งเป็นมรดกตกทอดของปู่ สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
  • 11. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ 20 21 แต่แม่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านโดยประการทั้ง ปวง บอกไม่ให้เรียนไม่ให้เอา มันไม่ดี และกล่าวต่อว่า "ลูกไม่ต้องเรียนวิชาอะไรเลย ขอให้ลูกเป็น คนดี ความดีจะปกป้องรักษาลูกเอง" หลายปีต่อมา ข้าพเจ้าได้ถามความคิดเห็นว่า ทำ�ไมไม่อยากให้เรียน แม่เล่าว่า ท่านเห็นตัวอย่างมาเยอะ คนที่เรียน วิชาพวกนี้แล้ว ส่วนมากจะหลงตัวและใช้ไปในทางที่ผิด และเกิดโทษภัยแก่ตัวเอง นึกถึงคำ�สอนแม่แล้วทำ�ให้นึกถึงโคลงพระ ราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕ ว่า ความรู้คู่เปรียบด้วย กำ�ลัง กายแฮ สุจริตคือเกราะบัง ศาสตรพ้อง ปัญญาประดุจดัง อาวุธ กุมสติต่างโล่ห์ป้อง อาจแกล้วกลางสนามฯ เนื่องจากบวชเรียนมาหลายสิบปี ด้วย ความหวังดี คนที่รู้จักส่วนมากถวายคำ�แนะนำ�ให้ บวชตลอดชีวิต พร้อมเล่าถึงสารพัดทุกข์ของชีวิต ฆราวาส ตอนยังเป็นสามเณร เหมือนแม่จะไม่ เหนื่อยกับพร่ำ�สอนหลายเรื่องในชีวิต คงเป็นห่วง ขอให้เป็นคนดี
  • 12. วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์ All are cordially invited to participate in the meditation programs and Buddhist activities at Wat Padhammaratana(Buddhist Meditation Centre of Pittsburgh) Activity Day Time 1. Chanting Daily Morning and Evening 05.30 - 6.30 a.m. 5.30 - 6.30 p.m. 2. Dhamma Talk Daily Morning 10.45 - 11.15 a.m. 3.Buddhist Study(Thai) Every Sunday 01.00 - 03.00 p.m. 4. Meditation(English) Every Saturday 03.00 - 05.00 p.m. All activities will be held at the upper or lower level of the temple. For further information, please contact Wat Padhammaratana, PA. Tel.412-521-5095, E-mail : bmcpitts@hotmail.com, www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts - To serve as a Buddhism promotion center in the U.S. -ToserveasameditationcenterinPittsburgh - To promote virtues, Buddhist culture and traditions - To be a center of all Buddhists, regardless of nationalities OBJECTIVES 22 ตามธรรมชาติของคนเป็นแม่ แต่พอบวชเป็นพระแล้ว ท่านกลับเงียบไม่ ค่อยสอนเหมือนเดิมเพียงแค่บอกว่า ลูกโตแล้ว รู้ ว่าอะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร มีอยู่ครั้งหนึ่งแม่พูดกับข้าพเจ้าว่า ลูกจะ บวชต่อไปหรือจะสึก แม่ไม่ห้าม ขออย่างเดียว ขอ ให้เป็นคนดี ในชีวิตข้าพเจ้าพบเจอคนมาก็มากใน หลากหลายประเทศ แต่เมื่อนึกถึงแม่ทีไร ก็คิดว่า ท่านเป็นบุคคลผู้หนึ่่ง ที่มีความคิดที่เป็นเสรี และ เปิดกว้างมาก เหมือนแม่จะมองทะลุว่า สาระของ ชีวิตคือคุณงามความดี