SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
ชื่อรายการ " เห็นธรรม ก่อนทุกข์ "
ความยาว      15 นาที
ตอน          "ทาน"
ภาพ                  เสียง            เวลา   สคริป
	
  
ช่วงนำเข้าสู่รายการ ความยาว 1.30 นาที
ผู้ให้สัมภาษณ์        -Ambiance      30 วิ   ถาม
                      -Instrument            1. รู้จัก "ทาน" ไม๊?
                      (ตื่นเต้นเบาๆ)         2. "ทาน" คืออะไร?
Title Opening         Title Opening 30 วิ
พิธีกร (ญ.)           Instrument     30 วิ   "หลายคน ให้นิยาม ของคำว่า "ทาน"
Dolly หรือเดิน        (ประจำตัว)             ที่ต่างกัน รวมไปถึง มีความเข้าใจที่
(กว้าง)                                      ไม่เหมือนกัน อาจส่งผลให้
                                             มีพฤติกรรม ที่แตกต่างกันไป
                                             แล้วคุณล่ะคะ เข้าใจคำว่า "ทาน"
                                             มากน้อยเพียงใด

เปลี่ยนมุมกล้อง (แคบ)                        สวัสดีค่ะคุณผู้ชม ดิฉัน.........ชื่อ
                                             นามสกุล
                                             รับหน้าทีผู้ดำเนินรายการค่ะ
                                                         ่
                                             วันนี.้ .เราจะมาทำความเข้าใจ
                                             ในเรื่องของ "ทาน" ว่ามีความหมาย
                                             อย่างไร? และอะไร? ที่เรียกว่า "ทาน"
                                             ...ไปติดตามชมกันค่ะ
	
  
ช่วงความรู้ทั่วไป ความยาว 2.30 นาที
ภาพประกอบ              Vo. &                 ต้นไม้ที่ให้ผลและร่มเงา
ตาม VO.                Instrument            ได้ชื่อว่าเป็นไม้มีประโยชน์
(ภาพถ่ายหรือวิดีโอ)                          ย่อมได้รับการดูแลใส่ปุ๋ยพรวนดิน
                                             เปรียบดั่งเช่น ผู้ที่รู้จักให้ทาน
                                             ได้ชื่อว่า เป็นคนมีประโยชน์
                                             ย่อมสมควรได้รับการยกย่อง
                                             สรรเสริญ และการช่วยเหลือ
สนับสนุนจากคนทั้งหลายเช่นกัน

ขึ้นตัวหนังสือ            "ทาน" แปลว่าการให้ หมายถึง
"ทาน หมายถึง              การสละสิ่งของของตน เพื่อเป็น
การสละสิ่งของของตน        ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
ด้วยความเต็มใจ"

ภาพประกอบ                 "ทาน" เป็นบุญชนิดหนึ่ง เรียกว่า
ตาม (VO)                  "ทานมัย" คือบุญที่เกิดจากการให้
                          เป็นบ่อเกิดแห่ง "ทานบารมี"

ภาพประกอบ                 การให้ทานมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ
ตาม (VO)                  คลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว
                          ความโลภ ทำให้เกิดความใสสว่าง
                          สะอาด ของจิตใจ

ขึ้นตัวหนังสือ            ประเภทของ "ทาน" แบ่งเป็น 3
"ประเภทของ ทาน"           ประเภท ได้แก่
"อามิสทาน"                - อามิสทาน
ภาพประกอบ                 คือการให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน
ตาม (VO)                  เรียกว่า วัตถุทาน 10 อย่าง ได้แก่ ข้าว
                          น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม
                          เครื่องลูบไล้ เครื่องนอน เสนาสนะ
                          เครื่องประทีป

ขึ้นตัวหนังสือ            - ธรรมทานหรือวิทยทาน
"ประเภทของ ทาน" "-        ธรรมทาน คือ
อามิสทาน"                 การให้ความรู้ทางธรรมเป็นทาน เช่น
"- ธรรมทานและ             สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี
วิทยทาน"                  ทำใจให้ผ่องใส เป็นต้น
ภาพประกอบ                 วิทยทาน คือ
ตาม (VO)                  การให้ความรู้ทางโลกเป็นทาน เช่น
สอนศิลปะวิทยาการต่างๆ

ขึ้นตัวหนังสือ                            - อภัยทาน คือ
"ประเภทของ ทาน" "-                        การสละอารมณ์โกรธ และให้อภัย
อามิสทาน"                                 เป็นทาน
"- ธรรมทานและ
วิทยทาน"
"-อภัยทาน"
ภาพประกอบ
ตาม (VO)


ใส่ภาพหนังสือ                             การให้ธรรมมะเป็นทาน
ตำราต่างๆ                                 ถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุด
ของศูนย์สื่อฯ                             มีคุณค่ากว่าการให้ทานทั้งปวง
หรือของที่วัด                             เพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันโลก
                                          เท่าทันกิเลส สามารถนำไปใช้ได้ไม่รู้
                                          จักจบสิ้น ส่วนทานชนิดอื่นผู้รับได้
                                          รับแล้วไม่ช้าก็หมดสิ้นไป
                                          ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า
ขึ้นตัวหนังสือ                            สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ
"สัพฺพทานํ ธมฺมทานํ                       การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง
ชินาติ
การให้ธรรมทาน
ชนะการให้ทั้งปวง"
พิธีกร (MS)           Intrument    15 วิ คุณผู้ชมเคยสงสัยไม๊คะ?
Zoom in               (ประจำตัว)         ทำไมคนเราต้อง ทำทาน?
                                         ทำทานแล้วได้อะไร?
                                         และเราควรทำทานอย่างไร?
                                         จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
                                         ไปฟังพระอาจารย์ท่านให้ความรู้
                                         กันค่ะ
	
  
 
ช่วงพระอาจารย์ให้ความรู้ 10 นาที
พอจ.กล่าวทักทาย                    พอจ. ให้ความรู้ตามแนวคำถามดังนี้
(MS)                               - ทำไมต้องทำทาน ?
พอจ.                 เสียง พอจ.    จุดมุ่งหมายของการให้ทาน
                                     1. “ให้” เพื่อทำคุณ
                                   เป็นการให้เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
                                   ให้เพื่อให้ผู้รับนิยมชมชอบในตัวผู้ให้
                                   ไม่ได้มุ่งเพื่อเป็นบุญ เช่น คนที่
                                   สมัครผู้แทนฯ ถึงเวลาหาเสียงทีก็เอากฐิน
                                   ผ้าป่าไป ทอด 10 วัด 20 วัด ไปสร้างสะพาน
                                   สร้างถนน เพื่อ ให้ชาวบ้านเห็นว่าตน
                                   เป็นคนใจบุญ จะได้ลงคะแนนเสียงให้ตน
                                   หรือบางคนรักพี่สาวเขา ก็เลยเอาขนม
                                   ไปฝากน้องชาย การให้อย่างนี้มีจุดมุ่งหมาย
                                   เพื่อผลต้องตอบว่า ได้บุญเหมือนกัน
                                   แต่น้อยเหลือเกิน ได้ไม่เต็มที่ การให้
                                   ที่จะได้บุญมากนั้น ต้องให้เพื่อ อนุเคราะห์
                                   และสูงขึ้นไปอีกคือ ให้ เพื่อบูชาคุณ
                                      2. “ให้” เพื่ออนุเคราะห์
                                   เป็นการอุดหนุนเอื้อเฟื้อกัน ให้ด้วยความ
                                   เมตตากรุณา เช่น พ่อแม่ให้อาหาร แก่ลูก
                                   ครูอาจารย์ ให้ความรู้แก่ศิษย์ ผู้มีทรัพย์
                                   บริจาค ทรัพย์เพื่อเป็นทุนการศึกษา
                                   แก่นักเรียนที่ยากจน เป็นต้น
                                      3. “ให้” เพื่อบูชาคุณ
                                   เมื่อมีผู้ปรารถนาดีต่อเรา เมตตา กรุณา
                                   ช่วยเหลือ อุปการะเรา เช่น พ่อ แม่
                                   ครูอาจารย์ เราก็แสดงความเคารพ
                                   นบนอบท่านด้วย กาย วาจา ใจ
                                   บูชาคุณท่านด้วยทรัพย์สินตามกำลัง
                                   ยามท่านเจ็บป่วยก็ช่วย พยาบาลรักษา
                                   ไม่ละทิ้งท่านทั้งในยามสุขและยาม ทุกข์
นอกจากนี้บุคคลที่ควรบูชาคุณ คือ
                                   พระภิกษุสามเณรผู้ทรงคุณธรรม
                                   เป็นผู้ชี้ทางสันติสุขแก่โลก ให้รู้จัก
                                   บาปบุญคุณโทษ เป็นธุระคอยสั่งสอน
                                   อบรมแนะนำประชาชนให้พ้นทุกข์
                                   เราก็ควรบูชาท่านด้วยปัจจัยสี่ เพื่อให้
                                   ท่านมีกำลังบำเพ็ญสมณธรรมและ
                                   บำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์
                                   ตามสมณวิสัยได้เต็มที่
                                   - ทำทานแล้วได้อะไร ?
                                      การให้ทาน เป็นเรื่องของความชุ่มเย็น
                                   ผู้ที่ให้ทานอยู่เสมอย่อมมีใจผ่อง ใสเยือกเย็น
                                   หมู่ชนที่นิยมการให้ทาน
                                   ย่อมไม่มีความเดือดร้อนใจ เนื่องจาก
                                   ต่างคนต่างมีอัธยาศัยไมตรีถ้อยที
                                   ถ้อยอาศัยกัน อนึ่ง ผลบุญจากการ
                                   ให้ทานจะสะสมอยู่ในใจของเรา
                                   ทำให้มีอำนาจมีพลังสามารถดึงดูด ทรัพย์ได้
                                   ถ้าใครสั่งสมการให้ และการเสียสละมามาก
                                   จะมีพลังดูดทรัพย์มาก ถ้าใครมีใจตระหนี่
                                   มีความโลภมากจะมีพลังดูดทรัพย์ น้อย
                                   โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า คนทำทานมามาก
                                   จะทำให้รวย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                                   ก็ยังทรง ยกย่องทานไว้หลายลักษณะดังนี้
ขึ้นตัวหนังสือ        เสียง พอจ.   * คนควรให้ในสิ่งที่ควรให้
“คนควรให้ในสิ่งที่ควร              * การเลือกให้ทานพระสุคตสรร เสริญ
ให้” ขฺุ. ชา. สตฺตก.               * คนพาลเท่านั้นที่ไม่สรรเสริญ
๒๗/๑๐๑๒/๒๑๗                        การให้ทาน
“การเลือกให้ทานพระ                 * เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้วทักษิณาทาน
สุคตสรรเสริญ”                      หาชื่อว่าเป็นของน้อยไม่
ขฺุ. ชา. อฎฐก.                     * บุญของผู้ให้ย่อมเจริญก้าวหน้า
๒๗/๑๑๘๔/๒๔๙                        * ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
“คนพาลเท่านั้นที่ไม่               * ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
สรรเสริญการให้ทาน”                       * ผู้มีปัญญาให้ความสุขย่อมได้รับ ความสุข
ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๓๘
“เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้ว
ทักษิณาทาน หาชื่อว่า
เป็นของน้อยไม่
ขุ. วิ. ๒๖/๔๗/๘๒
“บุญของผู้ให้
ย่อมเจริญก้าวหน้า”
ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘/๒๑๕
“ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้
ได้” สํ. ส.
๑๕/๘๔๕/๓๑๖
“ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ของคนหมู่มาก”
องฺ. ปญฺจก.
๒๒/๓๕/๔๓
“ผู้มีปัญญาให้ความสุข
ย่อมได้รับความสุข”
องฺ. ปญฺจก.
๒๒/๓๗/๔๕


ขึ้นตัวหนังสือ              เสียง พอจ.   * ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง
“ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้                   * ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ
กำลัง”                                   * ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข
“ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้                     * ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ
วรรณะ”                                   * ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่ง ทุกอย่าง
“ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่า                   * ผู้ให้ธรรมทานชื่อว่าให้อมฤตธรรม
ให้ ความสุข”
“ผู้ให้ประทีปโคมไฟ
ชื่อว่า ให้จักษุ”
ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้
ทุกสิ่งทุกอย่าง”
ผู้ให้ธรรมทานชื่อว่าให้
อมฤตธรรม”
(กินททสูตร) สฺํ ส.
๑๕/๑๓๘/๔๔

ขึ้นตัวหนังสือ       เสียง พอจ.   * ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
“ผู้ให้ของที่พอใจ                 * ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ย่อมได้ของที่พอใจ”                * ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
“ผู้ให้ของที่เลิศ                 * ผู้ให้ของที่ประเสริฐ
ย่อมได้ของที่เลิศ”                * ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ
ผู้ให้ของที่ดี                    * นระใดนั้นจะเกิด ณ ที่ใดๆ
ย่อมได้ของที่ดี”                  * ย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้นๆ
ผู้ของที่ประเสริฐ
ย่อมเข้างฐานะอันประ
เสริฐ”
นระใดนั้นจะเกิด ณ
ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน
มียศ ณ ที่นั้นๆ”
(มนาปทายีสูตร) องฺ.
ปญฺจก. ๒๒/๔๔/๕๖

                                  - ทำทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูง ?
                                  การทำทานให้ได้บุญมาก ต้องพร้อมด้วยองค์
                                  3 คือ
                                      1. วัตถุบริสุทธิ์
                                         ของที่จะให้ทานต้องเป็นของที่ตนได้
                                         มา โดยสุจริตชอบธรรม
                                         ไม่ได้คดดกงหรือ เบียดเบียน ใครมา
                                         ให้ทานด้วยน้ำพริก ผักต้ม ที่ได้มา
                                         โดยบริสุทธิ์ได้กุศล มากกว่า
                                         ให้อาหารโต๊ะจีน ราคาตั้งพันด้วย
                                         เงินทองที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์
2. เจตนาบริสุทธิ์ คือ
   มีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่
   ออกจากใจของตน ทำเพื่อเอาบุญ
   ไม่ใช่เอาหน้า เอาชื่อเสียง ไม่ใช่เอา
   ความเด่น ความดัง ความรัก จะต้องมี
   เจตนาบริสุทธิ์ทั้ง 3 ขณะ คือ
   - ก่อนให้ก็มีใจเลื่อมใสศรัทธา
        เป็นทุนเดิม เต็มใจที่จะทำบุญนั้น
   - ขณะให้ก็ตั้งใจให้ ให้ด้วยใจ
        เบิกบาน
   - หลังจากให้ก็มีใจแช่มชื่น
        ไม่นึกเสียดาย สิ่งที่ให้ไปแล้ว
3. บุคคลบริสุทธิ์ คือ เลือกให้แก่ผู้รับ
   ที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบ
   เรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม
   โดยทั่วไปแล้วพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า
   ทรงสอนว่า พระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญ
   ของโลก แต่ถึงกระนั้น ก็ทรงสอน
   ให้เลือก ถ้าจะนิมนต์พระภิกษุ
   เฉพาะเจาะจงก็ให้นิมนต์
   พระที่เคร่งครัดในสิกขาวินัย
   น่าเลื่อมใส ถ้าจะนิมนต์พระ
   ไม่เฉพาะเจาะจง ให้สมภารวัด จัดให้
   ก็ให้เลือกนิมนต์จากหมู่สงฆ์
   ที่ประพฤติสิกขาวินัย เคร่งครัด
   สำหรับผู้ให้ทาน คือ ตัวเรา เอง
   ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จึงจะได้บุญมาก
   จะเห็นว่า ทุกครั้งที่เราจะถวาย
   สังฆทาน พระท่านจะให้ศีลก่อน
   เพื่อว่า อย่างน้อยที่ สุดในขณะนั้น
   เรายังมีศีล ๕ ครบ
   จะได้เกิดบุญกุศลเต็มที่
ขึ้นตัวหนังสือ           เสียง พอจ.   ทานที่ให้แล้วไม่ได้บุญ
“ทานที่ให้แล้วไม่ได้                     1. ให้สุรายาเสพย์ติด เช่น บุหรี่ เหล้า
บุญ”                                         ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ฯลฯ
 1. ให้สุรายาเสพย์ติด                    2. ให้อาวุธ เช่น เขากำลังทะเลาะกัน
      เช่น บุหรี่ เหล้า                      ยื่นปืน ยื่นมีดให้
      ฝิ่น กัญชา ยาบ้า                   3. ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนัง ดูละคร
      ฯลฯ                                    ฟังดนตรี เพราะทำให้กาม กำเริบ
 2. ให้อาวุธ เช่น                        4. ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่น หาสุนัข
      เขากำลัง                               ตัวเมียไปให้ตัวผู้ หาสาวๆ ไปให้
      ทะเลาะกันยื่นปืน                       เจ้านาย ฯลฯ
      ยื่นมีดให้                         5. ให้ภาพลามก รวมถึงหนังสือ
 3. ให้มหรสพ เช่น                            ลามกและสิ่งยั่วยุกามารมณ์ ทั้งหลาย
      พาไป ดูหนัง
      ฟังดนตรี เพราะ
      ทำให้กามกำเริบ
 4. ให้สัตว์เพศตรงข้
      าม เช่น
      หาสุนัขตัวเมีย
      ไปให้ตัวผู้
      หาสาวๆ ไปให้
      เจ้านาย ฯลฯ
 5. ให้ภาพลามก
      รวมถึง หนังสือ
      ลากมกและสิ่ง
      ยั่วยุกามารมณ์ทั้ง
      หลาย

พอจ.                    เสียงพอจ.     พอจ.เล่าเรื่องตัวอย่าง เช่น เรื่องชายตัดฟืน
ยกตัวอย่างเล่าเรื่อง

Fade เป็นภาพ            Fade เป็น       ในครั้งอดีตกาล มีเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อ
การ์ตูนเล่าเรื่อง       เสียงพากษ์    คันธเศรษฐี
(DMC)                   หรือเสียง     ทราบว่ามีมบัติอยู่ในสกุลเป็นอันมาก
บรรยาย   เขาเห็นว่าทรัพย์ที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้เป็นจำ
         นวนมาก แล้วนำติดตัวไปไม่ได้
         คนที่แสวงหาทรัพย์ไว้เป็นจำนวนมาก
         แล้วนำติดตัวไปไม่ได้ ได้ชื่อว่า ไม่ฉลาดเลย
         เศรษฐีจึงคิดใหม่ว่า เมื่อนำติดตัวไปไม่ได้
         ควรนำมาใช้ให้หมด เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว
         จึงให้บุคคลนำทรัพย์นั้นมาเป็นค่าเครื่อง
         บริโภค คือค่าอาหารวันละแสนกหาปณะ
         รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิต
         ซึ่งล้วนแต่มีราคาแพงทั้งนั้น ความฟุ่มเฟือย
         ของคันธเศรษฐีนั้น เป็นที่รู้กันไปทั่วเมือง
         พาราณสี ขนาดว่าเวลาจะรับประทานอาหาร
         ยังต้องเชิญให้คนมาดูเป็นจำนวนมาก
         ทั้งนี้เพราะอาหารและอุปกรณ์ทุกอย่างล้วน
         แต่เป็นของดีมีราคาแพงทั้งสิ้น
             วันหนึ่ง ชายตัดฟืนมาเที่ยวในเมืองเพื่อมา
         พบเพื่อน เพื่อนก็บอกข่าวนี้ให้ทราบ
         แล้วชวนกัน ไปดูเศรษฐีบริโภค ซึ่งมีคน
         มุงดูอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ขณะที่กำลังดู
         การบริโภคของเศรษฐีนั้น เขาเกิดความ
         อยากกินอาหารเช่นนั้นบ้าง ขนาดที่ว่าไม่ได้
         ก็ยอมตายทีเดียว จึงร้องขออาหารเศรษฐี
         เศรษฐีไม่ยอมให้ บอกว่า
         “ถ้าให้ท่าน คนอื่นเขาก็จะขอบ้าง อาหาร
         ไม่ใช่ราคาเพียงเล็กน้อย มีราคาแพงเป็นแสน
         เชียวนะ” ถึงขนาดนั้น ชายตัดฟืนก็ไม่อาจ
         ระงับความอยากในอาหารนั้นได้ จึงบอก
         เศรษฐีว่า ถ้าไม่ได้ เขาคงต้องตายแน่ เศรษฐี
         จึงบอกว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าเจ้า
         สามารถทำงานให้เราครบ 3 ปีเต็ม เราจะให้
         อาหารถาดหนึ่ง ที่มีความประณีตเหมือนกัน
         เลย” ด้วยความอยากบริโภคอาหาร ชายตัด
         ฟืนจึงรับคำ ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงได้ชื่อใหม่ว่า
“นายภัตตภติกะ” แปลว่ารับจ้างทำงานเพื่อ
อาหาร เขาอยู่รับใช้เศรษฐี 3 ปีเต็ม โดยไม่มี
ข้อบกพร่องเลยแม้แต่น้อย วันหนึ่งคนของ
เศรษฐีได้มารายงานว่า “บัดนี้ชายตัดฟืนนั้น
ทำงานครบ 3 ปีแล้ว ท่านเศรษฐีจะให้ทำ
อย่างไร” เศรษฐีจึงสั่งให้บริวารจัดของ
ทุกอย่าง ทั้งเครื่องอาบน้ำ ทั้งผ้านุ่งห่มและ
อาหาร ในทำนองเดียวกันกับที่เศรษฐีได้ใช้
ในวันนั้นพร้อมกับป่าวประกาศให้คนทั่ว
ทั้งเมืองมาดูการบริโภคครั้งยิ่งใหญ่ของชาย
ตัดฟืนนั้น ขณะที่เขากำลังเตรียมจะบริโภค
นั่นเอง พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เพิ่ง
ออกมาจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ ได้ตรวจดูว่า
ใครที่ควรจะไปโปรด ได้เห็นอปนิสัยของ
ชายตัดฟืนนั้น จึงเหาะมา แล้วยืนปรากฏ
อยู่เฉพาะหน้าของเขา ทันทีที่ชายตัดฟืนเห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสและ
คิดว่า กว่าเราจะได้กินอาหารที่ประณีต
สักมื้อหนึ่ง ต้องทำงานให้เศรษฐีถึง 3 ปี
แสดงว่าในอดีตชาตินั้น เราคงทำบุญมาน้อย
ทำทานมาน้อย ชาตินี้จึงลำบาก ยากจน
ถ้าเรากินอาหารนี้หมดภายในวันเดียว เราก็
อิ่มเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น แต่ถ้าเราถวาย
อาหารนี้ แด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผลบุญที่เกิด
จากการถวายของเรา จะส่งผลไปหลายภพ
หลายชาติ เมื่อคิดได้ดังนี้ ชายตัดฟืนยิ่งมี
ความเลื่อมใสศรัทธามากขึ้น จึงน้อมถาด
อาหารเข้าไปถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า
พอถวายได้กึ่งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ปิด
บาตร แสดงให้ทราบว่าพอแล้ว แต่เขาขอ
ร้องขึ้นอีกว่า “อาหารมื้อนี้เพียงพอสำหรับ
คนๆเดียวเท่านั้น ขอได้โปรดรับเถิด อย่า
สงเคราะห์ข้าพเจ้าเพียงแค่ชาตินี้เลย ให้ช่วย
สงเคราะห์ถึงชาติหน้าด้วยเถิด
    พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเปิดบาตรแล้วรับจน
หมด ชายตัดฟืนครั้นถวายอาหารเสร็จแล้ว
ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “อาหารนี้ข้าพจ้าทำงาน
ถึง 3 ปี จึงจะได้มา ด้วยอานุภาพผลแห่งทาน
นี้ ขอความสุขจงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าในที่ที
เกิดแล้วทุกภพทุกชาติ และขอให้ข้าพเจ้าได้มี
ส่วนแห่งธรรมที่ท่านเข้าถึงแล้วด้วยเถิด”
     ชายตัดฟืน แม้ตนเองเป็นคนรับใช้ที่
ยากจนด้วยทรัพย์ แต่เมื่อถึงเวลาถวายทาน
สามารถยกใจ เอาชนะความตระหนี่ได้ เรียก
ว่า ได้ถวายสามีทานที่ประณีตกว่าที่ตนเอง
บริโภค พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้นรับอาหาร
แล้ว จึงให้พรว่า “ขอสิ่งที่ท่านตั้งใจดีแล้ว
ปรารถนาดีแล้ว จงสำเร็จอย่างบริบูรณ์
เหมือนพระจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญ
ฉะนั้น” ในขณะที่ชายตัดฟืนถวายอาหาร
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้โดยยาก มหาชนที่มาดูการ
บริโภคของเขา ต่างก็ปีติยินดีในกิจที่ทำได้
ยากนั้น จึงส่งเสียงสาธุการดังสนั่น
จนได้ยินไปถึงเศรษฐี เศรษฐีคิดว่าชายตัดฟืน
นั้นเป็นคนบ้านนอก คงกินอาหารไม่เป็น
ทำให้คนทั้งหลายหัวเราะเยาะเอา จึงส่งคน
ใช้ที่สนินออกไปสืบดู เมื่อคนใช้ออกไปดู
ทราบเหตุการณ์ทุกอย่างแล้ว จึงกลับมาบอก
เรื่องนี้แก่เศรษฐี ครั้นเศรษฐีได้ยินแล้ว
เกิดความปีติตื่นตันใจว่า “ชายคนนี้ทำสิ่งที่
ทำได้โดยยาก เรามีสมบัติมากมายขนาดนี้ ยัง
ไม่อาจทำได้เหมือนเขาเลย” เศรษฐีจึงให้คน
ใช้เรียกชายตัดฟืนมาพบ มอบทรัพย์ให้พัน
หนึ่ง และขอมีส่วนในบุญนั้นด้วย ชายตัด
ฟืนใจดี ได้อุทิศส่วนบุญให้เศรษฐี เศรษฐีจึง
แบ่งทรัพย์ของตนให้เขาเป็นจำนวนมาก
ความดีของเขาเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เมื่อพระ
                                    ราชาทรงทราบเรื่องราวของเขา ทรงปิติ
                                    ยินดียิ่ง จึงให้เรียกมาพบ พระราชทานทรัพย์
                                    ให้พันหนึ่ง และขอมีส่วนในบุญนั้น
                                    ชายตัดฟืนก็ยินดีแบ่งส่วนบุญให้ พระราชา
                                    จึงพระราชทานรางวัลอีกเป็นจำนวนมาก
                                    พร้อมทั้งพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้
                                    ด้วย เขาได้ชื่อว่า “ภัตตภติกเศรษฐี” ซึ่ง
                                    แปลว่า เศรษฐีผู้รับจ้างเพื่ออาหาร

                                    สรุป
                                    จะเห็นได้ว่าชายตัดฟืนได้พัฒนา ชีวิตของตน
                                    จากคนยากจนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ขึ้นมาเป็น
                                    ผู้ที่มีจิตใจยิ่งใหญ่ สามารถขจัดความตระหนี่
                                    ออกจากใจได้ ด้วยการเสียสละอาหารที่ได้
                                    มาด้วยความยากลำบากเป็นทาน อีกทั้งยัง
                                    มีใจเผื่อแผ่อุทิศส่วนบุญและแบ่งส่วนบุญ
                                    นั้นให้กับผูทเี่ คารพรัก
                                                  ้

                                    เราทุกคนก็สามารถทำได้เช่นกัน
                                    เมื่อเราได้สร้างบุญแล้ว ไปเจอคนที่รักที่ชอบ
                                    พอกัน ก็แบ่งส่วนบุญให้แก่กันได้
                                    อุปมาเหมือนเราจุดประ ทีปขึ้นมาดวงหนึ่ง
                                    แล้วมีคนอื่นๆ เอาด้าม ประทีปมาจุดต่อ
                                    จากเรา ด้วยการจุดต่อดวง ประทีปนั้น
                                    มิได้ทำให้ประทีปของเรา หมดไป
                                    แต่กลับมีแสงสว่างจากดวงประทีป
                                    ด้ามอื่นๆ ที่สว่างเพิ่มมากขึ้นอีก มีแต่จะทำ
                                    ใหบริเวณนั้นสว่างไสวยิ่งขึ้น

พิธีกร (MS)   Instrument    15 วิ   เป็นอย่างไรกันบ้างคะ คุณผู้ชม
Zoom Out      (ปิดรายการ)           รู้สึกอยากทำทานขึ้นมาเลยใช่ไม๊คะ
                                    ทำทานแล้วเป็นสุขใจ สุขที่ได้เป็นผู้ให้
ก็ถือว่าคุ้มแล้วจริงไม๊คะ

                                             สำหรับวันนี้..ดิฉันและทีมงาน
                                             ต้องขอลาไปก่อน..พบกันใหม่ใน
                                             ตอนหน้านะคะ ... สวัสดีค่ะ
                                             (พนมมือไหว้)
	
  
	
  
ช่วงข้อเตือนใจ ท้ายรายการ
ขึ้นตัวหนังสือ         พอจ.          15 วิ    "คนเราเมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติ
(ตามเสียงพอจ.)         Instrument             แม้แต่เข็มเล่มเดียว ก็ไม่สามารถนำ
                       (ปิดรายการ)            ติดตัวไปได้ วิธีเดียวเท่านั้น ที่จะนำ
                                              ทรัพย์ติดตัวไปได้ คือ การนำทรัพย์ นั้น
                                              ไปทำทาน"
ขึ้นเครดิต
(พระมหาดร. สมชาย
ฐานวุฑฺโฒ)
	
  
ช่วงเครดิตท้ายรายการ
End Credit           Instrument      30 วิ
                     (ปิดรายการ)
ขอขอบคุณ
หนังสือ มงคลชีวิต
ฉบับ “ทางก้าวหน้า”
(พระมหาสมชาย
ฐานวุฑฺโฒ)

พระมหาดร.สมชาย
ฐานวุฑฺโฒ

ผลิตโดย
ศูนย์สื่อการเรียนรู้พระ
พุทธศาสนา
เอื้อเฟ้อสถานที่
วัดพระธรรมกาย

พิธีกร
........

ตัดต่อ
.........

ตากล้อง
.........

เสียงประกอบ
.......

ดูแลการผลิต
........

ควบคุมการผลิต
.........

ขึ้นโลโก้
ศูนย์สื่อฯ
DMC

More Related Content

What's hot

พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์Panda Jing
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma CommunicationPadvee Academy
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) niralai
 
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตรเหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตรsolarcell2
 
Heal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessHeal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessAimmary
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Wat Thai Washington, D.C.
 
คู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธคู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธniralai
 
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้าwatpadongyai
 

What's hot (19)

Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์พลังแห่งบุญฤทธิ์
พลังแห่งบุญฤทธิ์
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
 
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตรเหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
 
Photobook
PhotobookPhotobook
Photobook
 
Heal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sicknessHeal the mind_while_facing_sickness
Heal the mind_while_facing_sickness
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
 
คู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธคู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธ
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
 
Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011
 

Viewers also liked

สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุกสคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุกRuzz Vimolrut
 
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อยBlc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อยblcdhamma
 
รายการนิตยสารทางอากาศ
รายการนิตยสารทางอากาศรายการนิตยสารทางอากาศ
รายการนิตยสารทางอากาศPiyatida Sriwichai
 
บทวิทยุน้ำชา
บทวิทยุน้ำชาบทวิทยุน้ำชา
บทวิทยุน้ำชา-sky Berry
 

Viewers also liked (7)

สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุกสคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
สคริปบทสารคดี ตลาดสามชุก
 
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อยBlc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
 
Script vdo สพก
Script vdo สพกScript vdo สพก
Script vdo สพก
 
รายการนิตยสารทางอากาศ
รายการนิตยสารทางอากาศรายการนิตยสารทางอากาศ
รายการนิตยสารทางอากาศ
 
Script Coyote
Script CoyoteScript Coyote
Script Coyote
 
TV Production 1
TV Production 1TV Production 1
TV Production 1
 
บทวิทยุน้ำชา
บทวิทยุน้ำชาบทวิทยุน้ำชา
บทวิทยุน้ำชา
 

Similar to เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc

นวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษานวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษาkrusupkij
 
ความหมายของครู
ความหมายของครูความหมายของครู
ความหมายของครูniralai
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุniralai
 
ทรรศนะ2
ทรรศนะ2ทรรศนะ2
ทรรศนะ2krubuatoom
 
สัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรมสัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรมniralai
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30
โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30
โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30Chanathip Loahasakthavorn
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
กิจกรรมฐาน
กิจกรรมฐานกิจกรรมฐาน
กิจกรรมฐานwara
 
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขniralai
 

Similar to เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc (20)

บุญ
บุญบุญ
บุญ
 
นวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษานวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษา
 
Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10
 
ความหมายของครู
ความหมายของครูความหมายของครู
ความหมายของครู
 
2555blessing
2555blessing2555blessing
2555blessing
 
ค่าย
ค่ายค่าย
ค่าย
 
สังคมศึกษาศาสนพิธี
สังคมศึกษาศาสนพิธีสังคมศึกษาศาสนพิธี
สังคมศึกษาศาสนพิธี
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุ
 
ทรรศนะ2
ทรรศนะ2ทรรศนะ2
ทรรศนะ2
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
โลกธรรม ๘
โลกธรรม ๘โลกธรรม ๘
โลกธรรม ๘
 
สัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรมสัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรม
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30
โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30
โครงงานคอมพิวเตอร์ 6/3 -26-30
 
Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010 Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
 
กิจกรรมฐาน
กิจกรรมฐานกิจกรรมฐาน
กิจกรรมฐาน
 
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรมธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
 
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุขทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
ทำอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสุข
 

เห็นธรรม ก่อนทุกข์ Blc

  • 1. ชื่อรายการ " เห็นธรรม ก่อนทุกข์ " ความยาว 15 นาที ตอน "ทาน" ภาพ เสียง เวลา สคริป   ช่วงนำเข้าสู่รายการ ความยาว 1.30 นาที ผู้ให้สัมภาษณ์ -Ambiance 30 วิ ถาม -Instrument 1. รู้จัก "ทาน" ไม๊? (ตื่นเต้นเบาๆ) 2. "ทาน" คืออะไร? Title Opening Title Opening 30 วิ พิธีกร (ญ.) Instrument 30 วิ "หลายคน ให้นิยาม ของคำว่า "ทาน" Dolly หรือเดิน (ประจำตัว) ที่ต่างกัน รวมไปถึง มีความเข้าใจที่ (กว้าง) ไม่เหมือนกัน อาจส่งผลให้ มีพฤติกรรม ที่แตกต่างกันไป แล้วคุณล่ะคะ เข้าใจคำว่า "ทาน" มากน้อยเพียงใด เปลี่ยนมุมกล้อง (แคบ) สวัสดีค่ะคุณผู้ชม ดิฉัน.........ชื่อ นามสกุล รับหน้าทีผู้ดำเนินรายการค่ะ ่ วันนี.้ .เราจะมาทำความเข้าใจ ในเรื่องของ "ทาน" ว่ามีความหมาย อย่างไร? และอะไร? ที่เรียกว่า "ทาน" ...ไปติดตามชมกันค่ะ   ช่วงความรู้ทั่วไป ความยาว 2.30 นาที ภาพประกอบ Vo. & ต้นไม้ที่ให้ผลและร่มเงา ตาม VO. Instrument ได้ชื่อว่าเป็นไม้มีประโยชน์ (ภาพถ่ายหรือวิดีโอ) ย่อมได้รับการดูแลใส่ปุ๋ยพรวนดิน เปรียบดั่งเช่น ผู้ที่รู้จักให้ทาน ได้ชื่อว่า เป็นคนมีประโยชน์ ย่อมสมควรได้รับการยกย่อง สรรเสริญ และการช่วยเหลือ
  • 2. สนับสนุนจากคนทั้งหลายเช่นกัน ขึ้นตัวหนังสือ "ทาน" แปลว่าการให้ หมายถึง "ทาน หมายถึง การสละสิ่งของของตน เพื่อเป็น การสละสิ่งของของตน ประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยความเต็มใจ" ภาพประกอบ "ทาน" เป็นบุญชนิดหนึ่ง เรียกว่า ตาม (VO) "ทานมัย" คือบุญที่เกิดจากการให้ เป็นบ่อเกิดแห่ง "ทานบารมี" ภาพประกอบ การให้ทานมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ตาม (VO) คลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความโลภ ทำให้เกิดความใสสว่าง สะอาด ของจิตใจ ขึ้นตัวหนังสือ ประเภทของ "ทาน" แบ่งเป็น 3 "ประเภทของ ทาน" ประเภท ได้แก่ "อามิสทาน" - อามิสทาน ภาพประกอบ คือการให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน ตาม (VO) เรียกว่า วัตถุทาน 10 อย่าง ได้แก่ ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่องนอน เสนาสนะ เครื่องประทีป ขึ้นตัวหนังสือ - ธรรมทานหรือวิทยทาน "ประเภทของ ทาน" "- ธรรมทาน คือ อามิสทาน" การให้ความรู้ทางธรรมเป็นทาน เช่น "- ธรรมทานและ สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี วิทยทาน" ทำใจให้ผ่องใส เป็นต้น ภาพประกอบ วิทยทาน คือ ตาม (VO) การให้ความรู้ทางโลกเป็นทาน เช่น
  • 3. สอนศิลปะวิทยาการต่างๆ ขึ้นตัวหนังสือ - อภัยทาน คือ "ประเภทของ ทาน" "- การสละอารมณ์โกรธ และให้อภัย อามิสทาน" เป็นทาน "- ธรรมทานและ วิทยทาน" "-อภัยทาน" ภาพประกอบ ตาม (VO) ใส่ภาพหนังสือ การให้ธรรมมะเป็นทาน ตำราต่างๆ ถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุด ของศูนย์สื่อฯ มีคุณค่ากว่าการให้ทานทั้งปวง หรือของที่วัด เพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันกิเลส สามารถนำไปใช้ได้ไม่รู้ จักจบสิ้น ส่วนทานชนิดอื่นผู้รับได้ รับแล้วไม่ช้าก็หมดสิ้นไป ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า ขึ้นตัวหนังสือ สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ "สัพฺพทานํ ธมฺมทานํ การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง ชินาติ การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง" พิธีกร (MS) Intrument 15 วิ คุณผู้ชมเคยสงสัยไม๊คะ? Zoom in (ประจำตัว) ทำไมคนเราต้อง ทำทาน? ทำทานแล้วได้อะไร? และเราควรทำทานอย่างไร? จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด ไปฟังพระอาจารย์ท่านให้ความรู้ กันค่ะ  
  • 4.   ช่วงพระอาจารย์ให้ความรู้ 10 นาที พอจ.กล่าวทักทาย พอจ. ให้ความรู้ตามแนวคำถามดังนี้ (MS) - ทำไมต้องทำทาน ? พอจ. เสียง พอจ. จุดมุ่งหมายของการให้ทาน 1. “ให้” เพื่อทำคุณ เป็นการให้เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ให้เพื่อให้ผู้รับนิยมชมชอบในตัวผู้ให้ ไม่ได้มุ่งเพื่อเป็นบุญ เช่น คนที่ สมัครผู้แทนฯ ถึงเวลาหาเสียงทีก็เอากฐิน ผ้าป่าไป ทอด 10 วัด 20 วัด ไปสร้างสะพาน สร้างถนน เพื่อ ให้ชาวบ้านเห็นว่าตน เป็นคนใจบุญ จะได้ลงคะแนนเสียงให้ตน หรือบางคนรักพี่สาวเขา ก็เลยเอาขนม ไปฝากน้องชาย การให้อย่างนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อผลต้องตอบว่า ได้บุญเหมือนกัน แต่น้อยเหลือเกิน ได้ไม่เต็มที่ การให้ ที่จะได้บุญมากนั้น ต้องให้เพื่อ อนุเคราะห์ และสูงขึ้นไปอีกคือ ให้ เพื่อบูชาคุณ 2. “ให้” เพื่ออนุเคราะห์ เป็นการอุดหนุนเอื้อเฟื้อกัน ให้ด้วยความ เมตตากรุณา เช่น พ่อแม่ให้อาหาร แก่ลูก ครูอาจารย์ ให้ความรู้แก่ศิษย์ ผู้มีทรัพย์ บริจาค ทรัพย์เพื่อเป็นทุนการศึกษา แก่นักเรียนที่ยากจน เป็นต้น 3. “ให้” เพื่อบูชาคุณ เมื่อมีผู้ปรารถนาดีต่อเรา เมตตา กรุณา ช่วยเหลือ อุปการะเรา เช่น พ่อ แม่ ครูอาจารย์ เราก็แสดงความเคารพ นบนอบท่านด้วย กาย วาจา ใจ บูชาคุณท่านด้วยทรัพย์สินตามกำลัง ยามท่านเจ็บป่วยก็ช่วย พยาบาลรักษา ไม่ละทิ้งท่านทั้งในยามสุขและยาม ทุกข์
  • 5. นอกจากนี้บุคคลที่ควรบูชาคุณ คือ พระภิกษุสามเณรผู้ทรงคุณธรรม เป็นผู้ชี้ทางสันติสุขแก่โลก ให้รู้จัก บาปบุญคุณโทษ เป็นธุระคอยสั่งสอน อบรมแนะนำประชาชนให้พ้นทุกข์ เราก็ควรบูชาท่านด้วยปัจจัยสี่ เพื่อให้ ท่านมีกำลังบำเพ็ญสมณธรรมและ บำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ตามสมณวิสัยได้เต็มที่ - ทำทานแล้วได้อะไร ? การให้ทาน เป็นเรื่องของความชุ่มเย็น ผู้ที่ให้ทานอยู่เสมอย่อมมีใจผ่อง ใสเยือกเย็น หมู่ชนที่นิยมการให้ทาน ย่อมไม่มีความเดือดร้อนใจ เนื่องจาก ต่างคนต่างมีอัธยาศัยไมตรีถ้อยที ถ้อยอาศัยกัน อนึ่ง ผลบุญจากการ ให้ทานจะสะสมอยู่ในใจของเรา ทำให้มีอำนาจมีพลังสามารถดึงดูด ทรัพย์ได้ ถ้าใครสั่งสมการให้ และการเสียสละมามาก จะมีพลังดูดทรัพย์มาก ถ้าใครมีใจตระหนี่ มีความโลภมากจะมีพลังดูดทรัพย์ น้อย โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า คนทำทานมามาก จะทำให้รวย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังทรง ยกย่องทานไว้หลายลักษณะดังนี้ ขึ้นตัวหนังสือ เสียง พอจ. * คนควรให้ในสิ่งที่ควรให้ “คนควรให้ในสิ่งที่ควร * การเลือกให้ทานพระสุคตสรร เสริญ ให้” ขฺุ. ชา. สตฺตก. * คนพาลเท่านั้นที่ไม่สรรเสริญ ๒๗/๑๐๑๒/๒๑๗ การให้ทาน “การเลือกให้ทานพระ * เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้วทักษิณาทาน สุคตสรรเสริญ” หาชื่อว่าเป็นของน้อยไม่ ขฺุ. ชา. อฎฐก. * บุญของผู้ให้ย่อมเจริญก้าวหน้า ๒๗/๑๑๘๔/๒๔๙ * ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ “คนพาลเท่านั้นที่ไม่ * ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
  • 6. สรรเสริญการให้ทาน” * ผู้มีปัญญาให้ความสุขย่อมได้รับ ความสุข ขุ. ธ. ๒๕/๒๓/๓๘ “เมื่อมีจิตเลื่อมใสแล้ว ทักษิณาทาน หาชื่อว่า เป็นของน้อยไม่ ขุ. วิ. ๒๖/๔๗/๘๒ “บุญของผู้ให้ ย่อมเจริญก้าวหน้า” ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘/๒๑๕ “ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ ได้” สํ. ส. ๑๕/๘๔๕/๓๑๖ “ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ของคนหมู่มาก” องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๓๕/๔๓ “ผู้มีปัญญาให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข” องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๓๗/๔๕ ขึ้นตัวหนังสือ เสียง พอจ. * ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง “ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้ * ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ กำลัง” * ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข “ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ * ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ วรรณะ” * ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่ง ทุกอย่าง “ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่า * ผู้ให้ธรรมทานชื่อว่าให้อมฤตธรรม ให้ ความสุข” “ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่า ให้จักษุ” ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้
  • 7. ทุกสิ่งทุกอย่าง” ผู้ให้ธรรมทานชื่อว่าให้ อมฤตธรรม” (กินททสูตร) สฺํ ส. ๑๕/๑๓๘/๔๔ ขึ้นตัวหนังสือ เสียง พอจ. * ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ “ผู้ให้ของที่พอใจ * ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่พอใจ” * ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี “ผู้ให้ของที่เลิศ * ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมได้ของที่เลิศ” * ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ ผู้ให้ของที่ดี * นระใดนั้นจะเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมได้ของที่ดี” * ย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้นๆ ผู้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้างฐานะอันประ เสริฐ” นระใดนั้นจะเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ณ ที่นั้นๆ” (มนาปทายีสูตร) องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔/๕๖ - ทำทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูง ? การทำทานให้ได้บุญมาก ต้องพร้อมด้วยองค์ 3 คือ 1. วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องเป็นของที่ตนได้ มา โดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดดกงหรือ เบียดเบียน ใครมา ให้ทานด้วยน้ำพริก ผักต้ม ที่ได้มา โดยบริสุทธิ์ได้กุศล มากกว่า ให้อาหารโต๊ะจีน ราคาตั้งพันด้วย เงินทองที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์
  • 8. 2. เจตนาบริสุทธิ์ คือ มีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่ ออกจากใจของตน ทำเพื่อเอาบุญ ไม่ใช่เอาหน้า เอาชื่อเสียง ไม่ใช่เอา ความเด่น ความดัง ความรัก จะต้องมี เจตนาบริสุทธิ์ทั้ง 3 ขณะ คือ - ก่อนให้ก็มีใจเลื่อมใสศรัทธา เป็นทุนเดิม เต็มใจที่จะทำบุญนั้น - ขณะให้ก็ตั้งใจให้ ให้ด้วยใจ เบิกบาน - หลังจากให้ก็มีใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดาย สิ่งที่ให้ไปแล้ว 3. บุคคลบริสุทธิ์ คือ เลือกให้แก่ผู้รับ ที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบ เรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม โดยทั่วไปแล้วพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนว่า พระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก แต่ถึงกระนั้น ก็ทรงสอน ให้เลือก ถ้าจะนิมนต์พระภิกษุ เฉพาะเจาะจงก็ให้นิมนต์ พระที่เคร่งครัดในสิกขาวินัย น่าเลื่อมใส ถ้าจะนิมนต์พระ ไม่เฉพาะเจาะจง ให้สมภารวัด จัดให้ ก็ให้เลือกนิมนต์จากหมู่สงฆ์ ที่ประพฤติสิกขาวินัย เคร่งครัด สำหรับผู้ให้ทาน คือ ตัวเรา เอง ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จึงจะได้บุญมาก จะเห็นว่า ทุกครั้งที่เราจะถวาย สังฆทาน พระท่านจะให้ศีลก่อน เพื่อว่า อย่างน้อยที่ สุดในขณะนั้น เรายังมีศีล ๕ ครบ จะได้เกิดบุญกุศลเต็มที่
  • 9. ขึ้นตัวหนังสือ เสียง พอจ. ทานที่ให้แล้วไม่ได้บุญ “ทานที่ให้แล้วไม่ได้ 1. ให้สุรายาเสพย์ติด เช่น บุหรี่ เหล้า บุญ” ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ฯลฯ 1. ให้สุรายาเสพย์ติด 2. ให้อาวุธ เช่น เขากำลังทะเลาะกัน เช่น บุหรี่ เหล้า ยื่นปืน ยื่นมีดให้ ฝิ่น กัญชา ยาบ้า 3. ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนัง ดูละคร ฯลฯ ฟังดนตรี เพราะทำให้กาม กำเริบ 2. ให้อาวุธ เช่น 4. ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่น หาสุนัข เขากำลัง ตัวเมียไปให้ตัวผู้ หาสาวๆ ไปให้ ทะเลาะกันยื่นปืน เจ้านาย ฯลฯ ยื่นมีดให้ 5. ให้ภาพลามก รวมถึงหนังสือ 3. ให้มหรสพ เช่น ลามกและสิ่งยั่วยุกามารมณ์ ทั้งหลาย พาไป ดูหนัง ฟังดนตรี เพราะ ทำให้กามกำเริบ 4. ให้สัตว์เพศตรงข้ าม เช่น หาสุนัขตัวเมีย ไปให้ตัวผู้ หาสาวๆ ไปให้ เจ้านาย ฯลฯ 5. ให้ภาพลามก รวมถึง หนังสือ ลากมกและสิ่ง ยั่วยุกามารมณ์ทั้ง หลาย พอจ. เสียงพอจ. พอจ.เล่าเรื่องตัวอย่าง เช่น เรื่องชายตัดฟืน ยกตัวอย่างเล่าเรื่อง Fade เป็นภาพ Fade เป็น ในครั้งอดีตกาล มีเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อ การ์ตูนเล่าเรื่อง เสียงพากษ์ คันธเศรษฐี (DMC) หรือเสียง ทราบว่ามีมบัติอยู่ในสกุลเป็นอันมาก
  • 10. บรรยาย เขาเห็นว่าทรัพย์ที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้เป็นจำ นวนมาก แล้วนำติดตัวไปไม่ได้ คนที่แสวงหาทรัพย์ไว้เป็นจำนวนมาก แล้วนำติดตัวไปไม่ได้ ได้ชื่อว่า ไม่ฉลาดเลย เศรษฐีจึงคิดใหม่ว่า เมื่อนำติดตัวไปไม่ได้ ควรนำมาใช้ให้หมด เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว จึงให้บุคคลนำทรัพย์นั้นมาเป็นค่าเครื่อง บริโภค คือค่าอาหารวันละแสนกหาปณะ รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิต ซึ่งล้วนแต่มีราคาแพงทั้งนั้น ความฟุ่มเฟือย ของคันธเศรษฐีนั้น เป็นที่รู้กันไปทั่วเมือง พาราณสี ขนาดว่าเวลาจะรับประทานอาหาร ยังต้องเชิญให้คนมาดูเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะอาหารและอุปกรณ์ทุกอย่างล้วน แต่เป็นของดีมีราคาแพงทั้งสิ้น วันหนึ่ง ชายตัดฟืนมาเที่ยวในเมืองเพื่อมา พบเพื่อน เพื่อนก็บอกข่าวนี้ให้ทราบ แล้วชวนกัน ไปดูเศรษฐีบริโภค ซึ่งมีคน มุงดูอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ขณะที่กำลังดู การบริโภคของเศรษฐีนั้น เขาเกิดความ อยากกินอาหารเช่นนั้นบ้าง ขนาดที่ว่าไม่ได้ ก็ยอมตายทีเดียว จึงร้องขออาหารเศรษฐี เศรษฐีไม่ยอมให้ บอกว่า “ถ้าให้ท่าน คนอื่นเขาก็จะขอบ้าง อาหาร ไม่ใช่ราคาเพียงเล็กน้อย มีราคาแพงเป็นแสน เชียวนะ” ถึงขนาดนั้น ชายตัดฟืนก็ไม่อาจ ระงับความอยากในอาหารนั้นได้ จึงบอก เศรษฐีว่า ถ้าไม่ได้ เขาคงต้องตายแน่ เศรษฐี จึงบอกว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าเจ้า สามารถทำงานให้เราครบ 3 ปีเต็ม เราจะให้ อาหารถาดหนึ่ง ที่มีความประณีตเหมือนกัน เลย” ด้วยความอยากบริโภคอาหาร ชายตัด ฟืนจึงรับคำ ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงได้ชื่อใหม่ว่า
  • 11. “นายภัตตภติกะ” แปลว่ารับจ้างทำงานเพื่อ อาหาร เขาอยู่รับใช้เศรษฐี 3 ปีเต็ม โดยไม่มี ข้อบกพร่องเลยแม้แต่น้อย วันหนึ่งคนของ เศรษฐีได้มารายงานว่า “บัดนี้ชายตัดฟืนนั้น ทำงานครบ 3 ปีแล้ว ท่านเศรษฐีจะให้ทำ อย่างไร” เศรษฐีจึงสั่งให้บริวารจัดของ ทุกอย่าง ทั้งเครื่องอาบน้ำ ทั้งผ้านุ่งห่มและ อาหาร ในทำนองเดียวกันกับที่เศรษฐีได้ใช้ ในวันนั้นพร้อมกับป่าวประกาศให้คนทั่ว ทั้งเมืองมาดูการบริโภคครั้งยิ่งใหญ่ของชาย ตัดฟืนนั้น ขณะที่เขากำลังเตรียมจะบริโภค นั่นเอง พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เพิ่ง ออกมาจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ ได้ตรวจดูว่า ใครที่ควรจะไปโปรด ได้เห็นอปนิสัยของ ชายตัดฟืนนั้น จึงเหาะมา แล้วยืนปรากฏ อยู่เฉพาะหน้าของเขา ทันทีที่ชายตัดฟืนเห็น พระปัจเจกพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสและ คิดว่า กว่าเราจะได้กินอาหารที่ประณีต สักมื้อหนึ่ง ต้องทำงานให้เศรษฐีถึง 3 ปี แสดงว่าในอดีตชาตินั้น เราคงทำบุญมาน้อย ทำทานมาน้อย ชาตินี้จึงลำบาก ยากจน ถ้าเรากินอาหารนี้หมดภายในวันเดียว เราก็ อิ่มเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น แต่ถ้าเราถวาย อาหารนี้ แด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผลบุญที่เกิด จากการถวายของเรา จะส่งผลไปหลายภพ หลายชาติ เมื่อคิดได้ดังนี้ ชายตัดฟืนยิ่งมี ความเลื่อมใสศรัทธามากขึ้น จึงน้อมถาด อาหารเข้าไปถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า พอถวายได้กึ่งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ปิด บาตร แสดงให้ทราบว่าพอแล้ว แต่เขาขอ ร้องขึ้นอีกว่า “อาหารมื้อนี้เพียงพอสำหรับ คนๆเดียวเท่านั้น ขอได้โปรดรับเถิด อย่า สงเคราะห์ข้าพเจ้าเพียงแค่ชาตินี้เลย ให้ช่วย
  • 12. สงเคราะห์ถึงชาติหน้าด้วยเถิด พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเปิดบาตรแล้วรับจน หมด ชายตัดฟืนครั้นถวายอาหารเสร็จแล้ว ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “อาหารนี้ข้าพจ้าทำงาน ถึง 3 ปี จึงจะได้มา ด้วยอานุภาพผลแห่งทาน นี้ ขอความสุขจงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าในที่ที เกิดแล้วทุกภพทุกชาติ และขอให้ข้าพเจ้าได้มี ส่วนแห่งธรรมที่ท่านเข้าถึงแล้วด้วยเถิด” ชายตัดฟืน แม้ตนเองเป็นคนรับใช้ที่ ยากจนด้วยทรัพย์ แต่เมื่อถึงเวลาถวายทาน สามารถยกใจ เอาชนะความตระหนี่ได้ เรียก ว่า ได้ถวายสามีทานที่ประณีตกว่าที่ตนเอง บริโภค พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้นรับอาหาร แล้ว จึงให้พรว่า “ขอสิ่งที่ท่านตั้งใจดีแล้ว ปรารถนาดีแล้ว จงสำเร็จอย่างบริบูรณ์ เหมือนพระจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญ ฉะนั้น” ในขณะที่ชายตัดฟืนถวายอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้โดยยาก มหาชนที่มาดูการ บริโภคของเขา ต่างก็ปีติยินดีในกิจที่ทำได้ ยากนั้น จึงส่งเสียงสาธุการดังสนั่น จนได้ยินไปถึงเศรษฐี เศรษฐีคิดว่าชายตัดฟืน นั้นเป็นคนบ้านนอก คงกินอาหารไม่เป็น ทำให้คนทั้งหลายหัวเราะเยาะเอา จึงส่งคน ใช้ที่สนินออกไปสืบดู เมื่อคนใช้ออกไปดู ทราบเหตุการณ์ทุกอย่างแล้ว จึงกลับมาบอก เรื่องนี้แก่เศรษฐี ครั้นเศรษฐีได้ยินแล้ว เกิดความปีติตื่นตันใจว่า “ชายคนนี้ทำสิ่งที่ ทำได้โดยยาก เรามีสมบัติมากมายขนาดนี้ ยัง ไม่อาจทำได้เหมือนเขาเลย” เศรษฐีจึงให้คน ใช้เรียกชายตัดฟืนมาพบ มอบทรัพย์ให้พัน หนึ่ง และขอมีส่วนในบุญนั้นด้วย ชายตัด ฟืนใจดี ได้อุทิศส่วนบุญให้เศรษฐี เศรษฐีจึง แบ่งทรัพย์ของตนให้เขาเป็นจำนวนมาก
  • 13. ความดีของเขาเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เมื่อพระ ราชาทรงทราบเรื่องราวของเขา ทรงปิติ ยินดียิ่ง จึงให้เรียกมาพบ พระราชทานทรัพย์ ให้พันหนึ่ง และขอมีส่วนในบุญนั้น ชายตัดฟืนก็ยินดีแบ่งส่วนบุญให้ พระราชา จึงพระราชทานรางวัลอีกเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้ ด้วย เขาได้ชื่อว่า “ภัตตภติกเศรษฐี” ซึ่ง แปลว่า เศรษฐีผู้รับจ้างเพื่ออาหาร สรุป จะเห็นได้ว่าชายตัดฟืนได้พัฒนา ชีวิตของตน จากคนยากจนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ขึ้นมาเป็น ผู้ที่มีจิตใจยิ่งใหญ่ สามารถขจัดความตระหนี่ ออกจากใจได้ ด้วยการเสียสละอาหารที่ได้ มาด้วยความยากลำบากเป็นทาน อีกทั้งยัง มีใจเผื่อแผ่อุทิศส่วนบุญและแบ่งส่วนบุญ นั้นให้กับผูทเี่ คารพรัก ้ เราทุกคนก็สามารถทำได้เช่นกัน เมื่อเราได้สร้างบุญแล้ว ไปเจอคนที่รักที่ชอบ พอกัน ก็แบ่งส่วนบุญให้แก่กันได้ อุปมาเหมือนเราจุดประ ทีปขึ้นมาดวงหนึ่ง แล้วมีคนอื่นๆ เอาด้าม ประทีปมาจุดต่อ จากเรา ด้วยการจุดต่อดวง ประทีปนั้น มิได้ทำให้ประทีปของเรา หมดไป แต่กลับมีแสงสว่างจากดวงประทีป ด้ามอื่นๆ ที่สว่างเพิ่มมากขึ้นอีก มีแต่จะทำ ใหบริเวณนั้นสว่างไสวยิ่งขึ้น พิธีกร (MS) Instrument 15 วิ เป็นอย่างไรกันบ้างคะ คุณผู้ชม Zoom Out (ปิดรายการ) รู้สึกอยากทำทานขึ้นมาเลยใช่ไม๊คะ ทำทานแล้วเป็นสุขใจ สุขที่ได้เป็นผู้ให้
  • 14. ก็ถือว่าคุ้มแล้วจริงไม๊คะ สำหรับวันนี้..ดิฉันและทีมงาน ต้องขอลาไปก่อน..พบกันใหม่ใน ตอนหน้านะคะ ... สวัสดีค่ะ (พนมมือไหว้)     ช่วงข้อเตือนใจ ท้ายรายการ ขึ้นตัวหนังสือ พอจ. 15 วิ "คนเราเมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติ (ตามเสียงพอจ.) Instrument แม้แต่เข็มเล่มเดียว ก็ไม่สามารถนำ (ปิดรายการ) ติดตัวไปได้ วิธีเดียวเท่านั้น ที่จะนำ ทรัพย์ติดตัวไปได้ คือ การนำทรัพย์ นั้น ไปทำทาน" ขึ้นเครดิต (พระมหาดร. สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)   ช่วงเครดิตท้ายรายการ End Credit Instrument 30 วิ (ปิดรายการ) ขอขอบคุณ หนังสือ มงคลชีวิต ฉบับ “ทางก้าวหน้า” (พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ) พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผลิตโดย ศูนย์สื่อการเรียนรู้พระ พุทธศาสนา