SlideShare a Scribd company logo
1 of 60
Download to read offline
1
การพัฒนาเว็บไซต์
1. หลักการและทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ
บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์
เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคําของ
มนุษย์
เราแปลคํานี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความหมายครอบคลุม
กว้างขวาง รวมไปถึง theory of communication (ทฤษฎีของการสื่อสาร) theories in communication
(ทฤษฎีในการสื่อสาร) theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร) และ theories about
communication (ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร)
1. ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เริ่มด้วย
ปรัชญาพุทธและปรัชญากรีก ที่ว่าด้วยการคิดและการพูด หลักวิธีการเผยแพร่ศรัทธาของศาสนาคริสต์ ทฤษฎี
เศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ทฤษฎีทางการแพทย์
และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและสมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และ
จิตบําบัดของฟรอยด์ รวมไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่เป็น
ทฤษฎีของสาขาต่าง ๆ ที่ทําหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล การ
สื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่ แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขา
การศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็
ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลักเพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่
สหรัฐอเมริกาขยายไปเจริญเติบโตที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปี ก่อน
ศตวรรษที่ 21 การศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์ที่แยกเป็นเอกเทศในระดับมหาวิทยาลัย เริ่มต้นเป็นครั้งแรกที่
มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่นิวยอร์ค จนในปัจจุบันมีวิทยาลัยหรือภาควิชานิเทศศาสตร์ใน
สหรัฐอเมริกาประมาณ 1,500 แห่ง ในประเทศไทย เกิดขึ้นแล้วประมาณ 50 แห่ง โดยเริ่มต้นที่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วขยายออกไปสู่สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและ
เอกชน ในตอนต้น ๆ การศึกษานิเทศก์ศาสตร์จะมุ่งเน้นในด้านการใช้ทฤษฎีเพื่อการสื่อสารมาประยุกต์เป็น
เทคนิควิธี และทักษะในการประกอบอาชีพทางด้านการสื่อสารมวลชนในระบบการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะแบบ
เสรีประชาธิปไตย และระบบตลาดเสรี บนพื้นฐานลัทธิทุนนิยม
โดยสรุปทฤษฎีเพื่อการสื่อสารก็คือ ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (operational theory) หรือหลักวิชาทั้งมวลใน
การปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารมวลชนที่อาศัยหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์
ภาพยนตร์ และการสื่อสารธุรกิจที่มีการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์เป็นหลักสําคัญ
2. ทฤษฎีของการสื่อสาร (Theory of communication) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยใน
สหรัฐได้พัฒนาการศึกษานิเทศศาสตร์ที่เน้นสอนการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ (professional practice) ไปสู่
การศึกษาวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยแรงผลักดันส่วนหนึ่งจากอิทธิพลทางปัญญา
(intellectual influence) ของนักวิชาการที่อพยพมาจากยุโรป อาทิ ลูอิน และลาซาร์สเฟลด์
2
ทฤษฎีของการสื่อสารจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น โดยค่อย ๆ แยกจากทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา และภาษา กลายมา
เป็นศาสตร์ไหม่ในตัวของมันเองที่เรียกว่า การสื่อสารมวลชน (mass communication study) มุ่งวิจัยผลของ
สื่อมวลชนที่มีต่อการเมือง สังคม และวัฒนธรรม เราเรียกทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มแรกนี้ว่า
ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน (Mass Communication Theory) ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากผลงานของวิลเบอร์ ชรามม์
เมลวิน เดอเฟอร์ และเดนิส แมคเควล
แต่กลุ่มทฤษฎีระบบ (Systems Theories) ของวีเนอร์ แชนนอน และวีเวอร์ (Wiener – Shannon
– Weaver) และในเชิงการสื่อสารของมนุษย์ (Human Communication) ของเบอร์โล (Berlo) รวมทั้งในเชิง
การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) ของไฮเดอร์ นิวคอมบ์ เฟสติงเกอร์ และ
ออสกูด (Heider-Newcomb-Festiger-Osgood) ส่งผลให้การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนขยายตัวออกไป
ครอบคลุมอาณาบริเวณของการสื่อสาร (communication spheres) ที่กว้างขวางขึ้น วิชาการสื่อสารมวลชน
จึงได้ปรับปรุงตนเอง และขยายตัวจากความเป็นเพียงนิเทศศิลป์(communication art) มาเป็นนิเทศศาสตร์
(Communication art and science หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า communication arts) สมบูรณ์ในสองทศวรรษ
สุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีของการสื่อสารมิได้จํากัดอยู่เฉพาะที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนเท่านั้น แต่จะ
ครอบคลุมการสื่อสารทุกประเภทและในทุกปริบท (cintext) นับตั้งแต่การสื่อสารภายในบุคคล
(intrapersonal communication) จนไปถึงการสื่อสารของโลก (global communication) สร้างเป็นองค์
ความรู้ที่อธิบายการสื่อสารทั่วไป ในแง่ขององค์ประกอบ โครงสร้าง กระบวนการ บทบาทหน้าที่ จุดประสงค์
(purposes) ประสิทธิผล (effectiveness) ประสิทธิภาพ (efficiency) และค่าประสิทธิภาพ (cost-
efficiency)
ทฤษฎีของการสื่อสารดังกล่าว อาจจําแนกแยกย่อยออกเป็นทฤษฎีต่าง ๆ ในการสื่อสาร (theories in
communication) เมื่อองค์ความรู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการสื่อสารประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
ทฤษฎีต่าง ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคล หรือในการสื่อสารมวลชน เป็นต้น
3. ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร (Theories about communication) ทฤษฎีแนวปฏิบัติในนิเทศศิลป์
และทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในนิเทศศาสตร์ ได้ร่วมกันสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทฤษฎีการสื่อสาร
เป็นอย่างยิ่ง สามารถผลิตบัณฑิตออกไปทํางานในวิชาชีพปีละมาก ๆ เฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมีนักศึกษาใน
สาขานี้รวมทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าห้าหมื่นคน มีบัณฑิตที่จบออกไปปีละหลายพันคน ปัญหาที่บัณฑิตส่วนใหญ่ใน
ประเทศต่าง ๆ ต้องเผชิญมีความคล้ายคลึงกัน คือไม่สามารถนําทฤษฎีไปใช้ปฏิบัติได้ในวงการวิชาชีพที่
ส่วนมากยังมีลักษณะอนุรักษ์นิยม (conservatism)... อนุรักษ์นิยมในแง่ที่นักวิชาชีพส่วนใหญ่ยังมิได้ศึกษาเล่า
เรียนมาโดยตรง และในแง่ที่ยังจะต้องผูกพันกับผลประโยชน์ของธุรกิจที่เป็นเจ้าของสื่อหรือเป็นผู้อุปถัมภ์สื่อ
โดยการให้โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ ช่องว่างระหว่างวิชาการและการปฏิบัติในวิชาชีพยิ่งขยายวงกว้างออกไป
การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยผลักดันให้ทฤษฎีโน้มเอียงไปในทางผลประโยชน์ของประชาชน และใน
ทางการสร้างสรรค์ประชาสังคม (civil society) มากขึ้น ในขณะที่การปฏิบัติในวิชาชีพส่วนใหญ่ยังเน้นส่งเสริม
ธุรกิจและอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมเป็นเสมือนหนึ่งพาณิชยศิลป์อันเป็นกลไกของตลาดเสรีที่มีทุนเป็น
3
ปัจจัยหลัก ช่องว่างที่กว้างใหญ่กลายเป็นความขัดแย้งของอุดมการณ์สองขั้ว (bipolar ideoloty) และนี่เองที่
เป็นจุดเริ่มต้นความเติบโตของทฤษฎีสื่อสารแนววิพากษ์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมือง เศรษฐกิจสังคม สังคม
จิตวิทยา มานุษยวิทยา จริยศาสตร์ นิเวศวิทยา และสุนทรียศาสตร์ ได้ถูกนํามาเป็นหลักและแนวในการมอง
การสื่อสารมวลชน สร้างขึ้นเป็นกลุ่มทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร จัดว่าเป็นกลุ่มทฤษฎีที่พยายามอธิบาย
เชิงวิพากษ์ต่อการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม
โดยสรุป ทฤษฎีการสื่อสารก็คือการอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ
หลักการ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อทธิพล การใช้ การควบคุม ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร สภาพ
ปัญหา และแนวโน้มในอนาคต รวมทั้งการอธิบายแนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร
เราอาจจําแนกทฤษฎีการสื่อสารออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (1) ทฤษฎีการสื่อสารแนวปฏิบัติ
ที่พัฒนามาจากทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร (2) ทฤษฎีการสื่อสารแนวปรัชญา
วิทยาศาสตร์ ที่พัฒนามาจากทฤษฎีของการสื่อสาร และ (3) ทฤษฎีการสื่อสารแนววิพากษ์ ที่พัฒนามาจาก
ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร
การสื่อสาร (กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก)
ชีวิตเป็นเรื่องของการเรียนรู้และสิ่งหนึ่งที่สําคัญและต้องมีการเรียนรู้คือ ความสัมพันธ์ หรือ มนุษย
สัมพันธ์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มักเป็นบทเรียนของกันและกัน ถ้าไม่ใส่ใจเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็จะอยู่ใน
โลกนี้ด้วยความยากลําบาก เพราะชีวิตจะมีคุณค่าและรู้สึกมีความสุขเมื่อได้แสดงออกอย่างที่รู้สึก มีโอกาส
เรียนรู้เรื่องราวและสิ่งใหม่ๆตามที่เราต้องการ
ดังนั้นความสําเร็จของมนุษย์ในการดํารงชีวิตทั่วไป จึงมักมีข้อกําหนดไว้อย่างกว้างๆว่า เราจะต้องเข้า
กับคนที่เราติดต่อด้วยให้ได้ และต้องเข้าให้ได้ดี ด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน โดยอาศัยวิธีการ
สื่อสารและหลักจิตวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์โดยทั่วไปมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของศิลปะ(Arts) มากกว่า
ศาสตร์(Science) ซึ่งก็หมายความว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว โดยขาด
ศาสตร์ของการสื่อสาร ย่อมขาดศิลปะในการนําไปปรับใช้ในชีวิตจริงให้ประสบความสําเร็จได้
ความหมายของการสื่อสาร
ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายแง่มุม เช่น
จอร์จ เอ มิลเลอร์ : เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
จอร์จ เกิร์บเนอร์ : เป็นการแสดงกริยาสัมพันธ์ทางสังคมโดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร
วิลเบอร์ ชแรมส์ : เป็นการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
4
ซึ่งสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้ส่งสาร
ไปยังยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับสารโดยผ่านช่องทางในการสื่อสาร โดยมีองค์ประกอบที่สําคัญคือ ผู้ส่ง
สาร(Sender) สาร(Message) ช่องทาง(Channel) และตัวผู้รับสาร(Reciever) ซึ่งมักเรียกกันว่า SMC
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
การสื่อสารในชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นล้วนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และส่งผลต่อการ
ดําเนินชีวิตได้คือ ทําให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ทําให้ทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ทํา
ให้เกิดการแสดงออก ทําให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ ทําให้เกิดการเรียนรู้ ทําให้เกิดกําลังใจ(หาภาพประกอบ
แต่ละประเภท)
2. การประชาสัมพันธ์
การมีเว็บไซต์สิ่งแรกที่ทุกคนต้องการคือมีผู้เข้าชม การจะทําให้เว็บเป็นที่รู้จักนอกจากเนื้อหา การ
ประชาสัมพันธ์คงเป็นสิ่งแรกที่ต้องทํา เพราะมีของดีแล้วไม่มีใครรู้ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย สําหรับการแนะนํา
เว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก มีหลากหลายรูปแบบ แต่ในส่วนนี้แนะนําพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทําได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ใดๆ คือ
1. Search Engine การประชาสัมพันธ์เว็บผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เมื่อต้องการค้นหาข้อมูล คง
หนีไม่พ้นเข้าไปยังผู้ให้บริการค้นหาเว็บไซต์หรือ Search Engine ถ้าจะทําให้เว็บเป็นที่รู้จักก็ต้องให้เว็บของเรา
เข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลของผู้ให้บริการเหล่านั้น โดยผู้ให้บริการ Search Engine จะมีส่วนบริการที่ให้เข้าไป
เพิ่มเว็บไซต์ (Add URL) พร้อมแนะนําข้อมูลเบื้องต้น หรือให้เพิ่มเฉพาะ URL ของเว็บไซต์อย่างเดียว ตามแต่
ระบบของผู้ให้บริการ รายสําคัญๆ เช่น
- Google
- Yahoo
- MSN
โดยผู้ให้บริการ Search Engine แต่ละรายจะส่ง Robot หรือเครื่องมืออัตโนมัติเข้ามายังเว็บไซต์เพื่อ
เก็บเนื้อหา คําต่างๆเข้าไปทําดัชนียังฐานข้อมูล เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหา"คํา" ที่ตรงกับเนื้อหากับเว็บไซต์ของ
เราก็จะถูกแสดงให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เลือกเข้าชม ซึ่งจะเห็นว่า "คํา" หรือ Keyword เป็นสิ่งสําคัญที่นําผู้
เข้าชมมายังเว็บไซต์ของเรา ซึ่งก็มาจากเนื้อหาในเว็บไซต์ของเรานั่นเอง แต่นอกจากเนื้อหาในเว็บไซต์แล้วเรา
สามารถกําหนด "คํา" และรายละเอียดของเว็บ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บของ Search Engine ก็คือ Meta
Tags เป็นคําสั่งมาตฐานแทรกอยู่ส่วนหัวของหน้าเว็บแต่ละหน้า เพื่อกําหนดข้อมูลของหน้าเว็บมีส่วนสําคัญๆ
คือ
- - Description แนะนําข้อมูลเกี่ยวหน้าเว็บหรือข้อมูลเว็บไซต์โดยย่อ
- - Keywords กําหนดคําที่เกี่ยวข้อง หรือคําที่ต้องการให้เมื่อค้นหาแล้วพบเว็บไซต์ คั่นระหว่างคํา
ด้วย จุลภาคหรือจุดลูกน้ํา (,) เมื่อมีผู้ค้นหา"คํา" ตามเนื้อหาที่มีในเว็บ เว็บไซต์ของเราก็จะถูกแนะนําให้
5
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เลือกชม แต่จะแสดงอยู่ในลําดับที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละรายมีการ
กําหนดรูปแบบการจัดลําดับในลักษณะใด.
2.หมวดหมู่เว็บ (Directory) เป็นอีกช่องทางในการประชาสัมพันธ์เว็บไปยังผู้ให้บริการรวมลิงค์ต่างๆ
เพราะจะเป็นแหล่งที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าไปหาข้อมูลเป็นจํานวนมาก มีการจัดแบ่งเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่
ง่ายต่อการเข้าชม และตรงตามกลุ่มเป้าหมายซึ่งส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการฟรี เราก็สามารถเพิ่มเว็บไซต์ไปยัง
เว็บผู้ให้บริการเหล่านี่ได้ โดยเลือกหมวดหมู่ได้ตามต้องการ
ตัวอย่างผู้ให้บริการของไทย
- Sanook.com
- Siamguru.com
- Thaipromote.com
- Truehits (เฉพาะผู้สนับสนุน ฟรียังไม่เปิดรับสมาชิกเพิ่ม)
- Thaitopsites.com
- Hunsa.com
- Pixiart.com
- Ragnarok.in.th
- สรรสาร
- Thaiseek.com
- Allofthai.com
- Thai-index.com
3.แลกเปลี่ยนลิงค์ (banner exchange) การแลกเปลี่ยนลิงค์เป็นอีกช่องทางในการแนะนําเว็บไซต์ให้
เป็นที่รู้จัก เว็บไซต์ที่รับแลกเปลี่ยนลิงค์จะประกาศแจ้งไว้ หรือหากไม่มีก็สามารถอีเมล์ไปสอบถามหรือขอ
แลกเปลี่ยนได้เช่นกัน อาจดูจากความใกล้เคียงของเนื้อหาหรือกลุ่มเป้าหมาย การแลกลิงค์มีทั้งแบบลิงค์
ข้อความ หรือแบนเนอร์ ตกลงกันได้ตามความพอใจ นอกจากนี้ยังมีผู้เปิดให้บริการศูนย์กลางแลกเปลี่ยน
ลิงค์-แบนเนอร์ระหว่างเว็บมาสเตอร์ด้วยกัน โดยมีรูปแบบง่ายๆ คือ สมัครสมาชิกไปยังผู้ให้บริการก็จะได้โค็ด
มาแปะไว้ที่หน้าเว็บ โดยมีการกําหนดอัตราการแสดงผล ตามจํานวนการแสดงแบนเนอร์ระบบ แบนเนอร์ของ
เราก็จะแสดงในเว็บไซต์อื่นด้วยเช่นกัน ผู้ให้บริการ
- ThaiLE ( ยังไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ ต้องได้รับแนะนําจากสมาชิกเก่า) ขอมาได้ที่เว็บแพ็ค
- Thaibanner
ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์
1. เมื่อออกแบบเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทําการอับโหลดเว็บไซต์ให้สามารถเผยแพร่สู่โลกอิน
อินเทอร์เน็ตได้
2. ต้องทําการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ มีวิธีการประชาสัมพันธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย มี 2 แบบให้
เลือกคือ
6
2.1แบบไม่เสียค่าบริการ (ฟรี) โดยทําการประกาศไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการฝาก
ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เช่น www.thaipr.net , www.sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
2.2 แบบเสียค่าบริการ โดยการซื้อพื้นที่ป้ายโฆษณา (Banner) โดยคิดอัตราค่าบริการที่แตกต่างกัน
ไปตามความนิยมของเว็บไซต์นั้น ๆ เช่น www.sanook.com, www.dek-d.com
3. ต้องทํา SEO (Search Engine Optimization)มาจากคําเต็มๆ ว่า Search Engine Optimization
ความหมายคือ การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบเขียนโปรแกรม
และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google,
MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น)
SEO สําคัญยังไงอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล
แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คําค้น) ป้อนลงไปใน Search
Engine Box ต่างๆก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็นมีให้เลือกเปรียบเทียบอีก
หลายๆ แห่ง สําหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้วก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์
เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง
เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆเผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น
ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเองทําให้ได้เปรียบคู่แข่ง สรุป ความสําคัญของ SEO
ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ทําให้เว็บของเราติดอันดับต้นๆในการแสดงผลงการค้นหา
2. การเขียน Title ที่ดี Keyword ที่ทันสมัยช่วยทําให้สะดุดตา แม้อันดับต่ํากว่า ก็มีสิทธิ์ถูกคลิก
มากกว่า
3. เมื่อติดอันดับต้นๆทําให้ขายสินค้าได้ โฆษณาเข้ามา เพราะมีการเคลื่อนไหวของหน้าเว็บไซต์
4. มีโอกาสที่จะได้รับเงินค่าโฆษณาที่สูง
การทํา SEO มีให้เลือก 2 แบบคือ
1. แบบไม่เสียค่าบริการ โดยการประชาสัมพันธ์ให้มีชื่อคําค้น (Keyword) ที่ต้องการปรากฏอยู่บน
โลกอินเทอร์เน็ตให้มากที่สุด เช่น การประชาสัมพันธ์ข่าวต่าง ๆ ลงบนเว็บบอร์ดเว็บไซต์ยอดนิยมต่าง ๆ ตาม
กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ
2.แบบเสียค่าบริการโดยการเช่าชื้อการทํา SEO ซึ่งคิดอัตราค่าบริการตามจํานวนคําค้น และ
ระยะเวลาในการติดอันดับบน Search Engine
4. การใช้ Social Network ช่วยในการประชาสัมพันธ์ โดยเพิ่มเติมจากเว็บไซต์หลัก เพื่อติดตามความ
เคลื่อนไหวและสํารวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดทั้งสามารถประชาสัมพันธ์ข่าวไปยัง
กลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
ประโยชน์ของ Social NetworkSocial Network มีจุดเด่นหลัก คือ ช่วยเรื่องการสื่อสารให้มี
ประสิทธิภาพสื่อสารไดในวงกว้าง ได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพวิดีโอในเชิงการใช้งานทั่วไปแล้ว
สามารถสื่อสารกับคนที่มีความชื่นชอบในเรื่องเดียวกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือรวมตัวกันทํากิจกรรมที่มี
ประโยชน์นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพบปะเพื่อนๆ และด้วยความที่ Social Network เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้
รวดเร็วและเป็นช่องทางการสื่อสารได้ตลอดเวลาด้วยเหตุนี้จึงมีการนํามาใช้ทางด้านธุรกิจ โปรโมทตนเอง โป
7
รโมทสินค้า องค์กรหรือบริษัท รวมถึงใช้เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า สร้างกิจกรรมหรือพูดคุยตอบ
ข้อซักถามถึงสินค้าและบริการทําให้เรามีอีกช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าได้
นอกจากนี้ สื่อนอกอินเทอร์เน็ตอื่นๆ อาทิหนังสือพิมพ์ , นิตยสาร , วิทยุและโทรทัศน์ ก็ยังถือเป็นสื่อที
กลุ่มเป้าหมายยังให้ความสนใจ ดังนั้นจึงต้องพยายามสร้างกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้าของเรา
ออกไปให้สาธารณชนรับทราบมากที่สุดสุดท้ายสื่อธุรกิจ ซึ่งเราต้องพิมพ์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นนามบัตร , บรรจุ
ภัณฑ์ , โบว์ชัวร์ หรือแคตาล๊อกอย่าลืมพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงไปเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้เป็นช่องทางติดต่อได้
อย่างไรก็ตาม การจําหน่ายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตนั้น การใช้สื่อต่างๆควรศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยเช่นพฤติกรรมซื้อสินค้าของคนไทยต้องได้เห็นของ จับต้องสินค้าต่อรองราคาหรือต้องการรู้จักผู้ขายเพื่อ
สร้างความมั่นใจจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยอาจจะต้องมีสถานที่ทําการค้าแน่นอนหรืออย่างน้อยก็
ต้องคอยจัดบู๊ทแนะนําสินค้าให้ผู้ซื้อรู้จักหรือทดลองใช้ตามสถานที่ต่างๆ การประชาสัมพันธ์สินค้าหรือเว็บไซต์
จึงจะได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอน เป็นการนําเอาคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตมาออกแบบเพื่อใช้ใน
การศึกษาด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอนซึ่งการจัดการเรียน
การสอนผ่านเว็บมีชื่อเรียกหลายลักษณะ เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-based Instruction)
เว็บการเรียน (Web-based Learning) เว็บฝึกอบรม (Web-basedTraining) อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม
(Internet-based Training) อินเทอร์เน็ตช่วยสอน (InternetbasedInstruction) เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม
(WWW-based Training) และเวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน(WWW-based Instruction)
ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บ
Complese and Complese (1998) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ หมายถึง การจัดการเรียน
การสอนทั้งกระบวนการหรือบางส่วน โดยใช้เวิล์ดไวด์เว็บเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยน
ข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน เนื่องจากเวิล์ดไวด์เว็บมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลได้หลายประเภท ไม่ว่า
จะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง จึงเหมาะแก่การเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาการ
เรียนการสอน
Laanpere (1997) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่าสภาพแวดล้อม
ของเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรมหาวิทยาลัย ส่วนประกอบการ
บรรยายในชั้นเรียน การสัมมนาโครงการกลุ่มหรือการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหรืออาจเป็นลักษณะของ
หลักสูตรที่เรียนผ่านเวิลด์ไวด์เว็บโดยตรงทั้งกระบวนการเลยก็ได้ การเรียนการสอนผ่านเว็บนี้เป็นการรวมกัน
ระหว่างการศึกษาและการฝึกอบรมเข้าไว้ด้วยกันโดยให้ความสนใจต่อการใช้ในระดับการเรียนที่สูงกว่าระดับ
มัธยมศึกษา
8
กิดานันท์ (2543) กล่าวว่า การเรียนบนเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอน เพื่อเสนอบทเรียนใน
ลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการนําเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการ
สอนก็ได้ รวมถึงนําประโยชน์จากคุณลักษณะต่างๆ ของการสื่อสารที่มีในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียน
โต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบเพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพการเรียนสูงสุด
จากคํานิยามและความคิดเห็นของนักวิชาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่าน
เว็บ (Web-based Instruction) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือบางส่วนผ่านบริการ
เวิลด์ไวด์เว็บในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการออกแบบบทเรียนในลักษณะโปรแกรมแบบไฮเปอร์มีเดีย โดยอาศัย
ประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรบนเวิล์ดไวด์เว็บมาจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน
การสอน ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อสนับสนุนผู้เรียนให้เรียนรู้อย่าง
มีความหมาย การเรียนการสอนผ่านเว็บจึงถือเป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ และช่วย
ขจัดอุปสรรคของการเรียนการสอนทางด้านสถานที่และเวลา
การออกแบบบทเรียนผ่านเว็บ
Ritchie and Hoffman (1997) เสนอแนะว่าในการออกแบบบทเรียนผ่านเว็บเพื่อให้เกิดการเรียนที่
ดีที่สุดควรอาศัยหลักกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน (Motivating the Learned) โดยการออกแบบควรเร้าความ
สนใจ โดยการใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีและเสียงประกอบเพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ควรใช้
กราฟิกขนาดใหญ่ ไม่ซับซ้อน การเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นต้องน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเนื้อหา
2. บอกวัตถุประสงค์ของการเรียน (Identifying What is to be Learned) เพื่อเป็นการบอกให้
ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าถึงประเด็นสําคัญของเนื้อหาและเป็นการบอกถึงเค้าโครงของเนื้อหาซึ่งจะเป็นผลให้การเรียนรู้
มีประสิทธิภาพขึ้น อาจบอกเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์ทั่วไปโดยใช้คําสั้นๆ หลีกเหลี่ยงคํา
ที่ไม่เป็นที่รู้จัก ใช้กราฟิกง่ายๆ เช่น กรอบหรือลูกศร เพื่อให้การแสดงวัตถุประสงค์น่าสนใจยิ่งขึ้น การเชื่อมโยง
ไปยังเว็บภายนอกอาจทําให้ผู้เรียนลืมวัตถุประสงค์ของบทเรียน การแก้ไขปัญหานี้คือผู้ออกแบบควรเลือกที่จะ
เชื่อมโยงเว็บภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเท่านั้น
3. ทบทวนความรู้เดิม (Reminding Learners of Past Knowledge) เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐาน
ผู้เรียนสําหรับรับความรู้ใหม่ การทบทวนไม่จําเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป อาจใช้การกระตุ้นให้ผู้เรียนนึก
ถึงความรู้ที่ได้รับมาก่อนเรื่องนี้ โดยใช้เสียงพูด ข้อความภาพหรือใช้หลายๆ อย่างมาผสมผสานกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับความเหมาะสมของเนื้อหา มีการแสดงความเหมือนความแตกต่างของโครงสร้างบทเรียนเพื่อที่ผู้เรียนจะ
ได้รับความรู้ใหม่ได้เร็ว นอกจากนั้นผู้ออกแบบควรต้องทราบภูมิหลังของผู้เรียนและทัศนคติของผู้เรียน
4. ผู้เรียนต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ (Requiring ActiveInvolvement) นักการศึกษา
ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะรับความรู้ใหม่ ผู้เรียนที่มีลักษณะ
กระตือรือร้นจะรับความรู้ได้ดีกว่าผู้เรียนที่มีลักษณะเฉื่อยผู้เรียนจะจดจําได้ดีถ้ามีการนําเสนอเนื้อหาดีและ
9
สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ผู้ออกแบบบทเรียนควรหาเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้กระตุ้นผู้เรียนให้นํา
ความรู้เดิมมาใช้ในการศึกษาความรู้ใหม่รวมทั้งต้องพยายามหาทางทําให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียน
กระจ่างชัดมากขึ้น พยายามให้ผู้เรียนรู้จักเปรียบเทียบ แบ่งกลุ่ม หาเหตุผล ค้นคว้า วิเคราะห์หาคําตอบด้วย
ตนเอง โดยผู้ออกแบบบทเรียนต้องค่อยๆ ชี้แนวทางจากมุมกว้างแล้วรวบรัดให้แคบลง รวมทั้งใช้ข้อความ
กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด เป็นต้น
5. ให้คําแนะนําและให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Guidance and Feedback) การให้
คําแนะนําและให้ข้อมูลย้อนกลับในระหว่างที่ผู้เรียนศึกษาอยู่ในเว็บเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดี
ผู้เรียนจะทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตนเอง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมคิดร่วมกิจกรรมในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับเนื้อหา การถาม การตอบ จะทําให้ผู้เรียนจดจําได้มากกว่าการอ่านหรือลอกข้อความเพียงอย่าง
เดียว ควรให้ผู้เรียนตอบสนองวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นครั้งคราวหรือตอบคําถามได้หลายๆ แบบ เช่น เติมคําลงใน
ช่องว่าง จับคู่ แบบฝึกหัดแบบปรนัย โดยใช้ความสามารถของโปรแกรม CGI (Common Gateway
Interface) ซึ่งเป็นโปรแกรมการปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ
6. ทดสอบความรู้ (Testing) เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนได้รับความรู้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบ
แบบทดสอบแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนของ
ตนเองได้ อาจจัดให้มีการทดสอบระหว่างเรียนหรือทดสอบท้ายบทเรียน ทั้งนี้ควรสร้างข้อสอบให้ตรงกับ
จุดประสงค์ของบทเรียน ข้อสอบ คําตอบและข้อมูลย้อนกลับควรอยู่ในกรอบเดียวกันและแสดงต่อเนื่องกัน
อย่างรวดเร็ว ไม่ควรให้ผู้เรียนพิมพ์คําตอบยาวเกินไป ควรบอกผู้เรียนถึงวิธีตอบให้ชัดเจน คํานึงถึงความ
แม่นยําและความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ
7. การนําความรู้ไปใช้ (Providing Enrichment and Remediation) เป็นการสรุปแนวคิดสําคัญ
ควรให้ผู้เรียนทราบว่าความรู้ใหม่มีส่วนสัมพันธ์กับความรู้เดิมอย่างไรควรเสนอแนะสถานการณ์ที่จะนําความรู้
ใหม่ไปใช้ และบอกให้ผู้เรียนทราบถึงแหล่งข้อมูลที่จะใช้อ้างอิงหรือค้นคว้าต่อไป
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บมีลักษณะการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากการเรียนการสอนในชั้น
เรียนปกติที่คุ้นเคยกันดี ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมในชั้นเรียนส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เน้นให้ผู้สอน
เป็นผู้ป้อนความรู้ให้แก่ผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนไม่ใฝ่ที่จะหาความรู้เพิ่มเติมส่วนการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บจะ
มีวิธีการจัดที่แตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนตามปกติ เพราะคุณลักษณะและรูปแบบของเว็บเป็นสื่อที่
มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งแตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อแบบอื่นๆ จึงต้องคํานึงถึงการ
ออกแบบระบบการสอนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของเว็บ เช่น การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับครู การสื่อสาร
ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนที่กระทําได้แตกต่างไปจากการเรียนการสอนแบบเดิม ซึ่งมีวิธีการหลายวิธี อาทิ การ
สื่อสารผ่านเว็บโดยตรงในรูปการคุยกันในห้องสนทนา (Chat Room) การฝากข้อความบนกระดาน
อิเล็กทรอนิกส์หรือกระดานข่าวสาร (Bulletin Board) หรือสื่อสารผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) เป็น
ต้นความเป็นเว็บช่วยสอนจึงไม่ใช่แค่การสร้างเว็บไซต์เนื้อหาวิชาหนึ่งหรือรวบรวมข้อมูลซักเรื่องหนึ่ง
10
แล้วบอกว่าเป็นเว็บช่วยสอน แต่เว็บช่วยสอนมีความหมายกว้างขวางอันเกิดจากการรวมเอาคุณลักษณะ
ของเว็บ โปรแกรมและเครื่องมือสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต และการออกแบบระบบการเรียนการสอนเข้า
ด้วยกัน ทําให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นอย่างมีความหมาย ไม่เป็นเพียงแค่แหล่งข้อมูลเท่านั้น (ปรัชญนันท์, 2543)
1. สิ่งที่พึงปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Hughes and Hewson,
1998) มีดังนี้
1.1 การแจ้งล่วงหน้า (Notices) เป็นการใช้เว็บโดยกําหนดพื้นที่เฉพาะที่เป็นบอร์ดในเว็บ สําหรับ
อาจารย์กําหนดนัดหมายหรือสั่งงาน ซึ่งผู้เรียนอาจจะได้รับการแจ้งล่วงหน้าผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และ
สามารถสอบถามได้ โดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน
1.2 การนําเสนอ (Presentations) เป็นการนําเสนอด้วยเว็บที่ทําขึ้นทั้งผู้สอนและผู้เรียน โดย
นําเสนองานที่ได้รับมอบหมาย จัดทําแบบสัมมนาหรือประชุมนําเสนอผ่านเว็บไซต์หรือโดยไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์หรือการเผยแพร่ในกลุ่ม เป็นกิจกรรมสื่อสารกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 การอภิปรายปกติ (Formal Discussions) เป็นการอภิปรายกันบนเว็บโดยการใช้ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์และการประชุมสนทนาแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือบนเว็บที่จัดเหมือนประชุมสัมมนา ซึ่งเป็นกลุ่ม
สนทนาที่แสดงเป็นรูปภาพแทนผู้ใช้หรือแทนชื่อของผู้ใช้ก็ได้
1.4 การใช้คําถามโดยรอคําตอบ (Questioning) เป็นการกําหนดคําถามขึ้น โดยผู้สอนใช้คําถาม
นําและให้ผู้เรียนหาคําตอบ โดยคําตอบที่ตอบมาถ้าตรงกับคําถามที่กําหนดก็จะป้อนกลับไปยังผู้เรียนเพื่อการ
ตอบสนองและประเมินผล
1.5 การระดมสมอง (Brainstorms) เป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อคําถาม โดย
ผู้เรียนต้องร่วมหาคําตอบ กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายในเว็บจากคําถามที่กําหนดในกิจกรรมเดียวกัน
1.6 การกําหนดสภาพงาน (Task Setting) เป็นการกําหนดกระบวนการในการทํางานส่งตาม
กิจกรรม ซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือกลุ่มย่อย ซึ่งอยู่ในรูปของเว็บไซต์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1.7 แบบฝึกหัด (Class Quizzes) เป็นการทดสอบผลทั้งชั้นเรียนหรือถามเพื่อประเมินผลของการ
เรียน ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น เป็นแบบตัวเลือกหรือคําถามสั้นๆ ที่จะมีการป้อนกลับตลอดเวลาและ
ประเมินผลตามวัตถุประสงค์
1.8 การอภิปรายรายคู่นอกระบบหรือการศึกษาเป็นกลุ่ม เป็นการออกแบบพื้นที่ของเว็บช่วยสอน
ให้มีพื้นที่เฉพาะสําหรับการพบปะสนทนาอย่างไม่เป็นทางการรายคู่หรือกลุ่ม นอกเหนือจากขั้นตอนปกติใน
การสอน ซึ่งสามารถทําเป็นสภากาแฟ ห้องสัมมนาห้องพักผ่อน ห้องสมุด เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้เว็บสามารถเข้าไปทํา
กิจกรรมได้อย่างอิสระในเว็บไซต์ที่จัดไว้ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้อย่างอิสระ
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นเว็บ (วรัท, 2551) มีดังนี้
11
1. กําหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน
3. การออกแบบเนื้อหารายวิชา
ก) เนื้อหาตามหลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ข) จัดลําดับเนื้อหา
จําแนกหัวข้อตามหลักการเรียนรู้และลักษณะเฉพาะในแต่ละหัวข้อ
ค) กําหนดระยะเวลาและตารางการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
ง) กําหนดวิธีการศึกษา
จ) กําหนดสื่อที่ใช้ประกอบการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
ฉ) กําหนดวิธีการประเมินผล
ช) กําหนดความรู้และทักษะพื้นฐานที่จําเป็นต่อการเรียน
ซ) สร้างประมวลรายวิชา
4. การกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตที่
เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. การเตรียมความพร้อมของสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ สํารวจแหล่ง
ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงได้ กําหนดสถานที่และอุปกรณ์ที่ให้บริการและ
ที่ต้องใช้ในการติดต่อทางอินเทอร์เน็ตสร้างเว็บเพจเนื้อหาความรู้ตามหัวข้อของการเรียนการสอนรายสัปดาห์
สร้างแฟ้มข้อมูลเนื้อหาวิชาเสริมการเรียนการสอนสําหรับการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
6. การปฐมนิเทศผู้เรียน ได้แก่
ก) แจ้งวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน
ข) สํารวจความพร้อมของผู้เรียนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนอาจจะ
ต้องมีการทดสอบหรือสร้างเว็บเพจเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอได้ศึกษาเพิ่มเติมใน
เว็บเพจเรียนเสริม หรือให้ผู้เรียนถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง
7. จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กําหนดไว้ โดยในเว็บเพจจะมีเทคนิคและกิจกรรมต่างๆ ที่
สามารถสร้างขึ้น ได้แก่
ก) การใช้ข้อความเร้าความสนใจที่อาจเป็นภาพกราฟิกภาพเคลื่อนไหว
ข) แจ้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของรายวิชาหรือหัวข้อในแต่ละสัปดาห์
ค) สรุปทบทวนความรู้เดิม หรือโยงไปหัวข้อที่ศึกษาแล้ว
ง) เสนอสาระของหัวข้อต่อไป
จ) เสนอแนะแนวทางการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่าง
ผู้เรียนกับผู้เรียน กิจกรรมการอภิปรายกลุ่ม กิจกรรมการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม กิจกรรมการตอบคําถาม
กิจกรรมการประเมินตนเอง และกิจกรรมการถ่ายโอนข้อมูล
ฉ) เสนอกิจกรรมดังกล่าวมาแล้ว แบบฝึกหัด หนังสือหรือบทความ การบ้าน การทํารายงาน
12
เดี่ยว รายงานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ และแนวทางในการประเมินผลในรายวิชานี้
ช) ผู้เรียนทํากิจกรรม ศึกษา ทําแบบฝึกหัดและการบ้านส่งผู้สอน ทั้งทางเอกสาร ทางเว็บเพจ
ผลงานของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นๆ ได้รับทราบด้วยและผู้เรียนส่งผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ซ) ผู้สอนตรวจผลงานของผู้เรียน ส่งคะแนนและข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่ เว็บเพจประวัติของ
ผู้เรียน รวมทั้งการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ไปสู่เว็บเพจผลงานของผู้เรียนด้วย
8. การประเมินผลผู้สอน สามารถใช้การประเมินผลระหว่างเรียนและเมื่อสิ้นสุดการเรียน รวมทั้ง
การที่ผู้เรียนประเมินผลผู้สอนและการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนทั้งรายวิชา เพื่อให้ผู้สอนนําไป
ปรับปรุงแก้ไขระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตสรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเกิดจากการ
รวมเอาคุณลักษณะของเว็บโปรแกรมและเครื่องมือสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต และการออกแบบระบบการ
เรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ซึ่งมีวิธีการจัดที่แตกต่างไปจาก
การจัดการเรียนการสอนตามปกติ เพราะคุณลักษณะและรูปแบบของเว็บเป็นสื่อที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น
ผู้ออกแบบจึงต้องคํานึงถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของเว็บเป็นสําคัญ
ประโยชน์การเรียนการสอนผ่านเว็บ
ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บมีมากมายหลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการ
นําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ดังนี้ (สุริยันต์เงาะเศษ, 2549
:34-35)
2.1 การสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้าชั้นเรียนได้
เรียนในเวลาและสถานที่ ๆ ต้องการ ซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทํางาน หรือสถานศึกษาใกล้เคียงที่ผู้เรียนสามารถเข้า
ไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่จําเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาที่กําหนดไว้จึงสามารถช่วย
แก้ปัญหาในด้านของข้อจํากัดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ศึกษาของผู้เรียนเป็นอย่างดี
2.2 การสอนบนเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ศึกษาอยู่ใน
สถาบันการศึกษาในภูมิภาคหรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปราย กับอาจารย์ ครูผู้สอนซึ่ง
สอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวงหรือในต่างประเทศก็ตาม
2.3 การสอนบนเว็บนี้ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็น
แหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่าง
ต่อเนื่องและตลอดเวลาการสอนบนเว็บ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้รวมทั้งมีทักษะในการ
ตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 การสอนบนเว็บ ช่วยทลายกําแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากห้องเรียน 4 เหลี่ยมไปสู่โลก
กว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
สนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบในความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการ
เรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง(Contextualization) และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-based
Learning) ตามแนวคิดแบบConstructivism
2.5 การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ เนื่องจากที่เว็บได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้า
ข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลกโดยไม่จํากัดภาษา การสอนบนเว็บช่วยแก้ปัญหา
ของข้อจํากัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุดอันได้แก่ ปัญหาทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่จํากัดและเวลา
13
ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่หลากหลายและเป็นจํานวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การ
เชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มิเดีย (สื่อหลายมิติ) ซึ่งทําให้การค้นหาทําได้สะดวกและง่ายดายกว่าการค้นหา
ข้อมูลแบบเดิม
2.6 การสอนบนเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะของเว็บที่
เอื้ออํานวยให้เกิดการศึกษา ในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่ตลอดเวลา โดยไม่
จําเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการทํากิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่าย
การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ดหรือการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะกับ
ผู้เรียนคนอื่น ๆ อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกันที่ห้องสนทนา เป็นต้น
2.7 การสอนบนเว็บเอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการเปิดปฏิสัมพันธ์นี้อาจทําได้ 2 รูปแบบ คือ
ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบนเว็บ ซึ่ง
ลักษณะแรกนี้จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน ส่วนในลักษณะหลังนั้นจะ
อยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบที่ผู้สอนได้จัดหาไว้ให้แก่ผู้เรียน
2.8 การสอนบนเว็บยังเป็นการเปิดโอกาสสําหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ทั้งใน
และนอกสถาบันจากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสอบถามปัญหาขอข้อมูลต่าง
ๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรงซึ่งไม่สามารถทําได้ในการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยัง
ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการติดต่อสื่อสารในลักษณะเดิม ๆ
2.9การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตน สู่สายตาผู้อื่นอย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ไม่ได้จํากัดเฉพาะเพื่อนๆ ในชั้นเรียนหากแต่เป็นบุคคลทั่วไปทั่วโลกได้ ดังนั้นจึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจ
ภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่งสําหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะพยายามผลิตผลงานที่ดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงตนเอง
นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่นเพื่อนํามาพัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
2.10 การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร ให้ทันสมัยได้อย่าง
สะดวกสบายเนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร ( Dynamic ) ดังนั้นผู้สอนสามารถอัพเดตเนื้อหา
หลักสูตรที่ทันสมัยแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง
กับเนื้อหา ทําให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิมและเปลี่ยนแปลงไปตาม
ความต้องการของผู้เรียนเป็นสําคัญ การสอนบนเว็บสามารถนําเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่
ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบของ
การนําเสนอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน
ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ
ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542: 18-28) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจไว้ว่า
หมายถึง การผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่าย เวิร์ล ไวด์ เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม
แห่งการเรียนรู้ในมิติที่ไม่มีขอบเขตที่จํา กัดด้วยระยะทางและเวลาของผู้เรียน
วิชุดา รัตนเพียร (2542: 29-35) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจไว้ว่าการเรียน
การสอนผ่านเว็บเพจ เป็นการนํา เสนอโปรแกรมบทเรียนบนเว็บเพจ โดยนํา เสนอผ่านบริการในเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ออกแบบได้สร้างโปรแกรมและบทเรียนผ่านเว็บเพจ
นํ้ามนต์ เรืองฤทธิ์ (2543: 92-97) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจไว้ว่าเป็น
14
รูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยการทํา งานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสาร
กับผู้สอน ผู้เรียนด้วยกันโดยไม่จํา กัดเวลาและสถานที่
รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ
การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ มีลักษณะโดดเด่น คือ ผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใดก็ได้สถานที่ใดก็ได้ ที่
มีความพร้อมด้านการเชื่อมต่อระบบ สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น E-Mail, Chat,Webboard, Newsgroup
สื่อสารกับเพื่อนๆ ผู้สอน หรือบุคคลอื่นๆ ที่สนใจและผู้เชี่ยวชาญต่างๆแต่ผู้เรียนไม่ต้องเข้าชั้นเรียน เข้า
โรงเรียน เพราะถือว่าเว็บไซท์ เป็นเสมือนห้องเรียน หรือโรงเรียนหนังสือเนื้อหาการเรียนถูกแทนที่ด้วยเนื้อหา
ดิจิตอลลักษณะต่างๆ ทั้งข้อความ, ภาพนิ่ง,ภาพเคลื่อนไหว, เสียง และวีดิทัศน์ ตามแต่ลักษณะของเว็บไซท์
สําคัญที่สุดคือผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกในห้องเรียนปกติ จะกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นได้มาก
กว่าเดิมรูปแบบของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. Instructor Centric กล่าวคือ รูปแบบนี้ จะมองว่าจุดศูนย์รวมของความรู้ทั้งหมดจะอยู่ที่อาจารย์
ผู้สอน อาจารย์เป็นคนสํา คัญที่สุดที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้ และเป็นคนควบคุมการเรียนรู้ทั้งหมด การเรียน
โดยใช้วิธีนี้ จะได้ผลดีเมื่อ
1.1 นักเรียนมีการเตรียมตัวที่เท่าเทียมกัน ที่มีความพร้อมที่จะเรียนเท่าๆกัน
1.2 นักเรียนมีสไตล์ของการเรียนรู้เหมือนกัน
1.3 นักเรียนอยากเรียนเท่าๆกัน
1.4 นักเรียนมีความสามารถเท่าๆกัน
ดังนั้นการที่จะสอนโดยใช้วิธีนี้ ก่อนอื่นจะต้องทราบว่า ผู้เรียนเป็นใคร มีพื้นฐานความรู้ความแตกต่าง
กันเพียงใด เพื่อที่จะทํา หลักสูตรการเรียนการสอนแบบกลางๆเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดประสิทธิภาพที่สุดใน
การเรียน
นักเรียน
ครู
นักเรียน
นักเรียน
นักเรียน
15
ภาพ รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจแบบ Instructor Centric
2. Learner Centric กล่าวคือ รูปแบบนี้จะมองว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้โดยความรู้จะมี
อยู่ทั่วไป ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ว่าจะเรียนที่ไหน เรียนเมื่อใด และจะเรียนอย่างไรการเรียนในรูปแบบนี้
จะไม่จํากัดอยู่ในโรงเรียนเพราะความรู้มีอยู่ทั่วไป การเรียนการสอนในรูปแบบนี้จะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
ผู้เรียนเป็นสําคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีพื้นฐานเพียงใด ผู้เรียนมีการเตรียมตัวอย่างไร และ ผู้เรียนมีความสามารถ
ที่จะเรียนรู้ได้รวดเร็วเพียงใด
ภาพ รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจแบบ Learner Centric
ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ จึงมีความยึดหยุ่นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ มี
ความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าปกติ มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตรงกับระบบการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนํา ที่ปรึกษา และแนะนําแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การเรียน
ระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ
ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2540) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเพ็จ ผู้สอนและผู้เรียน
จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเว็บอาจเป็น
แหล่งการ
เรียนรู้
นักเรียน
แหล่งการ
เรียนรู้
แหล่งการ
เรียนรู้
แหล่งการ
เรียนรู้
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์

More Related Content

Similar to การพัฒนาเว็บไซต์

Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.peter dontoom
 
ขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงานขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงานPennapa Boopphacharoensok
 
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนเทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนWiparat Khangate
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2kanwan0429
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2kanwan0429
 
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยkhanidthakpt
 
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติTee Lek
 
"aect ecucational technology"
"aect ecucational technology""aect ecucational technology"
"aect ecucational technology"Wichit Chawaha
 
Aect present wichit-current issue in edu tech
Aect present wichit-current issue in edu techAect present wichit-current issue in edu tech
Aect present wichit-current issue in edu techWichit Chawaha
 
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนเทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนChanathip Tangz
 
นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9nuttawoot
 
นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9nuttawoot
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11wanneemayss
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826gam030
 

Similar to การพัฒนาเว็บไซต์ (20)

เน อหา ว_จ_ย
เน  อหา ว_จ_ยเน  อหา ว_จ_ย
เน อหา ว_จ_ย
 
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
 
Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
 
ขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงานขอบข่ายและประเภทโครงงาน
ขอบข่ายและประเภทโครงงาน
 
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนเทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
 
ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
 
"aect ecucational technology"
"aect ecucational technology""aect ecucational technology"
"aect ecucational technology"
 
Aect present wichit-current issue in edu tech
Aect present wichit-current issue in edu techAect present wichit-current issue in edu tech
Aect present wichit-current issue in edu tech
 
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนเทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
 
นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9
 
นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9นวัตกรรมการศึกษา9
นวัตกรรมการศึกษา9
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 
11 170819173826
11 17081917382611 170819173826
11 170819173826
 

More from Benz Lovestory

วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1
วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1
วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1Benz Lovestory
 
การเขียน Reflection ของผม2
การเขียน Reflection ของผม2การเขียน Reflection ของผม2
การเขียน Reflection ของผม2Benz Lovestory
 
การออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบเว็บไซต์การออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบเว็บไซต์Benz Lovestory
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กBenz Lovestory
 

More from Benz Lovestory (8)

Refaction
RefactionRefaction
Refaction
 
Re
ReRe
Re
 
กลุ่ม3
กลุ่ม3กลุ่ม3
กลุ่ม3
 
วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1
วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1
วิเคราะห์แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย1
 
คู่มือ1
คู่มือ1คู่มือ1
คู่มือ1
 
การเขียน Reflection ของผม2
การเขียน Reflection ของผม2การเขียน Reflection ของผม2
การเขียน Reflection ของผม2
 
การออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบเว็บไซต์การออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบเว็บไซต์
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 

การพัฒนาเว็บไซต์

  • 1. 1 การพัฒนาเว็บไซต์ 1. หลักการและทฤษฎีการสื่อสาร ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์ เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคําของ มนุษย์ เราแปลคํานี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความหมายครอบคลุม กว้างขวาง รวมไปถึง theory of communication (ทฤษฎีของการสื่อสาร) theories in communication (ทฤษฎีในการสื่อสาร) theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร) และ theories about communication (ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร) 1. ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เริ่มด้วย ปรัชญาพุทธและปรัชญากรีก ที่ว่าด้วยการคิดและการพูด หลักวิธีการเผยแพร่ศรัทธาของศาสนาคริสต์ ทฤษฎี เศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ทฤษฎีทางการแพทย์ และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและสมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และ จิตบําบัดของฟรอยด์ รวมไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่เป็น ทฤษฎีของสาขาต่าง ๆ ที่ทําหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล การ สื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่ แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขา การศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็ ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลักเพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ สหรัฐอเมริกาขยายไปเจริญเติบโตที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปี ก่อน ศตวรรษที่ 21 การศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์ที่แยกเป็นเอกเทศในระดับมหาวิทยาลัย เริ่มต้นเป็นครั้งแรกที่ มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่นิวยอร์ค จนในปัจจุบันมีวิทยาลัยหรือภาควิชานิเทศศาสตร์ใน สหรัฐอเมริกาประมาณ 1,500 แห่ง ในประเทศไทย เกิดขึ้นแล้วประมาณ 50 แห่ง โดยเริ่มต้นที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วขยายออกไปสู่สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและ เอกชน ในตอนต้น ๆ การศึกษานิเทศก์ศาสตร์จะมุ่งเน้นในด้านการใช้ทฤษฎีเพื่อการสื่อสารมาประยุกต์เป็น เทคนิควิธี และทักษะในการประกอบอาชีพทางด้านการสื่อสารมวลชนในระบบการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะแบบ เสรีประชาธิปไตย และระบบตลาดเสรี บนพื้นฐานลัทธิทุนนิยม โดยสรุปทฤษฎีเพื่อการสื่อสารก็คือ ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (operational theory) หรือหลักวิชาทั้งมวลใน การปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารมวลชนที่อาศัยหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสื่อสารธุรกิจที่มีการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์เป็นหลักสําคัญ 2. ทฤษฎีของการสื่อสาร (Theory of communication) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยใน สหรัฐได้พัฒนาการศึกษานิเทศศาสตร์ที่เน้นสอนการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ (professional practice) ไปสู่ การศึกษาวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยแรงผลักดันส่วนหนึ่งจากอิทธิพลทางปัญญา (intellectual influence) ของนักวิชาการที่อพยพมาจากยุโรป อาทิ ลูอิน และลาซาร์สเฟลด์
  • 2. 2 ทฤษฎีของการสื่อสารจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น โดยค่อย ๆ แยกจากทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยา และภาษา กลายมา เป็นศาสตร์ไหม่ในตัวของมันเองที่เรียกว่า การสื่อสารมวลชน (mass communication study) มุ่งวิจัยผลของ สื่อมวลชนที่มีต่อการเมือง สังคม และวัฒนธรรม เราเรียกทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มแรกนี้ว่า ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน (Mass Communication Theory) ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากผลงานของวิลเบอร์ ชรามม์ เมลวิน เดอเฟอร์ และเดนิส แมคเควล แต่กลุ่มทฤษฎีระบบ (Systems Theories) ของวีเนอร์ แชนนอน และวีเวอร์ (Wiener – Shannon – Weaver) และในเชิงการสื่อสารของมนุษย์ (Human Communication) ของเบอร์โล (Berlo) รวมทั้งในเชิง การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) ของไฮเดอร์ นิวคอมบ์ เฟสติงเกอร์ และ ออสกูด (Heider-Newcomb-Festiger-Osgood) ส่งผลให้การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนขยายตัวออกไป ครอบคลุมอาณาบริเวณของการสื่อสาร (communication spheres) ที่กว้างขวางขึ้น วิชาการสื่อสารมวลชน จึงได้ปรับปรุงตนเอง และขยายตัวจากความเป็นเพียงนิเทศศิลป์(communication art) มาเป็นนิเทศศาสตร์ (Communication art and science หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า communication arts) สมบูรณ์ในสองทศวรรษ สุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีของการสื่อสารมิได้จํากัดอยู่เฉพาะที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนเท่านั้น แต่จะ ครอบคลุมการสื่อสารทุกประเภทและในทุกปริบท (cintext) นับตั้งแต่การสื่อสารภายในบุคคล (intrapersonal communication) จนไปถึงการสื่อสารของโลก (global communication) สร้างเป็นองค์ ความรู้ที่อธิบายการสื่อสารทั่วไป ในแง่ขององค์ประกอบ โครงสร้าง กระบวนการ บทบาทหน้าที่ จุดประสงค์ (purposes) ประสิทธิผล (effectiveness) ประสิทธิภาพ (efficiency) และค่าประสิทธิภาพ (cost- efficiency) ทฤษฎีของการสื่อสารดังกล่าว อาจจําแนกแยกย่อยออกเป็นทฤษฎีต่าง ๆ ในการสื่อสาร (theories in communication) เมื่อองค์ความรู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการสื่อสารประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ทฤษฎีต่าง ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคล หรือในการสื่อสารมวลชน เป็นต้น 3. ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร (Theories about communication) ทฤษฎีแนวปฏิบัติในนิเทศศิลป์ และทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในนิเทศศาสตร์ ได้ร่วมกันสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทฤษฎีการสื่อสาร เป็นอย่างยิ่ง สามารถผลิตบัณฑิตออกไปทํางานในวิชาชีพปีละมาก ๆ เฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมีนักศึกษาใน สาขานี้รวมทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าห้าหมื่นคน มีบัณฑิตที่จบออกไปปีละหลายพันคน ปัญหาที่บัณฑิตส่วนใหญ่ใน ประเทศต่าง ๆ ต้องเผชิญมีความคล้ายคลึงกัน คือไม่สามารถนําทฤษฎีไปใช้ปฏิบัติได้ในวงการวิชาชีพที่ ส่วนมากยังมีลักษณะอนุรักษ์นิยม (conservatism)... อนุรักษ์นิยมในแง่ที่นักวิชาชีพส่วนใหญ่ยังมิได้ศึกษาเล่า เรียนมาโดยตรง และในแง่ที่ยังจะต้องผูกพันกับผลประโยชน์ของธุรกิจที่เป็นเจ้าของสื่อหรือเป็นผู้อุปถัมภ์สื่อ โดยการให้โฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ ช่องว่างระหว่างวิชาการและการปฏิบัติในวิชาชีพยิ่งขยายวงกว้างออกไป การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยผลักดันให้ทฤษฎีโน้มเอียงไปในทางผลประโยชน์ของประชาชน และใน ทางการสร้างสรรค์ประชาสังคม (civil society) มากขึ้น ในขณะที่การปฏิบัติในวิชาชีพส่วนใหญ่ยังเน้นส่งเสริม ธุรกิจและอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมเป็นเสมือนหนึ่งพาณิชยศิลป์อันเป็นกลไกของตลาดเสรีที่มีทุนเป็น
  • 3. 3 ปัจจัยหลัก ช่องว่างที่กว้างใหญ่กลายเป็นความขัดแย้งของอุดมการณ์สองขั้ว (bipolar ideoloty) และนี่เองที่ เป็นจุดเริ่มต้นความเติบโตของทฤษฎีสื่อสารแนววิพากษ์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมือง เศรษฐกิจสังคม สังคม จิตวิทยา มานุษยวิทยา จริยศาสตร์ นิเวศวิทยา และสุนทรียศาสตร์ ได้ถูกนํามาเป็นหลักและแนวในการมอง การสื่อสารมวลชน สร้างขึ้นเป็นกลุ่มทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร จัดว่าเป็นกลุ่มทฤษฎีที่พยายามอธิบาย เชิงวิพากษ์ต่อการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม โดยสรุป ทฤษฎีการสื่อสารก็คือการอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ หลักการ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อทธิพล การใช้ การควบคุม ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร สภาพ ปัญหา และแนวโน้มในอนาคต รวมทั้งการอธิบายแนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร เราอาจจําแนกทฤษฎีการสื่อสารออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (1) ทฤษฎีการสื่อสารแนวปฏิบัติ ที่พัฒนามาจากทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร (2) ทฤษฎีการสื่อสารแนวปรัชญา วิทยาศาสตร์ ที่พัฒนามาจากทฤษฎีของการสื่อสาร และ (3) ทฤษฎีการสื่อสารแนววิพากษ์ ที่พัฒนามาจาก ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร การสื่อสาร (กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก) ชีวิตเป็นเรื่องของการเรียนรู้และสิ่งหนึ่งที่สําคัญและต้องมีการเรียนรู้คือ ความสัมพันธ์ หรือ มนุษย สัมพันธ์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มักเป็นบทเรียนของกันและกัน ถ้าไม่ใส่ใจเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็จะอยู่ใน โลกนี้ด้วยความยากลําบาก เพราะชีวิตจะมีคุณค่าและรู้สึกมีความสุขเมื่อได้แสดงออกอย่างที่รู้สึก มีโอกาส เรียนรู้เรื่องราวและสิ่งใหม่ๆตามที่เราต้องการ ดังนั้นความสําเร็จของมนุษย์ในการดํารงชีวิตทั่วไป จึงมักมีข้อกําหนดไว้อย่างกว้างๆว่า เราจะต้องเข้า กับคนที่เราติดต่อด้วยให้ได้ และต้องเข้าให้ได้ดี ด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน โดยอาศัยวิธีการ สื่อสารและหลักจิตวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์โดยทั่วไปมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของศิลปะ(Arts) มากกว่า ศาสตร์(Science) ซึ่งก็หมายความว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว โดยขาด ศาสตร์ของการสื่อสาร ย่อมขาดศิลปะในการนําไปปรับใช้ในชีวิตจริงให้ประสบความสําเร็จได้ ความหมายของการสื่อสาร ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายแง่มุม เช่น จอร์จ เอ มิลเลอร์ : เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง จอร์จ เกิร์บเนอร์ : เป็นการแสดงกริยาสัมพันธ์ทางสังคมโดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร วิลเบอร์ ชแรมส์ : เป็นการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
  • 4. 4 ซึ่งสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้ส่งสาร ไปยังยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับสารโดยผ่านช่องทางในการสื่อสาร โดยมีองค์ประกอบที่สําคัญคือ ผู้ส่ง สาร(Sender) สาร(Message) ช่องทาง(Channel) และตัวผู้รับสาร(Reciever) ซึ่งมักเรียกกันว่า SMC วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร การสื่อสารในชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นล้วนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และส่งผลต่อการ ดําเนินชีวิตได้คือ ทําให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ทําให้ทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ทํา ให้เกิดการแสดงออก ทําให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ ทําให้เกิดการเรียนรู้ ทําให้เกิดกําลังใจ(หาภาพประกอบ แต่ละประเภท) 2. การประชาสัมพันธ์ การมีเว็บไซต์สิ่งแรกที่ทุกคนต้องการคือมีผู้เข้าชม การจะทําให้เว็บเป็นที่รู้จักนอกจากเนื้อหา การ ประชาสัมพันธ์คงเป็นสิ่งแรกที่ต้องทํา เพราะมีของดีแล้วไม่มีใครรู้ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย สําหรับการแนะนํา เว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก มีหลากหลายรูปแบบ แต่ในส่วนนี้แนะนําพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทําได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ใดๆ คือ 1. Search Engine การประชาสัมพันธ์เว็บผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เมื่อต้องการค้นหาข้อมูล คง หนีไม่พ้นเข้าไปยังผู้ให้บริการค้นหาเว็บไซต์หรือ Search Engine ถ้าจะทําให้เว็บเป็นที่รู้จักก็ต้องให้เว็บของเรา เข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลของผู้ให้บริการเหล่านั้น โดยผู้ให้บริการ Search Engine จะมีส่วนบริการที่ให้เข้าไป เพิ่มเว็บไซต์ (Add URL) พร้อมแนะนําข้อมูลเบื้องต้น หรือให้เพิ่มเฉพาะ URL ของเว็บไซต์อย่างเดียว ตามแต่ ระบบของผู้ให้บริการ รายสําคัญๆ เช่น - Google - Yahoo - MSN โดยผู้ให้บริการ Search Engine แต่ละรายจะส่ง Robot หรือเครื่องมืออัตโนมัติเข้ามายังเว็บไซต์เพื่อ เก็บเนื้อหา คําต่างๆเข้าไปทําดัชนียังฐานข้อมูล เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหา"คํา" ที่ตรงกับเนื้อหากับเว็บไซต์ของ เราก็จะถูกแสดงให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เลือกเข้าชม ซึ่งจะเห็นว่า "คํา" หรือ Keyword เป็นสิ่งสําคัญที่นําผู้ เข้าชมมายังเว็บไซต์ของเรา ซึ่งก็มาจากเนื้อหาในเว็บไซต์ของเรานั่นเอง แต่นอกจากเนื้อหาในเว็บไซต์แล้วเรา สามารถกําหนด "คํา" และรายละเอียดของเว็บ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บของ Search Engine ก็คือ Meta Tags เป็นคําสั่งมาตฐานแทรกอยู่ส่วนหัวของหน้าเว็บแต่ละหน้า เพื่อกําหนดข้อมูลของหน้าเว็บมีส่วนสําคัญๆ คือ - - Description แนะนําข้อมูลเกี่ยวหน้าเว็บหรือข้อมูลเว็บไซต์โดยย่อ - - Keywords กําหนดคําที่เกี่ยวข้อง หรือคําที่ต้องการให้เมื่อค้นหาแล้วพบเว็บไซต์ คั่นระหว่างคํา ด้วย จุลภาคหรือจุดลูกน้ํา (,) เมื่อมีผู้ค้นหา"คํา" ตามเนื้อหาที่มีในเว็บ เว็บไซต์ของเราก็จะถูกแนะนําให้
  • 5. 5 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เลือกชม แต่จะแสดงอยู่ในลําดับที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละรายมีการ กําหนดรูปแบบการจัดลําดับในลักษณะใด. 2.หมวดหมู่เว็บ (Directory) เป็นอีกช่องทางในการประชาสัมพันธ์เว็บไปยังผู้ให้บริการรวมลิงค์ต่างๆ เพราะจะเป็นแหล่งที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าไปหาข้อมูลเป็นจํานวนมาก มีการจัดแบ่งเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการเข้าชม และตรงตามกลุ่มเป้าหมายซึ่งส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการฟรี เราก็สามารถเพิ่มเว็บไซต์ไปยัง เว็บผู้ให้บริการเหล่านี่ได้ โดยเลือกหมวดหมู่ได้ตามต้องการ ตัวอย่างผู้ให้บริการของไทย - Sanook.com - Siamguru.com - Thaipromote.com - Truehits (เฉพาะผู้สนับสนุน ฟรียังไม่เปิดรับสมาชิกเพิ่ม) - Thaitopsites.com - Hunsa.com - Pixiart.com - Ragnarok.in.th - สรรสาร - Thaiseek.com - Allofthai.com - Thai-index.com 3.แลกเปลี่ยนลิงค์ (banner exchange) การแลกเปลี่ยนลิงค์เป็นอีกช่องทางในการแนะนําเว็บไซต์ให้ เป็นที่รู้จัก เว็บไซต์ที่รับแลกเปลี่ยนลิงค์จะประกาศแจ้งไว้ หรือหากไม่มีก็สามารถอีเมล์ไปสอบถามหรือขอ แลกเปลี่ยนได้เช่นกัน อาจดูจากความใกล้เคียงของเนื้อหาหรือกลุ่มเป้าหมาย การแลกลิงค์มีทั้งแบบลิงค์ ข้อความ หรือแบนเนอร์ ตกลงกันได้ตามความพอใจ นอกจากนี้ยังมีผู้เปิดให้บริการศูนย์กลางแลกเปลี่ยน ลิงค์-แบนเนอร์ระหว่างเว็บมาสเตอร์ด้วยกัน โดยมีรูปแบบง่ายๆ คือ สมัครสมาชิกไปยังผู้ให้บริการก็จะได้โค็ด มาแปะไว้ที่หน้าเว็บ โดยมีการกําหนดอัตราการแสดงผล ตามจํานวนการแสดงแบนเนอร์ระบบ แบนเนอร์ของ เราก็จะแสดงในเว็บไซต์อื่นด้วยเช่นกัน ผู้ให้บริการ - ThaiLE ( ยังไม่เปิดรับสมาชิกใหม่ ต้องได้รับแนะนําจากสมาชิกเก่า) ขอมาได้ที่เว็บแพ็ค - Thaibanner ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ 1. เมื่อออกแบบเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทําการอับโหลดเว็บไซต์ให้สามารถเผยแพร่สู่โลกอิน อินเทอร์เน็ตได้ 2. ต้องทําการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ มีวิธีการประชาสัมพันธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย มี 2 แบบให้ เลือกคือ
  • 6. 6 2.1แบบไม่เสียค่าบริการ (ฟรี) โดยทําการประกาศไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการฝาก ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เช่น www.thaipr.net , www.sanook.com ฯลฯ เป็นต้น 2.2 แบบเสียค่าบริการ โดยการซื้อพื้นที่ป้ายโฆษณา (Banner) โดยคิดอัตราค่าบริการที่แตกต่างกัน ไปตามความนิยมของเว็บไซต์นั้น ๆ เช่น www.sanook.com, www.dek-d.com 3. ต้องทํา SEO (Search Engine Optimization)มาจากคําเต็มๆ ว่า Search Engine Optimization ความหมายคือ การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบเขียนโปรแกรม และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น) SEO สําคัญยังไงอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คําค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็นมีให้เลือกเปรียบเทียบอีก หลายๆ แห่ง สําหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้วก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆเผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเองทําให้ได้เปรียบคู่แข่ง สรุป ความสําคัญของ SEO ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้ 1. ทําให้เว็บของเราติดอันดับต้นๆในการแสดงผลงการค้นหา 2. การเขียน Title ที่ดี Keyword ที่ทันสมัยช่วยทําให้สะดุดตา แม้อันดับต่ํากว่า ก็มีสิทธิ์ถูกคลิก มากกว่า 3. เมื่อติดอันดับต้นๆทําให้ขายสินค้าได้ โฆษณาเข้ามา เพราะมีการเคลื่อนไหวของหน้าเว็บไซต์ 4. มีโอกาสที่จะได้รับเงินค่าโฆษณาที่สูง การทํา SEO มีให้เลือก 2 แบบคือ 1. แบบไม่เสียค่าบริการ โดยการประชาสัมพันธ์ให้มีชื่อคําค้น (Keyword) ที่ต้องการปรากฏอยู่บน โลกอินเทอร์เน็ตให้มากที่สุด เช่น การประชาสัมพันธ์ข่าวต่าง ๆ ลงบนเว็บบอร์ดเว็บไซต์ยอดนิยมต่าง ๆ ตาม กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ 2.แบบเสียค่าบริการโดยการเช่าชื้อการทํา SEO ซึ่งคิดอัตราค่าบริการตามจํานวนคําค้น และ ระยะเวลาในการติดอันดับบน Search Engine 4. การใช้ Social Network ช่วยในการประชาสัมพันธ์ โดยเพิ่มเติมจากเว็บไซต์หลัก เพื่อติดตามความ เคลื่อนไหวและสํารวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดทั้งสามารถประชาสัมพันธ์ข่าวไปยัง กลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ประโยชน์ของ Social NetworkSocial Network มีจุดเด่นหลัก คือ ช่วยเรื่องการสื่อสารให้มี ประสิทธิภาพสื่อสารไดในวงกว้าง ได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพวิดีโอในเชิงการใช้งานทั่วไปแล้ว สามารถสื่อสารกับคนที่มีความชื่นชอบในเรื่องเดียวกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือรวมตัวกันทํากิจกรรมที่มี ประโยชน์นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพบปะเพื่อนๆ และด้วยความที่ Social Network เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ รวดเร็วและเป็นช่องทางการสื่อสารได้ตลอดเวลาด้วยเหตุนี้จึงมีการนํามาใช้ทางด้านธุรกิจ โปรโมทตนเอง โป
  • 7. 7 รโมทสินค้า องค์กรหรือบริษัท รวมถึงใช้เป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า สร้างกิจกรรมหรือพูดคุยตอบ ข้อซักถามถึงสินค้าและบริการทําให้เรามีอีกช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าได้ นอกจากนี้ สื่อนอกอินเทอร์เน็ตอื่นๆ อาทิหนังสือพิมพ์ , นิตยสาร , วิทยุและโทรทัศน์ ก็ยังถือเป็นสื่อที กลุ่มเป้าหมายยังให้ความสนใจ ดังนั้นจึงต้องพยายามสร้างกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้าของเรา ออกไปให้สาธารณชนรับทราบมากที่สุดสุดท้ายสื่อธุรกิจ ซึ่งเราต้องพิมพ์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นนามบัตร , บรรจุ ภัณฑ์ , โบว์ชัวร์ หรือแคตาล๊อกอย่าลืมพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงไปเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้เป็นช่องทางติดต่อได้ อย่างไรก็ตาม การจําหน่ายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตนั้น การใช้สื่อต่างๆควรศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเช่นพฤติกรรมซื้อสินค้าของคนไทยต้องได้เห็นของ จับต้องสินค้าต่อรองราคาหรือต้องการรู้จักผู้ขายเพื่อ สร้างความมั่นใจจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยอาจจะต้องมีสถานที่ทําการค้าแน่นอนหรืออย่างน้อยก็ ต้องคอยจัดบู๊ทแนะนําสินค้าให้ผู้ซื้อรู้จักหรือทดลองใช้ตามสถานที่ต่างๆ การประชาสัมพันธ์สินค้าหรือเว็บไซต์ จึงจะได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด 3. การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอน เป็นการนําเอาคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตมาออกแบบเพื่อใช้ใน การศึกษาด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอนซึ่งการจัดการเรียน การสอนผ่านเว็บมีชื่อเรียกหลายลักษณะ เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-based Instruction) เว็บการเรียน (Web-based Learning) เว็บฝึกอบรม (Web-basedTraining) อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (Internet-based Training) อินเทอร์เน็ตช่วยสอน (InternetbasedInstruction) เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม (WWW-based Training) และเวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน(WWW-based Instruction) ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บ Complese and Complese (1998) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ หมายถึง การจัดการเรียน การสอนทั้งกระบวนการหรือบางส่วน โดยใช้เวิล์ดไวด์เว็บเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยน ข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน เนื่องจากเวิล์ดไวด์เว็บมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลได้หลายประเภท ไม่ว่า จะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง จึงเหมาะแก่การเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาการ เรียนการสอน Laanpere (1997) กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่าสภาพแวดล้อม ของเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรมหาวิทยาลัย ส่วนประกอบการ บรรยายในชั้นเรียน การสัมมนาโครงการกลุ่มหรือการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหรืออาจเป็นลักษณะของ หลักสูตรที่เรียนผ่านเวิลด์ไวด์เว็บโดยตรงทั้งกระบวนการเลยก็ได้ การเรียนการสอนผ่านเว็บนี้เป็นการรวมกัน ระหว่างการศึกษาและการฝึกอบรมเข้าไว้ด้วยกันโดยให้ความสนใจต่อการใช้ในระดับการเรียนที่สูงกว่าระดับ มัธยมศึกษา
  • 8. 8 กิดานันท์ (2543) กล่าวว่า การเรียนบนเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอน เพื่อเสนอบทเรียนใน ลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการนําเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการ สอนก็ได้ รวมถึงนําประโยชน์จากคุณลักษณะต่างๆ ของการสื่อสารที่มีในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียน โต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพการเรียนสูงสุด จากคํานิยามและความคิดเห็นของนักวิชาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่าน เว็บ (Web-based Instruction) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือบางส่วนผ่านบริการ เวิลด์ไวด์เว็บในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการออกแบบบทเรียนในลักษณะโปรแกรมแบบไฮเปอร์มีเดีย โดยอาศัย ประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรบนเวิล์ดไวด์เว็บมาจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน การสอน ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อสนับสนุนผู้เรียนให้เรียนรู้อย่าง มีความหมาย การเรียนการสอนผ่านเว็บจึงถือเป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ และช่วย ขจัดอุปสรรคของการเรียนการสอนทางด้านสถานที่และเวลา การออกแบบบทเรียนผ่านเว็บ Ritchie and Hoffman (1997) เสนอแนะว่าในการออกแบบบทเรียนผ่านเว็บเพื่อให้เกิดการเรียนที่ ดีที่สุดควรอาศัยหลักกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน (Motivating the Learned) โดยการออกแบบควรเร้าความ สนใจ โดยการใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีและเสียงประกอบเพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้อยากเรียนรู้ ควรใช้ กราฟิกขนาดใหญ่ ไม่ซับซ้อน การเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นต้องน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเนื้อหา 2. บอกวัตถุประสงค์ของการเรียน (Identifying What is to be Learned) เพื่อเป็นการบอกให้ ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าถึงประเด็นสําคัญของเนื้อหาและเป็นการบอกถึงเค้าโครงของเนื้อหาซึ่งจะเป็นผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพขึ้น อาจบอกเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์ทั่วไปโดยใช้คําสั้นๆ หลีกเหลี่ยงคํา ที่ไม่เป็นที่รู้จัก ใช้กราฟิกง่ายๆ เช่น กรอบหรือลูกศร เพื่อให้การแสดงวัตถุประสงค์น่าสนใจยิ่งขึ้น การเชื่อมโยง ไปยังเว็บภายนอกอาจทําให้ผู้เรียนลืมวัตถุประสงค์ของบทเรียน การแก้ไขปัญหานี้คือผู้ออกแบบควรเลือกที่จะ เชื่อมโยงเว็บภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนเท่านั้น 3. ทบทวนความรู้เดิม (Reminding Learners of Past Knowledge) เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐาน ผู้เรียนสําหรับรับความรู้ใหม่ การทบทวนไม่จําเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป อาจใช้การกระตุ้นให้ผู้เรียนนึก ถึงความรู้ที่ได้รับมาก่อนเรื่องนี้ โดยใช้เสียงพูด ข้อความภาพหรือใช้หลายๆ อย่างมาผสมผสานกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับความเหมาะสมของเนื้อหา มีการแสดงความเหมือนความแตกต่างของโครงสร้างบทเรียนเพื่อที่ผู้เรียนจะ ได้รับความรู้ใหม่ได้เร็ว นอกจากนั้นผู้ออกแบบควรต้องทราบภูมิหลังของผู้เรียนและทัศนคติของผู้เรียน 4. ผู้เรียนต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ (Requiring ActiveInvolvement) นักการศึกษา ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะรับความรู้ใหม่ ผู้เรียนที่มีลักษณะ กระตือรือร้นจะรับความรู้ได้ดีกว่าผู้เรียนที่มีลักษณะเฉื่อยผู้เรียนจะจดจําได้ดีถ้ามีการนําเสนอเนื้อหาดีและ
  • 9. 9 สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ผู้ออกแบบบทเรียนควรหาเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้กระตุ้นผู้เรียนให้นํา ความรู้เดิมมาใช้ในการศึกษาความรู้ใหม่รวมทั้งต้องพยายามหาทางทําให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียน กระจ่างชัดมากขึ้น พยายามให้ผู้เรียนรู้จักเปรียบเทียบ แบ่งกลุ่ม หาเหตุผล ค้นคว้า วิเคราะห์หาคําตอบด้วย ตนเอง โดยผู้ออกแบบบทเรียนต้องค่อยๆ ชี้แนวทางจากมุมกว้างแล้วรวบรัดให้แคบลง รวมทั้งใช้ข้อความ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด เป็นต้น 5. ให้คําแนะนําและให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Guidance and Feedback) การให้ คําแนะนําและให้ข้อมูลย้อนกลับในระหว่างที่ผู้เรียนศึกษาอยู่ในเว็บเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดี ผู้เรียนจะทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตนเอง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมคิดร่วมกิจกรรมในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับเนื้อหา การถาม การตอบ จะทําให้ผู้เรียนจดจําได้มากกว่าการอ่านหรือลอกข้อความเพียงอย่าง เดียว ควรให้ผู้เรียนตอบสนองวิธีใดวิธีหนึ่งเป็นครั้งคราวหรือตอบคําถามได้หลายๆ แบบ เช่น เติมคําลงใน ช่องว่าง จับคู่ แบบฝึกหัดแบบปรนัย โดยใช้ความสามารถของโปรแกรม CGI (Common Gateway Interface) ซึ่งเป็นโปรแกรมการปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ 6. ทดสอบความรู้ (Testing) เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนได้รับความรู้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบ แบบทดสอบแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนของ ตนเองได้ อาจจัดให้มีการทดสอบระหว่างเรียนหรือทดสอบท้ายบทเรียน ทั้งนี้ควรสร้างข้อสอบให้ตรงกับ จุดประสงค์ของบทเรียน ข้อสอบ คําตอบและข้อมูลย้อนกลับควรอยู่ในกรอบเดียวกันและแสดงต่อเนื่องกัน อย่างรวดเร็ว ไม่ควรให้ผู้เรียนพิมพ์คําตอบยาวเกินไป ควรบอกผู้เรียนถึงวิธีตอบให้ชัดเจน คํานึงถึงความ แม่นยําและความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ 7. การนําความรู้ไปใช้ (Providing Enrichment and Remediation) เป็นการสรุปแนวคิดสําคัญ ควรให้ผู้เรียนทราบว่าความรู้ใหม่มีส่วนสัมพันธ์กับความรู้เดิมอย่างไรควรเสนอแนะสถานการณ์ที่จะนําความรู้ ใหม่ไปใช้ และบอกให้ผู้เรียนทราบถึงแหล่งข้อมูลที่จะใช้อ้างอิงหรือค้นคว้าต่อไป การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บมีลักษณะการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากการเรียนการสอนในชั้น เรียนปกติที่คุ้นเคยกันดี ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมในชั้นเรียนส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เน้นให้ผู้สอน เป็นผู้ป้อนความรู้ให้แก่ผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนไม่ใฝ่ที่จะหาความรู้เพิ่มเติมส่วนการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บจะ มีวิธีการจัดที่แตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนตามปกติ เพราะคุณลักษณะและรูปแบบของเว็บเป็นสื่อที่ มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งแตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อแบบอื่นๆ จึงต้องคํานึงถึงการ ออกแบบระบบการสอนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของเว็บ เช่น การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับครู การสื่อสาร ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนที่กระทําได้แตกต่างไปจากการเรียนการสอนแบบเดิม ซึ่งมีวิธีการหลายวิธี อาทิ การ สื่อสารผ่านเว็บโดยตรงในรูปการคุยกันในห้องสนทนา (Chat Room) การฝากข้อความบนกระดาน อิเล็กทรอนิกส์หรือกระดานข่าวสาร (Bulletin Board) หรือสื่อสารผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) เป็น ต้นความเป็นเว็บช่วยสอนจึงไม่ใช่แค่การสร้างเว็บไซต์เนื้อหาวิชาหนึ่งหรือรวบรวมข้อมูลซักเรื่องหนึ่ง
  • 10. 10 แล้วบอกว่าเป็นเว็บช่วยสอน แต่เว็บช่วยสอนมีความหมายกว้างขวางอันเกิดจากการรวมเอาคุณลักษณะ ของเว็บ โปรแกรมและเครื่องมือสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต และการออกแบบระบบการเรียนการสอนเข้า ด้วยกัน ทําให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นอย่างมีความหมาย ไม่เป็นเพียงแค่แหล่งข้อมูลเท่านั้น (ปรัชญนันท์, 2543) 1. สิ่งที่พึงปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Hughes and Hewson, 1998) มีดังนี้ 1.1 การแจ้งล่วงหน้า (Notices) เป็นการใช้เว็บโดยกําหนดพื้นที่เฉพาะที่เป็นบอร์ดในเว็บ สําหรับ อาจารย์กําหนดนัดหมายหรือสั่งงาน ซึ่งผู้เรียนอาจจะได้รับการแจ้งล่วงหน้าผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และ สามารถสอบถามได้ โดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน 1.2 การนําเสนอ (Presentations) เป็นการนําเสนอด้วยเว็บที่ทําขึ้นทั้งผู้สอนและผู้เรียน โดย นําเสนองานที่ได้รับมอบหมาย จัดทําแบบสัมมนาหรือประชุมนําเสนอผ่านเว็บไซต์หรือโดยไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์หรือการเผยแพร่ในกลุ่ม เป็นกิจกรรมสื่อสารกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.3 การอภิปรายปกติ (Formal Discussions) เป็นการอภิปรายกันบนเว็บโดยการใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์และการประชุมสนทนาแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นเครื่องมือบนเว็บที่จัดเหมือนประชุมสัมมนา ซึ่งเป็นกลุ่ม สนทนาที่แสดงเป็นรูปภาพแทนผู้ใช้หรือแทนชื่อของผู้ใช้ก็ได้ 1.4 การใช้คําถามโดยรอคําตอบ (Questioning) เป็นการกําหนดคําถามขึ้น โดยผู้สอนใช้คําถาม นําและให้ผู้เรียนหาคําตอบ โดยคําตอบที่ตอบมาถ้าตรงกับคําถามที่กําหนดก็จะป้อนกลับไปยังผู้เรียนเพื่อการ ตอบสนองและประเมินผล 1.5 การระดมสมอง (Brainstorms) เป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อคําถาม โดย ผู้เรียนต้องร่วมหาคําตอบ กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายในเว็บจากคําถามที่กําหนดในกิจกรรมเดียวกัน 1.6 การกําหนดสภาพงาน (Task Setting) เป็นการกําหนดกระบวนการในการทํางานส่งตาม กิจกรรม ซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือกลุ่มย่อย ซึ่งอยู่ในรูปของเว็บไซต์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 1.7 แบบฝึกหัด (Class Quizzes) เป็นการทดสอบผลทั้งชั้นเรียนหรือถามเพื่อประเมินผลของการ เรียน ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น เป็นแบบตัวเลือกหรือคําถามสั้นๆ ที่จะมีการป้อนกลับตลอดเวลาและ ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ 1.8 การอภิปรายรายคู่นอกระบบหรือการศึกษาเป็นกลุ่ม เป็นการออกแบบพื้นที่ของเว็บช่วยสอน ให้มีพื้นที่เฉพาะสําหรับการพบปะสนทนาอย่างไม่เป็นทางการรายคู่หรือกลุ่ม นอกเหนือจากขั้นตอนปกติใน การสอน ซึ่งสามารถทําเป็นสภากาแฟ ห้องสัมมนาห้องพักผ่อน ห้องสมุด เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้เว็บสามารถเข้าไปทํา กิจกรรมได้อย่างอิสระในเว็บไซต์ที่จัดไว้ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้อย่างอิสระ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นเว็บ (วรัท, 2551) มีดังนี้
  • 11. 11 1. กําหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน 2. การวิเคราะห์ผู้เรียน 3. การออกแบบเนื้อหารายวิชา ก) เนื้อหาตามหลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ข) จัดลําดับเนื้อหา จําแนกหัวข้อตามหลักการเรียนรู้และลักษณะเฉพาะในแต่ละหัวข้อ ค) กําหนดระยะเวลาและตารางการศึกษาในแต่ละหัวข้อ ง) กําหนดวิธีการศึกษา จ) กําหนดสื่อที่ใช้ประกอบการศึกษาในแต่ละหัวข้อ ฉ) กําหนดวิธีการประเมินผล ช) กําหนดความรู้และทักษะพื้นฐานที่จําเป็นต่อการเรียน ซ) สร้างประมวลรายวิชา 4. การกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตที่ เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ 5. การเตรียมความพร้อมของสิ่งแวดล้อมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ สํารวจแหล่ง ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงได้ กําหนดสถานที่และอุปกรณ์ที่ให้บริการและ ที่ต้องใช้ในการติดต่อทางอินเทอร์เน็ตสร้างเว็บเพจเนื้อหาความรู้ตามหัวข้อของการเรียนการสอนรายสัปดาห์ สร้างแฟ้มข้อมูลเนื้อหาวิชาเสริมการเรียนการสอนสําหรับการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล 6. การปฐมนิเทศผู้เรียน ได้แก่ ก) แจ้งวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน ข) สํารวจความพร้อมของผู้เรียนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนอาจจะ ต้องมีการทดสอบหรือสร้างเว็บเพจเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอได้ศึกษาเพิ่มเติมใน เว็บเพจเรียนเสริม หรือให้ผู้เรียนถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง 7. จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กําหนดไว้ โดยในเว็บเพจจะมีเทคนิคและกิจกรรมต่างๆ ที่ สามารถสร้างขึ้น ได้แก่ ก) การใช้ข้อความเร้าความสนใจที่อาจเป็นภาพกราฟิกภาพเคลื่อนไหว ข) แจ้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของรายวิชาหรือหัวข้อในแต่ละสัปดาห์ ค) สรุปทบทวนความรู้เดิม หรือโยงไปหัวข้อที่ศึกษาแล้ว ง) เสนอสาระของหัวข้อต่อไป จ) เสนอแนะแนวทางการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่าง ผู้เรียนกับผู้เรียน กิจกรรมการอภิปรายกลุ่ม กิจกรรมการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม กิจกรรมการตอบคําถาม กิจกรรมการประเมินตนเอง และกิจกรรมการถ่ายโอนข้อมูล ฉ) เสนอกิจกรรมดังกล่าวมาแล้ว แบบฝึกหัด หนังสือหรือบทความ การบ้าน การทํารายงาน
  • 12. 12 เดี่ยว รายงานกลุ่มในแต่ละสัปดาห์ และแนวทางในการประเมินผลในรายวิชานี้ ช) ผู้เรียนทํากิจกรรม ศึกษา ทําแบบฝึกหัดและการบ้านส่งผู้สอน ทั้งทางเอกสาร ทางเว็บเพจ ผลงานของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นๆ ได้รับทราบด้วยและผู้เรียนส่งผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซ) ผู้สอนตรวจผลงานของผู้เรียน ส่งคะแนนและข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่ เว็บเพจประวัติของ ผู้เรียน รวมทั้งการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ไปสู่เว็บเพจผลงานของผู้เรียนด้วย 8. การประเมินผลผู้สอน สามารถใช้การประเมินผลระหว่างเรียนและเมื่อสิ้นสุดการเรียน รวมทั้ง การที่ผู้เรียนประเมินผลผู้สอนและการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนทั้งรายวิชา เพื่อให้ผู้สอนนําไป ปรับปรุงแก้ไขระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตสรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเกิดจากการ รวมเอาคุณลักษณะของเว็บโปรแกรมและเครื่องมือสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต และการออกแบบระบบการ เรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ซึ่งมีวิธีการจัดที่แตกต่างไปจาก การจัดการเรียนการสอนตามปกติ เพราะคุณลักษณะและรูปแบบของเว็บเป็นสื่อที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น ผู้ออกแบบจึงต้องคํานึงถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของเว็บเป็นสําคัญ ประโยชน์การเรียนการสอนผ่านเว็บ ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บมีมากมายหลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการ นําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ดังนี้ (สุริยันต์เงาะเศษ, 2549 :34-35) 2.1 การสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้าชั้นเรียนได้ เรียนในเวลาและสถานที่ ๆ ต้องการ ซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทํางาน หรือสถานศึกษาใกล้เคียงที่ผู้เรียนสามารถเข้า ไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่จําเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาที่กําหนดไว้จึงสามารถช่วย แก้ปัญหาในด้านของข้อจํากัดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ศึกษาของผู้เรียนเป็นอย่างดี 2.2 การสอนบนเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ศึกษาอยู่ใน สถาบันการศึกษาในภูมิภาคหรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปราย กับอาจารย์ ครูผู้สอนซึ่ง สอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวงหรือในต่างประเทศก็ตาม 2.3 การสอนบนเว็บนี้ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็น แหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่าง ต่อเนื่องและตลอดเวลาการสอนบนเว็บ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้รวมทั้งมีทักษะในการ ตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.4 การสอนบนเว็บ ช่วยทลายกําแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากห้องเรียน 4 เหลี่ยมไปสู่โลก กว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบในความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการ เรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง(Contextualization) และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-based Learning) ตามแนวคิดแบบConstructivism 2.5 การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ เนื่องจากที่เว็บได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้า ข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลกโดยไม่จํากัดภาษา การสอนบนเว็บช่วยแก้ปัญหา ของข้อจํากัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุดอันได้แก่ ปัญหาทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่จํากัดและเวลา
  • 13. 13 ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่หลากหลายและเป็นจํานวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การ เชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มิเดีย (สื่อหลายมิติ) ซึ่งทําให้การค้นหาทําได้สะดวกและง่ายดายกว่าการค้นหา ข้อมูลแบบเดิม 2.6 การสอนบนเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะของเว็บที่ เอื้ออํานวยให้เกิดการศึกษา ในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่ตลอดเวลา โดยไม่ จําเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการทํากิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่าย การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ดหรือการให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะกับ ผู้เรียนคนอื่น ๆ อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกันที่ห้องสนทนา เป็นต้น 2.7 การสอนบนเว็บเอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการเปิดปฏิสัมพันธ์นี้อาจทําได้ 2 รูปแบบ คือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบนเว็บ ซึ่ง ลักษณะแรกนี้จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน ส่วนในลักษณะหลังนั้นจะ อยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบที่ผู้สอนได้จัดหาไว้ให้แก่ผู้เรียน 2.8 การสอนบนเว็บยังเป็นการเปิดโอกาสสําหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ทั้งใน และนอกสถาบันจากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสอบถามปัญหาขอข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรงซึ่งไม่สามารถทําได้ในการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยัง ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการติดต่อสื่อสารในลักษณะเดิม ๆ 2.9การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตน สู่สายตาผู้อื่นอย่างง่ายดาย ทั้งนี้ไม่ได้จํากัดเฉพาะเพื่อนๆ ในชั้นเรียนหากแต่เป็นบุคคลทั่วไปทั่วโลกได้ ดังนั้นจึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจ ภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่งสําหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะพยายามผลิตผลงานที่ดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงตนเอง นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่นเพื่อนํามาพัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น 2.10 การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร ให้ทันสมัยได้อย่าง สะดวกสบายเนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร ( Dynamic ) ดังนั้นผู้สอนสามารถอัพเดตเนื้อหา หลักสูตรที่ทันสมัยแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง กับเนื้อหา ทําให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิมและเปลี่ยนแปลงไปตาม ความต้องการของผู้เรียนเป็นสําคัญ การสอนบนเว็บสามารถนําเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบของ การนําเสนอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542: 18-28) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจไว้ว่า หมายถึง การผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่าย เวิร์ล ไวด์ เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม แห่งการเรียนรู้ในมิติที่ไม่มีขอบเขตที่จํา กัดด้วยระยะทางและเวลาของผู้เรียน วิชุดา รัตนเพียร (2542: 29-35) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจไว้ว่าการเรียน การสอนผ่านเว็บเพจ เป็นการนํา เสนอโปรแกรมบทเรียนบนเว็บเพจ โดยนํา เสนอผ่านบริการในเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ออกแบบได้สร้างโปรแกรมและบทเรียนผ่านเว็บเพจ นํ้ามนต์ เรืองฤทธิ์ (2543: 92-97) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจไว้ว่าเป็น
  • 14. 14 รูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยการทํา งานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสาร กับผู้สอน ผู้เรียนด้วยกันโดยไม่จํา กัดเวลาและสถานที่ รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ มีลักษณะโดดเด่น คือ ผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใดก็ได้สถานที่ใดก็ได้ ที่ มีความพร้อมด้านการเชื่อมต่อระบบ สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น E-Mail, Chat,Webboard, Newsgroup สื่อสารกับเพื่อนๆ ผู้สอน หรือบุคคลอื่นๆ ที่สนใจและผู้เชี่ยวชาญต่างๆแต่ผู้เรียนไม่ต้องเข้าชั้นเรียน เข้า โรงเรียน เพราะถือว่าเว็บไซท์ เป็นเสมือนห้องเรียน หรือโรงเรียนหนังสือเนื้อหาการเรียนถูกแทนที่ด้วยเนื้อหา ดิจิตอลลักษณะต่างๆ ทั้งข้อความ, ภาพนิ่ง,ภาพเคลื่อนไหว, เสียง และวีดิทัศน์ ตามแต่ลักษณะของเว็บไซท์ สําคัญที่สุดคือผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกในห้องเรียนปกติ จะกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นได้มาก กว่าเดิมรูปแบบของการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. Instructor Centric กล่าวคือ รูปแบบนี้ จะมองว่าจุดศูนย์รวมของความรู้ทั้งหมดจะอยู่ที่อาจารย์ ผู้สอน อาจารย์เป็นคนสํา คัญที่สุดที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้ และเป็นคนควบคุมการเรียนรู้ทั้งหมด การเรียน โดยใช้วิธีนี้ จะได้ผลดีเมื่อ 1.1 นักเรียนมีการเตรียมตัวที่เท่าเทียมกัน ที่มีความพร้อมที่จะเรียนเท่าๆกัน 1.2 นักเรียนมีสไตล์ของการเรียนรู้เหมือนกัน 1.3 นักเรียนอยากเรียนเท่าๆกัน 1.4 นักเรียนมีความสามารถเท่าๆกัน ดังนั้นการที่จะสอนโดยใช้วิธีนี้ ก่อนอื่นจะต้องทราบว่า ผู้เรียนเป็นใคร มีพื้นฐานความรู้ความแตกต่าง กันเพียงใด เพื่อที่จะทํา หลักสูตรการเรียนการสอนแบบกลางๆเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดประสิทธิภาพที่สุดใน การเรียน นักเรียน ครู นักเรียน นักเรียน นักเรียน
  • 15. 15 ภาพ รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจแบบ Instructor Centric 2. Learner Centric กล่าวคือ รูปแบบนี้จะมองว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้โดยความรู้จะมี อยู่ทั่วไป ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ว่าจะเรียนที่ไหน เรียนเมื่อใด และจะเรียนอย่างไรการเรียนในรูปแบบนี้ จะไม่จํากัดอยู่ในโรงเรียนเพราะความรู้มีอยู่ทั่วไป การเรียนการสอนในรูปแบบนี้จะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ผู้เรียนเป็นสําคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีพื้นฐานเพียงใด ผู้เรียนมีการเตรียมตัวอย่างไร และ ผู้เรียนมีความสามารถ ที่จะเรียนรู้ได้รวดเร็วเพียงใด ภาพ รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจแบบ Learner Centric ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ จึงมีความยึดหยุ่นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ มี ความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าปกติ มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตรงกับระบบการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนํา ที่ปรึกษา และแนะนําแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การเรียน ระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2540) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเพ็จ ผู้สอนและผู้เรียน จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเว็บอาจเป็น แหล่งการ เรียนรู้ นักเรียน แหล่งการ เรียนรู้ แหล่งการ เรียนรู้ แหล่งการ เรียนรู้