SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
Download to read offline
1 
การจัดการ ตนเอง 
เมื่อเป็นมะเร็ง
2 
การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง 
ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง 
ปัจจุบัน “มะเร็ง” เป็นหนึ่งในสิบโรคที่คร่าชีวิตประชากรของ ประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลากหลาย มี ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเน้นการรักษามะเร็งด้วยเคมีและรังสีบำบัด แต่พบ น้อยมากสำหรับการบำบัดฟื้นฟูด้วยทีมวิชาชีพทางการแพทย์ ผมเองใน ฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลไทยได้ศึกษากิจกรรมบำบัดจิตสังคมจาก ประเทศออสเตรเลีย และมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรควิถีชีวิต เรื้อรัง ซึ่งผมต้องการเผยแพร่ให้รับรู้โดยทั่วกัน เนื่องจากศาสตร์ทาง กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในประเทศไทยยังไม่เป็นที่ แพร่หลายเหมือนต่างประเทศ โดยเฉพาะการจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง จะเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยหลายรายที่กลับบ้านได้หลังจากรับเคมีและรังสี บำบัด เมื่ออยู่บ้านไม่รู้จะปฏิบัติตนอย่างไร จึงได้แต่วิตกกังวลและคิด ฟุ้งซ่านทำให้เครียด อันอาจเป็นเหตุให้ไม่อยากทำกิจกรรมการดำเนิน ชีวิตที่มีคุณค่า ผมจึงมีความประสงค์จะถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ที่สนใจนำ โปรแกรมการจัดการตนเองไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการพัฒนา คุณภาพชีวิต 
“กิจกรรมบำบัด หมายความว่า การกระทำเกี่ยวกับความสามารถ ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และการ
3 
พัฒนา เกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้ บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพโดยการนำกิจกรรม วิธีการ และ อุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบำบัด” 
(จากพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขากิจกรรมบำบัด เป็นสาขาการประกอบโรค ศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 พ.ศ.2545) 
รูปแบบการดูแลจัดการตนเอง (The Self-Management Model of Care) คือ วิธีการหนึ่งทางกิจกรรมบำบัดที่ฝึกทักษะการคิดแก้ไข ปัญหาและ ทักษะการคิดวางแผนจัดการปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการ เจ็บป่วยเรื้อรัง ความบกพร่องของร่างกาย-จิตใจ-สังคม ความแปรปรวน ของอารมณ์ภายใต้สถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ และการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ต่างๆ ด้วยความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน การยอมตามหรือปฏิบัติ ตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม การรับรู้ทักษะ การจัดลำดับความสำคัญของอาการของโรคจนถึงสิ่งที่มีผลตามมาจาก อาการของโรค การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องการดูแลตนเอง คน ดูแล ผู้บำบัด คน/สังคมรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมและการรับรู้ ความก้าวหน้าของโปรแกรมการรักษาด้วยการประเมินตนเอง 
แต่ในประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญพัฒนารูปแบบการ ดูแลจัดการตนเองให้เป็นโปรแกรมการจัดการตนเอง และระบบการ ทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มีประสิทธิผลนัก
4 
ยกตัวอย่าง การตัดสินใจให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยไม่มี กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ป่วยถึงการจัดการพลังงานในการ ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วย โรคมะเร็งยังเน้นระบบการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการดำเนินของ โรคมะเร็งมากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเกิดความล้าและไม่มีแรง บันดาลใจในการสร้างความสุขทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ของตนเอง และบุคคลรอบข้าง 
ดังนั้นผมจึงขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านหัวข้อถามตอบที่ น่าสนใจดังนี้:- 
ถาม: แนวคิดของการจัดการตนเอง คือ อะไร? 
ตอบ: คิดดี พูดดี มองโลกในแง่ดี แก้ไขปัญหาดี สร้างแรงจูงใจดี จัดการ เวลาดี และจัดการกิจกรรมการดำเนินชีวิตดี 
ถาม: โปรแกรมการจัดการตนเอง คือ อะไร? 
ตอบ: โปรแกรมทบทวนความคิดของตนเองให้เข้าใจผลกระทบของโรค ต่อสุขภาวะและประเมินสุขภาวะของตนเองเพื่อวางแผนฝึกทักษะการ ดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างมีระบบ ได้แก่ การจัดการเวลา และพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การจัดการอุปสรรคและ อารมณ์ การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในตนเองด้วยการสื่อสารให้ร่างกาย เปลี่ยนแปลงท่าทางอย่างเหมาะสม และการจัดการสิ่งแวดล้อมภายนอก ตนเองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า
5 
ถาม: ทำไมผู้ป่วยมะเร็งควรเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง? 
ตอบ: เพราะผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากจะปล่อยความคิดให้อยู่ว่างและรู้สึก อ่อนล้าทางความคิด อ่อนล้าทางจิตใจ และอ่อนล้าทางร่างกายตามลำดับ จนไม่อยากทำกิจกรรมใดๆอย่างมีเป้าหมาย มุ่งแต่รอคอยความช่วยเหลือ จากบุคลากรทางการแพทย์ ครอบครัว และญาติ จนเกิดความรู้สึกสับสน วิตกกังวล และคาดการณ์ผลกระทบของโรคมะเร็งมากจนเกินไป 
ดังนั้นโปรแกรมการจัดการตนเองจึงออกแบบให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทบทวนและวางแผนความคิดของตนเองภายใน 6 สัปดาห์ ได้แก่ 
สัปดาห์ที่ 1 การสำรวจพลังงานที่ร่างกายใช้ในท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน และท่าทางในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยแบ่งเป็น คะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมนั้นๆ (จาก 0 หรือไม่ใช้พลังงานถึง10 หรือใช้พลังงานจนหมด) และคะแนนความ คาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ใน การทำกิจกรรมนั้น ๆ (จาก 0 หรือไม่ใช้ พลังงาน ถึง 10 หรือใช้พลังงานจนหมด) 
สัปดาห์ที่ 2 การปรับเปลี่ยนท่าทางจากสัปดาห์ที่ 1 โดยสื่อสารกับ ร่างกายเพื่อสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน 
สัปดาห์ที่ 3 การปรับอารมณ์และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดการ ปรับเปลี่ยนท่าทางจากสัปดาห์ที่ 2 เพื่อสงวนพลังงานในการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตประจำวัน
สัปดาห์ที่ 4 การประเมินคะแนนความรุนแรงของความล้าจาก โรคมะเร็ง (จาก 1 หรือน้อย ถึง 7 หรือมาก) และคะแนนความล้าหรือ ความเจ็บปวดของตนเองที่เกิดจากผลกระทบของโรคมะเร็ง 
แผนภาพข้างต้นแสดงระดับความล้าหรือความเจ็บปวดที่รู้สึกขณะทำ กิจกรรมหนึ่งจาก 0 (ไม่มี) 1 (มีเล็กน้อย) ถึง 5 (มีมากที่สุด) และทำความ เข้าใจกลไกการเกิดความล้าทางความคิด ความล้าทางจิตใจ และความล้า ทางร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับการสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการ ดำเนินชีวิตประจำวันจากสัปดาห์ที่ 3 
สัปดาห์ที่ 5 การสำรวจรูปแบบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตใน สัปดาห์ที่ 4 โดยจัดลำดับความสำคัญและความพึงพอใจในแต่ละ กิจกรรมที่แยกเป็นกิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมการทำงาน กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการใช้เวลาว่าง กิจกรรมการพักผ่อน กิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคม และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่มี โรคมะเร็ง 
สัปดาห์ที่ 6 การวิเคราะห์เพื่อปรับรูปแบบการทำกิจกรรมชีวิตใน สัปดาห์ที่ 5 ให้มีความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่สร้างความสุขทาง ร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และ สังคม โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นที่มี 
6
7 
หรือไม่มีประสบการณ์ของโรคมะเร็งและวางแผน ในการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตที่มีเป้าหมายและคุณค่ามากขึ้นโดยใช้การบันทึกความคิด ด้วยการวางแผนในการทำกิจกรรมอะไร ทำกิจกรรมนั้นด้วยพลังงาน เท่าไร ทำกิจกรรมนั้น ณ เวลาใด ทำกิจกรรมนั้นเป็นจำนวนครั้งเท่าไร ความมั่นใจในการทำกิจกรรมนั้นมีคะแนนเท่าไร (จาก 0 หรือไม่มี ถึง 10 หรือมากที่สุด) ความเชื่อมั่นในคุณค่าของการทำกิจกรรมนั้นมี คะแนนเท่าไร (จาก 0 หรือไม่มี ถึง 10 หรือมากที่สุด) 
ถาม: ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะฝึกฝนโปรแกรมการจัดการตนเองให้ต่อเนื่อง อย่างไร ? 
ตอบ: นักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยมะเร็งเพื่อฝึกฝน ให้มีการทบทวนตนเองอย่างมีระบบ ได้แก่ การสอบถามตนเองด้วย คำถามปลายเปิด การฟังคำตอบจากความคิดของตนเองอย่างใคร่ครวญ การยืนยันคำตอบนั้นจากความคิดที่มั่นใจ และการสรุปคำตอบจาก ความคิดที่สื่อสารกับร่างกายของตนเอง ตัวอย่างคำถาม คือ:- 
ก. คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต อย่างไรบ้าง? 
ข. จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตคือ อะไร? 
ค. เป้าหมายหลักในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของคุณคืออะไร 
ง. แผนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของคุณคืออะไร?
8 
จ. คุณจะทำอะไรบ้าง เพื่อให้แผนการของคุณกลายเป็นการทำ กิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงๆ 
*************************
9 
ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยมะเร็ง 
ทนงศักดิ์ ธัญญปกรณ์พันธ์ 
ถ้าคุณเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีแล้วหมอ บอกว่าคุณป่วยเป็น มะเร็ง คุณคงช็อค ว่าทำไมเราต้องเป็นโรคนี้ด้วย ถ้าให้เลือกได้คงไม่มีใคร อยากเป็นโรคนี้แน่ แต่ถ้าคุณโชคร้ายเป็น “มะเร็ง” แล้ว มีวิธีใดในการรักษา และการรักษาต้องใช้เวลานานเท่าไรทรมานแค่ไหนจะดูแลตัวเองอย่างไร ระหว่างการรักษาและจะทำตัวอย่างไรหลังการรักษาไปแล้ว นานเท่าไรที่จะ ไม่ให้ “มะเร็ง” กลับมาเยี่ยมเยียนคุณอีก คำถามต่างๆ เหล่านี้คงทำให้คุณ สับสนวุ่นว่ายใจไม่น้อย 
มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายที่มีความผิดปกติ ใน DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพิ่ม จำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และใน ที่สุดทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อซึ่งขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดขึ้นที่อวัยวะส่วนใด จะทำให้ เกิด “มะเร็ง” ที่อวัยวะส่วนนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
10 
จากรายงานในปัจจุบัน พบว่าในร่างกายมนุษย์มีเชื้อมะเร็งมากกว่า 100 ชนิดซึ่ง มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจึงไม่เหมือนกัน วิธีการรักษาก็แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะส่วนที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกายและภูมิ ต้านทานของผู้ป่วยมะเร็ง ความยากง่ายในการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและการ กระจายของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง จะรักษาง่าย กว่า มะเร็งปอด และมะเร็งสมอง เป็นต้น 
อาการบ่งบอกของการเป็น มะเร็ง 
1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย 2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณ เตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่ จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม 3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกาย ทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส 4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็น มะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุด ของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
11 
สัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่ 
1. มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด 2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน 
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง 4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น 5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย 6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย 7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล 
เมื่อคุณรู้ตัวว่าคุณเป็นมะเร็งแล้ว คุณต้องคิดต่อไปว่าจะทำการรักษา อย่างไร ทำให้หายจากโรคมะเร็ง โดยทั่วไปถ้าคุณเข้ารับการรักษาทาง แพทย์แผนปัจจุบันใน โรงพยาบาล แพทย์จะแนะนำให้คุณทำการผ่าตัดเอา เซลล์มะเร็งออกจากอวัยวะที่เป็น(รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง) และอาจ ทำการรักษาเพิ่มเติมโดยการใช้ยาเคมี (เป็นการรักษาหรือทำลายเซลล์มะเร็งทั้ง ที่ต้นตอและที่กระจาย ไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่น ของร่างกายเป็นการรักษามะเร็งแบบทั้งตัวของผู้ป่วยมะเร็งมีทั้งการ รับประทานยาและการฉีดยาทางเส้นเลือดดำหรือแดง) หรือวิธีการฉายแสง (บริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นเดียวกับการผ่าตัด) ร่วมด้วยขึ้นอยู่กับผู้ป่วยตามระยะของมะเร็ง ดังนี้
12 
ระยะที่ 1: มะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณที่เป็น 
ยังไม่รบกวนเนื้อเยื่อข้างเคียง 
ระยะที่ 2: มะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง 
แต่ยังไม่ลามไปไกลเกินกว่าอวัยวะนั้นๆ 
ระยะที่ 3: มะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง 
ระยะที่ 4: มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย 
นอกจากวิธีรักษาทั้งสามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีการรักษาที่ผู้ป่วย มะเร็งมีทางเลือกอื่นอีกที่นิยมกันได้แก่การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้กำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกายและผู้ป่วยก็จะหายจาก โรคมะเร็ง ซึ่งวิธีการรักษาแบบนี้เริ่มเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากขึ้น 
การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายมีหลายชนิด โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เช่นเปลี่ยนการกินข้าวขัดสีขาว เป็นข้าวกล้อง ผัก สดและผลไม้สดควรรับประทานเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน นอกจากอาหารแล้ว สงที่ควรปฏิบัติเป็นประจำ คือ การออกกำลังกาย การสวดมนต์ การทำสมาธิ การฝีกหายใจ การคิดในแง่บวก การอาบน้ำร้อน น้ำเย็น การอาบแดดช่วงเช้า 
มะเร็งทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป 
ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็ง เพราะความเครียดทำให้เกิด อนุมูลอิสระ ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ทำให้ภูมิต้านทานภายในตัวลดลง ผู้เป็นมะเร็งต้องปรับตัวปรับใจ ไม่ควรทำให้ตัวเองเกิดความเครียด การสู้กับ
13 
โรคมะเร็งควรสู้ด้วยจิตใจ พยายามฝึกจิตให้นิ่ง คิดในทางบวกเสมอถึงแม้ว่า สิ่งนั้นๆจะเป็นลบก็ตามพิจารณาให้เป็นดีหมดทุกอย่าง เมื่อฝึกได้อย่างนี้บ่อย ขึ้นลักษณะนิสัยของตนเองจะเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลดีกับตัวเราทั้ง ทางโลกและทางธรรม เพราะการทำให้จิตมีสมาธิ ตัวจิตนี้จะไปกระตุ้นต่อม ทูลารี ให้หลั่งโกรทฮอร์โมน ที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ออกมา กระตุ้นต่อมไทรอยด์ และต่อมแอดดินอล ขบแต่ฮอร์โมนดีๆออกมากระตุ้นให้ อวัยวะต่างๆทำงานได้ดี จนทำให้ต่อมต่างๆที่ผลิตภูมิต้านทานหรือเม็ดเลือด ขาวทำงานได้เต็มที่ ดังนั้นทุกอย่างจึงเกิดขึ้นที่จิต การคิดดีทำดี หรือการทำ สมาธิได้ จะทำให้สมองส่วนนี้ขับฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์ออกมา แต่ถ้าจิต ไม่มีสมาธิ มองโลกในแง่ลบ สมองส่วนนี้แทนที่จะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิต ฮอร์โมนชนิดดีออกมา มันจะไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้ผลิตฮอร์โมนอะดริ นาลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด ทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาว ที่อ่อนแอออกมา เมื่อร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์ต่างๆในร่างกาย อ่อนแอ ไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งออกไปได้ 
ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีความสำคัญต่อชีวิตมาก ถ้าไม่มี ภูมิคุ้มกันไม่มีใครสามารถมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ระบบภูมิคุ้มกัน บกพร่อง เนื่องจากไวรัสเอชไอวี จึงทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตปีละเป็นจำนวน มาก 
การรักษาโรคมะเร็งบางชนิด อาจใช้วิธีผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออกแต่เพียง อย่างเดียว ขึ้นอยู่กับระยะของโรค บางคนอาจรับการรักษาโดยการใช้เคมี
14 
บำบัดอย่างเดียวหรืออาจจะร่วมกับการผ่าตัด หรือทั้งสามวิธีร่วมกันดือการ ผ่าตัด การฉายแสงและเคมีบำบัด 
ผลของการใช้เคมีบำบัด นอกจากกำจัดเซลล์มะเร็งแล้วยังมีผลต่อ เซลล์ปกติด้วย ผู้ป่วยบางคนเกิดผลข้างเคียงมากเมื่อได้รับเคมีบำบัดใน ปริมาณสูง หมอจะเปลี่ยนเป็นวิธีการให้ยาเป็นคอร์ส ในคอร์สหนึ่งอาจให้ยา 4 ถึง 6 ครั้ง แต่ละครั้งอาจห่างกัน 3 ถึง 4 สัปดาห์ เพื่อให้เซลล์ปกติมีการฟื้น ตัวก่อนให้ยาในครั้งต่อไป การจะใช้ยาตัวไหน วิธีไหน ปริมาณเท่าไรหรือ จำนวนกี่คอร์ส ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคมะเร็ง รวมไปถึงสภาพ ร่างกายและอายุของผู้ป่วย การตอบสนองต่อยาหรือเคมีบำบัดของผู้ป่วยแต่ ละรายจะมีความแตกต่างกัน 
ผลข้างเคียงระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีระยะ เฉียบพลัน 
1. ผมมักร่วง บางรายอาจร่วงหมดทั้งศีรษะ แต่ผมจะกลับขึ้นมาเป็น ปรกติครบ กำหนดรักษาแล้วตั้งแต่ 2 ถึง 4 เดือน ผมที่ขึ้นมาใหม่ นี้จะดกดำกว่าเดิมด้วยซ้ำ อาการผมร่วงบางรายอาจร่วงไม่มาก 
2. ยาเคมีบำบัดมีผลทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือดจะต่ำลงทำให้เกิดภาวะซีด ติดเชื้อ 
3. มีอาการคลื่นไส้หรือมีอาเจียนร่วมด้วย 
4. ผิวหนังของฝ่ามือ ฝ่าเท้าลอก 
5. มีผลต่อผิวหนังและเล็บ สีผิวหนังโดยเฉพาะปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เปลี่ยนเป็นสีคล้ำดำ เล็บอาจดำหรือหลุดได้
15 
6. ท้องเสีย ยาเคมีบำบัดมีผลต่อเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เยื่อบุผนัง ลำไส้อักเสบ 
7. เยื่อบุภายในช่องปากและลำคอมีอาการอักเสบ มีการเจ็บริมฝีปาก และบางครั้งในลำคอร่วมด้วยทำให้รับประทานอาหารลำบาก 
8. ผลต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ 
9. มีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง (Fatigue-Weakness) 
จะเห็นว่าผลข้างเคียงระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉาย แสงในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งมีค่อนข้างมาก ผู้ป่วยบางคนอาจมี ผลข้างเคียงน้อยแต่บางคนอาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก บางคนอาจต้อง หยุดการให้ยาระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายแสง 
อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง (Fatigue-weakness) คืออาการที่ผู้ป่วย รู้สึกว่าหมดแรงทั้งกายและใจที่จะทำงานหรือปฏิบัติภารกิจใดๆ แม้จะ นอนพักผ่อนมากๆแล้วก็ตามเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงร้อย ละ 70-– 80 เป็นผลให้ลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย บุคคลใกล้เคียง และ ญาติ แต่อาการเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วไปที่ไม่ใช่คนป่วยได้ เช่นกัน คือมีความรู้สึก อ่อนเพลีย อยู่ตลอดเวลาทั้งที่ไม่ได้เป็นโรค 
สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย ในผู้ป่วยมะเร็งหรือโรคระยะ สุดท้ายอื่นๆแบ่งได้เป็น 4 สาเหตุคือ 
1. สาเหตุจากตัวโรคมะเร็ง อาการอ่อนเพลียเป็นผลมาจาก ปฏิกิริยาระหว่างตัวมะเร็งและการตอบสนองทางเคมีของ ร่างกาย พบได้ถึงร้อยละ 80 ของมะเร็งระยะสุดท้าย
2. สาเหตุจากการรักษา เช่น อ่อนเพลียจากเคมีบำบัด มักเกิด อาการมากที่สุดในช่วงวันแรกๆ ของการรักษา อ่อนเพลีย จากรังสีรักษา มักเกิดอาการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือ อ่อนเพลียจากการผ่าตัด 
3. สาเหตุอื่นๆ เช่นนอนไม่พอ ซึมเศร้า วิตกกังวล โลหิตจาง ผลจากการกินยา และ ภาวะติดเชื้อต่างๆ 
4. เกิดจากตัวผู้ป่วยเองเมื่อรู้ตัวว่ารักษาไม่ได้หรือมีจิตใจห่อ เหี่ยว ท้อถอยไม่สู้และไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป 
วงจรความเหนื่อยล้า 
อุปสรรคของการใช้ชีวิตหลังโรคมะเร็ง 
ความเหนื่อยล้าจากโรคมะเร็ง 
ความรู้สึกเบื่อ เครียด ซึมเศร้า 
ความเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้นจากกิจวัตรประจำวัน 16
17 
ข้อสังเกตถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คือ 
การรักษาด้วยยา ข้อสำคัญที่สุดคือการหยุดใช้ยา การลดการใช้ยา หรือ หยุดยาที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งจะทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย 
การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือการแก้ไขตามสาเหตุ และการแก้ไขโดยการ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามสภาพของโรค รวมทั้งการรักษาแบบ อื่นๆ เช่นการนอนหลับ การปรับอาหารการกิน การเปลี่ยนอิริยาบถใน สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติหรือการผ่อนคลาย การนั่งสมาธิ การทำ กิจกรรมอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วย ก็ สามารถลดอาการอ่อนเพลีย และเพิ่มความสดชื่นในผู้ป่วยได้มาก ดังนั้น การรักษาอาการอ่อนเพลียโดยไม่ใช้ยาจะใช้การดูแลรักษาโดยเข้า โปรแกรมการจัดการตนเอง (Self-Management Program) กับนัก กิจกรรมบำบัด ผู้ให้คำแนะนำและสอนวิธีการเรียนรู้เพื่อจัดการพลังงาน ของผู้ป่วยมะเร็ง ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้โปรแกรมการจัดการ ตนเอง คือการที่ผู้ป่วยสามารถจัดการบริหารการดำเนินชีวิตของตัวเอง ในแต่ละวันได้โดยไม่อ่อนเพลียจนเกินไปและมีกำลังใจในการที่จะต่อสู้ และจัดการกับโรคที่กำลังเป็นอยู่ หรือการลดความอ่อนเพลียโดยการ จัดการกับพลังงานที่มีอยู่ของผู้ป่วยให้เพียงพอในการจะทำกิจกรรมให้ สำเร็จ โดยการพักผ่อนหรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์ช่วยให้ใช้พลังงาน น้อยลง หรือการแบ่งกิจกรรมที่กำลังทำเป็นช่วงๆ ไม่หนักมากเกินไปที่ จะทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น หรือการกำหนดกิจกรรมที่จะ
18 
ทำในแต่ละวันขึ้นมาก่อนแล้วเลือกทำกิจกรรมที่สำคัญและคาดว่ามี พลังงานพอที่จะทำได้ก่อนเป็นต้น สำหรับกิจกรรมที่สำคัญรองลงมา อาจเลื่อนไปทำในวันอื่นที่เหมาะสมต่อไป ถ้าทำได้ดังนี้จะทำให้ผู้ป่วย มีกำลังใจไม่ท้อแท้และพยายามต่อสู้ต่อไป เมื่อได้ปฏิบัติต่อเนื่องแล้วทำ ให้สามารถสร้างโปรแกรมพลังงานของตนเองได้ ดังนี้:- 
การจัดการกับพลังงานในร่างกาย 
ร่างกายของคนเราเปรียบเสมือนธนาคาร แต่เป็นธนาคาร พลังงาน โดยปกติร่างกายของเราสามารถเก็บพลังงานได้มากพอควร เมื่อเราใช้พลังงานออกไปโดยการทำกิจกรรมจึงมีความจำเป็นต้องเพิ่ม พลังงานเข้าสู่ร่างกายโดยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และการพักผ่อน ในที่นี้จะเน้นเรื่องการพักผ่อน (Rest) 
ความสำคัญของการพักผ่อน 
ถ้าคุณทำงาน(กิจกรรม)อย่างหนักต่อเนื่องกันโดยไม่พักผ่อน เมื่อถึง ระยะเวลาหนึ่งคุณจะไม่สามารถทำงานอีกต่อไปได้ เปรียบเสมือนคุณใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ติดต่อกัน เมื่อกระแสไฟฟ้าอ่อนลง เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นจะทำงานผิดเพี้ยนไปหรือหยุดการทำงานในที่สุด 
การพักผ่อนคืออะไร 
การพักผ่อนคือ การสร้างและสะสมพลังงานสะสมไว้ในร่างกาย เพื่อสามารถกิจกรรมต่างๆต่อไปได้ การพักผ่อนเป็นการป้องกันและ ซ่อมแซมส่วนสึกหรอที่เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ให้กลับสู่สภาพปกติ
19 
ข้อควรปฏิบัติในการพักผ่อน 
1. พักผ่อนก่อนที่จะรู้สึกเพลียทำให้สามารถป้องกันการเพลีย ต่อเนื่อง ทำให้ใช้เวลาในการพักน้อยลง 
2. แบ่งการพักผ่อนเป็นช่วงๆ ในระยะเวลาสั้นๆหลายครั้ง 
3. เปรียบเทียบการพักผ่อนนานๆ กับการแบ่งเวลาพักผ่อนสั้นๆ บ่อยๆ 
4. ทำงานที่ชอบแล้วพักผ่อน 
5. จดกิจกรรมที่จะต้องทำ การวางแผนการพักผ่อน จัดทำตาราง กิจกรรมล่วงหน้าเป็นวันเป็นสัปดาห์ 
รูปแบบของการพักผ่อน 
การนอนพักผ่อน การนั่งพักผ่อน การนอนหลับ การทำกิจกรรมที่ ชอบ การชมภาพยนตร์ การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ การอ่านหนังสือ การฟังเพลงที่ชอบ การสวดมนต์ และการนั่งสมาธิ 
ผลดีที่ได้รับจากการพักผ่อน 
1. สามารถทำงาน (กิจกรรม) ได้เพิ่มขึ้น 
2. มีความรู้สึกสดชื่น กระตือรือร้น 
3. เกิดความสุขหลังจากพักผ่อนเพียงพอ หรือความสุขจากการได้ ทำกิจกรรมที่ชอบ 
โดยปกติผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เมื่อได้รับการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อที่เป็น มะเร็งออกแล้ว หรือการรับรังสีบำบัด เคมีบำบัด หรือทั้งสองอย่างพร้อม กันแล้ว ในระยะที่กำลังรักษาอยู่ผู้ที่ได้รับการรักษาจะมีผลข้างเคียง น้อย
20 
บ้าง มากบ้างแล้วแต่กรณี แต่ผลที่เกิดขึ้นอย่างมากคืออาการอ่อนเพลีย หมดแรง ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆเลย ดังนั้นควรพักผ่อนให้มากที่สุดจน รู้สึกว่าร่างกายเริ่มดีขึ้น จึงพยายามหากิจกรรมทำเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า ชีวิตเรายังมีคุณค่า แต่ถ้ายังรู้สึกเพลียอยู่บ้างก็พยายามทำเท่าที่เราสามารถ ทำได้ 
การกำหนดตารางการพักผ่อน 
1.จดรายการ (List) ที่อยากจะทำหรือต้องทำในกระดาษหรือ สมุดบันทึก ส่วนตัว 
2.วางแผนการพักผ่อน (Plan Your Rests) โดยการแบ่งเวลาในตารางเป็น ช่วงๆ เช่น เช้า บ่าย และ เย็นของแต่ละวัน โดยการกำหนดเวลาที่ต้องการ พักผ่อนลงไปในตารางที่ต้องการพักแต่ละช่วงที่คิดว่าจะให้ผลดีแก่ตัว คุณมากที่สุด (คาดการณ์ช่วงเวลาที่ต้องการพักผ่อนและแบบของการ พักผ่อนที่คิดว่าดีที่สุด) 
3.เมื่อทำตารางทั้ง 1 และ 2 ข้อข้างต้นแล้วให้ปฏิบัติดู โดยการปรับตาราง การพักผ่อนได้เต็มที่ถ้าอยากพักผ่อนเพิ่มก็เพิ่มตามความต้องการ เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่อไปได้ 
3.กำหนดกิจกรรมและทำในตารางที่ 1 มาให้คะแนนการใช้พลังงานใน แต่ละวัน(โดยให้คะแนนทุกกิจกรรมที่กำหนดไว้โดยต้องทำจริง การให้ คะแนนขึ้นอยู่กับพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม) โดยการให้คะแนน ตั้งแต่ พลังงานน้อยสุดคือ 1 ไปจนถึงใช้พลังงานสูงสุดคือ 10
21 
การสื่อสารกับตัวเอง 
การสื่อสารกับร่างกายคือการที่คุณบอกกับตัวคุณเองก่อนเริ่มทำ กิจกรรมที่ต้องการทำ การบอกกับร่างกายก่อนทำกิจกรรมจริงเพื่อช่วย ให้คุณใช้พลังงานน้อยลงในการทำกิจกรรมนั้นๆ จะทำให้คุณสามารถ ทำกิจกรรมได้เพิ่มขึ้น เกิดความอ่อนล้าน้อยลงเป็นการประหยัดพลังงาน ไปในตัว ทำให้มีพลังงานเหลือมากขึ้น การใช้อวัยวะทุกส่วนของ ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพมากในการทำกิจกรรมแต่ใช้พลังงานน้อย อาจเป็นเพราะเรามีการสื่อสารกับร่างกายก่อนทำจริง ทำให้สามารถใช้ กล้ามเนื้อได้มากขึ้นแข็งแรงขึ้น ความเครียดเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ใช้พลังงานมาก จะสังเกตว่าถ้าคุณได้ทำกิจกรรมอย่างมีความสุขจะทำ ให้ใช้พลังงานน้อยลง เช่น การทำงานอดิเรกที่เราชอบ เราจะทำด้วย ความสุขไม่รู้สึกเหนื่อยแสดงว่าเราใช้พลังงานน้อย 
สังเกตว่าผู้ป่วยที่รู้จักการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายอย่างถูกต้องจะ สามารถลดการใช้พลังงานที่ทำกิจกรรมได้ อันนำไปสู่การลดความ อ่อนเพลียซึ่งเป็นผลพลอยได้ เช่น 
การยืน ถ้าเราต้องยืนนานๆ เราสามารถลดความเมื่อยล้าได้โดยการสวม ใส่รองเท้าที่สบายเหมาะสมกับเท้าที่สวมใส่ การถ่ายน้ำหนักไปที่ขาทั้ง สองข้างแทนที่ให้ข้างใดข้างหนึ่งรับน้ำหนักมากกว่าอีกข้าง แขนทั้งสอง ปล่อยตามสบายแต่ชิดกับร่างกาย ศีรษะตั้งตรง และปรับเปลี่ยนอิริยาบถ บ้าง
22 
การนั่งทำงาน นั่งตัวตรงหลังแนบกับพนักเก้าอี้ ขาทั้งสองวางแนบกับ เบาะนั่ง นั่งติดกับโต๊ะทำงาน 
การนั่งเพื่อพักผ่อน ควรหาเก้าอี้นั่งสบายๆเป็นเก้าอี้ตัวโปรดเพื่อเป็นการ นั่งพักทำอะไรที่ชอบเช่นอ่านหนังสือ 
การนอน ควรนอนในที่สบายๆที่นอนไม่นิ่มหรือแข็งและจน หมอนไม่ สูงจนเกินไปอาจใช้หมอนอีกใบวางใต้ขา 
การยกของ ไม่ควรยกของหนักเกินกำลัง การยกของจากพื้นให้ย่อตัวลง แล้วยกขึ้นไม่ก้มหลังยกของ ยกของแนบตัวขณะเคลื่อนที่ 
สถานที่เหมาะสำหรับการทำกิจกรรม 
ผู้ป่วยที่ต้องทำงานประจำระหว่างการรักษาโรคจำเป็นต้อง ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ประจำในการทำงานเพื่อให้เหมาะสมในการ ทำงานโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด อุปกรณ์ที่ติดตั้งถาวรเช่นโต๊ะทำงาน ให้มีขนาดพอเหมาะกับผู้ใช้งาน ตัวอย่างถ้าเรายืนทำงานไม่ควรต้องก้ม ตัวลงตลอดเวลา จะทำให้มีความรู้สึกไม่สบายในการทำงานเกิดอาการ ปวดเมื่อย หรือการนั่งทำงาน โต๊ะที่ใช้ทำงานไม่ควรจะต่ำเกินไป 
อุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยทำงานสะดวกและใช้พลังงานน้อยลง ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น สว่านไฟฟ้า เลื่อยไฟฟ้า เป็นต้น อุปกรณ์ การเคลื่อนที่ต่างๆ เช่น การขนย้ายสิ่งของ ควรใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงช่วย ย้าย เช่น การใช้ล้อเลื่อนเข้ามาช่วยแทนการยกด้วยแรงของผู้ป่วย หรือ การที่ผู้ป่วยต้องการเคลื่อนย้ายตัวเองจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ควรใช้ รถเข็น หรือ รถยนต์ เป็นต้น
23 
การจัดการตนเองตลอดชีวิต 
เมื่อผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันแล้วไม่ว่า จะเป็นการผ่าตัดการให้เคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้ง สองอย่าง หรือทั้งสามอย่างร่วมกันแล้วก็ตามผู้ป่วยจะแน่ใจว่าหายจาก มะเร็งเด็ดขาดแล้วไม่ได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองจากที่เคย ปฏิบัติก่อนการเกิดโรคจึงจะมีโอกาสในการใช้ชีวิตต่อให้ยืนยาวที่สุด ตัวอย่าง:- 
เรื่องอาหาร มีผู้กล่าวไว้ว่าคุณจะเป็นอะไรก็ขึ้นกับอาหารที่คุณกินเข้าไป (you are what you eat) การที่คุณเป็นมะเร็งเพราะภูมิคุ้มกันของคุณน้อย หรือไม่ทำงาน เซลล์มะเร็งจะลุกลามโจมตีคุณทันที ถ้าต้องการให้ เซลล์หยุดการโจมตีหรือหยุดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จำเป็นยิ่งที่ ต้องปรับเปลี่ยนการกินอาหาร เพื่อให้ภูมิต้านทานฟื้นสภาพคืนมา เหมือนเดิมก่อนเป็นให้ได้ โดยธรรมชาติแล้วตัวเซลล์มะเร็งเองก็จำเป็น ต้องการอาหารในการเติบโตเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยเองต้องทำให้มะเร็ง ไม่มีโอกาสเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ อาหารที่ไม่ควรกินได้แก่ เนื้อสัตว์ และไขมันทุกประเภท อาหารที่มีรสเค็ม ควรกินผักสดและ ผลไม้สดมากๆ ถ้าเป็นไปได้ควรกินสาหร่ายทะเลทุกมื้อ เพราะสาหร่าย เป็นแหล่งเกลือแร่เสริมภูมิต้านทานที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ 
การจะฟื้นภูมิต้านทานให้ได้เร็วจำเป็นต้องใช้วิตามินช่วยเสริม ได้แก่
24 
วิตามินเอ มาจากเบต้าแคโรทีน ส่วนมากอยู่ในผักสีเขียวจัด เหลืองจัดแดงจัด ได้แก่หัวแครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง ข้าวโพด เหลือง บรอกโคลี ผักบุ้ง 
วิตามินบี มาจากโปรตีนของพืชที่หมักโดยวิธีธรรมชาติ เช่นมิ โซะ(เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น) โชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) 
วิตามินซี มีมากใน ส้ม มะนาว ในผักเช่นมันฝรั่ง ถั่วพู มะเขือ เทศ กะหล่ำปลี คะน้า หัวหอม 
เรื่องการปรับภูมิต้านทานให้สูงขึ้น โดย 
การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20 -– 30 นาทีอย่างสม่ำเสมอโดยออกแรงพอสมควรไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 - 70 ของความสามารถสูงสุดของผู้ป่วยจึงจะเพียงพอที่จะเพิ่มภูมิต้านทานให้ สูงขึ้น 
การสวดมนต์ ไหว้พระและการทำสมาธิ ทำให้ร่างกายสามารถ สร้างพลังกายและเสริมกำลังใจ ทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกแข็งแรงดีขึ้น 
การใช้ความร้อน ความเย็น การอาบแดด การอบสมุนไพร ซาว น่าสลับร้อนเย็นเพื่อให้ความร้อนไปกระตุ้นร่างกายทำให้ภูมิต้านทาน เพิ่มสูงขึ้น 
*************************
25 
ตัวอย่างกิจกรรมบำบัดของผู้ป่วยมะเร็ง 
ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง 
จากบันทึกการทำกิจกรรมและปรับเปลี่ยนกิจกรรมของกรณีศึกษา ไทยท่านหนึ่ง ถือเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมการ ดำเนินชีวิตหลังจากเข้าร่วมการจัดการตนเอง 6 สัปดาห์ แม้ว่าผู้ป่วยได้รับการ วินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งระยะที่ 3 แต่เขาสามารถจัดท่าทาง สื่อสารกับร่างกาย วางแผนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต มีความมั่นใจในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของตนเองจากสภาวะที่ต้องขับถ่ายหน้าท้องจนปรับเปลี่ยนเป็นการฝึก ขับถ่ายปกติ และมีกำลังใจที่ดีในการทำกิจกรรมยามว่างที่มีคุณประโยชน์แก่ ผู้อื่น 
เมื่อบันทึกเปรียบเทียบคะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำ กิจกรรมขณะตื่นนอน (จาก 0 หรือไม่ใช้พลังงาน ถึง 10 หรือใช้พลังงานจน หมด) คะแนนความคาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม (จาก 0 หรือไม่ใช้พลังงาน ถึง 10 หรือใช้พลังงานจนหมด) และคะแนนความรุนแรง ของความล้าจากโรคมะเร็ง (จาก 1 หรือน้อย ถึง 7 หรือมาก) ก่อนและหลังเข้า โปรแกรมการจัดการตนเอง พบว่า
26 
ก่อนเข้าโปรแกรม: 
คะแนนความคาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 3.33 
คะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 3.21 
คะแนนความรุนแรงของความล้าจากโรคมะเร็ง = 4.33 
รูปแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิต 
กิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก ( > 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนนเต็ม 10) ได้แก่ ขับรถเดินทางไปทำงาน ขับรถเดินทางไปเจาะเลือดที่ รพ. พบ แพทย์ที่ศูนย์มะเร็ง ขับรถไปซื้อยา 
ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก = 5 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำกิจกรรม ครั้งละ 1-3 ชม. 
กิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานน้อย ( < 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนน เต็ม 10) ได้แก่ พักผ่อนที่บ้าน นั่งทำงาน ส่งลูกไปเรียน รดน้ำต้นไม้ อ่าน หนังสือ ดูทีวี สวดมนต์ 
ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อย = 12 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำ กิจกรรมครั้งละ 40 นาที– -7 ชม.
27 
หลังเข้าโปรแกรม: 
คะแนนความคาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 2.41 
คะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 2.31 
คะแนนความรุนแรงของความล้าจากโรคมะเร็ง = 3.25 
รูปแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิต 
กิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก ( > 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนนเต็ม 10) ได้แก่ ไปงานศพติดต่อกันวันที่สอง เข้าอบรมความรู้มะเร็งติดต่อกันวันที่ สอง 
ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก = 2 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำกิจกรรม ครั้งละ 2-8 ชม. 
กิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อย ( < 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนนเต็ม 10) ได้แก่ พักผ่อนที่บ้าน นั่งทำงาน กวาดใบไม้ รดน้ำต้นไม้ อ่านหนังสือ ดูทีวี สวดมนต์ เยี่ยมพี่สาว ไปงานศพวันแรก เข้าอบรมความรู้มะเร็งวันแรก 
ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก = 17 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำ กิจกรรมครั้งละ 2-13 ชม.
28 
สรุปผล: 
ผู้ป่วยสามารถจัดการสุขภาพของตนเองให้วางแผนการทำกิจกรรมการดำเนิน ชีวิตที่มีคุณค่ามากขึ้น มีความถี่ของกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานน้อยถึงมากอย่าง เหมาะสม มีเวลาพักผ่อนสะสมพลังงานเพิ่มขึ้นเมื่อพิจารณากิจกรรมที่ใช้ พลังงานน้อย ทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมากด้วยความถี่ลดลงและใช้เวลา ได้ทนทานขึ้น มีคะแนนคาดการณ์ก่อนการทำกิจกรรมใกล้เคียงกับคะแนน ความรู้สึกหลังการทำกิจกรรมจริง ทั้งคะแนนคาดการณ์กับคะแนนความรู้สึก ลดลง เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าโปรแกรม นั่นคือผู้ป่วยมีทักษะความ เข้าใจถึงการสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น ซึ่งมี แนวโน้มทำให้คะแนนความรุนแรงของความล้าจากโรคมะเร็งลดลง เมื่อ เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าโปรแกรม นั้นคือผู้ป่วยมีความสามารถจัดการ ความล้าจากโรคมะเร็งด้วยตนเองได้ดีขึ้น 
*************************
29 
เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงที่มาของตัวเลขการใช้พลังงานก่อนและ หลังเข้าโปรแกรมเป็นอย่างไร จึงขอแสดงตัวอย่างเพียงวันเดียวของผู้ป่วย มะเร็งระยะ 3 ที่ได้บันทึกการทำกิจกรรมของตนเองในการร่วมโปรแกรม การจัดการตนเองกับนักกิจกรรมบำบัด 6 สัปดาห์ 
วัน-เวลา 
ก่อนเข้าโปรแกรม 
จันทร์ 
กิจกรรม คาดการณ์ พลังงานที่ใช้ ความล้า 
6-7 
ตื่นนอน 0 1 0 
7-8 
ทานข้าว 1 2 2 
8-9 
ขับรถ 4 5 5 
9-10 
ทำงาน 6 5 5 
10-11 
ทำงาน 7 6 6 
11-12 
ทำงาน 7 6 5 
“ 
“ 
“ 
“ 
“ 
“ 
ค่าเฉลี่ยคะแนน จันทร์-อาทิตย์ 3.35 3.21 4.33
30 
วัน-เวลา 
หลังเข้าโปรแกรม 
จันทร์ 
กิจกรรม คาดการณ์ พลังงานที่ใช้ ความล้า 
6-7 
ตื่นนอน 0 0 0 
7-8 
ทานข้าว 1 1 1 
8-9 
พักผ่อน 1 1 1 
9-10 
ทำงาน 2 1 2 
10-11 
ดูโทรทัศน์ 1 1 1 
11-12 
รดน้ำต้นไม้ 3 2 1 
“ 
“ 
“ 
“ 
“ 
“ 
ค่าเฉลี่ยคะแนน จันทร์-อาทิตย์ 2.41 2.31 3.25
31 
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อนสิ้นชีวิต 
ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง 
ในบ้านเราอาจจะไม่คุ้นกับคำว่า “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อน สิ้นชีวิต” (มิใช่ว่าผู้ที่เป็นมะเร็งทุกคนต้องเสียชีวิต) เพราะส่วนมากคิด ว่าเป็นลางร้าย ที่จะพูดถึงความตายทั้งๆที่ยังไม่ตาย ซึ่งตรงกันข้ามกับ ต่างประเทศ ที่เตรียมพร้อมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่หมอ สามารถกำหนดระยะเวลามีชีวิตอยู่ได้ จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างมีความสุขที่สุด 
จากการเรียนรู้ระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อนสิ้นชีวิตที่ ออสเตรเลีย...นักกิจกรรมบำบัดเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยระบบนี้ ได้อย่างดี 
นักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมินดังนี้ เช่น 
1. "ผู้ป่วยต้องการอะไร 
2. ผู้ป่วยเข้าใจสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองมากน้อยแค่ไหน อย่างไร 
3. ผู้ป่วยอยากสื่อสารและเชื่อมโยงความรักและความเห็นอกเห็น ใจจากคนที่รักอย่างไร 
4. ผู้ป่วยปรับความคิดและวางแผนทำกิจกรรมที่มีคุณค่าแก่ชีวิตที่ เหลืออยู่ไม่มากนักอย่างไร"
32 
จากนั้นจึงให้คำแนะนำแก่คนที่ผู้ป่วยรักในรูปแบบกิจกรรมเชิง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า จะจัดกิจกรรมใดให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายกายสบายใจ และวางแผนความต้องการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงเวลาสุดท้าย 
ข้อเสนอแนะนำให้ญาติหรือคนใกล้ชิดของผู้ป่วยได้ปฏิบัติ ดังนี้ 
• เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างคุณหมอและผู้ป่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและยอมรับสภาวะของร่างกายที่อาจมีข้อจำกัดใน การฟื้นคืนสภาพ 
• ให้กำลังใจและเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยในการวางแผนทำ กิจกรรมต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ 
• ให้กำลังใจและความรักผ่านการกระทำที่เสริมแรงบันดาลใจต่อ การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีเป้าหมายและมีความหมายร่วมกับ คนที่รัก มิใช่ญาติมาเยี่ยมที่เตียงแล้วกลับไปหรือจ้างคนดูแลเฝ้า 
การกระทำดังกล่าวข้างต้น เช่น 
• ญาติอาบน้ำเช็ดตัวผู้ป่วย 
• ผู้ป่วยและญาติคุยในสิ่งที่ประทับใจที่ผ่านมา หรือฟัง เทป ชวนชมภาพที่ประทับใจร่วมกัน 
• ญาติจัดหาของทำบุญสังฆทานโดยให้ผู้ป่วยไหว้จบอนุโมทนา แล้วญาตินำไปถวายแทน หรือจะนิมนต์พระมาให้ผู้ป่วยได้ ทำบุญโดยตรง เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจหรือมีความสุขก่อน สิ้นชีวิต ดังคำโบราณที่ว่า ก่อนสิ้นใจขอให้ได้เห็นชายผ้าเหลือง
33 
• จัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้กิน (ปรึกษาแพทย์และนัก โภชนาการบำบัดในการปรับสภาพอาหารที่ชอบ หรืออาหารให้ ทางสาย ที่ได้ตั้งแสดงให้เห็นด้วยพร้อมกัน) 
• ญาติชวนผู้ป่วยจัดกิจกรรมยามว่างในห้อง รพ. เพื่อเบี่ยงเบน ความคิดหมกมุ่นแต่ เรื่องมะเร็งกับวันที่สิ้นใจ 
***********************
34 
สุขภาพทางจิตวิญญาณกับโรคมะเร็ง 
ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง 
สุขภาพทางจิตวิญญาณ คืออะไร 
1. การปรับจิตรู้สำนึกให้เกิดประสบการณ์ของการทำ กิจกรรมอย่างตั้งใจและมีทางเลือกด้วยความคิดที่ดีของ ตนเอง (ศีล) 
2. การให้ความรู้สึกถึงเป้าหมายของการทำกิจกรรมการ ดำเนินชีวิต 
3. การอยู่นิ่ง (สมาธิ) ทบทวนตนเองให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม และความรัก 
4. การเข้าใจ (ปัญญา) ในที่มาของคุณลักษณะและ ความสามารถของตนเอง 
5. การแสดงความเมตตากรุณาแก่สิ่งมีชีวิตรอบข้าง 
6. การแยกแยะความทุกข์เพื่อเป็นอิสระด้วยแนวทางแก้ไข สาเหตุของความทุกข์นั้นอย่างมีสติ (อริยสัจจ์: ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
35 
โรคมะเร็งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตวิญญาณอย่างไร 
เมื่อคนเราทราบการวินิจฉัยจากคุณหมอว่าเป็นมะเร็ง จิตรู้สำนึกมอง มะเร็งว่า เป็นสิ่งที่เลวร้าย น่ากลัว และมีอาการที่แสนทุกข์ทรมาน ความยึดมั่น ถือมั่นในร่างกายของตนเองทำให้จิตวิญญาณไร้การควบคุม ไม่มีบุคลากรทาง การแพทย์ที่มีเวลาให้ความรู้ถึงผลกระทบของโรคมะเร็งและแนวทางการ ปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับโรคมะเร็ง เนื่องจากประชากรโรคมะเร็งมีมากกว่า จำนวนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ทำให้แพทย์มุ่งติดตามปริมาณเซลล์มะเร็ง และภูมิต้านทางของร่างกายจากผลเลือด รวมถึงการใช้เคมี/รังสีบำบัด โดยมี เวลาพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยไม่เกิน 3 นาที ทั้งๆที่ผู้ป่วยต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี ห้า นั่งรอตามคิวรพ. อีก 5-6 ชม. ผู้ป่วยที่มีความเป็นมิตรและการรับรู้ โรคมะเร็งไม่เท่ากัน บางคนก็พูดคุยโดยไม่มี “ระบบชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน” แต่ละคนลงทุนและทดลองการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งมีประสิทธิผล ที่ไม่ยั่งยืน ผู้ป่วยมีร่างกายที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีที่ ไม่ส่งเสริมกำลังใจใดๆ นั่นคือ “เมื่อจิตวิญญาณ ไม่มีการพัฒนาขณะที่กำลังมี ประสบการณ์ของการดำเนินชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง...สมรรถภาพร่างกายก็ ค่อยๆ ทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้โดยธรรมชาติ หากแต่ ชะลอหรือเพิ่มพูนอาการของโรคมะเร็งด้วยกรอบความคิดทางการแพทย์ที่มี ขีดจำกัด”
36 
ทำอย่างไรผู้ป่วยมะเร็งจึงมีสุขภาพทางจิตวิญญาณ 
1. ทบทวนความสามารถของตนเองในปัจจุบัน ทำความเข้าใจถึง ผลกระทบของโรคมะเร็งและแนวทางการจัดการตนเองให้ทำ กิจกรรมที่มีเป้าหมายและมีความสุข เช่น แสวงหาความรู้และเปิดใจ ยอมรับกระบวนการดูแลตนเอง ตั้งแต่อาหารสุขภาพ การสงวน พลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการฝึกกิจกรรมเพื่อ สุขภาพต่างๆ 
2. การฝึกพัฒนาจิตวิญญาณอย่างมุ่งมั่น ได้แก่ การมีสติคิดก่อนทำ กิจกรรมใดๆ เข้าใจและช่วยเหลือคนรอบข้าง วางแผนทีมการทำงาน โดยเป็นผู้ตามและประสานงานในระยะเวลาและโอกาสที่เหมาะสม ย้อนทบทวนชีวิตที่ผ่านมาให้เป็นบทเรียนของการใช้ร่างกายที่ เหมาะสมต่อความสามารถในปัจจุบัน 
3. การแสวงหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ชีวิต เช่น การอ่าน หนังสือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์โรคมะเร็ง (ผู้ บำบัดและผู้ป่วย) การลงทุนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติที่พอเพียงแล้วเลือก วิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง การไม่อยู่นิ่งแต่ค้นหากิจกรรมที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น 
4. การพิจารณาประสิทธิผลทางการแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับ การแพทย์ทางเลือก แล้วพัฒนา “แก่นความคิดสู่การฝึกปฏิบัติอย่าง
37 
ค่อยเป็นค่อยไป” หากไม่ได้ผล...ก็ทบทวนถึงเหตุแล้วเริ่มต้นใหม่ด้วย ความมั่นใจในจิตวิญญาณของตนเอง 
5. มอง “มะเร็ง” ว่าเป็น “เพื่อนชีวิต” อย่าคิดว่ามะเร็งนั้นน่ากลัว เราต้อง มั่นใจว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งจนถึงวันสิ้นชีวิต เราต้องขอบคุณที่ มะเร็งช่วยจุดประกายความคิดให้เกิดการปรับจิตวิญญาณและปรับ การกระทำที่สร้างสรรค์ ควบคุมได้ วัดผลได้ และฝึกสติมากขึ้น แม้ว่า ชีวิตจะเคยติดสุขสบาย แต่สุขภาวะนั้นไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง ไม่ สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ 
6. มะเร็งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม พฤตินิสัย มลพิษ หัตถการ ทางการแพทย์ และเวรกรรม แต่สำคัญที่สุดคือ สร้างพลังจิตวิญญาณ ที่แข็งแกร่ง แม้เพียงร่างกายจะอ่อนแอลง แต่จงปล่อยวางและพัฒนา จิตวิญญาณ ด้วยความมุ่งมั่นในการคิดดีทำดีต่อไป 
*********************** 
จากคำจำกัดความของสุขภาพจิตวิญญาณข้างต้น ผู้เขียนได้ระดมความคิด เพื่อตอบโจทย์ “สุขภาพทางจิตวิญญาณ” บนพื้นฐานความเชื่อและประสบการณ์ การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน จาก ความจริงในการจัดการตนเองของผู้ป่วยมะเร็ง ความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติธรรม และความรู้สึกนึกคิดของอดีตผู้เป็นโรควิถี ชีวิตเรื้อรัง (โรครูมาตอยด์) ปัจจุบันมีสุขภาพปกติ อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านโปรดใช้ วิจารณญาณที่ไม่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจง 
ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณทนงศักดิ์ ธัญญปกรณ์พันธ์ คุณฉัตรบุญ ภัทรประภา และ 
คุณประนอมศรี เข็มทอง ที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานะภาพทางจิตวิญญาณ 
ของท่านทั้งสาม เป็นการบันทึกข้อมูลทันทีที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนของสุขภาพทางจิตวิญญาณ
38 
สาระประโยชน์ที่จะพึงมีพึงได้จากหนังสือเล่มนี้ 
คณะผู้เขียนขอยกความดีทั้งหมดเป็นทานมัย 
แด่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ญาติผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้สนใจทุกท่าน 
ขอให้มีสมรรถนะความเชื่อมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

More Related Content

What's hot

การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยsoftganz
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 Utai Sukviwatsirikul
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557Utai Sukviwatsirikul
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsThira Woratanarat
 
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...กันย์ สมรักษ์
 
บริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิบริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิSunisa Sudsawang
 
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Utai Sukviwatsirikul
 
ประกวด รพ.สต.59
ประกวด รพ.สต.59ประกวด รพ.สต.59
ประกวด รพ.สต.59riders
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติSambushi Kritsada
 
4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copy
4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copy4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copy
4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copyWatcharin Chongkonsatit
 
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Watcharapong Rintara
 
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐWC Triumph
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
 
District Health System : DHS
District Health System : DHSDistrict Health System : DHS
District Health System : DHS
 
District health system
District health systemDistrict health system
District health system
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
 
Hepatocellular carcinoma
Hepatocellular carcinomaHepatocellular carcinoma
Hepatocellular carcinoma
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problems
 
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
 
บริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิบริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิ
 
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
 
ประกวด รพ.สต.59
ประกวด รพ.สต.59ประกวด รพ.สต.59
ประกวด รพ.สต.59
 
We can do palliative care
We can do palliative careWe can do palliative care
We can do palliative care
 
รักษามะเร็ง
รักษามะเร็งรักษามะเร็ง
รักษามะเร็ง
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
 
4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copy
4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copy4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copy
4 แนวคิดและกลยุทธ์การจัดการสาธารณสุขในชุมขน copy
 
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงานกิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
 
การรักษามะเร็ง
การรักษามะเร็งการรักษามะเร็ง
การรักษามะเร็ง
 
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
 
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
 

Similar to การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมpasanozzterr
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canadasoftganz
 
4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัดwptraining
 
PC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PCPC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PCCAPD AngThong
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4Suwakhon Phus
 
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐมก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐมโรงพยาบาลสารภี
 
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Nan Natni
 
ระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่น
ระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่นระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่น
ระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่นKomsan Iemthaisong
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดpluakdeang Hospital
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 
หลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdf
หลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdfหลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdf
หลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdfssuser5ac523
 
58210401213 งาน 1 ss
58210401213 งาน 1 ss58210401213 งาน 1 ss
58210401213 งาน 1 sspravina Chayopan
 
ผลงานนักเรียน 3
ผลงานนักเรียน 3ผลงานนักเรียน 3
ผลงานนักเรียน 3thkitiya
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชKanti Bkk
 

Similar to การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง (20)

Theoryorem
TheoryoremTheoryorem
Theoryorem
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canada
 
4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด4 คลินิกมาตามนัด
4 คลินิกมาตามนัด
 
PC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PCPC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PC
 
แพทย์
แพทย์แพทย์
แพทย์
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4
 
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐมก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
ก้าวต่อไปกับการพัฒนาระบบบริการปฐม
 
2560 project -1 new
2560 project -1 new2560 project -1 new
2560 project -1 new
 
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
 
ระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่น
ระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่นระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่น
ระบบสุขภาพชุมชน รพ.ขอนแก่น
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
Sample 4 lifeyes
Sample 4 lifeyesSample 4 lifeyes
Sample 4 lifeyes
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
Summary tl2019
Summary tl2019Summary tl2019
Summary tl2019
 
หลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdf
หลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdfหลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdf
หลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับฯ-ระดับมัธยมตอนปลาย_organized.pdf
 
58210401213 งาน 1 ss
58210401213 งาน 1 ss58210401213 งาน 1 ss
58210401213 งาน 1 ss
 
ผลงานนักเรียน 3
ผลงานนักเรียน 3ผลงานนักเรียน 3
ผลงานนักเรียน 3
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
 

More from Jumpon Utta

การสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle form
การสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle formการสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle form
การสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle formJumpon Utta
 
ยาระงับปวด
ยาระงับปวดยาระงับปวด
ยาระงับปวดJumpon Utta
 
Scoring guideline 2011_v4_1_100910_ok
Scoring guideline 2011_v4_1_100910_okScoring guideline 2011_v4_1_100910_ok
Scoring guideline 2011_v4_1_100910_okJumpon Utta
 
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัด
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดกลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัด
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดJumpon Utta
 
เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012
เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012
เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012Jumpon Utta
 

More from Jumpon Utta (6)

การสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle form
การสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle formการสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle form
การสร้างใบเบิกยาOnlineผ่านGoogle form
 
Sodium hypo
Sodium hypoSodium hypo
Sodium hypo
 
ยาระงับปวด
ยาระงับปวดยาระงับปวด
ยาระงับปวด
 
Scoring guideline 2011_v4_1_100910_ok
Scoring guideline 2011_v4_1_100910_okScoring guideline 2011_v4_1_100910_ok
Scoring guideline 2011_v4_1_100910_ok
 
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัด
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดกลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัด
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัด
 
เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012
เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012
เภสัชกร ผู้เตรียมยาเคมีบำบัด2012
 

การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

  • 1. 1 การจัดการ ตนเอง เมื่อเป็นมะเร็ง
  • 2. 2 การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ปัจจุบัน “มะเร็ง” เป็นหนึ่งในสิบโรคที่คร่าชีวิตประชากรของ ประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลากหลาย มี ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเน้นการรักษามะเร็งด้วยเคมีและรังสีบำบัด แต่พบ น้อยมากสำหรับการบำบัดฟื้นฟูด้วยทีมวิชาชีพทางการแพทย์ ผมเองใน ฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลไทยได้ศึกษากิจกรรมบำบัดจิตสังคมจาก ประเทศออสเตรเลีย และมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรควิถีชีวิต เรื้อรัง ซึ่งผมต้องการเผยแพร่ให้รับรู้โดยทั่วกัน เนื่องจากศาสตร์ทาง กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในประเทศไทยยังไม่เป็นที่ แพร่หลายเหมือนต่างประเทศ โดยเฉพาะการจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง จะเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยหลายรายที่กลับบ้านได้หลังจากรับเคมีและรังสี บำบัด เมื่ออยู่บ้านไม่รู้จะปฏิบัติตนอย่างไร จึงได้แต่วิตกกังวลและคิด ฟุ้งซ่านทำให้เครียด อันอาจเป็นเหตุให้ไม่อยากทำกิจกรรมการดำเนิน ชีวิตที่มีคุณค่า ผมจึงมีความประสงค์จะถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ที่สนใจนำ โปรแกรมการจัดการตนเองไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการพัฒนา คุณภาพชีวิต “กิจกรรมบำบัด หมายความว่า การกระทำเกี่ยวกับความสามารถ ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และการ
  • 3. 3 พัฒนา เกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้ บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพโดยการนำกิจกรรม วิธีการ และ อุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบำบัด” (จากพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขากิจกรรมบำบัด เป็นสาขาการประกอบโรค ศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 พ.ศ.2545) รูปแบบการดูแลจัดการตนเอง (The Self-Management Model of Care) คือ วิธีการหนึ่งทางกิจกรรมบำบัดที่ฝึกทักษะการคิดแก้ไข ปัญหาและ ทักษะการคิดวางแผนจัดการปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการ เจ็บป่วยเรื้อรัง ความบกพร่องของร่างกาย-จิตใจ-สังคม ความแปรปรวน ของอารมณ์ภายใต้สถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ และการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ต่างๆ ด้วยความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน การยอมตามหรือปฏิบัติ ตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม การรับรู้ทักษะ การจัดลำดับความสำคัญของอาการของโรคจนถึงสิ่งที่มีผลตามมาจาก อาการของโรค การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องการดูแลตนเอง คน ดูแล ผู้บำบัด คน/สังคมรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมและการรับรู้ ความก้าวหน้าของโปรแกรมการรักษาด้วยการประเมินตนเอง แต่ในประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญพัฒนารูปแบบการ ดูแลจัดการตนเองให้เป็นโปรแกรมการจัดการตนเอง และระบบการ ทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มีประสิทธิผลนัก
  • 4. 4 ยกตัวอย่าง การตัดสินใจให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยไม่มี กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ป่วยถึงการจัดการพลังงานในการ ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วย โรคมะเร็งยังเน้นระบบการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการดำเนินของ โรคมะเร็งมากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเกิดความล้าและไม่มีแรง บันดาลใจในการสร้างความสุขทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ของตนเอง และบุคคลรอบข้าง ดังนั้นผมจึงขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านหัวข้อถามตอบที่ น่าสนใจดังนี้:- ถาม: แนวคิดของการจัดการตนเอง คือ อะไร? ตอบ: คิดดี พูดดี มองโลกในแง่ดี แก้ไขปัญหาดี สร้างแรงจูงใจดี จัดการ เวลาดี และจัดการกิจกรรมการดำเนินชีวิตดี ถาม: โปรแกรมการจัดการตนเอง คือ อะไร? ตอบ: โปรแกรมทบทวนความคิดของตนเองให้เข้าใจผลกระทบของโรค ต่อสุขภาวะและประเมินสุขภาวะของตนเองเพื่อวางแผนฝึกทักษะการ ดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างมีระบบ ได้แก่ การจัดการเวลา และพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การจัดการอุปสรรคและ อารมณ์ การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในตนเองด้วยการสื่อสารให้ร่างกาย เปลี่ยนแปลงท่าทางอย่างเหมาะสม และการจัดการสิ่งแวดล้อมภายนอก ตนเองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า
  • 5. 5 ถาม: ทำไมผู้ป่วยมะเร็งควรเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง? ตอบ: เพราะผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากจะปล่อยความคิดให้อยู่ว่างและรู้สึก อ่อนล้าทางความคิด อ่อนล้าทางจิตใจ และอ่อนล้าทางร่างกายตามลำดับ จนไม่อยากทำกิจกรรมใดๆอย่างมีเป้าหมาย มุ่งแต่รอคอยความช่วยเหลือ จากบุคลากรทางการแพทย์ ครอบครัว และญาติ จนเกิดความรู้สึกสับสน วิตกกังวล และคาดการณ์ผลกระทบของโรคมะเร็งมากจนเกินไป ดังนั้นโปรแกรมการจัดการตนเองจึงออกแบบให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทบทวนและวางแผนความคิดของตนเองภายใน 6 สัปดาห์ ได้แก่ สัปดาห์ที่ 1 การสำรวจพลังงานที่ร่างกายใช้ในท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน และท่าทางในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยแบ่งเป็น คะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมนั้นๆ (จาก 0 หรือไม่ใช้พลังงานถึง10 หรือใช้พลังงานจนหมด) และคะแนนความ คาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ใน การทำกิจกรรมนั้น ๆ (จาก 0 หรือไม่ใช้ พลังงาน ถึง 10 หรือใช้พลังงานจนหมด) สัปดาห์ที่ 2 การปรับเปลี่ยนท่าทางจากสัปดาห์ที่ 1 โดยสื่อสารกับ ร่างกายเพื่อสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน สัปดาห์ที่ 3 การปรับอารมณ์และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดการ ปรับเปลี่ยนท่าทางจากสัปดาห์ที่ 2 เพื่อสงวนพลังงานในการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตประจำวัน
  • 6. สัปดาห์ที่ 4 การประเมินคะแนนความรุนแรงของความล้าจาก โรคมะเร็ง (จาก 1 หรือน้อย ถึง 7 หรือมาก) และคะแนนความล้าหรือ ความเจ็บปวดของตนเองที่เกิดจากผลกระทบของโรคมะเร็ง แผนภาพข้างต้นแสดงระดับความล้าหรือความเจ็บปวดที่รู้สึกขณะทำ กิจกรรมหนึ่งจาก 0 (ไม่มี) 1 (มีเล็กน้อย) ถึง 5 (มีมากที่สุด) และทำความ เข้าใจกลไกการเกิดความล้าทางความคิด ความล้าทางจิตใจ และความล้า ทางร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับการสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการ ดำเนินชีวิตประจำวันจากสัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 5 การสำรวจรูปแบบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตใน สัปดาห์ที่ 4 โดยจัดลำดับความสำคัญและความพึงพอใจในแต่ละ กิจกรรมที่แยกเป็นกิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมการทำงาน กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการใช้เวลาว่าง กิจกรรมการพักผ่อน กิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคม และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่มี โรคมะเร็ง สัปดาห์ที่ 6 การวิเคราะห์เพื่อปรับรูปแบบการทำกิจกรรมชีวิตใน สัปดาห์ที่ 5 ให้มีความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่สร้างความสุขทาง ร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และ สังคม โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นที่มี 6
  • 7. 7 หรือไม่มีประสบการณ์ของโรคมะเร็งและวางแผน ในการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตที่มีเป้าหมายและคุณค่ามากขึ้นโดยใช้การบันทึกความคิด ด้วยการวางแผนในการทำกิจกรรมอะไร ทำกิจกรรมนั้นด้วยพลังงาน เท่าไร ทำกิจกรรมนั้น ณ เวลาใด ทำกิจกรรมนั้นเป็นจำนวนครั้งเท่าไร ความมั่นใจในการทำกิจกรรมนั้นมีคะแนนเท่าไร (จาก 0 หรือไม่มี ถึง 10 หรือมากที่สุด) ความเชื่อมั่นในคุณค่าของการทำกิจกรรมนั้นมี คะแนนเท่าไร (จาก 0 หรือไม่มี ถึง 10 หรือมากที่สุด) ถาม: ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะฝึกฝนโปรแกรมการจัดการตนเองให้ต่อเนื่อง อย่างไร ? ตอบ: นักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยมะเร็งเพื่อฝึกฝน ให้มีการทบทวนตนเองอย่างมีระบบ ได้แก่ การสอบถามตนเองด้วย คำถามปลายเปิด การฟังคำตอบจากความคิดของตนเองอย่างใคร่ครวญ การยืนยันคำตอบนั้นจากความคิดที่มั่นใจ และการสรุปคำตอบจาก ความคิดที่สื่อสารกับร่างกายของตนเอง ตัวอย่างคำถาม คือ:- ก. คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต อย่างไรบ้าง? ข. จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตคือ อะไร? ค. เป้าหมายหลักในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของคุณคืออะไร ง. แผนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของคุณคืออะไร?
  • 8. 8 จ. คุณจะทำอะไรบ้าง เพื่อให้แผนการของคุณกลายเป็นการทำ กิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงๆ *************************
  • 9. 9 ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยมะเร็ง ทนงศักดิ์ ธัญญปกรณ์พันธ์ ถ้าคุณเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีแล้วหมอ บอกว่าคุณป่วยเป็น มะเร็ง คุณคงช็อค ว่าทำไมเราต้องเป็นโรคนี้ด้วย ถ้าให้เลือกได้คงไม่มีใคร อยากเป็นโรคนี้แน่ แต่ถ้าคุณโชคร้ายเป็น “มะเร็ง” แล้ว มีวิธีใดในการรักษา และการรักษาต้องใช้เวลานานเท่าไรทรมานแค่ไหนจะดูแลตัวเองอย่างไร ระหว่างการรักษาและจะทำตัวอย่างไรหลังการรักษาไปแล้ว นานเท่าไรที่จะ ไม่ให้ “มะเร็ง” กลับมาเยี่ยมเยียนคุณอีก คำถามต่างๆ เหล่านี้คงทำให้คุณ สับสนวุ่นว่ายใจไม่น้อย มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายที่มีความผิดปกติ ใน DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพิ่ม จำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และใน ที่สุดทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อซึ่งขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดขึ้นที่อวัยวะส่วนใด จะทำให้ เกิด “มะเร็ง” ที่อวัยวะส่วนนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
  • 10. 10 จากรายงานในปัจจุบัน พบว่าในร่างกายมนุษย์มีเชื้อมะเร็งมากกว่า 100 ชนิดซึ่ง มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจึงไม่เหมือนกัน วิธีการรักษาก็แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะส่วนที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกายและภูมิ ต้านทานของผู้ป่วยมะเร็ง ความยากง่ายในการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและการ กระจายของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง จะรักษาง่าย กว่า มะเร็งปอด และมะเร็งสมอง เป็นต้น อาการบ่งบอกของการเป็น มะเร็ง 1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย 2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณ เตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่ จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม 3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกาย ทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส 4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็น มะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุด ของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน
  • 11. 11 สัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่ 1. มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด 2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน 3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง 4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น 5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย 6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย 7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล เมื่อคุณรู้ตัวว่าคุณเป็นมะเร็งแล้ว คุณต้องคิดต่อไปว่าจะทำการรักษา อย่างไร ทำให้หายจากโรคมะเร็ง โดยทั่วไปถ้าคุณเข้ารับการรักษาทาง แพทย์แผนปัจจุบันใน โรงพยาบาล แพทย์จะแนะนำให้คุณทำการผ่าตัดเอา เซลล์มะเร็งออกจากอวัยวะที่เป็น(รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง) และอาจ ทำการรักษาเพิ่มเติมโดยการใช้ยาเคมี (เป็นการรักษาหรือทำลายเซลล์มะเร็งทั้ง ที่ต้นตอและที่กระจาย ไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่น ของร่างกายเป็นการรักษามะเร็งแบบทั้งตัวของผู้ป่วยมะเร็งมีทั้งการ รับประทานยาและการฉีดยาทางเส้นเลือดดำหรือแดง) หรือวิธีการฉายแสง (บริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นเดียวกับการผ่าตัด) ร่วมด้วยขึ้นอยู่กับผู้ป่วยตามระยะของมะเร็ง ดังนี้
  • 12. 12 ระยะที่ 1: มะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณที่เป็น ยังไม่รบกวนเนื้อเยื่อข้างเคียง ระยะที่ 2: มะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง แต่ยังไม่ลามไปไกลเกินกว่าอวัยวะนั้นๆ ระยะที่ 3: มะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง ระยะที่ 4: มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากวิธีรักษาทั้งสามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีการรักษาที่ผู้ป่วย มะเร็งมีทางเลือกอื่นอีกที่นิยมกันได้แก่การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้กำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกายและผู้ป่วยก็จะหายจาก โรคมะเร็ง ซึ่งวิธีการรักษาแบบนี้เริ่มเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากขึ้น การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายมีหลายชนิด โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เช่นเปลี่ยนการกินข้าวขัดสีขาว เป็นข้าวกล้อง ผัก สดและผลไม้สดควรรับประทานเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน นอกจากอาหารแล้ว สงที่ควรปฏิบัติเป็นประจำ คือ การออกกำลังกาย การสวดมนต์ การทำสมาธิ การฝีกหายใจ การคิดในแง่บวก การอาบน้ำร้อน น้ำเย็น การอาบแดดช่วงเช้า มะเร็งทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็ง เพราะความเครียดทำให้เกิด อนุมูลอิสระ ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ทำให้ภูมิต้านทานภายในตัวลดลง ผู้เป็นมะเร็งต้องปรับตัวปรับใจ ไม่ควรทำให้ตัวเองเกิดความเครียด การสู้กับ
  • 13. 13 โรคมะเร็งควรสู้ด้วยจิตใจ พยายามฝึกจิตให้นิ่ง คิดในทางบวกเสมอถึงแม้ว่า สิ่งนั้นๆจะเป็นลบก็ตามพิจารณาให้เป็นดีหมดทุกอย่าง เมื่อฝึกได้อย่างนี้บ่อย ขึ้นลักษณะนิสัยของตนเองจะเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลดีกับตัวเราทั้ง ทางโลกและทางธรรม เพราะการทำให้จิตมีสมาธิ ตัวจิตนี้จะไปกระตุ้นต่อม ทูลารี ให้หลั่งโกรทฮอร์โมน ที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ออกมา กระตุ้นต่อมไทรอยด์ และต่อมแอดดินอล ขบแต่ฮอร์โมนดีๆออกมากระตุ้นให้ อวัยวะต่างๆทำงานได้ดี จนทำให้ต่อมต่างๆที่ผลิตภูมิต้านทานหรือเม็ดเลือด ขาวทำงานได้เต็มที่ ดังนั้นทุกอย่างจึงเกิดขึ้นที่จิต การคิดดีทำดี หรือการทำ สมาธิได้ จะทำให้สมองส่วนนี้ขับฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์ออกมา แต่ถ้าจิต ไม่มีสมาธิ มองโลกในแง่ลบ สมองส่วนนี้แทนที่จะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิต ฮอร์โมนชนิดดีออกมา มันจะไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้ผลิตฮอร์โมนอะดริ นาลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด ทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาว ที่อ่อนแอออกมา เมื่อร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์ต่างๆในร่างกาย อ่อนแอ ไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งออกไปได้ ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีความสำคัญต่อชีวิตมาก ถ้าไม่มี ภูมิคุ้มกันไม่มีใครสามารถมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ระบบภูมิคุ้มกัน บกพร่อง เนื่องจากไวรัสเอชไอวี จึงทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตปีละเป็นจำนวน มาก การรักษาโรคมะเร็งบางชนิด อาจใช้วิธีผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออกแต่เพียง อย่างเดียว ขึ้นอยู่กับระยะของโรค บางคนอาจรับการรักษาโดยการใช้เคมี
  • 14. 14 บำบัดอย่างเดียวหรืออาจจะร่วมกับการผ่าตัด หรือทั้งสามวิธีร่วมกันดือการ ผ่าตัด การฉายแสงและเคมีบำบัด ผลของการใช้เคมีบำบัด นอกจากกำจัดเซลล์มะเร็งแล้วยังมีผลต่อ เซลล์ปกติด้วย ผู้ป่วยบางคนเกิดผลข้างเคียงมากเมื่อได้รับเคมีบำบัดใน ปริมาณสูง หมอจะเปลี่ยนเป็นวิธีการให้ยาเป็นคอร์ส ในคอร์สหนึ่งอาจให้ยา 4 ถึง 6 ครั้ง แต่ละครั้งอาจห่างกัน 3 ถึง 4 สัปดาห์ เพื่อให้เซลล์ปกติมีการฟื้น ตัวก่อนให้ยาในครั้งต่อไป การจะใช้ยาตัวไหน วิธีไหน ปริมาณเท่าไรหรือ จำนวนกี่คอร์ส ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคมะเร็ง รวมไปถึงสภาพ ร่างกายและอายุของผู้ป่วย การตอบสนองต่อยาหรือเคมีบำบัดของผู้ป่วยแต่ ละรายจะมีความแตกต่างกัน ผลข้างเคียงระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีระยะ เฉียบพลัน 1. ผมมักร่วง บางรายอาจร่วงหมดทั้งศีรษะ แต่ผมจะกลับขึ้นมาเป็น ปรกติครบ กำหนดรักษาแล้วตั้งแต่ 2 ถึง 4 เดือน ผมที่ขึ้นมาใหม่ นี้จะดกดำกว่าเดิมด้วยซ้ำ อาการผมร่วงบางรายอาจร่วงไม่มาก 2. ยาเคมีบำบัดมีผลทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือดจะต่ำลงทำให้เกิดภาวะซีด ติดเชื้อ 3. มีอาการคลื่นไส้หรือมีอาเจียนร่วมด้วย 4. ผิวหนังของฝ่ามือ ฝ่าเท้าลอก 5. มีผลต่อผิวหนังและเล็บ สีผิวหนังโดยเฉพาะปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า เปลี่ยนเป็นสีคล้ำดำ เล็บอาจดำหรือหลุดได้
  • 15. 15 6. ท้องเสีย ยาเคมีบำบัดมีผลต่อเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เยื่อบุผนัง ลำไส้อักเสบ 7. เยื่อบุภายในช่องปากและลำคอมีอาการอักเสบ มีการเจ็บริมฝีปาก และบางครั้งในลำคอร่วมด้วยทำให้รับประทานอาหารลำบาก 8. ผลต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ 9. มีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง (Fatigue-Weakness) จะเห็นว่าผลข้างเคียงระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉาย แสงในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งมีค่อนข้างมาก ผู้ป่วยบางคนอาจมี ผลข้างเคียงน้อยแต่บางคนอาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก บางคนอาจต้อง หยุดการให้ยาระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายแสง อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง (Fatigue-weakness) คืออาการที่ผู้ป่วย รู้สึกว่าหมดแรงทั้งกายและใจที่จะทำงานหรือปฏิบัติภารกิจใดๆ แม้จะ นอนพักผ่อนมากๆแล้วก็ตามเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงร้อย ละ 70-– 80 เป็นผลให้ลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย บุคคลใกล้เคียง และ ญาติ แต่อาการเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วไปที่ไม่ใช่คนป่วยได้ เช่นกัน คือมีความรู้สึก อ่อนเพลีย อยู่ตลอดเวลาทั้งที่ไม่ได้เป็นโรค สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย ในผู้ป่วยมะเร็งหรือโรคระยะ สุดท้ายอื่นๆแบ่งได้เป็น 4 สาเหตุคือ 1. สาเหตุจากตัวโรคมะเร็ง อาการอ่อนเพลียเป็นผลมาจาก ปฏิกิริยาระหว่างตัวมะเร็งและการตอบสนองทางเคมีของ ร่างกาย พบได้ถึงร้อยละ 80 ของมะเร็งระยะสุดท้าย
  • 16. 2. สาเหตุจากการรักษา เช่น อ่อนเพลียจากเคมีบำบัด มักเกิด อาการมากที่สุดในช่วงวันแรกๆ ของการรักษา อ่อนเพลีย จากรังสีรักษา มักเกิดอาการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือ อ่อนเพลียจากการผ่าตัด 3. สาเหตุอื่นๆ เช่นนอนไม่พอ ซึมเศร้า วิตกกังวล โลหิตจาง ผลจากการกินยา และ ภาวะติดเชื้อต่างๆ 4. เกิดจากตัวผู้ป่วยเองเมื่อรู้ตัวว่ารักษาไม่ได้หรือมีจิตใจห่อ เหี่ยว ท้อถอยไม่สู้และไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป วงจรความเหนื่อยล้า อุปสรรคของการใช้ชีวิตหลังโรคมะเร็ง ความเหนื่อยล้าจากโรคมะเร็ง ความรู้สึกเบื่อ เครียด ซึมเศร้า ความเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้นจากกิจวัตรประจำวัน 16
  • 17. 17 ข้อสังเกตถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คือ การรักษาด้วยยา ข้อสำคัญที่สุดคือการหยุดใช้ยา การลดการใช้ยา หรือ หยุดยาที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งจะทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือการแก้ไขตามสาเหตุ และการแก้ไขโดยการ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามสภาพของโรค รวมทั้งการรักษาแบบ อื่นๆ เช่นการนอนหลับ การปรับอาหารการกิน การเปลี่ยนอิริยาบถใน สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติหรือการผ่อนคลาย การนั่งสมาธิ การทำ กิจกรรมอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วย ก็ สามารถลดอาการอ่อนเพลีย และเพิ่มความสดชื่นในผู้ป่วยได้มาก ดังนั้น การรักษาอาการอ่อนเพลียโดยไม่ใช้ยาจะใช้การดูแลรักษาโดยเข้า โปรแกรมการจัดการตนเอง (Self-Management Program) กับนัก กิจกรรมบำบัด ผู้ให้คำแนะนำและสอนวิธีการเรียนรู้เพื่อจัดการพลังงาน ของผู้ป่วยมะเร็ง ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้โปรแกรมการจัดการ ตนเอง คือการที่ผู้ป่วยสามารถจัดการบริหารการดำเนินชีวิตของตัวเอง ในแต่ละวันได้โดยไม่อ่อนเพลียจนเกินไปและมีกำลังใจในการที่จะต่อสู้ และจัดการกับโรคที่กำลังเป็นอยู่ หรือการลดความอ่อนเพลียโดยการ จัดการกับพลังงานที่มีอยู่ของผู้ป่วยให้เพียงพอในการจะทำกิจกรรมให้ สำเร็จ โดยการพักผ่อนหรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์ช่วยให้ใช้พลังงาน น้อยลง หรือการแบ่งกิจกรรมที่กำลังทำเป็นช่วงๆ ไม่หนักมากเกินไปที่ จะทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น หรือการกำหนดกิจกรรมที่จะ
  • 18. 18 ทำในแต่ละวันขึ้นมาก่อนแล้วเลือกทำกิจกรรมที่สำคัญและคาดว่ามี พลังงานพอที่จะทำได้ก่อนเป็นต้น สำหรับกิจกรรมที่สำคัญรองลงมา อาจเลื่อนไปทำในวันอื่นที่เหมาะสมต่อไป ถ้าทำได้ดังนี้จะทำให้ผู้ป่วย มีกำลังใจไม่ท้อแท้และพยายามต่อสู้ต่อไป เมื่อได้ปฏิบัติต่อเนื่องแล้วทำ ให้สามารถสร้างโปรแกรมพลังงานของตนเองได้ ดังนี้:- การจัดการกับพลังงานในร่างกาย ร่างกายของคนเราเปรียบเสมือนธนาคาร แต่เป็นธนาคาร พลังงาน โดยปกติร่างกายของเราสามารถเก็บพลังงานได้มากพอควร เมื่อเราใช้พลังงานออกไปโดยการทำกิจกรรมจึงมีความจำเป็นต้องเพิ่ม พลังงานเข้าสู่ร่างกายโดยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และการพักผ่อน ในที่นี้จะเน้นเรื่องการพักผ่อน (Rest) ความสำคัญของการพักผ่อน ถ้าคุณทำงาน(กิจกรรม)อย่างหนักต่อเนื่องกันโดยไม่พักผ่อน เมื่อถึง ระยะเวลาหนึ่งคุณจะไม่สามารถทำงานอีกต่อไปได้ เปรียบเสมือนคุณใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ติดต่อกัน เมื่อกระแสไฟฟ้าอ่อนลง เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นจะทำงานผิดเพี้ยนไปหรือหยุดการทำงานในที่สุด การพักผ่อนคืออะไร การพักผ่อนคือ การสร้างและสะสมพลังงานสะสมไว้ในร่างกาย เพื่อสามารถกิจกรรมต่างๆต่อไปได้ การพักผ่อนเป็นการป้องกันและ ซ่อมแซมส่วนสึกหรอที่เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ให้กลับสู่สภาพปกติ
  • 19. 19 ข้อควรปฏิบัติในการพักผ่อน 1. พักผ่อนก่อนที่จะรู้สึกเพลียทำให้สามารถป้องกันการเพลีย ต่อเนื่อง ทำให้ใช้เวลาในการพักน้อยลง 2. แบ่งการพักผ่อนเป็นช่วงๆ ในระยะเวลาสั้นๆหลายครั้ง 3. เปรียบเทียบการพักผ่อนนานๆ กับการแบ่งเวลาพักผ่อนสั้นๆ บ่อยๆ 4. ทำงานที่ชอบแล้วพักผ่อน 5. จดกิจกรรมที่จะต้องทำ การวางแผนการพักผ่อน จัดทำตาราง กิจกรรมล่วงหน้าเป็นวันเป็นสัปดาห์ รูปแบบของการพักผ่อน การนอนพักผ่อน การนั่งพักผ่อน การนอนหลับ การทำกิจกรรมที่ ชอบ การชมภาพยนตร์ การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ การอ่านหนังสือ การฟังเพลงที่ชอบ การสวดมนต์ และการนั่งสมาธิ ผลดีที่ได้รับจากการพักผ่อน 1. สามารถทำงาน (กิจกรรม) ได้เพิ่มขึ้น 2. มีความรู้สึกสดชื่น กระตือรือร้น 3. เกิดความสุขหลังจากพักผ่อนเพียงพอ หรือความสุขจากการได้ ทำกิจกรรมที่ชอบ โดยปกติผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เมื่อได้รับการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อที่เป็น มะเร็งออกแล้ว หรือการรับรังสีบำบัด เคมีบำบัด หรือทั้งสองอย่างพร้อม กันแล้ว ในระยะที่กำลังรักษาอยู่ผู้ที่ได้รับการรักษาจะมีผลข้างเคียง น้อย
  • 20. 20 บ้าง มากบ้างแล้วแต่กรณี แต่ผลที่เกิดขึ้นอย่างมากคืออาการอ่อนเพลีย หมดแรง ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆเลย ดังนั้นควรพักผ่อนให้มากที่สุดจน รู้สึกว่าร่างกายเริ่มดีขึ้น จึงพยายามหากิจกรรมทำเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า ชีวิตเรายังมีคุณค่า แต่ถ้ายังรู้สึกเพลียอยู่บ้างก็พยายามทำเท่าที่เราสามารถ ทำได้ การกำหนดตารางการพักผ่อน 1.จดรายการ (List) ที่อยากจะทำหรือต้องทำในกระดาษหรือ สมุดบันทึก ส่วนตัว 2.วางแผนการพักผ่อน (Plan Your Rests) โดยการแบ่งเวลาในตารางเป็น ช่วงๆ เช่น เช้า บ่าย และ เย็นของแต่ละวัน โดยการกำหนดเวลาที่ต้องการ พักผ่อนลงไปในตารางที่ต้องการพักแต่ละช่วงที่คิดว่าจะให้ผลดีแก่ตัว คุณมากที่สุด (คาดการณ์ช่วงเวลาที่ต้องการพักผ่อนและแบบของการ พักผ่อนที่คิดว่าดีที่สุด) 3.เมื่อทำตารางทั้ง 1 และ 2 ข้อข้างต้นแล้วให้ปฏิบัติดู โดยการปรับตาราง การพักผ่อนได้เต็มที่ถ้าอยากพักผ่อนเพิ่มก็เพิ่มตามความต้องการ เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่อไปได้ 3.กำหนดกิจกรรมและทำในตารางที่ 1 มาให้คะแนนการใช้พลังงานใน แต่ละวัน(โดยให้คะแนนทุกกิจกรรมที่กำหนดไว้โดยต้องทำจริง การให้ คะแนนขึ้นอยู่กับพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม) โดยการให้คะแนน ตั้งแต่ พลังงานน้อยสุดคือ 1 ไปจนถึงใช้พลังงานสูงสุดคือ 10
  • 21. 21 การสื่อสารกับตัวเอง การสื่อสารกับร่างกายคือการที่คุณบอกกับตัวคุณเองก่อนเริ่มทำ กิจกรรมที่ต้องการทำ การบอกกับร่างกายก่อนทำกิจกรรมจริงเพื่อช่วย ให้คุณใช้พลังงานน้อยลงในการทำกิจกรรมนั้นๆ จะทำให้คุณสามารถ ทำกิจกรรมได้เพิ่มขึ้น เกิดความอ่อนล้าน้อยลงเป็นการประหยัดพลังงาน ไปในตัว ทำให้มีพลังงานเหลือมากขึ้น การใช้อวัยวะทุกส่วนของ ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพมากในการทำกิจกรรมแต่ใช้พลังงานน้อย อาจเป็นเพราะเรามีการสื่อสารกับร่างกายก่อนทำจริง ทำให้สามารถใช้ กล้ามเนื้อได้มากขึ้นแข็งแรงขึ้น ความเครียดเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ใช้พลังงานมาก จะสังเกตว่าถ้าคุณได้ทำกิจกรรมอย่างมีความสุขจะทำ ให้ใช้พลังงานน้อยลง เช่น การทำงานอดิเรกที่เราชอบ เราจะทำด้วย ความสุขไม่รู้สึกเหนื่อยแสดงว่าเราใช้พลังงานน้อย สังเกตว่าผู้ป่วยที่รู้จักการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายอย่างถูกต้องจะ สามารถลดการใช้พลังงานที่ทำกิจกรรมได้ อันนำไปสู่การลดความ อ่อนเพลียซึ่งเป็นผลพลอยได้ เช่น การยืน ถ้าเราต้องยืนนานๆ เราสามารถลดความเมื่อยล้าได้โดยการสวม ใส่รองเท้าที่สบายเหมาะสมกับเท้าที่สวมใส่ การถ่ายน้ำหนักไปที่ขาทั้ง สองข้างแทนที่ให้ข้างใดข้างหนึ่งรับน้ำหนักมากกว่าอีกข้าง แขนทั้งสอง ปล่อยตามสบายแต่ชิดกับร่างกาย ศีรษะตั้งตรง และปรับเปลี่ยนอิริยาบถ บ้าง
  • 22. 22 การนั่งทำงาน นั่งตัวตรงหลังแนบกับพนักเก้าอี้ ขาทั้งสองวางแนบกับ เบาะนั่ง นั่งติดกับโต๊ะทำงาน การนั่งเพื่อพักผ่อน ควรหาเก้าอี้นั่งสบายๆเป็นเก้าอี้ตัวโปรดเพื่อเป็นการ นั่งพักทำอะไรที่ชอบเช่นอ่านหนังสือ การนอน ควรนอนในที่สบายๆที่นอนไม่นิ่มหรือแข็งและจน หมอนไม่ สูงจนเกินไปอาจใช้หมอนอีกใบวางใต้ขา การยกของ ไม่ควรยกของหนักเกินกำลัง การยกของจากพื้นให้ย่อตัวลง แล้วยกขึ้นไม่ก้มหลังยกของ ยกของแนบตัวขณะเคลื่อนที่ สถานที่เหมาะสำหรับการทำกิจกรรม ผู้ป่วยที่ต้องทำงานประจำระหว่างการรักษาโรคจำเป็นต้อง ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ประจำในการทำงานเพื่อให้เหมาะสมในการ ทำงานโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด อุปกรณ์ที่ติดตั้งถาวรเช่นโต๊ะทำงาน ให้มีขนาดพอเหมาะกับผู้ใช้งาน ตัวอย่างถ้าเรายืนทำงานไม่ควรต้องก้ม ตัวลงตลอดเวลา จะทำให้มีความรู้สึกไม่สบายในการทำงานเกิดอาการ ปวดเมื่อย หรือการนั่งทำงาน โต๊ะที่ใช้ทำงานไม่ควรจะต่ำเกินไป อุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยทำงานสะดวกและใช้พลังงานน้อยลง ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น สว่านไฟฟ้า เลื่อยไฟฟ้า เป็นต้น อุปกรณ์ การเคลื่อนที่ต่างๆ เช่น การขนย้ายสิ่งของ ควรใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงช่วย ย้าย เช่น การใช้ล้อเลื่อนเข้ามาช่วยแทนการยกด้วยแรงของผู้ป่วย หรือ การที่ผู้ป่วยต้องการเคลื่อนย้ายตัวเองจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ควรใช้ รถเข็น หรือ รถยนต์ เป็นต้น
  • 23. 23 การจัดการตนเองตลอดชีวิต เมื่อผู้ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันแล้วไม่ว่า จะเป็นการผ่าตัดการให้เคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้ง สองอย่าง หรือทั้งสามอย่างร่วมกันแล้วก็ตามผู้ป่วยจะแน่ใจว่าหายจาก มะเร็งเด็ดขาดแล้วไม่ได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองจากที่เคย ปฏิบัติก่อนการเกิดโรคจึงจะมีโอกาสในการใช้ชีวิตต่อให้ยืนยาวที่สุด ตัวอย่าง:- เรื่องอาหาร มีผู้กล่าวไว้ว่าคุณจะเป็นอะไรก็ขึ้นกับอาหารที่คุณกินเข้าไป (you are what you eat) การที่คุณเป็นมะเร็งเพราะภูมิคุ้มกันของคุณน้อย หรือไม่ทำงาน เซลล์มะเร็งจะลุกลามโจมตีคุณทันที ถ้าต้องการให้ เซลล์หยุดการโจมตีหรือหยุดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จำเป็นยิ่งที่ ต้องปรับเปลี่ยนการกินอาหาร เพื่อให้ภูมิต้านทานฟื้นสภาพคืนมา เหมือนเดิมก่อนเป็นให้ได้ โดยธรรมชาติแล้วตัวเซลล์มะเร็งเองก็จำเป็น ต้องการอาหารในการเติบโตเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยเองต้องทำให้มะเร็ง ไม่มีโอกาสเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ อาหารที่ไม่ควรกินได้แก่ เนื้อสัตว์ และไขมันทุกประเภท อาหารที่มีรสเค็ม ควรกินผักสดและ ผลไม้สดมากๆ ถ้าเป็นไปได้ควรกินสาหร่ายทะเลทุกมื้อ เพราะสาหร่าย เป็นแหล่งเกลือแร่เสริมภูมิต้านทานที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ การจะฟื้นภูมิต้านทานให้ได้เร็วจำเป็นต้องใช้วิตามินช่วยเสริม ได้แก่
  • 24. 24 วิตามินเอ มาจากเบต้าแคโรทีน ส่วนมากอยู่ในผักสีเขียวจัด เหลืองจัดแดงจัด ได้แก่หัวแครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง ข้าวโพด เหลือง บรอกโคลี ผักบุ้ง วิตามินบี มาจากโปรตีนของพืชที่หมักโดยวิธีธรรมชาติ เช่นมิ โซะ(เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น) โชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) วิตามินซี มีมากใน ส้ม มะนาว ในผักเช่นมันฝรั่ง ถั่วพู มะเขือ เทศ กะหล่ำปลี คะน้า หัวหอม เรื่องการปรับภูมิต้านทานให้สูงขึ้น โดย การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20 -– 30 นาทีอย่างสม่ำเสมอโดยออกแรงพอสมควรไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 - 70 ของความสามารถสูงสุดของผู้ป่วยจึงจะเพียงพอที่จะเพิ่มภูมิต้านทานให้ สูงขึ้น การสวดมนต์ ไหว้พระและการทำสมาธิ ทำให้ร่างกายสามารถ สร้างพลังกายและเสริมกำลังใจ ทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกแข็งแรงดีขึ้น การใช้ความร้อน ความเย็น การอาบแดด การอบสมุนไพร ซาว น่าสลับร้อนเย็นเพื่อให้ความร้อนไปกระตุ้นร่างกายทำให้ภูมิต้านทาน เพิ่มสูงขึ้น *************************
  • 25. 25 ตัวอย่างกิจกรรมบำบัดของผู้ป่วยมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง จากบันทึกการทำกิจกรรมและปรับเปลี่ยนกิจกรรมของกรณีศึกษา ไทยท่านหนึ่ง ถือเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมการ ดำเนินชีวิตหลังจากเข้าร่วมการจัดการตนเอง 6 สัปดาห์ แม้ว่าผู้ป่วยได้รับการ วินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งระยะที่ 3 แต่เขาสามารถจัดท่าทาง สื่อสารกับร่างกาย วางแผนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต มีความมั่นใจในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของตนเองจากสภาวะที่ต้องขับถ่ายหน้าท้องจนปรับเปลี่ยนเป็นการฝึก ขับถ่ายปกติ และมีกำลังใจที่ดีในการทำกิจกรรมยามว่างที่มีคุณประโยชน์แก่ ผู้อื่น เมื่อบันทึกเปรียบเทียบคะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำ กิจกรรมขณะตื่นนอน (จาก 0 หรือไม่ใช้พลังงาน ถึง 10 หรือใช้พลังงานจน หมด) คะแนนความคาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม (จาก 0 หรือไม่ใช้พลังงาน ถึง 10 หรือใช้พลังงานจนหมด) และคะแนนความรุนแรง ของความล้าจากโรคมะเร็ง (จาก 1 หรือน้อย ถึง 7 หรือมาก) ก่อนและหลังเข้า โปรแกรมการจัดการตนเอง พบว่า
  • 26. 26 ก่อนเข้าโปรแกรม: คะแนนความคาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 3.33 คะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 3.21 คะแนนความรุนแรงของความล้าจากโรคมะเร็ง = 4.33 รูปแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิต กิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก ( > 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนนเต็ม 10) ได้แก่ ขับรถเดินทางไปทำงาน ขับรถเดินทางไปเจาะเลือดที่ รพ. พบ แพทย์ที่ศูนย์มะเร็ง ขับรถไปซื้อยา ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก = 5 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำกิจกรรม ครั้งละ 1-3 ชม. กิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานน้อย ( < 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนน เต็ม 10) ได้แก่ พักผ่อนที่บ้าน นั่งทำงาน ส่งลูกไปเรียน รดน้ำต้นไม้ อ่าน หนังสือ ดูทีวี สวดมนต์ ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อย = 12 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำ กิจกรรมครั้งละ 40 นาที– -7 ชม.
  • 27. 27 หลังเข้าโปรแกรม: คะแนนความคาดการณ์ถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 2.41 คะแนนความรู้สึกถึงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ = 2.31 คะแนนความรุนแรงของความล้าจากโรคมะเร็ง = 3.25 รูปแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิต กิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก ( > 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนนเต็ม 10) ได้แก่ ไปงานศพติดต่อกันวันที่สอง เข้าอบรมความรู้มะเร็งติดต่อกันวันที่ สอง ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก = 2 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำกิจกรรม ครั้งละ 2-8 ชม. กิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อย ( < 5 คะแนนของการใช้พลังงานจากคะแนนเต็ม 10) ได้แก่ พักผ่อนที่บ้าน นั่งทำงาน กวาดใบไม้ รดน้ำต้นไม้ อ่านหนังสือ ดูทีวี สวดมนต์ เยี่ยมพี่สาว ไปงานศพวันแรก เข้าอบรมความรู้มะเร็งวันแรก ความถี่ของกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก = 17 กิจกรรมต่อสัปดาห์ โดยทำ กิจกรรมครั้งละ 2-13 ชม.
  • 28. 28 สรุปผล: ผู้ป่วยสามารถจัดการสุขภาพของตนเองให้วางแผนการทำกิจกรรมการดำเนิน ชีวิตที่มีคุณค่ามากขึ้น มีความถี่ของกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานน้อยถึงมากอย่าง เหมาะสม มีเวลาพักผ่อนสะสมพลังงานเพิ่มขึ้นเมื่อพิจารณากิจกรรมที่ใช้ พลังงานน้อย ทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมากด้วยความถี่ลดลงและใช้เวลา ได้ทนทานขึ้น มีคะแนนคาดการณ์ก่อนการทำกิจกรรมใกล้เคียงกับคะแนน ความรู้สึกหลังการทำกิจกรรมจริง ทั้งคะแนนคาดการณ์กับคะแนนความรู้สึก ลดลง เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าโปรแกรม นั่นคือผู้ป่วยมีทักษะความ เข้าใจถึงการสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น ซึ่งมี แนวโน้มทำให้คะแนนความรุนแรงของความล้าจากโรคมะเร็งลดลง เมื่อ เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าโปรแกรม นั้นคือผู้ป่วยมีความสามารถจัดการ ความล้าจากโรคมะเร็งด้วยตนเองได้ดีขึ้น *************************
  • 29. 29 เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงที่มาของตัวเลขการใช้พลังงานก่อนและ หลังเข้าโปรแกรมเป็นอย่างไร จึงขอแสดงตัวอย่างเพียงวันเดียวของผู้ป่วย มะเร็งระยะ 3 ที่ได้บันทึกการทำกิจกรรมของตนเองในการร่วมโปรแกรม การจัดการตนเองกับนักกิจกรรมบำบัด 6 สัปดาห์ วัน-เวลา ก่อนเข้าโปรแกรม จันทร์ กิจกรรม คาดการณ์ พลังงานที่ใช้ ความล้า 6-7 ตื่นนอน 0 1 0 7-8 ทานข้าว 1 2 2 8-9 ขับรถ 4 5 5 9-10 ทำงาน 6 5 5 10-11 ทำงาน 7 6 6 11-12 ทำงาน 7 6 5 “ “ “ “ “ “ ค่าเฉลี่ยคะแนน จันทร์-อาทิตย์ 3.35 3.21 4.33
  • 30. 30 วัน-เวลา หลังเข้าโปรแกรม จันทร์ กิจกรรม คาดการณ์ พลังงานที่ใช้ ความล้า 6-7 ตื่นนอน 0 0 0 7-8 ทานข้าว 1 1 1 8-9 พักผ่อน 1 1 1 9-10 ทำงาน 2 1 2 10-11 ดูโทรทัศน์ 1 1 1 11-12 รดน้ำต้นไม้ 3 2 1 “ “ “ “ “ “ ค่าเฉลี่ยคะแนน จันทร์-อาทิตย์ 2.41 2.31 3.25
  • 31. 31 การดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อนสิ้นชีวิต ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ในบ้านเราอาจจะไม่คุ้นกับคำว่า “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อน สิ้นชีวิต” (มิใช่ว่าผู้ที่เป็นมะเร็งทุกคนต้องเสียชีวิต) เพราะส่วนมากคิด ว่าเป็นลางร้าย ที่จะพูดถึงความตายทั้งๆที่ยังไม่ตาย ซึ่งตรงกันข้ามกับ ต่างประเทศ ที่เตรียมพร้อมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่หมอ สามารถกำหนดระยะเวลามีชีวิตอยู่ได้ จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างมีความสุขที่สุด จากการเรียนรู้ระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อนสิ้นชีวิตที่ ออสเตรเลีย...นักกิจกรรมบำบัดเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยระบบนี้ ได้อย่างดี นักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมินดังนี้ เช่น 1. "ผู้ป่วยต้องการอะไร 2. ผู้ป่วยเข้าใจสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองมากน้อยแค่ไหน อย่างไร 3. ผู้ป่วยอยากสื่อสารและเชื่อมโยงความรักและความเห็นอกเห็น ใจจากคนที่รักอย่างไร 4. ผู้ป่วยปรับความคิดและวางแผนทำกิจกรรมที่มีคุณค่าแก่ชีวิตที่ เหลืออยู่ไม่มากนักอย่างไร"
  • 32. 32 จากนั้นจึงให้คำแนะนำแก่คนที่ผู้ป่วยรักในรูปแบบกิจกรรมเชิง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า จะจัดกิจกรรมใดให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายกายสบายใจ และวางแผนความต้องการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงเวลาสุดท้าย ข้อเสนอแนะนำให้ญาติหรือคนใกล้ชิดของผู้ป่วยได้ปฏิบัติ ดังนี้ • เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างคุณหมอและผู้ป่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและยอมรับสภาวะของร่างกายที่อาจมีข้อจำกัดใน การฟื้นคืนสภาพ • ให้กำลังใจและเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยในการวางแผนทำ กิจกรรมต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ • ให้กำลังใจและความรักผ่านการกระทำที่เสริมแรงบันดาลใจต่อ การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีเป้าหมายและมีความหมายร่วมกับ คนที่รัก มิใช่ญาติมาเยี่ยมที่เตียงแล้วกลับไปหรือจ้างคนดูแลเฝ้า การกระทำดังกล่าวข้างต้น เช่น • ญาติอาบน้ำเช็ดตัวผู้ป่วย • ผู้ป่วยและญาติคุยในสิ่งที่ประทับใจที่ผ่านมา หรือฟัง เทป ชวนชมภาพที่ประทับใจร่วมกัน • ญาติจัดหาของทำบุญสังฆทานโดยให้ผู้ป่วยไหว้จบอนุโมทนา แล้วญาตินำไปถวายแทน หรือจะนิมนต์พระมาให้ผู้ป่วยได้ ทำบุญโดยตรง เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจหรือมีความสุขก่อน สิ้นชีวิต ดังคำโบราณที่ว่า ก่อนสิ้นใจขอให้ได้เห็นชายผ้าเหลือง
  • 33. 33 • จัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้กิน (ปรึกษาแพทย์และนัก โภชนาการบำบัดในการปรับสภาพอาหารที่ชอบ หรืออาหารให้ ทางสาย ที่ได้ตั้งแสดงให้เห็นด้วยพร้อมกัน) • ญาติชวนผู้ป่วยจัดกิจกรรมยามว่างในห้อง รพ. เพื่อเบี่ยงเบน ความคิดหมกมุ่นแต่ เรื่องมะเร็งกับวันที่สิ้นใจ ***********************
  • 34. 34 สุขภาพทางจิตวิญญาณกับโรคมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง สุขภาพทางจิตวิญญาณ คืออะไร 1. การปรับจิตรู้สำนึกให้เกิดประสบการณ์ของการทำ กิจกรรมอย่างตั้งใจและมีทางเลือกด้วยความคิดที่ดีของ ตนเอง (ศีล) 2. การให้ความรู้สึกถึงเป้าหมายของการทำกิจกรรมการ ดำเนินชีวิต 3. การอยู่นิ่ง (สมาธิ) ทบทวนตนเองให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม และความรัก 4. การเข้าใจ (ปัญญา) ในที่มาของคุณลักษณะและ ความสามารถของตนเอง 5. การแสดงความเมตตากรุณาแก่สิ่งมีชีวิตรอบข้าง 6. การแยกแยะความทุกข์เพื่อเป็นอิสระด้วยแนวทางแก้ไข สาเหตุของความทุกข์นั้นอย่างมีสติ (อริยสัจจ์: ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
  • 35. 35 โรคมะเร็งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตวิญญาณอย่างไร เมื่อคนเราทราบการวินิจฉัยจากคุณหมอว่าเป็นมะเร็ง จิตรู้สำนึกมอง มะเร็งว่า เป็นสิ่งที่เลวร้าย น่ากลัว และมีอาการที่แสนทุกข์ทรมาน ความยึดมั่น ถือมั่นในร่างกายของตนเองทำให้จิตวิญญาณไร้การควบคุม ไม่มีบุคลากรทาง การแพทย์ที่มีเวลาให้ความรู้ถึงผลกระทบของโรคมะเร็งและแนวทางการ ปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับโรคมะเร็ง เนื่องจากประชากรโรคมะเร็งมีมากกว่า จำนวนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ทำให้แพทย์มุ่งติดตามปริมาณเซลล์มะเร็ง และภูมิต้านทางของร่างกายจากผลเลือด รวมถึงการใช้เคมี/รังสีบำบัด โดยมี เวลาพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยไม่เกิน 3 นาที ทั้งๆที่ผู้ป่วยต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี ห้า นั่งรอตามคิวรพ. อีก 5-6 ชม. ผู้ป่วยที่มีความเป็นมิตรและการรับรู้ โรคมะเร็งไม่เท่ากัน บางคนก็พูดคุยโดยไม่มี “ระบบชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน” แต่ละคนลงทุนและทดลองการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งมีประสิทธิผล ที่ไม่ยั่งยืน ผู้ป่วยมีร่างกายที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีที่ ไม่ส่งเสริมกำลังใจใดๆ นั่นคือ “เมื่อจิตวิญญาณ ไม่มีการพัฒนาขณะที่กำลังมี ประสบการณ์ของการดำเนินชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง...สมรรถภาพร่างกายก็ ค่อยๆ ทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้โดยธรรมชาติ หากแต่ ชะลอหรือเพิ่มพูนอาการของโรคมะเร็งด้วยกรอบความคิดทางการแพทย์ที่มี ขีดจำกัด”
  • 36. 36 ทำอย่างไรผู้ป่วยมะเร็งจึงมีสุขภาพทางจิตวิญญาณ 1. ทบทวนความสามารถของตนเองในปัจจุบัน ทำความเข้าใจถึง ผลกระทบของโรคมะเร็งและแนวทางการจัดการตนเองให้ทำ กิจกรรมที่มีเป้าหมายและมีความสุข เช่น แสวงหาความรู้และเปิดใจ ยอมรับกระบวนการดูแลตนเอง ตั้งแต่อาหารสุขภาพ การสงวน พลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการฝึกกิจกรรมเพื่อ สุขภาพต่างๆ 2. การฝึกพัฒนาจิตวิญญาณอย่างมุ่งมั่น ได้แก่ การมีสติคิดก่อนทำ กิจกรรมใดๆ เข้าใจและช่วยเหลือคนรอบข้าง วางแผนทีมการทำงาน โดยเป็นผู้ตามและประสานงานในระยะเวลาและโอกาสที่เหมาะสม ย้อนทบทวนชีวิตที่ผ่านมาให้เป็นบทเรียนของการใช้ร่างกายที่ เหมาะสมต่อความสามารถในปัจจุบัน 3. การแสวงหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ชีวิต เช่น การอ่าน หนังสือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์โรคมะเร็ง (ผู้ บำบัดและผู้ป่วย) การลงทุนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติที่พอเพียงแล้วเลือก วิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง การไม่อยู่นิ่งแต่ค้นหากิจกรรมที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น 4. การพิจารณาประสิทธิผลทางการแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับ การแพทย์ทางเลือก แล้วพัฒนา “แก่นความคิดสู่การฝึกปฏิบัติอย่าง
  • 37. 37 ค่อยเป็นค่อยไป” หากไม่ได้ผล...ก็ทบทวนถึงเหตุแล้วเริ่มต้นใหม่ด้วย ความมั่นใจในจิตวิญญาณของตนเอง 5. มอง “มะเร็ง” ว่าเป็น “เพื่อนชีวิต” อย่าคิดว่ามะเร็งนั้นน่ากลัว เราต้อง มั่นใจว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งจนถึงวันสิ้นชีวิต เราต้องขอบคุณที่ มะเร็งช่วยจุดประกายความคิดให้เกิดการปรับจิตวิญญาณและปรับ การกระทำที่สร้างสรรค์ ควบคุมได้ วัดผลได้ และฝึกสติมากขึ้น แม้ว่า ชีวิตจะเคยติดสุขสบาย แต่สุขภาวะนั้นไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง ไม่ สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ 6. มะเร็งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม พฤตินิสัย มลพิษ หัตถการ ทางการแพทย์ และเวรกรรม แต่สำคัญที่สุดคือ สร้างพลังจิตวิญญาณ ที่แข็งแกร่ง แม้เพียงร่างกายจะอ่อนแอลง แต่จงปล่อยวางและพัฒนา จิตวิญญาณ ด้วยความมุ่งมั่นในการคิดดีทำดีต่อไป *********************** จากคำจำกัดความของสุขภาพจิตวิญญาณข้างต้น ผู้เขียนได้ระดมความคิด เพื่อตอบโจทย์ “สุขภาพทางจิตวิญญาณ” บนพื้นฐานความเชื่อและประสบการณ์ การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน จาก ความจริงในการจัดการตนเองของผู้ป่วยมะเร็ง ความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติธรรม และความรู้สึกนึกคิดของอดีตผู้เป็นโรควิถี ชีวิตเรื้อรัง (โรครูมาตอยด์) ปัจจุบันมีสุขภาพปกติ อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านโปรดใช้ วิจารณญาณที่ไม่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจง ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณทนงศักดิ์ ธัญญปกรณ์พันธ์ คุณฉัตรบุญ ภัทรประภา และ คุณประนอมศรี เข็มทอง ที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานะภาพทางจิตวิญญาณ ของท่านทั้งสาม เป็นการบันทึกข้อมูลทันทีที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนของสุขภาพทางจิตวิญญาณ
  • 38. 38 สาระประโยชน์ที่จะพึงมีพึงได้จากหนังสือเล่มนี้ คณะผู้เขียนขอยกความดีทั้งหมดเป็นทานมัย แด่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ญาติผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้สนใจทุกท่าน ขอให้มีสมรรถนะความเชื่อมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น