SlideShare a Scribd company logo
1 of 44
โครงงานคอมพิวเตอร์
ปัญหาโรคซึมเศร้า
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 1
วัตถุประสงค์ 2
ปัญหาโรคซึมเศร้า 3
ทาความรู้จักโรคซึมเศร้า 4-6
สาเหตุของโรคซึมเศร้า 7
ความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง 8-12
ชนิดของโรคซึมเศร้า 13-16
ประเภทของภาวะซึมเศร้าอื่นๆ ที่ได้การยอมรับทางการแพทย์ 17-21
อาการของโรคซึมเศร้า 22-38
วิธีรักษาอาการโรคซึมเศร้า 39-40
วิธีโอ 41
รายชื่อผู้จัดทาโครงงาน 42
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
ในปัจจุบัน มีคนเป็นโรคซึมเศร้าจานวนมาก ทั้งเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ต่างมีปัญหาทั้งหลายปัจจัย
ทั้ง สภาพแวดล้อม อดีตที่ฝังใจ ใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุข ความไม่ลงตัวกับคนใกล้ชิด ทั้งหมดนี้
ต่างเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด โรคซึมเศร้าได้และโรคซึมเศร้ายังนาไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตายอีกด้วย
การเป็นโรคซึมเศร้านั้น ต้องอยู่ในความดูแลของ แพทย์ด้วย โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบ
บ่อยมาก ผู้ป่วยจะเสียทั้งด้วยการศึกษาและอาชีพการทางานในขณะที่ ป่วย อีกทั้งยังเป็นความ
เจ็บป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงถึง 15-18% ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเท่านั้น ที่
รู้สึกทุกข์ทรมาน คนในครอบครัวก็ต้องพลอยได้รับทุกข์นั้นไปด้วย โรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บปวด
ที่เกี่ยวข้องกับ อารมณ์ ความคิด และส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีผลต่อการนอนหลับ การ
รับประทานอาหาร ตลอดจนความรู้สึกที่มี ต่อตนเองและสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าไม่ได้รับการรักษา
อาการของโรคอาจอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือนหรือเป็นปี การ รักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
จะสามารถช่วยเหลือและการจัดอาการของโรคซึมเศร้าได้ รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อน อื่นๆที่
จะเกิดขึ้นได้ผู้คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้หาก
เราทาความ เข้าใจอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นดิฉันจึงเลือกเรื่องโรคซึมเศร้ามาท าโครงงานนี้
1/42
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทราบอาการของโรคซึมเศร้า
2.เพื่อทราบสาเหตุของโรคซึมเศร้า
3.เพื่อให้ทราบการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น
4.เพื่อให้ทราบผลกระทบของโรคซึมเศร้า
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ทราบถึงอาการของโรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคซึมเศร้า การ
ดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น รวมทั้งทราบผลกระทบของโรคซึมเศร้า
2/42
ปัญหาโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุ อาการของโรค
อาจดูคล้ายกับอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วๆไป แต่ผลกระทบนั้นรุนแรงและเกิดขึ้น
ยาวนานกว่ามาก ซึ่งทั้งตัวผู้ป่วยเองหรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็นด้วยซ้า
ปัญหาคือคนส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นซึมเศร้ามักจะไม่รู้ตัวว่ากาลังป่วยเป็นซึมเศร้า หรือ
อาจรู้ตัวอีกทีตอนที่อาการของโรคเข้าสู่ขั้นรุนแรงจนเกิดผลกระทบต่อการใช้
ชีวิตประจาวันไปแล้ว ทาให้โรคนี้กลายเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่พรากชีวิตของใครหลาย
ต่อหลายคนไปอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้น การทาความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรค
อาการ และวิธีรักษา จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจ เพื่อช่วยเหลือตัวคุณเองและ
คนรอบข้างที่ป่วยเป็นโรคนี้
3/42
ทาความรู้จักโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด
โดยอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก เช่น
รับประทานอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร สิ้นหวัง หดหู่ รู้สึกว่าตัวเองไม่มี
ความสุขกับชีวิต วิตกกังวลตลอดเวลา และที่สาคัญคือผู้ป่วยจะไม่สามารถ
รับมือกับปัญหาต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้ดีพอ
4/42
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด โดยข้อมูลจากองค์การอนามัย
โลกระบุว่า มีประชากรทั่วโลกป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 350 ล้านคน ซึ่ง
วัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็มีผลต่ออัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ โดยตามรายงาน
ประจาปี 2553 ของวารสารประจาปีด้านสาธารณสุข (The Journal
Annual Review of Public Health) กล่าวว่าอัตราการเกิดภาวะ
ซึมเศร้าของทุกเพศทุกวัยในญี่ปุ่นจะอยู่ที่ 2.2% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่า ในขณะที่
บราซิลนั้นมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าสูงถีง 10.4%
5/42
ส่วนในประเทศไทยนั้น โรคซึมเศร้าถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพที่มี
ความสาคัญและน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยสังเกตได้จากสังคมในปัจจุบันนี้ที่มัก
มีข่าวเกี่ยวกับปัญหาการฆ่าตัวตาย รวมทั้งปัญหาการทาร้ายร่างกายตัวเองและ
คนรอบข้าง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้นับเป็นเรื่องที่น่าสลดใจไม่น้อยทีเดียว ตาม
รายงานจิตวิทยาคลินิก ปี 2007 พบว่า 50% ของผู้ที่ฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าใน
ครั้งแรก มักมีภาวะซึมเศร้าซ้าอีกหนึ่งครั้ง80% ของคนที่เคยป่วยเป็นโรค
ซึมเศร้า มีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นถึงสองครั้ง
6/42
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเป็นผลมาจากหลายๆ ปัจจัย
ด้วยกัน ดังนี้
- ความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง
- กรรมพันธ์ุ
- การเผชิญเรื่องเครียด
- ลักษณะนิสัย
- การดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบว่าคนที่มีอายุระหว่าง
18-25 ปี มีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ถึงร้อยละ 60 และผู้หญิงจะมีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย
7/42
ความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง
สารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็น
ได้ชัด โดยมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโทนิน และนอร์เอพิเนฟริน
(Norepinephrine) ลดน้อยลงจากเดิม ทาให้สมดุลของสาร
เหล่านี้เปลี่ยนไปและเกิดความบกพร่องในการทางานร่วมกัน
8/42
กรรมพันธุ์
หากคนในครอบครัวของคุณ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เคยป่วยด้วยโรค
ซึมเศร้ามาก่อน คุณก็อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
9/42
ลักษณะนิสัย
คนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่าหรือสูงมากเกินไป มองโลกในแง่ร้าย
หรือชอบตาหนิกล่าวโทษตนเอง มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้
มากกว่าคนที่มองโลกในแง่บวกและเห็นคุณค่าในตนเอง
10/42
การดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด
การพึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดเพื่อให้ลืมความ
เสียใจและความเครียดจากเรื่องต่างๆ ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่
ถูกต้อง แต่กลับทาให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้ด้วย
11/42
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
เช่น ฮอร์โมนจากภาวะตั้งครรภ์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
12/42
ชนิดของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปดังนี้
1. Major Depression (โรคซึมเศร้าแบบรนแรง)โรคซึมเศร้าชนิดนี้เกิดขึ้น
เมื่อภาวะซึมเศร้า
2. Dysthymia หรือ Persistent Depressive Disorder
(โรคซึมเศร้าเรื้อรัง)
3. Bipolar หรือ Manic-depressive Illness (โรคซึมเศร้าอารมณ์สอง
ขั้ว)
13/42
1. Major Depression (โรคซึมเศร้าแบบรนแรง)
โรคซึมเศร้าชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อภาวะซึมเศร้ารบกวนความสุขในชีวิต การ
ทางาน การเรียน การนอนหลับ นิสัยการกิน และอารมณ์
สุนทรีย์ ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ บางคนอาจแสดงอาการของ
ภาวะซึมเศร้าเพียงแค่หนึ่งอย่างก็ได้ ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นเป็นครั้งๆ แล้ว
หายไป แต่ก็สามารถเกิดได้บ่อยครั้งเช่นกัน
14/42
2. Dysthymia หรือ Persistent Depressive
Disorder (โรคซึมเศร้าเรื้อรัง)
เป็นโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรังที่มีอาการทางอารมณ์ไม่รุนแรงนัก แต่จะ
เป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี และมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2
อาการร่วมด้วย
รับประทานอาหารได้น้อยลงหรือมากขึ้น
นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
รู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองต่า
ไม่มีสมาธิ หรือตัดสินใจอะไรได้ลาบาก
รู้สึกสิ้นหวัง ตามเกณฑ์การวินิจฉัยจากคู่มือการวินิจฉัยความผิดปกติ
ทางจิตที่จัดทาโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (DSM-V)
15/42
3. Bipolar หรือ Manic-depressive Illness (โรค
ซึมเศร้าอารมณ์สองขั้ว)
ผู้มีภาวะซึมเศร้าบางคนอาจมีอาการผิดปกติแบบอารมณ์สอง
ขั้ว (Bipolar disorder) ร่วมด้วย โรคซึมเศร้าชนิดนี้จะทาให้ผู้ป่วยมี
การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ โดยมีอารมณ์แปรปรวนรุนแรงสลับไปมา
ระหว่างอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania) ที่เป็นช่วงอารมณ์สนุกคึกคักเกินเหตุ
พูดมากกว่าที่เคยเป็น กระฉับกระเฉงกว่าปกติ มีพลังงานในร่างกาย
เหลือเฟือ กับช่วงภาวะซึมเศร้า (Depression) ซึ่งโดยมากจะมีอาการ
อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ในบางคนก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว ในช่วงอารมณ์ดีผิดปกตินั้น อาการที่เกิดขึ้นอาจมีผลกระทบต่อ
ความคิดและการตัดสินใจของผู้ป่วย รวมทั้งอาจทาให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรม
หลงผิด หากผู้ป่วยในภาวะนี้ไม่ได้รับการรักษาจะทาให้กลายเป็นโรคจิต
เภทได้
16/42
ประเภทของภาวะซึมเศร้าอื่นๆ ที่ได้การยอมรับทางการแพทย์
1. Postpartum Depression (โรคซึมเศร้าหลังคลอดบตร)
2. Seasonal Affective Disorder หรือ SAD (โรค
ซึมเศร้าตามฤดูกาล)
3. Premenstrual Dysphoric Disorder (โรคซึมเศร้า
ก่อนมีรอบเดือน)
4. Psychotic Depression (โรคซึมเศร้าโรคจิต)
17/42
1. Postpartum Depression (โรคซึมเศร้าหลังคลอด
บุตร) หลังคลอดบุตร คุณแม่บางคนอาจมีอาการซึมเศร้าที่รุนแรง
และใช้เวลานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ ภาวะซึมเศร้าที่คุณแม่
มือใหม่มักเผชิญหลังคลอดนี้จะเรียกว่า "Baby blues"
18/42
2. Seasonal Affective Disorder หรือ SAD (โรค
ซึมเศร้าตามฤดูกาล) เป็นภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูหนาว หรือบางครั้งก็
เกิดในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เป็นโรคซึมเศร้าที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศที่มี
แสงแดดน้อยและหนาวเย็น พบได้มากในประเทศแถบหนาว จึงไม่ค่อย
เป็นที่คุ้นเคยในไทยนัก
19/42
3. Premenstrual Dysphoric Disorder (โรค
ซึมเศร้าก่อนมีรอบเดือน) เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นประมาณหนึ่ง
สัปดาห์ก่อนและหลังช่วงมีประจาเดือนของผู้หญิง
20/42
4. Psychotic Depression (โรคซึมเศร้าโรคจิต) เป็น
ภาวะซึมเศร้ารุนแรงที่เกิดกับผู้ป่วยโรคจิตเวชอื่นๆ โดยมักเกิด
พร้อมอาการทางจิต เช่น เห็นภาพลวงตาและภาพหลอน ได้ยิน
เสียงที่ไม่มีอยู่จริง เป็นต้น
21/42
อาการของโรคซึมเศร้า
1. อาการทั่วไปของโรคซึมเศร้า
หากคุณกังวลว่าตัวเองหรือคนรอบข้างกาลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
อยู่ เบื้องต้นคุณสามารถสังเกตได้จากอาการเศร้า เสียใจ และ
ท้อแท้จนไม่อยากทาอะไร บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ หรือถึงแม้มี
เรื่องน่ายินดี แต่ก็กลับไม่รู้สึกมีความสุขเลย นอกจากนี้ผู้ที่เข้าข่าย
เป็นโรคซึมเศร้ามักแสดงอาการต่อไปนี้ตามเกณฑ์การวินิจฉัยจาก
คู่มือการวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตที่จัดทาโดยสมาคมจิตเวช
ศาสตร์สหรัฐอเมริกา (DSM-V) อย่างน้อย 5 อาการออกมา
พร้อมๆ กันภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยที่มีอย่างน้อยหนึ่ง
อาการเป็นอาการหมดความสนใจในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคย
ชื่นชอบ หรืออาการเศร้า
22/42
-รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีค่า ว่างเปล่า ไม่รู้ว่าจะทาอะไรต่อไปหรือทาไปเพื่ออะไร
-รู้สึกเศร้า หรือ ในเด็กและวัยรุ่นอาจรู้สึกหงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย หรือ
กระวนกระวายใจอยู่บ่อยๆ
-หมดความสนใจในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชื่นชอบ เช่น รู้สึกเบื่อ
หน่ายอาหารโปรด
-น้าหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นเร็วมาก เนื่องมาจากนิสัยการกินที่เปลี่ยนไป
-นอนไม่หลับติดต่อเป็นเวลานาน หรือนอนนานผิดปกติ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
-ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทาได้เลย บางครั้งก็แสดงอาการหลงๆ
ลืมๆ และใช้เวลานานในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
คิด พูด และทางานเร็วขึ้นหรือช้าลง
-รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือทาร้ายตัวเอง
23/42
อาการเหล่านี้มีผลกระทบต่อการเข้าสังคม การทางาน หรือการใช้ชีวิต
ในด้านอื่นๆ หากปล่อยไว้นานจะทาให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ซึ่ง
มีอาการรุนแรงกว่านี้มาก ทางที่ดีจึงควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการ
บาบัดทางร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้อง ก่อนที่จะสายเกินไปบางครั้ง
ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าก็แสดงออกในลักษณะที่แปลกออกไป จนในบาง
อาจทาให้ผู้พบเห็นหรือเจ้าตัวไม่คิดว่าตนเองนั้นเป็น “โรคซึมเศร้า”
เรามาดูกันว่าสัญญาณแปลกๆ เหล่านั้นมีอะไรบ้าง
24/42
- ช้อปปิ้งอย่างบ้าคลั่ง: ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคนจะมีพฤติกรรมซื้อ
ของอย่างควบคุมไม่ได้ เพื่อหวังเบี่ยงเบนความสนใจจาก
ความเครียดหรือเพื่อปลุกความมั่นใจในตนเอง พฤติกรรมนี้อาจพบ
ได้ในผู้ที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือโรคไบโพลาร์ได้เช่นกัน
- ดื่มอย่างหนัก: หากคุณรู้สึกว่าคุณต้องการดื่มเพื่อจัดการกับ
ความเครียดหรือความเศร้า คุณอาจกาลังเผชิญภาวะซึมเศร้าอยู่ก็
เป็นได้ ซึ่งแม้ว่าการดื่มจะช่วยให้คุณรู้สึกดีและลืมเรื่องแย่ๆ ใน
ชั่วขณะได้ แต่การดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้คุณยิ่งรู้สึกแย่
กว่าเดิม หรือนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
25/42
หลงลืม: โรคซึมเศร้าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหลงๆ ลืมๆ
ที่เกิดขึ้น โดยจากผลการศึกษาพบว่า โรคซึมเศร้าหรือภาวะ
เครียดที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานจะไปทาให้ระดับคอร์ติซอลหรือ
ฮอร์โมนความเครียดในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อสมอง
บางส่วนที่เชื่อมโยงกับความทรงจาและการเรียนรู้ โรคซึมเศร้า
จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับการสูญเสียความทรงจา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่
ค่อยดีนักสาหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคซึมเศร้า
จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความจาได้
ใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป: การเสพติดโลกออนไลน์มากกว่า
โลกความเป็นจริงอาจเป็นอาการหนึ่งที่บ่งบอกถึงโรคซึมเศร้าได้
ในทางกลับกัน การใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากเกินไปก็อาจทา
ให้มีอาการซึมเศร้าได้
26/42
กระหน่ากินอย่างบ้าคลั่ง: ผลการศึกษาเมื่อปี 2010 จาก
มหาวิทยาลัยอัลบามาเผยว่า วัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มมีน้าหนัก
เพิ่มขึ้น แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย
ขโมยของ: พฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อยอาจมีสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า
ได้ เพราะสาหรับผู้ป่วยบางคนที่รู้สึกไร้เรี่ยวแรงในการทาสิ่งต่างๆ และ
รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า การขโมยของเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้สึกกระฉับกระเฉง
และรู้สึกว่าตนเองสาคัญขึ้นมา ซึ่งสิ่งที่ขโมยมานั้นอาจไม่ได้มีมูลค่าหรือ
สาคัญเท่ากับความรู้สึกดีที่ได้รับหลังจากขโมยสาเร็จเลย
27/42
ปวดหลัง: 42% ของผู้คนที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเคยเป็นโรคซึมเศร้า
มาแล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี หลายคนมักเพิกเฉยต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เพราะ
คิดว่าอาการเจ็บปวดต่างๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด
พฤติกรรมทางเพศ: ผู้ป่วยบางรายอาจรับมือกับปัญหาโรคซึมเศร้าด้วย
การทาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย นอกใจ เสพ
ติดการมีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน หรือบางรายก็มี
อาการหมดความต้องการทางเพศ ทั้งนี้อาการดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับการ
เป็นโรคไบโพลาร์ได้เช่นกัน
28/42
แสดงอารมณ์อย่างสดเหวี่ยง: หลายๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะ
เผลอแสดงอารมณ์มากเกินปกติ บางครั้งก็ขี้โมโหหรือระเบิด
อารมณ์ออกมา บางครั้งก็เศร้าเสียใจ หมดหวัง วิตกกังวล และ
หวาดกลัว ซึ่งความผิดปกตินี้มักสังเกตได้ชัดเจนในผู้ที่เคยนิ่งขรึม
และไม่ค่อยพูด
เสพติดการพนัน: การพนันอาจทาให้คุณรู้สึกตื่นเต้นและ
กระชุ่มกระชวย แต่หากคุณเสพติดการเล่นพนันจนเป็นนิสัย คุณ
อาจต้องทุกข์ทรมานใจภายหลังก็เป็นได้ โดยหลายคนที่เล่นการ
พนันบอกว่า ตนเองจะรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าก่อนเริ่มเล่นการ
พนัน และเมื่อเจอความผิดหวังก็อาจทาให้ยิ่งรู้สึกแย่ลงไปอีก
29/42
สูบบหรี่: การเป็นโรคซึมเศร้าจะยิ่งทาให้คุณต้องการสูบ
บุหรี่มากขึ้น เรียกได้ว่า ยิ่งซึมเศร้ายิ่งสูบหนัก โดยอาจสูบ
ประมาณ 1 ซองต่อวัน หรือสูบบุหรี่ทุก ๆ 5 นาทีเลย
ทีเดียว
ไม่ใส่ใจตนเอง: การละเลยหรือไม่ใส่ใจตนเอง เป็น
สัญญาณของโรคซึมเศร้าและการขาดความมั่นใจใน
ตนเอง พฤติกรรมอาจเริ่มตั้งแต่การไม่แปรงฟัน ไปถึงขั้น
โดดสอบ หรือไม่ใส่ใจโรคร้ายต่างๆ ที่ตนเป็น
30/42
2. อาการของโรคซึมเศร้าตามเพศและอาย
อาการซึมเศร้าในผู้ชาย ผู้หญิง และวัยรุ่น อาจแตกต่างจากอาการ
ซึมเศร้าทั่วไปที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนี้
อาการของโรคซึมเศร้าในผู้ชาย
แม้ว่าผู้ชายและผู้หญิงนั้นต่างมีอาการของโรคซึมเศร้าได้เหมือนกัน แต่ก็
มีอาการบางอย่างที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน จากรายงานใน
นิตยสารจิตเวช JAMA ปี 2013 กล่าวว่าอาการดังต่อไปนี้มักพบได้ใน
ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงที่เป็นโรคซึมเศร้า
โกรธ ก้าวร้าว เสพยาหรือใช้แอลกอฮอล์
พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ขับรถโดยประมาท มีเพศสัมพันธ์แบบไม่
ป้องกัน มีพฤติกรรมสาส่อนทางเพศ เป็นต้น
31/42
อาการของโรคซึมเศร้าในผู้หญิง
สถาบันสุขภาพแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรค
ซึมเศร้าได้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า อาการที่มักพบในหญิงที่เป็นโรค
ซึมเศร้ามีดังต่อไปนี้
เครียด
แยกตัวสันโดษ
หงุดหงิด กระสับกระส่าย
ร้องไห้อย่างหนัก
มีปัญหาด้านการนอนหลับ
หมดความสนใจในเรื่องที่เคยชื่นชอบ
32/42
อาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
วัยรุ่นก็สามารถมีอาการของโรคซึมเศร้าได้เหมือนผู้ใหญ่ แต่ว่าอารมณ์และพฤติกรรมที่
เปลี่ยนแปลงไปนั้นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะปกติของการเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อาการที่อาจ
บอกถึงโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น ได้แก่
หมกมุ่นเรื่องความตาย เช่น เขียนกลอนหรือภาพวาดที่บ่งบอกถึงความตาย
มีพฤติกรรมอาชญากรรม เช่น ขโมยของในร้านขายของ หรือขโมยเครื่องเขียนของเพื่อน
แยกตัวออกจากครอบครัวและเพื่อน
อ่อนไหวต่อคาวิพากษ์วิจารณ์
ผลการเรียนแย่ลงหรือขาดเรียนบ่อยๆ
มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และการขับรถโดยประมาท
มีพฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติด
มีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลหรือแปลกประหลาดไปจากเดิม
นิสัยหรือการแต่งตัวเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
ทิ้งข้าวของของตัวเอง
33/42
อาการของโรคซึมเศร้าชนิด Major Depression
มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลบ่อยๆ มีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว
โกรธง่าย อยู่ไม่สุข และมักกระวนกระวายอยู่ตลอดเวลา
มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด รู้สึกสิ้นหวังในการใช้ชีวิต มักมองโลกในแง่ร้าย รู้สึก
ผิดหวังบ่อยๆ คิดว่าตัวเองไม่มีค่า มีความคิดทาร้ายตัวเอง คิดถึงแต่ความตาย และ
พยายามทาร้ายตัวเองอยู่บ่อยครั้ง
มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้และการทางาน ไม่สนใจสังคมหรือสภาพสิ่งแวดล้อม
หมดความสนใจในเรื่องที่ทาให้เกิดความสนุกสนาน ไม่สนใจงานอดิเรก เพิกเฉยต่อ
กิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ประสิทธิภาพในการทางานลดลง ไม่
สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทา การตัดสินใจแย่ลง และมีอาการหลงๆ ลืมๆ
มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม มีอาการนอนไม่หลับ ตื่นนอนเร็ว บางรายหลับนาน
เกินไป รู้สึกเบื่ออาหารจึงส่งผลให้น้าหนักลดลง แต่บางคนก็รับประทานอาหารมากเกินไป
จนทาให้น้าหนักเพิ่มขึ้น เมื่อเจ็บป่วยมักรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หาย เช่น ปวดศีรษะ ปวด
ท้อง แน่นท้อง และปวดเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวแย่ลงด้วย
34/42
อาการของโรคซึมเศร้าชนิด Dysthymia
ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าต่อเนื่องเรื้อรังเป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน อาจถึง
ขั้นส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานและการใช้ชีวิต รู้สึกไม่ชอบตนเอง ไม่มี
ความสุขตลอดเวลา มองโลกในแง่ร้าย แต่ผู้ป่วยยังคงใช้ชีวิตประจาวันได้
ปกติ แต่มักไม่ค่อยพอใจเมื่อมีสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต ทาให้ดูเป็นคนไม่มี
ชีวิตชีวา ซึ่งโรคซึมเศร้าแบบ Dysthymia นี้มีสิทธิ์เปลี่ยนเป็นโรค
ซึมเศร้าแบบรุนแรง (Major depression)
35/42
อาการของโรคซึมเศร้าชนิด Bipolar หรือ Manic-
depressive illness
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีอาการซึมเศร้าสลับกับร่าเริงเกินกว่าเหตุ มี
อาการหงุดหงิดง่าย นอนน้อยลงกว่าเดิม มักหลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง
ตัวเองใหญ่ พูดมาก คิดแต่จะแข่งขัน มีความต้องการทางเพศสูง มีพลัง
เยอะ แต่การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ บกพร่อง และมีพฤติกรรมหลาย
อย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน
36/42
ความแตกต่างของโรคซึมเศร้า กับโรคเครียด
โรคซึมเศร้ากับโรคเครียดมีลักษณะอาการที่ใกล้เคียงกันได้ จนทาให้
บางครั้งผู้ป่วยแยกไม่ออกว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจากความเครียดหรือโรค
ซึมเศร้ากันแน่ ซึ่งมีวิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 โรคจากอาการ
ขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้
37/42
อาการจากความเครียด (Stress)
ความเครียดหรือโรคเครียด โดยทั่วไปจะเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นใน
ระยะสั้นๆ เท่านั้น ภาวะความเครียดธรรมดาสามารถเกิดขึ้นได้กับ
ทุกคน ทุกเพศทุกวัย โดยความเครียดที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระตุ้น
ร่างกายทั้งในแง่ดีและแง่ลบ ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถรับมือกับ
ความเครียดได้มากน้อยแค่ไหน อาการโดยทั่วไปของความเครียดคือ
นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับ
กระสับกระส่าย กังวล หงุดหงิด อารมณ์เสีย
รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ไร้พลัง
รู้สึกว่าปัญหาที่เข้ามาในชีวิตนั้นยุ่งยากเกินกว่าจะรับมือได้
ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ความจาสั้น
38/42
1. การรักษาโดยการใช้ยา
มียาหลากหลายชนิดด้วยกันที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าได้ โดยยาแก้โรคซึมเศร้าจะช่วย
ลดความกังวลและช่วยให้คุณหายจากอาการเศร้า แต่ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์
ค่อนข้างช้า ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานยาต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ กว่าจะเห็น
ถึงการเปลี่ยนแปลงหรือมีอารมณ์ที่แจ่มใสขึ้น และมักจะต้องใช้ยาเป็นเวลานานถึง
4-6 สัปดาห์ ยาจึงจะออกฤทธิ์และแสดงผลลัพธ์ได้อย่างเต็มที่ ยาแก้ซึมเศร้ามีทั้ง
ยาชนิดที่ทาให้ง่วงและไม่ทาให้ง่วง การใช้ยาจะไม่ทาให้เกิดการเสพติดแต่อย่างใด
ผู้ป่วยจึงสามารถหยุดรับประทานยาได้เมื่ออาการเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ควร
ปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยาทุกครั้ง
39/42
2. การรักษาโดยการทาจิตบาบัด
การรักษาวิธีนี้เป็นการเปลี่ยนความคิดเพื่อพิชิตความเศร้า รวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมไป
ในทางที่ดีขึ้น เพราะผู้ป่วยที่มีอารมณ์เศร้ามักมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งจะเป็นวัฏจักรที่จะ
ทาให้ภาวะซึมเศร้านั้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเป็นเวลานาน แพทย์จะค่อยๆ พูดคุยและบอก
ผู้ป่วยให้หยุดเศร้าสักประเดี๋ยว แล้วให้ย้อนกลับไปคิดว่าเมื่อสักครู่เกิดอะไรขึ้น มี
ความคิดอะไรแวบเข้ามาในหัวบ้าง จากนั้นให้ลองพิจารณาดูว่าความคิดนั้นถูกต้องแค่
ไหน หากคิดว่าไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ อารมณ์จะดีขึ้นทันที อย่างน้อยก็จะทาให้
ผู้ป่วยมองโลกในแง่ดีจนกว่าจะเผลอไปคิดในแง่ร้ายอีกครั้งโรคซึมเศร้านั้นแตกต่างกัน
ไปในแต่ละคน แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน การใช้จิตบาบัดหรือ
การบาบัดด้วยการพูดคุยถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้และรับมือกับปัจจัยด้าน
จิตใจ พฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และปัจจัยภาวะแวดล้อมซึ่งเกี่ยวข้องกับโรค
ซึมเศร้า โดยโรคซึมเศร้าต่างรูปแบบกันก็มีเป้าหมายการรักษาและวิธีช่วยเหลือผู้ป่วย
ต่างกันไปด้วย
40/42
41/42
คลิปวิดีโอ โรคซึมเศร้า
แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=mPIru7Y09Lo
รายชื่อผู้ทาโครงงาน
1. ชื่อ นางสาว ธนัชญา คาประเสริฐ เลขที่ 36 ชั้น ม.6 ห้อง 13
2. ชื่อ นางสาว บาจรีย์ สนทรนิทัศน์ เลขที่ 36 ชั้น ม.6 ห้อง 13
42/42

More Related Content

What's hot

โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิกโครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
phurinwisachai
 
ความรู้เรื่องยาเสพติด
ความรู้เรื่องยาเสพติดความรู้เรื่องยาเสพติด
ความรู้เรื่องยาเสพติด
จ๊ะจ๋า ขอทาน
 
ยาเข้าใหม่ 2555
ยาเข้าใหม่ 2555ยาเข้าใหม่ 2555
ยาเข้าใหม่ 2555
Rachanont Hiranwong
 

What's hot (11)

ปัญหายาเสพติด
ปัญหายาเสพติดปัญหายาเสพติด
ปัญหายาเสพติด
 
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิกโครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
โครงงาน โรคไบโพลาร์-Bipolar-คนสองบุคลิก
 
ยาเสพติด
ยาเสพติดยาเสพติด
ยาเสพติด
 
Comm 1-final
Comm 1-finalComm 1-final
Comm 1-final
 
ยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษ
 
แผนไทยและสมุนไพร....
แผนไทยและสมุนไพร....แผนไทยและสมุนไพร....
แผนไทยและสมุนไพร....
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
สูงวัยกับโรคซึมเศร้า
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าสูงวัยกับโรคซึมเศร้า
สูงวัยกับโรคซึมเศร้า
 
ปัญหายาเสพติด
ปัญหายาเสพติดปัญหายาเสพติด
ปัญหายาเสพติด
 
ความรู้เรื่องยาเสพติด
ความรู้เรื่องยาเสพติดความรู้เรื่องยาเสพติด
ความรู้เรื่องยาเสพติด
 
ยาเข้าใหม่ 2555
ยาเข้าใหม่ 2555ยาเข้าใหม่ 2555
ยาเข้าใหม่ 2555
 

Similar to Presentation final no.32,36

โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า
Mai Natthida
 
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdfโรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
609262
 

Similar to Presentation final no.32,36 (20)

medication counseling for asolescent with depression
medication counseling for asolescent with depressionmedication counseling for asolescent with depression
medication counseling for asolescent with depression
 
สูงวัยกับโรคซึมเศร้า
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าสูงวัยกับโรคซึมเศร้า
สูงวัยกับโรคซึมเศร้า
 
ปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิต
 
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า
 
Depression and suicide
Depression and suicide Depression and suicide
Depression and suicide
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
230111167342525149 (1).pdf
230111167342525149 (1).pdf230111167342525149 (1).pdf
230111167342525149 (1).pdf
 
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงานกิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
กิจกรรมที่ 5 นำเสนอโครงงาน
 
Mameyah
MameyahMameyah
Mameyah
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdfโรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
 
กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่
กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่
กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่
 
กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่
กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่
กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาและสารเสพติดแนวใหม่
 
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
 
Ocd
OcdOcd
Ocd
 
Final Project
Final ProjectFinal Project
Final Project
 
Psychiatric Emergency
Psychiatric EmergencyPsychiatric Emergency
Psychiatric Emergency
 
โรคซึมเศร้าแก้ไข
โรคซึมเศร้าแก้ไขโรคซึมเศร้าแก้ไข
โรคซึมเศร้าแก้ไข
 
Kronggnan kuu
Kronggnan kuuKronggnan kuu
Kronggnan kuu
 
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็กโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
 

Presentation final no.32,36