SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
77
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย ระยะเวลาในการสอน....................ชั่วโมง
๑.	มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส ๕.๑	 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน
ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมี
ประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
ป. ๔/๓	 ใช้แผนที่อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด
ป. ๕/๑	 รู้ตำ�แหน่ง (พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองติจูด) ระยะ ทิศทางของภูมิภาคของตนเอง
ป. ๕/๒	 ระบุลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำ�คัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่
ป. ๕/๓	 อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเอง
ป. ๖/๑	 ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์(แผนที่ภาพถ่ายชนิดต่างๆ)ระบุลักษณะสำ�คัญทางกายภาพและสังคมของ
ประเทศ
ป. ๖/๒	 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ
มาตรฐาน ส ๕.๒	 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์
วัฒนธรรม มีจิตสำ�นึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด
ป. ๕/๑	 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของ
ประชากรในภูมิภาค
ป. ๕/๒	 อธิบายอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใน
ภูมิภาค
ป. ๕/๓	 นำ�เสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำ�ลายสภาพแวดล้อม และเสนอแนวคิด
ในการักษาสภาพแวดล้อมในภูมิภาค
ป. ๖/๑	 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ
ป. ๖/๒	 อธิบายการแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการ
เปลี่ยนแปลงนั้น
ป.๔-๖
Untitled-1 77 9/13/11 1:41 PM
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
78
๒.	สาระสำ�คัญ
ลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์
สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยว
๓.	จุดประสงค์การเรียนรู้
	 ๑.	 บอกและสนทนาเกี่ยวกับความเจริญยาวนานจากสุโขทัยถึงกรุงเทพฯ พร้อมทั้งค้นคว้าหาข้อมูลได้
	 ๒.	 สนทนา อภิปราย เกี่ยวกับความเจริญและสถานที่ท่องเที่ยวในภาคกลาง ภาคเหนือ และแหล่งวัฒนธรรม
ตลอดจนการเดินทางท่องเที่ยว และปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและท้องถิ่น
	 ๓.	 รู้จักและวิเคราะห์ผลงานสำ�คัญๆ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์วัฒนธรรมในภาคต่างๆ และชุมชน
	 ๔.	 ฝึกสมาธิ บริหารจิต เพื่อเจริญปัญญา สมาธิ และบอกประโยชน์ในการปฏิบัติได้
	 ๕.	 บอกและอธิบาย บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดีได้
	 ๖.	 บอกและอธิบายข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้
๔.	กระบวนการจัดการเรียนรู้
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
	 ๑.	 ร้องเพลง “ต้นตระกูลไทย” หรือเพลงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ฟังเพลง
ดูภาพดูวีดิทัศน์ซีดีเกี่ยวกับภาพในประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำ�คัญๆในสมัย
ต่างๆ รวมทั้งภาพเหตุการณ์สำ�คัญๆ ในสมัยปัจจุบัน พระราชพิธีต่างๆ เช่น
พระราชพิธีแรกนาขวัญ ขบวนเสด็จทางชลมารค ฯลฯ
	 	 ครูซักถามนักเรียน ขณะดูภาพต่างๆ
	 	 –	 ประเทศไทยเรามีประวัติยาวนาน ตั้งแต่สมัยใด
	 	 –	 มีเหตุการณ์สำ�คัญๆ ใดบ้าง จงอธิบาย
	 	 –	 บ้านเมืองในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด
	 	 –	 พิธีลอยกระทงเกิดขึ้นในสมัยใด ปัจจุบันนี้เรายังอนุรักษ์ไว้หรือไม่ เพราะ
	 เหตุใด
	 	 –	 อาณาจักรล้านนา หมายถึงบริเวณส่วนใดของประเทศไทย/จังหวัดใดบ้าง
	 	 –	 วัฒนธรรมประเพณีไทย มีความสำ�คัญอย่างไร
	 	 –	 เหตุใดประเทศไทย จึงเป็นประเทศเอกราช
	 	 –	 เราเป็นคนไทย ควรมีหน้าที่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงาม
	 อย่างไรบ้าง
	 	 –	 หน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองดี ควรมีอย่างไรบ้าง ฯลฯ
	 	 	 	 (การตั้งคำ�ถาม เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักประเทศไทยโดยภาพ ทั้งด้าน
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เพื่อให้นักเรียนรู้ และ
สามารถอธิบายแก่คนต่างชาติได้)
–	 ปฏิบัติกิจกรรมเหมือนโรงเรียน
ต้นทาง
–	 ก่อนดูโทรทัศน์ คุณครูทบทวน
สาระสังคมตามหลักสูตรกลาง
Untitled-1 78 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
79
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
	 	 	 	 ครูจึงควรใช้สื่อหลากหลายให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราว โดยใช้การ
อธิบายให้น้อยให้ดูภาพฯลฯให้อ่านให้ศึกษาเรื่องราวครูมีหน้าที่ตั้งคำ�ถาม
ป้อนคำ�ถาม ให้เด็กคิด สังเกต เพื่อเกิดความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ได้
พร้อมกันนั้นให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลิน อยากเรียนรู้ ไม่เบื่อหน่าย
	 	 	 	 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ต้องให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้
และประสบการณ์เกี่ยวกับความเป็นมาของตนเอง ของสังคม และของ
ประเทศชาติว่ามีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลงมาสู่ปัจจุบัน
อย่างไร มีความสามารถในการตีความ และอธิบายนัยสำ�คัญของเหตุการณ์
ปัญหา และแบบแผนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เชิงประวัติศาสตร์ของประเทศ
และสังคมอื่น จากอดีตมาทำ�ความเข้าใจปัจจุบัน และที่จะเปลี่ยนแปลงใน
อนาคต)
	 ๒.	 กลุ่มนักเรียน ศึกษาเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีการ
ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
	 	 	 	 ให้เขียนแผนที่และแผนผังประกอบ ควรได้ศึกษาในทุกภาคของ
ประเทศไทย เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และมีมุมมองที่เข้าใจ รู้จัก
ประเทศไทย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ศิลปวัฒนธรรม
	 	 	 	 ให้กลุ่มนักเรียนได้ศึกษา และค้นคว้าจากห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุด
ชุมชนแหล่งบริการนักท่องเที่ยวอื่นๆก่อนไปศึกษาครูและนักเรียนร่วมกัน
วางแผนว่า ควรศึกษาเรื่องใดบ้าง จังหวัดใด ภาคใดของประเทศไทย เพื่อให้
ได้เนื้อหาครอบคลุมทั่วประเทศ และวางแผนหัวข้อที่ควรศึกษา เช่น
	 	 –	 สถานที่ใด ควรแก่การท่องเที่ยว
	 	 –	 อยู่ในจังหวัดใด ภาคใด
	 	 –	 เขียนแผนที่ประกอบ
	 	 –	 วัน เดือน ปี ที่ควรไปเที่ยว
	 	 	 	 เพื่อให้ตรงฤดูกาล เช่น การไปดูดอกทานตะวันที่จังหวัดสระบุรี หรือ
การ ไปดูพิธีทำ�บุญบั้งไฟทางภาคอีสาน จังหวัดใด จัดวันใด โดยติดตามจาก
การประชาสัมพันธ์
	 	 –	 เส้นทางการเดินทาง รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน
	 	 –	 กฎระเบียบ และวินัยของผู้ไปเที่ยวชมควรมีเพื่อความปลอดภัย เพื่อความ
	 สนุกสนานเพื่อให้ได้ความรู้ ฯลฯ
	 	 –	 การเดินทางควรศึกษาเรื่องใดไปล่วงหน้าควรศึกษาคู่มือการเดินทาง
	 ท่องเที่ยว ควรรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ
	 ๓.	 กลุ่มนักเรียนรายงานผลการศึกษาหน้าชั้นเรียนจัดป้ายนิเทศ หรือรายงาน
ต่อคณะนักเรียนทั้งโรงเรียนมีการซักถามอภิปรายเหตุผลตั้งข้อสังเกตและ
ให้ข้อคิดต่างๆ
–	 สารานุกรมไทยฯ เล่มที่ ๒๙
–	 กลุ่มนักเรียน รวบรวมผลดี ผล
เสีย จากการท่องเที่ยวในท้อง
ถิ่น/ชุมชน (สัมภาษณ์คนใน
ชุมชน)
–	 สรุปข้อคิดเห็นจะแก้ปัญหาการ
ท่องเที่ยวที่ทำ�ลายทรัพยากร
วัฒนธรรมอันดีงามในท้องถิ่น
ได้อย่างไร จงอธิบาย หาข้อเท็จ
จริงประกอบ
–	 หลักเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วย
แก้ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมจาก
การท่องเที่ยวได้อย่างไร
Untitled-1 79 9/13/11 1:41 PM
กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
80
–	 สารานุกรมไทยฯ เล่มที่ ๒๙
ความเดือดร้อนของชุมชน
–	 นักท่องเที่ยวจำ�นวนมาก
–	 การจราจรติดขัด
–	 เสียงรบกวน
–	 ค่าครองชีพสูง
–	 ครูตั้งคำ�ถามทั้งด้านบวก และ
ด้านลบ
–	 ทำ�อย่างไรทุกคนจึงจะตระหนัก
ถึงความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อม
การศึกษาธรรมชาติใน
ป่าเขาใหญ่
–	 ศึกษารายละเอียดเส้นทาง
–	 เลือกเส้นทาง
–	 สอบถามเจ้าหน้าที่
–	 ถ้าทางไกลมาก ควรมี
เจ้าหน้าที่ไปด้วย
–	 เดินตามเส้นทางเท่านั้น
–	 อย่าเข้าใกล้สัตว์ป่า
–	 ไม่ส่งเสียงดัง
–	 ไม่ทำ�ลายธรรมชาติ
เบญจศีล - เบญจธรรม ศีล ๕ ข้อ
ควรเว้น
เบญจธรรม ข้อปฏิบัติอันดีงาม
๕ ประการ
	 	 	 ควรมีการบันทึกการรายงานลงสมุดรายงานเป็นสมุดเล่มเล็กหรือเล่มใหญ่
ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นหลักฐานเผยแพร่และเป็นข้อมูลให้นักเรียนรุ่น
ต่อๆ ไปได้ค้นคว้าศึกษา
	 ๔.	 กลุ่มนักเรียนเขียนผังความคิด (Mind Mapping) เรื่องและหัวข้อเกี่ยวกับ
การท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การท่องเที่ยวเพื่อ
เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
	 	 	 	 เมื่อแต่ละกลุ่มเขียนผังความคิดแล้วให้วิเคราะห์ดูว่าสิ่งที่อาจได้จากการ
ศึกษาเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา และ
วัฒนธรรมอย่างไรบ้าง
	 	 	 	 ให้กลุ่มร่วมกันอภิปรายจนเกิดข้อคิดสรุปให้ได้หัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
ต่อไปในส่วนลึก รายงานหน้าชั้น และอภิปรายซักถาม
	 ๕.	 แสดงบทบาทสมมติตามเรื่องที่วิเคราะห์อุปกรณ์ต่างๆ ในข้อ ๔ เพื่อให้
เข้าใจในประวัติศาสตร์สังคมศาสนาวัฒนธรรมของหัวข้อนั้นๆแสดงความ
ชื่นชมต่อกลุ่มที่แสดงได้ดี
	 	 	 	 (ในการแสดง ให้แต่กลุ่มเขียนบทสั้น เพื่อให้ผู้ดูเข้าใจ และเป็นบท
ประกอบการแสดงด้วย)
	 ๖.	 ฝึกสมาธิก่อนเรียนทุกชั่วโมง
	 	 ครูพยายามสอดแทรกข้อปฏิบัติ เป็นกฎกติกาที่ทุกคน ทุกกลุ่ม ควรปฏิบัติ
ตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และควรประเมินพฤติกรรมนักเรียนรายกลุ่ม
รายคน ทุกชั่วโมง
Untitled-1 80 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
81
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
–	 เมตตากรุณา
–	 สัมมาอาชีวะ
–	 ความสำ�รวมในกาม
–	 สัจจะ
–	 สติสัมปชัญญะ
วิธีการเรียนรู้
–	 สอดแทรกการปฏิบัติทุก
กิจกรรม/ชั่วโมงอภิปราย
แก้ปัญหา (โดยใช้สติฯ)
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควร
เรียนรู้ ป่าอนุรักษ์ ซึ่งมี
๑.	 อุทยานแห่งชาติ ๘๒ แห่ง
พื้นที่ ๒๖ ล้านไร่เศษ และ
กำ�ลังดำ�เนินการอีก ๔๔ แห่ง
๒.	วนอุทยาน ๕๕ แห่ง
๓.	 สวนพฤกษศาสตร์
๔.	 สวนรุกขชาติ
๕.	พื้นที่มรดกโลก มี ๔ แห่งใน
ไทย
–	 เขียนแผนที่จังหวัดพระนคร-
ศรีอยุธยา
–	 สถานที่สำ�คัญในจังหวัด
–	 อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา
เป็นมรดกโลก มีคุณสมบัติ ๓
ประการ ตามหลักเกณฑ์ คือ
	 ๑.	 มีคุณค่า ความสำ�คัญทาง
	 	 ชีวภาพ (ห้วยขาแข้ง)
	 ๒.	 มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
	 	 ที่เป็นเอกลักษณ์ (จังหวัด
	 	 พระนครศรีอยุธยา, จังหวัด
	 	 สุโขทัย)
	 ๓.	 เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า
	 	 พืชพรรณนานาชนิด
สถานที่น่าสนใจในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา
	 	 	 	 ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวตามภาคต่างๆ ของ
ประเทศไทยนักเรียนควรแสวงความรู้ประสบการณ์ด้านสังคมศึกษาศาสนา
และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชุมชนสังคมที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงและ
แตกต่างกัน มีการขัดเกลาทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ในฐานะเป็น
สมาชิกที่อยู่ร่วมกัน อันมีบรรทัดฐานทางสังคม มีระบบค่านิยม ความเชื่อ
และประเพณีทางสังคม สถาบันต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางสังคม
รวมทั้งสามารถวิเคราะห์สภาพสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ระหว่าง
สังคมไทยกับสังคมอื่นในโลก เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
	 ๗.	 กลุ่มนักเรียนช่วยกันสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้โดยเทคนิค
การจัดทำ�ผังความคิด ครูตั้งคำ�ถาม เช่น
	 	 –	 เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่จะเรียนรู้ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวไทย นักเรียนนึกถึง
	 อะไรบ้าง
	 	 –	 นักเรียนช่วยกันอภิปรายและบอกสิ่งที่นับถือ ในขั้นตอนนี้จะไม่มีการ
	 ตรวจสอบคำ�ตอบของนักเรียนว่าถูกผิด เป็นการระดมสมอง และกระตุ้น
	 ให้นักเรียนตอบให้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการหาเนื้อหาที่จะ
	 เรียนรู้ต่อไป เช่น นักเรียนเลือกที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ “กรุงศรีอยุธยา”
	 ครูกำ�หนดให้ “กรุงศรีอยุธยา” เป็นหัวเรื่อง (theme) แล้วเขียนสิ่งต่างๆ
	 ที่นักเรียนคิดว่ามีสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา เป็นส่วนขยาย เช่น
	 	 กลุ่มนักเรียนช่วยกันรวมจัดกลุ่มหัวข้อที่คล้ายคลึงเข้าด้วยกัน แล้วตั้งชื่อ
กลุ่มหัวข้อนั้น เช่น
Untitled-1 81 9/13/11 1:41 PM
กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
82
–	 ศูนย์กลางการเรียนรู้จังหวัด
	 พระนครศรีอยุธยา
–	 ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา
–	 ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
–	 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
	 เจ้าสามพระยา
–	 พระราชวังหลวง
–	 วังจันทรเกษม/วังหน้า
–	 วังหลัง
–	 วัดพระศรีสรรเพชญ์
–	 วิหารพระมงคลบพิตร
–	 วัดพระราม
–	 วัดมหาธาตุ
–	 วัดราชบูรณะ
–	 ฯลฯ
(จากคู่มือท่องเที่ยวพระนคร-
ศรีอยุธยา)
–	 สารานุกรมไทยฯ เล่มที่ ๒๙
	 หน้า ๘๑ ไทยมีวัฒนธรรม
	 ของชาติ และของท้องถิ่น
	 ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
–	 รายงานกิจกรรม/โครงงานเกี่ยว
กับการท่องเที่ยวที่ร.ร.จัดทำ�ให้
ร.ร.ต้นทาง เพื่อแลกเปลี่ยน -
เรียนรู้และเผยแพร่
	 	 จากการเขียนผังความคิด(MindMapping)เรื่องกรุงศรีอยุธยาก็จะได้ประเด็น
หลัก หรือหัวข้อที่จะเรียนรู้ ๘ เรื่อง คือ พระมหากษัตริย์ โบราณสถาน
วัฒนธรรมประเพณี ประวัติ ที่ตั้ง แม่นํ้า อาชีพ สัตว์เลี้ยง
	 	 	 	 ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๘ กลุ่ม ศึกษาตามหัวข้อเรื่อง อาจเขียนเป็น
ผังความคิด แต่ละหัวข้อและสืบค้นข้อมูลศึกษา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
วิเคราะห์ข้อย่อย เช่น
	 	 ให้แต่ละกลุ่มเขียนผังความคิดแต่ละหัวข้อ และศึกษาโดยละเอียด
	 	 ผู้แทนกลุ่มรายงานหน้าชั้นอภิปรายแสดงความคิดเห็นสรุปลงสมุดรายงาน
	 	 ร่วมกันร้องเพลง เกี่ยวกับอยุธยา ทำ�ท่าทางประกอบเพลง
		 หมายเหตุ แต่ละเรื่องและหัวข้อที่ต้องการศึกษาให้ดำ�เนินการสอนคล้ายๆ
กัน เพื่อศึกษารายละเอียดและสรุป ควรให้ดูภาพ อ่านหนังสือหลายๆ เล่ม
และอภิปรายร่วมกับครูผู้สอนเชิญวิทยากรผู้รู้มาบรรยายเป็นครั้งคราวหรือ
กำ�หนดให้ดูละคร “ฟ้าใหม่” หรือละครประวัติศาสตร์ แล้วมาอภิปราย ร่วม
กัน เพื่อแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปวัฒนธรรม
และความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณจนปัจจุบัน
	 ๘.	 บันทึกพฤติกรรมรายบุคคล / กลุ่ม วัดผลประเมินผล
w w w w w w w w
Untitled-1 82 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
83
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย ระยะเวลาในการสอน....................ชั่วโมง
๑.	มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส ๕.๑	 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน
ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมี
ประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
ป. ๔/๓	 ใช้แผนที่อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด
ป. ๕/๑	 รู้ตำ�แหน่ง (พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด) ระยะ ทิศทางของภูมิภาคของตนเอง
ป. ๕/๒	 ระบุลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำ�คัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่
ป. ๕/๓	 อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเอง
ป. ๖/๑	 ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (แผนที่ภาพถ่ายชนิดต่างๆ) ระบุลักษณะสำ�คัญทางกายภาพและสังคม
ของประเทศ
ป. ๖/๒	 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ
มาตรฐาน ส ๕.๒	 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์
วัฒนธรรม มีจิตสำ�นึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด
ป. ๕/๑	 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของ
ประชากรในภูมิภาค
ป. ๕/๒	 อธิบายอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใน
ภูมิภาค
ป. ๕/๓	 นำ�เสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำ�ลายสภาพแวดล้อม และเสนอแนวคิด
ในการรักษาสภาพแวดล้อมในภูมิภาค
ป. ๖/๑	 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ
ป. ๖/๒	 อธิบายการแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการ
เปลี่ยนแปลงนั้น
๒.	สาระสำ�คัญ
ลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์
สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยว
ป.๔-๖
Untitled-1 83 9/13/11 1:41 PM
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
84
๓.	จุดประสงค์การเรียนรู้
	 ๑.	 บอกวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวไทย และวางแผนการท่องเที่ยวใกล้ๆ ได้
	 ๒.	 รวบรวมข่าว ข้อมูล เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการเดินทางท่องเที่ยวไทยได้
	 ๓.	 ร่วมกับกลุ่มสาระภาษาไทยและกลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์
ท่องเที่ยวชุมชนและมีการแสดงการละเล่นแบบไทยได้
	 ๔.	 ฝึกมรรยาทแบบไทยและสาธิตได้
	 ๕.	 ร่วมศาสนาพิธี พิธีกรรม วันสำ�คัญทางศาสนา
๔.	กระบวนการจัดการเรียนรู้
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
ฝึกสมาธิก่อนเรียนออกอากาศ
	 ๑.	 สนทนาอภิปรายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวทั่วไทยตามนโยบาย
ของรัฐบาลปัจจุบัน สรุปเขียนเป็นผังความคิด
	 ๒.	 ศึกษา ค้นคว้า สืบหาข้อมูล เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการเดินทางท่องเที่ยว
ไทยจากคู่มือไทยเที่ยวไทยหรือห้องสมุดโรงเรียน และชุมชน เขียนรายงาน
ส่งครู รายงานหน้าชั้น อภิปราย และช่วยกันสรุป
	 ๓.	 เขียนคำ�ขวัญ ข้อความประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวในชุมชนหัวหินและ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดป้ายนิเทศ คำ�ขวัญต่างๆ จัดประกวดคำ�ขวัญร่วม
กับภาษาไทย
	 ๔.	 ทำ�โครงงานเกี่ยวกับการละเล่นแบบไทย กีฬาพื้นเมืองไทยที่อาจส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว โดยแบ่งกันจัดทำ�กลุ่มละโครงงาน โครงงานละเรื่อง กลุ่มรายงาน
หน้าชั้น ร่วมกันอภิปราย และสรุป
–	 ปฏิบัติกิจกรรมเหมือนโรงเรียน
ต้นทาง
วิธีการเรียนรู้
–	 ประชุมกลุ่ม
–	 ระดมสมอง
–	 เขียนผังความคิด
–	 ตอบคำ�ถาม
–	 จัดทำ�สมุดภาพ
–	 ปฏิบัติจริง
–	 ศึกษาค้นคว้า
–	 ทำ�โครงงาน
–	 เขียนแผนที่
–	 แสดงบทบาทสมมติ
–	 สาธิตมรรยาท
–	 เขียนแผนที่
ศึกษาเกี่ยวกับ :-
–	 การเล่นพื้นเมืองไทย
–	 เกมพื้นเมืองไทย
–	 กีฬาพื้นเมืองไทย
–	 ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่น
	 จัดทำ�ปฏิทิน : กิจกรรม
	 ประเพณี มีความสำ�คัญ
	 อย่างไร
Untitled-1 84 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
85
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
	 ๕.	 เขียนแผนที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
กลุ่มละ ๑ จังหวัด บอกสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางคมนาคม จัดป้าย
นิเทศ และอธิบายให้นักเรียนในโรงเรียนและผู้สนใจทราบ
	 ๖.	 กลุ่มนักเรียนแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับการละเล่นแบบไทยให้มีผู้บรรยาย
และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนนักเรียน
	 ๗.	 กลุ่มนักเรียนสาธิตมรรยาทไทยโดยไปฝึกจากผู้รู้(อาจเป็นผู้ปกครองหรือครู)
และสาธิตในห้องเรียนหน้าแถวและเมื่อมีแขกมาเยี่ยมโรงเรียนให้กรรมการ
สถานศึกษาและผู้ปกครองชมรับฟังคำ�ติชมปรับปรุงแก้ไขร่วมทำ�โครงการ
“พี่สอนน้อง” ให้รุ่นพี่สอนให้น้องๆ ฝึกปฏิบัติหลังกล้อง และมีกิจกรรม
สาธิตออกอากาศเป็นครั้งคราว ตามปฏิทินปฏิบัติงาน
	 ๘.	 บันทึกพฤติกรรม วัดผล และประเมินผล
–	 อาหารในท้องถิ่น
	 วิธีปรุงอาหาร
	 วิธีรับประทาน
	 ประโยชน์
ผังความคิด
ให้กลุ่มนักเรียนศึกษาและทำ�โครงงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
w w w w w w w w
Untitled-1 85 9/13/11 1:41 PM
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
86
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย
เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ระยะเวลาในการสอน....................ชั่วโมง
๑.	มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส ๕.๑	 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน
ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมี
ประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
ป. ๔/๓	 ใช้แผนที่อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด
ป. ๕/๑	 รู้ตำ�แหน่ง (พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด) ระยะ ทิศทางของภูมิภาคของตนเอง
ป. ๕/๒	 ระบุลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำ�คัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่
ป. ๕/๓	 อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเอง
ป. ๖/๑	 ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์(แผนที่ภาพถ่ายชนิดต่างๆ)ระบุลักษณะสำ�คัญทางกายภาพและสังคมของ
ประเทศ
ป. ๖/๒	 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ
มาตรฐาน ส ๕.๒	 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์
วัฒนธรรม มีจิตสำ�นึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด
ป. ๕/๑	 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของ
ประชากรในภูมิภาค
ป. ๕/๒	 อธิบายอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใน
ภูมิภาค
ป. ๕/๓	 นำ�เสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำ�ลายสภาพแวดล้อม และเสนอแนวคิด
ในการรักษาสภาพแวดล้อมในภูมิภาค
ป. ๖/๑	 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ
ป. ๖/๒	 อธิบายการแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการ
เปลี่ยนแปลงนั้น
ป.๔-๖
Untitled-1 86 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
87
๒.	สาระสำ�คัญ
ลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์
สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยว
๓.	จุดประสงค์การเรียนรู้
	 ๑.	 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้
	 ๒.	 ศึกษาและสำ�รวจแหล่งท่องเที่ยวที่สำ�คัญในชุมชนและในประเทศไทยได้
	 ๓.	 รู้จักวิเคราะห์และจำ�แนกระบบนิเวศน์
	 ๔.	 อธิบายแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในประเทศไทยได้
	 ๕.	 เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้
	 ๖.	 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี และปฏิบัติตนตามคำ�สั่งสอนของพระพุทธองค์
๔.	กระบวนการจัดการเรียนรู้
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
	 ๑.	 ร้องเพลง “รักกันไว้เถิด” หรือเพลงที่นักเรียนชอบ และสนใจ เหมาะสมกับ
บรรยากาศสนทนาและศึกษาจากภาพข่าวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยวิธีการ
ประชุมกลุ่ม ระดมสมอง เขียนผังความคิด ตั้งคำ�ถาม ตอบคำ�ถาม เช่น
	 	 –	 นักท่องเที่ยวในชุมชนของเรา มีมากขึ้น หรือน้อยลง
	 	 –	 เพราะเหตุใด
	 	 –	 นักเรียนคิดว่าการที่นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นดีต่อชุมชนของเราหรือไม่
	 	 –	 ถ้าดี ในด้านใดบ้าง ช่วยกันอธิบาย
	 	 –	 มีผลในด้านลบหรือไม่ เช่นด้านใดบ้าง ช่วยกันอภิปราย
	 	 –	 ผลในด้านลบนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุใด
	 	 –	 ถ้าเราซึ่งเป็นเจ้าของบ้านจะหาทางระมัดระวังและป้องกันโดยวิธีใดได้บ้าง
	 	 –	 ผลเสียจะลดลงหรือไม่ เพราะเหตุใด
	 	 (การตั้งคำ�ถามควรมีข่าวภาพเหตุการณ์ประกอบเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด
ตาม โดยครูไม่ต้องบอก ควรเป็นภาพใกล้ตัว หรือเป็นจุดสนใจจากสื่อ)
	 ๒.	 กลุ่มนักเรียนช่วยกันเขียนผังความคิด เช่น
–	 ภาพการท่องเที่ยว
–	 เหตุการณ์จากหนังสือพิมพ์
–	 สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
–	 เรื่องเล่าจากนักเรียน
จงรวบรวมรายชื่อต่อไปนี้
๑.	 อุทยานแห่งชาติ
	 (National Park)
๒.	วนอุทยาน (Nature Park หรือ
	 Forest Park)
๓.	สวนพฤกษศาสตร์
	 (Botanical garden)
๔.	สวนรุกขชาติ (Arboretum)
๕.	พื้นที่มรดกโลก
	 (World Heritage)
–	 จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง
นิเวศน์/ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใน
ชุมชน/จังหวัดและรายงานเพื่อ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มนักเรียนศึกษาส่วนรวมแหล่ง
ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น
Untitled-1 87 9/13/11 1:41 PM
กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
88
	 	 	 	 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย ข้อมูลที่ได้อาจน้อย/มากกว่าตัวอย่าง
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และการคิดวิเคราะห์
	 	 	 	 ในขณะที่คิด ครูให้หลักคิดอย่าง “โยนิโสมนสิการ” ไปด้วย ไม่ใช่คิด
สะเปะสะปะ
	 	 ถาม :	 –	 ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเกิดจากอะไร
	 	 บ้าง
	 	 	 –	 เราจะช่วยกันป้องกันได้หรือไม่ หรือเป็นหน้าที่ของเทศบาล
	 	 (อบต., อบจ. ฯลฯ) เท่านั้น
	 	 	 –	 เราจะช่วยกันป้องกันได้อย่างไร
	 	 	 –	 ใครบ้างที่ควรร่วมมือกันในเรื่องนี้
	 	 	 –	 นักเรียนเคยอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ ที่ท้องถิ่น, ชาวบ้าน เขา
	 	 ร่วมมือกันรักษาและป้องกันสิ่งแวดล้อม/แหล่งท่องเที่ยวตาม
	 	 ธรรมชาติหรือไม่
	 	 	 –	 ในจังหวัดของเรามีหรือไม่ ที่ใด
	 ๓.	 กลุ่มนักเรียนช่วยกันทำ�โครงงาน “สำ�รวจปัญหาของสิ่งแวดล้อมและแหล่ง
ท่องเที่ยวในชุมชนของเรา” (อาจใช้หัวข้ออื่นที่อยู่ในความสนใจก็ได้)
	 	 	 	 โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำ�รวจ และ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำ�ข้อมูลที่ได้มาจำ�แนกเป็น
หมวดหมู่ และนำ�เสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างมีระบบ เช่น ตาราง แผนภูมิ
กราฟ  และอธิบายประกอบเพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ของเรื่อง
ที่ศึกษาได้ชัดเจนขึ้น
	 	 	 	 การปฏิบัติโครงงานประเภทนี้ ผู้เรียนจะต้องไปศึกษารวบรวมข้อมูล
๑.	สถานีวิจัยโครงการหลวง
	 อินทนนท์ (เชียงใหม่)
	 –	 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
	 	 •	 ไม้ดอก, แปลงผัก
	 	 •	 สวนไม้ผลเมืองหนาว
	 –	 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
	 	 •	 อากาศ
	 	 •	 นํ้าตกสิริภูมิ
	 	 •	 เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
	 –	 แหล่งท่องเที่ยวเชิง
	 	 วัฒนธรรม
	 	 •	 ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
	 	 	 ปลูกพืชไร่
	 	 •	 การเลี้ยงผีของชนเผ่าม้ง
	 –	 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
	 	 ฯลฯ
–	 ศึกษาและรวบรวมข้อมูล
“ศักยภาพของประเทศไทย ใน
ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์”
เช่น
	 •	 มีระบบนิเวศน์หลากหลาย
ตามภูมิภาคต่างๆ
	 •	 มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ชุมชนที่แตกต่างกัน
Untitled-1 88 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
89
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
ด้วยวิธีการต่างๆเช่นสอบถามสัมภาษณ์สำ�รวจโดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวม
ข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก)
	 ๔.	 กลุ่มนักเรียนช่วยกันเขียนผังความคิดเช่น
	 	 ถาม: การท่องเที่ยวแบบใด ที่นักเรียนต้องการ
	 	 คำ�ว่า นิเวศน์ หมายถึง บ้านหรือที่อยู่อาศัย
	 	 	 	 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้นิยามว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์คือ
การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
การศึกษา ชื่นชมและเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพธรรมชาติ สภาพสังคม
วัฒนธรรม และชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานความรู้ และความรับผิด
ชอบต่อระบบนิเวศน์
	 	 ถาม:	 –	 จากการสำ�รวจปัญหาของสิ่งแวดล้อม และแหล่งท่องเที่ยว
	 	 	 	 นักเรียนพบปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดและอื่นๆอย่างไรบ้างลองลำ�ดับ
	 	 ความสำ�คัญ/ความร้ายแรงของปัญหา
	 	 	 –	 เราเริ่มแก้ปัญหาอย่างไรดี
	 	 	 –	 เป็นหน้าที่ของใครบ้างที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา รัฐบาล? ท้องถิ่น?
	 	 เทศบาล? โรงเรียน?
	 	 	 –	 มีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง
	 	 	 –	 นักเรียนจะช่วยได้อย่างไร
	 	 	 –	 เหตุใดนักเรียนต้องช่วยกันคิด และมีส่วนร่วม
	 	 	 –	 เราจะเริ่มทำ�อะไร อย่างไร จัดลำ�ดับงาน ก่อน - หลัง
	 	 	 –	 เราควรสร้างเครือข่ายร่วมทำ�งานดีหรือไม่
	 	 	 –	 ใครจะเป็นเครือข่ายของเราได้บ้าง (เพื่อนนักเรียนในชั้น/ห้องอื่น/
	 	 โรงเรียนอื่น/ผู้ปกครอง/ชุมชน)
	 	 	 –	 เราควรเริ่มเมื่อใด และควรมีระยะเวลาทำ�งานนานเท่าใด
	 	 	 –	 ควรมีการประเมินผลหรือไม่ อย่างไร
	 	 หลักการแนวคิด “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (ควรใช้วิธีอภิปราย แสดง
ความคิดเห็นให้ได้ผังความคิด)
–	 ถามให้นักเรียนตอบ ให้หลาก
หลาย ก่อนสรุป
–	 มีความเป็นมิตรไมตรีของคนใน
ท้องถิ่น
ดูความหมายโดยละเอียด
จากสารานุกรมไทย เล่มที่ ๒๙
–	 กลุ่มนักเรียนรวบรวมแหล่ง
ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในไทย
เช่น
	 •	 ถํ้า
	 •	 นํ้าตก
	 •	 หนอง บึง ทะเลสาบ
	 	 และอ่างเก็บนํ้า
	 •	 ป่าไม้ :– วนอุทยาน ฯลฯ
	 •	 แม่นํ้าลำ�คลอง
	 •	 ภูเขา
	 •	 ชายฝั่งทะเลและเกาะ
	 •	 นํ้าพุร้อน, โกรกธาร
	 	 โขดหิน สันเขา
	 	 ซากดึกดำ�บรรพ์
–	 จัดทำ�โครงงานตามคู่มือและส่ง
โรงเรียนต้นทางเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้
Untitled-1 89 9/13/11 1:41 PM
กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
90
	 	 อภิปรายสรุปว่า ควรมีนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างไร
	 	 –	 เราควรมีนโยบายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์หรือไม่
	 	 –	 ควรมีอย่างไรบ้าง
	 	 –	 ใครควรมีส่วนในเรื่องนี้บ้าง เป็นหน้าที่ของใครบ้าง
	 	 –	 ถ้าเราทำ�ทุกอย่างแล้ว ยังไม่ดีขึ้น ในระบอบสังคมประชาธิปไตย ควรทำ�
	 อย่างไร (ควรเสนอ ออกแบบ...)
	 	 ร่วมกันเขียนผังความคิด
–	 จัดทำ�โครงงานเกี่ยวกับท่อง
เที่ยวเชิงนิเวศน์และท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์ฯในชุมชนของท่าน
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
–	 ศึกษา วิเคราะห์การพัฒนา
รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิง
นิเวศน์ เช่น
Untitled-1 90 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
91
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
			 	 ผังความคิด (ก่อนเขียนควรรวบรวมข่าวจากหนังสือพิมพ์และข่าว
ท่องเที่ยว) ซึ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การศึกษา และสังคม)
	 ๕.	 กลุ่มนักเรียนช่วยกันวาดแผนที่ประเทศไทย ศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่มี
ความสำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิตของคนในท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ของท้องถิ่น
	 	 	 	 ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบที่ราบสูงเป็นภูเขาเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน  และ
ทำ�มาหากินอย่างไร ประชากรมากน้อย เศรษฐกิจเป็นอย่างไร การคมนาคม
สะดวกหรือไม่ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างไร
	 	 –	 ฝึกให้นักเรียนใช้แผนที่ เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยว
	 	 –	 แผนที่ที่ควรฝึกวาดและลงรายละเอียดที่สำ�คัญๆ ควรเป็นแผนที่ประเทศ
	 ไทย แผนที่ภูมิภาค แผนที่จังหวัด แผนที่ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
	 •	 การเดินเส้นทางธรรมชาติ
	 	 (Nature trail)
	 •	 การส่องสัตว์
	 •	 การดูนก ผีเสื้อ ค้างคาว
	 •	 การไต่หน้าผา
	 •	 การล่องแก่ง
	 •	 การพายเรือแคนู ฯลฯ
	 •	 การดำ�นํ้า
	 •	 การนั่งเรือ-แพชมธรรมชาติ
	 •	 การนั่งช้าง
	 •	 การชมสวนเกษตร
–	 วิเคราะห์โครงงานของชุมชน
(อบต., อบจ., จังหวัด) เกี่ยวกับ
การท่องเที่ยวว่าเป็นการท่อง
เที่ยวเชิงนิเวศน์/เชิงอนุรักษ์
หรือไม่ มีข้อเสนอแนะอย่างไร
จะให้เป็นการพัฒนาการท่อง
เที่ยวที่ยั่งยืน
	 •	 การขี่จักรยาน
	 •	 การกางเต็นท์พักแรม
	 •	 การพักแรมตามบ้าน
–	 วาดแผนที่ชุมชน จังหวัด
ประเทศไทยให้มีเครื่องหมาย
บอกภูมิประเทศได้
–	 กลุ่มนักเรียนศึกษาสถานที่ที่
ต้องระวังภัยจากคลื่นยักษ์,แผ่น
ดินไหว, นํ้าป่าไหลหลาก, แผ่น
ดินถล่มและยุบตัว ฯลฯ เช่น
ตามแหล่งนํ้าตกต่างๆประมาณ
๒๐๐ แห่ง
–	 เขียนบทความประชาสัมพันธ์
Untitled-1 91 9/13/11 1:41 PM
กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
92
	 ๖.	 ให้กลุ่มเขียนรายงานประกอบเป็นการสรุปรายงานผลการดำ�เนินงานเพื่อให้
ผู้อื่นได้ทราบถึงแนวคิดวิธีดำ�เนินผลที่ได้รับตลอดจนข้อสรุปข้อเสนอแนะ
ต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงงาน
	 	 	 	 การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน สั้น และตรงไป
ตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ
	 	 ๑)	 ส่วนนำ� เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้น ประกอบด้วย ชื่อ
	 โครงงาน ชื่อผู้ทำ�โครงงาน ที่ปรึกษา
	 	 ๒)	บทนำ� ประกอบด้วย
	 	 	 –	 ที่มาและความสำ�คัญของโครงงาน (อธิบายความสำ�คัญของโครงงาน
	 	 เหตุผลที่เลือกทำ�โครงงานนี้ หลักการ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ
	 	 โครงงาน)
	 	 	 –	 วัตถุประสงค์ของการศึกษา ค้นคว้า
	 	 	 –	 สมมติฐานของการศึกษา ค้นคว้า (ถ้ามี)
	 	 ๓)	วิธีการดำ�เนินงาน
	 	 	 –	 อธิบายขั้นตอนการดำ�เนินงาน
	 	 	 –	 ระบุวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้
	 	 ๔)	ผลการศึกษา ค้นคว้า สำ�รวจ
	 	 	 นำ�เสนอข้อมูลหรือผลการศึกษาต่างๆที่สังเกตศึกษารวบรวมได้รวมทั้ง
	 เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
	 	 ๕)	สรุปและข้อเสนอแนะ
	 	 	 อธิบายสรุปผลที่ได้จากการทำ�งานการนำ�ผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์อุปสรรค
	 ของการทำ�โครงงาน และข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข
	 	 ๖)	 เอกสารอ้างอิง
	 	 	 รายชื่อหนังสือ เอกสารต่างๆ เว็บไซต์ที่ใช้อ้างอิงในการทำ�โครงงาน
	 ๗.	 เมื่อกลุ่มนักเรียนได้ศึกษาจากแผนที่ประเทศไทย จนทราบภูมิประเทศที่แตก
ต่างกัน
	 	 ครูตั้งคำ�ถาม ให้นักเรียนคิด (แบบหมวก ๖ ใบ)
	 	 –	 ประเทศไทยสามารถจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
	 อย่างไร
	 	 –	 ประเทศไทยมีระบบนิเวศน์ที่หลากหลายหรือไม่ อย่างไร (ดูตัวอย่างใน
	 ชุมชนของเรา)
	 	 –	 ประเทศไทยตั้งอยู่เขตใดของโลก/เส้นศูนย์สูตร (เขตป่าร้อนชื้น ใกล้
	 เส้นศูนย์สูตร ให้ดูจากแผนที่โลก)
	 	 –	 เขตป่าร้อนชื้นเป็นอย่างไร พืชพันธุ์ไม้เป็นอย่างไร มากน้อย หลากหลาย
และเสนอแนะการท่องเที่ยวใน
ชุมชน
–	 กลุ่มนักเรียนศึกษาพันธุ์ไม้ใน
ชุมชนหรือสัตว์ในระบบนิเวศน์
ป่าชายเลน
–	 ป่าชายเลนมีความสำ�คัญอย่างไร
–	 พืชในป่าชายเลนมีประมาณกี่
ชนิด
–	 ป่าชายเลนมีหน้าที่หลักอย่างไร
บ้าง
–	 สัตว์อะไรบ้างที่พบมากในป่า
ชายเลน
–	 สัตว์ในป่าชายเลนจัดสรรหน้าที่
และบทบาทอย่างไร
–	 สัตว์ทะเลหน้าดิน คืออะไร
	 (ค้นหาคำ�ตอบได้ในสารานุกรม
ไทย ฉบับเสริมการเรียนรู้
เล่ม ๕)
–	 ทำ�รายงานประกอบภาพเก็บไว้
ในห้องเรียน/ห้องสมุด
–	 กลุ่มนักเรียนศึกษารูปแบบและ
ความเป็นไปได้ว่า ในชุมชน
ของเรามีการพักแรมตามบ้าน
(Homestay) หรือไม่ มีความ
เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะจัดให้มี
ถ้ามีควรประชาสัมพันธ์มายัง
โรงเรียนต้นทางเพื่อให้ทราบทั่ว
กัน
–	 คลื่นสึนามิ หรือสิ่งใดแน่ที่
ทำ�ลายป่าชายเลน กรุณาศึกษา  
หาคำ�ตอบ
–	 จงบอกประโยชน์ของสวน
พฤกษศาสตร์
	 •	 ในชุมชนของเราสามารถ
Untitled-1 92 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
93
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
	 	 –	 เรามีระบบนิเวศน์ทางใดบ้าง (ทางบก ทะเล พื้นที่ชุ่มนํ้า เช่น ป่าชายเลน
	 พรุ ฯลฯ)
	 	 –	 ระบบนิเวศน์ทางทะเลและบริเวณชายฝั่งของเราอยู่ภาคใดบ้างเป็นอย่างไร
	 	 –	 ระบบนิเวศน์ทางบกของเรา มีภาคใดบ้าง เป็นอย่างไร
	 	 –	 วัฒนธรรมไทย น่าสนใจหรือไม่ อย่างไร
	 	 –	 ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เป็นอย่างไร
	 	 –	 นักเรียนชอบไปเที่ยวภาคใด ที่ใด เพราะเหตุใด
	 	 –	 นักเรียนคิดว่าประเทศเราควรมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
	 หรือไม่ เพราะเหตุใด
	 	 –	 นักเรียนลองเสนอแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน/ท้องถิ่นที่มีระบบนิเวศน์
	 สมบูรณ์ เพราะเหตุใด
	 	 –	 นักเรียนคิดว่า เราจะอนุรักษ์ไว้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
	 	 –	 นักเรียนคิดว่า เราควรอนุรักษ์ไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด ควรทำ�อย่างไรบ้าง
	 	 –	 ฯลฯ
	 	 กลุ่มนักเรียนช่วยกันเขียนแผนผังความคิด
	 สร้างสวนพฤกษศาสตร์ได้
	 หรือไม่
	 •	 ในโรงเรียนของเรามีการปลูก
	 ต้นไม้หรือไม่ อย่างไร
–	 กิจกรรมวาดภาพประกอบ
รายงานหรืออาจถ่ายภาพ
ประกอบ
–	 ความหมายของอุทยาน
ประวัติศาสตร์
	 ๑)	อาคารสถาปัตยกรรม ซาก
โบราณสถาน ฯลฯ
	 ๒)	 สภาพแวดล้อม เช่น
สระนํ้า คู คลอง ฯลฯ
	 ๓)	 การผสมผสานกันระหว่าง
การก่อสร้างของมนุษย์กับ
ธรรมชาติ
Untitled-1 93 9/13/11 1:41 PM
กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง
94
	 	 ผังความคิด
		ผังความคิด
Untitled-1 94 9/13/11 1:41 PM
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔
95
	 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง	 กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง
	 ๘.	 การวัดผล ประเมินผล
	 	 –	 ประเมินจากการปฏิบัติจริง (การสังเกตและแสดงความคิดเห็น)
	 	 –	 ความรู้ความคิด และจิตสำ�นึกเชิงอนุรักษ์
	 	 –	 คุณภาพจริยภาพและความคิดเชิงสร้างสรรค์
	 	 –	 รู้จักและรักถิ่นเกิดและประเทศ
w w w w w w w w
Untitled-1 95 9/13/11 1:41 PM

More Related Content

What's hot

กำนดม.2ภูมิปัญญา
กำนดม.2ภูมิปัญญากำนดม.2ภูมิปัญญา
กำนดม.2ภูมิปัญญาkrusuparat01
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-socPrachoom Rangkasikorn
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนา
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนาการวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนา
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนานันทนา วงศ์สมิตกุล
 
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่พัน พัน
 

What's hot (19)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๔แผนการจัดการเรียนรู้ที่๔
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๔
 
หน่วยที่๒
หน่วยที่๒หน่วยที่๒
หน่วยที่๒
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
 
หน่วยที่๗
หน่วยที่๗หน่วยที่๗
หน่วยที่๗
 
หน่วยที่๓
หน่วยที่๓หน่วยที่๓
หน่วยที่๓
 
กำนดม.2ภูมิปัญญา
กำนดม.2ภูมิปัญญากำนดม.2ภูมิปัญญา
กำนดม.2ภูมิปัญญา
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 
หน่วยที่๑
หน่วยที่๑หน่วยที่๑
หน่วยที่๑
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
วิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
 
1
11
1
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
 
หน่วยที่๖
หน่วยที่๖หน่วยที่๖
หน่วยที่๖
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนา
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนาการวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนา
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสาระพระพุทธศาสนา
 
หน่วยที่๘
หน่วยที่๘หน่วยที่๘
หน่วยที่๘
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
หน่วยที่๙
หน่วยที่๙หน่วยที่๙
หน่วยที่๙
 
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
 

Similar to แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 5+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u05-soc

แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-socแผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-socPrachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-socPrachoom Rangkasikorn
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5sompriaw aums
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551ดอกหญ้า ธรรมดา
 
แผนการจัดการเรียนรู้Biogang
แผนการจัดการเรียนรู้Biogangแผนการจัดการเรียนรู้Biogang
แผนการจัดการเรียนรู้BiogangWichai Likitponrak
 
เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่ เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่ Tay Chaloeykrai
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้krupornpana55
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourismchickyshare
 
สรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วย
สรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วยสรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วย
สรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วยkrunakhonch
 
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integrateแผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integratePrachoom Rangkasikorn
 
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integrateแผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integratePrachoom Rangkasikorn
 
แผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integrateแผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integratePrachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-socPrachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-socPrachoom Rangkasikorn
 
นำเสนอผลการใช้หลักสูตร
นำเสนอผลการใช้หลักสูตรนำเสนอผลการใช้หลักสูตร
นำเสนอผลการใช้หลักสูตรAor_1234
 
13. ม.๓ เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕ 2
13. ม.๓  เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕  213. ม.๓  เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕  2
13. ม.๓ เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕ 2hadradchai7515
 

Similar to แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 5+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u05-soc (20)

แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-socแผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ประถม 4-6 หน่วย 4+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u04-soc
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 4+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u04-soc
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 2 ป.5
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
แผนการจัดการเรียนรู้Biogang
แผนการจัดการเรียนรู้Biogangแผนการจัดการเรียนรู้Biogang
แผนการจัดการเรียนรู้Biogang
 
เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่ เล่มที่ 1เผยแพร่
เล่มที่ 1เผยแพร่
 
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
Slโครงสร้างรายวิชาหน่วย is1 การศึกษาและการสร้างองค์ความรู้
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourism
 
สรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วย
สรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วยสรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วย
สรุปแบบย้อนกลับ แก้ไขด้วย
 
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integrateแผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการณ์ ป.1-3+443+dltvsocp3+T2 p1 6-soc_integrate
 
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integrateแผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+426+dltvsocp2+T2 p1 6-soc_integrate
 
แผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integrateแผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integrate
แผนผังการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ป.1-3+409+dltvsocp1+T2 p1 6-soc_integrate
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-u06-soc
 
นำเสนอผลการใช้หลักสูตร
นำเสนอผลการใช้หลักสูตรนำเสนอผลการใช้หลักสูตร
นำเสนอผลการใช้หลักสูตร
 
Buengtungsang learning
Buengtungsang learningBuengtungsang learning
Buengtungsang learning
 
5
55
5
 
Asean Lesson Plan
Asean Lesson PlanAsean Lesson Plan
Asean Lesson Plan
 
13. ม.๓ เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕ 2
13. ม.๓  เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕  213. ม.๓  เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕  2
13. ม.๓ เทอม ๑ สาระพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา๕ 2
 

More from Prachoom Rangkasikorn

129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....Prachoom Rangkasikorn
 
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....Prachoom Rangkasikorn
 
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 

More from Prachoom Rangkasikorn (20)

129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
129+hisp2+dltv54+550224+b+สไลด์ พระมหากษัตริย์ไทยป.2 (4 หน้า)
 
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
120+hisp2+dltv54+550210+a+สไลด์ ความภูมิใจในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
 
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
116+hisp2+dltv54+550203+a+สไลด์ โบราณวัตถุป.2 (1 หน้า)
 
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
114+hisp2+dltv54+550127+a+สไลด์ โบราณสถาน ป.2 (1 หน้า)
 
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
106+hisp2+dltv54+550106+a+สไลด์ ภูมิปัญญาด้านอาหารป.2 (1 หน้า)
 
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
091+hisp2+dltv54+541209+a+สไลด์ วัฒนธรรมในท้องถิ่นป.2 (1 หน้า)
 
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
083+hisp2+dltv54+541125+a+สไลด์ บุคคลสำคัญของไทยป.2 (1 หน้า)
 
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
066+hisp2+dltv54+540923+a+ใบความรู้ วัฒนธรรมกับการดำเนินชีวิตป.2 (1หน้า)
 
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
062+hisp2+dltv54+540916+a+ใบความรู้ เหตุการณ์สำคัญกับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
 
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
058+hisp2+dltv54+540909+a+ใบความรู้ การสื่อสารจากอดีตถึงปัจจุบันป.2 (1หน้า)
 
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
054+hisp2+dltv54+540902+a+ใบความรู้ การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันป.2 (1หน้า)
 
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
050+hisp2+dltv54+540826+a+ใบความรู้ การดำเนินชีวิตของคนในอดีตป.2 (1หน้า)
 
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
046+hisp2+dltv54+540819+a+ใบความรู้ โรงเรียนของเรากับการเปลี่ยนแปลงป.2 (1หน้า)
 
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
042+hisp2+dltv54+540805+a+ใบความรู้ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนป.2 (1หน้า)
 
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
039+hisp2+dltv54+540729+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และโรงเรียนป....
 
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
035+hisp2+dltv54+540722+a+ใบความรู้ ความสัมพันธ์ของเวลากับตนเอง และครอบครัวป....
 
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
028+hisp2+dltv54+540701+a+ใบความรู้ การศึกษาวันสำคัญในปฏิทินป.2 (1หน้า)
 
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
024+hisp2+dltv54+540624+a+ใบความรู้ การใช้ปฏิทินป.2 (1หน้า)
 
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
016+hisp2+dltv54+540610+a+ใบความรู้ ความสำคัญของเวลาป.2 (1หน้า)
 
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
013+hisp2+dltv54+540603+b+ใบความรู้ ฉันเป็นใครป.2 (4หน้า)
 

แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 5+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u05-soc

  • 1. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 77 แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย ระยะเวลาในการสอน....................ชั่วโมง ๑. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ป. ๔/๓ ใช้แผนที่อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด ป. ๕/๑ รู้ตำ�แหน่ง (พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองติจูด) ระยะ ทิศทางของภูมิภาคของตนเอง ป. ๕/๒ ระบุลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำ�คัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่ ป. ๕/๓ อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเอง ป. ๖/๑ ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์(แผนที่ภาพถ่ายชนิดต่างๆ)ระบุลักษณะสำ�คัญทางกายภาพและสังคมของ ประเทศ ป. ๖/๒ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ วัฒนธรรม มีจิตสำ�นึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวชี้วัด ป. ๕/๑ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของ ประชากรในภูมิภาค ป. ๕/๒ อธิบายอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใน ภูมิภาค ป. ๕/๓ นำ�เสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำ�ลายสภาพแวดล้อม และเสนอแนวคิด ในการักษาสภาพแวดล้อมในภูมิภาค ป. ๖/๑ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ ป. ๖/๒ อธิบายการแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงนั้น ป.๔-๖ Untitled-1 77 9/13/11 1:41 PM
  • 2. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 78 ๒. สาระสำ�คัญ ลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยว ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. บอกและสนทนาเกี่ยวกับความเจริญยาวนานจากสุโขทัยถึงกรุงเทพฯ พร้อมทั้งค้นคว้าหาข้อมูลได้ ๒. สนทนา อภิปราย เกี่ยวกับความเจริญและสถานที่ท่องเที่ยวในภาคกลาง ภาคเหนือ และแหล่งวัฒนธรรม ตลอดจนการเดินทางท่องเที่ยว และปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและท้องถิ่น ๓. รู้จักและวิเคราะห์ผลงานสำ�คัญๆ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์วัฒนธรรมในภาคต่างๆ และชุมชน ๔. ฝึกสมาธิ บริหารจิต เพื่อเจริญปัญญา สมาธิ และบอกประโยชน์ในการปฏิบัติได้ ๕. บอกและอธิบาย บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดีได้ ๖. บอกและอธิบายข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ ๔. กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ๑. ร้องเพลง “ต้นตระกูลไทย” หรือเพลงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ฟังเพลง ดูภาพดูวีดิทัศน์ซีดีเกี่ยวกับภาพในประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำ�คัญๆในสมัย ต่างๆ รวมทั้งภาพเหตุการณ์สำ�คัญๆ ในสมัยปัจจุบัน พระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ ขบวนเสด็จทางชลมารค ฯลฯ ครูซักถามนักเรียน ขณะดูภาพต่างๆ – ประเทศไทยเรามีประวัติยาวนาน ตั้งแต่สมัยใด – มีเหตุการณ์สำ�คัญๆ ใดบ้าง จงอธิบาย – บ้านเมืองในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด – พิธีลอยกระทงเกิดขึ้นในสมัยใด ปัจจุบันนี้เรายังอนุรักษ์ไว้หรือไม่ เพราะ เหตุใด – อาณาจักรล้านนา หมายถึงบริเวณส่วนใดของประเทศไทย/จังหวัดใดบ้าง – วัฒนธรรมประเพณีไทย มีความสำ�คัญอย่างไร – เหตุใดประเทศไทย จึงเป็นประเทศเอกราช – เราเป็นคนไทย ควรมีหน้าที่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงาม อย่างไรบ้าง – หน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองดี ควรมีอย่างไรบ้าง ฯลฯ (การตั้งคำ�ถาม เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักประเทศไทยโดยภาพ ทั้งด้าน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เพื่อให้นักเรียนรู้ และ สามารถอธิบายแก่คนต่างชาติได้) – ปฏิบัติกิจกรรมเหมือนโรงเรียน ต้นทาง – ก่อนดูโทรทัศน์ คุณครูทบทวน สาระสังคมตามหลักสูตรกลาง Untitled-1 78 9/13/11 1:41 PM
  • 3. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 79 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ครูจึงควรใช้สื่อหลากหลายให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราว โดยใช้การ อธิบายให้น้อยให้ดูภาพฯลฯให้อ่านให้ศึกษาเรื่องราวครูมีหน้าที่ตั้งคำ�ถาม ป้อนคำ�ถาม ให้เด็กคิด สังเกต เพื่อเกิดความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ พร้อมกันนั้นให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลิน อยากเรียนรู้ ไม่เบื่อหน่าย สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ต้องให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับความเป็นมาของตนเอง ของสังคม และของ ประเทศชาติว่ามีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลงมาสู่ปัจจุบัน อย่างไร มีความสามารถในการตีความ และอธิบายนัยสำ�คัญของเหตุการณ์ ปัญหา และแบบแผนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เชิงประวัติศาสตร์ของประเทศ และสังคมอื่น จากอดีตมาทำ�ความเข้าใจปัจจุบัน และที่จะเปลี่ยนแปลงใน อนาคต) ๒. กลุ่มนักเรียน ศึกษาเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศไทย ที่มีการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ให้เขียนแผนที่และแผนผังประกอบ ควรได้ศึกษาในทุกภาคของ ประเทศไทย เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และมีมุมมองที่เข้าใจ รู้จัก ประเทศไทย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ให้กลุ่มนักเรียนได้ศึกษา และค้นคว้าจากห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุด ชุมชนแหล่งบริการนักท่องเที่ยวอื่นๆก่อนไปศึกษาครูและนักเรียนร่วมกัน วางแผนว่า ควรศึกษาเรื่องใดบ้าง จังหวัดใด ภาคใดของประเทศไทย เพื่อให้ ได้เนื้อหาครอบคลุมทั่วประเทศ และวางแผนหัวข้อที่ควรศึกษา เช่น – สถานที่ใด ควรแก่การท่องเที่ยว – อยู่ในจังหวัดใด ภาคใด – เขียนแผนที่ประกอบ – วัน เดือน ปี ที่ควรไปเที่ยว เพื่อให้ตรงฤดูกาล เช่น การไปดูดอกทานตะวันที่จังหวัดสระบุรี หรือ การ ไปดูพิธีทำ�บุญบั้งไฟทางภาคอีสาน จังหวัดใด จัดวันใด โดยติดตามจาก การประชาสัมพันธ์ – เส้นทางการเดินทาง รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน – กฎระเบียบ และวินัยของผู้ไปเที่ยวชมควรมีเพื่อความปลอดภัย เพื่อความ สนุกสนานเพื่อให้ได้ความรู้ ฯลฯ – การเดินทางควรศึกษาเรื่องใดไปล่วงหน้าควรศึกษาคู่มือการเดินทาง ท่องเที่ยว ควรรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ ๓. กลุ่มนักเรียนรายงานผลการศึกษาหน้าชั้นเรียนจัดป้ายนิเทศ หรือรายงาน ต่อคณะนักเรียนทั้งโรงเรียนมีการซักถามอภิปรายเหตุผลตั้งข้อสังเกตและ ให้ข้อคิดต่างๆ – สารานุกรมไทยฯ เล่มที่ ๒๙ – กลุ่มนักเรียน รวบรวมผลดี ผล เสีย จากการท่องเที่ยวในท้อง ถิ่น/ชุมชน (สัมภาษณ์คนใน ชุมชน) – สรุปข้อคิดเห็นจะแก้ปัญหาการ ท่องเที่ยวที่ทำ�ลายทรัพยากร วัฒนธรรมอันดีงามในท้องถิ่น ได้อย่างไร จงอธิบาย หาข้อเท็จ จริงประกอบ – หลักเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วย แก้ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมจาก การท่องเที่ยวได้อย่างไร Untitled-1 79 9/13/11 1:41 PM
  • 4. กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 80 – สารานุกรมไทยฯ เล่มที่ ๒๙ ความเดือดร้อนของชุมชน – นักท่องเที่ยวจำ�นวนมาก – การจราจรติดขัด – เสียงรบกวน – ค่าครองชีพสูง – ครูตั้งคำ�ถามทั้งด้านบวก และ ด้านลบ – ทำ�อย่างไรทุกคนจึงจะตระหนัก ถึงความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อม การศึกษาธรรมชาติใน ป่าเขาใหญ่ – ศึกษารายละเอียดเส้นทาง – เลือกเส้นทาง – สอบถามเจ้าหน้าที่ – ถ้าทางไกลมาก ควรมี เจ้าหน้าที่ไปด้วย – เดินตามเส้นทางเท่านั้น – อย่าเข้าใกล้สัตว์ป่า – ไม่ส่งเสียงดัง – ไม่ทำ�ลายธรรมชาติ เบญจศีล - เบญจธรรม ศีล ๕ ข้อ ควรเว้น เบญจธรรม ข้อปฏิบัติอันดีงาม ๕ ประการ ควรมีการบันทึกการรายงานลงสมุดรายงานเป็นสมุดเล่มเล็กหรือเล่มใหญ่ ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นหลักฐานเผยแพร่และเป็นข้อมูลให้นักเรียนรุ่น ต่อๆ ไปได้ค้นคว้าศึกษา ๔. กลุ่มนักเรียนเขียนผังความคิด (Mind Mapping) เรื่องและหัวข้อเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การท่องเที่ยวเพื่อ เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เมื่อแต่ละกลุ่มเขียนผังความคิดแล้วให้วิเคราะห์ดูว่าสิ่งที่อาจได้จากการ ศึกษาเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา และ วัฒนธรรมอย่างไรบ้าง ให้กลุ่มร่วมกันอภิปรายจนเกิดข้อคิดสรุปให้ได้หัวข้อเรื่องที่จะศึกษา ต่อไปในส่วนลึก รายงานหน้าชั้น และอภิปรายซักถาม ๕. แสดงบทบาทสมมติตามเรื่องที่วิเคราะห์อุปกรณ์ต่างๆ ในข้อ ๔ เพื่อให้ เข้าใจในประวัติศาสตร์สังคมศาสนาวัฒนธรรมของหัวข้อนั้นๆแสดงความ ชื่นชมต่อกลุ่มที่แสดงได้ดี (ในการแสดง ให้แต่กลุ่มเขียนบทสั้น เพื่อให้ผู้ดูเข้าใจ และเป็นบท ประกอบการแสดงด้วย) ๖. ฝึกสมาธิก่อนเรียนทุกชั่วโมง ครูพยายามสอดแทรกข้อปฏิบัติ เป็นกฎกติกาที่ทุกคน ทุกกลุ่ม ควรปฏิบัติ ตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และควรประเมินพฤติกรรมนักเรียนรายกลุ่ม รายคน ทุกชั่วโมง Untitled-1 80 9/13/11 1:41 PM
  • 5. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 81 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง – เมตตากรุณา – สัมมาอาชีวะ – ความสำ�รวมในกาม – สัจจะ – สติสัมปชัญญะ วิธีการเรียนรู้ – สอดแทรกการปฏิบัติทุก กิจกรรม/ชั่วโมงอภิปราย แก้ปัญหา (โดยใช้สติฯ) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควร เรียนรู้ ป่าอนุรักษ์ ซึ่งมี ๑. อุทยานแห่งชาติ ๘๒ แห่ง พื้นที่ ๒๖ ล้านไร่เศษ และ กำ�ลังดำ�เนินการอีก ๔๔ แห่ง ๒. วนอุทยาน ๕๕ แห่ง ๓. สวนพฤกษศาสตร์ ๔. สวนรุกขชาติ ๕. พื้นที่มรดกโลก มี ๔ แห่งใน ไทย – เขียนแผนที่จังหวัดพระนคร- ศรีอยุธยา – สถานที่สำ�คัญในจังหวัด – อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา เป็นมรดกโลก มีคุณสมบัติ ๓ ประการ ตามหลักเกณฑ์ คือ ๑. มีคุณค่า ความสำ�คัญทาง ชีวภาพ (ห้วยขาแข้ง) ๒. มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ที่เป็นเอกลักษณ์ (จังหวัด พระนครศรีอยุธยา, จังหวัด สุโขทัย) ๓. เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า พืชพรรณนานาชนิด สถานที่น่าสนใจในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวตามภาคต่างๆ ของ ประเทศไทยนักเรียนควรแสวงความรู้ประสบการณ์ด้านสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชุมชนสังคมที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงและ แตกต่างกัน มีการขัดเกลาทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม ในฐานะเป็น สมาชิกที่อยู่ร่วมกัน อันมีบรรทัดฐานทางสังคม มีระบบค่านิยม ความเชื่อ และประเพณีทางสังคม สถาบันต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งสามารถวิเคราะห์สภาพสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ระหว่าง สังคมไทยกับสังคมอื่นในโลก เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ๗. กลุ่มนักเรียนช่วยกันสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้โดยเทคนิค การจัดทำ�ผังความคิด ครูตั้งคำ�ถาม เช่น – เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่จะเรียนรู้ เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวไทย นักเรียนนึกถึง อะไรบ้าง – นักเรียนช่วยกันอภิปรายและบอกสิ่งที่นับถือ ในขั้นตอนนี้จะไม่มีการ ตรวจสอบคำ�ตอบของนักเรียนว่าถูกผิด เป็นการระดมสมอง และกระตุ้น ให้นักเรียนตอบให้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการหาเนื้อหาที่จะ เรียนรู้ต่อไป เช่น นักเรียนเลือกที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ “กรุงศรีอยุธยา” ครูกำ�หนดให้ “กรุงศรีอยุธยา” เป็นหัวเรื่อง (theme) แล้วเขียนสิ่งต่างๆ ที่นักเรียนคิดว่ามีสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา เป็นส่วนขยาย เช่น กลุ่มนักเรียนช่วยกันรวมจัดกลุ่มหัวข้อที่คล้ายคลึงเข้าด้วยกัน แล้วตั้งชื่อ กลุ่มหัวข้อนั้น เช่น Untitled-1 81 9/13/11 1:41 PM
  • 6. กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 82 – ศูนย์กลางการเรียนรู้จังหวัด พระนครศรีอยุธยา – ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา – ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา – พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา – พระราชวังหลวง – วังจันทรเกษม/วังหน้า – วังหลัง – วัดพระศรีสรรเพชญ์ – วิหารพระมงคลบพิตร – วัดพระราม – วัดมหาธาตุ – วัดราชบูรณะ – ฯลฯ (จากคู่มือท่องเที่ยวพระนคร- ศรีอยุธยา) – สารานุกรมไทยฯ เล่มที่ ๒๙ หน้า ๘๑ ไทยมีวัฒนธรรม ของชาติ และของท้องถิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง – รายงานกิจกรรม/โครงงานเกี่ยว กับการท่องเที่ยวที่ร.ร.จัดทำ�ให้ ร.ร.ต้นทาง เพื่อแลกเปลี่ยน - เรียนรู้และเผยแพร่ จากการเขียนผังความคิด(MindMapping)เรื่องกรุงศรีอยุธยาก็จะได้ประเด็น หลัก หรือหัวข้อที่จะเรียนรู้ ๘ เรื่อง คือ พระมหากษัตริย์ โบราณสถาน วัฒนธรรมประเพณี ประวัติ ที่ตั้ง แม่นํ้า อาชีพ สัตว์เลี้ยง ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๘ กลุ่ม ศึกษาตามหัวข้อเรื่อง อาจเขียนเป็น ผังความคิด แต่ละหัวข้อและสืบค้นข้อมูลศึกษา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์ข้อย่อย เช่น ให้แต่ละกลุ่มเขียนผังความคิดแต่ละหัวข้อ และศึกษาโดยละเอียด ผู้แทนกลุ่มรายงานหน้าชั้นอภิปรายแสดงความคิดเห็นสรุปลงสมุดรายงาน ร่วมกันร้องเพลง เกี่ยวกับอยุธยา ทำ�ท่าทางประกอบเพลง หมายเหตุ แต่ละเรื่องและหัวข้อที่ต้องการศึกษาให้ดำ�เนินการสอนคล้ายๆ กัน เพื่อศึกษารายละเอียดและสรุป ควรให้ดูภาพ อ่านหนังสือหลายๆ เล่ม และอภิปรายร่วมกับครูผู้สอนเชิญวิทยากรผู้รู้มาบรรยายเป็นครั้งคราวหรือ กำ�หนดให้ดูละคร “ฟ้าใหม่” หรือละครประวัติศาสตร์ แล้วมาอภิปราย ร่วม กัน เพื่อแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณจนปัจจุบัน ๘. บันทึกพฤติกรรมรายบุคคล / กลุ่ม วัดผลประเมินผล w w w w w w w w Untitled-1 82 9/13/11 1:41 PM
  • 7. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 83 แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย ระยะเวลาในการสอน....................ชั่วโมง ๑. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ป. ๔/๓ ใช้แผนที่อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด ป. ๕/๑ รู้ตำ�แหน่ง (พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด) ระยะ ทิศทางของภูมิภาคของตนเอง ป. ๕/๒ ระบุลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำ�คัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่ ป. ๕/๓ อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเอง ป. ๖/๑ ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (แผนที่ภาพถ่ายชนิดต่างๆ) ระบุลักษณะสำ�คัญทางกายภาพและสังคม ของประเทศ ป. ๖/๒ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ วัฒนธรรม มีจิตสำ�นึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวชี้วัด ป. ๕/๑ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของ ประชากรในภูมิภาค ป. ๕/๒ อธิบายอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใน ภูมิภาค ป. ๕/๓ นำ�เสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำ�ลายสภาพแวดล้อม และเสนอแนวคิด ในการรักษาสภาพแวดล้อมในภูมิภาค ป. ๖/๑ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ ป. ๖/๒ อธิบายการแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงนั้น ๒. สาระสำ�คัญ ลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยว ป.๔-๖ Untitled-1 83 9/13/11 1:41 PM
  • 8. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 84 ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. บอกวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวไทย และวางแผนการท่องเที่ยวใกล้ๆ ได้ ๒. รวบรวมข่าว ข้อมูล เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการเดินทางท่องเที่ยวไทยได้ ๓. ร่วมกับกลุ่มสาระภาษาไทยและกลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ท่องเที่ยวชุมชนและมีการแสดงการละเล่นแบบไทยได้ ๔. ฝึกมรรยาทแบบไทยและสาธิตได้ ๕. ร่วมศาสนาพิธี พิธีกรรม วันสำ�คัญทางศาสนา ๔. กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ฝึกสมาธิก่อนเรียนออกอากาศ ๑. สนทนาอภิปรายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวทั่วไทยตามนโยบาย ของรัฐบาลปัจจุบัน สรุปเขียนเป็นผังความคิด ๒. ศึกษา ค้นคว้า สืบหาข้อมูล เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการเดินทางท่องเที่ยว ไทยจากคู่มือไทยเที่ยวไทยหรือห้องสมุดโรงเรียน และชุมชน เขียนรายงาน ส่งครู รายงานหน้าชั้น อภิปราย และช่วยกันสรุป ๓. เขียนคำ�ขวัญ ข้อความประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวในชุมชนหัวหินและ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดป้ายนิเทศ คำ�ขวัญต่างๆ จัดประกวดคำ�ขวัญร่วม กับภาษาไทย ๔. ทำ�โครงงานเกี่ยวกับการละเล่นแบบไทย กีฬาพื้นเมืองไทยที่อาจส่งเสริมการ ท่องเที่ยว โดยแบ่งกันจัดทำ�กลุ่มละโครงงาน โครงงานละเรื่อง กลุ่มรายงาน หน้าชั้น ร่วมกันอภิปราย และสรุป – ปฏิบัติกิจกรรมเหมือนโรงเรียน ต้นทาง วิธีการเรียนรู้ – ประชุมกลุ่ม – ระดมสมอง – เขียนผังความคิด – ตอบคำ�ถาม – จัดทำ�สมุดภาพ – ปฏิบัติจริง – ศึกษาค้นคว้า – ทำ�โครงงาน – เขียนแผนที่ – แสดงบทบาทสมมติ – สาธิตมรรยาท – เขียนแผนที่ ศึกษาเกี่ยวกับ :- – การเล่นพื้นเมืองไทย – เกมพื้นเมืองไทย – กีฬาพื้นเมืองไทย – ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่น จัดทำ�ปฏิทิน : กิจกรรม ประเพณี มีความสำ�คัญ อย่างไร Untitled-1 84 9/13/11 1:41 PM
  • 9. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 85 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ๕. เขียนแผนที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง กลุ่มละ ๑ จังหวัด บอกสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางคมนาคม จัดป้าย นิเทศ และอธิบายให้นักเรียนในโรงเรียนและผู้สนใจทราบ ๖. กลุ่มนักเรียนแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับการละเล่นแบบไทยให้มีผู้บรรยาย และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนนักเรียน ๗. กลุ่มนักเรียนสาธิตมรรยาทไทยโดยไปฝึกจากผู้รู้(อาจเป็นผู้ปกครองหรือครู) และสาธิตในห้องเรียนหน้าแถวและเมื่อมีแขกมาเยี่ยมโรงเรียนให้กรรมการ สถานศึกษาและผู้ปกครองชมรับฟังคำ�ติชมปรับปรุงแก้ไขร่วมทำ�โครงการ “พี่สอนน้อง” ให้รุ่นพี่สอนให้น้องๆ ฝึกปฏิบัติหลังกล้อง และมีกิจกรรม สาธิตออกอากาศเป็นครั้งคราว ตามปฏิทินปฏิบัติงาน ๘. บันทึกพฤติกรรม วัดผล และประเมินผล – อาหารในท้องถิ่น วิธีปรุงอาหาร วิธีรับประทาน ประโยชน์ ผังความคิด ให้กลุ่มนักเรียนศึกษาและทำ�โครงงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ w w w w w w w w Untitled-1 85 9/13/11 1:41 PM
  • 10. คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 86 แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ เที่ยวทั่วไทย เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ระยะเวลาในการสอน....................ชั่วโมง ๑. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ป. ๔/๓ ใช้แผนที่อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด ป. ๕/๑ รู้ตำ�แหน่ง (พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองจิจูด) ระยะ ทิศทางของภูมิภาคของตนเอง ป. ๕/๒ ระบุลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำ�คัญในภูมิภาคของตนเองในแผนที่ ป. ๕/๓ อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางสังคมในภูมิภาคของตนเอง ป. ๖/๑ ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์(แผนที่ภาพถ่ายชนิดต่างๆ)ระบุลักษณะสำ�คัญทางกายภาพและสังคมของ ประเทศ ป. ๖/๒ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ วัฒนธรรม มีจิตสำ�นึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวชี้วัด ป. ๕/๑ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของ ประชากรในภูมิภาค ป. ๕/๒ อธิบายอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใน ภูมิภาค ป. ๕/๓ นำ�เสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษาและการทำ�ลายสภาพแวดล้อม และเสนอแนวคิด ในการรักษาสภาพแวดล้อมในภูมิภาค ป. ๖/๑ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ ป. ๖/๒ อธิบายการแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงนั้น ป.๔-๖ Untitled-1 86 9/13/11 1:41 PM
  • 11. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 87 ๒. สาระสำ�คัญ ลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยว ๓. จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้ ๒. ศึกษาและสำ�รวจแหล่งท่องเที่ยวที่สำ�คัญในชุมชนและในประเทศไทยได้ ๓. รู้จักวิเคราะห์และจำ�แนกระบบนิเวศน์ ๔. อธิบายแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในประเทศไทยได้ ๕. เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้ ๖. ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี และปฏิบัติตนตามคำ�สั่งสอนของพระพุทธองค์ ๔. กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ๑. ร้องเพลง “รักกันไว้เถิด” หรือเพลงที่นักเรียนชอบ และสนใจ เหมาะสมกับ บรรยากาศสนทนาและศึกษาจากภาพข่าวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยวิธีการ ประชุมกลุ่ม ระดมสมอง เขียนผังความคิด ตั้งคำ�ถาม ตอบคำ�ถาม เช่น – นักท่องเที่ยวในชุมชนของเรา มีมากขึ้น หรือน้อยลง – เพราะเหตุใด – นักเรียนคิดว่าการที่นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นดีต่อชุมชนของเราหรือไม่ – ถ้าดี ในด้านใดบ้าง ช่วยกันอธิบาย – มีผลในด้านลบหรือไม่ เช่นด้านใดบ้าง ช่วยกันอภิปราย – ผลในด้านลบนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุใด – ถ้าเราซึ่งเป็นเจ้าของบ้านจะหาทางระมัดระวังและป้องกันโดยวิธีใดได้บ้าง – ผลเสียจะลดลงหรือไม่ เพราะเหตุใด (การตั้งคำ�ถามควรมีข่าวภาพเหตุการณ์ประกอบเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด ตาม โดยครูไม่ต้องบอก ควรเป็นภาพใกล้ตัว หรือเป็นจุดสนใจจากสื่อ) ๒. กลุ่มนักเรียนช่วยกันเขียนผังความคิด เช่น – ภาพการท่องเที่ยว – เหตุการณ์จากหนังสือพิมพ์ – สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ – เรื่องเล่าจากนักเรียน จงรวบรวมรายชื่อต่อไปนี้ ๑. อุทยานแห่งชาติ (National Park) ๒. วนอุทยาน (Nature Park หรือ Forest Park) ๓. สวนพฤกษศาสตร์ (Botanical garden) ๔. สวนรุกขชาติ (Arboretum) ๕. พื้นที่มรดกโลก (World Heritage) – จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์/ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใน ชุมชน/จังหวัดและรายงานเพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มนักเรียนศึกษาส่วนรวมแหล่ง ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น Untitled-1 87 9/13/11 1:41 PM
  • 12. กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 88 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย ข้อมูลที่ได้อาจน้อย/มากกว่าตัวอย่าง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และการคิดวิเคราะห์ ในขณะที่คิด ครูให้หลักคิดอย่าง “โยนิโสมนสิการ” ไปด้วย ไม่ใช่คิด สะเปะสะปะ ถาม : – ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวเกิดจากอะไร บ้าง – เราจะช่วยกันป้องกันได้หรือไม่ หรือเป็นหน้าที่ของเทศบาล (อบต., อบจ. ฯลฯ) เท่านั้น – เราจะช่วยกันป้องกันได้อย่างไร – ใครบ้างที่ควรร่วมมือกันในเรื่องนี้ – นักเรียนเคยอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ ที่ท้องถิ่น, ชาวบ้าน เขา ร่วมมือกันรักษาและป้องกันสิ่งแวดล้อม/แหล่งท่องเที่ยวตาม ธรรมชาติหรือไม่ – ในจังหวัดของเรามีหรือไม่ ที่ใด ๓. กลุ่มนักเรียนช่วยกันทำ�โครงงาน “สำ�รวจปัญหาของสิ่งแวดล้อมและแหล่ง ท่องเที่ยวในชุมชนของเรา” (อาจใช้หัวข้ออื่นที่อยู่ในความสนใจก็ได้) โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำ�รวจ และ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำ�ข้อมูลที่ได้มาจำ�แนกเป็น หมวดหมู่ และนำ�เสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างมีระบบ เช่น ตาราง แผนภูมิ กราฟ และอธิบายประกอบเพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ของเรื่อง ที่ศึกษาได้ชัดเจนขึ้น การปฏิบัติโครงงานประเภทนี้ ผู้เรียนจะต้องไปศึกษารวบรวมข้อมูล ๑. สถานีวิจัยโครงการหลวง อินทนนท์ (เชียงใหม่) – แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร • ไม้ดอก, แปลงผัก • สวนไม้ผลเมืองหนาว – แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ • อากาศ • นํ้าตกสิริภูมิ • เดินป่าศึกษาธรรมชาติ – แหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม • ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ปลูกพืชไร่ • การเลี้ยงผีของชนเผ่าม้ง – ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ฯลฯ – ศึกษาและรวบรวมข้อมูล “ศักยภาพของประเทศไทย ใน ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์” เช่น • มีระบบนิเวศน์หลากหลาย ตามภูมิภาคต่างๆ • มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ชุมชนที่แตกต่างกัน Untitled-1 88 9/13/11 1:41 PM
  • 13. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 89 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ด้วยวิธีการต่างๆเช่นสอบถามสัมภาษณ์สำ�รวจโดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวม ข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก) ๔. กลุ่มนักเรียนช่วยกันเขียนผังความคิดเช่น ถาม: การท่องเที่ยวแบบใด ที่นักเรียนต้องการ คำ�ว่า นิเวศน์ หมายถึง บ้านหรือที่อยู่อาศัย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้นิยามว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์คือ การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ การศึกษา ชื่นชมและเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพธรรมชาติ สภาพสังคม วัฒนธรรม และชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานความรู้ และความรับผิด ชอบต่อระบบนิเวศน์ ถาม: – จากการสำ�รวจปัญหาของสิ่งแวดล้อม และแหล่งท่องเที่ยว นักเรียนพบปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดและอื่นๆอย่างไรบ้างลองลำ�ดับ ความสำ�คัญ/ความร้ายแรงของปัญหา – เราเริ่มแก้ปัญหาอย่างไรดี – เป็นหน้าที่ของใครบ้างที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา รัฐบาล? ท้องถิ่น? เทศบาล? โรงเรียน? – มีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง – นักเรียนจะช่วยได้อย่างไร – เหตุใดนักเรียนต้องช่วยกันคิด และมีส่วนร่วม – เราจะเริ่มทำ�อะไร อย่างไร จัดลำ�ดับงาน ก่อน - หลัง – เราควรสร้างเครือข่ายร่วมทำ�งานดีหรือไม่ – ใครจะเป็นเครือข่ายของเราได้บ้าง (เพื่อนนักเรียนในชั้น/ห้องอื่น/ โรงเรียนอื่น/ผู้ปกครอง/ชุมชน) – เราควรเริ่มเมื่อใด และควรมีระยะเวลาทำ�งานนานเท่าใด – ควรมีการประเมินผลหรือไม่ อย่างไร หลักการแนวคิด “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (ควรใช้วิธีอภิปราย แสดง ความคิดเห็นให้ได้ผังความคิด) – ถามให้นักเรียนตอบ ให้หลาก หลาย ก่อนสรุป – มีความเป็นมิตรไมตรีของคนใน ท้องถิ่น ดูความหมายโดยละเอียด จากสารานุกรมไทย เล่มที่ ๒๙ – กลุ่มนักเรียนรวบรวมแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในไทย เช่น • ถํ้า • นํ้าตก • หนอง บึง ทะเลสาบ และอ่างเก็บนํ้า • ป่าไม้ :– วนอุทยาน ฯลฯ • แม่นํ้าลำ�คลอง • ภูเขา • ชายฝั่งทะเลและเกาะ • นํ้าพุร้อน, โกรกธาร โขดหิน สันเขา ซากดึกดำ�บรรพ์ – จัดทำ�โครงงานตามคู่มือและส่ง โรงเรียนต้นทางเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ Untitled-1 89 9/13/11 1:41 PM
  • 14. กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 90 อภิปรายสรุปว่า ควรมีนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างไร – เราควรมีนโยบายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์หรือไม่ – ควรมีอย่างไรบ้าง – ใครควรมีส่วนในเรื่องนี้บ้าง เป็นหน้าที่ของใครบ้าง – ถ้าเราทำ�ทุกอย่างแล้ว ยังไม่ดีขึ้น ในระบอบสังคมประชาธิปไตย ควรทำ� อย่างไร (ควรเสนอ ออกแบบ...) ร่วมกันเขียนผังความคิด – จัดทำ�โครงงานเกี่ยวกับท่อง เที่ยวเชิงนิเวศน์และท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ฯในชุมชนของท่าน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ – ศึกษา วิเคราะห์การพัฒนา รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ เช่น Untitled-1 90 9/13/11 1:41 PM
  • 15. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 91 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ผังความคิด (ก่อนเขียนควรรวบรวมข่าวจากหนังสือพิมพ์และข่าว ท่องเที่ยว) ซึ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การศึกษา และสังคม) ๕. กลุ่มนักเรียนช่วยกันวาดแผนที่ประเทศไทย ศึกษาลักษณะภูมิประเทศที่มี ความสำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิตของคนในท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลงสภาพ ของท้องถิ่น ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบที่ราบสูงเป็นภูเขาเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน และ ทำ�มาหากินอย่างไร ประชากรมากน้อย เศรษฐกิจเป็นอย่างไร การคมนาคม สะดวกหรือไม่ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างไร – ฝึกให้นักเรียนใช้แผนที่ เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยว – แผนที่ที่ควรฝึกวาดและลงรายละเอียดที่สำ�คัญๆ ควรเป็นแผนที่ประเทศ ไทย แผนที่ภูมิภาค แผนที่จังหวัด แผนที่ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ • การเดินเส้นทางธรรมชาติ (Nature trail) • การส่องสัตว์ • การดูนก ผีเสื้อ ค้างคาว • การไต่หน้าผา • การล่องแก่ง • การพายเรือแคนู ฯลฯ • การดำ�นํ้า • การนั่งเรือ-แพชมธรรมชาติ • การนั่งช้าง • การชมสวนเกษตร – วิเคราะห์โครงงานของชุมชน (อบต., อบจ., จังหวัด) เกี่ยวกับ การท่องเที่ยวว่าเป็นการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศน์/เชิงอนุรักษ์ หรือไม่ มีข้อเสนอแนะอย่างไร จะให้เป็นการพัฒนาการท่อง เที่ยวที่ยั่งยืน • การขี่จักรยาน • การกางเต็นท์พักแรม • การพักแรมตามบ้าน – วาดแผนที่ชุมชน จังหวัด ประเทศไทยให้มีเครื่องหมาย บอกภูมิประเทศได้ – กลุ่มนักเรียนศึกษาสถานที่ที่ ต้องระวังภัยจากคลื่นยักษ์,แผ่น ดินไหว, นํ้าป่าไหลหลาก, แผ่น ดินถล่มและยุบตัว ฯลฯ เช่น ตามแหล่งนํ้าตกต่างๆประมาณ ๒๐๐ แห่ง – เขียนบทความประชาสัมพันธ์ Untitled-1 91 9/13/11 1:41 PM
  • 16. กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำ�หรับโรงเรียนปลายทาง 92 ๖. ให้กลุ่มเขียนรายงานประกอบเป็นการสรุปรายงานผลการดำ�เนินงานเพื่อให้ ผู้อื่นได้ทราบถึงแนวคิดวิธีดำ�เนินผลที่ได้รับตลอดจนข้อสรุปข้อเสนอแนะ ต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงงาน การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน สั้น และตรงไป ตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ๑) ส่วนนำ� เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้น ประกอบด้วย ชื่อ โครงงาน ชื่อผู้ทำ�โครงงาน ที่ปรึกษา ๒) บทนำ� ประกอบด้วย – ที่มาและความสำ�คัญของโครงงาน (อธิบายความสำ�คัญของโครงงาน เหตุผลที่เลือกทำ�โครงงานนี้ หลักการ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ โครงงาน) – วัตถุประสงค์ของการศึกษา ค้นคว้า – สมมติฐานของการศึกษา ค้นคว้า (ถ้ามี) ๓) วิธีการดำ�เนินงาน – อธิบายขั้นตอนการดำ�เนินงาน – ระบุวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ ๔) ผลการศึกษา ค้นคว้า สำ�รวจ นำ�เสนอข้อมูลหรือผลการศึกษาต่างๆที่สังเกตศึกษารวบรวมได้รวมทั้ง เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ๕) สรุปและข้อเสนอแนะ อธิบายสรุปผลที่ได้จากการทำ�งานการนำ�ผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์อุปสรรค ของการทำ�โครงงาน และข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข ๖) เอกสารอ้างอิง รายชื่อหนังสือ เอกสารต่างๆ เว็บไซต์ที่ใช้อ้างอิงในการทำ�โครงงาน ๗. เมื่อกลุ่มนักเรียนได้ศึกษาจากแผนที่ประเทศไทย จนทราบภูมิประเทศที่แตก ต่างกัน ครูตั้งคำ�ถาม ให้นักเรียนคิด (แบบหมวก ๖ ใบ) – ประเทศไทยสามารถจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด อย่างไร – ประเทศไทยมีระบบนิเวศน์ที่หลากหลายหรือไม่ อย่างไร (ดูตัวอย่างใน ชุมชนของเรา) – ประเทศไทยตั้งอยู่เขตใดของโลก/เส้นศูนย์สูตร (เขตป่าร้อนชื้น ใกล้ เส้นศูนย์สูตร ให้ดูจากแผนที่โลก) – เขตป่าร้อนชื้นเป็นอย่างไร พืชพันธุ์ไม้เป็นอย่างไร มากน้อย หลากหลาย และเสนอแนะการท่องเที่ยวใน ชุมชน – กลุ่มนักเรียนศึกษาพันธุ์ไม้ใน ชุมชนหรือสัตว์ในระบบนิเวศน์ ป่าชายเลน – ป่าชายเลนมีความสำ�คัญอย่างไร – พืชในป่าชายเลนมีประมาณกี่ ชนิด – ป่าชายเลนมีหน้าที่หลักอย่างไร บ้าง – สัตว์อะไรบ้างที่พบมากในป่า ชายเลน – สัตว์ในป่าชายเลนจัดสรรหน้าที่ และบทบาทอย่างไร – สัตว์ทะเลหน้าดิน คืออะไร (ค้นหาคำ�ตอบได้ในสารานุกรม ไทย ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม ๕) – ทำ�รายงานประกอบภาพเก็บไว้ ในห้องเรียน/ห้องสมุด – กลุ่มนักเรียนศึกษารูปแบบและ ความเป็นไปได้ว่า ในชุมชน ของเรามีการพักแรมตามบ้าน (Homestay) หรือไม่ มีความ เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะจัดให้มี ถ้ามีควรประชาสัมพันธ์มายัง โรงเรียนต้นทางเพื่อให้ทราบทั่ว กัน – คลื่นสึนามิ หรือสิ่งใดแน่ที่ ทำ�ลายป่าชายเลน กรุณาศึกษา หาคำ�ตอบ – จงบอกประโยชน์ของสวน พฤกษศาสตร์ • ในชุมชนของเราสามารถ Untitled-1 92 9/13/11 1:41 PM
  • 17. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 93 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง – เรามีระบบนิเวศน์ทางใดบ้าง (ทางบก ทะเล พื้นที่ชุ่มนํ้า เช่น ป่าชายเลน พรุ ฯลฯ) – ระบบนิเวศน์ทางทะเลและบริเวณชายฝั่งของเราอยู่ภาคใดบ้างเป็นอย่างไร – ระบบนิเวศน์ทางบกของเรา มีภาคใดบ้าง เป็นอย่างไร – วัฒนธรรมไทย น่าสนใจหรือไม่ อย่างไร – ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เป็นอย่างไร – นักเรียนชอบไปเที่ยวภาคใด ที่ใด เพราะเหตุใด – นักเรียนคิดว่าประเทศเราควรมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ หรือไม่ เพราะเหตุใด – นักเรียนลองเสนอแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน/ท้องถิ่นที่มีระบบนิเวศน์ สมบูรณ์ เพราะเหตุใด – นักเรียนคิดว่า เราจะอนุรักษ์ไว้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด – นักเรียนคิดว่า เราควรอนุรักษ์ไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด ควรทำ�อย่างไรบ้าง – ฯลฯ กลุ่มนักเรียนช่วยกันเขียนแผนผังความคิด สร้างสวนพฤกษศาสตร์ได้ หรือไม่ • ในโรงเรียนของเรามีการปลูก ต้นไม้หรือไม่ อย่างไร – กิจกรรมวาดภาพประกอบ รายงานหรืออาจถ่ายภาพ ประกอบ – ความหมายของอุทยาน ประวัติศาสตร์ ๑) อาคารสถาปัตยกรรม ซาก โบราณสถาน ฯลฯ ๒) สภาพแวดล้อม เช่น สระนํ้า คู คลอง ฯลฯ ๓) การผสมผสานกันระหว่าง การก่อสร้างของมนุษย์กับ ธรรมชาติ Untitled-1 93 9/13/11 1:41 PM
  • 19. ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เล่ม ๔ 95 กิจกรรมโรงเรียนต้นทาง กิจกรรมโรงเรียนปลายทาง ๘. การวัดผล ประเมินผล – ประเมินจากการปฏิบัติจริง (การสังเกตและแสดงความคิดเห็น) – ความรู้ความคิด และจิตสำ�นึกเชิงอนุรักษ์ – คุณภาพจริยภาพและความคิดเชิงสร้างสรรค์ – รู้จักและรักถิ่นเกิดและประเทศ w w w w w w w w Untitled-1 95 9/13/11 1:41 PM