SlideShare a Scribd company logo
1 of 5
Download to read offline
แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท.
เฉลยคําถามท้ายบท
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง คลื่น
1. ขวัญและเรียมกําลังเล่นบอลอยู่ในสวนสาธารณะ ต่อมาลูกบอลตกลงไปกลางสระน้ํา ซึ่งไม่สามารถ
เอื้อมถึงได้
ขวัญคิดว่า ถ้าใช้เท้าตีผิวน้ําสม่ําเสมอเพื่อทําให้น้ําเกิดคลื่น คลื่นจะผลักลูกบอลให้น้ําเข้าฝั่ง
ตรงข้างส่วนเรียมบอกว่า ถ้าขว้างไม้ไปถูกลูกบอลที่จุด A ลูกบอลจะเคลื่อนที่เข้าหาฝั่งด้านตรงข้าม
ความคิดของใครถูก เพราะเหตุใด
แนวคําตอบ ขวัญใช้เท้าตีผิวน้ําทําให้เกิดคลื่นผิวน้ํา ซึ่งเป็นคลื่นตามขวาง โดยอนุภาค
ตัวกลาง (คือน้ํา) เคลื่อนที่ขึ้นลงในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น การตีน้ําจึงทําให้ลูกบอล
ขยับขึ้นลง แต่ไม่ทําให้ลูกบอลเคลื่อนเข้ามาฝั่งตรงข้ามได้ ส่วนเรียมใช้ไม้พุ่งไปที่จุด A ของลูกบอล
ซึ่งทําให้เกิดแรงกระทําต่อลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปยังฝั่งตรงข้ามได้ ดังนั้น ความคิดของเรียมถูกต้อง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. จากภาพ แสดงคลื่นขบวนหนึ่ง
ก. จงทําเครื่องหมายเพื่อแสดงความยาวคลื่นและแอมพลิจูดของคลื่น
ข. ถ้าคลื่นนี้ใช้เวลาในการเคลื่อนที่ 0.15 วินาที จงหาคาบ
ค. จงหาความถี่ของคลื่นนี้
แนวคําตอบ
ก. ความยาวระหว่างสันคลื่นถึงสันคลื่นหรือท้องคลื่นถึงท้องคลื่น เรียกว่า ความยาวคลื่น
จากภาพ ตัวอย่างความยาวคลื่น ได้แก่ AB และ CD ความยาวจากแนวสมดุลถึงสันคลื่นหรือ
ท้องคลื่น เรียกว่า แอมพลิจูด
จากภาพ ตัวอย่างแอมพลิจูด ได้แก่ ab และ cd
ข. เนื่องจาก คาบ หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นหนึ่งลูกเคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่ง
จากภาพ มีจํานวนคลื่นทั้งหมด 3.5 ลูก ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่งในเวลา 0.15 วินาที
ดังนั้น คลื่น 1 ลูก เคลื่อนที่ผ่านจุดนั้น จะใช้เวลา
5.3
15.0 วินาที นั่นคือ คาบของคลื่น (T )
เท่ากับ 0.05 วินาที
ค. เนื่องจาก ความถี่ หมายถึง จํานวนคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่ง ในหนึ่งหน่วยเวลา
แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท.
จากภาพ ในเวลา 0.15 วินาที มีจํานวนคลื่นผ่านจุดหนึ่ง 3 ลูก ดังนั้น ในเวลา 1 วินาที จะมี
จํานวนคลื่นผ่านจุดนั้น 20 ลูก นั่นคือความถี่ของคลื่น ( f ) เท่ากับ 20 เฮิรตซ์ หรือ อาจหาจาก
ความสัมพันธ์ f =
T
1 =
s
7
0.3
1 = 20 s-1
หรือ 20 Hz
ความถี่ของคลื่น ( f ) เท่ากับ 20 เฮิรตซ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. ภาพ ก และ ข แสดงภาพคลื่นกําลังเคลื่อนที่บนผิวน้ํา
ก. คลื่นในภาพ ก เป็นคลื่นตามขวางหรือคลื่นตามยาว
ข. ถ้าคลื่นในภาพ ก 2 ลูก เคลื่อนที่ผ่านธงทุก 1 วินาที ความถี่ของคลื่นมีค่าเท่าใด
ค. จงใช้สมการ v = fλ หาอัตราเร็วของคลื่นในภาพ ก
ง. ถ้าคลื่นในภาพ ข มีอัตราเร็วเท่ากับคลื่นในภาพ ก ความถี่ของคลื่นในภาพ ข จะมีค่า
เท่าใด
แนวคําตอบ
ก. คลื่นในภาพ ก เป็นคลื่นตามขวาง
ข. ถ้าคลื่นในภาพ ก 2 ลูก เคลื่อนที่ผ่านธงทุก ๆ 1 วินาที ความถี่ของคลื่นเท่ากับ 2 เฮิรตซ์
ค. หาอัตราเร็วของคลื่นในภาพ ก จากสมการ v = fλ
จากภาพ ความยาวคลื่น λ = 2 m
จากข้อ ข ความถี่ของคลื่น f = 2 Hz
แทนค่าจะได้ อัตราเร็วของคลื่น v = 2 Hz × 2 m = 4 m/s
ดังนั้น อัตราเร็วคลื่นในภาพ ก เท่ากับ 4 เมตรต่อวินาที
ง. หาความถี่ของคลื่นในภาพ ข จากสมการ v = fλ
ในที่นี้ อัตราเร็วของคลื่น v = 4 m/s
ความยาวคลื่น λ = 4 m
แทนค่าจะได้ 4 m/s = f × 4 m
f = 1 Hz
ดังนั้น ความถี่ของคลื่นในภาพ ข เท่ากับ 1 เฮิรตซ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4. เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งเข้าไปอีกตัวกลางหนึ่ง ปริมาณใดต่อไปนี้ คงเดิมและปริมาณใด
เปลี่ยนไป ความยาวคลื่น ความถี่ และอัตราเร็วของคลื่น
แนวคําตอบ จากการสังเกตคลื่นผิวน้ําในถาดคลื่นขณะเกิดการหักเห จะพบว่า แหล่งกําเนิด
คลื่นยังคงสั่นด้วยความถี่เดิม แสดงว่าความถี่ ( f ) ของคลื่นผิวน้ําคงเดิม เมื่อคลื่นผิวน้ําเคลื่อนที่เข้า
ไปในตัวกลางใหม่ พบว่าความยาวคลื่น(λ ) เปลี่ยนไป (อาจเพิ่มหรือลด) โดยอาศัยความสัมพันธ์
แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท.
v = fλ ดังนั้นอัตราเร็วของคลื่นเปลี่ยนด้วย จึงสรุปได้ว่าความถี่มีค่าคงเดิม ส่วนความยาวคลื่นและ
อัตราเร็วของคลื่นเปลี่ยน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5. จากภาพ แสดงคลื่นกําลังเคลื่อนที่เข้าหาแนวกําแพงหินของท่าเรือแห่งหนึ่ง จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ
ก. คลื่นเคลื่อนที่เข้าหาเนินทรายท้องน้ําที่บริเวณ A
ข. คลื่นเคลื่อนที่ผ่านขอบแนวกําแพงหินที่ตําแหน่ง B
แนวคําตอบ
ก. เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้าหาเนินทรายบริเวณ A คลื่นจะเกิดการหักเห
ข. เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านขอบกําแพงหินที่ตําแหน่ง B คลื่นจะเกิดการเลี้ยวเบน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
6. จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นได้จริง
ก. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านแก๊สได้
ข. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของเหลวได้
ค. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของแข็งได้
แนวคําตอบ
ก. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านแก๊สได้
- ตัวอย่างที่พบเห็น และสัมผัสในชีวิตประจําวันคือ เสียงที่เราได้ยินจากการพูดคุยกัน
อากาศ (มีสถานะเป็นแก๊ส) จะเป็นตัวกลางที่ทําให้เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้
ข. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของเหลวได้
- ตัวอย่างที่พบได้ คือ ถ้าเราไปดําน้ําเล่นกับเพื่อน ขณะที่เราดําน้ําอยู่ เราจะสามารถได้ยิน
เสียงของเพื่อนเราได้
ค. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของแข็งได้
- สิ่งที่สามารถทดลองได้ง่าย คือ ใช้หูแนบกับราวบันไดที่ปลายหนึ่ง แล้วให้เพื่อนเคาะ
บันไดอีกปลายหนึ่ง เราก็สามารถได้ยินเสียงที่ผ่านราวบันไดได้ชัดเจน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
7. คนทั่วไปจะได้ยินเสียงที่มีความถี่ 10 เฮิรตซ์ และระดับความเข้มของเสียง 80 เดซิเบล ได้หรือไม่
เพราะเหตุใด
แนวคําตอบ คนทั่วไปจะไม่ได้ยินเสียงดังกล่าว เพราะเสียงมีความถี่ 10 เฮิรตซ์ ซึ่งต่ํากว่า
ความถี่ต่ําสุดของการได้ยินของมนุษย์ซึ่งมีค่า 20 เฮิรตซ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท.
8. คนปกติจะได้ยินเสียงที่มีความถี่ 20 เฮิรตซ์ เสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคําตอบ คนปกติจะได้ยินเสียงที่มีความถี่ 20 - 20 000 เฮิรตซ์ แต่การได้ยินยังต้องอาศัย
องค์ประกอบอื่น คือเสียงนั้นต้องมีความดัง (ในทางวิทยาศาสตร์บอกด้วยปริมาณที่เรียกว่าระดับความ
เข้มเสียง) พอเหมาะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9. บริเวณใกล้สนามบินมักมีเสียงดังมากซึ่งเป็นมลภาวะทางเสียง ถ้าผู้เรียนมีบ้านอยู่ใกล้สนามบิน จะ
มีวิธีลดปัญหานี้อย่างไร
แนวคําตอบ ถ้าผู้เรียนมีบ้านอยู่ใกล้แหล่งกําเนิดเสียงที่ให้เสียงที่เป็นมลภาวะทางเสียง อาจ
ลดมลภาวะทางเสียง ได้ 3 วิธี
1. ที่แหล่งกําเนิดเสียง
2. แนวทางที่เสียงเคลื่อนที่ผ่าน
3. ที่ผู้ฟัง
ในสถานการณ์นี้ แหล่งกําเนิดเสียงคือเครื่องบินซึ่งมีการเคลื่อนที่ จึงไม่สามารถลดมลภาวะที่
แหล่งกําเนิดเสียงได้ แต่สําหรับผู้ฟัง อาจใส่ที่อุดหู ซึ่งไม่สะดวก เพราะมลภาวะทางเสียงเกิดขึ้นเป็น
ครั้งคราวไม่ต่อเนื่อง วิธีที่เป็นไปได้ คือ การลดมลภาวะตามแนวทางที่เสียงเคลื่อนที่ผ่าน เช่น การ
ปลูกต้นไม้เป็นแนวที่เสียงจะผ่านเข้าบ้าน หรือการดัดแปลงผนังบ้านโดยใช้วัสดุที่มีสมบัติดูดซับเสียง
หรือสะท้อนเสียงได้ดี
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
10. เหตุใดเราจึงไม่สามารถเลียนเสียงนักร้องที่เราชอบได้
แนวคําตอบ เสียงจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เช่น เสียงจากยานพาหนะต่างๆ เสียงจากเครื่อง
ดนตรีต่างชนิดกัน เสียงของแต่ละคน เป็นต้น เสียงเหล่านี้จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันหรือมี
คุณภาพเสียงต่างกัน การที่เสียงจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ มีคุณภาพเสียงต่างกันช่วยให้เราจําแนกหรือ
ระบุเสียงว่ามาจากแหล่งใดได้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
11. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแตกต่างจากคลื่นกลอย่างไร
แนวคําตอบ
- คลื่นกลต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ต้องการตัวกลางในการเคลื่อนที่
- คลื่นกล มีทั้งคลื่นตามยาวและคลื่นตามขวาง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท.
12. จงเรียงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อไปนี้ จากคลื่นที่มีความยาวคลื่นน้อยไปมาก รังสีอินฟราเรด
คลื่นวิทยุ รังสีอัตราไวโอเลต รังสีแกมมา แสงที่มองเห็นได้ รังสีเอกซ์ และไมโครเวฟ
แนวคําตอบ รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต แสงที่มองเห็นได้ รังสีอินฟราเรด
ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุ ตามลําดับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
13. สถานีวิทยุเอเอ็มแห่งหนึ่งส่งกระจายเสียงคลื่นวิทยุที่มีความถี่ 1000 กิโลเฮิรตซ์ จงหาความถี่ใน
หน่วยเฮิรตซ์และความยาวคลื่น
แนวคําตอบ คลื่นวิทยุความถี่ 1000 kHz = 1000 × 1000 Hz = 1 000000 Hz = 106
Hz
หาความยาวคลื่นได้จากสมการ v = fλ
ในที่นี้ v = อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า = 3 × 108
m/s
f = ความถี่ของคลื่น = 106
Hz
แทนค่า 3 × 108
m/s = 106
Hz × λ
λ = 300 m
ดังนั้น ความยาวคลื่นของคลื่นวิทยุเท่ากับ 300 เมตร
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

More Related Content

What's hot (6)

20012554 1005492525
20012554 100549252520012554 1005492525
20012554 1005492525
 
สื่อการเรียนการสอนเรื่อง คลื่น เสียง แสง
สื่อการเรียนการสอนเรื่อง คลื่น เสียง แสงสื่อการเรียนการสอนเรื่อง คลื่น เสียง แสง
สื่อการเรียนการสอนเรื่อง คลื่น เสียง แสง
 
สมบัติของคลื่น(แจน14.12.54)นำเสนอ
สมบัติของคลื่น(แจน14.12.54)นำเสนอสมบัติของคลื่น(แจน14.12.54)นำเสนอ
สมบัติของคลื่น(แจน14.12.54)นำเสนอ
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 3 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 3 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 3 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 3 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 

Similar to 3 e0b981e0b89ae0b89ae0b89de0b8b6e0b881e0b8abe0b8b1e0b894-e0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899

เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงโรงเรียนเทพลีลา
 
Copy-of-1.คลื่น (1).pdf
Copy-of-1.คลื่น (1).pdfCopy-of-1.คลื่น (1).pdf
Copy-of-1.คลื่น (1).pdfmatdavitmatseng1
 
เรื่องที่11คลื่นกล
เรื่องที่11คลื่นกลเรื่องที่11คลื่นกล
เรื่องที่11คลื่นกลApinya Phuadsing
 
11.คลื่นกล
11.คลื่นกล11.คลื่นกล
11.คลื่นกลKruanek007
 
11.คลื่นกล
11.คลื่นกล11.คลื่นกล
11.คลื่นกลKruanek007
 
เรื่องที่ 11 คลื่นกล
เรื่องที่ 11  คลื่นกลเรื่องที่ 11  คลื่นกล
เรื่องที่ 11 คลื่นกลthanakit553
 
ครูตุ้ย ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51
ครูตุ้ย   ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51ครูตุ้ย   ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51
ครูตุ้ย ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51joybh42
 
แผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
แผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์  เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียงแผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์  เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
แผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียงSunanthaIamprasert
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405Peammavit Supavivat
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405Peammavit Supavivat
 
แบบทดสอบคลื่น
แบบทดสอบคลื่นแบบทดสอบคลื่น
แบบทดสอบคลื่นrumpin
 
12.เสียง
12.เสียง12.เสียง
12.เสียงKruanek007
 
เรื่องที่ 12 เสียง
เรื่องที่ 12  เสียงเรื่องที่ 12  เสียง
เรื่องที่ 12 เสียงthanakit553
 

Similar to 3 e0b981e0b89ae0b89ae0b89de0b8b6e0b881e0b8abe0b8b1e0b894-e0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 (20)

เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
 
Copy-of-1.คลื่น (1).pdf
Copy-of-1.คลื่น (1).pdfCopy-of-1.คลื่น (1).pdf
Copy-of-1.คลื่น (1).pdf
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
เรื่องที่11คลื่นกล
เรื่องที่11คลื่นกลเรื่องที่11คลื่นกล
เรื่องที่11คลื่นกล
 
P11
P11P11
P11
 
11.คลื่นกล
11.คลื่นกล11.คลื่นกล
11.คลื่นกล
 
11.คลื่นกล
11.คลื่นกล11.คลื่นกล
11.คลื่นกล
 
เรื่องที่ 11 คลื่นกล
เรื่องที่ 11  คลื่นกลเรื่องที่ 11  คลื่นกล
เรื่องที่ 11 คลื่นกล
 
เสียง
เสียงเสียง
เสียง
 
ครูตุ้ย ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51
ครูตุ้ย   ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51ครูตุ้ย   ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51
ครูตุ้ย ฟิสิกส์ .. โจทย์ โควต้า มช. 51
 
แผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
แผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์  เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียงแผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์  เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
แผนการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
แบบทดสอบคลื่น
แบบทดสอบคลื่นแบบทดสอบคลื่น
แบบทดสอบคลื่น
 
P12
P12P12
P12
 
12.เสียง
12.เสียง12.เสียง
12.เสียง
 
เรื่องที่ 12 เสียง
เรื่องที่ 12  เสียงเรื่องที่ 12  เสียง
เรื่องที่ 12 เสียง
 

More from มะดาโอะ มะเซ็ง

57840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-4
57840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-457840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-4
57840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-4มะดาโอะ มะเซ็ง
 
ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-
ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-
ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-มะดาโอะ มะเซ็ง
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...มะดาโอะ มะเซ็ง
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...มะดาโอะ มะเซ็ง
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...มะดาโอะ มะเซ็ง
 

More from มะดาโอะ มะเซ็ง (20)

Ast.c2560.6tp
Ast.c2560.6tpAst.c2560.6tp
Ast.c2560.6tp
 
Ast.c2560.5tp
Ast.c2560.5tpAst.c2560.5tp
Ast.c2560.5tp
 
Ast.c2560.5t
Ast.c2560.5tAst.c2560.5t
Ast.c2560.5t
 
Ast.c2560.4t
Ast.c2560.4tAst.c2560.4t
Ast.c2560.4t
 
57840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-4
57840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-457840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-4
57840536 แนวข-อสอบครูผู-ช-วย-ความรอบรู-ชุดที-1-4
 
ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-
ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-
ข้อสอบภาค ก-ครูผู้ช่วย-100-ข้อ-พร้อมเฉลย-
 
ฟิสิกส์ เรื่องคลื่น2
ฟิสิกส์ เรื่องคลื่น2ฟิสิกส์ เรื่องคลื่น2
ฟิสิกส์ เรื่องคลื่น2
 
ฟิสิกส์ เรื่องคลื่น
ฟิสิกส์ เรื่องคลื่นฟิสิกส์ เรื่องคลื่น
ฟิสิกส์ เรื่องคลื่น
 
ฟิสิกส์ เรื่องเสียง
ฟิสิกส์ เรื่องเสียงฟิสิกส์ เรื่องเสียง
ฟิสิกส์ เรื่องเสียง
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 2
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 2E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 2
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 2
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 1
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 1E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 1
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899e0b881e0b8a5 1
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 4 e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b887e0b981e0b8a5e0...
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 2 e0b8aae0b8a1e0b89ae0b8b1e0b895e0b8b4e0b882e0...
 
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...
E0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899 1 e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ae0b8b2e0b895e0...
 
____ o-net _____ _.6 ___ 1
  ____ o-net _____ _.6 ___ 1  ____ o-net _____ _.6 ___ 1
____ o-net _____ _.6 ___ 1
 
__ 05 ___________ onet _6 __________2558
  __ 05 ___________ onet _6  __________2558  __ 05 ___________ onet _6  __________2558
__ 05 ___________ onet _6 __________2558
 
ข้อสอบติว Pat 2 ฟิสิกส์
ข้อสอบติว Pat 2 ฟิสิกส์ข้อสอบติว Pat 2 ฟิสิกส์
ข้อสอบติว Pat 2 ฟิสิกส์
 
Physics test 1
Physics test 1Physics test 1
Physics test 1
 
Unit3 3.1อายุทางธรณีppt
Unit3 3.1อายุทางธรณีpptUnit3 3.1อายุทางธรณีppt
Unit3 3.1อายุทางธรณีppt
 
Unit1 1.1โครงสร้างppt1
Unit1 1.1โครงสร้างppt1Unit1 1.1โครงสร้างppt1
Unit1 1.1โครงสร้างppt1
 

3 e0b981e0b89ae0b89ae0b89de0b8b6e0b881e0b8abe0b8b1e0b894-e0b884e0b8a5e0b8b7e0b988e0b899

  • 1. แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท. เฉลยคําถามท้ายบท หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง คลื่น 1. ขวัญและเรียมกําลังเล่นบอลอยู่ในสวนสาธารณะ ต่อมาลูกบอลตกลงไปกลางสระน้ํา ซึ่งไม่สามารถ เอื้อมถึงได้ ขวัญคิดว่า ถ้าใช้เท้าตีผิวน้ําสม่ําเสมอเพื่อทําให้น้ําเกิดคลื่น คลื่นจะผลักลูกบอลให้น้ําเข้าฝั่ง ตรงข้างส่วนเรียมบอกว่า ถ้าขว้างไม้ไปถูกลูกบอลที่จุด A ลูกบอลจะเคลื่อนที่เข้าหาฝั่งด้านตรงข้าม ความคิดของใครถูก เพราะเหตุใด แนวคําตอบ ขวัญใช้เท้าตีผิวน้ําทําให้เกิดคลื่นผิวน้ํา ซึ่งเป็นคลื่นตามขวาง โดยอนุภาค ตัวกลาง (คือน้ํา) เคลื่อนที่ขึ้นลงในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น การตีน้ําจึงทําให้ลูกบอล ขยับขึ้นลง แต่ไม่ทําให้ลูกบอลเคลื่อนเข้ามาฝั่งตรงข้ามได้ ส่วนเรียมใช้ไม้พุ่งไปที่จุด A ของลูกบอล ซึ่งทําให้เกิดแรงกระทําต่อลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปยังฝั่งตรงข้ามได้ ดังนั้น ความคิดของเรียมถูกต้อง ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2. จากภาพ แสดงคลื่นขบวนหนึ่ง ก. จงทําเครื่องหมายเพื่อแสดงความยาวคลื่นและแอมพลิจูดของคลื่น ข. ถ้าคลื่นนี้ใช้เวลาในการเคลื่อนที่ 0.15 วินาที จงหาคาบ ค. จงหาความถี่ของคลื่นนี้ แนวคําตอบ ก. ความยาวระหว่างสันคลื่นถึงสันคลื่นหรือท้องคลื่นถึงท้องคลื่น เรียกว่า ความยาวคลื่น จากภาพ ตัวอย่างความยาวคลื่น ได้แก่ AB และ CD ความยาวจากแนวสมดุลถึงสันคลื่นหรือ ท้องคลื่น เรียกว่า แอมพลิจูด จากภาพ ตัวอย่างแอมพลิจูด ได้แก่ ab และ cd ข. เนื่องจาก คาบ หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นหนึ่งลูกเคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่ง จากภาพ มีจํานวนคลื่นทั้งหมด 3.5 ลูก ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่งในเวลา 0.15 วินาที ดังนั้น คลื่น 1 ลูก เคลื่อนที่ผ่านจุดนั้น จะใช้เวลา 5.3 15.0 วินาที นั่นคือ คาบของคลื่น (T ) เท่ากับ 0.05 วินาที ค. เนื่องจาก ความถี่ หมายถึง จํานวนคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่ง ในหนึ่งหน่วยเวลา
  • 2. แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท. จากภาพ ในเวลา 0.15 วินาที มีจํานวนคลื่นผ่านจุดหนึ่ง 3 ลูก ดังนั้น ในเวลา 1 วินาที จะมี จํานวนคลื่นผ่านจุดนั้น 20 ลูก นั่นคือความถี่ของคลื่น ( f ) เท่ากับ 20 เฮิรตซ์ หรือ อาจหาจาก ความสัมพันธ์ f = T 1 = s 7 0.3 1 = 20 s-1 หรือ 20 Hz ความถี่ของคลื่น ( f ) เท่ากับ 20 เฮิรตซ์ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 3. ภาพ ก และ ข แสดงภาพคลื่นกําลังเคลื่อนที่บนผิวน้ํา ก. คลื่นในภาพ ก เป็นคลื่นตามขวางหรือคลื่นตามยาว ข. ถ้าคลื่นในภาพ ก 2 ลูก เคลื่อนที่ผ่านธงทุก 1 วินาที ความถี่ของคลื่นมีค่าเท่าใด ค. จงใช้สมการ v = fλ หาอัตราเร็วของคลื่นในภาพ ก ง. ถ้าคลื่นในภาพ ข มีอัตราเร็วเท่ากับคลื่นในภาพ ก ความถี่ของคลื่นในภาพ ข จะมีค่า เท่าใด แนวคําตอบ ก. คลื่นในภาพ ก เป็นคลื่นตามขวาง ข. ถ้าคลื่นในภาพ ก 2 ลูก เคลื่อนที่ผ่านธงทุก ๆ 1 วินาที ความถี่ของคลื่นเท่ากับ 2 เฮิรตซ์ ค. หาอัตราเร็วของคลื่นในภาพ ก จากสมการ v = fλ จากภาพ ความยาวคลื่น λ = 2 m จากข้อ ข ความถี่ของคลื่น f = 2 Hz แทนค่าจะได้ อัตราเร็วของคลื่น v = 2 Hz × 2 m = 4 m/s ดังนั้น อัตราเร็วคลื่นในภาพ ก เท่ากับ 4 เมตรต่อวินาที ง. หาความถี่ของคลื่นในภาพ ข จากสมการ v = fλ ในที่นี้ อัตราเร็วของคลื่น v = 4 m/s ความยาวคลื่น λ = 4 m แทนค่าจะได้ 4 m/s = f × 4 m f = 1 Hz ดังนั้น ความถี่ของคลื่นในภาพ ข เท่ากับ 1 เฮิรตซ์ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4. เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งเข้าไปอีกตัวกลางหนึ่ง ปริมาณใดต่อไปนี้ คงเดิมและปริมาณใด เปลี่ยนไป ความยาวคลื่น ความถี่ และอัตราเร็วของคลื่น แนวคําตอบ จากการสังเกตคลื่นผิวน้ําในถาดคลื่นขณะเกิดการหักเห จะพบว่า แหล่งกําเนิด คลื่นยังคงสั่นด้วยความถี่เดิม แสดงว่าความถี่ ( f ) ของคลื่นผิวน้ําคงเดิม เมื่อคลื่นผิวน้ําเคลื่อนที่เข้า ไปในตัวกลางใหม่ พบว่าความยาวคลื่น(λ ) เปลี่ยนไป (อาจเพิ่มหรือลด) โดยอาศัยความสัมพันธ์
  • 3. แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท. v = fλ ดังนั้นอัตราเร็วของคลื่นเปลี่ยนด้วย จึงสรุปได้ว่าความถี่มีค่าคงเดิม ส่วนความยาวคลื่นและ อัตราเร็วของคลื่นเปลี่ยน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5. จากภาพ แสดงคลื่นกําลังเคลื่อนที่เข้าหาแนวกําแพงหินของท่าเรือแห่งหนึ่ง จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ ก. คลื่นเคลื่อนที่เข้าหาเนินทรายท้องน้ําที่บริเวณ A ข. คลื่นเคลื่อนที่ผ่านขอบแนวกําแพงหินที่ตําแหน่ง B แนวคําตอบ ก. เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เข้าหาเนินทรายบริเวณ A คลื่นจะเกิดการหักเห ข. เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านขอบกําแพงหินที่ตําแหน่ง B คลื่นจะเกิดการเลี้ยวเบน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 6. จงยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นได้จริง ก. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านแก๊สได้ ข. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของเหลวได้ ค. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของแข็งได้ แนวคําตอบ ก. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านแก๊สได้ - ตัวอย่างที่พบเห็น และสัมผัสในชีวิตประจําวันคือ เสียงที่เราได้ยินจากการพูดคุยกัน อากาศ (มีสถานะเป็นแก๊ส) จะเป็นตัวกลางที่ทําให้เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้ ข. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของเหลวได้ - ตัวอย่างที่พบได้ คือ ถ้าเราไปดําน้ําเล่นกับเพื่อน ขณะที่เราดําน้ําอยู่ เราจะสามารถได้ยิน เสียงของเพื่อนเราได้ ค. เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านของแข็งได้ - สิ่งที่สามารถทดลองได้ง่าย คือ ใช้หูแนบกับราวบันไดที่ปลายหนึ่ง แล้วให้เพื่อนเคาะ บันไดอีกปลายหนึ่ง เราก็สามารถได้ยินเสียงที่ผ่านราวบันไดได้ชัดเจน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 7. คนทั่วไปจะได้ยินเสียงที่มีความถี่ 10 เฮิรตซ์ และระดับความเข้มของเสียง 80 เดซิเบล ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด แนวคําตอบ คนทั่วไปจะไม่ได้ยินเสียงดังกล่าว เพราะเสียงมีความถี่ 10 เฮิรตซ์ ซึ่งต่ํากว่า ความถี่ต่ําสุดของการได้ยินของมนุษย์ซึ่งมีค่า 20 เฮิรตซ์ -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
  • 4. แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท. 8. คนปกติจะได้ยินเสียงที่มีความถี่ 20 เฮิรตซ์ เสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด แนวคําตอบ คนปกติจะได้ยินเสียงที่มีความถี่ 20 - 20 000 เฮิรตซ์ แต่การได้ยินยังต้องอาศัย องค์ประกอบอื่น คือเสียงนั้นต้องมีความดัง (ในทางวิทยาศาสตร์บอกด้วยปริมาณที่เรียกว่าระดับความ เข้มเสียง) พอเหมาะ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 9. บริเวณใกล้สนามบินมักมีเสียงดังมากซึ่งเป็นมลภาวะทางเสียง ถ้าผู้เรียนมีบ้านอยู่ใกล้สนามบิน จะ มีวิธีลดปัญหานี้อย่างไร แนวคําตอบ ถ้าผู้เรียนมีบ้านอยู่ใกล้แหล่งกําเนิดเสียงที่ให้เสียงที่เป็นมลภาวะทางเสียง อาจ ลดมลภาวะทางเสียง ได้ 3 วิธี 1. ที่แหล่งกําเนิดเสียง 2. แนวทางที่เสียงเคลื่อนที่ผ่าน 3. ที่ผู้ฟัง ในสถานการณ์นี้ แหล่งกําเนิดเสียงคือเครื่องบินซึ่งมีการเคลื่อนที่ จึงไม่สามารถลดมลภาวะที่ แหล่งกําเนิดเสียงได้ แต่สําหรับผู้ฟัง อาจใส่ที่อุดหู ซึ่งไม่สะดวก เพราะมลภาวะทางเสียงเกิดขึ้นเป็น ครั้งคราวไม่ต่อเนื่อง วิธีที่เป็นไปได้ คือ การลดมลภาวะตามแนวทางที่เสียงเคลื่อนที่ผ่าน เช่น การ ปลูกต้นไม้เป็นแนวที่เสียงจะผ่านเข้าบ้าน หรือการดัดแปลงผนังบ้านโดยใช้วัสดุที่มีสมบัติดูดซับเสียง หรือสะท้อนเสียงได้ดี ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 10. เหตุใดเราจึงไม่สามารถเลียนเสียงนักร้องที่เราชอบได้ แนวคําตอบ เสียงจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ เช่น เสียงจากยานพาหนะต่างๆ เสียงจากเครื่อง ดนตรีต่างชนิดกัน เสียงของแต่ละคน เป็นต้น เสียงเหล่านี้จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันหรือมี คุณภาพเสียงต่างกัน การที่เสียงจากแหล่งกําเนิดต่าง ๆ มีคุณภาพเสียงต่างกันช่วยให้เราจําแนกหรือ ระบุเสียงว่ามาจากแหล่งใดได้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 11. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแตกต่างจากคลื่นกลอย่างไร แนวคําตอบ - คลื่นกลต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ - คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ต้องการตัวกลางในการเคลื่อนที่ - คลื่นกล มีทั้งคลื่นตามยาวและคลื่นตามขวาง - คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
  • 5. แนวการตอบคําถามท้ายบท หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ฟิสิกส์ ตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 สสวท. 12. จงเรียงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อไปนี้ จากคลื่นที่มีความยาวคลื่นน้อยไปมาก รังสีอินฟราเรด คลื่นวิทยุ รังสีอัตราไวโอเลต รังสีแกมมา แสงที่มองเห็นได้ รังสีเอกซ์ และไมโครเวฟ แนวคําตอบ รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต แสงที่มองเห็นได้ รังสีอินฟราเรด ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุ ตามลําดับ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 13. สถานีวิทยุเอเอ็มแห่งหนึ่งส่งกระจายเสียงคลื่นวิทยุที่มีความถี่ 1000 กิโลเฮิรตซ์ จงหาความถี่ใน หน่วยเฮิรตซ์และความยาวคลื่น แนวคําตอบ คลื่นวิทยุความถี่ 1000 kHz = 1000 × 1000 Hz = 1 000000 Hz = 106 Hz หาความยาวคลื่นได้จากสมการ v = fλ ในที่นี้ v = อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า = 3 × 108 m/s f = ความถี่ของคลื่น = 106 Hz แทนค่า 3 × 108 m/s = 106 Hz × λ λ = 300 m ดังนั้น ความยาวคลื่นของคลื่นวิทยุเท่ากับ 300 เมตร -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------