SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
5.1 ความหมายและความเป็นมา5.2 ชนิดของคอมพิวเตอร์5.3 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์5.4 ระบบสื่อประสม<br />aaaaaเมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัดคำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุค 40 ปีก่อน หรือเครื่องคิดเลขล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมดaaaaaในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผล และเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์aaaaaการจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) และดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) <br />รูปที่ 5.1 ลูกคิด<br />5.1.1 แอนะล็อกคอมพิวเตอร์<br />aaaaaแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมาประกอบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่ง แอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็ทรอนิกส์ จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัดaaaaaแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำ และเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษาaaaaaในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น<br />5.1.2 ดิจิทัลคอมพิวเตอร์<br />aaaaaคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่ละหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสิบที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถึงเก้าได้สิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวันaaaaaค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกันแต่จะเป็นระบบเลขฐาน 2 ที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียง 2 ตัว คือเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพท์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจง่ายaaaaaเครื่องดิจิทัลคอมพิวเตอร์หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่าคอมพิวเตอร์กำลังได้รับความนิยมกันมากในขณะนี้ มีวิวัฒนาการแบ่งเป็นยุค ๆ ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยีเป็น 5 ยุค ด้วยกัน การแบ่งยุคนี้จะเริ่มนับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ล้วน ๆ ดังนี้<br />aaaaa1) คอมพิวเตอร์ยุคแรก อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK 1),อีนิแอค(ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)<br />รูปที่ 5.2 หลอดสุญญากาศ<br />มาร์ค วัน<br />อีนิแอค<br />ยูนิแวค<br />รูปที่ 5.3 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรก<br />aaaaa2) คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้าน ซอฟแวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน<br />รูปที่ 5.4 ทรานซิสเตอร์<br />aaaaa3) คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม ยุคระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ไม่สิ้นเปลืองกำลังงาน โครงสร้างของคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง<br />รูปที่ 5.5 วงจรรวม หรือวงจรไอซี<br />aaaaa4) คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration : VLSI ) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่อง คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง สามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวางaaaaa5) คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปํญญาประดิษฐ์ (Atificial Intelligence : AI) ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุน และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaพัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชิ้นซิลิกอนเล็กๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัว บรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง <br />รูปที่ 5.6 ภาพเปรียบเทียบระหว่างหลอดสุญญากาศ ทรานซิสเตอร์ และวงจรรวม<br />aaaaaไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่ช่วยหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีพียู(Central Processing Unit :CPU)<br />รูปที่ 5.7 วงจรอิเล็กทรอนิกส์และไมโครโพรเซสเซอร์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์<br />aaaaaการพัฒนาไมโครชิบที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามพอจะจะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้aaaaa1) ไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer)aaaaa2) สถานีงานวิศวกรรม (engineering worksstation)aaaaa3) มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)aaaaa4) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)aaaaa5) ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (super computer)<br />5.2.1 ไมโครคอมพิวเตอร์<br />aaaaaไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรืดเรียกว่า พีซี (Personal computer: PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นบนเครือข่ายaaaaaอาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้aaaaa1) คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้นอักขระ <br />รูปที่ 5.8 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ<br />aaaaa2) แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผลึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD ) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม <br />รูปที่ 5.9 แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์<br />aaaaa3) โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่า แล็ปท็อปน้ำหนักประมาณ1.5-3กิโลกรัมจอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบมีทั้งแสดงผลแบบสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายอยู่ทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเท่ากับ แล็ปท็อป <br />รูปที่ 5.10 โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์<br />aaaaa4) ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่น เป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลบางอย่างที่สามารถพกพาไปได้สะดวก <br />รูปที่ 5.11 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์<br />5.2.2 สถานีงานวิศวกรรม<br />aaaaaผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิกและนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นทางกราฟิก การสร้างรูปภาพ และการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่าย ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพaaaaaบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลานบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่น โปรแกรมการจัดทำต้นแบบหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักรaaaaaการซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วน การซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้aaaaaสถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรกตามหลังจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer : RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที<br />รูปที่ 5.12 สถานีงานวิศวกรรม<br />5.2.3 มินิคอมพิวเตอร์<br />aaaaaมินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานได้พร้อมกันหลาย ๆ คนจึงเป็นเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับการประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงานอุตสาหกรรมaaaaaมินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่องให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร<br />รูปที่ 5.13 มินิคอมพิวเตอร์<br />5.2.4 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์<br />aaaaaเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการพัฒนาตั้งแต่เริ่มแรกเหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวณมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมากaaaaaเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและมีการรักษาเป็นอย่างดีaaaaaบริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและ มินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันอย่างชัดเจนaaaaaปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถสูงขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม<br />รูปที่ 5.14 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์<br />5.2.5 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์<br />aaaaaซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวนตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบaaaaaซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่น การคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน<br />รูปที่ 5.15 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการรับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์aaaaaการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า (input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์ข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก (main menory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณ์ส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า และอุปกรณ์ส่งออก <br />5.3.1 ซีพียู<br />aaaaaการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล ภายในซีพียูประกอบด้วยaaaaa1) หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำกับซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงานaaaaa2) หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และการสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุมaaaaaกลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น<br />รูปที่ 5.16 ซีพียูเป็นหน่วยหลักของการควบคุมการทำงานและการเคลื่อนย้ายข้อมูล<br />aaaaaการพัฒนาซีพียูก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชีปที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000 ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิบประกอบรวมเป็นซีพียูaaaaaเทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.ศ.2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิลก็เลือกซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้นaaaaaเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเทียม ตามลำดับaaaaaการพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็มเลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรกaaaaaขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์) ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้นaaaaaความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา ซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใน 1 วินาที หรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นตามลำดับaaaaaไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบ และเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)aaaaaใน พ.ศ.2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้น คือ 6 เมกะเฮิรตซ์aaaaaการทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับหน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีaaaaaพัฒนาการของเครื่องพีซีเอทีทำให้ผู้ผลิตอื่นออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามอย่างไอบีเอ็มโดยเพิ่มขีดความสามารถเฉพาะของตนเองเข้าไปอีก เช่น ใช้สัญญาณนาฬิกาสูงขึ้นเป็น 8 เมกะเฮิรตซ์ 10 เมกะเฮิรตซ์ จนถึง 16 เมกะเฮิรตซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์บนรากฐานของพีซีเอทีจึงมีผู้ใช้กันทั่วโลก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างเต็มที่aaaaaใน พ.ศ.2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนาโดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก ช่น รับส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติดต่อหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 ล้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมาก และใน พ.ศ.2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus)aaaaaผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่น 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นใน พ.ศ.2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือ ลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SXaaaaaซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่ออุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้aaaaaซีพียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.ศ.2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386 ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีกaaaaaใน พ.ศ.2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเทียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเทียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิตaaaaaการพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขี้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น และจะเป็นซีพียูในรุ่นที่ 6 ของบริษัทอินเทล โดยมีชื่อว่า เพนเทียม ทู<br />5.3.2 หน่วยความจำหลัก<br />aaaaaเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียู การทำงานเป็นวงรอบโดยการนำคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่งaaaaaจากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่านเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลักจะต้องทำได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานที่ความถี่ของสัญญาณนาฬิการ 33 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทัน ดังนั้นกลไกของซีพียูจึงต้องชะลอความเร็วลงด้วยการสร้างภาวะรอ (wait state) การเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์ จึงต้องพิจารณาดูว่ามีภาวะรอในการทำงานด้วยหรือไม่aaaaaหน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องกำหนดคุณลักษณะ ในเรื่องช่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล (access time) ค่าที่ใช้ทั่วไปอยู่ในช่วงประมาณ 60 นาโนวินาที ถึง 125 นาโนวินาที (1 นาโนวินาที เท่ากับ 10 ยกกำลัง -9 วินาที) แต่อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาให้หน่วยความจำสามารถใช้กับซีพียูที่ทำงานเร็วขนาด 33 เมกะเฮิรตซ์ ได้โดยการสร้างหน่วยความจำพิเศษมาคั้นกลางไว้ ซึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแคช (cache memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาเพื่อนำชุดคำสั่ง หรือข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อให้ซีพียูเรียกใช้ได้เร็วขึ้นaaaaaการแบ่งประเภทหน่วยความจำหลัก ถ้าแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล กล่าวคือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory ) แต่ถ้าหน่วยความจำเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจรก็เรียกว่าหน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory)aaaaaแต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทของหน่วยความจำจะแบ่งตามสภาพการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า แรม (Random Access Memory : RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้และหากเป็นหน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนลงไปได้ก็เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่น เก็บโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐานของระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอมส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบลบข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตร้าไวโอเลตฉายลงบนผิวซิลิกอน หน่วยความจำประเภทนี้มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ ขณะใช้งานจึงมีแผ่นกระดาษทึบปิดทับไว้ เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory :EPROM)<br />5.3.3 หน่วยความจำรอง<br />aaaaaในยุคสังคมสารสนเทศทุกวันนี้ ข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนหรือขนาดใหญ่มาก ตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของปัญหาที่พบในงานต่าง ๆ หน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โดยทั่วไปหน่วยความจำหลักจะมีขนาดจำกัด ทำให้ไม่พอเพียงสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในระบบคอมพิวเตอร์จึงมักติดตั้งหน่วยความจำสำรอง เพื่อนำมาใช้เก็บข้อมูลจำนวนมาก เป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ถ้ามีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำงาน ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมจะสูญหายไปหมด หากมีข้อมูลส่วนใดที่ต้องการเก็บไว้ใช้งานในภายหลังก็สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง หน่วยความจำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็ก ซึ่งจะมีทั้งแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์aaaaa1) แผ่นบันทึก เป็นหน่วยความจำรองที่มีความจุสูง มีลักษณะคล้ายแผ่นเสียง เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ เพื่อให้สามารถเก็บบันทึกสนามแม่เหล็กบนสารที่เคลือบนั้น การเก็บบันทึกของแผ่นบันทึกข้อมูลจะมีหลักการคล้ายกับจานเสียงที่จะบันทึกเสียงเป็นร่องต่อเนื่องเป็นวงแบบก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง แต่การเก็บบันทึกข้อมูลแผ่นบันทึกจะวนรอบบรรจบกันเป็นวงกลมหลาย ๆ วง โดยมีหัวสำหรับอ่านและเขียนข้อมูล เลื่อนเข้าออกจากศูนย์กลางของแผ่นตามแนวเส้นตรง ในขณะที่แผ่นบันทึกจะหมุนรอบแกนด้วยความเร็วสูง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง รวดเร็วกว่าแถบบันทึกที่เป็นการเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับaaaaaแผ่นบันทึกจะเป็นแผ่นพลาสติกไมลาร์ที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ แล้วห่อหุ้มด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ ในระยะเริ่มแรกแผ่นบันทึกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว และหน่วยขับแผ่นบันทึก (disk drive ) มีราคาแพงจึงไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก ต่อมามีการพัฒนาให้มีแผ่นบันทึกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเป็น 5.25 นิ้ว สามารถพกพาติดตัวได้สะดวกแผ่นบันทึกขนาด 5.25 นิ้ว จะมีช่องเปิดสำหรับอ่านบันทึกข้อมูลกว้างมาก จนอาจทำให้มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรก ตลอดจนรอยนิ้วมือประทับบนแผ่น มีผลทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้เสียหายได้ง่ายจึงมีการพัฒนาให้บรรจุในตลับพลาสติกแข็ง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลดลงเป็น 3.5 นิ้ว จะมีความทนทานมากขึ้น ขณะเดียวกันช่องเปิดสำหรับอ่านบันทึกข้อมูลจะถูกปิดคลุมไว้อย่างอัตโนมัติทันทีที่นำแผ่นบันทึกข้อมูลออกจากหน่วยขับแผ่นบันทึกaaaaaด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น แผ่นบันทึกมีแนวโน้มที่จะเก็บข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น แผ่นบันทึกขนาด 5.25 นิ้ว จะมีควาจุ 360 กิโลไบต์ และ 1.2 เมกะไบต์ ส่วนแผ่นบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจะ 720 กิโลไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์<br />รูปที่ 5.17 แผ่นบันทึกข้อมูล<br />aaaaa2) ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลลงแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่เคลือบด้วยวัสดุเหล็กออกไซด์ ข้อมูลที่เก็บลงแผ่นฮาร์ดดิสก์จะอ่านหรือบันทึกด้วยหัวอ่านบันทึก ซึ่งมีวิธีการแทนค่าศูนย์หรือหนึ่งด้วยทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ที่มีความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กก็จะมีความจุสูง นอกจากนี้ขนาดของความจุของฮาร์ดดิสก์ก็ยังขึ้นกับกลไกของหัวอ่านบันทึกของหน่วยขับฮาร์ดดิสก์ และสารแม่เหล็กที่เคลือบบนแผ่นจานแม่เหล็กaaaaaการบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะแบ่งเป็นรอบวงที่เรียกว่าแทร็ก (track) แทร็กนี้จะต่างกับร่องแผ่นเสียงที่เป็นวงแบบก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง แต่ของฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลเป็นวงครบรอบหลาย ๆ วง ฮาร์ดดิสก์ที่ผลิตมาจากโรงงานส่วนใหญ่ยังใช้เก็บข้อมูลไม่ได้ ต้องทำการจัดรูปแบบแผ่น หรือที่เรียกว่า การฟอร์แมต (format) เสียก่อน ขึ้นตอนการฟอร์แมตเริ่มจาการสร้างแทร็กก่อน และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่าเซ็กเตอร์ (sector) ความจุของฮาร์ดดิสก์สามารถคำนวณจากจำนวนแผ่นบันทึกข้อมูล จำนวนแทร็กในแต่ละแผ่น และจำนวนเซ็กเตอร์ในแต่ละแทร็ก โดยหนึ่งเซ็กเตอร์จะมีเนื้อที่เก็บข้อมูลเท่ากับ 512 ไบต์aaaaaฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะประกอบด้วยแผ่นบันทึกมากกว่าหนึ่งแผ่นมาประกบซ้อนทับกันแล้วบรรจุในกล่องมิดชิด หน่วยขับฮาร์ดดิสก์จะต้องมีหัวอ่านบันทึกเท่ากับจำนวนผิวหน้าของแผ่นบันทึก หัวอ่านบันทึกทุกตัวจะเชื่อมต่อกันในลักษณะที่ให้ทุกตัวเลื่อนย้ายในเวลาเดียวกันได้ ฮาร์ดดิสก์จะมีหน่วยอ้างอิงตำแหน่งเป็นไซเลนเดอร์ (cylinder) แทนการเรียกแทร็กเหมือนแผ่นบันทึกข้อมูล เพราะฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกหลาย ๆ แผ่นซ้อนกันเป็นทรงกระบอก จึงมีตำแหน่งแทร็กตรงกันหลายแผ่น จำนวนของไซลินเดอร์ของฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนแปลงไปตามรุ่นaaaaaหัวอ่านแผ่นบันทึกของหน่วยขับแผ่นบันทึก และหน่วยขับฮาร์ดดิสก์จะต่างกัน โดยหัวอ่านแผ่นบันทึกของหน่วยขับแผ่นบันทึกจะสัมผัสโดยตรงกับผิวจานแม่เหล็ก จึงมีวิธีการอ่านและบันทึกข้อมูลคล้ายกับวีดีโอหรือเครื่องเล่นเกม ส่วนหัวอ่านแผ่นบันทึกหน่วยขับฮาร์ดดิสก์ จะลอยสูงจากผิวจานแม่เหล็ก ขณะที่จานหมุนด้วยความเร็วสูง 3600 รอบต่อวินาที การลอยสูงขึ้นนี้จะอยู่ในระยะประมาณ 4 ไมครอน (เส้นผมของมนุษย์จะหนาราว 80 ไมครอน) ซึ่งถือว่าเกือบสัมผัสเลยทีเดียว ดังนั้นควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงการกระแทกกับเคื่องขณะที่มีการใช้งานอยู่ เพราะหัวอ่านบันทึกอาจมีการกระทบจานผิวแม่เหล็กจนทำให้ผิวและสารเหล็กออกไซด์ที่เคลือบอยู่เสียหาย และเรียกคืนมาดังเดิมไม่ได้ การซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์จะทำได้ยากกว่า เพราะจะต้องเปิดภาชนะบรรจุฮาร์ดดิสก์ในห้องพิเศษเฉพาะที่มีเพียงในบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ซ่อมแซมเครื่องเท่านั้น <br />รูปที่ 5.18 ฮาร์ดดิสก์<br />aaaaaเนื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถทำงานเก็บข้อมูลเองได้ จำเป็นต้องมีแผงวงจรควบคุมมาทำงานประกอบตามปกติแผงวงจรนี้จะใช้เสียบเข้าช่องติดตั้งแผงวงจร เพื่อแปลงสัญญาณที่จะเข้าหรือออกจากฮาร์ดดิสก์ แผงวงจรควบคุมแต่ละชุดจะมีรหัสเฉพาะสำหรับติดต่อกับหน่วยขับฮาร์ดดิสก์ ไม่สามารถนำแผงวงจรควบคุมอื่น ๆ ที่ใช้รหัสต่างกันมาอ่านบันทึกข้อมูลได้ จะต้องนำฮาร์ดดิสก์นั้นมาฟอร์แมตใหม่ให้สามารถใช้กับแผงวงจรควบคุมนั้น แผงวงจรควบคุมส่วนใหญ่ที่ใช้งาน สามารถจำแนกตัวต่อประสาน (Interface) ได้เป็น4ชนิดคือaaaaaก. ST-506/412 เป็นระบบควบคุมมาตรฐานเริ่มแรกที่ใช้กับเครื่องพีซี กล่าวคือ เครื่องที่มีไมโครโพรเซสเซอร์ 8088aaaaaข. ESDI (Enhanced Small Device Interface) เป็นระบบที่พัฒนาให้ดีกว่าระบบ ST506 สำหรับเครื่องขับมีความจุมากขึ้นและความเร็วสูงขึ้น นับเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่องที่มีไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 และ 80386 ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า อัตราการโอนย้ายข้อมูล หรือ การอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์aaaaaค. SCSI ( Small Computer System Interface) เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้เพราะระบบนี้นอกจากสามารถควบคุมฮาร์ดดิสก์แล้วยังสามารถควบคุมระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีโพรเซสเซอร์อยู่ในตัวเอง ทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายสำหรับแผงวงจรใหม่ ขนาดและอัตราการอ่านข้อมูลของระบบนี้เทียบได้ใกล้เคียงกับ ESDI และสามารถใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่อเสริมอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โมเด็ม ซีดีรอม เครื่องกราดตรวจ และเครื่องพิมพ์ แผงวงจรควบคุม SCSI หนึ่งแผงจะสนับสนุนการต่อได้ 8 อุปกรณ์ ดังนั้นจึงเหลือให้ต่ออุปกรณ์ได้เพิ่มอีก 7 อุปกรณ์aaaaaง. IDE ( Intergrated Drive Electronics) ระบบนี้จัดเป็นระบบใหม่ที่มีขนาดความจะใกล้เคียงกับ ESDI และ SCSI แต่มีราคาต่ำกว่า ปัจจุบันนิยมบรรจุ IDE รวมอยู่ในแผงวงจร ซีพียู ทำให้มีช่องติดตั้งว่างให้ใช้งานอื่น ๆ เพิ่มขึ้น คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าก็สามารถใช้ IDE ได้แต่ต้องเพิ่มแผงวงจรการเชื่อมดยงกับช่องเสียบแผงวงจร (slot)aaaaaในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์นอกจากจะต้องพิจารณาเครื่องขับแล้วจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้aaaaa1. ความเข้ากันได้ของตัวควบคุม โดยตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์จะต้องเข้าได้พอเหมาะกับตัวฮาร์ดดิสก์เอง ถ้าเข้ากันไม่ได้ก็จะมีผลกระทบต่อระบบความเชื่อถือของข้อมูลด้วยaaaaa2. ความเข้ากันได้กับคอมพิวเตอร์ หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์สนับสนุนการใช้ฮาร์ดดิสก์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น การซื้อฮาร์ดดิสก์ขนาด 1,000 เมกะไบต์ แบบ ESDI พร้อมตัวควบคุมแบบ ESDI ถ้านำไปใช้งานกับเครื่องรุ่นใหญ่พีซี/เอ็กซ์ที ก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะระบบ ESDI เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 80286 ที่มีเส้นทางเดินข้อมูลที่เรียกว่าบัส (bus) ขนาด 16 บิต แต่เครื่องรุ่นเก่าพีซี/เอ็กซ์ทีใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 หรือ 8086 มีกการติดต่อบัส 8 บิตaaaaa3. อัตรการโอนย้ายข้อมูล และเวลาแสวงหาข้อมูล อัตราการโอนย้ายข้อมูล (data transfer rate ) เป็นอัตราความเร็วที่ข้อมูลสามารถอ่านขึ้นมาจากฮาร์ดดิสก์ หรือความเร็วสูงสุดที่ข้อมูลจะไหลจากผิวจานแม่เหล็กไปยังตัวควบคุม ตามปกติจะมีหน่วยเป็นล้านบิตต่อวินาที (mb/s) ส่วนเวลาแสวงหาข้อมูล (seek times) เป็นเวลบาของการเคลื่อนย้ายหัวอ่านบันทึกจากตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งอื่นเพื่อการค้นหาข้อมูล เวลาแสวงหานี้ฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่นใช้เวลาแสวงหาไม่เท่ากัน อยู่ในช่วง 110-9 มิลลิวินาทีaaaaa4. ขนาดความจุของการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์มีความจุตั้งแต่ 20 เมกะไบต์ขึ้นไป จนถึงระดับจิกะไบต์ ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าเท่าใดขนาดความจุฮาร์ดดิสก์จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่กลับมีราคาลดลงaaaaa3) จานแสง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ฮาร์ดดิสก์มีบทบาทและความสำคัญต่อการใช้งานสูงมาก ความจุของฮาร์ดดิสก์ได้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ ในปัจจุบันมีความจุหลายร้อยเมกะไบต์ ราคาของฮาร์ดดิสก์ก็ลดลงจนทำให้ขนาดควาาามจุต่อราคาถูกลงมาก และมีผลดีกว่าการใช้แผ่นบันทึกข้อมูล ไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานประกอบอยู่ด้วยเสมอ ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิสก์จะได้รับการพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม แต่ความต้องการใช้แหล่งเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและพกพาได้สะดวกก็ยังมีอยู่ แม้แผ่นบันทึกข้อมูล 3.5 นิ้วสะดวกในการพกพา แต่ความยังจุไม่ พอกับความต้องการ เพราะโปรแกรมสมัยใหม่จะเป็นโปรแกรมที่ต้องใช้เนื้อที่มาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแหล่งเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีจานแสง (optical disk)aaaaaจุดเด่นที่สำคัญของจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลที่ไม่ต้องให้หัวอ่านกดลงหรือสัมผัสกับจาน การอ่านจะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ จานก็มีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่อ่อน ไม่ต้องกลับหัวอ่าน และ คงทนมีอายุการใช้งานได้ยาวนานaaaaaจานแสงเป็นเทคโนโลยีที่มีการแข่งขันในเชิงการผลิต พัฒนาการของจานแสงเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้กับเครื่องเสียงและวิดีโอ ด้วยเหตุนี้เองการนำจานแสงมาใช้ในงานด้านข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีทางด้านจานแสง ที่กำลังได้รับการนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ในขณะนี้ มี 3 เทคโนโลยีaaaaaเทคโนโลยีแรก คือ ซีดีรอม (Compack Disk Read only Memory :CDROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้จานแสงกับเครื่องสเตอริโอ การใช้ซีดีรอมในระบบคอมมิวเตอร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก และสามารถเก็บข้อมูล ในรูปข้อความ ข่าวสาร รูปภาพ เสียง รวมทั้งภาพวีดิโอไว้ในแผ่นซึ่งพร้อมจะนำมาใช้ได้ทันที แผ่นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงสามแสนหน้าหรือเทียบได้กับหนังสือ 150 เล่ม<br />รูปที่ 5.19 แผ่นซีดีรอม<br />aaaaaหน่วยขับซีดีรอมเป็นสิ่งที่ต้องต่อเพิ่มลงในระบบคอมพิวเตอร์ และหากให้หน่วยขับซีดีรอม มีช่องสัญญานต่อกับเครื่องขยายเสียงจะทำให้ใช้ร่วมกันกับแผ่นที่ใช้เล่นเพลงได้ หน่วยขับซีดีรอมในปัจจุบันมีราคาไม่แพง ส่วนใหญ่ใช้เก็บข้อมูล สารานุกรม คัมภีร์ไบเบิล แผนที่ ข้อมูลงานวิจัย หรือเอกสารทางวิชาการที่สำคัญ การใช้ซีดีรอมเก็บโปรแกรม ผู้ขายซอฟต์แวร์จะนำโปรแกรมทั้งหมดบรรจุในแผ่นซีดีรอมตามมาตรฐาน ISO 9600 มีควาจุที่ใช้ 600 เมกะไบต์ การเชื่อมต่อกับไมโครคอมพิวเตอร์มักใช้แผงวงจรควบคุมaaaaaเทคโนโลยีที่สองคือ เวิร์ม (Write Once Read Many : WORM) เทคโนโลยีนี้ให้ผู้ใช้เขียนข้อมูลลงไปได้เพียงครั้งเดียว แต่อ่านได้หลายครั้ง เวิร์มเป็นเทคโนโลยีโดดเดี่ยว เพราะแนวทางการพัฒนาไม่ได้พัฒนาจากเทคโนโลยีใด ตัวแผ่นเป็นโลหะ ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ การที่ทำให้แผ่นสามารถเขียนได้หนึ่งครั้งนี้เองจึงทำให้แตกต่างจากซีดีรอม ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานที่กำหนดออกมาเฉพาะ บริษัทที่ผลิตยังใช้รูปแบบแตกต่างกัน ปัจจุบันองค์กรว่าด้วยเรื่องมาตฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization :ISO) พยายามกำหนดความจุไว้ที่ 650 เมกะไบต์ แต่ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American Naional Standard : ANSI ) ได้กำหนดความจุที่ 1.2 จิกะไบต์ เวิร์มจึงเป็นจานแสงชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลเข้าไปเก็บได้และเก็บไว้อย่างถาวร<br />รูปที่ 5.20 เวิร์ม<br />aaaaaเทคโนโลยีที่สาม คือ เทคโนโลยีที่จะทำให้จานแสงสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ สามารถเขียนอ่านได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ จึงมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น จานแสงแม่เหล็กและจานแสงที่อ่านซ้ำได้ เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการของจานแสง คือ ทำให้มีคุณมบัติเหมือนฮาร์ดดิสก์สามารถเขียนอ่านข้อมูลได้ โดยรวมข้อดีไว้หลายประการ เช่น ความจุ ความคงทนของข้อมูลเก็บไว้ได้นานไม่ขึ้นอยู่กับสนามแม่เหล็ก ใช้งานง่าย มีขนาดเล็ก และที่สำคัญต้องเขียนอ่านได้เร็ว เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างจานแสงที่เขียนอ่านได้ จึงมีหลายเทคโนโลยีแตกต่างกันไป เช่น ใช้คุณสมบัติแม่เหล็กผสมกับแสง แสงที่ใช้เป็นแสงเลเซอร์ นอกจากนี้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทำให้แสงเลเซอร์ตกกระทบพื้นผิวของแผ่น ส่วนอีกเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการใช้คุณสมบัติของผลึกในเนื้อสารที่เปลี่ยนไปกับแสงเลเซอร์aaaaaในบรรดาเทคโนโลยีทั้งสามที่กล่าวถึง ซีดีรอมเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตและใช้งานอย่างกว้างขวาง จึงมีการใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ มากมาย<br />5.3.4 อุปกรณ์รับเข้า<br />aaaaaอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในที่นี้จะกล่าวถึงแผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse) ซึ่งเป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่aaaaa1) แผงแป็นอักขระ เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนรหัสเพื่อส่งต่อให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นaaaaaการวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 บิต และ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์<br />รูปที่ 5.21 ตัวอย่างแผงแป้นอักขระ<br />aaaaaเมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ภายใต้การควบคุมของซอร์ฟแวร์อีกชั้นหนึ่งaaaaaแผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออกมารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะมีแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาใน พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระกำหนดสัญญานทางไฟฟ้าขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุนเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้นaaaaaการเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่aaaaaสำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียวaaaaa2) เมาส์ ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่พัฒนาในช่วงหลัง ๆ นี้ สามารถติดต่อกับผู้ใช้โดยการใช้รูปกราฟิกแทนคำสั่ง มีการใช้งานเป็นช่องหน้าต่าง และเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพหรือสัญรูป (icon) อุปกรณ์รับเข้าที่นิยมใช้จึงเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่เรียกว่า เมาส์<br />รูปที่ 5.22 ตัวอย่างเมาส์<br />aaaaaเมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศทางของตัวชี้จะสัมพันธ์และเป็นไปในทางเดียวกับการเคลื่อนเมาส์aaaaaเมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบ คือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้นลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกน หมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ เมาส์แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพaaaaaเมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad) แผ่นรองเมาส์ซึ่งเป็นตาราง (grid) ตามแนวแกน X และ Y เมื่อเลื่อนตัวเมาส์เคลื่อนไปบนแผ่นตารางรองเมาส์ก็จะมีแสงตัดผ่านตารางและสะท้อนขึ้นมาทำให้ทราบตำแหน่งที่ลากไป เมาส์แบบนี้ไม่ต้องใช้ลูกกลิ้งกลม แต่ต้องใช้แผ่นตารางรองเมาส์พิเศษaaaaaการใช้เมาส์จะเป็นการเลื่อนเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วทำการยืนยันด้วยการกดปุ่มเมาส์ ปุ่มกดเมาส์มีความแตกต่างกัน สำหรับเครื่องแมคอินทอช ปุ่มกดเมาส์จะมีปุ่มเดียว แต่เมาส์ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มส่วนใหญ่จะมี 2 ปุ่ม โดยทั่วไปปุ่มทางซ้ายใช้เพื่อยืนยันการเลือกรายการและปุ่มทางข�
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5
Technology5

More Related Content

What's hot

ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
Tay Chaloeykrai
 
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
Srisomwong Sukkantharak
 
สไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
it4learner
 
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
peter dontoom
 
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
Timmy Printhong
 
ระบบปฏิบัติการ.Ppt
 ระบบปฏิบัติการ.Ppt  ระบบปฏิบัติการ.Ppt
ระบบปฏิบัติการ.Ppt
onthicha1993
 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
konkamon
 
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
Lupin F'n
 

What's hot (17)

Lab
LabLab
Lab
 
ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 2 หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
Software
SoftwareSoftware
Software
 
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
 
Ch1 com tech
Ch1 com techCh1 com tech
Ch1 com tech
 
Chapter1 Intro to Computer System
Chapter1 Intro to Computer SystemChapter1 Intro to Computer System
Chapter1 Intro to Computer System
 
คูมื่อ E book
คูมื่อ E bookคูมื่อ E book
คูมื่อ E book
 
Computer system
Computer systemComputer system
Computer system
 
สไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สไลด์ บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
หน่วยที่ 2-องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอม
หน่วยที่ 2-องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมหน่วยที่ 2-องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอม
หน่วยที่ 2-องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอม
 
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
ข้อสอบ5 เม.ย. การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนต ปวส 2558มี80ข้อ
 
บทที่ 21
บทที่ 21บทที่ 21
บทที่ 21
 
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 2-ระบบคอมพิวเตอร์
 
ระบบปฏิบัติการ.Ppt
 ระบบปฏิบัติการ.Ppt  ระบบปฏิบัติการ.Ppt
ระบบปฏิบัติการ.Ppt
 
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร
 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
 

Viewers also liked

Marketing attack the block
Marketing  attack the blockMarketing  attack the block
Marketing attack the block
LucaR712
 
Langston%20 Hughes[1]
Langston%20 Hughes[1]Langston%20 Hughes[1]
Langston%20 Hughes[1]
ajg00260
 
Scala categorytheory
Scala categorytheoryScala categorytheory
Scala categorytheory
Meetu Maltiar
 
Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...
Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...
Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...
IL Group (CILIP Information Literacy Group)
 
FA: Pediatric
FA: PediatricFA: Pediatric
FA: Pediatric
MUBOSScz
 
Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2
Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2
Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2
Outsidesign
 
Estrategia de comunicación con johnson&johnson beauty
Estrategia de comunicación con johnson&johnson beautyEstrategia de comunicación con johnson&johnson beauty
Estrategia de comunicación con johnson&johnson beauty
Mamundi
 
Hodnotenie SAV 2006
Hodnotenie SAV 2006Hodnotenie SAV 2006
Hodnotenie SAV 2006
arraweb
 
Accesibilidad web
Accesibilidad webAccesibilidad web
Accesibilidad web
guest8b219d
 

Viewers also liked (20)

Marketing attack the block
Marketing  attack the blockMarketing  attack the block
Marketing attack the block
 
Langston%20 Hughes[1]
Langston%20 Hughes[1]Langston%20 Hughes[1]
Langston%20 Hughes[1]
 
Vocational service
Vocational serviceVocational service
Vocational service
 
Scala categorytheory
Scala categorytheoryScala categorytheory
Scala categorytheory
 
Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...
Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...
Sieber & Tarron - Supporting information literacy and study skills with Open ...
 
FA: Pediatric
FA: PediatricFA: Pediatric
FA: Pediatric
 
Antonio Alvarado: Arte y Tecnología
Antonio Alvarado: Arte y TecnologíaAntonio Alvarado: Arte y Tecnología
Antonio Alvarado: Arte y Tecnología
 
Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2
Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2
Конкурс Fresh Collection. Презентация Сергея Шашмурина №2
 
Estrategia de comunicación con johnson&johnson beauty
Estrategia de comunicación con johnson&johnson beautyEstrategia de comunicación con johnson&johnson beauty
Estrategia de comunicación con johnson&johnson beauty
 
Doc.58
Doc.58Doc.58
Doc.58
 
Segundo corte
Segundo corteSegundo corte
Segundo corte
 
Hodnotenie SAV 2006
Hodnotenie SAV 2006Hodnotenie SAV 2006
Hodnotenie SAV 2006
 
SociologyExchange.co.uk Shared Resource
SociologyExchange.co.uk Shared ResourceSociologyExchange.co.uk Shared Resource
SociologyExchange.co.uk Shared Resource
 
Commons
CommonsCommons
Commons
 
CM en 10 casos (C4e): Spanair
CM en 10 casos (C4e): SpanairCM en 10 casos (C4e): Spanair
CM en 10 casos (C4e): Spanair
 
Social Personal Branding - Promociona tu Marca Personal en Redes Sociales
Social Personal Branding - Promociona tu Marca Personal en Redes SocialesSocial Personal Branding - Promociona tu Marca Personal en Redes Sociales
Social Personal Branding - Promociona tu Marca Personal en Redes Sociales
 
Accesibilidad web
Accesibilidad webAccesibilidad web
Accesibilidad web
 
As 20 const.inus.do mundo carl din-en
As 20 const.inus.do mundo carl din-enAs 20 const.inus.do mundo carl din-en
As 20 const.inus.do mundo carl din-en
 
Fake resume
Fake resumeFake resume
Fake resume
 
Me and my movies
Me and my moviesMe and my movies
Me and my movies
 

Similar to Technology5

โครงงานคอม 5
โครงงานคอม 5โครงงานคอม 5
โครงงานคอม 5
wipawanmmiiww
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
sommat
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
Nantawoot Imjit
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
jamiezaa123
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
jamiezaa123
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
jamiezaa123
 
งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6
amphaiboon
 
งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6
amphaiboon
 
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
Nattapon
 
บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
Pokypoky Leonardo
 

Similar to Technology5 (20)

Ppp.
Ppp.Ppp.
Ppp.
 
โครงงานคอม 5
โครงงานคอม 5โครงงานคอม 5
โครงงานคอม 5
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
 
ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์ฮาร์ดแวด์
ฮาร์ดแวด์
 
Computer system
Computer systemComputer system
Computer system
 
วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
 
คอมพิวเตอร์สำหรับบัณฑิตศึกษา
คอมพิวเตอร์สำหรับบัณฑิตศึกษาคอมพิวเตอร์สำหรับบัณฑิตศึกษา
คอมพิวเตอร์สำหรับบัณฑิตศึกษา
 
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์เบื้องต้นคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
บทที่1 ทวีชัย
บทที่1  ทวีชัยบทที่1  ทวีชัย
บทที่1 ทวีชัย
 
1094876837 unit2
1094876837 unit21094876837 unit2
1094876837 unit2
 
1094876837 unit2
1094876837 unit21094876837 unit2
1094876837 unit2
 
งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6
 
งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6งานนำเสนอบทที่6
งานนำเสนอบทที่6
 
08
0808
08
 
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
 
บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
บทที่ 3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
 
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์	องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
 

More from vizaa

Technology2
Technology2Technology2
Technology2
vizaa
 
Technology8
Technology8Technology8
Technology8
vizaa
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8
vizaa
 
Technology7
Technology7Technology7
Technology7
vizaa
 
Technology6
Technology6Technology6
Technology6
vizaa
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2
vizaa
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5
vizaa
 
Technology1
Technology1Technology1
Technology1
vizaa
 

More from vizaa (8)

Technology2
Technology2Technology2
Technology2
 
Technology8
Technology8Technology8
Technology8
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8เทคโนโลยีสารสนเทศ8
เทคโนโลยีสารสนเทศ8
 
Technology7
Technology7Technology7
Technology7
 
Technology6
Technology6Technology6
Technology6
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2เทคโนโลยีสารสนเทศ2
เทคโนโลยีสารสนเทศ2
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5เทคโนโลยีสารสนเทศ5
เทคโนโลยีสารสนเทศ5
 
Technology1
Technology1Technology1
Technology1
 

Technology5

  • 1. 5.1 ความหมายและความเป็นมา5.2 ชนิดของคอมพิวเตอร์5.3 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์5.4 ระบบสื่อประสม<br />aaaaaเมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัดคำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุค 40 ปีก่อน หรือเครื่องคิดเลขล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมดaaaaaในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผล และเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์aaaaaการจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) และดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) <br />รูปที่ 5.1 ลูกคิด<br />5.1.1 แอนะล็อกคอมพิวเตอร์<br />aaaaaแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมาประกอบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่ง แอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็ทรอนิกส์ จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัดaaaaaแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำ และเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษาaaaaaในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น<br />5.1.2 ดิจิทัลคอมพิวเตอร์<br />aaaaaคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่ละหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสิบที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถึงเก้าได้สิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวันaaaaaค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกันแต่จะเป็นระบบเลขฐาน 2 ที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียง 2 ตัว คือเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพท์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจง่ายaaaaaเครื่องดิจิทัลคอมพิวเตอร์หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่าคอมพิวเตอร์กำลังได้รับความนิยมกันมากในขณะนี้ มีวิวัฒนาการแบ่งเป็นยุค ๆ ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยีเป็น 5 ยุค ด้วยกัน การแบ่งยุคนี้จะเริ่มนับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ล้วน ๆ ดังนี้<br />aaaaa1) คอมพิวเตอร์ยุคแรก อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK 1),อีนิแอค(ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)<br />รูปที่ 5.2 หลอดสุญญากาศ<br />มาร์ค วัน<br />อีนิแอค<br />ยูนิแวค<br />รูปที่ 5.3 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรก<br />aaaaa2) คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้าน ซอฟแวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน<br />รูปที่ 5.4 ทรานซิสเตอร์<br />aaaaa3) คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม ยุคระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ไม่สิ้นเปลืองกำลังงาน โครงสร้างของคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง<br />รูปที่ 5.5 วงจรรวม หรือวงจรไอซี<br />aaaaa4) คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration : VLSI ) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่อง คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง สามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวางaaaaa5) คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปํญญาประดิษฐ์ (Atificial Intelligence : AI) ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุน และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaพัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชิ้นซิลิกอนเล็กๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัว บรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง <br />รูปที่ 5.6 ภาพเปรียบเทียบระหว่างหลอดสุญญากาศ ทรานซิสเตอร์ และวงจรรวม<br />aaaaaไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่ช่วยหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีพียู(Central Processing Unit :CPU)<br />รูปที่ 5.7 วงจรอิเล็กทรอนิกส์และไมโครโพรเซสเซอร์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์<br />aaaaaการพัฒนาไมโครชิบที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามพอจะจะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้aaaaa1) ไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer)aaaaa2) สถานีงานวิศวกรรม (engineering worksstation)aaaaa3) มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)aaaaa4) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)aaaaa5) ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (super computer)<br />5.2.1 ไมโครคอมพิวเตอร์<br />aaaaaไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรืดเรียกว่า พีซี (Personal computer: PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นบนเครือข่ายaaaaaอาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้aaaaa1) คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้นอักขระ <br />รูปที่ 5.8 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ<br />aaaaa2) แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผลึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD ) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม <br />รูปที่ 5.9 แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์<br />aaaaa3) โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่า แล็ปท็อปน้ำหนักประมาณ1.5-3กิโลกรัมจอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบมีทั้งแสดงผลแบบสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายอยู่ทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเท่ากับ แล็ปท็อป <br />รูปที่ 5.10 โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์<br />aaaaa4) ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่น เป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลบางอย่างที่สามารถพกพาไปได้สะดวก <br />รูปที่ 5.11 ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์<br />5.2.2 สถานีงานวิศวกรรม<br />aaaaaผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิกและนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นทางกราฟิก การสร้างรูปภาพ และการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่าย ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพaaaaaบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลานบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่น โปรแกรมการจัดทำต้นแบบหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักรaaaaaการซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วน การซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้aaaaaสถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรกตามหลังจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer : RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที<br />รูปที่ 5.12 สถานีงานวิศวกรรม<br />5.2.3 มินิคอมพิวเตอร์<br />aaaaaมินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานได้พร้อมกันหลาย ๆ คนจึงเป็นเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับการประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงานอุตสาหกรรมaaaaaมินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่องให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร<br />รูปที่ 5.13 มินิคอมพิวเตอร์<br />5.2.4 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์<br />aaaaaเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการพัฒนาตั้งแต่เริ่มแรกเหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวณมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมากaaaaaเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและมีการรักษาเป็นอย่างดีaaaaaบริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและ มินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันอย่างชัดเจนaaaaaปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถสูงขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม<br />รูปที่ 5.14 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์<br />5.2.5 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์<br />aaaaaซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวนตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบaaaaaซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่น การคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน<br />รูปที่ 5.15 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์<br />ย้อนกลับ <br />aaaaaคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการรับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์aaaaaการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า (input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์ข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก (main menory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณ์ส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า และอุปกรณ์ส่งออก <br />5.3.1 ซีพียู<br />aaaaaการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล ภายในซีพียูประกอบด้วยaaaaa1) หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำกับซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงานaaaaa2) หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และการสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุมaaaaaกลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น<br />รูปที่ 5.16 ซีพียูเป็นหน่วยหลักของการควบคุมการทำงานและการเคลื่อนย้ายข้อมูล<br />aaaaaการพัฒนาซีพียูก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปไมโครชีปที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นหัวใจหลักของระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียูหลัก ในเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น ES9000 ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้ไมโครชิปเป็นซีพียู แต่อาจจะมีมากกว่าหนึ่งชิบประกอบรวมเป็นซีพียูaaaaaเทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากปี พ.ศ.2518 บริษัทอินเทลได้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 8080 ซึ่งเป็นซีพียูขนาด 8 บิต ซีพียูรุ่นนี้จะรับข้อมูลเข้ามาประมวลผลด้วยตัวเลขฐานสองครั้งละ 8 บิต และทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการซีพีเอ็ม (CP/M) ต่อมาบริษัทแอปเปิลก็เลือกซีพียู 6502 ของบริษัทมอสเทคมาผลิตเป็นเครื่องแอปเปิ้ลทู ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้นaaaaaเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยส่วนมากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของตระกูลอินเทลที่พัฒนามาจาก 8088 8086 80286 80386 80486 และเพนเทียม ตามลำดับaaaaaการพัฒนาซีพียูตระกูลนี้เริ่มจาก ซีพียูเบอร์ 8088 ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2524 มีการพัฒนาเป็นซีพียูแบบ 16 บิต บริษัทไอบีเอ็มเลือกซีพียูตัวนี้เพราะอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ในสมัยนั้นยังเป็นระบบ 8 บิต คอมพิวเตอร์รุ่นซีพียู 8088 แบบ 16 บิตนี้เรียกว่า พีซี และเป็นพีซีรุ่นแรกaaaaaขีดความสามารถของซีพียูที่จะต้องพิจารณา นอกจากขีดความสามารถในการประมวลผลภายใน การรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณาขีดความสามารถในการเข้าไปเขียนอ่านในหน่วยความจำด้วย ซีพียู 8088 สามารถเขียนอ่านในหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 1 เมกะไบต์ (ประมาณหนึ่งล้านไบต์) ซึ่งถือว่ามากในขณะนั้นaaaaaความเร็วของการทำงานของซีพียูขึ้นอยู่กับการให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา ซีพียู 8088 ถูกกำหนดจังหวะด้วยสัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็ว 4.77 ล้านรอบใน 1 วินาที หรือที่เรียกว่า 4.77 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งปัจจุบันถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นตามลำดับaaaaaไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมฮาร์ดดิสก์ลงไปและปรับปรุงซอฟต์แวร์ระบบ และเรียกชื่อรุ่นว่า พีซีเอ็กซ์ที (PC-XT)aaaaaใน พ.ศ.2527 ไอบีเอ็มเสนอไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้ดีกว่าเดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า พีซีเอที (PC-AT) คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ใช้ซีพียูเบอร์ 80286 ทำงานที่ความเร็วสูงขึ้น คือ 6 เมกะเฮิรตซ์aaaaaการทำงานของซีพียู 80286 ดีกว่าเดิมมาก เพราะรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายในเป็นแบบ 16 บิตเต็ม การประมวลผลก็เป็นแบบ 16 บิต ทำงานด้วยความเร็วของจังหวะสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า และยังติดต่อเขียนอ่านกับหน่วยความจำได้มากกว่า คือ ติดต่อได้สูงสุด 16 เมกะไบต์ หรือ 16 เท่าของคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีaaaaaพัฒนาการของเครื่องพีซีเอทีทำให้ผู้ผลิตอื่นออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามอย่างไอบีเอ็มโดยเพิ่มขีดความสามารถเฉพาะของตนเองเข้าไปอีก เช่น ใช้สัญญาณนาฬิกาสูงขึ้นเป็น 8 เมกะเฮิรตซ์ 10 เมกะเฮิรตซ์ จนถึง 16 เมกะเฮิรตซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์บนรากฐานของพีซีเอทีจึงมีผู้ใช้กันทั่วโลก ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างเต็มที่aaaaaใน พ.ศ.2529 บริษัทอินเทลประกาศตัวซีพียูรุ่นใหม่ คือ 80386 หลายบริษัทรวมทั้งบริษัทไอบีเอ็มเร่งพัฒนาโดยนำเอาซีพียู 80386 มาเป็นซีพียูหลักของระบบ ซีพียู 80386 เพิ่มเติมขีดความสามารถอีกมาก ช่น รับส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต ประมวลผลครั้งละ 32 บิต ติดต่อหน่วยความจำได้มากถึง 4 จิกะไบต์ (1 จิกะไบต์เท่ากับ 1024 ล้านไบต์) จังหวะสัญญาณนาฬิกาเพิ่มได้สูงถึง 33 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถสูงกว่าพีซีรุ่นเดิมาก และใน พ.ศ.2530 บริษัทไอบีเอ็มเริ่มประกาศขายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ชื่อว่า พีเอสทู (PS/2) โดยมีโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ของระบบแตกต่างออกไปโดยเฉพาะระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลภายใน (bus)aaaaaผลปรากฎว่า เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 80386 ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่น 80386 มีราคาแพงมาก ดังนั้นใน พ.ศ.2531 อินเทลต้องเอาใจลูกค้าในกลุ่มเอทีเดิม คือ ลดขีดความสามารถของ 80386 ลงให้เหลือเพียง 80386SXaaaaaซีพียู 80386SX ใช้กับโครงสร้างเครื่องพีซีเอทีเดิมได้พอดีโดยแทบไม่ต้องดัดแปลงอะไร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างภายในซีพียูเป็นแบบ 80386 แต่โครงสร้างการติดต่ออุปกรณ์ภายนอกใช้เส้นทางเพียงแค่ 16 บิต ไมโครคอมพิวเตอร์ 80386SX จึงเป็นที่นิยมเพราะมีราคาถูกและสามารถทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซีเอทีได้aaaaaซีพียู 80486 เป็นพัฒนาการของอินเทลใน พ.ศ.2532 และเริ่มใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปีต่อมา ความจริงแล้วซีพียู 80486 ไม่มีข้อเด่นอะไรมากนัก เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการรวมชิป 80387 เข้ากับซีพียู 80386 ซึ่งชิป 80387 เป็นหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์ และรวมเอาส่วนจัดการหน่วยความจำเข้าไว้ในชิป ทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็วขึ้นอีกaaaaaใน พ.ศ.2535 อินเทลได้ผลิตซีพียูตัวใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงขึ้น ชื่อว่า เพนเทียม การผลิตไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้เปลี่ยนมาใช้ซีพียูเพนเทียม ซึ่งเป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงกว่าซีพียู 80486 มีความซับซ้อนกว่าเดิม และใช้ระบบการส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 64 บิตaaaaaการพัฒนาทางด้านซีพียูเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยิ่งขี้น ใช้งานได้ดีมากขึ้น และจะเป็นซีพียูในรุ่นที่ 6 ของบริษัทอินเทล โดยมีชื่อว่า เพนเทียม ทู<br />5.3.2 หน่วยความจำหลัก<br />aaaaaเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียู การทำงานเป็นวงรอบโดยการนำคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่งaaaaaจากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่านเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลักจะต้องทำได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานที่ความถี่ของสัญญาณนาฬิการ 33 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทัน ดังนั้นกลไกของซีพียูจึงต้องชะลอความเร็วลงด้วยการสร้างภาวะรอ (wait state) การเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์ จึงต้องพิจารณาดูว่ามีภาวะรอในการทำงานด้วยหรือไม่aaaaaหน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องกำหนดคุณลักษณะ ในเรื่องช่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล (access time) ค่าที่ใช้ทั่วไปอยู่ในช่วงประมาณ 60 นาโนวินาที ถึง 125 นาโนวินาที (1 นาโนวินาที เท่ากับ 10 ยกกำลัง -9 วินาที) แต่อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาให้หน่วยความจำสามารถใช้กับซีพียูที่ทำงานเร็วขนาด 33 เมกะเฮิรตซ์ ได้โดยการสร้างหน่วยความจำพิเศษมาคั้นกลางไว้ ซึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแคช (cache memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาเพื่อนำชุดคำสั่ง หรือข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อให้ซีพียูเรียกใช้ได้เร็วขึ้นaaaaaการแบ่งประเภทหน่วยความจำหลัก ถ้าแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล กล่าวคือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory ) แต่ถ้าหน่วยความจำเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจรก็เรียกว่าหน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory)aaaaaแต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทของหน่วยความจำจะแบ่งตามสภาพการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า แรม (Random Access Memory : RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้และหากเป็นหน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนลงไปได้ก็เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่น เก็บโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐานของระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอมส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบลบข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตร้าไวโอเลตฉายลงบนผิวซิลิกอน หน่วยความจำประเภทนี้มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ ขณะใช้งานจึงมีแผ่นกระดาษทึบปิดทับไว้ เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory :EPROM)<br />5.3.3 หน่วยความจำรอง<br />aaaaaในยุคสังคมสารสนเทศทุกวันนี้ ข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนหรือขนาดใหญ่มาก ตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของปัญหาที่พบในงานต่าง ๆ หน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โดยทั่วไปหน่วยความจำหลักจะมีขนาดจำกัด ทำให้ไม่พอเพียงสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในระบบคอมพิวเตอร์จึงมักติดตั้งหน่วยความจำสำรอง เพื่อนำมาใช้เก็บข้อมูลจำนวนมาก เป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ถ้ามีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำงาน ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมจะสูญหายไปหมด หากมีข้อมูลส่วนใดที่ต้องการเก็บไว้ใช้งานในภายหลังก็สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง หน่วยความจำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็ก ซึ่งจะมีทั้งแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์aaaaa1) แผ่นบันทึก เป็นหน่วยความจำรองที่มีความจุสูง มีลักษณะคล้ายแผ่นเสียง เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ เพื่อให้สามารถเก็บบันทึกสนามแม่เหล็กบนสารที่เคลือบนั้น การเก็บบันทึกของแผ่นบันทึกข้อมูลจะมีหลักการคล้ายกับจานเสียงที่จะบันทึกเสียงเป็นร่องต่อเนื่องเป็นวงแบบก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง แต่การเก็บบันทึกข้อมูลแผ่นบันทึกจะวนรอบบรรจบกันเป็นวงกลมหลาย ๆ วง โดยมีหัวสำหรับอ่านและเขียนข้อมูล เลื่อนเข้าออกจากศูนย์กลางของแผ่นตามแนวเส้นตรง ในขณะที่แผ่นบันทึกจะหมุนรอบแกนด้วยความเร็วสูง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง รวดเร็วกว่าแถบบันทึกที่เป็นการเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับaaaaaแผ่นบันทึกจะเป็นแผ่นพลาสติกไมลาร์ที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ แล้วห่อหุ้มด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ ในระยะเริ่มแรกแผ่นบันทึกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว และหน่วยขับแผ่นบันทึก (disk drive ) มีราคาแพงจึงไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก ต่อมามีการพัฒนาให้มีแผ่นบันทึกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเป็น 5.25 นิ้ว สามารถพกพาติดตัวได้สะดวกแผ่นบันทึกขนาด 5.25 นิ้ว จะมีช่องเปิดสำหรับอ่านบันทึกข้อมูลกว้างมาก จนอาจทำให้มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรก ตลอดจนรอยนิ้วมือประทับบนแผ่น มีผลทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้เสียหายได้ง่ายจึงมีการพัฒนาให้บรรจุในตลับพลาสติกแข็ง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลดลงเป็น 3.5 นิ้ว จะมีความทนทานมากขึ้น ขณะเดียวกันช่องเปิดสำหรับอ่านบันทึกข้อมูลจะถูกปิดคลุมไว้อย่างอัตโนมัติทันทีที่นำแผ่นบันทึกข้อมูลออกจากหน่วยขับแผ่นบันทึกaaaaaด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น แผ่นบันทึกมีแนวโน้มที่จะเก็บข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น แผ่นบันทึกขนาด 5.25 นิ้ว จะมีควาจุ 360 กิโลไบต์ และ 1.2 เมกะไบต์ ส่วนแผ่นบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจะ 720 กิโลไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์<br />รูปที่ 5.17 แผ่นบันทึกข้อมูล<br />aaaaa2) ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลลงแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่เคลือบด้วยวัสดุเหล็กออกไซด์ ข้อมูลที่เก็บลงแผ่นฮาร์ดดิสก์จะอ่านหรือบันทึกด้วยหัวอ่านบันทึก ซึ่งมีวิธีการแทนค่าศูนย์หรือหนึ่งด้วยทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ที่มีความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กก็จะมีความจุสูง นอกจากนี้ขนาดของความจุของฮาร์ดดิสก์ก็ยังขึ้นกับกลไกของหัวอ่านบันทึกของหน่วยขับฮาร์ดดิสก์ และสารแม่เหล็กที่เคลือบบนแผ่นจานแม่เหล็กaaaaaการบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะแบ่งเป็นรอบวงที่เรียกว่าแทร็ก (track) แทร็กนี้จะต่างกับร่องแผ่นเสียงที่เป็นวงแบบก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง แต่ของฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลเป็นวงครบรอบหลาย ๆ วง ฮาร์ดดิสก์ที่ผลิตมาจากโรงงานส่วนใหญ่ยังใช้เก็บข้อมูลไม่ได้ ต้องทำการจัดรูปแบบแผ่น หรือที่เรียกว่า การฟอร์แมต (format) เสียก่อน ขึ้นตอนการฟอร์แมตเริ่มจาการสร้างแทร็กก่อน และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่าเซ็กเตอร์ (sector) ความจุของฮาร์ดดิสก์สามารถคำนวณจากจำนวนแผ่นบันทึกข้อมูล จำนวนแทร็กในแต่ละแผ่น และจำนวนเซ็กเตอร์ในแต่ละแทร็ก โดยหนึ่งเซ็กเตอร์จะมีเนื้อที่เก็บข้อมูลเท่ากับ 512 ไบต์aaaaaฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะประกอบด้วยแผ่นบันทึกมากกว่าหนึ่งแผ่นมาประกบซ้อนทับกันแล้วบรรจุในกล่องมิดชิด หน่วยขับฮาร์ดดิสก์จะต้องมีหัวอ่านบันทึกเท่ากับจำนวนผิวหน้าของแผ่นบันทึก หัวอ่านบันทึกทุกตัวจะเชื่อมต่อกันในลักษณะที่ให้ทุกตัวเลื่อนย้ายในเวลาเดียวกันได้ ฮาร์ดดิสก์จะมีหน่วยอ้างอิงตำแหน่งเป็นไซเลนเดอร์ (cylinder) แทนการเรียกแทร็กเหมือนแผ่นบันทึกข้อมูล เพราะฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกหลาย ๆ แผ่นซ้อนกันเป็นทรงกระบอก จึงมีตำแหน่งแทร็กตรงกันหลายแผ่น จำนวนของไซลินเดอร์ของฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนแปลงไปตามรุ่นaaaaaหัวอ่านแผ่นบันทึกของหน่วยขับแผ่นบันทึก และหน่วยขับฮาร์ดดิสก์จะต่างกัน โดยหัวอ่านแผ่นบันทึกของหน่วยขับแผ่นบันทึกจะสัมผัสโดยตรงกับผิวจานแม่เหล็ก จึงมีวิธีการอ่านและบันทึกข้อมูลคล้ายกับวีดีโอหรือเครื่องเล่นเกม ส่วนหัวอ่านแผ่นบันทึกหน่วยขับฮาร์ดดิสก์ จะลอยสูงจากผิวจานแม่เหล็ก ขณะที่จานหมุนด้วยความเร็วสูง 3600 รอบต่อวินาที การลอยสูงขึ้นนี้จะอยู่ในระยะประมาณ 4 ไมครอน (เส้นผมของมนุษย์จะหนาราว 80 ไมครอน) ซึ่งถือว่าเกือบสัมผัสเลยทีเดียว ดังนั้นควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงการกระแทกกับเคื่องขณะที่มีการใช้งานอยู่ เพราะหัวอ่านบันทึกอาจมีการกระทบจานผิวแม่เหล็กจนทำให้ผิวและสารเหล็กออกไซด์ที่เคลือบอยู่เสียหาย และเรียกคืนมาดังเดิมไม่ได้ การซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์จะทำได้ยากกว่า เพราะจะต้องเปิดภาชนะบรรจุฮาร์ดดิสก์ในห้องพิเศษเฉพาะที่มีเพียงในบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ซ่อมแซมเครื่องเท่านั้น <br />รูปที่ 5.18 ฮาร์ดดิสก์<br />aaaaaเนื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถทำงานเก็บข้อมูลเองได้ จำเป็นต้องมีแผงวงจรควบคุมมาทำงานประกอบตามปกติแผงวงจรนี้จะใช้เสียบเข้าช่องติดตั้งแผงวงจร เพื่อแปลงสัญญาณที่จะเข้าหรือออกจากฮาร์ดดิสก์ แผงวงจรควบคุมแต่ละชุดจะมีรหัสเฉพาะสำหรับติดต่อกับหน่วยขับฮาร์ดดิสก์ ไม่สามารถนำแผงวงจรควบคุมอื่น ๆ ที่ใช้รหัสต่างกันมาอ่านบันทึกข้อมูลได้ จะต้องนำฮาร์ดดิสก์นั้นมาฟอร์แมตใหม่ให้สามารถใช้กับแผงวงจรควบคุมนั้น แผงวงจรควบคุมส่วนใหญ่ที่ใช้งาน สามารถจำแนกตัวต่อประสาน (Interface) ได้เป็น4ชนิดคือaaaaaก. ST-506/412 เป็นระบบควบคุมมาตรฐานเริ่มแรกที่ใช้กับเครื่องพีซี กล่าวคือ เครื่องที่มีไมโครโพรเซสเซอร์ 8088aaaaaข. ESDI (Enhanced Small Device Interface) เป็นระบบที่พัฒนาให้ดีกว่าระบบ ST506 สำหรับเครื่องขับมีความจุมากขึ้นและความเร็วสูงขึ้น นับเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่องที่มีไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 และ 80386 ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า อัตราการโอนย้ายข้อมูล หรือ การอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์aaaaaค. SCSI ( Small Computer System Interface) เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้เพราะระบบนี้นอกจากสามารถควบคุมฮาร์ดดิสก์แล้วยังสามารถควบคุมระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีโพรเซสเซอร์อยู่ในตัวเอง ทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายสำหรับแผงวงจรใหม่ ขนาดและอัตราการอ่านข้อมูลของระบบนี้เทียบได้ใกล้เคียงกับ ESDI และสามารถใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่อเสริมอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โมเด็ม ซีดีรอม เครื่องกราดตรวจ และเครื่องพิมพ์ แผงวงจรควบคุม SCSI หนึ่งแผงจะสนับสนุนการต่อได้ 8 อุปกรณ์ ดังนั้นจึงเหลือให้ต่ออุปกรณ์ได้เพิ่มอีก 7 อุปกรณ์aaaaaง. IDE ( Intergrated Drive Electronics) ระบบนี้จัดเป็นระบบใหม่ที่มีขนาดความจะใกล้เคียงกับ ESDI และ SCSI แต่มีราคาต่ำกว่า ปัจจุบันนิยมบรรจุ IDE รวมอยู่ในแผงวงจร ซีพียู ทำให้มีช่องติดตั้งว่างให้ใช้งานอื่น ๆ เพิ่มขึ้น คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าก็สามารถใช้ IDE ได้แต่ต้องเพิ่มแผงวงจรการเชื่อมดยงกับช่องเสียบแผงวงจร (slot)aaaaaในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์นอกจากจะต้องพิจารณาเครื่องขับแล้วจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้aaaaa1. ความเข้ากันได้ของตัวควบคุม โดยตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์จะต้องเข้าได้พอเหมาะกับตัวฮาร์ดดิสก์เอง ถ้าเข้ากันไม่ได้ก็จะมีผลกระทบต่อระบบความเชื่อถือของข้อมูลด้วยaaaaa2. ความเข้ากันได้กับคอมพิวเตอร์ หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์สนับสนุนการใช้ฮาร์ดดิสก์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น การซื้อฮาร์ดดิสก์ขนาด 1,000 เมกะไบต์ แบบ ESDI พร้อมตัวควบคุมแบบ ESDI ถ้านำไปใช้งานกับเครื่องรุ่นใหญ่พีซี/เอ็กซ์ที ก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะระบบ ESDI เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์เบอร์ 80286 ที่มีเส้นทางเดินข้อมูลที่เรียกว่าบัส (bus) ขนาด 16 บิต แต่เครื่องรุ่นเก่าพีซี/เอ็กซ์ทีใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 หรือ 8086 มีกการติดต่อบัส 8 บิตaaaaa3. อัตรการโอนย้ายข้อมูล และเวลาแสวงหาข้อมูล อัตราการโอนย้ายข้อมูล (data transfer rate ) เป็นอัตราความเร็วที่ข้อมูลสามารถอ่านขึ้นมาจากฮาร์ดดิสก์ หรือความเร็วสูงสุดที่ข้อมูลจะไหลจากผิวจานแม่เหล็กไปยังตัวควบคุม ตามปกติจะมีหน่วยเป็นล้านบิตต่อวินาที (mb/s) ส่วนเวลาแสวงหาข้อมูล (seek times) เป็นเวลบาของการเคลื่อนย้ายหัวอ่านบันทึกจากตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งอื่นเพื่อการค้นหาข้อมูล เวลาแสวงหานี้ฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่นใช้เวลาแสวงหาไม่เท่ากัน อยู่ในช่วง 110-9 มิลลิวินาทีaaaaa4. ขนาดความจุของการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์มีความจุตั้งแต่ 20 เมกะไบต์ขึ้นไป จนถึงระดับจิกะไบต์ ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าเท่าใดขนาดความจุฮาร์ดดิสก์จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่กลับมีราคาลดลงaaaaa3) จานแสง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ฮาร์ดดิสก์มีบทบาทและความสำคัญต่อการใช้งานสูงมาก ความจุของฮาร์ดดิสก์ได้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ ในปัจจุบันมีความจุหลายร้อยเมกะไบต์ ราคาของฮาร์ดดิสก์ก็ลดลงจนทำให้ขนาดควาาามจุต่อราคาถูกลงมาก และมีผลดีกว่าการใช้แผ่นบันทึกข้อมูล ไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานประกอบอยู่ด้วยเสมอ ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิสก์จะได้รับการพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม แต่ความต้องการใช้แหล่งเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและพกพาได้สะดวกก็ยังมีอยู่ แม้แผ่นบันทึกข้อมูล 3.5 นิ้วสะดวกในการพกพา แต่ความยังจุไม่ พอกับความต้องการ เพราะโปรแกรมสมัยใหม่จะเป็นโปรแกรมที่ต้องใช้เนื้อที่มาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแหล่งเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีจานแสง (optical disk)aaaaaจุดเด่นที่สำคัญของจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลที่ไม่ต้องให้หัวอ่านกดลงหรือสัมผัสกับจาน การอ่านจะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ จานก็มีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่อ่อน ไม่ต้องกลับหัวอ่าน และ คงทนมีอายุการใช้งานได้ยาวนานaaaaaจานแสงเป็นเทคโนโลยีที่มีการแข่งขันในเชิงการผลิต พัฒนาการของจานแสงเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้กับเครื่องเสียงและวิดีโอ ด้วยเหตุนี้เองการนำจานแสงมาใช้ในงานด้านข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีทางด้านจานแสง ที่กำลังได้รับการนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ในขณะนี้ มี 3 เทคโนโลยีaaaaaเทคโนโลยีแรก คือ ซีดีรอม (Compack Disk Read only Memory :CDROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้จานแสงกับเครื่องสเตอริโอ การใช้ซีดีรอมในระบบคอมมิวเตอร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก และสามารถเก็บข้อมูล ในรูปข้อความ ข่าวสาร รูปภาพ เสียง รวมทั้งภาพวีดิโอไว้ในแผ่นซึ่งพร้อมจะนำมาใช้ได้ทันที แผ่นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงสามแสนหน้าหรือเทียบได้กับหนังสือ 150 เล่ม<br />รูปที่ 5.19 แผ่นซีดีรอม<br />aaaaaหน่วยขับซีดีรอมเป็นสิ่งที่ต้องต่อเพิ่มลงในระบบคอมพิวเตอร์ และหากให้หน่วยขับซีดีรอม มีช่องสัญญานต่อกับเครื่องขยายเสียงจะทำให้ใช้ร่วมกันกับแผ่นที่ใช้เล่นเพลงได้ หน่วยขับซีดีรอมในปัจจุบันมีราคาไม่แพง ส่วนใหญ่ใช้เก็บข้อมูล สารานุกรม คัมภีร์ไบเบิล แผนที่ ข้อมูลงานวิจัย หรือเอกสารทางวิชาการที่สำคัญ การใช้ซีดีรอมเก็บโปรแกรม ผู้ขายซอฟต์แวร์จะนำโปรแกรมทั้งหมดบรรจุในแผ่นซีดีรอมตามมาตรฐาน ISO 9600 มีควาจุที่ใช้ 600 เมกะไบต์ การเชื่อมต่อกับไมโครคอมพิวเตอร์มักใช้แผงวงจรควบคุมaaaaaเทคโนโลยีที่สองคือ เวิร์ม (Write Once Read Many : WORM) เทคโนโลยีนี้ให้ผู้ใช้เขียนข้อมูลลงไปได้เพียงครั้งเดียว แต่อ่านได้หลายครั้ง เวิร์มเป็นเทคโนโลยีโดดเดี่ยว เพราะแนวทางการพัฒนาไม่ได้พัฒนาจากเทคโนโลยีใด ตัวแผ่นเป็นโลหะ ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ การที่ทำให้แผ่นสามารถเขียนได้หนึ่งครั้งนี้เองจึงทำให้แตกต่างจากซีดีรอม ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานที่กำหนดออกมาเฉพาะ บริษัทที่ผลิตยังใช้รูปแบบแตกต่างกัน ปัจจุบันองค์กรว่าด้วยเรื่องมาตฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization :ISO) พยายามกำหนดความจุไว้ที่ 650 เมกะไบต์ แต่ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American Naional Standard : ANSI ) ได้กำหนดความจุที่ 1.2 จิกะไบต์ เวิร์มจึงเป็นจานแสงชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลเข้าไปเก็บได้และเก็บไว้อย่างถาวร<br />รูปที่ 5.20 เวิร์ม<br />aaaaaเทคโนโลยีที่สาม คือ เทคโนโลยีที่จะทำให้จานแสงสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ สามารถเขียนอ่านได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ จึงมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น จานแสงแม่เหล็กและจานแสงที่อ่านซ้ำได้ เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการของจานแสง คือ ทำให้มีคุณมบัติเหมือนฮาร์ดดิสก์สามารถเขียนอ่านข้อมูลได้ โดยรวมข้อดีไว้หลายประการ เช่น ความจุ ความคงทนของข้อมูลเก็บไว้ได้นานไม่ขึ้นอยู่กับสนามแม่เหล็ก ใช้งานง่าย มีขนาดเล็ก และที่สำคัญต้องเขียนอ่านได้เร็ว เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างจานแสงที่เขียนอ่านได้ จึงมีหลายเทคโนโลยีแตกต่างกันไป เช่น ใช้คุณสมบัติแม่เหล็กผสมกับแสง แสงที่ใช้เป็นแสงเลเซอร์ นอกจากนี้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทำให้แสงเลเซอร์ตกกระทบพื้นผิวของแผ่น ส่วนอีกเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการใช้คุณสมบัติของผลึกในเนื้อสารที่เปลี่ยนไปกับแสงเลเซอร์aaaaaในบรรดาเทคโนโลยีทั้งสามที่กล่าวถึง ซีดีรอมเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตและใช้งานอย่างกว้างขวาง จึงมีการใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ มากมาย<br />5.3.4 อุปกรณ์รับเข้า<br />aaaaaอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในที่นี้จะกล่าวถึงแผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse) ซึ่งเป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่aaaaa1) แผงแป็นอักขระ เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนรหัสเพื่อส่งต่อให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นaaaaaการวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 บิต และ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์<br />รูปที่ 5.21 ตัวอย่างแผงแป้นอักขระ<br />aaaaaเมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ภายใต้การควบคุมของซอร์ฟแวร์อีกชั้นหนึ่งaaaaaแผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออกมารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะมีแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาใน พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระกำหนดสัญญานทางไฟฟ้าขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุนเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้นaaaaaการเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่aaaaaสำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียวaaaaa2) เมาส์ ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่พัฒนาในช่วงหลัง ๆ นี้ สามารถติดต่อกับผู้ใช้โดยการใช้รูปกราฟิกแทนคำสั่ง มีการใช้งานเป็นช่องหน้าต่าง และเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพหรือสัญรูป (icon) อุปกรณ์รับเข้าที่นิยมใช้จึงเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่เรียกว่า เมาส์<br />รูปที่ 5.22 ตัวอย่างเมาส์<br />aaaaaเมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศทางของตัวชี้จะสัมพันธ์และเป็นไปในทางเดียวกับการเคลื่อนเมาส์aaaaaเมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบ คือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้นลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกน หมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ เมาส์แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพaaaaaเมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad) แผ่นรองเมาส์ซึ่งเป็นตาราง (grid) ตามแนวแกน X และ Y เมื่อเลื่อนตัวเมาส์เคลื่อนไปบนแผ่นตารางรองเมาส์ก็จะมีแสงตัดผ่านตารางและสะท้อนขึ้นมาทำให้ทราบตำแหน่งที่ลากไป เมาส์แบบนี้ไม่ต้องใช้ลูกกลิ้งกลม แต่ต้องใช้แผ่นตารางรองเมาส์พิเศษaaaaaการใช้เมาส์จะเป็นการเลื่อนเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วทำการยืนยันด้วยการกดปุ่มเมาส์ ปุ่มกดเมาส์มีความแตกต่างกัน สำหรับเครื่องแมคอินทอช ปุ่มกดเมาส์จะมีปุ่มเดียว แต่เมาส์ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มส่วนใหญ่จะมี 2 ปุ่ม โดยทั่วไปปุ่มทางซ้ายใช้เพื่อยืนยันการเลือกรายการและปุ่มทางข�