SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
ที่มาของกฎหมายหมาย
บ้านเมืองจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์มาใช้กับส่วนรวมเพื่อให้ผู้คนทั้งหลายปฏิบัติตามและหากไม่ปฏิบัติตามแล้ว
อาจต้องรับโทษหรือถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินได้ กฎเกณฑ์ข้อบังคับนี้เราเรียกว่า กฎหมาย จึงมีความ
จำเป็นที่นักเรียนทั้งหลายต้องทำความเข้าใจและศึกษาหาความรู้กันว่า กฎหมายคืออะไร มีที่มาอย่างไร ต่างจาก
ศีลธรรมจารีตประเพณีอย่างไร และสำคัญที่สุดก็คือว่ากฎหมายนั้นมีความสำคัญต่อเราอย่างไรบ้าง ย่อมเป็นทาง
หนึ่งที่จะทำให้นักเรียนทั้งหลายเป็นผู้รู้กฎหมายอันเป็นกติกาขอบ้านเมือง รวมทั้งเคารพและปฏิบัติตามโดย
เคร่งครัดกันต่อไป
ความหมายของกฎหมาย
นักเรียนอาจตั้งคำถามแก่ตัวเองว่ากฎหมายคืออะไร และจากที่กล่าวมาเเล้วน้ัน นักเรียนคงหาคำตอบได้
โดยเปรียบเทียบกับการที่นักเรียนเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนใด โรงเรียนนัั้นจะมีกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆให้
นักเรียนปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่้มหนึ่งของชุมชนหรือสังคมของนักเรียนนั้นเอง แต่ถ้าเรื่องของกฎหมาย
แล้ว ก็เป็นกรณีที่บังคับแก่คนทั่วประเทศเป็นส่วนรวม
ดังนั้นจึงอธิบายได้ว่า กฎหมาย คือ คำสั่งหรือระเบียบข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐหรือประเทศนั้นได้ออก
หรือกำหนดมาเพื่อใช้บังคับความประพฤติของบุคคล หรือประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม หากผู็ใด
ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้ว ผู้นั้นจะต้องได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เมื่อทราบความหมายของกฎหมายแล้ว นักเรียนก็ต้องทำความเข้าใจต่อไปอีกว่า กฎหมายน้ันต้องมี
ลักษณะอย่างไรบ้าง
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ หมายความว่า กฎหมายต้องมีข้อความเป็นคำสั่งหรือ
ข้อบังคับให้ประชาชนพลเมืองกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือห้ามมิให้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
2. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มีอำนาจในประเทศนั้น นักเรียนคงสงสัยว่าใคร
เป็นผู้อำนาจ คงต้องดูจากการปกครองของประเทศนั้นว่ามีการปกครองระบอบอะไร เช่น ประเทศไทยเรา ปัจจุบัน
มีรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้
แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก หมายความว่า การที่จะออกกฎหมายขึ้นมาบังคับใช้ ประชาชนในประเทศไทยเราต้อง
ผ่านทางสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
3. กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับทั่วไป กฎหมายที่ออกมาแล้ว คือ มีการประกาศ
ใช้บังคับแล้ว ตามปกติก็จะประกาศผ่านทางหนังสือของทางราชการเรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับแก่
บุคคลทั่วไปทุกคน
4. กฎหมายต้องมีลักษณะท่ีบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนโดยผู้นั้นจะต้องได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ ข้อบังคับดัง
กล่าวนี้เรียกว่า สภาพบังคับ ถ้าเป็นสภาพบังคังทางกฎหมายอาญา เมื่่อมีการฝ่าฝืนต้องได้รับโทษ 5 ประการ คือ
ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับทางแพ่ง เป็นเรื่องที่ให้ผู้ฝ่าฝืน ชำระหนี้หรือชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่เขา
ที่มาของกฎหมาย
ในที่นี้อยากให้นักเรียนทำความเข้าใจเรื่องที่มาของกฎหมายหรือบ่อเกิดของกฎหมายดังต่อไปนี้
1. กฎหมายเกิดจากผู้มีอำนาจเหนือรัฐหรือประเทศนั้นเป็นผู้สร้างขึ้น ที่มาของกฎหมายกรณีนี้
หมายความว่า ผู้ที่จะสร้างกฎหมายขึ้นมาหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นมานั้นต้องเป็นผู้มีอำนาจเหนือรัฐหรือประเทศนั้น
ถ้าหากเป็นยุคโบราณก็ย่อมหมายถึงผู้ปกครองชุมชนหรือกลุ่มชนนั้นและยุคต่อมาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้
ปกครอง ผู้ออกกฎหมาย คือ พระมหากษัตริย์ และในที่สุดถึงยุคปัจจุบันผู้ที่ร่างกฎหมายหรือออกกฎหมาย ได้แก่
สมาชิกรัฐสภา
2. กฎหมายมาจากคำสั่งสอนทางศาสนา หมายถึง กฎเกณฑ์ที่ผู้นำทางศาสนาต่างๆได้กำหนดขั้นให้
สาวกหรือผู้นับถือปฎิบัติตาม ซึ่งเป็นการอบรมสั่งสอนให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ
และกระทำแล้วได้รับผลดีหรือผลร้ายอย่างไร จากหลักการในทางศาสนานี้เอง ก็อาจนำมากำหนดขั้นเป็นกฎหมาย
3. จารีตประเพณี จารีตประเพณีก็เป็นอีกกรณีหนึ่งอันเป็นที่มาแห่งกฎหมายเช่นกัน จารีตประเพณี
หมายถึง สิ่งที่ผู้คนทั้งหลายยึดถือปฏิบัติหรือทำสืบต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาอันยาวนาน
ความแตกต่างระหว่างกฎหมาย ศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณี
1. กฎหมายกับศาสนา ศาสนา คือ กฎข้อบังคับ และคำสั่งสอนที่ผู้นำของศาสนาต่างๆ ได้กำหนดขั้นไว้ เพื่อ
ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติหรือกระทำตาม เมื่อได้กระทำไปแล้วย่อมได้รับผลดีหรือมีความสุข หากฝ่าฝืนย่อมมีโทษ
หรือได้รับความทุกข์ กฎหมายกับศาสนาจึงเหมือนกันในเรื่องที่กำหนดให้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อ
บังคับที่ตั้งไว้ หากฝ่าฝืนย่อมได้รับผลร้าย
แต่กฎหมายกับศาสนาต่างกันที่ว่ากฎหมายนั้นถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกบังคับลงโทษทันที แต่การประพฤติผิดข้อ
บัญญัติทางศาสนานั้น แม้จะไม่ถูกลงโทษโดยตรงแต่ก็ได้รับโทษทางอ้อม เช่น เป็นที่รังเกียจของคนอื่น ไม่มีผู้ใด
คบค้าสมาคมด้วย หรืออาจได้รับโทษอย่างอื่นตามความเชื่อของศาสนานั้นๆ
2. กฎหมายกับศีลธรรม ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่า การกระทำอย่างไรเป็นการกระทำ
ความผิด เป็นการกระทำที่ชอบที่ควรหรือที่ถูกต้อง การกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ไม่ควร หรือที่ผิดไป
ดังนั้น ศีลธรรมจึงเป็นเรื่องของการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติในส่ิงที่เป็นคุณงามความดี ดังนั้นจะเห็น
ได้ว่าทั้งกฎหมายและศีลธรรมนั้นต่างก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือกำหนดขึ้นมาเพื่อบังคับความประพฤติของมนุษย์ โดย
มนุษย์เป็นผู้สร้างและก่อให้เกิดขึ้นมาเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายและศีลธรรมก็มีข้อแตกต่างกัน เพราะกฎหมายนั้นเป็นคำส่ังหรือข้อบังคับที่ระบุมิให้
บุคคลนั้นกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป แต่ศีลธรรมนั้นเป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิด การคิดว่าจะต้องทำความดีไม่
เบียดเบียนผู้อื่นหรือให้ความรู้สึกนึกคิดทีดีแก่ผู้อื่น ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีศีลธรรม
3. กฎหมายกับจารีตประเพณี จารีตประเพณี เป็นสิ่งที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปร่างได้ตามความนิยมหรือ
ลักษณะนิสัยใจคอของผู้ยึดถือปฎิบัติ เช่น ประเพณีการแต่งกายของชาวเขาภาคเหนือ จารีตประเพณีนั้นมีความ
คล้ายคลึงกับกฎหมายคือ ต่างก็มีข้อกำหนดบังคับความประพฤติของมนุษย์ว่าควรทำอย่างนั้น ไม่ความทำอย่างนี้
เพื่อให้สังคมนั้นอยู่กันโดยปกติสุข
แต่กฎหมายมีความแตกต่างกับจารีตประเพณีอยู่หลายประการ เช่น กฎหมายเป็นเรื่องของผู้มีอำนาจใน
ประเทศหรือรัฐนั้นเป็นผู้กำหนดขึ้น และใช้บังคับกันท่ัวไปทุกคนส่วนจารีตประเพณีเป็นข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้
บังคับเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งเท่านั้น
กฎหมายเกี่ยวกับความสามารถของเด็กและเยาวชน
บุคคล คือ สิ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย บุคลแยกออกได้เป็น 2 ประเภท

1. บุคคลธรรมดา คือ ประชาชนคนธรรมดาทั่วๆไป มนุษย์ที่มีชีวิต 

2. นิติบุคล คือ บุคลที่มีขึ้นด้วยกฎหมายจะมี สิทธิ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา และตามจุดประสงค์
ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือสิ่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมา เช่น องค์กรต่างๆ เป็นต้น
 เมื่อเกิดมาแล้ว
เราเรียกว่า คนหรือมนุษย์ แต่ในทางกฎหมายนั้นเราเรียกว่าบุคคลธรรมดา ความเป็นคนสภาพบุคคลนั้นเริ่มมา
ตั้งแต่คลอดออกจากครรภ์มารดา และจะต้องมีชีวิตอยู่รอดมาเป็นทารก จึงจะเป็นสภาพบุคคลซึ่งจะเป็นอยู่เช่นนี้ไป
จนกระทั่งตาย หรือเรียกว่าสภาพบุคลย่อมสิ้นสุดลงด้วยการตาย

ตัวอย่าง นายแบงค์อายุ 70 ปี ป่วยเป็นไข้แล้วตาย หรือนายฟลุ๊คประสบอุบัติเหตุถูกรถชนตาย ดังนี้ เรา
เรียกบุคลที่ตายไปแล้วนี้ว่า เขาสิ้นสุดสภาพของความเป็นคนหรือความเป็นมนุษย์แล้วตั้งแต่เขาตายไป
เมื่อคนเราเกิดมาหรือมีสภาพบุคคลแล้ว เขาย่อมมีสิทธิแและหน้าที่ตามกฎหมาย และเรื่องสำคัญที่สุดที่
ควรจะทราบคือ เรื่องความสามารถของเด็กและเยาวชนว่าพวกเขามีความสามารถที่จะทำอะไรในทางกฎหมายได้
บ้าง หรือว่าไม่มีข้อจำกัดอะไรบ้าง และสามารถจะทำการอะไรในทางกฎหมายได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ได้บ้าง
กฎเกณฑ์ในการแบ่งคนตามความสามารถ ดังนี้ 

1. ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ บุคลที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

2. คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ พวกร่างกายพิการ หู ตาบอด ความจำเสื่อม

3. คนไร้ความสามารถ คือ คนที่ทำอะไรไม่ได้เลย ต้องมีคนคอยดูแล
เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่อ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกนึกคิดและสามารถรู้รับผิดชอบวัยของเด็กและ
เยาวชนตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งยังเป็นวัยที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษา
และในชั้นมัธยมศึกษาหน้าที่ส่วนใหญ่ก็คือการศึกษาหาความรู้ และพร้อมกันนั้นกฎหมายก็ให้สิทธิหน้าที่แก่เด็กและ
เยาวชนไว้ เช่น มีสิทธิที่จะมีทรัพย์สินได้ มีสิทธิที่จะศึกษาเล่าเรียนได้ แต่โดยที่เด็กหรือเยาวชนยังมีอายุน้อยอยู่
ฉะนั้นการที่จะให้มีสิทธิ สามารถกระทำการต่างๆ ในทางกฏหมายได้ทุกประการเหมือนผู้ใหญ่หรือ ผู้บรรลุนิติภาวะ
แล้วก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เด็กและเยาวชนนั้นได้ ดังนั้น ในเรื่องเกี่ยวกับความสามารถนี้ กฎหมายจะ
ต้องให้ความคุ้ครองเป็นพิเศษ

ในการให้ความคุ้มครองก็แบ่งระดับความสามารถว่าเด็กหรือเยาวชนนี้ 
เมื่อเป็นผู้เยาว์แล้วจะกระทำการ
ใดๆบางอย่างต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
การแบ่งขั้นระหว่งผู้เยาว์กับผู้ใหญ่และผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรม
มีกฎเกณฑ์อย่างไร

-->ในทางกฎหมายนั้นผู้เยาว์ หมายถึงบุคคลที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
ตัวอย่าง เด็กชายอิฐ อายุ 14 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผู้เยาว์
หรือไมดังนี้ จะเห็นได้ว่าเด็กชาย
อิฐอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ เราจึงถือว่าเด็กชายอิฐนั้นเป็นผู้เยาว์ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะ

 ผู้บรรลุนิติภาวะ หมายถึง ผู้ที่พ้นจากการเป็นผู้เยาว์นั้นเอง กล่าวคือ ผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วแต่
ถ้าเขาอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อเขาได้สมรสกันคือ ได้จดทะเบียนสมรสเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ถือว่า
เขาบรรลุนิติภาวะเหมือนกัน คือ บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส แต่มีข้อแม้ว่าชายหญิงต้องมีเจตนาที่จะอยู่ร่วมกัน
โดยจดทะเบียนสมรมเพื่อเป็นภรรยาสามีกัน


ตัวอย่าง นายอาร์มอายุ 19 ปี จดทะเบียนสมรสกับนางสาว ตุ๊กแก อายุ 18 ปี ดังนี้ทั้งสองคนนี้บรรลุ
นิติภาวะโดยพ้นจากการเป็นผู้เยาว์โดยการสมรส

เมื่อยังเป็นผู้เยาว์อยู่ กฎหมายจึงจำต้องคุ้มครองไว้ว่าผู้เยาว์จะกระทำการใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบ
จากบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน เพราะบิดามารดานั้นย่อมเป็นผู้รู้เห็นสิ่งต่างๆมามากมาย มี
วิจารณญาณดีว่าสิ่งใดชอบสิ่งใดควรหรือไม่ควร ดังนั้นถ้าหากบิดามารดาได้รู้เห็นและให้ความยินยอมด้วยก็จะเป็น
ผลดีกับนักเรียนหรือผู้เยาว์นั้น

ผู้แทนโดยชอบทำนั้นนั้นก็คือบิดามารดาของผู้เยาว์ ฉะนั้นการที่กฎหมายบังคับว่าผู้เยาว์จะต้องได้รับความ
ยินยอมโดยความเห็นชอบจากผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมชอบด้วยเหตุผลแล้ว เพราะว่าผู้แทนโดยชอบธรรมก็คือบิดา
มารดาของผู้เยาว์ซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้เยาว์ ให้การศึกษาเล่าเรียนแก่ผู้เยาว์อยู่แล้วย่อมมีความรักความผูกพันต่อผู้เยาว์
และจะได้รู้เห็นรับผิดชอบช่วยเหลือผู้เยาว์ได้ ถ้าหากการที่ได้กระทำไปแล้วนั้นเกิดควาเสียหายขึ้นมา แต่ถ้าหากผู้
เยาว์สามารถทำได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น
มาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบช่วยเหลือได้


ตัวอย่าง เด็กชายนนท์อายุ 14 ปี ต้องการมีรถจักรยานเพื่อใช้เป็นพาหนะไปโรงเรียนซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน
ไป 2 กิโลเมตรดังนี้ เด็กชายนนท์จะต้องจะต้องขออนุญาติจากบิดามารดาเสียก่อน จึงจะซื้อรถจักรยานนั้นได้

ถ้าหากผู้เยาว์ได้กระทำการใดๆไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน บิดามารดาผู้
แทนโดยชอบธรรมย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกการซื้อขายรถจักรยานนั้นได้ แต่ตราบใดที่บิดามารดาของเด็กชายนนท์
ไม่บอกเลิกล้างการซื้อขายดังกล่าวย่อมถือว่ามีผลบังคับใช้อยู่ ซึ่งในทางกฎหมายเรียกการกระทำของผู้เยาว์เช่นนี้
ว่า โมฆียะ

ในเรื่องความสามารถของผู้เยาว์นี้อาจสรุปได้ว่าการที่ผู้เยาว์จะทำการใดๆ ก็ตาม ต้องได้รับความยินยอม
จากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หากกระทำลงไปโดยปราศจากความยินยอม หรือความเห็นชอบแล้ว
บิดามารดาย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกการกระทำนั้นได้ แต่ถ้าหากเป็นเพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆ ซึ่งผู้เยาว์สามารถกระทำ
ได้ เช่น ซื้อเครื่องเขียนสำหรับการเรียน ผู้เยาว์ก็ย่อมกระทำได้อยู่แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาขอความเห็นชอบจาก
บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม
กฏหมายเกี่ยวกับความรับผิดของเด็กทางอาญา
การกระทำผิดทางอาญา หมายถึง การกระทำการใดๆที่ทำไปแล้วผู้กระทำมีความผิดต้องรับโทษ
ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดร้ายแรงแค่ไหนเพียงใด
เช่น กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ผู้นั้นย่อมมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและมีอัตราโทษที่จะต้องถูกลงโทษถึงประหาร
ชีวิต แต่ถ้าหากเป็นการกระทำที่เบาหรือไม่ร้ายแรงเท่า เช่น ทำร้ายร่างกายหรือลักทรัพย์ การกระทำดังกล่าวนี้
ผู้กระทำย่อมมีความผิดและต้องได้รับโทษถึงจำคุก หรือบางกรณีเป็นเรื่องที่เล็กน้อยลงไปอีก เช่น ทำร้าย
ร่างกายเขาไม่ได้รับบาดเจ็บ โดยเพียงชกต่อยหน้าเขาไป 1 ครั้ง ก็เลิกแล้วกันไป ดังนี้ ผู้กระทำก็อาจรับโทษ
เพียงจำคุกหรือปรับเท่านั้น
เมื่อเด็กหรือเยาวชนนี้ถ้ากระทำความผิดทางอาญาแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญาเช่นผู้ใหญ่หรือไม่
กล่าวโดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้ใดกระทำความผิด ผู้นั้นจะต้องรับโทษตามที่เขาได้กระทำลงไป
ตัวอย่าง นายอู๋ลักทรัพย์สินของนางสาวนาริไป มีวิทยุ โทรทัศน์ เสื้อผ้า และสายสร้อยทองคำหนัก 1
บาท ดังนี้ นายดำมีความผิดฐานลักทรัพย์และจะต้องรับโทษฐานลักทรัพย์ซึ่งมีโทษถึงจำคุกและรวมทั้งปรับด้วยมี
ปัญหาว่าถ้าเป็นเด็กนักเรียนกระทำความผิดทางอาญาบ้างเขาจะต้องรับผิดหรือรับโทษเพียงใด
ดังได้กล่าวมาแต่แรกแล้วว่า เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดเขาก็จะต้องรับผิดและรับโทษในทางอาญา แต่
อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้กฏหมายได้คำนึงถึงเด็กเช่นกันว่า ถ้าหากเขากระทำความผิดลงไป เขาควรจะต้องได้รับ
โทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่หรือไม่เพียงใด และเห็นว่าเด็กนั้นยังอ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกนึกคิดยังอ่อนต่อความรู้สึกรับ
ผิดชอบ และถ้าหากเป็นเด็กเล็กๆก็ยังไร้เดียงสาอยู่ การที่จะต้องลงโทษทุกคนไปโดยไม่คำนึงถึงว่าเขาเป็นผู้มีอายุ
น้อย อ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกรับผิดชอบ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่เด็ก การที่เด็กกระทำความผิดนั้น กฏหมายก็ได้ผ่อน
ปรนให้พอสมควร โดยมีข้อเว้นไม่ต้องรับโทษและผ่อนปรน ดังนี้ เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่
ต้องรับโทษ
ตัวอย่าง เด็กชายกุ้งอายุ 6 ปี ลักขนมที่แม่ค้าหาบเร่กำลังวางขายอยู่ 2-3 ชิ้น ดังนี้ เด็กชายกุ้ง
กระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว และถือว่ามีความผิดดังกล่าวนี้ด้วย แต่เด็กชายกุ้งไม่ต้องรับโทษ หมายความ
ว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายจะนำเด็กชายกุ้งไปดำเนินคดีไม่ได้
เด็กอายุมากกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจที่จะ
ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นและปล่อยตัวไป หรือจะเรียกบิดามารดาและผู้ปกครองที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนก็ได้
ตัวอย่าง เด็กชายนัดอายุ 13 ปี ทำร้ายร่างกายนายไนท์ได้รับบาดเจ็บ ดังนี้ เด็กชายนัดมีความผิด
ฐานทำร้ายร่างกายแล้ว แต่จะนำเด็กชายนัดไปลงโทษฐานอาญา เช่น จำคุกหรือปรับไม่ได้ กรณีเช่นนี้ศาลย่อมมี
อำนาจตักเตือนเด็กชายนัดว่า ต่อไปอย่าได้กระทำอีก หรือเห็นว่าน่าจะเรียกบิดามารดา หรือผู้ปกครองของเด็กมา
ว่ากล่าวตักเตือน ศาลก็สามารถจะกระทำได้โดยมีหมายเรียกถึงบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กชายดำให้มา
ศาล เพื่อที่จะว่ากล่าวตักเตือนให้ดูแลเด็กชายนัดให้ดี อย่าปล่อยปละละเลยให้ไปกระทำผิดอีก
ผู้ที่อายุเกิน 14 ปีแล้วแต่ยังไม่เกิน 17 ปี เขากระทำการใดๆที่ผิดกฏหมายอาญาแล้วเขาก็มีความผิด
โดยกฏหมายให้สิทธิแก่ศาลที่จะพิจารณาว่าควรจะลงโทษเขาหรือไม่ หากเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะลงโทษ ก็อาจว่า
กล่าวตักเตือนเขาหรือบิดามารดาของเขาดังที่กล่าวมาแล้วและก็ปล่อยตัวเด็กนั้นไปหรือเห็นว่าขณะนี้เด็กโตพอ
สมควร ควรจะรู้รับผิดชอบบ้างแล้ว การกระทำดังกล่าวนั้นก็พอรู้อยู่ว่าเป็นเรื่องกระทำควมผิดทางอาญา ถ้าเช่น
นี้ศาลก็มีอำนาจที่จะลงโทษเขาได้ แต่ลงโทษได้เพียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของอัตราโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่เขา
ได้กระทำลงไปนั้น
ตัวอย่าง นายอิ๊กอายุ 16 ปี ทำร้ายร่างกายนายไชร์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนี้ นายอิ๊กย่อมมีความ
ผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส แต่ในการลงโทษนั้นศาลอาจพิจารณาว่านายอิ๊กยังไม่รู้ผิดชอบเท่าที่ควร
ไม่สมควรลงโทษศาลก็มีอำนาว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปได้ หรือเห็นว่าดูตามวัยอายุการศึกษาเล่าเรียนแล้ว
เห็นว่านายอิ๊กมีความรู้รับผิดชอบมากพอสมควร รู้ว่าการกระทำลงไปนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมควรกระทำ ดังนี้ ศาลมี
อำนาจที่จะลงโทษนายอิ๊กตามกฏหมายได้ แต่ต้องลดมาตราส่วนโทษลงให้ โดยลงได้เพียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง สำหรับ
ความผิดดังกล่าวนี้
นอกจากนี้ก็ยังมีวัยที่โตขึ้นไปอีก คือ ผู้ที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 17 ปี
แล้วแต่ยังไม่เกิน 20 ปี กรณีนี้จะเห็นได้ว่าเป็นเด็กที่โตขึ้นไปอาจเล่าเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือชั้น
อาชีวะศึกษาต่างๆตลอดจนในมหาวิทยาลัย บุคคลเหล่านี้ นับว่ามีความรู้สึกรับผิดชอบบ้างแล้ว ดังนั้นการผ่อน
ปรนให้ก็ลดน้อยลงไปอีก โดยให้อำนาจแก่ศาลที่จะผ่อนปรนให้บ้าง คือ ถ้าจะลดมาตราส่วนโทษลงสำหรับความ
ผิดที่เขาได้กระทำนั้น กฏหมายให้ศาลลดลงไปได้หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งของอัตราโทษนั้น ซึ่งหมายความว่า ถ้า
เห็นว่าผู้กระทำความผิดหรือนักเรียนนักศึกษาควรจะได้รับการผ่อนปรนในทางกฏหมายก็จะลดมาตราส่วนโทษให้
โดยลดลงมาหนึ่งในสาม หรือลดให้กึ่งหนึ่งเลยก็ย่อมกระทำได้ หรือถ้าหากเห็นว่าผู้ที่กระทำความผิดนั้นรู้รับผิด
ชอบเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แล้ว รู้ดีรู้ชั่วเป็นผู้มีการมีงานทำและที่กระทำความผิดลงไปนั้นเป็นความผิดที่กระทบ
กระเทือนต่อความรู้สึกของสังคมเป็นส่วนรวม เช่น ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เป็นเหตุให้หญิงได้รับ
อันตรายสาหัสศาลก็จะไม่พิจารณาลดมาตราส่วนโทษให้ก็ได้ แม้ว่าผู้กระทำความผิดนั้นอายุเพียง 18-19 ปี
ก็ตาม คือ ลงโทษตามอัตราที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับลงโทษผู้ใหญ่
กฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของเด็กทางแพ่ง
ความรับผิดในทางแพ่ง หมายถึง การที่ผู้นั้นถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือบังคับให้ชำระหนี้ เช่น
นายกุ้งยืมเงินนายเป็ดมาจำนวน 1,000 บาทสัญญาว่าจะใช้คืนภายใน 6 เดือน เมื่อครบ 6 เดือนแล้วนายกุ้งไม่ใช่คืน
ดังนี้ นายกุ้งผิดนัดไม่ชำระเงินกู้ยืมให้แก่นายเป็ด นายเป็ดย่อมมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้ศาลบังคับนายกุ้งชำระหนี้
เงินดังกล่าว ให้แก่นายเป็ดได้ หรือในเรื่องละเมิด เช่น แดงขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้โดยสารที่อยู่ในรถนั้น
ต้องได้รับอันตรายต่อร่างกาย ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปเป็นเงิน 10,000
บาท ดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวนี้ให้แก่ผู้โดยสาร
การกระทำในทางแพ่ง และความรับผิดในทางแผ่ง หมายถึง เมื่อเด๊กหรือผู้เยาว์ได้กรทำความผิดลงไป
ก็ต้องรับผิดชอบและถูกผูกพันไปตามนั้นเช่น ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ
บางเรื่องผู้เยาว์ไม่สามารถกระทำเองได้ ต้องได้รับการยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบ
ธรรมก่อนถ้าหากกระทำไปบิดามารดาย่อมบอกเลิกได้ เช่น นายอู๋อายุ 16 ปี ทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์เพื่อใช้
ขับขี่ไปโรงเรียนนั้นเอง กรณีเช่นนี้ บิดา มารดา ย่อมสามารถบอกเลิกเพิกถอนได้ เมื่อได้บอกเลิกไปแล้วนายอู๋ก็ไม่
ผูกพันกับผู้ที่ขายรถจักรยานยนต์ให้ แต่ตราบใดที่บิดามารดายังไม่ได้บอกเลิก ผู้เยาว์นั้นก็จะต้องผูกพันตามสัญญา
ซื้อขาย เช่น ยังค้างชำระค่ารถจักรยานยนต์อยู่ ก็อาจถูกฝ่ายหนึ่งฟ้องบังคับเรียกร้องให้ปฎิบัติตามสัญญาได้
ถ้าเป็นเรื่องกระทำละเมิดต่อผู้อื่นซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของการทำสัญญาแล้ว เช่น ทำร้ายร่างกายเขา
ขับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์โดยประมาทชนเขาเป็นเหตุให้เขาได้รับอันตรายถึงตายและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ
รักษาตัวในโรงพยาบาล กรณีเหล่านี้ไม่มีข้อยกเว้นว่า ผู้เยาว์จะไม่ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายแก่เขาได้ ซึ่งค่าเสีย
หายนั้นอาจคิดเป็นเงินมากน้อยตามความเสียหายที่เขาได้รับ อาจเป็นพันบาท หมื่นบาท หรือแสนบาท ยิ่งกว่านั้น
กฎหมายยังบังคับให้บิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมต้องรับผิดชอบในการละเมิดของผู้เยาว์ที่ได้กระทำไปด้วย โดย
รับผิดร่วมกับผู้เยาว์ และหากผู้เยาว์ได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของครูอาจารย์ ครู
อาจารย์อาจต้องรับผิดร่อมกับผู้เยาว์นั้นด้วย เว้นแต่ว่าบิดา หรือครูอาจารย์ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตามสมควร
ตัวอย่าง
เด็กชายบูมอายุ 11 ปี ทำร้ายร่างกายเด็กชายไนซ์นักเรียนชั้นเดียวกันมีบาดแผลหลายแห่ง ต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการรักษาบาดแผลเป็นเงิน 500 บาท ดังนี้ เด็กชายบูมจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวนั้นให้กับ
เด็กชายไนซ์
การกระทำดีงกล่างนี้ บิดามารดาของผู้เยาว์อาจจะต้องรับผิดร่วมกับผู้เยาว์ด้วย หรือหากกระทำ
ละเมิดต่อเขาขณะผู้เยาว์อยู่ในระหว่างความดูแลของครูอาจารย์ครูอาจารย์นั้นอาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วม
กับผู้เยาว์ด้วย เว้นแต่บิดามารดาหรือครูอาจารย์พิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบการเทือนต่อสังคม รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำผิด โดยมี
หลักสำคัญคือ
• การกระทำนั้นต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้ง
• โทษที่ลงต้องเป็นโทษที่กฎหมายกำหนดไว้
• กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง(การให้โทษ)
โทษอาญาที่ใช้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิด มี ๕ ประการ คือ
• ประหารชีวิต
• จำคุก
• กักขัง
• ปรับ (เงิน)
• ริบทรัพย์สิน
ความรับผิดทางอาญา คือ ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อได้
กระทำโดยเจตนาเท่านั้น เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าแม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เช่น
• การกระทำโดยเจตนา
• การกระทำโดยไม่เจตนา (เป็นความผิดลหุโทษ)
• การกระทำโดยประมาท
ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะแก้ตัวว่า ไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุผล
สมควร
ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา
เหตุยกเว้นความผิด ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิดอาญาเลย เช่น
• การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
• ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
• มีกฎหมายประเพณี
• มีกฎหมายอื่นให้อำนาจกระทำได้
เหตุยกเว้นโทษทางอาญา ถือว่ายังเป็นความผิดอยู่แต่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญา
• การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
• การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
• การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
• การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
• สามี ภริยา กระทำความผิดต่อกันในเรื่องทรัพย์
• เด็กอายุไม่เกิน ๑๔ ปี กระทำความผิด
เหตุลดหย่อนโทษ เป็นเหตุที่ศาลอาจลงโทษสถานเบาได้
• ศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นไม่รู้กฎหมาย
• การกระทำโดยบันดาลโทสะ
• บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องที่การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาจกระทำไปเพราะขาดความสำนึกเท่าผู้ใหญ่ โทษสำหรับเด็กจึงต้อง
แตกต่างกับผู้ใหญ่โดยแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ คือ
• อายุ ไม่เกิน ๑๐ ปี ไม่ต้องรับโทษ
• อายุกว่า ๑๐ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปี ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลอาจว่ากล่าวตักเตือนและวางข้อกำหนดให้บิดา
มารดาปฏิบัติหรือส่งตัวเด็กไปให้หน่วยงานของรัฐ(บ้านเมตตา)ดูแลอบรมสั่งสอนจนอายุครบ ๑๘ ปี
• อายุกว่า ๑๕ ปี แต่ไม่เกิน ๑๘ ปี อาจใช้วิธีการดังกล่าวข้างต้นหรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลด
มาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง
• อายุกว่า ๑๘ ปี แต่ไม่เกิน ๒๐ ปี ลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลดมาตราส่วนโทษลง ๑ ใน ๓ หรือ กึ่งหนึ่ง
การพยายามกระทำความผิด
คือ การกระทำความผิดที่พ้นขั้นตอนการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำความผิดนั้นไม่บรรลุผลตามที่
ต้องการ มี ๒ กรณี คือ
- กระทำการไปไม่ตลอดจนความผิดสำเร็จซึ่งอาจเกิดจากการสมัครใจเองหรือถูกขัดขวางจากภายนอก
ก็ได้
- กระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลตามที่ต้องการ ผู้ที่พยามกระทำความผิดต้องรับโทษ ๒
ใน ๓ ส่วน ของโทษสำหรับความผิดนั้น
การร่วมกันกระทำความผิด
“ตัวการ” คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงใจร่วมกันที่จะกระทำความผิดเดียวกัน ซึ่งอาจมีการ
แบ่งหน้าที่กันทำเพื่อหวังผลในการกระทำความผิดนั้น ทุกคนต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
“ผู้ใช้” คือ การที่ทำให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นการบังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธี
การใด ทุกคนต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้ถูกใช้มิได้กระทำตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเพียง ๑ ใน ๓
ผู้สนับสนุน คือ การที่เข้าไปมีส่วนในการกระทำความความผิดที่ยังไม่เป็นตัวการแต่เข้าไป
ช่วยเหลือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดต้องรับโทษ ๒ ใน ๓
ความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัว
ความผิดต่อแผ่นดิน คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำแล้วยังมีผลกระทบต่อสังคม รัฐจึงต้อง
เข้าดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้แม้ผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้วก็ตาม
เพื่อป้องกันสังคม
ความผิดต่อส่วนตัว คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้น
เมื่อผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้ว รัฐก็ไม่จำต้องเข้ไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
อีกต่อไป
การกระทำความผิดใดเป็นความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัวนั้นมีหลักอยู่ว่า ความผิดใดเป็นความ
ผิดต่อส่วนตัวต้องมีกฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง ความผิดนอกจากนั้นถือเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีดังต่อไปนี้ คือ
1. ความผิดฐานลักทรัพย์ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาเอาไปเป็นของตนโดยเจ้าของทรัพย์ไม่
ยินยอมให้เอาไป หรือเจ้าของทรัพย์ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้เอาไป
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
2. ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ การลักทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าเจ้าของทรัพย์ หมายความ
ว่า ฉวยเอา แย่งเอา หยิบ จับ หรือคว้า หรือกระชากเอา แล้วพาทรัพย์นั้นไปโดยซึ่งหน้าจากความครอบครอง
ของผู้อื่น ในลักษณะที่รวดเร็ว หรือกระทำต่อหน้า เช่น หยิบเอาไปต่อหน้าเจ้าของทรัพย์
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3. ความผิดฐานชิงทรัพย์ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา 346 มีองค์ประกอบความผิด คือ
1. ลักทรัพย์ คือนำเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยไปโดยมิชอบ
2. กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย คือ ใช้กำลังทำร้ายผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือผู้ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่
หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
3. การกระทำดังกล่าวนั้นเพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐
บาท
4. ความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกระทำความผิดโดยการชิงทรัพย์ของผู้อื่น โดยมีผู้ร่วมกระทำความผิด
นั้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๑๐ ปี ถึง ๑๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๓๐,๐๐๐
บาท
5. .ฉ้อโกงทรัพย์ คือ การที่ผู้กระทำความผิดหลอกลวงผู้อื่นโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิด
ความจริงที่ตนมีหน้าที่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตน จนผู้นั้นหลงเชื่อ
จึงมอบทรัพย์สินให้ หรือทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิ ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับ
ไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ยักยอกทรัพย์ คือ การที่ผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาครอบครองไว้แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็น
ของตน ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
7. รับของโจร คือ การที่ผู้กระทำความผิดรับเอาทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย เช่น เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่
ถูกลักมา ชิงทรัพย์ ฉ้อโกง หรือยักยอกมาไว้โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย แล้วช่วยซ่อนเร้น
ช่วยจำหน่าย หรือช่วยพาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปเสียให้พ้นจากเจ้าของทรัพย์ ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก
ไม่เกิน ๕ ปีหรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
8 บุกรุก มี ๒ ประการ คือ
๑. การบุกรุกเคหสถานของผู้อื่น คือ การที่ผู้กระทำความผิดเข้าไปในบ้านที่อยู่อาศัยของผู้อื่นโดย
ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีเหตุอันสมควร
๒. การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คือ การที่ผู้กระทำความผิดเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อแย่ง
การครอบครองที่ดินของเขาหรือรบกวนการครอบครองของเขา
ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย แบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ
ความผิดต่อชีวิต คือ การที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ว่าจะได้กระทำโดยเจตนาให้ตายหรือไม่ ซึ่งมี
ความผิดที่สำคัญ คือ
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คือ การทำให้ผู้อื่นตายโดยเจตนา ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้อาวุธหรือไม่ก็ตามผู้กระทำ
ความผิด ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง ๒๐ ปี
ฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คือ การทำให้ผู้อื่นตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าให้ตายเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้
อื่นเท่านั้น แต่ผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๓ ปี
ถึง ๑๕ ปี
การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือ
การที่ไม่ได้ต้องการทำให้ผู้นั้นตาย คือ ไม่มีเจตนา แต่ได้กระทำการโดยไม่ระมัดระวังให้พอสมควรเป็น
เหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี และปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
ช่วยหรือยุยงเด็กอายุไม่เกิน ๑๖ ปีให้ฆ่าตนเองตาย ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๕ ปี
หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป แล้วมีผู้ถึงแก่ความตายโดยการชุลมุนต่อสู้นั้นผู้
กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดต่อร่างกาย
การกระทำความผิดในเรื่องนี้แบ่งแยกออกตามผลของการกระทำได้เป็น ๔ ระดับ คือ
๑. การใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ กายและจิตใจ อย่างไรจึงเรียกว่าเป็น
อันตรายแก่กายหรือจิตใจนั้น ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งการกระทำและบาดแผลที่ผู้ถูกทำร้ายได้รับว่ามาก
น้อยเพียงใด ซึ่งต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป ตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่น เตะและตบเป็นเหตุให้ฟกช้ำ รักษา ๕ วันก็หาย ผู้
กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒. การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นอันตรายแก่กายหรือ
จิตใจนั้น ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งการกระทำและบาดแผลที่ผู้ถูกทำร้ายได้รับว่ามากน้อยเพียงใด เป็น
อันตรายแก่กายหรือจิตใจนั้นแยกได้เป็นคนละส่วน ตีศีรษะเขาแตก เรียกว่าเป็นอันตรายแก่กาย แต่ถ้าขังเขาไว้แล้ว
ปล่อยเสียงรบกวนประสาทจนสติคลุ้มคลั่ง เรียกว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจ ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก
ไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓. การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รับอันตรายสาหัสนั้น หมายถึง ทำให้ตาบอดหูหนวก
ลิ้นขาด เสียอวัยวะสำคัญ หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว แท้งลูก จิตพิการติดตัว ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึง
ตลอดชีวิต ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า ๒๐ วัน ผู้
กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๑๐ ปี
๔. การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย (อธิบายไว้แล้วในเรื่องความผิดต่อชีวิต)
ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
ความผิดในฐานนี้มีความผิดที่สำคัญ คือ
หญิงที่ทำให้ตนแท้งลูกหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน
๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้อื่นทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับ
ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้อื่นทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๗ ปี หรือ
ปรับไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

More Related Content

What's hot

ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพSupaluk Juntap
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมthnaporn999
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์niralai
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนKrupol Phato
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
ทักษะชีวิต
ทักษะชีวิตทักษะชีวิต
ทักษะชีวิตkrupornpana55
 
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นlek5899
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊สWan Ngamwongwan
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันPaew Tongpanya
 
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสิปป์แสง สุขผล
 
บทที่1จำแนกสารม 2
บทที่1จำแนกสารม 2บทที่1จำแนกสารม 2
บทที่1จำแนกสารม 2Wichai Likitponrak
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...Prachoom Rangkasikorn
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนkrupornpana55
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชWann Rattiya
 
ตัวต้านทาน
ตัวต้านทานตัวต้านทาน
ตัวต้านทานnang_phy29
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมJariya Jaiyot
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกThanyamon Chat.
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1gchom
 

What's hot (20)

ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอน
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
ทักษะชีวิต
ทักษะชีวิตทักษะชีวิต
ทักษะชีวิต
 
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศสรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
สรุป วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
 
บทที่1จำแนกสารม 2
บทที่1จำแนกสารม 2บทที่1จำแนกสารม 2
บทที่1จำแนกสารม 2
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 14 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
 
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
 
ตัวต้านทาน
ตัวต้านทานตัวต้านทาน
ตัวต้านทาน
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 

Viewers also liked

เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)Narong Jaiharn
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปtanapongslide
 
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57AJ Por
 
กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557
กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557
กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557Narong Jaiharn
 
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์taem
 
TAEM11: กฎหมายสพฉ
TAEM11: กฎหมายสพฉTAEM11: กฎหมายสพฉ
TAEM11: กฎหมายสพฉtaem
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันEyezz Alazy
 
รายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องรายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องMind Candle Ka
 
การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะ
การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะ
การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะNU
 
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติNU
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2AJ Por
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)peter dontoom
 

Viewers also liked (18)

หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไปหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
 
ลักษณะความผิดทางอาญา
ลักษณะความผิดทางอาญาลักษณะความผิดทางอาญา
ลักษณะความผิดทางอาญา
 
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)
เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาอาญาภาคความผิดภาคปกติปี 2556 (ศูนย์รังสิตและศูนย์ลำปาง)
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
 
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 8 มี ค 57
 
โครงงาน 1 com
โครงงาน 1 comโครงงาน 1 com
โครงงาน 1 com
 
Knowledge soc01
Knowledge soc01Knowledge soc01
Knowledge soc01
 
กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557
กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557
กฎหมายอาญาชั้นสูง ท่าพระจันทร์ ภาค1 ปีการศึกษา 2557
 
สรุป
สรุปสรุป
สรุป
 
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
ทำอย่างไร ไม่ถูกฟ้อง อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์
 
Medical Law
Medical LawMedical Law
Medical Law
 
TAEM11: กฎหมายสพฉ
TAEM11: กฎหมายสพฉTAEM11: กฎหมายสพฉ
TAEM11: กฎหมายสพฉ
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
รายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องรายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะ
การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะ
การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะ
 
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
การสร้างเครื่องมือวัดทักษะหรือการปฏิบัติ
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
 

Similar to หลักกฎหมายอาญาทั่วไป

9789740332909
97897403329099789740332909
9789740332909CUPress
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2AJ Por
 
สมรรถนะ
สมรรถนะสมรรถนะ
สมรรถนะmarena06008
 
Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014 Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014 joansr9
 
9789740331186
97897403311869789740331186
9789740331186CUPress
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้montira
 
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณีกฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณีthnaporn999
 
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณีกฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณีthnaporn999
 
เกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมายเกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมายthnaporn999
 
เกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมายเกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมายthnaporn999
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนssuserd18196
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนssuserd18196
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายbilly ratchadamri
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่Sansanee Tooksoon
 

Similar to หลักกฎหมายอาญาทั่วไป (20)

9789740332909
97897403329099789740332909
9789740332909
 
สุภาษิตกฎหมาย
สุภาษิตกฎหมายสุภาษิตกฎหมาย
สุภาษิตกฎหมาย
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
สมรรถนะ
สมรรถนะสมรรถนะ
สมรรถนะ
 
สมรรถนะ
สมรรถนะสมรรถนะ
สมรรถนะ
 
รพ.สต.ปี 2554 6 ชม.
รพ.สต.ปี 2554   6 ชม.รพ.สต.ปี 2554   6 ชม.
รพ.สต.ปี 2554 6 ชม.
 
Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014 Draft 25 Nov 2014
Draft 25 Nov 2014
 
9789740331186
97897403311869789740331186
9789740331186
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้
 
T1 b1
T1 b1T1 b1
T1 b1
 
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณีกฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
 
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณีกฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
กฏหมายและความสัมพันธ์คู่กรณี
 
เกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมายเกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมาย
 
เกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมายเกี่ยวกับกฏหมาย
เกี่ยวกับกฏหมาย
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
 
Laws 100
Laws 100Laws 100
Laws 100
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
 
Au01
Au01Au01
Au01
 

หลักกฎหมายอาญาทั่วไป

  • 1. ที่มาของกฎหมายหมาย บ้านเมืองจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์มาใช้กับส่วนรวมเพื่อให้ผู้คนทั้งหลายปฏิบัติตามและหากไม่ปฏิบัติตามแล้ว อาจต้องรับโทษหรือถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินได้ กฎเกณฑ์ข้อบังคับนี้เราเรียกว่า กฎหมาย จึงมีความ จำเป็นที่นักเรียนทั้งหลายต้องทำความเข้าใจและศึกษาหาความรู้กันว่า กฎหมายคืออะไร มีที่มาอย่างไร ต่างจาก ศีลธรรมจารีตประเพณีอย่างไร และสำคัญที่สุดก็คือว่ากฎหมายนั้นมีความสำคัญต่อเราอย่างไรบ้าง ย่อมเป็นทาง หนึ่งที่จะทำให้นักเรียนทั้งหลายเป็นผู้รู้กฎหมายอันเป็นกติกาขอบ้านเมือง รวมทั้งเคารพและปฏิบัติตามโดย เคร่งครัดกันต่อไป ความหมายของกฎหมาย นักเรียนอาจตั้งคำถามแก่ตัวเองว่ากฎหมายคืออะไร และจากที่กล่าวมาเเล้วน้ัน นักเรียนคงหาคำตอบได้ โดยเปรียบเทียบกับการที่นักเรียนเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนใด โรงเรียนนัั้นจะมีกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆให้ นักเรียนปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่้มหนึ่งของชุมชนหรือสังคมของนักเรียนนั้นเอง แต่ถ้าเรื่องของกฎหมาย แล้ว ก็เป็นกรณีที่บังคับแก่คนทั่วประเทศเป็นส่วนรวม ดังนั้นจึงอธิบายได้ว่า กฎหมาย คือ คำสั่งหรือระเบียบข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐหรือประเทศนั้นได้ออก หรือกำหนดมาเพื่อใช้บังคับความประพฤติของบุคคล หรือประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม หากผู็ใด ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้ว ผู้นั้นจะต้องได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อทราบความหมายของกฎหมายแล้ว นักเรียนก็ต้องทำความเข้าใจต่อไปอีกว่า กฎหมายน้ันต้องมี ลักษณะอย่างไรบ้าง 1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ หมายความว่า กฎหมายต้องมีข้อความเป็นคำสั่งหรือ ข้อบังคับให้ประชาชนพลเมืองกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือห้ามมิให้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด 2. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มีอำนาจในประเทศนั้น นักเรียนคงสงสัยว่าใคร เป็นผู้อำนาจ คงต้องดูจากการปกครองของประเทศนั้นว่ามีการปกครองระบอบอะไร เช่น ประเทศไทยเรา ปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก หมายความว่า การที่จะออกกฎหมายขึ้นมาบังคับใช้ ประชาชนในประเทศไทยเราต้อง ผ่านทางสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 3. กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับทั่วไป กฎหมายที่ออกมาแล้ว คือ มีการประกาศ ใช้บังคับแล้ว ตามปกติก็จะประกาศผ่านทางหนังสือของทางราชการเรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับแก่ บุคคลทั่วไปทุกคน 4. กฎหมายต้องมีลักษณะท่ีบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนโดยผู้นั้นจะต้องได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ ข้อบังคับดัง กล่าวนี้เรียกว่า สภาพบังคับ ถ้าเป็นสภาพบังคังทางกฎหมายอาญา เมื่่อมีการฝ่าฝืนต้องได้รับโทษ 5 ประการ คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับทางแพ่ง เป็นเรื่องที่ให้ผู้ฝ่าฝืน ชำระหนี้หรือชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่เขา ที่มาของกฎหมาย ในที่นี้อยากให้นักเรียนทำความเข้าใจเรื่องที่มาของกฎหมายหรือบ่อเกิดของกฎหมายดังต่อไปนี้ 1. กฎหมายเกิดจากผู้มีอำนาจเหนือรัฐหรือประเทศนั้นเป็นผู้สร้างขึ้น ที่มาของกฎหมายกรณีนี้ หมายความว่า ผู้ที่จะสร้างกฎหมายขึ้นมาหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นมานั้นต้องเป็นผู้มีอำนาจเหนือรัฐหรือประเทศนั้น ถ้าหากเป็นยุคโบราณก็ย่อมหมายถึงผู้ปกครองชุมชนหรือกลุ่มชนนั้นและยุคต่อมาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้
  • 2. ปกครอง ผู้ออกกฎหมาย คือ พระมหากษัตริย์ และในที่สุดถึงยุคปัจจุบันผู้ที่ร่างกฎหมายหรือออกกฎหมาย ได้แก่ สมาชิกรัฐสภา 2. กฎหมายมาจากคำสั่งสอนทางศาสนา หมายถึง กฎเกณฑ์ที่ผู้นำทางศาสนาต่างๆได้กำหนดขั้นให้ สาวกหรือผู้นับถือปฎิบัติตาม ซึ่งเป็นการอบรมสั่งสอนให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำ และกระทำแล้วได้รับผลดีหรือผลร้ายอย่างไร จากหลักการในทางศาสนานี้เอง ก็อาจนำมากำหนดขั้นเป็นกฎหมาย 3. จารีตประเพณี จารีตประเพณีก็เป็นอีกกรณีหนึ่งอันเป็นที่มาแห่งกฎหมายเช่นกัน จารีตประเพณี หมายถึง สิ่งที่ผู้คนทั้งหลายยึดถือปฏิบัติหรือทำสืบต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาอันยาวนาน ความแตกต่างระหว่างกฎหมาย ศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณี 1. กฎหมายกับศาสนา ศาสนา คือ กฎข้อบังคับ และคำสั่งสอนที่ผู้นำของศาสนาต่างๆ ได้กำหนดขั้นไว้ เพื่อ ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติหรือกระทำตาม เมื่อได้กระทำไปแล้วย่อมได้รับผลดีหรือมีความสุข หากฝ่าฝืนย่อมมีโทษ หรือได้รับความทุกข์ กฎหมายกับศาสนาจึงเหมือนกันในเรื่องที่กำหนดให้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อ บังคับที่ตั้งไว้ หากฝ่าฝืนย่อมได้รับผลร้าย แต่กฎหมายกับศาสนาต่างกันที่ว่ากฎหมายนั้นถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกบังคับลงโทษทันที แต่การประพฤติผิดข้อ บัญญัติทางศาสนานั้น แม้จะไม่ถูกลงโทษโดยตรงแต่ก็ได้รับโทษทางอ้อม เช่น เป็นที่รังเกียจของคนอื่น ไม่มีผู้ใด คบค้าสมาคมด้วย หรืออาจได้รับโทษอย่างอื่นตามความเชื่อของศาสนานั้นๆ 2. กฎหมายกับศีลธรรม ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่า การกระทำอย่างไรเป็นการกระทำ ความผิด เป็นการกระทำที่ชอบที่ควรหรือที่ถูกต้อง การกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ไม่ควร หรือที่ผิดไป ดังนั้น ศีลธรรมจึงเป็นเรื่องของการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติในส่ิงที่เป็นคุณงามความดี ดังนั้นจะเห็น ได้ว่าทั้งกฎหมายและศีลธรรมนั้นต่างก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือกำหนดขึ้นมาเพื่อบังคับความประพฤติของมนุษย์ โดย มนุษย์เป็นผู้สร้างและก่อให้เกิดขึ้นมาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม กฎหมายและศีลธรรมก็มีข้อแตกต่างกัน เพราะกฎหมายนั้นเป็นคำส่ังหรือข้อบังคับที่ระบุมิให้ บุคคลนั้นกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป แต่ศีลธรรมนั้นเป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิด การคิดว่าจะต้องทำความดีไม่ เบียดเบียนผู้อื่นหรือให้ความรู้สึกนึกคิดทีดีแก่ผู้อื่น ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีศีลธรรม 3. กฎหมายกับจารีตประเพณี จารีตประเพณี เป็นสิ่งที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปร่างได้ตามความนิยมหรือ ลักษณะนิสัยใจคอของผู้ยึดถือปฎิบัติ เช่น ประเพณีการแต่งกายของชาวเขาภาคเหนือ จารีตประเพณีนั้นมีความ คล้ายคลึงกับกฎหมายคือ ต่างก็มีข้อกำหนดบังคับความประพฤติของมนุษย์ว่าควรทำอย่างนั้น ไม่ความทำอย่างนี้ เพื่อให้สังคมนั้นอยู่กันโดยปกติสุข แต่กฎหมายมีความแตกต่างกับจารีตประเพณีอยู่หลายประการ เช่น กฎหมายเป็นเรื่องของผู้มีอำนาจใน ประเทศหรือรัฐนั้นเป็นผู้กำหนดขึ้น และใช้บังคับกันท่ัวไปทุกคนส่วนจารีตประเพณีเป็นข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้ บังคับเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งเท่านั้น
  • 3. กฎหมายเกี่ยวกับความสามารถของเด็กและเยาวชน บุคคล คือ สิ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย บุคลแยกออกได้เป็น 2 ประเภท
 1. บุคคลธรรมดา คือ ประชาชนคนธรรมดาทั่วๆไป มนุษย์ที่มีชีวิต 
 2. นิติบุคล คือ บุคลที่มีขึ้นด้วยกฎหมายจะมี สิทธิ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา และตามจุดประสงค์ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือสิ่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมา เช่น องค์กรต่างๆ เป็นต้น
 เมื่อเกิดมาแล้ว เราเรียกว่า คนหรือมนุษย์ แต่ในทางกฎหมายนั้นเราเรียกว่าบุคคลธรรมดา ความเป็นคนสภาพบุคคลนั้นเริ่มมา ตั้งแต่คลอดออกจากครรภ์มารดา และจะต้องมีชีวิตอยู่รอดมาเป็นทารก จึงจะเป็นสภาพบุคคลซึ่งจะเป็นอยู่เช่นนี้ไป จนกระทั่งตาย หรือเรียกว่าสภาพบุคลย่อมสิ้นสุดลงด้วยการตาย
 ตัวอย่าง นายแบงค์อายุ 70 ปี ป่วยเป็นไข้แล้วตาย หรือนายฟลุ๊คประสบอุบัติเหตุถูกรถชนตาย ดังนี้ เรา เรียกบุคลที่ตายไปแล้วนี้ว่า เขาสิ้นสุดสภาพของความเป็นคนหรือความเป็นมนุษย์แล้วตั้งแต่เขาตายไป เมื่อคนเราเกิดมาหรือมีสภาพบุคคลแล้ว เขาย่อมมีสิทธิแและหน้าที่ตามกฎหมาย และเรื่องสำคัญที่สุดที่ ควรจะทราบคือ เรื่องความสามารถของเด็กและเยาวชนว่าพวกเขามีความสามารถที่จะทำอะไรในทางกฎหมายได้ บ้าง หรือว่าไม่มีข้อจำกัดอะไรบ้าง และสามารถจะทำการอะไรในทางกฎหมายได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ได้บ้าง กฎเกณฑ์ในการแบ่งคนตามความสามารถ ดังนี้ 
 1. ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ บุคลที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
 2. คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ พวกร่างกายพิการ หู ตาบอด ความจำเสื่อม
 3. คนไร้ความสามารถ คือ คนที่ทำอะไรไม่ได้เลย ต้องมีคนคอยดูแล เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่อ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกนึกคิดและสามารถรู้รับผิดชอบวัยของเด็กและ เยาวชนตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งยังเป็นวัยที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษา และในชั้นมัธยมศึกษาหน้าที่ส่วนใหญ่ก็คือการศึกษาหาความรู้ และพร้อมกันนั้นกฎหมายก็ให้สิทธิหน้าที่แก่เด็กและ เยาวชนไว้ เช่น มีสิทธิที่จะมีทรัพย์สินได้ มีสิทธิที่จะศึกษาเล่าเรียนได้ แต่โดยที่เด็กหรือเยาวชนยังมีอายุน้อยอยู่ ฉะนั้นการที่จะให้มีสิทธิ สามารถกระทำการต่างๆ ในทางกฏหมายได้ทุกประการเหมือนผู้ใหญ่หรือ ผู้บรรลุนิติภาวะ แล้วก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เด็กและเยาวชนนั้นได้ ดังนั้น ในเรื่องเกี่ยวกับความสามารถนี้ กฎหมายจะ ต้องให้ความคุ้ครองเป็นพิเศษ
 ในการให้ความคุ้มครองก็แบ่งระดับความสามารถว่าเด็กหรือเยาวชนนี้ 
เมื่อเป็นผู้เยาว์แล้วจะกระทำการ ใดๆบางอย่างต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน การแบ่งขั้นระหว่งผู้เยาว์กับผู้ใหญ่และผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรม มีกฎเกณฑ์อย่างไร
 -->ในทางกฎหมายนั้นผู้เยาว์ หมายถึงบุคคลที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ตัวอย่าง เด็กชายอิฐ อายุ 14 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผู้เยาว์
หรือไมดังนี้ จะเห็นได้ว่าเด็กชาย อิฐอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ เราจึงถือว่าเด็กชายอิฐนั้นเป็นผู้เยาว์ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะ 
 ผู้บรรลุนิติภาวะ หมายถึง ผู้ที่พ้นจากการเป็นผู้เยาว์นั้นเอง กล่าวคือ ผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วแต่ ถ้าเขาอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อเขาได้สมรสกันคือ ได้จดทะเบียนสมรสเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ถือว่า เขาบรรลุนิติภาวะเหมือนกัน คือ บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส แต่มีข้อแม้ว่าชายหญิงต้องมีเจตนาที่จะอยู่ร่วมกัน โดยจดทะเบียนสมรมเพื่อเป็นภรรยาสามีกัน

 ตัวอย่าง นายอาร์มอายุ 19 ปี จดทะเบียนสมรสกับนางสาว ตุ๊กแก อายุ 18 ปี ดังนี้ทั้งสองคนนี้บรรลุ นิติภาวะโดยพ้นจากการเป็นผู้เยาว์โดยการสมรส
 เมื่อยังเป็นผู้เยาว์อยู่ กฎหมายจึงจำต้องคุ้มครองไว้ว่าผู้เยาว์จะกระทำการใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน เพราะบิดามารดานั้นย่อมเป็นผู้รู้เห็นสิ่งต่างๆมามากมาย มี
  • 4. วิจารณญาณดีว่าสิ่งใดชอบสิ่งใดควรหรือไม่ควร ดังนั้นถ้าหากบิดามารดาได้รู้เห็นและให้ความยินยอมด้วยก็จะเป็น ผลดีกับนักเรียนหรือผู้เยาว์นั้น
 ผู้แทนโดยชอบทำนั้นนั้นก็คือบิดามารดาของผู้เยาว์ ฉะนั้นการที่กฎหมายบังคับว่าผู้เยาว์จะต้องได้รับความ ยินยอมโดยความเห็นชอบจากผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมชอบด้วยเหตุผลแล้ว เพราะว่าผู้แทนโดยชอบธรรมก็คือบิดา มารดาของผู้เยาว์ซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้เยาว์ ให้การศึกษาเล่าเรียนแก่ผู้เยาว์อยู่แล้วย่อมมีความรักความผูกพันต่อผู้เยาว์ และจะได้รู้เห็นรับผิดชอบช่วยเหลือผู้เยาว์ได้ ถ้าหากการที่ได้กระทำไปแล้วนั้นเกิดควาเสียหายขึ้นมา แต่ถ้าหากผู้ เยาว์สามารถทำได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น มาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบช่วยเหลือได้

 ตัวอย่าง เด็กชายนนท์อายุ 14 ปี ต้องการมีรถจักรยานเพื่อใช้เป็นพาหนะไปโรงเรียนซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ไป 2 กิโลเมตรดังนี้ เด็กชายนนท์จะต้องจะต้องขออนุญาติจากบิดามารดาเสียก่อน จึงจะซื้อรถจักรยานนั้นได้
 ถ้าหากผู้เยาว์ได้กระทำการใดๆไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน บิดามารดาผู้ แทนโดยชอบธรรมย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกการซื้อขายรถจักรยานนั้นได้ แต่ตราบใดที่บิดามารดาของเด็กชายนนท์ ไม่บอกเลิกล้างการซื้อขายดังกล่าวย่อมถือว่ามีผลบังคับใช้อยู่ ซึ่งในทางกฎหมายเรียกการกระทำของผู้เยาว์เช่นนี้ ว่า โมฆียะ
 ในเรื่องความสามารถของผู้เยาว์นี้อาจสรุปได้ว่าการที่ผู้เยาว์จะทำการใดๆ ก็ตาม ต้องได้รับความยินยอม จากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หากกระทำลงไปโดยปราศจากความยินยอม หรือความเห็นชอบแล้ว บิดามารดาย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกการกระทำนั้นได้ แต่ถ้าหากเป็นเพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆ ซึ่งผู้เยาว์สามารถกระทำ ได้ เช่น ซื้อเครื่องเขียนสำหรับการเรียน ผู้เยาว์ก็ย่อมกระทำได้อยู่แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาขอความเห็นชอบจาก บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม กฏหมายเกี่ยวกับความรับผิดของเด็กทางอาญา การกระทำผิดทางอาญา หมายถึง การกระทำการใดๆที่ทำไปแล้วผู้กระทำมีความผิดต้องรับโทษ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดร้ายแรงแค่ไหนเพียงใด เช่น กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ผู้นั้นย่อมมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและมีอัตราโทษที่จะต้องถูกลงโทษถึงประหาร ชีวิต แต่ถ้าหากเป็นการกระทำที่เบาหรือไม่ร้ายแรงเท่า เช่น ทำร้ายร่างกายหรือลักทรัพย์ การกระทำดังกล่าวนี้ ผู้กระทำย่อมมีความผิดและต้องได้รับโทษถึงจำคุก หรือบางกรณีเป็นเรื่องที่เล็กน้อยลงไปอีก เช่น ทำร้าย ร่างกายเขาไม่ได้รับบาดเจ็บ โดยเพียงชกต่อยหน้าเขาไป 1 ครั้ง ก็เลิกแล้วกันไป ดังนี้ ผู้กระทำก็อาจรับโทษ เพียงจำคุกหรือปรับเท่านั้น เมื่อเด็กหรือเยาวชนนี้ถ้ากระทำความผิดทางอาญาแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญาเช่นผู้ใหญ่หรือไม่ กล่าวโดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้ใดกระทำความผิด ผู้นั้นจะต้องรับโทษตามที่เขาได้กระทำลงไป ตัวอย่าง นายอู๋ลักทรัพย์สินของนางสาวนาริไป มีวิทยุ โทรทัศน์ เสื้อผ้า และสายสร้อยทองคำหนัก 1 บาท ดังนี้ นายดำมีความผิดฐานลักทรัพย์และจะต้องรับโทษฐานลักทรัพย์ซึ่งมีโทษถึงจำคุกและรวมทั้งปรับด้วยมี ปัญหาว่าถ้าเป็นเด็กนักเรียนกระทำความผิดทางอาญาบ้างเขาจะต้องรับผิดหรือรับโทษเพียงใด ดังได้กล่าวมาแต่แรกแล้วว่า เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดเขาก็จะต้องรับผิดและรับโทษในทางอาญา แต่ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้กฏหมายได้คำนึงถึงเด็กเช่นกันว่า ถ้าหากเขากระทำความผิดลงไป เขาควรจะต้องได้รับ โทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่หรือไม่เพียงใด และเห็นว่าเด็กนั้นยังอ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกนึกคิดยังอ่อนต่อความรู้สึกรับ ผิดชอบ และถ้าหากเป็นเด็กเล็กๆก็ยังไร้เดียงสาอยู่ การที่จะต้องลงโทษทุกคนไปโดยไม่คำนึงถึงว่าเขาเป็นผู้มีอายุ
  • 5. น้อย อ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกรับผิดชอบ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่เด็ก การที่เด็กกระทำความผิดนั้น กฏหมายก็ได้ผ่อน ปรนให้พอสมควร โดยมีข้อเว้นไม่ต้องรับโทษและผ่อนปรน ดังนี้ เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่ ต้องรับโทษ ตัวอย่าง เด็กชายกุ้งอายุ 6 ปี ลักขนมที่แม่ค้าหาบเร่กำลังวางขายอยู่ 2-3 ชิ้น ดังนี้ เด็กชายกุ้ง กระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว และถือว่ามีความผิดดังกล่าวนี้ด้วย แต่เด็กชายกุ้งไม่ต้องรับโทษ หมายความ ว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายจะนำเด็กชายกุ้งไปดำเนินคดีไม่ได้ เด็กอายุมากกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจที่จะ ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นและปล่อยตัวไป หรือจะเรียกบิดามารดาและผู้ปกครองที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนก็ได้ ตัวอย่าง เด็กชายนัดอายุ 13 ปี ทำร้ายร่างกายนายไนท์ได้รับบาดเจ็บ ดังนี้ เด็กชายนัดมีความผิด ฐานทำร้ายร่างกายแล้ว แต่จะนำเด็กชายนัดไปลงโทษฐานอาญา เช่น จำคุกหรือปรับไม่ได้ กรณีเช่นนี้ศาลย่อมมี อำนาจตักเตือนเด็กชายนัดว่า ต่อไปอย่าได้กระทำอีก หรือเห็นว่าน่าจะเรียกบิดามารดา หรือผู้ปกครองของเด็กมา ว่ากล่าวตักเตือน ศาลก็สามารถจะกระทำได้โดยมีหมายเรียกถึงบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กชายดำให้มา ศาล เพื่อที่จะว่ากล่าวตักเตือนให้ดูแลเด็กชายนัดให้ดี อย่าปล่อยปละละเลยให้ไปกระทำผิดอีก ผู้ที่อายุเกิน 14 ปีแล้วแต่ยังไม่เกิน 17 ปี เขากระทำการใดๆที่ผิดกฏหมายอาญาแล้วเขาก็มีความผิด โดยกฏหมายให้สิทธิแก่ศาลที่จะพิจารณาว่าควรจะลงโทษเขาหรือไม่ หากเห็นว่ายังไม่สมควรที่จะลงโทษ ก็อาจว่า กล่าวตักเตือนเขาหรือบิดามารดาของเขาดังที่กล่าวมาแล้วและก็ปล่อยตัวเด็กนั้นไปหรือเห็นว่าขณะนี้เด็กโตพอ สมควร ควรจะรู้รับผิดชอบบ้างแล้ว การกระทำดังกล่าวนั้นก็พอรู้อยู่ว่าเป็นเรื่องกระทำควมผิดทางอาญา ถ้าเช่น นี้ศาลก็มีอำนาจที่จะลงโทษเขาได้ แต่ลงโทษได้เพียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของอัตราโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่เขา ได้กระทำลงไปนั้น ตัวอย่าง นายอิ๊กอายุ 16 ปี ทำร้ายร่างกายนายไชร์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนี้ นายอิ๊กย่อมมีความ ผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส แต่ในการลงโทษนั้นศาลอาจพิจารณาว่านายอิ๊กยังไม่รู้ผิดชอบเท่าที่ควร ไม่สมควรลงโทษศาลก็มีอำนาว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปได้ หรือเห็นว่าดูตามวัยอายุการศึกษาเล่าเรียนแล้ว เห็นว่านายอิ๊กมีความรู้รับผิดชอบมากพอสมควร รู้ว่าการกระทำลงไปนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมควรกระทำ ดังนี้ ศาลมี อำนาจที่จะลงโทษนายอิ๊กตามกฏหมายได้ แต่ต้องลดมาตราส่วนโทษลงให้ โดยลงได้เพียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง สำหรับ ความผิดดังกล่าวนี้ นอกจากนี้ก็ยังมีวัยที่โตขึ้นไปอีก คือ ผู้ที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 17 ปี แล้วแต่ยังไม่เกิน 20 ปี กรณีนี้จะเห็นได้ว่าเป็นเด็กที่โตขึ้นไปอาจเล่าเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือชั้น อาชีวะศึกษาต่างๆตลอดจนในมหาวิทยาลัย บุคคลเหล่านี้ นับว่ามีความรู้สึกรับผิดชอบบ้างแล้ว ดังนั้นการผ่อน ปรนให้ก็ลดน้อยลงไปอีก โดยให้อำนาจแก่ศาลที่จะผ่อนปรนให้บ้าง คือ ถ้าจะลดมาตราส่วนโทษลงสำหรับความ ผิดที่เขาได้กระทำนั้น กฏหมายให้ศาลลดลงไปได้หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งของอัตราโทษนั้น ซึ่งหมายความว่า ถ้า เห็นว่าผู้กระทำความผิดหรือนักเรียนนักศึกษาควรจะได้รับการผ่อนปรนในทางกฏหมายก็จะลดมาตราส่วนโทษให้ โดยลดลงมาหนึ่งในสาม หรือลดให้กึ่งหนึ่งเลยก็ย่อมกระทำได้ หรือถ้าหากเห็นว่าผู้ที่กระทำความผิดนั้นรู้รับผิด ชอบเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แล้ว รู้ดีรู้ชั่วเป็นผู้มีการมีงานทำและที่กระทำความผิดลงไปนั้นเป็นความผิดที่กระทบ กระเทือนต่อความรู้สึกของสังคมเป็นส่วนรวม เช่น ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เป็นเหตุให้หญิงได้รับ
  • 6. อันตรายสาหัสศาลก็จะไม่พิจารณาลดมาตราส่วนโทษให้ก็ได้ แม้ว่าผู้กระทำความผิดนั้นอายุเพียง 18-19 ปี ก็ตาม คือ ลงโทษตามอัตราที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับลงโทษผู้ใหญ่ กฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของเด็กทางแพ่ง ความรับผิดในทางแพ่ง หมายถึง การที่ผู้นั้นถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือบังคับให้ชำระหนี้ เช่น นายกุ้งยืมเงินนายเป็ดมาจำนวน 1,000 บาทสัญญาว่าจะใช้คืนภายใน 6 เดือน เมื่อครบ 6 เดือนแล้วนายกุ้งไม่ใช่คืน ดังนี้ นายกุ้งผิดนัดไม่ชำระเงินกู้ยืมให้แก่นายเป็ด นายเป็ดย่อมมีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้ศาลบังคับนายกุ้งชำระหนี้ เงินดังกล่าว ให้แก่นายเป็ดได้ หรือในเรื่องละเมิด เช่น แดงขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้โดยสารที่อยู่ในรถนั้น ต้องได้รับอันตรายต่อร่างกาย ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปเป็นเงิน 10,000 บาท ดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวนี้ให้แก่ผู้โดยสาร การกระทำในทางแพ่ง และความรับผิดในทางแผ่ง หมายถึง เมื่อเด๊กหรือผู้เยาว์ได้กรทำความผิดลงไป ก็ต้องรับผิดชอบและถูกผูกพันไปตามนั้นเช่น ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ บางเรื่องผู้เยาว์ไม่สามารถกระทำเองได้ ต้องได้รับการยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบ ธรรมก่อนถ้าหากกระทำไปบิดามารดาย่อมบอกเลิกได้ เช่น นายอู๋อายุ 16 ปี ทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ ขับขี่ไปโรงเรียนนั้นเอง กรณีเช่นนี้ บิดา มารดา ย่อมสามารถบอกเลิกเพิกถอนได้ เมื่อได้บอกเลิกไปแล้วนายอู๋ก็ไม่ ผูกพันกับผู้ที่ขายรถจักรยานยนต์ให้ แต่ตราบใดที่บิดามารดายังไม่ได้บอกเลิก ผู้เยาว์นั้นก็จะต้องผูกพันตามสัญญา ซื้อขาย เช่น ยังค้างชำระค่ารถจักรยานยนต์อยู่ ก็อาจถูกฝ่ายหนึ่งฟ้องบังคับเรียกร้องให้ปฎิบัติตามสัญญาได้ ถ้าเป็นเรื่องกระทำละเมิดต่อผู้อื่นซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของการทำสัญญาแล้ว เช่น ทำร้ายร่างกายเขา ขับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์โดยประมาทชนเขาเป็นเหตุให้เขาได้รับอันตรายถึงตายและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ รักษาตัวในโรงพยาบาล กรณีเหล่านี้ไม่มีข้อยกเว้นว่า ผู้เยาว์จะไม่ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายแก่เขาได้ ซึ่งค่าเสีย หายนั้นอาจคิดเป็นเงินมากน้อยตามความเสียหายที่เขาได้รับ อาจเป็นพันบาท หมื่นบาท หรือแสนบาท ยิ่งกว่านั้น กฎหมายยังบังคับให้บิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมต้องรับผิดชอบในการละเมิดของผู้เยาว์ที่ได้กระทำไปด้วย โดย รับผิดร่วมกับผู้เยาว์ และหากผู้เยาว์ได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของครูอาจารย์ ครู อาจารย์อาจต้องรับผิดร่อมกับผู้เยาว์นั้นด้วย เว้นแต่ว่าบิดา หรือครูอาจารย์ได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตามสมควร ตัวอย่าง เด็กชายบูมอายุ 11 ปี ทำร้ายร่างกายเด็กชายไนซ์นักเรียนชั้นเดียวกันมีบาดแผลหลายแห่ง ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการรักษาบาดแผลเป็นเงิน 500 บาท ดังนี้ เด็กชายบูมจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวนั้นให้กับ เด็กชายไนซ์ การกระทำดีงกล่างนี้ บิดามารดาของผู้เยาว์อาจจะต้องรับผิดร่วมกับผู้เยาว์ด้วย หรือหากกระทำ ละเมิดต่อเขาขณะผู้เยาว์อยู่ในระหว่างความดูแลของครูอาจารย์ครูอาจารย์นั้นอาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วม กับผู้เยาว์ด้วย เว้นแต่บิดามารดาหรือครูอาจารย์พิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว
  • 7. หลักกฎหมายอาญาทั่วไป ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบการเทือนต่อสังคม รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำผิด โดยมี หลักสำคัญคือ • การกระทำนั้นต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้ง • โทษที่ลงต้องเป็นโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ • กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง(การให้โทษ) โทษอาญาที่ใช้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิด มี ๕ ประการ คือ • ประหารชีวิต • จำคุก • กักขัง • ปรับ (เงิน) • ริบทรัพย์สิน ความรับผิดทางอาญา คือ ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อได้ กระทำโดยเจตนาเท่านั้น เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าแม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เช่น • การกระทำโดยเจตนา • การกระทำโดยไม่เจตนา (เป็นความผิดลหุโทษ) • การกระทำโดยประมาท ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะแก้ตัวว่า ไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุผล สมควร ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา เหตุยกเว้นความผิด ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิดอาญาเลย เช่น • การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย • ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ • มีกฎหมายประเพณี • มีกฎหมายอื่นให้อำนาจกระทำได้ เหตุยกเว้นโทษทางอาญา ถือว่ายังเป็นความผิดอยู่แต่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญา • การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น • การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต • การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา • การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน • สามี ภริยา กระทำความผิดต่อกันในเรื่องทรัพย์ • เด็กอายุไม่เกิน ๑๔ ปี กระทำความผิด เหตุลดหย่อนโทษ เป็นเหตุที่ศาลอาจลงโทษสถานเบาได้ • ศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นไม่รู้กฎหมาย • การกระทำโดยบันดาลโทสะ • บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องที่การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
  • 8. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาจกระทำไปเพราะขาดความสำนึกเท่าผู้ใหญ่ โทษสำหรับเด็กจึงต้อง แตกต่างกับผู้ใหญ่โดยแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ คือ • อายุ ไม่เกิน ๑๐ ปี ไม่ต้องรับโทษ • อายุกว่า ๑๐ ปี แต่ไม่เกิน ๑๕ ปี ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลอาจว่ากล่าวตักเตือนและวางข้อกำหนดให้บิดา มารดาปฏิบัติหรือส่งตัวเด็กไปให้หน่วยงานของรัฐ(บ้านเมตตา)ดูแลอบรมสั่งสอนจนอายุครบ ๑๘ ปี • อายุกว่า ๑๕ ปี แต่ไม่เกิน ๑๘ ปี อาจใช้วิธีการดังกล่าวข้างต้นหรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลด มาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง • อายุกว่า ๑๘ ปี แต่ไม่เกิน ๒๐ ปี ลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลดมาตราส่วนโทษลง ๑ ใน ๓ หรือ กึ่งหนึ่ง การพยายามกระทำความผิด คือ การกระทำความผิดที่พ้นขั้นตอนการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำความผิดนั้นไม่บรรลุผลตามที่ ต้องการ มี ๒ กรณี คือ - กระทำการไปไม่ตลอดจนความผิดสำเร็จซึ่งอาจเกิดจากการสมัครใจเองหรือถูกขัดขวางจากภายนอก ก็ได้ - กระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลตามที่ต้องการ ผู้ที่พยามกระทำความผิดต้องรับโทษ ๒ ใน ๓ ส่วน ของโทษสำหรับความผิดนั้น การร่วมกันกระทำความผิด “ตัวการ” คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงใจร่วมกันที่จะกระทำความผิดเดียวกัน ซึ่งอาจมีการ แบ่งหน้าที่กันทำเพื่อหวังผลในการกระทำความผิดนั้น ทุกคนต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น “ผู้ใช้” คือ การที่ทำให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นการบังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธี การใด ทุกคนต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้ถูกใช้มิได้กระทำตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเพียง ๑ ใน ๓ ผู้สนับสนุน คือ การที่เข้าไปมีส่วนในการกระทำความความผิดที่ยังไม่เป็นตัวการแต่เข้าไป ช่วยเหลือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดต้องรับโทษ ๒ ใน ๓ ความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัว ความผิดต่อแผ่นดิน คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำแล้วยังมีผลกระทบต่อสังคม รัฐจึงต้อง เข้าดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้แม้ผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันสังคม ความผิดต่อส่วนตัว คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้น เมื่อผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้ว รัฐก็ไม่จำต้องเข้ไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด อีกต่อไป การกระทำความผิดใดเป็นความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัวนั้นมีหลักอยู่ว่า ความผิดใดเป็นความ ผิดต่อส่วนตัวต้องมีกฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง ความผิดนอกจากนั้นถือเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
  • 9. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีดังต่อไปนี้ คือ 1. ความผิดฐานลักทรัพย์ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาเอาไปเป็นของตนโดยเจ้าของทรัพย์ไม่ ยินยอมให้เอาไป หรือเจ้าของทรัพย์ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจให้เอาไป โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกินหกพันบาท 2. ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ การลักทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าเจ้าของทรัพย์ หมายความ ว่า ฉวยเอา แย่งเอา หยิบ จับ หรือคว้า หรือกระชากเอา แล้วพาทรัพย์นั้นไปโดยซึ่งหน้าจากความครอบครอง ของผู้อื่น ในลักษณะที่รวดเร็ว หรือกระทำต่อหน้า เช่น หยิบเอาไปต่อหน้าเจ้าของทรัพย์ โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท 3. ความผิดฐานชิงทรัพย์ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา 346 มีองค์ประกอบความผิด คือ 1. ลักทรัพย์ คือนำเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยไปโดยมิชอบ 2. กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย คือ ใช้กำลังทำร้ายผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือผู้ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย 3. การกระทำดังกล่าวนั้นเพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไป (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น (5) ให้พ้นจากการจับกุม ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท 4. ความผิดฐานปล้นทรัพย์ การกระทำความผิดโดยการชิงทรัพย์ของผู้อื่น โดยมีผู้ร่วมกระทำความผิด นั้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๑๐ ปี ถึง ๑๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๓๐,๐๐๐ บาท 5. .ฉ้อโกงทรัพย์ คือ การที่ผู้กระทำความผิดหลอกลวงผู้อื่นโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิด ความจริงที่ตนมีหน้าที่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตน จนผู้นั้นหลงเชื่อ จึงมอบทรัพย์สินให้ หรือทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิ ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับ ไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 6. ยักยอกทรัพย์ คือ การที่ผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาครอบครองไว้แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็น ของตน ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 7. รับของโจร คือ การที่ผู้กระทำความผิดรับเอาทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย เช่น เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่ ถูกลักมา ชิงทรัพย์ ฉ้อโกง หรือยักยอกมาไว้โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย แล้วช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย หรือช่วยพาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปเสียให้พ้นจากเจ้าของทรัพย์ ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน ๕ ปีหรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 8 บุกรุก มี ๒ ประการ คือ ๑. การบุกรุกเคหสถานของผู้อื่น คือ การที่ผู้กระทำความผิดเข้าไปในบ้านที่อยู่อาศัยของผู้อื่นโดย ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีเหตุอันสมควร ๒. การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คือ การที่ผู้กระทำความผิดเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อแย่ง การครอบครองที่ดินของเขาหรือรบกวนการครอบครองของเขา
  • 10. ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย แบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ ความผิดต่อชีวิต คือ การที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ว่าจะได้กระทำโดยเจตนาให้ตายหรือไม่ ซึ่งมี ความผิดที่สำคัญ คือ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คือ การทำให้ผู้อื่นตายโดยเจตนา ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้อาวุธหรือไม่ก็ตามผู้กระทำ ความผิด ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ ๕ ปี ถึง ๒๐ ปี ฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา คือ การทำให้ผู้อื่นตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าให้ตายเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้ อื่นเท่านั้น แต่ผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๓ ปี ถึง ๑๕ ปี การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือ การที่ไม่ได้ต้องการทำให้ผู้นั้นตาย คือ ไม่มีเจตนา แต่ได้กระทำการโดยไม่ระมัดระวังให้พอสมควรเป็น เหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี และปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ช่วยหรือยุยงเด็กอายุไม่เกิน ๑๖ ปีให้ฆ่าตนเองตาย ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป แล้วมีผู้ถึงแก่ความตายโดยการชุลมุนต่อสู้นั้นผู้ กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดต่อร่างกาย การกระทำความผิดในเรื่องนี้แบ่งแยกออกตามผลของการกระทำได้เป็น ๔ ระดับ คือ ๑. การใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ กายและจิตใจ อย่างไรจึงเรียกว่าเป็น อันตรายแก่กายหรือจิตใจนั้น ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งการกระทำและบาดแผลที่ผู้ถูกทำร้ายได้รับว่ามาก น้อยเพียงใด ซึ่งต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป ตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่น เตะและตบเป็นเหตุให้ฟกช้ำ รักษา ๕ วันก็หาย ผู้ กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๒. การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ อย่างไรจึงเรียกว่าเป็นอันตรายแก่กายหรือ จิตใจนั้น ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งการกระทำและบาดแผลที่ผู้ถูกทำร้ายได้รับว่ามากน้อยเพียงใด เป็น อันตรายแก่กายหรือจิตใจนั้นแยกได้เป็นคนละส่วน ตีศีรษะเขาแตก เรียกว่าเป็นอันตรายแก่กาย แต่ถ้าขังเขาไว้แล้ว ปล่อยเสียงรบกวนประสาทจนสติคลุ้มคลั่ง เรียกว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจ ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๓. การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รับอันตรายสาหัสนั้น หมายถึง ทำให้ตาบอดหูหนวก ลิ้นขาด เสียอวัยวะสำคัญ หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว แท้งลูก จิตพิการติดตัว ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึง ตลอดชีวิต ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า ๒๐ วัน ผู้ กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๑๐ ปี ๔. การทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย (อธิบายไว้แล้วในเรื่องความผิดต่อชีวิต) ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ความผิดในฐานนี้มีความผิดที่สำคัญ คือ
  • 11. หญิงที่ทำให้ตนแท้งลูกหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้อื่นทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้อื่นทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๗ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๑๔,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ