SlideShare a Scribd company logo
1 of 73
Download to read offline
Microsoft Excel 2003


             บทที่ 1 การใชงานเบื้องตน
             เรียกใชงานโปรแกรม Microsoft Excel
                    1. คลิกปุม Start menu บนทาสกบาร จากนั้นคลิกเมาสที่ All Program
                    2. คลิกเมาสที่ Microsoft Word หรือกรณีที่มีไอคอนของโปรแกรม Microsoft Word อยูบน
                       เดสกทอปก็สามารถดับเบิลคลิกที่ไอคอนไดทันที




             สวนประกอบตาง ๆ ของ Word 2003
                 Title Bar                                                                                       Restore
                                                 Toolbar Options
                                                                                                Minimize
                                                                                                                           Close
  Menu Bar
                                                                                                                           Toolbar Options
      Tab

                             Standard Toolbar                           Formatting Toolbar



                                                                                   Vertical
                                                           Ruler                   Scroll Bar




                                                Horizontal Scroll Bar



Status Bar




                                                                                                                  1
Microsoft Excel 2003


ชื่อสวนประกอบ                                      ความหมาย
Title Bar                                           แสดงชื่อไฟลที่ใชงานในขณะนั้น
Menu Bar                                            รวบรวมคําสั่งทั้งหมดใน Excel
Tool Bar                                            แถบเครื่องที่ชวยใหใชงานใน Excel สะดวกขึ้น
Formula Bar                                         ใชแสดงหรือแกไขขอมูลในเซลล
Name Box                                            แสดงชื่อเซลลที่กําลังถูกเลือก
Column Heading                                      แสดงชื่อของคอลัมน
Row Heading                                         แสดงชื่อของหัวแถว
Worksheet Area                                      พื่นที่สําหรับใชงาน
Sheet Tab                                           แสดงชื่อชีตใชงาน
Status Bar                                          แถบแสดงสถานะ
Vertical/Horizontal Scroll Bar                      ใชเลื่อนดูขอมูลดายบน/ลาง, ซาย/ ขวา


ใชงานเมนูและทูลบาร
         เมนูบาร (Menu Bar) : เปนชุดของคําสั่งโดยแยกเปนหมวดหมูเพื่อใหสะดวกในการเรียกใชงาน

         ทูลบาร (Tool Bar) : เปนปุมคําสั่งเพื่อใหผูใชงานไดทํางานดวยความสะดวกรวดเร็วกวาที่จะ
         เรียกใชคําสั่งจากเมนูบาร โดยทูลบารจะมีอยูหลายทูลบาร โดยมักจะเรียกใชข้ึนมาใหเหมาะสมกับ
         ลักษณะของงานที่จะทํา เชนถาตองการสรางกราฟก็จะตองเรียกใชงานทูลบาร Chart เปนตน

แสดงทุกคําสั่งในแตละเมนู
         1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Customize
         2. ที่แถบ Options ใหยกเลิกตัวเลือก แลวคลิกปุม Close




                                                                                                   2
Microsoft Excel 2003



แยกทูลบาร Standard และ Formatting
      1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Customize
      2. ยกเลิกตัวเลือก Standard and Formatting toolbars share two row แลวคลิกปุม Close




ซอนและแสดงทูลบาร
      1. คลิกเมนู View เลือกคําสั่ง Toolbar หรือคลิกเมาสขวาบริเวณทูลบาร
      2. จากนั้นเลือกชื่อทูลบารที่ตองการซอนหรือแสดง โดยทูลบารที่กําลังถูกแสดงอยูจะมีเครื่องหมาย
         ถูกอยูขางหนา

ปดโปรแกรม Microsoft Excel
      วิธีการปดหรือออกจากโปรแกรม Excel มีอยูหลายวิธีดวยกัน แตสําหรับวิธีที่งายที่สุดคือ การคลิกที่
      ปุม Close      ที่อยูในแนวเดียวกันกับ Title Bar ดังรูป




                                                                                                      3
Microsoft Excel 2003



บทที่ 2 การปอนและแกไขขอมูล
ปอนขอมูล
         1. เลือกเซลลที่ตองการจะปอนขอมูล
         2. พิมพขอมูลตามที่ตองการ เมื่อพิมพเสร็จใหกดแปน Enter แตถาตองการจะยกเลิกใหกดแปน
            Esc




แกไขขอมูล
         วิธีการแกไขขอมูลมีอยู 2 วิธีหลักคือ
         1. เลือกเซลลที่ตองการจะแกไข จากนั้นใหกดแปนพิมพ F2
         2. ดับเบิลคลิกเมาสไปยังเซลลท่ตองการจะแกไข
                                             ี

ใชคําสั่ง Undo
         การใชคําสั่ง Undo หมายถึงเปนการยกเลิกการทํางานใน Excel จากครั้งลาสุดถอยหลังกลับไป ซึ่ง
         จะสามารถ Undo ไดถึง 16 ครั้ง โดยวิธีการใช Undo คือใหคลิกที่ปุม Undo         บนทูลบาร

เลือกเซลลมากกวา 1 เซลล
เลือกเซลลที่อยูติดกัน
ใชเมาสคลิกที่เซลลแรกที่ตองการจะเลือก จากนั้นลากเมาสไปยังเซลลสุดทายที่ตองการ




                                                                                                     4
Microsoft Excel 2003



เลือกเซลลที่ไมอยูติดกัน
             เลือกเซลลแรกที่ตองการ จากนั้นกดแปน Ctrl คางไว แลวทําการคลิกเมาสไปยังเซลลอื่น ๆ ที่
             ตองการตอไปจนครบจํานวนเซลลตามที่ตองการจึงคอยปลอยแปน Ctrl




ยายขอมูลใน                                                         เซลล
ยายดวยคําสั่ง Cut & Paste
        1. เลือกเซลลที่ตองการจะยาย จากนั้นคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Cut หรือคลิกที่ปุม Cut
           บนทูลบาร
        2. เลือกเซลลปลายทางที่ตองการจะนําขอมูลไปวาง จากนั้นคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Paste
             หรือคลิกปุม Paste       บนทูลบาร

ยายดวยการลากเมาส
        1. เลือกเซลลที่ตองการจะยาย ชี้เมาสไปยังบริเวณขอบดานใดดานหนึ่งของเซลลที่ไดเลือกไว
        2. จากนั้นใชเมาสลากไปยังตําแหนงที่ตองการ แลวปลอยเมาส




กอบปขอมูล
        1. เลือกเซลลที่ตองการจะกอบป แลวคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Copy หรือคลิกปุม Copy
                 บนทูลบาร
        2. เลือกเซลลปลายทางเพียงเซลลเดียวที่เปนตําแหนงเริ่มตนที่จะนําขอมูลที่กอบปไปวาง



                                                                                                          5
Microsoft Excel 2003




       3. กดแปน Enter หรือถาตองการจะกอบปไปยังเซลลอื่น ๆ อีกหลายเซลล ใหใชวธีการคลิกเมนู
                                                                                       ิ
          Edit แลวเลือกคําสั่ง Paste หรือคลิกปุม Paste บนทูลบาร จะทําใหสามารถ Paste ไปไดเรื่อย
          ๆ จนกวาเสนที่อยูลอมรอบขอมูลที่กอบปนั้นจะหายไป (โดยเสนที่อยูลอมรอบจะหายไปก็
          ตอเมื่อมีการกดแปน Esc หรือมีการทํางานอยางอื่นเขามาแทนที่)

                                                                               เ ซ ล ล ที่ ถู ก ก อ บ ป จ ะ ยั ง
                                                                               สามารถ Paste ไปไดเรื่อย ๆ
                                                                               เมื่อเสนประยังปรากฏอยู




เทคนิคการกอบปขอมูล

กอบปขอมูลดวย AutoFill Handle
        1. เลือกเซลลตนแบบที่ตองการจะกอบป
        2. จากนั้นชี้เมาสไปที่จุด AutoFill (มุมขวาลางของเซลลที่เลือกไว)
        3. จากนั้นใชเมาสลากไปในทิศทางที่ตองการโดยจะสามารถลากไดเพียงทีละ 1 ทิศทางเทานั้น




                                            AutoFill Handle




                                                                                                              6
Microsoft Excel 2003

กอบปขอมูลดวย Ctrl + Enter
        1. เลือกพื้นที่เซลลทั้งหมดที่ตองการกอนที่จะพิมพขอมูลที่จะกอบป พิมพขอมูลตามที่ตองการ
                                       
        2. จากนั้นกดแปน Ctrl + Enter จะทําใหสิ่งที่พิมพปรากฏอยูในทุกเซลลที่ไดเลือกไวกอนที่จะ
           พิมพ




ปอนขอมูลที่ซ้ํากันดวย AutoComplete
        การปอนขอมูลดวย AutoComplete นั้นจะชวยลดการปอนขอมูลที่ซ้ํากัน โดยมีขอจํากัดวาจะตอง
        เปน ขอมูลที่อยูในคอลัมนเดียวกันและไมมีการเวนบรรทัด ซึ่งวิธีการเพียงแคเริ่มพิมพตัวอักษร
        เริ่มตนโปรแกรมก็จะทําการใสตัวอักษรที่เหลือมาให จากนั้นก็เพียงแคกดแปน Enter เชน ถาคุณ
        เคยพิมพคําวา Windows มาแลวในเซลล A1 และคุณตองการจะพิมพคําวา Windows อีกครั้งใน
        เซลลตอมา คุณก็เพียงแคพิมพ W โปรแกรมก็จะทําการพิมพตัวที่เหลือมาใหแตถาหากวามีคําอื่น ๆ
        ที่มีตัวอักษรขึ้นตนเหมือนกัน ก็จะตองพิมพตัวอักษรตัวตอไป เชน ถามีทั้งคําวา Windows และ
        Word ถาคุณพิมพ W AutoComplete จะไมแสดงเพราะฉะนั้นคุณจะตองพิมพ Wi หรือ Wo เพื่อระบุ
        วาตองการจะพิมพคําใดดังรูป

ยกเลิกการใชงาน AutoComplete
        กรณีที่ตองการยกเลิกการทํางานของ AutoComplete สามารถทําไดโดย
        1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options
        2. คลิกแถบ Edit จากนั้นยกเลิกตัวเลือก Enable AutoComplete for Cell Values แลวคลิกปุม
           OK




                                                                                                        7
Microsoft Excel 2003

ปอนขอมูลที่ซ้ํากันดวย Pick from list
       ลักษณะการทํางานของ Pick from list จะเหมือนกันกับ AutoComplete เพียงแตไมจําเปนตองพิมพ
       ตัวอักษรตัวแรก แตเพียงแคกดแปน Alt + Down Arrow (ลูกศรลง) ก็จะมีรายการขอมูลที่เคยพิมพ
       มาแลวในคอลัมนเดียวกันปรากฏออกมา จากนั้นก็เพียงเลือกขอมูลที่ตองการ




ปอนขอมูลแบบตอเนื่องดวย AutoFill
       1. คลิกเมาสในเซลลที่ตองการปอนขอมูล พิมพขอมูลเริ่มตน เชน January
       2. เลือกเซลลที่ไดพิมพขอมูลเริ่มตน จากนั้นใชเมาสชี้ที่จุด AutoFill ของเซลลนั้น แลวลากเมาสไป
          ในทิศทางที่ตองการ เพียงทิศใดทิศหนึ่ง เชนลากลง หรือลากไปทางขวา




สรางชุดขอมูลดวย Custom Lists
       1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options จากนั้นคลิกแถบ Custom Lists
       2. พิมพรายการขอมูลในชอง List Entries จากนั้นคลิกปุม Add และคลิกปุม OK




                                                                                                         8
Microsoft Excel 2003




ลบรายการขอมูลออกจาก Custom Lists
      1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options จากนั้นคลิกแถบ Custom Lists
      2. เลือกรายการที่ตองการจะลบจากชอง Custom lists แลวคลิกปุม Delete




      3. คลิกปุม OK เพื่อยืนยันการลบ




                                                                                           9
Microsoft Excel 2003

บทที่ 3 การใชงานแถว (Row) และคอลัมน (Column)
ความหมายของแถวและคอลัมน
      Row หมายถึง แนวนอนที่ปรากฏอยูในเวิรกชีต
      Column หมายถึง แนวตั้งที่ปรากฏอยูในเวิรกชีต




                                         Column


                         Row




เลือกแถวและคอลัมน
      ในแตละแถวหรือคอลัมนจะมีชื่อกํากับไว โดยถาเปนคอลัมนก็จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษกํากับไว
      เชน คอลัมน A สวนแถวก็จะมีตัวเลขกํากับไวเชนกัน เชน แถวที่ 1 ซึ่งหัวแถวหรือหัวคอลัมนนั้นเรา
      จะเรียกวา Row Heading และ Column Heading เพราะฉะนั้นถาหากตองการเลือกขอมูลแถวใด
      หรือคอลัมนใดก็เพียงใชเมาสคลิกไปที่หัวแถวหรือหัวคอลัมนที่ตองการ

เลือกแถวและคอลัมนแบบตอเนือง
                           ่
          เลือกแถวหรือคอลัมนเริ่มตนที่ตองการ จากนั้นใชเมาสลากไปจนถึงแถวหรือคอลัมนสุดทาย




                                                                                                   10
Microsoft Excel 2003

เลือกแถวและคอลัมนแบบไมตอเนือง
                              ่
          เลือกแถวหรือคอลัมนเริ่มตนที่ตองการ จากนั้นกดแปน Ctrl คางไว แลวใชเมาสคลิกไปที่แถว
          หรือคอลัมนตอไปจนครบตามจํานวนที่ตองการจึงปลอยแปน Ctrl




ปรับความกวางคอลัมนและความสูงของแถว
      โดยปกติสวนใหญและจะไมคอยนิยมปรับความสูงของแถวเพราะเนื่องจากวาความสูงของแถวจะ
      ปรับเองตามขนาดของตัวอักษร สวนคอลัมนเมื่อเราพิมพขอความเกินความกวางของคอลัมนเรา
      จะตองขยายเองโดยมีวิธีดังนี้
          ชี้เมาสดานขวาของเสนแบงคอลัมน เชน ถาตองการจะขยายคอลัมน A ก็จะตองชี้เมาสไปที่
          ดานขวาของคอลัมน A จากนั้นใชเมาสลากไปทางดานขวาเพื่อขยายความกวางของคอลัมน ถา
          ตองการยอใหลากเมาสไปทางซาย แตถาตองการใหปรับความกวางคอลัมนใหพอดีกับขอความ
          ในคอลัมนนั้น ๆ ใหดับเบิลคลิกที่เสนแบงคอลัมนที่กําลังชี้เมาสอยู




ลบแถวและคอลัมน
          เลือกแถวหรือคอลัมนที่ตองการจะลบ
          คลิกเมนู Edit หรือคลิกเมาสปุมขวาที่คอลัมนที่จะลบ แลวเลือกคําสั่ง Delete




                                                                                                  11
Microsoft Excel 2003




ซอน/แสดงแถวและคอลัมน
         เลือกแถวหรือคอลัมนที่ตองการจะซอน
         คลิกเมนู Format เลือกคําสั่ง Row ถาตองการซอนแถว หรือเลือกคําสั่ง Column ถาตองการ
         ซอนคอลัมน จากนั้นเลือกคําสั่ง Hide (หรือสามารถคลิกเมาสขวาที่แถวหรือคอลัมนที่ตองการ
         จะซอนแลวเลือกคําสั่ง Hide)




         ถาตองการจะยกเลิกการซอนใหเลือกแถวหรือคอลัมนใหครอบคลุมแถวหรือคอลัมนที่ถูกซอน
         อยู จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Row หรือ Column ตามแนวที่เลือกไว แลวเลือก
         คําสั่ง Unhide




                                                                                                12
Microsoft Excel 2003

บทที่ 4 การใชงานเวิรกชีต (Worksheet)
เปลี่ยนชื่อเวิรกชีต
        1. เลือกชีตที่ตองการจะเปลี่ยนชื่อ
        2. ดับเบิลคลิกที่ชื่อชีตที่เลือกไว จากนั้นพิมพช่อชีตใหมที่ตองการแลวกดแปน Enter
                                                          ื




เพิ่มจํานวนเวิรกชีต
              คลิกเมนู Insert แลวเลือกคําสั่ง Worksheet
              ชีตใหมที่ถูกเพิ่มหรือแทรกขึ้นมาจะปรากฏอยูหนาเวิรกชีตที่เลือกไวกอนจะใชคําสั่ง Insert เชน
                                                         
              ถาตอนแรกเลือกชีตที่ Sheet3 ชีตที่ถูกแทรกมาใหมก็จะอยูหนา Sheet3




เคลื่อนยายเวิรกชีต
              เลือกชีตที่ตองการจะยาย จากนั้นใชเมาสลากไปยังตําแหนงที่ตองการ โดยสังเกตจากปุม
              สามเหลี่ยมสีดํา จะเปนสัญลักษณบอกถึงตําแหนงที่จะนําชีตไปวาง




ลบเวิรกชีต
              เลือกชีตที่ตองการจะลบ
              คลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Delete Sheet

การกอบปขอมูลทั้งเวิรกชีต
              เลือกชีตที่ตองการจะกอบป
              จากนั้นใชเมาสลากชีตที่จะกอบป พรอมกดแปน Ctrl จะเปนการกอบปเวิรกชีต
              จากนั้นปลอยเมาสและปลอยแปน Ctrl ชื่อชีตจะมีตัวเลขอยูในวงเล็บ เพื่อไมใชมีชื่อชีต
              เหมือนกัน เพราะฉะนั้นสามารถเปลี่ยนชื่อชีตในภายหลังได




                                                                                                          13
Microsoft Excel 2003

ระบุจํานวนเวิรกชีตเมื่อสรางเอกสารใหม
       1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options
       2. คลิกแถบ General จากนั้นระบุจํานวนเวิรกชีตเริ่มตนที่ตองการ ในชอง Sheet in new
          workbook แลวคลิกปุม OK โดยสามารถกําหนดไดมากสุดคือ 255 ชีต




                                                                                             14
Microsoft Excel 2003

บทที่ 5 การใชงานเวิรกบุค (Workbook)
สรางเวิรกบุคใหม
             
       1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง New
       2. คลิก Blank Document หรือคลิกที่ไอคอน

สรางเอกสารใหมจาก Template ของโปรแกรม Excel
        1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง New
        2. เลือกแถบ On my computer…
        3. เลือกแถบที่ตองการเรียกใช Template เนื่องจากโปรแกรมจะแยก Template ออกเปน
           หมวดหมู
        4. เลือกไอคอนของ Template ที่ตองการใชงาน แลวคลิกปุม OK




                                                                                         15
Microsoft Excel 2003

บันทึกเวิรกบุค
        1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Save หรือคลิกปุม Save     บนทูลบาร
        2. ตั้งชื่อไฟลไมเกิน 255 ตัวอักษรในชอง File name แลวคลิกปุม Save




บันทึกเวิรกบุคเดิมเปนชือใหม
                          ่
        1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Save As
        2. ตั้งชื่อไฟลใหมในชอง File name แลวคลิกปุม Save




                                                                                                 16
Microsoft Excel 2003

ปดเวิรกบุค
            คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Close หรือคลิกปุม Close   บนทูลบาร

เปดเวิรกบุคเกาขึ้นมาแกไข
        1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Open หรือคลิกปุม Open      บนทูลบาร
        2. เลือกชื่อไฟลท่ตองการจากนั้นเลือกตัวเลือกในการเปดไฟลขึ้นมาจากปุม Open
                          ี




                                                                                               17
Microsoft Excel 2003

บทที่ 6 การสรางสูตรคํานวณ
ลําดับและเครื่องหมายที่ใชในการคํานวณ
       การคํานวณใน Excel จะคํานวณตามลําดับความสําคัญของเครื่องหมายโดยจะเริ่มตํานวณตั้งแต
       เครื่องหมายดังตอไปนี้
             ( ) เครื่องหมายวงเล็บ
             ^ เครื่องหมายยกกําลัง
             * / เครื่องหมายคูณและหาร
             + - เครื่องหมายบวกและลบ

สรางสูตรโดยอางอิงตําแหนงเซลล
       ทุกครั้งที่จะทําการสรางสูตรคํานวณจะตองเริ่มตนดวยเครื่องหมาย = เสมอ จากนั้นก็ตามดวยเซลล
       หรือตัวเลขเริ่มตนที่ตองการจะนํามาคํานวณ ตามดวยเครื่องหมายในการคํานวณ และสุดทายคือ
       เซลลหรือตัวเลขที่จะใชเปนตัวคํานวณอีกตัวเลข จากนั้นกดแปน Enter ก็จะไดผลลัพธที่ถูกตอง ดัง
       ภาพตัวอยาง




การคํานวณอางอิงตําแหนงเซลลแบบ Relative
       โดยปกติเวลาที่เราสรางสูตรนั้นจะไมนิยมพิมพเปนตัวเลขเขาไป เชน ถามีตัวเลข 1000 อยูในเซลล
       A1 และเลข 9 อยูในเซลล B1 ถาหากตองการจะเอาเลขทั้งสองตัวนี้มาคูณกัน เราจะไมสรางสูตร
       =1000*9 แตเราจะสรางสูตรเปน =A1*B1 เนื่องจากวาถาหากวาในเซลล A1 หรือ B1 มีการ
       เปลี่ยนแปลงคาก็จะทําใหผลลัพธเปลี่ยนไปตามโจทยโดยอัตโนมัติ และถาหากวาในบรรทัดอื่นๆ
       หรือเซลลอื่น ๆ ที่มีสตรเหมือนกันก็สามารถที่จะกอบปสูตรดังกลาวไปไดทันที โปรแกรมก็จะทําการ
                             ู
       เปลี่ยนตําแหนงเซลลใหโดยอัตโนมัติ เชน ในชอง D3 เราสรางสูตร B3*C3 ถาหากกอบปเซลล D3
       ลงไปไวที่ D4 สูตรก็จะเปลี่ยนเปน B4*C4 และถาหากกอบปลงไปเซลลอื่น ๆ อีกก็จะเปลี่ยนสูตร
       ลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ โดยอัตโนมัติซึ่งจะเปนความสัมพันธหรือที่เรียกวา Relative




                                                                                                   18
Microsoft Excel 2003




การคํานวณอางอิงตําแหนงเซลลแบบ Absolute
       ลักษณะการสรางสูตรแบบ Relative นั้นจะเหมาะสําหรับสูตรที่มีการยืดหยุนไปตามเซลลที่เราได
       กอบปสูตร แตถาหากกรณีที่เราตองการจะกําหนดใหเซลลใดเซลลหนึ่งเปนคาคงที่ไวนั้น โดยที่เวลา
       กอบปสูตรไปไวที่ไหนก็ตามเซลลนั้นก็จะตองคงที่ตลอดเวลา ซึ่งเราสามารถล็อคเซลลน้ันไวไดโดย
       ในขณะที่สรางสูตรนั้นเมื่อไดคลิกเซลลท่ีจะลอคเรียบรอยแลวใหกดแปน F4 ทันทีเซลลนั้นก็จะถูก
       ล็อค เชน ในเซลล E3 ตองการจะสรางสูตร D3*C1 แตตองการกําหนดให C1 เปนคาคงที่เมื่อสราง
       สู ต รและหลั ง จากที่ ค ลิ ก ที่ เ ซลล C1 เรี ย บร อ ยแล ว ให ก ดแป น F4 ทั น ที่ โ ปรแกรมก็ จ ะทํ า การใส
       เครื่องหมาย $ ไวที่เซลล C1 เปน $C$1 นั่นหมายถึงเซลลนี้ไดถูกล็อคไวเรียบรอยแลวนั่นเอง และ
       ถาหากวามีการกอบปสูตรไปยังเซลลอื่น ๆ เชน E4 สูตรก็จะเปลี่ยนเปน D4*$C$1 ลักษณะการ
       สรางสูตรที่มีเซลลใดเซลลหนี่งเปนคาคงที่นั้นเราจะเรียกวา Absolute




กอบปสูตร
       วิธีการกอบปสูตรมีอยูหลายวิธดวยกัน อาจจะกอบปเหมือนการกอบปขอมูลธรรมดาดวยคําสั่ง Copy
                                      ี                                    
       & Paste ก็ได หรือจะใชเทคนิคในการกอบปสูตรดวย AutoFill Handle หรือ Ctrl + Enter ก็ไดอีก
       เชนกัน

ดูผลลัพธจากการคํานวณดวย AutoCalculate
       ในกรณีที่มีขอมูลตัวเลขอยูหนึ่งชุดและตองการจะดูผลลัพธโดยที่ไมตองสรางสูตร ก็สามารถทําได
       โดยเปนการทํางานของ AutoCalculate เพียงแคใชเมาสเลือกพื้นที่เซลลของขอมูลตัวเลขที่ตองการ
       จะดูผลลัพธ และสามารถดูผลลัพธไดที่ชองดานลางของ Status Bar ไดดังรูป
                                             

                                                                                                                   19
Microsoft Excel 2003

เปลี่ยนฟงกชนใน AutoCalculate
             ั
       โดยเริ่มตนแลวคําสั่ง AutoCalculate จะตั้งไวท่ีฟงกชัน Sum แตถาหากตองการจะดูผลลัพธจาก
       AutoCalculate เปนฟงกชันอื่น ๆ เชน Average, Max, Min, Count, Count Nums สามารถทําได
       โดยคลิก เมาสปุ ม ขวาตรงตํา แหนงที่แ สดงผลลั พธจ ากนั้น ใหเลือกฟงกชัน ที่ต องการ ถา หากไม
       ตองการใหแสดงผลลัพธใหเลือก None




ใช AutoSum ในการหาผลรวม
       กรณีที่เราตองการรวมคาของตัวเลขจากหลาย ๆ เซลลถาหากจะสรางสูตรโดยนําเซลลแตละเซลลมา
       + กันอาจจะทําใหไมสะดวกเทาไรนัก จึงมีฟงกชัน Sum ที่ใชในการหาผลรวมของตัวเลขโดยเฉพาะ
       โดยวิธีการใชงานมีดังนี้
       1. เลือกเซลลที่ตองการจะใสผลลัพธ
       2. คลิกที่ปุม Auto Sum บนทูลบาร
       3. เลือกพื้นที่เซลลของขอมูลที่จะนําตัวเลขมารวมกัน แลวกดแปน Enter




                                                                                                      20
Microsoft Excel 2003

Condition Sum
      1. เลือกพื้นที่เซลลทั้งหมดที่จะสรางเงื่อนไขและทําการหาผลรวม (หามเลือกเกินพื้นที่ท่จะใช)
                                                                                           ี
      2. คลิกเมนู Tools แลวเลือกคําสั่ง Condition Sum เลือกพื้นที่ที่จะสรางเงื่อนไขและหาผลรวมแลว
         คลิกปุม Next




      3. กําหนดคอลัมนที่จะทําการรวมตัวเลขที่ชอง Column to Sum
      4. กําหนดเงื่อนไขที่ตองการในบรรทัดตอมา แลวคลิกปุม Add Condition ถาตองการยกเลิก
         เงื่อนไขใดทิ้งก็ใหเลือกเงื่อนไขที่ไมตองการในรายการแลวคลิกปุม Remove Condition จากนั้น
         คลิกปุม Next




                                                                                                 21
Microsoft Excel 2003

5. เลือกรูปแบบการแสดงผลลัพธวาตองการจะใหแสดงเฉพาะผลลัพธอยางเดียวหรือตองการให
   แสดง Parameter ออกมาดวย ในกรณีนี้เลือกแบบหัวขอที่ 2 คือแสดง Parameter ออกมาดวย




6. เลือกตําแหนงเซลลท่จะนํา Parameter ไปใส แลวคลิกปุม Next
                       ี




7. เลือกตําแหนงเซลลที่จะนําผลลัพธไปใส แลวคลิกปุม Finish




                                                                                  22
Microsoft Excel 2003




                 23
Microsoft Excel 2003

เรียกใชงาน Function Average, Max, Min

Function Average
      ฟงกชัน Average เปนฟงกชันที่ใชในการหาคาเฉลี่ยของตัวเลขชวงหนึ่ง โดยมีรูปแบบของสูตรดังนี้
      =AVERAGE(Number1:Number…)
      ดังรูปตัวอยาง




Function Maximum และ Minimum
       ฟงกชัน Maximum เปนฟงกชันที่ใชในการหาคามากที่สุดของตัวเลขชวงหนึ่ง สวน Minimum เปน
       ฟงกชันที่ใชในการหาคานอยที่สุด โดยมีรูปแบบของสูตรดังนี้
       = MAX (Number1:Number…)
       = MIN (Number1:Number…) ดังรูปตัวอยาง




                                                                                                  24
Microsoft Excel 2003

Function IF
       เปนฟงกชันที่มีเงื่อนไขเขามาเกี่ยวของเพื่อใหไดผลลัพธท่ตองการออกมา
                                                                    ี             ซึ่งกอนที่จะเขาไปใช
       ฟงกชัน IF ผูใชงานจะตองทราบกอนวาตองการคําตอบ โดยมีเงื่อนไขอะไรอยูบาง หรือตองตีโจทยที่
       ผูใชงานตองการใหแตกนั่นเอง โดยวิธีในการตีโจทยงายๆ เชน จากภาพตัวอยาง




       ตองการใหคิดคาคอมมิชชันใหพนักงานขายในบริษท โดยมีเงื่อนไขวา ถาพนักงานคนใดใหสวนลด
                                                      ั
       ลูกคาเกินจากที่บริษัทกําหนดจะไมไดคอมมิชชันโดยใหแสดงคําวา “No Commission” แตถาไมเกิน
       จะไดคอมมิชชันจากยอดขายที่ขายได เพราะฉะนั้นจากโจทยนี้แตกออกมาไดวา

       อะไรคือเงื่อนไข ถาพนักงานขายใหสวนลดลูกคาเกิน 10%
       ถาเงื่อนไขเปนจริง พนักงานขายคนนั้นจะไมไดคอมมิชชันโดยใหแสดงคําวา “No Commission”
       ถาเงื่อนไขเปนเท็จ พนักงานขายคนนั้นจะไดคอมมิชชันตามอัตราที่บริษัทกําหนดไวคือ 1%

       จากนั้นเริ่มเขาการใชงานฟงกชัน IF โดยมีขั้นตอนการทํางานดังตอไปนี้
       1. เลือกเซลลที่จะใสผลลัพธ จากตัวอยางคือเซลล F5
       2. คลิกปุม Paste Function บนทูลบาร
       3. ดานซายเลือกกลุมฟงกชัน Logical หรือ All สวนดานขวาเลือกฟงกชัน IF แลวคลิกปุม OK




                                                                                                     25
Microsoft Excel 2003

       4. ใสเงื่อนไขที่ตองการในชอง Logical Test
       5. ใสคําสั่งคํานวณที่ตองการถาเงื่อนไขเปนจริงในชอง Value_if_true
       6. ใสคําสั่งคํานวณที่ตองการถาเงื่อนไขเปนเท็จในชอง Value_if_false แลวคลิกปุม OK จะได
          ตัวอยางดังรูป




       7. จากนั้นจะไดผลลัพธดังรูป แลวใชวิธีการกอบปผลลัพธจากเซลลแรกไปยังเซลลอื่นของพนักงาน
          คนตอไป




Nested IF (Function IF ซอน IF)
       เปนฟงกชันที่มีเงื่อนไขมากกวา 1 เงื่อนไขเขามาเกี่ยวของ เชน โจทยตัวอยาง ตองการใหคํานวณ
       โบนัสของพนักงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้คือ
           พนักงานคนใดที่ทางานเกิน 15 ป นับจากวันนี้ ใหตรวจสอบตอวา
                                ํ
                 o ถาเงินเดือนมากกวา 60,000 บาท จะไดโบนัส 6 เดือน
                 o ถาเงินเดือนนอยกวา 60,000 บาท จะไดโบนัส 8 เดือน
           สําหรับพนักงานที่ทางานไมถึง 15 ป นับจากวันนี้
                                  ํ
                 o ถาเงินเดือนมากกวา 30,000 บาท จะไดโบนัส 4 เดือน
                 o ถาเงินเดือนนอยกวา 30,000 บาท จะไดโบนัส 6 เดือน
       1. เพื่อใหสะดวกในการใชงานฟงกชัน IF ใหพิมพวันที่ที่จะใชเปรียบเทียบไวในเซลลใดเซลลหนึ่ง
           ในชีตเดียวกันกับขอมูลดังภาพตัวอยาง คือเซลล H1



                                                                                                     26
Microsoft Excel 2003

2. เลือกเซลลแรกที่ตองการจะใสผลลัพธ จากนั้นคลิกปุม
3. ดานซายเลือกกลุมฟงกชัน Logical หรือ All สวนดานขวาเลือกฟงกชัน IF แลวคลิกปุม OK




4. ในชอง Logical Test ใหใสเงื่อนไขวาวันที่เริ่มงานของพนักงานคนแรก มีคานอยกวาวันที่ที่
   กําหนดไวหรือไม (นั่นคือหมายความวา พนักงานคนนั้นเริ่มงานกอนวันที่ที่กําหนดหรือไม) ดู
   สูตรจากภาพตัวอยาง




5. ถัดมาในชอง Value_if_true ใหกําหนดวา ถาเงื่อนไขเปนจริงเราจะตองไปเช็คเงื่อนไขตอไปอีก
   ชั้นหนึ่ง นั่นคือใหคลิกปุมฟงกชัน IF                               ในชอง Name Box
6. จากนั้นจะปรากฏหนาจอของฟงกชัน IF อันใหมขึ้นมาให ก็ใหทําการใสเงื่อนไขที่สอง นั่นคือ
   ตรวจสอบวา เงินเดือนของพนักงานคนนี้มากกวา 60,000 บาท หรือไม ถาเกินจะไดโบนัส 6
   เดือน แตถาไมเกินจะไดโบนัส 8 เดือน จะไดสูตรดังภาพตัวอยาง แลวคลิกปุม OK




                                                                                            27
Microsoft Excel 2003




7. จากนั้นจะกลับสูเวิรกชีตใหคลิกที่เซลลเดิมที่แสดงผลลัพธออกมา แลวคลิกปุม อีกครั้ง
8. คลิกเมาสในชอง Value_if_false แลวคลิกปุม ฟงกชัน IF                                 ใน
   ชอง Name Box จะปรากฏหนาจอของฟงกชัน IF ขึ้นมาใหมอีกอัน แลวตรวจสอบเงื่อนไขที่
   เหลือวา ถาพนักงานสวนที่เหลือที่ทํางานไมถึง 15 ป ก็จะใหทําการตรวจสอบเงื่อนไขวา
   เงินเดือนเกิน 30,000 บาท หรือไม ถาเกินจะไดโบนัส 4 เดือน แตถาไมเกินจะไดโบนัส 6 เดือน
   ดังรูป




9. คลิกปุม OK 2 ครั้ง จะไดผลลัพธที่ตองการ ที่เหลือก็ใชวิธีการกอบป




                                                                                             28
Microsoft Excel 2003



Function VLOOKUP
       ฟงกชัน VLOOKUP นั้นเปนฟงกชันที่ใชในการเปรียบเทียบซึ่งมีเงื่อนไขมากกวา 1 เงื่อนไข เชนการ
       คิดเกรดใหกับนักเรียน แตกอนที่จะใชฟงกชันนี้เราจะตองทําการสรางตารางเปรียบเทียบขึ้นมา
       เตรียมไวกอนดังตอไปนี้

สรางตารางเปรียบเทียบ
       การสรางตารางเปรียบเทียบสําหรับใชกับฟงกชัน VLOOKUP นั้นจะตองเปนตารางแนวตั้งโดยแบง
       ออกเปน 2 คอลัมน คอลัมนแรกจะตองเปนตัวเลขที่ใชในการเปรียบเทียบและเรียงลําดับจากนอยลง
       ไปหามากที่สุด สวนคอลัมนที่สองคือขอมูลที่จะใชแสดงผลลัพธออกมาหลังจากเปรียบเทียบเสร็จ
       เรียบรอยแลว




       ใชงานฟงกชน VLOOKUP
                   ั
       1. เลือกเซลลที่จะใสผลลัพธจากนั้นคลิกที่ปุม Paste Function เลือกกลุมฟงกชัน Lookup &
          Reference จากชองดานซาย แลวเลือกฟงกชัน VLOOKUP จากชองดานขวาแลวคลิกปุม OK




                                                                                                   29
Microsoft Excel 2003

      2. คลิกเมาสในชอง Lookup Value แลวเลือกเซลลที่จะนําขอมูลมาเปรียบเทียบ
      3. คลิกเมาสในชอง Table Array จากนั้นใชเมาสเลือกพื้นที่ของตารางเปรียบเทียบ แลวกดแปน
         F4 เพื่อล็อคตารางนั้นไวใหคงที่
      4. ใสหมายเลขของคอลัมนในตารางเปรียบเทียบที่จะนํามาแสดงเปนผลลัพธ นั่นคือเลข 2 ซึ่ง
         หมายถึงคอลัมนที่ 2 ของตารางเปรียบเทียบนั่นเอง แลวคลิกปุม OK




Function                                                                            HLOOKUP
      ฟงกชัน HLOOKUP จะเหมือนกับฟงกชัน VLOOKUP เกือบทั้งหมดแตกตางตรงสวนที่เปนตาราง
      เปรียบเทียบเทานั้นเองซึ่งจะตองเปนแนวนอนดังภาพตัวอยาง




      ใชงานฟงกชน HLOOKUP
                  ั
      1. เลือกเซลลที่จะใสผลลัพธจากนั้นคลิกที่ปุม Function เลือกกลุมฟงกชัน Lookup & Reference
         จากชองดานซาย แลวเลือกฟงกชัน HLOOKUP จากชองดานขวาแลวคลิกปุม OK




                                                                                                 30
Microsoft Excel 2003


      2. คลิกเมาสในชอง Lookup Value แลวเลือกเซลลที่จะนําขอมูลมาเปรียบเทียบ
      3. คลิกเมาสในชอง Table Array จากนั้นใชเมาสเลือกพื้นที่ของตารางเปรียบเทียบ แลวกดแปน
         F4 เพื่อล็อคตารางนั้นไวใหคงที่
      4. ใสหมายเลขของคอลัมนในตารางเปรียบเทียบที่จะนํามาแสดงเปนผลลัพธ นั่นคือเลข 2 ซึ่ง
         หมายถึงคอลัมนท่ี 2 ของตารางเปรียบเทียบนั่นเอง แลวคลิกปุม OK




ใชงาน Lookup Wizard
      การใช Lookup Wizard จะเหมาะสําหรับการคนหาขอมูลหนึ่งที่เราตองการจากขอมูลที่มีปริมาณ
      มาก ๆ โดยวิธีการใชงานมีดังตอไปนี้
      1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Lookup…
      2. เลือกพื้นที่ขอมูลทั้งหมดที่ตองการจะเขาไปคนหาขอมูล แลวคลิกปุม Next




      3. เลือกคอลัมนและแถวที่ตองการจะคนหาขอมูล แลวคลิกปุม Next




                                                                                                 31
Microsoft Excel 2003




4. เลือกรูปแบบการแสดงผลลัพธวาจะแสดงเฉพาะผลลัพธอยางเดียวในหัวขอแรก หรือตองการจะ
   แสดงทั้งขอมูลที่ตองการจะคนหารวมทั้งผลลัพธดวยในหัวขอที่สอง แลวคลิกปุม Next




5. จากขอ 4 ในกรณีท่ีเลือกหัวขอที่ 2 ใหเลือกตําแหนงเซลลที่ตองการจะนําผลลัพธตาง ๆ ไปวาง
   จนกระทั่งจบขั้นตอนสุดทาย




                                                                                          32
Microsoft Excel 2003



เพิ่มคําสั่ง Lookup Wizard จาก Add-Ins
       ในบางครั้งคําสั่ง Lookup… อาจจะไมไดแสดงใหเห็นอยูในเมนู Tools เราสามารถที่จะเพิ่มคําสั่ง
       เหลานี้ไดตามขั้นตอนดังตอไปนี้
       1. คลิกเมนู Tools แลวเลือกคําสั่ง Add Ins…
       2. เลือกตัวเลือก Lookup Wizard แลวคลิกปุม OK




       3. จากนั้นรอสักครูโปรแกรมจะทําการติดตั้งคําสั่ง Lookup Wizard ใหโดยสามารถตรวจสอบได
          จากเมนู Tools จะมีคําสั่ง Lookup Wizard ปรากฏขึ้นมา




                                                                                               33
Microsoft Excel 2003



ใชคําสั่ง Goal Seek ในการคนหาเปาหมายที่ตองการ
       1. เลือกเซลลที่ตองการใหเปนไปตามเปาหมายที่ตองการ
       2. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Goal Seek




       3. ระบุเซลลที่ตองการกําหนดใหเปนเปาหมายซึ่งเลือกไวแลวในขอที่ 1 ในชอง Set cell
       4. กําหนดเปาหมายที่ตองการในชอง To value
       5. ระบุเซลลที่มีผลในการเปลี่ยนเปาหมายใหเปนไปตามที่กําหนดในชอง By changing cell แลว
          คลิกปุม OK




                                                                                              34
Microsoft Excel 2003



ใชงาน Auditing Toolbar
       1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Auditing จากนั้นเลือกคําสั่งยอย Show Auditing Toolbar




       2. จากนั้นทูลบาร Auditing ก็จะปรากฏขึ้นมาโดยแตละปุมทําหนาที่แตกตางกันไปดังตอไปนี้




             ที่มาของตัวเลข                       ใส Comment ลบวงกลม
                ลบเสนแสดงที่มา           ลบทุกเสน วงกลมขอมูลที่ผิดจากเงื่อนไข
                        ที่ไปของตัวเลข คนหาจุดผิดพลาดของสูตร
                            ลบเสนแสดงที่ไป




                                                                                                    35
Microsoft Excel 2003

บทที่ 7 การตกแตงขอมูลในเวิรกชีต
       หลังจากที่ไดทําการปอนขอมูลแลว ก็คงจะเหลือในสวนของการตกแตงเวิรกชีตใหขอมูลนั้นนาสนใจ
       ยิ่งขึ้น และอีกทั้งยังชวยใหการอานเอกสารนั้นงายและเพื่อใหดูสวยงามนั่นเอง โดยในเนื้อหาก็จะ
       แยกออกเปนหัวขอดังตอไปนี้

จัดรูปแบบตัวอักษรโดยรวม
       1. เลือกเซลลที่ตองการ จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Cells
       2. คลิกแถบ Font จากนั้นเลือกรูปแบบตาง ๆ และขนาดตามที่ตองการ แลวคลิกปุม OK




เปลี่ยนแบบตัวอักษร
       1. เลือกเซลลที่ตองการจะเปลี่ยนแบบตัวอักษร
       2. คลิกลูกศรจาก Drop Down ของ Font บนทูลบาร
       3. จากนั้นเลือกรูปแบบที่ตองการ




                                                                                                 36
Microsoft Excel 2003



เปลี่ยนขนาดตัวอักษร
       1. เลือกเซลลที่ตองการจะเปลี่ยนขนาดตัวอักษร
       2. คลิกลูกศรจาก Drop Down ของ Font Size บนทูลบาร
       3. จากนั้นเลือกหมายเลขขนาดที่ตองการ




เปลี่ยนลักษณะตัวอักษร
       1.   เลือกเซลลที่ตองการจะเปลี่ยนลักษณะตัวอักษร
       2.   คลิกปุม Bold ถาตองการเปลี่ยนใหเปนตัวหนา หรือตองการยกเลิกใหคลิกซ้ํา
       3.   คลิกปุม Italic ถาตองการเปลี่ยนใหเปนตัวเอียง หรือตัองการยกเลิกใหคลิกซ้ํา
       4.   คลิกปุม Underline ถาตองการเปลี่ยนใหเปนตัวขีดเสนใต หรือถาตองการยกเลิกใหคลิกซ้ํา
       5.   ทั้งสามปุมไมจําเปนตองคลิกทุกปุมก็ได



เปลี่ยนสีตัวอักษร
       1. เลือกเซลลที่ตองการเปลี่ยนสีตัวอักษร
       2. คลิกปุม Drop Down ขางปุม Font Color จากนั้นเลือกสีท่ตองการ
                                                                 ี




                                                                                                       37
Microsoft Excel 2003

จัดรูปแบบการวางขอความ
       โดยปกติในการจัดรูปแบบการวางขอความในแตละเซลล ไมวาจะเปนชิดซาย, ชิดขวา หรือตรงกลาง
       เราสามารถใชงานอยางงาย ๆ โดยการเลือกเซลลที่ตองการแลวคลิกปุม Left, Right หรือ Center
       บนทูลบาร


       1. เลือกเซลลที่ตองการ จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Cells
       2. คลิกแถบ Alignment แลวเลือกรูปแบบในการวางขอความตามที่ตองการแลวคลิกปุม OK




จัดขอความใหอยูกึ่งกลางระหวางหลายเซลล
       1. พิมพขอความที่ตองการจะจัดกึ่งกลางใหอยูเซลลแรกของชวงที่ตองการ เชน ถาตองการให
          ขอความอยูในระหวางเซลล B2 ถึง F2 ใหพิมพขอความในเซลลแรกของชวงที่ตองการคือ B2
          ดังรูปตัวอยาง
       2. จากนั้นเลือกพื้นที่เซลลตั้งแต B2 ถึง F2




                                                                                               38
Microsoft Excel 2003

       3. คลิกเมนู Format เลือกคําสั่ง Cells แลวคลิกแถบ Alignment
       4. จากนั้นในชอง Horizontal ใหเลือก Center Across Selection แลวคลิกปุม OK




รวมเซลลหลายเซลลใหเปนเซลลเดียวกัน
       1. วิธีการพิมพขอความและวิธีการเลือกเซลลจะทําเหมือนกันกับวิธีการจัดขอความใหอยูกึ่งกลาง
          ระหวางหลายเซลล แตจะแตกตางตรงที่สามารถทําไดท้งแนวตั้งและแนวนอน
                                                            ั
       2. คลิกปุม Merge and Center       บนทูลบาร
       3. ถาตองการยกเลิกจะตองคลิกเมนู Format เลือกคําสั่ง Cells จากนั้นคลิกแถบ Alignment
       4. ยกเลิกตัวเลือก Merge cells ออก แลวคลิกปุม OK




จัดยอหนาตัวอักษรในแตละเซลล
       1. เลือกเซลลที่ตองการจัดยอหนา (Left Indent)
       2. คลิกปุม Increase Indent   ถาตองการยอหนาเขาไป หรือคลิกปุม Decrease Indent
          ถาตองการถอยกลับมา จะไดผลลัพธดังภาพตัวอยาง

                                                                                                 39
Microsoft Excel 2003




ใสลวดลายและสีพื้น
      1. เลือกเซลลที่ตองการใสลวดลายและสีพื้น จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Cells
      2. คลิกแถบ Patterns แลวเลือกรูปแบบตามที่ตองการ จากนั้นคลิกปุม OK




การตีกรอบ
      1. เลือกเซลลที่ตองการตีกรอบ จากนั้นเลือกคําสั่ง Format แลวเลือกคําสั่ง Cells คลิกแถบ
         Border
      2. เลือกรูปแบบเสนที่ตองการจากชอง Style แลวเลือกสีที่ตองการจากชอง Color
      3. เลือกตําแหนงที่จะใสกรอบจากสวนทางดานซาย ใน Presets หรือ Border แลวคลิกปุม OK




      4. ถาตองการจะยกเลิกกรอบที่ตีไว ใหคลิกปุม None


                                                                                                40
Microsoft Excel 2003

จัดรูปแบบตัวเลข
       1.   เลือกเซลลที่ตองการ แลวคลิกเมนู Format จากนั้นเลือกคําสั่ง Cells
       2.   คลิกแถบ Number จากนั้นเลือก Number ในชอง Category
       3.   สวนทางดานขวาจะมีตัวอยางแสดงใหเห็นในชอง Sample
       4.   สามารถกําหนดจํานวนจุดทศนิยมไดท่ชอง Decimal places
                                                 ี
       5.   จากนั้นกําหนดใหมีเครื่องหมายคอมมา ( , ) ไดในชอง Use 1000 Separator
       6.   เลือกรูปแบบของตัวเลขที่ติดลบไดในชอง Negative numbers แลวคลิกปุม OK




จัดรูปแบบตัวเลขประเภทวันที่และเวลา
       1. เลือกเซลลที่ตองการ แลวคลิกเมนู Format จากนั้นเลือกคําสั่ง Cells
       2. คลิกแถบ Number จากนั้นเลือกกลุม Date ทางดานซายมือ แลวเลือกรูปแบบวันที่จากดาน
          ขวามือตามที่ตองการแลวคลิกปุม OK




                                                                                              41
Microsoft Excel 2003



จัดรูปแบบตัวเลขประเภทวันที่และเวลา
       3. เลือกเซลลที่ตองการ แลวคลิกเมนู Format จากนั้นเลือกคําสั่ง Cells
       4. คลิกแถบ Number จากนั้นเลือกกลุม Date ทางดานซายมือ แลวเลือกรูปแบบวันที่จากดาน
          ขวามือตามที่ตองการแลวคลิกปุม OK




กอบปรูปแบบ
       1. เลือกเซลลตนแบบที่ตองการจะกอบป จากนั้นคลิกปุม Format Painter        บนทูลบาร
       2. จากนั้นจะสังเกตเห็นวาตัวชี้เมาสนั้นจะมีรูปแปรงติดมาดวย ใหนําเมาสไปคลิกตําแหนงเซลล
          ปลายทางที่ตองการจะกอบปรูปแบบนั้น ๆ




                                                                                                     42
Microsoft Excel 2003

ลบรูปแบบ
      1. เลือกเซลลที่ตองการจะลบรูปแบบ
      2. คลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Clear จากนั้นเลือกคําสั่งยอย Format




ใชงาน AutoFormat
      1. เลือกขอมูลที่ตองการจัดรูปแบบทั้งหมด
      2. คลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง AutoFormat
      3. คลิกปุม Options เพื่อที่จะกําหนดตัวเลือกอื่น ๆ ตามที่ตองการ แลวคลิกปุม OK




                                                                                                43
Microsoft Excel 2003

จัดรูปแบบโดยมีเงื่อนไข (Conditional Formatting)
       1. เลือกเซลลที่ตองการจะจัดรูปแบบโดยมีเงื่อนไขเขามาเกี่ยวของ เชน ถาเปนตัวเลขที่ <3000 ให
          เปลี่ยนสีตัวอักษรเปนสีแดง หรือถาหากตัวเลขที่ >3000 ใหเปลี่ยนตัวเลขเปนสีน้ําเงิน
       2. คลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Conditional Formatting
       3. จากนั้นกําหนดเงื่อนไขพรอมรูปแบบตามที่ตองการ




       4. กรณีที่มีมากกวา 1 เงื่อนไขควรจะเริ่มตนจากเงื่อนไขที่นอยกอน จากนั้นคลิกปุม Add แลว
          กําหนดเงื่อนไขที่ตองการตอไป ซึ่งจะสามารถสรางเงื่อนไขไดเต็มที่ 3 เงื่อนไข




ยกเลิกเงื่อนไขในการจัดรูปแบบ
       1. เลือกพื้นที่ที่เคยกําหนดเงื่อนไขในการจัดรูปแบบขอมูล จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือก
          คําสั่ง Conditional Formatting
       2. คลิกปุม Delete จากนั้นเลือกเงื่อนไขที่ตองการจะลบ แลวคลิกปุม OK




                                                                                                    44
Microsoft Excel 2003

บทที่ 8 การพิมพเวิรกชีต
ดูเอกสารกอนพิมพ (Print Preview)
       1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Print Preview
       2. จากนั้นโปรแกรมจะแสดงเอกสารกอนพิมพใหดู ถาหากตองการกลับสูเวิรกบุคปกติใหคลิกปุม
          Close




กําหนดขนาดกระดาษและแนวการวางกระดาษ
       1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Page Setup
       2. คลิกแถบ Page จากนั้นกําหนดแนวการวางกระดาษในสวนของ Orientation
       3. กําหนดขนาดกระดาษในชอง Paper size




                                                                                               45
Microsoft Excel 2003

กําหนดระยะหางระหวางขอมูลกับขอบกระดาษ
      1. หลังจากผานขั้นตอนของการกําหนดขนาดกระดาษที่ผานมาแลว ใหคลิกที่แถบ Margins
      2. กําหนดระยะหางของขอบกระดาษกับขอมูลตามที่ตองการ
      3. ถาตองการใหขอมูลอยูกลางหนากระดาษสามารถกําหนดไดจากชอง Center on page




ใสหัว/ทายกระดาษ (Header/Footer)
      1. จากนั้นถาตองการกําหนดใหแสดงขอความตาง ๆ ที่หวหรือทายกระดาษ เชน ชื่อไฟล วันที่
                                                         ั
         หรือเลขหนา ในคําสั่ง Page Setup ใหคลิกแถบ Header/Footer
      2. เลือกรูปแบบขอความที่จะใหแสดงจากชอง Header หรือ Footer




                                                                                                46
Microsoft Excel 2003

สรางหัว/ทายกระดาษ (Header/Footer)
       จากขั้นตอนการใส Header/Footer ขางตนนั้นเปนการเลือกรูปแบบที่มีอยูแลว แตถาตองการจะ
       สราง Header หรือ Footer ขึ้นมาเอง เชน ตองการใหมีชื่อของผูที่สรางไฟลนี้ไวที่ Header ตรงกลาง
       หนากระดาษ เราสามารถทําไดดังขั้นตอนตอไปนี้
       1. ในแถบ Header/Footer ใหคลิกปุม Custom Header เพื่อสรางหัวกระดาษ หรือคลิกปุม
            Custom Footer ถาตองการสรางทายกระดาษ
       2. จากนั้นใหพิมพขอความที่ตองการในชองกลาง ถาตองการตกแตงตัวอักษรใหใชเมาสระบาย
            แลวคลิกที่ปุม A แลวเลือกรูปแบบตัวอักษรตามที่ตองการ




ระบุชวงขอมูลที่ตองการพิมพ (Print area)
     
       1. ในขณะที่กําลังใชงานอยูที่เวิรกชีตใหเลือกพื้นที่เซลลที่ตองการจะพิมพ
       2. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Print Area แลวเลือกคําสั่ง Set Print Area (กรณีที่ตองการยกเลิกให
          เลือก Clear Print Area)




       3. จากนั้นสามารถสั่งพิมพไดทันที




                                                                                                      47
Microsoft Excel 2003

แบงหนาพิมพ (Page Break)
       1. เลือกแถวหรือคอลัมนที่ตองการใหขึ้นหนาใหม แลวคลิกเมนู Insert จากนั้นเลือกคําสั่ง Page
                                 
          Break




       2. หลังจากนั้นจะเห็นวาแถวหรือคอลัมนที่ไดเลือกไวจะมีเสนประปรากฏขึ้นมา (ถาตองการยกเลิก
          ใหเริ่มตนที่ขั้นตอนที่ 1 ใหม แตคําสั่งจะถูกเปลี่ยนเปน Remove Page Break อัตโนมัติ)

ใชงาน Page Break Preview
       วิธีนี้จะคลาย ๆ กับการใชคําสั่ง Page Break แตจะแตกตางตรงที่เราสามารถปรับเปลี่ยนไดตามที่
       เราตองการใหแบงหนาไดสะดวกกวา โดยมีวิธีดังนี้
       1. คลิกเมนู View แลวเลือกคําสั่ง Page Break Preview
       2. ขอมูลที่อยูในเวิรกชีตจะเปลี่ยนไปและจะมีเสนประเพื่อใหสามารถปรับเปลี่ยนการแบงหนาได
              ตามที่ตองการดังรูป
       3. สามารถใชเมาสชี้ไปยังเสนประเพื่อปรับการแบงหนา โดยคลิกเมาสคางไวแลวลากขึ้นหรือลง
       4. กรณีที่ตองการยกเลิก เพื่อใหขอมูลเหมือนเดิม ใหคลิกเมนู View แลวเลือกคําสั่ง Normal View




                                                                                                     48
Microsoft Excel 2003

กําหนดใหแถวหรือคอลัมนแสดงทุกหนา
        1. ขณะที่กําลังใชงานอยูที่เวิรกบุคใหคลิกเมนู File จากนั้นเลือกคําสั่ง Page Setup
        2. คลิกแถบ Sheet คลิกเมาสในชอง Row to repeat at top แลวคลิกเมาสที่แถวในเวิรกชีตที่
           ตองการใหพิมพออกทุก ๆ หนากระดาษ หรือคลิกเมาสในชอง Column to repeat at left แลว
           คลิกเมาสที่คอลัมนในเวิรกชีตที่ตองการใหพิมพออกทุก ๆ หนากระดาษ
        3. ถาสั่ง Print preview จะสังเกตเห็นวาแถวหรือคอลัมนที่ไดเลือกไวจะปรากฏในทุก ๆ
           หนากระดาษ




สั่งพิมพ
            1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Print
            2. กําหนดเลขหนาและจํานวนชุดที่ตองการพิมพแลวคลิกปุม OK




                                                                                            49
Microsoft Excel 2003

บทที่ 9 การปรับมุมมองเวิรกชีต
การ Zoom เวิรกชีต
       1. คลิกเมนู View แลวเลือกคําสั่ง Zoom
       2. เลือกเปอรเซ็นตที่ตองการ แลวคลิกปุม OK




       3. หรือใชวิธีการปรับเปลี่ยนไดจากปุม Zoom              บนทูลบาร

แบงหนาจอดวยคําสั่ง Split
       1. เลือกตําแหนงเซลลที่ตองการจะทําการแบงหนาจอ
       2. คลิกเมนู Window จากนั้นเลือกคําสั่ง Split (ถาตองการยกเลิกใหเลือกคําสั่ง Remove Split)




ล็อคแถว/คอลัมนดวยคําสั่ง Freeze panes
       1. เลือกตําแหนงเซลลที่ตองการจะล็อคแถวหรือคอลัมนไว เพื่อไมใหแถวหรือคอลัมนนั้นขยับตาม
          เมื่อมีการเลื่อนหนาจอ
       2. คลิกเมนู Window จากนั้นเลือกคําสั่ง Freeze panes หรือเลือกคําสั่ง Unfreeze panes ถา
          ตองการยกเลิก




                                                                                                     50
Microsoft Excel 2003

บทที่ 10 การใชงานชารต
สรางชารตดวย Chart Wizard
      1. คลิกเมนู Insert แลวเลือกคําสั่ง Chart หรือคลิกปุม Chart Wizard บนทูลบาร
      2. เลือกรูปแบบชารตที่ตองการแลวคลิกปุม Next




      3. เลือกพื้นที่เซลลที่ตองการจะนําขอมูลมาสรางชารต แลวคลิกปุม Next




      4. เลือกตําแหนงที่จะนําชารตไปวาง ถาเลือก As new sheet คือเปนการสรางชีตใหมสําหรับใส
         ชารตโดยเฉพาะ แตถาเลือก As object in คือจะนําชารตที่สรางไปวางอยูในชีตเดียวกับขอมูล
         จากนั้นคลิกปุม Finish




                                                                                                 51
Microsoft Excel 2003




      5. เลือกตําแหนงที่จะนําชารตไปวาง ถาเลือก As new sheet คือเปนการสรางชีตใหมสําหรับใส
         ชารตโดยเฉพาะ แตถาเลือก As object in คือจะนําชารตที่สรางไปวางอยูในชีตเดียวกับขอมูล
         จากนั้นคลิกปุม Finish




แสดงขอมูลในชารต
      1. ถาตองการกําหนดใหแสดงหรือไมแสดงขอมูลแตละแทงชารตสามารถทําไดโดยการคลิกเมนู
         Chart จากนั้นเลือกคําสั่ง Chart Options
      2. คลิกแถบ Data Labels แลวเลือกวาตองการจะใหแสดงขอมูลหรือไมตองการ แลวคลิกปุม OK




                                                                                                52
Microsoft Excel 2003



ตกแตงชารต
      หลักการตกแตงชารตมีเพียงขั้นตอนงาย ๆ คือ ใหดับเบิลคลิกเมาส ณ ตําแหนงที่ตองการจะตกแตง
      จากนั้นก็จะปรากฎคําสั่งตาง ๆ สําหรับการตกแตงชารตโดยเฉพาะ ยกตัวอยางเชนถาดับเบิลคลิกที่
      พื้นหลังของชารต ก็จะปรากฎไดอะล็อกบ็อกซดังรูป




ลบชารต
      1. กรณีที่สรางชารตไวในชีตเดียวกันกับขอมูลสามารถคลิกเมาสที่ชารตแลวกดแปน Delete ที่
         คียบอรดไดทันที
      2. กรณีที่สรางชารตไวโดยแยกเปนคนละชีตกันกับขอมูล จะตองใชวธีการ Delete Sheet โดยคลิก
                                                                       ิ
         ชีตที่เปนชารต
      3. จากนั้นคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Delete Sheet จากนั้นคลิกปุม OK เพื่อยืนยันการลบ




                                                                                               53
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003
book_excel 2003

More Related Content

What's hot

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูลหน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูลchaiwat vichianchai
 
Lesson 3 ตาราง
Lesson 3 ตารางLesson 3 ตาราง
Lesson 3 ตารางErrorrrrr
 
Lesson 5 การสร้าง form
Lesson 5 การสร้าง formLesson 5 การสร้าง form
Lesson 5 การสร้าง formErrorrrrr
 
Lesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง queryLesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง queryErrorrrrr
 
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007Nicharee Piwjan
 
Microsoft chemistry add
Microsoft chemistry addMicrosoft chemistry add
Microsoft chemistry addsuperjajj
 
การป้อนและแก้ไขข้อมูล
การป้อนและแก้ไขข้อมูลการป้อนและแก้ไขข้อมูล
การป้อนและแก้ไขข้อมูลMeaw Sukee
 
Lesson 6 การสร้างรายงาน
Lesson 6 การสร้างรายงานLesson 6 การสร้างรายงาน
Lesson 6 การสร้างรายงานErrorrrrr
 
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรมLesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรมErrorrrrr
 
Microsoft Excel 2003
Microsoft Excel 2003Microsoft Excel 2003
Microsoft Excel 2003PomPam Comsci
 

What's hot (16)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูลหน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การสร้างแบบสอบถามวิชา การจัดการฐานข้อมูล
 
Lesson 3 ตาราง
Lesson 3 ตารางLesson 3 ตาราง
Lesson 3 ตาราง
 
Lesson 5 การสร้าง form
Lesson 5 การสร้าง formLesson 5 การสร้าง form
Lesson 5 การสร้าง form
 
Lesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง queryLesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง query
 
Epi info unit05
Epi info unit05Epi info unit05
Epi info unit05
 
Word2
Word2Word2
Word2
 
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
 
Microsoft chemistry add
Microsoft chemistry addMicrosoft chemistry add
Microsoft chemistry add
 
การป้อนและแก้ไขข้อมูล
การป้อนและแก้ไขข้อมูลการป้อนและแก้ไขข้อมูล
การป้อนและแก้ไขข้อมูล
 
Epi info unit02
Epi info unit02Epi info unit02
Epi info unit02
 
Animation flash
Animation flashAnimation flash
Animation flash
 
Lesson 6 การสร้างรายงาน
Lesson 6 การสร้างรายงานLesson 6 การสร้างรายงาน
Lesson 6 การสร้างรายงาน
 
Epi info unit01
Epi info unit01Epi info unit01
Epi info unit01
 
Epi info unit06
Epi info unit06Epi info unit06
Epi info unit06
 
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรมLesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
 
Microsoft Excel 2003
Microsoft Excel 2003Microsoft Excel 2003
Microsoft Excel 2003
 

Similar to book_excel 2003

Microsoft office excel 2007
Microsoft office excel 2007Microsoft office excel 2007
Microsoft office excel 2007Wee Jay
 
ใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตาราง
ใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตารางใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตาราง
ใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตารางMeaw Sukee
 
ส่วนประกอบ
ส่วนประกอบส่วนประกอบ
ส่วนประกอบkanidta vatanyoo
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูลหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูลchaiwat vichianchai
 
Excel 2007 adv manual for kku
Excel 2007 adv manual for kkuExcel 2007 adv manual for kku
Excel 2007 adv manual for kkus0rn
 
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).docแบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).docAnuwatBhumthavorn
 
หน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิ
หน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิหน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิ
หน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิPlai Fon
 

Similar to book_excel 2003 (20)

Microsoft office excel 2007
Microsoft office excel 2007Microsoft office excel 2007
Microsoft office excel 2007
 
ใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตาราง
ใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตารางใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตาราง
ใบความรู้ที่ 3 การตกแต่งข้อมูลและตาราง
 
Excel
Excel Excel
Excel
 
Excel (1)
Excel (1)Excel (1)
Excel (1)
 
Excel
ExcelExcel
Excel
 
ส่วนประกอบ
ส่วนประกอบส่วนประกอบ
ส่วนประกอบ
 
Microsoft excel เบื้องต้น
Microsoft excel เบื้องต้นMicrosoft excel เบื้องต้น
Microsoft excel เบื้องต้น
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูลหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการกับฐานข้อมูล
 
Basiccom
BasiccomBasiccom
Basiccom
 
Basiccom
BasiccomBasiccom
Basiccom
 
Basiccom
BasiccomBasiccom
Basiccom
 
Excel 2007 adv manual for kku
Excel 2007 adv manual for kkuExcel 2007 adv manual for kku
Excel 2007 adv manual for kku
 
งานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2
งานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2งานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2
งานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2
 
Ch1
Ch1Ch1
Ch1
 
Microsoft excel 2007
Microsoft excel 2007Microsoft excel 2007
Microsoft excel 2007
 
Microsoft excel
Microsoft excelMicrosoft excel
Microsoft excel
 
Microsoft excel
Microsoft excelMicrosoft excel
Microsoft excel
 
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).docแบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
 
หน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิ
หน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิหน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิ
หน่วยที่ 5 การพิมพ์งานตาราง และแผนภูมิ
 
Answer ex1
Answer ex1Answer ex1
Answer ex1
 

book_excel 2003

  • 1. Microsoft Excel 2003 บทที่ 1 การใชงานเบื้องตน เรียกใชงานโปรแกรม Microsoft Excel 1. คลิกปุม Start menu บนทาสกบาร จากนั้นคลิกเมาสที่ All Program 2. คลิกเมาสที่ Microsoft Word หรือกรณีที่มีไอคอนของโปรแกรม Microsoft Word อยูบน เดสกทอปก็สามารถดับเบิลคลิกที่ไอคอนไดทันที สวนประกอบตาง ๆ ของ Word 2003 Title Bar Restore Toolbar Options Minimize Close Menu Bar Toolbar Options Tab Standard Toolbar Formatting Toolbar Vertical Ruler Scroll Bar Horizontal Scroll Bar Status Bar 1
  • 2. Microsoft Excel 2003 ชื่อสวนประกอบ ความหมาย Title Bar แสดงชื่อไฟลที่ใชงานในขณะนั้น Menu Bar รวบรวมคําสั่งทั้งหมดใน Excel Tool Bar แถบเครื่องที่ชวยใหใชงานใน Excel สะดวกขึ้น Formula Bar ใชแสดงหรือแกไขขอมูลในเซลล Name Box แสดงชื่อเซลลที่กําลังถูกเลือก Column Heading แสดงชื่อของคอลัมน Row Heading แสดงชื่อของหัวแถว Worksheet Area พื่นที่สําหรับใชงาน Sheet Tab แสดงชื่อชีตใชงาน Status Bar แถบแสดงสถานะ Vertical/Horizontal Scroll Bar ใชเลื่อนดูขอมูลดายบน/ลาง, ซาย/ ขวา ใชงานเมนูและทูลบาร เมนูบาร (Menu Bar) : เปนชุดของคําสั่งโดยแยกเปนหมวดหมูเพื่อใหสะดวกในการเรียกใชงาน ทูลบาร (Tool Bar) : เปนปุมคําสั่งเพื่อใหผูใชงานไดทํางานดวยความสะดวกรวดเร็วกวาที่จะ เรียกใชคําสั่งจากเมนูบาร โดยทูลบารจะมีอยูหลายทูลบาร โดยมักจะเรียกใชข้ึนมาใหเหมาะสมกับ ลักษณะของงานที่จะทํา เชนถาตองการสรางกราฟก็จะตองเรียกใชงานทูลบาร Chart เปนตน แสดงทุกคําสั่งในแตละเมนู 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Customize 2. ที่แถบ Options ใหยกเลิกตัวเลือก แลวคลิกปุม Close 2
  • 3. Microsoft Excel 2003 แยกทูลบาร Standard และ Formatting 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Customize 2. ยกเลิกตัวเลือก Standard and Formatting toolbars share two row แลวคลิกปุม Close ซอนและแสดงทูลบาร 1. คลิกเมนู View เลือกคําสั่ง Toolbar หรือคลิกเมาสขวาบริเวณทูลบาร 2. จากนั้นเลือกชื่อทูลบารที่ตองการซอนหรือแสดง โดยทูลบารที่กําลังถูกแสดงอยูจะมีเครื่องหมาย ถูกอยูขางหนา ปดโปรแกรม Microsoft Excel วิธีการปดหรือออกจากโปรแกรม Excel มีอยูหลายวิธีดวยกัน แตสําหรับวิธีที่งายที่สุดคือ การคลิกที่ ปุม Close ที่อยูในแนวเดียวกันกับ Title Bar ดังรูป 3
  • 4. Microsoft Excel 2003 บทที่ 2 การปอนและแกไขขอมูล ปอนขอมูล 1. เลือกเซลลที่ตองการจะปอนขอมูล 2. พิมพขอมูลตามที่ตองการ เมื่อพิมพเสร็จใหกดแปน Enter แตถาตองการจะยกเลิกใหกดแปน Esc แกไขขอมูล วิธีการแกไขขอมูลมีอยู 2 วิธีหลักคือ 1. เลือกเซลลที่ตองการจะแกไข จากนั้นใหกดแปนพิมพ F2 2. ดับเบิลคลิกเมาสไปยังเซลลท่ตองการจะแกไข ี ใชคําสั่ง Undo การใชคําสั่ง Undo หมายถึงเปนการยกเลิกการทํางานใน Excel จากครั้งลาสุดถอยหลังกลับไป ซึ่ง จะสามารถ Undo ไดถึง 16 ครั้ง โดยวิธีการใช Undo คือใหคลิกที่ปุม Undo บนทูลบาร เลือกเซลลมากกวา 1 เซลล เลือกเซลลที่อยูติดกัน ใชเมาสคลิกที่เซลลแรกที่ตองการจะเลือก จากนั้นลากเมาสไปยังเซลลสุดทายที่ตองการ 4
  • 5. Microsoft Excel 2003 เลือกเซลลที่ไมอยูติดกัน เลือกเซลลแรกที่ตองการ จากนั้นกดแปน Ctrl คางไว แลวทําการคลิกเมาสไปยังเซลลอื่น ๆ ที่ ตองการตอไปจนครบจํานวนเซลลตามที่ตองการจึงคอยปลอยแปน Ctrl ยายขอมูลใน เซลล ยายดวยคําสั่ง Cut & Paste 1. เลือกเซลลที่ตองการจะยาย จากนั้นคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Cut หรือคลิกที่ปุม Cut บนทูลบาร 2. เลือกเซลลปลายทางที่ตองการจะนําขอมูลไปวาง จากนั้นคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Paste หรือคลิกปุม Paste บนทูลบาร ยายดวยการลากเมาส 1. เลือกเซลลที่ตองการจะยาย ชี้เมาสไปยังบริเวณขอบดานใดดานหนึ่งของเซลลที่ไดเลือกไว 2. จากนั้นใชเมาสลากไปยังตําแหนงที่ตองการ แลวปลอยเมาส กอบปขอมูล 1. เลือกเซลลที่ตองการจะกอบป แลวคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Copy หรือคลิกปุม Copy บนทูลบาร 2. เลือกเซลลปลายทางเพียงเซลลเดียวที่เปนตําแหนงเริ่มตนที่จะนําขอมูลที่กอบปไปวาง 5
  • 6. Microsoft Excel 2003 3. กดแปน Enter หรือถาตองการจะกอบปไปยังเซลลอื่น ๆ อีกหลายเซลล ใหใชวธีการคลิกเมนู ิ Edit แลวเลือกคําสั่ง Paste หรือคลิกปุม Paste บนทูลบาร จะทําใหสามารถ Paste ไปไดเรื่อย ๆ จนกวาเสนที่อยูลอมรอบขอมูลที่กอบปนั้นจะหายไป (โดยเสนที่อยูลอมรอบจะหายไปก็ ตอเมื่อมีการกดแปน Esc หรือมีการทํางานอยางอื่นเขามาแทนที่) เ ซ ล ล ที่ ถู ก ก อ บ ป จ ะ ยั ง สามารถ Paste ไปไดเรื่อย ๆ เมื่อเสนประยังปรากฏอยู เทคนิคการกอบปขอมูล กอบปขอมูลดวย AutoFill Handle 1. เลือกเซลลตนแบบที่ตองการจะกอบป 2. จากนั้นชี้เมาสไปที่จุด AutoFill (มุมขวาลางของเซลลที่เลือกไว) 3. จากนั้นใชเมาสลากไปในทิศทางที่ตองการโดยจะสามารถลากไดเพียงทีละ 1 ทิศทางเทานั้น AutoFill Handle 6
  • 7. Microsoft Excel 2003 กอบปขอมูลดวย Ctrl + Enter 1. เลือกพื้นที่เซลลทั้งหมดที่ตองการกอนที่จะพิมพขอมูลที่จะกอบป พิมพขอมูลตามที่ตองการ  2. จากนั้นกดแปน Ctrl + Enter จะทําใหสิ่งที่พิมพปรากฏอยูในทุกเซลลที่ไดเลือกไวกอนที่จะ พิมพ ปอนขอมูลที่ซ้ํากันดวย AutoComplete การปอนขอมูลดวย AutoComplete นั้นจะชวยลดการปอนขอมูลที่ซ้ํากัน โดยมีขอจํากัดวาจะตอง เปน ขอมูลที่อยูในคอลัมนเดียวกันและไมมีการเวนบรรทัด ซึ่งวิธีการเพียงแคเริ่มพิมพตัวอักษร เริ่มตนโปรแกรมก็จะทําการใสตัวอักษรที่เหลือมาให จากนั้นก็เพียงแคกดแปน Enter เชน ถาคุณ เคยพิมพคําวา Windows มาแลวในเซลล A1 และคุณตองการจะพิมพคําวา Windows อีกครั้งใน เซลลตอมา คุณก็เพียงแคพิมพ W โปรแกรมก็จะทําการพิมพตัวที่เหลือมาใหแตถาหากวามีคําอื่น ๆ ที่มีตัวอักษรขึ้นตนเหมือนกัน ก็จะตองพิมพตัวอักษรตัวตอไป เชน ถามีทั้งคําวา Windows และ Word ถาคุณพิมพ W AutoComplete จะไมแสดงเพราะฉะนั้นคุณจะตองพิมพ Wi หรือ Wo เพื่อระบุ วาตองการจะพิมพคําใดดังรูป ยกเลิกการใชงาน AutoComplete กรณีที่ตองการยกเลิกการทํางานของ AutoComplete สามารถทําไดโดย 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options 2. คลิกแถบ Edit จากนั้นยกเลิกตัวเลือก Enable AutoComplete for Cell Values แลวคลิกปุม OK 7
  • 8. Microsoft Excel 2003 ปอนขอมูลที่ซ้ํากันดวย Pick from list ลักษณะการทํางานของ Pick from list จะเหมือนกันกับ AutoComplete เพียงแตไมจําเปนตองพิมพ ตัวอักษรตัวแรก แตเพียงแคกดแปน Alt + Down Arrow (ลูกศรลง) ก็จะมีรายการขอมูลที่เคยพิมพ มาแลวในคอลัมนเดียวกันปรากฏออกมา จากนั้นก็เพียงเลือกขอมูลที่ตองการ ปอนขอมูลแบบตอเนื่องดวย AutoFill 1. คลิกเมาสในเซลลที่ตองการปอนขอมูล พิมพขอมูลเริ่มตน เชน January 2. เลือกเซลลที่ไดพิมพขอมูลเริ่มตน จากนั้นใชเมาสชี้ที่จุด AutoFill ของเซลลนั้น แลวลากเมาสไป ในทิศทางที่ตองการ เพียงทิศใดทิศหนึ่ง เชนลากลง หรือลากไปทางขวา สรางชุดขอมูลดวย Custom Lists 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options จากนั้นคลิกแถบ Custom Lists 2. พิมพรายการขอมูลในชอง List Entries จากนั้นคลิกปุม Add และคลิกปุม OK 8
  • 9. Microsoft Excel 2003 ลบรายการขอมูลออกจาก Custom Lists 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options จากนั้นคลิกแถบ Custom Lists 2. เลือกรายการที่ตองการจะลบจากชอง Custom lists แลวคลิกปุม Delete 3. คลิกปุม OK เพื่อยืนยันการลบ 9
  • 10. Microsoft Excel 2003 บทที่ 3 การใชงานแถว (Row) และคอลัมน (Column) ความหมายของแถวและคอลัมน Row หมายถึง แนวนอนที่ปรากฏอยูในเวิรกชีต Column หมายถึง แนวตั้งที่ปรากฏอยูในเวิรกชีต Column Row เลือกแถวและคอลัมน ในแตละแถวหรือคอลัมนจะมีชื่อกํากับไว โดยถาเปนคอลัมนก็จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษกํากับไว เชน คอลัมน A สวนแถวก็จะมีตัวเลขกํากับไวเชนกัน เชน แถวที่ 1 ซึ่งหัวแถวหรือหัวคอลัมนนั้นเรา จะเรียกวา Row Heading และ Column Heading เพราะฉะนั้นถาหากตองการเลือกขอมูลแถวใด หรือคอลัมนใดก็เพียงใชเมาสคลิกไปที่หัวแถวหรือหัวคอลัมนที่ตองการ เลือกแถวและคอลัมนแบบตอเนือง ่ เลือกแถวหรือคอลัมนเริ่มตนที่ตองการ จากนั้นใชเมาสลากไปจนถึงแถวหรือคอลัมนสุดทาย 10
  • 11. Microsoft Excel 2003 เลือกแถวและคอลัมนแบบไมตอเนือง ่ เลือกแถวหรือคอลัมนเริ่มตนที่ตองการ จากนั้นกดแปน Ctrl คางไว แลวใชเมาสคลิกไปที่แถว หรือคอลัมนตอไปจนครบตามจํานวนที่ตองการจึงปลอยแปน Ctrl ปรับความกวางคอลัมนและความสูงของแถว โดยปกติสวนใหญและจะไมคอยนิยมปรับความสูงของแถวเพราะเนื่องจากวาความสูงของแถวจะ ปรับเองตามขนาดของตัวอักษร สวนคอลัมนเมื่อเราพิมพขอความเกินความกวางของคอลัมนเรา จะตองขยายเองโดยมีวิธีดังนี้ ชี้เมาสดานขวาของเสนแบงคอลัมน เชน ถาตองการจะขยายคอลัมน A ก็จะตองชี้เมาสไปที่ ดานขวาของคอลัมน A จากนั้นใชเมาสลากไปทางดานขวาเพื่อขยายความกวางของคอลัมน ถา ตองการยอใหลากเมาสไปทางซาย แตถาตองการใหปรับความกวางคอลัมนใหพอดีกับขอความ ในคอลัมนนั้น ๆ ใหดับเบิลคลิกที่เสนแบงคอลัมนที่กําลังชี้เมาสอยู ลบแถวและคอลัมน เลือกแถวหรือคอลัมนที่ตองการจะลบ คลิกเมนู Edit หรือคลิกเมาสปุมขวาที่คอลัมนที่จะลบ แลวเลือกคําสั่ง Delete 11
  • 12. Microsoft Excel 2003 ซอน/แสดงแถวและคอลัมน เลือกแถวหรือคอลัมนที่ตองการจะซอน คลิกเมนู Format เลือกคําสั่ง Row ถาตองการซอนแถว หรือเลือกคําสั่ง Column ถาตองการ ซอนคอลัมน จากนั้นเลือกคําสั่ง Hide (หรือสามารถคลิกเมาสขวาที่แถวหรือคอลัมนที่ตองการ จะซอนแลวเลือกคําสั่ง Hide) ถาตองการจะยกเลิกการซอนใหเลือกแถวหรือคอลัมนใหครอบคลุมแถวหรือคอลัมนที่ถูกซอน อยู จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Row หรือ Column ตามแนวที่เลือกไว แลวเลือก คําสั่ง Unhide 12
  • 13. Microsoft Excel 2003 บทที่ 4 การใชงานเวิรกชีต (Worksheet) เปลี่ยนชื่อเวิรกชีต 1. เลือกชีตที่ตองการจะเปลี่ยนชื่อ 2. ดับเบิลคลิกที่ชื่อชีตที่เลือกไว จากนั้นพิมพช่อชีตใหมที่ตองการแลวกดแปน Enter ื เพิ่มจํานวนเวิรกชีต คลิกเมนู Insert แลวเลือกคําสั่ง Worksheet ชีตใหมที่ถูกเพิ่มหรือแทรกขึ้นมาจะปรากฏอยูหนาเวิรกชีตที่เลือกไวกอนจะใชคําสั่ง Insert เชน  ถาตอนแรกเลือกชีตที่ Sheet3 ชีตที่ถูกแทรกมาใหมก็จะอยูหนา Sheet3 เคลื่อนยายเวิรกชีต เลือกชีตที่ตองการจะยาย จากนั้นใชเมาสลากไปยังตําแหนงที่ตองการ โดยสังเกตจากปุม สามเหลี่ยมสีดํา จะเปนสัญลักษณบอกถึงตําแหนงที่จะนําชีตไปวาง ลบเวิรกชีต เลือกชีตที่ตองการจะลบ คลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Delete Sheet การกอบปขอมูลทั้งเวิรกชีต เลือกชีตที่ตองการจะกอบป จากนั้นใชเมาสลากชีตที่จะกอบป พรอมกดแปน Ctrl จะเปนการกอบปเวิรกชีต จากนั้นปลอยเมาสและปลอยแปน Ctrl ชื่อชีตจะมีตัวเลขอยูในวงเล็บ เพื่อไมใชมีชื่อชีต เหมือนกัน เพราะฉะนั้นสามารถเปลี่ยนชื่อชีตในภายหลังได 13
  • 14. Microsoft Excel 2003 ระบุจํานวนเวิรกชีตเมื่อสรางเอกสารใหม 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Options 2. คลิกแถบ General จากนั้นระบุจํานวนเวิรกชีตเริ่มตนที่ตองการ ในชอง Sheet in new workbook แลวคลิกปุม OK โดยสามารถกําหนดไดมากสุดคือ 255 ชีต 14
  • 15. Microsoft Excel 2003 บทที่ 5 การใชงานเวิรกบุค (Workbook) สรางเวิรกบุคใหม  1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง New 2. คลิก Blank Document หรือคลิกที่ไอคอน สรางเอกสารใหมจาก Template ของโปรแกรม Excel 1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง New 2. เลือกแถบ On my computer… 3. เลือกแถบที่ตองการเรียกใช Template เนื่องจากโปรแกรมจะแยก Template ออกเปน หมวดหมู 4. เลือกไอคอนของ Template ที่ตองการใชงาน แลวคลิกปุม OK 15
  • 16. Microsoft Excel 2003 บันทึกเวิรกบุค 1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Save หรือคลิกปุม Save บนทูลบาร 2. ตั้งชื่อไฟลไมเกิน 255 ตัวอักษรในชอง File name แลวคลิกปุม Save บันทึกเวิรกบุคเดิมเปนชือใหม ่ 1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Save As 2. ตั้งชื่อไฟลใหมในชอง File name แลวคลิกปุม Save 16
  • 17. Microsoft Excel 2003 ปดเวิรกบุค คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Close หรือคลิกปุม Close บนทูลบาร เปดเวิรกบุคเกาขึ้นมาแกไข 1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Open หรือคลิกปุม Open บนทูลบาร 2. เลือกชื่อไฟลท่ตองการจากนั้นเลือกตัวเลือกในการเปดไฟลขึ้นมาจากปุม Open ี 17
  • 18. Microsoft Excel 2003 บทที่ 6 การสรางสูตรคํานวณ ลําดับและเครื่องหมายที่ใชในการคํานวณ การคํานวณใน Excel จะคํานวณตามลําดับความสําคัญของเครื่องหมายโดยจะเริ่มตํานวณตั้งแต เครื่องหมายดังตอไปนี้ ( ) เครื่องหมายวงเล็บ ^ เครื่องหมายยกกําลัง * / เครื่องหมายคูณและหาร + - เครื่องหมายบวกและลบ สรางสูตรโดยอางอิงตําแหนงเซลล ทุกครั้งที่จะทําการสรางสูตรคํานวณจะตองเริ่มตนดวยเครื่องหมาย = เสมอ จากนั้นก็ตามดวยเซลล หรือตัวเลขเริ่มตนที่ตองการจะนํามาคํานวณ ตามดวยเครื่องหมายในการคํานวณ และสุดทายคือ เซลลหรือตัวเลขที่จะใชเปนตัวคํานวณอีกตัวเลข จากนั้นกดแปน Enter ก็จะไดผลลัพธที่ถูกตอง ดัง ภาพตัวอยาง การคํานวณอางอิงตําแหนงเซลลแบบ Relative โดยปกติเวลาที่เราสรางสูตรนั้นจะไมนิยมพิมพเปนตัวเลขเขาไป เชน ถามีตัวเลข 1000 อยูในเซลล A1 และเลข 9 อยูในเซลล B1 ถาหากตองการจะเอาเลขทั้งสองตัวนี้มาคูณกัน เราจะไมสรางสูตร =1000*9 แตเราจะสรางสูตรเปน =A1*B1 เนื่องจากวาถาหากวาในเซลล A1 หรือ B1 มีการ เปลี่ยนแปลงคาก็จะทําใหผลลัพธเปลี่ยนไปตามโจทยโดยอัตโนมัติ และถาหากวาในบรรทัดอื่นๆ หรือเซลลอื่น ๆ ที่มีสตรเหมือนกันก็สามารถที่จะกอบปสูตรดังกลาวไปไดทันที โปรแกรมก็จะทําการ ู เปลี่ยนตําแหนงเซลลใหโดยอัตโนมัติ เชน ในชอง D3 เราสรางสูตร B3*C3 ถาหากกอบปเซลล D3 ลงไปไวที่ D4 สูตรก็จะเปลี่ยนเปน B4*C4 และถาหากกอบปลงไปเซลลอื่น ๆ อีกก็จะเปลี่ยนสูตร ลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ โดยอัตโนมัติซึ่งจะเปนความสัมพันธหรือที่เรียกวา Relative 18
  • 19. Microsoft Excel 2003 การคํานวณอางอิงตําแหนงเซลลแบบ Absolute ลักษณะการสรางสูตรแบบ Relative นั้นจะเหมาะสําหรับสูตรที่มีการยืดหยุนไปตามเซลลที่เราได กอบปสูตร แตถาหากกรณีที่เราตองการจะกําหนดใหเซลลใดเซลลหนึ่งเปนคาคงที่ไวนั้น โดยที่เวลา กอบปสูตรไปไวที่ไหนก็ตามเซลลนั้นก็จะตองคงที่ตลอดเวลา ซึ่งเราสามารถล็อคเซลลน้ันไวไดโดย ในขณะที่สรางสูตรนั้นเมื่อไดคลิกเซลลท่ีจะลอคเรียบรอยแลวใหกดแปน F4 ทันทีเซลลนั้นก็จะถูก ล็อค เชน ในเซลล E3 ตองการจะสรางสูตร D3*C1 แตตองการกําหนดให C1 เปนคาคงที่เมื่อสราง สู ต รและหลั ง จากที่ ค ลิ ก ที่ เ ซลล C1 เรี ย บร อ ยแล ว ให ก ดแป น F4 ทั น ที่ โ ปรแกรมก็ จ ะทํ า การใส เครื่องหมาย $ ไวที่เซลล C1 เปน $C$1 นั่นหมายถึงเซลลนี้ไดถูกล็อคไวเรียบรอยแลวนั่นเอง และ ถาหากวามีการกอบปสูตรไปยังเซลลอื่น ๆ เชน E4 สูตรก็จะเปลี่ยนเปน D4*$C$1 ลักษณะการ สรางสูตรที่มีเซลลใดเซลลหนี่งเปนคาคงที่นั้นเราจะเรียกวา Absolute กอบปสูตร วิธีการกอบปสูตรมีอยูหลายวิธดวยกัน อาจจะกอบปเหมือนการกอบปขอมูลธรรมดาดวยคําสั่ง Copy ี  & Paste ก็ได หรือจะใชเทคนิคในการกอบปสูตรดวย AutoFill Handle หรือ Ctrl + Enter ก็ไดอีก เชนกัน ดูผลลัพธจากการคํานวณดวย AutoCalculate ในกรณีที่มีขอมูลตัวเลขอยูหนึ่งชุดและตองการจะดูผลลัพธโดยที่ไมตองสรางสูตร ก็สามารถทําได โดยเปนการทํางานของ AutoCalculate เพียงแคใชเมาสเลือกพื้นที่เซลลของขอมูลตัวเลขที่ตองการ จะดูผลลัพธ และสามารถดูผลลัพธไดที่ชองดานลางของ Status Bar ไดดังรูป  19
  • 20. Microsoft Excel 2003 เปลี่ยนฟงกชนใน AutoCalculate ั โดยเริ่มตนแลวคําสั่ง AutoCalculate จะตั้งไวท่ีฟงกชัน Sum แตถาหากตองการจะดูผลลัพธจาก AutoCalculate เปนฟงกชันอื่น ๆ เชน Average, Max, Min, Count, Count Nums สามารถทําได โดยคลิก เมาสปุ ม ขวาตรงตํา แหนงที่แ สดงผลลั พธจ ากนั้น ใหเลือกฟงกชัน ที่ต องการ ถา หากไม ตองการใหแสดงผลลัพธใหเลือก None ใช AutoSum ในการหาผลรวม กรณีที่เราตองการรวมคาของตัวเลขจากหลาย ๆ เซลลถาหากจะสรางสูตรโดยนําเซลลแตละเซลลมา + กันอาจจะทําใหไมสะดวกเทาไรนัก จึงมีฟงกชัน Sum ที่ใชในการหาผลรวมของตัวเลขโดยเฉพาะ โดยวิธีการใชงานมีดังนี้ 1. เลือกเซลลที่ตองการจะใสผลลัพธ 2. คลิกที่ปุม Auto Sum บนทูลบาร 3. เลือกพื้นที่เซลลของขอมูลที่จะนําตัวเลขมารวมกัน แลวกดแปน Enter 20
  • 21. Microsoft Excel 2003 Condition Sum 1. เลือกพื้นที่เซลลทั้งหมดที่จะสรางเงื่อนไขและทําการหาผลรวม (หามเลือกเกินพื้นที่ท่จะใช) ี 2. คลิกเมนู Tools แลวเลือกคําสั่ง Condition Sum เลือกพื้นที่ที่จะสรางเงื่อนไขและหาผลรวมแลว คลิกปุม Next 3. กําหนดคอลัมนที่จะทําการรวมตัวเลขที่ชอง Column to Sum 4. กําหนดเงื่อนไขที่ตองการในบรรทัดตอมา แลวคลิกปุม Add Condition ถาตองการยกเลิก เงื่อนไขใดทิ้งก็ใหเลือกเงื่อนไขที่ไมตองการในรายการแลวคลิกปุม Remove Condition จากนั้น คลิกปุม Next 21
  • 22. Microsoft Excel 2003 5. เลือกรูปแบบการแสดงผลลัพธวาตองการจะใหแสดงเฉพาะผลลัพธอยางเดียวหรือตองการให แสดง Parameter ออกมาดวย ในกรณีนี้เลือกแบบหัวขอที่ 2 คือแสดง Parameter ออกมาดวย 6. เลือกตําแหนงเซลลท่จะนํา Parameter ไปใส แลวคลิกปุม Next ี 7. เลือกตําแหนงเซลลที่จะนําผลลัพธไปใส แลวคลิกปุม Finish 22
  • 24. Microsoft Excel 2003 เรียกใชงาน Function Average, Max, Min Function Average ฟงกชัน Average เปนฟงกชันที่ใชในการหาคาเฉลี่ยของตัวเลขชวงหนึ่ง โดยมีรูปแบบของสูตรดังนี้ =AVERAGE(Number1:Number…) ดังรูปตัวอยาง Function Maximum และ Minimum ฟงกชัน Maximum เปนฟงกชันที่ใชในการหาคามากที่สุดของตัวเลขชวงหนึ่ง สวน Minimum เปน ฟงกชันที่ใชในการหาคานอยที่สุด โดยมีรูปแบบของสูตรดังนี้ = MAX (Number1:Number…) = MIN (Number1:Number…) ดังรูปตัวอยาง 24
  • 25. Microsoft Excel 2003 Function IF เปนฟงกชันที่มีเงื่อนไขเขามาเกี่ยวของเพื่อใหไดผลลัพธท่ตองการออกมา ี ซึ่งกอนที่จะเขาไปใช ฟงกชัน IF ผูใชงานจะตองทราบกอนวาตองการคําตอบ โดยมีเงื่อนไขอะไรอยูบาง หรือตองตีโจทยที่ ผูใชงานตองการใหแตกนั่นเอง โดยวิธีในการตีโจทยงายๆ เชน จากภาพตัวอยาง ตองการใหคิดคาคอมมิชชันใหพนักงานขายในบริษท โดยมีเงื่อนไขวา ถาพนักงานคนใดใหสวนลด ั ลูกคาเกินจากที่บริษัทกําหนดจะไมไดคอมมิชชันโดยใหแสดงคําวา “No Commission” แตถาไมเกิน จะไดคอมมิชชันจากยอดขายที่ขายได เพราะฉะนั้นจากโจทยนี้แตกออกมาไดวา อะไรคือเงื่อนไข ถาพนักงานขายใหสวนลดลูกคาเกิน 10% ถาเงื่อนไขเปนจริง พนักงานขายคนนั้นจะไมไดคอมมิชชันโดยใหแสดงคําวา “No Commission” ถาเงื่อนไขเปนเท็จ พนักงานขายคนนั้นจะไดคอมมิชชันตามอัตราที่บริษัทกําหนดไวคือ 1% จากนั้นเริ่มเขาการใชงานฟงกชัน IF โดยมีขั้นตอนการทํางานดังตอไปนี้ 1. เลือกเซลลที่จะใสผลลัพธ จากตัวอยางคือเซลล F5 2. คลิกปุม Paste Function บนทูลบาร 3. ดานซายเลือกกลุมฟงกชัน Logical หรือ All สวนดานขวาเลือกฟงกชัน IF แลวคลิกปุม OK 25
  • 26. Microsoft Excel 2003 4. ใสเงื่อนไขที่ตองการในชอง Logical Test 5. ใสคําสั่งคํานวณที่ตองการถาเงื่อนไขเปนจริงในชอง Value_if_true 6. ใสคําสั่งคํานวณที่ตองการถาเงื่อนไขเปนเท็จในชอง Value_if_false แลวคลิกปุม OK จะได ตัวอยางดังรูป 7. จากนั้นจะไดผลลัพธดังรูป แลวใชวิธีการกอบปผลลัพธจากเซลลแรกไปยังเซลลอื่นของพนักงาน คนตอไป Nested IF (Function IF ซอน IF) เปนฟงกชันที่มีเงื่อนไขมากกวา 1 เงื่อนไขเขามาเกี่ยวของ เชน โจทยตัวอยาง ตองการใหคํานวณ โบนัสของพนักงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้คือ พนักงานคนใดที่ทางานเกิน 15 ป นับจากวันนี้ ใหตรวจสอบตอวา ํ o ถาเงินเดือนมากกวา 60,000 บาท จะไดโบนัส 6 เดือน o ถาเงินเดือนนอยกวา 60,000 บาท จะไดโบนัส 8 เดือน สําหรับพนักงานที่ทางานไมถึง 15 ป นับจากวันนี้ ํ o ถาเงินเดือนมากกวา 30,000 บาท จะไดโบนัส 4 เดือน o ถาเงินเดือนนอยกวา 30,000 บาท จะไดโบนัส 6 เดือน 1. เพื่อใหสะดวกในการใชงานฟงกชัน IF ใหพิมพวันที่ที่จะใชเปรียบเทียบไวในเซลลใดเซลลหนึ่ง ในชีตเดียวกันกับขอมูลดังภาพตัวอยาง คือเซลล H1 26
  • 27. Microsoft Excel 2003 2. เลือกเซลลแรกที่ตองการจะใสผลลัพธ จากนั้นคลิกปุม 3. ดานซายเลือกกลุมฟงกชัน Logical หรือ All สวนดานขวาเลือกฟงกชัน IF แลวคลิกปุม OK 4. ในชอง Logical Test ใหใสเงื่อนไขวาวันที่เริ่มงานของพนักงานคนแรก มีคานอยกวาวันที่ที่ กําหนดไวหรือไม (นั่นคือหมายความวา พนักงานคนนั้นเริ่มงานกอนวันที่ที่กําหนดหรือไม) ดู สูตรจากภาพตัวอยาง 5. ถัดมาในชอง Value_if_true ใหกําหนดวา ถาเงื่อนไขเปนจริงเราจะตองไปเช็คเงื่อนไขตอไปอีก ชั้นหนึ่ง นั่นคือใหคลิกปุมฟงกชัน IF ในชอง Name Box 6. จากนั้นจะปรากฏหนาจอของฟงกชัน IF อันใหมขึ้นมาให ก็ใหทําการใสเงื่อนไขที่สอง นั่นคือ ตรวจสอบวา เงินเดือนของพนักงานคนนี้มากกวา 60,000 บาท หรือไม ถาเกินจะไดโบนัส 6 เดือน แตถาไมเกินจะไดโบนัส 8 เดือน จะไดสูตรดังภาพตัวอยาง แลวคลิกปุม OK 27
  • 28. Microsoft Excel 2003 7. จากนั้นจะกลับสูเวิรกชีตใหคลิกที่เซลลเดิมที่แสดงผลลัพธออกมา แลวคลิกปุม อีกครั้ง 8. คลิกเมาสในชอง Value_if_false แลวคลิกปุม ฟงกชัน IF ใน ชอง Name Box จะปรากฏหนาจอของฟงกชัน IF ขึ้นมาใหมอีกอัน แลวตรวจสอบเงื่อนไขที่ เหลือวา ถาพนักงานสวนที่เหลือที่ทํางานไมถึง 15 ป ก็จะใหทําการตรวจสอบเงื่อนไขวา เงินเดือนเกิน 30,000 บาท หรือไม ถาเกินจะไดโบนัส 4 เดือน แตถาไมเกินจะไดโบนัส 6 เดือน ดังรูป 9. คลิกปุม OK 2 ครั้ง จะไดผลลัพธที่ตองการ ที่เหลือก็ใชวิธีการกอบป 28
  • 29. Microsoft Excel 2003 Function VLOOKUP ฟงกชัน VLOOKUP นั้นเปนฟงกชันที่ใชในการเปรียบเทียบซึ่งมีเงื่อนไขมากกวา 1 เงื่อนไข เชนการ คิดเกรดใหกับนักเรียน แตกอนที่จะใชฟงกชันนี้เราจะตองทําการสรางตารางเปรียบเทียบขึ้นมา เตรียมไวกอนดังตอไปนี้ สรางตารางเปรียบเทียบ การสรางตารางเปรียบเทียบสําหรับใชกับฟงกชัน VLOOKUP นั้นจะตองเปนตารางแนวตั้งโดยแบง ออกเปน 2 คอลัมน คอลัมนแรกจะตองเปนตัวเลขที่ใชในการเปรียบเทียบและเรียงลําดับจากนอยลง ไปหามากที่สุด สวนคอลัมนที่สองคือขอมูลที่จะใชแสดงผลลัพธออกมาหลังจากเปรียบเทียบเสร็จ เรียบรอยแลว ใชงานฟงกชน VLOOKUP ั 1. เลือกเซลลที่จะใสผลลัพธจากนั้นคลิกที่ปุม Paste Function เลือกกลุมฟงกชัน Lookup & Reference จากชองดานซาย แลวเลือกฟงกชัน VLOOKUP จากชองดานขวาแลวคลิกปุม OK 29
  • 30. Microsoft Excel 2003 2. คลิกเมาสในชอง Lookup Value แลวเลือกเซลลที่จะนําขอมูลมาเปรียบเทียบ 3. คลิกเมาสในชอง Table Array จากนั้นใชเมาสเลือกพื้นที่ของตารางเปรียบเทียบ แลวกดแปน F4 เพื่อล็อคตารางนั้นไวใหคงที่ 4. ใสหมายเลขของคอลัมนในตารางเปรียบเทียบที่จะนํามาแสดงเปนผลลัพธ นั่นคือเลข 2 ซึ่ง หมายถึงคอลัมนที่ 2 ของตารางเปรียบเทียบนั่นเอง แลวคลิกปุม OK Function HLOOKUP ฟงกชัน HLOOKUP จะเหมือนกับฟงกชัน VLOOKUP เกือบทั้งหมดแตกตางตรงสวนที่เปนตาราง เปรียบเทียบเทานั้นเองซึ่งจะตองเปนแนวนอนดังภาพตัวอยาง ใชงานฟงกชน HLOOKUP ั 1. เลือกเซลลที่จะใสผลลัพธจากนั้นคลิกที่ปุม Function เลือกกลุมฟงกชัน Lookup & Reference จากชองดานซาย แลวเลือกฟงกชัน HLOOKUP จากชองดานขวาแลวคลิกปุม OK 30
  • 31. Microsoft Excel 2003 2. คลิกเมาสในชอง Lookup Value แลวเลือกเซลลที่จะนําขอมูลมาเปรียบเทียบ 3. คลิกเมาสในชอง Table Array จากนั้นใชเมาสเลือกพื้นที่ของตารางเปรียบเทียบ แลวกดแปน F4 เพื่อล็อคตารางนั้นไวใหคงที่ 4. ใสหมายเลขของคอลัมนในตารางเปรียบเทียบที่จะนํามาแสดงเปนผลลัพธ นั่นคือเลข 2 ซึ่ง หมายถึงคอลัมนท่ี 2 ของตารางเปรียบเทียบนั่นเอง แลวคลิกปุม OK ใชงาน Lookup Wizard การใช Lookup Wizard จะเหมาะสําหรับการคนหาขอมูลหนึ่งที่เราตองการจากขอมูลที่มีปริมาณ มาก ๆ โดยวิธีการใชงานมีดังตอไปนี้ 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Lookup… 2. เลือกพื้นที่ขอมูลทั้งหมดที่ตองการจะเขาไปคนหาขอมูล แลวคลิกปุม Next 3. เลือกคอลัมนและแถวที่ตองการจะคนหาขอมูล แลวคลิกปุม Next 31
  • 32. Microsoft Excel 2003 4. เลือกรูปแบบการแสดงผลลัพธวาจะแสดงเฉพาะผลลัพธอยางเดียวในหัวขอแรก หรือตองการจะ แสดงทั้งขอมูลที่ตองการจะคนหารวมทั้งผลลัพธดวยในหัวขอที่สอง แลวคลิกปุม Next 5. จากขอ 4 ในกรณีท่ีเลือกหัวขอที่ 2 ใหเลือกตําแหนงเซลลที่ตองการจะนําผลลัพธตาง ๆ ไปวาง จนกระทั่งจบขั้นตอนสุดทาย 32
  • 33. Microsoft Excel 2003 เพิ่มคําสั่ง Lookup Wizard จาก Add-Ins ในบางครั้งคําสั่ง Lookup… อาจจะไมไดแสดงใหเห็นอยูในเมนู Tools เราสามารถที่จะเพิ่มคําสั่ง เหลานี้ไดตามขั้นตอนดังตอไปนี้ 1. คลิกเมนู Tools แลวเลือกคําสั่ง Add Ins… 2. เลือกตัวเลือก Lookup Wizard แลวคลิกปุม OK 3. จากนั้นรอสักครูโปรแกรมจะทําการติดตั้งคําสั่ง Lookup Wizard ใหโดยสามารถตรวจสอบได จากเมนู Tools จะมีคําสั่ง Lookup Wizard ปรากฏขึ้นมา 33
  • 34. Microsoft Excel 2003 ใชคําสั่ง Goal Seek ในการคนหาเปาหมายที่ตองการ 1. เลือกเซลลที่ตองการใหเปนไปตามเปาหมายที่ตองการ 2. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Goal Seek 3. ระบุเซลลที่ตองการกําหนดใหเปนเปาหมายซึ่งเลือกไวแลวในขอที่ 1 ในชอง Set cell 4. กําหนดเปาหมายที่ตองการในชอง To value 5. ระบุเซลลที่มีผลในการเปลี่ยนเปาหมายใหเปนไปตามที่กําหนดในชอง By changing cell แลว คลิกปุม OK 34
  • 35. Microsoft Excel 2003 ใชงาน Auditing Toolbar 1. คลิกเมนู Tools เลือกคําสั่ง Auditing จากนั้นเลือกคําสั่งยอย Show Auditing Toolbar 2. จากนั้นทูลบาร Auditing ก็จะปรากฏขึ้นมาโดยแตละปุมทําหนาที่แตกตางกันไปดังตอไปนี้ ที่มาของตัวเลข ใส Comment ลบวงกลม ลบเสนแสดงที่มา ลบทุกเสน วงกลมขอมูลที่ผิดจากเงื่อนไข ที่ไปของตัวเลข คนหาจุดผิดพลาดของสูตร ลบเสนแสดงที่ไป 35
  • 36. Microsoft Excel 2003 บทที่ 7 การตกแตงขอมูลในเวิรกชีต หลังจากที่ไดทําการปอนขอมูลแลว ก็คงจะเหลือในสวนของการตกแตงเวิรกชีตใหขอมูลนั้นนาสนใจ ยิ่งขึ้น และอีกทั้งยังชวยใหการอานเอกสารนั้นงายและเพื่อใหดูสวยงามนั่นเอง โดยในเนื้อหาก็จะ แยกออกเปนหัวขอดังตอไปนี้ จัดรูปแบบตัวอักษรโดยรวม 1. เลือกเซลลที่ตองการ จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Cells 2. คลิกแถบ Font จากนั้นเลือกรูปแบบตาง ๆ และขนาดตามที่ตองการ แลวคลิกปุม OK เปลี่ยนแบบตัวอักษร 1. เลือกเซลลที่ตองการจะเปลี่ยนแบบตัวอักษร 2. คลิกลูกศรจาก Drop Down ของ Font บนทูลบาร 3. จากนั้นเลือกรูปแบบที่ตองการ 36
  • 37. Microsoft Excel 2003 เปลี่ยนขนาดตัวอักษร 1. เลือกเซลลที่ตองการจะเปลี่ยนขนาดตัวอักษร 2. คลิกลูกศรจาก Drop Down ของ Font Size บนทูลบาร 3. จากนั้นเลือกหมายเลขขนาดที่ตองการ เปลี่ยนลักษณะตัวอักษร 1. เลือกเซลลที่ตองการจะเปลี่ยนลักษณะตัวอักษร 2. คลิกปุม Bold ถาตองการเปลี่ยนใหเปนตัวหนา หรือตองการยกเลิกใหคลิกซ้ํา 3. คลิกปุม Italic ถาตองการเปลี่ยนใหเปนตัวเอียง หรือตัองการยกเลิกใหคลิกซ้ํา 4. คลิกปุม Underline ถาตองการเปลี่ยนใหเปนตัวขีดเสนใต หรือถาตองการยกเลิกใหคลิกซ้ํา 5. ทั้งสามปุมไมจําเปนตองคลิกทุกปุมก็ได เปลี่ยนสีตัวอักษร 1. เลือกเซลลที่ตองการเปลี่ยนสีตัวอักษร 2. คลิกปุม Drop Down ขางปุม Font Color จากนั้นเลือกสีท่ตองการ ี 37
  • 38. Microsoft Excel 2003 จัดรูปแบบการวางขอความ โดยปกติในการจัดรูปแบบการวางขอความในแตละเซลล ไมวาจะเปนชิดซาย, ชิดขวา หรือตรงกลาง เราสามารถใชงานอยางงาย ๆ โดยการเลือกเซลลที่ตองการแลวคลิกปุม Left, Right หรือ Center บนทูลบาร 1. เลือกเซลลที่ตองการ จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Cells 2. คลิกแถบ Alignment แลวเลือกรูปแบบในการวางขอความตามที่ตองการแลวคลิกปุม OK จัดขอความใหอยูกึ่งกลางระหวางหลายเซลล 1. พิมพขอความที่ตองการจะจัดกึ่งกลางใหอยูเซลลแรกของชวงที่ตองการ เชน ถาตองการให ขอความอยูในระหวางเซลล B2 ถึง F2 ใหพิมพขอความในเซลลแรกของชวงที่ตองการคือ B2 ดังรูปตัวอยาง 2. จากนั้นเลือกพื้นที่เซลลตั้งแต B2 ถึง F2 38
  • 39. Microsoft Excel 2003 3. คลิกเมนู Format เลือกคําสั่ง Cells แลวคลิกแถบ Alignment 4. จากนั้นในชอง Horizontal ใหเลือก Center Across Selection แลวคลิกปุม OK รวมเซลลหลายเซลลใหเปนเซลลเดียวกัน 1. วิธีการพิมพขอความและวิธีการเลือกเซลลจะทําเหมือนกันกับวิธีการจัดขอความใหอยูกึ่งกลาง ระหวางหลายเซลล แตจะแตกตางตรงที่สามารถทําไดท้งแนวตั้งและแนวนอน ั 2. คลิกปุม Merge and Center บนทูลบาร 3. ถาตองการยกเลิกจะตองคลิกเมนู Format เลือกคําสั่ง Cells จากนั้นคลิกแถบ Alignment 4. ยกเลิกตัวเลือก Merge cells ออก แลวคลิกปุม OK จัดยอหนาตัวอักษรในแตละเซลล 1. เลือกเซลลที่ตองการจัดยอหนา (Left Indent) 2. คลิกปุม Increase Indent ถาตองการยอหนาเขาไป หรือคลิกปุม Decrease Indent ถาตองการถอยกลับมา จะไดผลลัพธดังภาพตัวอยาง 39
  • 40. Microsoft Excel 2003 ใสลวดลายและสีพื้น 1. เลือกเซลลที่ตองการใสลวดลายและสีพื้น จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Cells 2. คลิกแถบ Patterns แลวเลือกรูปแบบตามที่ตองการ จากนั้นคลิกปุม OK การตีกรอบ 1. เลือกเซลลที่ตองการตีกรอบ จากนั้นเลือกคําสั่ง Format แลวเลือกคําสั่ง Cells คลิกแถบ Border 2. เลือกรูปแบบเสนที่ตองการจากชอง Style แลวเลือกสีที่ตองการจากชอง Color 3. เลือกตําแหนงที่จะใสกรอบจากสวนทางดานซาย ใน Presets หรือ Border แลวคลิกปุม OK 4. ถาตองการจะยกเลิกกรอบที่ตีไว ใหคลิกปุม None 40
  • 41. Microsoft Excel 2003 จัดรูปแบบตัวเลข 1. เลือกเซลลที่ตองการ แลวคลิกเมนู Format จากนั้นเลือกคําสั่ง Cells 2. คลิกแถบ Number จากนั้นเลือก Number ในชอง Category 3. สวนทางดานขวาจะมีตัวอยางแสดงใหเห็นในชอง Sample 4. สามารถกําหนดจํานวนจุดทศนิยมไดท่ชอง Decimal places ี 5. จากนั้นกําหนดใหมีเครื่องหมายคอมมา ( , ) ไดในชอง Use 1000 Separator 6. เลือกรูปแบบของตัวเลขที่ติดลบไดในชอง Negative numbers แลวคลิกปุม OK จัดรูปแบบตัวเลขประเภทวันที่และเวลา 1. เลือกเซลลที่ตองการ แลวคลิกเมนู Format จากนั้นเลือกคําสั่ง Cells 2. คลิกแถบ Number จากนั้นเลือกกลุม Date ทางดานซายมือ แลวเลือกรูปแบบวันที่จากดาน ขวามือตามที่ตองการแลวคลิกปุม OK 41
  • 42. Microsoft Excel 2003 จัดรูปแบบตัวเลขประเภทวันที่และเวลา 3. เลือกเซลลที่ตองการ แลวคลิกเมนู Format จากนั้นเลือกคําสั่ง Cells 4. คลิกแถบ Number จากนั้นเลือกกลุม Date ทางดานซายมือ แลวเลือกรูปแบบวันที่จากดาน ขวามือตามที่ตองการแลวคลิกปุม OK กอบปรูปแบบ 1. เลือกเซลลตนแบบที่ตองการจะกอบป จากนั้นคลิกปุม Format Painter บนทูลบาร 2. จากนั้นจะสังเกตเห็นวาตัวชี้เมาสนั้นจะมีรูปแปรงติดมาดวย ใหนําเมาสไปคลิกตําแหนงเซลล ปลายทางที่ตองการจะกอบปรูปแบบนั้น ๆ 42
  • 43. Microsoft Excel 2003 ลบรูปแบบ 1. เลือกเซลลที่ตองการจะลบรูปแบบ 2. คลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Clear จากนั้นเลือกคําสั่งยอย Format ใชงาน AutoFormat 1. เลือกขอมูลที่ตองการจัดรูปแบบทั้งหมด 2. คลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง AutoFormat 3. คลิกปุม Options เพื่อที่จะกําหนดตัวเลือกอื่น ๆ ตามที่ตองการ แลวคลิกปุม OK 43
  • 44. Microsoft Excel 2003 จัดรูปแบบโดยมีเงื่อนไข (Conditional Formatting) 1. เลือกเซลลที่ตองการจะจัดรูปแบบโดยมีเงื่อนไขเขามาเกี่ยวของ เชน ถาเปนตัวเลขที่ <3000 ให เปลี่ยนสีตัวอักษรเปนสีแดง หรือถาหากตัวเลขที่ >3000 ใหเปลี่ยนตัวเลขเปนสีน้ําเงิน 2. คลิกเมนู Format แลวเลือกคําสั่ง Conditional Formatting 3. จากนั้นกําหนดเงื่อนไขพรอมรูปแบบตามที่ตองการ 4. กรณีที่มีมากกวา 1 เงื่อนไขควรจะเริ่มตนจากเงื่อนไขที่นอยกอน จากนั้นคลิกปุม Add แลว กําหนดเงื่อนไขที่ตองการตอไป ซึ่งจะสามารถสรางเงื่อนไขไดเต็มที่ 3 เงื่อนไข ยกเลิกเงื่อนไขในการจัดรูปแบบ 1. เลือกพื้นที่ที่เคยกําหนดเงื่อนไขในการจัดรูปแบบขอมูล จากนั้นคลิกเมนู Format แลวเลือก คําสั่ง Conditional Formatting 2. คลิกปุม Delete จากนั้นเลือกเงื่อนไขที่ตองการจะลบ แลวคลิกปุม OK 44
  • 45. Microsoft Excel 2003 บทที่ 8 การพิมพเวิรกชีต ดูเอกสารกอนพิมพ (Print Preview) 1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Print Preview 2. จากนั้นโปรแกรมจะแสดงเอกสารกอนพิมพใหดู ถาหากตองการกลับสูเวิรกบุคปกติใหคลิกปุม Close กําหนดขนาดกระดาษและแนวการวางกระดาษ 1. คลิกเมนู File แลวเลือกคําสั่ง Page Setup 2. คลิกแถบ Page จากนั้นกําหนดแนวการวางกระดาษในสวนของ Orientation 3. กําหนดขนาดกระดาษในชอง Paper size 45
  • 46. Microsoft Excel 2003 กําหนดระยะหางระหวางขอมูลกับขอบกระดาษ 1. หลังจากผานขั้นตอนของการกําหนดขนาดกระดาษที่ผานมาแลว ใหคลิกที่แถบ Margins 2. กําหนดระยะหางของขอบกระดาษกับขอมูลตามที่ตองการ 3. ถาตองการใหขอมูลอยูกลางหนากระดาษสามารถกําหนดไดจากชอง Center on page ใสหัว/ทายกระดาษ (Header/Footer) 1. จากนั้นถาตองการกําหนดใหแสดงขอความตาง ๆ ที่หวหรือทายกระดาษ เชน ชื่อไฟล วันที่ ั หรือเลขหนา ในคําสั่ง Page Setup ใหคลิกแถบ Header/Footer 2. เลือกรูปแบบขอความที่จะใหแสดงจากชอง Header หรือ Footer 46
  • 47. Microsoft Excel 2003 สรางหัว/ทายกระดาษ (Header/Footer) จากขั้นตอนการใส Header/Footer ขางตนนั้นเปนการเลือกรูปแบบที่มีอยูแลว แตถาตองการจะ สราง Header หรือ Footer ขึ้นมาเอง เชน ตองการใหมีชื่อของผูที่สรางไฟลนี้ไวที่ Header ตรงกลาง หนากระดาษ เราสามารถทําไดดังขั้นตอนตอไปนี้ 1. ในแถบ Header/Footer ใหคลิกปุม Custom Header เพื่อสรางหัวกระดาษ หรือคลิกปุม Custom Footer ถาตองการสรางทายกระดาษ 2. จากนั้นใหพิมพขอความที่ตองการในชองกลาง ถาตองการตกแตงตัวอักษรใหใชเมาสระบาย แลวคลิกที่ปุม A แลวเลือกรูปแบบตัวอักษรตามที่ตองการ ระบุชวงขอมูลที่ตองการพิมพ (Print area)  1. ในขณะที่กําลังใชงานอยูที่เวิรกชีตใหเลือกพื้นที่เซลลที่ตองการจะพิมพ 2. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Print Area แลวเลือกคําสั่ง Set Print Area (กรณีที่ตองการยกเลิกให เลือก Clear Print Area) 3. จากนั้นสามารถสั่งพิมพไดทันที 47
  • 48. Microsoft Excel 2003 แบงหนาพิมพ (Page Break) 1. เลือกแถวหรือคอลัมนที่ตองการใหขึ้นหนาใหม แลวคลิกเมนู Insert จากนั้นเลือกคําสั่ง Page  Break 2. หลังจากนั้นจะเห็นวาแถวหรือคอลัมนที่ไดเลือกไวจะมีเสนประปรากฏขึ้นมา (ถาตองการยกเลิก ใหเริ่มตนที่ขั้นตอนที่ 1 ใหม แตคําสั่งจะถูกเปลี่ยนเปน Remove Page Break อัตโนมัติ) ใชงาน Page Break Preview วิธีนี้จะคลาย ๆ กับการใชคําสั่ง Page Break แตจะแตกตางตรงที่เราสามารถปรับเปลี่ยนไดตามที่ เราตองการใหแบงหนาไดสะดวกกวา โดยมีวิธีดังนี้ 1. คลิกเมนู View แลวเลือกคําสั่ง Page Break Preview 2. ขอมูลที่อยูในเวิรกชีตจะเปลี่ยนไปและจะมีเสนประเพื่อใหสามารถปรับเปลี่ยนการแบงหนาได ตามที่ตองการดังรูป 3. สามารถใชเมาสชี้ไปยังเสนประเพื่อปรับการแบงหนา โดยคลิกเมาสคางไวแลวลากขึ้นหรือลง 4. กรณีที่ตองการยกเลิก เพื่อใหขอมูลเหมือนเดิม ใหคลิกเมนู View แลวเลือกคําสั่ง Normal View 48
  • 49. Microsoft Excel 2003 กําหนดใหแถวหรือคอลัมนแสดงทุกหนา 1. ขณะที่กําลังใชงานอยูที่เวิรกบุคใหคลิกเมนู File จากนั้นเลือกคําสั่ง Page Setup 2. คลิกแถบ Sheet คลิกเมาสในชอง Row to repeat at top แลวคลิกเมาสที่แถวในเวิรกชีตที่ ตองการใหพิมพออกทุก ๆ หนากระดาษ หรือคลิกเมาสในชอง Column to repeat at left แลว คลิกเมาสที่คอลัมนในเวิรกชีตที่ตองการใหพิมพออกทุก ๆ หนากระดาษ 3. ถาสั่ง Print preview จะสังเกตเห็นวาแถวหรือคอลัมนที่ไดเลือกไวจะปรากฏในทุก ๆ หนากระดาษ สั่งพิมพ 1. คลิกเมนู File เลือกคําสั่ง Print 2. กําหนดเลขหนาและจํานวนชุดที่ตองการพิมพแลวคลิกปุม OK 49
  • 50. Microsoft Excel 2003 บทที่ 9 การปรับมุมมองเวิรกชีต การ Zoom เวิรกชีต 1. คลิกเมนู View แลวเลือกคําสั่ง Zoom 2. เลือกเปอรเซ็นตที่ตองการ แลวคลิกปุม OK 3. หรือใชวิธีการปรับเปลี่ยนไดจากปุม Zoom บนทูลบาร แบงหนาจอดวยคําสั่ง Split 1. เลือกตําแหนงเซลลที่ตองการจะทําการแบงหนาจอ 2. คลิกเมนู Window จากนั้นเลือกคําสั่ง Split (ถาตองการยกเลิกใหเลือกคําสั่ง Remove Split) ล็อคแถว/คอลัมนดวยคําสั่ง Freeze panes 1. เลือกตําแหนงเซลลที่ตองการจะล็อคแถวหรือคอลัมนไว เพื่อไมใหแถวหรือคอลัมนนั้นขยับตาม เมื่อมีการเลื่อนหนาจอ 2. คลิกเมนู Window จากนั้นเลือกคําสั่ง Freeze panes หรือเลือกคําสั่ง Unfreeze panes ถา ตองการยกเลิก 50
  • 51. Microsoft Excel 2003 บทที่ 10 การใชงานชารต สรางชารตดวย Chart Wizard 1. คลิกเมนู Insert แลวเลือกคําสั่ง Chart หรือคลิกปุม Chart Wizard บนทูลบาร 2. เลือกรูปแบบชารตที่ตองการแลวคลิกปุม Next 3. เลือกพื้นที่เซลลที่ตองการจะนําขอมูลมาสรางชารต แลวคลิกปุม Next 4. เลือกตําแหนงที่จะนําชารตไปวาง ถาเลือก As new sheet คือเปนการสรางชีตใหมสําหรับใส ชารตโดยเฉพาะ แตถาเลือก As object in คือจะนําชารตที่สรางไปวางอยูในชีตเดียวกับขอมูล จากนั้นคลิกปุม Finish 51
  • 52. Microsoft Excel 2003 5. เลือกตําแหนงที่จะนําชารตไปวาง ถาเลือก As new sheet คือเปนการสรางชีตใหมสําหรับใส ชารตโดยเฉพาะ แตถาเลือก As object in คือจะนําชารตที่สรางไปวางอยูในชีตเดียวกับขอมูล จากนั้นคลิกปุม Finish แสดงขอมูลในชารต 1. ถาตองการกําหนดใหแสดงหรือไมแสดงขอมูลแตละแทงชารตสามารถทําไดโดยการคลิกเมนู Chart จากนั้นเลือกคําสั่ง Chart Options 2. คลิกแถบ Data Labels แลวเลือกวาตองการจะใหแสดงขอมูลหรือไมตองการ แลวคลิกปุม OK 52
  • 53. Microsoft Excel 2003 ตกแตงชารต หลักการตกแตงชารตมีเพียงขั้นตอนงาย ๆ คือ ใหดับเบิลคลิกเมาส ณ ตําแหนงที่ตองการจะตกแตง จากนั้นก็จะปรากฎคําสั่งตาง ๆ สําหรับการตกแตงชารตโดยเฉพาะ ยกตัวอยางเชนถาดับเบิลคลิกที่ พื้นหลังของชารต ก็จะปรากฎไดอะล็อกบ็อกซดังรูป ลบชารต 1. กรณีที่สรางชารตไวในชีตเดียวกันกับขอมูลสามารถคลิกเมาสที่ชารตแลวกดแปน Delete ที่ คียบอรดไดทันที 2. กรณีที่สรางชารตไวโดยแยกเปนคนละชีตกันกับขอมูล จะตองใชวธีการ Delete Sheet โดยคลิก ิ ชีตที่เปนชารต 3. จากนั้นคลิกเมนู Edit แลวเลือกคําสั่ง Delete Sheet จากนั้นคลิกปุม OK เพื่อยืนยันการลบ 53