SlideShare a Scribd company logo
1 of 42
Download to read offline
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบารุง และเสริมสร้าง
เอกลักษณ์กีฬาไทย และกีฬาพื้นบ้าน
สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี




             สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตสมุทรสาคร
2


                                                      คำนำ

         สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬ า เมื่อได้รับพระบรมราชโองการโปรด
เกล้าฯ ตามพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พุทธศักราช 2548 ได้เปลี่ยนสถานะวิทยาลัยพล
ศึก ษาทั้ ง 17 แห่ ง เป็น วิ ทยาเขตของสถาบั นการพลศึ ก ษา เป็ นส่ ว นราชการที่ เรี ย กชื่ ออย่ างอื่ น
เทียบเท่าคณะ เริ่มจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสถาบันการพลศึกษา ตั้งแต่ปีพุทธศํกราช
2548            เป็นต้นมา ภายใต้การบริหารของสภาสถาบันการพลศึกษา และมีวิสัยทัศน์ ถือเป็น
สถาบันการพลศึกษาชั้นนําที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านพลศึกษา กีฬาและสุขภาพ สู่ความเป็นเลิศ
ระดับ มาตรฐานสากลอย่ า งยั่ ง ยืน โดยที่ พัน ธกิจ ข้ อสุ ดท้ า ยที่ น อกเหนื อจากการผลิต และพัฒ นา
บุ ค ลากรส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ทางพลศึ ก ษา การกี ฬ า วิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ า วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ
นั น ทนาการและสาขาที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ดํ า เนิ น การให้ บ ริ ก ารทางวิ ช าการแก่ สั ง คม ทั้ ง ยั ง ทํ า นุ บํ า รุ ง
ศิ ล ปวั ฒ นธรรม การละเล่ น พื้ น บ้ า นและกี ฬ าไทยของจั ง หวั ด สมุ ท รสาคร สมุ ท รสงคราม
สมุทรปราการ นครปฐม และเพชรบุรีอีกด้วย

       เพื่ อ ให้ ก ารดํ า เนิ น งาน ตามพั น ธกิ จ ครบถ้ ว นสมบู ร ณ์ และเกิ ด ภาพลั ก ษณ์ ที่ ชั ด เจนกั บ
นักศึกษาของสถาบันการพลศึกษา เพื่อแสดงถึงความเป็นไทย “มีลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอก
งาม ความเป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ย ความสามั ค คี ความก้ า วหน้ า ของ ชาติ แ ละศี ล ธรรมอั น ดี ข อง
ประชาชน”

       สถาบั น การพลศึ ก ษาได้ มอบหมายให้ สถาบั น การพลศึ ก ษาวิ ทยาเขตสมุ ทรสาครจั ด ทํ า
โครงการ พั ฒนา ทะนุบํ ารุง และสร้า งเสริมเอกลักษณ์ ศิ ลปวั ฒนธรรมขึ้น โดยสนั บสนุ นการจั ด
กิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษณ์ พัฒนาทะนุบํารุงและสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมของ
สถาบั น การพลศึ ก ษาวิ ท ยาเขตสมุ ท รสาครเพื่ อ ส่ ง เสริ ม พั ฒ นา ภู มิ ปั ญ ญาบรรพบุ รุ ษ และ
ศิลปวัฒนธรรมท้องถื่นให้คงอยู่สืบไป
3



                             สารบัญ
จังหวัดสมุทรปราการ                    4

                                      8
     การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย
     สถานที่ท่องเที่ยว                10


จังหวัดสมุทรสาคร                      14

                                      16
     การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย
     สถานที่ท่องเที่ยว                17


จังหวัดสมุทรสงคราม                    23


     การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย     25
     สถานที่ท่องเที่ยว                26


จังหวัดนครปฐม                         29

     การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย     31
     สถานที่ท่องเที่ยว                32


จังหวัดเพชรบุรี                       34

     การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย     38

     สถานที่ท่องเที่ยว                37
4
5
6




            จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดย
พระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง จั ง หวั ด สมุ ท รปราการ จั ง หวั ด นนทบุ รี จั ง หวั ด สมุ ท รสาคร และจั ง หวั ด
นครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2489
        ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่ง ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะ
ตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ํา
เจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้น และเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรง
แต่งสมณทูตไปลังกา กล่าวว่า ออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตําบลบางปลากด แสดงว่า
ที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มาก อาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยา
เสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตําบลบางเมืองใน
เขตเมืองสมุทรปราการด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้า
ฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตําบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือ
ของข้าศึกรวม 6 ป้อม และใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ําด้วย
อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ํา" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ําเจ้าพระยา
ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ําเข้ามาราว 6 กิโลเมตร
7


         ปัจจุบัน จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004
ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับ
กรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศ
ตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จดอ่าว
ไทย, ทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะ
ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ําเจ้าพระยา
ไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไป
ทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กม. เดิม
ชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอน
ที่แม่น้ําเจ้าพระยานําพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ํา
แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทําให้เกิดปัญหาการ
กัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง

      ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมี
การทํานา ประมง และอุตสาหกรรม แหล่ง
ท่องเที่ยวและสถานที่สําคัญ เช่น สนามบิน
สุวรรณภูมิ พระสมุทรเจดีย์กลางน้ํา วัดอโศกา
ราม วัดบางพลีใหญ่ วัดไพชยนต์พลเสพราช
วรวิหาร วัดโปรดเกศเชษฐาราม ศาลพระเสื้อ
เมือง พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เมืองโบราณ สถาน
ตากอากาศบางปู ป้อมพระจุลจอมเกล้า
สวางคนิวาส ป้อมแผลงไฟฟ้า ฟาร์มจระเข้
      การคมนาคมจากกรุงเทพฯ โดยทาง
หลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท ตอน กรุงเทพฯ-
สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร
8


                           ยุคอุตสาหกรรมสมุทรปราการ

   เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม
สมุทรปราการก็เติบโตทางด้านอุตสาหกรรม
ควบคู่กับกรุงเทพมหานครมาโดยตลอด ทั้ง
ทางด้าน การแปรรูป การผลิต การส่งออก การ
ประมง และการขนส่ง ฯลฯ จนกระทั้งทุกวันนี้
นอกจากนี้สมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของ
สนามบินสุวรรณภูมินานาชาติที่สําคัญที่สุดของ
ไทยและของอาเซี่ยนด้วย




                                 สถานที่ท่องเที่ยว
            สถานตากอากาศบางปู
                                              สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
                                              หลายอย่างด้วยกัน เช่น สถานตากอากาศบางปู,
                                              พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ,ฟาร์มจระเข้
                                              สมุทรปราการ,ตลาดน้ําบางน้ําผึ้ง วัดบางพลี
                                              ใหญ่ใน




                                                      พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
9




       และงานเทศการที่นักท่องเที่ยวนิยมไป
กันมาก คือ งานรับบัว หรือโยนบัว อ.บางพลี
ทีแสดงให้เห็นถึงมิตรไมตรีที่ดีของชาวไทย
  ่
มอญ ลาว ทีสืบสานประเพณีเก่าแก่มาจนถึงทุก
            ่
วันนี้
10



                   การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย
                              บ้านโบราณหมากรุกไทย
          การเล่นหมากรุกปรากฎว่ามีมาใน
ประเทศอินเดียช้านานนับด้วยพันปี พวกชาว
อินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้น เมื่อครั้ง
พระรามไปล้อมเมืองลังกา นางมณโฑเห็นทศ
กรรฐ์เดือดร้อนรําคาญ ในการที่ต้องเป
นกังวลคิดต่อสู้สงคราม ไม่มีเวลาเป็นผาศุก
นางรู้ว่าจะชักชวนทศกรรฐ์ ให้พักผ่อนด้วย
ประการอย่างอื่น ก็คงไม่ยอม จึงเอากระบวร
การสงคราม คิดทําเปนหมากรุกขึ้น ให้ทศ
กรรฐ์เล่นแก้รําคาญ มูลเหตุที่จะเกิดมีหมาก
รุก พวกชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้ แต่ชื่อที่
เรียกว่าหมากรุก เป็นคําของไทยเราเรียก
พวกชาวอินเดียเขาเรียกหมากรุกว่า "จตุรงค์ เพราะเหตุที่คิดเอากระบวรพล ๔ เหล่า ทําเปนตัว
หมากรุก คือหัสดีพลช้าง (ได้แก่โคน) ๑ อัศวพลม้า ๑ โรกะพลเรือ ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่าเพราะคิด
ขึ้นที่เกาะลังกา จึงใช้เรือแทนรถ) ปาทิกะพลราบ (ได้แก่เบี้ย) ๑ มีราชา (คือขุน) เปนจอมพล ตั้งเล่น
กันบนแผ่นกระดานอันปันเปนตาราง ๖๔ ช่อง (อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้)



                                                                     เมื่อค้นคว้าจากหนังสือ
                                                           หมากรุกเท่าที่จะค้นหาได้ในหอสมุด
                                                           แห่งชาติ สรุปได้ว่าตํานานหมากรุกมี
                                                           ที่มาคล้ายคลึงกัน และแทบทุกแห่ง
                                                           จะอ้างอิงจากหนังสือเล่มเดียวกันคือ
                                                           ตํารากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุด
                                                           วชิรญาณทั้งสิ้น ที่จะมีผิดแผกไปบ้าง
                                                           บางเล่ม เช่น ผู้ดัดแปลงหมากรุกจาก
                                                           เดิมจัตุรงค์ซึ่งมีผู้เล่นสี่คน มาเป็น
                                                           หมากรุกที่มีผู้เล่นสองคน แทนที่จะ
                                                           เป็นมหาอํามาตย์สัสสะ ในประเทศ
                                                           อินเดีย บางเล่มเพี้ยนไปเป็นพระเจ้า
                                                           อเล็กซานเดอร์มหาราช ที่กรีก แต่ก็มี
                                                           รายละเอียดคล้ายคลึงกัน
11


กติกาการเล่นหมากรุกไทย



                 กระดานหมากรุกไทย
    ขนาด 8x8 ช่อง
   ลักษณะ อาจมีการสลับสีเหมือนกระดานหมากรุก
          สากล หรือไม่มีก็ได้




                     เริ่มต้นเกมส์
   การจัด วางตัวหมากไว้ตรงกลางช่องโดยแถวแรก
   หมาก เรียงดังนี้
          เรือ,ม้า, โคน, ขุน, เม็ด, โคน, ม้า, เรือ
          และวางเบี้ยไว้แถวที่ 3 ของกระดาน ดังรูป




                                  ตัวหมากรุกไทย
   ตัวหมาก                    การเดิน                       รูปการเดิน
      ขุน สามารถเดินได้ 8 ช่องรอบตัว แต่ไม่สามารถเดินเข้า
           ไปในตากินของฝ่ายตรงข้ามได้


     โคน    เดินได้ 4 ช่องในแนวทแยงและช่องตรงหน้าอีก 1
            ช่อง
12


  เม็ด    เดินได้ 4 ช่องรอบตัวในแนวทแยง




   ม้า    เดินเป็นรูปตัว L สามารถเดินข้ามตัวหมากอื่นได้




   เรือ   เดินได้ 4 ทิศรอบตัว ในแนวตั้งหรือแนวนอน




  เบี้ย   -เดินได้ 1 ช่องด้านหน้า
          -เวลากิน กินเฉียง
          - เมื่อเดินไป ถึงแถวที่เบี้ยฝ่ายตรงข้ามตั้งตอนเริ่ม
          เกม เบี้ยจะเปลี่ยนเป็นเบี้ยหงาย ซึ่งสามารถเดินได้
          เหมือนเม็ด ทุกประการ
                                      การแพ้-ชนะ
   ขุนรุกจน     ฝ่ายไล่เดินเข้ารุก(การขู่ว่าจะกินขุน) แล้ว
                1. ฝ่ายหนีไม่สามารถหนีขุน ให้พ้นตากินของฝ่ายไล่ได้
                2. ฝ่ายหนีไม่สามารถป้องกันขุน จากตารุกของฝ่ายไล่ได้ (กรณีใช้เรือรุก)
                3. ฝ่ายหนีไม่สามารถกินตัวรุก(ที่ขู่ว่าจะกินขุน)


  หมดเวลา       เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่สามารถควบคุมเวลาของตนได้ เป็นฝ่ายแพ้

                                        การเสมอ
เข้าตาอับ เมื่อฝ่ายหนึ่ง ไม่มีตาเดินที่สามารถจะเดินได้ หรือถ้าเดินแล้วจะถูกกินขุน
เดินซ้้า, รุก ถ้ารูปของตัวหมากบนกระดาน มีตําแหน่งซ้ํากันถึง 3 ครั้ง 3 ครา โดยไม่จําเป็น
    ล้อ       ที่จะต้องเป็นตาเดินติดต่อ
 นับครบ เมื่อมีการนับศักดิ์กระดาน หรือศักดิ์หมากแล้วฝ่ายหนีสามารถหนีรอดได้ นับ
        ครบถ้วนตามกฏ
13


                                    การนับศักดิ์หมาก
     กฎ         เมื่อฝ่ายที่ขอนับมีเหลือเพียงขุนตัวเดียว และฝ่ายไล่ไม่เหลือเบี้ยคว่ํา ให้
                เริ่มนับโดยดูศักดิ์หมากของฝ่ายไล่ โดยเมื่อนับไปถึงตาสุดท้ายแล้วฝ่ายไล่
                ไม่สามารถรุกจน ให้ถือว่าเสมอ
                การเริ่มนับ โดยนับตัวหมากที่เหลือทั้งกระดานทั้งสองฝ่าย แล้วเริ่มที่เลข
                ถัดไป เช่นเหลือทั้งหมด 4 ตัว ก็ให้เริ่มนับขึ้นต้นที่ 5
                โดยการเลือกนับศักดิ์หมาก เป็นสิทธิ์ของฝ่ายหนีที่จะเลือกศักดิ์ที่น้อย


ไม่มมา,โคน,เรือ นับ 64
    ี ้

     ม้า        1 ตัว นับ 64
                2 ตัว นับ 32
     โคน        1 ตัว นับ 44
                2 ตัว นับ 22
     เรือ       1 ตัว นับ 16
                2 ตัว นับ 8

                                 การนับศักดิ์กระดาน
    กฎ        เมื่อฝ่ายที่ขอนับเหลือหมากเป็นรอง แต่ไม่ได้เหลือขุนตัวเดียว และทั้งสอง
              ฝ่ายไม่เหลือเบี้ยคว่ํา ให้เริ่มนับโดยขึ้นต้นที่ 1 เสมอ และนับไปจนถึง 64 ถ้า
              ตาสุดท้ายยังไม่จน ให้ถือว่าเสมอกัน
14
15




        สมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ําท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า
ในอดีตมีชุมชนใหญ่เรียกว่า "บ้านท่าจีน" ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหา
จักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2099) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกบ้านท่าจีนขึ้น
เป็น เมืองสาครบุรี เพื่อเป็นหัวเมืองสําหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงครามและเป็นเมืองด่านหน้า
ป้องกันผู้รุกรานทางทะเล ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร และใน
ปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
ทางราชการเปลียนคําว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร เมืองสมุทรสาครจึง
                  ่
ได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นมาจนถึงทุกวันนี้
        อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว (รัชกาลที่ 5) ได้มี
                                                                   ่
พระราชดําริที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และ
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตําบลท่าฉลอมเป็น
สุขาภิบาล เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" จึงถือได้ว่าสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกในหัว
เมืองของประเทศไทย
16


                           สถานที่ท่องเที่ยว                    บ้านปากคลองประมง



                    จังหวัดสมุทรสาครมีสถานที่ท่องเที่ยวที่
          น่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน เช่น แหล่งผลิตเบญจรงค์
          นากุ้ง นาเกลือ,บ้านปากคลองประมง,แหล่งดูนกชาย
          เลนโคกขาม

                      แหล่งดูนกชายเลนโคกขาม




                                                             แหล่งผลิตเบญจรงค์ ตําบลนาดี




นาเกลือ
17



                   การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย
       กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและ
ทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬา
นอกนจากจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัย
ไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหว
พริบปฎิภาน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็น
หมู่คณะ ทําให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง มี
ความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ําใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย
          กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตํานาน
และความทรงจํา และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็
ตาม แต่ด้วยความสํานึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิ
ปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป
18




                                       กีฬาว่าวไทย
          คําว่า”ว่าว”เป็นคําที่คนไทยทุกชนชั้นทุกสมัยคุ้นเคยและสัมผัสมาตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็น
ประชาชน ข้าราชบริพารและพระมหากษัตริย์ แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึงว่าวจุฬา-ปักเป้า ซึ่งเป็นว่าว
เอกลักษณ์ของไทย ซึ่งแสดงถึงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งยังเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ใน
สมัยโบราณที่พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีต ทรงโปรดปรานและจัดให้มีการแข่งขันหน้าพระที่นั่งอีก
ด้วย การเล่นว่าวในประเทศไทย มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย(พ.ศ.๑๗๘๑-๑๙๘๑) คือสมัยของพ่อกรุงศรี
อินทราทิตย์ (หรือพระร่วง) ว่าวที่รู้จักกันมาก ได้แก่ "ว่าวหง่าว" หรือ”ว่าวดุ๋ยดุ่ย” ซึ่งจะใช้ชักขึ้นใน
พิธี "แคลง" ทุกหนทุกแห่ง เป็นความเชื่อของประชาชนในสมัยนั้นว่าเพื่อเป็นการเรียกลมหรือความ
โชคดีให้เกิดขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "ว่าวหง่าว" เป็นว่าวที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
(พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) คําว่า “ว่าวจุฬา" ปรากฏชื่อขึ้นในสมัยนี้ และยังสามารถช่วยในการรบได้ชนะ
กล่าวคือ ได้นําว่าวจุฬาขึ้นและผูกหม้อกระสุนดินดําโดยใช้ชนวนถ่วงเวลาและชักให้ข้ามไป ในแดนของ
ฝ่ายตรงข้าม ทําให้เกิดระเบิดไฟไหม้ขึ้น ทหารฝ่ายอยุธยาก็เข้าเมืองได้ สมัยแผ่นดินของ
พระพุทธเจ้าเสือซึ่งโปรดการชกมวยแล้วยังโปรดการเล่นว่าวและคว้าจุฬาปักเป้ากับ ข้าราชบริพาร
เสมอๆ คําว่า "ว่าวปักเป้า" จึงเป็นว่าวอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
ตั้งแต่นั้นมา
19


        สมัยรัตนโกสินทร์ ในราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการ
แข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้ามาก จัดการแข่งขันกลางแจ้ง (ท้องสนามหลวงในปัจจุบัน) เป็นที่สนุกสนาน
เมื่อเวลาที่ว่าวสายใดชนะพระองค์ ก็ทรงโปรดพระราชทานถ้วยรางวัลให้การแข่งขันเริ่มมีมาตั้งแต่
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา โดยพระองค์เสด็จเป็นองค์ประธานในการแข่งขันเป็นประจําทุกปี จนสิ้นรัช
สมัยของพระองค์




                                                      ฉะนั้นจึงจัดได้ว่าว่าวจุฬา-ปักเป้า เป็น
                                             ว่าวเอกลักษณ์ของชาติไทยชาติเดียวเท่านั้นที่
                                             สามารถนํามาเล่นใช้ต่อสู้กันได้ในปัจจุบันได้
                                             จัดการแข่งขันว่าว "จุฬา-ปักเป้า" ขึ้นเป็น
                                             ประเพณีของกีฬาไทย โดยใช้ชื่อว่า "งานประเพณี
                                             กีฬาไทย" ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งจัดการแข่งขัน
                                             กีฬาของไทย อาทิเช่น ตะกร้อ กระบี่กระบอง
                                             หมากรุก และที่สําคัญคือ การแข่งขันว่าวจุฬา-
                                             ปักเป้า ซึ่งงานนี้จัดโดยสมาคมกีฬาไทยในพระ
                                             บรมราชินูปถัมภ์ และยังได้รับความร่วมมือจาก
                                             การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานของ
                                             ภาครัฐบาลและเอกชนอื่นๆ ร่วมกันอีกด้วย
20


                                 กติกาการแข่งขันว่าว จุฬาส่ายเร็ว

สนามแข่งขัน

- ให้มีพื้นที่โล่งกว้าง ขนาดประมาณ 80 เมตร X 100 เมตร ( กว้าง X ยาว )

ขนาดของว่าวจุฬาส่ายเร็วที่ใช้ในการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 ขนาด

- ขนาดของอกว่าว 50 เซนติเมตร

- ขนาดของอกว่าว 75 เซนติเมตร

- ขนาดของอกว่าว 100 เซนติเมตร

ส่วนอื่น ๆ ของตัวว่าวไม่กําหนด

ในการแข่งขันแต่ละคราว คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจ พิจารณาไม่จัดแข่งขันว่าวขนาดใดก็ได้
ตามความเหมาะสม

หลักเกณฑ์การแข่งขัน

                                                 การนําว่าวขั้นแข่งขันแต่ละรอบให้นําขึ้นกลุ่มละ
                                                 10-20 ตัวหรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการที่
                                                 จะกําหนดตามความเหมาะสม

                                                 ว่าวแต่ละกลุ่มที่ขึ้นแข่งขันให้ลอยตัวอยูในอากาศ
                                                 ครั้งละไม่เกิน 20 นาที เพื่อให้กรรมการพิจารณา
                                                 ตัดสิน

                                                 ว่าวตัวใดขึ้นไม่ได้ ภายใน 5 นาที เมื่อเริ่ม
                                                 สัญญาณ กรรมการจะไม่พิจารณาตัดสิน และให้
                                                 ตัดออกจากการแข่งขัน

เมื่อว่าวขึ้นสูงพอประมาณ และยืนได้แล้วให้นําสายว่าวไปผูกหลัก ให้สายว่าวแต่ละสายรอกรรมการ
มาตัดสิน ห้ามมีการกระทําใด ๆ ที่จะทําให้ว่าวส่าย (กระตุกสายว่าวช่วย)

เมื่อหมดเวลาแล้วกรรมการจะให้สัญญาณหมดเวลา ให้ว่าวทุกสายนําว่าวลงทันที

กรรมการจะประกาศผลว่าวที่ผ่านการแข่งขัน และผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ เมื่อพิจารณาตัดสินเสร็จ
สิ้นทุกกลุ่มแล้ว
21


การตัดสินการแข่งขันว่าวแต่ละครั้ง จะแบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ

· รอบคัดเลือก

· รอบรองชนะเลิศ

· รอบชิงชนะเลิศ

การตัดสินแต่ละรอบ คณะกรรมการจะเป็นผู้กาหนดคัดว่าวที่ชนะการแข่งขัน รอบละกี่ตัว โดยจะ
                                      ํ
ประกาศแจ้งให้ทราบก่อนการแข่งขัน

กรรมการตัดสิน

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งจํานวน 5 ท่าน โดยมีคะแนนการตัดสินท่านล่ะ 24 คะแนน

การให้คะแนน และการตัดสิน

การให้คะแนน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

1. ว่าวตัวใดสูงเร็ว เห็นได้ชัดเจนว่าเหนือกว่าตัวอื่น ๆ ให้ 6 คะแนน

2. ว่าวตัวใดยืนได้เร็ว เห็นได้ชัดเจนว่าเหนือกว่าตัวอื่น ๆ ให้ 8 คะแนน

3. ว่าวตัวใดส่ายเร็วและนิ่ง (ไม่ส่ายไปมา) เห็นได้ชัดเจนว่าเหนือกว่าตัวอื่นๆให้ 10 คะแนน

รวม 24 คะแนน

การตัดสิน ให้นําคะแนนรวมจากกรรมการทั้ง 5 ท่าน มาเรียงลําดับ และตัดคะแนนที่สูงที่สุดและ
คะแนนต่ําสุดออก รวมคะแนนที่เหลือแล้วหารด้วย 3 ให้เป็นคะแนนของนักกีฬาผู้นั้น จากนั้นให้นํา
คะแนนที่ได้แต่ละสายว่าว มาเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย และให้คัดว่าวตัวที่ได้คะแนนสูงสุด
เรียงลําดับลงมา ตามจํานวนที่กรรมการต้องการ

ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน ให้พิจารณาดังต่อไปนี้

ให้ดูจากคะแนนส่ายเร็ว (ข้อ 3) ถ้าว่าวตัวใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก ให้ดู
จากคะแนนยืนเร็ว (ข้อ 2 ) ถ้าว่าวตัวใดมีคะแนนมากกว่าให้เป็นผู้ชนะ

ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก ให้ดูจากคะแนนสูงเร็ว (ข้อ 1 ) ถ้าว่าวตัวใดมีคะแนนมากกว่าให้เป็นผู้ชนะ

ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีกให้ครองตําแหน่งชนะร่วมกัน และให้เลื่อนคะแนนลําดับรองขึ้นมาเรียงเป็น
อันดับ 1 หรือ 2 หรือ 3 ต่อไป
22


รางวัลการแข่งขัน

ตัดสินผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละประเภทตามขนาดอกว่าว ดังนี้

§ รางวัลชนะเลิศอันดับ

§ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง

§ รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง

§ ประกาศนียบัตรให้กับรางวัลชมเชย


การตีความในกติกา

การวินิจฉัยปัญหาใดๆ หรือการตีความใด ๆ ที่เกี่ยวกับกติกาการแข่งขัน หรือการชี้ขาดการกระทําของ
ผู้เข้าแข่งขัน นอกจากที่ระบุไว้ในกติกานี้ ให้นายสนามซึ่งได้รับการ แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ดแล
                                                                                            ู
ควบคุมการแข่งขันเป็นผู้ชี้ขาด และถือเป็นข้อยุติ

หมายเหตุ ให้ผู้แข่งขัน นําว่าวมาผูกคอซุง พร้อมๆ กันต่อหน้าคณะกรรมการ ก่อนเริ่มการแข่งขัน
23
24


           จังหวัดสมุทรสงครามหรือเมือง
แม่กลอง ในอดีตคือแขวงบางช้างของเมือง
ราชบุรี แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่
ตําบลบางช้าง อําเภออัมพวา จังหวัด
สมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการ
ปกครองในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)) แขวง
บางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก ต่อมาปลาย
สมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุง
ธนบุรีแขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัด
ราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง"
สมุทรสงครามมีความสําคัญทาง
ประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตําบล
บางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรง
รวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจน
ข้าศึกพ่ายแพ้ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง
นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้า
มายังไทยครั้งสําคัญในช่วงเวลานั้น ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏ
แน่ชัดแต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ.2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือ
กฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกําหนดเรื่องการเรียกสินไหมพินัยความได้ปรากฏชื่อเมืองแม่
กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการอยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกําหนดซึ่งตราขึ้น
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิ
เบศท์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจ
กราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมือง
สมุทรปราการทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ (ปุถุชน บุดดาหวัง , 2543, หน้า 9)
        จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลนตะกอนบริเวณปาก
แม่น้ํา เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ําขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม “แม่
กลอง” นอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้าง (ดูเพิ่มเติม ณ บางช้าง) สมเด็จพระอมริน
ทราบรมราชินีซึ่งทรงเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบรม
ราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ ทรงมีพระนิเวศน์สถานดั้งเดิม
อยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่ง
อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยพระราชโอรสสอง
พระองค์แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาทรงหนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง
จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์สุโขทัย มีการสืบทอด
นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และการทําอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้น
มา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีที่แขวงบาง
ช้างทรงรับถ่ายถอดการทําอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทําอาหารใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและ
ว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์
25


                                  สถานที่ท่องเที่ยว
       จังหวัดสมุทรสงครามมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน เช่น ตลาดร่มหุบ
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร , ,ตลาดน้ําอัมพะวา
                                                               ตลาดร่มหุบ
         วัดเพชรสมุทรวรวิหาร




                                   ตลาดน้ําอัมพะวา
26


                       การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย
        จังหวัดสมุทรสงคราม มีกีฬา และการละเล่นพื้นบ้านที่หลากหลาย อาทิเช่น มวยทะเล
กระอั้วแทงควาย ถีบกระดานเลน หยอดหอยหลอด



                                    ถีบกระดานเลน




                                     หยอดหอยหลอด
27


                                   กระอั้วแทงควาย
                          ศิลปะการแสดงไทย ที่คนไทยอาจยังไม่เคยดู



                                                       กระอั้วแทงควาย เป็นการละเล่นของชาว
                                                       ทวายหรือพม่า มอญ ตามตํานานกล่าวว่า
                                                       นางกระอั้วฝันว่าได้กินแกงตับควายอย่าง
                                                       เอร็ดอร่อย จึงรบเร้าตาโสผู้สามี ให้ไปหาตับ
                                                       ควายมาแกง ทั้งสองจึงเข้าป่าไป




แทงควาย มีโคลงครั้งกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงการเล่นกระอั้วแทงควายว่า

                  จรีกางห่มหอกเลื่อง              แทงเขน
           สองประยุทธยืนยัน                       ย่องย้อง
           นางกระอั้วเพ่งผัวเอน                   ควายเสี่ยว
           สองประจันมือจ้อง                       จ่อแทง

ชื่อการเล่นเรียกว่า "กระอั้วแทงควาย" แต่ในการเล่นนั้น สามีเป็นผู้ต่อสู้กับควาย หรืออาจเป็นไปได้ว่า
ขณะที่ตาโสผู้สามีกําลังต่อสู้กับควายชุลมุนอยู่ นางกระอั้วเห็นได้ทีก็เลยแทงควายตายก็เป็นได้
       สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า กระอั้วเป็นสามีนางกระแอ ชื่อกระอั้ว และ
กระแอเป็นภาษาทวาย ดังนั้นกระอั้วแทงควายจึงตรงกับ การเล่นนี้มากกว่าตํานานทางไทย
          ผู้เล่นกระอั้วแทงควายจะมี 4 คน คือ ตากระอั้ว นางกระแอ และควาย (มีคนอยู่ตอนหัวเป็น
ขาหน้าคนหนึ่ง และอยู่ตอนท้ายเป็นขาหลังอีกคนหนึ่ง) การแต่งกาย นางกระอั้วสวมเสื้อกระเหรี่ยง
ยาว ชายเสื้อถึงน่อง เกล้าผมสูง ถือหอกใบกว้างทําด้วยกระดาษ นางกระแอนุ่งผ้าถุง สวมเสื้อแขน
กระบอก ห่มผ้าแถบสีแดงห้อยบ่า ผัดหน้าขาว แต้มไฝเม็ดใหญ่ สวมผมปีกหรือเกล้าผมสูง กระเดียด
กระทาย ถือร่ม การแสดงมุ่งตลกขบขันเป็นสําคัญ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า
"ดูเป็นเล่นจําอวดอย่างต่ํา" แสดงการล่อ ไล่ ต่อสู้ และหลบหลีก ในที่สุดก็ฆ่าควายได้ จึงผ่าท้องเอา
ตับไป
28


กระอั้วแทงควาย

         กระอั้วแทงควายเป็นการเล่นของทวายหรือ
ของพม่า มอญ มีผู้เล่น ๔ คน คําว่า "กระอั้ว" ไม่ใช่
ภาษาไทย เป็นภาษาทวาย เป็นชื่อสามีของนาง"
กะแอ" ผู้เล่นชุดนี้มี ๔ คน คือ ตากระอั้ว นางกะแอ
และความซึ่งใช้ผู้เล่น ๒ คน อยู่ในชุดควาย คือ เป็น
ตอนหัวควาย ๑ คน และตอนท้ายอีก ๑ คน ผู้เล่น
เป็นกระอั้วใส่เสื้อกะเหรี่ยงยาว ชายเสื้อคลุมถึงน่อง
หัวใส่ลองเป็นเกล้าผมสูง ถือหอกใหญ่ ใบกว้าง ทํา
ด้วยกระดาษ ผู้ที่เล่นเป็นนางกะแอ แต่งตัวเป็น
ผู้หญิง ผัดหน้าขาว แต้มไฝเม็ดใหญ่ หัวสวมผมปีก นุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อเอว ห่มผ้าแถบสีแดงห้อยบ่า
กระเดียดกระทาย ถือร่ม ในขณะเล่นใช้ร่มคอยค้ําควายไว้เพื่อป้องกันตัว

         การดําเนินการแสดงไม่มีอะไรแสดงว่ายุ่งยากมากนัก เพราะเป็นการเล่นสนุกๆ ให้เกิดความ
ขบขันมากกว่าอย่างอื่น เป็นการแสดงการล่าควาย ในระหว่างที่แสดงก็ทําท่าขบขันต่างๆ เช่น การ
หลอกล่อ หลบหนี การไล่ติดตามระหว่างควายและตากระอั้ว ประกอบกับการทําท่าทาง ตกอกตกใจ
ของนางกะแอจนผ้าห่มหลุดลุ่ย เป็นที่สนุกขบขันเฮฮา และท่าทางดีใจของสองผัวเมียเมื่อฆ่าควายได้
สําเร็จ เป็นต้น

       นอกจากการละเล่นทั้ง ๕ อย่างแล้ว ยังมีการรําเบิกโรงชื่อว่า "ประเลง" คําว่าประเลงอาจมา
จากคําว่า "บรรเลง"




                                                             ปั จจุบันการเล่นกระอัวแทงควายนั น
                                                                                  ้          ้
                                                   ไม่ได ้มีการเล่นแล ้ว จะหาดูได ้ก็ในงานราชพิธี
                                                                         ิ     ึ่ ่ ่
                                                   หรือตามงานแสดงศลปะ ซงทีผานมาได ้นามา
                                                   แสดงในงาน "มหรสพสมโภชการพระเมรุ"
                                                   สมเด็จพระพีนางฯ ทีจะจัดขึนทีสนามหลวง
                                                                  ่        ่     ้ ่
29
30




        นครปฐม เป็นอู่อารยธรรมสําคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จาก
หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความ
เจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสําคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐม
เป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลาง
ของความเจริญ มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจํานวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้ง
แล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ําที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้ง
หลักแหล่งอยู่ริมน้ํา และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึง
กลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่
ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้น
เมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย”์
ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชา
เพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น
31


       ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟ
สายใต้ผ่านเมือง นครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่า
รก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตําบลท่า
นา อําเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระ
ปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ ครั้งในรัช
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว   ่
โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่
เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า
โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย
รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลอง
เจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้าน
ทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ใน
ปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม)


                                    สถานที่ท่องเที่ยว
         จังหวัดนครปฐมมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลาย
อย่างด้วยกัน เช่นสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ,ตลาดท่านา,
พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย,วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร
32



                   การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย
                                     เพลงปรบไก่
          เพลงปรบไก่ เป็นการละเล่นบ้านของชาวบ้านจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีเล่นอยู่ที่ ตําบลสระกะ
เทียม อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ผู้ที่เป็นแม่เพลง ในการเล่นเพลงปรกไก่ ชื่อนางกุหลาบ เครืออยู่
อยู่บ้านเลขที่ ๑๖ หมู่ที่ ๘ ตําบลสระกะเทียม อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
อุปกรณ์และวิธีการเล่น : เริ่มต้นด้วยผู้เล่นเพลงปรบไก่
ประมาณ ๑๐ คน นั่งยอง ๆ ลง ตรงบริเวณลานหน้าบ้าน
หรือลานวัดหรือหน้าศาลเจ้าที่มาแก้บน พนมมือ แล้วแม่
เพลงจะร้องบทไหว้ครู โดยแม่เพลงร้องนําแล้วลูกคู่ตามที
ละวรรค เมื่อจบบทไหว้ครูแล้วจะลุกขึ้นยืนเป็นวงกลม
แล้วเริ่มร้องเพลงปรบไก่โดยแม่เพลง หรือพ่อเพลงจะเป็น
ผู้ร้องลูกคู่จะปรบมือเป็นจังหวะ และในตอนจบบทลูกคู่จะ
ร้องเพลงรับว่า "ฉา ตะละลา ฉาฉา ฉาฉา ชะ" แล้วร้อง
ทวนวรรคสุดท้ายที่จบบทด้วยในขณะที่ร้องเพลงทุกคนจะ
เดินช้า ๆ เข้าจังหวะที่ปรบมือเดินเป็นวงไปเรื่อย ๆ เนื้อ
ร้องเพลงปรบไก่บทหนึ่งจะมี ประมาณ ๓-๔ บท และลูกคู่จะต้องรับทุกบท เมื่อจบบทของทํานอง
เพลงปรบไก่ ๓-๔ บท ทุกคนก็จะหยุดเดินและแม่เพลงหรือพ่อเพลงก็จะร้องส่งเพลง โดยจะร้องจาก
เนื้อหาของวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ เช่น สังข์ทอง พระอภัยมณี ฯลฯ ร้องเพียงสั้น ๆ บทหนึ่งขณะที่พ่อ
เพลงร้องบนส่งนี้ ลูกคู่ในคณะบางคนก็จะร่ายรําทําท่าไปตามเนื้อเรื่องที่ร้องจนจบบทร้องส่งก็
เรียกว่า จบ "๑ วง" แล้วก็ร้องเพลงปรบไก่แต่ละครั้งมักจะเป็นการแก้บนและการร้องครั้งหนึ่ง ๆ จะ
ร้องสักกี่ "วง" ก็ได้สําหรับเนื้อร้องของเพลงปรบไก่ที่เล่นกันในพื้นบ้านจะเป็นข้อความในลักษณะเป็น
การว่าโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง ไม่ค่อยเป็นเกี้ยวพาราสี และสํานวนภาษาที่ใช้ก็จะค่อนข้างหยาบ
คือจะว่ากันตรง ๆ ไม่อ้อมค้อมหรือเลี่ยง เป็นแบบสองแง่สองง่ามเหมือนเพลงพื้นบ้านชนิดอื่นและ
เวลาร้องมักจะกระแทกเสียงห้วนสั้นในคําท้ายวรรค


                                            ตัวอย่างเนื้อเพลงปรบไก่

                                            แม่เพลง : เล่นเพลง ปรบไก่ มาจนหัวไหล่ ยอกได้
                                            เงินบาท ก็ไม่ถึง
                                            เงินสลึง ก็ไม่ออก จะเล่นทําไม ให้หัวไหล่มันยอก

                                            ลูกคู่รับ : เอ่ย เออ เอ่อ เอ่ย จะเล่นทําไม ให้หัวไหล่
                                            มันยอก ฉา ตะลาลา ฉ่า ฉ่า ฉ่า ฉ่า ชะ

การแต่งกาย : ก็แต่งแบบพื้นบ้าน คือนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อแขนสั้น มีผ้าคาดเอว ทั้งชายและ
หญิงแต่งแบบเดียวกัน
33




โอกาสหรือเวลาที่เล่น : สําหรับโอกาสที่เล่น
เพลงปรบไก่ ในสมัยก่อนจะเป็นการเล่นเพื่อแก้บน
แต่ปัจจุบันนี้ การเล่นเพลงปรบไก่ไม่ค่อย
แพร่หลาย มักจะมีการเล่นโอกาสที่เป็นงานแสดง
วัฒนธรรมของสถานศึกษาต่างๆ หรือ ของสถานที่
ราชการที่ต้องการจะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้




                                          คุณค่า / แนวคิด/ สาระ
                                          เป็นการละเล่นที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน สามัคคี
                                          ในหมู่ประชาชนละแวกเดียวกันและเป็นการแสดงที่
                                          เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
34
35


        เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมา
ตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่
สําคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่าย
ตะวันตก มีการติดต่อค้าขายกับ
ต่างประเทศ มีหลักฐานชื่อเรียกปรากฏใน
หนังสือชาวต่างประเทศ เช่น ชาวฮอลันดา
เรียกว่า “พิพรีย” ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า
                   ์
“พิพพีล์” และ “ฟิฟรี” จึงสันนิษฐานกัน
ว่าชื่อ “เมืองพริบพรี” ซึ่งเป็นชื่อเดิมของ
เมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดพริบ
พลี ที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด
และที่วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งเสาชิงช้า
อีกด้วย
        เพชรบุรี (ศรีชยวัชรบุร) เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ เคยเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ อาณาจักร
                       ั       ี
หนึ่ง บางสมัยมีเจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระ บางสมัยอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของ
อาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า เจ้าผู้ครองนครได้ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองจีนเป็นประจํา เพชรบุรีมี
ปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น พระปรางค์ 5 ยอด ณ วัดมหาธาตุ
วรวิหาร และปราสาทหินศิลาแลง ณ วัดกําแพงแลงเป็นต้น โดยที่มาของชื่อเมืองนั้นอาจเรียกตาม
ตํานานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลาค่ําคืนที่เขาแด่น ทําให้ชาวบ้าน
เข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้นจึงพากันไปค้นหาแต่ก็ไม่พบ จึงได้ออกค้นหาในเวลากลางคืนแล้วใช้
ปูนที่ใช้สําหรับกินหมากป้ายเป็นตําหนิไว้เพื่อมาค้นหาในเวลากลางวัน แต่ก็ไม่พบ บ้างก็ว่าเรียกตาม
ชื่อของแม่น้ําเพชรบุรี เมืองเพชรบุรีมีศิลปะวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็น
บ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น ศิลปะปูนปั้น
        เมื่อถึงยุคของอาณาจักรสุโขทัย แม้อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคําแหงแม้จะมีอํานาจ
ครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีกยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์
                                   ็
เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชย
ปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรี
อยุธยาเป็นราชธานี
        ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุม
เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ อํานาจใน
ส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอํานาจจากส่วนกลาง
จึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม
        ในสมัยพระมหาธรรมราชา พ.ศ. 2113 พระยาละแวก เจ้าเมืองเขมร ยกกองทัพมาที่อยุธยา
มาสู้กับกองทัพอยุธยา สู้ไม่ได้ แพ้ หนีไป อีก 5 ปีต่อมา พ.ศ. 2118พระยาละแวกยกทัพเรือมาที่
อยุธยาอีก สู้อยุธยาไม่ได้อีก ยกกองทัพกลับไป พ.ศ. 2121 ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตี
เมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ พ.ศ. 2124 อยุธยาติดพันรบกับกบฏ พระยาละแวกก็
เลยชิงยกกองทัพเรือมาเองมีกําลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัย
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ โดยพ.ศ. 2136 สมเด็จพระนเรศวรฯ
พิจารณานิสัย สันดานของเขมรแล้ว เจ็บช้ําพระทัย จึงยกกองทัพไปตีเขมร จับครอบครัวเอาไว้แล้ว
มาไว้ที่อยุธยา ตัดคอล้างพระบาท เพราะชอบฉกฉวยโอกาสขณะที่อยุธยาตีติดทัพที่อื่น แต่พระองค์
ท่านยังมีพระเมตตา ให้โอกาสลูกชายคนโตของพระยาละแวก กลับไปปกครองเขมรต่อ แล้วให้ระบุว่า
36


จะต้องไม่เป็นกบฏต่ออยุธยา และต้องเป็นเมืองขึ้นของสยามต่อไป และเนื่องจากทรงโปรดปราน
เมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่
ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง
         เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกําลังสําคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครัง
                                                                                               ้
นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์
โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่ง แข็งเมือง พระยา
เพชรบุรีได้เป็นกําลังสําคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสํานักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมือง
เพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่
พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง
         เพชรบุรีในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
         ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทย
ยังคงทําสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทํา
สงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราช
สํานักจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป
         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่
เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัว
เมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์”
หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ําทะเลอาจ
บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง
“พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอําเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์
37



                                สถานที่ท่องเที่ยว
   จังหวัดเพชรบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน เช่น น้ําพุร้อนหนองหญ้าปล้อง,
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, เยี่ยมชมแหล่งผลิตน้ําตาลโตนดและน้ําตาลสดธรรมชาติ, ศูน
วัฒนธรรมไทยทรงดําหรือลาวโซ่ง
38


                        การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย
และนอกจากจะมีสถานที่ที่สําคัญต่อประวัติศาสตร์แล้วจังหวัดเพชรบุรียังมีการละเล่นกีฬาพื้นบ้านที่
สืบสานต่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต หลายชนิดกีฬา ด้วยกัน อาทิเช่น การแข่งวัวลาน วัวเทียมเกวียน

                                 การแข่งวัวเทียมเกวียน
                                                 กีฬาวัวเทียมเกวียนของชาวอําเภอบ้านลาด เริ่ม
                                                 มาจากสิ้นสุดฤดูการทํานาแล้วจึงได้เอาเกวียนที่
                                                 ไม่ได้ใช้งานมาวิ่งแข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันเรีกหมู่บ้าน
                                                 ที่เคยเป็นลาน แข่งขันว่า " หัวสนาม " บ้าง " ท้าย
                                                 สนาม " " ต้นสนาม " เป็นต้น การแข่งขันจะ
                                                 ผลัดเปลี่ยนกันไป ในแต่ละท้องที่ ทํานองเอาแขก
                                                 ตอบแทนที่เคยมาร่วมให้ความสนุกครึกครื้น การ
                                                 แข่งขันจะเริ่มช่วงเวลาแดดร่มลมตก พอพลบค่ําก็
                                                 เลิก ส่วนมากมักนําเกวียนเก่าที่เลิกใช้งานแล้วมา
                                                 ดัดแปลงเพื่อการแข่งขันโดยใช้วัวเทียมเกวียน
                                                 เล่มๆ 2 ตัว การแข่งขันจะจับกันเป็นคู่แข่งขันกัน
                                                 โดยใช้ระยะทางวิ่งทางตรงประมาณ 100 เมตร (
วิ่งจริง 62 เมตร ) ครึ่งหนึ่งของทางวิ่งจะต้องจัดทํารั้วเตี้ยๆ กันไม่ให้วัววิ่งออกนอกลู่ ส่วนมากรั้วจะ
ใช้ทางตาลปักห่างๆ เป็นแนว 2 ข้างทางวิ่ง

          การปล่อยวัวมีเส้นเริ่มเรียกว่า ผัง มีนายสนามเป็น
ผู้ดูแล ถ้าให้สัญญาณแล้วเกวียนแต่ละเล่มออกไม่พร้อมกัน
ให้เริ่มใหม่ และถ้าเกวียนวิ่งออกนอกลู่ ซึ่งเรียกว่า เสีย
สนาม ก็ให้เริ่มต้นใหม่เช่นกัน การแข่งขันนอกจากวัวจะวิ่ง
เร็วแล้ว คนบังคับวัวที่คอยลง ปะฏักก็สําคัญ เพราะ
เป็นการกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกําลังจนถึงเส้นชัย การเลือกบ่า
วัว ( วัวบางตัวถนัดบ่าซ้าย หรือบ่าขวาไม่เหมือนกัน )
เลือกคนแทงวัว ( คนแทงวัวทําหน้าที่เหมือนจ้อกกี้ลงแซ่
แข่งม้า ) การแพ้ชนะจะเป็นไปตามกติกาที่ตกลงกัน กรณี
ชนะต้องชนะแบบขาดลํา ถ้าคู่คี่ หรือเกวียนสะกันอยู่ และ
ถูกอีกฝ่ายหนึ่ง ลางจนถึงเส้นชัย( เรียกว่าเฉียบ ) ไม่ถือเป็นการชนะ สําหรับคนแทงปฏักวัว หรือ
แทงวัว เจ้าของวัวต้องหามาเอง จําเป็นจะต้องหาคนที่ ชํานาญเพราะจะต้องกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกําลัง
ไปยังเส้นชัย การเล่นวัวเทียมเกวียนอาจมีการเดิมพันอยู่บ้าง ระหว่างเจ้าของวัว กับคนดู แต่มีการได้
เสียกันเพียงเล็กน้อย เช่า เดิมพันด้วยสุรา สอง สามขวด ความสนุกสนานจึงอยู่ที่วิถีชีวิตที่เป็นลูกทุ่ง
ใกล้ชิดกับวัว สามารถบังคับวัวในการทํางาน และการแข่งขัน การแข่งขันวัวเทียมเกวียน ได้จัดให้มี
การแข่งขันบริเวณหน้าเขาวังครั้งแรก ในสมัยรัชการที่ 5
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 55 ok
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 55 ok
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 55 ok
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 55 ok

More Related Content

What's hot

มอญศึกษา
มอญศึกษามอญศึกษา
มอญศึกษาengtivaporn
 
สามกรุง
สามกรุงสามกรุง
สามกรุงKidty Nunta
 
Question (ปรัศนีย์-)
Question  (ปรัศนีย์-)Question  (ปรัศนีย์-)
Question (ปรัศนีย์-)Panda Jing
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายChinnakorn Pawannay
 
F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8
F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8
F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8SomAo
 
แบบฝึกหัดม.4 5 6 เตรียมเอ็นฯ
แบบฝึกหัดม.4  5 6 เตรียมเอ็นฯแบบฝึกหัดม.4  5 6 เตรียมเอ็นฯ
แบบฝึกหัดม.4 5 6 เตรียมเอ็นฯAnan Pakhing
 
องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...A'mp Minoz
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับnuttawon
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง Patzuri Orz
 
กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11
กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11
กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11teacherhistory
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์A'mp Minoz
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงSirintip Denduang
 

What's hot (20)

มอญศึกษา
มอญศึกษามอญศึกษา
มอญศึกษา
 
สามกรุง
สามกรุงสามกรุง
สามกรุง
 
Question (ปรัศนีย์-)
Question  (ปรัศนีย์-)Question  (ปรัศนีย์-)
Question (ปรัศนีย์-)
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
สมเด็พระนารายณ์มหาราช
สมเด็พระนารายณ์มหาราชสมเด็พระนารายณ์มหาราช
สมเด็พระนารายณ์มหาราช
 
วารสารคณิตศาสตร์ ฉบับพิเศษ
วารสารคณิตศาสตร์ ฉบับพิเศษวารสารคณิตศาสตร์ ฉบับพิเศษ
วารสารคณิตศาสตร์ ฉบับพิเศษ
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
 
F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8
F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8
F181f8bc05d73b92ff42aede8584d1a8
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
แบบฝึกหัดม.4 5 6 เตรียมเอ็นฯ
แบบฝึกหัดม.4  5 6 เตรียมเอ็นฯแบบฝึกหัดม.4  5 6 เตรียมเอ็นฯ
แบบฝึกหัดม.4 5 6 เตรียมเอ็นฯ
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง
 
กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11
กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11
กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร11
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
 

Viewers also liked

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้Nattapakwichan Joysena
 
การเขียนรายงานการวิจัย3
การเขียนรายงานการวิจัย3การเขียนรายงานการวิจัย3
การเขียนรายงานการวิจัย3Prachyanun Nilsook
 
ปกโครงงานกล้อง
ปกโครงงานกล้องปกโครงงานกล้อง
ปกโครงงานกล้องkrupornpana55
 
บทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางาน
บทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางานบทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางาน
บทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางานTeetut Tresirichod
 
ระบบจัดการร้านเบเกอรี่
ระบบจัดการร้านเบเกอรี่ระบบจัดการร้านเบเกอรี่
ระบบจัดการร้านเบเกอรี่Visiene Lssbh
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานKanistha Chudchum
 

Viewers also liked (8)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้
 
การเขียนรายงานการวิจัย3
การเขียนรายงานการวิจัย3การเขียนรายงานการวิจัย3
การเขียนรายงานการวิจัย3
 
ปกโครงงานกล้อง
ปกโครงงานกล้องปกโครงงานกล้อง
ปกโครงงานกล้อง
 
บทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางาน
บทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางานบทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางาน
บทที่ 2 นิยามและขอบเขตของการศึกษางาน
 
ระบบจัดการร้านเบเกอรี่
ระบบจัดการร้านเบเกอรี่ระบบจัดการร้านเบเกอรี่
ระบบจัดการร้านเบเกอรี่
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
 

Similar to อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 55 ok

เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 okเอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 okPatpong Lohapibool
 
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาPattama Poyangyuen
 
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาPattama Poyangyuen
 
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาPattama Poyangyuen
 
อาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยอาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยkrunrita
 
โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12MilkOrapun
 
รุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขรุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขKwandjit Boonmak
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4
ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4
ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4mushroomphan
 
เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์
เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์
เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์สมชาย ทุมอาริยะ
 
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56 อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56 Patpong Lohapibool
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีKKloveyou
 

Similar to อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 55 ok (20)

เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 okเอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
 
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
 
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
 
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
 
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธีลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
อาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยอาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัย
 
โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12
 
รุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุขรุ่งอรุณแห่งความสุข
รุ่งอรุณแห่งความสุข
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4
ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4
ภูมิปัญญาบางกอก3/4กลุ่ม4
 
Ppt16 (1)
Ppt16 (1)Ppt16 (1)
Ppt16 (1)
 
เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์
เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์
เบอร์โทร เว็ปไซด์ บริษัทรถทัวร์
 
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56 อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56
อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 56
 
แบบฝึกทักษะชุดที่ 1
แบบฝึกทักษะชุดที่ 1แบบฝึกทักษะชุดที่ 1
แบบฝึกทักษะชุดที่ 1
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
 
ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
ใบความรู้  หนังตะลุง ม52ใบความรู้  หนังตะลุง ม52
ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
 

More from Patpong Lohapibool

The interior design office furniture profile
The interior design  office furniture profile The interior design  office furniture profile
The interior design office furniture profile Patpong Lohapibool
 
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56 เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56 Patpong Lohapibool
 
The interior design furniture built in knockdown.
The interior design furniture built in knockdown. The interior design furniture built in knockdown.
The interior design furniture built in knockdown. Patpong Lohapibool
 
Company profile media the agency 1
Company profile media the agency 1Company profile media the agency 1
Company profile media the agency 1Patpong Lohapibool
 

More from Patpong Lohapibool (6)

The interior design office furniture profile
The interior design  office furniture profile The interior design  office furniture profile
The interior design office furniture profile
 
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56 เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 56
 
The interior design furniture built in knockdown.
The interior design furniture built in knockdown. The interior design furniture built in knockdown.
The interior design furniture built in knockdown.
 
The interior design
The interior designThe interior design
The interior design
 
Company profile media the agency 1
Company profile media the agency 1Company profile media the agency 1
Company profile media the agency 1
 
Bizmatchingmagazine vol # 1
Bizmatchingmagazine vol # 1Bizmatchingmagazine vol # 1
Bizmatchingmagazine vol # 1
 

อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบำรุง และเสริมสร้างเอกลักษณ 55 ok

  • 1. อนุรักษ์ พัฒนา ทะนุบารุง และเสริมสร้าง เอกลักษณ์กีฬาไทย และกีฬาพื้นบ้าน สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตสมุทรสาคร
  • 2. 2 คำนำ สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬ า เมื่อได้รับพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ ตามพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พุทธศักราช 2548 ได้เปลี่ยนสถานะวิทยาลัยพล ศึก ษาทั้ ง 17 แห่ ง เป็น วิ ทยาเขตของสถาบั นการพลศึ ก ษา เป็ นส่ ว นราชการที่ เรี ย กชื่ ออย่ างอื่ น เทียบเท่าคณะ เริ่มจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสถาบันการพลศึกษา ตั้งแต่ปีพุทธศํกราช 2548 เป็นต้นมา ภายใต้การบริหารของสภาสถาบันการพลศึกษา และมีวิสัยทัศน์ ถือเป็น สถาบันการพลศึกษาชั้นนําที่ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านพลศึกษา กีฬาและสุขภาพ สู่ความเป็นเลิศ ระดับ มาตรฐานสากลอย่ า งยั่ ง ยืน โดยที่ พัน ธกิจ ข้ อสุ ดท้ า ยที่ น อกเหนื อจากการผลิต และพัฒ นา บุ ค ลากรส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ทางพลศึ ก ษา การกี ฬ า วิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ า วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ นั น ทนาการและสาขาที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ดํ า เนิ น การให้ บ ริ ก ารทางวิ ช าการแก่ สั ง คม ทั้ ง ยั ง ทํ า นุ บํ า รุ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรม การละเล่ น พื้ น บ้ า นและกี ฬ าไทยของจั ง หวั ด สมุ ท รสาคร สมุ ท รสงคราม สมุทรปราการ นครปฐม และเพชรบุรีอีกด้วย เพื่ อ ให้ ก ารดํ า เนิ น งาน ตามพั น ธกิ จ ครบถ้ ว นสมบู ร ณ์ และเกิ ด ภาพลั ก ษณ์ ที่ ชั ด เจนกั บ นักศึกษาของสถาบันการพลศึกษา เพื่อแสดงถึงความเป็นไทย “มีลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอก งาม ความเป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ย ความสามั ค คี ความก้ า วหน้ า ของ ชาติ แ ละศี ล ธรรมอั น ดี ข อง ประชาชน” สถาบั น การพลศึ ก ษาได้ มอบหมายให้ สถาบั น การพลศึ ก ษาวิ ทยาเขตสมุ ทรสาครจั ด ทํ า โครงการ พั ฒนา ทะนุบํ ารุง และสร้า งเสริมเอกลักษณ์ ศิ ลปวั ฒนธรรมขึ้น โดยสนั บสนุ นการจั ด กิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษณ์ พัฒนาทะนุบํารุงและสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมของ สถาบั น การพลศึ ก ษาวิ ท ยาเขตสมุ ท รสาครเพื่ อ ส่ ง เสริ ม พั ฒ นา ภู มิ ปั ญ ญาบรรพบุ รุ ษ และ ศิลปวัฒนธรรมท้องถื่นให้คงอยู่สืบไป
  • 3. 3 สารบัญ จังหวัดสมุทรปราการ 4 8 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย สถานที่ท่องเที่ยว 10 จังหวัดสมุทรสาคร 14 16 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย สถานที่ท่องเที่ยว 17 จังหวัดสมุทรสงคราม 23 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย 25 สถานที่ท่องเที่ยว 26 จังหวัดนครปฐม 29 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย 31 สถานที่ท่องเที่ยว 32 จังหวัดเพชรบุรี 34 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย 38 สถานที่ท่องเที่ยว 37
  • 4. 4
  • 5. 5
  • 6. 6 จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง จั ง หวั ด สมุ ท รปราการ จั ง หวั ด นนทบุ รี จั ง หวั ด สมุ ท รสาคร และจั ง หวั ด นครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่ง ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะ ตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของแม่น้ํา เจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้น และเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรง แต่งสมณทูตไปลังกา กล่าวว่า ออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตําบลบางปลากด แสดงว่า ที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มาก อาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตําบลบางเมืองใน เขตเมืองสมุทรปราการด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตําบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือ ของข้าศึกรวม 6 ป้อม และใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ําด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ํา" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ําเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ําเข้ามาราว 6 กิโลเมตร
  • 7. 7 ปัจจุบัน จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศ ตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จดอ่าว ไทย, ทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะ ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ําเจ้าพระยา ไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไป ทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กม. เดิม ชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอน ที่แม่น้ําเจ้าพระยานําพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ํา แต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทําให้เกิดปัญหาการ กัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมี การทํานา ประมง และอุตสาหกรรม แหล่ง ท่องเที่ยวและสถานที่สําคัญ เช่น สนามบิน สุวรรณภูมิ พระสมุทรเจดีย์กลางน้ํา วัดอโศกา ราม วัดบางพลีใหญ่ วัดไพชยนต์พลเสพราช วรวิหาร วัดโปรดเกศเชษฐาราม ศาลพระเสื้อ เมือง พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เมืองโบราณ สถาน ตากอากาศบางปู ป้อมพระจุลจอมเกล้า สวางคนิวาส ป้อมแผลงไฟฟ้า ฟาร์มจระเข้ การคมนาคมจากกรุงเทพฯ โดยทาง หลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท ตอน กรุงเทพฯ- สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร
  • 8. 8 ยุคอุตสาหกรรมสมุทรปราการ เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม สมุทรปราการก็เติบโตทางด้านอุตสาหกรรม ควบคู่กับกรุงเทพมหานครมาโดยตลอด ทั้ง ทางด้าน การแปรรูป การผลิต การส่งออก การ ประมง และการขนส่ง ฯลฯ จนกระทั้งทุกวันนี้ นอกจากนี้สมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของ สนามบินสุวรรณภูมินานาชาติที่สําคัญที่สุดของ ไทยและของอาเซี่ยนด้วย สถานที่ท่องเที่ยว สถานตากอากาศบางปู สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ หลายอย่างด้วยกัน เช่น สถานตากอากาศบางปู, พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ,ฟาร์มจระเข้ สมุทรปราการ,ตลาดน้ําบางน้ําผึ้ง วัดบางพลี ใหญ่ใน พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
  • 9. 9 และงานเทศการที่นักท่องเที่ยวนิยมไป กันมาก คือ งานรับบัว หรือโยนบัว อ.บางพลี ทีแสดงให้เห็นถึงมิตรไมตรีที่ดีของชาวไทย ่ มอญ ลาว ทีสืบสานประเพณีเก่าแก่มาจนถึงทุก ่ วันนี้
  • 10. 10 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย บ้านโบราณหมากรุกไทย การเล่นหมากรุกปรากฎว่ามีมาใน ประเทศอินเดียช้านานนับด้วยพันปี พวกชาว อินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้น เมื่อครั้ง พระรามไปล้อมเมืองลังกา นางมณโฑเห็นทศ กรรฐ์เดือดร้อนรําคาญ ในการที่ต้องเป นกังวลคิดต่อสู้สงคราม ไม่มีเวลาเป็นผาศุก นางรู้ว่าจะชักชวนทศกรรฐ์ ให้พักผ่อนด้วย ประการอย่างอื่น ก็คงไม่ยอม จึงเอากระบวร การสงคราม คิดทําเปนหมากรุกขึ้น ให้ทศ กรรฐ์เล่นแก้รําคาญ มูลเหตุที่จะเกิดมีหมาก รุก พวกชาวอินเดียกล่าวกันมาดังนี้ แต่ชื่อที่ เรียกว่าหมากรุก เป็นคําของไทยเราเรียก พวกชาวอินเดียเขาเรียกหมากรุกว่า "จตุรงค์ เพราะเหตุที่คิดเอากระบวรพล ๔ เหล่า ทําเปนตัว หมากรุก คือหัสดีพลช้าง (ได้แก่โคน) ๑ อัศวพลม้า ๑ โรกะพลเรือ ๑ (พลเรือนั้นอธิบายว่าเพราะคิด ขึ้นที่เกาะลังกา จึงใช้เรือแทนรถ) ปาทิกะพลราบ (ได้แก่เบี้ย) ๑ มีราชา (คือขุน) เปนจอมพล ตั้งเล่น กันบนแผ่นกระดานอันปันเปนตาราง ๖๔ ช่อง (อย่างกระดานหมากรุกทุกวันนี้) เมื่อค้นคว้าจากหนังสือ หมากรุกเท่าที่จะค้นหาได้ในหอสมุด แห่งชาติ สรุปได้ว่าตํานานหมากรุกมี ที่มาคล้ายคลึงกัน และแทบทุกแห่ง จะอ้างอิงจากหนังสือเล่มเดียวกันคือ ตํารากลหมากรุก ฉบับหอพระสมุด วชิรญาณทั้งสิ้น ที่จะมีผิดแผกไปบ้าง บางเล่ม เช่น ผู้ดัดแปลงหมากรุกจาก เดิมจัตุรงค์ซึ่งมีผู้เล่นสี่คน มาเป็น หมากรุกที่มีผู้เล่นสองคน แทนที่จะ เป็นมหาอํามาตย์สัสสะ ในประเทศ อินเดีย บางเล่มเพี้ยนไปเป็นพระเจ้า อเล็กซานเดอร์มหาราช ที่กรีก แต่ก็มี รายละเอียดคล้ายคลึงกัน
  • 11. 11 กติกาการเล่นหมากรุกไทย กระดานหมากรุกไทย ขนาด 8x8 ช่อง ลักษณะ อาจมีการสลับสีเหมือนกระดานหมากรุก สากล หรือไม่มีก็ได้ เริ่มต้นเกมส์ การจัด วางตัวหมากไว้ตรงกลางช่องโดยแถวแรก หมาก เรียงดังนี้ เรือ,ม้า, โคน, ขุน, เม็ด, โคน, ม้า, เรือ และวางเบี้ยไว้แถวที่ 3 ของกระดาน ดังรูป ตัวหมากรุกไทย ตัวหมาก การเดิน รูปการเดิน ขุน สามารถเดินได้ 8 ช่องรอบตัว แต่ไม่สามารถเดินเข้า ไปในตากินของฝ่ายตรงข้ามได้ โคน เดินได้ 4 ช่องในแนวทแยงและช่องตรงหน้าอีก 1 ช่อง
  • 12. 12 เม็ด เดินได้ 4 ช่องรอบตัวในแนวทแยง ม้า เดินเป็นรูปตัว L สามารถเดินข้ามตัวหมากอื่นได้ เรือ เดินได้ 4 ทิศรอบตัว ในแนวตั้งหรือแนวนอน เบี้ย -เดินได้ 1 ช่องด้านหน้า -เวลากิน กินเฉียง - เมื่อเดินไป ถึงแถวที่เบี้ยฝ่ายตรงข้ามตั้งตอนเริ่ม เกม เบี้ยจะเปลี่ยนเป็นเบี้ยหงาย ซึ่งสามารถเดินได้ เหมือนเม็ด ทุกประการ การแพ้-ชนะ ขุนรุกจน ฝ่ายไล่เดินเข้ารุก(การขู่ว่าจะกินขุน) แล้ว 1. ฝ่ายหนีไม่สามารถหนีขุน ให้พ้นตากินของฝ่ายไล่ได้ 2. ฝ่ายหนีไม่สามารถป้องกันขุน จากตารุกของฝ่ายไล่ได้ (กรณีใช้เรือรุก) 3. ฝ่ายหนีไม่สามารถกินตัวรุก(ที่ขู่ว่าจะกินขุน) หมดเวลา เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่สามารถควบคุมเวลาของตนได้ เป็นฝ่ายแพ้ การเสมอ เข้าตาอับ เมื่อฝ่ายหนึ่ง ไม่มีตาเดินที่สามารถจะเดินได้ หรือถ้าเดินแล้วจะถูกกินขุน เดินซ้้า, รุก ถ้ารูปของตัวหมากบนกระดาน มีตําแหน่งซ้ํากันถึง 3 ครั้ง 3 ครา โดยไม่จําเป็น ล้อ ที่จะต้องเป็นตาเดินติดต่อ นับครบ เมื่อมีการนับศักดิ์กระดาน หรือศักดิ์หมากแล้วฝ่ายหนีสามารถหนีรอดได้ นับ ครบถ้วนตามกฏ
  • 13. 13 การนับศักดิ์หมาก กฎ เมื่อฝ่ายที่ขอนับมีเหลือเพียงขุนตัวเดียว และฝ่ายไล่ไม่เหลือเบี้ยคว่ํา ให้ เริ่มนับโดยดูศักดิ์หมากของฝ่ายไล่ โดยเมื่อนับไปถึงตาสุดท้ายแล้วฝ่ายไล่ ไม่สามารถรุกจน ให้ถือว่าเสมอ การเริ่มนับ โดยนับตัวหมากที่เหลือทั้งกระดานทั้งสองฝ่าย แล้วเริ่มที่เลข ถัดไป เช่นเหลือทั้งหมด 4 ตัว ก็ให้เริ่มนับขึ้นต้นที่ 5 โดยการเลือกนับศักดิ์หมาก เป็นสิทธิ์ของฝ่ายหนีที่จะเลือกศักดิ์ที่น้อย ไม่มมา,โคน,เรือ นับ 64 ี ้ ม้า 1 ตัว นับ 64 2 ตัว นับ 32 โคน 1 ตัว นับ 44 2 ตัว นับ 22 เรือ 1 ตัว นับ 16 2 ตัว นับ 8 การนับศักดิ์กระดาน กฎ เมื่อฝ่ายที่ขอนับเหลือหมากเป็นรอง แต่ไม่ได้เหลือขุนตัวเดียว และทั้งสอง ฝ่ายไม่เหลือเบี้ยคว่ํา ให้เริ่มนับโดยขึ้นต้นที่ 1 เสมอ และนับไปจนถึง 64 ถ้า ตาสุดท้ายยังไม่จน ให้ถือว่าเสมอกัน
  • 14. 14
  • 15. 15 สมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ําท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ในอดีตมีชุมชนใหญ่เรียกว่า "บ้านท่าจีน" ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหา จักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2099) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกบ้านท่าจีนขึ้น เป็น เมืองสาครบุรี เพื่อเป็นหัวเมืองสําหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงครามและเป็นเมืองด่านหน้า ป้องกันผู้รุกรานทางทะเล ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร และใน ปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ทางราชการเปลียนคําว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร เมืองสมุทรสาครจึง ่ ได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นมาจนถึงทุกวันนี้ อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว (รัชกาลที่ 5) ได้มี ่ พระราชดําริที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตําบลท่าฉลอมเป็น สุขาภิบาล เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" จึงถือได้ว่าสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกในหัว เมืองของประเทศไทย
  • 16. 16 สถานที่ท่องเที่ยว บ้านปากคลองประมง จังหวัดสมุทรสาครมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ น่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน เช่น แหล่งผลิตเบญจรงค์ นากุ้ง นาเกลือ,บ้านปากคลองประมง,แหล่งดูนกชาย เลนโคกขาม แหล่งดูนกชายเลนโคกขาม แหล่งผลิตเบญจรงค์ ตําบลนาดี นาเกลือ
  • 17. 17 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ มีความงดงามและ ทรงคุณค่า ซึ่งบรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬา นอกนจากจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัย ไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหว พริบปฎิภาน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็น หมู่คณะ ทําให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง มี ความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน้ําใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตํานาน และความทรงจํา และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ ตาม แต่ด้วยความสํานึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิ ปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป
  • 18. 18 กีฬาว่าวไทย คําว่า”ว่าว”เป็นคําที่คนไทยทุกชนชั้นทุกสมัยคุ้นเคยและสัมผัสมาตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน ข้าราชบริพารและพระมหากษัตริย์ แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึงว่าวจุฬา-ปักเป้า ซึ่งเป็นว่าว เอกลักษณ์ของไทย ซึ่งแสดงถึงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งยังเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ใน สมัยโบราณที่พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีต ทรงโปรดปรานและจัดให้มีการแข่งขันหน้าพระที่นั่งอีก ด้วย การเล่นว่าวในประเทศไทย มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย(พ.ศ.๑๗๘๑-๑๙๘๑) คือสมัยของพ่อกรุงศรี อินทราทิตย์ (หรือพระร่วง) ว่าวที่รู้จักกันมาก ได้แก่ "ว่าวหง่าว" หรือ”ว่าวดุ๋ยดุ่ย” ซึ่งจะใช้ชักขึ้นใน พิธี "แคลง" ทุกหนทุกแห่ง เป็นความเชื่อของประชาชนในสมัยนั้นว่าเพื่อเป็นการเรียกลมหรือความ โชคดีให้เกิดขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "ว่าวหง่าว" เป็นว่าวที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) คําว่า “ว่าวจุฬา" ปรากฏชื่อขึ้นในสมัยนี้ และยังสามารถช่วยในการรบได้ชนะ กล่าวคือ ได้นําว่าวจุฬาขึ้นและผูกหม้อกระสุนดินดําโดยใช้ชนวนถ่วงเวลาและชักให้ข้ามไป ในแดนของ ฝ่ายตรงข้าม ทําให้เกิดระเบิดไฟไหม้ขึ้น ทหารฝ่ายอยุธยาก็เข้าเมืองได้ สมัยแผ่นดินของ พระพุทธเจ้าเสือซึ่งโปรดการชกมวยแล้วยังโปรดการเล่นว่าวและคว้าจุฬาปักเป้ากับ ข้าราชบริพาร เสมอๆ คําว่า "ว่าวปักเป้า" จึงเป็นว่าวอีกชนิดหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสมัยนี้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ตั้งแต่นั้นมา
  • 19. 19 สมัยรัตนโกสินทร์ ในราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการ แข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้ามาก จัดการแข่งขันกลางแจ้ง (ท้องสนามหลวงในปัจจุบัน) เป็นที่สนุกสนาน เมื่อเวลาที่ว่าวสายใดชนะพระองค์ ก็ทรงโปรดพระราชทานถ้วยรางวัลให้การแข่งขันเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้นมา โดยพระองค์เสด็จเป็นองค์ประธานในการแข่งขันเป็นประจําทุกปี จนสิ้นรัช สมัยของพระองค์ ฉะนั้นจึงจัดได้ว่าว่าวจุฬา-ปักเป้า เป็น ว่าวเอกลักษณ์ของชาติไทยชาติเดียวเท่านั้นที่ สามารถนํามาเล่นใช้ต่อสู้กันได้ในปัจจุบันได้ จัดการแข่งขันว่าว "จุฬา-ปักเป้า" ขึ้นเป็น ประเพณีของกีฬาไทย โดยใช้ชื่อว่า "งานประเพณี กีฬาไทย" ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งจัดการแข่งขัน กีฬาของไทย อาทิเช่น ตะกร้อ กระบี่กระบอง หมากรุก และที่สําคัญคือ การแข่งขันว่าวจุฬา- ปักเป้า ซึ่งงานนี้จัดโดยสมาคมกีฬาไทยในพระ บรมราชินูปถัมภ์ และยังได้รับความร่วมมือจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานของ ภาครัฐบาลและเอกชนอื่นๆ ร่วมกันอีกด้วย
  • 20. 20 กติกาการแข่งขันว่าว จุฬาส่ายเร็ว สนามแข่งขัน - ให้มีพื้นที่โล่งกว้าง ขนาดประมาณ 80 เมตร X 100 เมตร ( กว้าง X ยาว ) ขนาดของว่าวจุฬาส่ายเร็วที่ใช้ในการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 ขนาด - ขนาดของอกว่าว 50 เซนติเมตร - ขนาดของอกว่าว 75 เซนติเมตร - ขนาดของอกว่าว 100 เซนติเมตร ส่วนอื่น ๆ ของตัวว่าวไม่กําหนด ในการแข่งขันแต่ละคราว คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจ พิจารณาไม่จัดแข่งขันว่าวขนาดใดก็ได้ ตามความเหมาะสม หลักเกณฑ์การแข่งขัน การนําว่าวขั้นแข่งขันแต่ละรอบให้นําขึ้นกลุ่มละ 10-20 ตัวหรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการที่ จะกําหนดตามความเหมาะสม ว่าวแต่ละกลุ่มที่ขึ้นแข่งขันให้ลอยตัวอยูในอากาศ ครั้งละไม่เกิน 20 นาที เพื่อให้กรรมการพิจารณา ตัดสิน ว่าวตัวใดขึ้นไม่ได้ ภายใน 5 นาที เมื่อเริ่ม สัญญาณ กรรมการจะไม่พิจารณาตัดสิน และให้ ตัดออกจากการแข่งขัน เมื่อว่าวขึ้นสูงพอประมาณ และยืนได้แล้วให้นําสายว่าวไปผูกหลัก ให้สายว่าวแต่ละสายรอกรรมการ มาตัดสิน ห้ามมีการกระทําใด ๆ ที่จะทําให้ว่าวส่าย (กระตุกสายว่าวช่วย) เมื่อหมดเวลาแล้วกรรมการจะให้สัญญาณหมดเวลา ให้ว่าวทุกสายนําว่าวลงทันที กรรมการจะประกาศผลว่าวที่ผ่านการแข่งขัน และผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ เมื่อพิจารณาตัดสินเสร็จ สิ้นทุกกลุ่มแล้ว
  • 21. 21 การตัดสินการแข่งขันว่าวแต่ละครั้ง จะแบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ · รอบคัดเลือก · รอบรองชนะเลิศ · รอบชิงชนะเลิศ การตัดสินแต่ละรอบ คณะกรรมการจะเป็นผู้กาหนดคัดว่าวที่ชนะการแข่งขัน รอบละกี่ตัว โดยจะ ํ ประกาศแจ้งให้ทราบก่อนการแข่งขัน กรรมการตัดสิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งจํานวน 5 ท่าน โดยมีคะแนนการตัดสินท่านล่ะ 24 คะแนน การให้คะแนน และการตัดสิน การให้คะแนน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1. ว่าวตัวใดสูงเร็ว เห็นได้ชัดเจนว่าเหนือกว่าตัวอื่น ๆ ให้ 6 คะแนน 2. ว่าวตัวใดยืนได้เร็ว เห็นได้ชัดเจนว่าเหนือกว่าตัวอื่น ๆ ให้ 8 คะแนน 3. ว่าวตัวใดส่ายเร็วและนิ่ง (ไม่ส่ายไปมา) เห็นได้ชัดเจนว่าเหนือกว่าตัวอื่นๆให้ 10 คะแนน รวม 24 คะแนน การตัดสิน ให้นําคะแนนรวมจากกรรมการทั้ง 5 ท่าน มาเรียงลําดับ และตัดคะแนนที่สูงที่สุดและ คะแนนต่ําสุดออก รวมคะแนนที่เหลือแล้วหารด้วย 3 ให้เป็นคะแนนของนักกีฬาผู้นั้น จากนั้นให้นํา คะแนนที่ได้แต่ละสายว่าว มาเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย และให้คัดว่าวตัวที่ได้คะแนนสูงสุด เรียงลําดับลงมา ตามจํานวนที่กรรมการต้องการ ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน ให้พิจารณาดังต่อไปนี้ ให้ดูจากคะแนนส่ายเร็ว (ข้อ 3) ถ้าว่าวตัวใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก ให้ดู จากคะแนนยืนเร็ว (ข้อ 2 ) ถ้าว่าวตัวใดมีคะแนนมากกว่าให้เป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก ให้ดูจากคะแนนสูงเร็ว (ข้อ 1 ) ถ้าว่าวตัวใดมีคะแนนมากกว่าให้เป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีกให้ครองตําแหน่งชนะร่วมกัน และให้เลื่อนคะแนนลําดับรองขึ้นมาเรียงเป็น อันดับ 1 หรือ 2 หรือ 3 ต่อไป
  • 22. 22 รางวัลการแข่งขัน ตัดสินผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละประเภทตามขนาดอกว่าว ดังนี้ § รางวัลชนะเลิศอันดับ § รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง § รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง § ประกาศนียบัตรให้กับรางวัลชมเชย การตีความในกติกา การวินิจฉัยปัญหาใดๆ หรือการตีความใด ๆ ที่เกี่ยวกับกติกาการแข่งขัน หรือการชี้ขาดการกระทําของ ผู้เข้าแข่งขัน นอกจากที่ระบุไว้ในกติกานี้ ให้นายสนามซึ่งได้รับการ แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ดแล ู ควบคุมการแข่งขันเป็นผู้ชี้ขาด และถือเป็นข้อยุติ หมายเหตุ ให้ผู้แข่งขัน นําว่าวมาผูกคอซุง พร้อมๆ กันต่อหน้าคณะกรรมการ ก่อนเริ่มการแข่งขัน
  • 23. 23
  • 24. 24 จังหวัดสมุทรสงครามหรือเมือง แม่กลอง ในอดีตคือแขวงบางช้างของเมือง ราชบุรี แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่ ตําบลบางช้าง อําเภออัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการ ปกครองในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)) แขวง บางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก ต่อมาปลาย สมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุง ธนบุรีแขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัด ราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง" สมุทรสงครามมีความสําคัญทาง ประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตําบล บางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรง รวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจน ข้าศึกพ่ายแพ้ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้า มายังไทยครั้งสําคัญในช่วงเวลานั้น ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏ แน่ชัดแต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ.2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือ กฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกําหนดเรื่องการเรียกสินไหมพินัยความได้ปรากฏชื่อเมืองแม่ กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการอยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกําหนดซึ่งตราขึ้น ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิ เบศท์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจ กราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมือง สมุทรปราการทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ (ปุถุชน บุดดาหวัง , 2543, หน้า 9) จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลนตะกอนบริเวณปาก แม่น้ํา เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ําขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม “แม่ กลอง” นอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้าง (ดูเพิ่มเติม ณ บางช้าง) สมเด็จพระอมริน ทราบรมราชินีซึ่งทรงเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบรม ราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ ทรงมีพระนิเวศน์สถานดั้งเดิม อยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่ง อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยพระราชโอรสสอง พระองค์แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาทรงหนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์สุโขทัย มีการสืบทอด นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และการทําอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้น มา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีที่แขวงบาง ช้างทรงรับถ่ายถอดการทําอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทําอาหารใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและ ว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์
  • 25. 25 สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดสมุทรสงครามมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน เช่น ตลาดร่มหุบ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร , ,ตลาดน้ําอัมพะวา ตลาดร่มหุบ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตลาดน้ําอัมพะวา
  • 26. 26 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย จังหวัดสมุทรสงคราม มีกีฬา และการละเล่นพื้นบ้านที่หลากหลาย อาทิเช่น มวยทะเล กระอั้วแทงควาย ถีบกระดานเลน หยอดหอยหลอด ถีบกระดานเลน หยอดหอยหลอด
  • 27. 27 กระอั้วแทงควาย ศิลปะการแสดงไทย ที่คนไทยอาจยังไม่เคยดู กระอั้วแทงควาย เป็นการละเล่นของชาว ทวายหรือพม่า มอญ ตามตํานานกล่าวว่า นางกระอั้วฝันว่าได้กินแกงตับควายอย่าง เอร็ดอร่อย จึงรบเร้าตาโสผู้สามี ให้ไปหาตับ ควายมาแกง ทั้งสองจึงเข้าป่าไป แทงควาย มีโคลงครั้งกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงการเล่นกระอั้วแทงควายว่า จรีกางห่มหอกเลื่อง แทงเขน สองประยุทธยืนยัน ย่องย้อง นางกระอั้วเพ่งผัวเอน ควายเสี่ยว สองประจันมือจ้อง จ่อแทง ชื่อการเล่นเรียกว่า "กระอั้วแทงควาย" แต่ในการเล่นนั้น สามีเป็นผู้ต่อสู้กับควาย หรืออาจเป็นไปได้ว่า ขณะที่ตาโสผู้สามีกําลังต่อสู้กับควายชุลมุนอยู่ นางกระอั้วเห็นได้ทีก็เลยแทงควายตายก็เป็นได้ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า กระอั้วเป็นสามีนางกระแอ ชื่อกระอั้ว และ กระแอเป็นภาษาทวาย ดังนั้นกระอั้วแทงควายจึงตรงกับ การเล่นนี้มากกว่าตํานานทางไทย ผู้เล่นกระอั้วแทงควายจะมี 4 คน คือ ตากระอั้ว นางกระแอ และควาย (มีคนอยู่ตอนหัวเป็น ขาหน้าคนหนึ่ง และอยู่ตอนท้ายเป็นขาหลังอีกคนหนึ่ง) การแต่งกาย นางกระอั้วสวมเสื้อกระเหรี่ยง ยาว ชายเสื้อถึงน่อง เกล้าผมสูง ถือหอกใบกว้างทําด้วยกระดาษ นางกระแอนุ่งผ้าถุง สวมเสื้อแขน กระบอก ห่มผ้าแถบสีแดงห้อยบ่า ผัดหน้าขาว แต้มไฝเม็ดใหญ่ สวมผมปีกหรือเกล้าผมสูง กระเดียด กระทาย ถือร่ม การแสดงมุ่งตลกขบขันเป็นสําคัญ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า "ดูเป็นเล่นจําอวดอย่างต่ํา" แสดงการล่อ ไล่ ต่อสู้ และหลบหลีก ในที่สุดก็ฆ่าควายได้ จึงผ่าท้องเอา ตับไป
  • 28. 28 กระอั้วแทงควาย กระอั้วแทงควายเป็นการเล่นของทวายหรือ ของพม่า มอญ มีผู้เล่น ๔ คน คําว่า "กระอั้ว" ไม่ใช่ ภาษาไทย เป็นภาษาทวาย เป็นชื่อสามีของนาง" กะแอ" ผู้เล่นชุดนี้มี ๔ คน คือ ตากระอั้ว นางกะแอ และความซึ่งใช้ผู้เล่น ๒ คน อยู่ในชุดควาย คือ เป็น ตอนหัวควาย ๑ คน และตอนท้ายอีก ๑ คน ผู้เล่น เป็นกระอั้วใส่เสื้อกะเหรี่ยงยาว ชายเสื้อคลุมถึงน่อง หัวใส่ลองเป็นเกล้าผมสูง ถือหอกใหญ่ ใบกว้าง ทํา ด้วยกระดาษ ผู้ที่เล่นเป็นนางกะแอ แต่งตัวเป็น ผู้หญิง ผัดหน้าขาว แต้มไฝเม็ดใหญ่ หัวสวมผมปีก นุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อเอว ห่มผ้าแถบสีแดงห้อยบ่า กระเดียดกระทาย ถือร่ม ในขณะเล่นใช้ร่มคอยค้ําควายไว้เพื่อป้องกันตัว การดําเนินการแสดงไม่มีอะไรแสดงว่ายุ่งยากมากนัก เพราะเป็นการเล่นสนุกๆ ให้เกิดความ ขบขันมากกว่าอย่างอื่น เป็นการแสดงการล่าควาย ในระหว่างที่แสดงก็ทําท่าขบขันต่างๆ เช่น การ หลอกล่อ หลบหนี การไล่ติดตามระหว่างควายและตากระอั้ว ประกอบกับการทําท่าทาง ตกอกตกใจ ของนางกะแอจนผ้าห่มหลุดลุ่ย เป็นที่สนุกขบขันเฮฮา และท่าทางดีใจของสองผัวเมียเมื่อฆ่าควายได้ สําเร็จ เป็นต้น นอกจากการละเล่นทั้ง ๕ อย่างแล้ว ยังมีการรําเบิกโรงชื่อว่า "ประเลง" คําว่าประเลงอาจมา จากคําว่า "บรรเลง" ปั จจุบันการเล่นกระอัวแทงควายนั น ้ ้ ไม่ได ้มีการเล่นแล ้ว จะหาดูได ้ก็ในงานราชพิธี ิ ึ่ ่ ่ หรือตามงานแสดงศลปะ ซงทีผานมาได ้นามา แสดงในงาน "มหรสพสมโภชการพระเมรุ" สมเด็จพระพีนางฯ ทีจะจัดขึนทีสนามหลวง ่ ่ ้ ่
  • 29. 29
  • 30. 30 นครปฐม เป็นอู่อารยธรรมสําคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความ เจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสําคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐม เป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลาง ของความเจริญ มีชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจํานวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้ง แล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ําที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้ง หลักแหล่งอยู่ริมน้ํา และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึง กลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้น เมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย”์ ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชา เพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น
  • 31. 31 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟ สายใต้ผ่านเมือง นครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่า รก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตําบลท่า นา อําเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระ ปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ ครั้งในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว ่ โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่ เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลอง เจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้าน ทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ใน ปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม) สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐมมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลาย อย่างด้วยกัน เช่นสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ,ตลาดท่านา, พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย,วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร
  • 32. 32 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย เพลงปรบไก่ เพลงปรบไก่ เป็นการละเล่นบ้านของชาวบ้านจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีเล่นอยู่ที่ ตําบลสระกะ เทียม อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ผู้ที่เป็นแม่เพลง ในการเล่นเพลงปรกไก่ ชื่อนางกุหลาบ เครืออยู่ อยู่บ้านเลขที่ ๑๖ หมู่ที่ ๘ ตําบลสระกะเทียม อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อุปกรณ์และวิธีการเล่น : เริ่มต้นด้วยผู้เล่นเพลงปรบไก่ ประมาณ ๑๐ คน นั่งยอง ๆ ลง ตรงบริเวณลานหน้าบ้าน หรือลานวัดหรือหน้าศาลเจ้าที่มาแก้บน พนมมือ แล้วแม่ เพลงจะร้องบทไหว้ครู โดยแม่เพลงร้องนําแล้วลูกคู่ตามที ละวรรค เมื่อจบบทไหว้ครูแล้วจะลุกขึ้นยืนเป็นวงกลม แล้วเริ่มร้องเพลงปรบไก่โดยแม่เพลง หรือพ่อเพลงจะเป็น ผู้ร้องลูกคู่จะปรบมือเป็นจังหวะ และในตอนจบบทลูกคู่จะ ร้องเพลงรับว่า "ฉา ตะละลา ฉาฉา ฉาฉา ชะ" แล้วร้อง ทวนวรรคสุดท้ายที่จบบทด้วยในขณะที่ร้องเพลงทุกคนจะ เดินช้า ๆ เข้าจังหวะที่ปรบมือเดินเป็นวงไปเรื่อย ๆ เนื้อ ร้องเพลงปรบไก่บทหนึ่งจะมี ประมาณ ๓-๔ บท และลูกคู่จะต้องรับทุกบท เมื่อจบบทของทํานอง เพลงปรบไก่ ๓-๔ บท ทุกคนก็จะหยุดเดินและแม่เพลงหรือพ่อเพลงก็จะร้องส่งเพลง โดยจะร้องจาก เนื้อหาของวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ เช่น สังข์ทอง พระอภัยมณี ฯลฯ ร้องเพียงสั้น ๆ บทหนึ่งขณะที่พ่อ เพลงร้องบนส่งนี้ ลูกคู่ในคณะบางคนก็จะร่ายรําทําท่าไปตามเนื้อเรื่องที่ร้องจนจบบทร้องส่งก็ เรียกว่า จบ "๑ วง" แล้วก็ร้องเพลงปรบไก่แต่ละครั้งมักจะเป็นการแก้บนและการร้องครั้งหนึ่ง ๆ จะ ร้องสักกี่ "วง" ก็ได้สําหรับเนื้อร้องของเพลงปรบไก่ที่เล่นกันในพื้นบ้านจะเป็นข้อความในลักษณะเป็น การว่าโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง ไม่ค่อยเป็นเกี้ยวพาราสี และสํานวนภาษาที่ใช้ก็จะค่อนข้างหยาบ คือจะว่ากันตรง ๆ ไม่อ้อมค้อมหรือเลี่ยง เป็นแบบสองแง่สองง่ามเหมือนเพลงพื้นบ้านชนิดอื่นและ เวลาร้องมักจะกระแทกเสียงห้วนสั้นในคําท้ายวรรค ตัวอย่างเนื้อเพลงปรบไก่ แม่เพลง : เล่นเพลง ปรบไก่ มาจนหัวไหล่ ยอกได้ เงินบาท ก็ไม่ถึง เงินสลึง ก็ไม่ออก จะเล่นทําไม ให้หัวไหล่มันยอก ลูกคู่รับ : เอ่ย เออ เอ่อ เอ่ย จะเล่นทําไม ให้หัวไหล่ มันยอก ฉา ตะลาลา ฉ่า ฉ่า ฉ่า ฉ่า ชะ การแต่งกาย : ก็แต่งแบบพื้นบ้าน คือนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อแขนสั้น มีผ้าคาดเอว ทั้งชายและ หญิงแต่งแบบเดียวกัน
  • 33. 33 โอกาสหรือเวลาที่เล่น : สําหรับโอกาสที่เล่น เพลงปรบไก่ ในสมัยก่อนจะเป็นการเล่นเพื่อแก้บน แต่ปัจจุบันนี้ การเล่นเพลงปรบไก่ไม่ค่อย แพร่หลาย มักจะมีการเล่นโอกาสที่เป็นงานแสดง วัฒนธรรมของสถานศึกษาต่างๆ หรือ ของสถานที่ ราชการที่ต้องการจะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้ คุณค่า / แนวคิด/ สาระ เป็นการละเล่นที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน สามัคคี ในหมู่ประชาชนละแวกเดียวกันและเป็นการแสดงที่ เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
  • 34. 34
  • 35. 35 เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมา ตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่ สําคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่าย ตะวันตก มีการติดต่อค้าขายกับ ต่างประเทศ มีหลักฐานชื่อเรียกปรากฏใน หนังสือชาวต่างประเทศ เช่น ชาวฮอลันดา เรียกว่า “พิพรีย” ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า ์ “พิพพีล์” และ “ฟิฟรี” จึงสันนิษฐานกัน ว่าชื่อ “เมืองพริบพรี” ซึ่งเป็นชื่อเดิมของ เมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดพริบ พลี ที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด และที่วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งเสาชิงช้า อีกด้วย เพชรบุรี (ศรีชยวัชรบุร) เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ เคยเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ อาณาจักร ั ี หนึ่ง บางสมัยมีเจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระ บางสมัยอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของ อาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า เจ้าผู้ครองนครได้ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองจีนเป็นประจํา เพชรบุรีมี ปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น พระปรางค์ 5 ยอด ณ วัดมหาธาตุ วรวิหาร และปราสาทหินศิลาแลง ณ วัดกําแพงแลงเป็นต้น โดยที่มาของชื่อเมืองนั้นอาจเรียกตาม ตํานานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลาค่ําคืนที่เขาแด่น ทําให้ชาวบ้าน เข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้นจึงพากันไปค้นหาแต่ก็ไม่พบ จึงได้ออกค้นหาในเวลากลางคืนแล้วใช้ ปูนที่ใช้สําหรับกินหมากป้ายเป็นตําหนิไว้เพื่อมาค้นหาในเวลากลางวัน แต่ก็ไม่พบ บ้างก็ว่าเรียกตาม ชื่อของแม่น้ําเพชรบุรี เมืองเพชรบุรีมีศิลปะวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็น บ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น ศิลปะปูนปั้น เมื่อถึงยุคของอาณาจักรสุโขทัย แม้อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคําแหงแม้จะมีอํานาจ ครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีกยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์ ็ เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชย ปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรี อยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุม เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ อํานาจใน ส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอํานาจจากส่วนกลาง จึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม ในสมัยพระมหาธรรมราชา พ.ศ. 2113 พระยาละแวก เจ้าเมืองเขมร ยกกองทัพมาที่อยุธยา มาสู้กับกองทัพอยุธยา สู้ไม่ได้ แพ้ หนีไป อีก 5 ปีต่อมา พ.ศ. 2118พระยาละแวกยกทัพเรือมาที่ อยุธยาอีก สู้อยุธยาไม่ได้อีก ยกกองทัพกลับไป พ.ศ. 2121 ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตี เมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ พ.ศ. 2124 อยุธยาติดพันรบกับกบฏ พระยาละแวกก็ เลยชิงยกกองทัพเรือมาเองมีกําลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ โดยพ.ศ. 2136 สมเด็จพระนเรศวรฯ พิจารณานิสัย สันดานของเขมรแล้ว เจ็บช้ําพระทัย จึงยกกองทัพไปตีเขมร จับครอบครัวเอาไว้แล้ว มาไว้ที่อยุธยา ตัดคอล้างพระบาท เพราะชอบฉกฉวยโอกาสขณะที่อยุธยาตีติดทัพที่อื่น แต่พระองค์ ท่านยังมีพระเมตตา ให้โอกาสลูกชายคนโตของพระยาละแวก กลับไปปกครองเขมรต่อ แล้วให้ระบุว่า
  • 36. 36 จะต้องไม่เป็นกบฏต่ออยุธยา และต้องเป็นเมืองขึ้นของสยามต่อไป และเนื่องจากทรงโปรดปราน เมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกําลังสําคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครัง ้ นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่ง แข็งเมือง พระยา เพชรบุรีได้เป็นกําลังสําคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสํานักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมือง เพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่ พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง เพชรบุรีในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทย ยังคงทําสงครามกับพม่ามาโดยตลอดซึ่ง เจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทํา สงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราช สํานักจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัว เมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ําทะเลอาจ บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ขึ้นที่ชายหาดชะอําเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์
  • 37. 37 สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน เช่น น้ําพุร้อนหนองหญ้าปล้อง, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน, เยี่ยมชมแหล่งผลิตน้ําตาลโตนดและน้ําตาลสดธรรมชาติ, ศูน วัฒนธรรมไทยทรงดําหรือลาวโซ่ง
  • 38. 38 การละเล่น และกีฬาพื้นบ้านไทย และนอกจากจะมีสถานที่ที่สําคัญต่อประวัติศาสตร์แล้วจังหวัดเพชรบุรียังมีการละเล่นกีฬาพื้นบ้านที่ สืบสานต่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต หลายชนิดกีฬา ด้วยกัน อาทิเช่น การแข่งวัวลาน วัวเทียมเกวียน การแข่งวัวเทียมเกวียน กีฬาวัวเทียมเกวียนของชาวอําเภอบ้านลาด เริ่ม มาจากสิ้นสุดฤดูการทํานาแล้วจึงได้เอาเกวียนที่ ไม่ได้ใช้งานมาวิ่งแข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันเรีกหมู่บ้าน ที่เคยเป็นลาน แข่งขันว่า " หัวสนาม " บ้าง " ท้าย สนาม " " ต้นสนาม " เป็นต้น การแข่งขันจะ ผลัดเปลี่ยนกันไป ในแต่ละท้องที่ ทํานองเอาแขก ตอบแทนที่เคยมาร่วมให้ความสนุกครึกครื้น การ แข่งขันจะเริ่มช่วงเวลาแดดร่มลมตก พอพลบค่ําก็ เลิก ส่วนมากมักนําเกวียนเก่าที่เลิกใช้งานแล้วมา ดัดแปลงเพื่อการแข่งขันโดยใช้วัวเทียมเกวียน เล่มๆ 2 ตัว การแข่งขันจะจับกันเป็นคู่แข่งขันกัน โดยใช้ระยะทางวิ่งทางตรงประมาณ 100 เมตร ( วิ่งจริง 62 เมตร ) ครึ่งหนึ่งของทางวิ่งจะต้องจัดทํารั้วเตี้ยๆ กันไม่ให้วัววิ่งออกนอกลู่ ส่วนมากรั้วจะ ใช้ทางตาลปักห่างๆ เป็นแนว 2 ข้างทางวิ่ง การปล่อยวัวมีเส้นเริ่มเรียกว่า ผัง มีนายสนามเป็น ผู้ดูแล ถ้าให้สัญญาณแล้วเกวียนแต่ละเล่มออกไม่พร้อมกัน ให้เริ่มใหม่ และถ้าเกวียนวิ่งออกนอกลู่ ซึ่งเรียกว่า เสีย สนาม ก็ให้เริ่มต้นใหม่เช่นกัน การแข่งขันนอกจากวัวจะวิ่ง เร็วแล้ว คนบังคับวัวที่คอยลง ปะฏักก็สําคัญ เพราะ เป็นการกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกําลังจนถึงเส้นชัย การเลือกบ่า วัว ( วัวบางตัวถนัดบ่าซ้าย หรือบ่าขวาไม่เหมือนกัน ) เลือกคนแทงวัว ( คนแทงวัวทําหน้าที่เหมือนจ้อกกี้ลงแซ่ แข่งม้า ) การแพ้ชนะจะเป็นไปตามกติกาที่ตกลงกัน กรณี ชนะต้องชนะแบบขาดลํา ถ้าคู่คี่ หรือเกวียนสะกันอยู่ และ ถูกอีกฝ่ายหนึ่ง ลางจนถึงเส้นชัย( เรียกว่าเฉียบ ) ไม่ถือเป็นการชนะ สําหรับคนแทงปฏักวัว หรือ แทงวัว เจ้าของวัวต้องหามาเอง จําเป็นจะต้องหาคนที่ ชํานาญเพราะจะต้องกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกําลัง ไปยังเส้นชัย การเล่นวัวเทียมเกวียนอาจมีการเดิมพันอยู่บ้าง ระหว่างเจ้าของวัว กับคนดู แต่มีการได้ เสียกันเพียงเล็กน้อย เช่า เดิมพันด้วยสุรา สอง สามขวด ความสนุกสนานจึงอยู่ที่วิถีชีวิตที่เป็นลูกทุ่ง ใกล้ชิดกับวัว สามารถบังคับวัวในการทํางาน และการแข่งขัน การแข่งขันวัวเทียมเกวียน ได้จัดให้มี การแข่งขันบริเวณหน้าเขาวังครั้งแรก ในสมัยรัชการที่ 5