SlideShare a Scribd company logo
1 of 84
การตอบแทนพระคุณ  ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่า นายแพทย์สุรศักดิ์  โควสุภัทร์ นายแพทย์  9  ด้านเวชกรรมป้องกัน หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม  โรงพยาบาลหนองคาย
 
 
 
ท่าน ออกกำลังกาย เป็นประจำหรือไม่ ท่านรู้สึกว่าหลงๆลืมๆ บ่อยหรือไม่ ท่านได้ไปเที่ยวงานพืชสวนโลกหรือไม่ ท่านเคยไปนมัสการพระธาตุดอยกองมูหรือไม่
คุณแม่ เมื่ออายุ  74  ปีอยู่ดีๆก็ไม่พูด  3   วัน ปัจจุบัน คุณแม่อายุ  78  ปี พูดคุยเป็นปกติ ไปเที่ยวงานพืชสวนโลก ไปนมัสการพระธาตุดอยกองมู เดินออกกำลังกายวันละ  1  ชั่วโมง เดินไปด้วย ยกแขนไปด้วย
ชีวิต คุณยายบังอร ผู้ที่สังคมควรศึกษา เพื่อหาทางเยียวยา ป้องกันไม่ให้มีผู้ประสบเคราะห์กรรม เฉกเช่นคุณยายบังอรอีกต่อไป และเพื่อสรรสร้างสังคมเอื้ออาทร เต็มเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา
คุณยายบังอร  V.S.  ธรรมชาติผู้สูงอายุ 1.  สุขภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยให้ยืน เดิน หรือ นั่งนานๆ 2.  ไม่เอื้ออำนวยให้อยู่ในที่สถานที่แออัด ยัดเยียด การระบายอากาศไม่ดี หรือสถานที่มีผู้ป่วยด้วย โรคติดต่อ เพราะความต้านทานต่ำ 3.  ผู้สูงอายุบางคนช่วยเหลือตนเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือบางคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย  ต้องมีคนคอยดูแล
ธรรมชาติผู้สูงอายุ   ( ต่อ ) 4.  ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาเรื่องสายตา  และการ ได้ยิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้จากการ ได้รับสุขศึกษา 5.  ผู้สูงอายุบางคน มีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ร่วมกัน
ยายเฮือง แบบอย่างของ ผู้ได้รับผลประโยชน์นับอนันต์ จาก คำพูดเพียงไม่กี่คำ
เริ่มต้นจาก บ้านของเรา ผู้สูงอายุในบ้าน พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ผู้สูงอายุในชุมชน และในสังคม
“   พระอรหันต์องค์แท้อยู่ที่บ้าน เราไม่ต้องเสาะแสวงหาใครที่ไหน ให้ลำบาก  ก็ชายชรา หญิงชรา ผู้มีหน้าตาเหี่ยวย่นที่บ้านนั้นแลคือ อรหันต์องค์แท้ของลูก ” พ่อ แม่ คือ บุคคลสำคัญที่สุดในโลกสำหรับลูก พ่อ แม่ คือ ผู้ให้ตลอดกาล  พ่อแม่คือผู้สร้างลมหายใจให้กับลูกแก่นแท้แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่คือ รักจากพ่อและแม่
พระปัญญานันทภิกขุ ท่านสอนไว้ว่า  คนที่ม ี ความกตัญญูกตเวทีรับรองว่า ไม่มีความ ตกต่ำในชีวิตการงาน ย่อมเจริญก้าวหน้า คนที่เจริญทั้งหลายล้วนแต่เป็นคนรักพ่อ บูชาแม่ เอาใจใส่พ่อแม่ของพวกเรา  จงมีความกตัญญูกตเวที ต่อพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้า ด้วยการหมั่นเอาใจใส่ดูแลท่านให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ ตามหน้าที่ของเรา นี่เรียกว่า “เลี้ยงจิตใจของท่าน”
เราจะทำอะไรเป็นการตอบแทนพระคุณท่าน  ก็ให้รีบทำเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ร่วมกับเรา พ่อแม คือผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่าสำหรับลูก ผู้สูงอายุ คือ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่าสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคม
“ ในการแก้ปัญหาของบ้านเมืองนั้น ให้ยึดหลักสำคัญ  3  ประการคือ   เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รู้เร็ว รู้ดี รู้วิธี
พัฒนา บทบาทของประชาชน
พัฒนา บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตร ภาครัฐ ภาคเอกชน  ภาคประชาชน สื่อมวลชน   ผู้มีส่วนร่วมทุกคนต้อง เริ่มจากมีความรู้
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
การชะลอความเสื่อมมีคุณค่านับอนันต์ 30  ปี อวัยวะทุกอย่างในร่างกายจะเริ่มมีความเสื่อม ประโยชน์ที่ได้จากการชะลอความเสื่อม 1.  ร่างกายแข็งแรง 2. ไม่เจ็บป่วย ถ้าเจ็บป่วยอาการก็ไม่รุนแรง 3. แก่ช้าลง 4. ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต  สูงโรคหัวใจ โรคอ้วน โรค ไขมันในเลือดสูง  โรคกระดูกพรุน  โรคความจำเสื่อม โรคอัมพาต
วิธีการชะลอความเสื่อม 1.  ส่งเสริมสุขภาพจิต 2.  ส่งเสริมสุขภาพกาย  3.  บริโภคถูกต้องตามหลักโภชนาการเหมาะสมกับวัย 4.  หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะบั่นทอนสุขภาพ   5.  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นผลดีต่อสุขภาพ และไม่ก่อให้ เกิดปัญหาสุขภาพ  6.  จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามขีดความ สามารถที่ทำได้  7.  ควรตรวจเช็คสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 8.  ผู้มีโรคประจำตัว ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด
1.  ส่งเสริมสุขภาพจิต การที่มีสุขภาพจิตที่ดี เป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เราไม่ป่วยด้วยโรคทางกายมากมาย  การจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้ เราต้องขยันหมั่นเพียร ในการส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง  กายเราต้องบริหารฉันใด จิตก็ต้องบริหารฉันนั้น
2.  ส่งเสริมสุขภาพกาย -  ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3  วัน หรือวันเว้นวัน -  ออกกำลังกาย และเล่นกีฬา ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และวัย  เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ  รำมวยจีน ปั่นจักรยาน -  ไม่ควรเลือกวิธีออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก ๆ ในระยะเวลาอันสั้น การใช้แรงกายในชีวิตประจำวันหรือการทำงานอดิเรก ที่ใช้แรงกายอย่างพอเหมาะ  จะมีประโยชน์ทั้งทางด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
ควรหยุดออกกำลังกาย เมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้  คือ  อุปกรณ์กีฬาหรือรองเท้าชำรุด เมื่อยล้าหรือปวดกล้ามเนื้อมาก มึนงง เดินเซ จะเป็นลม   มีอาการเจ็บหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน หอบ พูดไม่ออก หรือพูดลำบาก หน้าซีด ตัวเขียว หรือมีอาการอื่นที่น่าสงสัยหรือไม่แน่ใจ
การออกกำลังกาย อาจก่อให้ เกิดโทษเนื่องจาก การออกกำลังกาย   ไม่ถูกวิธี  ไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย  ไม่ถูกเวลา  (  เช่น เวลาอากาศร้อนจัด หลังกินอาหารไม่นาน เวลาเป็นไข้หรือไม่สบาย   )  การไม่ยืดเส้นหรืออุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกาย ใช้อุปกรณ์กีฬาหรือเครื่องแต่ง กาย ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายมากเกินไปหรือหนักเกินไป
  สำหรับผู้รักการวิ่ง ควรวิ่งหนักเบาสลับกันไปในแต่ละวัน  เพื่อให้ร่างกายมีการพักฟื้นบ้าง ควรวิ่งลงเต็มฝ่าเท้า ไม่ควรวิ่งลงปลายเท้า  ยกเว้น การวิ่ง  100  หรือ  200  เมตร หลังควรตั้งตรง ไม่ควรโน้มตัวไปข้างหน้า ยกเว้น วิ่ง  100  หรือ  200  เมตร รองเท้า กางเกง และเสื้อ  ต้องเหมาะสม เสื้อควรเป็นผ้าที่ซับเหงื่อได้ดี  ไม่ควรเป็นไนล่อน  รองเท้าต้องไม่คับ หรือหลวมเกินไป
 
3.  บริโภคถูกต้องตามหลักโภชนาการเหมาะสมกับวัย  ควรหลีกเลี่ยง  อาหารหวาน อาหารมัน อาหารทอด ปาท่องโก๋ หรืออาหารทอดที่อมน้ำมันมาก  ของหวาน ขนมหวาน ผลไม้หวาน ควรหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีรสหวานมาก  หรือหวานมัน (  เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมนมข้นหวานทุกชนิด )  เนย ไข่แดง เครื่องในสัตว์ท สัตว์ทะเลทุกชนิด (  ยกเว้น ปลา   )  หนังเป็ด หนังไก่ กะทิ และไขมันสัตว ์
อย่ากินอาหารหรือขนมพวกแป้ง และข้าวเหนียวมาก  โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินข้าวเหนียวเลย เพราะน้ำลายจะเปลี่ยนแป้งและข้าวเป็นน้ำตาล   ควรกินข้าวจ้าวเกินครึ่งจานเพียงเล็กน้อย  ควรให้อิ่มเพราะผัก ไข่ขาว ปลา และเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ติดมัน ถ้าเป็นคนอ้วนหรือคนที่กินจุ  ควรดื่มน้ำก่อนกินข้าว  1  แก้ว และหลังกินข้าว  1  แก้ว อาหารมื้อเย็นควรกินก่อน  18.00  น .  เพื่อจะได้ห่างจากเวลานอนนานพอสมควร
  ควรกิน   ผัก ผลไม้ ( ชนิดที่ไม่หวานมาก  ) เช่น  ฝรั่ง  มันแกว แก้วมังกร  พุทรา ชมพู่  แอปเปิ้ล  ให้มาก ๆ กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ไข่ขาว เนื้อปลา นมพร่องมันเนย  งาดำ งาขาว เต้าหู้ขาว  (  ไม่ใช่เต้าหู้สีเหลืองซึ่งใส่ไข่  ) เวลาทำอาหารควรใช้น้ำมันพืช ( ยกเว้นน้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ) ไม่ควรใช้น้ำมันจากสัตว์
4.  หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะบั่นทอนสุขภาพ ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด บุหรี่  สารเสพติด  การเที่ยวสถานเริงรมย์  ( ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอและได้รับ  สิ่งบั่นทอนสุขภาพ  )
5.  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นผลดีต่อ สุขภาพและไม่ก่อให้เกิดปัญหา  สุขภาพ  สิ่งแวดล้อมนี้หมายถึง  สิ่งแวดล้อมทาง  กายภาพ   ( อุณหภูมิ อากาศ แสง สี เสียง  )  สิ่งแวดล้อมทางเคมี   (  สารเคมีทุกชนิด )  สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ   (  สัตว์ก่อความรำคาญ หรือสัตว์ก่อโรค และเชื้อโรคทุกชนิด  )  ทั้งที่อยู่ในบ้าน นอกบ้าน ในตัวอาคาร และ  ในชุมชน
  กรณีผู้สูงอายุ  ควรจัดห้องนอนให้อยู่ชั้นล่าง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได ควรจัดทำราวให้จับตามฝาผนัง  เพื่อจะได้เกาะพยุงตัวโดยเฉพาะในห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว  เพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม ที่สำคัญคือ  ควรมีอากาศถ่ายเทสะดวกสบาย ปลอดโปร่ง
6.  จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก (   ตามขีดความสามารถที่ทำได้   ) แว่นตาสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตา  ฟันปลอม  มีไม้เท้าใช้พยุงเวลาเดิน มีเก้าอี้รถเข็นสำหรับ  ผู้สูงอายุที่เดินเองลำบาก หรือเดินเองไม่ได้
7. ควรตรวจเช็คสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ตรวจหาระดับน้ำตาล  ในเลือด ตรวจวัดความดันโลหิตตรวจสายตา (  อายุน้อยกว่า  60  ปี ตรวจปีละครั้ง  แต่ถ้ามากกว่า  60  ปี ควรตรวจทุก  6  เดือน  )
8.  กรณีมีโรคประจำตัว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เรื่อง  อาหารการกิน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพจิต และ ยา เป็นต้น
 
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
คนในชุมชนหรือสังคมควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างไร   1.  ควรให้เกียรติ ให้การยกย่อง ผู้สูงอายุในชุมชน 2.  ช่วยกันจัดให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 3.  คนในสังคม ควรมีน้ำใจ และให้ความช่วยเหลือแก่  ผู้สูงอายุ 4.  ควรจัดให้มีการให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดีอายุยืน ให้คำแนะนำตอบปัญหาสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุและให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่ผู้สูงอายุเฉพาะต่างหาก
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
 
ผู้สูงอายุ คือ ผู้งามเด่นเช่นอาทิตย์ ส่องชีวิต มวลชน คนทุกถิ่น เป็นความหวัง พลังขวัญ จรรโลงริน เป็นชีวิน พัฒนา เติบกล้าไป เพราะท่านคือ พลัง สังคมนี้ เป็นชีวี พัฒนา แกร่งกล้าได้ คือคุณค่า คู่โลกา ฟ้าอำไพ ผู้ก้าวไป เพื่อสรรสร้าง ทางความดี
กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ   กิจกรรม การออกกำลังกาย การเล่นดนตรี การทำบุญกุศล การ  ท่องเที่ยวทัศนศึกษา การจัดประกวดสุขภาพ  ผู้สูงอายุการแวะไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุในชุมชน   การทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์กิจกรรมวันสงกรานต์ หรือวันผู้สูงอายุแห่งชาติ   กิจกรรมวันปีใหม่วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติสำหรับ  ผู้สูงอายุที่มีความสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม ควรยกย่องให้เป็นบุคคลตัวอย่าง
เคล็ดลับกิน - อยู่ อย่างไรให้อายุยืน หลักในการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี ของชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข มี  12  ประการ  ดังนี้ คือ 1.   ส่งเสริมวิถีชีวิตอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย  พึ่งตนเองเป็นหลัก และใช้จ่ายอย่างประหยัด 2.   ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบสังคมในชนบท ส่งเสริมการเกษตรธรรมชาติ คนในเมืองควรเพราะปลูกพืชผัก  ไว้กินเอง เพื่อประหยัดและปลอดภัยจากการได้รับสารเคมี อีกทั้งช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ด้วย 3.   กินอย่างไทย ปรุงอาหารกินเองในบ้าน เลิกการกินอาหารแบบฝรั่งและอาหารจีน เพราะมีปริมาณ ไขมันและโปรตีนสูง เป็นสาเหตุของโรคอ้วน และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย
4.   กินข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ไม่กินน้ำตาลฟอกขาว  ( ควรกินน้ำตาลที่ยังไม่ฟอก ซึ่งจะมีสีน้ำตาล )  ไม่กินขนมหวาน ไม่ดื่มน้ำอัดลม 5.   ลดการกินไขมันจากสัตว์ น้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ และน้ำมันปาล์ม ควรใช้แต่น้ำมันพืช  ( ที่ไม่ใช่  น้ำมันจากมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม  ) 6.   ไม่ควรกินเนื้อสัตว์มากเกินความจำเป็น ผู้ใหญ่ให้กินไม่เกินวันละ  100  กรัม เด็กวัยเจริญเติบโต ให้กินไม่เกินวันละ  200  กรัม
7 .   กินผักสด ผลไม้สด ให้มาก เพราะเป็นแหล่งที่มาของเกลือแร่ วิตามิน และพลังแห่งชีวิต 8 .   ไม่กินอาหารขยะ เช่น บะหมี่ซอง ขนมกรุบกรอบ ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มอื่นใดที่มีแอลกอฮอล์  รณรงค์ให้ดื่มนมถั่วเหลือง ที่ไม่ใส่ครีมเทียม 9 .   ทารกต้องกินนมแม่ รณรงค์ให้ดื่มนมถั่วเหลืองที่ไม่ใส่ครีมเทียม สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะมีอายุยืนยาว ควรเลิกดื่มนม เพราะนมวัวและผลิตภัณฑ์นมเนย ให้โทษแก่ร่างกายมากกว่าให้ประโยชน์  ถ้าต้องการเสริม แคลเซี่ยม ให้กินกุ้งแห้ง ปลากรอบ กะปิ ปลาร้า ที่ทำอย่างถูกสุขลักษณะ  เต้าหู้  งาขาว และงาดำ
10  .   ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละไม่น้อยกว่า  30  นาที อย่างน้อยวันเว้นวัน เลือกการออกกำลังกายแบบตะวันออก เช่น ไทเก็ก โยคะ ฤาษีดัดตน เป็นต้น 11 .   รู้จักคลายเครียด ฝึกทำสมาธิ ขัดเกลาความคิดและจิตวิญญาณ ให้รู้จักพอ รู้จักให้ มีเมตตากรุณา 12 .   เรียนรู้วิธีรักษาสุขภาพด้วยตนเอง ใช้วิธีการต่างๆ ของวิถีสุขภาพแบบองค์รวม อย่างมีเหตุผล  ใช้ยา  เท่าที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และ  พฤติกรรมเพื่อการฟื้นคืนสุขภาพโดยเร็ว
 
หลักปฏิบัติ  5  อ .  สำหรับผู้สูงอายุ อ .  ที่หนึ่ง ซึ่งสำคัญ คือ  อาหาร ที่ย่อยง่าย  รับประทาน  อย่ารสจัด เนื้อ นม ไข่ ผัก ปลา  สารพัด แต่ไขสัตว์ งดดีกว่า อย่าเสียดาย อ .  ที่สอง  คือ  อาคาร  บ้านที่พัก ควรถือหลัก บันไดและพื้น อย่าลื่นง่าย เก้าอี้เตียง  มีไว้นั่ง  นอนสบาย ซองทั้งหลาย เข้าระเบียบ อย่ารกตา
อ .  ที่สาม คือ  ออกกำลังกาย เป็นการยืด เส้นสาย อย่างถูกท่า วิ่งลิวโลด กระโดดเต้น ตามกติกา เล่นกีฬา พักสมอง คล่องกายใจ อ .  ที่สี่  อารมณ์ดี  อยู่เสมอ   ไม่ป้ำเป๋อ ใฝ่ธรรม  นำนิสัย ถึงคราวงาน ทำการ งานว่องไว ถ้าคราวเล่น ปล่อยใจ ได้พักพิง อ .  ที่ห้า  ทำงานอดิเรก ดุจเป็นงาน ชิ้นเอก ควรทำยิ่ง ทำเมื่อไร ใจสงบ เมื่อนั้นจริง จึงเป็นสิ่ง คุ้มค่า น่าทำเอย
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ   6.1  โรคเบาหวาน ถ้าผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดอันตรายตามมามากมาย เช่น  อัมพาต ตาบอด  ไตวาย และโรคหัวใจ
หลักการรักษาและปฏิบัติตน  ของผู้ป่วย โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 1.   มีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มอย่างถูกต้อง 2.   มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3.   มีการกินยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง 4.   ควรมีการผ่อนคลายความเครียด มีการพักผ่อนที่เพียงพอ และไม่ทำงานหักโหมมากจน เกินไป
การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มสำหรับ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยง   อาหารต่อไปนี้ คือ อาหารหวาน อาหารมัน อาหารทอด ของหวาน ขนมหวาน  ผลไม้หวาน เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีรสหวานหรือหวานมัน  เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ไมโล โอวัลติน เป็นต้น ปาท่องโก๋หรือของทอดที่อมน้ำมันมากทุกชนิด ไข่แดง  เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ทะเลทุกชนิด หนังเป็ด หนังไก่ กะทิ เนย ไขมันสัตว์  น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว
ควรเน้นกินอาหารประเภทต้มหรือนึ่ง แทนอาหารประเภทผัดหรือทอด ซึ่งต้องใช้น้ำมัน ควรหลีกเลี่ยงการกินข้าวเหนียว   เปลี่ยนเป็นข้าวจ้าวแทน และกินข้าวให้น้อย  ( เกินครึ่งจานเล็กน้อย )  ถ้าไม่อิ่ม ให้กินผัก ปลาหรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ติดมัน และผลไม้ชนิดที่ไม่หวาน เพิ่มขึ้น ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และงดสูบบุหรี่ โดยเด็ดขาดเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคอันตรายได้เป็นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอัมพาต และโรคหัวใจ
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
4  .   หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และการหยิบของในที่สูง โดยเฉพาะควรหลีกเลี่ยงการยืนบนโต๊ะ หรือยืนบนเก้าอี้ เพื่อหยิบของในที่สูง  ( ควรเรียกลูกหลานมาช่วยทำแทนจะดีกว่า ) 5.   หลีกเลี่ยงการก้มตัวลงหยิบของ  (  ควรย่อเข่าลงไป โดยที่หลังตั้งตรงก่อน แล้วจึงหยิบของ  ) จัดบ้านให้สบาย และปลอดภัย โดยการติดตั้งไฟให้สว่างเพียงพอ ติดราวจับในที่จำเป็น   จัดทางเดินให้โล่งไม่มีสิ่งเกะกะ ควรหมั่นตรวจสภาพทางเดิน และบันไดเป็นประจำ
6.  ควรมีไฟฉายเก็บไว้ในที่ซึ่งหยิบใช้ได้ง่าย รวมทั้งควรมีไว้ใกล้เตียงนอน เพื่อหยิบใช้ในตอนกลางคืนหรือเมื่อไฟฟ้าดับ 7.  สิ่งสุดท้ายที่สำคัญมาก ก็คือ จะทำอะไร จะเดิน จะวิ่ง จะลุก จะนั่ง จะยืน อย่ารีบร้อนหรือ รีบเร่ง ขอให้ใจเย็น ๆ ค่อยๆ ทำ รับรองว่า อุบัติเหตุจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่ นอน
 
6.4  ปวดหลัง 1.   รักษาน้ำหนักของร่างกายอย่าให้อ้วน โดยหลีกเลี่ยงอาหารหวาน  อาหารมัน อาหารทอดและเครื่องในสัตว์ (  บริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหมือนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน  ) 2.   ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อของหลังแข็งแรง 3.   ขณะนั่ง ยืน หรือ เดิน ต้องให้หลังตรง อกผายไหล่ผึ่งอยู่เสมอ
4 .   เลือกเก้าอี้นั่งที่พยุงหลังได้แข็งแรง นั่งแล้วไม่จม หลังไม่โค้งงอ 5.   นอนบนที่นอนที่ค่อนข้างแน่น ไม่อ่อนยวบยาบ เพราะจะทำให้หลังโกง แต่ที่นอนก็ไม่ควรแข็งจนเกินไป 6.   หลีกเลี่ยงการยกของหนักโดยไม่จำเป็น ควรเรียกลูกหลานมาช่วยยกให้ 7.  การรักษาอาการปวดหลัง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นตึง การรักษาทำได้ง่ายมากโดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนพันด้วยผ้าขนหนู หรืออาจจะใช้ใบพลับพลึงย่างไฟให้อุ่น ประคบบริเวณที่เจ็บปวด ส่วนใหญ่มักจะหายแล้ว ถ้าประคบแล้วยังมีอาการปวดมาก ก็อาจจะกินยาแก้ปวด ที่ชื่อว่า พาราเซท หรือพาราเซทตามอล ร่วมด้วย
สำหรับยาพาราเซทนั้น ถ้าน้ำหนักตัวน้อยกว่า  50  กิโลกรัม ก็ให้กินครั้งละ  1  เม็ด  น้ำหนัก  50-60  กิโลกรัม กินครั้งละ หนึ่งเม็ดครึ่ง  (1 1/2)  แต่ถ้า น้ำหนักตัวมากกว่า  60  กิโลกรัม ก็ให้กินครั้งละ  2  เม็ด  กินแต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อย  6  ชั่วโมง ถ้าประคบก็แล้ว กินยาพาราเซทก็แล้ว ยังไม่หายปวด ควรรีบไปสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็ว อย่ารอช้า  เพื่อจะได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เป็นอันตราย และจะได้หายเร็วๆ
6.5  นอนไม่หลับ 1.   ควรฝึกเข้านอนให้ตรงเวลา 2.   ควรหลีกเลี่ยงการนอนในตอนเช้าหรือตอนบ่าย 3.   ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันเว้นวัน ถ้าจะให้ดีควรออกกำลังกายในตอนเย็น จะได้อ่อนเพลียเวลานอน  จึงทำให้ง่วงนอนยามค่ำคืน   4  .   อ่านหนังสือหรือตำราที่ชอบก่อนนอน 5.   จัดห้องนอนให้อบอุ่น ไม่ซึมเซาน่าเบื่อ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่นอนไม่ควรแข็งหรือนุ่มจนเกินไป 6.   อ่านหนังสือธรรมะ ไหว้พระสวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ เพื่อให้ธรรมะช่วยระงับจิตใจ
นอนไม่หลับ ( ต่อ ) 7  .   หลีกเลี่ยงการกินยา และสิ่งออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น ชา กาแฟ คาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังทุกชนิด 8.   อาหารมื้อเย็นไม่ควรกินอิ่มมากจนเกินไป อาหารที่กินไม่ควรรสจัดหรือมันมากจนเกินไป ไม่ควรกินอาหารเผ็ดอาหารดอง ถ้าให้ดีควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น
9 .   หลังจากกินอาหารมื้อค่ำแล้ว ควรดื่มน้ำแต่พอควร ไม่ควรดื่มน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้องลุกขึ้นปัสสาวะกลางดึก ซึ่งจะรบกวนการนอนหลับ 10.   ควรถ่ายปัสสาวะก่อนนอนทุกวัน 11.  ไม่ควรกินยานอนหลับเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือแพทย์ไม่ได้สั่งให้กิน เพราะอาจทำให้ติดยา นอนหลับได้ คือ หากวันไหนไม่ได้กินยานอนหลับ วันนั้นก็นอนไม่หลับ จึงทำให้ต้องกินยานอนหลับแทบทุกวัน ซึ่งไม่ดีเท่าไรนัก เพราะ ยานอนหลับนั้นมีโทษต่อตับ  ดังนั้นจึงควรกินยานอนหลับ เฉพาะเมื่อแพทย์สั่งให้เท่านั้น จึงจะปลอดภัย และจะได้ไม่ติดยานอนหลับ
 
6.6  ท้องผูก 1.   หัดนิสัยการขับถ่ายอุจจาระในเวลาเดิมทุกวัน หรือถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลานั่นเอง การขับถ่ายอุจจาระวันละ  1  หรือ  2  ครั้ง หรือ  2  วัน ต่อครั้ง ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  สิ่งสำคัญอยู่ที่ มีการขับถ่ายสม่ำเสมอหรือไม่ 2.   ให้เข้าส้วมทันทีที่รู้สึกอยากถ่าย อย่ากลั้นอุจจาระ ถ้ามีนิสัยขี้เกียจไปห้องส้วมก็จะทำให้ท้องผูกได้บ่อย 3.   ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะเมื่อมีอากาศร้อน หรือภายหลังออกกำลังกาย เพราะเสียเหงื่อมาก  ( ยกเว้นในผู้ป่วย โรคไต โรคหัวใจ โรคท้องมาน ผู้ป่วยขาดโปรตีน หรือผู้ป่วยอื่นที่แพทย์สั่งห้ามไม่ให้ดื่มน้ำมาก เพราะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม จะดื่มน้ำปริมาณมากๆ ไม่ได้ )
4  .   ควรกินผักและผลไม้ให้มาก ๆ โดยเฉพาะผักหรือผลไม้ที่มีกาก หรือเส้นใยมากๆ 5.   ควรหลีกเลี่ยง การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ อาหารเผ็ด อาหารดอง ยาแก้ปวดข้อ ยาประดง ยากระจายเส้น ยาชุด ยาปวดหาย ยาไพรานา ยาบูราหรือยาสเตียรอยด์ 6.  ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา 7 .   ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นลำไส้ และทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งช่วยในการเบ่งอุจจาระแข็งแรง จึงเบ่งออกง่าย ท้องไม่ผูก
8.   ถ้าปฏิบัติตั้งแต่ข้อ  1  ถึงข้อ  7  แล้วยังมีปัญหาท้องผูก ขอแนะนำให้กินแกงขี้เหล็ก น้ำมะขามเปียก ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้าสุก ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น 9  .   พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย เพราะการใช้ยาระบายบ่อยๆ จะทำให้กลไกการเคลื่อนไหวของลำไส้แบบอัตโนมัติเสียไป ทำให้ท้องผูกตามมา และถ้าท้องผูกเกิดจากการกินยาระบายบ่อย ๆ แล้ว จะรักษายากมาก มักลงเอยด้วยการ ต้องกินยาระบายทุกวัน ซึ่งไม่ดี เพราะยาทุกอย่างมีโทษต่อร่างกาย
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
ถ้ามีอาการปวดข้อเข่ามาก ให้ใช้ใบพับพลึงหลาย ๆ ใบ ย่างไฟ แล้วทิ้งให้อุ่น หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู ประคบรอบบริเวณข้อเข่า ร่วมกับการใช้ยาทาแก้เคล็ดขัดยอก  ในรายที่ปวดมากอาจใช้ผ้ายางยืด พันตั้งแต่บริเวณเหนือข้อเข่าลงไปถึงบริเวณใต้ข้อเข้าหลังทายาแก้เคล็ดขัดยอก ก็จะช่วยลดอาการปวดได้ดีมากถ้ายังมีอาการปวด ก็ให้กินยาพาราเซท
 
6.8  โรคสมองเสื่อม และโรคอัมพฤกษ์อัมพาต สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัมพฤกษ์อัมพาต คือ  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน  ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
3 .   ผู้ดูแลต้อง ให้กำลังผู้ป่วย  (  อย่าหัวเราะเยาะ อย่าดุด่าว่ากล่าวผู้ป่วยให้ท้อแท้ หมดกำลังใจ ) 4 .   ผู้ดูแลต้องช่วยส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 5 .   ผู้ดูแลต้องมีความอดทนและมีความยืดหยุ่น  เพราะผู้ป่วยมีขีดจำกัดในหลายด้าน เช่น หิวอาหารไม่เป็นเวลา เดินช้า พูดช้า กินช้า ตัดสินใจช้า ทำอะไรก็ช้า
6   .   ผู้ดูแลต้องมีความใจเย็น และเป็นผู้ฟังที่ดี 7.   จัดสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยให้โล่ง ปลอดโปร่ง สะอาดตา เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย  ( ในกรณีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ควรให้พักอาศัยอยู่ในที่ ๆ เคยอยู่ อย่าปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม อย่าย้ายบ้าน อย่าย้ายสิ่งของ เพราะผู้ป่วยบางคน เดินทั้งวันทั้งคืน เพื่อหาสิ่งที่ท่านเคยใช้ไม่เจอ  )
8.  มีเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกตามสภาพของผู้ป่วยและตามขีดความสามารถที่จะทำได้ 9.   ผู้ดูแลต้องดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนให้ดีอยู่เสมอ -  เมื่อใดท้อแท้หมดกำลังใจ ควรเติมกำลังใจให้แก่ตนเอง โดยนึกถึงคุณค่าของงานที่กำลังทำ  พบปะกับคนมีประสบการณ์เหมือนกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจะได้กำลังจากเขา และเราก็สามารถให้กำลังใจแก่เขาได้ด้วย  -  เมื่อเหนื่อยกายเหนื่อยใจให้พักผ่อนเสียบ้างและหาคนมาผลัดเปลี่ยนดูแลก็จะดีมาก ๆ
ผู้ดูแลต้องเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนอยู่เสมอ   คนทั่วโลกต้องคิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ไม่ใช่เป็นปัญหาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  ทุกคนเมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องกลายเป็นผู้สูงอายุ   เมื่อเป็นปัญหาของคนทุกคน ทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้   เพื่อว่าเราจะได้มีความสุขเมื่อเราย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
The world is a dangerous place to live in ,  not only  because of the people who do evil  ,but also because of  the people who just only  watch  and  see. “ Albert Einstein”
สังคมที่เลวร้ายลงทุกวันนี้   ไม่ใช่พราะคนชั่วทำความเลวเท่านั้น   แต่สาเหตุที่สำคัญกว่าคือ  คนดีได้แต่จดจดจ้องจ้องไม่ทำอะไร “ อัลเบิร์ต   ไอน์สไตน์ ” 
www.puysoft.com/sk www.panya.iirt.net www.dhammadelivery2.com  
 
สวัสดี

More Related Content

What's hot

อาหารตามวัย
อาหารตามวัยอาหารตามวัย
อาหารตามวัยPloyLii
 
การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุatunya petkeaw
 
การดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพการดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพsivakorn35
 
Final project
Final projectFinal project
Final projectlooknam7
 
Food for CVD
Food for CVDFood for CVD
Food for CVDPha C
 
โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2
โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2
โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2dumrongsuk
 
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นการดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นNamfon fon
 
การดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพการดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพSurapee Sookpong
 
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23Phet103
 
CVD Brochure
CVD BrochureCVD Brochure
CVD BrochurePha C
 
อาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพอาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพpasutitta
 
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังอาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
แผ่นความรู้
แผ่นความรู้แผ่นความรู้
แผ่นความรู้Warapatama Jongsub
 
งานนำเสนอ
งานนำเสนองานนำเสนอ
งานนำเสนอPacharee
 
บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่
บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่
บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่kasocute
 
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23 การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23 Phet103
 

What's hot (20)

อาหารตามวัย
อาหารตามวัยอาหารตามวัย
อาหารตามวัย
 
การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
 
การดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพการดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพ
 
Final project
Final projectFinal project
Final project
 
Food for CVD
Food for CVDFood for CVD
Food for CVD
 
Lesson 3
Lesson 3Lesson 3
Lesson 3
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
สุรษฏรธานี 210355
สุรษฏรธานี 210355สุรษฏรธานี 210355
สุรษฏรธานี 210355
 
โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2
โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2
โรคหัวใจ และหลอดเลือด 2
 
Sample 4 lifeyes
Sample 4 lifeyesSample 4 lifeyes
Sample 4 lifeyes
 
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นการดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
 
การดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพการดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพ
 
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
 
CVD Brochure
CVD BrochureCVD Brochure
CVD Brochure
 
อาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพอาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารแลกเปลี่ยนและอาหารเพื่อสุขภาพ
 
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังอาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
 
แผ่นความรู้
แผ่นความรู้แผ่นความรู้
แผ่นความรู้
 
งานนำเสนอ
งานนำเสนองานนำเสนอ
งานนำเสนอ
 
บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่
บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่
บทที่ ๓ อาหารหลัก ๕ หมู่
 
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23 การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
การดูแลสุขภาพ ธนภรณ์ ม.1 ห้อง 3 เลขที่ 23
 

Similar to Clu5

การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5primpatcha
 
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5primpatcha
 
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นงานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นjatupron2
 
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นงานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นjatupron2
 
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นงานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นjatupron2
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์benze2542
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์benze2542
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์benze2542
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์benze2542
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์benze2542
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์benze2542
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์benze2542
 
How to have good health
How to have good healthHow to have good health
How to have good healthPiyaratt R
 
มะเร็งการรักษาและการป้องกัน2
มะเร็งการรักษาและการป้องกัน2มะเร็งการรักษาและการป้องกัน2
มะเร็งการรักษาและการป้องกัน24LIFEYES
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานweerawatkatsiri
 
ตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพ
ตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพ
ตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพrubtumproject.com
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.25554LIFEYES
 

Similar to Clu5 (20)

การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
 
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
 
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นงานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
 
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นงานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
 
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็นงานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
งานนำเสนอ กินเป็น อยู่เป็น
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์
 
How to have good health
How to have good healthHow to have good health
How to have good health
 
มะเร็งการรักษาและการป้องกัน2
มะเร็งการรักษาและการป้องกัน2มะเร็งการรักษาและการป้องกัน2
มะเร็งการรักษาและการป้องกัน2
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
บทที่ 3
บทที่  3บทที่  3
บทที่ 3
 
ตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพ
ตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพ
ตัวอย่างบทที่ 2 วิทยานิพนธ์เว็บไซต์เพื่อสุขภาพ
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555
 
Healthy Food
Healthy FoodHealthy Food
Healthy Food
 
Dm
DmDm
Dm
 

More from onjiranaja

More from onjiranaja (11)

%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
 
3p
3p3p
3p
 
K3
K3K3
K3
 
Herbs
HerbsHerbs
Herbs
 
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
 
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน
 
Very nbsp
Very nbspVery nbsp
Very nbsp
 
K3
K3K3
K3
 
11 philippians-32-thai-3
11 philippians-32-thai-311 philippians-32-thai-3
11 philippians-32-thai-3
 
Herbs
HerbsHerbs
Herbs
 
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2%Ba%b7%b7%d5%e8 2
%Ba%b7%b7%d5%e8 2
 

Clu5

  • 1. การตอบแทนพระคุณ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่า นายแพทย์สุรศักดิ์ โควสุภัทร์ นายแพทย์ 9 ด้านเวชกรรมป้องกัน หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหนองคาย
  • 2.  
  • 3.  
  • 4.  
  • 5. ท่าน ออกกำลังกาย เป็นประจำหรือไม่ ท่านรู้สึกว่าหลงๆลืมๆ บ่อยหรือไม่ ท่านได้ไปเที่ยวงานพืชสวนโลกหรือไม่ ท่านเคยไปนมัสการพระธาตุดอยกองมูหรือไม่
  • 6. คุณแม่ เมื่ออายุ 74 ปีอยู่ดีๆก็ไม่พูด 3 วัน ปัจจุบัน คุณแม่อายุ 78 ปี พูดคุยเป็นปกติ ไปเที่ยวงานพืชสวนโลก ไปนมัสการพระธาตุดอยกองมู เดินออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมง เดินไปด้วย ยกแขนไปด้วย
  • 7. ชีวิต คุณยายบังอร ผู้ที่สังคมควรศึกษา เพื่อหาทางเยียวยา ป้องกันไม่ให้มีผู้ประสบเคราะห์กรรม เฉกเช่นคุณยายบังอรอีกต่อไป และเพื่อสรรสร้างสังคมเอื้ออาทร เต็มเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา
  • 8. คุณยายบังอร V.S. ธรรมชาติผู้สูงอายุ 1. สุขภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยให้ยืน เดิน หรือ นั่งนานๆ 2. ไม่เอื้ออำนวยให้อยู่ในที่สถานที่แออัด ยัดเยียด การระบายอากาศไม่ดี หรือสถานที่มีผู้ป่วยด้วย โรคติดต่อ เพราะความต้านทานต่ำ 3. ผู้สูงอายุบางคนช่วยเหลือตนเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือบางคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ต้องมีคนคอยดูแล
  • 9. ธรรมชาติผู้สูงอายุ ( ต่อ ) 4. ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาเรื่องสายตา และการ ได้ยิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้จากการ ได้รับสุขศึกษา 5. ผู้สูงอายุบางคน มีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ร่วมกัน
  • 11. เริ่มต้นจาก บ้านของเรา ผู้สูงอายุในบ้าน พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ผู้สูงอายุในชุมชน และในสังคม
  • 12. พระอรหันต์องค์แท้อยู่ที่บ้าน เราไม่ต้องเสาะแสวงหาใครที่ไหน ให้ลำบาก ก็ชายชรา หญิงชรา ผู้มีหน้าตาเหี่ยวย่นที่บ้านนั้นแลคือ อรหันต์องค์แท้ของลูก ” พ่อ แม่ คือ บุคคลสำคัญที่สุดในโลกสำหรับลูก พ่อ แม่ คือ ผู้ให้ตลอดกาล พ่อแม่คือผู้สร้างลมหายใจให้กับลูกแก่นแท้แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่คือ รักจากพ่อและแม่
  • 13. พระปัญญานันทภิกขุ ท่านสอนไว้ว่า คนที่ม ี ความกตัญญูกตเวทีรับรองว่า ไม่มีความ ตกต่ำในชีวิตการงาน ย่อมเจริญก้าวหน้า คนที่เจริญทั้งหลายล้วนแต่เป็นคนรักพ่อ บูชาแม่ เอาใจใส่พ่อแม่ของพวกเรา จงมีความกตัญญูกตเวที ต่อพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้า ด้วยการหมั่นเอาใจใส่ดูแลท่านให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ ตามหน้าที่ของเรา นี่เรียกว่า “เลี้ยงจิตใจของท่าน”
  • 14. เราจะทำอะไรเป็นการตอบแทนพระคุณท่าน ก็ให้รีบทำเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ร่วมกับเรา พ่อแม คือผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่าสำหรับลูก ผู้สูงอายุ คือ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่าสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคม
  • 15. “ ในการแก้ปัญหาของบ้านเมืองนั้น ให้ยึดหลักสำคัญ 3 ประการคือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • 18. พัฒนา บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตร ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน สื่อมวลชน ผู้มีส่วนร่วมทุกคนต้อง เริ่มจากมีความรู้
  • 19.
  • 20. การชะลอความเสื่อมมีคุณค่านับอนันต์ 30 ปี อวัยวะทุกอย่างในร่างกายจะเริ่มมีความเสื่อม ประโยชน์ที่ได้จากการชะลอความเสื่อม 1. ร่างกายแข็งแรง 2. ไม่เจ็บป่วย ถ้าเจ็บป่วยอาการก็ไม่รุนแรง 3. แก่ช้าลง 4. ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต สูงโรคหัวใจ โรคอ้วน โรค ไขมันในเลือดสูง โรคกระดูกพรุน โรคความจำเสื่อม โรคอัมพาต
  • 21. วิธีการชะลอความเสื่อม 1. ส่งเสริมสุขภาพจิต 2. ส่งเสริมสุขภาพกาย 3. บริโภคถูกต้องตามหลักโภชนาการเหมาะสมกับวัย 4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะบั่นทอนสุขภาพ 5. อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นผลดีต่อสุขภาพ และไม่ก่อให้ เกิดปัญหาสุขภาพ 6. จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามขีดความ สามารถที่ทำได้ 7. ควรตรวจเช็คสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 8. ผู้มีโรคประจำตัว ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด
  • 22. 1. ส่งเสริมสุขภาพจิต การที่มีสุขภาพจิตที่ดี เป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เราไม่ป่วยด้วยโรคทางกายมากมาย การจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้ เราต้องขยันหมั่นเพียร ในการส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง กายเราต้องบริหารฉันใด จิตก็ต้องบริหารฉันนั้น
  • 23. 2. ส่งเสริมสุขภาพกาย - ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน หรือวันเว้นวัน - ออกกำลังกาย และเล่นกีฬา ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และวัย เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ รำมวยจีน ปั่นจักรยาน - ไม่ควรเลือกวิธีออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก ๆ ในระยะเวลาอันสั้น การใช้แรงกายในชีวิตประจำวันหรือการทำงานอดิเรก ที่ใช้แรงกายอย่างพอเหมาะ จะมีประโยชน์ทั้งทางด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
  • 24. ควรหยุดออกกำลังกาย เมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ อุปกรณ์กีฬาหรือรองเท้าชำรุด เมื่อยล้าหรือปวดกล้ามเนื้อมาก มึนงง เดินเซ จะเป็นลม มีอาการเจ็บหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน หอบ พูดไม่ออก หรือพูดลำบาก หน้าซีด ตัวเขียว หรือมีอาการอื่นที่น่าสงสัยหรือไม่แน่ใจ
  • 25. การออกกำลังกาย อาจก่อให้ เกิดโทษเนื่องจาก การออกกำลังกาย ไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ไม่ถูกเวลา ( เช่น เวลาอากาศร้อนจัด หลังกินอาหารไม่นาน เวลาเป็นไข้หรือไม่สบาย ) การไม่ยืดเส้นหรืออุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกาย ใช้อุปกรณ์กีฬาหรือเครื่องแต่ง กาย ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายมากเกินไปหรือหนักเกินไป
  • 26. สำหรับผู้รักการวิ่ง ควรวิ่งหนักเบาสลับกันไปในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายมีการพักฟื้นบ้าง ควรวิ่งลงเต็มฝ่าเท้า ไม่ควรวิ่งลงปลายเท้า ยกเว้น การวิ่ง 100 หรือ 200 เมตร หลังควรตั้งตรง ไม่ควรโน้มตัวไปข้างหน้า ยกเว้น วิ่ง 100 หรือ 200 เมตร รองเท้า กางเกง และเสื้อ ต้องเหมาะสม เสื้อควรเป็นผ้าที่ซับเหงื่อได้ดี ไม่ควรเป็นไนล่อน รองเท้าต้องไม่คับ หรือหลวมเกินไป
  • 27.  
  • 28. 3. บริโภคถูกต้องตามหลักโภชนาการเหมาะสมกับวัย ควรหลีกเลี่ยง อาหารหวาน อาหารมัน อาหารทอด ปาท่องโก๋ หรืออาหารทอดที่อมน้ำมันมาก ของหวาน ขนมหวาน ผลไม้หวาน ควรหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีรสหวานมาก หรือหวานมัน ( เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมนมข้นหวานทุกชนิด ) เนย ไข่แดง เครื่องในสัตว์ท สัตว์ทะเลทุกชนิด ( ยกเว้น ปลา ) หนังเป็ด หนังไก่ กะทิ และไขมันสัตว ์
  • 29. อย่ากินอาหารหรือขนมพวกแป้ง และข้าวเหนียวมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินข้าวเหนียวเลย เพราะน้ำลายจะเปลี่ยนแป้งและข้าวเป็นน้ำตาล ควรกินข้าวจ้าวเกินครึ่งจานเพียงเล็กน้อย ควรให้อิ่มเพราะผัก ไข่ขาว ปลา และเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ติดมัน ถ้าเป็นคนอ้วนหรือคนที่กินจุ ควรดื่มน้ำก่อนกินข้าว 1 แก้ว และหลังกินข้าว 1 แก้ว อาหารมื้อเย็นควรกินก่อน 18.00 น . เพื่อจะได้ห่างจากเวลานอนนานพอสมควร
  • 30. ควรกิน ผัก ผลไม้ ( ชนิดที่ไม่หวานมาก ) เช่น ฝรั่ง มันแกว แก้วมังกร พุทรา ชมพู่ แอปเปิ้ล ให้มาก ๆ กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ไข่ขาว เนื้อปลา นมพร่องมันเนย งาดำ งาขาว เต้าหู้ขาว ( ไม่ใช่เต้าหู้สีเหลืองซึ่งใส่ไข่ ) เวลาทำอาหารควรใช้น้ำมันพืช ( ยกเว้นน้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ) ไม่ควรใช้น้ำมันจากสัตว์
  • 31. 4. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะบั่นทอนสุขภาพ ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด บุหรี่ สารเสพติด การเที่ยวสถานเริงรมย์ ( ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอและได้รับ สิ่งบั่นทอนสุขภาพ )
  • 32. 5. อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นผลดีต่อ สุขภาพและไม่ก่อให้เกิดปัญหา สุขภาพ สิ่งแวดล้อมนี้หมายถึง สิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ ( อุณหภูมิ อากาศ แสง สี เสียง ) สิ่งแวดล้อมทางเคมี ( สารเคมีทุกชนิด ) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ( สัตว์ก่อความรำคาญ หรือสัตว์ก่อโรค และเชื้อโรคทุกชนิด ) ทั้งที่อยู่ในบ้าน นอกบ้าน ในตัวอาคาร และ ในชุมชน
  • 33. กรณีผู้สูงอายุ ควรจัดห้องนอนให้อยู่ชั้นล่าง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได ควรจัดทำราวให้จับตามฝาผนัง เพื่อจะได้เกาะพยุงตัวโดยเฉพาะในห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว เพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม ที่สำคัญคือ ควรมีอากาศถ่ายเทสะดวกสบาย ปลอดโปร่ง
  • 34. 6. จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ( ตามขีดความสามารถที่ทำได้ ) แว่นตาสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสายตา ฟันปลอม มีไม้เท้าใช้พยุงเวลาเดิน มีเก้าอี้รถเข็นสำหรับ ผู้สูงอายุที่เดินเองลำบาก หรือเดินเองไม่ได้
  • 35. 7. ควรตรวจเช็คสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจหาระดับน้ำตาล ในเลือด ตรวจวัดความดันโลหิตตรวจสายตา ( อายุน้อยกว่า 60 ปี ตรวจปีละครั้ง แต่ถ้ามากกว่า 60 ปี ควรตรวจทุก 6 เดือน )
  • 36. 8. กรณีมีโรคประจำตัว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง อาหารการกิน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพจิต และ ยา เป็นต้น
  • 37.  
  • 38.
  • 39. คนในชุมชนหรือสังคมควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างไร 1. ควรให้เกียรติ ให้การยกย่อง ผู้สูงอายุในชุมชน 2. ช่วยกันจัดให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 3. คนในสังคม ควรมีน้ำใจ และให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้สูงอายุ 4. ควรจัดให้มีการให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดีอายุยืน ให้คำแนะนำตอบปัญหาสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุและให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่ผู้สูงอายุเฉพาะต่างหาก
  • 40.
  • 41.
  • 42.  
  • 43. ผู้สูงอายุ คือ ผู้งามเด่นเช่นอาทิตย์ ส่องชีวิต มวลชน คนทุกถิ่น เป็นความหวัง พลังขวัญ จรรโลงริน เป็นชีวิน พัฒนา เติบกล้าไป เพราะท่านคือ พลัง สังคมนี้ เป็นชีวี พัฒนา แกร่งกล้าได้ คือคุณค่า คู่โลกา ฟ้าอำไพ ผู้ก้าวไป เพื่อสรรสร้าง ทางความดี
  • 44. กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรม การออกกำลังกาย การเล่นดนตรี การทำบุญกุศล การ ท่องเที่ยวทัศนศึกษา การจัดประกวดสุขภาพ ผู้สูงอายุการแวะไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุในชุมชน การทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์กิจกรรมวันสงกรานต์ หรือวันผู้สูงอายุแห่งชาติ กิจกรรมวันปีใหม่วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีความสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม ควรยกย่องให้เป็นบุคคลตัวอย่าง
  • 45. เคล็ดลับกิน - อยู่ อย่างไรให้อายุยืน หลักในการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี ของชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข มี 12 ประการ ดังนี้ คือ 1. ส่งเสริมวิถีชีวิตอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย พึ่งตนเองเป็นหลัก และใช้จ่ายอย่างประหยัด 2. ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบสังคมในชนบท ส่งเสริมการเกษตรธรรมชาติ คนในเมืองควรเพราะปลูกพืชผัก ไว้กินเอง เพื่อประหยัดและปลอดภัยจากการได้รับสารเคมี อีกทั้งช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ด้วย 3. กินอย่างไทย ปรุงอาหารกินเองในบ้าน เลิกการกินอาหารแบบฝรั่งและอาหารจีน เพราะมีปริมาณ ไขมันและโปรตีนสูง เป็นสาเหตุของโรคอ้วน และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย
  • 46. 4. กินข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ไม่กินน้ำตาลฟอกขาว ( ควรกินน้ำตาลที่ยังไม่ฟอก ซึ่งจะมีสีน้ำตาล ) ไม่กินขนมหวาน ไม่ดื่มน้ำอัดลม 5. ลดการกินไขมันจากสัตว์ น้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ และน้ำมันปาล์ม ควรใช้แต่น้ำมันพืช ( ที่ไม่ใช่ น้ำมันจากมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ) 6. ไม่ควรกินเนื้อสัตว์มากเกินความจำเป็น ผู้ใหญ่ให้กินไม่เกินวันละ 100 กรัม เด็กวัยเจริญเติบโต ให้กินไม่เกินวันละ 200 กรัม
  • 47. 7 . กินผักสด ผลไม้สด ให้มาก เพราะเป็นแหล่งที่มาของเกลือแร่ วิตามิน และพลังแห่งชีวิต 8 . ไม่กินอาหารขยะ เช่น บะหมี่ซอง ขนมกรุบกรอบ ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มอื่นใดที่มีแอลกอฮอล์ รณรงค์ให้ดื่มนมถั่วเหลือง ที่ไม่ใส่ครีมเทียม 9 . ทารกต้องกินนมแม่ รณรงค์ให้ดื่มนมถั่วเหลืองที่ไม่ใส่ครีมเทียม สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะมีอายุยืนยาว ควรเลิกดื่มนม เพราะนมวัวและผลิตภัณฑ์นมเนย ให้โทษแก่ร่างกายมากกว่าให้ประโยชน์ ถ้าต้องการเสริม แคลเซี่ยม ให้กินกุ้งแห้ง ปลากรอบ กะปิ ปลาร้า ที่ทำอย่างถูกสุขลักษณะ เต้าหู้ งาขาว และงาดำ
  • 48. 10 . ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที อย่างน้อยวันเว้นวัน เลือกการออกกำลังกายแบบตะวันออก เช่น ไทเก็ก โยคะ ฤาษีดัดตน เป็นต้น 11 . รู้จักคลายเครียด ฝึกทำสมาธิ ขัดเกลาความคิดและจิตวิญญาณ ให้รู้จักพอ รู้จักให้ มีเมตตากรุณา 12 . เรียนรู้วิธีรักษาสุขภาพด้วยตนเอง ใช้วิธีการต่างๆ ของวิถีสุขภาพแบบองค์รวม อย่างมีเหตุผล ใช้ยา เท่าที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และ พฤติกรรมเพื่อการฟื้นคืนสุขภาพโดยเร็ว
  • 49.  
  • 50. หลักปฏิบัติ 5 อ . สำหรับผู้สูงอายุ อ . ที่หนึ่ง ซึ่งสำคัญ คือ อาหาร ที่ย่อยง่าย รับประทาน อย่ารสจัด เนื้อ นม ไข่ ผัก ปลา สารพัด แต่ไขสัตว์ งดดีกว่า อย่าเสียดาย อ . ที่สอง คือ อาคาร บ้านที่พัก ควรถือหลัก บันไดและพื้น อย่าลื่นง่าย เก้าอี้เตียง มีไว้นั่ง นอนสบาย ซองทั้งหลาย เข้าระเบียบ อย่ารกตา
  • 51. อ . ที่สาม คือ ออกกำลังกาย เป็นการยืด เส้นสาย อย่างถูกท่า วิ่งลิวโลด กระโดดเต้น ตามกติกา เล่นกีฬา พักสมอง คล่องกายใจ อ . ที่สี่ อารมณ์ดี อยู่เสมอ ไม่ป้ำเป๋อ ใฝ่ธรรม นำนิสัย ถึงคราวงาน ทำการ งานว่องไว ถ้าคราวเล่น ปล่อยใจ ได้พักพิง อ . ที่ห้า ทำงานอดิเรก ดุจเป็นงาน ชิ้นเอก ควรทำยิ่ง ทำเมื่อไร ใจสงบ เมื่อนั้นจริง จึงเป็นสิ่ง คุ้มค่า น่าทำเอย
  • 52. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 6.1 โรคเบาหวาน ถ้าผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดอันตรายตามมามากมาย เช่น อัมพาต ตาบอด ไตวาย และโรคหัวใจ
  • 53. หลักการรักษาและปฏิบัติตน ของผู้ป่วย โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 1. มีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มอย่างถูกต้อง 2. มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3. มีการกินยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง 4. ควรมีการผ่อนคลายความเครียด มีการพักผ่อนที่เพียงพอ และไม่ทำงานหักโหมมากจน เกินไป
  • 54. การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มสำหรับ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยง อาหารต่อไปนี้ คือ อาหารหวาน อาหารมัน อาหารทอด ของหวาน ขนมหวาน ผลไม้หวาน เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีรสหวานหรือหวานมัน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ไมโล โอวัลติน เป็นต้น ปาท่องโก๋หรือของทอดที่อมน้ำมันมากทุกชนิด ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ทะเลทุกชนิด หนังเป็ด หนังไก่ กะทิ เนย ไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว
  • 55. ควรเน้นกินอาหารประเภทต้มหรือนึ่ง แทนอาหารประเภทผัดหรือทอด ซึ่งต้องใช้น้ำมัน ควรหลีกเลี่ยงการกินข้าวเหนียว เปลี่ยนเป็นข้าวจ้าวแทน และกินข้าวให้น้อย ( เกินครึ่งจานเล็กน้อย ) ถ้าไม่อิ่ม ให้กินผัก ปลาหรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่ติดมัน และผลไม้ชนิดที่ไม่หวาน เพิ่มขึ้น ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และงดสูบบุหรี่ โดยเด็ดขาดเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคอันตรายได้เป็นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอัมพาต และโรคหัวใจ
  • 56.
  • 57.
  • 58. 4 . หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และการหยิบของในที่สูง โดยเฉพาะควรหลีกเลี่ยงการยืนบนโต๊ะ หรือยืนบนเก้าอี้ เพื่อหยิบของในที่สูง ( ควรเรียกลูกหลานมาช่วยทำแทนจะดีกว่า ) 5. หลีกเลี่ยงการก้มตัวลงหยิบของ ( ควรย่อเข่าลงไป โดยที่หลังตั้งตรงก่อน แล้วจึงหยิบของ ) จัดบ้านให้สบาย และปลอดภัย โดยการติดตั้งไฟให้สว่างเพียงพอ ติดราวจับในที่จำเป็น จัดทางเดินให้โล่งไม่มีสิ่งเกะกะ ควรหมั่นตรวจสภาพทางเดิน และบันไดเป็นประจำ
  • 59. 6. ควรมีไฟฉายเก็บไว้ในที่ซึ่งหยิบใช้ได้ง่าย รวมทั้งควรมีไว้ใกล้เตียงนอน เพื่อหยิบใช้ในตอนกลางคืนหรือเมื่อไฟฟ้าดับ 7. สิ่งสุดท้ายที่สำคัญมาก ก็คือ จะทำอะไร จะเดิน จะวิ่ง จะลุก จะนั่ง จะยืน อย่ารีบร้อนหรือ รีบเร่ง ขอให้ใจเย็น ๆ ค่อยๆ ทำ รับรองว่า อุบัติเหตุจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่ นอน
  • 60.  
  • 61. 6.4 ปวดหลัง 1. รักษาน้ำหนักของร่างกายอย่าให้อ้วน โดยหลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารมัน อาหารทอดและเครื่องในสัตว์ ( บริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหมือนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ) 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อของหลังแข็งแรง 3. ขณะนั่ง ยืน หรือ เดิน ต้องให้หลังตรง อกผายไหล่ผึ่งอยู่เสมอ
  • 62. 4 . เลือกเก้าอี้นั่งที่พยุงหลังได้แข็งแรง นั่งแล้วไม่จม หลังไม่โค้งงอ 5. นอนบนที่นอนที่ค่อนข้างแน่น ไม่อ่อนยวบยาบ เพราะจะทำให้หลังโกง แต่ที่นอนก็ไม่ควรแข็งจนเกินไป 6. หลีกเลี่ยงการยกของหนักโดยไม่จำเป็น ควรเรียกลูกหลานมาช่วยยกให้ 7. การรักษาอาการปวดหลัง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นตึง การรักษาทำได้ง่ายมากโดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนพันด้วยผ้าขนหนู หรืออาจจะใช้ใบพลับพลึงย่างไฟให้อุ่น ประคบบริเวณที่เจ็บปวด ส่วนใหญ่มักจะหายแล้ว ถ้าประคบแล้วยังมีอาการปวดมาก ก็อาจจะกินยาแก้ปวด ที่ชื่อว่า พาราเซท หรือพาราเซทตามอล ร่วมด้วย
  • 63. สำหรับยาพาราเซทนั้น ถ้าน้ำหนักตัวน้อยกว่า 50 กิโลกรัม ก็ให้กินครั้งละ 1 เม็ด น้ำหนัก 50-60 กิโลกรัม กินครั้งละ หนึ่งเม็ดครึ่ง (1 1/2) แต่ถ้า น้ำหนักตัวมากกว่า 60 กิโลกรัม ก็ให้กินครั้งละ 2 เม็ด กินแต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ถ้าประคบก็แล้ว กินยาพาราเซทก็แล้ว ยังไม่หายปวด ควรรีบไปสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็ว อย่ารอช้า เพื่อจะได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เป็นอันตราย และจะได้หายเร็วๆ
  • 64. 6.5 นอนไม่หลับ 1. ควรฝึกเข้านอนให้ตรงเวลา 2. ควรหลีกเลี่ยงการนอนในตอนเช้าหรือตอนบ่าย 3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันเว้นวัน ถ้าจะให้ดีควรออกกำลังกายในตอนเย็น จะได้อ่อนเพลียเวลานอน จึงทำให้ง่วงนอนยามค่ำคืน 4 . อ่านหนังสือหรือตำราที่ชอบก่อนนอน 5. จัดห้องนอนให้อบอุ่น ไม่ซึมเซาน่าเบื่อ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่นอนไม่ควรแข็งหรือนุ่มจนเกินไป 6. อ่านหนังสือธรรมะ ไหว้พระสวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ เพื่อให้ธรรมะช่วยระงับจิตใจ
  • 65. นอนไม่หลับ ( ต่อ ) 7 . หลีกเลี่ยงการกินยา และสิ่งออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น ชา กาแฟ คาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังทุกชนิด 8. อาหารมื้อเย็นไม่ควรกินอิ่มมากจนเกินไป อาหารที่กินไม่ควรรสจัดหรือมันมากจนเกินไป ไม่ควรกินอาหารเผ็ดอาหารดอง ถ้าให้ดีควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น
  • 66. 9 . หลังจากกินอาหารมื้อค่ำแล้ว ควรดื่มน้ำแต่พอควร ไม่ควรดื่มน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้องลุกขึ้นปัสสาวะกลางดึก ซึ่งจะรบกวนการนอนหลับ 10. ควรถ่ายปัสสาวะก่อนนอนทุกวัน 11. ไม่ควรกินยานอนหลับเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือแพทย์ไม่ได้สั่งให้กิน เพราะอาจทำให้ติดยา นอนหลับได้ คือ หากวันไหนไม่ได้กินยานอนหลับ วันนั้นก็นอนไม่หลับ จึงทำให้ต้องกินยานอนหลับแทบทุกวัน ซึ่งไม่ดีเท่าไรนัก เพราะ ยานอนหลับนั้นมีโทษต่อตับ ดังนั้นจึงควรกินยานอนหลับ เฉพาะเมื่อแพทย์สั่งให้เท่านั้น จึงจะปลอดภัย และจะได้ไม่ติดยานอนหลับ
  • 67.  
  • 68. 6.6 ท้องผูก 1. หัดนิสัยการขับถ่ายอุจจาระในเวลาเดิมทุกวัน หรือถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลานั่นเอง การขับถ่ายอุจจาระวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง หรือ 2 วัน ต่อครั้ง ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญอยู่ที่ มีการขับถ่ายสม่ำเสมอหรือไม่ 2. ให้เข้าส้วมทันทีที่รู้สึกอยากถ่าย อย่ากลั้นอุจจาระ ถ้ามีนิสัยขี้เกียจไปห้องส้วมก็จะทำให้ท้องผูกได้บ่อย 3. ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะเมื่อมีอากาศร้อน หรือภายหลังออกกำลังกาย เพราะเสียเหงื่อมาก ( ยกเว้นในผู้ป่วย โรคไต โรคหัวใจ โรคท้องมาน ผู้ป่วยขาดโปรตีน หรือผู้ป่วยอื่นที่แพทย์สั่งห้ามไม่ให้ดื่มน้ำมาก เพราะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม จะดื่มน้ำปริมาณมากๆ ไม่ได้ )
  • 69. 4 . ควรกินผักและผลไม้ให้มาก ๆ โดยเฉพาะผักหรือผลไม้ที่มีกาก หรือเส้นใยมากๆ 5. ควรหลีกเลี่ยง การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ อาหารเผ็ด อาหารดอง ยาแก้ปวดข้อ ยาประดง ยากระจายเส้น ยาชุด ยาปวดหาย ยาไพรานา ยาบูราหรือยาสเตียรอยด์ 6. ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา 7 . ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นลำไส้ และทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งช่วยในการเบ่งอุจจาระแข็งแรง จึงเบ่งออกง่าย ท้องไม่ผูก
  • 70. 8. ถ้าปฏิบัติตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 7 แล้วยังมีปัญหาท้องผูก ขอแนะนำให้กินแกงขี้เหล็ก น้ำมะขามเปียก ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้าสุก ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น 9 . พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย เพราะการใช้ยาระบายบ่อยๆ จะทำให้กลไกการเคลื่อนไหวของลำไส้แบบอัตโนมัติเสียไป ทำให้ท้องผูกตามมา และถ้าท้องผูกเกิดจากการกินยาระบายบ่อย ๆ แล้ว จะรักษายากมาก มักลงเอยด้วยการ ต้องกินยาระบายทุกวัน ซึ่งไม่ดี เพราะยาทุกอย่างมีโทษต่อร่างกาย
  • 71.
  • 72. ถ้ามีอาการปวดข้อเข่ามาก ให้ใช้ใบพับพลึงหลาย ๆ ใบ ย่างไฟ แล้วทิ้งให้อุ่น หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู ประคบรอบบริเวณข้อเข่า ร่วมกับการใช้ยาทาแก้เคล็ดขัดยอก ในรายที่ปวดมากอาจใช้ผ้ายางยืด พันตั้งแต่บริเวณเหนือข้อเข่าลงไปถึงบริเวณใต้ข้อเข้าหลังทายาแก้เคล็ดขัดยอก ก็จะช่วยลดอาการปวดได้ดีมากถ้ายังมีอาการปวด ก็ให้กินยาพาราเซท
  • 73.  
  • 74. 6.8 โรคสมองเสื่อม และโรคอัมพฤกษ์อัมพาต สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัมพฤกษ์อัมพาต คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  • 75.
  • 76. 3 . ผู้ดูแลต้อง ให้กำลังผู้ป่วย ( อย่าหัวเราะเยาะ อย่าดุด่าว่ากล่าวผู้ป่วยให้ท้อแท้ หมดกำลังใจ ) 4 . ผู้ดูแลต้องช่วยส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 5 . ผู้ดูแลต้องมีความอดทนและมีความยืดหยุ่น เพราะผู้ป่วยมีขีดจำกัดในหลายด้าน เช่น หิวอาหารไม่เป็นเวลา เดินช้า พูดช้า กินช้า ตัดสินใจช้า ทำอะไรก็ช้า
  • 77. 6 . ผู้ดูแลต้องมีความใจเย็น และเป็นผู้ฟังที่ดี 7. จัดสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยให้โล่ง ปลอดโปร่ง สะอาดตา เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ( ในกรณีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ควรให้พักอาศัยอยู่ในที่ ๆ เคยอยู่ อย่าปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม อย่าย้ายบ้าน อย่าย้ายสิ่งของ เพราะผู้ป่วยบางคน เดินทั้งวันทั้งคืน เพื่อหาสิ่งที่ท่านเคยใช้ไม่เจอ )
  • 78. 8. มีเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกตามสภาพของผู้ป่วยและตามขีดความสามารถที่จะทำได้ 9. ผู้ดูแลต้องดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนให้ดีอยู่เสมอ - เมื่อใดท้อแท้หมดกำลังใจ ควรเติมกำลังใจให้แก่ตนเอง โดยนึกถึงคุณค่าของงานที่กำลังทำ พบปะกับคนมีประสบการณ์เหมือนกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจะได้กำลังจากเขา และเราก็สามารถให้กำลังใจแก่เขาได้ด้วย - เมื่อเหนื่อยกายเหนื่อยใจให้พักผ่อนเสียบ้างและหาคนมาผลัดเปลี่ยนดูแลก็จะดีมาก ๆ
  • 79. ผู้ดูแลต้องเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนอยู่เสมอ คนทั่วโลกต้องคิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ไม่ใช่เป็นปัญหาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทุกคนเมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องกลายเป็นผู้สูงอายุ เมื่อเป็นปัญหาของคนทุกคน ทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ เพื่อว่าเราจะได้มีความสุขเมื่อเราย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
  • 80. The world is a dangerous place to live in , not only because of the people who do evil ,but also because of the people who just only watch and see. “ Albert Einstein”
  • 81. สังคมที่เลวร้ายลงทุกวันนี้ ไม่ใช่พราะคนชั่วทำความเลวเท่านั้น แต่สาเหตุที่สำคัญกว่าคือ คนดีได้แต่จดจดจ้องจ้องไม่ทำอะไร “ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ” 
  • 83.