SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
บทที่ 10
ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น
1. บทนํา
ทะเลและมหาสมุทรจัดเปนเปลือกโลกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะคลายกับแองน้ําและมีน้ําปกคลุมอยู
สัดสวนพื้นที่ของมหาสมุทรคิดเปนพื้นที่รอยละ 71 ของเปลือกโลกทั้งหมด มหาสมุทร คือ สวนของผิวน้ําที่ถูก
ลอมรอบดวยทวีป สวนทะเลหมายถึงสวนที่เปนขอบของมหาสมุทร บางสวนเรียกวาอาวตามสภาพภูมิ
ประเทศ ดังที่ไดศึกษามาแลววาสวนของมหาสมุทรเปนหินจําพวกหินบะซอลตเปนสวนหนึ่งของเปลือกโลกที่
เรียกวา “ไซมา” (Sima) จาการศึกษาของนักวิทยาศาสตรพบวาน้ําที่แชขังอยูในแองของมหาสมุทรในระยะ
แรกจะเปนน้ําจืด แตเมื่อบนโลกเกิดปรากฏการณฝนตก หยาดน้ําฟาจะไหลจากภาคพื้นทวีปทําใหเกิดการ
ชะลาง การพัดพา และการละลายเอาเกลือแรตางๆ บนโลกใหลงมาสะสมอยูในทะเลติดตอกันมาเปนระยะ
เวลายาวนาน ในขณะเดียวกันน้ําในมหาสมุทรจะมีอัตราการระเหยกลายเปนไออยูตลอดเวลา จึงทําใหสาร
ละลายประเภทเกลือมีความเขมขนสูงขึ้นเปนสาเหตุที่วาทําไมน้ําทะเลจึงมีรสเค็ม ประกอบกับการศึกษา
รายชื่อเกลือแรที่ประกอบอยูในน้ําทะเลเราพบวาองคประกอบเปนเกลือคลอไรดถึงรอยละ 55 รองลงมาไดแก
เกลือโซเดียมรอยละ 31 นอกจากนั้นก็เปนแรธาตุชนิดอื่นๆ อยางไรก็ตามจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร
พบวาปริมาณแรธาตุที่ละลายในน้ําทะเลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุประการหนึ่งมาจากมนุษยสรางเขื่อนกั้น
ลําน้ําสาขาตางๆ ทําใหปริมาณน้ําจืดที่ไหลลงสูทะเลมีปริมาณลดลง
นอกจากนั้นเรายังพบวาความเค็มของน้ําทะเลที่ระดับน้ําทะเลนั้นแตกตางกันไปตามที่ตางๆ โดยทาง
ซีกโลกเหนือน้ําทะเลจะเค็มที่สุดใกลๆ กับบริเวณละติจูดที่ 25 องศาเหนือ สวนทางซีกโลกใตเค็มมากที่สุด
ที่ประมาณละติจูด 20 องศาใต เนื่องจากอัตราการระเหยของน้ําทะเลมีมากและหยาดน้ําฟาที่ตกลงมามี
ปริมาณนอยนั่นเอง
สําหรับอุณหภูมิของน้ําทะเลขึ้นอยูกับการแผรังสีความรอนของดวงอาทิตยมากที่สุด มีความแปรผัน
ตามระดับความลึก โดยจะมีความแตกตางกันทั้งในแนวราบ (จากเสนศูนยสูตรถึงขั้วโลก) และทางแนวดิ่ง
(จากระดับน้ําทะเลลงไปถึงทองมหาสมุทร) อุณหภูมิพื้นผิวโดยเฉลี่ยในฤดูรอนแตละมหาสมุทรจะแตกตางกัน
โดยมหาสมุทรอารกติกมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ําสุด 0 - 5 องศาเซลเซียส และมหาสมุทรอินเดีย อุณหภูมิเฉลี่ย
สูงสุด 25 - 27 องศาเซลเซียส สําหรับในแนวราบพบวาที่บริเวณเสนศูนยสูตรอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ําทะเล
ประมาณ 25 องศาเซลเซียส และที่ขั้วโลกประมาณ -2 องศาเซลเซียส (รัชนีกร บุญ-หลง , 2536.)
170
2. สวนประกอบของทะเล และมหาสมุทร
2.1 ลักษณะภูมิประเทศของทะเลและมหาสมุทร
ดังที่ไดศึกษามาแลววาทะเลและมหาสมุทรแบงเปนสวนของไหลทวีป (Continental Shelf)
ลาดทวีป (Continental Slope) ซึ่งจะมีความลาดชันที่แตกตางกัน โดยไหลทวีปเปนพื้นที่ที่ตอเนื่องจากทวีป
คอย ๆ ลาดจากชายฝงลงไปประมาณ 2 เมตร ตอระยะทาง 1 กิโลเมตร จนถึงตอนที่ระดับน้ําลึกประมาณ 120
เมตร สวนลาดทวีปจะอยูถัดจากไหลทวีปออกไป และมีความลาดชันมากประมาณ 65 กิโลเมตร ตอระยะทาง 1
กิโลเมตร ทอดไปถึงระดับน้ําลึกประมาณ 3,600 เมตร (รูปที่ 1) แยกพิจารณาดังนี้
ทวีป
(Continental) ไหลทวีป เนินลาดเรียบทวีป ภูเขายอดตัดใตทะเล
(Continental shelf) (Continental Rise) (Guyot)
ภูเขาสูงใตมหาสมุทร
ลาดทวีป เนินเขาทองสมุทร (Island)
(Continental Slope) (Abyssal hill)
รูปที่ 1 แสดงสวนตาง ๆ ของทะเลและมหาสมุทร
ที่มา : Alyn C. Duxbury และ Alison B. Duxbury , 1991.
2.1.1 ไหลทวีป (Continental Shelf) เริ่มจากชายฝงทะเลไปจนถึงบริเวณพื้นทองทะเล
ไปจนถึงบริเวณที่ทองทะเลมีการเปลี่ยนระดับความลาดชันที่สูงขึ้น ลักษณะพื้นผิวไหลทวีปเปนรอง สัน แอง
หรือพืดหินปะการัง หรือตะกอนกรวดทราย โคลน เปนตน ไหลทวีปเปนบริเวณที่ระดับทะเลมีการเปลี่ยนแปลง
อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก การชะลางพังทลายบนแผนดิน และการตกทับถมของตะกอนใน
มหาสมุทร
171
2.1.2 ลาดทวีป (Continental Slope) ตอเนื่องจากไหลทวีปลงไป มีระดับความลึก
2,000 - 3,000 เมตร ตอเนื่องไปจนถึงเนินลาดเรียบทวีป (Continental Rise) มีความลาดชันประมาณ 1 : 40
ลักษณะเปนพื้นที่คอนขางแคบ ตามลาดทวีปมักปรากฏภูมิประเทศแบบ "หุบผาชันใตทะเล" (Submarine
Canyon) มักพบบริเวณใกลปากแมน้ํา ซึ่งเกิดจากการพัดพากัดเซาะบริเวณดังกลาวใหกลายเปนรองลึก
และบริเวณเชิงหุบผาชันมักพบ "เนินตะกอนรูปพัดกนสมุทร" (Abyssal Fans) รูปรางคลายเนินตะกอนที่ถูก
พัดพามา หรือดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํา เกิดจากปริมาณตะกอนกรวดทรายที่ถูกพัดพามาตกทับถมกัน
2.1.3 เนินลาดเรียบทวีป (Continental Rise) เปนบริเวณที่ตอเนื่องจากลาดทวีปไปจนถึง
พื้นราบบาดาล (Abyssal Floor) ความลาดชันสูง 1:100 - 1: 700 ตอเนื่องกับพื้นราบบาดาล
2.1.4 พื้นราบบาดาล (Abyssal Floor) มีลักษณะเปนที่ราบเรียบ และลึก เปนที่สูงต่ํา เกิด
จากการตกทับถมของตะกอนตางๆ ที่พัดพามากับกระแสน้ํา บางปรากฏเปนเนินเขาเตี้ยๆ (Abyssal Hill) ไม
สูงมากพบไดทั่วไป พื้นราบบาดาลของมหาสมุทรที่เปนพื้นที่ทองมหาสมุทรมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย
อันไดแก สันเขา ที่ราบสูง แอง ภูเขา เชน สันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทอดยาวจากไอซแลนดลงมา
เกือบถึงทวีปแอนตารกติก มีบางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ําทะเลกลายเปนเกาะ (Island) เชน หมูเกาะอะซอรีส
หรือหมูเกาะฮาวาย มหาสุมทรแปซิฟก ลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ไดแก ภูเขาใตทะเล พบที่พื้นทองมหาสมุทร
บางลูกมียอดตัด เรียกวา “กีโอต” (Guyout) พบมากบริเวณตอนกลางและดานตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟก
ระหวางหมูเกาะมาเรียนากับหมูเกาะฮาวาย สําหรับยอดเขากีโอตอยูที่ระดับน้ําลึก 1,200-1,800 เมตร เดิม
เปนยอดภูเขาไฟแตถูกคลื่นกระทําใหเกิดการสึกกรอน หรืออาจมีปะการังมาเกาะเหนือยอดเขากลายเปนเขา
ยอดตัด และตอมาพื้นทองมหาสมุทรลดระดับลงต่ํา หรือระดับน้ําทะเลสูงขึ้นจึงจมลงไปอยูใตน้ํา
2.1.5 สันเขากลางมหาสมุทร (Ocean Ridge) เปนแนวเทือกเขาใตมหาสมุทร มีพื้นที่
ประมาณรอยละ 28 ของพื้นทองมหาสมุทร สวนของยอดสันเขามีลักษณะเปน "หุบเขาทรุด" (Rift Valley)
ลักษณะเปนรองลึก มีความกวางประมาณ 25 - 50 กิโลเมตร บริเวณหุบเขาทรุดมักเกิดปรากฏการณภูเขาไฟ
เสมอ เนื่องจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และการแทรกตัวของหินหนืดใตเปลือกโลก
จากการศึกษามหาสมุทรของนักสมุทรศาสตรพบวา มหาสมุทรแปซิฟกมีพื้นที่มากที่สุดถึง 180*106
ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 4,028 เมตร รองลงมาไดแก มหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ 107*106
ตา
รางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ย 3,332 เมตร สวนความลึกที่สุดของมหาสมุทรที่สํารวจพบ ไดแกมหาสมุทรแปซิฟก
ประกอบดวย
ป ค.ศ. บริเวณ ความลึก (เมตร)
1923 รองลึกมินดาเนา (Mindannu) 10,497
1952 รองลึกตองกา (Tonga) 10,882
1959 รองลึกมาเรียนา (Mariana) 11,028
1960 รองลึกมาเรียนา (Mariana) 11,034
ที่มา : I.S.Allison and D.F. Plamer ,1980.
172
3. กระแสน้ํามหาสมุทร (Ocean Current)
กระแสน้ํามหาสมุทร คือ การไหลของน้ําทะเลตามแนวราบอยางสม่ําเสมอ มีทั้งกระแสน้ําเย็นและ
กระแสน้ําอุน ซึ่งมีสวนชวยในการปรับอุณหภูมิบนผิวโลก และชวยถายเทความรอนดวยเชนกัน สาเหตุของ
การเกิดกระแสน้ําพบวาเกิดจากสาเหตุและปจจัยดังตอไปนี้
3.1 ปจจัยที่มีผลตอการเกิดกระแสน้ําในมหาสมุทร
3.1.1 ลม (Wind) เปนตัวการสําคัญ โดยจะทําใหผิวน้ําเกิดระลอกคลื่นเล็กๆ
และเมื่อมีการถายเทพลังงานมากขึ้นจึงทําใหเกิดกระแสน้ําขึ้น และนับวาลมยังมีสวนในการกําหนดทิศทางการ
ไหลของกระแสน้ําอีกดวย
3.1.2 อุณหภูมิ (Temperature) เราทราบมาแลววาความแตกตางของอุณหภูมิ
มีผลตอความหนาแนนของน้ําทะเล จึงเปนสาเหตุหนึ่งของการเกิดกระแสน้ํา น้ําทะเลที่มีความหนาแนนมาก
และมีอุณหภูมิต่ําจะจมตัวลง และน้ําทะเลที่มีอุณหภูมิสูงและความหนาแนนนอยกวาจะเคลื่อนตัวเขามาแทนที่
จึงเปนจุดเริ่มตนของการเคลื่อนไหวของกระแสน้ําในมหาสมุทรนั่นเอง
3.1.3 แรงเหวี่ยงของโลก การที่โลกหมุนรอบตัวเองทําใหเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย
กลาง ซึ่งมีอิทธิพลตอการเคลื่อนที่ของกระแสน้ํา โดยในซีกโลกเหนือการไหลของกระแสน้ําจะเบี่ยงเบนไปทาง
ขวามือ สวนในซีกโลกใตจะเบี่ยงเบนไปทางซายมือ หรือซีกโลกเหนือกระแสน้ําไหลตามเข็มนาฬิกา และซีกโลก
ใตไหลทวนเข็มนาฬิกา
4. กระแสน้ําในมหาสมุทรตางๆ ของโลก (Ocean Currents)
รูปที่ 2 แสดงการเคลื่อนที่ของกระแสน้ําอุนและกระแสน้ําเย็น
ที่มา : Robert W. Christopherson, 1995.
173
การเคลื่อนที่ของกระแสน้ําในมหาสมุทรสามารถแยกพิจารณา ไดแก มหาสมุทรแอตแลนติก
มหาสมุทรแปซิฟก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรอารกติก และมหาสมุทรแอนตารกติก ซึ่งกระแสน้ําที่ไหล
ในแตละมหาสมุทรมีสวนสัมพันธกัน ดังนี้
4.1 มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean)
การเคลื่อนไหวของกระแสน้ําจะเดนชัดมากกวามหาสมุทร อื่น ๆ โดยแยกเปน 2 สวน ดังนี้
4.1.1 กระแสน้ําในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ (North Atlandtic Ocean Current)
เนื่องจากอิทธิพลของลมสินคาจึงทําใหเกิดกระแสน้ําอุน เรียกวา “กระแสนน้ําศูนยสูตรแอตแลนติกเหนือ”
(North Atlantic Equatorial Current) ไหลผานชองแคบฟอลริดา จากนั้นไหลไปทางเหนือเลียบชายฝงตะวัน
ออกของอเมริกาเหนือ ตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตกเราเรียกวา “กระแสน้ํากัลฟสตรีม” (Gulf
Stream) เมื่อกระแสน้ําเคลื่อนที่มาถึงเกาะนิวฟนดแลนดจะปะทะกับกระแสน้ําเย็นชื่อวา “ลาบราเดอร”
(Labrador Current) ทําใหกระแสน้ําเย็นลาบราเดอรสลายตัวไป จากนั้นกระแสน้ําอุนกัลฟสตรีมจะไหลตอไป
ทางทิศตะวันออก ตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตก ขามมหาสมุทรแอตแลนติก เรียกวา “สายน้ําแอต
แลนติกเหนือ” (The North Atlantic Drift)
4.1.2 กระแสน้ําในมหาสมุทรแอตแลนติกใต (South Atlantic Ocean Current) ไดรับ
อิทธิพลจากลมสินคาตะวันออกเฉียงใตทําใหเกิด “กระแสน้ําศูนยสูตรแอตแลนติกใต” (South Atlantic
Equatorial Current) เปนกระแสน้ําอุนไหลไปทางทิศตะวันตกจรดชายฝงประเทศบราซิล กอนที่จะไหลขึ้นไป
พบกับกระแสน้ําเย็นที่เกาะฟอลกแลนด กระแสน้ําเย็นดังกลาว คือ “กระแสน้ําฟอลกแลนด” (Falkland
Current) จากนั้นกระแสน้ําอุนจะไหลเปลี่ยนทิศทางขามมหาสมุทรแอตแลนติกไปรวมกับกระแสน้ําเย็น
“สายน้ําลมตะวันตก” (West Wind Drift) ที่ไหลไปตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตก โดยจะไหล
ผานเขาไปในมหาสมุทรแปซิฟก และมหาสมุทรอินเดีย
4.2. มหาสมุทรแปซิฟก (Pacific Ocean)
กระแสน้ําในมหาสมุทรแบงออกเปน 2 สวน คือ
4.2.1 กระแสน้ําในมหาสมุทรแปซิฟกเหนือ (North Pacific Ocean Current) บริเวณ
เหนือเสนศูนยสูตร เกิดจากอิทธิพลของลมสินคาตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดเปนกระแสน้ําอุนชื่อ “กระแสน้ํา
ศูนยสูตรแปซิฟกเหนือ” (North Pacific Equatorial Current) ไหลไปทางตะวันตกจนถึงหมูเกาะฟลิปนส
กอนจะวกขึ้นไปทางเหนือตามอิทธิพลของลมมรสุมฤดูรอนและลมประจําฝายตะวันตกเลียบชายฝงของประเทศ
ญี่ปุนกลายเปนกระแสน้ําอุน “กุโรซิโว” (Kuroshio Current) ไหลผานทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟก
ตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตกมาจนถึงชายฝงตะวันตกของอเมริกาเหนือ เรียกวา กระแสน้ําอุน
“สายน้ําแปซิฟกเหนือ” (North Pacific Current) บริเวณละติจูด 35 - 45 องศาเหนือ กอนที่จะแยกเปนสอง
สายไปตามชายฝงประเทศแคนาดา และไหลขึ้นไปปะทะกับกระแสน้ําเย็นกอนสลายตัวไปในที่สุด
4.2.2 กระแสน้ําในมหาสมุทรแปซิฟกใต (South Pacific Ocean Current) มีกระแส
น้ําอุนชื่อ “กระแสน้ําศูนยสูตรแปซิฟกใต” (South Pacific Equatorial Current) ไหลไปปะทะกับชายฝง
ของออสเตรเลียกอนเปลี่ยนทิศทางไหลเลียบชายฝงไปทางใตและไหลจนไปปะทะกับกระแสน้ําเย็น “สายน้ํา
ตะวันตก” (West Wind Drift) ตามแนวละติจูด 30 – 70 องศาใต และสลายตัวไปในที่สุด
174
4.3. มหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean)
กระแสน้ําที่ปรากฎจะไมเดนชัดเนื่องจากอยูในเขตรอนและอยูในเขตอิทธิพลของลมมรสุม
สามารถแยกพิจารณาไดดังนี้
4.3.1 กระแสน้ําในมหาสมุทรอินเดียเหนือ (North Indian Ocean Current) เนื่องจาก
เปนเขตรอนกระแสน้ําเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุม คือ ในชวงฤดูฝนมีลมมรสุมรอนที่เกิดจากทิศตะวันตกเฉียง
ใตไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเกิดกระแสน้ําอุนจากบริเวณศูนยสูตรเขาไปยังอาวเบงกอล เรียกวา
“กระแสน้ํามรสุมตะวันตกเฉียงใต” ในทางกลับกันชวงฤดูหนาวจะเปนกระแสน้ําอุนที่พัดจากอาวเบงกอลมายัง
เสนศูนยสูตรเรียกวา “กระแสน้ํามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” นอกจากนี้ยังมีกระแสน้ําอุนชื่อ “กระแสน้ํา
ศูนยสูตรอินเดียเหนือ” (North Indian Equatorial Current) ไหลจากเกาะสุมาตราไปทางทิศตะวันตกจนไป
ปะทะกับชายฝงตะวันออกของแอฟริกา และเปลี่ยนทิศทางไหลวกลงไปทางใตและไหลยอนกลับขึ้นมาตามแนว
ศูนยสูตร กลายเปน “กระแสน้ําสวนทางศูนยสูตรอินเดีย” ตอไป
4.3.2 กระแสน้ําในมหาสมุทรอินเดียใต (South Indian Ocean Current) ไดแก
“กระแสน้ําศูนยสูตรอินเดียใต” (South Indian Equatorial Current) ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันตกตามอิทธิพล
ของลมสินคาตะวันตกเฉียงใตไหลไปปะทะกับชายฝงตะวันออกของแอฟริกากอนแยกเปน 2 สายตอไป
4.4. มหาสมุทรอารกติก (Arctic Ocean) เปนมหาสมุทรที่ถูกปดลอมดวยทวีปเกือบทั้งหมด จึงมี
แตกระแสน้ําเย็นไหลออกสูมหาสมุทรอื่นๆ เชน กระแสน้ําเย็นเบริ่ง กระแสน้ําเย็นโอยาชิโว กระแสน้ําเย็นกรีน
แลนด และกระแสน้ําเย็นลาบราเดอร เปนตน
4.5. มหาสมุทรแอนตารกติก (Antarctic Ocean) พบวากระแสน้ําบริเวณมหาสมุทรนี้จะมีกระแส
ไหลไปโดยรอบในทิศทางตามเข็มนาฬิกาปรากฏเดนชัดมากในแนวละติจูด 50 - 60 องศาใต กระแสน้ําจาก
แถบนี้จะเปนกระแสน้ําเย็นทั้งหมด
5. ชายฝงทะเล
5.1 ลักษณะและองคประกอบของชายฝงทะเล
ชายฝงทะเล (Coast) เปนเขตความกวางระหวางกลางนับจากแนวชายทะเลเขามาในสวน
ของแผนดิน ราชบัณฑิตยสถาน (2519) ใหความหมายของชายฝงทะเลไววา เปนแถบของแผนดินนับจาก
แนวชายทะเล (Shoreline) ( แนวชายทะเล หมายถึง แนวระดับใดระดับหนึ่งของน้ําทะเล ณ เวลาหนึ่ง อยู
ระหวางระดับน้ําทะเลขึ้นสูงสุด และลงต่ําสุด ) ขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง
อยางชัดเจน มีความกวางกําหนดไมแนนอน อาจหลายกิโลเมตรก็ได บริเวณชายฝงทะเลอาจติดกับหนาผาสูง
ริมทะเล (Sea Cliff) ก็ได ดังนั้นชายฝงทะเล (Cost) จึงหมายถึงแถบของแผนดินนับจากแนวชายทะเลขึ้นไป
บนบก จนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอยางเดนชัด มีความกวางกําหนดไดไมแนนอน สวน
บริเวณที่แผนดินอยูใกลเคียงกับแนวชายฝง (Coastline) เรียกวา ชายทะเล (Shoreline) แบงเปนดังนี้
175
ชายทะเล (Shore) เปนเขตชายทะเลตั้งแตระดับน้ําลงต่ําสุด ขึ้นมาบนสวนชายหาดที่ถูกรบ
กวนจากคลื่น ตามแนวระดับน้ําทะเลสูงสุด
ชายทะเลสวนใน (Backshore) เปนบริเวณระหวางแนวน้ําขึ้นสูงสุด ถึงตีนหนาผา ในกรณีที่
ไมมีชายทะเลสวนใน น้ําจะขึ้นไปถึงตีนหนาผา สวนที่เปนชายทะเลสวนในจะมีบริเวณที่เปนชายฝงเสมอ
สันทราย หรือสันหาด (Berm) เปนหาดทรายชวงบนที่น้ําทะเลขึ้นไมถึง เวนแตในเวลาที่มี
พายุจัด จึงมีคลื่นซัดเขามาถึง ลักษณะคลายที่ราบเปนชั้นอยูสูงกวาระดับน้ําทะเลและเปลี่ยนแปลงได เกิด
จากดินหรือทรายที่พังลงจากขอบชายฝง หรือถูกคลื่นพัดพาเอาทรายมาทับถมกัน ลักษณะยาวขนานตลอด
ชายฝง
ชายทะเลสวนนอก (Foreshore) ไดแก บริเวณที่นับจากแนวน้ําลงต่ําสุด ถึงแนวน้ําขึ้นสูง
สุด ชายทะเลสวนนี้จะอยูใตระดับน้ําทะเลเกือบตลอดเวลา
นอกชายฝง (Offshore) คือบริเวณตั้งแตแนวน้ําลงต่ําสุดออกไปในทะเล (รูปที่ 3)
ชายทะเลสวนใน ชายทะเลสวนนอก นอกชายฝง
(Backshore) (Foreshore) (Offshore)
รูปที่ 3 แสดงลักษณะของชายฝงทะเล
ที่มา : Tom L. Mcknight , 1990.
5.2 ประเภทของชายฝงทะเล
ในทางภูมิศาสตรจะกําหนดชายฝงทะเล ตามลักษณะการกําเนิดและการเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นเปน 5 ประเภท ใหญๆ ดังนี้
5.2.1 ชายฝงทะเลยุบจม (Submerged Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดขึ้นจากการที่
เปลือกโลกในบริเวณริมฝงทะเลยุบจมตัวลง หรือการที่น้ําทะเลยกระดับขึ้น ทําใหบริเวณที่เคยโผลพนระดับน้ํา
ทะเลจมอยูใตผิดน้ํา ชายฝงทะเลประเภทนี้สวนใหญมีลักษณะภูมิประเทศเปนหนาผาชัน ไมคอยมีที่ราบชาย
ฝงทะเล และแนวชายฝงทะเลมีลักษณะเวาแหวงมาก หากลักษณะภูมิประเทศเดิมเปนภูเขาเมื่อเกิดการยุบจม
ตัวมักกอใหเกิดเกาะตางๆ บริเวณชายฝงทะเลยุบตัวในประเทศไทย ไดแก แถบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต
กระบี่ ตรัง และสตูล การยุบตัวของชายฝงทะเลบริเวณนี้มีผลทําใหน้ําทะเลไหลทวมเขามา เชน บริเวณอาว
พังงา ซึ่งภายในมีเกาะขนาดเล็กเรียงรายอยูเปนจํานวนมาก ซึ่งเกาะเหลานี้คือภูเขาหินปูนที่โผลพนน้ําขึ้นมา
นั่นเอง
176
5.2.2 ชายฝงทะเลยกตัว (Emerged Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดจากการที่
เปลือกโลกยกตัวขึ้น หรือน้ําทะเลมีการลดระดับลง ทําใหบริเวณที่เคยจมอยูใตระดับน้ําทะเลโผลพนผิวน้ําขึ้น
มา ถาหากแผนดินเดิมที่เคยจมตัวอยูใตระดับน้ําทะเลเปนบริเวณที่มีตะกอน กรวด ทราย ตกทับถมกันมา
เปนเวลานาน จะทําใหเกิดที่ราบชายฝงที่มีบริเวณกวางและมีแนวชายฝงเรียบตรงไมคอยเวาแหวงมาก ชายฝง
ทะเลลักษณะนี้พบไดทั่วไปในบริเวณภาคใตฝงตะวันออกของประเทศไทยตั้งแตจะงหวัดชุมพรลงมาถึงจังหวัด
นราธิวาส ชายฝงทะเลยกตัวบางแหงอาจมีฝงชัน และมีลักษณะเปนภูเขา เนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศ
เดิมที่อยูใตทะเลมีความลาดชันมาก เชน ชายฝงทะเลภาคตะวันออกบริเวณอาวพัทยา อําเภอสัตหีบ และ
อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
5.2.3 ชายฝงทะเลคงระดับ (Neutral Shoreline) หมายถึงชายฝงทะเลที่ไมมีการ
เปลี่ยนแปลงใดๆ ระหวางระดับน้ําทะเลและบริเวณชายฝงของทวีป แตยังคงมีการทับถมของตะกอนตางๆ
เกิดขึ้น ลักษณะชายฝงทะเลประเภทนี้ไดแก ชายฝงดินตะกอนรูปพัด ชายฝงดินดอนสามเหลี่ยม ชายฝงแบบ
ภูเขาไฟ ชายฝงแนวหินปะการัง ชายฝงหินปะการังแนวขวางและชายฝงปะการังรูปวงแหวน
5.2.4 ชายฝงทะเลรอยเลื่อน (Fault Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดจากการเลื่อนตัว
ของเปลือกโลกตามบริเวณชายฝงทะเล ถารอยเลื่อนมีแนวเลื่อนลงไปทางทะเลจะทําใหระดับของทะเลลึกลงไป
หรือถารอยเลื่อนมีแนวเลื่อนลึกลงไปทางพื้นดิน จะทําใหน้ําทะเลไหลเขามาในบริเวณพื้นดิน
5.2.5 ชายฝงทะเลแบบผสม (Compounded Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดจาก
หลายๆ ลักษณะที่กลาวมาแลวขางตน ชายฝงทะเลประเภทตางๆ เหลานี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้ง
ในรูปแบบของการกัดเซาะและการทับถม โดยมีตัวการที่สําคัญคือ คลื่น ลม และกระแสน้ํา ชายฝงทะเลแบบ
ผสมเปนลักษณะชายฝงที่มีการผสมผสานกันหลายแบบจนไมสามารถจําแนกเปนแบบใดแบบหนึ่งไดชัดเจนลง
ไปได อาจมีลักษณะรวมกันของชายฝงตั้งแตสองชนิดขึ้นไป ซึ่งเปนลักษณะแนวชายฝงสวนใหญบนโลกของเรา
6. การเคลื่อนไหวของน้ําทะเล
การเคลื่อนไหวของน้ําทะเลสามารถแยกพิจารณาได 3 สวน ดังนี้
6.1 การเกิดคลื่น (Wave)
คลื่นเกิดจากลม แผนดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และจากการที่ลมพัดมากระทบกับผิวน้ํา
จะทําใหผิวน้ํานูนสูงขึ้นคลายสันเขาความสูงของคลื่นทําใหเราทราบถึงความแรงของลม เมื่อคลื่นเคลื่อนตัว
ออกจากแหลงกําเนิดจะมีขนาดใหญขึ้นเนื่องจากมันรวมเอาคลื่นขนาดเล็กๆ เขาไปไวดวย เมื่อคลื่นเคลื่อนที่
เขากระทบฝงจะกระทบกับพื้นกอนทําใหคลื่นมีความสูงมากขึ้นแนวดานหนาของคลื่นจะโคงขนานไปกับชายฝง
เราเรียกวาการหักเหของคลื่น เมื่อใกลฝงมากขึ้น แรงเสียดทานของพื้นทะเลจะมีมากขึ้นทําใหผิวหนาของคลื่น
แตก เราเรียกวา “คลื่นหัวแตก” (Breaker) เราจะสังเกตเห็นไดเมื่อคลื่นเคลื่อนที่เขามากระทบฝง น้ําจะแตกซา
เปนฟองกลายเปนฟองคลื่นบนหาด สําหรับคลื่นที่เกิดจากแผนดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด เราเรียกวา
“ชูนามิส“(Tsunamis) มีความยาวของคลื่นประมาณ 100 - 200 กิโลเมตร แตมีความสูงเพียง 0.3 - 0.6 เมตร
เมื่อเกิดคลื่นชนิดนี้ผูที่อยูบนเรือหรือชาวประมงจะไมสามารถสังเกตเห็นได ประกอบกับระยะเวลาในการเกิด
177
การเขาหาฝงของน้ําทะเล
การถอยกลับของน้ําทะเล
คลื่นจะสั้นมาก คือ ประมาณ 10 – 30 วินาทีเทานั้น แตคลื่นชนิดนี้จะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงถึง 500 -
800 กิโลเมตรตอชั่วโมง ดังนั้นเมื่อคลื่นชูนามิส เคลื่อนที่เขาหาฝงจะทําใหระดับน้ําทะเลชายฝงสูงกวาสภาพ
ปกติ 15 - 30 เมตร จึงสงผลใหเกิดน้ําทวมชายฝงทะเลอยางรุนแรง กอใหเกิดความเสียหายตอชีวิตและทรัพย
สินเปนอันมาก
6.2 สวนประกอบของคลื่น
คลื่นประกอบดวยสวนของยอดคลื่น (Crest) คือจุดสูงสุดบนคลื่น สวนทองคลื่น (Trough)
คือ ระยะในแนวดิ่งจากยอดคลื่นถึงทองคลื่น และ ความสูงของคลื่น (Amplitude) คือระยะในแนวราบจาก
ยอดคลื่น หรือจากทองคลื่นถึงอีกทองคลื่นหนึ่งตอเนื่องกัน (รูปที่ 4) สําหรับการเคลื่อนที่ของกระแสน้ําในคลื่น
มีลักษณะการเคลื่อนที่แบบวงกลม เกิดทั้งบริเวณผิวน้ําและใตผิวน้ํา วงกลมของการเคลื่อนที่หมุนวนของ
กระแสน้ําจะเล็กลง เมื่อระดับความลึกเพิ่มขึ้น บริเวณน้ําตื้นทองคลื่นจะเคลื่อนที่กระทบพื้นดิน การเคลื่อนจะมี
ลักษณะเปนวงรี เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เขาหาฝง สวนบนของผิวน้ําของคลื่นยังเคลื่อนที่ดวยความเร็ว ขณะที่ทอง
คลื่นมีแรงเสียดทานจากพื้นผิว คลื่นจึงยกตัวสูงขึ้น มวนตัว และถลําไปขางหนา เกิดการฟาดตัวกับชายฝง
กลายเปนคลื่นแตกฟอง เราเรียกวา "คลื่นหัวแตก" (Breaker หรือ Surf) คลื่นที่ซัดเขาหาฝงบนสภาพที่มีความ
ลาดชันนอยเราเรียกวา "การเขาหาฝงของน้ําทะเล" (Swash) เมื่อคลื่นซัดกระทบหาดแลวสลายตัวไปในที่สุด
เราเรียกวา "การถอยกลับของน้ําทะเล" (Backwash) คลื่นหัวแตกโดยทั่วไปแบงออกเปน 3 ชนิด ดังนี้
ยอดคลื่น
ความสูงคลื่น ระดับน้ําทะเล
ทองคลื่น
คลื่นหัวแตก
การเขาหาฝงของน้ําทะเล
การเคลื่อนที่ของกระแสน้ําในคลื่นแบบวงกลม
คลื่นหัวแตก
รูปที่ 4 แสดงสวนประกอบและการกระทําของคลื่นตอชายฝงทะเล
ที่มา : Tom L. Mcknight , 1990.
178
6.2.1 คลื่นหัวแตกยอดกระจาย (Spilling Breaker) ยอดคลื่นแตกกระจายเปนฟอง
และเปนระรอกคลื่นเล็กๆ ตอเนื่องกันไป เกิดบริเวณหาดที่มีความลาดชันนอย
6.2.2 คลื่นหัวแตกมวนตัว (Plunging Breaker) คลื่นที่มียอดคลื่นมวนตัวเขาหาชายหาด
และกระแทกกับชายหาดแตกกระจายเปนฟอง เกิดขึ้นในบริเวณที่ชายหาดมีความลาดชันนอย
6.2.3 คลื่นหัวแตกใกลฝง (Surging Breaker) เกิดบริเวณหาดทรายที่มีความลาดชันมาก
ระลอกคลื่นจะสะสมรวมกันและมียอดเออสูงขึ้น แตยอดคลื่นจะไมมวนตัว และไมแตกกระจายเปนฟองจนกวา
จะเขาถึงหาดจึงจะโถมตัวกระแทกแตกกระจายเปนฟอง
คลื่นมีผลตอกระแสน้ําชายฝง (Longshore Currents) แบงเปน 2 ลักษณะ คือ เกิดเปน
กระแสน้ําชายฝงจากคลื่นซัดหาชายฝงในแนวเฉียง โดยจะเกิดกระแสน้ํามีแนวขนานกับชายฝงและพัดพาเอา
กรวดทราย ครูดไถไปตามทองน้ํา ชวยในการพัดพาตะกอนสูทะเลลึกไดสวนหนึ่ง นอกจากนั้นยังเกิดกระแสน้ํา
จากคลื่นซัดหาด (Rip Currents) เกิดจากเมื่อคลื่นซัดเขาหาฝง จะเกิดกระแสน้ําไหลออกจากฝงเรียกวา
"กระแสน้ําจากคลื่นซัดหาด" กระแสน้ํานี้จะไหลไปตามรองแคบ ผานแนวสันดอนชายฝงสูทองทะเล และจะ
ออนตัวลดความเร็วลงตามระดับความลึกตอไป
7. กษัยการของคลื่น
คลื่นนับเปนตัวการที่สําคัญตัวหนึ่งที่ทําใหเกิดกษัยการบริเวณพื้นที่ชายฝงทะเลที่เกิดขึ้นอยางตอเนื่อง
ตลอดเวลา แตความรุนแรงจะแตกตางกันในแตละวัน นับวาคลื่นเปนตัวการที่สําคัญที่สุดที่ทําใหชายฝงทะเล
เกิดการเปลี่ยนแปลง ในชวงที่คลื่นมีความรุนแรงในการกระทําลดลงอันเนื่องมาจากเปนชวงที่ลมสงบก็จะชวย
เสริมสรางหาดทรายและการทับถมอยางตอเนื่องตลอดเวลา ในทางตรงกันขามถาเปนชวงที่เกิดลมแรงและ
ความรุนแรงของคลื่นเพิ่มขึ้นจะสงผลใหกษัยการของคลื่นกระทําโดยตรงตอภูมิประเทศชายฝงคลื่นจะกัดเซาะ
ชายฝงกวาดตะกอนที่ทับถมลงสูทะเลลึกนอกชายฝงตอไป อยางไรก็ตามปรากฏการณน้ําขึ้นน้ําลง (Tide) นับ
วามีผลตอแนวชายฝงโดยตรงแตไมมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับคลื่น น้ําขึ้นและน้ําลงจะมีผลกระทบตอแนวชาย
ฝงที่อยูระหวางความสูงของระดับน้ําทะเลต่ําสุด และสูงสุด สวนกระแสน้ํานั้นจะชวยพัดพาเอาตะกอนที่เปน
เศษหินดินทรายออกจากชายฝงไปทับถมอยูบริเวณใกล ๆ กับชายฝงนั่นเอง
7.1. กษัยการของคลื่น
กระบวนการกระทําของคลื่นกอใหเกิดการกัดเซาะและการทับถมของชายฝงทะเล กษัยการ
ที่เกิดจากน้ําทะเลที่กระทําตอชายฝงมีอยู 3 รูปแบบ ดังนี้
7.1.1 การครูดไถ (Corrosion) เกิดจากการที่คลื่นพัดพาเอากรวดทราย หินชนิดตาง ๆ ไป
ดวย และเมื่อคลื่นซัดเขาสูชายฝงจะเกิดการกัดเซาะชายฝงใหผุกรอนโดยกรวดทรายหินเหลานี้จะครูดไถใหชาย
ฝงผุกรอนพังทลาย และถูกกระแสน้ําพัดพามาทับถมเปนหาดทราย
179
7.1.2 การสึกกรอน (Attrition) เกิดจากการที่คลื่นเคลื่อนที่เขาสูชายฝงอยางตอเนื่องตลอด
เวลา ทําใหตะกอนบริเวณชายหาดถูกพัดพาไปขัดสีกับหินหนาผาชายฝง ขณะเดียวกันตะกอนดวยกันก็จะขัดสี
กันเอง เชน หินตาง ๆ ตะกอนที่เกิดจากการสึกกรอนเหลานี้ ตอมาจะถูกกระแสน้ําชายฝงพัดพามาทับถมเปน
หาดทรายชายฝงตอไป
7.1.3 การละลาย (Solvent Action) การละลายจะเกิดไดดีบริเวณโครงสรางของชายฝงที่
เปนหินปูน โดยการกระทําของน้ําทะเลจะชวยทําใหสารแคลเซียมคารบอเนตในหินปูนเกิดการเปลี่ยนแปลงทํา
ใหมวลหินมีการผุพังสลายตัว แตกออกมา
อยางไรก็ตามอัตราการกษัยการที่เกิดขึ้นจากการกระทําของคลื่นและน้ําทะเลจะเกิดมาก
หรือนอยจะขึ้นอยูกับลักษณะโครงสรางของมวลหินที่ยื่นออกไปในทะเล ความรุนแรงของคลื่น กระแสน้ํา น้ําขึ้น
น้ําลง รวมทั้งการกระทําของมนุษย และการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก การระเบิดของภูเขาไฟ ลวนแตเปนปจจัย
ที่มีผลตอการกระทําของน้ําทะเลโดยคลื่นที่มีตอลักษณะภูมิประเทศชายฝงทะเลทั้งสิ้น
8. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากกษัยการของน้ําทะเล
กษัยการของน้ําทะเล หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศแถบชายฝงอันเนื่องมาจากการ
กระทําของคลื่น การเกิดน้ําขึ้นน้ําลง และกระแสน้ํา ทําใหเกิดลักษณะภูมิประเทศชายฝงที่แตกตางกันออกไป
สองประเภทใหญๆ ไดแก
8.1 ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ
เปนลักษณะภูมิประเทศที่เกิดบริเวณชายฝงทะเลน้ําลึก ลักษณะชายฝงลาดชันลงสูทอง
ทะเล ทําใหเกิดการกัดเซาะของคลื่นและกระแสน้ําอยางรุนแรง เกิดเปนลักษณะภูมิประเทศตางๆ เชน หนา
ผาชันริมทะเล (Sea Cliff) เวาทะเล (Sea Notch) ถาทะเล (Sea Cave) เกาะทะลุ (Sea Arch) สะพาน
หินธรรมชาติ (Sea Arch) และชวากทะเล (Estuary) เปนตน
รูปที่ 5 แสดงลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ
ที่มา : Robert W. Christopherson , 1994.
180
8.1.1 แหลมและอาว (Cape and Bay)
เกิดจากโครงสรางหินบริเวณชายฝงมีความแตกตางกัน ทําใหการผุพังชาเร็วตางๆ
กัน ลักษณะของชายฝงจะเวาแหวงไมสม่ําเสมอกัน บางสวนยื่นออกไปในทะเล เรียกวา แหลม (Cape) เปน
สวนของโครงสรางหินที่แข็งแรงกวาและทนตอการกระทําของคลื่นและกระแสน้ําชายฝง สวนที่มีการพังทลาย
มากเปนหินที่มีความออนตัวกวาจึงถูกคลื่นและกระแสน้ํากัดเซาะจนเวาลึกเขาไปกลายเปนอาว (Bay)
รูปที่ 6 แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต
ที่มา : จากการสํารวจ
8.1.2 หนาผาสูงชัน (Sea Cliff)
มักเกิดบริเวณหนาผาสูงชันริมฝงที่หันหนาออกไปในทะเล เกิดจากการกัดเซาะ
ของคลื่นทําใหเกิดลักษณะภูมิประเทศเปนหนาผาสูงชันบริเวณชายฝง และมีระดับน้ําทะเลบริเวณฐานของหนา
ผานั้นๆ โดยคลื่นจะเซาะกรอนบริเวณฐานของหินแข็ง และเกิดการพังทลายของหินเหนือระดับน้ําทะเล อัน
เนื่องมาจากการรับน้ําหนัก หรือเกิดการลื่นไถลลงสูทะเลตามแนวโครงสรางหินทําใหดานติดทะเลมีความลาด
ชันสูงเปนหนาผา นอกจากนั้น อาจเกิดจากการจมตัวของสภาพชายฝงทะเล หรือการเพิ่มระดับความสูงของน้ํา
ทะเลก็ได
รูปที่ 7 แสดงลักษณะภูมิประเทศหนาผาสู
ชันริมทะเล
ที่มา : Charles C. Plummer , 1991.
181
8.1.3 รอยน้ําเซาะหิน (Sea Notch)
เรียกอีกอยางหนึ่งวา “เวาทะเล” พบตามชายฝงทะเล เปนลักษณะภูมิประเทศที่
เกิดตอเนื่องจากการเกิดหนาผาสูงชันโดยมีลักษณะเปนรอยเวาตามแนวยาว เกิดบริเวณฐานของหนาผาชันริม
ทะเลตอนที่อยูในแนวระดับของการเกิดน้ําขึ้นและน้ําลง เกิดจากการกัดเซาะโดยคลื่นและการละลายของหินปูน
กระทําใหบริเวณฐานลางของหนาผาสูงชันเวาเขาไปขางใน เมื่อรอยน้ําเซาะหินขยายตัวกวางจนหินชวงบนรับ
น้ําหนักไมไหวก็จะหักพังลงมากลายเปนหนาผาสูงชันริมทะเล (Sea Cliff) ซึ่งรอยน้ําเซาะหินนี้จะเปนหลักฐาน
แสดงใหเห็นระดับน้ําทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอดีตได
รูปที่ 8 แสดงรอยน้ําเซาะหินตอนที่อยูใน
แนวระดับของน้ําขึ้นน้ําลง
ที่มา : จากการสํารวจ
8.1.4 ถ้ําทะเล (Sea Cave)
ถ้ําทะเลเกิดจากการกัดเซาะของคลื่นที่หินผาสูงชันชายฝง โดยน้ําทะเลจะกัดเซาะ
ใหหินเกิดการผุพัง ทําใหเกิดเปนชองหรือโพรงลึกเขาไป ในระยะแรกอาจเปนเพียงชองหรือโพรงขนาดเล็ก
(Grotto) แตเมื่อเวลาผานไปนานเขาก็จะกลายเปนชองหรือโพรงขนาดใหญมากขึ้น (Cave) บางครั้งโพรงนั้น
ทะลุออกไปอีกดานหนึ่งทําใหเกิดลักษณะที่เรียกวา “ถ้ําลอด” หรือ “เกาะทะลุ” ถาเกิดบริเวณภูมิประเทศที่
เปนหินปูนก็จะเกิดเปนโพรงถ้ําขนาดใหญไดงายขึ้น เนื่องจากมีการกระทําของน้ําฝนและน้ําใตดินเขามาเกี่ยว
ของ ปากถ้ํามักอยูบริเวณที่มีน้ําขึ้นลงสูงสุดและต่ําสุด เนื่องจากเปนชวงเวลาที่คลื่นสามารถกัดเซาะหินชายฝง
ได แตในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ําทะเลอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกอาจทําใหบริเวณ
ปากทําอยูสูง หรือต่ํากวาระดับน้ําทะเลปจจุบันก็ไดเชนกัน
รูปที่ 9 แสดงลักษณะภูมิประเทศถ้ําทะเล
บริเวณอาวพังงา จังหวัดพังงา
ที่มา : จากการสํารวจ.
8.1.5 พานหินธรรมชาติ (Sea Arch)
182
เปนโพรงหินชายฝงทะเลที่ทะลุออกทางทะเลทั้งสองดาน คลายคลึงกับถ้ําลอดที่
เกิดขึ้นบนเกาะ แตสะพานหินธรรมชาติมักเกิดบริเวณหัวแหลม ซึ่งมีการกัดเซาะทั้งสองดานพรอมกันจนโพรง
หินทะลุถึงกัน เกิดจากคลื่นและน้ําขึ้นน้ําลงที่กระทําตอหินชายฝง หรือเกาะใหเกิดเปนรูปโคงงอคลายซุมประตู
โดยหินสวนที่เหลืออยูเหนือโพรงจะมีลักษณะคลายสะพาน ตัวอยางของสะพานหินธรรมชาติที่สวนงามมาก
แหงหนึ่งของประเทศไทยคือที่เกาะไข อุทยานแหงชาติเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล
รูปที่ 10 แสดงลักษณะภูมิประเทศสะพาน
หินธรรมชาติ เกาะไข อุทยานแหงชาติตะ
รุเตา จังหวัดสตูล.
ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวด-
ลอม กระทรวงวิทยาศาสตรฯ , 2538.
8.1.6 เกาะหินชะลูด (Stack)
หรือเรียกอีกอยางหนึ่งวาเกาะหินโดง หมายถึงเกาะโขดหินขนาดเล็กที่แยกออก
จากผืนแผนดินใหญ หรือเกาะที่อยูใกลเคียง เกิดจากสวนของหินแข็งบริเวณชายฝงเดิมที่ยื่นออกไปในทะเลถูก
กษัยการจากคลื่นเซาะทั้งสองขางจนสวนปลายแหลมที่ตัดออกเปนเกาะ ทําใหชายฝงพังทะลายถอยรนเขาไป
ในภาคพื้นดินมากยิ่งขึ้น สวนหินแข็งเหลานี้ถูกตัดขาดออกจากชายฝง เกิดเปน “เกาะหินชะลูด” หรือ “เกาะ
หินโดง” เชน เขาตะปูในเขตอุทยานแหงชาติอาวพังงา เกาะหินโดงยังคงถูกกษัยการจากคลื่นอยางตอเนื่องจน
สามารถพังทลายลงไปไดในที่สุด ซึ่งกลายเปนฐานของเกาะจมอยูใตทะเล เรียก “ตอหิน” (Stump)
รูปที่ 11 แสดงลักษณะภูมิประเทศเกาะ
หินชะลูด บริเวณอุทยานแหงชาติอาวพังงา
จังหวัดพังงา
ที่มา : จากการสํารวจ
183
8.2 ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม
เกิดจากการทับถมของตะกอนทะเลตามแนวชายฝงทะเล มักเกิดจากการกระทําของคลื่น
กระแสคลื่นและการเกิดน้ําขึ้นน้ําลง เกิดในบริเวณชายฝงทะเลที่มีน้ําตื้น ลักษณะชายฝงทะเลราบเรียบและ
ลาดเทลงไปสูกนทะเล ทําใหความเร็วของคลื่นและกระแสน้ําลดลงเมื่อเคลื่อนตัวเขาสูชายฝงทะเลการกระทํา
จึงเปนไปในรูปแบบของการตกตะกอนทับถมเกิดเปนภูมิประเทศลักษณะตางๆ เชน หาดทราย (Beach) สัน
ทราย (Berm) สันดอน (Bar) ทะเลสาบที่มีน้ําไหลเขาออกได (Lagoon) เปนตน
หาดทราย สันดอนเชื่อมเกาะ สันดอนปากอาว
(Beach) (Tombolo) (Bay Barrier)
สันดอนจะงอยปากอาว ทะเลสาบน้ําเค็ม
(Barrier Spit) (Lagoon)
รูปที่ 12 แสดงลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม
ที่มา : Robert W. Christopherson , 1994.
8.2.1 หาดทราย (Beach)
เกิดจากการพัดพาตะกอนจําพวก กรวด หิน ดิน และทรายเขามาทับถมตามชาย
ฝงลักษณะเปนแถบยาวไปตามชายฝงทะเล การทับถมที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝงทะเลนี้เกิดจากกระแสคลื่นที่พัด
เขาสูชายฝง มีแนวเฉียงไปจากแนวชายฝงทะเลเล็กนอย ดังนั้นน้ําทะเลที่คลื่นผลักดันขึ้นไปเวลาถอยกลับมาจึง
มีแนวเฉียงไปจากแนวชายฝงเชนกัน เราเรียกวา “กระแสน้ําชายฝง” (Longshore Drift) กระแสน้ําชายฝงจะมี
สวนชวยในการทับถมของตะกอนที่ถูกพัดพามากับคลื่นเขามาทับถมตามชายฝงจนทําใหพื้นที่ของชายหาดมี
การขยายกวางออกไปเปนหาดทรายงอก (Off shore) และยังชวยปรับระดับของชายฝงทะเลโดยเมื่อคลื่น
เคลื่อนที่เขาไปปะทะกับชายฝงทะเล ตะกอนที่มีขนาดใหญจะมีการตกทับถมอยูดานบนสุด สวนตะกอนขนาด
184
เล็กจะแพรกระจายลงมาทับถมยังสวนลางของชายหาด จากการศึกษาลักษณะของหาดทรายสามารถจําแนก
ได 3 ประเภท ดังนี้
ชายหาดหนากวาง ลักษณะเปนหาดเรียบ มีทั้งหาดสวนหลัง (Back Shore)
และหาดสวนหนา (Fore Shore) ลักษณะชายหาดมีความลาดชันนอย คลื่นมักจะซัดเขามาไมถึงชายหาดสวน
หลัง ชายหาดลักษณะนี้มีบริเวณกวางขวาง เหมาะแกการเปนสถานที่พักตากอากาศและเลนน้ําบริเวณชาย
หาด เชน ชายหาดชะอํา จังหวัดเพชรบุรี เปนตน
ชายหาดหนาแคบ ลักษณะชายหาดเรียบตั้งแตขอบชายฝงทะเลไปจนถึงแนว
เกิดน้ําขึ้นน้ําลง มีแตชายหาดสวนหนา (Fore Shore) ไมมีชายหาดสวนหลัง (Back Shore) ชายหาดมี
ความลาดชันไมมาก
ชายหาดสองชั้น เปนชายหาดที่มีความราบเรียบนอย มีทั้งชายหาดสวนหลัง
(Back Shore) และชายหาดสวนหนา (Fore Shore) และมีที่ราบเปนชานยื่นออกไปในทะเลเปนชั้นๆ บางชั้น
จะอยูเหนือแนวน้ําลงเต็มที่ ลักษณะชายหาดมีความลาดชันมาก ไมเหมาะสําหรับเลนน้ําทะเล
นอกจากนั้นชายหาดแตละแหงยังมีการตกทับถมของวัตถุแตกตางกันออกไป ดังนี้
ชายหาดหิน หรือหาดกรวด (Shingle Beach) พื้นผิวชายหาดประกอบดวย
หินที่ตกทับถมและถูกคลื่นพัดพาเสียดสีกันจนหินมีกอนกลมมน เชน ที่เกาะหินงาม อุทยานแหงชาติเกาะตะรุ
เตา จังหวัดสตูล
ชายหาดทราย (Sand Beach) มักพบอยูในพื้นที่ซึ่งมีหินเปลือกโลกเปนหิน
ทรายหรือหินแกรนิต โดยเฉพาะอยางยิ่งหินแกรนิต เมื่อสลายตัวจะใหทรายเม็ดกลมมน มีสีขาวทําใหเกิดหาด
ทรายที่สวยงาม เชนหาดตางๆ ในจังหวัดภูเก็ต ชายหาดชะอํา จังหวัดเพชรบุรี ชายหาดหัวหิน จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ และชายหาดสมิหรา อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา เปนตน
ชายหาดโคลน (Mud Flat) มักพบอยูบริเวณปากแมน้ําสายใหญๆ ที่มีโคลน
ตะกอนที่เกิดจากแมน้ําพัดพามาเปนจํานวนมาก มีลักษณะเปนลานปริ่มน้ํา เวลาน้ําขึ้นน้ําจะทวมมิดลาน
เวลาน้ําลงจึงจะเห็นลานดังกลาว เชน บริเวณพื้นที่ดอนหอยหลอด ปากแมน้ําแมกลอง จังหวัด
สมุทรสงคราม ถาหาดโคลนมีขนาดใหญและมีตะกอนสะสมมากจนโผลพนระดับน้ําทะเลขึ้นมาเรียกวา ที่ลุม
ชายเลน มีพืชบางชนิดพบมาก เชน แสม โกงกาง จึงมักเรียกวา ปาชายเลน หรือ ปาเลนน้ําเค็ม
8.2.2 สันดอน (Bar)
หมายถึงพืดสันทรายหรือตะกอนอื่นๆ ที่กระแสน้ําพัดพามาตกทับถมสะสมไว
ตะกอนดังกลาวมาจากการครูดไถตามหนาผาสูงชันบริเวณชายฝงทะเล หรือจากดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํา
จะถูกกระแสน้ําชายฝงพัดพาไปทับถมยังบริเวณที่มีคลื่นลมสงบ จนเกิดเปนสันหรือพืดยื่นขวางหรือปดปากน้ํา
ทางเขาทาเรือ หรือปากอาว ซึ่งเปนแนวเดียวกันกับชายฝงที่เปนปากอาว ทําใหเกิดสันดอนรูปแบบตางๆ ดังนี้
(รูปที่ 12)
185
สันดอนปากอาว (Bay Barrier) เปนสันดอนที่เกิดจากตะกอนตกทับ
ถมอยูในบริเวณปากอาว
สันดอนจะงอยปากอาว (Barrier Split) เปนสันดอนที่เกิดจากการตก
ตะกอนทับถมเปนแนวยาวอยูใกลปากอาว ปลายดานหนึ่งติดกับชายฝง อีกดานหนึ่งยื่นขวางปากอาว ตอน
ปลายจะงอโคงเปนจะงอยตามอิทธิพลของกระแสน้ําและคลื่น สันดอนจะงอยปากอาวที่พบในประเทศไทยได
แก สันดอนจะงอยปากอาวบริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เกิดจากการกระทําของคลื่นและ
กระแสน้ําพัดพาตะกอนมาตกทับถมกันเกิดเปนสันดอนงอกออกมาเปนแนวยาวเรียกวา “สันดอนจะงอยรูป
เขี้ยว”
สันดอนเชื่อมเกาะ (Tombolo) เปนสันดอนที่เกิดจากกระแสน้ําและ
คลื่นพัดพาเอาตะกอนมาตกทับถมกันจนกลายเปนแนวยาวยื่นออกจากชายฝงทะเลออกไปเชื่อมเกาะขนาดเล็ก
ในทะเล
8.2.3 ทะเลสาบน้ําเค็ม (Lagoon)
เกิดขึ้นไดทั้งในทะเลและแนวชายฝงทะเล สวนที่เกิดในทะเลเรียกวา “ทะเลสาบ
น้ําเค็มในทะเล” เกิดจากการปดกั้นของปะการัง โดยมากเปนรูปวงกลม มีทางน้ําแคบๆ ไหลผานเขาออกได
สวนที่เกิดบริเวณชายฝงทะเลเรียกวา “ทะเลสาบน้ําเค็มชายฝงทะเล” เกิดจากการปดกั้นของสันดอนบริเวณ
ปากอาวแตยังมีทางออก ใหน้ําไหลผานได เกิดจากการที่คลื่นและกระแสน้ําพัดพาเอาตะกอนมาตกทับถมเปน
สันดอนงอกออกมาปดลอมบริเวณที่เปนอาวอยูเดิม ทําใหเกิดเปนพื้นที่ภายในแผนดิน เชน บริเวณทะเลสาบ
สงขลา ที่เกิดจากการงอกของสันดอนมาปดลอมอาวเดิม สันทรายที่งอกยื่นยาวมาปดกั้นทะเลสาบสงขลามี
ความยาวจากทิศเหนือไปยังทิศใตเปนระยะทาง 100 กิโลเมตร
8.2.4 สันทราย หรือสันหาด (Berm)
ลักษณะเปนเนินทรายแนวยาวขนานไปกับชายฝงทะเล แนวการวางตัวขวางทิศ
ทางลม ความสูงเทาๆ กันตลอดแนว และระหวางสันเนินทรายสลับดวยที่ลุมต่ํา สันทรายในพื้นที่ชายทะเลของ
ประเทศไทยเกิดจากการกระทําของน้ําทะเลในระยะเวลาสั้นๆ ที่พัดพาทรายมาตกทับถมบริเวณชายฝงทะเล
ประกอบกับมีปริมาณทรายมากซึ่งเกิดจากการตกทับถมกันอยางรวดเร็ว เปนแนวสันทรายทอดยาวขนานชาย
ฝง ดานบนของสันทรายอาจมีสวนของตะกอนที่เกิดจากการพัดพามาทับถมกันโดยลมบาง
รูปที่ 13 แสดงแนวสันทราย
ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวด-
ลอม กระทรวงวิทยาศาสตรฯ , 2538.
186
8.2.5 ที่ราบลุมชายเลนและพรุน้ําเค็ม (Salt Marsh)
เกิดจากการที่กระแสน้ําขึ้นและกระแสน้ําลงพัดเอาตะกอนละเอียดที่เปนพวกทราย
ทรายแปง และดินเหนียวไปปะปนกับกระแสน้ําในรูปของตะกอนแขวนลอย โดยตะกอนเหลานี้จะเกิดจากการ
กษัยการของน้ําขึ้นน้ําลง เมื่อมีน้ําจืดไหลลงมาผสมจะชวยเรงใหตะกอนเหลานั้นรวมตัวกันเปนกอนใหญและ
ตกจมลงในบริเวณพื้นลางของอาวหรือปากแมน้ํา อันเปนผลทําใหอาวหรือปากแมน้ําตื้นเขินลง นอกจากนั้น
ตะกอนดังกลาวยังมีอินทรียวัตถุปะปนอยูเปนจํานวนมาก จนเกิดเปน “ที่ราบลุมชายเลน” (Mudflat) หรือที่ลุม
ราบน้ําขึ้นถึง (Tidal Marsh) บริเวณดังกลาวในชวงเวลาน้ําขึ้นน้ําทะเลจะไหลบาขึ้นมาทวม แตระดับน้ําจะลึก
ไมมากนัก และมีพืชน้ําเค็มเจริญเติบโต พืชเหลานี้จะมีสวนชวยในการดักจับตะกอนที่กระแสน้ําพัดพามา ซึ่ง
จะทําใหระดับของที่ลุมราบชายเลนสูงขึ้นเทากับระดับน้ําทะเลที่ขึ้นสูงสุดในบริเวณนั้น และตอมากลายเปนพรุ
น้ําเค็ม (Salt Marsh)
รูปที่ 14 แสดงสภาพภูมิทัศนของพรุน้ําเค็ม และพืชพรรณ
ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดลอม กระทรวงวิทยาศาสตรฯ , 2538.
187
9. พืดหินปะการัง
9.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับการกําเนิดพืดหินปะการัง
9.1.1 ทฤษฎีการทรุดตัว (Subsidence Theory)
โดย Charles Darwin ป ค.ศ.1842 ตามทฤษฎีไดสันนิษฐานวา เกาะเล็กๆ ที่เกิด
จากภูเขาไฟจะคอยๆ ทรุดตัวลงอยางชาๆ เนื่องมาจากการแปรโครงสรางของเปลือกโลก ดังรูป การทรุดตัวลง
อยางชาๆ ของเกาะเล็กๆ จากภูเขาไฟจะทําใหแนวพืดหินปะการังที่กอตัวขึ้นอยูตามขอบของเกาะจะคอยทรุด
ตัวตามไปดวยอยางชาๆ จากปรากฎการณดังกลาวแนวปะการังจะพยายามเสริมสรางแนวเกาะใหสูงขึ้นมา
เรื่อย ๆ ในที่สุด สวนที่เปนเกาะภูเขาไฟจะจมลงสูใตน้ํา เหลือไวแตแนวพืดหินปะการังที่มีการกอตัวขึ้นและสวน
ที่เปนบริเวณเกาะเดิมจะกลายเปนทะเลสาบน้ําเค็ม จะสังเกตไดวาการเสริมสรางความสูงของแนวพืดหิน
ปะการังจะกระทําไดเพียงเทากับระดับน้ําทะเลเทานั้น ซึ่งเปนขอกําหนดตามธรรมชาติของและสภาพภูมิศาสตร
เกาะภูเขาไฟ แนวขอบปะการัง เทือกหินปะการังใกลฝงทะเล หมูเกาะหินปะการัง
(Barrier) (Atoll)
รูปที่ 15 แสดงทฤษฎีการทรุดตัว
ที่มา : Robert W. Christopherson, 1995.
9.1.2 ทฤษฎีการควบคุมธารน้ําแข็ง (Glacial Control Theory)
โดย R.A. Daly ป ค.ศ.1910 ทฤษฎีนี้ไดอางถึงหลักฐานการคนพบซากปะการังใน
บริเวณทองทะเลลึกเกินกวาที่ปะการังจะดํารงชีวิตอยูไดที่เปนเชนนี้เนื่องมาจากน้ําทะเลเคยลดระดับต่ําลงไป
อันเนื่องมาจากการถอยรนของธารน้ําแข็งแถบขั้วโลกใน ยุคควาเตอรนารี เมื่อประมาณ 0.01 ลานปที่ผานมา
โดยสรุปเปนหลักอางอิงคือ น้ําในเขตรอนสมัยดังกลาวมีอุณหภูมิต่ํากวาปจจุบันจึงทําใหปะการังไมสามารถ
ดํารงชีวิตอยูได ประกอบกับหินโสโครก และเกาะทั้งหลายในสมัยกอนยุคน้ําแข็งจะลดระดับความสูงลงมาจน
เทากับระดับน้ําทะเล อันเนื่องมาจากกระบวนการกษัยการ ดังนั้นที่ราบลาดทวีปจึงเปนฐานสําคัญในการจับ
เกาะของปะการังเพื่อการเจริญเติบโตและสรางหินปะการังขึ้นมาตอมาเมื่อระดับน้ําทะเลสูงขึ้นการละลายของ
ธารน้ําแข็งทั้งในทะเลสาบและบนภาคพื้นทวีปพรอมๆ กันกับการเจริญเติบโตของปะการัง จึงทําใหพืดหิน
ปะการังเพิ่มระดับความสูงขึ้นมาเทากับระดับน้ําทะเลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในที่สุดการพัฒนาพืดหินปะการังจะ
ถึงสภาวะสูงสุดดังที่พบเห็นอยูในปจจุบัน (Leong, 1983)
188
อยางไรก็ตามจากทั้งสองทฤษฎีที่กลาวมาแลว ประกอบกับหลักฐานตางๆ ที่นักวิทยา
ศาสตรไดศึกษาเพิ่มเติม โดยการขุดเจาะลงไปในชั้นหินปูนที่ปรากฏอยูในพืดหินปะการัง พบวาการอธิบายตาม
หลักทฤษฎีของ R.A. Daly ที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ําทะเล และตอมาเกิดกษัยการขึ้นกับเกาะที่
เปนฐานของพืดหินปะการังนั้นพบวาเปนสิ่งที่เชื่อถือได ทั้งนี้เพราะการเจาะลงไปถึงฐานลางสุดของพืดหิน
ปะการังจะพบหินบะซอลตที่เปนหินแข็งรองรับอยู แสดงใหเห็นวาเปลือกโลกบริเวณดังกลาวมีการทรุดตัวลงจริง
ตามหลักทฤษฏีของ Charles Darwin ที่อางไว ดังนั้นทั้งสองทฤษฎีจึงมีเหตุผลและน้ําหนักสนับสนุนเพียงพอถึง
กระบวนการเกิดพืดหินปะการังไดเปนอยางดี
9.2 สภาพภูมิศาสตรที่เหมาะสมกับการเกิดปะการัง
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตรพบวาพืดหินปะการังเกิดจากปะการังที่เปนสัตวน้ําเค็ม
ขนาดเล็กหรือสาหรายบางชนิดที่สามารถสรางหินปูนขึ้นมาได หินปูนที่สะสมอยูตามพืดหินปะการังนี้จะเปน
โครงรางของปะการังหรือสาหรายบางชนิดที่ตายแลวนั่นเอง โดยสวนมากเรามักพบการกระจายตัวของพืดหิน
ปะการังตามบริเวณตางๆ มีปจจัยหลายประการที่เขามาเกี่ยวของ โดยเรามักพบพืดหินปะการังบริเวณเขต
อบอุนในมหาสมุทร นอกจากนั้นเราพบวาความแตกตางของอุณหภูมิน้ําในมหาสมุทรระหวางชายฝงตะวันตก
และชายฝงตะวันออกมีผลตอการกอตัวของพืดหินปะการัง โดยพบวาเรามักพบพืดหินปะการังบริเวณชายฝง
ตะวันออกมากกวา คือ บริเวณ 0 - 160 องศาตะวันออก เนื่องจากสภาพความเหมาะสมของอุณหภูมิน้ํา
ทะเลที่อุนกวาชายฝงตะวันตก โดยเรามักพบแนวพืดหินปะการังบริเวณละติจูดที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศา
ใต ที่ระดับความลึก 10 - 55 เมตร ความเค็มของน้ําทะเลคิดเปนรอยละ 27 - 40 ณ อุณหภูมิ 18 - 29 องศา
เซลเซียส นอกจากนั้นสภาพน้ําจะตองใสปราศจากตะกอนดวย
รูปที่ 16 แสดงแนวการกระจายตัวของพืดหินปะการัง
ที่มา : Tom L. Mcknight , 1990.
ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น
ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น
ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น
ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น
ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น

More Related Content

What's hot

ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
website22556
 
สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทย
Poppy Nana
 
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียนบันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน
5171422
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ
Jiraporn
 
ธรณีประวัติ
ธรณีประวัติธรณีประวัติ
ธรณีประวัติ
พัน พัน
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์
อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์
อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์
6091429
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
Kran Sirikran
 

What's hot (20)

ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
 
สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทย
 
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียนบันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ
 
ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2
 
โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
 
ธรณีประวัติ
ธรณีประวัติธรณีประวัติ
ธรณีประวัติ
 
สรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
 
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
 
ออสเตรเลีย
ออสเตรเลียออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
 
อเมริกาเหนือ2
อเมริกาเหนือ2อเมริกาเหนือ2
อเมริกาเหนือ2
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์
อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์
อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์
 
ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2
ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2 ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2
ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2
 
ไตรสิกขา
ไตรสิกขาไตรสิกขา
ไตรสิกขา
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
 

Similar to ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น

โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
nasanunwittayakom
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
kalita123
 
ภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลายภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลาย
Kroo Mngschool
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
jintana533
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
Monticha
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
jirawat191
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
Monticha
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
Kobwit Piriyawat
 

Similar to ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น (10)

7.สรุปและข้อเสนอแนะ
7.สรุปและข้อเสนอแนะ7.สรุปและข้อเสนอแนะ
7.สรุปและข้อเสนอแนะ
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
ภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลายภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลาย
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
 
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำวัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 

More from NoiRr DaRk

More from NoiRr DaRk (20)

ตำราวิชาการสุคนธบำบัด
ตำราวิชาการสุคนธบำบัดตำราวิชาการสุคนธบำบัด
ตำราวิชาการสุคนธบำบัด
 
การใช้น้ำมันมะพร้าวกันแดด
การใช้น้ำมันมะพร้าวกันแดดการใช้น้ำมันมะพร้าวกันแดด
การใช้น้ำมันมะพร้าวกันแดด
 
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโตวรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
วรรณกรรม 50 เรื่องที่ต้องอ่านก่อนโต
 
Gerunds and Infinitives
Gerunds and InfinitivesGerunds and Infinitives
Gerunds and Infinitives
 
เปิดกรุผีไทย ตอนผู้มาจากเมืองมืด (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนผู้มาจากเมืองมืด (เหม เวชกร)เปิดกรุผีไทย ตอนผู้มาจากเมืองมืด (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนผู้มาจากเมืองมืด (เหม เวชกร)
 
Direct - Indirect Speech + Exercise
Direct - Indirect Speech + ExerciseDirect - Indirect Speech + Exercise
Direct - Indirect Speech + Exercise
 
This, That, These and Those + Exercise
This, That, These and Those + ExerciseThis, That, These and Those + Exercise
This, That, These and Those + Exercise
 
Subject - Verb Agreement + Exercise
Subject - Verb Agreement + Exercise Subject - Verb Agreement + Exercise
Subject - Verb Agreement + Exercise
 
คัมภีร์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทย
คัมภีร์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทยคัมภีร์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทย
คัมภีร์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทย
 
คู่มืออบรมการพัฒนาโปรแกรมแอนดรอยด์ ขั้นพื้นฐาน
คู่มืออบรมการพัฒนาโปรแกรมแอนดรอยด์ ขั้นพื้นฐานคู่มืออบรมการพัฒนาโปรแกรมแอนดรอยด์ ขั้นพื้นฐาน
คู่มืออบรมการพัฒนาโปรแกรมแอนดรอยด์ ขั้นพื้นฐาน
 
แมงกระพรุน
แมงกระพรุนแมงกระพรุน
แมงกระพรุน
 
คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง
คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่องคู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง
คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง
 
หาดทราย มรดกทางธรรมชาติ ที่นับวันจะสูญสิ้น
หาดทราย มรดกทางธรรมชาติ ที่นับวันจะสูญสิ้นหาดทราย มรดกทางธรรมชาติ ที่นับวันจะสูญสิ้น
หาดทราย มรดกทางธรรมชาติ ที่นับวันจะสูญสิ้น
 
Burn the fat
Burn the fatBurn the fat
Burn the fat
 
GPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMS
GPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMSGPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMS
GPS/IMU Integrated System for Land Vehicle Navigation based on MEMS
 
ACSM Metabolic Equations
ACSM Metabolic EquationsACSM Metabolic Equations
ACSM Metabolic Equations
 
เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนผ้าป่าผีตาย (เหม เวชกร)
 
เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)
เปิดกรุผีไทย ตอนเมืองแม่วันทอง (เหม เวชกร)
 
พื้นยก (Raised Floor/ Access Floor)
พื้นยก (Raised Floor/ Access Floor)พื้นยก (Raised Floor/ Access Floor)
พื้นยก (Raised Floor/ Access Floor)
 
Inertial measurement unit (IMU) and Global Positioning System (GPS)
Inertial measurement unit (IMU) and Global Positioning System (GPS)Inertial measurement unit (IMU) and Global Positioning System (GPS)
Inertial measurement unit (IMU) and Global Positioning System (GPS)
 

ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น

  • 1. บทที่ 10 ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น 1. บทนํา ทะเลและมหาสมุทรจัดเปนเปลือกโลกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะคลายกับแองน้ําและมีน้ําปกคลุมอยู สัดสวนพื้นที่ของมหาสมุทรคิดเปนพื้นที่รอยละ 71 ของเปลือกโลกทั้งหมด มหาสมุทร คือ สวนของผิวน้ําที่ถูก ลอมรอบดวยทวีป สวนทะเลหมายถึงสวนที่เปนขอบของมหาสมุทร บางสวนเรียกวาอาวตามสภาพภูมิ ประเทศ ดังที่ไดศึกษามาแลววาสวนของมหาสมุทรเปนหินจําพวกหินบะซอลตเปนสวนหนึ่งของเปลือกโลกที่ เรียกวา “ไซมา” (Sima) จาการศึกษาของนักวิทยาศาสตรพบวาน้ําที่แชขังอยูในแองของมหาสมุทรในระยะ แรกจะเปนน้ําจืด แตเมื่อบนโลกเกิดปรากฏการณฝนตก หยาดน้ําฟาจะไหลจากภาคพื้นทวีปทําใหเกิดการ ชะลาง การพัดพา และการละลายเอาเกลือแรตางๆ บนโลกใหลงมาสะสมอยูในทะเลติดตอกันมาเปนระยะ เวลายาวนาน ในขณะเดียวกันน้ําในมหาสมุทรจะมีอัตราการระเหยกลายเปนไออยูตลอดเวลา จึงทําใหสาร ละลายประเภทเกลือมีความเขมขนสูงขึ้นเปนสาเหตุที่วาทําไมน้ําทะเลจึงมีรสเค็ม ประกอบกับการศึกษา รายชื่อเกลือแรที่ประกอบอยูในน้ําทะเลเราพบวาองคประกอบเปนเกลือคลอไรดถึงรอยละ 55 รองลงมาไดแก เกลือโซเดียมรอยละ 31 นอกจากนั้นก็เปนแรธาตุชนิดอื่นๆ อยางไรก็ตามจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร พบวาปริมาณแรธาตุที่ละลายในน้ําทะเลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุประการหนึ่งมาจากมนุษยสรางเขื่อนกั้น ลําน้ําสาขาตางๆ ทําใหปริมาณน้ําจืดที่ไหลลงสูทะเลมีปริมาณลดลง นอกจากนั้นเรายังพบวาความเค็มของน้ําทะเลที่ระดับน้ําทะเลนั้นแตกตางกันไปตามที่ตางๆ โดยทาง ซีกโลกเหนือน้ําทะเลจะเค็มที่สุดใกลๆ กับบริเวณละติจูดที่ 25 องศาเหนือ สวนทางซีกโลกใตเค็มมากที่สุด ที่ประมาณละติจูด 20 องศาใต เนื่องจากอัตราการระเหยของน้ําทะเลมีมากและหยาดน้ําฟาที่ตกลงมามี ปริมาณนอยนั่นเอง สําหรับอุณหภูมิของน้ําทะเลขึ้นอยูกับการแผรังสีความรอนของดวงอาทิตยมากที่สุด มีความแปรผัน ตามระดับความลึก โดยจะมีความแตกตางกันทั้งในแนวราบ (จากเสนศูนยสูตรถึงขั้วโลก) และทางแนวดิ่ง (จากระดับน้ําทะเลลงไปถึงทองมหาสมุทร) อุณหภูมิพื้นผิวโดยเฉลี่ยในฤดูรอนแตละมหาสมุทรจะแตกตางกัน โดยมหาสมุทรอารกติกมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ําสุด 0 - 5 องศาเซลเซียส และมหาสมุทรอินเดีย อุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุด 25 - 27 องศาเซลเซียส สําหรับในแนวราบพบวาที่บริเวณเสนศูนยสูตรอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ําทะเล ประมาณ 25 องศาเซลเซียส และที่ขั้วโลกประมาณ -2 องศาเซลเซียส (รัชนีกร บุญ-หลง , 2536.)
  • 2. 170 2. สวนประกอบของทะเล และมหาสมุทร 2.1 ลักษณะภูมิประเทศของทะเลและมหาสมุทร ดังที่ไดศึกษามาแลววาทะเลและมหาสมุทรแบงเปนสวนของไหลทวีป (Continental Shelf) ลาดทวีป (Continental Slope) ซึ่งจะมีความลาดชันที่แตกตางกัน โดยไหลทวีปเปนพื้นที่ที่ตอเนื่องจากทวีป คอย ๆ ลาดจากชายฝงลงไปประมาณ 2 เมตร ตอระยะทาง 1 กิโลเมตร จนถึงตอนที่ระดับน้ําลึกประมาณ 120 เมตร สวนลาดทวีปจะอยูถัดจากไหลทวีปออกไป และมีความลาดชันมากประมาณ 65 กิโลเมตร ตอระยะทาง 1 กิโลเมตร ทอดไปถึงระดับน้ําลึกประมาณ 3,600 เมตร (รูปที่ 1) แยกพิจารณาดังนี้ ทวีป (Continental) ไหลทวีป เนินลาดเรียบทวีป ภูเขายอดตัดใตทะเล (Continental shelf) (Continental Rise) (Guyot) ภูเขาสูงใตมหาสมุทร ลาดทวีป เนินเขาทองสมุทร (Island) (Continental Slope) (Abyssal hill) รูปที่ 1 แสดงสวนตาง ๆ ของทะเลและมหาสมุทร ที่มา : Alyn C. Duxbury และ Alison B. Duxbury , 1991. 2.1.1 ไหลทวีป (Continental Shelf) เริ่มจากชายฝงทะเลไปจนถึงบริเวณพื้นทองทะเล ไปจนถึงบริเวณที่ทองทะเลมีการเปลี่ยนระดับความลาดชันที่สูงขึ้น ลักษณะพื้นผิวไหลทวีปเปนรอง สัน แอง หรือพืดหินปะการัง หรือตะกอนกรวดทราย โคลน เปนตน ไหลทวีปเปนบริเวณที่ระดับทะเลมีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก การชะลางพังทลายบนแผนดิน และการตกทับถมของตะกอนใน มหาสมุทร
  • 3. 171 2.1.2 ลาดทวีป (Continental Slope) ตอเนื่องจากไหลทวีปลงไป มีระดับความลึก 2,000 - 3,000 เมตร ตอเนื่องไปจนถึงเนินลาดเรียบทวีป (Continental Rise) มีความลาดชันประมาณ 1 : 40 ลักษณะเปนพื้นที่คอนขางแคบ ตามลาดทวีปมักปรากฏภูมิประเทศแบบ "หุบผาชันใตทะเล" (Submarine Canyon) มักพบบริเวณใกลปากแมน้ํา ซึ่งเกิดจากการพัดพากัดเซาะบริเวณดังกลาวใหกลายเปนรองลึก และบริเวณเชิงหุบผาชันมักพบ "เนินตะกอนรูปพัดกนสมุทร" (Abyssal Fans) รูปรางคลายเนินตะกอนที่ถูก พัดพามา หรือดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํา เกิดจากปริมาณตะกอนกรวดทรายที่ถูกพัดพามาตกทับถมกัน 2.1.3 เนินลาดเรียบทวีป (Continental Rise) เปนบริเวณที่ตอเนื่องจากลาดทวีปไปจนถึง พื้นราบบาดาล (Abyssal Floor) ความลาดชันสูง 1:100 - 1: 700 ตอเนื่องกับพื้นราบบาดาล 2.1.4 พื้นราบบาดาล (Abyssal Floor) มีลักษณะเปนที่ราบเรียบ และลึก เปนที่สูงต่ํา เกิด จากการตกทับถมของตะกอนตางๆ ที่พัดพามากับกระแสน้ํา บางปรากฏเปนเนินเขาเตี้ยๆ (Abyssal Hill) ไม สูงมากพบไดทั่วไป พื้นราบบาดาลของมหาสมุทรที่เปนพื้นที่ทองมหาสมุทรมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย อันไดแก สันเขา ที่ราบสูง แอง ภูเขา เชน สันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทอดยาวจากไอซแลนดลงมา เกือบถึงทวีปแอนตารกติก มีบางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ําทะเลกลายเปนเกาะ (Island) เชน หมูเกาะอะซอรีส หรือหมูเกาะฮาวาย มหาสุมทรแปซิฟก ลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ไดแก ภูเขาใตทะเล พบที่พื้นทองมหาสมุทร บางลูกมียอดตัด เรียกวา “กีโอต” (Guyout) พบมากบริเวณตอนกลางและดานตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟก ระหวางหมูเกาะมาเรียนากับหมูเกาะฮาวาย สําหรับยอดเขากีโอตอยูที่ระดับน้ําลึก 1,200-1,800 เมตร เดิม เปนยอดภูเขาไฟแตถูกคลื่นกระทําใหเกิดการสึกกรอน หรืออาจมีปะการังมาเกาะเหนือยอดเขากลายเปนเขา ยอดตัด และตอมาพื้นทองมหาสมุทรลดระดับลงต่ํา หรือระดับน้ําทะเลสูงขึ้นจึงจมลงไปอยูใตน้ํา 2.1.5 สันเขากลางมหาสมุทร (Ocean Ridge) เปนแนวเทือกเขาใตมหาสมุทร มีพื้นที่ ประมาณรอยละ 28 ของพื้นทองมหาสมุทร สวนของยอดสันเขามีลักษณะเปน "หุบเขาทรุด" (Rift Valley) ลักษณะเปนรองลึก มีความกวางประมาณ 25 - 50 กิโลเมตร บริเวณหุบเขาทรุดมักเกิดปรากฏการณภูเขาไฟ เสมอ เนื่องจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และการแทรกตัวของหินหนืดใตเปลือกโลก จากการศึกษามหาสมุทรของนักสมุทรศาสตรพบวา มหาสมุทรแปซิฟกมีพื้นที่มากที่สุดถึง 180*106 ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 4,028 เมตร รองลงมาไดแก มหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ 107*106 ตา รางกิโลเมตร ความลึกเฉลี่ย 3,332 เมตร สวนความลึกที่สุดของมหาสมุทรที่สํารวจพบ ไดแกมหาสมุทรแปซิฟก ประกอบดวย ป ค.ศ. บริเวณ ความลึก (เมตร) 1923 รองลึกมินดาเนา (Mindannu) 10,497 1952 รองลึกตองกา (Tonga) 10,882 1959 รองลึกมาเรียนา (Mariana) 11,028 1960 รองลึกมาเรียนา (Mariana) 11,034 ที่มา : I.S.Allison and D.F. Plamer ,1980.
  • 4. 172 3. กระแสน้ํามหาสมุทร (Ocean Current) กระแสน้ํามหาสมุทร คือ การไหลของน้ําทะเลตามแนวราบอยางสม่ําเสมอ มีทั้งกระแสน้ําเย็นและ กระแสน้ําอุน ซึ่งมีสวนชวยในการปรับอุณหภูมิบนผิวโลก และชวยถายเทความรอนดวยเชนกัน สาเหตุของ การเกิดกระแสน้ําพบวาเกิดจากสาเหตุและปจจัยดังตอไปนี้ 3.1 ปจจัยที่มีผลตอการเกิดกระแสน้ําในมหาสมุทร 3.1.1 ลม (Wind) เปนตัวการสําคัญ โดยจะทําใหผิวน้ําเกิดระลอกคลื่นเล็กๆ และเมื่อมีการถายเทพลังงานมากขึ้นจึงทําใหเกิดกระแสน้ําขึ้น และนับวาลมยังมีสวนในการกําหนดทิศทางการ ไหลของกระแสน้ําอีกดวย 3.1.2 อุณหภูมิ (Temperature) เราทราบมาแลววาความแตกตางของอุณหภูมิ มีผลตอความหนาแนนของน้ําทะเล จึงเปนสาเหตุหนึ่งของการเกิดกระแสน้ํา น้ําทะเลที่มีความหนาแนนมาก และมีอุณหภูมิต่ําจะจมตัวลง และน้ําทะเลที่มีอุณหภูมิสูงและความหนาแนนนอยกวาจะเคลื่อนตัวเขามาแทนที่ จึงเปนจุดเริ่มตนของการเคลื่อนไหวของกระแสน้ําในมหาสมุทรนั่นเอง 3.1.3 แรงเหวี่ยงของโลก การที่โลกหมุนรอบตัวเองทําใหเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย กลาง ซึ่งมีอิทธิพลตอการเคลื่อนที่ของกระแสน้ํา โดยในซีกโลกเหนือการไหลของกระแสน้ําจะเบี่ยงเบนไปทาง ขวามือ สวนในซีกโลกใตจะเบี่ยงเบนไปทางซายมือ หรือซีกโลกเหนือกระแสน้ําไหลตามเข็มนาฬิกา และซีกโลก ใตไหลทวนเข็มนาฬิกา 4. กระแสน้ําในมหาสมุทรตางๆ ของโลก (Ocean Currents) รูปที่ 2 แสดงการเคลื่อนที่ของกระแสน้ําอุนและกระแสน้ําเย็น ที่มา : Robert W. Christopherson, 1995.
  • 5. 173 การเคลื่อนที่ของกระแสน้ําในมหาสมุทรสามารถแยกพิจารณา ไดแก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรอารกติก และมหาสมุทรแอนตารกติก ซึ่งกระแสน้ําที่ไหล ในแตละมหาสมุทรมีสวนสัมพันธกัน ดังนี้ 4.1 มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) การเคลื่อนไหวของกระแสน้ําจะเดนชัดมากกวามหาสมุทร อื่น ๆ โดยแยกเปน 2 สวน ดังนี้ 4.1.1 กระแสน้ําในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ (North Atlandtic Ocean Current) เนื่องจากอิทธิพลของลมสินคาจึงทําใหเกิดกระแสน้ําอุน เรียกวา “กระแสนน้ําศูนยสูตรแอตแลนติกเหนือ” (North Atlantic Equatorial Current) ไหลผานชองแคบฟอลริดา จากนั้นไหลไปทางเหนือเลียบชายฝงตะวัน ออกของอเมริกาเหนือ ตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตกเราเรียกวา “กระแสน้ํากัลฟสตรีม” (Gulf Stream) เมื่อกระแสน้ําเคลื่อนที่มาถึงเกาะนิวฟนดแลนดจะปะทะกับกระแสน้ําเย็นชื่อวา “ลาบราเดอร” (Labrador Current) ทําใหกระแสน้ําเย็นลาบราเดอรสลายตัวไป จากนั้นกระแสน้ําอุนกัลฟสตรีมจะไหลตอไป ทางทิศตะวันออก ตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตก ขามมหาสมุทรแอตแลนติก เรียกวา “สายน้ําแอต แลนติกเหนือ” (The North Atlantic Drift) 4.1.2 กระแสน้ําในมหาสมุทรแอตแลนติกใต (South Atlantic Ocean Current) ไดรับ อิทธิพลจากลมสินคาตะวันออกเฉียงใตทําใหเกิด “กระแสน้ําศูนยสูตรแอตแลนติกใต” (South Atlantic Equatorial Current) เปนกระแสน้ําอุนไหลไปทางทิศตะวันตกจรดชายฝงประเทศบราซิล กอนที่จะไหลขึ้นไป พบกับกระแสน้ําเย็นที่เกาะฟอลกแลนด กระแสน้ําเย็นดังกลาว คือ “กระแสน้ําฟอลกแลนด” (Falkland Current) จากนั้นกระแสน้ําอุนจะไหลเปลี่ยนทิศทางขามมหาสมุทรแอตแลนติกไปรวมกับกระแสน้ําเย็น “สายน้ําลมตะวันตก” (West Wind Drift) ที่ไหลไปตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตก โดยจะไหล ผานเขาไปในมหาสมุทรแปซิฟก และมหาสมุทรอินเดีย 4.2. มหาสมุทรแปซิฟก (Pacific Ocean) กระแสน้ําในมหาสมุทรแบงออกเปน 2 สวน คือ 4.2.1 กระแสน้ําในมหาสมุทรแปซิฟกเหนือ (North Pacific Ocean Current) บริเวณ เหนือเสนศูนยสูตร เกิดจากอิทธิพลของลมสินคาตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดเปนกระแสน้ําอุนชื่อ “กระแสน้ํา ศูนยสูตรแปซิฟกเหนือ” (North Pacific Equatorial Current) ไหลไปทางตะวันตกจนถึงหมูเกาะฟลิปนส กอนจะวกขึ้นไปทางเหนือตามอิทธิพลของลมมรสุมฤดูรอนและลมประจําฝายตะวันตกเลียบชายฝงของประเทศ ญี่ปุนกลายเปนกระแสน้ําอุน “กุโรซิโว” (Kuroshio Current) ไหลผานทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟก ตามอิทธิพลของลมประจําฝายตะวันตกมาจนถึงชายฝงตะวันตกของอเมริกาเหนือ เรียกวา กระแสน้ําอุน “สายน้ําแปซิฟกเหนือ” (North Pacific Current) บริเวณละติจูด 35 - 45 องศาเหนือ กอนที่จะแยกเปนสอง สายไปตามชายฝงประเทศแคนาดา และไหลขึ้นไปปะทะกับกระแสน้ําเย็นกอนสลายตัวไปในที่สุด 4.2.2 กระแสน้ําในมหาสมุทรแปซิฟกใต (South Pacific Ocean Current) มีกระแส น้ําอุนชื่อ “กระแสน้ําศูนยสูตรแปซิฟกใต” (South Pacific Equatorial Current) ไหลไปปะทะกับชายฝง ของออสเตรเลียกอนเปลี่ยนทิศทางไหลเลียบชายฝงไปทางใตและไหลจนไปปะทะกับกระแสน้ําเย็น “สายน้ํา ตะวันตก” (West Wind Drift) ตามแนวละติจูด 30 – 70 องศาใต และสลายตัวไปในที่สุด
  • 6. 174 4.3. มหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean) กระแสน้ําที่ปรากฎจะไมเดนชัดเนื่องจากอยูในเขตรอนและอยูในเขตอิทธิพลของลมมรสุม สามารถแยกพิจารณาไดดังนี้ 4.3.1 กระแสน้ําในมหาสมุทรอินเดียเหนือ (North Indian Ocean Current) เนื่องจาก เปนเขตรอนกระแสน้ําเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุม คือ ในชวงฤดูฝนมีลมมรสุมรอนที่เกิดจากทิศตะวันตกเฉียง ใตไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเกิดกระแสน้ําอุนจากบริเวณศูนยสูตรเขาไปยังอาวเบงกอล เรียกวา “กระแสน้ํามรสุมตะวันตกเฉียงใต” ในทางกลับกันชวงฤดูหนาวจะเปนกระแสน้ําอุนที่พัดจากอาวเบงกอลมายัง เสนศูนยสูตรเรียกวา “กระแสน้ํามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” นอกจากนี้ยังมีกระแสน้ําอุนชื่อ “กระแสน้ํา ศูนยสูตรอินเดียเหนือ” (North Indian Equatorial Current) ไหลจากเกาะสุมาตราไปทางทิศตะวันตกจนไป ปะทะกับชายฝงตะวันออกของแอฟริกา และเปลี่ยนทิศทางไหลวกลงไปทางใตและไหลยอนกลับขึ้นมาตามแนว ศูนยสูตร กลายเปน “กระแสน้ําสวนทางศูนยสูตรอินเดีย” ตอไป 4.3.2 กระแสน้ําในมหาสมุทรอินเดียใต (South Indian Ocean Current) ไดแก “กระแสน้ําศูนยสูตรอินเดียใต” (South Indian Equatorial Current) ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันตกตามอิทธิพล ของลมสินคาตะวันตกเฉียงใตไหลไปปะทะกับชายฝงตะวันออกของแอฟริกากอนแยกเปน 2 สายตอไป 4.4. มหาสมุทรอารกติก (Arctic Ocean) เปนมหาสมุทรที่ถูกปดลอมดวยทวีปเกือบทั้งหมด จึงมี แตกระแสน้ําเย็นไหลออกสูมหาสมุทรอื่นๆ เชน กระแสน้ําเย็นเบริ่ง กระแสน้ําเย็นโอยาชิโว กระแสน้ําเย็นกรีน แลนด และกระแสน้ําเย็นลาบราเดอร เปนตน 4.5. มหาสมุทรแอนตารกติก (Antarctic Ocean) พบวากระแสน้ําบริเวณมหาสมุทรนี้จะมีกระแส ไหลไปโดยรอบในทิศทางตามเข็มนาฬิกาปรากฏเดนชัดมากในแนวละติจูด 50 - 60 องศาใต กระแสน้ําจาก แถบนี้จะเปนกระแสน้ําเย็นทั้งหมด 5. ชายฝงทะเล 5.1 ลักษณะและองคประกอบของชายฝงทะเล ชายฝงทะเล (Coast) เปนเขตความกวางระหวางกลางนับจากแนวชายทะเลเขามาในสวน ของแผนดิน ราชบัณฑิตยสถาน (2519) ใหความหมายของชายฝงทะเลไววา เปนแถบของแผนดินนับจาก แนวชายทะเล (Shoreline) ( แนวชายทะเล หมายถึง แนวระดับใดระดับหนึ่งของน้ําทะเล ณ เวลาหนึ่ง อยู ระหวางระดับน้ําทะเลขึ้นสูงสุด และลงต่ําสุด ) ขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง อยางชัดเจน มีความกวางกําหนดไมแนนอน อาจหลายกิโลเมตรก็ได บริเวณชายฝงทะเลอาจติดกับหนาผาสูง ริมทะเล (Sea Cliff) ก็ได ดังนั้นชายฝงทะเล (Cost) จึงหมายถึงแถบของแผนดินนับจากแนวชายทะเลขึ้นไป บนบก จนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอยางเดนชัด มีความกวางกําหนดไดไมแนนอน สวน บริเวณที่แผนดินอยูใกลเคียงกับแนวชายฝง (Coastline) เรียกวา ชายทะเล (Shoreline) แบงเปนดังนี้
  • 7. 175 ชายทะเล (Shore) เปนเขตชายทะเลตั้งแตระดับน้ําลงต่ําสุด ขึ้นมาบนสวนชายหาดที่ถูกรบ กวนจากคลื่น ตามแนวระดับน้ําทะเลสูงสุด ชายทะเลสวนใน (Backshore) เปนบริเวณระหวางแนวน้ําขึ้นสูงสุด ถึงตีนหนาผา ในกรณีที่ ไมมีชายทะเลสวนใน น้ําจะขึ้นไปถึงตีนหนาผา สวนที่เปนชายทะเลสวนในจะมีบริเวณที่เปนชายฝงเสมอ สันทราย หรือสันหาด (Berm) เปนหาดทรายชวงบนที่น้ําทะเลขึ้นไมถึง เวนแตในเวลาที่มี พายุจัด จึงมีคลื่นซัดเขามาถึง ลักษณะคลายที่ราบเปนชั้นอยูสูงกวาระดับน้ําทะเลและเปลี่ยนแปลงได เกิด จากดินหรือทรายที่พังลงจากขอบชายฝง หรือถูกคลื่นพัดพาเอาทรายมาทับถมกัน ลักษณะยาวขนานตลอด ชายฝง ชายทะเลสวนนอก (Foreshore) ไดแก บริเวณที่นับจากแนวน้ําลงต่ําสุด ถึงแนวน้ําขึ้นสูง สุด ชายทะเลสวนนี้จะอยูใตระดับน้ําทะเลเกือบตลอดเวลา นอกชายฝง (Offshore) คือบริเวณตั้งแตแนวน้ําลงต่ําสุดออกไปในทะเล (รูปที่ 3) ชายทะเลสวนใน ชายทะเลสวนนอก นอกชายฝง (Backshore) (Foreshore) (Offshore) รูปที่ 3 แสดงลักษณะของชายฝงทะเล ที่มา : Tom L. Mcknight , 1990. 5.2 ประเภทของชายฝงทะเล ในทางภูมิศาสตรจะกําหนดชายฝงทะเล ตามลักษณะการกําเนิดและการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นเปน 5 ประเภท ใหญๆ ดังนี้ 5.2.1 ชายฝงทะเลยุบจม (Submerged Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดขึ้นจากการที่ เปลือกโลกในบริเวณริมฝงทะเลยุบจมตัวลง หรือการที่น้ําทะเลยกระดับขึ้น ทําใหบริเวณที่เคยโผลพนระดับน้ํา ทะเลจมอยูใตผิดน้ํา ชายฝงทะเลประเภทนี้สวนใหญมีลักษณะภูมิประเทศเปนหนาผาชัน ไมคอยมีที่ราบชาย ฝงทะเล และแนวชายฝงทะเลมีลักษณะเวาแหวงมาก หากลักษณะภูมิประเทศเดิมเปนภูเขาเมื่อเกิดการยุบจม ตัวมักกอใหเกิดเกาะตางๆ บริเวณชายฝงทะเลยุบตัวในประเทศไทย ไดแก แถบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล การยุบตัวของชายฝงทะเลบริเวณนี้มีผลทําใหน้ําทะเลไหลทวมเขามา เชน บริเวณอาว พังงา ซึ่งภายในมีเกาะขนาดเล็กเรียงรายอยูเปนจํานวนมาก ซึ่งเกาะเหลานี้คือภูเขาหินปูนที่โผลพนน้ําขึ้นมา นั่นเอง
  • 8. 176 5.2.2 ชายฝงทะเลยกตัว (Emerged Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดจากการที่ เปลือกโลกยกตัวขึ้น หรือน้ําทะเลมีการลดระดับลง ทําใหบริเวณที่เคยจมอยูใตระดับน้ําทะเลโผลพนผิวน้ําขึ้น มา ถาหากแผนดินเดิมที่เคยจมตัวอยูใตระดับน้ําทะเลเปนบริเวณที่มีตะกอน กรวด ทราย ตกทับถมกันมา เปนเวลานาน จะทําใหเกิดที่ราบชายฝงที่มีบริเวณกวางและมีแนวชายฝงเรียบตรงไมคอยเวาแหวงมาก ชายฝง ทะเลลักษณะนี้พบไดทั่วไปในบริเวณภาคใตฝงตะวันออกของประเทศไทยตั้งแตจะงหวัดชุมพรลงมาถึงจังหวัด นราธิวาส ชายฝงทะเลยกตัวบางแหงอาจมีฝงชัน และมีลักษณะเปนภูเขา เนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศ เดิมที่อยูใตทะเลมีความลาดชันมาก เชน ชายฝงทะเลภาคตะวันออกบริเวณอาวพัทยา อําเภอสัตหีบ และ อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 5.2.3 ชายฝงทะเลคงระดับ (Neutral Shoreline) หมายถึงชายฝงทะเลที่ไมมีการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ระหวางระดับน้ําทะเลและบริเวณชายฝงของทวีป แตยังคงมีการทับถมของตะกอนตางๆ เกิดขึ้น ลักษณะชายฝงทะเลประเภทนี้ไดแก ชายฝงดินตะกอนรูปพัด ชายฝงดินดอนสามเหลี่ยม ชายฝงแบบ ภูเขาไฟ ชายฝงแนวหินปะการัง ชายฝงหินปะการังแนวขวางและชายฝงปะการังรูปวงแหวน 5.2.4 ชายฝงทะเลรอยเลื่อน (Fault Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดจากการเลื่อนตัว ของเปลือกโลกตามบริเวณชายฝงทะเล ถารอยเลื่อนมีแนวเลื่อนลงไปทางทะเลจะทําใหระดับของทะเลลึกลงไป หรือถารอยเลื่อนมีแนวเลื่อนลึกลงไปทางพื้นดิน จะทําใหน้ําทะเลไหลเขามาในบริเวณพื้นดิน 5.2.5 ชายฝงทะเลแบบผสม (Compounded Shoreline) เปนชายฝงทะเลที่เกิดจาก หลายๆ ลักษณะที่กลาวมาแลวขางตน ชายฝงทะเลประเภทตางๆ เหลานี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้ง ในรูปแบบของการกัดเซาะและการทับถม โดยมีตัวการที่สําคัญคือ คลื่น ลม และกระแสน้ํา ชายฝงทะเลแบบ ผสมเปนลักษณะชายฝงที่มีการผสมผสานกันหลายแบบจนไมสามารถจําแนกเปนแบบใดแบบหนึ่งไดชัดเจนลง ไปได อาจมีลักษณะรวมกันของชายฝงตั้งแตสองชนิดขึ้นไป ซึ่งเปนลักษณะแนวชายฝงสวนใหญบนโลกของเรา 6. การเคลื่อนไหวของน้ําทะเล การเคลื่อนไหวของน้ําทะเลสามารถแยกพิจารณาได 3 สวน ดังนี้ 6.1 การเกิดคลื่น (Wave) คลื่นเกิดจากลม แผนดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และจากการที่ลมพัดมากระทบกับผิวน้ํา จะทําใหผิวน้ํานูนสูงขึ้นคลายสันเขาความสูงของคลื่นทําใหเราทราบถึงความแรงของลม เมื่อคลื่นเคลื่อนตัว ออกจากแหลงกําเนิดจะมีขนาดใหญขึ้นเนื่องจากมันรวมเอาคลื่นขนาดเล็กๆ เขาไปไวดวย เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ เขากระทบฝงจะกระทบกับพื้นกอนทําใหคลื่นมีความสูงมากขึ้นแนวดานหนาของคลื่นจะโคงขนานไปกับชายฝง เราเรียกวาการหักเหของคลื่น เมื่อใกลฝงมากขึ้น แรงเสียดทานของพื้นทะเลจะมีมากขึ้นทําใหผิวหนาของคลื่น แตก เราเรียกวา “คลื่นหัวแตก” (Breaker) เราจะสังเกตเห็นไดเมื่อคลื่นเคลื่อนที่เขามากระทบฝง น้ําจะแตกซา เปนฟองกลายเปนฟองคลื่นบนหาด สําหรับคลื่นที่เกิดจากแผนดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด เราเรียกวา “ชูนามิส“(Tsunamis) มีความยาวของคลื่นประมาณ 100 - 200 กิโลเมตร แตมีความสูงเพียง 0.3 - 0.6 เมตร เมื่อเกิดคลื่นชนิดนี้ผูที่อยูบนเรือหรือชาวประมงจะไมสามารถสังเกตเห็นได ประกอบกับระยะเวลาในการเกิด
  • 9. 177 การเขาหาฝงของน้ําทะเล การถอยกลับของน้ําทะเล คลื่นจะสั้นมาก คือ ประมาณ 10 – 30 วินาทีเทานั้น แตคลื่นชนิดนี้จะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงถึง 500 - 800 กิโลเมตรตอชั่วโมง ดังนั้นเมื่อคลื่นชูนามิส เคลื่อนที่เขาหาฝงจะทําใหระดับน้ําทะเลชายฝงสูงกวาสภาพ ปกติ 15 - 30 เมตร จึงสงผลใหเกิดน้ําทวมชายฝงทะเลอยางรุนแรง กอใหเกิดความเสียหายตอชีวิตและทรัพย สินเปนอันมาก 6.2 สวนประกอบของคลื่น คลื่นประกอบดวยสวนของยอดคลื่น (Crest) คือจุดสูงสุดบนคลื่น สวนทองคลื่น (Trough) คือ ระยะในแนวดิ่งจากยอดคลื่นถึงทองคลื่น และ ความสูงของคลื่น (Amplitude) คือระยะในแนวราบจาก ยอดคลื่น หรือจากทองคลื่นถึงอีกทองคลื่นหนึ่งตอเนื่องกัน (รูปที่ 4) สําหรับการเคลื่อนที่ของกระแสน้ําในคลื่น มีลักษณะการเคลื่อนที่แบบวงกลม เกิดทั้งบริเวณผิวน้ําและใตผิวน้ํา วงกลมของการเคลื่อนที่หมุนวนของ กระแสน้ําจะเล็กลง เมื่อระดับความลึกเพิ่มขึ้น บริเวณน้ําตื้นทองคลื่นจะเคลื่อนที่กระทบพื้นดิน การเคลื่อนจะมี ลักษณะเปนวงรี เมื่อคลื่นเคลื่อนที่เขาหาฝง สวนบนของผิวน้ําของคลื่นยังเคลื่อนที่ดวยความเร็ว ขณะที่ทอง คลื่นมีแรงเสียดทานจากพื้นผิว คลื่นจึงยกตัวสูงขึ้น มวนตัว และถลําไปขางหนา เกิดการฟาดตัวกับชายฝง กลายเปนคลื่นแตกฟอง เราเรียกวา "คลื่นหัวแตก" (Breaker หรือ Surf) คลื่นที่ซัดเขาหาฝงบนสภาพที่มีความ ลาดชันนอยเราเรียกวา "การเขาหาฝงของน้ําทะเล" (Swash) เมื่อคลื่นซัดกระทบหาดแลวสลายตัวไปในที่สุด เราเรียกวา "การถอยกลับของน้ําทะเล" (Backwash) คลื่นหัวแตกโดยทั่วไปแบงออกเปน 3 ชนิด ดังนี้ ยอดคลื่น ความสูงคลื่น ระดับน้ําทะเล ทองคลื่น คลื่นหัวแตก การเขาหาฝงของน้ําทะเล การเคลื่อนที่ของกระแสน้ําในคลื่นแบบวงกลม คลื่นหัวแตก รูปที่ 4 แสดงสวนประกอบและการกระทําของคลื่นตอชายฝงทะเล ที่มา : Tom L. Mcknight , 1990.
  • 10. 178 6.2.1 คลื่นหัวแตกยอดกระจาย (Spilling Breaker) ยอดคลื่นแตกกระจายเปนฟอง และเปนระรอกคลื่นเล็กๆ ตอเนื่องกันไป เกิดบริเวณหาดที่มีความลาดชันนอย 6.2.2 คลื่นหัวแตกมวนตัว (Plunging Breaker) คลื่นที่มียอดคลื่นมวนตัวเขาหาชายหาด และกระแทกกับชายหาดแตกกระจายเปนฟอง เกิดขึ้นในบริเวณที่ชายหาดมีความลาดชันนอย 6.2.3 คลื่นหัวแตกใกลฝง (Surging Breaker) เกิดบริเวณหาดทรายที่มีความลาดชันมาก ระลอกคลื่นจะสะสมรวมกันและมียอดเออสูงขึ้น แตยอดคลื่นจะไมมวนตัว และไมแตกกระจายเปนฟองจนกวา จะเขาถึงหาดจึงจะโถมตัวกระแทกแตกกระจายเปนฟอง คลื่นมีผลตอกระแสน้ําชายฝง (Longshore Currents) แบงเปน 2 ลักษณะ คือ เกิดเปน กระแสน้ําชายฝงจากคลื่นซัดหาชายฝงในแนวเฉียง โดยจะเกิดกระแสน้ํามีแนวขนานกับชายฝงและพัดพาเอา กรวดทราย ครูดไถไปตามทองน้ํา ชวยในการพัดพาตะกอนสูทะเลลึกไดสวนหนึ่ง นอกจากนั้นยังเกิดกระแสน้ํา จากคลื่นซัดหาด (Rip Currents) เกิดจากเมื่อคลื่นซัดเขาหาฝง จะเกิดกระแสน้ําไหลออกจากฝงเรียกวา "กระแสน้ําจากคลื่นซัดหาด" กระแสน้ํานี้จะไหลไปตามรองแคบ ผานแนวสันดอนชายฝงสูทองทะเล และจะ ออนตัวลดความเร็วลงตามระดับความลึกตอไป 7. กษัยการของคลื่น คลื่นนับเปนตัวการที่สําคัญตัวหนึ่งที่ทําใหเกิดกษัยการบริเวณพื้นที่ชายฝงทะเลที่เกิดขึ้นอยางตอเนื่อง ตลอดเวลา แตความรุนแรงจะแตกตางกันในแตละวัน นับวาคลื่นเปนตัวการที่สําคัญที่สุดที่ทําใหชายฝงทะเล เกิดการเปลี่ยนแปลง ในชวงที่คลื่นมีความรุนแรงในการกระทําลดลงอันเนื่องมาจากเปนชวงที่ลมสงบก็จะชวย เสริมสรางหาดทรายและการทับถมอยางตอเนื่องตลอดเวลา ในทางตรงกันขามถาเปนชวงที่เกิดลมแรงและ ความรุนแรงของคลื่นเพิ่มขึ้นจะสงผลใหกษัยการของคลื่นกระทําโดยตรงตอภูมิประเทศชายฝงคลื่นจะกัดเซาะ ชายฝงกวาดตะกอนที่ทับถมลงสูทะเลลึกนอกชายฝงตอไป อยางไรก็ตามปรากฏการณน้ําขึ้นน้ําลง (Tide) นับ วามีผลตอแนวชายฝงโดยตรงแตไมมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับคลื่น น้ําขึ้นและน้ําลงจะมีผลกระทบตอแนวชาย ฝงที่อยูระหวางความสูงของระดับน้ําทะเลต่ําสุด และสูงสุด สวนกระแสน้ํานั้นจะชวยพัดพาเอาตะกอนที่เปน เศษหินดินทรายออกจากชายฝงไปทับถมอยูบริเวณใกล ๆ กับชายฝงนั่นเอง 7.1. กษัยการของคลื่น กระบวนการกระทําของคลื่นกอใหเกิดการกัดเซาะและการทับถมของชายฝงทะเล กษัยการ ที่เกิดจากน้ําทะเลที่กระทําตอชายฝงมีอยู 3 รูปแบบ ดังนี้ 7.1.1 การครูดไถ (Corrosion) เกิดจากการที่คลื่นพัดพาเอากรวดทราย หินชนิดตาง ๆ ไป ดวย และเมื่อคลื่นซัดเขาสูชายฝงจะเกิดการกัดเซาะชายฝงใหผุกรอนโดยกรวดทรายหินเหลานี้จะครูดไถใหชาย ฝงผุกรอนพังทลาย และถูกกระแสน้ําพัดพามาทับถมเปนหาดทราย
  • 11. 179 7.1.2 การสึกกรอน (Attrition) เกิดจากการที่คลื่นเคลื่อนที่เขาสูชายฝงอยางตอเนื่องตลอด เวลา ทําใหตะกอนบริเวณชายหาดถูกพัดพาไปขัดสีกับหินหนาผาชายฝง ขณะเดียวกันตะกอนดวยกันก็จะขัดสี กันเอง เชน หินตาง ๆ ตะกอนที่เกิดจากการสึกกรอนเหลานี้ ตอมาจะถูกกระแสน้ําชายฝงพัดพามาทับถมเปน หาดทรายชายฝงตอไป 7.1.3 การละลาย (Solvent Action) การละลายจะเกิดไดดีบริเวณโครงสรางของชายฝงที่ เปนหินปูน โดยการกระทําของน้ําทะเลจะชวยทําใหสารแคลเซียมคารบอเนตในหินปูนเกิดการเปลี่ยนแปลงทํา ใหมวลหินมีการผุพังสลายตัว แตกออกมา อยางไรก็ตามอัตราการกษัยการที่เกิดขึ้นจากการกระทําของคลื่นและน้ําทะเลจะเกิดมาก หรือนอยจะขึ้นอยูกับลักษณะโครงสรางของมวลหินที่ยื่นออกไปในทะเล ความรุนแรงของคลื่น กระแสน้ํา น้ําขึ้น น้ําลง รวมทั้งการกระทําของมนุษย และการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก การระเบิดของภูเขาไฟ ลวนแตเปนปจจัย ที่มีผลตอการกระทําของน้ําทะเลโดยคลื่นที่มีตอลักษณะภูมิประเทศชายฝงทะเลทั้งสิ้น 8. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากกษัยการของน้ําทะเล กษัยการของน้ําทะเล หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศแถบชายฝงอันเนื่องมาจากการ กระทําของคลื่น การเกิดน้ําขึ้นน้ําลง และกระแสน้ํา ทําใหเกิดลักษณะภูมิประเทศชายฝงที่แตกตางกันออกไป สองประเภทใหญๆ ไดแก 8.1 ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ เปนลักษณะภูมิประเทศที่เกิดบริเวณชายฝงทะเลน้ําลึก ลักษณะชายฝงลาดชันลงสูทอง ทะเล ทําใหเกิดการกัดเซาะของคลื่นและกระแสน้ําอยางรุนแรง เกิดเปนลักษณะภูมิประเทศตางๆ เชน หนา ผาชันริมทะเล (Sea Cliff) เวาทะเล (Sea Notch) ถาทะเล (Sea Cave) เกาะทะลุ (Sea Arch) สะพาน หินธรรมชาติ (Sea Arch) และชวากทะเล (Estuary) เปนตน รูปที่ 5 แสดงลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ ที่มา : Robert W. Christopherson , 1994.
  • 12. 180 8.1.1 แหลมและอาว (Cape and Bay) เกิดจากโครงสรางหินบริเวณชายฝงมีความแตกตางกัน ทําใหการผุพังชาเร็วตางๆ กัน ลักษณะของชายฝงจะเวาแหวงไมสม่ําเสมอกัน บางสวนยื่นออกไปในทะเล เรียกวา แหลม (Cape) เปน สวนของโครงสรางหินที่แข็งแรงกวาและทนตอการกระทําของคลื่นและกระแสน้ําชายฝง สวนที่มีการพังทลาย มากเปนหินที่มีความออนตัวกวาจึงถูกคลื่นและกระแสน้ํากัดเซาะจนเวาลึกเขาไปกลายเปนอาว (Bay) รูปที่ 6 แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ที่มา : จากการสํารวจ 8.1.2 หนาผาสูงชัน (Sea Cliff) มักเกิดบริเวณหนาผาสูงชันริมฝงที่หันหนาออกไปในทะเล เกิดจากการกัดเซาะ ของคลื่นทําใหเกิดลักษณะภูมิประเทศเปนหนาผาสูงชันบริเวณชายฝง และมีระดับน้ําทะเลบริเวณฐานของหนา ผานั้นๆ โดยคลื่นจะเซาะกรอนบริเวณฐานของหินแข็ง และเกิดการพังทลายของหินเหนือระดับน้ําทะเล อัน เนื่องมาจากการรับน้ําหนัก หรือเกิดการลื่นไถลลงสูทะเลตามแนวโครงสรางหินทําใหดานติดทะเลมีความลาด ชันสูงเปนหนาผา นอกจากนั้น อาจเกิดจากการจมตัวของสภาพชายฝงทะเล หรือการเพิ่มระดับความสูงของน้ํา ทะเลก็ได รูปที่ 7 แสดงลักษณะภูมิประเทศหนาผาสู ชันริมทะเล ที่มา : Charles C. Plummer , 1991.
  • 13. 181 8.1.3 รอยน้ําเซาะหิน (Sea Notch) เรียกอีกอยางหนึ่งวา “เวาทะเล” พบตามชายฝงทะเล เปนลักษณะภูมิประเทศที่ เกิดตอเนื่องจากการเกิดหนาผาสูงชันโดยมีลักษณะเปนรอยเวาตามแนวยาว เกิดบริเวณฐานของหนาผาชันริม ทะเลตอนที่อยูในแนวระดับของการเกิดน้ําขึ้นและน้ําลง เกิดจากการกัดเซาะโดยคลื่นและการละลายของหินปูน กระทําใหบริเวณฐานลางของหนาผาสูงชันเวาเขาไปขางใน เมื่อรอยน้ําเซาะหินขยายตัวกวางจนหินชวงบนรับ น้ําหนักไมไหวก็จะหักพังลงมากลายเปนหนาผาสูงชันริมทะเล (Sea Cliff) ซึ่งรอยน้ําเซาะหินนี้จะเปนหลักฐาน แสดงใหเห็นระดับน้ําทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอดีตได รูปที่ 8 แสดงรอยน้ําเซาะหินตอนที่อยูใน แนวระดับของน้ําขึ้นน้ําลง ที่มา : จากการสํารวจ 8.1.4 ถ้ําทะเล (Sea Cave) ถ้ําทะเลเกิดจากการกัดเซาะของคลื่นที่หินผาสูงชันชายฝง โดยน้ําทะเลจะกัดเซาะ ใหหินเกิดการผุพัง ทําใหเกิดเปนชองหรือโพรงลึกเขาไป ในระยะแรกอาจเปนเพียงชองหรือโพรงขนาดเล็ก (Grotto) แตเมื่อเวลาผานไปนานเขาก็จะกลายเปนชองหรือโพรงขนาดใหญมากขึ้น (Cave) บางครั้งโพรงนั้น ทะลุออกไปอีกดานหนึ่งทําใหเกิดลักษณะที่เรียกวา “ถ้ําลอด” หรือ “เกาะทะลุ” ถาเกิดบริเวณภูมิประเทศที่ เปนหินปูนก็จะเกิดเปนโพรงถ้ําขนาดใหญไดงายขึ้น เนื่องจากมีการกระทําของน้ําฝนและน้ําใตดินเขามาเกี่ยว ของ ปากถ้ํามักอยูบริเวณที่มีน้ําขึ้นลงสูงสุดและต่ําสุด เนื่องจากเปนชวงเวลาที่คลื่นสามารถกัดเซาะหินชายฝง ได แตในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ําทะเลอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกอาจทําใหบริเวณ ปากทําอยูสูง หรือต่ํากวาระดับน้ําทะเลปจจุบันก็ไดเชนกัน รูปที่ 9 แสดงลักษณะภูมิประเทศถ้ําทะเล บริเวณอาวพังงา จังหวัดพังงา ที่มา : จากการสํารวจ. 8.1.5 พานหินธรรมชาติ (Sea Arch)
  • 14. 182 เปนโพรงหินชายฝงทะเลที่ทะลุออกทางทะเลทั้งสองดาน คลายคลึงกับถ้ําลอดที่ เกิดขึ้นบนเกาะ แตสะพานหินธรรมชาติมักเกิดบริเวณหัวแหลม ซึ่งมีการกัดเซาะทั้งสองดานพรอมกันจนโพรง หินทะลุถึงกัน เกิดจากคลื่นและน้ําขึ้นน้ําลงที่กระทําตอหินชายฝง หรือเกาะใหเกิดเปนรูปโคงงอคลายซุมประตู โดยหินสวนที่เหลืออยูเหนือโพรงจะมีลักษณะคลายสะพาน ตัวอยางของสะพานหินธรรมชาติที่สวนงามมาก แหงหนึ่งของประเทศไทยคือที่เกาะไข อุทยานแหงชาติเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล รูปที่ 10 แสดงลักษณะภูมิประเทศสะพาน หินธรรมชาติ เกาะไข อุทยานแหงชาติตะ รุเตา จังหวัดสตูล. ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวด- ลอม กระทรวงวิทยาศาสตรฯ , 2538. 8.1.6 เกาะหินชะลูด (Stack) หรือเรียกอีกอยางหนึ่งวาเกาะหินโดง หมายถึงเกาะโขดหินขนาดเล็กที่แยกออก จากผืนแผนดินใหญ หรือเกาะที่อยูใกลเคียง เกิดจากสวนของหินแข็งบริเวณชายฝงเดิมที่ยื่นออกไปในทะเลถูก กษัยการจากคลื่นเซาะทั้งสองขางจนสวนปลายแหลมที่ตัดออกเปนเกาะ ทําใหชายฝงพังทะลายถอยรนเขาไป ในภาคพื้นดินมากยิ่งขึ้น สวนหินแข็งเหลานี้ถูกตัดขาดออกจากชายฝง เกิดเปน “เกาะหินชะลูด” หรือ “เกาะ หินโดง” เชน เขาตะปูในเขตอุทยานแหงชาติอาวพังงา เกาะหินโดงยังคงถูกกษัยการจากคลื่นอยางตอเนื่องจน สามารถพังทลายลงไปไดในที่สุด ซึ่งกลายเปนฐานของเกาะจมอยูใตทะเล เรียก “ตอหิน” (Stump) รูปที่ 11 แสดงลักษณะภูมิประเทศเกาะ หินชะลูด บริเวณอุทยานแหงชาติอาวพังงา จังหวัดพังงา ที่มา : จากการสํารวจ
  • 15. 183 8.2 ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม เกิดจากการทับถมของตะกอนทะเลตามแนวชายฝงทะเล มักเกิดจากการกระทําของคลื่น กระแสคลื่นและการเกิดน้ําขึ้นน้ําลง เกิดในบริเวณชายฝงทะเลที่มีน้ําตื้น ลักษณะชายฝงทะเลราบเรียบและ ลาดเทลงไปสูกนทะเล ทําใหความเร็วของคลื่นและกระแสน้ําลดลงเมื่อเคลื่อนตัวเขาสูชายฝงทะเลการกระทํา จึงเปนไปในรูปแบบของการตกตะกอนทับถมเกิดเปนภูมิประเทศลักษณะตางๆ เชน หาดทราย (Beach) สัน ทราย (Berm) สันดอน (Bar) ทะเลสาบที่มีน้ําไหลเขาออกได (Lagoon) เปนตน หาดทราย สันดอนเชื่อมเกาะ สันดอนปากอาว (Beach) (Tombolo) (Bay Barrier) สันดอนจะงอยปากอาว ทะเลสาบน้ําเค็ม (Barrier Spit) (Lagoon) รูปที่ 12 แสดงลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม ที่มา : Robert W. Christopherson , 1994. 8.2.1 หาดทราย (Beach) เกิดจากการพัดพาตะกอนจําพวก กรวด หิน ดิน และทรายเขามาทับถมตามชาย ฝงลักษณะเปนแถบยาวไปตามชายฝงทะเล การทับถมที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝงทะเลนี้เกิดจากกระแสคลื่นที่พัด เขาสูชายฝง มีแนวเฉียงไปจากแนวชายฝงทะเลเล็กนอย ดังนั้นน้ําทะเลที่คลื่นผลักดันขึ้นไปเวลาถอยกลับมาจึง มีแนวเฉียงไปจากแนวชายฝงเชนกัน เราเรียกวา “กระแสน้ําชายฝง” (Longshore Drift) กระแสน้ําชายฝงจะมี สวนชวยในการทับถมของตะกอนที่ถูกพัดพามากับคลื่นเขามาทับถมตามชายฝงจนทําใหพื้นที่ของชายหาดมี การขยายกวางออกไปเปนหาดทรายงอก (Off shore) และยังชวยปรับระดับของชายฝงทะเลโดยเมื่อคลื่น เคลื่อนที่เขาไปปะทะกับชายฝงทะเล ตะกอนที่มีขนาดใหญจะมีการตกทับถมอยูดานบนสุด สวนตะกอนขนาด
  • 16. 184 เล็กจะแพรกระจายลงมาทับถมยังสวนลางของชายหาด จากการศึกษาลักษณะของหาดทรายสามารถจําแนก ได 3 ประเภท ดังนี้ ชายหาดหนากวาง ลักษณะเปนหาดเรียบ มีทั้งหาดสวนหลัง (Back Shore) และหาดสวนหนา (Fore Shore) ลักษณะชายหาดมีความลาดชันนอย คลื่นมักจะซัดเขามาไมถึงชายหาดสวน หลัง ชายหาดลักษณะนี้มีบริเวณกวางขวาง เหมาะแกการเปนสถานที่พักตากอากาศและเลนน้ําบริเวณชาย หาด เชน ชายหาดชะอํา จังหวัดเพชรบุรี เปนตน ชายหาดหนาแคบ ลักษณะชายหาดเรียบตั้งแตขอบชายฝงทะเลไปจนถึงแนว เกิดน้ําขึ้นน้ําลง มีแตชายหาดสวนหนา (Fore Shore) ไมมีชายหาดสวนหลัง (Back Shore) ชายหาดมี ความลาดชันไมมาก ชายหาดสองชั้น เปนชายหาดที่มีความราบเรียบนอย มีทั้งชายหาดสวนหลัง (Back Shore) และชายหาดสวนหนา (Fore Shore) และมีที่ราบเปนชานยื่นออกไปในทะเลเปนชั้นๆ บางชั้น จะอยูเหนือแนวน้ําลงเต็มที่ ลักษณะชายหาดมีความลาดชันมาก ไมเหมาะสําหรับเลนน้ําทะเล นอกจากนั้นชายหาดแตละแหงยังมีการตกทับถมของวัตถุแตกตางกันออกไป ดังนี้ ชายหาดหิน หรือหาดกรวด (Shingle Beach) พื้นผิวชายหาดประกอบดวย หินที่ตกทับถมและถูกคลื่นพัดพาเสียดสีกันจนหินมีกอนกลมมน เชน ที่เกาะหินงาม อุทยานแหงชาติเกาะตะรุ เตา จังหวัดสตูล ชายหาดทราย (Sand Beach) มักพบอยูในพื้นที่ซึ่งมีหินเปลือกโลกเปนหิน ทรายหรือหินแกรนิต โดยเฉพาะอยางยิ่งหินแกรนิต เมื่อสลายตัวจะใหทรายเม็ดกลมมน มีสีขาวทําใหเกิดหาด ทรายที่สวยงาม เชนหาดตางๆ ในจังหวัดภูเก็ต ชายหาดชะอํา จังหวัดเพชรบุรี ชายหาดหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ และชายหาดสมิหรา อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา เปนตน ชายหาดโคลน (Mud Flat) มักพบอยูบริเวณปากแมน้ําสายใหญๆ ที่มีโคลน ตะกอนที่เกิดจากแมน้ําพัดพามาเปนจํานวนมาก มีลักษณะเปนลานปริ่มน้ํา เวลาน้ําขึ้นน้ําจะทวมมิดลาน เวลาน้ําลงจึงจะเห็นลานดังกลาว เชน บริเวณพื้นที่ดอนหอยหลอด ปากแมน้ําแมกลอง จังหวัด สมุทรสงคราม ถาหาดโคลนมีขนาดใหญและมีตะกอนสะสมมากจนโผลพนระดับน้ําทะเลขึ้นมาเรียกวา ที่ลุม ชายเลน มีพืชบางชนิดพบมาก เชน แสม โกงกาง จึงมักเรียกวา ปาชายเลน หรือ ปาเลนน้ําเค็ม 8.2.2 สันดอน (Bar) หมายถึงพืดสันทรายหรือตะกอนอื่นๆ ที่กระแสน้ําพัดพามาตกทับถมสะสมไว ตะกอนดังกลาวมาจากการครูดไถตามหนาผาสูงชันบริเวณชายฝงทะเล หรือจากดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ํา จะถูกกระแสน้ําชายฝงพัดพาไปทับถมยังบริเวณที่มีคลื่นลมสงบ จนเกิดเปนสันหรือพืดยื่นขวางหรือปดปากน้ํา ทางเขาทาเรือ หรือปากอาว ซึ่งเปนแนวเดียวกันกับชายฝงที่เปนปากอาว ทําใหเกิดสันดอนรูปแบบตางๆ ดังนี้ (รูปที่ 12)
  • 17. 185 สันดอนปากอาว (Bay Barrier) เปนสันดอนที่เกิดจากตะกอนตกทับ ถมอยูในบริเวณปากอาว สันดอนจะงอยปากอาว (Barrier Split) เปนสันดอนที่เกิดจากการตก ตะกอนทับถมเปนแนวยาวอยูใกลปากอาว ปลายดานหนึ่งติดกับชายฝง อีกดานหนึ่งยื่นขวางปากอาว ตอน ปลายจะงอโคงเปนจะงอยตามอิทธิพลของกระแสน้ําและคลื่น สันดอนจะงอยปากอาวที่พบในประเทศไทยได แก สันดอนจะงอยปากอาวบริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เกิดจากการกระทําของคลื่นและ กระแสน้ําพัดพาตะกอนมาตกทับถมกันเกิดเปนสันดอนงอกออกมาเปนแนวยาวเรียกวา “สันดอนจะงอยรูป เขี้ยว” สันดอนเชื่อมเกาะ (Tombolo) เปนสันดอนที่เกิดจากกระแสน้ําและ คลื่นพัดพาเอาตะกอนมาตกทับถมกันจนกลายเปนแนวยาวยื่นออกจากชายฝงทะเลออกไปเชื่อมเกาะขนาดเล็ก ในทะเล 8.2.3 ทะเลสาบน้ําเค็ม (Lagoon) เกิดขึ้นไดทั้งในทะเลและแนวชายฝงทะเล สวนที่เกิดในทะเลเรียกวา “ทะเลสาบ น้ําเค็มในทะเล” เกิดจากการปดกั้นของปะการัง โดยมากเปนรูปวงกลม มีทางน้ําแคบๆ ไหลผานเขาออกได สวนที่เกิดบริเวณชายฝงทะเลเรียกวา “ทะเลสาบน้ําเค็มชายฝงทะเล” เกิดจากการปดกั้นของสันดอนบริเวณ ปากอาวแตยังมีทางออก ใหน้ําไหลผานได เกิดจากการที่คลื่นและกระแสน้ําพัดพาเอาตะกอนมาตกทับถมเปน สันดอนงอกออกมาปดลอมบริเวณที่เปนอาวอยูเดิม ทําใหเกิดเปนพื้นที่ภายในแผนดิน เชน บริเวณทะเลสาบ สงขลา ที่เกิดจากการงอกของสันดอนมาปดลอมอาวเดิม สันทรายที่งอกยื่นยาวมาปดกั้นทะเลสาบสงขลามี ความยาวจากทิศเหนือไปยังทิศใตเปนระยะทาง 100 กิโลเมตร 8.2.4 สันทราย หรือสันหาด (Berm) ลักษณะเปนเนินทรายแนวยาวขนานไปกับชายฝงทะเล แนวการวางตัวขวางทิศ ทางลม ความสูงเทาๆ กันตลอดแนว และระหวางสันเนินทรายสลับดวยที่ลุมต่ํา สันทรายในพื้นที่ชายทะเลของ ประเทศไทยเกิดจากการกระทําของน้ําทะเลในระยะเวลาสั้นๆ ที่พัดพาทรายมาตกทับถมบริเวณชายฝงทะเล ประกอบกับมีปริมาณทรายมากซึ่งเกิดจากการตกทับถมกันอยางรวดเร็ว เปนแนวสันทรายทอดยาวขนานชาย ฝง ดานบนของสันทรายอาจมีสวนของตะกอนที่เกิดจากการพัดพามาทับถมกันโดยลมบาง รูปที่ 13 แสดงแนวสันทราย ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวด- ลอม กระทรวงวิทยาศาสตรฯ , 2538.
  • 18. 186 8.2.5 ที่ราบลุมชายเลนและพรุน้ําเค็ม (Salt Marsh) เกิดจากการที่กระแสน้ําขึ้นและกระแสน้ําลงพัดเอาตะกอนละเอียดที่เปนพวกทราย ทรายแปง และดินเหนียวไปปะปนกับกระแสน้ําในรูปของตะกอนแขวนลอย โดยตะกอนเหลานี้จะเกิดจากการ กษัยการของน้ําขึ้นน้ําลง เมื่อมีน้ําจืดไหลลงมาผสมจะชวยเรงใหตะกอนเหลานั้นรวมตัวกันเปนกอนใหญและ ตกจมลงในบริเวณพื้นลางของอาวหรือปากแมน้ํา อันเปนผลทําใหอาวหรือปากแมน้ําตื้นเขินลง นอกจากนั้น ตะกอนดังกลาวยังมีอินทรียวัตถุปะปนอยูเปนจํานวนมาก จนเกิดเปน “ที่ราบลุมชายเลน” (Mudflat) หรือที่ลุม ราบน้ําขึ้นถึง (Tidal Marsh) บริเวณดังกลาวในชวงเวลาน้ําขึ้นน้ําทะเลจะไหลบาขึ้นมาทวม แตระดับน้ําจะลึก ไมมากนัก และมีพืชน้ําเค็มเจริญเติบโต พืชเหลานี้จะมีสวนชวยในการดักจับตะกอนที่กระแสน้ําพัดพามา ซึ่ง จะทําใหระดับของที่ลุมราบชายเลนสูงขึ้นเทากับระดับน้ําทะเลที่ขึ้นสูงสุดในบริเวณนั้น และตอมากลายเปนพรุ น้ําเค็ม (Salt Marsh) รูปที่ 14 แสดงสภาพภูมิทัศนของพรุน้ําเค็ม และพืชพรรณ ที่มา : สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดลอม กระทรวงวิทยาศาสตรฯ , 2538.
  • 19. 187 9. พืดหินปะการัง 9.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับการกําเนิดพืดหินปะการัง 9.1.1 ทฤษฎีการทรุดตัว (Subsidence Theory) โดย Charles Darwin ป ค.ศ.1842 ตามทฤษฎีไดสันนิษฐานวา เกาะเล็กๆ ที่เกิด จากภูเขาไฟจะคอยๆ ทรุดตัวลงอยางชาๆ เนื่องมาจากการแปรโครงสรางของเปลือกโลก ดังรูป การทรุดตัวลง อยางชาๆ ของเกาะเล็กๆ จากภูเขาไฟจะทําใหแนวพืดหินปะการังที่กอตัวขึ้นอยูตามขอบของเกาะจะคอยทรุด ตัวตามไปดวยอยางชาๆ จากปรากฎการณดังกลาวแนวปะการังจะพยายามเสริมสรางแนวเกาะใหสูงขึ้นมา เรื่อย ๆ ในที่สุด สวนที่เปนเกาะภูเขาไฟจะจมลงสูใตน้ํา เหลือไวแตแนวพืดหินปะการังที่มีการกอตัวขึ้นและสวน ที่เปนบริเวณเกาะเดิมจะกลายเปนทะเลสาบน้ําเค็ม จะสังเกตไดวาการเสริมสรางความสูงของแนวพืดหิน ปะการังจะกระทําไดเพียงเทากับระดับน้ําทะเลเทานั้น ซึ่งเปนขอกําหนดตามธรรมชาติของและสภาพภูมิศาสตร เกาะภูเขาไฟ แนวขอบปะการัง เทือกหินปะการังใกลฝงทะเล หมูเกาะหินปะการัง (Barrier) (Atoll) รูปที่ 15 แสดงทฤษฎีการทรุดตัว ที่มา : Robert W. Christopherson, 1995. 9.1.2 ทฤษฎีการควบคุมธารน้ําแข็ง (Glacial Control Theory) โดย R.A. Daly ป ค.ศ.1910 ทฤษฎีนี้ไดอางถึงหลักฐานการคนพบซากปะการังใน บริเวณทองทะเลลึกเกินกวาที่ปะการังจะดํารงชีวิตอยูไดที่เปนเชนนี้เนื่องมาจากน้ําทะเลเคยลดระดับต่ําลงไป อันเนื่องมาจากการถอยรนของธารน้ําแข็งแถบขั้วโลกใน ยุคควาเตอรนารี เมื่อประมาณ 0.01 ลานปที่ผานมา โดยสรุปเปนหลักอางอิงคือ น้ําในเขตรอนสมัยดังกลาวมีอุณหภูมิต่ํากวาปจจุบันจึงทําใหปะการังไมสามารถ ดํารงชีวิตอยูได ประกอบกับหินโสโครก และเกาะทั้งหลายในสมัยกอนยุคน้ําแข็งจะลดระดับความสูงลงมาจน เทากับระดับน้ําทะเล อันเนื่องมาจากกระบวนการกษัยการ ดังนั้นที่ราบลาดทวีปจึงเปนฐานสําคัญในการจับ เกาะของปะการังเพื่อการเจริญเติบโตและสรางหินปะการังขึ้นมาตอมาเมื่อระดับน้ําทะเลสูงขึ้นการละลายของ ธารน้ําแข็งทั้งในทะเลสาบและบนภาคพื้นทวีปพรอมๆ กันกับการเจริญเติบโตของปะการัง จึงทําใหพืดหิน ปะการังเพิ่มระดับความสูงขึ้นมาเทากับระดับน้ําทะเลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในที่สุดการพัฒนาพืดหินปะการังจะ ถึงสภาวะสูงสุดดังที่พบเห็นอยูในปจจุบัน (Leong, 1983)
  • 20. 188 อยางไรก็ตามจากทั้งสองทฤษฎีที่กลาวมาแลว ประกอบกับหลักฐานตางๆ ที่นักวิทยา ศาสตรไดศึกษาเพิ่มเติม โดยการขุดเจาะลงไปในชั้นหินปูนที่ปรากฏอยูในพืดหินปะการัง พบวาการอธิบายตาม หลักทฤษฎีของ R.A. Daly ที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ําทะเล และตอมาเกิดกษัยการขึ้นกับเกาะที่ เปนฐานของพืดหินปะการังนั้นพบวาเปนสิ่งที่เชื่อถือได ทั้งนี้เพราะการเจาะลงไปถึงฐานลางสุดของพืดหิน ปะการังจะพบหินบะซอลตที่เปนหินแข็งรองรับอยู แสดงใหเห็นวาเปลือกโลกบริเวณดังกลาวมีการทรุดตัวลงจริง ตามหลักทฤษฏีของ Charles Darwin ที่อางไว ดังนั้นทั้งสองทฤษฎีจึงมีเหตุผลและน้ําหนักสนับสนุนเพียงพอถึง กระบวนการเกิดพืดหินปะการังไดเปนอยางดี 9.2 สภาพภูมิศาสตรที่เหมาะสมกับการเกิดปะการัง จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตรพบวาพืดหินปะการังเกิดจากปะการังที่เปนสัตวน้ําเค็ม ขนาดเล็กหรือสาหรายบางชนิดที่สามารถสรางหินปูนขึ้นมาได หินปูนที่สะสมอยูตามพืดหินปะการังนี้จะเปน โครงรางของปะการังหรือสาหรายบางชนิดที่ตายแลวนั่นเอง โดยสวนมากเรามักพบการกระจายตัวของพืดหิน ปะการังตามบริเวณตางๆ มีปจจัยหลายประการที่เขามาเกี่ยวของ โดยเรามักพบพืดหินปะการังบริเวณเขต อบอุนในมหาสมุทร นอกจากนั้นเราพบวาความแตกตางของอุณหภูมิน้ําในมหาสมุทรระหวางชายฝงตะวันตก และชายฝงตะวันออกมีผลตอการกอตัวของพืดหินปะการัง โดยพบวาเรามักพบพืดหินปะการังบริเวณชายฝง ตะวันออกมากกวา คือ บริเวณ 0 - 160 องศาตะวันออก เนื่องจากสภาพความเหมาะสมของอุณหภูมิน้ํา ทะเลที่อุนกวาชายฝงตะวันตก โดยเรามักพบแนวพืดหินปะการังบริเวณละติจูดที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศา ใต ที่ระดับความลึก 10 - 55 เมตร ความเค็มของน้ําทะเลคิดเปนรอยละ 27 - 40 ณ อุณหภูมิ 18 - 29 องศา เซลเซียส นอกจากนั้นสภาพน้ําจะตองใสปราศจากตะกอนดวย รูปที่ 16 แสดงแนวการกระจายตัวของพืดหินปะการัง ที่มา : Tom L. Mcknight , 1990.