SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
Download to read offline
1
ภาคใต้ของไทยภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
ที่คนไม่เคยรู้
รศ.ดร. จานง สรพิพัฒน์
เอกสารวิชาการ
ฉบับที่ 2 /2559
ถอดความจากการนาเสนอในที่ประชุมเวทีวิชาการ เรื่อง จุดยกพลขึ้นบกในประเทศไทยของกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
โดย รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559
เวลา 09.00—12.00 น. ณ โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง
ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมโยงโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ได้สร้าง
ข้อได้เปรียบให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดศูนย์กลางด้านการคมนาคมของภูมิภาคเอเชีย สาหรับภาคใต้ของ
ไทยนับเป็นอีกพื้นที่ที่มีความสาคัญในแง่เศรษฐกิจการท่องเที่ยว ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามอยู่
เป็นจานวนมาก ทั้งยังเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์จากการรวบรวมคนหลากหลายเชื้อชาติและ
ศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตามภาคใต้ของไทยไม่ได้มีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม
ดังเช่นในปัจจุบันเท่านั้น แต่ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นจุดยุทธศาสตร์การรบสาคัญในสมัยสงครามโลก
ครั้งที่สองด้วย
2
สงครามโลกครั้งที่สอง (World War II) นับได้ว่าเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่โลกต้อง
เผชิญ ทั้งยังนับเป็นสงครามเบ็ดเสร็จที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดครั้งหนึ่งด้วย เนื่องจากประเทศผู้ร่วม
สงครามได้ทุ่มเทขีดความสามารถทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ลงในการรบทั้งหมด
จนนาไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในฝั่งของยุโรปและเอเชีย อนึ่ง ความพยายามขยายแสนยานุภาพของ
ประเทศฝ่ายอักษะอย่างญี่ปุ่นเพื่อครอบงาเอเชียได้ส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายสภาพมาเป็นสมรภูมิรบอย่างเต็ม
ตัว ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย
ไทยซึ่ง ณ ขณะนั้นอยู่ในฐานะรัฐกันชน (Buffer State) ถูกรายล้อมไปด้วยดินแดนอาณานิคมของ
มหาอานาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส จึงทาให้ไทยกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สาคัญที่ประเทศคู่ขัดแย้งใน
สงครามต่างต้องการใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งต้องการเดินทัพผ่านเข้ามาในไทยเพื่อเข้ายึดครอง
ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ คือมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) อันมีอาณาเขตติดต่อกับภาคใต้ของไทย
ประเทศไทยถูกเข้าใจมาตลอดว่าได้ตกลงยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพเข้ามาอย่างสันติ แต่แท้จริงแล้วกลับมิได้
เป็นเช่นนั้น การยกพลบุกไทยของกองทัพญี่ปุ่นในครั้งนั้นได้นามาสู่การปะทะกันระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
ในหลายพื้นที่ โดยกองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกตามแนวคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยใน 7 จุด ได้แก่ บางปู
(สมุทรปราการ) ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ในจานวนนี้
ญี่ปุ่นได้ทุ่มกองกาลังหลักไปในการบุกที่สงขลาและปัตตานี ขณะที่กองกาลังส่วนที่เหลือซึ่งถูกแบ่งไปยัง
พื้นที่อีก 5 จุดเหนือขึ้นไปนั้น มีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวป้องกันในกรณีที่อังกฤษใช้กองทัพอาณานิคมในพม่า
ตีขนาบหลังญี่ปุ่นลงมา
ภาพที่ 1 แสดงพื้นที่ในประเทศไทย
ที่ญี่ปุ่นยกพลบุก
ที่มา www.reurnthai.com
3
เหตุการณ์ในจุดยกพลขึ้นบกทั้ง 7 จุด
ในการวางแผนยุทธการสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้จัดกองทัพออกโจมตีเป็น 3 ทิศทาง ได้แก่
 ทางแรก บุกเข้าไทยและมลายา ประกอบด้วยกองพลที่ 25 นาโดย พล.ท. Yamashita เข้าโจมตี
ภาคใต้ของไทยและโกตาบารู และกองพลที่ 15 นาโดย พล.ท. Iida เข้าโจมตีภาคใต้ของไทยและ
ตอนบนของไทยเพื่อรุกต่อไปยังพม่า
 ทางที่สอง บุกเข้าฮ่องกงและฟิลิปปินส์ โดยกองพลที่ 14 นาโดยนายพล Honma
 ทางที่สาม บุกเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลและเกาะโออาฮู นาโดย พล.ร.อ. Nagumo
สาหรับแผนการบุกเข้าไทย ในคืนวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 นาย Tsubogami เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
ประจาประเทศไทย ขอเข้าพบนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้นเพื่อยื่นคา
ขาดให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยแต่โดยดี และข่มขู่ว่าหากไม่ได้รับการตอบ
รับภายในเวลา 10.00 น. ของวันถัดไปจะใช้เครื่องบิน 200 ลา ทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ และจะยกกองกาลังทาง
บกเข้าไทยอีก 10 กองพล ซึ่งในช่วงเช้ามืดของวันต่อมา ญี่ปุ่นได้ใช้เรือลาเลียงพลยกพลขึ้นบกพร้อมกัน 7
จุดตามแนวชายฝั่งของไทยดังที่กล่าวมาข้างต้น จนเกิดการปะทะกับกาลังทหาร ตารวจและพลเรือนฝ่ายไทย
ในหลายจุด กระทั่งในช่วงสาย คณะรัฐมนตรีก็มีมติยินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านดินแดนไทย พร้อมทั้งแถลงการณ์
ผ่านวิทยุกรมโฆษณาการทั่วประเทศให้ทหาร ตารวจ ประชาชน ยุติการต่อสู้และยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่าน
ดินแดนไทย สาหรับเหตุการณ์สาคัญที่เกิดขึ้นในจุดยกพลขึ้นบกทั้ง 7 จุด มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. ตาบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
ทหารญี่ปุ่นจานวนหนึ่งกองพันทั้งที่เพิ่งยกพลขึ้นบกและสายลับที่แฝงตัวเข้ามาสอดแนมอยู่
ในไทยได้ยกพลเข้ายึดสถานตากอากาศบางปูและถนนริมทะเลตลอดแนว และได้เผชิญหน้ากับกอง
กาลังตารวจจากสถานีตารวจภูธรอาเภอเมืองสมุทรปราการ พ.ต. Hino ผู้ช่วยทูตทหารญี่ปุ่นประจา
ไทยได้ขอเจรจากับทางฝ่ายไทย โดยอ้างว่ารัฐบาลไทยได้อนุญาตให้ทหารญี่ปุ่นยกกองกาลังเข้ามา
ได้ แต่ฝ่ายตารวจไทยไม่เชื่อ จึงได้เจรจาถ่วงเวลาพร้อมจัดตั้งแนวป้องกันตลอดเส้นทางสุขุมวิท
จากบางปูเข้าสู่กรุงเทพฯ เมื่อรัฐบาลไทยมีคาสั่งให้เปิดทาง กาลังทหารญี่ปุ่นก็เคลื่อนย้ายจากบางปู
ไปยังกรุงเทพฯ เหตุการณ์จึงยุติลงโดยไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น
2. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นที่ตั้งของกองบินน้อยที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันพื้นที่ภาคกลางและ
ภาคใต้ โดยตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาล้อมหมวก อาเภอเมือง ทั้งนี้ ช่วงเช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม
ญี่ปุ่นได้เข้ายึดสถานีตารวจและสนามบิน จากนั้นจึงเคลื่อนพลไปยังตัวเมืองจนเกิดการปะทะกับ
ตารวจและชาวบ้านในพื้นที่ กระทั่งนาไปสู่การทาลายเครื่องบินและเรือยกพลของญี่ปุ่น การสู้รบ
เป็นผลให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 18 ราย ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิตมากถึง 2,107 ราย
3. จังหวัดชุมพร
ในปี 1941 จังหวัดชุมพรได้จัดตั้งกองกาลังของตนเองขึ้น อันได้แก่ กองพันทหารราบที่ 38
และหน่วยยุวชนทหารที่ 52 รวมไปถึงกาลังตารวจชุมพร โดยในคืนเกิดเหตุ เมื่อผู้บัญชาการ
กองกาลังทั้งสามได้รับแจ้งข่าวกองทัพญี่ปุ่นยกพลบุกชุมพร จึงได้จัดกาลังตั้งรับบริเวณคอสะพาน
4
ท่านางสังข์และต่อมาได้เข้าโจมตีทหารญี่ปุ่นที่อยู่ฝั่งตรงข้าม จนในที่สุดยุวชนทหารสามารถตรึงกาลัง
ทหารญี่ปุ่นไม่ให้รุกข้ามสะพานท่านางสังข์มาได้ ผลการสู้รบทาให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 5 ราย ขณะที่ฝ่าย
ญี่ปุ่นไม่ทราบจานวน ภายหลังทางการญี่ปุ่นทราบว่าหน่วยรบของไทยเป็นเพียงนักเรียนมัธยม จึงได้
ส่งหนังสือชมเชยในความกล้าหาญมายังกระทรวงกลาโหมของไทย
4. สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่ไม่มีกองกาลังเป็นของตนเอง ในคืนเกิดเหตุ ญี่ปุ่นได้ใช้เรือ
ท้องแบนบรรทุกทหารเต็มลาล่องมาขึ้นที่ท่าตลาดกอบกาญจน์ แล้วมุ่งหน้าต่อไปยังศาลากลางจังหวัด
สุราษฎร์ธานี การปะทะเริ่มต้นขึ้นโดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเปิดฉากยิงก่อน ขณะที่ฝ่ายไทยไม่มีกาลังทหาร
ทาให้ตารวจ ลูกเสืออาสาและราษฎรในพื้นที่ต้องร่วมมือกันสู้รบ การปะทะสิ้นสุดโดยฝ่ายไทยเสียชีวิต
17 – 18 ราย ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นไม่มีข้อมูล
5. จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ 6 ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาทางทหารของ
ภาคใต้ทั้งหมด แต่มีกาลังทหารอยู่เพียง 2 กองพัน โดยเช้าวันเกิดเหตุ กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่
บ้านท่าแพ จนเกิดการยิงปะทะกับทหารรักษาการณ์ของไทย ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นใช้กาลังพลมากถึง 3
กรม (9 กองพัน) และเรือลาเลียงอีก 3 ลา ขณะที่ฝ่ายไทยมีกาลังเพียง 2 กองพันในการสู้รบ ผลการ
ยิงปะทะทาให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 39 ราย ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นไม่ทราบจานวน
6. จังหวัดสงขลา
สงขลาทราบดีว่าดินแดนของตนเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญที่จะเชื่อมไปสู่มลายา ก่อนเกิด
เหตุการณ์ยกพลขึ้นบกจึงปรากฏหลักฐานว่าจังหวัดทหารบกสงขลา (จทบ.สงขลา) ได้มีการเตรียม
แผนรบไว้เป็นอย่างดีเพื่อรับมือกับกองกาลังต่างชาติที่จะยกมาทางทะเลสงขลา เมื่อการปะทะเริ่มขึ้น
ไทยได้ยิงปืนใหญ่จากเขารูปช้างไปยังชายหาดและเรือลาเลียงพลของญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาเดียวกันญี่ปุ่นก็
ใช้ปืนใหญ่จากเรือรบยิงตอบโต้ เหตุการณ์สู้รบที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขาน้าน้อย โดย
ทหารกับชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมกันรบจนสามารถโจมตีทหารญี่ปุ่นที่โดยสารมาในรถไฟเสียชีวิตได้
จานวนมาก ผลของการสู้รบทาให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 15 ราย ฝ่ายญี่ปุ่นประมาณ 200 ราย ทั้งยังถือเป็น
การรบที่กองทัพญี่ปุ่นใช้กาลังพลมากที่สุด ในการยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย
7. จังหวัดปัตตานี
ญี่ปุ่นได้ยกกาลังทหารประมาณ 11 กองพันขึ้นบกในจังหวัดปัตตานีสองจุด จุดแรกเป็นแนว
ยาวตั้งแต่นาเกลือไปถึงหาดรูสะมิแล อีกจุดยกพลที่ไปหาดบางตาวา หาดบ้านตาแปดและปากน้าบาง
นิชา อาเภอหนองจิก เพื่อปิดเส้นทางติดต่อระหว่างกองทหารของไทยกับตัวเมือง ขณะนั้นฝ่ายไทยมี
กองกาลังเพียง 1 กองพันคือ ร.พัน 42 ซึ่งเพิ่งตั้งได้เพียง 16 เดือน การปะทะกันที่ปัตตานีเป็นไป
อย่างรุนแรง แต่ฝ่ายไทยก็สามารถป้องกันแนวพื้นที่ไว้ได้จนกระทั่งหยุดยิง โดยผลของการสู้รบทาให้
ฝ่ายไทยเสียชีวิต 24 ราย ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นไม่มีข้อมูล
5
ความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองและสาเหตุแห่งการขยายอานาจสู่ไทย
หากจะกล่าวถึงที่มาที่ไปซึ่งนามาสู่เหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพเข้ามาในไทยนั้น อาจต้องย้อนกลับไปสู่
จุดเริ่มต้นราว 40 ปีก่อน โดยตั้งแต่ปี 1904 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้พัฒนากาลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์จนมี
แสนยานุภาพสามารถเอาชนะรัสเซียในเหตุการณ์ความขัดแย้งกรณีเกาหลีและแมนจูเรีย ทาให้สามารถเข้า
ครอบครองเมืองท่าพอร์ตอาเธอร์และเกาะซากาลินที่เคยเป็นของรัสเซียได้ ต่อมากองทัพญี่ปุ่นยิ่งแข็งแกร่งขึ้น
และเริ่มมีแนวคิดที่ต่างกับรัฐบาล จนส่งผลให้มีหลายครั้งที่กองทัพกระทาการโดยไม่แจ้งให้รัฐบาลทราบ
โดยเฉพาะการส่งกาลังทหารญี่ปุ่นจากเกาหลีเข้ารุกรานจีนเพื่อยึดแมนจูเรียในปี 1931 นับจากเหตุการณ์นั้น
ญี่ปุ่นได้ใช้นโยบายการทหารนาหน้าการเจรจาระหว่างประเทศเรื่อยมาจนเป็นผลให้ทั้งจีนและองค์การ
สันนิบาตชาติ (League of Nations) ออกมาประณามการการรุกรานของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นก็ตอบโต้ด้วยการถอน
ตัวจากการเป็นสมาชิกและเดินหน้าขยายกองทัพเต็มอัตราศึก กระทั่งในปี 1937 สงครามระหว่างญี่ปุ่นและจีน
ก็ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารจีนกับทหารญี่ปุ่นที่สะพานมาร์โคโปโล
(ลู่เกาเฉียว) อันเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าสู่ปักกิ่ง โดยญี่ปุ่นได้ขยายสงครามเต็มรูปจนสามารถเข้ายึดหัวเมืองใหญ่
ชายฝั่งทะเลด้านเหนือจรดใต้อันได้แก่ ปักกิ่ง นานกิง เซี่ยงไฮ้ และซูโจว หลังจากนั้นใน ปี 1939 ก็สามารถยึด
เกาะไหหลาและหมู่เกาะสแปรตลีย์ (หนานซา) ได้สาเร็จ ชัยชนะจากการรบอย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นทาให้ญี่ปุ่น
เริ่มเดินหน้ากาหนดนโยบายต่างประเทศใหม่ว่าด้วย “การสถาปนาวงศ์ไพบูลย์ร่วมมหาเอเชียบูรพา (Greater
East Asia Co-Prosperity Sphere)” ที่มีเป้าหมาย (ตามการกล่าวอ้างของจักรวรรดิญี่ปุ่น) เพื่อรวบรวมและ
สร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเชียให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยต่อมาญี่ปุ่น เยอรมนีและอิตาลีได้
ร่วมลงนามไตรภาคีและรับรองนโยบายนี้พร้อมทั้งกาหนดให้เอเชียบูรพาเป็นพื้นที่ในความดูแลของญี่ปุ่น นั่น
จึงเป็นเหตุให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยตกเป็นเป้าแห่งการขยายอานาจของญี่ปุ่น
อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
การเตรียมตัวรับสงครามของฝ่ายไทย
ช่วงแรกที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้น ไทยได้ประกาศนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ใน
วันที่ 14 มิถุนายน ปี 1940 ไทยและญี่ปุ่นได้เจรจาทาสนธิสัญญาไม่รุกรานต่อกัน และในเดือนเดียวกัน เมื่อ
เห็นฝรั่งเศสเริ่มเพลี่ยงพล้าต่อฝ่ายอักษะคือเยอรมนีและอิตาลี ไทยจึงได้ถือโอกาสขอเปิดการเจรจากับฝรั่งเศส
เพื่อขอคืนดินแดนที่ฝรั่งเศสเคยยึดจากไทยโดยมิชอบในสมัยเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ก่อนแลกเปลี่ยนสัตยาบันใน
สนธิสัญญาไม่รุกรานกัน ซึ่งต่อมาไม่นานฝรั่งเศสก็ไม่อาจต้านทานการโจมตีของฝ่ายอักษะได้จนเป็นเหตุให้
เยอรมนียึดกรุงปารีสได้สาเร็จและฝรั่งเศสต้องลงนามในสนธิสัญญายอมแพ้แก่เยอรมนีอย่างเป็นทางการ เมื่อ
ฝรั่งเศสอ่อนแอลง รัฐบาลญี่ปุ่นก็เกรงว่าพื้นที่อินโดจีนที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าของอาจได้รับอันตรายจากการรุกราน
ของไทย จึงได้ส่งกองทหารเข้าไปอารักขาดินแดนดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลอาณานิคมของฝรั่งเศส (ขณะนั้นคือ
รัฐบาลวีชี (Vichy) ซึ่งเป็นรัฐบาลฝรั่งเศสฝ่ายนาซีเยอรมัน) ก็ยินยอมให้ญี่ปุ่นส่งกองทหารมาประจาที่ฮานอย
ท่าเรือไฮฟองและเขตยุทธศาสตร์สาคัญในเวียดนามเหนือ นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสยังทาสัญญาลับ
ยินยอมให้ญี่ปุ่นส่งทหาร 25,000 คนมาประจาในเวียดนาม ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับนโยบายการ
สถาปนาวงศ์ไพบูลย์ร่วมมหาเอเชียบูรพาที่ญี่ปุ่นเพิ่งประกาศ
6
ในเวลาเดียวกัน ไทยได้เดินหน้าส่งกาลังทหารเพื่อรุกไปยึดดินแดนเขมรคืนจากฝรั่งเศสจนเกิดเป็น
สงครามขึ้น โดยกองทัพของไทยค่อนข้างได้เปรียบกองทหารฝรั่งเศสที่บอบช้าจากการรบมาเป็นเวลานานและ
เริ่มหมดขวัญกาลังใจ อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเห็นว่าหากปล่อยให้ไทยรุกต่อไปจนยึดเขมรได้ทั้งหมดอาจส่งผล
เสียต่อแผนการขยายอานาจของญี่ปุ่นได้ ญี่ปุ่นจึงเสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในกรณีความขัดแย้งครั้งนี้ จน
นาไปสู่การหยุดยิงและลงนามในอนุสัญญาสันติภาพกรุงโตเกียวเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1941 ฝ่ายไทยยินดี
มากที่ได้ดินแดนคืนกลับมาและเริ่มมีทัศนคติที่ดีกับญี่ปุ่นมากขึ้น โดยก่อนหน้านั้นในเดือนกันยายน ปี 1940
รัฐบาลไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นสัญญาว่าจะไม่ใช้ทหารที่
ประจาอยู่ในอินโดจีนบุกไทยเป็นอันขาด ทว่าไทยก็มิได้ไว้วางใจญี่ปุ่นเสียทีเดียว จึงได้แจ้งให้ทูตอังกฤษและ
สหรัฐอเมริกาทราบว่าญี่ปุ่นอาจใช้ไทยเป็นฐานในการทาสงคราม และขอให้รัฐบาลทั้งสองประเทศประกาศว่า
หากญี่ปุ่นบุกไทยให้ถือว่าเป็นการรุกรานประเทศทั้งสองด้วย ขณะเดียวกันไทยก็ได้หว่านล้อมญี่ปุ่นให้ปล่อย
ให้ไทยเป็นกลาง ไม่จาเป็นต้องยกกองทัพเข้ามาในไทยเพราะญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์มากกว่า ซึ่งทั้งสาม
ประเทศก็มีท่าทีตอบรับข้อเสนอจากไทย และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกรณีเกิดสงคราม รัฐบาลไทยได้ขยาย
กาลังกองทัพเพื่อเตรียมรับการโจมตี พร้อมกับออกพระราชบัญญัติกาหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ
พระราชบัญญัติจากัดสิทธิ์ผู้กระทาผิดอันเป็นภัยต่อชาติและพระราชบัญญัติให้อานาจทางทหารแก่รัฐบาลใน
ภาวะคับขันและเพื่อป้องกันประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดญี่ปุ่นก็ยกพลบุกไทย ณ พื้นที่ 7 จุดดังที่กล่าวไปข้างต้นในช่วงเวลาเช้ามืดของ
วันที่ 8 ธันวาคม ปี 1941 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ไทยเป็นเส้นทางผ่านในการเข้ายึดดินแดนมลายาซึ่ง
เป็นอาณานิคมของอังกฤษที่มีความสาคัญในฐานะแหล่งทรัพยากรดีบุกที่ใช้ผลิตยุทโธปกรณ์ สาหรับสาเหตุที่
ญี่ปุ่นไม่ยกพลบุกมลายาโดยตรงนั้น เป็นเพราะญี่ปุ่นทราบว่ากองกาลังอังกฤษที่อยู่บนชายฝั่งมลายานั้นได้
เตรียมตั้งรับการรุกรานไว้อย่างดี การรุกโดยตรงจึงอาจทาให้กองทัพญี่ปุ่นที่มาทางเรือเสียเปรียบในการรบได้
การยกพลขึ้นบกจากไทยแล้วค่อยรุกคืบเข้ามลายาจึงจะเป็นการดีกว่า
บทสรุป
หลังจากที่ยกพลบุกและเดินทัพผ่านไทย ญี่ปุ่นใช้เวลาอีกประมาณหนึ่งเดือนก็สามารถยึดมลายาได้
สาเร็จ ทั้งยังสามารถยึดดินแดนพม่าได้อีกบางส่วน ทว่าการรบเป็นเวลานานประกอบกับการเจ็บป่วยจากไข้
ป่าได้ทาให้กองทัพญี่ปุ่นอ่อนกาลังลงอย่างรวดเร็ว กองทัพอากาศของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาที่ประจาอยู่ใน
อินเดียจึงถือโอกาสโจมตีอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกองทัพญี่ปุ่นต้องล่าถอยออกจากพื้นที่ไปในที่สุด
การเข้ามาในประเทศไทยของกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนับเป็นข้อเท็จจริงจากอดีตที่
สะท้อนว่า หลายจังหวัดในภาคใต้โดยเฉพาะเมืองแถบชายฝั่งอ่าวไทยมิได้มีความสาคัญในฐานะแหล่ง
ท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามเท่านั้น ทว่าเมื่อย้อนไปราว 70 ปีที่แล้ว ครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นจุด
ยุทธศาสตร์สาคัญที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเพื่อเป็นประตูเข้าสู่ไทยและมาลายู ร่องรอยอันเป็นส่วนหนึ่งของ
ประวัติศาสตร์โลกเหล่านี้จึงเป็นสิ่งมีคุณค่าที่ยังหลงเหลือมาให้คนปัจจุบันได้เรียนรู้
7
ที่อยู่ติดต่อ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064
ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้บรรยาย : รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์
ผู้สรุปและจัดรูปเล่ม : จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
อ้างอิงปก : http://www.thailandoffroad.com/jeepmilitary/jeepmilitary/picture%
5C81255611320.jpg
http://f.ptcdn.info/652/021/000/1406352563-0f018-o.jpg
https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?
q=tbn:ANd9GcR5nxy6czSo92e7E3iW_5K8xQE_x1jeV4Li9sgMlW_dSr6_8QuQ
ปีที่พิมพ์: สิงหาคม 2559
สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com

More Related Content

What's hot

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf โดย พรทิวา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf   โดย พรทิวาคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf   โดย พรทิวา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf โดย พรทิวาpontiwalovelove
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาChinnakorn Pawannay
 
ศีลแปดแลศีลห้า
ศีลแปดแลศีลห้าศีลแปดแลศีลห้า
ศีลแปดแลศีลห้าnarongsakak
 
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์Pracha Wongsrida
 
ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3krutew Sudarat
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองkanchana13
 
แหล่ให้ทานช้าง
แหล่ให้ทานช้างแหล่ให้ทานช้าง
แหล่ให้ทานช้างTongsamut vorasan
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่Ppt Itwc
 
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จวิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จNat Ty
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียGain Gpk
 
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔Kamonchapat Boonkua
 
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔อิ่' เฉิ่ม
 
แหล่กฏแห่งกรรม
แหล่กฏแห่งกรรมแหล่กฏแห่งกรรม
แหล่กฏแห่งกรรมTongsamut vorasan
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์Gob_duangkamon
 
นิราศภูเขาทองม.๑
นิราศภูเขาทองม.๑นิราศภูเขาทองม.๑
นิราศภูเขาทองม.๑Kornnicha Wonglai
 
แหล่กัณหาสั่ง
แหล่กัณหาสั่งแหล่กัณหาสั่ง
แหล่กัณหาสั่งTongsamut vorasan
 
แผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่ายแผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่ายRUNGDARA11
 

What's hot (20)

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf โดย พรทิวา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf   โดย พรทิวาคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf   โดย พรทิวา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์.Pdf โดย พรทิวา
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
 
ศีลแปดแลศีลห้า
ศีลแปดแลศีลห้าศีลแปดแลศีลห้า
ศีลแปดแลศีลห้า
 
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
 
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้วขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
 
ศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันตกศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันตก
 
ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทอง
 
แหล่ให้ทานช้าง
แหล่ให้ทานช้างแหล่ให้ทานช้าง
แหล่ให้ทานช้าง
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จวิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
 
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
งานนำเสนอ1 วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
 
แหล่กฏแห่งกรรม
แหล่กฏแห่งกรรมแหล่กฏแห่งกรรม
แหล่กฏแห่งกรรม
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
นิราศภูเขาทองม.๑
นิราศภูเขาทองม.๑นิราศภูเขาทองม.๑
นิราศภูเขาทองม.๑
 
แหล่กัณหาสั่ง
แหล่กัณหาสั่งแหล่กัณหาสั่ง
แหล่กัณหาสั่ง
 
ไทย
ไทยไทย
ไทย
 
แผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่ายแผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่าย
แผ่นผับ ลิลิตตะเลงพ่าย
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

ภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก

  • 1. 1 ภาคใต้ของไทยภาคใต้ของไทยกับมุมหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ที่คนไม่เคยรู้ รศ.ดร. จานง สรพิพัฒน์ เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 2 /2559 ถอดความจากการนาเสนอในที่ประชุมเวทีวิชาการ เรื่อง จุดยกพลขึ้นบกในประเทศไทยของกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 09.00—12.00 น. ณ โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมโยงโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ได้สร้าง ข้อได้เปรียบให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดศูนย์กลางด้านการคมนาคมของภูมิภาคเอเชีย สาหรับภาคใต้ของ ไทยนับเป็นอีกพื้นที่ที่มีความสาคัญในแง่เศรษฐกิจการท่องเที่ยว ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามอยู่ เป็นจานวนมาก ทั้งยังเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์จากการรวบรวมคนหลากหลายเชื้อชาติและ ศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตามภาคใต้ของไทยไม่ได้มีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ดังเช่นในปัจจุบันเท่านั้น แต่ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นจุดยุทธศาสตร์การรบสาคัญในสมัยสงครามโลก ครั้งที่สองด้วย
  • 2. 2 สงครามโลกครั้งที่สอง (World War II) นับได้ว่าเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่โลกต้อง เผชิญ ทั้งยังนับเป็นสงครามเบ็ดเสร็จที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดครั้งหนึ่งด้วย เนื่องจากประเทศผู้ร่วม สงครามได้ทุ่มเทขีดความสามารถทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ลงในการรบทั้งหมด จนนาไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในฝั่งของยุโรปและเอเชีย อนึ่ง ความพยายามขยายแสนยานุภาพของ ประเทศฝ่ายอักษะอย่างญี่ปุ่นเพื่อครอบงาเอเชียได้ส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายสภาพมาเป็นสมรภูมิรบอย่างเต็ม ตัว ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย ไทยซึ่ง ณ ขณะนั้นอยู่ในฐานะรัฐกันชน (Buffer State) ถูกรายล้อมไปด้วยดินแดนอาณานิคมของ มหาอานาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส จึงทาให้ไทยกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สาคัญที่ประเทศคู่ขัดแย้งใน สงครามต่างต้องการใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งต้องการเดินทัพผ่านเข้ามาในไทยเพื่อเข้ายึดครอง ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ คือมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) อันมีอาณาเขตติดต่อกับภาคใต้ของไทย ประเทศไทยถูกเข้าใจมาตลอดว่าได้ตกลงยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพเข้ามาอย่างสันติ แต่แท้จริงแล้วกลับมิได้ เป็นเช่นนั้น การยกพลบุกไทยของกองทัพญี่ปุ่นในครั้งนั้นได้นามาสู่การปะทะกันระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่น ในหลายพื้นที่ โดยกองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกตามแนวคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยใน 7 จุด ได้แก่ บางปู (สมุทรปราการ) ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ในจานวนนี้ ญี่ปุ่นได้ทุ่มกองกาลังหลักไปในการบุกที่สงขลาและปัตตานี ขณะที่กองกาลังส่วนที่เหลือซึ่งถูกแบ่งไปยัง พื้นที่อีก 5 จุดเหนือขึ้นไปนั้น มีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวป้องกันในกรณีที่อังกฤษใช้กองทัพอาณานิคมในพม่า ตีขนาบหลังญี่ปุ่นลงมา ภาพที่ 1 แสดงพื้นที่ในประเทศไทย ที่ญี่ปุ่นยกพลบุก ที่มา www.reurnthai.com
  • 3. 3 เหตุการณ์ในจุดยกพลขึ้นบกทั้ง 7 จุด ในการวางแผนยุทธการสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้จัดกองทัพออกโจมตีเป็น 3 ทิศทาง ได้แก่  ทางแรก บุกเข้าไทยและมลายา ประกอบด้วยกองพลที่ 25 นาโดย พล.ท. Yamashita เข้าโจมตี ภาคใต้ของไทยและโกตาบารู และกองพลที่ 15 นาโดย พล.ท. Iida เข้าโจมตีภาคใต้ของไทยและ ตอนบนของไทยเพื่อรุกต่อไปยังพม่า  ทางที่สอง บุกเข้าฮ่องกงและฟิลิปปินส์ โดยกองพลที่ 14 นาโดยนายพล Honma  ทางที่สาม บุกเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลและเกาะโออาฮู นาโดย พล.ร.อ. Nagumo สาหรับแผนการบุกเข้าไทย ในคืนวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 นาย Tsubogami เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจาประเทศไทย ขอเข้าพบนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้นเพื่อยื่นคา ขาดให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยแต่โดยดี และข่มขู่ว่าหากไม่ได้รับการตอบ รับภายในเวลา 10.00 น. ของวันถัดไปจะใช้เครื่องบิน 200 ลา ทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ และจะยกกองกาลังทาง บกเข้าไทยอีก 10 กองพล ซึ่งในช่วงเช้ามืดของวันต่อมา ญี่ปุ่นได้ใช้เรือลาเลียงพลยกพลขึ้นบกพร้อมกัน 7 จุดตามแนวชายฝั่งของไทยดังที่กล่าวมาข้างต้น จนเกิดการปะทะกับกาลังทหาร ตารวจและพลเรือนฝ่ายไทย ในหลายจุด กระทั่งในช่วงสาย คณะรัฐมนตรีก็มีมติยินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านดินแดนไทย พร้อมทั้งแถลงการณ์ ผ่านวิทยุกรมโฆษณาการทั่วประเทศให้ทหาร ตารวจ ประชาชน ยุติการต่อสู้และยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่าน ดินแดนไทย สาหรับเหตุการณ์สาคัญที่เกิดขึ้นในจุดยกพลขึ้นบกทั้ง 7 จุด มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. ตาบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ทหารญี่ปุ่นจานวนหนึ่งกองพันทั้งที่เพิ่งยกพลขึ้นบกและสายลับที่แฝงตัวเข้ามาสอดแนมอยู่ ในไทยได้ยกพลเข้ายึดสถานตากอากาศบางปูและถนนริมทะเลตลอดแนว และได้เผชิญหน้ากับกอง กาลังตารวจจากสถานีตารวจภูธรอาเภอเมืองสมุทรปราการ พ.ต. Hino ผู้ช่วยทูตทหารญี่ปุ่นประจา ไทยได้ขอเจรจากับทางฝ่ายไทย โดยอ้างว่ารัฐบาลไทยได้อนุญาตให้ทหารญี่ปุ่นยกกองกาลังเข้ามา ได้ แต่ฝ่ายตารวจไทยไม่เชื่อ จึงได้เจรจาถ่วงเวลาพร้อมจัดตั้งแนวป้องกันตลอดเส้นทางสุขุมวิท จากบางปูเข้าสู่กรุงเทพฯ เมื่อรัฐบาลไทยมีคาสั่งให้เปิดทาง กาลังทหารญี่ปุ่นก็เคลื่อนย้ายจากบางปู ไปยังกรุงเทพฯ เหตุการณ์จึงยุติลงโดยไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น 2. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นที่ตั้งของกองบินน้อยที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันพื้นที่ภาคกลางและ ภาคใต้ โดยตั้งอยู่บริเวณแหลมเขาล้อมหมวก อาเภอเมือง ทั้งนี้ ช่วงเช้ามืดของวันที่ 8 ธันวาคม ญี่ปุ่นได้เข้ายึดสถานีตารวจและสนามบิน จากนั้นจึงเคลื่อนพลไปยังตัวเมืองจนเกิดการปะทะกับ ตารวจและชาวบ้านในพื้นที่ กระทั่งนาไปสู่การทาลายเครื่องบินและเรือยกพลของญี่ปุ่น การสู้รบ เป็นผลให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 18 ราย ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิตมากถึง 2,107 ราย 3. จังหวัดชุมพร ในปี 1941 จังหวัดชุมพรได้จัดตั้งกองกาลังของตนเองขึ้น อันได้แก่ กองพันทหารราบที่ 38 และหน่วยยุวชนทหารที่ 52 รวมไปถึงกาลังตารวจชุมพร โดยในคืนเกิดเหตุ เมื่อผู้บัญชาการ กองกาลังทั้งสามได้รับแจ้งข่าวกองทัพญี่ปุ่นยกพลบุกชุมพร จึงได้จัดกาลังตั้งรับบริเวณคอสะพาน
  • 4. 4 ท่านางสังข์และต่อมาได้เข้าโจมตีทหารญี่ปุ่นที่อยู่ฝั่งตรงข้าม จนในที่สุดยุวชนทหารสามารถตรึงกาลัง ทหารญี่ปุ่นไม่ให้รุกข้ามสะพานท่านางสังข์มาได้ ผลการสู้รบทาให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 5 ราย ขณะที่ฝ่าย ญี่ปุ่นไม่ทราบจานวน ภายหลังทางการญี่ปุ่นทราบว่าหน่วยรบของไทยเป็นเพียงนักเรียนมัธยม จึงได้ ส่งหนังสือชมเชยในความกล้าหาญมายังกระทรวงกลาโหมของไทย 4. สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่ไม่มีกองกาลังเป็นของตนเอง ในคืนเกิดเหตุ ญี่ปุ่นได้ใช้เรือ ท้องแบนบรรทุกทหารเต็มลาล่องมาขึ้นที่ท่าตลาดกอบกาญจน์ แล้วมุ่งหน้าต่อไปยังศาลากลางจังหวัด สุราษฎร์ธานี การปะทะเริ่มต้นขึ้นโดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเปิดฉากยิงก่อน ขณะที่ฝ่ายไทยไม่มีกาลังทหาร ทาให้ตารวจ ลูกเสืออาสาและราษฎรในพื้นที่ต้องร่วมมือกันสู้รบ การปะทะสิ้นสุดโดยฝ่ายไทยเสียชีวิต 17 – 18 ราย ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นไม่มีข้อมูล 5. จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ 6 ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาทางทหารของ ภาคใต้ทั้งหมด แต่มีกาลังทหารอยู่เพียง 2 กองพัน โดยเช้าวันเกิดเหตุ กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ บ้านท่าแพ จนเกิดการยิงปะทะกับทหารรักษาการณ์ของไทย ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นใช้กาลังพลมากถึง 3 กรม (9 กองพัน) และเรือลาเลียงอีก 3 ลา ขณะที่ฝ่ายไทยมีกาลังเพียง 2 กองพันในการสู้รบ ผลการ ยิงปะทะทาให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 39 ราย ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นไม่ทราบจานวน 6. จังหวัดสงขลา สงขลาทราบดีว่าดินแดนของตนเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญที่จะเชื่อมไปสู่มลายา ก่อนเกิด เหตุการณ์ยกพลขึ้นบกจึงปรากฏหลักฐานว่าจังหวัดทหารบกสงขลา (จทบ.สงขลา) ได้มีการเตรียม แผนรบไว้เป็นอย่างดีเพื่อรับมือกับกองกาลังต่างชาติที่จะยกมาทางทะเลสงขลา เมื่อการปะทะเริ่มขึ้น ไทยได้ยิงปืนใหญ่จากเขารูปช้างไปยังชายหาดและเรือลาเลียงพลของญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาเดียวกันญี่ปุ่นก็ ใช้ปืนใหญ่จากเรือรบยิงตอบโต้ เหตุการณ์สู้รบที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขาน้าน้อย โดย ทหารกับชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมกันรบจนสามารถโจมตีทหารญี่ปุ่นที่โดยสารมาในรถไฟเสียชีวิตได้ จานวนมาก ผลของการสู้รบทาให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 15 ราย ฝ่ายญี่ปุ่นประมาณ 200 ราย ทั้งยังถือเป็น การรบที่กองทัพญี่ปุ่นใช้กาลังพลมากที่สุด ในการยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย 7. จังหวัดปัตตานี ญี่ปุ่นได้ยกกาลังทหารประมาณ 11 กองพันขึ้นบกในจังหวัดปัตตานีสองจุด จุดแรกเป็นแนว ยาวตั้งแต่นาเกลือไปถึงหาดรูสะมิแล อีกจุดยกพลที่ไปหาดบางตาวา หาดบ้านตาแปดและปากน้าบาง นิชา อาเภอหนองจิก เพื่อปิดเส้นทางติดต่อระหว่างกองทหารของไทยกับตัวเมือง ขณะนั้นฝ่ายไทยมี กองกาลังเพียง 1 กองพันคือ ร.พัน 42 ซึ่งเพิ่งตั้งได้เพียง 16 เดือน การปะทะกันที่ปัตตานีเป็นไป อย่างรุนแรง แต่ฝ่ายไทยก็สามารถป้องกันแนวพื้นที่ไว้ได้จนกระทั่งหยุดยิง โดยผลของการสู้รบทาให้ ฝ่ายไทยเสียชีวิต 24 ราย ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นไม่มีข้อมูล
  • 5. 5 ความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองและสาเหตุแห่งการขยายอานาจสู่ไทย หากจะกล่าวถึงที่มาที่ไปซึ่งนามาสู่เหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพเข้ามาในไทยนั้น อาจต้องย้อนกลับไปสู่ จุดเริ่มต้นราว 40 ปีก่อน โดยตั้งแต่ปี 1904 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้พัฒนากาลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์จนมี แสนยานุภาพสามารถเอาชนะรัสเซียในเหตุการณ์ความขัดแย้งกรณีเกาหลีและแมนจูเรีย ทาให้สามารถเข้า ครอบครองเมืองท่าพอร์ตอาเธอร์และเกาะซากาลินที่เคยเป็นของรัสเซียได้ ต่อมากองทัพญี่ปุ่นยิ่งแข็งแกร่งขึ้น และเริ่มมีแนวคิดที่ต่างกับรัฐบาล จนส่งผลให้มีหลายครั้งที่กองทัพกระทาการโดยไม่แจ้งให้รัฐบาลทราบ โดยเฉพาะการส่งกาลังทหารญี่ปุ่นจากเกาหลีเข้ารุกรานจีนเพื่อยึดแมนจูเรียในปี 1931 นับจากเหตุการณ์นั้น ญี่ปุ่นได้ใช้นโยบายการทหารนาหน้าการเจรจาระหว่างประเทศเรื่อยมาจนเป็นผลให้ทั้งจีนและองค์การ สันนิบาตชาติ (League of Nations) ออกมาประณามการการรุกรานของญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นก็ตอบโต้ด้วยการถอน ตัวจากการเป็นสมาชิกและเดินหน้าขยายกองทัพเต็มอัตราศึก กระทั่งในปี 1937 สงครามระหว่างญี่ปุ่นและจีน ก็ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารจีนกับทหารญี่ปุ่นที่สะพานมาร์โคโปโล (ลู่เกาเฉียว) อันเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าสู่ปักกิ่ง โดยญี่ปุ่นได้ขยายสงครามเต็มรูปจนสามารถเข้ายึดหัวเมืองใหญ่ ชายฝั่งทะเลด้านเหนือจรดใต้อันได้แก่ ปักกิ่ง นานกิง เซี่ยงไฮ้ และซูโจว หลังจากนั้นใน ปี 1939 ก็สามารถยึด เกาะไหหลาและหมู่เกาะสแปรตลีย์ (หนานซา) ได้สาเร็จ ชัยชนะจากการรบอย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นทาให้ญี่ปุ่น เริ่มเดินหน้ากาหนดนโยบายต่างประเทศใหม่ว่าด้วย “การสถาปนาวงศ์ไพบูลย์ร่วมมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia Co-Prosperity Sphere)” ที่มีเป้าหมาย (ตามการกล่าวอ้างของจักรวรรดิญี่ปุ่น) เพื่อรวบรวมและ สร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเชียให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยต่อมาญี่ปุ่น เยอรมนีและอิตาลีได้ ร่วมลงนามไตรภาคีและรับรองนโยบายนี้พร้อมทั้งกาหนดให้เอเชียบูรพาเป็นพื้นที่ในความดูแลของญี่ปุ่น นั่น จึงเป็นเหตุให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยตกเป็นเป้าแห่งการขยายอานาจของญี่ปุ่น อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง การเตรียมตัวรับสงครามของฝ่ายไทย ช่วงแรกที่สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้น ไทยได้ประกาศนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ใน วันที่ 14 มิถุนายน ปี 1940 ไทยและญี่ปุ่นได้เจรจาทาสนธิสัญญาไม่รุกรานต่อกัน และในเดือนเดียวกัน เมื่อ เห็นฝรั่งเศสเริ่มเพลี่ยงพล้าต่อฝ่ายอักษะคือเยอรมนีและอิตาลี ไทยจึงได้ถือโอกาสขอเปิดการเจรจากับฝรั่งเศส เพื่อขอคืนดินแดนที่ฝรั่งเศสเคยยึดจากไทยโดยมิชอบในสมัยเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ก่อนแลกเปลี่ยนสัตยาบันใน สนธิสัญญาไม่รุกรานกัน ซึ่งต่อมาไม่นานฝรั่งเศสก็ไม่อาจต้านทานการโจมตีของฝ่ายอักษะได้จนเป็นเหตุให้ เยอรมนียึดกรุงปารีสได้สาเร็จและฝรั่งเศสต้องลงนามในสนธิสัญญายอมแพ้แก่เยอรมนีอย่างเป็นทางการ เมื่อ ฝรั่งเศสอ่อนแอลง รัฐบาลญี่ปุ่นก็เกรงว่าพื้นที่อินโดจีนที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าของอาจได้รับอันตรายจากการรุกราน ของไทย จึงได้ส่งกองทหารเข้าไปอารักขาดินแดนดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลอาณานิคมของฝรั่งเศส (ขณะนั้นคือ รัฐบาลวีชี (Vichy) ซึ่งเป็นรัฐบาลฝรั่งเศสฝ่ายนาซีเยอรมัน) ก็ยินยอมให้ญี่ปุ่นส่งกองทหารมาประจาที่ฮานอย ท่าเรือไฮฟองและเขตยุทธศาสตร์สาคัญในเวียดนามเหนือ นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสยังทาสัญญาลับ ยินยอมให้ญี่ปุ่นส่งทหาร 25,000 คนมาประจาในเวียดนาม ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับนโยบายการ สถาปนาวงศ์ไพบูลย์ร่วมมหาเอเชียบูรพาที่ญี่ปุ่นเพิ่งประกาศ
  • 6. 6 ในเวลาเดียวกัน ไทยได้เดินหน้าส่งกาลังทหารเพื่อรุกไปยึดดินแดนเขมรคืนจากฝรั่งเศสจนเกิดเป็น สงครามขึ้น โดยกองทัพของไทยค่อนข้างได้เปรียบกองทหารฝรั่งเศสที่บอบช้าจากการรบมาเป็นเวลานานและ เริ่มหมดขวัญกาลังใจ อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเห็นว่าหากปล่อยให้ไทยรุกต่อไปจนยึดเขมรได้ทั้งหมดอาจส่งผล เสียต่อแผนการขยายอานาจของญี่ปุ่นได้ ญี่ปุ่นจึงเสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในกรณีความขัดแย้งครั้งนี้ จน นาไปสู่การหยุดยิงและลงนามในอนุสัญญาสันติภาพกรุงโตเกียวเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1941 ฝ่ายไทยยินดี มากที่ได้ดินแดนคืนกลับมาและเริ่มมีทัศนคติที่ดีกับญี่ปุ่นมากขึ้น โดยก่อนหน้านั้นในเดือนกันยายน ปี 1940 รัฐบาลไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นสัญญาว่าจะไม่ใช้ทหารที่ ประจาอยู่ในอินโดจีนบุกไทยเป็นอันขาด ทว่าไทยก็มิได้ไว้วางใจญี่ปุ่นเสียทีเดียว จึงได้แจ้งให้ทูตอังกฤษและ สหรัฐอเมริกาทราบว่าญี่ปุ่นอาจใช้ไทยเป็นฐานในการทาสงคราม และขอให้รัฐบาลทั้งสองประเทศประกาศว่า หากญี่ปุ่นบุกไทยให้ถือว่าเป็นการรุกรานประเทศทั้งสองด้วย ขณะเดียวกันไทยก็ได้หว่านล้อมญี่ปุ่นให้ปล่อย ให้ไทยเป็นกลาง ไม่จาเป็นต้องยกกองทัพเข้ามาในไทยเพราะญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์มากกว่า ซึ่งทั้งสาม ประเทศก็มีท่าทีตอบรับข้อเสนอจากไทย และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกรณีเกิดสงคราม รัฐบาลไทยได้ขยาย กาลังกองทัพเพื่อเตรียมรับการโจมตี พร้อมกับออกพระราชบัญญัติกาหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พระราชบัญญัติจากัดสิทธิ์ผู้กระทาผิดอันเป็นภัยต่อชาติและพระราชบัญญัติให้อานาจทางทหารแก่รัฐบาลใน ภาวะคับขันและเพื่อป้องกันประเทศ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดญี่ปุ่นก็ยกพลบุกไทย ณ พื้นที่ 7 จุดดังที่กล่าวไปข้างต้นในช่วงเวลาเช้ามืดของ วันที่ 8 ธันวาคม ปี 1941 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ไทยเป็นเส้นทางผ่านในการเข้ายึดดินแดนมลายาซึ่ง เป็นอาณานิคมของอังกฤษที่มีความสาคัญในฐานะแหล่งทรัพยากรดีบุกที่ใช้ผลิตยุทโธปกรณ์ สาหรับสาเหตุที่ ญี่ปุ่นไม่ยกพลบุกมลายาโดยตรงนั้น เป็นเพราะญี่ปุ่นทราบว่ากองกาลังอังกฤษที่อยู่บนชายฝั่งมลายานั้นได้ เตรียมตั้งรับการรุกรานไว้อย่างดี การรุกโดยตรงจึงอาจทาให้กองทัพญี่ปุ่นที่มาทางเรือเสียเปรียบในการรบได้ การยกพลขึ้นบกจากไทยแล้วค่อยรุกคืบเข้ามลายาจึงจะเป็นการดีกว่า บทสรุป หลังจากที่ยกพลบุกและเดินทัพผ่านไทย ญี่ปุ่นใช้เวลาอีกประมาณหนึ่งเดือนก็สามารถยึดมลายาได้ สาเร็จ ทั้งยังสามารถยึดดินแดนพม่าได้อีกบางส่วน ทว่าการรบเป็นเวลานานประกอบกับการเจ็บป่วยจากไข้ ป่าได้ทาให้กองทัพญี่ปุ่นอ่อนกาลังลงอย่างรวดเร็ว กองทัพอากาศของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาที่ประจาอยู่ใน อินเดียจึงถือโอกาสโจมตีอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกองทัพญี่ปุ่นต้องล่าถอยออกจากพื้นที่ไปในที่สุด การเข้ามาในประเทศไทยของกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนับเป็นข้อเท็จจริงจากอดีตที่ สะท้อนว่า หลายจังหวัดในภาคใต้โดยเฉพาะเมืองแถบชายฝั่งอ่าวไทยมิได้มีความสาคัญในฐานะแหล่ง ท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามเท่านั้น ทว่าเมื่อย้อนไปราว 70 ปีที่แล้ว ครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นจุด ยุทธศาสตร์สาคัญที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเพื่อเป็นประตูเข้าสู่ไทยและมาลายู ร่องรอยอันเป็นส่วนหนึ่งของ ประวัติศาสตร์โลกเหล่านี้จึงเป็นสิ่งมีคุณค่าที่ยังหลงเหลือมาให้คนปัจจุบันได้เรียนรู้
  • 7. 7 ที่อยู่ติดต่อ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064 ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้บรรยาย : รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ ผู้สรุปและจัดรูปเล่ม : จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ อ้างอิงปก : http://www.thailandoffroad.com/jeepmilitary/jeepmilitary/picture% 5C81255611320.jpg http://f.ptcdn.info/652/021/000/1406352563-0f018-o.jpg https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images? q=tbn:ANd9GcR5nxy6czSo92e7E3iW_5K8xQE_x1jeV4Li9sgMlW_dSr6_8QuQ ปีที่พิมพ์: สิงหาคม 2559 สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com