SlideShare a Scribd company logo
1 of 28
Download to read offline
บทที่ 6
การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
แผนการสอนประจาบท
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้สามารถรู้และเข้าใจนโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยของประเทศไทย
2. เพื่อให้สามารถอธิบายการจัดการศึกษาปฐมวัยของไทยจากอดีตถึงปัจจุบันได้
3. เพื่อให้สามารถอธิบายหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาปฐมวัยได้
4. เพื่อให้สามารถอธิบายหลักสูตรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ระดับปฐมวัยได้
2. สาระการเรียนรู้
1. นโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
2. หลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
4. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
5. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
3. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน
2. แบ่งกลุ่มศึกษาตามหัวข้อที่กาหนด
3. อภิปราย ซักถาม สรุปจากสไลด์
4. แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. ทดสอบหลังเรียน (แบบทดสอบ)
6. มอบหมายงานในแบบฝึกหัดท้ายบท
4. สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย
2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point)
3. เว็บไซต์อาจารย์ Internet
4. หนังสือ ตารา วารสาร งานวิจัย
5. ซีดี วิดีโอ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
134
5. การประเมินผล
1. การทดสอบ
2. นาเสนองานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
3. ผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษา
4. การส่งผลงานแบบฝึกหัดท้ายบท
135
บทที่ 6
การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
ประเทศไทยมีการจัดการศึกษาปฐมวัยมานานแล้ว โดยเจ้านายเชื้อพระวงศ์เข้า
เรียนในโรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนราชกุมารี ส่วนชาวบ้านก็นิยมนาลูกไปฝากที่วัด
ต่อเมื่อมีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบจึงมีชั้นมูลศึกษาเกิดขึ้น และมีโรงเรียนราษฎร์ที่
จัดการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนราชินี และโรงเรียนมาแตร
เดอี ได้เริ่มเปิดสอนแผนกอนุบาลขึ้นโดยนาวิธีการสอนแบบเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่มา
เป็นตัวอย่าง ในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น
ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐบาลได้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของ
รัฐแห่งแรกใน ปี พ.ศ. 2483 คือ โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ และยังคงดาเนินการสอนอยู่
จนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา รัฐบาลเริ่มมีนโยบายส่งเสริมให้โรงเรียน
เอกชนเปิดสอนระดับอนุบาลศึกษาในขณะเดียวกันหน่วยงานต่าง ๆ ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม
จัดการศึกษาในระดับนี้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเตรียมความพร้อมให้เด็กใน
วัยนี้หลากหลายรูปแบบมีทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาโดยตรงและหน่วยงานอื่น ๆที่
ร่วมจัดดาเนินการด้วย เพื่อให้เห็นรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยจากอดีตจนถึง
ปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. นโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
2. หลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
4. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
5. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
1. นโยบายการศึกษาปฐมวัยของประเทศไทย
การศึกษาปฐมวัยของไทยสมัยมีระบบโรงเรียนในอดีตเริ่มตั้งแต่มีโครงการศึกษา
พ.ศ. 2441 เป็นต้นมาในสมัยนั้นรัฐยังไม่ได้เน้นความสาคัญของการศึกษาในระดับนี้ไม่มี
การกาหนดนโยบายที่แน่ชัด แต่ภายหลังรัฐเริ่มให้ความสาคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่ม
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นปีแรกที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการศึกษาในระดับอนุบาล
ศึกษา โดยจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐขึ้นเป็นแห่งแรกคือโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศมี
จุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมสาหรับเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาและต่อมา
รัฐได้ตระหนักถึงความสาคัญของการศึกษาของเด็กในระดับนี้ยิ่งขึ้น จึงได้กาหนดนโยบาย
136
เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กระดับปฐมวัยไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติแต่ละสมัยที่ผ่านมา
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 48- 59) ได้กล่าวถึงนโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยและตาม
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับต่าง ๆ ดังนี้
1. นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในอดีต
นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยตั้งแต่อดีตสามารถศึกษาได้จาก
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติในแต่ละสมัยที่ผ่านมาดังนี้
1.1 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 1519) ระบุไว้ว่าจะ
ปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนอนุบาลของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนและมีการเปิด
โรงเรียนอนุบาลในอาเภอใหญ่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและมีประชาชนหนาแน่น
1.2 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) ระบุไว้ว่า
การศึกษาอนุบาลนั้นรัฐจะไม่เข้าดาเนินการเอง แต่จะกาหนดระเบียบในการจัดการศึกษา
อนุบาลให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษายิ่งขึ้นซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับ
พุทธศักราช 2520 ที่มีรายละเอียดระบุไว้ดังนี้
“16. รัฐพึงเร่งจัดและสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยก่อนประถมศึกษาโดยรัฐจะ
สนับสนุนให้ท้องถิ่นและภาคเอกชนจัดให้มากที่สุด สาหรับการจัดการศึกษาระดับนี้ของรัฐ
จะจัดทาเพียงเพื่อเป็นตัวอย่างและเพื่อการค้นคว้าวิจัยเท่านั้น”
“30. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาเป็นการศึกษามุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อน
การศึกษาภาคบังคับเพื่อเตรียมให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป
การจัดสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้นอาจจัดเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือ
การศึกษานอกโรงเรียน โดยอาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็กหรือศูนย์เด็กปฐมวัย และใน
บางกรณีอาจจัดเป็นชั้นเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลได้”
1.3 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) ก็ได้กาหนด
นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยไว้เช่นกัน โดยได้เน้นถึงความสาคัญของเด็กก่อนวัย
ประถมศึกษาเป็นเป้าหมายสาคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กวัยนี้กาลังประสบปัญหาในเรื่องขาด
อาหาร ขาดหลักประกันทางด้านสาธารณสุขและการศึกษา ฉะนั้นรัฐบาลจึงได้กาหนด
นโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ซึ่งสรุปสาระสาคัญได้ว่า “รัฐจะ
สนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนจัดให้มากที่สุดโดยรัฐจะจัดทาเพียงเพื่อเป็นตัวอย่าง
การจัดการศึกษามุ่งเสริมสร้างโภชนาการที่ถูกต้องและเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อเข้า
รับการศึกษาในระดับต่อไป”
1.4 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) ได้กาหนด
นโยบายและเป้าหมายในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาไว้ว่า รัฐจะมุ่งขยาย
137
การจัดการศึกษาระดับนี้ไปสู่ส่วนภูมิภาคชนบทส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาล
สาหรับเด็กวัย 3 – 5 ปีให้มากขึ้นและรัฐจะส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาลให้โรงเรียน
ร่วมกับชุมชนดาเนินการในพื้นที่มีปัญหาทางภาษา ทางเศรษฐกิจ และพื้นที่ชนบท สาหรับ
ในเขตเมืองจะจัดเป็นตัวอย่างและเพื่อการวิจัยโดยมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของเด็ก
1.5 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) กาหนด
วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาไว้ว่าเพื่อจัดและส่งเสริมให้เด็ก
ก่อนประถมศึกษาได้รับการพัฒนาทางร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้
สอดคล้องตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการและให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับ
ประถมศึกษาอย่างทั่วถึง
จะเห็นได้ว่าตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ผ่านมารัฐได้มีนโยบายเกี่ยวกับ
การจัดการศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัยไว้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ
ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3, 4 และ 5 (พ.ศ. 2515 – 2529) รัฐยังไม่ได้
รับภาระในการจัดการศึกษาปฐมวัยและสนับสนุนให้เอกชนดาเนินการ ส่วนแผนพัฒนา
การศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 รัฐได้ให้ความสาคัญกับการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น
คือ นอกจากจะสนับสนุนให้เอกชนจัดแล้วรัฐยังสนับสนุนให้โรงเรียนของรัฐในท้องถิ่น
ห่างไกลจัดการศึกษาในระดับนี้เพิ่มมากขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ
อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สอดคล้องตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และให้มีการเตรียม
ความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษาอย่างทั่วถึง
อย่างไรก็ตามในการดาเนินการตามแนวนโยบายของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้นยังมี
ลักษณะกระจัดกระจายไม่เป็นระบบเดียวกัน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีหน่วยงานต่าง ๆ
ทั้งของรัฐและเอกชนได้จัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยอยู่ทั่วไป โดยต่างฝ่ายต่างดาเนินการทา
ให้เกิดความสับสนและในการกาหนดมาตรฐานการพัฒนาเด็กขาดทิศทางการพัฒนาเด็ก
ไปในแนวเดียวกัน
1. นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน
ดังที่กล่าวมาแล้วว่ารัฐได้ให้ความสาคัญเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่ม
มากขึ้นเรื่อย ๆ และในปัจจุบันจะพบว่ารัฐให้ความสาคัญกับการจัดการศึกษาในระดับนี้
มากด้วย การกาหนดนโยบายที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น เพราะสืบเนื่องมาจากที่ประชุมสมัชชา
แห่งชาติครั้งที่ 1 ด้านการพัฒนาเด็กซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2533 ณ ตึก
สันติไมตรีทาเนียบรัฐบาลได้ให้การรับรองปฏิญญาสากลเพื่อเด็กหลังจากนั้นคณะรัฐมนตรี
ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2534 เห็นชอบและอนุมัติให้ประกาศใช้ปฏิญญาเพื่อเด็ก
138
อย่างเป็นทางการ กาหนดให้หน่วยงานที่ดาเนินการเกี่ยวกับเด็กทั้งภาครัฐและเอกชนถือ
เป็นแนวนโยบายในการดาเนินการพัฒนาเด็ก โดยใช้สภาวะความต้องการพื้นฐานและ
บริการสาหรับเด็ก (สพด.) เป็นแนวทาง
รัฐได้ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาในระดับนี้เพิ่มมากขึ้นจึงได้
กาหนดนโยบาย เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยในแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.
2535) และกาหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับแผนพัฒนา
การศึกษาแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 7 (2535 – 2539) จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบันคือ ฉบับที่ 8
(2540 – 2544) นโยบายการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันจะได้แก่
2.1 ปฏิญญาเพื่อเด็กไทย เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและจะเป็นผู้สืบทอด
ความเป็นชาติในอนาคต ดังนั้นเด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสในลักษณะใดก็ตาม
เช่น เด็กพิการ เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทารุณกรรม เด็กที่ถูกใช้แรงงานอย่างผิด
กฎหมายและโสเภณีเด็ก เป็นต้น จะต้องได้รับการพัฒนาตามหลักการดังกล่าวข้างต้น จึง
ได้กาหนดปฏิญญาเพื่อเด็กไว้ 15 ข้อ โดยข้อที่ 1 – 10 จะเป็นทิศทางใน การพัฒนาเด็กและ
ข้อที่ 11 – 15 จะเป็นพันธกรณีของรัฐสถาบันสังคมองค์กรธุรกิจ และสื่อมวลชน โดยมี
รายละเอียดต่อไปนี้
ทิศทางในการพัฒนาเด็ก (ตามความต้องการพื้นฐานของเด็ก)
1) เด็กต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือบุคคลในครอบครัวที่ให้
ความรักและความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้าน อันได้แก่
การพัฒนา ทางกาย ทางจิตใจ สติปัญญา สังคม อารมณ์ ค่านิยมและเจตคติ โดยเฉพาะ
ในระยะตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 6 ปีแรกของชีวิตซึ่งเป็นระยะที่สาคัญที่สุดใน
การวางรากฐานและสร้างเสริมคุณภาพของคน
2) เด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างน้อยที่สุดตามความต้องการของร่างกายที่ได้
กาหนดไว้ตามวัย เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงในช่วงอายุต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
เต็มที่และแข็งแรงสมบูรณ์ตามปกติในวัยของตน
3) เด็กต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการ และได้รับการป้องกันจากโรค
และภัยที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เด็กต้องได้รับการสร้างเสริมคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนตามที่ได้
กาหนดไว้ตลอดจนได้รับการป้องกันจากโรคติดต่อรวมทั้งต้องได้รับการรักษาพยาบาล
ขั้นพื้นฐานในกรณีที่เจ็บป่วยและได้รับการฟื้นฟูสภาพ
4) เด็กต้องมีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ ไม่คับแคบจนเกินไปและอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ เด็กต้องได้มีโอกาสได้พัฒนา และมี
สถานที่วิ่งเล่นออกกาลังกายและเล่นกีฬา รวมทั้งมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการตามวัย
139
5) เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย เพื่อพัฒนาให้มีปัญญามี
คุณธรรมตามหลักศาสนาของตน และมีจริยธรรมขั้นพื้นฐานเด็กต้องได้รับการฝึกอบรมให้
มีความรู้และทักษะในการดารงชีวิตมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเจตคติที่จะใฝ่เรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่องและตลอดชีวิต มีเจตคติที่ดีต่อครอบครัวสังคมและการดาเนินชีวิต มีความเข้าใจ
เกี่ยวกับตนเองอย่างถูกต้องเป็นจริงเข้าใจและยอมรับความต้องการสิทธิบทบาทของ
ตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เป็นพลเมืองไทยที่มีความรับผิดชอบมีคุณภาพและรู้จักอยู่ร่วมกัน
โดยสันติ
6) เด็กต้องได้รับการพัฒนาให้มีสุนทรียภาพซาบซึ้งในความงามรู้จักรักเข้าใจและ
อนุรักษ์มรดกและเอกลักษณ์ของชาติด้วยการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาในกิจกรรม
ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7) เด็กจะต้องได้รับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะสาหรับการเตรียม
การประกอบอาชีพตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตน เพื่อให้พึ่งตนเอง
ได้ในเชิงเศรษฐกิจ รวมทั้งมีค่านิยมที่พึงประสงค์ในการทางานที่สุจริตและเหมาะสมกับวัย
8) เด็กต้องมีโอกาสและสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ด้วยจิตสานึกต่อ
สังคมส่วนรวมและสาธารณสมบัติ มีส่วนร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมรวมทั้ง
การยึดถือเรื่องความมีวินัยในตนเองและความยุติธรรมในสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานของวิถีทาง
ในการดาเนินชีวิตตามครรลองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
9) เด็กต้องมีโอกาสเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐและ
ภาคเอกชนอันหมายถึงสิทธิในการใช้บริการด้านการป้องกันการคุ้มครองและแก้ไขการ
ฟื้นฟูและการพัฒนา
10) เด็กต้องได้รับโอกาสในการรับรู้และการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์พื้นฐาน
จากรัฐสถาบันสังคมและองค์กรธุรกิจ พร้อมทั้งการมีตัวแทนในการพิทักษ์สิทธิและ
ผลประโยชน์ดังกล่าวตามความเหมาะสม เด็กต้องได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองต่อการถูก
กล่าวหาว่ากระทาผิด โดยไม่นามาเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือประชาชน และต้องได้รับ
การปฏิบัติที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่
พันธกรณีของรัฐ สถาบันสังคม องค์กรธุรกิจ และสื่อมวลชน
11) บิดาและมารดามีหน้าที่และความรับผิดชอบเท่าเทียมกันในการตอบสนอง
ความต้องการพื้นฐานของเด็กทั้งนี้ผู้ที่จะเป็นบิดาและมารดาจะต้องมี ความพร้อมทางด้าน
สุขภาพกายและจิตมีวุฒิภาวะที่จะรับผิดชอบต่อครอบครัว สามารถที่จะประกอบอาชีพ
รวมทั้งเรียนรู้วิธีการเลี้ยงดูเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุถึงศักยภาพของความเป็นมนุษย์
โดยสมบูรณ์โดยรัฐสถาบันสังคมและองค์การธุรกิจจะต้องร่วมกันสนับสนุน
140
12) ผู้ใหญ่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีและ
สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสาหรับเด็กรวมทั้งให้ความร่วมมือแก่รัฐและสถาบันสังคมที่จะ
ร่วมพัฒนาปกป้องคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็ก เพื่อไม่ให้ถูกทอดทิ้งถูกเอาเปรียบหรือถูก
ทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจ
13) รัฐสถาบันสังคม อันรวมถึงองค์กรเอกชนและชุมชนด้วย โดยเฉพาะองค์กร
ธุรกิจและสื่อมวลชนต้องร่วมมือกันในการพัฒนาเด็กและพิทักษ์สิทธิเด็กตลอดจนประสาน
การให้บริการตามความต้องการพื้นฐานของเด็ก รวมทั้งสนับสนุนกลไกในการวางนโยบาย
มาตรการและการปฏิบัติ
14) รัฐสถาบันสังคม อันรวมถึงองค์กรเอกชนและชุมชนด้วย โดยเฉพาะองค์กร
ธุรกิจและสื่อมวลชน ต้องส่งเสริมการวิจัยว่าด้วยสถานภาพของเด็กและสภาวะ การพัฒนา
เด็กเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กและปฏิรูปนโยบาย มาตรการกฎหมายและการปฏิบัติ
ซึ่งขัดกับสิทธิเด็กภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
15) รัฐบาลโดยสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
และสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องประสานความร่วมมือกับสมัชชาแห่งชาติเพื่อ
รายงานสภาวะด้านเด็กและผลการดาเนินงานพัฒนาเด็กและพิทักษ์สิทธิเด็กและสรุปเสนอ
ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจาอย่างน้อยทุก 2 ปี อย่างต่อเนื่อง
นอกเหนือจากการประกาศใช้ปฏิญญาเพื่อเด็กเป็นแนวนโยบายในการดาเนินงาน
เกี่ยวกับเด็กแล้ว รัฐก็ยังกาหนดแนวนโยบายในเรื่องนี้ไว้เด่นชัดในแผนการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2535 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544)
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) ซึ่งมีสาระสาคัญที่เกี่ยวข้อง
กับ การพัฒนาเด็กวัยนี้พอสรุปได้ดังนี้
2.2 แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2535 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อันนาไปสู่ปัญหาของโครงสร้างสังคมที่มีความสลับซับซ้อน
มากขึ้นจึงได้มีการทบทวนแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้สามารถ
ปรับคนได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กล่าวถึง
การจัดการศึกษาปฐมวัย (ในแผนการศึกษาแห่งชาติใช้คาว่าการศึกษาระดับก่อน
ประถมศึกษา) ในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (พิพัฒน์ วิเชียรสุวรรณ. มปป : 31 – 44)
1) ความหมาย การศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาเป็นการศึกษาในลักษณะ
ของการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาความพร้อมของเด็ก ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ บุคลิกภาพและสังคมเพื่อรับการศึกษาในระดับต่อไป
141
2) รูปแบบการจัดการศึกษาการจัดการศึกษาระดับนี้อาจจัดในรูปของอนุบาล
ศึกษา ชั้นเด็กเล็กหรือในรูปของศูนย์พัฒนาเด็กประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่
ละพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย
นอกจากนี้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ยังได้กล่าวถึงการศึกษาพิเศษซึ่ง
เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางกาย สติปัญญา จิตใจ และอารมณ์ ได้
เรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจและความสามารถและเป็นการศึกษาที่
ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ หรือมีปัญญาเลิศได้พัฒนาความถนัดและ
อัจฉริยภาพของตนได้อย่างเต็มที่การจัดการศึกษาพิเศษนี้ อาจจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะ
หรือจัดในสถานศึกษาปกติตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา
2.3 นโยบาย
1) จัดการศึกษาและส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูที่เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของ
เด็กตามสภาวะความต้องการพื้นฐานตามวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิและการพัฒนาคุณลักษณะที่
พึงประสงค์
2) ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับบริการเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างน้อย
1 ปี ก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา
3) ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของครอบครัว ชุมชน สถาบัน สังคมอื่น ๆ และ
สื่อมวลชนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการศึกษาการอนุรักษ์และพัฒนา
ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.4 แนวการจัดการศึกษา
1) ขยายบริการการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้กว้างขวางโดยเฉพาะในชนบท
ห่างไกลและชุมชนแออัดในทุกจังหวัดโดยให้โรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงทั้งของรัฐและ
ท้องถิ่นจัดบริการเตรียมความพร้อมสาหรับเด็กอย่างน้อย 1 ปีก่อนเข้าเรียนระดับ
ประถมศึกษา
2) การส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูเด็กและ
การเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างวัย
3) ส่งเสริมให้ครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันในชุมชนและ
สื่อมวลชนร่วมกันในการปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่เหมาะสม และการชี้นาแนวทางที่ดีแก่
เด็กและเยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
4) พัฒนาระบบการนิเทศติดตาม และการประเมินผลการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาทุกระดับและทุกประเภท พร้อมทั้งเร่งรัดให้มีการนาผลการประเมินมาใช้ใน
การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
142
2.5 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540–2544)ระบุว่า
การพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกันจะต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียม
ความพร้อมเด็กปฐมวัยไปจนตลอดชีวิตในส่วนของเด็กปฐมวัยจึงได้กาหนดเป้าหมายไว้ คือ
“เพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพ”
ระบุว่าจะมีการเตรียมความพร้อมโดย (สนอง ศิริกุลวัฒนา และสุวิชัย ศิริกุลวัฒนา. 2541
: 27)
1) สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชน คู่สมรส พ่อและแม่มีความรู้เกี่ยวกับชีวิต
ครอบครัวและวิธีการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมโดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสาน
การดาเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
2) สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กปฐมวัยได้รับบริการการ
เตรียมความพร้อมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กสถานรับเลี้ยงเด็กในที่ทางานและ
ในสถานประกอบการ โดยดาเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และ
ครอบครัว
3) สนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการอย่างเพียงพอและ มี
คุณภาพ
2.6 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8(2540–2544) ได้กาหนดนโยบาย
เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยไว้ในแผนงานหลักที่ 1 การยกระดับการศึกษาพื้นฐานของปวงชน
ดังนี้ (พิพัฒน์ วิเชียรสุวรรณ. มปป : 72 – 74)
1) วัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการการศึกษาขั้น
พื้นฐานที่ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีครอบครัว เด็กแรกเกิดที่ควร
ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องอันเป็นการศึกษาของเด็กตั้งแต่ปฐมวัยเรื่อยมาจนถึง
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางเท่าเทียมกัน
2) เป้าหมาย เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 1 ปี ก่อน
เข้าเรียนระดับประถมศึกษาก่อน พ.ศ. 2544 และขยายปริมาณการเข้าถึงบริการการศึกษา
ระดับก่อนประถมศึกษาของเด็กปฐมวัย (3 – 5 ปี) จากร้อยละ 65 เป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ
90 ในปี พ.ศ. 2544
3) แนวทาง/มาตรการในการขยายบริการการเตรียมความพร้อมแก่เด็กปฐมวัย
1. จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว การวางแผนครอบครัว
วิธีการเลี้ยงดูลูกที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ คู่สมรส พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวผ่านสื่อ
ประเภทต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยให้หน่วยงานทางการศึกษาประสานและร่วมมือกับ
สื่อมวลชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมเพื่อให้เกิด
143
ความตระหนักว่าการลงทุนพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ เป็นการลงทุนขั้นพื้นฐานที่สาคัญที่จะ
เอื้อให้การพัฒนาในช่วงวัยต่อไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
2. รัฐและองค์กรทางสังคมสนับสนุนให้เด็กได้รับอาหารหลักอาหารเสริมและนมอย่าง
เพียงพอและมีคุณภาพโดยมีมาตรการเสริมเป็นพิเศษสาหรับเด็กที่อยู่ในสภาวะ
ทุพโภชนาการและเด็กที่ด้อยฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ส่งเสริมสนับสนุนการเตรียมความพร้อมอย่างมีมาตรฐานให้แก่เด็กปฐมวัยใน
รูปแบบที่หลากหลายโดยดาเนินการเป็นกระบวนการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ชุมชนและ ครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กด้อยโอกาสให้ได้รับบริการแบบให้เปล่า
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 นันทิยา น้อยจันทร์ (2549 : 66-67)
ได้กล่าวถึง นโยบาย เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนี้
1. นโยบาย
นโยบายจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 0 – 5 ปี เพื่อให้เด็กทุกคนได้
พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมใน
การจัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นและผู้รับบริการ
2. เป้าหมาย
เป้าหมายของการจัดการศึกษามีดังนี้
1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ทุกคน
2. พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว ผู้เตรียมตัวเป็นพ่อแม่
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กโดยตรง ได้แก่ ครู ผู้ดูแลเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็ก
ผู้สูงอายุที่ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ
4. ชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนต่าง ๆ ผู้นาทางศาสนา
อาสาสมัครในรูปแบบต่าง ๆ กลุ่มอาชีพ นักเรียน/เยาวชน ฯลฯ
5. สังคม ได้แก่ สถาบันทางสังคม สื่อมวลชน นักวิชาชีพและองค์กรวิชาชีพ ต่าง
ๆ องค์กรของรัฐ องค์กรเอกชน ฯลฯ
3. ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาเด็กปฐมวัยต่ากว่า 3 ปี ใช้หลักการบ้านเป็นรากฐานในการเลี้ยงดู
(Home based approach) ซึ่งบุคคลสำคัญคือ พ่อแม่ ผู้ปกครองและสมำชิกในครอบครัว
2. เด็กอายุ 3 – 5 ปี ใช้สถานพัฒนาเด็กหรือรูปแบบอื่นที่เป็นทั้งในระบบ นอก
ระบบ และตามอัธยาศัย โดยให้ผู้ดูแลเด็ก ฯลฯ มีลักษณะเป็น “มืออาชีพ” และร่วมมือกับ
พ่อแม่ ผู้ปกครองและครอบครัว
144
3. การพัฒนาเด็กอายุ 0- 5 ปี ที่ดีและมีคุณภาพต้องมีระบบการส่งต่อเพื่อ
เชื่อมโยงจากบ้านไปศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียน
4. การพัฒนาความรู้และทักษะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอายุ 0 – 5 ปี
5. สร้างความพร้อมให้ชุมชนและท้องถิ่นสามารถดาเนินการจัดการศึกษาและ
พัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. สังคมร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่วางแผน
ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และประเมินผล
7. เมื่อชุมชนและท้องถิ่นมีความเข้มแข็งพอ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความรู้
ความสามารถ ให้รัฐกระจายความรับผิดชอบไปยังชุมชน ท้องถิ่น (ครอบครัว ชุมชน อบต.
เทศบาล เอกชน องค์กรเอกชน และอื่น ๆ) ดาเนินการเต็มที่ในทุกด้าน รัฐจากัดบทบาทของ
ตนเองให้เป็นผู้กาหนดนโยบาย รูปแบบ การตรวจสอบมาตรฐานการประเมินผล และ
การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ
2. หลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
การจัดการศึกษาปฐมวัยของประเทศไทย มีการจัดทั้งในระบบโรงเรียนและนอก
ระบบโรงเรียน เพราะประเทศไทยมีทั้งชุมชนเมืองและชนบท รูปแบบการจัดการศึกษา
ปฐมวัยจึงจัดหลาย ๆ รูปแบบตามความเหมาะสมของสภาพชุมชนรูปแบบที่นิยมจัด ได้แก่
1. รูปแบบโรงเรียน
การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบโรงเรียนมีเป้าหมายหลักอยู่ที่เด็กอายุ
ระหว่าง 3 – 6 ขวบ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาการ และการเตรียม
ความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์
จิตใจ สังคมและสติปัญญาการดาเนินการที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐและเอกชน
จะมีรูปแบบการจัด 2 ลักษณะ คือ
1.1 ชั้นอนุบาล เป็นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุก
ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งลักษณะนิสัยต่าง ๆ
โดยใช้ระยะเวลาในการจัดการศึกษาประมาณ 2 – 3 ปี สาหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3
– 6 ปี
1.2 ชั้นเตรียมประถมศึกษาหรือชั้นเด็กเล็ก เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียม
ความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาโดยใช้ระยะเวลาในการจัด
การศึกษา 1 ปี สาหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี
145
2. ศูนย์พัฒนาเด็ก
การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กนั้นมี
เป้าหมายหลักอยู่ที่เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด – 6 ขวบ ที่ด้อยฐานะทางเศรษฐกิจ
และสังคมซึ่ง ได้แก่ เด็กยากจนในเขตพื้นที่ชนบทห่างไกลและชนกลุ่มน้อย เด็กที่อยู่ใน
ชุมชนแออัด และเด็กด้อยความสามารถทางด้านร่างกาย สมอง และจิตใจการจัด
การศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็กมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์
อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายหลักในการดาเนินงานที่คล้ายคลึงกันสรุปได้ดังนี้ (อรุณี หรดาล.
2537 : 85)
2.1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทั้งทางด้านร่างกาย
อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย
2.2 เพื่อปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีและการปรับตัวเข้ากับสังคมนอกบ้าน รวมถึงให้สามารถ
ช่วยเหลือ ตนเองได้
2.3 เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ พ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก การ
อบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธีการประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเพื่อป้องกันเด็กจาก
โรคขาดสารอาหารทั้งการให้ภูมิคุ้มกันโรค และการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่ถูกต้อง
2.4 เพื่อกระตุ้นให้องค์กรท้องถิ่นและครอบครัวมีบทบาทในการพัฒนาและมีส่วน
ร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
2.5 เพื่อแบ่งเบาภาระการอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้สามารถใช้
เวลาในการประกอบอาชีพได้มากขึ้น
การจัดบริการทางการศึกษาในรูปแบบอื่น
เนื่องจากมีเด็กบางกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเข้ารับบริการการอบรมเลี้ยงดูจากโรงเรียน
หรือศูนย์พัฒนาเด็กจึงมีกิจกรรมที่จัดเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในรูปแบบอื่น ๆ เช่น
การพัฒนาเด็กโดยหน่วยงานพัฒนาเด็กเคลื่อนที่ ซึ่งจัดกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจ
แก่พ่อแม่ผู้ปกครองด้วยวิธีการสาธิตฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กตามหลักวิชาการแผนใหม่
ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้านหรืออาจจะดาเนินงานทางอ้อมในรูปของกิจกรรม
การพัฒนาเด็กโดยครอบครัว โดยมี การร่วมมือกันในระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน
การพัฒนาเด็กมุ่งให้พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ความสามารถในการอบรม
เลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้โดยร่วมกับอาสาสมัครหมู่บ้าน ผู้นาท้องถิ่น และ
เยาวชนในหมู่บ้านจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กในครอบครัวของตนรวมทั้งนาความรู้ไป
ถ่ายทอดแก่พ่อแม่และบุคคลอื่นด้วย
146
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทยมีรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยหลายรูปแบบ มีหน่วยงาน
ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจ การจัดดาเนินงานการศึกษาปฐมวัยจึงมีหลาย
หน่วยงานจัดดาเนินงานให้บริการแต่ละหน่วยงานที่จัดก็จะมีวัตถุประสงค์และการจัด
ดาเนินงานที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
1. หน่วยงานที่ให้การศึกษาในระบบโรงเรียน
1.1 โรงเรียนอนุบาลของรัฐ หน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบการจัดโรงเรียนใน
ระดับชั้นอนุบาลและชั้นเด็กเล็กได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการทบวงมหาวิทยาลัยสานักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมซึ่งแต่ละหน่วยงานมีลักษณะการจัดดังนี้
1.1.1 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการมี
หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัย คือ
1)โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของสานักงาน
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจาจังหวัดและโรงเรียน
ประถมศึกษาที่อยู่ในหมู่บ้านจะรับเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เข้าเรียนในชั้นอนุบาล มี
หลักสูตร 2 ปี คือ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 และชั้นอนุบาลปีที่ 2 หรือรับเด็กชายหญิงอายุ
5 – 6 ปี เข้าเรียนในชั้นเด็กเล็กหลักสูตร 1 ปี
2) โรงเรียนอนุบาลสาธิตของสถาบันราชภัฏ จัดการศึกษาปฐมวัยขึ้นเพื่อ
เตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา และเพื่อแบ่งเบาภาระของ
อาจารย์และ ข้าราชการในสถาบัน ใช้เป็นแหล่งฝึกงานสาหรับนักศึกษาวิชาเอกการศึกษา
ปฐมวัย และเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับความเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญ่จะ
รับเด็กอายุตั้งแต่ 3 – 6 ปี เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุบาล 3 ปี แต่มีบางแห่งที่รับเด็กอายุ 4 –
6 ปี เข้าศึกษาโดยมีหลักสูตร 2 ปี
3) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา
เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาสาหรับเด็กขาดโอกาสที่จะเรียนในโรงเรียนปกติ ได้แก่ เด็กชาว
ป่า เด็กชาวเขา เด็กชาวเรือ เด็กชาวเกาะ เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารหรือมีปัญหาทางสภาพ
ภูมิศาสตร์ เด็กยากจนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ เด็กกาพร้าบิดาหรือมารดา
ขาดผู้อุปการะ หรือเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในลักษณะอื่น ๆ การจัด การศึกษาจัด
อยู่ในลักษณะหลักสูตรอนุบาล 2 ปี หรือหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก 1 ปี
147
1.1.2 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย
ดาเนินงานการจัดการศึกษาในโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย โดยชั้นอนุบาลจะให้
การศึกษาแก่เด็กอายุ 3–6 ปี ในรูปแบบของชั้นอนุบาลในโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัย
ต่าง ๆ ใช้เวลาในการจัด 2 –3 ปี ในลักษณะเดียวกับโรงเรียนอนุบาลทั่วไป โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในด้านการเรียนการสอน
1.1.3 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของสานักนายกรัฐมนตรี ได้แก่
โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน สานักงาน
ตารวจแห่งชาติรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล
การคมนาคมไม่สะดวกดาเนินการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบโรงเรียนให้แก่เด็กอายุ 3 –
6 ปี ในหลักสูตรอนุบาลศึกษา 2 ปี และหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก 1 ปี เป็นการเตรียม
ความพร้อมให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่
ประชาชนที่ ยากจนไกล การคมนาคมและส่งเสริมสุขภาพอนามัยตลอดจนโภชนาการที่
ถูกต้องในเด็ก
1.1.4 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงแรงงานและ
สวัสดิการสังคม ได้แก่ โรงเรียนที่อยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งจัด
การศึกษาปฐมวัยให้แก่เด็กอายุ 3 – 6 ปี ในโรงเรียนหมู่บ้านชาวไทยต่างวัฒนธรรมและ
โรงเรียนในสถานสงเคราะห์เด็กเป็นการดูแลเด็กกาพร้าหรือเด็กถูกทอดทิ้งโดยมุ่งหวังให้
เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาโดยการเลี้ยงดู
แก้ไขปัญหาให้การศึกษาเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ จัดหลักสูตร
อนุบาล 2 ปี หรือหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก 1 ปี
1.1.5 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
ได้แก่
1) โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครรับผิดชอบจัดการศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดดาเนินการสอนชั้นเด็กเล็กหลักสูตร 1 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา
แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเปิดรับเด็กเข้าเรียนในหลักสูตรอนุบาล 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าเรียน
ในชั้นประถมศึกษา
2) โรงเรียนสังกัดเทศบาล อยู่ในความดูแลของสานักงานการศึกษา
ท้องถิ่นเป็น ผู้รับผิดชอบดาเนินการจัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาให้แก่เด็กวัย 4 – 6 ปี
หรือวัยก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับในเขตเทศบาลและเมืองพัทยาโดยจัดหลักสูตร
อนุบาล 2 ปี และหลักสูตรเด็กเล็ก 1 ปี
148
1.2 โรงเรียนอนุบาลของเอกชนจะอยู่ในความดูแลของสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ เอกชนเป็นเจ้าของรับผิดชอบจัดการศึกษารับเด็ก
อายุ 3 – 6 ปี โดยจัดหลักสูตรอนุบาล 3 ปี คือ
อายุ 3 – 4 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1
อายุ 4 – 5 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2
อายุ 5 – 6 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3
2. หน่วยงานที่จัดการศึกษาในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็ก
2.1 หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็ก
มีดังต่อไปนี้
2.1.1 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดเป็น
โครงการของกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการสอนเด็กก่อนเกณฑ์ที่จะเข้ารับ
การศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายทั้งชาย-หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปี ถึงอายุย่างเข้าปีที่ 6เพื่อ
อบรมเลี้ยงดูกล่อมเกลานิสัย โดยปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรรม และประเพณี
อันดีงามของไทยให้แก่เด็กทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม เพื่อช่วยเหลือ
บิดามารดาที่ทางานนอกบ้านผู้ดาเนินงานคือเจ้าอาวาสมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ปฏิบัติงานศูนย์นี้จะ
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมการศาสนา
2.1.2 สถานสงเคราะห์เด็กก่อนวัยเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของ
กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน จัดบริการการศึกษาแก่เด็กอายุ 2 – 6 ปี ที่ไม่
สามารถรับบริการการศึกษาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาโดยตรงจัดบริการใน
เขตพื้นที่ที่เป็นจังหวัดชายแดนและมีกองร้อยตารวจตระเวนชายแดนตั้งอยู่ หรือพื้นที่
เป้าหมายเพื่อความมั่นคงตามแผนมหาดไทยแม่บทฉบับที่ 4 การจัดบริการนี้จะอยู่ในรูป
ของการศึกษานอกระบบโรงเรียน
2.1.3 สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนของกรมประชาสงเคราะห์ ให้การอนุบาลเลี้ยง
ดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็กชาย – หญิง อายุตั้งแต่แรกเกิด – 6 ขวบ ที่มีปัญหาด้านการ
เลี้ยงดูจากพ่อแม่หรือเป็นเด็กพิการ โดยมุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา หน่วยงานที่จัด ได้แก่ กองสงเคราะห์เด็กและบุคคล
วัยรุ่น กองสงเคราะห์ชาวเขากองนิคมสร้างตนเอง และกองบริการชุมชน เป็นต้น
2.1.4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมการพัฒนาชุมชน สังกัดกระทรวงมหาดไทยมี
กองพัฒนาสตรีเด็กและเยาวชนเป็นผู้รับผิดชอบดาเนินงาน โดยสนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กในตาบลหมู่บ้านเพื่อรับเลี้ยงดูเด็กอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ให้มีพัฒนาการทั้ง
149
ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีการเตรียมความพร้อมเด็กในลักษณะ
เล่นปนเรียนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้สาหรับเด็ก และเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ที่
ออกไปทางานนอกบ้าน ศูนย์นี้มีผู้ดูแลเด็กทาหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กในอัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก
1 คนต่อเด็ก 20 – 25 คน โดยได้รับค่าตอบแทนจากกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ปกครอง และ
ชุมชน คณะกรรมการพัฒนาเด็กเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้
การควบคุมดูแลของกรรมการหมู่บ้านและกรรมการสภาตาบล
2.1.5 สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันของสานักอนามัยกรุงเทพมหานคร ให้บริการ
แก่เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน จากครอบครัวยากจนและขาดอาหารเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ
อนามัย โภชนาการ ด้านการพัฒนาจิตใจสติปัญญาและสังคม ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
พ่อแม่และลูก โดยมีพี่เลี้ยงเด็กเป็นตัวประสานระหว่างพ่อแม่และลูก ช่วยชี้แนะเกี่ยวกับ
การเลี้ยงดูเด็ก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาและเสริมสร้าง
พฤติกรรมของเด็กด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้และทักษะการทางาน (อรุณี หรดาล.
2537 : 88)
2.1.6 สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันของสานักสวัสดิการสังคมกรุงเทพมหานคร
ให้บริการแก่เด็กอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ในชุมชนแออัดและเขตรอบนอก เพื่อเตรียม
ความพร้อมแก่เด็กก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาโดยใช้แนวการจัดประสบการณ์ของ
สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมุ่งพัฒนาความพร้อมทางร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญามากกว่าการอ่านออกเขียนได้
2.1.7 บ้านเด็กสาธิตของสถาบันราชภัฏ จัดบริการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัย 2 – 3 ปี
จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับความเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เป็นแหล่ง
สาธิตและฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาเอกการศึกษาปฐมวัย มีครูจานวน 1 คน และพี่เลี้ยง 1
– 2 คน ดูแลเด็กประมาณกลุ่มละ 20 คน
2.2 หน่วยงานภาคเอกชน การจัดศูนย์พัฒนาเด็กของภาคเอกชนมีการจัด
ดาเนินงานใน 2 ลักษณะ คือ
2.2.1 ศูนย์เด็กขององค์กร อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
มูลนิธิ สมาคมและบริษัท ศูนย์เด็กขององค์กรส่วนใหญ่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานของ
องค์กรและการสงเคราะห์เด็กรับเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 2 – 6 ปี ดาเนินการโดย
คณะกรรมการขององค์การที่มีพี่เลี้ยงเป็นผู้ปฏิบัติงานมีหน่วยงานที่ให้บริการ เช่น มูลนิธิ
เด็กมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กสหทัยมูลนิธิ โสสะมูลนิธิ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรม
ราชินูปถัมภ์ เป็นต้น
150
2.2.2 ศูนย์เด็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กของเอกชน ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชุมชน
เมืองจัดบริการเพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง มีขอบเขตการให้บริการตั้งแต่เด็กวัยแรกเกิด
จนถึง 6 ปี โดยศูนย์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งอาจจะรับเลี้ยงเด็กในช่วงอายุแตกต่าง
กันแต่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 3 ปี เพราะเด็กที่มีอายุ 3 ปี ขึ้น
ไป มักเข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียน การดาเนินงานเป็นการให้บริการเชิงธุรกิจ มี
กรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้ดูแลควบคุมให้ดาเนินงานด้วยดีมีประสิทธิภาพและถูกต้อง
กฎหมาย
3. การจัดบริการทางการศึกษาในรูปแบบอื่น
3.1 หน่วยงานของรัฐ มีการให้บริการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรม
เลี้ยงดูเด็กแก่ พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมุ่งให้องค์กรท้องถิ่นอาสาสมัครพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือ
บุคคลในครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรม เช่น กิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เคลื่อนที่กิจกรรมการพัฒนาเด็กโดยครอบครัวและกิจกรรมการผลิตและใช้สื่อเพื่อ
การพัฒนาเด็กของกรมการพัฒนาชุมชน
3.2 ภาคเอกชนหรือองค์กรเอกชน ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กและ
ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนขึ้น
ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก 50 องค์กร สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนมีหน้าที่
ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกาหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเด็กและ
เยาวชนในภาคเอกชน ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมขององค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน
นอกจากนี้ยังมีคณะทางานด้านเด็กซึ่งประกอบด้วยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ดังนี้ คือมูลนิธิเด็ก
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพีริยานุเคราะห์ มูลนิธิ สมาคมสงเคราะห์เด็กกาพร้าแห่งประเทศ
ไทยมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย มูลนิธิมิตรมวลชน
โสสะมูลนิธิแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิแสงสวรรค์สงเคราะห์ มูลนิธิ
เด็กกาพร้าอีสาน มูลนิธิภราดรบาเพ็ญเพื่อเด็กกาพร้าบ้านศรีธรรมราช มูลนิธิสงเคราะห์
เด็กกาพร้าอนาถานครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนหน่วยฝากเลี้ยง เป็น
ต้น โดยมีเป้าหมายหลักในการทางานเพื่อพัฒนาเด็กโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ทั้ง
เด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทารุณกรรมถูกทอดทิ้ง ฯลฯ
3.3 องค์การระหว่างประเทศให้ความสนับสนุนด้านเงินทุน วิชาการและเทคโนโลยี
ต่างๆ แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยเพื่อดาเนินการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ด้วย เช่นเดียวกัน
151
4. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดหลาย
หน่วยงานเพราะหลักสูตรการศึกษาในระดับนี้ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ แต่ ละ
หน่วยงานที่จัดการศึกษาในระดับนี้จึงมีอิสระในการจัดสร้างหรือเลือกใช้หลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเรียกว่าแนวการจัดประสบการณ์มี
ลักษณะดังนี้
1. หลักสูตรสาหรับโรงเรียนอนุบาล
หลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนที่จัดชั้นอนุบาลมีหน่วยงานที่จัดสร้างหลายหน่วยงาน
เช่น สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาเอกชนสานักงานการศึกษาท้องถิ่น (เทศบาล) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง
หลักสูตรของหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยอย่างกว้างขวางทั่ว
ประเทศคือ หลักสูตรของสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาเอกชนและกรมวิชาการ
1.1สานักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้ปรับปรุงแนวการจัด
ประสบการณ์ ชั้นอนุบาลศึกษา พ.ศ. 2536 และแนวการจัดประสบการณ์ชั้นเด็กเล็ก พ.ศ.
2534 เพื่อให้ครูใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดย
สามารถพิจารณายืดหยุ่นกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเด็กโดยมี
เป้าหมายเพื่อให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
จากการจัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการที่ถูกกาหนดขึ้นเป็นหน่วยการสอนเพื่อให้เด็กได้
ทากิจกรรมกิจวัตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยรูปแบบของการจัด
กิจกรรมจะเป็นการใช้กิจกรรมประจาวัน และจัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัว
ได้ดี และขณะเดียวกันเด็กสามารถยังได้ทากิจวัตรประจาวันได้ครบถ้วน กิจกรรม
ประจาวันที่จัดให้เด็กนั้นจะมีทั้งกิจกรรมหลักและกิจกรรมรอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
กิจกรรมในตาราง และกิจกรรมนอกตาราง กิจกรรมในตาราง ได้แก่ กิจกรรมการสนทนา
ข่าว กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม
กิจกรรมในวงกลม กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง การพักผ่อน และกิจกรรมเกมการศึกษา
กิจกรรมนอกตาราง ได้แก่ กิจกรรมการร้องเพลง การเล่านิทาน การท่องคาคล้องจอง
กิจกรรมบทบาทสมมุติ กิจกรรมการเล่านิทาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริม เช่น
การรับ – ส่ง เด็ก ของครูที่รับผิดชอบ การตรวจสุขภาพเด็ก การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น
เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น จึงขอเสนอที่จัดดังภาพที่ 1
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55

More Related Content

What's hot

เรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วมเรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วมพัน พัน
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยYanee Chaiwongsa
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกChainarong Maharak
 
สังเกตการสอน
สังเกตการสอนสังเกตการสอน
สังเกตการสอนPornwipa Onlamul
 
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55Decode Ac
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรSunisa199444
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรBigbic Thanyarat
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการTwatchai Tangutairuang
 
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60Krittalak Chawat
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีmaethaya
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒Manas Panjai
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้Bhayubhong
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3สุภาพร สิทธิการ
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรmaturos1984
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนKruthai Kidsdee
 
การตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถามDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย ssuserd40879
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓kruthai40
 

What's hot (20)

เรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วมเรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วม
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
 
แผนการจัดการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง ม.1
แผนการจัดการเรียนรู้  หน้าที่พลเมือง ม.1แผนการจัดการเรียนรู้  หน้าที่พลเมือง ม.1
แผนการจัดการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง ม.1
 
สังเกตการสอน
สังเกตการสอนสังเกตการสอน
สังเกตการสอน
 
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ
 
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
การตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถาม
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 

Similar to บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55

นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559worapanthewaha
 
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559นรินทร์ แสนแก้ว
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรEsarnee
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรEsarnee
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculamZTu Zii ICe
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...โรงเรียนบ้านเสาเล้าฯ สผศ
 
หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑rampasri
 
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55Montree Jareeyanuwat
 
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]CMRU
 
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.wasan
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐานtassanee chaicharoen
 
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่Watcharasak Chantong
 
แผนปฎิบัติการ64
แผนปฎิบัติการ64 แผนปฎิบัติการ64
แผนปฎิบัติการ64 Watcharasak Chantong
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 

Similar to บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55 (20)

แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
 
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตร
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตร
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculam
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
 
หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑
 
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
 
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
 
นำเสนองานโรงเรียนดี
นำเสนองานโรงเรียนดี นำเสนองานโรงเรียนดี
นำเสนองานโรงเรียนดี
 
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
แผนยุทธศาสตร์ปศพ.
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
 
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการนโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
 
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
 
แผนปฎิบัติการ64
แผนปฎิบัติการ64 แผนปฎิบัติการ64
แผนปฎิบัติการ64
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 

บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55

  • 1. บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย แผนการสอนประจาบท 1. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้สามารถรู้และเข้าใจนโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยของประเทศไทย 2. เพื่อให้สามารถอธิบายการจัดการศึกษาปฐมวัยของไทยจากอดีตถึงปัจจุบันได้ 3. เพื่อให้สามารถอธิบายหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาปฐมวัยได้ 4. เพื่อให้สามารถอธิบายหลักสูตรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัยได้ 2. สาระการเรียนรู้ 1. นโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย 2. หลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย 4. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน 5. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย 3. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน 2. แบ่งกลุ่มศึกษาตามหัวข้อที่กาหนด 3. อภิปราย ซักถาม สรุปจากสไลด์ 4. แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย 5. ทดสอบหลังเรียน (แบบทดสอบ) 6. มอบหมายงานในแบบฝึกหัดท้ายบท 4. สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย 2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point) 3. เว็บไซต์อาจารย์ Internet 4. หนังสือ ตารา วารสาร งานวิจัย 5. ซีดี วิดีโอ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  • 2. 134 5. การประเมินผล 1. การทดสอบ 2. นาเสนองานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย 3. ผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษา 4. การส่งผลงานแบบฝึกหัดท้ายบท
  • 3. 135 บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย ประเทศไทยมีการจัดการศึกษาปฐมวัยมานานแล้ว โดยเจ้านายเชื้อพระวงศ์เข้า เรียนในโรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนราชกุมารี ส่วนชาวบ้านก็นิยมนาลูกไปฝากที่วัด ต่อเมื่อมีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบจึงมีชั้นมูลศึกษาเกิดขึ้น และมีโรงเรียนราษฎร์ที่ จัดการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนราชินี และโรงเรียนมาแตร เดอี ได้เริ่มเปิดสอนแผนกอนุบาลขึ้นโดยนาวิธีการสอนแบบเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่มา เป็นตัวอย่าง ในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐบาลได้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของ รัฐแห่งแรกใน ปี พ.ศ. 2483 คือ โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ และยังคงดาเนินการสอนอยู่ จนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา รัฐบาลเริ่มมีนโยบายส่งเสริมให้โรงเรียน เอกชนเปิดสอนระดับอนุบาลศึกษาในขณะเดียวกันหน่วยงานต่าง ๆ ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม จัดการศึกษาในระดับนี้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเตรียมความพร้อมให้เด็กใน วัยนี้หลากหลายรูปแบบมีทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาโดยตรงและหน่วยงานอื่น ๆที่ ร่วมจัดดาเนินการด้วย เพื่อให้เห็นรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยจากอดีตจนถึง ปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. นโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย 2. หลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย 4. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน 5. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย 1. นโยบายการศึกษาปฐมวัยของประเทศไทย การศึกษาปฐมวัยของไทยสมัยมีระบบโรงเรียนในอดีตเริ่มตั้งแต่มีโครงการศึกษา พ.ศ. 2441 เป็นต้นมาในสมัยนั้นรัฐยังไม่ได้เน้นความสาคัญของการศึกษาในระดับนี้ไม่มี การกาหนดนโยบายที่แน่ชัด แต่ภายหลังรัฐเริ่มให้ความสาคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นปีแรกที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการศึกษาในระดับอนุบาล ศึกษา โดยจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐขึ้นเป็นแห่งแรกคือโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศมี จุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมสาหรับเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาและต่อมา รัฐได้ตระหนักถึงความสาคัญของการศึกษาของเด็กในระดับนี้ยิ่งขึ้น จึงได้กาหนดนโยบาย
  • 4. 136 เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กระดับปฐมวัยไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติแต่ละสมัยที่ผ่านมา เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 48- 59) ได้กล่าวถึงนโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยและตาม แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับต่าง ๆ ดังนี้ 1. นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในอดีต นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยตั้งแต่อดีตสามารถศึกษาได้จาก แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติในแต่ละสมัยที่ผ่านมาดังนี้ 1.1 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 1519) ระบุไว้ว่าจะ ปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนอนุบาลของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนและมีการเปิด โรงเรียนอนุบาลในอาเภอใหญ่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและมีประชาชนหนาแน่น 1.2 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) ระบุไว้ว่า การศึกษาอนุบาลนั้นรัฐจะไม่เข้าดาเนินการเอง แต่จะกาหนดระเบียบในการจัดการศึกษา อนุบาลให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษายิ่งขึ้นซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับ พุทธศักราช 2520 ที่มีรายละเอียดระบุไว้ดังนี้ “16. รัฐพึงเร่งจัดและสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูเด็กในวัยก่อนประถมศึกษาโดยรัฐจะ สนับสนุนให้ท้องถิ่นและภาคเอกชนจัดให้มากที่สุด สาหรับการจัดการศึกษาระดับนี้ของรัฐ จะจัดทาเพียงเพื่อเป็นตัวอย่างและเพื่อการค้นคว้าวิจัยเท่านั้น” “30. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาเป็นการศึกษามุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อน การศึกษาภาคบังคับเพื่อเตรียมให้มีความพร้อมทุกด้านดีพอที่จะเข้ารับการศึกษาต่อไป การจัดสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้นอาจจัดเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือ การศึกษานอกโรงเรียน โดยอาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็กหรือศูนย์เด็กปฐมวัย และใน บางกรณีอาจจัดเป็นชั้นเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลได้” 1.3 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) ก็ได้กาหนด นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยไว้เช่นกัน โดยได้เน้นถึงความสาคัญของเด็กก่อนวัย ประถมศึกษาเป็นเป้าหมายสาคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กวัยนี้กาลังประสบปัญหาในเรื่องขาด อาหาร ขาดหลักประกันทางด้านสาธารณสุขและการศึกษา ฉะนั้นรัฐบาลจึงได้กาหนด นโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ซึ่งสรุปสาระสาคัญได้ว่า “รัฐจะ สนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนจัดให้มากที่สุดโดยรัฐจะจัดทาเพียงเพื่อเป็นตัวอย่าง การจัดการศึกษามุ่งเสริมสร้างโภชนาการที่ถูกต้องและเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อเข้า รับการศึกษาในระดับต่อไป” 1.4 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) ได้กาหนด นโยบายและเป้าหมายในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาไว้ว่า รัฐจะมุ่งขยาย
  • 5. 137 การจัดการศึกษาระดับนี้ไปสู่ส่วนภูมิภาคชนบทส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาล สาหรับเด็กวัย 3 – 5 ปีให้มากขึ้นและรัฐจะส่งเสริมให้เอกชนจัดโรงเรียนอนุบาลให้โรงเรียน ร่วมกับชุมชนดาเนินการในพื้นที่มีปัญหาทางภาษา ทางเศรษฐกิจ และพื้นที่ชนบท สาหรับ ในเขตเมืองจะจัดเป็นตัวอย่างและเพื่อการวิจัยโดยมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของเด็ก 1.5 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) กาหนด วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาไว้ว่าเพื่อจัดและส่งเสริมให้เด็ก ก่อนประถมศึกษาได้รับการพัฒนาทางร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้ สอดคล้องตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการและให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับ ประถมศึกษาอย่างทั่วถึง จะเห็นได้ว่าตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ผ่านมารัฐได้มีนโยบายเกี่ยวกับ การจัดการศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัยไว้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 3, 4 และ 5 (พ.ศ. 2515 – 2529) รัฐยังไม่ได้ รับภาระในการจัดการศึกษาปฐมวัยและสนับสนุนให้เอกชนดาเนินการ ส่วนแผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 รัฐได้ให้ความสาคัญกับการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น คือ นอกจากจะสนับสนุนให้เอกชนจัดแล้วรัฐยังสนับสนุนให้โรงเรียนของรัฐในท้องถิ่น ห่างไกลจัดการศึกษาในระดับนี้เพิ่มมากขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สอดคล้องตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และให้มีการเตรียม ความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษาอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตามในการดาเนินการตามแนวนโยบายของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้นยังมี ลักษณะกระจัดกระจายไม่เป็นระบบเดียวกัน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนได้จัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยอยู่ทั่วไป โดยต่างฝ่ายต่างดาเนินการทา ให้เกิดความสับสนและในการกาหนดมาตรฐานการพัฒนาเด็กขาดทิศทางการพัฒนาเด็ก ไปในแนวเดียวกัน 1. นโยบายของการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาแล้วว่ารัฐได้ให้ความสาคัญเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่ม มากขึ้นเรื่อย ๆ และในปัจจุบันจะพบว่ารัฐให้ความสาคัญกับการจัดการศึกษาในระดับนี้ มากด้วย การกาหนดนโยบายที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น เพราะสืบเนื่องมาจากที่ประชุมสมัชชา แห่งชาติครั้งที่ 1 ด้านการพัฒนาเด็กซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2533 ณ ตึก สันติไมตรีทาเนียบรัฐบาลได้ให้การรับรองปฏิญญาสากลเพื่อเด็กหลังจากนั้นคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2534 เห็นชอบและอนุมัติให้ประกาศใช้ปฏิญญาเพื่อเด็ก
  • 6. 138 อย่างเป็นทางการ กาหนดให้หน่วยงานที่ดาเนินการเกี่ยวกับเด็กทั้งภาครัฐและเอกชนถือ เป็นแนวนโยบายในการดาเนินการพัฒนาเด็ก โดยใช้สภาวะความต้องการพื้นฐานและ บริการสาหรับเด็ก (สพด.) เป็นแนวทาง รัฐได้ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาในระดับนี้เพิ่มมากขึ้นจึงได้ กาหนดนโยบาย เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยในแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2535) และกาหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับแผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 7 (2535 – 2539) จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบันคือ ฉบับที่ 8 (2540 – 2544) นโยบายการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันจะได้แก่ 2.1 ปฏิญญาเพื่อเด็กไทย เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและจะเป็นผู้สืบทอด ความเป็นชาติในอนาคต ดังนั้นเด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสในลักษณะใดก็ตาม เช่น เด็กพิการ เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทารุณกรรม เด็กที่ถูกใช้แรงงานอย่างผิด กฎหมายและโสเภณีเด็ก เป็นต้น จะต้องได้รับการพัฒนาตามหลักการดังกล่าวข้างต้น จึง ได้กาหนดปฏิญญาเพื่อเด็กไว้ 15 ข้อ โดยข้อที่ 1 – 10 จะเป็นทิศทางใน การพัฒนาเด็กและ ข้อที่ 11 – 15 จะเป็นพันธกรณีของรัฐสถาบันสังคมองค์กรธุรกิจ และสื่อมวลชน โดยมี รายละเอียดต่อไปนี้ ทิศทางในการพัฒนาเด็ก (ตามความต้องการพื้นฐานของเด็ก) 1) เด็กต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือบุคคลในครอบครัวที่ให้ ความรักและความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้าน อันได้แก่ การพัฒนา ทางกาย ทางจิตใจ สติปัญญา สังคม อารมณ์ ค่านิยมและเจตคติ โดยเฉพาะ ในระยะตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 6 ปีแรกของชีวิตซึ่งเป็นระยะที่สาคัญที่สุดใน การวางรากฐานและสร้างเสริมคุณภาพของคน 2) เด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างน้อยที่สุดตามความต้องการของร่างกายที่ได้ กาหนดไว้ตามวัย เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงในช่วงอายุต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต เต็มที่และแข็งแรงสมบูรณ์ตามปกติในวัยของตน 3) เด็กต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการ และได้รับการป้องกันจากโรค และภัยที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เด็กต้องได้รับการสร้างเสริมคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนตามที่ได้ กาหนดไว้ตลอดจนได้รับการป้องกันจากโรคติดต่อรวมทั้งต้องได้รับการรักษาพยาบาล ขั้นพื้นฐานในกรณีที่เจ็บป่วยและได้รับการฟื้นฟูสภาพ 4) เด็กต้องมีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ ไม่คับแคบจนเกินไปและอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ เด็กต้องได้มีโอกาสได้พัฒนา และมี สถานที่วิ่งเล่นออกกาลังกายและเล่นกีฬา รวมทั้งมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการตามวัย
  • 7. 139 5) เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย เพื่อพัฒนาให้มีปัญญามี คุณธรรมตามหลักศาสนาของตน และมีจริยธรรมขั้นพื้นฐานเด็กต้องได้รับการฝึกอบรมให้ มีความรู้และทักษะในการดารงชีวิตมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเจตคติที่จะใฝ่เรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องและตลอดชีวิต มีเจตคติที่ดีต่อครอบครัวสังคมและการดาเนินชีวิต มีความเข้าใจ เกี่ยวกับตนเองอย่างถูกต้องเป็นจริงเข้าใจและยอมรับความต้องการสิทธิบทบาทของ ตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เป็นพลเมืองไทยที่มีความรับผิดชอบมีคุณภาพและรู้จักอยู่ร่วมกัน โดยสันติ 6) เด็กต้องได้รับการพัฒนาให้มีสุนทรียภาพซาบซึ้งในความงามรู้จักรักเข้าใจและ อนุรักษ์มรดกและเอกลักษณ์ของชาติด้วยการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาในกิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7) เด็กจะต้องได้รับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะสาหรับการเตรียม การประกอบอาชีพตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตน เพื่อให้พึ่งตนเอง ได้ในเชิงเศรษฐกิจ รวมทั้งมีค่านิยมที่พึงประสงค์ในการทางานที่สุจริตและเหมาะสมกับวัย 8) เด็กต้องมีโอกาสและสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ด้วยจิตสานึกต่อ สังคมส่วนรวมและสาธารณสมบัติ มีส่วนร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมรวมทั้ง การยึดถือเรื่องความมีวินัยในตนเองและความยุติธรรมในสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานของวิถีทาง ในการดาเนินชีวิตตามครรลองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 9) เด็กต้องมีโอกาสเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนอันหมายถึงสิทธิในการใช้บริการด้านการป้องกันการคุ้มครองและแก้ไขการ ฟื้นฟูและการพัฒนา 10) เด็กต้องได้รับโอกาสในการรับรู้และการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์พื้นฐาน จากรัฐสถาบันสังคมและองค์กรธุรกิจ พร้อมทั้งการมีตัวแทนในการพิทักษ์สิทธิและ ผลประโยชน์ดังกล่าวตามความเหมาะสม เด็กต้องได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองต่อการถูก กล่าวหาว่ากระทาผิด โดยไม่นามาเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือประชาชน และต้องได้รับ การปฏิบัติที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ พันธกรณีของรัฐ สถาบันสังคม องค์กรธุรกิจ และสื่อมวลชน 11) บิดาและมารดามีหน้าที่และความรับผิดชอบเท่าเทียมกันในการตอบสนอง ความต้องการพื้นฐานของเด็กทั้งนี้ผู้ที่จะเป็นบิดาและมารดาจะต้องมี ความพร้อมทางด้าน สุขภาพกายและจิตมีวุฒิภาวะที่จะรับผิดชอบต่อครอบครัว สามารถที่จะประกอบอาชีพ รวมทั้งเรียนรู้วิธีการเลี้ยงดูเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุถึงศักยภาพของความเป็นมนุษย์ โดยสมบูรณ์โดยรัฐสถาบันสังคมและองค์การธุรกิจจะต้องร่วมกันสนับสนุน
  • 8. 140 12) ผู้ใหญ่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีและ สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสาหรับเด็กรวมทั้งให้ความร่วมมือแก่รัฐและสถาบันสังคมที่จะ ร่วมพัฒนาปกป้องคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็ก เพื่อไม่ให้ถูกทอดทิ้งถูกเอาเปรียบหรือถูก ทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจ 13) รัฐสถาบันสังคม อันรวมถึงองค์กรเอกชนและชุมชนด้วย โดยเฉพาะองค์กร ธุรกิจและสื่อมวลชนต้องร่วมมือกันในการพัฒนาเด็กและพิทักษ์สิทธิเด็กตลอดจนประสาน การให้บริการตามความต้องการพื้นฐานของเด็ก รวมทั้งสนับสนุนกลไกในการวางนโยบาย มาตรการและการปฏิบัติ 14) รัฐสถาบันสังคม อันรวมถึงองค์กรเอกชนและชุมชนด้วย โดยเฉพาะองค์กร ธุรกิจและสื่อมวลชน ต้องส่งเสริมการวิจัยว่าด้วยสถานภาพของเด็กและสภาวะ การพัฒนา เด็กเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กและปฏิรูปนโยบาย มาตรการกฎหมายและการปฏิบัติ ซึ่งขัดกับสิทธิเด็กภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 15) รัฐบาลโดยสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องประสานความร่วมมือกับสมัชชาแห่งชาติเพื่อ รายงานสภาวะด้านเด็กและผลการดาเนินงานพัฒนาเด็กและพิทักษ์สิทธิเด็กและสรุปเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจาอย่างน้อยทุก 2 ปี อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการประกาศใช้ปฏิญญาเพื่อเด็กเป็นแนวนโยบายในการดาเนินงาน เกี่ยวกับเด็กแล้ว รัฐก็ยังกาหนดแนวนโยบายในเรื่องนี้ไว้เด่นชัดในแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) ซึ่งมีสาระสาคัญที่เกี่ยวข้อง กับ การพัฒนาเด็กวัยนี้พอสรุปได้ดังนี้ 2.2 แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2535 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อันนาไปสู่ปัญหาของโครงสร้างสังคมที่มีความสลับซับซ้อน มากขึ้นจึงได้มีการทบทวนแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้สามารถ ปรับคนได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กล่าวถึง การจัดการศึกษาปฐมวัย (ในแผนการศึกษาแห่งชาติใช้คาว่าการศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษา) ในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (พิพัฒน์ วิเชียรสุวรรณ. มปป : 31 – 44) 1) ความหมาย การศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาเป็นการศึกษาในลักษณะ ของการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาความพร้อมของเด็ก ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพและสังคมเพื่อรับการศึกษาในระดับต่อไป
  • 9. 141 2) รูปแบบการจัดการศึกษาการจัดการศึกษาระดับนี้อาจจัดในรูปของอนุบาล ศึกษา ชั้นเด็กเล็กหรือในรูปของศูนย์พัฒนาเด็กประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ ละพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ยังได้กล่าวถึงการศึกษาพิเศษซึ่ง เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางกาย สติปัญญา จิตใจ และอารมณ์ ได้ เรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจและความสามารถและเป็นการศึกษาที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ หรือมีปัญญาเลิศได้พัฒนาความถนัดและ อัจฉริยภาพของตนได้อย่างเต็มที่การจัดการศึกษาพิเศษนี้ อาจจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะ หรือจัดในสถานศึกษาปกติตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา 2.3 นโยบาย 1) จัดการศึกษาและส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูที่เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของ เด็กตามสภาวะความต้องการพื้นฐานตามวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิและการพัฒนาคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ 2) ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับบริการเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา 3) ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของครอบครัว ชุมชน สถาบัน สังคมอื่น ๆ และ สื่อมวลชนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการศึกษาการอนุรักษ์และพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.4 แนวการจัดการศึกษา 1) ขยายบริการการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้กว้างขวางโดยเฉพาะในชนบท ห่างไกลและชุมชนแออัดในทุกจังหวัดโดยให้โรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงทั้งของรัฐและ ท้องถิ่นจัดบริการเตรียมความพร้อมสาหรับเด็กอย่างน้อย 1 ปีก่อนเข้าเรียนระดับ ประถมศึกษา 2) การส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูเด็กและ การเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างวัย 3) ส่งเสริมให้ครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันในชุมชนและ สื่อมวลชนร่วมกันในการปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่เหมาะสม และการชี้นาแนวทางที่ดีแก่ เด็กและเยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 4) พัฒนาระบบการนิเทศติดตาม และการประเมินผลการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาทุกระดับและทุกประเภท พร้อมทั้งเร่งรัดให้มีการนาผลการประเมินมาใช้ใน การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
  • 10. 142 2.5 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540–2544)ระบุว่า การพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกันจะต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียม ความพร้อมเด็กปฐมวัยไปจนตลอดชีวิตในส่วนของเด็กปฐมวัยจึงได้กาหนดเป้าหมายไว้ คือ “เพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพ” ระบุว่าจะมีการเตรียมความพร้อมโดย (สนอง ศิริกุลวัฒนา และสุวิชัย ศิริกุลวัฒนา. 2541 : 27) 1) สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชน คู่สมรส พ่อและแม่มีความรู้เกี่ยวกับชีวิต ครอบครัวและวิธีการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมโดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสาน การดาเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน 2) สนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กปฐมวัยได้รับบริการการ เตรียมความพร้อมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กสถานรับเลี้ยงเด็กในที่ทางานและ ในสถานประกอบการ โดยดาเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และ ครอบครัว 3) สนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการอย่างเพียงพอและ มี คุณภาพ 2.6 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8(2540–2544) ได้กาหนดนโยบาย เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยไว้ในแผนงานหลักที่ 1 การยกระดับการศึกษาพื้นฐานของปวงชน ดังนี้ (พิพัฒน์ วิเชียรสุวรรณ. มปป : 72 – 74) 1) วัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการการศึกษาขั้น พื้นฐานที่ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีครอบครัว เด็กแรกเกิดที่ควร ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องอันเป็นการศึกษาของเด็กตั้งแต่ปฐมวัยเรื่อยมาจนถึง การศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางเท่าเทียมกัน 2) เป้าหมาย เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 1 ปี ก่อน เข้าเรียนระดับประถมศึกษาก่อน พ.ศ. 2544 และขยายปริมาณการเข้าถึงบริการการศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษาของเด็กปฐมวัย (3 – 5 ปี) จากร้อยละ 65 เป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 90 ในปี พ.ศ. 2544 3) แนวทาง/มาตรการในการขยายบริการการเตรียมความพร้อมแก่เด็กปฐมวัย 1. จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว การวางแผนครอบครัว วิธีการเลี้ยงดูลูกที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ คู่สมรส พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวผ่านสื่อ ประเภทต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยให้หน่วยงานทางการศึกษาประสานและร่วมมือกับ สื่อมวลชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมเพื่อให้เกิด
  • 11. 143 ความตระหนักว่าการลงทุนพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ เป็นการลงทุนขั้นพื้นฐานที่สาคัญที่จะ เอื้อให้การพัฒนาในช่วงวัยต่อไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น 2. รัฐและองค์กรทางสังคมสนับสนุนให้เด็กได้รับอาหารหลักอาหารเสริมและนมอย่าง เพียงพอและมีคุณภาพโดยมีมาตรการเสริมเป็นพิเศษสาหรับเด็กที่อยู่ในสภาวะ ทุพโภชนาการและเด็กที่ด้อยฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม 3. ส่งเสริมสนับสนุนการเตรียมความพร้อมอย่างมีมาตรฐานให้แก่เด็กปฐมวัยใน รูปแบบที่หลากหลายโดยดาเนินการเป็นกระบวนการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ชุมชนและ ครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กด้อยโอกาสให้ได้รับบริการแบบให้เปล่า ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 นันทิยา น้อยจันทร์ (2549 : 66-67) ได้กล่าวถึง นโยบาย เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนี้ 1. นโยบาย นโยบายจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 0 – 5 ปี เพื่อให้เด็กทุกคนได้ พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมใน การจัดบริการให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นและผู้รับบริการ 2. เป้าหมาย เป้าหมายของการจัดการศึกษามีดังนี้ 1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ทุกคน 2. พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว ผู้เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ 3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กโดยตรง ได้แก่ ครู ผู้ดูแลเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็ก ผู้สูงอายุที่ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ 4. ชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนต่าง ๆ ผู้นาทางศาสนา อาสาสมัครในรูปแบบต่าง ๆ กลุ่มอาชีพ นักเรียน/เยาวชน ฯลฯ 5. สังคม ได้แก่ สถาบันทางสังคม สื่อมวลชน นักวิชาชีพและองค์กรวิชาชีพ ต่าง ๆ องค์กรของรัฐ องค์กรเอกชน ฯลฯ 3. ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาเด็กปฐมวัยต่ากว่า 3 ปี ใช้หลักการบ้านเป็นรากฐานในการเลี้ยงดู (Home based approach) ซึ่งบุคคลสำคัญคือ พ่อแม่ ผู้ปกครองและสมำชิกในครอบครัว 2. เด็กอายุ 3 – 5 ปี ใช้สถานพัฒนาเด็กหรือรูปแบบอื่นที่เป็นทั้งในระบบ นอก ระบบ และตามอัธยาศัย โดยให้ผู้ดูแลเด็ก ฯลฯ มีลักษณะเป็น “มืออาชีพ” และร่วมมือกับ พ่อแม่ ผู้ปกครองและครอบครัว
  • 12. 144 3. การพัฒนาเด็กอายุ 0- 5 ปี ที่ดีและมีคุณภาพต้องมีระบบการส่งต่อเพื่อ เชื่อมโยงจากบ้านไปศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียน 4. การพัฒนาความรู้และทักษะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอายุ 0 – 5 ปี 5. สร้างความพร้อมให้ชุมชนและท้องถิ่นสามารถดาเนินการจัดการศึกษาและ พัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. สังคมร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่วางแผน ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และประเมินผล 7. เมื่อชุมชนและท้องถิ่นมีความเข้มแข็งพอ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความรู้ ความสามารถ ให้รัฐกระจายความรับผิดชอบไปยังชุมชน ท้องถิ่น (ครอบครัว ชุมชน อบต. เทศบาล เอกชน องค์กรเอกชน และอื่น ๆ) ดาเนินการเต็มที่ในทุกด้าน รัฐจากัดบทบาทของ ตนเองให้เป็นผู้กาหนดนโยบาย รูปแบบ การตรวจสอบมาตรฐานการประเมินผล และ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ 2. หลักการและรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย การจัดการศึกษาปฐมวัยของประเทศไทย มีการจัดทั้งในระบบโรงเรียนและนอก ระบบโรงเรียน เพราะประเทศไทยมีทั้งชุมชนเมืองและชนบท รูปแบบการจัดการศึกษา ปฐมวัยจึงจัดหลาย ๆ รูปแบบตามความเหมาะสมของสภาพชุมชนรูปแบบที่นิยมจัด ได้แก่ 1. รูปแบบโรงเรียน การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบโรงเรียนมีเป้าหมายหลักอยู่ที่เด็กอายุ ระหว่าง 3 – 6 ขวบ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาการ และการเตรียม ความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาการดาเนินการที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐและเอกชน จะมีรูปแบบการจัด 2 ลักษณะ คือ 1.1 ชั้นอนุบาล เป็นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุก ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งลักษณะนิสัยต่าง ๆ โดยใช้ระยะเวลาในการจัดการศึกษาประมาณ 2 – 3 ปี สาหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี 1.2 ชั้นเตรียมประถมศึกษาหรือชั้นเด็กเล็ก เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียม ความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาโดยใช้ระยะเวลาในการจัด การศึกษา 1 ปี สาหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี
  • 13. 145 2. ศูนย์พัฒนาเด็ก การจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กนั้นมี เป้าหมายหลักอยู่ที่เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด – 6 ขวบ ที่ด้อยฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมซึ่ง ได้แก่ เด็กยากจนในเขตพื้นที่ชนบทห่างไกลและชนกลุ่มน้อย เด็กที่อยู่ใน ชุมชนแออัด และเด็กด้อยความสามารถทางด้านร่างกาย สมอง และจิตใจการจัด การศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็กมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์ อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายหลักในการดาเนินงานที่คล้ายคลึงกันสรุปได้ดังนี้ (อรุณี หรดาล. 2537 : 85) 2.1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย 2.2 เพื่อปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีและการปรับตัวเข้ากับสังคมนอกบ้าน รวมถึงให้สามารถ ช่วยเหลือ ตนเองได้ 2.3 เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ พ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก การ อบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธีการประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเพื่อป้องกันเด็กจาก โรคขาดสารอาหารทั้งการให้ภูมิคุ้มกันโรค และการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่ถูกต้อง 2.4 เพื่อกระตุ้นให้องค์กรท้องถิ่นและครอบครัวมีบทบาทในการพัฒนาและมีส่วน ร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก 2.5 เพื่อแบ่งเบาภาระการอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้สามารถใช้ เวลาในการประกอบอาชีพได้มากขึ้น การจัดบริการทางการศึกษาในรูปแบบอื่น เนื่องจากมีเด็กบางกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเข้ารับบริการการอบรมเลี้ยงดูจากโรงเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กจึงมีกิจกรรมที่จัดเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การพัฒนาเด็กโดยหน่วยงานพัฒนาเด็กเคลื่อนที่ ซึ่งจัดกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจ แก่พ่อแม่ผู้ปกครองด้วยวิธีการสาธิตฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กตามหลักวิชาการแผนใหม่ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้านหรืออาจจะดาเนินงานทางอ้อมในรูปของกิจกรรม การพัฒนาเด็กโดยครอบครัว โดยมี การร่วมมือกันในระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การพัฒนาเด็กมุ่งให้พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ความสามารถในการอบรม เลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้โดยร่วมกับอาสาสมัครหมู่บ้าน ผู้นาท้องถิ่น และ เยาวชนในหมู่บ้านจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กในครอบครัวของตนรวมทั้งนาความรู้ไป ถ่ายทอดแก่พ่อแม่และบุคคลอื่นด้วย
  • 14. 146 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยหลายรูปแบบ มีหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจ การจัดดาเนินงานการศึกษาปฐมวัยจึงมีหลาย หน่วยงานจัดดาเนินงานให้บริการแต่ละหน่วยงานที่จัดก็จะมีวัตถุประสงค์และการจัด ดาเนินงานที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานที่ให้การศึกษาในระบบโรงเรียน 1.1 โรงเรียนอนุบาลของรัฐ หน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบการจัดโรงเรียนใน ระดับชั้นอนุบาลและชั้นเด็กเล็กได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการทบวงมหาวิทยาลัยสานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมซึ่งแต่ละหน่วยงานมีลักษณะการจัดดังนี้ 1.1.1 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการมี หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัย คือ 1)โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของสานักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจาจังหวัดและโรงเรียน ประถมศึกษาที่อยู่ในหมู่บ้านจะรับเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เข้าเรียนในชั้นอนุบาล มี หลักสูตร 2 ปี คือ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 และชั้นอนุบาลปีที่ 2 หรือรับเด็กชายหญิงอายุ 5 – 6 ปี เข้าเรียนในชั้นเด็กเล็กหลักสูตร 1 ปี 2) โรงเรียนอนุบาลสาธิตของสถาบันราชภัฏ จัดการศึกษาปฐมวัยขึ้นเพื่อ เตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา และเพื่อแบ่งเบาภาระของ อาจารย์และ ข้าราชการในสถาบัน ใช้เป็นแหล่งฝึกงานสาหรับนักศึกษาวิชาเอกการศึกษา ปฐมวัย และเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับความเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ส่วนใหญ่จะ รับเด็กอายุตั้งแต่ 3 – 6 ปี เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุบาล 3 ปี แต่มีบางแห่งที่รับเด็กอายุ 4 – 6 ปี เข้าศึกษาโดยมีหลักสูตร 2 ปี 3) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาสาหรับเด็กขาดโอกาสที่จะเรียนในโรงเรียนปกติ ได้แก่ เด็กชาว ป่า เด็กชาวเขา เด็กชาวเรือ เด็กชาวเกาะ เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารหรือมีปัญหาทางสภาพ ภูมิศาสตร์ เด็กยากจนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนปกติ เด็กกาพร้าบิดาหรือมารดา ขาดผู้อุปการะ หรือเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในลักษณะอื่น ๆ การจัด การศึกษาจัด อยู่ในลักษณะหลักสูตรอนุบาล 2 ปี หรือหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก 1 ปี
  • 15. 147 1.1.2 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย ดาเนินงานการจัดการศึกษาในโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย โดยชั้นอนุบาลจะให้ การศึกษาแก่เด็กอายุ 3–6 ปี ในรูปแบบของชั้นอนุบาลในโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ใช้เวลาในการจัด 2 –3 ปี ในลักษณะเดียวกับโรงเรียนอนุบาลทั่วไป โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในด้านการเรียนการสอน 1.1.3 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของสานักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน สานักงาน ตารวจแห่งชาติรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวกดาเนินการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบโรงเรียนให้แก่เด็กอายุ 3 – 6 ปี ในหลักสูตรอนุบาลศึกษา 2 ปี และหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก 1 ปี เป็นการเตรียม ความพร้อมให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่ ประชาชนที่ ยากจนไกล การคมนาคมและส่งเสริมสุขภาพอนามัยตลอดจนโภชนาการที่ ถูกต้องในเด็ก 1.1.4 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม ได้แก่ โรงเรียนที่อยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งจัด การศึกษาปฐมวัยให้แก่เด็กอายุ 3 – 6 ปี ในโรงเรียนหมู่บ้านชาวไทยต่างวัฒนธรรมและ โรงเรียนในสถานสงเคราะห์เด็กเป็นการดูแลเด็กกาพร้าหรือเด็กถูกทอดทิ้งโดยมุ่งหวังให้ เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาโดยการเลี้ยงดู แก้ไขปัญหาให้การศึกษาเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ จัดหลักสูตร อนุบาล 2 ปี หรือหลักสูตรชั้นเด็กเล็ก 1 ปี 1.1.5 โรงเรียนอนุบาลของรัฐที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่ 1) โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครรับผิดชอบจัดการศึกษาในเขต กรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดดาเนินการสอนชั้นเด็กเล็กหลักสูตร 1 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเปิดรับเด็กเข้าเรียนในหลักสูตรอนุบาล 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าเรียน ในชั้นประถมศึกษา 2) โรงเรียนสังกัดเทศบาล อยู่ในความดูแลของสานักงานการศึกษา ท้องถิ่นเป็น ผู้รับผิดชอบดาเนินการจัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาให้แก่เด็กวัย 4 – 6 ปี หรือวัยก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับในเขตเทศบาลและเมืองพัทยาโดยจัดหลักสูตร อนุบาล 2 ปี และหลักสูตรเด็กเล็ก 1 ปี
  • 16. 148 1.2 โรงเรียนอนุบาลของเอกชนจะอยู่ในความดูแลของสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ เอกชนเป็นเจ้าของรับผิดชอบจัดการศึกษารับเด็ก อายุ 3 – 6 ปี โดยจัดหลักสูตรอนุบาล 3 ปี คือ อายุ 3 – 4 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุ 4 – 5 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5 – 6 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 2. หน่วยงานที่จัดการศึกษาในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็ก 2.1 หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์พัฒนาเด็ก มีดังต่อไปนี้ 2.1.1 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดเป็น โครงการของกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการสอนเด็กก่อนเกณฑ์ที่จะเข้ารับ การศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายทั้งชาย-หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปี ถึงอายุย่างเข้าปีที่ 6เพื่อ อบรมเลี้ยงดูกล่อมเกลานิสัย โดยปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรรม และประเพณี อันดีงามของไทยให้แก่เด็กทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม เพื่อช่วยเหลือ บิดามารดาที่ทางานนอกบ้านผู้ดาเนินงานคือเจ้าอาวาสมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ปฏิบัติงานศูนย์นี้จะ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมการศาสนา 2.1.2 สถานสงเคราะห์เด็กก่อนวัยเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของ กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน จัดบริการการศึกษาแก่เด็กอายุ 2 – 6 ปี ที่ไม่ สามารถรับบริการการศึกษาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาโดยตรงจัดบริการใน เขตพื้นที่ที่เป็นจังหวัดชายแดนและมีกองร้อยตารวจตระเวนชายแดนตั้งอยู่ หรือพื้นที่ เป้าหมายเพื่อความมั่นคงตามแผนมหาดไทยแม่บทฉบับที่ 4 การจัดบริการนี้จะอยู่ในรูป ของการศึกษานอกระบบโรงเรียน 2.1.3 สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนของกรมประชาสงเคราะห์ ให้การอนุบาลเลี้ยง ดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็กชาย – หญิง อายุตั้งแต่แรกเกิด – 6 ขวบ ที่มีปัญหาด้านการ เลี้ยงดูจากพ่อแม่หรือเป็นเด็กพิการ โดยมุ่งหวังให้เด็กได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา หน่วยงานที่จัด ได้แก่ กองสงเคราะห์เด็กและบุคคล วัยรุ่น กองสงเคราะห์ชาวเขากองนิคมสร้างตนเอง และกองบริการชุมชน เป็นต้น 2.1.4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมการพัฒนาชุมชน สังกัดกระทรวงมหาดไทยมี กองพัฒนาสตรีเด็กและเยาวชนเป็นผู้รับผิดชอบดาเนินงาน โดยสนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กในตาบลหมู่บ้านเพื่อรับเลี้ยงดูเด็กอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ให้มีพัฒนาการทั้ง
  • 17. 149 ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีการเตรียมความพร้อมเด็กในลักษณะ เล่นปนเรียนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้สาหรับเด็ก และเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ที่ ออกไปทางานนอกบ้าน ศูนย์นี้มีผู้ดูแลเด็กทาหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กในอัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก 1 คนต่อเด็ก 20 – 25 คน โดยได้รับค่าตอบแทนจากกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ปกครอง และ ชุมชน คณะกรรมการพัฒนาเด็กเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้ การควบคุมดูแลของกรรมการหมู่บ้านและกรรมการสภาตาบล 2.1.5 สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันของสานักอนามัยกรุงเทพมหานคร ให้บริการ แก่เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน จากครอบครัวยากจนและขาดอาหารเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ อนามัย โภชนาการ ด้านการพัฒนาจิตใจสติปัญญาและสังคม ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อแม่และลูก โดยมีพี่เลี้ยงเด็กเป็นตัวประสานระหว่างพ่อแม่และลูก ช่วยชี้แนะเกี่ยวกับ การเลี้ยงดูเด็ก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาและเสริมสร้าง พฤติกรรมของเด็กด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้และทักษะการทางาน (อรุณี หรดาล. 2537 : 88) 2.1.6 สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันของสานักสวัสดิการสังคมกรุงเทพมหานคร ให้บริการแก่เด็กอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ในชุมชนแออัดและเขตรอบนอก เพื่อเตรียม ความพร้อมแก่เด็กก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาโดยใช้แนวการจัดประสบการณ์ของ สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมุ่งพัฒนาความพร้อมทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญามากกว่าการอ่านออกเขียนได้ 2.1.7 บ้านเด็กสาธิตของสถาบันราชภัฏ จัดบริการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัย 2 – 3 ปี จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับความเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เป็นแหล่ง สาธิตและฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาเอกการศึกษาปฐมวัย มีครูจานวน 1 คน และพี่เลี้ยง 1 – 2 คน ดูแลเด็กประมาณกลุ่มละ 20 คน 2.2 หน่วยงานภาคเอกชน การจัดศูนย์พัฒนาเด็กของภาคเอกชนมีการจัด ดาเนินงานใน 2 ลักษณะ คือ 2.2.1 ศูนย์เด็กขององค์กร อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ มูลนิธิ สมาคมและบริษัท ศูนย์เด็กขององค์กรส่วนใหญ่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานของ องค์กรและการสงเคราะห์เด็กรับเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 2 – 6 ปี ดาเนินการโดย คณะกรรมการขององค์การที่มีพี่เลี้ยงเป็นผู้ปฏิบัติงานมีหน่วยงานที่ให้บริการ เช่น มูลนิธิ เด็กมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กสหทัยมูลนิธิ โสสะมูลนิธิ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรม ราชินูปถัมภ์ เป็นต้น
  • 18. 150 2.2.2 ศูนย์เด็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็กของเอกชน ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชุมชน เมืองจัดบริการเพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง มีขอบเขตการให้บริการตั้งแต่เด็กวัยแรกเกิด จนถึง 6 ปี โดยศูนย์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละแห่งอาจจะรับเลี้ยงเด็กในช่วงอายุแตกต่าง กันแต่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 3 ปี เพราะเด็กที่มีอายุ 3 ปี ขึ้น ไป มักเข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียน การดาเนินงานเป็นการให้บริการเชิงธุรกิจ มี กรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้ดูแลควบคุมให้ดาเนินงานด้วยดีมีประสิทธิภาพและถูกต้อง กฎหมาย 3. การจัดบริการทางการศึกษาในรูปแบบอื่น 3.1 หน่วยงานของรัฐ มีการให้บริการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรม เลี้ยงดูเด็กแก่ พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมุ่งให้องค์กรท้องถิ่นอาสาสมัครพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือ บุคคลในครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรม เช่น กิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เคลื่อนที่กิจกรรมการพัฒนาเด็กโดยครอบครัวและกิจกรรมการผลิตและใช้สื่อเพื่อ การพัฒนาเด็กของกรมการพัฒนาชุมชน 3.2 ภาคเอกชนหรือองค์กรเอกชน ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กและ ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนขึ้น ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก 50 องค์กร สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนมีหน้าที่ ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกาหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนในภาคเอกชน ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมขององค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ยังมีคณะทางานด้านเด็กซึ่งประกอบด้วยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ดังนี้ คือมูลนิธิเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพีริยานุเคราะห์ มูลนิธิ สมาคมสงเคราะห์เด็กกาพร้าแห่งประเทศ ไทยมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย มูลนิธิมิตรมวลชน โสสะมูลนิธิแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิแสงสวรรค์สงเคราะห์ มูลนิธิ เด็กกาพร้าอีสาน มูลนิธิภราดรบาเพ็ญเพื่อเด็กกาพร้าบ้านศรีธรรมราช มูลนิธิสงเคราะห์ เด็กกาพร้าอนาถานครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนหน่วยฝากเลี้ยง เป็น ต้น โดยมีเป้าหมายหลักในการทางานเพื่อพัฒนาเด็กโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ทั้ง เด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทารุณกรรมถูกทอดทิ้ง ฯลฯ 3.3 องค์การระหว่างประเทศให้ความสนับสนุนด้านเงินทุน วิชาการและเทคโนโลยี ต่างๆ แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยเพื่อดาเนินการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้วย เช่นเดียวกัน
  • 19. 151 4. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดหลาย หน่วยงานเพราะหลักสูตรการศึกษาในระดับนี้ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ แต่ ละ หน่วยงานที่จัดการศึกษาในระดับนี้จึงมีอิสระในการจัดสร้างหรือเลือกใช้หลักสูตร หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเรียกว่าแนวการจัดประสบการณ์มี ลักษณะดังนี้ 1. หลักสูตรสาหรับโรงเรียนอนุบาล หลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนที่จัดชั้นอนุบาลมีหน่วยงานที่จัดสร้างหลายหน่วยงาน เช่น สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สานักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชนสานักงานการศึกษาท้องถิ่น (เทศบาล) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง หลักสูตรของหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยอย่างกว้างขวางทั่ว ประเทศคือ หลักสูตรของสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สานักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชนและกรมวิชาการ 1.1สานักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้ปรับปรุงแนวการจัด ประสบการณ์ ชั้นอนุบาลศึกษา พ.ศ. 2536 และแนวการจัดประสบการณ์ชั้นเด็กเล็ก พ.ศ. 2534 เพื่อให้ครูใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น โดย สามารถพิจารณายืดหยุ่นกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเด็กโดยมี เป้าหมายเพื่อให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จากการจัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการที่ถูกกาหนดขึ้นเป็นหน่วยการสอนเพื่อให้เด็กได้ ทากิจกรรมกิจวัตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยรูปแบบของการจัด กิจกรรมจะเป็นการใช้กิจกรรมประจาวัน และจัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัว ได้ดี และขณะเดียวกันเด็กสามารถยังได้ทากิจวัตรประจาวันได้ครบถ้วน กิจกรรม ประจาวันที่จัดให้เด็กนั้นจะมีทั้งกิจกรรมหลักและกิจกรรมรอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิจกรรมในตาราง และกิจกรรมนอกตาราง กิจกรรมในตาราง ได้แก่ กิจกรรมการสนทนา ข่าว กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมในวงกลม กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง การพักผ่อน และกิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมนอกตาราง ได้แก่ กิจกรรมการร้องเพลง การเล่านิทาน การท่องคาคล้องจอง กิจกรรมบทบาทสมมุติ กิจกรรมการเล่านิทาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริม เช่น การรับ – ส่ง เด็ก ของครูที่รับผิดชอบ การตรวจสุขภาพเด็ก การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น จึงขอเสนอที่จัดดังภาพที่ 1