SlideShare a Scribd company logo
1 of 81
Download to read offline
แม่นาก...ตานานคู่เมืองไทย
เสนอ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาล
รายงานการศึกษารายบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 03426034 การศึกษารายบุคคล
สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีการศึกษา 2555
แม่นาก...ตานานคู่เมืองไทย
THE LEGEND OF MAE NAK PRAKANONG
เสนอ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาล
รายงานการศึกษารายบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 03426034 การศึกษารายบุคคล
สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีการศึกษา 2555
กลุ่มที่ 60
สมาชิก
นายชนินทร์วุฒิ กาลจักร รหัสนักศึกษา 54010278
นายธฤต อุสาหะนันท์ รหัสนักศึกษา 54010602
นายวรภัทร พนาเจริญวงศ์ รหัสนักศึกษา 54011125
นายวันเฉลิม เศรษฐกุลวดี รหัสนักศึกษา 54011181
นายวันชัย ศิริแสงชัยกุล รหัสนักศึกษา 54011183
นายวีรภัทร เทียนดา รหัสนักศึกษา 54011222
นางสาวศศธร โกศลศักดิ์สกุล รหัสนักศึกษา 54011258
นายศักดา แก้วสุทัศน์ รหัสนักศึกษา 54011262
นางสาวภัทรศยา บุญญกาศ รหัสนักศึกษา 54040192
นาวสาวทิวตะวัน จันทร์ศรี รหัสนักศึกษา 54040514
นายเทพศรินทร์ วรกิตต์ธนัญธร รหัสนักศึกษา 54050873
(1)
บทคัดย่อ
ศาลย่านาค ตั้งอยู่ ณ วัดมหาบุศย์ ซึ่งอยู่บนถนนอ่อนนุชซอย 7 เข้าซอยไปเพียง 100 ม.
(ถ.อ่อนนุชก็คือสุขุมวิท 77) ปากซอยอ่อนนุช 7 จะมีป้ายเขียนว่า "วัดมหาบุศย์ (แม่นาคพระโขนง)
ทั้งยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สาหรับผู้ชอบเสี่ยงในโชคลาภ และขอพรให้ความรักยั่งยืน เล่ากันว่า
วัดมหาบุศย์ เป็นวัดราษฎร์ที่เก่าแก่ สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2305 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
โดย พระมหาบุตร วัดเลียบ ที่ได้เดินทางมาเยี่ยมญาติโยมของท่านในคลองพระโขน งชาวบ้านรู้ข่าว
จึงได้นิมนต์ให้อยู่ และนาสร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า “วัดมหาบุศย์”ตามชื่อของท่าน ปัจจุบันย่านสุขุมวิท
77 กลายเป็นย่านตัวเมืองที่มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น การจราจรค่อนข้างจะแออัดพร้อมด้วยรูปแบบ
การคมนาคมที่หลากหลาย ทั้งรถโดยสาร เรือ รถไฟฟ้า ฯลฯ ส่วนมากริมถนนสุขุมวิทจะเป็นย่าน
ร้านค้า โดยมีลูกค้าซึ่งสัญจรไปมาตลอดวัน ส่วนหนึ่งก็มายังวัดมหาบุศย์เพื่อมาสักการะย่านาค มีทั้ง
คนไทยและชาวต่างชาติซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว เมื่อคณะผู้วิจัยได้ดาเนินการสารวจที่วัดมหาบุศย์และ
บริเวณรอบๆด้วยวิธีสารวจความคิดเห็นเพื่อหาสาเหตุที่ตานานแม่นาคยังคงเล่าขานสืบเนื่องและ
กลายเป็นความเชื่อที่ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลาทาให้พบสาเหตุที่ตานานยังคงเล่าขานถึงปัจจุบัน
ทราบความเป็นมาของตานานและความเชื่อของคนในพื้นที่ วิธีการดาเนินชีวิตของชาวบ้านในบริเวณ
ใกล้เคียงกับศาลย่านาค ตลอดจนเป็นการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคคลที่อาศัยอยู่ใน
บริเวณวัดมหาบุศย์และมีความผูกพันกับความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของแม่นาคพระโขนง จากข้อมูลพบว่า
คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเชื่อและศรัทราอันแรงกล้าต่อศาลย่านาคเป็นอย่างมากและเชื่อว่าตานาน
ดังกล่าวเป็นเรื่องจริง
(2)
กิตติกรรมประกาศ
งานศึกษาเรื่องแม่นาค...ตานานคู่เมืองไทยฉบับนี้สาเร็จได้โดยสมบูรณ์ด้วยความกรุณาของ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาล อาจารย์ผู้ควบคุมงานงานศึกษาผู้ให้ความเมตตาอบรม
สั่งสอน ให้คาปรึกษา ชี้แนะแนวทางในการดาเนินงาน แนะนาและตรวจแก้ไขข้อบกพร่อง จนงาน
ศึกษาฉบับนี้สาเร็จได้ด้วยความเรียบร้อยสมบูรณ์ คณะผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของท่านเป็น
อย่างยิ่งและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณคุณลุงชัย ผู้ดูแลศาลย่านาคพระโขนง วัดมหาบุศย์ ท่านได้ในความกรุณาเป็น
อย่างยิ่งกับคณะผู้ศึกษา อานวยความสะดวกในการลงพื้นที่และอนุญาตให้มีการถ่ายทา, บันทึกวิดีโอ,
ถ่ายรูป และแนะนาการเก็บข้อมูล ซึ่งทาให้เป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ทาให้งานศึกษาฉบับนี้สมบูรณ์
ยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณอาจารย์ตรีรัตน์ หมอดูบริเวณศาลย่านาคพระโขนง กับประสบการณ์ของตัว
ท่านที่ได้พบมาโดยตรงมาเล่าให้คณะผู้ศึกษาได้มีความรู้เพิ่มเติม และทาให้ทราบเรื่องราวให้แง่มุม
ต่างๆ ทาให้งานศึกษาฉบับนี้สมบูรณ์ขึ้น
ขอขอบพระคุณ คุณเสาวลักษณ์ บาร์เทลล์ จากจังหวัดอุดรธานี ผู้ที่มาแก้บนในวันที่คณะผู้
ศึกษาลงสารวจ และช่วยเล่าประสบการณ์โดยตรงแก่คณะผู้ศึกษา
ประโยชน์ คุณค่า รวมทั้งความดีทั้งปวงอันเกิดจากงานศึกษาฉบับนี้คณะผู้ศึกษาขอมอบแด่
บุพการีและผู้มีพระคุณทุกท่าน
คณะผู้จัดทา
(3)
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ (1)
กิตติกรรมประกาศ (2)
สารบัญ (3)
สารบัญ(ต่อ) (4)
สารบัญ(ต่อ) (5)
บทที่ 1 บทนา 1
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา 1
คาสาคัญ 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2
ขอบเขตของการศึกษา 2
ข้อจากัดของการศึกษา 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง 4
แม่นาคพระโขนง 4
ภาพยนตร์, นิยาย, เรื่องเล่าและเรื่องจริง 5
วัดมหาบุศย์ 10
เรื่องเล่าจากผู้ที่ไปสักการบูชา 17
(4)
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
เปิดตานานปั้นเหน่งแม่นาค ชิ้นส่วนกะโหลกหน้าผากแม่นาค 18
บทที่ 3 วิธีดาเนินการศึกษา 21
วิธีการศึกษา 21
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 21
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 22
การเก็บรวบรวมข้อมูล 22
สถิติที่ใช้ในการศึกษา 23
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24
ภาพการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24
สรุปผลการวิเคราะห์ 28
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษารายบุคคลและข้อเสนอแนะ 30
สรุปผลการศึกษา 30
อภิปรายผลการศึกษา 31
ข้อเสนอแนะ 31
(5)
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
บรรณานุกรม 33
ภาคผนวก 34
ภาคผนวก ก ภาพการประชุม 35
ภาคผนวก ข ภาพการสารวจสถานที่ 40
ภาคผนวก ค ภาพการดาเนินงาน 47
ภาคผนวก ง ภาพการสักการบูชาและขอขมาในการถ่ายทาและทาการศึกษา 54
ภาคผนวก ฉ ตัวอย่างแบบสารวจและการสารวจ 57
ภาคผนวก ช ประวัติย่อผู้ศึกษา 60
ภาคผนวก ซ แผนที่การเดินทาง 72
บทที่ 1
บทนา
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
“พี่มาก…พระโขนง” หนังผีย้อนยุคแบบสนุกปนสยอง ได้ฝากรอยยิ้ม เสียงหัวเราะและหยด
น้้าตาไว้ให้คนไทยเป็นจ้านวนมาก หนังเรื่องใหม่ของค่าย GTH ได้สร้างกระแสฮิตที่สุดในรอบปี ไม่ว่า
จะเป็นค้าพูดติดปากอย่าง “พี่มากขาาาาาาาา….” จนท้ารายได้ทะลุไปถึง 500 ล้านบาท นับเป็นหนัง
ไทยเรื่องแรกที่มีรายได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้ว่าสังคมไทยจะถูกพัดพาไปกับโลกของ
เทคโนโลยีมากมาย แต่ในด้านความเชื่อในสิ่งลี้ลับก็ยังคงมีอยู่ และปรากฏให้เห็นในรูปของบทละคร
บทภาพยนตร์ดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น ส้าหรับเรื่องราวที่คนไทยเกือบทั้งประเทศรู้จักและคุ้นเคยกันดี
อย่าง “ต้านานรักแม่นาคพระโขนง" นั้น เพราะทั้งค้าเล่าขานที่ถูกเล่า และละครสร้างต่อๆ กันมา
หลายยุคสมัย รวมถึงศาลของแม่นาค ณ วัดมหาบุศย์ ที่ยังคงมีผู้คนแวะเวียนมา สักการบูชาอย่าง ไม่
ขาดสาย ทั้งหมดทั้งมวลนี้เองต่างก็เป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนว่า ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนงยังคง
ปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจึงได้ท้าการศึกษาประวัติของแม่นาครวม
ไปถึงวัดมหาบุศย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาล “ย่านาค” ในสังคมไทยเต็มไปด้วยเรื่องลี้ลับและสิ่งที่ไม่สามารถ
พิสูจน์ได้ สังคมด้ารงอยู่บนกฎหมายและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมไปถึงความเชื่อเกี่ยวกับ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ “แม่นาคพระโขนง” อาจเป็นเพียงแค่ต้านานหรือเรื่องจริง เราไม่สามารถที่จะพิสูจน์
ได้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคนว่าจะมีความคิดในรูปแบบใด สิ่งที่เราได้รู้จากต้านานของแม่นาค
นั้นสะท้อนให้เห็นถึงการด้ารงอยู่ของหญิงไทยในสมัยโบราณ ขนมธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ความเชื่อ
เกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือความรักและความซื่อสัตย์ที่นางนาคมีต่อสามี ซึ่งเป็น
แบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง ความเชื่อ เรื่องเล่า หรือต้านาน “แม่นาคพระโขนง”นั้น จะส่งผลถึงการใช้
ชีวิตของคนไทยซักเพียงใด เป็นเรื่องที่น่าสนใจและติดตามเป็นอย่างยิ่ง
คาสาคัญ
แม่นาคพระโขนง , วัดมหาบุศย์
2
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. ศึกษาความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวเรื่อง “แม่นาคพระโขนง” ว่าเหตุใดยังอยู่เคียงคู่กับ
ประเทศไทยไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานหลายร้อยปี
2. สํารวจสถานที่สําคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับตํานานแม่นาคพระโขนงรวมถึงละแวก
ใกล้เคียงกับวัดมหาบุศย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาล “ย่านาค”
3. ศึกษาการใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของผู้คนที่มีศรัทราและความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง “แม่นาคพระ-
โขนง” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับ วัดมหาบุศย์
4. ศึกษาหลักความเชื่อต่างๆ ตํานาน และข้อเท็จจริง ของตํานาน “แม่นาคพระโขนง”
5. นําข้อมูลที่วิจัยได้ ไปประยุกต์ใช้ต่อในอนาคต
ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษามีขอบเขตของการศึกษาดังนี้คือ ขอบเขตด้านเนื้อหาซึ่งเราได้ทําการศึกษาความ
เชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับเรื่อง “แม่นาคพระโขนง” ว่าเหตุใดยังอยู่คู่กับประเทศไทยแม้เวลาจะผ่านมา
นับร้อยๆปีรวมถึงสํารวจสถานที่สําคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับ “ตํานานแม่นาคพระโขนง” และบริเวณ
วัดมหาบุศย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลย่านาค กําหนดวัดมหาบุศย์และบริเวณรอบๆเป็นขอบเขตด้านสถานที่
โดยขอบเขตด้านประชากร เราจะศึกษาจากกลุ่มคนที่มีถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียงกับวัด
มหาบุศย์รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศรัทราต่อความเชื่อเกี่ยวกับแม่นาค ตั้งขอบเขตด้านเวลา
ประมาณ 10.00 น- 15.00 น. ซึ่งเป็นเวลาในตอนกลางวันและมีผู้เข้ามาสักการบูชาเป็นจํานวนมาก
ข้อจากัดของการศึกษา
เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทําให้พื้นที่บริเวณศาลย่านาค และบ้านเรือนละแวกนั้น
เกิดความเจริญและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา รวมถึงการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปของชาวบ้านแถว
นั้นเพื่อให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน ภาพที่ถ่ายมาอาจไม่สามารถหาบรรยากาศที่เหมือนกับสมัยก่อนได้
แต่ยังคงใกล้เคียงกับสมัยก่อน
3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. จากการศึกษาทําให้เราทราบสาเหตุที่ทําให้ตํานานและความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง “แม่นาค
พระโขนง” อยู่คู่กับคนไทยมานานหลายร้อยปี
2. จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ จะทําให้เราสามารถปรับปรุงและสามารถต่อยอด
แผนพัฒนาพื้นที่เพื่อเปลี่ยนบริเวณละแวกใกล้เคียงกับวัดมหาบุศย์ให้กลายเป็นสถานที่
ท่องเที่ยวซึ่งผสมผสานความเชื่อของแม่นาคพระโขนงอย่างกลมกลืน
3. สามารถเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่มีศรัทราเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง
“แม่นาคพระโขนง”
4. ได้รับความรู้ เกี่ยวกับตํานาน สิ่งลี้ลับรวมถึงความเชื่อส่วนบุคคลและเรื่องเล่าเกี่ยวกับ
ศาลย่านาค
5. ฝึกความสามัคคีและการทํางานร่วมกับคนหมู่มาก
บทที่ 2
เอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
งานศึกษาในครั้งนี้ คณะผู้จัดทาได้ศึกษาเอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง และได้นาเสนอ
ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
แม่นาคพระโขนง
แม่นาคพระโขนง เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของไทย เชื่อว่า
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตัวตน
อยู่จริง ปัจจุบันมี ศาลแม่นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานครแม่นาคพระโขนง
เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของไทย เชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงใน
ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตัวตนอยู่จริง ปัจจุบันมีศาลแม่-
นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร เรื่องราวของแม่นาคพระโขนงเป็นที่รู้จัก
กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว เพราะมีหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีคนรู้จักแม่นาคพระโขนง
มากกว่าบุคคลสาคัญของบ้านเมืองเสียด้วยซ้า
ที่กล่าวดังนี้ ก็เนื่องจาก สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ได้ทรงเล่าให้หม่อมเจ้าพูน -
พิศมัย ดิสกุล ฟังว่าในสมัยที่พระองค์ท่านยังเป็นนายทหารประจาอยู่ในพระบรมมหาราชวังนั้นมีเจ้าพี่
เจ้าน้องมาประทับคุยด้วยอยู่ใกล้วังกับประตูบ่อยๆ ทรงเห็นมีคนเข้าออกประตูวังเนืองแน่นอยู่เสมอ
ก็ทรงคิดกันว่าน่าจะทดลองความรู้คนเหล่านั้นดูจึงทรงจดชื่อบุคคล๔ คนคือ
๑.ท่านขรัวโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆัง)
๒.พระพุทธยอดฟ้า (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่๑)
๓.จาไม่ได้ว่าใคร
๔.อีนาคพระโขนง
5
แล้วให้คนไปคอยถามผู้ที่เข้าออกประตูวังทุกคนว่า ตามรายชื่อทั้ง ๔ คนนั้น รู้จักใครบ้าง
ความมีชื่อเสียงของแม่นาคได้ทําให้วัดมหาบุศย์ ริมคลองประเวศ บุรีรัมย์ แขวงพระโขนง เขตพระ-
โขนง กรุงเทพมหานครพลอยเป็นที่รู้จักของคนทั้งหลายด้วย ในฐานะเป็นวัดที่ฝังศพแม่นาควัดมหา-
บุศย์นี้ พระศรีสมโภชน์ (พระศรีสมโพธิ) เจ้าคณะวัดสุวรรณฯ เป็นผู้สร้าง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒
ในขณะที่ท่านยังเป็นพระมหาบุศย์
ภาพยนตร์, นิยาย, เรื่องเล่าและเรื่องจริง
เรื่องราวของแม่นาคมีทั้งที่เป็นนิยายและภาพยนตร์ บุคคลแรกที่ทําให้ "แม่นาคพระโขนง"
โด่งดังขึ้นมา ก็คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ พระองค์ท่านทรงนําเรื่อง
'อีนาคพระโขนง' ออกแสดงเป็นละครเวทีที่โรงละครปรีดาลัยจนเกรียวกราวได้รับการต้อนรับจากดู
เป็นอย่างมาก จนต้องแสดงซ้ําถึง ๒๔ คืน
ในนิยาย กล่าวถึงแม่นาคว่าที่พระโขนง มีเศรษฐีสองสามีภรรยาชื่อตามั่นกับยายมี (หมี) ทั้ง
สองมีลูกสาวที่สวยที่สุดในย่านพระโขนง จึงมีหนุ่มๆมาติดพันหลายคน มากก็เป็นคนหนึ่งในจํานวนนั้น
แต่เพราะหนุ่มมากชอบประพฤติกรรมตัวเป็นนักเลงโต ตามั่นจึงพยายามกีดกันและตัดการหมั้นทอง
นาคให้กับเสี่ยย้งทองนาคจึงตัดสินใจ หนีตามหนุ่มมาก ในวันที่เสี่ยย้งยกขบวนขันหมากมา หลังจากได้
ทองนาคมาเป็นภรรยา มากก็กลับตัวเป็นคนดี ขยันขันแข็งทํามาหากิน ทั้งสองจึงอยู่กันอย่างมี
ความสุข ต่อมาทองนาคตั้งท้อง ก็พอดีมากถูกเกณฑ์ทหาร มากต้องไปเป็นทหาร จึงฝากลุงกับปูาชื่อ
ตาหอยกับยายหมาให้ช่วยดูแลทองนาค(เพราะบิดามารดาของมาก เสียไปแล้ว จึงต้องมาฝากลุงกับปูา
ให้ช่วยดูแลภรรยา) ตาหอยยายหมาเป็นห่วงหลานสะใภ้ จึงรับทองนาคไปอยู่ด้วย ทองนาคเป็น
คนขยันขันแข็งถึงกําลังท้องไส้ ก็ยังช่วยหาบขนมขายทุกวัน จนกระทั่งกลางดึกคืนหนึ่งทองนาคเกิด
เจ็บท้องจะคลอดลูก ตาหอยจึงรีบไปตามหมอตําแย(หญิงที่ช่วยทําคลอดสมัยก่อน) ชื่อยายจั่น มาทํา
คลอดให้ แต่ยายจั่นไม่สามรถทําอะไรได้เพราะเด็กในท้องขวางตัว และทองนาคไม่มีลมเบ่ง ในที่สุด
ทองนาคก็ขาดใจตายทั้งที่ลูกยังอยู่ในท้อง การตายลักษณะนี้เรียกว่า ตายทั้งกลม ซึ่งเชื่อกันว่า ผีพวก
นี้แรงทั้งแม่ทั้งลูกในวันฝังทองนาค นายทุย(เพื่อนของมากที่ถูกเกณฑ์ทหารด้วยกัน) ได้กลับมาบ้านที่
พระโขนง และมาทันช่วยหามศพทองนาคไปฝังที่ปุาช้าวัดมหาบุศย์
หลังจากนั้นพอตกดึก ชาวบ้านใกล้วัดมหาบุศย์ก็จะได้ยินเสียงทองนาคเห่กล่อมลูกอยู่ที่โคน
ต้นตะเคียนใกล้คลอง ด้วยสําเนียงอันโหยหวน มีเสียงเด็กร้องไห้ ประสานด้วยเสียงหมาหอน
6
ในตอนแรก ทองนาคก็ไม้ได้ดุร้ายอะไรนัก จนกระทั่งลูกชายของนางไปเล่นกับเด็กวัดแล้วถูก
เด็กวัดรังแกนางจึงหลอกพวก เด็กวัด ด้วยการยื่นมือยาวๆ จะจับเท่านั้น แต่ไม่ได้ทําอะไรรุนแรง ทํา
เอาพวกเด็กวัดจับไข้กันเป็นแถว แต่รายที่ทองนาคเล่นงานอย่างจริงจังก็คือ เสี่ยย้ง เพราะเสี่ยย้งเคย
ปลุกปล้ํานางมาครั้งหนึ่ง นางทองนาคจึงบีบคอเสี่ยย้งจนตาย เมื่อมากกลับมาที่พระโขนง ก็พบทอง
นาครอรับอยู่ที่บ้าน มากจึงไม่ยอมเชื่อ เมื่อใครต่อใครบอกว่าทองนาคตายแล้ว จนตาหอยผู้เป็นลุงต้อง
แนะนําว่า จะเชื่อหรือไม่ ก็ให้ทดลองดู เวลานางทองนาคตําน้ําพริก ให้แอบบีบมะนาวลงไป ถ้า
ผีเป็นผู้ทําก็จะมีหนอน มากแอบทดลองดู ก็ปรากฏว่าในน้ําพริกมีหนอนจริงๆ แต่เขายังไม่ยอมเชื่อ จน
วันหนึ่งขณะที่นางนากตําน้ําพริกอยู่บนบ้าน นางนากทํามะนาวตกลงไปใต้ถุนบ้าน ด้วยความรีบร้อน
นางจึงเอื้อมมือยาวลงมาจากร่องบนพื้นเรือนเพื่อเก็บมะนาวที่อยู่ใต้ถุนบ้าน นายมากขณะนั้น บังเอิญ
ผ่านมาเห็นพอดี จึงปักใจเชื่ออย่างเต็มร้อย ว่าเมียตัวเองเป็นผีตามที่ชาวบ้านว่ากัน นายมากวางแผน
หลบหนีผีนางนาก โดยการแอบเจาะตุ่มใส่น้ําให้รั่วแล้วเอาดินอุดไว้ พอตกกลางคืนหลอกนางนากว่า
จะปลดทุกข์เบา แล้วแกะดินที่อุดตุ่มไว้ให้น้ําไหลออกเหมือนคนปลดทุกข์เบา จากนั้นจึงแอบหนีไปหา
นายทุยที่บ้าน
ทองนาครู้ว่ามากหนี ก็ตามไปที่บ้านของทุย ทุยกับมากจึงต้องพากันหนีอีก นางก็ติดตามไม่
ลดละจนทั้งสองหนุ่มวิ่งหนีฝุาเข้าไปในดงหนาด(ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่เป็นขน มีกลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้
ถือกันว่าผีกลัว) นางจึงไม่กล้าติดตามเข้าไป แต่ยังรออยู่นอกดงหนาด แล้วเรียกเสียงเย็นๆ ว่า
พี่มากขาาาาา...
จนรุ่งเช้า นางจึงจําใจจากไปเพราะกลัวแสงแดด ส่วนสองหนุ่มที่หลบภัยอยู่ในดงหนาดนั้น
สมภารคงวัดมหาบุศย์ออกบิณฑบาตผ่านมาพบเข้า ก็ช่วยพากลับไปที่วัด และให้พระเณรช่วยกันวง
ด้านสายสิญจน์ตั้งบาตรน้ํามนต์ให้พระมานั่งล้อมมากกับ ทุยแล้วสวดพระปริตร ตกกลางคืนทองนาคก็
มาจริงๆแต่ไม่สามารถฝุาวงสานสิญจน์เข้าไปหามากได้ ทําให้นางโกรธมาก และเที่ยวปรากฏตัวหลอก
หลอนผู้คนที่พายเรือผ่านหน้าวัด จนไม่มีใครกล้าผ่านไปแถวนั้น และชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดก็ต้องอพยพ
หนีไปอยู่ที่อื่น พระสงฆ์องค์เจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วย (คงเป็นเพราะชาวบ้านย้ายหนีไปหมด เลยไม่มี
ใครใส่บาตร พระสงฆ์เลยลําบาก) ต้องย้ายไปอยู่วัดอื่น วัดมหาบุศย์แทบจะกลายเป็นวัดร้าง เหลืออยู่
แต่สมภารคงรูปเดียว ข่าวความดุร้ายของทองนาค เล่าลือกันไปทั่วกัน จนรู้ถึงหมอผีชื่อดังคนหนึ่งชื่อ
แหยม หมอแหยม พาเจ้าเปลี่ยนลูกศิษย์ที่วัดมหาบุศย์เพื่อจะปราบผีแม่ทองนาค แต่กลับถูกทองนาค
หักคอตายส่วนเจ้าเปลี่ยน กลายเป็นบ้าไป แต่ในที่สุด ผีแม่ทองนาคก็ถูกปราบลงจนได้ โดยเณรจิ๋วซึ่ง
มาแต่เมืองเหนือเณรจิ๋วได้ใช้วิชาอาคมเรียกทองนาคลงหม้อเอาไปถ่วงน้ําได้สําเร็จ
7
เรื่องแม่นาคในนิยายก็จบลงเพียงเท่านี้ แต่มีคําเล่าลือบางกระแสว่าผู้ที่ปราบผีแม่นาค ไม่ใช่
เณรจิ๋ว ทว่าเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆัง เล่ากันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ท่านรู้ข่าว
การอาละวาดของผีแม่นาคซึ่งก่อความหวาดกลัวและเดือดร้อนแก่ชาวบ้านแถววัดมหาบุศย์ เป็นอย่าง
มาก แม้แต่หมอผีเก่งๆ ก็ยังพ่ายแพ้คอพับคอย่น (เพราะถูกบีบคอ) ไปหลายราย
สมเด็จฯ โตจึง มาค้างที่วัดมหาบุศย์ แต่ท่านไม่ได้ทําพิธีอะไรมากมายอย่างหมอผีทั้งหลาย
พอตกค่ํา ท่านก็ไปนั่งที่บริเวณหลุมศพแล้วเรียนนางนาคขึ้นมาสนทนากัน แต่ท่านจะพูดจาตกลงกับ
นางนาคว่าอย่างไรไม่มีใครรู้ ลือกันว่า ท่านได้เจาะเอากระดูกหน้าผากจากศพของนางนาคขัด
กระดูกแผ่นนั้นจนเกลี้ยงเป็นมันแล้วนํากลับไปยังวัดระฆัง ลงยันต์กํากับและเจาะทําเป็นหัวเข็มขัด
เวลาท่านจะไปไหนก็เอาคาดเอวติดไปด้วย นับตั้งแต่นั้น ผีแม่นาคที่เคยอาละวาดที่วัดมหาบุศย์ พระ
โขนงก็สงบไป เมื่อไปอยู่ที่กุฏิสมเด็จโต เวลานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ยัง
เป็นสามเณร อยู่ในกุฏินั้นด้วย ได้ถูกแม่นาครบกวน สามเณรก็ฟูองสมเด็จฯ ว่า สีกามากวนเขาเจ้าข้า
สมเด็จฯ ท่าก็ร้องปรามว่านางนาคเอ๊ยอย่ารบกวนคุณเณร สิ แม่นาคก็เงียบไป แล้วนานๆ ก็ออกมา
แหย่เล่นเสียครั้งหนึ่ง พอถูกปรามก็หยุดไป เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ครั้นสมเด็จฯ ท่าชรามากขึ้นก็มอบ
กระดูกหน้าผากนางนาคประทานหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์และให้สามเณร ม.ร.ว.เจริญ ไปอยู่
ด้วย นางนาคยังคงเล่นสนุกเย้าแหย่สามเณรตามเคย หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ทรงกริ้วดุนางว่า
เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามากวนเณร คุณเณรจะได้ดูหนังสือหนังหานางนาคจึงเงียบไป ต่อมาหม่อมเจ้า
พระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งได้เป็นหม่อมเจ้า สมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัต) ได้ประทานกระดูกหน้าผากนาง
นาคให้แก่หลวงพ่อพริ้ง(พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์)วัดบางปะกอก
ภายหลังหลวงพ่อพริ้ง ก็มอบกระดูกนางนาคแด่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กระดูกนางนาค
จึงไปอยู่ในซองผีที่วังนางเลิ้ง (ในเวลานี้เป็นโรงเรียนพาณิชยการพระนคร) อยู่ที่วังนางเลิ้งไม่นานเท่าไร
นางนาคก็มากราบทูลลา (คงจะหมดเวรหมดกรมไปเกิดใหม่ แต่จะเกิดเป็นคนหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
เพราะนางนาคอาจจะไปเกิดเป็นอมนุษย์ก็ได้และคําว่าอมนุษย์ก็ครอบคลุมกว้างมาก ตั้งแต่ ผี ปีศาจ
ยักษ์ มาร นางไม้ เทวดา เป็นต้น หากให้สันนิษฐาน นางนาคน่าจ ะเกิดในระดับที่สูงกว่าผีขึ้นไป) และ
กระดูกนางนาคชิ้นนั้นก็อันตรธานหายไปไม่พบเรื่องราวอีกเลย เรื่องราวแม่นาคที่บางครั้งก็ดูจริงจัง
เกินกว่าเรื่องนิยายทําให้ เกิดความคิดขึ้นสองอย่าง บ้างก็ยังคงเชื่อว่า เป็นเรื่องนิยาย แต่มีมากกว่าบ้าง
เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง! และฝุายที่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงนั้น ได้พยายามรวบรวมหลักฐานมายืนยัน เช่น
ขุนชาญคดี (ปั่น) กํานันตําบลพระโขงสมัยนั้น ได้เล่าถวาย สมเด็จฯ เจ้าฟูากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
(พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพรพระราชโอรสในรัชกาลที่๕) ว่า
8
นางนาคเป็นบุตรสาวของขุนศรีฯ นายอําเภอ บ้านอยู่ปากคลองพระโขนงฝั่งตะวันตกข้างวัด
มหาบุศย์(ตามหลักฐานนี้ แม่นาคไม่ใช่ลูกสาวของตามั่นยายมีแต่อย่างไร และไม่ใช่เด็กสาวกําพร้า
ด้วย) และเป็นสาวสวยที่จะหาสาวใดในย่านพระโขนงมาเทียบเคียงได้ยาก สมเด็จฯ เจ้าฟูากรมหลวง
ลพบุรีราเมศวร์เมื่อได้ทรงฟังเรื่องราวแล้วถึงกับรับสั่งว่า
"สวยสดงดงามถึงอย่างนั้นทีเดียวรึ มิน่าเล่าเจ้าพวกหนุ่มๆ ถึงได้ตอมกันนัก และปีศาจก็มีฤทธิ์
ร้ายแรงถึงเพียงนั้น"
และหลักฐานที่ ก.ศ.ร.กุหลาบ บรรณาธิการหนังสือ "สยามประเภท " ตอบข้อข้องใจของคน
อ่าน ลงในหนังสือเล่มที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ว่า "จะเป็นวันเดือนปีใดจําไม่ได้เป็นคํา
พระศรีสมโภช (บุด) วัดสุวรรณเล่าถวายสมเด็จอุปัชฌาย์ว่า ในรัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ อําแดงนาก บุตร
ขุนศรีนายอําเภอ บ้านอยู่ปากคลองพระโขนง เป็นภรรยานายชุ่ม ตัวโขนทศกรรฐ์ในพระจ้าวบรมวงศ์-
เธอจ้าวฟูากรมหลวงพิทักษ์มนตรี อําแดงนากมีบุตรถึงอนิจกรรม นายชุ่มทศกรรฐ์สามีนําศพอําแดง
นากภรรยาไปฝังที่ปุาช้าวัดมหาบุศย์ ศพอําแดงนากฝังไว้ที่นั่นไม่มีปีศาลหลอกผู้ใด เป็นแต่พระศรี -
สมโภชเจ้าของวัดมหาบุศย์ เล่าถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสว่า นายชุ่ม
ทศกรรฐ์เป็นคนมั่งมี บุตรนายชุ่มมีชายหญิงหลายคน แต่ล้วนยังไม่มีสามีภรรยาทั้งสิ้น บุตรนายชุ่ม
หวงทรัพย์สมบัติของบิดา เกรงว่าบิดาจะมีภรรยาใหม่ พวกลูกชายจึงทําอุบายให้คนไปขว้างปา
ชาวเรือ ตามลําคลองริมปุาช้าที่ฝังศพอําแดงนากมารดา กระทํากิริยาเป็นผีดุร้ายหลอกคน จนถึงช่วย
นายชุ่มถีบระหัดวิดน้ําเข้านาแลวิดน้ํากูเรือของนายชุ่มที่ล่มก็ได้ บุตรชายแต่งกายเป็นหญิงให้คล้าย
อําแดงนากมารดาทํากิริยาเป็นผีดุร้ายให้คนกลัว ทั่วทั้งลําคลองพระโขนง บุตรนายชุ่มทศกรรฐ์หลาย
คนได้เล่าถวายเสด็จอุปชฌาย์ว่า ตนได้ทํามายาเป็นปีศาจอําแดงนากมารดาหลอกชาวบ้าน จริงดั่งพระ
ศรีสมโภชกราบทูลเสด็จอุปัชฌาย์ทุกประการ" (จากหนังสือ ตามรอยนางนากพระโขนง ของ ส.พลาย-
น้อย) ตามความข้างต้นนี้ สามีของแม่นาคแทนที่จะเป็นนายมากกลับเป็นนายชุ่ม และวัดมหาบุศย์
ที่กล่าวถึงก็คือวัดมหาบุศย์นั่นเอง) แต่หลักฐานทั้งสองนี้ก็ยังคงขัดแย้งกันเอง จึงต้องแล้วแต่ว่า ใครจะ
เชื่อในเรื่องไหนแต่อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ก็ยังคงเป็นตํานานรักอมตะประจําถิ่น
พระโขนงมาตราบเท่าทุกวันนี้ และเพื่อเป็นการระลึกถึงแม่นาค ทางวัดมหาบุศย์จึงได้สร้างศาลแม่
นาคพระโขนงขึ้นในบริเวณวัดเพื่อให้ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้แวะมากราบไหว้ย่านาคกัน
9
เหตุที่ผีแม่นาคเฮี้ยนหนัก เพราะเอาศพไปฝังไว้ระหว่างต้นตะเคียนคู่ ก่อนหน้าที่ทิดมากจะมา
ผีนางนาคไปร้องขอข้าวเณร และยื่นมือไป เณรเอามีดหมอหลวงตาฟันมือขาด หลวงตาเอาเณรไปไว้
ในกุฏิ เอาใบหนาดสวม และนอนเฝูา แต่ผีนางนาคก็มาหักคอเณรจนได้ ผีนางนาคกับลูกเที่ยวหลอก
ชาวบ้านและคนเดินทาง รวมทั้งพระในวัดจนเป็นที่เลื่องลือ แม้หนุ่มๆ ผีนางนาคก็แปลงกายเป็นสาว
สวยมาหลอกให้หลง พอรู้ว่าเป็นผีก็หนีขวัญหนีดีฝุอ ทิดมากเองจะไปไหนก็ไม่ได้ นางนาคคอยติดตาม
ในที่สุดต้องหาหมอผีมาเรียกวิญญาณนางนาคและลูกใส่หม้อ นําไปถ่วงน้ํา แล้วทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้
ผีนางนาคจึงหายไป แต่ตํานานเรื่องแม่นาคพระโขนงก็ยังเล่าสืบกันมา จนถึงกับนํามาสร้างเป็น
ภาพยนตร์เรื่อง แม่นาคพระโขนง ฉายให้คนชมติดใจไปตามๆ กัน
หมายเหตุ : *(ชื่อ แม่นาค เขียนได้ ๒ อย่างคือ นาก ซึ่งหมายถึงของมีค่า จําพวกทอง เงิน นาก และ นาค ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมใช้ในรุ่นหลังๆ)
10
วัดมหาบุศย์
พระอุโบสถวัดมหาบุศย์ แหล่งที่มา www.thaitripdd.com
วัดมหาบุศย์ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2305
ก่อนเสียกรุงเก่าพม่า 5 ปี เล่ากันว่าเดิมชื่อ "วัดสามบุตร"กล่าวคือ บุตรชาย สามคนพี่น้องร่วมกันสร้าง
ขึ้น และเข้าใจว่าเสนาสนะสิ่งก่อสร้างในวัดในขณะนั้นคงจะเป็นเครื่องไม้เสียเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นวัสดุ
ที่ไม่คงทนครั้งกาลต่อมามีสภาพเป็นวัดร้าง
ต่อมาเมื่อพระมหาบุตร เปรียญ 5 ประโยค สํานักวัดเลียบ (ต่อมาในรัชกาลที่ 1 พระราชทาน
นามใหม่ว่า "วัดราชบุรณะ") กรุงเทพมหานคร ได้มาเยี่ยมญาติโยมของท่านซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในลํา -
คลองพระโขนง ในเวลานั้น บรรดาชาวบ้านพระโขนงจึงได้พร้อมใจกันนิมนต์ให้ท่านอยู่วัดสามบุตร
เพื่อช่วยเป็นผู้นําในการบูรณะวัดสามบุตรหรือจะเรียกว่าสร้างวัดใหม่ทั้งวัดก็น่าจะได้
เมื่อการสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจึงเปลี่ยน นามวัดใหม่
จาก "วัดสามบุตรเป็นวัดมหาบุตร" ตามนามของพระมหาบุตร ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปตามความ
เจริญของภาษาไทย จึงได้เขียนชื่อวัดเป็นทางราชการว่า วัดมหาบุศย์ ดังที่เห็นและใช้อยู่ตราบจนใน
ปัจจุบัน แต่ยังมีประชาชนนิยมเรียกอีกนาม หนึ่งว่า "วัดแม่นาคพระโขนง"ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยอิทธิพล
ของวรรณกรรมเรื่อง นาคพระโขนง
11
วัดมหาบุศย์ ตามประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร ฉบับกรมการศาสนาจัดพิมพ์ ตอนหนึ่งว่า
วัดมหาบุศย์มีฐานะเป็นสํานักสงฆ์อยู่หลายปี ตราบถึงประมาณปี พ.ศ. 2455 ต้นรัชกาลที่ 6 จึงได้มี
การบูรณะสังฆเสนาสนะขึ้นอีกด้วย โดยได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. -
2459 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 2 เส้น ยาว 2 เส้น7 วาครั้นถึง พ.ศ. 2470 อุโบสถหลังที่สร้างเมื่อ
พ.ศ. 2459 นั้นชํารุดทรุดโทรม จึงได้ทําการรื้อออกแล้วก่อสร้างขึ้นใหม่กว้าง 20 เมตร ยาว 23 เมตร
หน้าบัสลักเป็นลายกนกไทยรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หลังคาสองชั้นลด ถึงพ.ศ. 2500 ทางวัดได้
ทําการบูรณะใหม่ เปลี่ยนกระเบื้องเป็นกระเบื้องเคลือบสี เปลี่ยนช่อฟูาใบระกาหงส์และหน้าบันใหม่
ทั้งหมด เสร็จเรียบร้อยแล้วได้เชิญ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมาเป็น
ประธานพิธียกช่อฟูาวัดมหาบุศย์กับแม่นาคพระโขนง
เมื่อมาถึงยัง วัดมหาบุศย์ จะเห็นปูายชี้ทางไปยังศาลย่านาค ใช้ชื่อ แม่นาค หรือ ย่านาค แต่
คนแถวนี้เขานิยมเรียกว่า ย่านาค ซึ่งศาลนี้เองเป็นเหมือนจุดมุ่งหมายของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะ
คู่รักที่มาขอพรหรือกราบไหว้สักการบูชา
วิหารหลวงพ่อยิ้ม วัดมหาบุศย์
ก่อนที่จะไปยังศาลย่านาค ขอเข้าไปกราบขอพรจากหลวงพ่อยิ้ม ใน “วิหารหลวงพ่อยิ้ม ”
เพราะอยู่ตรงด้านหน้าวัด วิหารนี้เป็นวิหารเล็กๆ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อยิ้ม ลักษณะเป็น
พระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ สังเกตว่า คนที่มากราบไหว้หลวงพ่อยิ้มมักจะ
เสี่ยงเซียมซีควบคู่ไปด้วย
12
ถัดจากวิหารหลวงพ่อยิ้มไปเป็น “อุทยานพระ
โพธิสัตว์กวนอิม ” ภายในประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่
กวนอิม ตั้งอยู่กลางแจ้งแต่มากด้วยร่มไม้ทําให้ดูร่ม
รื่นสบายตา แวะไหว้เจ้าแม่ พร้อมทั้งท่องบทบูชาเจ้า
แม่กวนอิมที่แปะอยู่ตรงหน้า
รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม ในวันมหาบุศย์
หลังจากนมัสการไหว้เจ้าแม่กวนอิม แล้ว เดิน
ตามปูายบอกทางเข้าไปยังริมน้ําคลองประเวศบุรีรมย์
ซึ่งมี “ศาลย่านาค ” ตั้งอยู่ เมื่อเข้ามาถึงเห็นผู้คน
มากมายมาจุดธูปจุดเทียนขอพรจากย่านาค ส่วนใหญ่
จะมาเป็นคู่ชายหญิง ขอพรเรื่องความรัก
ภาพบรรยากาศในศาลย่านาค
ผ้าเจ็ดสีเจ็ดศอกที่พันอยู่รอบต้นไม้อย่างหนาแน่น
ชุดไทย ชุดเด็ก ของเล่นเด็ก รวมถึงรูปวาดแม่นาค มีให้เห็น
มากมายภายในศาลย่านาคแห่งนี้นอกจากจะมี ศาลย่า-นาค
แล้วข้างๆ ศาลย่านาคยังมี ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง อยู่ด้วย
คนส่วนใหญ่ ที่มาจะนิยมมาขอพรใน ด้านโชคลาภหรือขอ
หวยนั่นเอง
ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
13
ที่ริมคลอง วัดมหาบุศย์ มีเรือนหลังเล็กๆ ไกลผู้คน ชาวบ้านต่างรู้จัก
กันดีว่า นี่คือ เรือนของแม่นาคกับทิดมากแม้ว่าจะยากจน แต่ว่าก็เป็นคู่ผัว
เมียที่รักกันมาก ในช่วงที่แม่นาคตั้งท้อง บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ทิดมากถูก
เรียกไปเป็นทหารเกณฑ์ ยังไม่ทันพ้นทหารกลับมานางนาคต้องมาสิ้นใจตาย
ทั้งกลม เพราะทนความเจ็บปวดจากการคลอดลูกไม่ไหว เมื่อตายแล้วพวก
ชาวบ้านช่วยกันเอาศพของนางนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ แต่ด้วยความ
รักผัว จึงไม่ยอมไปผุดไปเกิด เฝูารอวันที่ผัวจะกลับมา
บริเวณด้านหน้าศาลย่านาค
14
จากนั้นก็มักจะมีคนเห็นว่า นางนาคออกมาสําแดงตนให้เห็นอยู่บ่อยๆ บางทีก็เห็นมาผูกเปล
กับต้นตะเคียนคู่ แล้วจะเห่กล่อมลูกด้วยเสียงที่โหยหวน ชาวบ้านพากันหวาดกลัวผีแม่นาคเป็นอันมาก
จนเมื่อถึงวันที่ทิดมากได้กลับมาบ้านเห็นแม่นาคนั่งกล่อมลูกอยู่ที่ชานหน้าบ้าน ด้วยความดีใจรีบวิ่งไป
หาลูกเมีย แต่ก็ต้องสะดุ้งเมื่อตัวของนางนาคเย็นผิดปกติ แม่นาคเหมือนจะอ่านใจผัวออก รีบยกสํารับ
ข้าวปลาอาหารออกมารับขวัญ
ต้นตะเคียนคู่ที่ฝังศพแม่นาคในสมัยก่อน และเรือพายของแม่นาค
ตั้งแต่นั้นมาทิดมากกับนางนาค ก็อยู่กินกันตามปกติเหมือนเดิม แม้จะมีชาวบ้านแอบมาบอก
ว่านางนาคตายแล้วทิดมากก็ไม่ยอมเชื่อ และยังตามหลอกหลอนผู้ที่มาบอกความจริงกับผัวของตน
จนกระทั่งวันหนึ่งทิดมากนั่งอยู่ใต้ถุนบ้าน ส่วนนางนาคก็กําลังทํากับข้าวตําน้ําพริกอยู่ในครัวบนเรือน
เผอิญทํามะนาวหลุดมือหล่นไปใต้ถุนบ้าน นางนาครีบหย่อนมือที่ยาวเฟื้อยผิดจากปกติลงไปเก็บด้วย
ความรวดเร็ว ทิดมากเห็นดังนั้นก็ตกใจมากจนหนีไปพึ่งวัด
15
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
ที่มารูปภาพ www.itti-paithan.com
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ท่านรู้ข่าวการอาละวาดของผีแม่นาค ซึ่งก่อ
ความหวาดกลัวและเดือดร้อนแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก แม้แต่หมอผีเก่งๆ ก็ยังพ่ายแพ้ ท่านจึงลงไป
ค้างที่ วัดมหาบุศย์ และเรียกนางนาคขึ้นมาคุยกัน ผลสุดท้ายท่านเจาะเอากระดูกหน้าผากของนางมา
ลงยันต์ และทําเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ผีนางนาคก็ไม่ออกมาอาละวาดอีกเลย
16
องค์รูปปั้นย่านาค บริเวณภายในศาล
จาก นั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ประทานกระดูกหน้าผากนางนาคให้กับหม่อมเจ้า
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) เก็บรักษาไว้ และต่อมาก็ได้ประทานต่อให้ หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศี-
ลาจารย์) อีกต่อ จนมาถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไม่นานนักแม่นาคก็มากราบลา จากนั้นก็ไม่มี
ใครพบกระดูกหน้าผากของแม่นาคอีกเลย
นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ตํานานแม่นาคพระโขนง ที่เล่าต่อๆ กันมา ส่วนจะมีจริงหรือเป็น
เรื่องที่แต่งขึ้นมาก็ไม่มีใครพิสูจน์ได้ และใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็นสิทธิของแต่ละคน แต่ที่ตํานานแม่-
นาคพระโขนงคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ได้ นอกจากเรื่องชวนขนหัวลุกแล้ว ตํานานแห่งความรัก
ที่มั่นคงของแม่นาคต่อทิดมากนั้นถือเป็นหนึ่งในตํานานรักอมตะของเมืองไทยที่น่าเทิดทูนยกย่องเป็น
อย่างยิ่ง
17
เรื่องเล่าจากผู้ที่ไปสักการบูชา
วันหนึ่ง...ที่ศาลย่านาค
หลายครั้งหลายคราวที่ พี่ลาเต้ ได้มีโอกาสได้เข้าไปไหว้รูปปั้นย่านาค ในศาล ด้านหลังวัด
มหาบุศย์ พื้นที่ตรงนั้นบอกเล่าเหตุการณ์ในอดีตได้เป็นอย่างดี จนสามารถจินตนาการให้นึกภาพตาม
ได้ไม่ยาก..มีศาลหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับริมน้ํา ด้านหลังของศาลเป็นสุสานของวัดมหาบุศย์ที่เต็มไป
ด้วยโลงศพ และต้นตะเคียน ด้านหน้าของศาลติดคลองสายหนึ่งที่ชื่อว่า "คลองพระโขนง" บรรยากาศ
ในละแวกนั้นจะคึกคักมากๆในช่วงกลางวัน แต่ก็จะเงียบสงัดวังเวงในยามค่ําคืน [ยกเว้นวันที่หวยออก
จะมีคนเยอะมากๆหลายเท่า]
เป็นความเชื่อที่มีมานานแล้วว่า ชายไทยคนไหนที่ไม่อยากติดทหาร หรือญาติพี่น้องกลุ่มใดไม่
อยากให้ลูกหลายต้องเป็นทหาร จะต้องมาขอพรจากย่านาค ซึ่งก็จะสมหวังไม่ได้เป็นทหารสมใจ
เพราะเชื่อว่าท่านไม่ชอบการเป็นทหาร เพราะทหารทําให้ท่านกับสามีต้องพรากจากกัน
ครั้งหนึ่ง พี่ลาเต้ เคยพาเพื่อนๆในกลุ่มไปไหว้ท่านพร้อมกัน ทุกคนไม่เคยมา ครั้งนี้จึงเป็นครั้ง
แรกของทุกคน ทันทีที่ถึงศาล พี่ลาเต้ ก็พาเพื่อนๆไปดูสถานที่ที่ถูกเล่าขานเป็นตํานานหลายๆแห่ง
เช่น ต้นตะเคียน ปุาช้า ศาลาริมน้ํา ที่ตั้งบ้านย่านาคในอดีต หรือแม้กระทั่งเดินเข้าไปหาพระเพื่อถาม
ว่า ศาลาที่มีรอยเท้าย่านาคอยู่ตรงไหน
เมื่อได้ทราบประวัติ และหลักฐานต่างๆจนเกือบครบ พี่ลาเต้ ก็พาเพื่อนๆเข้าไปไหว้ย่านาค
บรรยากาศในศาลก็เต็มไปด้วยชุดไทย ชุดเด็ก และดอกไม้ต่างๆ ที่คนนํามาไหว้ และแก้บน พอไหว้
เสร็จก็ทยอยออกมาทีละคน เพื่อนๆ พี่ลาเต้ ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกหัวใจเต้นแรง
มากๆตอนที่ปิดทองที่หุ่นย่านาค แม้กระทั่งระหว่างทางที่นั่งรถเดินทางกลับ เพื่อนแต่ละคนก็เล่าว่า
ตอนนี้ในหัวยังเห็นเป็นรูปหุ่นย่านาคตลอดเวลา
พี่ลาเต้ เจ้าของเว็บ Dek-D.com
18
เปิดตานาน ปั้นเหน่งแม่นาค ชิ้นส่วนกะโหลกหน้าผากแม่นาค
แม้ว่าสังคมไทยจะถูกพัดพาไปกับโลกของเทคโนโลยีมากมาย แต่ในด้านความเชื่อในสิ่งลี้ลับก็
ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย สําหรับเรื่องราวที่คนไทยเกือบทั้งประเทศรู้จักและคุ้นเคยกันดี เห็นจะเป็น
"ตํานานรักแม่นาคพระโขนง" เพราะทั้งคําเล่าขานที่ถูกเล่า และละครสร้างต่อๆ กันมาหลายยุคสมัย
รวมถึงศาลของแม่นาค ณ วัดมหาบุศย์ ที่ยังคงมีผู้คนแวะเวียนมาสักการบูชาอย่างไม่ขาดสาย ต่างก็
เป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนว่า ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนง ยังคงปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย
ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
ล่าสุด กําลังเป็นประเด็นที่หลายคนหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างมาก เกี่ยวกับวัตถุล้ําค่าจาก
ตํานานแม่นาคพระโขนง ที่เรียกกันว่า "ปั้นเหน่งแม่นาค" หลายคนอาจสงสัยว่า ปั้นเหน่ง คืออะไร
เกี่ยวข้องกับแม่นาคพระโขนงอย่างไร แล้วเหตุใดผู้คนถึงให้ความสนใจ . . .
ความจริงแล้ว คําว่า "ปั้นเหน่ง" มีความหมายถึง หัวเข็มขัด แต่ที่เรียกว่า "ปั้นเหน่งแม่นาค"
เพราะว่ากันว่าเป็นที่สิ่งสถิตของวิญญาณแม่นาคพระโขนง ทั้งนี้ ตามตํานานเล่ากันว่า ในสมัยของ
รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่แม่นาคออกอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างหนัก และครั้งหนึ่งข่าวแม่นาค
หลอกหลอนหนักโดยเฉพาะที่แยกมหานาค(ในปัจจุบัน) ทําให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ได้มาทําการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน และเจาะกะโหลกผีแม่นาคเอามาขัดเป็นมัน ลงอักขระอาคม
ทําเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ซึ่งหลังจากนั้นได้นําปั้นเหน่งไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม
ครั้นเมื่อท่านชรามากแล้ว ได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากแม่นาคนี้ไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธ -
บาทปิลันทน์ ซึ่งในภายหลังท่านได้เป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) ต่อมาท่านได้ประทาน
ปั้นเหน่งแม่นาคให้กับหลวงพ่อพริ้ง หรือพระครูวิสุทธิ์ศิลาจารย์ แห่งวัดบางปะกอก ซึ่งภายหลังได้
นําเอาปั้นเหน่งอันนี้มาถวายแด่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ในเวลาต่อมา ก่อนที่ปั้นเหน่งแม่นาค จะ
ถูกเปลี่ยนมือไปอีกหลายทอด และหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย อย่างไรก็ตาม "ปั้นเหน่งหรือ
กะโหลกหน้าผากแม่นาค" ถือได้ว่าเป็นหลักฐานที่หลงเหลือและจับต้องได้เพียงชิ้นเดียว จากตํานานรัก
อมตะระหว่างผีกับคน ที่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ของศักดิ์สิทธิ์จากตํานานรักแม่นาค ตกทอดไป
อยู่ในมือของผู้ใด
19
ครั้งหนึ่ง อดีตพระเอกคนดัง ซึ่งเคยรับบทพ่อมาก เมื่อหลายปีก่อน อย่าง พีท ทองเจือ ได้เคย
ออกมาประกาศตามหาปั้นเหน่งแม่นาค เพื่อนํามาบูชา หลังเปิดใจกลางรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง
ว่า เขามีความเชื่อว่าตัวเองมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับแม่นาคพระโขนง โดยอ้างต้นตระกูลสืบ
เชื้อสายมาจากตระกูล "เทพหัสดิน ณ อยุธยา" ซึ่งแม่นาคถือเป็นญาติฝุายคุณยาย นับญาติกันแล้ว พีท
มีศักดิ์เป็นเหลนหรือโหลนของแม่นาค ที่เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 2 นอกจากนั้น พีทยังอาศัยอยู่
ร่วมชายคาเดียวกับบ้านที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของแม่นาคเมื่อในอดีต
"ครอบครัวผมเป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งญาติๆ จะอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ทั้งคุณพ่อ , คุณแม่,
น้องสาว, น้า และอา รวมประมาณ 6-7 ครอบครัว โดยมีบ้านอยู่ในพื้นที่เดียวกับวัดมหาบุศย์ หากเข้า
มาในซอยวัดมหาบุศย์ จะถึงก่อนบ้านผมประมาณ 1 กิโลเมตร สมัยเด็กบ้านที่ผมอยู่จะอยู่ริมคลอง
พระโขนง เป็นบ้านทรงไทยโบราณ ใต้ถุนสูงมีปุาไผ่ ปัจจุบันนี้ก็ยังคงน่ากลัวเหมือนเดิม ทุกวันพระผม
มักจะเจอผู้หญิงในชุดสไบมาหาอยู่บ่อยๆภายหลังเชื่อว่าอาจจะเป็นวิญญาณแม่นาคที่มาหา"
พีท ทองเจือ กล่าว
พร้อมกันนี้ พีท ยังเล่าถึงชีวิตที่ผูกพันกับแม่นาค และประสบการณ์เฉียดตายที่เคยรับบทพ่อ
มากในละครเมื่อหลายปีก่อน โดยขณะนั้นพีทยังไม่ทราบว่า มีสายเลือดผูกพันกับแม่นาค กระทั่งวัน
หนึ่งต้องขับรถจากสิงห์บุรีไปถ่ายละครเรื่องอังกอร์ ปกติไม่ว่าจะถ่ายละครหนักแค่ไหนก็ไม่เคยหลับใน
แต่วันนั้นประมาณตี 4 เกิดหลับใน แต่เหมือนมีคนสะกิด จึงรอดชีวิตมาได้
สําหรับการตามหาปั้นเหน่งแม่นาค นายหนุ่ม-คงกะพัน แสงสุริยะ ผู้ดําเนินรายการ บางอ้อ
ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ได้เปิดเผยถึงข้อมูล "ปั้นเหน่งแม่นาค" ว่า จากการสืบค้นหาร่องรอยของ "ปั้นเหน่ง
แม่นาค" นั้นมีหลายร่องรอย โดยเชื่อว่า บุคคลที่มีมีปั้นเหน่งอยู่ในมือนั้นมีอยู่ 3 สาย ซึ่งแต่ละสายล้วน
มีความน่าเชื่อถือทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสาย "กํานันชูชาติ" ซึ่งตอนนี้ปั้นเหน่งแม่นาค ในมือกํานันชูชาติ
ได้ถูกเปลี่ยนไปสู่ คุณเทพ กําแหง , สายที่ 2 อยู่กับ พระองค์เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพล -
ทิฆัมพร (องค์ชายกลาง) และสายที่ 3 อยู่กับชาวบ้านในละแวกวัดบางปะกอก
ขณะเดียวกัน อาจารย์เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร ผู้รวบรวบเรื่องปั้นเหน่งแม่นาค ในวังนางเลิ้ง
กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จากการศึกษาข้อมูลทําให้เชื่อว่าปั้นเหน่งแม่นาคมีอยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า ซึ่ง
สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่กับทายาทผู้รับมรดกของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด คุณเทพ กําแพง นักเทคโอเวอร์พระชื่อดัง ได้นํา "ปั้นเหน่ง" ที่เชื่อกันว่า
เป็น ปั้นเหน่งแม่นาค ที่ยอมทุ่มเงินเป็นล้านๆ มาให้ชมในรายการ บางอ้อ พร้อมกับกล่าวว่า สิ่งนี้ไม่ใช่
เป็นเพียงแค่กระดูกผี หรือเครื่องรางธรรมดา แต่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งเชื่อมโยงว่า
20
แม่นาคพระโขนงมีอยู่จริง และหลังจากที่ได้ปั้นเหน่งนี้มา ก็เกิดเรื่องมหัศจรรย์ในบ้าน วันแรกที่นําเข้า
บ้าน จู่ๆ ไฟก็ดับโดยไม่มีสาเหตุ บางครั้งก็มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ําอบไทย ตลบอบอวลในบ้านด้วย
และนี่คือบางส่วนของตํานาน ปั้นเหน่งแม่นาค หรือที่หลายคนเรียกกันว่า กะโหลกหน้าผากแม่
นาคพระโขนง ที่ถูกเล่าขานต่อๆ กันมา
ข้อมูลจากโทรทัศน์ ทางช่อง โมเดิร์นไนน์ทีวี รายการคุณพระช่วย
ออกอากาศวันเสาร์ ที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 เวลา15.00 น.
บทที่ 3
วิธีดาเนินการศึกษา
วิธีการศึกษา
การศึกษาเล่มนี้เป็นการหาข้อมูลปฐมภูมิมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวความเชื่อ ที่มีความ
เกี่ยวข้องกับตานานแม่นาคพระโขนงของ แต่ละบุคคล มาทาการวิเคราะห์เพื่อหา สาเหตุถึงความ
ยาวนานของตานานแม่นาคพระโขนงนี้ ที่ ยังคงเล่าขานกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ผู้วิจัยได้ดาเนินการศึกษา ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 สถิติที่ใช้การศึกษา
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษานักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้าที่วัดมหาบุศย์ จานวน 100
คน
3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้า จานวน100 คน
ในช่วงเวลา 9.00-16.00 น. ของวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยการสุ่มอย่างง่าย ( Sample
Random Sampling)
22
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1.แบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ชาวบ้านในท้องถิ่นและผู้ประกอบการร้านค้าที่
มีความศรัทธาต่อศาลย่านาค ณ วัดมหาบุศย์ จํานวน 100 ชุด
การทําการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1. รองศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทพิชัย สดภิบาล รองคณบดีฝุายแผนและพัฒนา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2. พระครูสุนทรพัฒนพิมล เจ้าอาวาสวัดมหาบุศย์
3. พระวิธาน กิจจาทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาบุศย์
4. คุณลุงชัย เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลศาล
การประเมินแบบสอบถามโดยใช้การตั้งคําถามทั้งหมด 5 ข้อ จํานวน 4 ตัวเลือก และ
ข้อเสนอแนะในส่วนท้ายสุดของแบบสอบถาม สําหรับผู้ทําการประเมินที่ต้องการเพิ่มเติม
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามโดย ศึกษาหาข้อมูลปฐมภูมิเพื่อรวบรวมแนวความ
เชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับตํานานแม่นาคพระโขนงของแต่ละบุคคลเพื่อนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อ
หาสาเหตุถึงความยาวนานของตํานานแม่นาคพระโขนง ซึ่งตํานานแม่นาคพระโขนง ยังคงเล่าขานกัน
มาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตสืบมาจนถึงปัจจุบัน มีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้
3.3.1 สมาชิกในกลุ่มทําการประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน กําหนดตําแหน่งหน้าที่งานโดย
สมาชิกแต่ละคนเป็นผู้รับผิดชอบ และกําหนดวันลงพื้นที่เพื่อนทําการสํารวจ โดยเลือกเป็นวันที่ 23
เมษายน พ.ศ. 2556
23
3.3.2 ลงพื้นที่ทําการสํารวจติดต่อพระครูสุนทรพัฒนพิ มลเจ้าอาวาสวัดมหาบุศย์ รวมไปถึง
นักท่องเที่ยว ชาวบ้านท้องถิ่น และผู้ประกอบการร้านค้า ทําการขอสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับ ศาลย่า-
นาคที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
3.3.3 แจกแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นบริเวณหน้าศาลย่านาค โดยผู้ศึกษาเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากแบบสอบถาม ดังนี้
3.3.3.1 ถ้าประชาชนไม่สะดวกในการกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง จะใช้การ
สัมภาษณ์ตามแนวแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
3.3.3. 2 ถ้าประชาชนสะดวกที่จะตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง จะให้ผู้กรอก
แบบสอบถามเอง และผู้ศึกษาจะเป็นผู้ตรวจทานว่าตอบครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ครบถ้วนผู้ศึกษาจะ
ซักถามเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล
3.3.3.3 ใช้การสังเกตการณ์ร่วมกับการแจกแบบสอบถามด้วย
3.3.4 รวบรวมแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเก็บภาพบรรยากาศภายในวัดมหาบุศย์และ
บริเวณศาลย่านาคทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว (Video) นํามาใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิทางสถิติต่อไป
3.4 สถิติที่ใช้ในการวิจัย
เนื่องด้วยข้อมูลของผลงานวิจัยเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์ การทํา
แบบสอบถามหรือเก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้ทําการวิจัยจึงนําเสนอข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมได้ในรูปของ
เปอร์เซ็นต์ร้อยละ ซึ่งคํานวณจากสูตรดังนี้
𝑥(%) =
𝑥 × 100
𝑥
เมื่อ 𝑥 คือ จํานวนข้อมูลในแต่ละประเด็นที่เราทําการศึกษา
𝑥(%) คือ ร้อยละของจํานวนข้อมูลในแต่ละประเด็นที่เราทําการศึกษา
𝑥 คือ ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด
โดยนําข้อมูลทําการวิจัยได้นําเสนอข้อมูลดังกล่าวในรูปของแผนภูมิวงกลม เพื่อสะดวก และ
ชัดเจนในการนําไปศึกษาต่อ
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย
การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย

More Related Content

What's hot

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์พัน พัน
 
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียงใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียงKruPor Sirirat Namthai
 
จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗
จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗
จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗นายจักราวุธ คำทวี
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศChainarong Maharak
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองkanchana13
 
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์Pracha Wongsrida
 
ตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลง
ตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลงตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลง
ตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลงNongkran_Jarurnphong
 
ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...
ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...
ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...plam1338
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานChainarong Maharak
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกPadvee Academy
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กGed Gis
 
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมวิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมkrusuparat01
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจPawit Chamruang
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817CUPress
 

What's hot (20)

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
 
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียงใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
 
จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗
จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗
จักราวุธฯ เขียนเนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง ม.ปลาย ของ กศน. ก.ย.๕๗
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทอง
 
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
 
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
Key of 6 การสถาปนารัตนโกสินทร์
 
ตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลง
ตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลงตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลง
ตัวอย่างงานกาพย์ห่อโคลง
 
ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...
ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...
ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่เรียกว่าประเทศอินเดียในกาลก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันเป็นที...
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
Key pr1 30109
Key pr1 30109Key pr1 30109
Key pr1 30109
 
แบบร่างเขียนรายงานโครงการ
แบบร่างเขียนรายงานโครงการแบบร่างเขียนรายงานโครงการ
แบบร่างเขียนรายงานโครงการ
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
 
Kruthairakphasa4 contest
Kruthairakphasa4 contestKruthairakphasa4 contest
Kruthairakphasa4 contest
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมวิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817
 
Book design example
Book design exampleBook design example
Book design example
 

การศึดษารายบุคคล แม่นากตำนานคู่เมืองไทย

  • 1. แม่นาก...ตานานคู่เมืองไทย เสนอ รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาล รายงานการศึกษารายบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 03426034 การศึกษารายบุคคล สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีการศึกษา 2555
  • 2. แม่นาก...ตานานคู่เมืองไทย THE LEGEND OF MAE NAK PRAKANONG เสนอ รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาล รายงานการศึกษารายบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 03426034 การศึกษารายบุคคล สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีการศึกษา 2555
  • 3. กลุ่มที่ 60 สมาชิก นายชนินทร์วุฒิ กาลจักร รหัสนักศึกษา 54010278 นายธฤต อุสาหะนันท์ รหัสนักศึกษา 54010602 นายวรภัทร พนาเจริญวงศ์ รหัสนักศึกษา 54011125 นายวันเฉลิม เศรษฐกุลวดี รหัสนักศึกษา 54011181 นายวันชัย ศิริแสงชัยกุล รหัสนักศึกษา 54011183 นายวีรภัทร เทียนดา รหัสนักศึกษา 54011222 นางสาวศศธร โกศลศักดิ์สกุล รหัสนักศึกษา 54011258 นายศักดา แก้วสุทัศน์ รหัสนักศึกษา 54011262 นางสาวภัทรศยา บุญญกาศ รหัสนักศึกษา 54040192 นาวสาวทิวตะวัน จันทร์ศรี รหัสนักศึกษา 54040514 นายเทพศรินทร์ วรกิตต์ธนัญธร รหัสนักศึกษา 54050873
  • 4. (1) บทคัดย่อ ศาลย่านาค ตั้งอยู่ ณ วัดมหาบุศย์ ซึ่งอยู่บนถนนอ่อนนุชซอย 7 เข้าซอยไปเพียง 100 ม. (ถ.อ่อนนุชก็คือสุขุมวิท 77) ปากซอยอ่อนนุช 7 จะมีป้ายเขียนว่า "วัดมหาบุศย์ (แม่นาคพระโขนง) ทั้งยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สาหรับผู้ชอบเสี่ยงในโชคลาภ และขอพรให้ความรักยั่งยืน เล่ากันว่า วัดมหาบุศย์ เป็นวัดราษฎร์ที่เก่าแก่ สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2305 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดย พระมหาบุตร วัดเลียบ ที่ได้เดินทางมาเยี่ยมญาติโยมของท่านในคลองพระโขน งชาวบ้านรู้ข่าว จึงได้นิมนต์ให้อยู่ และนาสร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า “วัดมหาบุศย์”ตามชื่อของท่าน ปัจจุบันย่านสุขุมวิท 77 กลายเป็นย่านตัวเมืองที่มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น การจราจรค่อนข้างจะแออัดพร้อมด้วยรูปแบบ การคมนาคมที่หลากหลาย ทั้งรถโดยสาร เรือ รถไฟฟ้า ฯลฯ ส่วนมากริมถนนสุขุมวิทจะเป็นย่าน ร้านค้า โดยมีลูกค้าซึ่งสัญจรไปมาตลอดวัน ส่วนหนึ่งก็มายังวัดมหาบุศย์เพื่อมาสักการะย่านาค มีทั้ง คนไทยและชาวต่างชาติซึ่งเป็นนักท่องเที่ยว เมื่อคณะผู้วิจัยได้ดาเนินการสารวจที่วัดมหาบุศย์และ บริเวณรอบๆด้วยวิธีสารวจความคิดเห็นเพื่อหาสาเหตุที่ตานานแม่นาคยังคงเล่าขานสืบเนื่องและ กลายเป็นความเชื่อที่ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลาทาให้พบสาเหตุที่ตานานยังคงเล่าขานถึงปัจจุบัน ทราบความเป็นมาของตานานและความเชื่อของคนในพื้นที่ วิธีการดาเนินชีวิตของชาวบ้านในบริเวณ ใกล้เคียงกับศาลย่านาค ตลอดจนเป็นการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคคลที่อาศัยอยู่ใน บริเวณวัดมหาบุศย์และมีความผูกพันกับความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของแม่นาคพระโขนง จากข้อมูลพบว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเชื่อและศรัทราอันแรงกล้าต่อศาลย่านาคเป็นอย่างมากและเชื่อว่าตานาน ดังกล่าวเป็นเรื่องจริง
  • 5. (2) กิตติกรรมประกาศ งานศึกษาเรื่องแม่นาค...ตานานคู่เมืองไทยฉบับนี้สาเร็จได้โดยสมบูรณ์ด้วยความกรุณาของ รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาล อาจารย์ผู้ควบคุมงานงานศึกษาผู้ให้ความเมตตาอบรม สั่งสอน ให้คาปรึกษา ชี้แนะแนวทางในการดาเนินงาน แนะนาและตรวจแก้ไขข้อบกพร่อง จนงาน ศึกษาฉบับนี้สาเร็จได้ด้วยความเรียบร้อยสมบูรณ์ คณะผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของท่านเป็น อย่างยิ่งและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณคุณลุงชัย ผู้ดูแลศาลย่านาคพระโขนง วัดมหาบุศย์ ท่านได้ในความกรุณาเป็น อย่างยิ่งกับคณะผู้ศึกษา อานวยความสะดวกในการลงพื้นที่และอนุญาตให้มีการถ่ายทา, บันทึกวิดีโอ, ถ่ายรูป และแนะนาการเก็บข้อมูล ซึ่งทาให้เป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ทาให้งานศึกษาฉบับนี้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณอาจารย์ตรีรัตน์ หมอดูบริเวณศาลย่านาคพระโขนง กับประสบการณ์ของตัว ท่านที่ได้พบมาโดยตรงมาเล่าให้คณะผู้ศึกษาได้มีความรู้เพิ่มเติม และทาให้ทราบเรื่องราวให้แง่มุม ต่างๆ ทาให้งานศึกษาฉบับนี้สมบูรณ์ขึ้น ขอขอบพระคุณ คุณเสาวลักษณ์ บาร์เทลล์ จากจังหวัดอุดรธานี ผู้ที่มาแก้บนในวันที่คณะผู้ ศึกษาลงสารวจ และช่วยเล่าประสบการณ์โดยตรงแก่คณะผู้ศึกษา ประโยชน์ คุณค่า รวมทั้งความดีทั้งปวงอันเกิดจากงานศึกษาฉบับนี้คณะผู้ศึกษาขอมอบแด่ บุพการีและผู้มีพระคุณทุกท่าน คณะผู้จัดทา
  • 6. (3) สารบัญ หน้า บทคัดย่อ (1) กิตติกรรมประกาศ (2) สารบัญ (3) สารบัญ(ต่อ) (4) สารบัญ(ต่อ) (5) บทที่ 1 บทนา 1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา 1 คาสาคัญ 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ขอบเขตของการศึกษา 2 ข้อจากัดของการศึกษา 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 บทที่ 2 เอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง 4 แม่นาคพระโขนง 4 ภาพยนตร์, นิยาย, เรื่องเล่าและเรื่องจริง 5 วัดมหาบุศย์ 10 เรื่องเล่าจากผู้ที่ไปสักการบูชา 17
  • 7. (4) สารบัญ(ต่อ) หน้า เปิดตานานปั้นเหน่งแม่นาค ชิ้นส่วนกะโหลกหน้าผากแม่นาค 18 บทที่ 3 วิธีดาเนินการศึกษา 21 วิธีการศึกษา 21 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 21 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 22 การเก็บรวบรวมข้อมูล 22 สถิติที่ใช้ในการศึกษา 23 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24 ภาพการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24 สรุปผลการวิเคราะห์ 28 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษารายบุคคลและข้อเสนอแนะ 30 สรุปผลการศึกษา 30 อภิปรายผลการศึกษา 31 ข้อเสนอแนะ 31
  • 8. (5) สารบัญ(ต่อ) หน้า บรรณานุกรม 33 ภาคผนวก 34 ภาคผนวก ก ภาพการประชุม 35 ภาคผนวก ข ภาพการสารวจสถานที่ 40 ภาคผนวก ค ภาพการดาเนินงาน 47 ภาคผนวก ง ภาพการสักการบูชาและขอขมาในการถ่ายทาและทาการศึกษา 54 ภาคผนวก ฉ ตัวอย่างแบบสารวจและการสารวจ 57 ภาคผนวก ช ประวัติย่อผู้ศึกษา 60 ภาคผนวก ซ แผนที่การเดินทาง 72
  • 9. บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา “พี่มาก…พระโขนง” หนังผีย้อนยุคแบบสนุกปนสยอง ได้ฝากรอยยิ้ม เสียงหัวเราะและหยด น้้าตาไว้ให้คนไทยเป็นจ้านวนมาก หนังเรื่องใหม่ของค่าย GTH ได้สร้างกระแสฮิตที่สุดในรอบปี ไม่ว่า จะเป็นค้าพูดติดปากอย่าง “พี่มากขาาาาาาาา….” จนท้ารายได้ทะลุไปถึง 500 ล้านบาท นับเป็นหนัง ไทยเรื่องแรกที่มีรายได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้ว่าสังคมไทยจะถูกพัดพาไปกับโลกของ เทคโนโลยีมากมาย แต่ในด้านความเชื่อในสิ่งลี้ลับก็ยังคงมีอยู่ และปรากฏให้เห็นในรูปของบทละคร บทภาพยนตร์ดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น ส้าหรับเรื่องราวที่คนไทยเกือบทั้งประเทศรู้จักและคุ้นเคยกันดี อย่าง “ต้านานรักแม่นาคพระโขนง" นั้น เพราะทั้งค้าเล่าขานที่ถูกเล่า และละครสร้างต่อๆ กันมา หลายยุคสมัย รวมถึงศาลของแม่นาค ณ วัดมหาบุศย์ ที่ยังคงมีผู้คนแวะเวียนมา สักการบูชาอย่าง ไม่ ขาดสาย ทั้งหมดทั้งมวลนี้เองต่างก็เป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนว่า ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนงยังคง ปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจึงได้ท้าการศึกษาประวัติของแม่นาครวม ไปถึงวัดมหาบุศย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาล “ย่านาค” ในสังคมไทยเต็มไปด้วยเรื่องลี้ลับและสิ่งที่ไม่สามารถ พิสูจน์ได้ สังคมด้ารงอยู่บนกฎหมายและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมไปถึงความเชื่อเกี่ยวกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ “แม่นาคพระโขนง” อาจเป็นเพียงแค่ต้านานหรือเรื่องจริง เราไม่สามารถที่จะพิสูจน์ ได้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคนว่าจะมีความคิดในรูปแบบใด สิ่งที่เราได้รู้จากต้านานของแม่นาค นั้นสะท้อนให้เห็นถึงการด้ารงอยู่ของหญิงไทยในสมัยโบราณ ขนมธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือความรักและความซื่อสัตย์ที่นางนาคมีต่อสามี ซึ่งเป็น แบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง ความเชื่อ เรื่องเล่า หรือต้านาน “แม่นาคพระโขนง”นั้น จะส่งผลถึงการใช้ ชีวิตของคนไทยซักเพียงใด เป็นเรื่องที่น่าสนใจและติดตามเป็นอย่างยิ่ง คาสาคัญ แม่นาคพระโขนง , วัดมหาบุศย์
  • 10. 2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ศึกษาความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวเรื่อง “แม่นาคพระโขนง” ว่าเหตุใดยังอยู่เคียงคู่กับ ประเทศไทยไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานหลายร้อยปี 2. สํารวจสถานที่สําคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับตํานานแม่นาคพระโขนงรวมถึงละแวก ใกล้เคียงกับวัดมหาบุศย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาล “ย่านาค” 3. ศึกษาการใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของผู้คนที่มีศรัทราและความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง “แม่นาคพระ- โขนง” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับ วัดมหาบุศย์ 4. ศึกษาหลักความเชื่อต่างๆ ตํานาน และข้อเท็จจริง ของตํานาน “แม่นาคพระโขนง” 5. นําข้อมูลที่วิจัยได้ ไปประยุกต์ใช้ต่อในอนาคต ขอบเขตของการศึกษา การศึกษามีขอบเขตของการศึกษาดังนี้คือ ขอบเขตด้านเนื้อหาซึ่งเราได้ทําการศึกษาความ เชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับเรื่อง “แม่นาคพระโขนง” ว่าเหตุใดยังอยู่คู่กับประเทศไทยแม้เวลาจะผ่านมา นับร้อยๆปีรวมถึงสํารวจสถานที่สําคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับ “ตํานานแม่นาคพระโขนง” และบริเวณ วัดมหาบุศย์ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลย่านาค กําหนดวัดมหาบุศย์และบริเวณรอบๆเป็นขอบเขตด้านสถานที่ โดยขอบเขตด้านประชากร เราจะศึกษาจากกลุ่มคนที่มีถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียงกับวัด มหาบุศย์รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศรัทราต่อความเชื่อเกี่ยวกับแม่นาค ตั้งขอบเขตด้านเวลา ประมาณ 10.00 น- 15.00 น. ซึ่งเป็นเวลาในตอนกลางวันและมีผู้เข้ามาสักการบูชาเป็นจํานวนมาก ข้อจากัดของการศึกษา เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทําให้พื้นที่บริเวณศาลย่านาค และบ้านเรือนละแวกนั้น เกิดความเจริญและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา รวมถึงการดําเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปของชาวบ้านแถว นั้นเพื่อให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน ภาพที่ถ่ายมาอาจไม่สามารถหาบรรยากาศที่เหมือนกับสมัยก่อนได้ แต่ยังคงใกล้เคียงกับสมัยก่อน
  • 11. 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. จากการศึกษาทําให้เราทราบสาเหตุที่ทําให้ตํานานและความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง “แม่นาค พระโขนง” อยู่คู่กับคนไทยมานานหลายร้อยปี 2. จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ จะทําให้เราสามารถปรับปรุงและสามารถต่อยอด แผนพัฒนาพื้นที่เพื่อเปลี่ยนบริเวณละแวกใกล้เคียงกับวัดมหาบุศย์ให้กลายเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวซึ่งผสมผสานความเชื่อของแม่นาคพระโขนงอย่างกลมกลืน 3. สามารถเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่มีศรัทราเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง “แม่นาคพระโขนง” 4. ได้รับความรู้ เกี่ยวกับตํานาน สิ่งลี้ลับรวมถึงความเชื่อส่วนบุคคลและเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ศาลย่านาค 5. ฝึกความสามัคคีและการทํางานร่วมกับคนหมู่มาก
  • 12. บทที่ 2 เอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง งานศึกษาในครั้งนี้ คณะผู้จัดทาได้ศึกษาเอกสารและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง และได้นาเสนอ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ แม่นาคพระโขนง แม่นาคพระโขนง เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของไทย เชื่อว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตัวตน อยู่จริง ปัจจุบันมี ศาลแม่นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานครแม่นาคพระโขนง เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีตายทั้งกลมที่เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของไทย เชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงใน ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตัวตนอยู่จริง ปัจจุบันมีศาลแม่- นาค ตั้งอยู่ที่ วัดมหาบุศย์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร เรื่องราวของแม่นาคพระโขนงเป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว เพราะมีหลักฐานว่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีคนรู้จักแม่นาคพระโขนง มากกว่าบุคคลสาคัญของบ้านเมืองเสียด้วยซ้า ที่กล่าวดังนี้ ก็เนื่องจาก สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ได้ทรงเล่าให้หม่อมเจ้าพูน - พิศมัย ดิสกุล ฟังว่าในสมัยที่พระองค์ท่านยังเป็นนายทหารประจาอยู่ในพระบรมมหาราชวังนั้นมีเจ้าพี่ เจ้าน้องมาประทับคุยด้วยอยู่ใกล้วังกับประตูบ่อยๆ ทรงเห็นมีคนเข้าออกประตูวังเนืองแน่นอยู่เสมอ ก็ทรงคิดกันว่าน่าจะทดลองความรู้คนเหล่านั้นดูจึงทรงจดชื่อบุคคล๔ คนคือ ๑.ท่านขรัวโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆัง) ๒.พระพุทธยอดฟ้า (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่๑) ๓.จาไม่ได้ว่าใคร ๔.อีนาคพระโขนง
  • 13. 5 แล้วให้คนไปคอยถามผู้ที่เข้าออกประตูวังทุกคนว่า ตามรายชื่อทั้ง ๔ คนนั้น รู้จักใครบ้าง ความมีชื่อเสียงของแม่นาคได้ทําให้วัดมหาบุศย์ ริมคลองประเวศ บุรีรัมย์ แขวงพระโขนง เขตพระ- โขนง กรุงเทพมหานครพลอยเป็นที่รู้จักของคนทั้งหลายด้วย ในฐานะเป็นวัดที่ฝังศพแม่นาควัดมหา- บุศย์นี้ พระศรีสมโภชน์ (พระศรีสมโพธิ) เจ้าคณะวัดสุวรรณฯ เป็นผู้สร้าง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ในขณะที่ท่านยังเป็นพระมหาบุศย์ ภาพยนตร์, นิยาย, เรื่องเล่าและเรื่องจริง เรื่องราวของแม่นาคมีทั้งที่เป็นนิยายและภาพยนตร์ บุคคลแรกที่ทําให้ "แม่นาคพระโขนง" โด่งดังขึ้นมา ก็คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ พระองค์ท่านทรงนําเรื่อง 'อีนาคพระโขนง' ออกแสดงเป็นละครเวทีที่โรงละครปรีดาลัยจนเกรียวกราวได้รับการต้อนรับจากดู เป็นอย่างมาก จนต้องแสดงซ้ําถึง ๒๔ คืน ในนิยาย กล่าวถึงแม่นาคว่าที่พระโขนง มีเศรษฐีสองสามีภรรยาชื่อตามั่นกับยายมี (หมี) ทั้ง สองมีลูกสาวที่สวยที่สุดในย่านพระโขนง จึงมีหนุ่มๆมาติดพันหลายคน มากก็เป็นคนหนึ่งในจํานวนนั้น แต่เพราะหนุ่มมากชอบประพฤติกรรมตัวเป็นนักเลงโต ตามั่นจึงพยายามกีดกันและตัดการหมั้นทอง นาคให้กับเสี่ยย้งทองนาคจึงตัดสินใจ หนีตามหนุ่มมาก ในวันที่เสี่ยย้งยกขบวนขันหมากมา หลังจากได้ ทองนาคมาเป็นภรรยา มากก็กลับตัวเป็นคนดี ขยันขันแข็งทํามาหากิน ทั้งสองจึงอยู่กันอย่างมี ความสุข ต่อมาทองนาคตั้งท้อง ก็พอดีมากถูกเกณฑ์ทหาร มากต้องไปเป็นทหาร จึงฝากลุงกับปูาชื่อ ตาหอยกับยายหมาให้ช่วยดูแลทองนาค(เพราะบิดามารดาของมาก เสียไปแล้ว จึงต้องมาฝากลุงกับปูา ให้ช่วยดูแลภรรยา) ตาหอยยายหมาเป็นห่วงหลานสะใภ้ จึงรับทองนาคไปอยู่ด้วย ทองนาคเป็น คนขยันขันแข็งถึงกําลังท้องไส้ ก็ยังช่วยหาบขนมขายทุกวัน จนกระทั่งกลางดึกคืนหนึ่งทองนาคเกิด เจ็บท้องจะคลอดลูก ตาหอยจึงรีบไปตามหมอตําแย(หญิงที่ช่วยทําคลอดสมัยก่อน) ชื่อยายจั่น มาทํา คลอดให้ แต่ยายจั่นไม่สามรถทําอะไรได้เพราะเด็กในท้องขวางตัว และทองนาคไม่มีลมเบ่ง ในที่สุด ทองนาคก็ขาดใจตายทั้งที่ลูกยังอยู่ในท้อง การตายลักษณะนี้เรียกว่า ตายทั้งกลม ซึ่งเชื่อกันว่า ผีพวก นี้แรงทั้งแม่ทั้งลูกในวันฝังทองนาค นายทุย(เพื่อนของมากที่ถูกเกณฑ์ทหารด้วยกัน) ได้กลับมาบ้านที่ พระโขนง และมาทันช่วยหามศพทองนาคไปฝังที่ปุาช้าวัดมหาบุศย์ หลังจากนั้นพอตกดึก ชาวบ้านใกล้วัดมหาบุศย์ก็จะได้ยินเสียงทองนาคเห่กล่อมลูกอยู่ที่โคน ต้นตะเคียนใกล้คลอง ด้วยสําเนียงอันโหยหวน มีเสียงเด็กร้องไห้ ประสานด้วยเสียงหมาหอน
  • 14. 6 ในตอนแรก ทองนาคก็ไม้ได้ดุร้ายอะไรนัก จนกระทั่งลูกชายของนางไปเล่นกับเด็กวัดแล้วถูก เด็กวัดรังแกนางจึงหลอกพวก เด็กวัด ด้วยการยื่นมือยาวๆ จะจับเท่านั้น แต่ไม่ได้ทําอะไรรุนแรง ทํา เอาพวกเด็กวัดจับไข้กันเป็นแถว แต่รายที่ทองนาคเล่นงานอย่างจริงจังก็คือ เสี่ยย้ง เพราะเสี่ยย้งเคย ปลุกปล้ํานางมาครั้งหนึ่ง นางทองนาคจึงบีบคอเสี่ยย้งจนตาย เมื่อมากกลับมาที่พระโขนง ก็พบทอง นาครอรับอยู่ที่บ้าน มากจึงไม่ยอมเชื่อ เมื่อใครต่อใครบอกว่าทองนาคตายแล้ว จนตาหอยผู้เป็นลุงต้อง แนะนําว่า จะเชื่อหรือไม่ ก็ให้ทดลองดู เวลานางทองนาคตําน้ําพริก ให้แอบบีบมะนาวลงไป ถ้า ผีเป็นผู้ทําก็จะมีหนอน มากแอบทดลองดู ก็ปรากฏว่าในน้ําพริกมีหนอนจริงๆ แต่เขายังไม่ยอมเชื่อ จน วันหนึ่งขณะที่นางนากตําน้ําพริกอยู่บนบ้าน นางนากทํามะนาวตกลงไปใต้ถุนบ้าน ด้วยความรีบร้อน นางจึงเอื้อมมือยาวลงมาจากร่องบนพื้นเรือนเพื่อเก็บมะนาวที่อยู่ใต้ถุนบ้าน นายมากขณะนั้น บังเอิญ ผ่านมาเห็นพอดี จึงปักใจเชื่ออย่างเต็มร้อย ว่าเมียตัวเองเป็นผีตามที่ชาวบ้านว่ากัน นายมากวางแผน หลบหนีผีนางนาก โดยการแอบเจาะตุ่มใส่น้ําให้รั่วแล้วเอาดินอุดไว้ พอตกกลางคืนหลอกนางนากว่า จะปลดทุกข์เบา แล้วแกะดินที่อุดตุ่มไว้ให้น้ําไหลออกเหมือนคนปลดทุกข์เบา จากนั้นจึงแอบหนีไปหา นายทุยที่บ้าน ทองนาครู้ว่ามากหนี ก็ตามไปที่บ้านของทุย ทุยกับมากจึงต้องพากันหนีอีก นางก็ติดตามไม่ ลดละจนทั้งสองหนุ่มวิ่งหนีฝุาเข้าไปในดงหนาด(ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่เป็นขน มีกลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้ ถือกันว่าผีกลัว) นางจึงไม่กล้าติดตามเข้าไป แต่ยังรออยู่นอกดงหนาด แล้วเรียกเสียงเย็นๆ ว่า พี่มากขาาาาา... จนรุ่งเช้า นางจึงจําใจจากไปเพราะกลัวแสงแดด ส่วนสองหนุ่มที่หลบภัยอยู่ในดงหนาดนั้น สมภารคงวัดมหาบุศย์ออกบิณฑบาตผ่านมาพบเข้า ก็ช่วยพากลับไปที่วัด และให้พระเณรช่วยกันวง ด้านสายสิญจน์ตั้งบาตรน้ํามนต์ให้พระมานั่งล้อมมากกับ ทุยแล้วสวดพระปริตร ตกกลางคืนทองนาคก็ มาจริงๆแต่ไม่สามารถฝุาวงสานสิญจน์เข้าไปหามากได้ ทําให้นางโกรธมาก และเที่ยวปรากฏตัวหลอก หลอนผู้คนที่พายเรือผ่านหน้าวัด จนไม่มีใครกล้าผ่านไปแถวนั้น และชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดก็ต้องอพยพ หนีไปอยู่ที่อื่น พระสงฆ์องค์เจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วย (คงเป็นเพราะชาวบ้านย้ายหนีไปหมด เลยไม่มี ใครใส่บาตร พระสงฆ์เลยลําบาก) ต้องย้ายไปอยู่วัดอื่น วัดมหาบุศย์แทบจะกลายเป็นวัดร้าง เหลืออยู่ แต่สมภารคงรูปเดียว ข่าวความดุร้ายของทองนาค เล่าลือกันไปทั่วกัน จนรู้ถึงหมอผีชื่อดังคนหนึ่งชื่อ แหยม หมอแหยม พาเจ้าเปลี่ยนลูกศิษย์ที่วัดมหาบุศย์เพื่อจะปราบผีแม่ทองนาค แต่กลับถูกทองนาค หักคอตายส่วนเจ้าเปลี่ยน กลายเป็นบ้าไป แต่ในที่สุด ผีแม่ทองนาคก็ถูกปราบลงจนได้ โดยเณรจิ๋วซึ่ง มาแต่เมืองเหนือเณรจิ๋วได้ใช้วิชาอาคมเรียกทองนาคลงหม้อเอาไปถ่วงน้ําได้สําเร็จ
  • 15. 7 เรื่องแม่นาคในนิยายก็จบลงเพียงเท่านี้ แต่มีคําเล่าลือบางกระแสว่าผู้ที่ปราบผีแม่นาค ไม่ใช่ เณรจิ๋ว ทว่าเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆัง เล่ากันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ท่านรู้ข่าว การอาละวาดของผีแม่นาคซึ่งก่อความหวาดกลัวและเดือดร้อนแก่ชาวบ้านแถววัดมหาบุศย์ เป็นอย่าง มาก แม้แต่หมอผีเก่งๆ ก็ยังพ่ายแพ้คอพับคอย่น (เพราะถูกบีบคอ) ไปหลายราย สมเด็จฯ โตจึง มาค้างที่วัดมหาบุศย์ แต่ท่านไม่ได้ทําพิธีอะไรมากมายอย่างหมอผีทั้งหลาย พอตกค่ํา ท่านก็ไปนั่งที่บริเวณหลุมศพแล้วเรียนนางนาคขึ้นมาสนทนากัน แต่ท่านจะพูดจาตกลงกับ นางนาคว่าอย่างไรไม่มีใครรู้ ลือกันว่า ท่านได้เจาะเอากระดูกหน้าผากจากศพของนางนาคขัด กระดูกแผ่นนั้นจนเกลี้ยงเป็นมันแล้วนํากลับไปยังวัดระฆัง ลงยันต์กํากับและเจาะทําเป็นหัวเข็มขัด เวลาท่านจะไปไหนก็เอาคาดเอวติดไปด้วย นับตั้งแต่นั้น ผีแม่นาคที่เคยอาละวาดที่วัดมหาบุศย์ พระ โขนงก็สงบไป เมื่อไปอยู่ที่กุฏิสมเด็จโต เวลานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ยัง เป็นสามเณร อยู่ในกุฏินั้นด้วย ได้ถูกแม่นาครบกวน สามเณรก็ฟูองสมเด็จฯ ว่า สีกามากวนเขาเจ้าข้า สมเด็จฯ ท่าก็ร้องปรามว่านางนาคเอ๊ยอย่ารบกวนคุณเณร สิ แม่นาคก็เงียบไป แล้วนานๆ ก็ออกมา แหย่เล่นเสียครั้งหนึ่ง พอถูกปรามก็หยุดไป เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ครั้นสมเด็จฯ ท่าชรามากขึ้นก็มอบ กระดูกหน้าผากนางนาคประทานหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์และให้สามเณร ม.ร.ว.เจริญ ไปอยู่ ด้วย นางนาคยังคงเล่นสนุกเย้าแหย่สามเณรตามเคย หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ทรงกริ้วดุนางว่า เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามากวนเณร คุณเณรจะได้ดูหนังสือหนังหานางนาคจึงเงียบไป ต่อมาหม่อมเจ้า พระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งได้เป็นหม่อมเจ้า สมเด็จพระพุฒาจารย์(ทัต) ได้ประทานกระดูกหน้าผากนาง นาคให้แก่หลวงพ่อพริ้ง(พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์)วัดบางปะกอก ภายหลังหลวงพ่อพริ้ง ก็มอบกระดูกนางนาคแด่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กระดูกนางนาค จึงไปอยู่ในซองผีที่วังนางเลิ้ง (ในเวลานี้เป็นโรงเรียนพาณิชยการพระนคร) อยู่ที่วังนางเลิ้งไม่นานเท่าไร นางนาคก็มากราบทูลลา (คงจะหมดเวรหมดกรมไปเกิดใหม่ แต่จะเกิดเป็นคนหรือเปล่าก็ไม่ทราบ เพราะนางนาคอาจจะไปเกิดเป็นอมนุษย์ก็ได้และคําว่าอมนุษย์ก็ครอบคลุมกว้างมาก ตั้งแต่ ผี ปีศาจ ยักษ์ มาร นางไม้ เทวดา เป็นต้น หากให้สันนิษฐาน นางนาคน่าจ ะเกิดในระดับที่สูงกว่าผีขึ้นไป) และ กระดูกนางนาคชิ้นนั้นก็อันตรธานหายไปไม่พบเรื่องราวอีกเลย เรื่องราวแม่นาคที่บางครั้งก็ดูจริงจัง เกินกว่าเรื่องนิยายทําให้ เกิดความคิดขึ้นสองอย่าง บ้างก็ยังคงเชื่อว่า เป็นเรื่องนิยาย แต่มีมากกว่าบ้าง เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง! และฝุายที่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงนั้น ได้พยายามรวบรวมหลักฐานมายืนยัน เช่น ขุนชาญคดี (ปั่น) กํานันตําบลพระโขงสมัยนั้น ได้เล่าถวาย สมเด็จฯ เจ้าฟูากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพรพระราชโอรสในรัชกาลที่๕) ว่า
  • 16. 8 นางนาคเป็นบุตรสาวของขุนศรีฯ นายอําเภอ บ้านอยู่ปากคลองพระโขนงฝั่งตะวันตกข้างวัด มหาบุศย์(ตามหลักฐานนี้ แม่นาคไม่ใช่ลูกสาวของตามั่นยายมีแต่อย่างไร และไม่ใช่เด็กสาวกําพร้า ด้วย) และเป็นสาวสวยที่จะหาสาวใดในย่านพระโขนงมาเทียบเคียงได้ยาก สมเด็จฯ เจ้าฟูากรมหลวง ลพบุรีราเมศวร์เมื่อได้ทรงฟังเรื่องราวแล้วถึงกับรับสั่งว่า "สวยสดงดงามถึงอย่างนั้นทีเดียวรึ มิน่าเล่าเจ้าพวกหนุ่มๆ ถึงได้ตอมกันนัก และปีศาจก็มีฤทธิ์ ร้ายแรงถึงเพียงนั้น" และหลักฐานที่ ก.ศ.ร.กุหลาบ บรรณาธิการหนังสือ "สยามประเภท " ตอบข้อข้องใจของคน อ่าน ลงในหนังสือเล่มที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ว่า "จะเป็นวันเดือนปีใดจําไม่ได้เป็นคํา พระศรีสมโภช (บุด) วัดสุวรรณเล่าถวายสมเด็จอุปัชฌาย์ว่า ในรัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ อําแดงนาก บุตร ขุนศรีนายอําเภอ บ้านอยู่ปากคลองพระโขนง เป็นภรรยานายชุ่ม ตัวโขนทศกรรฐ์ในพระจ้าวบรมวงศ์- เธอจ้าวฟูากรมหลวงพิทักษ์มนตรี อําแดงนากมีบุตรถึงอนิจกรรม นายชุ่มทศกรรฐ์สามีนําศพอําแดง นากภรรยาไปฝังที่ปุาช้าวัดมหาบุศย์ ศพอําแดงนากฝังไว้ที่นั่นไม่มีปีศาลหลอกผู้ใด เป็นแต่พระศรี - สมโภชเจ้าของวัดมหาบุศย์ เล่าถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสว่า นายชุ่ม ทศกรรฐ์เป็นคนมั่งมี บุตรนายชุ่มมีชายหญิงหลายคน แต่ล้วนยังไม่มีสามีภรรยาทั้งสิ้น บุตรนายชุ่ม หวงทรัพย์สมบัติของบิดา เกรงว่าบิดาจะมีภรรยาใหม่ พวกลูกชายจึงทําอุบายให้คนไปขว้างปา ชาวเรือ ตามลําคลองริมปุาช้าที่ฝังศพอําแดงนากมารดา กระทํากิริยาเป็นผีดุร้ายหลอกคน จนถึงช่วย นายชุ่มถีบระหัดวิดน้ําเข้านาแลวิดน้ํากูเรือของนายชุ่มที่ล่มก็ได้ บุตรชายแต่งกายเป็นหญิงให้คล้าย อําแดงนากมารดาทํากิริยาเป็นผีดุร้ายให้คนกลัว ทั่วทั้งลําคลองพระโขนง บุตรนายชุ่มทศกรรฐ์หลาย คนได้เล่าถวายเสด็จอุปชฌาย์ว่า ตนได้ทํามายาเป็นปีศาจอําแดงนากมารดาหลอกชาวบ้าน จริงดั่งพระ ศรีสมโภชกราบทูลเสด็จอุปัชฌาย์ทุกประการ" (จากหนังสือ ตามรอยนางนากพระโขนง ของ ส.พลาย- น้อย) ตามความข้างต้นนี้ สามีของแม่นาคแทนที่จะเป็นนายมากกลับเป็นนายชุ่ม และวัดมหาบุศย์ ที่กล่าวถึงก็คือวัดมหาบุศย์นั่นเอง) แต่หลักฐานทั้งสองนี้ก็ยังคงขัดแย้งกันเอง จึงต้องแล้วแต่ว่า ใครจะ เชื่อในเรื่องไหนแต่อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของแม่นาคพระโขนง ก็ยังคงเป็นตํานานรักอมตะประจําถิ่น พระโขนงมาตราบเท่าทุกวันนี้ และเพื่อเป็นการระลึกถึงแม่นาค ทางวัดมหาบุศย์จึงได้สร้างศาลแม่ นาคพระโขนงขึ้นในบริเวณวัดเพื่อให้ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้แวะมากราบไหว้ย่านาคกัน
  • 17. 9 เหตุที่ผีแม่นาคเฮี้ยนหนัก เพราะเอาศพไปฝังไว้ระหว่างต้นตะเคียนคู่ ก่อนหน้าที่ทิดมากจะมา ผีนางนาคไปร้องขอข้าวเณร และยื่นมือไป เณรเอามีดหมอหลวงตาฟันมือขาด หลวงตาเอาเณรไปไว้ ในกุฏิ เอาใบหนาดสวม และนอนเฝูา แต่ผีนางนาคก็มาหักคอเณรจนได้ ผีนางนาคกับลูกเที่ยวหลอก ชาวบ้านและคนเดินทาง รวมทั้งพระในวัดจนเป็นที่เลื่องลือ แม้หนุ่มๆ ผีนางนาคก็แปลงกายเป็นสาว สวยมาหลอกให้หลง พอรู้ว่าเป็นผีก็หนีขวัญหนีดีฝุอ ทิดมากเองจะไปไหนก็ไม่ได้ นางนาคคอยติดตาม ในที่สุดต้องหาหมอผีมาเรียกวิญญาณนางนาคและลูกใส่หม้อ นําไปถ่วงน้ํา แล้วทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ผีนางนาคจึงหายไป แต่ตํานานเรื่องแม่นาคพระโขนงก็ยังเล่าสืบกันมา จนถึงกับนํามาสร้างเป็น ภาพยนตร์เรื่อง แม่นาคพระโขนง ฉายให้คนชมติดใจไปตามๆ กัน หมายเหตุ : *(ชื่อ แม่นาค เขียนได้ ๒ อย่างคือ นาก ซึ่งหมายถึงของมีค่า จําพวกทอง เงิน นาก และ นาค ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมใช้ในรุ่นหลังๆ)
  • 18. 10 วัดมหาบุศย์ พระอุโบสถวัดมหาบุศย์ แหล่งที่มา www.thaitripdd.com วัดมหาบุศย์ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2305 ก่อนเสียกรุงเก่าพม่า 5 ปี เล่ากันว่าเดิมชื่อ "วัดสามบุตร"กล่าวคือ บุตรชาย สามคนพี่น้องร่วมกันสร้าง ขึ้น และเข้าใจว่าเสนาสนะสิ่งก่อสร้างในวัดในขณะนั้นคงจะเป็นเครื่องไม้เสียเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นวัสดุ ที่ไม่คงทนครั้งกาลต่อมามีสภาพเป็นวัดร้าง ต่อมาเมื่อพระมหาบุตร เปรียญ 5 ประโยค สํานักวัดเลียบ (ต่อมาในรัชกาลที่ 1 พระราชทาน นามใหม่ว่า "วัดราชบุรณะ") กรุงเทพมหานคร ได้มาเยี่ยมญาติโยมของท่านซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในลํา - คลองพระโขนง ในเวลานั้น บรรดาชาวบ้านพระโขนงจึงได้พร้อมใจกันนิมนต์ให้ท่านอยู่วัดสามบุตร เพื่อช่วยเป็นผู้นําในการบูรณะวัดสามบุตรหรือจะเรียกว่าสร้างวัดใหม่ทั้งวัดก็น่าจะได้ เมื่อการสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจึงเปลี่ยน นามวัดใหม่ จาก "วัดสามบุตรเป็นวัดมหาบุตร" ตามนามของพระมหาบุตร ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปตามความ เจริญของภาษาไทย จึงได้เขียนชื่อวัดเป็นทางราชการว่า วัดมหาบุศย์ ดังที่เห็นและใช้อยู่ตราบจนใน ปัจจุบัน แต่ยังมีประชาชนนิยมเรียกอีกนาม หนึ่งว่า "วัดแม่นาคพระโขนง"ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยอิทธิพล ของวรรณกรรมเรื่อง นาคพระโขนง
  • 19. 11 วัดมหาบุศย์ ตามประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร ฉบับกรมการศาสนาจัดพิมพ์ ตอนหนึ่งว่า วัดมหาบุศย์มีฐานะเป็นสํานักสงฆ์อยู่หลายปี ตราบถึงประมาณปี พ.ศ. 2455 ต้นรัชกาลที่ 6 จึงได้มี การบูรณะสังฆเสนาสนะขึ้นอีกด้วย โดยได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. - 2459 มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 2 เส้น ยาว 2 เส้น7 วาครั้นถึง พ.ศ. 2470 อุโบสถหลังที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2459 นั้นชํารุดทรุดโทรม จึงได้ทําการรื้อออกแล้วก่อสร้างขึ้นใหม่กว้าง 20 เมตร ยาว 23 เมตร หน้าบัสลักเป็นลายกนกไทยรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หลังคาสองชั้นลด ถึงพ.ศ. 2500 ทางวัดได้ ทําการบูรณะใหม่ เปลี่ยนกระเบื้องเป็นกระเบื้องเคลือบสี เปลี่ยนช่อฟูาใบระกาหงส์และหน้าบันใหม่ ทั้งหมด เสร็จเรียบร้อยแล้วได้เชิญ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมาเป็น ประธานพิธียกช่อฟูาวัดมหาบุศย์กับแม่นาคพระโขนง เมื่อมาถึงยัง วัดมหาบุศย์ จะเห็นปูายชี้ทางไปยังศาลย่านาค ใช้ชื่อ แม่นาค หรือ ย่านาค แต่ คนแถวนี้เขานิยมเรียกว่า ย่านาค ซึ่งศาลนี้เองเป็นเหมือนจุดมุ่งหมายของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะ คู่รักที่มาขอพรหรือกราบไหว้สักการบูชา วิหารหลวงพ่อยิ้ม วัดมหาบุศย์ ก่อนที่จะไปยังศาลย่านาค ขอเข้าไปกราบขอพรจากหลวงพ่อยิ้ม ใน “วิหารหลวงพ่อยิ้ม ” เพราะอยู่ตรงด้านหน้าวัด วิหารนี้เป็นวิหารเล็กๆ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อยิ้ม ลักษณะเป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ สังเกตว่า คนที่มากราบไหว้หลวงพ่อยิ้มมักจะ เสี่ยงเซียมซีควบคู่ไปด้วย
  • 20. 12 ถัดจากวิหารหลวงพ่อยิ้มไปเป็น “อุทยานพระ โพธิสัตว์กวนอิม ” ภายในประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่ กวนอิม ตั้งอยู่กลางแจ้งแต่มากด้วยร่มไม้ทําให้ดูร่ม รื่นสบายตา แวะไหว้เจ้าแม่ พร้อมทั้งท่องบทบูชาเจ้า แม่กวนอิมที่แปะอยู่ตรงหน้า รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม ในวันมหาบุศย์ หลังจากนมัสการไหว้เจ้าแม่กวนอิม แล้ว เดิน ตามปูายบอกทางเข้าไปยังริมน้ําคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งมี “ศาลย่านาค ” ตั้งอยู่ เมื่อเข้ามาถึงเห็นผู้คน มากมายมาจุดธูปจุดเทียนขอพรจากย่านาค ส่วนใหญ่ จะมาเป็นคู่ชายหญิง ขอพรเรื่องความรัก ภาพบรรยากาศในศาลย่านาค ผ้าเจ็ดสีเจ็ดศอกที่พันอยู่รอบต้นไม้อย่างหนาแน่น ชุดไทย ชุดเด็ก ของเล่นเด็ก รวมถึงรูปวาดแม่นาค มีให้เห็น มากมายภายในศาลย่านาคแห่งนี้นอกจากจะมี ศาลย่า-นาค แล้วข้างๆ ศาลย่านาคยังมี ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง อยู่ด้วย คนส่วนใหญ่ ที่มาจะนิยมมาขอพรใน ด้านโชคลาภหรือขอ หวยนั่นเอง ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
  • 21. 13 ที่ริมคลอง วัดมหาบุศย์ มีเรือนหลังเล็กๆ ไกลผู้คน ชาวบ้านต่างรู้จัก กันดีว่า นี่คือ เรือนของแม่นาคกับทิดมากแม้ว่าจะยากจน แต่ว่าก็เป็นคู่ผัว เมียที่รักกันมาก ในช่วงที่แม่นาคตั้งท้อง บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ทิดมากถูก เรียกไปเป็นทหารเกณฑ์ ยังไม่ทันพ้นทหารกลับมานางนาคต้องมาสิ้นใจตาย ทั้งกลม เพราะทนความเจ็บปวดจากการคลอดลูกไม่ไหว เมื่อตายแล้วพวก ชาวบ้านช่วยกันเอาศพของนางนาคไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนคู่ แต่ด้วยความ รักผัว จึงไม่ยอมไปผุดไปเกิด เฝูารอวันที่ผัวจะกลับมา บริเวณด้านหน้าศาลย่านาค
  • 22. 14 จากนั้นก็มักจะมีคนเห็นว่า นางนาคออกมาสําแดงตนให้เห็นอยู่บ่อยๆ บางทีก็เห็นมาผูกเปล กับต้นตะเคียนคู่ แล้วจะเห่กล่อมลูกด้วยเสียงที่โหยหวน ชาวบ้านพากันหวาดกลัวผีแม่นาคเป็นอันมาก จนเมื่อถึงวันที่ทิดมากได้กลับมาบ้านเห็นแม่นาคนั่งกล่อมลูกอยู่ที่ชานหน้าบ้าน ด้วยความดีใจรีบวิ่งไป หาลูกเมีย แต่ก็ต้องสะดุ้งเมื่อตัวของนางนาคเย็นผิดปกติ แม่นาคเหมือนจะอ่านใจผัวออก รีบยกสํารับ ข้าวปลาอาหารออกมารับขวัญ ต้นตะเคียนคู่ที่ฝังศพแม่นาคในสมัยก่อน และเรือพายของแม่นาค ตั้งแต่นั้นมาทิดมากกับนางนาค ก็อยู่กินกันตามปกติเหมือนเดิม แม้จะมีชาวบ้านแอบมาบอก ว่านางนาคตายแล้วทิดมากก็ไม่ยอมเชื่อ และยังตามหลอกหลอนผู้ที่มาบอกความจริงกับผัวของตน จนกระทั่งวันหนึ่งทิดมากนั่งอยู่ใต้ถุนบ้าน ส่วนนางนาคก็กําลังทํากับข้าวตําน้ําพริกอยู่ในครัวบนเรือน เผอิญทํามะนาวหลุดมือหล่นไปใต้ถุนบ้าน นางนาครีบหย่อนมือที่ยาวเฟื้อยผิดจากปกติลงไปเก็บด้วย ความรวดเร็ว ทิดมากเห็นดังนั้นก็ตกใจมากจนหนีไปพึ่งวัด
  • 23. 15 สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ที่มารูปภาพ www.itti-paithan.com สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ท่านรู้ข่าวการอาละวาดของผีแม่นาค ซึ่งก่อ ความหวาดกลัวและเดือดร้อนแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก แม้แต่หมอผีเก่งๆ ก็ยังพ่ายแพ้ ท่านจึงลงไป ค้างที่ วัดมหาบุศย์ และเรียกนางนาคขึ้นมาคุยกัน ผลสุดท้ายท่านเจาะเอากระดูกหน้าผากของนางมา ลงยันต์ และทําเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ผีนางนาคก็ไม่ออกมาอาละวาดอีกเลย
  • 24. 16 องค์รูปปั้นย่านาค บริเวณภายในศาล จาก นั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ประทานกระดูกหน้าผากนางนาคให้กับหม่อมเจ้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) เก็บรักษาไว้ และต่อมาก็ได้ประทานต่อให้ หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศี- ลาจารย์) อีกต่อ จนมาถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไม่นานนักแม่นาคก็มากราบลา จากนั้นก็ไม่มี ใครพบกระดูกหน้าผากของแม่นาคอีกเลย นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ ตํานานแม่นาคพระโขนง ที่เล่าต่อๆ กันมา ส่วนจะมีจริงหรือเป็น เรื่องที่แต่งขึ้นมาก็ไม่มีใครพิสูจน์ได้ และใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็นสิทธิของแต่ละคน แต่ที่ตํานานแม่- นาคพระโขนงคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ได้ นอกจากเรื่องชวนขนหัวลุกแล้ว ตํานานแห่งความรัก ที่มั่นคงของแม่นาคต่อทิดมากนั้นถือเป็นหนึ่งในตํานานรักอมตะของเมืองไทยที่น่าเทิดทูนยกย่องเป็น อย่างยิ่ง
  • 25. 17 เรื่องเล่าจากผู้ที่ไปสักการบูชา วันหนึ่ง...ที่ศาลย่านาค หลายครั้งหลายคราวที่ พี่ลาเต้ ได้มีโอกาสได้เข้าไปไหว้รูปปั้นย่านาค ในศาล ด้านหลังวัด มหาบุศย์ พื้นที่ตรงนั้นบอกเล่าเหตุการณ์ในอดีตได้เป็นอย่างดี จนสามารถจินตนาการให้นึกภาพตาม ได้ไม่ยาก..มีศาลหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับริมน้ํา ด้านหลังของศาลเป็นสุสานของวัดมหาบุศย์ที่เต็มไป ด้วยโลงศพ และต้นตะเคียน ด้านหน้าของศาลติดคลองสายหนึ่งที่ชื่อว่า "คลองพระโขนง" บรรยากาศ ในละแวกนั้นจะคึกคักมากๆในช่วงกลางวัน แต่ก็จะเงียบสงัดวังเวงในยามค่ําคืน [ยกเว้นวันที่หวยออก จะมีคนเยอะมากๆหลายเท่า] เป็นความเชื่อที่มีมานานแล้วว่า ชายไทยคนไหนที่ไม่อยากติดทหาร หรือญาติพี่น้องกลุ่มใดไม่ อยากให้ลูกหลายต้องเป็นทหาร จะต้องมาขอพรจากย่านาค ซึ่งก็จะสมหวังไม่ได้เป็นทหารสมใจ เพราะเชื่อว่าท่านไม่ชอบการเป็นทหาร เพราะทหารทําให้ท่านกับสามีต้องพรากจากกัน ครั้งหนึ่ง พี่ลาเต้ เคยพาเพื่อนๆในกลุ่มไปไหว้ท่านพร้อมกัน ทุกคนไม่เคยมา ครั้งนี้จึงเป็นครั้ง แรกของทุกคน ทันทีที่ถึงศาล พี่ลาเต้ ก็พาเพื่อนๆไปดูสถานที่ที่ถูกเล่าขานเป็นตํานานหลายๆแห่ง เช่น ต้นตะเคียน ปุาช้า ศาลาริมน้ํา ที่ตั้งบ้านย่านาคในอดีต หรือแม้กระทั่งเดินเข้าไปหาพระเพื่อถาม ว่า ศาลาที่มีรอยเท้าย่านาคอยู่ตรงไหน เมื่อได้ทราบประวัติ และหลักฐานต่างๆจนเกือบครบ พี่ลาเต้ ก็พาเพื่อนๆเข้าไปไหว้ย่านาค บรรยากาศในศาลก็เต็มไปด้วยชุดไทย ชุดเด็ก และดอกไม้ต่างๆ ที่คนนํามาไหว้ และแก้บน พอไหว้ เสร็จก็ทยอยออกมาทีละคน เพื่อนๆ พี่ลาเต้ ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกหัวใจเต้นแรง มากๆตอนที่ปิดทองที่หุ่นย่านาค แม้กระทั่งระหว่างทางที่นั่งรถเดินทางกลับ เพื่อนแต่ละคนก็เล่าว่า ตอนนี้ในหัวยังเห็นเป็นรูปหุ่นย่านาคตลอดเวลา พี่ลาเต้ เจ้าของเว็บ Dek-D.com
  • 26. 18 เปิดตานาน ปั้นเหน่งแม่นาค ชิ้นส่วนกะโหลกหน้าผากแม่นาค แม้ว่าสังคมไทยจะถูกพัดพาไปกับโลกของเทคโนโลยีมากมาย แต่ในด้านความเชื่อในสิ่งลี้ลับก็ ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย สําหรับเรื่องราวที่คนไทยเกือบทั้งประเทศรู้จักและคุ้นเคยกันดี เห็นจะเป็น "ตํานานรักแม่นาคพระโขนง" เพราะทั้งคําเล่าขานที่ถูกเล่า และละครสร้างต่อๆ กันมาหลายยุคสมัย รวมถึงศาลของแม่นาค ณ วัดมหาบุศย์ ที่ยังคงมีผู้คนแวะเวียนมาสักการบูชาอย่างไม่ขาดสาย ต่างก็ เป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนว่า ความเชื่อเรื่องแม่นาคพระโขนง ยังคงปรากฏอยู่ในความเชื่อของคนไทย ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ล่าสุด กําลังเป็นประเด็นที่หลายคนหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างมาก เกี่ยวกับวัตถุล้ําค่าจาก ตํานานแม่นาคพระโขนง ที่เรียกกันว่า "ปั้นเหน่งแม่นาค" หลายคนอาจสงสัยว่า ปั้นเหน่ง คืออะไร เกี่ยวข้องกับแม่นาคพระโขนงอย่างไร แล้วเหตุใดผู้คนถึงให้ความสนใจ . . . ความจริงแล้ว คําว่า "ปั้นเหน่ง" มีความหมายถึง หัวเข็มขัด แต่ที่เรียกว่า "ปั้นเหน่งแม่นาค" เพราะว่ากันว่าเป็นที่สิ่งสถิตของวิญญาณแม่นาคพระโขนง ทั้งนี้ ตามตํานานเล่ากันว่า ในสมัยของ รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่แม่นาคออกอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างหนัก และครั้งหนึ่งข่าวแม่นาค หลอกหลอนหนักโดยเฉพาะที่แยกมหานาค(ในปัจจุบัน) ทําให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้มาทําการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน และเจาะกะโหลกผีแม่นาคเอามาขัดเป็นมัน ลงอักขระอาคม ทําเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ซึ่งหลังจากนั้นได้นําปั้นเหน่งไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่อท่านชรามากแล้ว ได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากแม่นาคนี้ไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธ - บาทปิลันทน์ ซึ่งในภายหลังท่านได้เป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) ต่อมาท่านได้ประทาน ปั้นเหน่งแม่นาคให้กับหลวงพ่อพริ้ง หรือพระครูวิสุทธิ์ศิลาจารย์ แห่งวัดบางปะกอก ซึ่งภายหลังได้ นําเอาปั้นเหน่งอันนี้มาถวายแด่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ในเวลาต่อมา ก่อนที่ปั้นเหน่งแม่นาค จะ ถูกเปลี่ยนมือไปอีกหลายทอด และหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย อย่างไรก็ตาม "ปั้นเหน่งหรือ กะโหลกหน้าผากแม่นาค" ถือได้ว่าเป็นหลักฐานที่หลงเหลือและจับต้องได้เพียงชิ้นเดียว จากตํานานรัก อมตะระหว่างผีกับคน ที่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ของศักดิ์สิทธิ์จากตํานานรักแม่นาค ตกทอดไป อยู่ในมือของผู้ใด
  • 27. 19 ครั้งหนึ่ง อดีตพระเอกคนดัง ซึ่งเคยรับบทพ่อมาก เมื่อหลายปีก่อน อย่าง พีท ทองเจือ ได้เคย ออกมาประกาศตามหาปั้นเหน่งแม่นาค เพื่อนํามาบูชา หลังเปิดใจกลางรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ว่า เขามีความเชื่อว่าตัวเองมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับแม่นาคพระโขนง โดยอ้างต้นตระกูลสืบ เชื้อสายมาจากตระกูล "เทพหัสดิน ณ อยุธยา" ซึ่งแม่นาคถือเป็นญาติฝุายคุณยาย นับญาติกันแล้ว พีท มีศักดิ์เป็นเหลนหรือโหลนของแม่นาค ที่เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 2 นอกจากนั้น พีทยังอาศัยอยู่ ร่วมชายคาเดียวกับบ้านที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของแม่นาคเมื่อในอดีต "ครอบครัวผมเป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งญาติๆ จะอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ทั้งคุณพ่อ , คุณแม่, น้องสาว, น้า และอา รวมประมาณ 6-7 ครอบครัว โดยมีบ้านอยู่ในพื้นที่เดียวกับวัดมหาบุศย์ หากเข้า มาในซอยวัดมหาบุศย์ จะถึงก่อนบ้านผมประมาณ 1 กิโลเมตร สมัยเด็กบ้านที่ผมอยู่จะอยู่ริมคลอง พระโขนง เป็นบ้านทรงไทยโบราณ ใต้ถุนสูงมีปุาไผ่ ปัจจุบันนี้ก็ยังคงน่ากลัวเหมือนเดิม ทุกวันพระผม มักจะเจอผู้หญิงในชุดสไบมาหาอยู่บ่อยๆภายหลังเชื่อว่าอาจจะเป็นวิญญาณแม่นาคที่มาหา" พีท ทองเจือ กล่าว พร้อมกันนี้ พีท ยังเล่าถึงชีวิตที่ผูกพันกับแม่นาค และประสบการณ์เฉียดตายที่เคยรับบทพ่อ มากในละครเมื่อหลายปีก่อน โดยขณะนั้นพีทยังไม่ทราบว่า มีสายเลือดผูกพันกับแม่นาค กระทั่งวัน หนึ่งต้องขับรถจากสิงห์บุรีไปถ่ายละครเรื่องอังกอร์ ปกติไม่ว่าจะถ่ายละครหนักแค่ไหนก็ไม่เคยหลับใน แต่วันนั้นประมาณตี 4 เกิดหลับใน แต่เหมือนมีคนสะกิด จึงรอดชีวิตมาได้ สําหรับการตามหาปั้นเหน่งแม่นาค นายหนุ่ม-คงกะพัน แสงสุริยะ ผู้ดําเนินรายการ บางอ้อ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ได้เปิดเผยถึงข้อมูล "ปั้นเหน่งแม่นาค" ว่า จากการสืบค้นหาร่องรอยของ "ปั้นเหน่ง แม่นาค" นั้นมีหลายร่องรอย โดยเชื่อว่า บุคคลที่มีมีปั้นเหน่งอยู่ในมือนั้นมีอยู่ 3 สาย ซึ่งแต่ละสายล้วน มีความน่าเชื่อถือทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสาย "กํานันชูชาติ" ซึ่งตอนนี้ปั้นเหน่งแม่นาค ในมือกํานันชูชาติ ได้ถูกเปลี่ยนไปสู่ คุณเทพ กําแหง , สายที่ 2 อยู่กับ พระองค์เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพล - ทิฆัมพร (องค์ชายกลาง) และสายที่ 3 อยู่กับชาวบ้านในละแวกวัดบางปะกอก ขณะเดียวกัน อาจารย์เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร ผู้รวบรวบเรื่องปั้นเหน่งแม่นาค ในวังนางเลิ้ง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จากการศึกษาข้อมูลทําให้เชื่อว่าปั้นเหน่งแม่นาคมีอยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเล่า ซึ่ง สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่กับทายาทผู้รับมรดกของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อย่างไรก็ตาม ล่าสุด คุณเทพ กําแพง นักเทคโอเวอร์พระชื่อดัง ได้นํา "ปั้นเหน่ง" ที่เชื่อกันว่า เป็น ปั้นเหน่งแม่นาค ที่ยอมทุ่มเงินเป็นล้านๆ มาให้ชมในรายการ บางอ้อ พร้อมกับกล่าวว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ เป็นเพียงแค่กระดูกผี หรือเครื่องรางธรรมดา แต่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งเชื่อมโยงว่า
  • 28. 20 แม่นาคพระโขนงมีอยู่จริง และหลังจากที่ได้ปั้นเหน่งนี้มา ก็เกิดเรื่องมหัศจรรย์ในบ้าน วันแรกที่นําเข้า บ้าน จู่ๆ ไฟก็ดับโดยไม่มีสาเหตุ บางครั้งก็มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ําอบไทย ตลบอบอวลในบ้านด้วย และนี่คือบางส่วนของตํานาน ปั้นเหน่งแม่นาค หรือที่หลายคนเรียกกันว่า กะโหลกหน้าผากแม่ นาคพระโขนง ที่ถูกเล่าขานต่อๆ กันมา ข้อมูลจากโทรทัศน์ ทางช่อง โมเดิร์นไนน์ทีวี รายการคุณพระช่วย ออกอากาศวันเสาร์ ที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 เวลา15.00 น.
  • 29. บทที่ 3 วิธีดาเนินการศึกษา วิธีการศึกษา การศึกษาเล่มนี้เป็นการหาข้อมูลปฐมภูมิมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวความเชื่อ ที่มีความ เกี่ยวข้องกับตานานแม่นาคพระโขนงของ แต่ละบุคคล มาทาการวิเคราะห์เพื่อหา สาเหตุถึงความ ยาวนานของตานานแม่นาคพระโขนงนี้ ที่ ยังคงเล่าขานกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ดาเนินการศึกษา ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.4 สถิติที่ใช้การศึกษา 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษานักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้าที่วัดมหาบุศย์ จานวน 100 คน 3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้า จานวน100 คน ในช่วงเวลา 9.00-16.00 น. ของวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยการสุ่มอย่างง่าย ( Sample Random Sampling)
  • 30. 22 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.แบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ชาวบ้านในท้องถิ่นและผู้ประกอบการร้านค้าที่ มีความศรัทธาต่อศาลย่านาค ณ วัดมหาบุศย์ จํานวน 100 ชุด การทําการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทพิชัย สดภิบาล รองคณบดีฝุายแผนและพัฒนา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2. พระครูสุนทรพัฒนพิมล เจ้าอาวาสวัดมหาบุศย์ 3. พระวิธาน กิจจาทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาบุศย์ 4. คุณลุงชัย เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลศาล การประเมินแบบสอบถามโดยใช้การตั้งคําถามทั้งหมด 5 ข้อ จํานวน 4 ตัวเลือก และ ข้อเสนอแนะในส่วนท้ายสุดของแบบสอบถาม สําหรับผู้ทําการประเมินที่ต้องการเพิ่มเติม 3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามโดย ศึกษาหาข้อมูลปฐมภูมิเพื่อรวบรวมแนวความ เชื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับตํานานแม่นาคพระโขนงของแต่ละบุคคลเพื่อนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อ หาสาเหตุถึงความยาวนานของตํานานแม่นาคพระโขนง ซึ่งตํานานแม่นาคพระโขนง ยังคงเล่าขานกัน มาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตสืบมาจนถึงปัจจุบัน มีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 3.3.1 สมาชิกในกลุ่มทําการประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน กําหนดตําแหน่งหน้าที่งานโดย สมาชิกแต่ละคนเป็นผู้รับผิดชอบ และกําหนดวันลงพื้นที่เพื่อนทําการสํารวจ โดยเลือกเป็นวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556
  • 31. 23 3.3.2 ลงพื้นที่ทําการสํารวจติดต่อพระครูสุนทรพัฒนพิ มลเจ้าอาวาสวัดมหาบุศย์ รวมไปถึง นักท่องเที่ยว ชาวบ้านท้องถิ่น และผู้ประกอบการร้านค้า ทําการขอสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับ ศาลย่า- นาคที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา 3.3.3 แจกแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นบริเวณหน้าศาลย่านาค โดยผู้ศึกษาเก็บรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถาม ดังนี้ 3.3.3.1 ถ้าประชาชนไม่สะดวกในการกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง จะใช้การ สัมภาษณ์ตามแนวแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 3.3.3. 2 ถ้าประชาชนสะดวกที่จะตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง จะให้ผู้กรอก แบบสอบถามเอง และผู้ศึกษาจะเป็นผู้ตรวจทานว่าตอบครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ครบถ้วนผู้ศึกษาจะ ซักถามเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล 3.3.3.3 ใช้การสังเกตการณ์ร่วมกับการแจกแบบสอบถามด้วย 3.3.4 รวบรวมแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเก็บภาพบรรยากาศภายในวัดมหาบุศย์และ บริเวณศาลย่านาคทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว (Video) นํามาใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิทางสถิติต่อไป 3.4 สถิติที่ใช้ในการวิจัย เนื่องด้วยข้อมูลของผลงานวิจัยเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์ การทํา แบบสอบถามหรือเก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้ทําการวิจัยจึงนําเสนอข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมได้ในรูปของ เปอร์เซ็นต์ร้อยละ ซึ่งคํานวณจากสูตรดังนี้ 𝑥(%) = 𝑥 × 100 𝑥 เมื่อ 𝑥 คือ จํานวนข้อมูลในแต่ละประเด็นที่เราทําการศึกษา 𝑥(%) คือ ร้อยละของจํานวนข้อมูลในแต่ละประเด็นที่เราทําการศึกษา 𝑥 คือ ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด โดยนําข้อมูลทําการวิจัยได้นําเสนอข้อมูลดังกล่าวในรูปของแผนภูมิวงกลม เพื่อสะดวก และ ชัดเจนในการนําไปศึกษาต่อ