SlideShare a Scribd company logo
1 of 30
Download to read offline
เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยความขัดแย้ง
“สเปน บนความหลากหลายทางศาสนาและชาติพันธุ์ : Basque และ Catalonia”
ธนชาติ ธรรมโชติ
เครือข่ายเสริมสร้างสังคมสันติสุข
บทนํา
ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain หรือ Reino de Espana) ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรีย(Iberien
Peninsula)1
อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ด้านตะวันตกมีพรมแดนจรด ปอร์ตุเกสและมหาสมุทร
แอตแลนติก ตะวันออกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณทะเลกันตา
เบรีย (Cantabrian Sea) สาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชรัฐอันเดอร์รา ทิศใต้จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่อง
แคบยิบรอลตาร์ และอ่าวคาดิช มีพื้นที่ประมาณ 5 แสนตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในยุโรป รอง
จากรัสเซีย และฝรั่งเศส ประชากรประกอบด้วยกลุ่มชนหลากหลายชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
นิกายโรมันคาทอลิก ประกอบด้วย 17 แคว้น โดย 6 แคว้นประกาศใช้ภาษาของแคว้นตนควบคู่ไปกับภาษา
สเปน แคว้นที่ยังคงรักษามีอัตลักษณ์ของตนได้เด่นชัดและต่อเนื่องค่อนข้างชัดเจน คือ แคว้นคาตาโลเนีย
(Catalonia) และแคว้นบาสก์ (Basque)
ดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของสเปนและปอร์ตุเกส ในอดีตมีชนชาติที่เข้ามามีอิทธิพลในดินแดน
แห่งนี้เช่น เคลต์(Celts ) ไอบีเรียน(Iberien ) โรมัน(Romans )วิสิโกธ (Visigoths) และมัวร์(Moors)
ประวัติศาสตร์สเปน จึงประกอบด้วยเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับศาสนา ชาติพันธุ์ และดินแดนที่เกี่ยวข้อง
กับอาณาบริเวณบนคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งมีพัฒนาการสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตคาบสมุทรไอบิ
เรียตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ต่อมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาววิสิโกธ (Visigoths) และ
ใน ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นมุสลิม (ชาวมัวร์) และจากเอเชียกลางก็เริ่มเข้ามามีอํานาจปกครอง
และ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามได้สถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรไอบีเรียและปกครองอาณาบริเวณแห่งนี้เป็น
1
Spain เป็นคําที่มีรากศัพท์มาจากภาษาฟินิเชียน (Phoenicien) ต่อมาโรมันใช้คําว่า “ฮิสปาเนีย” (Hispaniae) เรียกดินแดนทั้งหมดใน
คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberien Peninsula) ปัจจุบันคาบสมุทรไอบีเรียคือดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ทางเหนือมีเทือกเขา
พิเรนีส (Pirineos) เป็นเส้นกั้นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศฝรั่งเศส อาณาเขตที่เหลือล้อมรอบด้วยพื้นนํ้าของมหาสมุทรแอตแลนติกทาง
ตะวันตก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางทิศตะวันออก และช่องแคบจิบรอลต้า (Gibraltar) ทางทิศใต้ที่เชื่อมพื้นนํ้าของมหาสมุทรแอตแลนติกกับ
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าด้วยกัน ช่องแคบนี้มีความกว้าง 14 กม. ยาว 50 กม. ปัจจุบันคาบสมุทรไอบีเรีย เป็นที่ตั้งของประเทศใหญ่ 2 ประเทศ
คือ สเปนและปอร์ตุเกส
เวลายาวนานกว่า 750 ปี หลังจากนั้นอาณาจักรของคริสเตียนเข้ามาปกครองอีกครั้ง การปกครองบน
คาบสมุทรไอบีเรีย มีลักษณะนครรัฐ (city states) เป็นอิสระต่อกัน จึงเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ความ
ขัดแย้งและนําไปสู่ความรุนแรงตลอดมา ดินแดนแห่งนี้จึงผ่านทั้งยุครุ่งเรืองและยุคตกตํ่าหลายช่วงเวลา
กระทั่งปลายศตวรรษที่ 15 กษัตริย์เฟอร์ดินาน ได้รวมบรรดานครรัฐทั้งหลายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
พลิกผันให้ดินแดนแห่งนี้กลายเป็นราชอาณาจักรสเปนใน หลังจากนั้นสเปนเริ่มมีบทบาทการเป็น
มหาอํานาจทางทะเล รวมทั้งเป็นเจ้าอาณานิคมในยุคต้น
ในปัจจุบันสเปน มีสภาพปัญหาความขัดแย้งที่กล่าวกันว่ามาจากชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา อย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะดินแดนแคว้นบาส์ก (Basque )และแคว้นคาตาโลเนีย(Catalonia ) ความขัดแย้งในสอง
แคว้นนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีการต่อสู้เพื่อที่จะรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองให้คงอยู่ แคว้นบาส์กและ
คาตาโลเนีย มีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมและสังคม เป็นของตัวเองอย่างยาวนานไม่ตํ่ากว่า 1,000 ปี จึงมี
ความเป็นชาตินิยม ชนชาติทั้งสองแคว้นต่างก็คิดเสมอว่านับแต่รุ่นบรรพบุรุษกระทั่งถึงปัจจุบันชาติพันธุ์ทั้ง
สองไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศสเปน แต่มีความเชื่อว่าดินแดนที่อยู่อาศัยนี้เป็นดินแดนของประเทศบาสก์
ประเทศคาตาโลเนีย ซึ่งเป็นรัฐชาติที่มีอิสระ ดังนั้นสภาพปัญหาความแตกต่างทางความคิดได้นําไปสู่
ปัญหาความขัดแย้งในสเปนที่มีมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้พยายามหาคําตอบ ว่าเพราะเหตุใดชน
ชาติในสองแคว้นนี้จึงมีความคิดเช่นนั้นกระทั่งนําไปสู่ขัดแย้งกับรัฐชาติสเปนและมีความรุนแรงตามมา
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ในอดีตบริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรไอบีเรีย ชนเผ่าไอบีเรียน (Iberians) ซึ่งเป็นชนผิวขาวที่มีถิ่นกําเนิด
บริเวณตอนเหนือของทวีปอัฟริกา ได้เข้าครอบครองและแผ่อิทธิพลไปทั่วบริเวณและกลายเป็นชนเผ่าที่เด่น
ที่สุด คาบสมุทรไอบีเรียก็ถูกเรียกขานตามนามของชนเผ่านี้
ต่อมาชนเผ่าฟินิเชียน (Phoenicians)2
ซึ่งเป็นชาติพันธุ์เซมิติก แต่เดิมอาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรอาระเบีย2
3
ได้อพยพตั้งรกรากรอบๆชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้สร้างเมืองเมืองไทร์ (Tyre) เมืองไซดอน
2
ชาวฟีนิเชียนเป็นชนเผ่าเซมิติก เดิมเรียกว่าพวก Canaanitesอาศัยอยู่บริเวณคะนาอันเมื่อประมาณ 2,000 BC. มีรากฐานมาจากดินแดน
เมโสโปเตเมียและอียิปต์ ชาวฟีนิเชียนเชี่ยวชาญการเดินเรือและการค้า พ่อค้าชาวฟีนิเชียนเดินเรือนําอารยธรรมมาจากตะวันออกไปยังแดน
ต่างๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นพวกแรก สามารถตั้งอาณานิคมบนเกาะซิซิลีและเมืองคาร์เทจทางเหนือของแอฟริกา ในช่วงปี 750 BC.
ชาวแอสซีเรียนได้ยึดครองดินแดนของชาวฟีนิเชียน เกือบหมด คงเหลือเมืองคาร์เทจเท่านั้น ในปี 146 BC. เมืองคาร์เทจก็ถูกทําลายโดย
จักวรรดิโรมัน
(Sidon) เมืองบีบลอส (Byblos) ซึ่งกลายเป็นเมืองท่าที่สําคัญทางการค้าทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิ
เตอร์เรเนียน(อยู่ใน Lebanon) นอกจากนั้นยังได้เดินเรือแผ่อิทธิพลไปทั่วฝั่งตะวันตกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
รวมทั้งได้เข้าครอบครองดินแดนทางด้านฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยปัจจุบันคือเมืองคาดิช (Cadiz) และ
เมืองมาละกา(Malaga) ในสเปน
ชนเผ่าเซลท์ (Celts) หรือ เคลต์ อพยพจากทางเหนือของเทือกเขาพีเรนีส(Pyrenees) เข้ามาในดินแดน
คาบสมุทรไอบีเรีย พวกเซลท์ได้ผสมผสานกลมกลืนกับชนเผ่าไอบีเรียน ได้ก่อให้เกิดชนเผ่าในหมู่ที่เรียกว่า
เซลทิเบอเรียนส์ (Celtiberians) ซึ่งจะอาศัยอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกบริเวณตอนกลาง และบริเวณ
ชายฝั่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย
พวกคาร์เธจ (Cathaginian) ซึ่งอาศัยอยู่ตอนเหนือของทวีปอัฟริกาเคยเป็นอาณานิคมของฟินีเซีย (เมือง
คาร์เธจ (Cathage) หลังจากพ่ายแพ้ต่อโรมัน (Romans) จึงหันเข้าครอบครองดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย
ดินแดนส่วนใหญ่ในคาบสมุทรได้ถูกยึดครองโดยพวกคาร์เธจ และได้สร้างเมืองบาร์เซ-โลนา (Barcelona)
บนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองคาร์ธาโก โนวา (Carthago Nova) ปัจจุบันคือเมืองคาร์
ธาจีนา (Cartagena) บนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาสาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) ได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในภาคใต้ของแคว้นกอล (Gaul)
ปัจจุบันอยู่ในดินแดนของฝรั่งเศส กระทั่งรุกไล่เข้าครอบครองดินแดนทั้งหมดของคาบสมุทรไอบีเรีย ภายใต้
การปกครองของโรมัน มีการต่อต้านและลุกขึ้นต่อสู้จากชนดั้งเดิมอยู่เนืองๆ คริสต์ศาสนาเริ่มขยายเข้ามา
โดยเฉพาะทางตอนใต้ เช่น เอนดาลูเซีย (Andalusia ) ผู้คนเริ่มเปลี่ยนมารับอารยธรรมโรมัน
(Romanization) เกิดชุมชนคริสเตียนขึ้นภายในบริเวณเมืองใหญ่ๆ หลายเมือง โรมันครอบครองดินแดน
คาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยมาถึง 600 ปี อารยธรรมของคาร์เธจก็ถูกแทนที่โดยอารยธรรมโรมัน โดยได้สร้าง
เมืองสําคัญหลายเมือง เป็นต้นว่า ทาร์ราโค (Tarraco)หรือ Tarragona อิตาลิกา (Italica ) อีเบอริตา
(Everita) หรือ Merido และก่อสร้างถาวรวัตถุอื่นๆอีกจํานวนมาก รวมทั้งระบบสาธารณูปโภค3
4
3
รัฐชาติที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐในคาบสมุทรอารเบียได้แก่ บาห์เรน ยื่นออกไปจากชายฝั่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรฯ คูเวต โอมาน
กาต้าร์ สอูดีย์อาระเบีย (ซาอุดิอาระเบีย) สหรัฐอาหรับเอมิเรต และเยเมน ทุกประเทศรวมกันเป็นกลุ่มประเทศในอ่าวอาหรับยกเว้นเยเมนที่
มิได้เป็นชาติสมาชิกอ่าวอาหรับเพราะมีที่ตั้งเยื้องไปทางตะวันตกไกลจากบริเวณอ่าวฯ ชื่อของอ่าวยังเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติ
อาหรับกับประเทศอิหร่าน แม้จะเป็นประเทศมุสลิมเหมือนกัน แต่อิหร่านเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อารยัน ขณะที่ชาติอาหรับทั้ง 22 ประเทศเป็นกลุ่ม
ชาติพันธ์เซมิติก
4
Rhea Marsh Smith, Spain : A Modern History. 1965 อ้างใน ศฤงคาร พันธุพงศ์. ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
2548
หลังจากนั้นอาณาจักรโรมันค่อยๆเสื่อมสลายลงต้องสู้รบกับกลุ่มอนารยชน (Barbarian Tribes)โดยในปี
ค.ศ.410 พวกวิสิโกธ (Visigoths) ซึ่งเป็นอนารยชนเผ่าเยอรมัน (Germanic Tribe) ได้รุกเข้ากรุงโรม เผ่า
แวนดัล (Vandals) และซูวี (Suevi) ได้รุกข้ามแม่นํ้าไรน์เข้าในแคว้นกอลจนเข้าไปตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทร
ไอบีเรีย โดยพวกซูวีอยู่ทางเหนือและพวกแวนดัล อยู่ทางใต้จึงเรียกขานดินแดนทางภาคใต้ว่า แวนดาลูเซีย
(Vandalusia) กระทั่งต่อมาพวกวิสิโกธได้รุกคืบและแผ่ขยายอิทธิพลในเขตคาบสมุทรไอบีเรียทั้งหมด
คาบสมุทรส่วนใหญ่จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกวิสิโกธจนถึงประมาณปี ค.ศ.711
การปกครองของอนารยชนวิสิโกธ ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นทางสังคม โดยยกสถานะของกลุ่มตนขึ้นเป็นขุน
นางเพื่อให้มีความต่างจากชนดั้งเดิม ทั้งนี้วิสิโกธ นับถือคริสต์ศาสนานิกายแอเรียน(Arianism ) ขณะที่ชน
ดั้งเดิมนับถือคริสต์ศาสนานิกายคาธอลิก ความแตกต่างทั้งทางศาสนาและสังคมทําให้การปกครองของวิสิ
โกธมีแต่สภาพความขัดแย้ง จนต้องสูญเสียดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียให้แก่
จักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian )แห่งอาณาจักรโรมันตะวันออก ( Eastern Roman Empire)
ดังนั้นชนพื้นเมืองที่ชาววิสิโกธ (Visigoths) พบขณะที่ขยายอํานาจเข้าไปในบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียคือ
พวกไอบีเรียน (Iberians) อาศัยอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรตลอดจนถึงทางภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ พวกเคลต์(Celts) อาศัยอยู่ทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทร ส่วนพื้นที่
ตอนในซึ่งเป็นดินแดนที่ชนทั้งสองกลุ่มได้เข้ามาติดต่อการค้าได้เกิดชนกลุ่มใหม่ที่มีวัฒนธรรมแบบผสมมี
ลักษณะเฉพาะตัว คือกลุ่ม “เคลติเบเรียน” หรือ เซลทิเบอเรียนส์ (Celtiberians) ส่วนทางใต้ เป็นแหล่งที่
กลุ่มชนรับทั้งอารยธรรมชนเผ่าฟินิเชียน และอารยธรรมโรมัน ดินแดนบนคาบสมุทรไอบีเรียจึงเต็มไปด้วย
ความหลากหลายทั้ง ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม
การเข้ามาของศาสนาอิสลามในคาบสมุทรไอบีเรีย
ชาวมุสลิมรุกเข้าในคาบสมุทรไอบีเรียครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.710 โดยกองทัพมัวร์ ต่อมา ค.ศ. 711 โดยทาริก
(Tarik ) หรือ ฏอริก บินซิยาด แม่ทัพมัวร์ ชาวเบอร์เบอร์ในแอฟริกาเหนือได้นํากองทัพที่มีทั้งชาวอาหรับ
และชาวเบอร์เบอร์ ข้ามช่องแคบเล็กๆทางตอนเหนือของอัฟริกา(ประเทศโมร็อกโก)ที่เชื่อมพื้นนํ้าของ
มหาสมุทรแอตแลนติกกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าด้วยกัน ไปขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรไอบีเรีย
ปัจจุบันเรียกกันว่าช่องแคบจิบรอลต้า (Gibraltar) สู้รบกับกองทัพวิสิโกธของพระเจ้าโรเดอริก กษัตริย์
ผู้ปกครองดินแดน กระทั่งกองทัพของพระเจ้าโกเดอริก พ่ายแพ้และสิ้นพระชนในสมรภูมิ หลังจากนั้นชาว
มัวร์ เผ่าเบอร์เบอร์ได้ยึดครองดินแดนที่อยู่ตอนกลาง ของคาบสมุทร ส่วนชาวมัวร์อาหรับเข้ายึดครอง
ดินแดนภาคใต้และภาคตะวันออกมีศูนย์กลางปกครองที่เมือง คอร์โดบา เขตยึดครองของมัวร์ในดินแดน
คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่รู้จักกันของชาวอาหรับในนาม อัล-แอนดาลุส (Al-Andalus )4
5
ส่วนดินแดนที่เป็น
อิสระไม่ขึ้นกับมัวร์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือเป็นศูนย์กลางการลี้ภัยของชาววิสิโกธ เช่น แคว้นบาสก์ (Basque )
และอาณาจักร แอสตูเรียส เป็นต้น
ในปี ค.ศ.756 อับเดลราฮมาน กาหลิบ (Caliph ) ทายาทราชวงศ์อุมัยยะฮ์ที่ปกครองอาณาจักรมุสลิมใน
ดามัสกัส(ซีเรีย)ถูกโค่นอํานาจ จึงลี้ภัยมายังคาบสมุทรไอบีเรียโดยมีกองทัพของมัว์ช่วยเหลือ กระทั่งได้
จัดตั้งรัฐโดยมีเมืองคอร์โดบาเป็นเมืองหลวง กระทั่งสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้ดินแดนที่ปกครองอย่าง
รวดเร็ว ลํ้าหน้าเมืองคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นที่มีชื่อเสียงของยุโรปในเวลานั้น
อับเดลราฮมาน ได้สถาปนาราชวงศ์บนี อุมัยยะฮ ขึ้นในคาบสมุทรไอบีเรีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และ
สถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์ เฉลิมพระนาม อับเดลราฮมานที่ 1 ทําให้ดินแดน อัล-แอนดาลุส (al-
Andalus ) มีความเจริญรุ่งเรืองไม่เพียงแต่เฉพาะในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ยังเป็นศูนย์กลางทางด้าน
การศึกษา วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม บทกวี และศิลปที่ยิ่งใหญ่ ขณะที่ดินแดนยุโรปเวลานั้นส่วนใหญ่อยู่
ใน “ยุคมืด” ดินแดน อัล-อันดาลุส นี้เองที่ถ่ายทอดวิทยาการของมุสลิมผ่านเข้าไปยังยุโรปกระทั่งนําไปสู่ยุค
“ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ” ขึ้นมา อัล-แอนดาลุส (al-Andalus ) มีกษัตริย์มุสลิมพระองค์อื่นๆปกครองต่อมาถึง
คริสต์ศตวรรษที่15 เป็นระยะเวลา 700 กว่าปี ผู้คนในดินแดนที่ปกครองโดยมุสลิมนั้นมีเสรีภาพที่จะเลือก
นับถืออิสลามหรือปฏิบัติตามศาสนาเดิมของตนต่อไป หากเลือกที่จะนับถือศาสนาเดิม จะต้องจ่ายภาษี
“ญิซยะฮ์” ให้รัฐ ผู้คนจํานวนมากจึงเข้ารับอิสลามในเวลานั้น อาจเป็นด้วยเหตุไม่ต้องการจ่ายภาษี
นับแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา คอร์โดบา เมืองหลวงของอัล-แอลดาลุส มีประชากร 600,000 คน มีอาคาร
บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 200,000 หลัง มัสยิด 1,500 แห่ง ห้องอาบนํ้าสาธารณะประมาณ
1,000 แห่ง ในห้องสมุดมีเอกสารและบันทึกความรู้กว่าครึ่งล้านชุด ศูนย์กลางของเมืองมีระบบลําคลองที่
เชื่อมกัน กลางคืนแม้แต่ถนนที่แย่ที่สุดก็มีแสงสว่าง5
6
ดังนั้นในยุคกลางของยุโรปความรุ่งเรืองจึงอยู่ในดินแดนคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การ
ปกครองของชาวมุสลิม ร่องรอยของศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมอิสลามที่ได้ลงหลักปักฐานไว้ใน
ดินแดนแห่งนี้ยังเป็นเอกลักษณ์และคงอยู่คู่กับสเปนจนถึงปัจจุบัน อาณาจักรอัล-แอนดาลุส (al-Andalus )
5
อัล-แอนดาลุส ( Al-Andalus เป็นชื่อภาษาอาหรับที่ใช้เรียกดินแดนบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียที่ชาวมุสลิมจากอาหรับและชาวมุสลิมจากอาฟ
ริกา ได้เข้าไปปกครอง ในช่วงเวลาต่าง ๆระหว่าง ค.ศ. 711 จนถึง ค.ศ. 1492 ซึ่งหลังจากพิชิตคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แล้ว อัลอันดะลุส ถูกแบ่ง
ออกเป็น 5 เขตบริหาร คือแคว้นอันดาลูเซีย แคว้นกาลิเซียและลูซิตาเนีย แคว้นคาสตีลและเลออน แคว้นอารากอน แคว้นกาตาลุญญา และ
เซพติเมเนีย ซึ่งใกล้เคียงกับเขตในปัจจุบัน (Joseph F. O'Callaghan, A History of Medieval Spain , Cornell University Press,1983)
6
อะลีฟุดดีน , บรรจง บินกาซัน แปล อันดาลุส (สเปนมุสลิม):สวรรค์ที่สูญหาย. Thaimuslimshop.com .
เจริญรุ่งเรืองอยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียได้ประมาณ 700 กว่าปีก็ต้องล่มสลายลงใน ค.ศ. 1429 เมื่อต้องพ่าย
แพ้ต่อกองทัพคริสเตียน
การพิชิตคืนดินแดนโดยคริสเตียน (Reconquista)
เมื่อการพิชิตดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรียของฝ่ายมุสลิมในอาณาจักรวิสิโกธในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ได้
สําเร็จ การพิชิตคืนดินแดนของคริสเตียน จากการครอบครองชาวมุสลิม ภายใต้คําขวัญ Reconquista (re
– ทําซํ้า conquista – conquest การพิชิต หรือ ยึดครอง) ก็เริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเริ่มดําเนินการอย่าง
จริงจังและเป็นสงครามที่ยืดเยื้อต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย 700 กว่าปี มาสิ้นสุดลงในคริสต์ศตวรรษ
ที่ 15 ดินแดนที่ปกครองโดยมุสลิมก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของคริสเตียน
การพิชิตคืนดินแดนกลายเป็นปรัชญาการทําสงครามเพื่อคริสต์ศาสนา ส่งผลให้มีทหารจากดินแดนต่าง ๆ
ในยุโรปเดินทางมายังไอบีเรียเข้าร่วมในการพิชิตคืนดินแดนหลายกลุ่ม โดยถือเป็น”การปฏิบัติอย่างผู้มี
ความศรัทธาในคริสต์ศาสนาหรือเพื่อเป็นการไถ่บาป” ระหว่างการพิชิตคืน ไอบีเรียเต็มไปด้วยสถานการณ์
ที่ซับซ้อนกว่าที่จะอธิบายได้ด้วยปรัชญาใด ๆ เพราะโดยข้อเท็จจริงผู้นําคริสเตียนและมุสลิมบางครั้งก็ต่อสู้
กันเองบางครั้งก็ร่วมมือกันแม้จะต่างศาสนาหากมีศัตรูร่วมกันโดยไม่คํานึงถึงศาสนา และปัจจัยที่ทําให้
สับสนยิ่งขึ้นคือกลุ่มทหารรับจ้างที่เข้าร่วมการต่อสู้จะเข้าร่วมกับฝ่ายใดก็ได้ที่ให้ประโยชน์ที่สูงกว่าโดยไม่
คํานึงถึงศาสนาและชาติพันธุ์6
7
ศาสนาจึงถูกสร้างเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพียงบางครั้งบางคราเท่านั้น
การยึดคืนดินแดนโดยคริสเตียนค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์สิ้นสุดเมื่อคริสเตียนสามารถพิชิตเมือง
กรานาดา (Granada)ได้ ในปี ค.ศ. 1492 ที่มั่นแห่งสุดท้ายของมุสลิม ทําให้ดินแดน อันดาลูเซีย (อัล-แอน
ดาลุส : Al-Andalus ) กลับมาปกครองโดยคริสตเตียนอีกครั้ง กรานาดา(Granada )จึงเป็นเมือง
สัญลักษณ์แห่งความพ่ายแพ้และชัยชนะของแต่ละฝ่าย และที่สําคัญที่สุดสถาปัตยกรรมของเมืองนี้
โดยเฉพาะพระราชวังอัลฮัมบรา (The Alhambra)8
เป็นพระราชวังมุสลิมที่ยังคงความงดงามและสมบูรณ์
แบบที่ยังหลงเหลืออยู่ในยุโรป ในห้วงเวลาที่คริสเตียนสู้รบเพื่อยึดคืนดินแดนนั้น ราชรัฐคริสเตียนเริ่ม
เข้มแข็ง และเจริญรุ่งเรืองขึ้นอาณาจักรที่สําคัญที่สุดได้แก่ราชอาณาจักรคาสตีล ที่ครอบครองดินแดน
ตอนกลางและตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย และราชอาณาจักรอารากอน ที่ครอบครองดินแดนภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทร ผู้ปกครองของสองอาณาจักรเป็นพันธมิตรกัน8
9
7
Rhea Marsh Smith, Spain: A Modern History.1965 อ้างใน ศฤงคาร พันธุพงศ์.ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
2548
8
อาลัมบรา คือพระราชวังและป้ อมปราการตั้งอยู่ที่เมือง กรานาดา แคว้นอันดาลูเซีย ทางภาคใต้ของสเปน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าโมฮัมเหม็ดที่ 1
อิบน์ นัสร์ แห่งราชวงศ์นาสริด กษัตริย์ชาวมุสลิมราชวงศ์สุดท้ายในสเปน
9
ทั้งนี้เพราะในห้วงเวลานั้นราชรัฐต่างๆมีการอภิเษกสมรสระหว่างพระโอรสกับพระธิดาจากราชวงศ์ของอาณาจักรทําให้ดินแดนที่ราชวงศ์
เหล่านั้นปกครองได้เข้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว แต่กระนั้นบางครั้งมีบ้างที่แยกออกจากกัน หากผู้ปกครองอาณาจักรต้องการให้มีการแบ่ง
ดินแดนเพื่อให้พระโอรสและพระธิดา ไปปกครอง
กรณี การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งคาสตีล ใน ค.ศ. 1474 นําไปสู่ความขัดแย้งในการสืบสันติ
วงศ์ มีการอ้างสิทธิขึ้นครองราชย์ระหว่างฝ่ายเจ้าหญิงโจฮันนา (Juana )พระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 4
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากปอร์ตุเกส(ฝ่ายตา)และฝรั่งเศส กับฝ่ายของเจ้าหญิงอิซาเบลลา พระขนิษฐาพระ
เจ้าเฮนรี ที่ 4 ที่ก่อนหน้าได้สมรสกับพระเจ้าเฟอร์ดินาน แห่งอารากอน ครั้งนี้จึงได้แรงสนับสนุนจาก
อาณาจักรอารากอนและบรรดาขุนนางชนชั้นสูงของคาสตีล ให้ขึ้นครองราชย์ จนกระทั่งเกิดสงครามสืบ
สันติวงศ์ ระหว่างฝ่ายหลานกับฝ่ายอา และยุติลง โดยเจ้าหญิงอิซาเบลลาได้ขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระ
นาม "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล" (Isabella I of Castile; Isabel I de Castilla)
ผ่านมาสี่ปีในปี ค.ศ.1479 พระเจ้าเฟอร์ดินานพระสวามี ทรงขึ้นปกครองราชอาณาจักรอารากอน เฉลิม
พระนาม "พระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 2 แห่งอารากอน" (Ferdinand II of Aragon; Fernando II de Aragón) ผล
จากการทรงอภิเษกสมรสระหว่างสองราชอาณาจักร และครองราชย์ร่วมกันครั้งนี้ได้ทําให้ราชอาณาจักร
คาสตีลและราชอาณาจักรอารากอน รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความ
เข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นในการสร้างรัฐชาติ กระทั่งในที่สุดได้รวบรวมอาณาจักรอื่นๆพัฒนาเป็น
ราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อมา สเปนเป็นรัฐชาติที่เริ่มมีอํานาจและอิทธิพลในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15
เติบโตขึ้นนับแต่นั้น ซึ่งมาพร้อมกับความรุ่งโรจน์ทางการค้ามหาอํานาจทางทะเล เมื่อมีการค้นพบโลกใหม่
ในนามของรัฐชาติสเปน โดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
พัฒนาการการยึดคืนดินแดนโดยคริสเตียนจากการครอบครองของมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้สําเร็จอัน
เนื่องมาจากความแตกแยกภายในกลุ่มรัฐมุสลิมเอง อัล อันดาลุส ได้แยกตัวออกเป็นรัฐเล็กๆ ขัดแย้ง แย่ง
ชิงอํานาจ ขาดความสามัคคี และต่อสู้กันเอง บางครั้งถึงขนาดเอาทหารคริสเตียนมาช่วยในการสู้รบกับ
มุสลิมด้วยกันเองนําไปสู่ความอ่อนแอ และที่สําคัญการวางแผนรวมรัฐคริสเตียนเข้าด้วยกันของผู้ปกครอง
ทําให้ของรัฐคริสเตียนที่อยู่ทางเหนือของคาบสมุทรค่อยๆสร้างความเข้มแข็งขยายอํานาจรุกคืบลงทางใต้
อย่างมั่นคง กระทั่งเข้ายึดครองดินแดนที่ปกครองโดยมุสลิมได้อย่างต่อเนื่องและยึดได้ทั้งหมด นับแต่นั้นถือ
เป็นการเริ่มต้นของการรวมหลายๆอาณาจักเป็นรัฐชาติสเปน
เมื่อสมเด็จพระราชินินาถอิซาบาลลาที่ 1 แห่งคาสตีล และ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอาณาจักรอารา
กอน พระสวามี ทั้งสองพระองค์ได้วางรากฐานในการรวบรวมอาณาจักรต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวเริ่มต้นที่
อาณาจักรคาสตีลกับอาณาจักรอารากอน ผนวกรวมอํานาจเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นได้รวมเอาอาณาจักร
อื่นๆในคาบสมุทรไอบีเรียเข้ามารวมกันอีกหลายอาณาจักรรวมไปถึงอาณาจักรบาสก์ และอาณาจักรคา
ตาโลเนีย ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ทั้งสองแคว้นนี้เป็นอาณาจักรหนึ่งในคาบสมุทรไอบีเรีย ที่เป็น
ราชอาณาจักรอิสระในการปกครอง มีอธิปไตย มีดินแดน มีชาติพันธุ์ และภาษาเป็นของตนตลอดมา การ
ถูกผนวกรวมการปกครองของผู้ชนะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาความขัดแย้ง นําไปสู่การสร้างอุดมการณ์ทาง
การเมืองเพื่อสร้างรัฐชาติของตน ตามมานับตั้งแต่นั้น
สร้างรัฐชาติสเปนให้เป็นรัฐชาติของคริสเตียน
ภายหลังการสร้างรัฐชาติราชวงศ์สเปนต้องการให้สเปนเป็นรัฐคริสตจักรคาทอลิก จึงมีมาตรการทั้งเชิญ
ชวน และบังคับให้มุสลิมให้เปลี่ยนศาสนาเป็นคาทอลิก หากไม่ยินยอมต้องออกจากดินแดนนี้ไป มุสลิม
บางส่วนต้องอพยพออกไป บางส่วนต้องหันมาเป็นคาทอลิก ปี 1492 เมืองกรานาดาซึ่งเป็นพื้นที่สุดท้าย
ของไอบีเรียที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม ก่อนที่ถูกยึดครองได้มีการยื่นข้อเสนอว่าถ้าชาวมุสลิม
ในกรานาดายอมแพ้ก็จะได้สิทธิอาศัยในดินแดน แต่โดยข้อเท็จจริงหาเป็นเช่นนั้น เพราะหลังจากนั้นฝ่ายรัฐ
คาทอลิกบีบบังคับอย่างหนักหน่วงให้มุสลิมในดินแดนนี้เปลี่ยนมาเป็นคาทอลิก พวกที่ไม่ยินยอมอาจถึง
อันตรายต่อชีวิต กระนั้นชาวมุสลิมบางกลุ่มก็ไม่ยินยอมเปลี่ยนศาสนายังปฏิบัติศาสนกิจของตนตามเดิม
กระทั่งรัฐคาทอลิกมีมาตรการบีบบังคับหนักขึ้น มุสลิมจึงหันมารับคาทอลิกมากขึ้น คนกลุ่มนี้เรียกกันว่า
เป็นชาว “มัวริสโคส์”
การรับคริสเตียนของ Moriscos เพราะชาวมุสลิมบางส่วนที่ไม่อาจจะอพยพได้ถือหลักที่เรียกว่า ตะกียยะห์
คือการปกปิดซ่อนเร้นศรัทธาที่แท้จริงของตน กล่าวคือ Moriscos ปฏิบัติตามข้อบังคับของโบสถ์เท่าที่
จําเป็น ประกอบพิธีกรรมของมุสลิมที่บ้าน นําลูกหลานที่เกิดใหม่ไปประกอบพิธีที่โบสถ์ แต่กลับมาชําระ
ล้างที่บ้าน แต่งงานตามพิธีกรรมของโบสถ์ และกลับมาจัดงานฉลองแต่งงานในแบบของมุสลิมขึ้นในชุมชน
ของตน ถึงแม้จะมีการจัดตั้งศาลศาสนาเพื่อไต่สวนศรัทธาที่อาจนํามาซึ่งการลงโทษอย่างรุนแรง แต่
Moriscos ก็ยังละหมาด ถือศีลอดอย่างลับๆ มีทั้งชื่อคริสเตียนและชื่อมุสลิม บ้านและการตกแต่งภายใน
บ้านก็แตกต่างจากคริสเตียน
แม้ฝ่ายรัฐจะรับรู้การมีอยู่ของชุมชน Moriscos แต่รัฐไม่ได้มาควบคุมมากนัก คริสจักรเองพยายามใช้
นโยบายกลมกลืนทางวัฒนธรรมมากกว่าการบังคับ แต่ความตึงเครียดระหว่างทางการกับชุมชน Moriscos
เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐสงสัยว่า Moriscos อาจจะไปให้ความช่วยเหลืออย่างลับๆต่อพวกเตอร์กออตโตมัน จึง
พยายามกดดันชุมชน Moriscos มีการห้ามส่งออกผ้าไหม มีการขึ้นภาษีผ้าไหมของเกรนาดา ที่เป็นอาชีพ
หลักของ Moriscos มีการตั้งศาลศาสนาเพื่อสอบสวนศรัทธาของเจ้าของที่ดินในเกรนาดา ทําให้ที่ดินของ
Moriscos จํานวนมากถูกยึด9
10
ยุคนี้นอกจากจะเห็นภาพการยึดคืนดินแดนแล้ว ยังได้เห็นการยึดทั้งที่อยู่
อาศัยและที่ทํากินของมุสลิมด้วย
10
มุสลิมภายใต้การปกครองของจักรวรรดินิยมสเปน.Azizstan Foundation. School. Joomlart.com.
อย่างไรก็ตามแม้ว่าชนกลุ่มนี้จะหันมาเป็นคาทอลิกแล้วแต่มักจะถูกตีตราว่าเป็น “คนนอกศาสนา” และหาก
ให้คนนอกศาสนาอยู่ในดินแดนสเปนจะทําให้พระเจ้าไม่พอใจ การถูกตราหน้าจากชาวคาทอลิกเป็น “มัว
ริสโคส์ (Moriscos) ที่ไม่ได้เป็นคาทอลิกที่ดีและไม่ได้เป็นประชาชนที่ภักดี”กลายเป็นวาทกรรมทําให้เจ็บ
แค้น ดังนั้นในปี 1499 มุสลิมลุกขึ้นประท้วง รัฐบาลคาทอลิกจึงนํากําลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง
หลังจากนั้นมุสลิมในเขตต่าง ๆ ก็เริ่มถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาหรือไม่ก็ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นให้หมดสิ้น
ในปี 1526 รัฐคาทอลิกได้ประกาศสั่งห้ามไม่ให้มีการนับถือศาสนาอิสลามทั่วทั้งในสเปน ห้ามแต่งกายแบบ
ชาวมัวร์ มัสยิดถูกเปลี่ยนเป็นโบสถ์ ฝ่ายคริสตจักรคาทอลิกเมื่อเห็นว่ามุสลิมบางส่วนได้เปลี่ยนเป็น
คาทอลิกแล้ว จึงเปิดโอกาสให้ทํางานตั้งแต่งานของชนชั้นล่างอย่างกรรมกร ไปถึงงานที่สําคัญขึ้น เป็นต้น
ว่า ช่างศิลป์ ช่างฝีมือ ฯ แต่ชาวมัวริสโคส์ บางส่วนก็ยังแอบปฏิบัติศาสนกิจของตนต่อไปอย่างต่อเนื่องใน
หลายพื้นที่ มุสลิมยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนต่อไป การที่คริสตจักรให้ ชาวมัวริสโคส์ ที่ถูกตราหน้าว่า
ไม่ได้เป็นคาทอลิกที่ดีและไม่ได้เป็นประชาชนที่ภักดี ทํางาน ยิ่งให้ชาวคาทอลิกแท้ๆไม่พอใจ รัฐคาทอลิกก็
ไม่พอใจ ผลร้ายจึงเกิดกับชาวมัวริสโคส์ เพราะหลังจากนั้น ทั้งรัฐและผู้คนทั่วไปปฏิบัติต่อชาวมัวริสโคส์
โดยปราศจากความยุติธรรมรุนแรงขึ้น ไร้ความเสมอภาคอย่างชัดเจน โอกาสในการปฏิบัติศาสนกิจถูก
จํากัดโดยสิ้นเชิง
ฝ่ายคริสตจักรคาทอลิกก็เริ่มสงสัยต่อพฤติกรรมของชาวมัวริสโคส์ มากขึ้นว่าการเปลี่ยนมาเป็นคาทอลิก
นั้นแท้จริงแล้วไม่ได้มาเป็นคาทอลิกจริง ๆ หลังจากนั้น คริสตจักรคาทอลิกเริ่มบีบบังคับชาวมัวริสโคส์ ทุกๆ
ทาง โดยมีเป้ าหมายในการกําจัดวัฒนธรรมอิสลามให้หมดไป ในปี 1567 กษัตริย์ฟิลิเป ที่ 2 ได้ประกาศ
สั่งห้ามมิให้ชาวมัวริสโคส์ พูดภาษาของตน ห้ามมิให้แต่งกายแบบมุสลิม ห้ามมิให้นําธรรมเนียมปฏิบัติ
และประเพณีมุสลิมมาใช้ในดินแดน
ในที่สุด Moriscos ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อหาความเป็นธรรมจนนําไปสู่การก่อกบฏและนองเลือดที่รุนแรง
ตามมาอีกครั้ง ในครั้งนี้ชาวมัวริสโคส์ จํานวนมากถูกขับไล่ออกจากดินแดนสเปน10
11
จลาจลของ Moriscos
ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1568-60 เรียกกันว่า การลุกฮือแห่งอัลปูจัรราส ครั้งที่ 2 แต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง
กษัตริย์ฟิลลิเปที่ 2 แห่งสเปนพยายามแก้ปัญหาด้วยการขับไล่พวก Moriscos ทั้งหมดออกจากเกรนาดา
11
wol.j w.org / th . ไล่ชาวโมริสโกออกจากสเปน ห้ องสมุดออนไลน์ ว็อชเทาเวอร์ สืบค้น 16/10/58
Moriscos ต้องอพยพกระจัดกระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆของสเปน โดยเฉพาะในคาสตีล แม้จะป้ องกันไม่ให้
มีโอกาสก่อกบฏขึ้นในเกรนาดาได้อีก แต่คราวนี้ปัญหาชุมชน Moriscos ได้กระจายไปทั่วสเปน
วาทกรรมที่ว่า “มัวริสโคส์ ไม่ได้เป็นคาทอลิกที่ดีและไม่ได้เป็นประชาชนที่ภักดี” กลายเป็นความเชื่อที่ทั้ง
ฝ่ายคริสตจักรคาทอลิก ฝ่ายรัฐคาทอลิก และชนชาวคาทอลิกหล่อหลอมเป็นความเชื่อเดียวกัน เป็นความ
เชื่อที่คิดไปเองว่า คนกลุ่มนี้เป็นไส้ศึกให้กับพวกโจรสลัดบาร์แบรีย์ เป็นไส้ศึกให้คริสตจักรโปรเตสแตนต์
จากฝรั่งเศส รวมทั้งเป็นไส้ศึกให้มุสลิมเตอร์ก เพื่อให้ต่างชาติเหล่านั้นเข้ามารุกรานสเปน ความเชื่อจึง
นําไปสู่การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การข่มเหง โดยวิธีที่รุนแรงเลวร้ายอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นในปี 1609 กษัตริย์ฟิลิเปที่ 3 จึงให้ขับไล่ Moriscos ออกไปจากดินแดนสเปนทั้งหมด แม้แต่เป็นกลุ่ม
คนที่ถูกสงสัยว่าอาจจะเป็นมัวริสโคส์ โดยมีเป้ าหมายคือดินแดนสเปนต้องปราศจากมัวริสโคส์ ประมาณ
กันว่ามี Moriscos ที่ถูกขับออกจากสเปนกว่า 300,000 คน ทําให้บางภูมิภาคของสเปนแทบจะร้างผู้คน
Moriscos บางกลุ่มได้เข้าไปเป็นทหารรับจ้างในกองทัพของสุลต่านแห่งโมรอคโค กระทั่งได้รับอนุญาตให้
ตั้งชุมชนขึ้นที่ sale (บนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก) ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้สร้างกองเรือเพื่อต่อสู้กับศัตรูของพระ
เจ้า” เป็นที่มาของเรื่องราว โจรสลัด Sallee Rovers ที่เข้าไปก่อเหตุปล้นสะดมเมืองท่าต่างๆของยุโรปตั้งแต่
แม่นํ้าทากุสในปอร์ตุเกส จนถึงช่องแคบบริสตอลของอังกฤษ ซึ่งท้ายสุดการขับไล่ Moriscos ไม่ได้ทําให้
มุสลิมหมดไปจากสเปนกระทั่งปัจจุบัน เพียงแต่อยู่กันกระจัดกระจายไม่เข้มแข็งเหมือนอดีต ดังนั้นมุสลิม
แม้ว่าทั้งชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ต่างกับคริสเตียนแต่ไม่อาจมีพลังเพียงพอ ที่จะเป็นชนวน
ของความขัดแย้งในสเปนอีกต่อไป ทั้งใน Catalonia และ Basque
คาตาโลเนีย Catalonia หรือ คาตาลุญญา Catalunya
กาตาลุญญา หรือคาตาโลเนีย ตั้งอยู่ตอนบนของคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula) ถูกผนวกให้เป็น
ส่วนหนึ่งของสเปน ประกอบไปด้วยจังหวัดบาร์เซโลน่า (Barcelona) กิโรน่า (Girona) ลเลียด้า (Lleida)
และ ทาร์ราโกน่า (Tarragona) มีบาร์เซโลนาเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน เป็นแคว้นปกครองตนเอง ตาม
รัฐธรรมนูญสเปน และได้กําหนดให้เป็นชาติ (nationality) ตามรัฐธรรมนูญปกครองตนเองของแคว้น บาร์
เซโลนา เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสเปน รองจากมาดริด คาตาลุญญา มีอาณาเขตจรดประทศ
ฝรั่งเศสและราชรัฐอันดอร์ราทางทิศเหนือ 12
จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางทิศตะวันออก จรดแคว้นบา
12
14 มีนาคม ค.ศ. 1993 มีการลงประชามติให้ราชรัฐอันดอร์รามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญปกครองฉบับแรก
(ซึ่งฝรั่งเศสและสเปนได้ยกร่างร่วมกัน) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 รัฐธรรมนูญกําหนดให้อํานาจอธิปไตยมาจาก
ประชาชน โดยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร แบ่งแยกอํานาจบริหารและอํานาจนิติบัญญัติออกจากกัน และยังคงมอบอํานาจให้
ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและ Bishop of Urgell แห่งสเปน ดํารงตําแหน่งประมุขร่วมกัน ใช้ภาษาคาตาลัน เป็นภาษาทางการ
เลนเซียและแคว้นอารากอนของสเปนทางทิศใต้และทิศตะวันตกตามลําดับ พื้นที่ของแคว้นเป็นพื้นที่
เดียวกับส่วนใหญ่ของราชรัฐคาตาลุญญาในอดีต ภาษาทางการของแคว้นส่วนใหญ่ใช้ภาษา คาตาลัน
และภาษาออกซิตัน
ความเป็นมาของแคว้นคาตาโลเนีย Catalonia
พวกคาร์เธจ (Cathaginian)13
เข้าครอบครองดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้สร้างเมืองบาร์เซโลนา
(Barcelona) ขึ้นบนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองคาร์ธาโก โนวา (Carthago Nova)
ปัจจุบันคือเมืองคาร์ธาจีนา (Cartagena) ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังโรมันทํา
สงครามกับคาร์เธจ โรมันเป็นฝ่ายชนะได้สร้างเมืองทาร์ราโค (Tarraco ปัจจุบัน Tarragona) แต่ชาวเมือง
ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นCathaginian ซึ่งยอมอยู่ภายใต้อํานาจของโรมัน ศตวรรษที่ 4 หลังจาก
โรมันล่มสลาย พวกวิสิโกธ (Visigoths) อนารยชนเผ่าเยอรมัน (Germanic Tribe) ) ชาติพันธุ์ เจอร์แมนิก (
Germanic peoples) มีอํานาจปกครอง จึงสถาปนาบาร์เซโลนาเป็นเมืองหลวง และผนวกดินแดนกับ
อาณาจักรโตเลโด้ (Kingdom of Toledo)
หลังจากนั้น ค.ศ.716 ดินแดนบริเวณคาบสมุทรไอบีเรีย รวมทั้งคาตาลุญญา ตกอยู่ใต้อํานาจของมมุสลิม
และขยายอิทธิพลไปทางเหนือถึง Tours และ Poitiers กระทั่งนําไปสู่สงครามระหว่างมุสลิมกับคริสเตียน
ที่เมืองทัวร์ (Battle of Tours) และเมืองปัวแตร์ (Poitiers) ในปี 732 (ปัจจุบันอยู่ในฝรั่งเศส) ฝ่ายคริสเตียน
เป็นฝ่ายชนะ ทําให้ดินแดนส่วนเหนือของคาตาลุญญา หลุดพ้นจากการปกครองของมุสลิม ชาวคาตาลันที่
เป็นคริสเตียน ได้รับความช่วยเหลือจาก กษัตริย์ชาเลอมาญ (Charlemagne The Great) ช่วยขับไล่มุสลิม
ออกจากดินแดน หลังจากนั้นชาเลอมาญ ได้ก่อตั้งจักรวรรดิคาโรลินเจียน (Carolingian Empire) ขึ้น ซึ่ง
ครอบคลุมดินแดนพื้นที่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ตั้งแต่ใต้จรดเหนือไว้ด้วย
หลังจากที่ชาร์เลอมาญทรงได้รับชัยชนะต่อดินแดนทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย พระองค์ทรงแบ่ง
ดินแดนเหล่านี้ออกเป็นเคาน์ตี(county)14
และแต่งตั้งผู้ปกครองขึ้นมาเพื่อปกครองดินแดนในแว่นแคว้น
รวมทั้งกาตาลุญญา และบาร์เซโลนา โดยพระองค์ทรงแต่งตั้ง “เคาน์แห่งบาร์เซโลน่า” (Count of
Barcelona) ปกครอง และกลายเป็นศูนย์กลางปกครองของภูมิภาคแถบนี้ต่อมาความสัมพันธ์ระหว่าง
เคาน์ตีกับประมุขแฟรงก์เริ่มห่างเหินขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เคานต์แห่งบาร์เซโลน่า ได้สถาปนาราชวงศ์
ขึ้นมาปกครอง และสถาปนาตนเป็นกษัตริย์แห่งคาตาโลเนีย เฉลิมพระนาม รามิโร่ ที่ 1 (Ramiro I of
13
คาร์เธจ เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย
14
เคาน์ตี (county) เป็นหน่วยย่อยของการปกครองในหลายประเทศ มีไว้เพื่อการบริหารท้องถิ่นตลอดจนการอื่นที่จําเป็น เคาน์ตี มาจาก
ภาษาฝรั่งเศสเก่า conté (กงเต) แปลว่าเขตการปกครองภายใต้ขุนนางระดับเคานต์
Aragon) และรวมราชวงค์กับราชอาณาจักรอารากอน โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งอรากอน
(Queen Petronilla of Aragon) ทําให้ตาลุญญาและอาณาจักรอารากอนรวมกันภายใต้ประมุขร่วม รามิโร่
ที่ 1 (Ramiro I of Aragon) เป็นกษัตริย์พระองค์องค์แรกแห่งราชวงศ์อารากอน (Aragon) มีศูนย์การ
ปกครองที่บาร์เซโลนา เคานต์แห่งบาร์เซโลนา (Count of Barcelona) จึงเป็นประมุขสําคัญของ กา
ตาลุญญาและอารากอน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และที่สําคัญกษัตริย์พระองค์
ปัจจุบัน ก็สืบสายจาก “เคานต์แห่งบาร์เซโลนา” จะได้กล่าวต่อไป
รัฐบาลกลางในมาดริดประกาศแผนที่จะทําให้ดินแดนในคาบสมุทรไอบิเรียเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับแคว้น
คาสตีลที่มีมาดริดเป็นศูนย์กลาง โดยให้ทุกๆแคว้นมีส่วนร่วมในการสนับทางเศรษฐกิจและกําลังคน แต่
หลายแคว้นไม่เห็นด้วย คาตาโลเนียก็ไม่เห็นด้วย ทําให้สัมพันธภาพระหว่างรัฐบาลกลางกับคาตาโล
เนียเสื่อมลง หลังจากนั้นกองทัพจากรัฐบาลกลางได้รุกเข้าดินแดนคาตาโลเนียเกิดการสู้รบกับประชาชนใน
ชนบท กลายเป็นสงครามที่รุนแรง โดยเฉพาะพระที่เป็นผู้นําชาวคาตาลัน นามว่าปัว คลาริส ต่อสู้กับรัฐบาล
กลางอย่างเข้มแข็ง แต่ต้องพ่ายแพ้ แม้รัฐบาลกลางจะได้รับชัยชนะ แต่ครั้งนี้ทุกๆฝ่ายมองว่ารัฐบาลกลาง
กระทําการผิดพลาด หลังจากนั้นจึงได้คืนเสรีภาพและสิทธิต่างๆให้แก่ชาวคาตาลันดังเช่นในอดีต14
15
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน (War of the Spanish Succession) (ค.ศ. 1702–ค.ศ. 1714) พระเจ้า
คาร์ลอสที่ 2 แห่งสเปน (Carlos II de Espana) รัชทายาทพระเจ้าเฟลิเป ที่ 4 แห่งสเปน เมื่อพระราชบิดา
สวรรคต จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าคาร์ลอสที่ 2 แห่งสเปน หรือชาร์ลสที่ 2 แห่งสเปน
(Charles II of Spain) ทรงปกครองทั้งสเปนและโปรตุเกส เมื่อพระองค์สวรรคตในปี 1700 โดยไม่มีรัช
ทายาท จึงเกิดสงครามสืบราชบัลลังก์ ระหว่างเจ้าชายฟิลิเป ดยุคแห่งอองชู พระราชโอรสของ กษัตรย์
หลุยส์ โดแฟง แห่งฝรั่งเศส กับดัชมาเรีย แอนนา แห่งบาวาเรีย จึงได้รับการสนับสนุนทั้งจากฝรั่งเศสและบา
วาเรีย (แคว้นในเยอรมนี)
ขณะที่อีกฝ่ายอาร์ชดยุคชาร์ลส (Archduke Charles) เจ้าชายแห่งแฮปสเบิร์ก(ออสเตรีย)ผู้ครองคาตาโล
เนีย ที่มีบาร์ซาโลนา เป็นเมืองหลวง ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในหลายแคว้น โดยเฉพาะคาตาโล
เนีย รวมทั้งแคว้นอารากอน เพราะเห็นตรงกันว่าเจ้าชายฟิลิเป ดยุคแห่งอองชู เป็นคนต่างชาติ จึง
สนับสนุนอาร์ชดยุคชาร์ลส ซึ่งปกครองบาร์ซาโลนาอยู่แล้วเป็นกษัตริย์สเปน และเพื่อหวังให้ยังคงรักษา
15
The New Encyclopedia Britiannica,Vol.17(1981)อ้างใน ศฤงคาร พันธุพงศ์.ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
2548
ระบบอภิสิทธิ์ หรือ Fueros ซึ่งมีอํานาจตรวจสอบกษัตริย์ได้ดังเดิม และที่สําคัญได้รับการสนับสนุนจาก
จักรพรรดิเลโอ โปลด์ ที่ 1 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่เห็นด้วยที่ฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงการ
สืบราชบัลลังก์สเปน จึงทรงต่อสู้เพื่อรักษาบัลลังก์สเปนไว้คงอยู่กับแฮปสเบิร์ก อาณาจักรอื่นๆ ในยุโรปได้
เข้าร่วมด้วย ทั้งอังกฤษ ปอร์ตุเกส เนเธอร์แลนด์ เพื่อต่อต้านไม่ให้ฝรั่งเศสขยายอิทธิพล
แต่ท้ายสุดเจ้าชายฟิลิเป ดยุคแห่งอองชู เป็นฝ่ายชนะ ขึ้นเป็นกษัตริย์เฉลิมพระนามพระเจ้าฟิลิเปที่ 5 แห่ง
สเปน (Philip V of Spain) หลังจากนั้นพระองค์ทรงปกครองสเปนในแบบฝรั่งเศส คือ การรวบอํานาจเข้าสู่
ศูนย์กลาง และทรงจัดการกับแคว้นที่ถือว่าก่อกบฏ บาเลนเซีย และอารากอนถูกจัดการปกครองใหม่ คา
ตาโลเนีย มีการตรารัฐธรรมนูญใหม่ ยกเลิกระบบอํานาจตรวจสอบกษัตริย์(Fueros)สิทธิ ในการปกครอง
ตนเองจึงหมดไปโดยสิ้นเชิง คาตาโลเนีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของสเปน15
16
เหลือเพียงแคว้นนาวาร์ และบาสก์
ที่ยังเป็นอิสระ
สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ครั้งนี้ยุติลงด้วยการทําสนธิสัญญาอูเทรคท์ (เนเธอแลนด์)ในปี ค.ศ.171317
เป็นสนธิสัญญาที่สเปนทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ไปพร้อมกัน กล่าวคือ พระเจ้าปิลิเป ที่ 5 จากเดิมที่
ได้สิทธิครองบัลลังก์ฝรั่งเศสด้วยนั้นจะต้องสละสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศส เพื่อเป็นการป้ องกันการรวมตัว
ระหว่างราชอาณาจักรสเปนและฝรั่งเศสในการสร้างความยิ่งใหญ่ในยุโรป สเปนต้องยกดินแดน
เนเธอร์แลนด์(ส่วนของดินแดนเบลเยียม) และดินแดนมิลาน รวมทั้งซาร์ดิเนีย ให้ออสเตรีย ยกเกาะไมนอร์
กา จิบรอลต้า และสิทธิเดินเรือในปานามา ให้อังกฤษ ยกชิชิลีให้กษัตริย์แห่งซาวอย เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้
เป็นไปตามการต่อรองทางอํานาจ
ดูเสมือนว่าทุกฝ่ายที่เข้าร่วมสงครามสมประโยชน์จากสงครามสืบราชบัลลังก์ในครั้งนี้สนธิสัญญาอูเทรคท์
เป็นการสร้างดุลยภาพทางอํานาจ (balance of power)ของมหาอํานาจยุโรป กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของมิติ
ความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างประเทศ แต่อาณาจักรบาเลนเซีย อารากอน และคาทาโลเนีย เท่านั้นที่
สูญเสียตกเป็นของสเปนโดยสมบูรณ์ นั่นคือแม้สเปนจะสูญเสียดินแดนอื่น แต่เป็นผลให้สเปนรวมการ
ปกครองไว้ที่ส่วนกลางได้สําเร็จมาดริดกลายเป็นศูนย์กลางของสเปน รัฐบาลสเปนได้ประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจในการเรียกเก็บภาษีจากแว่นแคว้นต่างๆ โดยเฉพาะคาตาโลเนียซึ่งเป็นแคว้นที่มั่งคั่งที่สุดที่หล่อ
เลี้ยงสเปน และถือว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักก็ว่าได้ในการพยายามรวมสเปนเป็นหนึ่งเดียวได้สําเร็จ สงคราม
16
ในวันที่ 11 กันยายน 1714 เป็นวันที่ฝ่ายสเปนปิดล้อมและยึดบาร์ซาโลนา(Siege of Barcelona) ได้สําเร็จนั้น ถือเป็นการสิ้นสุดของ
อาณาจักรคาตาโลเนีย ดังนั้นชาวคาตาลัน จึงถือว่าวันที่ 11 กันยายน เป็นวันชาติของตน เพื่อระลึกถึงวันที่พ่ายแพ้ต่อสงคราม
17
ศฤงคาร พันธุพงศ์.ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง.2548
จึงเป็นเหตุอันเนื่องมาจากการแย่งชิงอํานาจ ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองมากกว่า
ความขัดแย้งด้านศาสนาและชาติพันธุ์
มิติใหม่ของอาณาจักรคาตาโลเนีย
คริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากที่สเปนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 1812 เป็นห้วงเวลาแห่งความขัดแย้งของ
สเปนอีกครา เพราะเกิดความขัดแย้งจากแนวคิดของคนหลายกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นพวกเสรีนิยม กลุ่มที่สอง
เป็นพวกสังคมนิยม และกลุ่มที่สามคือพวกอนุรักษนิยมที่นิยมกษัตริย์ รวมทั้งพวกชาตินิยม ต่างฝ่ายต่าง
ต้องการกําจัดอีกฝ่ายให้พ้นจากอํานาจทางการเมือง จึงประสบกับความขัดแย้งนําไปสู่สงครามกลางเมือง
และการปฏิวัติหลายครั้ง อํานาจการปกครองจึงสลับกันไปมา
ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้
รัฐธรรมนูญที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษนิยมและกลุ่มชาตินิยม จึงมักจะขัดแย้งกับกลุ่มเสรีนิยม
และสังคมนิยมอย่างต่อเนื่อง กระทั่งนําไปสู่สาธารณะรัฐสเปน ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1873 แต่คงอํานาจอยู่ได้
เพียงระยะสั้นๆ กลุ่มนิยมกษัตริย์ยึดอํานาจกลับมาได้อีกครั้ง ครองอํานาจตั้งแต่ ค.ศ. 1878 -1931
หลังจากนั้นราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจรักษาอํานาจของตนไว้ได้ สาธารณะรัฐสเปนที่ 2 ก็ถือกําเนิดขึ้น รวมเอา
กลุ่มเสรีนิยมและสังคมนิยมไว้ด้วยกัน
สเปนได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 1931 โดยกล่าวถึงเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของ
ประชาชน ให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้ง แบ่งแยกศาสนาออกจากการเมือง รัฐบาลแทรกแซงกิจการของ
ศาสนาได้ เช่นห้ามไม่ให้สอนศาสนาในโรงเรียนเอกชน การริบทรัพย์สินบางอย่างของคริสตจักร และการสั่ง
ยุติลัทธิเยซูอิด ฯ ทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น ผลของรัฐธรรมนูญ 1931 (Spanish Constitution 1931)นี้
เองที่ทําให้อาณาจักรคาตาโลเนีย มีสถานะเป็นรัฐอิสระปกครองตนเองอีกครั้ง มีการอนุญาตให้สอนภาษา
และใช้ภาษาคาตาลันได้ดังเดิม อาณาจักบาสก์ก็ได้รับสิทธิดังกล่าวด้วย
การเลือกตั้งในปี 1933 ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับฝ่ายกลุ่มสายกลาง แต่ไม่อาจปกครอง
ประเทศให้ราบรื่นได้ รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงการปกครองและการตรากฎหมายของแคว้นต่างๆโดยเฉพาะ
ในคาตาโลเนีย และบาสก์ หลายๆฝ่ายเริ่มไม่พอใจรัฐบาล ฝ่ายที่เคยสนับสนุนเริ่มออกมาต่อต้านมากขึ้น
นําไปสู่การกบฏในมาดริด การลุกขึ้นสู้ของขบวนการกรรมกรในแอสตูเรียส และการประกาศเอกราชของคา
ตาโลเนีย แต่รัฐบาลกลางปราบปรามลงได้ คาตาโลเนียต้องสูญเสียอิสระไปอีกครั้ง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ยืดเยื้อรุนแรงอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเพาะบ่มกลายเป็นสงครามกลางเมืองสเปนในเวลาต่อมา
สงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War)
สงครามกลางเมืองสเปน (1936-1939 )เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่าย “นิยมสาธารณรัฐ”ประกอบด้วย
กลุ่มเป็นกลาง กลุ่มสังคมนิยม รวมทั้งชาวคาตาลัน และชาวบาสก์ ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต
และเม็กซิโก กับฝ่าย "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ ขบวนการคาร์ลิสต์ พวก
คาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสฟรังกิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากฟาสซิสต์อิตาลี และนาซีเยอรมัน
ความคุกรุ่นเริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอํานาจ กล่าวคือหลังจากสาธารณรัฐสเปนที่ 2เป็นต้นมา ได้เกิด
ความขัดแย้งทางสังคมการเมืองต่างๆมากมาย ปี 1933 พรรคการเมืองฝ่ายขวาคว้าชนะในการเลือกตั้ง ก็
เกิดการต่อต้านสร้างความวุ่นวายโดยฝ่ายซ้ายเกิดการจลาจลที่เมืองต่างๆ ทําให้รัฐบาลต้องใช้กาลังไป
ปราบปราม เมื่อฝ่ายซ้ายชนะในการเลือกตั้ง ก็เกิดปัญหาจากการต่อต้านสร้างความวุ่นวายก่อจลาจลของ
ฝ่ายขวา มีการประท้วงหยุดงาน เผาศาสนสถาน ถาวรวัตถุ จนทําให้ทั้งสองฝ่ายจับอาวุธเข้าต่อสู้กัน นาย
พลฟรานซิสโก ฟรังโก ( Francisco Franco )จึงถือโอกาสทํารัฐประหารล้มรัฐบาลสาธารณะรัฐแต่ถูก
ต่อต้านจากกองกําลังฝ่ายซ้ายกลุ่มต่างๆ
สงครามเริ่มต้นโดยการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐ โดยกองทหารในหลายเมือง เช่น ในแอสตูเรียส
เลออง อาลาญา นาวาร์ คาสติล อารากอน คาดิช และอัลเจซิรัส ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ
ฝ่ายชาตินิยม(Nationalists ) ที่มี ฟรังโก ( Francisco Franco )เป็นแกนนํา สเปนจึงเป็นสมรภูมิสู้รบของ
ลัทธิสังคมนิยมกับลัทธิฟาสซิสต์ไปโดยปริยาย ผลของสงครามเป็นการล้มการปกครองระบบสาธารณะรัฐ
มาสู่การปกครองระบอบเผด็จการ(Dictatorship ) หลังจากนั้น ฟรังโก ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก
สาธารณรัฐสเปนเป็น “รัฐสเปน”( Spanish state) เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างระบบการปกครองใหม่ให้
แตกต่างจากระบบราชาธิปไตย และระบบสาธารณรัฐ โดยมีนโยบาย “สเปนเดียว” คือการรวมแว่นแคว้น
ต่างๆให้เป็นหนึ่งโดยให้มาดริดเป็นศูนย์กลาง หลังจากนั้นภารกิจจึงเต็มไปด้วยการปราบปราม17
18
การกดขี่
ข่มเหงประชาชน และแว่นแคว้น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการละเมิดสิทธิต่างๆ ไม่ว่า การ
ห้ามพูดภาษาของแคว้น การห้ามใช้ธงประจําชาติ ทําให้แคว้นบาสก์และแคว้นคาตาโลเนีย ที่มีความเป็น
ชาตินิยมอยู่แล้วเกิดการต่อต้านตลอดมา
นอกจากการครอบงําทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมแล้ว กระทั่งกีฬาฟุตบอลอํานาจการเมืองยังรุกฆาต
เข้าไปครอบงําด้วย กล่าวคือ
18
ชาวคาตาลันใช้ “สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลน่า” เป็นกระบอกเสียงทางการเมืองเพื่อต่อต้านและเรียกร้องอิสรภาพจากรัฐบาลสเปนอย่างสงบ
แต่รัฐบาลของนายพลฟรังโก ที่มีนโยบายปราบปรามผู้ที่ต่อต้านได้ทําการปราบปรามโดยขว้างระเบิดลงบริเวณสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา
เหตุการณ์ครั้งนั้น ทาให้มีจํานานผู้เสียชีวิตกว่า 3000 ราย
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน
สเปน

More Related Content

What's hot

เรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
เรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันเรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
เรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
Apinya Phuadsing
 
แนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัย
แนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัยแนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัย
แนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัย
Padvee Academy
 
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
นันทนา วงศ์สมิตกุล
 
อารยะธรรมจ นRe (1) (1)
อารยะธรรมจ นRe (1) (1)อารยะธรรมจ นRe (1) (1)
อารยะธรรมจ นRe (1) (1)
Jitjaree Lertwilaiwittaya
 
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
Sompak3111
 
มารยาทในการลีลาศ
มารยาทในการลีลาศมารยาทในการลีลาศ
มารยาทในการลีลาศ
Tepasoon Songnaa
 
บฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ
บฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศบฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ
บฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ
Maikeed Tawun
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
พัน พัน
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทอง
kanchana13
 

What's hot (20)

การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
 
แบบทดสอบวัดความรู้
แบบทดสอบวัดความรู้แบบทดสอบวัดความรู้
แบบทดสอบวัดความรู้
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 
Astronomy VI
Astronomy VIAstronomy VI
Astronomy VI
 
อารยธรรมอินคา
อารยธรรมอินคาอารยธรรมอินคา
อารยธรรมอินคา
 
เรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
เรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันเรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
เรื่องที่3มวลแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
 
แนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัย
แนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัยแนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัย
แนวทางการใช้หลักพุทธธรรมของผู้สูงวัย
 
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์
 
อารยะธรรมจ นRe (1) (1)
อารยะธรรมจ นRe (1) (1)อารยะธรรมจ นRe (1) (1)
อารยะธรรมจ นRe (1) (1)
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
 
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
 
มารยาทในการลีลาศ
มารยาทในการลีลาศมารยาทในการลีลาศ
มารยาทในการลีลาศ
 
บฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ
บฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศบฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ
บฝ.การกำหนดเพศและยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9
 
Port a cath By Oncology Center Bangkok Phuket Hospital
Port a cath  By Oncology Center Bangkok Phuket Hospital  Port a cath  By Oncology Center Bangkok Phuket Hospital
Port a cath By Oncology Center Bangkok Phuket Hospital
 
ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1
 
South america
South americaSouth america
South america
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทอง
 
บทที่ 7 ระบบสุริยะ
บทที่ 7 ระบบสุริยะบทที่ 7 ระบบสุริยะ
บทที่ 7 ระบบสุริยะ
 
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
 

Viewers also liked

เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-New
Taraya Srivilas
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Taraya Srivilas
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Taraya Srivilas
 

Viewers also liked (20)

กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
 
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-New
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
 
อิสราเอล ปาเลสไตน์
อิสราเอล  ปาเลสไตน์อิสราเอล  ปาเลสไตน์
อิสราเอล ปาเลสไตน์
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
 
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
 
iร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญiร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญ
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
 
Framework 4ส6
Framework 4ส6Framework 4ส6
Framework 4ส6
 
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
 
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

More from Taraya Srivilas

More from Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

สเปน

  • 1. เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยความขัดแย้ง “สเปน บนความหลากหลายทางศาสนาและชาติพันธุ์ : Basque และ Catalonia” ธนชาติ ธรรมโชติ เครือข่ายเสริมสร้างสังคมสันติสุข บทนํา ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain หรือ Reino de Espana) ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรีย(Iberien Peninsula)1 อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ด้านตะวันตกมีพรมแดนจรด ปอร์ตุเกสและมหาสมุทร แอตแลนติก ตะวันออกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณทะเลกันตา เบรีย (Cantabrian Sea) สาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชรัฐอันเดอร์รา ทิศใต้จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่อง แคบยิบรอลตาร์ และอ่าวคาดิช มีพื้นที่ประมาณ 5 แสนตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในยุโรป รอง จากรัสเซีย และฝรั่งเศส ประชากรประกอบด้วยกลุ่มชนหลากหลายชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ประกอบด้วย 17 แคว้น โดย 6 แคว้นประกาศใช้ภาษาของแคว้นตนควบคู่ไปกับภาษา สเปน แคว้นที่ยังคงรักษามีอัตลักษณ์ของตนได้เด่นชัดและต่อเนื่องค่อนข้างชัดเจน คือ แคว้นคาตาโลเนีย (Catalonia) และแคว้นบาสก์ (Basque) ดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของสเปนและปอร์ตุเกส ในอดีตมีชนชาติที่เข้ามามีอิทธิพลในดินแดน แห่งนี้เช่น เคลต์(Celts ) ไอบีเรียน(Iberien ) โรมัน(Romans )วิสิโกธ (Visigoths) และมัวร์(Moors) ประวัติศาสตร์สเปน จึงประกอบด้วยเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับศาสนา ชาติพันธุ์ และดินแดนที่เกี่ยวข้อง กับอาณาบริเวณบนคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งมีพัฒนาการสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตคาบสมุทรไอบิ เรียตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ต่อมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาววิสิโกธ (Visigoths) และ ใน ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นมุสลิม (ชาวมัวร์) และจากเอเชียกลางก็เริ่มเข้ามามีอํานาจปกครอง และ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามได้สถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรไอบีเรียและปกครองอาณาบริเวณแห่งนี้เป็น 1 Spain เป็นคําที่มีรากศัพท์มาจากภาษาฟินิเชียน (Phoenicien) ต่อมาโรมันใช้คําว่า “ฮิสปาเนีย” (Hispaniae) เรียกดินแดนทั้งหมดใน คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberien Peninsula) ปัจจุบันคาบสมุทรไอบีเรียคือดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ทางเหนือมีเทือกเขา พิเรนีส (Pirineos) เป็นเส้นกั้นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศฝรั่งเศส อาณาเขตที่เหลือล้อมรอบด้วยพื้นนํ้าของมหาสมุทรแอตแลนติกทาง ตะวันตก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางทิศตะวันออก และช่องแคบจิบรอลต้า (Gibraltar) ทางทิศใต้ที่เชื่อมพื้นนํ้าของมหาสมุทรแอตแลนติกกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าด้วยกัน ช่องแคบนี้มีความกว้าง 14 กม. ยาว 50 กม. ปัจจุบันคาบสมุทรไอบีเรีย เป็นที่ตั้งของประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ สเปนและปอร์ตุเกส
  • 2. เวลายาวนานกว่า 750 ปี หลังจากนั้นอาณาจักรของคริสเตียนเข้ามาปกครองอีกครั้ง การปกครองบน คาบสมุทรไอบีเรีย มีลักษณะนครรัฐ (city states) เป็นอิสระต่อกัน จึงเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ความ ขัดแย้งและนําไปสู่ความรุนแรงตลอดมา ดินแดนแห่งนี้จึงผ่านทั้งยุครุ่งเรืองและยุคตกตํ่าหลายช่วงเวลา กระทั่งปลายศตวรรษที่ 15 กษัตริย์เฟอร์ดินาน ได้รวมบรรดานครรัฐทั้งหลายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พลิกผันให้ดินแดนแห่งนี้กลายเป็นราชอาณาจักรสเปนใน หลังจากนั้นสเปนเริ่มมีบทบาทการเป็น มหาอํานาจทางทะเล รวมทั้งเป็นเจ้าอาณานิคมในยุคต้น ในปัจจุบันสเปน มีสภาพปัญหาความขัดแย้งที่กล่าวกันว่ามาจากชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา อย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะดินแดนแคว้นบาส์ก (Basque )และแคว้นคาตาโลเนีย(Catalonia ) ความขัดแย้งในสอง แคว้นนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีการต่อสู้เพื่อที่จะรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองให้คงอยู่ แคว้นบาส์กและ คาตาโลเนีย มีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมและสังคม เป็นของตัวเองอย่างยาวนานไม่ตํ่ากว่า 1,000 ปี จึงมี ความเป็นชาตินิยม ชนชาติทั้งสองแคว้นต่างก็คิดเสมอว่านับแต่รุ่นบรรพบุรุษกระทั่งถึงปัจจุบันชาติพันธุ์ทั้ง สองไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศสเปน แต่มีความเชื่อว่าดินแดนที่อยู่อาศัยนี้เป็นดินแดนของประเทศบาสก์ ประเทศคาตาโลเนีย ซึ่งเป็นรัฐชาติที่มีอิสระ ดังนั้นสภาพปัญหาความแตกต่างทางความคิดได้นําไปสู่ ปัญหาความขัดแย้งในสเปนที่มีมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้พยายามหาคําตอบ ว่าเพราะเหตุใดชน ชาติในสองแคว้นนี้จึงมีความคิดเช่นนั้นกระทั่งนําไปสู่ขัดแย้งกับรัฐชาติสเปนและมีความรุนแรงตามมา ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ในอดีตบริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรไอบีเรีย ชนเผ่าไอบีเรียน (Iberians) ซึ่งเป็นชนผิวขาวที่มีถิ่นกําเนิด บริเวณตอนเหนือของทวีปอัฟริกา ได้เข้าครอบครองและแผ่อิทธิพลไปทั่วบริเวณและกลายเป็นชนเผ่าที่เด่น ที่สุด คาบสมุทรไอบีเรียก็ถูกเรียกขานตามนามของชนเผ่านี้ ต่อมาชนเผ่าฟินิเชียน (Phoenicians)2 ซึ่งเป็นชาติพันธุ์เซมิติก แต่เดิมอาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรอาระเบีย2 3 ได้อพยพตั้งรกรากรอบๆชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้สร้างเมืองเมืองไทร์ (Tyre) เมืองไซดอน 2 ชาวฟีนิเชียนเป็นชนเผ่าเซมิติก เดิมเรียกว่าพวก Canaanitesอาศัยอยู่บริเวณคะนาอันเมื่อประมาณ 2,000 BC. มีรากฐานมาจากดินแดน เมโสโปเตเมียและอียิปต์ ชาวฟีนิเชียนเชี่ยวชาญการเดินเรือและการค้า พ่อค้าชาวฟีนิเชียนเดินเรือนําอารยธรรมมาจากตะวันออกไปยังแดน ต่างๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นพวกแรก สามารถตั้งอาณานิคมบนเกาะซิซิลีและเมืองคาร์เทจทางเหนือของแอฟริกา ในช่วงปี 750 BC. ชาวแอสซีเรียนได้ยึดครองดินแดนของชาวฟีนิเชียน เกือบหมด คงเหลือเมืองคาร์เทจเท่านั้น ในปี 146 BC. เมืองคาร์เทจก็ถูกทําลายโดย จักวรรดิโรมัน
  • 3. (Sidon) เมืองบีบลอส (Byblos) ซึ่งกลายเป็นเมืองท่าที่สําคัญทางการค้าทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิ เตอร์เรเนียน(อยู่ใน Lebanon) นอกจากนั้นยังได้เดินเรือแผ่อิทธิพลไปทั่วฝั่งตะวันตกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งได้เข้าครอบครองดินแดนทางด้านฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยปัจจุบันคือเมืองคาดิช (Cadiz) และ เมืองมาละกา(Malaga) ในสเปน ชนเผ่าเซลท์ (Celts) หรือ เคลต์ อพยพจากทางเหนือของเทือกเขาพีเรนีส(Pyrenees) เข้ามาในดินแดน คาบสมุทรไอบีเรีย พวกเซลท์ได้ผสมผสานกลมกลืนกับชนเผ่าไอบีเรียน ได้ก่อให้เกิดชนเผ่าในหมู่ที่เรียกว่า เซลทิเบอเรียนส์ (Celtiberians) ซึ่งจะอาศัยอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกบริเวณตอนกลาง และบริเวณ ชายฝั่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย พวกคาร์เธจ (Cathaginian) ซึ่งอาศัยอยู่ตอนเหนือของทวีปอัฟริกาเคยเป็นอาณานิคมของฟินีเซีย (เมือง คาร์เธจ (Cathage) หลังจากพ่ายแพ้ต่อโรมัน (Romans) จึงหันเข้าครอบครองดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย ดินแดนส่วนใหญ่ในคาบสมุทรได้ถูกยึดครองโดยพวกคาร์เธจ และได้สร้างเมืองบาร์เซ-โลนา (Barcelona) บนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองคาร์ธาโก โนวา (Carthago Nova) ปัจจุบันคือเมืองคาร์ ธาจีนา (Cartagena) บนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาสาธารณรัฐโรมัน (Roman Republic) ได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในภาคใต้ของแคว้นกอล (Gaul) ปัจจุบันอยู่ในดินแดนของฝรั่งเศส กระทั่งรุกไล่เข้าครอบครองดินแดนทั้งหมดของคาบสมุทรไอบีเรีย ภายใต้ การปกครองของโรมัน มีการต่อต้านและลุกขึ้นต่อสู้จากชนดั้งเดิมอยู่เนืองๆ คริสต์ศาสนาเริ่มขยายเข้ามา โดยเฉพาะทางตอนใต้ เช่น เอนดาลูเซีย (Andalusia ) ผู้คนเริ่มเปลี่ยนมารับอารยธรรมโรมัน (Romanization) เกิดชุมชนคริสเตียนขึ้นภายในบริเวณเมืองใหญ่ๆ หลายเมือง โรมันครอบครองดินแดน คาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยมาถึง 600 ปี อารยธรรมของคาร์เธจก็ถูกแทนที่โดยอารยธรรมโรมัน โดยได้สร้าง เมืองสําคัญหลายเมือง เป็นต้นว่า ทาร์ราโค (Tarraco)หรือ Tarragona อิตาลิกา (Italica ) อีเบอริตา (Everita) หรือ Merido และก่อสร้างถาวรวัตถุอื่นๆอีกจํานวนมาก รวมทั้งระบบสาธารณูปโภค3 4 3 รัฐชาติที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐในคาบสมุทรอารเบียได้แก่ บาห์เรน ยื่นออกไปจากชายฝั่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรฯ คูเวต โอมาน กาต้าร์ สอูดีย์อาระเบีย (ซาอุดิอาระเบีย) สหรัฐอาหรับเอมิเรต และเยเมน ทุกประเทศรวมกันเป็นกลุ่มประเทศในอ่าวอาหรับยกเว้นเยเมนที่ มิได้เป็นชาติสมาชิกอ่าวอาหรับเพราะมีที่ตั้งเยื้องไปทางตะวันตกไกลจากบริเวณอ่าวฯ ชื่อของอ่าวยังเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติ อาหรับกับประเทศอิหร่าน แม้จะเป็นประเทศมุสลิมเหมือนกัน แต่อิหร่านเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อารยัน ขณะที่ชาติอาหรับทั้ง 22 ประเทศเป็นกลุ่ม ชาติพันธ์เซมิติก 4 Rhea Marsh Smith, Spain : A Modern History. 1965 อ้างใน ศฤงคาร พันธุพงศ์. ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง. 2548
  • 4. หลังจากนั้นอาณาจักรโรมันค่อยๆเสื่อมสลายลงต้องสู้รบกับกลุ่มอนารยชน (Barbarian Tribes)โดยในปี ค.ศ.410 พวกวิสิโกธ (Visigoths) ซึ่งเป็นอนารยชนเผ่าเยอรมัน (Germanic Tribe) ได้รุกเข้ากรุงโรม เผ่า แวนดัล (Vandals) และซูวี (Suevi) ได้รุกข้ามแม่นํ้าไรน์เข้าในแคว้นกอลจนเข้าไปตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทร ไอบีเรีย โดยพวกซูวีอยู่ทางเหนือและพวกแวนดัล อยู่ทางใต้จึงเรียกขานดินแดนทางภาคใต้ว่า แวนดาลูเซีย (Vandalusia) กระทั่งต่อมาพวกวิสิโกธได้รุกคืบและแผ่ขยายอิทธิพลในเขตคาบสมุทรไอบีเรียทั้งหมด คาบสมุทรส่วนใหญ่จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกวิสิโกธจนถึงประมาณปี ค.ศ.711 การปกครองของอนารยชนวิสิโกธ ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นทางสังคม โดยยกสถานะของกลุ่มตนขึ้นเป็นขุน นางเพื่อให้มีความต่างจากชนดั้งเดิม ทั้งนี้วิสิโกธ นับถือคริสต์ศาสนานิกายแอเรียน(Arianism ) ขณะที่ชน ดั้งเดิมนับถือคริสต์ศาสนานิกายคาธอลิก ความแตกต่างทั้งทางศาสนาและสังคมทําให้การปกครองของวิสิ โกธมีแต่สภาพความขัดแย้ง จนต้องสูญเสียดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียให้แก่ จักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian )แห่งอาณาจักรโรมันตะวันออก ( Eastern Roman Empire) ดังนั้นชนพื้นเมืองที่ชาววิสิโกธ (Visigoths) พบขณะที่ขยายอํานาจเข้าไปในบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียคือ พวกไอบีเรียน (Iberians) อาศัยอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรตลอดจนถึงทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ พวกเคลต์(Celts) อาศัยอยู่ทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทร ส่วนพื้นที่ ตอนในซึ่งเป็นดินแดนที่ชนทั้งสองกลุ่มได้เข้ามาติดต่อการค้าได้เกิดชนกลุ่มใหม่ที่มีวัฒนธรรมแบบผสมมี ลักษณะเฉพาะตัว คือกลุ่ม “เคลติเบเรียน” หรือ เซลทิเบอเรียนส์ (Celtiberians) ส่วนทางใต้ เป็นแหล่งที่ กลุ่มชนรับทั้งอารยธรรมชนเผ่าฟินิเชียน และอารยธรรมโรมัน ดินแดนบนคาบสมุทรไอบีเรียจึงเต็มไปด้วย ความหลากหลายทั้ง ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม การเข้ามาของศาสนาอิสลามในคาบสมุทรไอบีเรีย ชาวมุสลิมรุกเข้าในคาบสมุทรไอบีเรียครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.710 โดยกองทัพมัวร์ ต่อมา ค.ศ. 711 โดยทาริก (Tarik ) หรือ ฏอริก บินซิยาด แม่ทัพมัวร์ ชาวเบอร์เบอร์ในแอฟริกาเหนือได้นํากองทัพที่มีทั้งชาวอาหรับ และชาวเบอร์เบอร์ ข้ามช่องแคบเล็กๆทางตอนเหนือของอัฟริกา(ประเทศโมร็อกโก)ที่เชื่อมพื้นนํ้าของ มหาสมุทรแอตแลนติกกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าด้วยกัน ไปขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรไอบีเรีย ปัจจุบันเรียกกันว่าช่องแคบจิบรอลต้า (Gibraltar) สู้รบกับกองทัพวิสิโกธของพระเจ้าโรเดอริก กษัตริย์ ผู้ปกครองดินแดน กระทั่งกองทัพของพระเจ้าโกเดอริก พ่ายแพ้และสิ้นพระชนในสมรภูมิ หลังจากนั้นชาว มัวร์ เผ่าเบอร์เบอร์ได้ยึดครองดินแดนที่อยู่ตอนกลาง ของคาบสมุทร ส่วนชาวมัวร์อาหรับเข้ายึดครอง ดินแดนภาคใต้และภาคตะวันออกมีศูนย์กลางปกครองที่เมือง คอร์โดบา เขตยึดครองของมัวร์ในดินแดน
  • 5. คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่รู้จักกันของชาวอาหรับในนาม อัล-แอนดาลุส (Al-Andalus )4 5 ส่วนดินแดนที่เป็น อิสระไม่ขึ้นกับมัวร์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือเป็นศูนย์กลางการลี้ภัยของชาววิสิโกธ เช่น แคว้นบาสก์ (Basque ) และอาณาจักร แอสตูเรียส เป็นต้น ในปี ค.ศ.756 อับเดลราฮมาน กาหลิบ (Caliph ) ทายาทราชวงศ์อุมัยยะฮ์ที่ปกครองอาณาจักรมุสลิมใน ดามัสกัส(ซีเรีย)ถูกโค่นอํานาจ จึงลี้ภัยมายังคาบสมุทรไอบีเรียโดยมีกองทัพของมัว์ช่วยเหลือ กระทั่งได้ จัดตั้งรัฐโดยมีเมืองคอร์โดบาเป็นเมืองหลวง กระทั่งสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้ดินแดนที่ปกครองอย่าง รวดเร็ว ลํ้าหน้าเมืองคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นที่มีชื่อเสียงของยุโรปในเวลานั้น อับเดลราฮมาน ได้สถาปนาราชวงศ์บนี อุมัยยะฮ ขึ้นในคาบสมุทรไอบีเรีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และ สถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์ เฉลิมพระนาม อับเดลราฮมานที่ 1 ทําให้ดินแดน อัล-แอนดาลุส (al- Andalus ) มีความเจริญรุ่งเรืองไม่เพียงแต่เฉพาะในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ยังเป็นศูนย์กลางทางด้าน การศึกษา วิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรม บทกวี และศิลปที่ยิ่งใหญ่ ขณะที่ดินแดนยุโรปเวลานั้นส่วนใหญ่อยู่ ใน “ยุคมืด” ดินแดน อัล-อันดาลุส นี้เองที่ถ่ายทอดวิทยาการของมุสลิมผ่านเข้าไปยังยุโรปกระทั่งนําไปสู่ยุค “ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ” ขึ้นมา อัล-แอนดาลุส (al-Andalus ) มีกษัตริย์มุสลิมพระองค์อื่นๆปกครองต่อมาถึง คริสต์ศตวรรษที่15 เป็นระยะเวลา 700 กว่าปี ผู้คนในดินแดนที่ปกครองโดยมุสลิมนั้นมีเสรีภาพที่จะเลือก นับถืออิสลามหรือปฏิบัติตามศาสนาเดิมของตนต่อไป หากเลือกที่จะนับถือศาสนาเดิม จะต้องจ่ายภาษี “ญิซยะฮ์” ให้รัฐ ผู้คนจํานวนมากจึงเข้ารับอิสลามในเวลานั้น อาจเป็นด้วยเหตุไม่ต้องการจ่ายภาษี นับแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา คอร์โดบา เมืองหลวงของอัล-แอลดาลุส มีประชากร 600,000 คน มีอาคาร บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 200,000 หลัง มัสยิด 1,500 แห่ง ห้องอาบนํ้าสาธารณะประมาณ 1,000 แห่ง ในห้องสมุดมีเอกสารและบันทึกความรู้กว่าครึ่งล้านชุด ศูนย์กลางของเมืองมีระบบลําคลองที่ เชื่อมกัน กลางคืนแม้แต่ถนนที่แย่ที่สุดก็มีแสงสว่าง5 6 ดังนั้นในยุคกลางของยุโรปความรุ่งเรืองจึงอยู่ในดินแดนคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การ ปกครองของชาวมุสลิม ร่องรอยของศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมอิสลามที่ได้ลงหลักปักฐานไว้ใน ดินแดนแห่งนี้ยังเป็นเอกลักษณ์และคงอยู่คู่กับสเปนจนถึงปัจจุบัน อาณาจักรอัล-แอนดาลุส (al-Andalus ) 5 อัล-แอนดาลุส ( Al-Andalus เป็นชื่อภาษาอาหรับที่ใช้เรียกดินแดนบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียที่ชาวมุสลิมจากอาหรับและชาวมุสลิมจากอาฟ ริกา ได้เข้าไปปกครอง ในช่วงเวลาต่าง ๆระหว่าง ค.ศ. 711 จนถึง ค.ศ. 1492 ซึ่งหลังจากพิชิตคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แล้ว อัลอันดะลุส ถูกแบ่ง ออกเป็น 5 เขตบริหาร คือแคว้นอันดาลูเซีย แคว้นกาลิเซียและลูซิตาเนีย แคว้นคาสตีลและเลออน แคว้นอารากอน แคว้นกาตาลุญญา และ เซพติเมเนีย ซึ่งใกล้เคียงกับเขตในปัจจุบัน (Joseph F. O'Callaghan, A History of Medieval Spain , Cornell University Press,1983) 6 อะลีฟุดดีน , บรรจง บินกาซัน แปล อันดาลุส (สเปนมุสลิม):สวรรค์ที่สูญหาย. Thaimuslimshop.com .
  • 6. เจริญรุ่งเรืองอยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียได้ประมาณ 700 กว่าปีก็ต้องล่มสลายลงใน ค.ศ. 1429 เมื่อต้องพ่าย แพ้ต่อกองทัพคริสเตียน การพิชิตคืนดินแดนโดยคริสเตียน (Reconquista) เมื่อการพิชิตดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรียของฝ่ายมุสลิมในอาณาจักรวิสิโกธในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ได้ สําเร็จ การพิชิตคืนดินแดนของคริสเตียน จากการครอบครองชาวมุสลิม ภายใต้คําขวัญ Reconquista (re – ทําซํ้า conquista – conquest การพิชิต หรือ ยึดครอง) ก็เริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเริ่มดําเนินการอย่าง จริงจังและเป็นสงครามที่ยืดเยื้อต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย 700 กว่าปี มาสิ้นสุดลงในคริสต์ศตวรรษ ที่ 15 ดินแดนที่ปกครองโดยมุสลิมก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของคริสเตียน การพิชิตคืนดินแดนกลายเป็นปรัชญาการทําสงครามเพื่อคริสต์ศาสนา ส่งผลให้มีทหารจากดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปเดินทางมายังไอบีเรียเข้าร่วมในการพิชิตคืนดินแดนหลายกลุ่ม โดยถือเป็น”การปฏิบัติอย่างผู้มี ความศรัทธาในคริสต์ศาสนาหรือเพื่อเป็นการไถ่บาป” ระหว่างการพิชิตคืน ไอบีเรียเต็มไปด้วยสถานการณ์ ที่ซับซ้อนกว่าที่จะอธิบายได้ด้วยปรัชญาใด ๆ เพราะโดยข้อเท็จจริงผู้นําคริสเตียนและมุสลิมบางครั้งก็ต่อสู้ กันเองบางครั้งก็ร่วมมือกันแม้จะต่างศาสนาหากมีศัตรูร่วมกันโดยไม่คํานึงถึงศาสนา และปัจจัยที่ทําให้ สับสนยิ่งขึ้นคือกลุ่มทหารรับจ้างที่เข้าร่วมการต่อสู้จะเข้าร่วมกับฝ่ายใดก็ได้ที่ให้ประโยชน์ที่สูงกว่าโดยไม่ คํานึงถึงศาสนาและชาติพันธุ์6 7 ศาสนาจึงถูกสร้างเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพียงบางครั้งบางคราเท่านั้น การยึดคืนดินแดนโดยคริสเตียนค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์สิ้นสุดเมื่อคริสเตียนสามารถพิชิตเมือง กรานาดา (Granada)ได้ ในปี ค.ศ. 1492 ที่มั่นแห่งสุดท้ายของมุสลิม ทําให้ดินแดน อันดาลูเซีย (อัล-แอน ดาลุส : Al-Andalus ) กลับมาปกครองโดยคริสตเตียนอีกครั้ง กรานาดา(Granada )จึงเป็นเมือง สัญลักษณ์แห่งความพ่ายแพ้และชัยชนะของแต่ละฝ่าย และที่สําคัญที่สุดสถาปัตยกรรมของเมืองนี้ โดยเฉพาะพระราชวังอัลฮัมบรา (The Alhambra)8 เป็นพระราชวังมุสลิมที่ยังคงความงดงามและสมบูรณ์ แบบที่ยังหลงเหลืออยู่ในยุโรป ในห้วงเวลาที่คริสเตียนสู้รบเพื่อยึดคืนดินแดนนั้น ราชรัฐคริสเตียนเริ่ม เข้มแข็ง และเจริญรุ่งเรืองขึ้นอาณาจักรที่สําคัญที่สุดได้แก่ราชอาณาจักรคาสตีล ที่ครอบครองดินแดน ตอนกลางและตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย และราชอาณาจักรอารากอน ที่ครอบครองดินแดนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทร ผู้ปกครองของสองอาณาจักรเป็นพันธมิตรกัน8 9 7 Rhea Marsh Smith, Spain: A Modern History.1965 อ้างใน ศฤงคาร พันธุพงศ์.ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง. 2548 8 อาลัมบรา คือพระราชวังและป้ อมปราการตั้งอยู่ที่เมือง กรานาดา แคว้นอันดาลูเซีย ทางภาคใต้ของสเปน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าโมฮัมเหม็ดที่ 1 อิบน์ นัสร์ แห่งราชวงศ์นาสริด กษัตริย์ชาวมุสลิมราชวงศ์สุดท้ายในสเปน 9 ทั้งนี้เพราะในห้วงเวลานั้นราชรัฐต่างๆมีการอภิเษกสมรสระหว่างพระโอรสกับพระธิดาจากราชวงศ์ของอาณาจักรทําให้ดินแดนที่ราชวงศ์ เหล่านั้นปกครองได้เข้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว แต่กระนั้นบางครั้งมีบ้างที่แยกออกจากกัน หากผู้ปกครองอาณาจักรต้องการให้มีการแบ่ง ดินแดนเพื่อให้พระโอรสและพระธิดา ไปปกครอง
  • 7. กรณี การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งคาสตีล ใน ค.ศ. 1474 นําไปสู่ความขัดแย้งในการสืบสันติ วงศ์ มีการอ้างสิทธิขึ้นครองราชย์ระหว่างฝ่ายเจ้าหญิงโจฮันนา (Juana )พระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากปอร์ตุเกส(ฝ่ายตา)และฝรั่งเศส กับฝ่ายของเจ้าหญิงอิซาเบลลา พระขนิษฐาพระ เจ้าเฮนรี ที่ 4 ที่ก่อนหน้าได้สมรสกับพระเจ้าเฟอร์ดินาน แห่งอารากอน ครั้งนี้จึงได้แรงสนับสนุนจาก อาณาจักรอารากอนและบรรดาขุนนางชนชั้นสูงของคาสตีล ให้ขึ้นครองราชย์ จนกระทั่งเกิดสงครามสืบ สันติวงศ์ ระหว่างฝ่ายหลานกับฝ่ายอา และยุติลง โดยเจ้าหญิงอิซาเบลลาได้ขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระ นาม "สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล" (Isabella I of Castile; Isabel I de Castilla) ผ่านมาสี่ปีในปี ค.ศ.1479 พระเจ้าเฟอร์ดินานพระสวามี ทรงขึ้นปกครองราชอาณาจักรอารากอน เฉลิม พระนาม "พระเจ้าเฟอร์ดินานที่ 2 แห่งอารากอน" (Ferdinand II of Aragon; Fernando II de Aragón) ผล จากการทรงอภิเษกสมรสระหว่างสองราชอาณาจักร และครองราชย์ร่วมกันครั้งนี้ได้ทําให้ราชอาณาจักร คาสตีลและราชอาณาจักรอารากอน รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความ เข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นในการสร้างรัฐชาติ กระทั่งในที่สุดได้รวบรวมอาณาจักรอื่นๆพัฒนาเป็น ราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อมา สเปนเป็นรัฐชาติที่เริ่มมีอํานาจและอิทธิพลในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เติบโตขึ้นนับแต่นั้น ซึ่งมาพร้อมกับความรุ่งโรจน์ทางการค้ามหาอํานาจทางทะเล เมื่อมีการค้นพบโลกใหม่ ในนามของรัฐชาติสเปน โดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พัฒนาการการยึดคืนดินแดนโดยคริสเตียนจากการครอบครองของมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้สําเร็จอัน เนื่องมาจากความแตกแยกภายในกลุ่มรัฐมุสลิมเอง อัล อันดาลุส ได้แยกตัวออกเป็นรัฐเล็กๆ ขัดแย้ง แย่ง ชิงอํานาจ ขาดความสามัคคี และต่อสู้กันเอง บางครั้งถึงขนาดเอาทหารคริสเตียนมาช่วยในการสู้รบกับ มุสลิมด้วยกันเองนําไปสู่ความอ่อนแอ และที่สําคัญการวางแผนรวมรัฐคริสเตียนเข้าด้วยกันของผู้ปกครอง ทําให้ของรัฐคริสเตียนที่อยู่ทางเหนือของคาบสมุทรค่อยๆสร้างความเข้มแข็งขยายอํานาจรุกคืบลงทางใต้ อย่างมั่นคง กระทั่งเข้ายึดครองดินแดนที่ปกครองโดยมุสลิมได้อย่างต่อเนื่องและยึดได้ทั้งหมด นับแต่นั้นถือ เป็นการเริ่มต้นของการรวมหลายๆอาณาจักเป็นรัฐชาติสเปน เมื่อสมเด็จพระราชินินาถอิซาบาลลาที่ 1 แห่งคาสตีล และ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอาณาจักรอารา กอน พระสวามี ทั้งสองพระองค์ได้วางรากฐานในการรวบรวมอาณาจักรต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวเริ่มต้นที่ อาณาจักรคาสตีลกับอาณาจักรอารากอน ผนวกรวมอํานาจเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นได้รวมเอาอาณาจักร อื่นๆในคาบสมุทรไอบีเรียเข้ามารวมกันอีกหลายอาณาจักรรวมไปถึงอาณาจักรบาสก์ และอาณาจักรคา ตาโลเนีย ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ทั้งสองแคว้นนี้เป็นอาณาจักรหนึ่งในคาบสมุทรไอบีเรีย ที่เป็น ราชอาณาจักรอิสระในการปกครอง มีอธิปไตย มีดินแดน มีชาติพันธุ์ และภาษาเป็นของตนตลอดมา การ
  • 8. ถูกผนวกรวมการปกครองของผู้ชนะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาความขัดแย้ง นําไปสู่การสร้างอุดมการณ์ทาง การเมืองเพื่อสร้างรัฐชาติของตน ตามมานับตั้งแต่นั้น สร้างรัฐชาติสเปนให้เป็นรัฐชาติของคริสเตียน ภายหลังการสร้างรัฐชาติราชวงศ์สเปนต้องการให้สเปนเป็นรัฐคริสตจักรคาทอลิก จึงมีมาตรการทั้งเชิญ ชวน และบังคับให้มุสลิมให้เปลี่ยนศาสนาเป็นคาทอลิก หากไม่ยินยอมต้องออกจากดินแดนนี้ไป มุสลิม บางส่วนต้องอพยพออกไป บางส่วนต้องหันมาเป็นคาทอลิก ปี 1492 เมืองกรานาดาซึ่งเป็นพื้นที่สุดท้าย ของไอบีเรียที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม ก่อนที่ถูกยึดครองได้มีการยื่นข้อเสนอว่าถ้าชาวมุสลิม ในกรานาดายอมแพ้ก็จะได้สิทธิอาศัยในดินแดน แต่โดยข้อเท็จจริงหาเป็นเช่นนั้น เพราะหลังจากนั้นฝ่ายรัฐ คาทอลิกบีบบังคับอย่างหนักหน่วงให้มุสลิมในดินแดนนี้เปลี่ยนมาเป็นคาทอลิก พวกที่ไม่ยินยอมอาจถึง อันตรายต่อชีวิต กระนั้นชาวมุสลิมบางกลุ่มก็ไม่ยินยอมเปลี่ยนศาสนายังปฏิบัติศาสนกิจของตนตามเดิม กระทั่งรัฐคาทอลิกมีมาตรการบีบบังคับหนักขึ้น มุสลิมจึงหันมารับคาทอลิกมากขึ้น คนกลุ่มนี้เรียกกันว่า เป็นชาว “มัวริสโคส์” การรับคริสเตียนของ Moriscos เพราะชาวมุสลิมบางส่วนที่ไม่อาจจะอพยพได้ถือหลักที่เรียกว่า ตะกียยะห์ คือการปกปิดซ่อนเร้นศรัทธาที่แท้จริงของตน กล่าวคือ Moriscos ปฏิบัติตามข้อบังคับของโบสถ์เท่าที่ จําเป็น ประกอบพิธีกรรมของมุสลิมที่บ้าน นําลูกหลานที่เกิดใหม่ไปประกอบพิธีที่โบสถ์ แต่กลับมาชําระ ล้างที่บ้าน แต่งงานตามพิธีกรรมของโบสถ์ และกลับมาจัดงานฉลองแต่งงานในแบบของมุสลิมขึ้นในชุมชน ของตน ถึงแม้จะมีการจัดตั้งศาลศาสนาเพื่อไต่สวนศรัทธาที่อาจนํามาซึ่งการลงโทษอย่างรุนแรง แต่ Moriscos ก็ยังละหมาด ถือศีลอดอย่างลับๆ มีทั้งชื่อคริสเตียนและชื่อมุสลิม บ้านและการตกแต่งภายใน บ้านก็แตกต่างจากคริสเตียน แม้ฝ่ายรัฐจะรับรู้การมีอยู่ของชุมชน Moriscos แต่รัฐไม่ได้มาควบคุมมากนัก คริสจักรเองพยายามใช้ นโยบายกลมกลืนทางวัฒนธรรมมากกว่าการบังคับ แต่ความตึงเครียดระหว่างทางการกับชุมชน Moriscos เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐสงสัยว่า Moriscos อาจจะไปให้ความช่วยเหลืออย่างลับๆต่อพวกเตอร์กออตโตมัน จึง พยายามกดดันชุมชน Moriscos มีการห้ามส่งออกผ้าไหม มีการขึ้นภาษีผ้าไหมของเกรนาดา ที่เป็นอาชีพ หลักของ Moriscos มีการตั้งศาลศาสนาเพื่อสอบสวนศรัทธาของเจ้าของที่ดินในเกรนาดา ทําให้ที่ดินของ Moriscos จํานวนมากถูกยึด9 10 ยุคนี้นอกจากจะเห็นภาพการยึดคืนดินแดนแล้ว ยังได้เห็นการยึดทั้งที่อยู่ อาศัยและที่ทํากินของมุสลิมด้วย 10 มุสลิมภายใต้การปกครองของจักรวรรดินิยมสเปน.Azizstan Foundation. School. Joomlart.com.
  • 9. อย่างไรก็ตามแม้ว่าชนกลุ่มนี้จะหันมาเป็นคาทอลิกแล้วแต่มักจะถูกตีตราว่าเป็น “คนนอกศาสนา” และหาก ให้คนนอกศาสนาอยู่ในดินแดนสเปนจะทําให้พระเจ้าไม่พอใจ การถูกตราหน้าจากชาวคาทอลิกเป็น “มัว ริสโคส์ (Moriscos) ที่ไม่ได้เป็นคาทอลิกที่ดีและไม่ได้เป็นประชาชนที่ภักดี”กลายเป็นวาทกรรมทําให้เจ็บ แค้น ดังนั้นในปี 1499 มุสลิมลุกขึ้นประท้วง รัฐบาลคาทอลิกจึงนํากําลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง หลังจากนั้นมุสลิมในเขตต่าง ๆ ก็เริ่มถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาหรือไม่ก็ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นให้หมดสิ้น ในปี 1526 รัฐคาทอลิกได้ประกาศสั่งห้ามไม่ให้มีการนับถือศาสนาอิสลามทั่วทั้งในสเปน ห้ามแต่งกายแบบ ชาวมัวร์ มัสยิดถูกเปลี่ยนเป็นโบสถ์ ฝ่ายคริสตจักรคาทอลิกเมื่อเห็นว่ามุสลิมบางส่วนได้เปลี่ยนเป็น คาทอลิกแล้ว จึงเปิดโอกาสให้ทํางานตั้งแต่งานของชนชั้นล่างอย่างกรรมกร ไปถึงงานที่สําคัญขึ้น เป็นต้น ว่า ช่างศิลป์ ช่างฝีมือ ฯ แต่ชาวมัวริสโคส์ บางส่วนก็ยังแอบปฏิบัติศาสนกิจของตนต่อไปอย่างต่อเนื่องใน หลายพื้นที่ มุสลิมยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนต่อไป การที่คริสตจักรให้ ชาวมัวริสโคส์ ที่ถูกตราหน้าว่า ไม่ได้เป็นคาทอลิกที่ดีและไม่ได้เป็นประชาชนที่ภักดี ทํางาน ยิ่งให้ชาวคาทอลิกแท้ๆไม่พอใจ รัฐคาทอลิกก็ ไม่พอใจ ผลร้ายจึงเกิดกับชาวมัวริสโคส์ เพราะหลังจากนั้น ทั้งรัฐและผู้คนทั่วไปปฏิบัติต่อชาวมัวริสโคส์ โดยปราศจากความยุติธรรมรุนแรงขึ้น ไร้ความเสมอภาคอย่างชัดเจน โอกาสในการปฏิบัติศาสนกิจถูก จํากัดโดยสิ้นเชิง ฝ่ายคริสตจักรคาทอลิกก็เริ่มสงสัยต่อพฤติกรรมของชาวมัวริสโคส์ มากขึ้นว่าการเปลี่ยนมาเป็นคาทอลิก นั้นแท้จริงแล้วไม่ได้มาเป็นคาทอลิกจริง ๆ หลังจากนั้น คริสตจักรคาทอลิกเริ่มบีบบังคับชาวมัวริสโคส์ ทุกๆ ทาง โดยมีเป้ าหมายในการกําจัดวัฒนธรรมอิสลามให้หมดไป ในปี 1567 กษัตริย์ฟิลิเป ที่ 2 ได้ประกาศ สั่งห้ามมิให้ชาวมัวริสโคส์ พูดภาษาของตน ห้ามมิให้แต่งกายแบบมุสลิม ห้ามมิให้นําธรรมเนียมปฏิบัติ และประเพณีมุสลิมมาใช้ในดินแดน ในที่สุด Moriscos ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อหาความเป็นธรรมจนนําไปสู่การก่อกบฏและนองเลือดที่รุนแรง ตามมาอีกครั้ง ในครั้งนี้ชาวมัวริสโคส์ จํานวนมากถูกขับไล่ออกจากดินแดนสเปน10 11 จลาจลของ Moriscos ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1568-60 เรียกกันว่า การลุกฮือแห่งอัลปูจัรราส ครั้งที่ 2 แต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง กษัตริย์ฟิลลิเปที่ 2 แห่งสเปนพยายามแก้ปัญหาด้วยการขับไล่พวก Moriscos ทั้งหมดออกจากเกรนาดา 11 wol.j w.org / th . ไล่ชาวโมริสโกออกจากสเปน ห้ องสมุดออนไลน์ ว็อชเทาเวอร์ สืบค้น 16/10/58
  • 10. Moriscos ต้องอพยพกระจัดกระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆของสเปน โดยเฉพาะในคาสตีล แม้จะป้ องกันไม่ให้ มีโอกาสก่อกบฏขึ้นในเกรนาดาได้อีก แต่คราวนี้ปัญหาชุมชน Moriscos ได้กระจายไปทั่วสเปน วาทกรรมที่ว่า “มัวริสโคส์ ไม่ได้เป็นคาทอลิกที่ดีและไม่ได้เป็นประชาชนที่ภักดี” กลายเป็นความเชื่อที่ทั้ง ฝ่ายคริสตจักรคาทอลิก ฝ่ายรัฐคาทอลิก และชนชาวคาทอลิกหล่อหลอมเป็นความเชื่อเดียวกัน เป็นความ เชื่อที่คิดไปเองว่า คนกลุ่มนี้เป็นไส้ศึกให้กับพวกโจรสลัดบาร์แบรีย์ เป็นไส้ศึกให้คริสตจักรโปรเตสแตนต์ จากฝรั่งเศส รวมทั้งเป็นไส้ศึกให้มุสลิมเตอร์ก เพื่อให้ต่างชาติเหล่านั้นเข้ามารุกรานสเปน ความเชื่อจึง นําไปสู่การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การข่มเหง โดยวิธีที่รุนแรงเลวร้ายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในปี 1609 กษัตริย์ฟิลิเปที่ 3 จึงให้ขับไล่ Moriscos ออกไปจากดินแดนสเปนทั้งหมด แม้แต่เป็นกลุ่ม คนที่ถูกสงสัยว่าอาจจะเป็นมัวริสโคส์ โดยมีเป้ าหมายคือดินแดนสเปนต้องปราศจากมัวริสโคส์ ประมาณ กันว่ามี Moriscos ที่ถูกขับออกจากสเปนกว่า 300,000 คน ทําให้บางภูมิภาคของสเปนแทบจะร้างผู้คน Moriscos บางกลุ่มได้เข้าไปเป็นทหารรับจ้างในกองทัพของสุลต่านแห่งโมรอคโค กระทั่งได้รับอนุญาตให้ ตั้งชุมชนขึ้นที่ sale (บนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก) ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้สร้างกองเรือเพื่อต่อสู้กับศัตรูของพระ เจ้า” เป็นที่มาของเรื่องราว โจรสลัด Sallee Rovers ที่เข้าไปก่อเหตุปล้นสะดมเมืองท่าต่างๆของยุโรปตั้งแต่ แม่นํ้าทากุสในปอร์ตุเกส จนถึงช่องแคบบริสตอลของอังกฤษ ซึ่งท้ายสุดการขับไล่ Moriscos ไม่ได้ทําให้ มุสลิมหมดไปจากสเปนกระทั่งปัจจุบัน เพียงแต่อยู่กันกระจัดกระจายไม่เข้มแข็งเหมือนอดีต ดังนั้นมุสลิม แม้ว่าทั้งชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ต่างกับคริสเตียนแต่ไม่อาจมีพลังเพียงพอ ที่จะเป็นชนวน ของความขัดแย้งในสเปนอีกต่อไป ทั้งใน Catalonia และ Basque คาตาโลเนีย Catalonia หรือ คาตาลุญญา Catalunya กาตาลุญญา หรือคาตาโลเนีย ตั้งอยู่ตอนบนของคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula) ถูกผนวกให้เป็น ส่วนหนึ่งของสเปน ประกอบไปด้วยจังหวัดบาร์เซโลน่า (Barcelona) กิโรน่า (Girona) ลเลียด้า (Lleida) และ ทาร์ราโกน่า (Tarragona) มีบาร์เซโลนาเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน เป็นแคว้นปกครองตนเอง ตาม รัฐธรรมนูญสเปน และได้กําหนดให้เป็นชาติ (nationality) ตามรัฐธรรมนูญปกครองตนเองของแคว้น บาร์ เซโลนา เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสเปน รองจากมาดริด คาตาลุญญา มีอาณาเขตจรดประทศ ฝรั่งเศสและราชรัฐอันดอร์ราทางทิศเหนือ 12 จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางทิศตะวันออก จรดแคว้นบา 12 14 มีนาคม ค.ศ. 1993 มีการลงประชามติให้ราชรัฐอันดอร์รามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญปกครองฉบับแรก (ซึ่งฝรั่งเศสและสเปนได้ยกร่างร่วมกัน) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 รัฐธรรมนูญกําหนดให้อํานาจอธิปไตยมาจาก ประชาชน โดยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร แบ่งแยกอํานาจบริหารและอํานาจนิติบัญญัติออกจากกัน และยังคงมอบอํานาจให้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและ Bishop of Urgell แห่งสเปน ดํารงตําแหน่งประมุขร่วมกัน ใช้ภาษาคาตาลัน เป็นภาษาทางการ
  • 11. เลนเซียและแคว้นอารากอนของสเปนทางทิศใต้และทิศตะวันตกตามลําดับ พื้นที่ของแคว้นเป็นพื้นที่ เดียวกับส่วนใหญ่ของราชรัฐคาตาลุญญาในอดีต ภาษาทางการของแคว้นส่วนใหญ่ใช้ภาษา คาตาลัน และภาษาออกซิตัน ความเป็นมาของแคว้นคาตาโลเนีย Catalonia พวกคาร์เธจ (Cathaginian)13 เข้าครอบครองดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้สร้างเมืองบาร์เซโลนา (Barcelona) ขึ้นบนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองคาร์ธาโก โนวา (Carthago Nova) ปัจจุบันคือเมืองคาร์ธาจีนา (Cartagena) ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังโรมันทํา สงครามกับคาร์เธจ โรมันเป็นฝ่ายชนะได้สร้างเมืองทาร์ราโค (Tarraco ปัจจุบัน Tarragona) แต่ชาวเมือง ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นCathaginian ซึ่งยอมอยู่ภายใต้อํานาจของโรมัน ศตวรรษที่ 4 หลังจาก โรมันล่มสลาย พวกวิสิโกธ (Visigoths) อนารยชนเผ่าเยอรมัน (Germanic Tribe) ) ชาติพันธุ์ เจอร์แมนิก ( Germanic peoples) มีอํานาจปกครอง จึงสถาปนาบาร์เซโลนาเป็นเมืองหลวง และผนวกดินแดนกับ อาณาจักรโตเลโด้ (Kingdom of Toledo) หลังจากนั้น ค.ศ.716 ดินแดนบริเวณคาบสมุทรไอบีเรีย รวมทั้งคาตาลุญญา ตกอยู่ใต้อํานาจของมมุสลิม และขยายอิทธิพลไปทางเหนือถึง Tours และ Poitiers กระทั่งนําไปสู่สงครามระหว่างมุสลิมกับคริสเตียน ที่เมืองทัวร์ (Battle of Tours) และเมืองปัวแตร์ (Poitiers) ในปี 732 (ปัจจุบันอยู่ในฝรั่งเศส) ฝ่ายคริสเตียน เป็นฝ่ายชนะ ทําให้ดินแดนส่วนเหนือของคาตาลุญญา หลุดพ้นจากการปกครองของมุสลิม ชาวคาตาลันที่ เป็นคริสเตียน ได้รับความช่วยเหลือจาก กษัตริย์ชาเลอมาญ (Charlemagne The Great) ช่วยขับไล่มุสลิม ออกจากดินแดน หลังจากนั้นชาเลอมาญ ได้ก่อตั้งจักรวรรดิคาโรลินเจียน (Carolingian Empire) ขึ้น ซึ่ง ครอบคลุมดินแดนพื้นที่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ตั้งแต่ใต้จรดเหนือไว้ด้วย หลังจากที่ชาร์เลอมาญทรงได้รับชัยชนะต่อดินแดนทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย พระองค์ทรงแบ่ง ดินแดนเหล่านี้ออกเป็นเคาน์ตี(county)14 และแต่งตั้งผู้ปกครองขึ้นมาเพื่อปกครองดินแดนในแว่นแคว้น รวมทั้งกาตาลุญญา และบาร์เซโลนา โดยพระองค์ทรงแต่งตั้ง “เคาน์แห่งบาร์เซโลน่า” (Count of Barcelona) ปกครอง และกลายเป็นศูนย์กลางปกครองของภูมิภาคแถบนี้ต่อมาความสัมพันธ์ระหว่าง เคาน์ตีกับประมุขแฟรงก์เริ่มห่างเหินขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เคานต์แห่งบาร์เซโลน่า ได้สถาปนาราชวงศ์ ขึ้นมาปกครอง และสถาปนาตนเป็นกษัตริย์แห่งคาตาโลเนีย เฉลิมพระนาม รามิโร่ ที่ 1 (Ramiro I of 13 คาร์เธจ เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซีย 14 เคาน์ตี (county) เป็นหน่วยย่อยของการปกครองในหลายประเทศ มีไว้เพื่อการบริหารท้องถิ่นตลอดจนการอื่นที่จําเป็น เคาน์ตี มาจาก ภาษาฝรั่งเศสเก่า conté (กงเต) แปลว่าเขตการปกครองภายใต้ขุนนางระดับเคานต์
  • 12. Aragon) และรวมราชวงค์กับราชอาณาจักรอารากอน โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งอรากอน (Queen Petronilla of Aragon) ทําให้ตาลุญญาและอาณาจักรอารากอนรวมกันภายใต้ประมุขร่วม รามิโร่ ที่ 1 (Ramiro I of Aragon) เป็นกษัตริย์พระองค์องค์แรกแห่งราชวงศ์อารากอน (Aragon) มีศูนย์การ ปกครองที่บาร์เซโลนา เคานต์แห่งบาร์เซโลนา (Count of Barcelona) จึงเป็นประมุขสําคัญของ กา ตาลุญญาและอารากอน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และที่สําคัญกษัตริย์พระองค์ ปัจจุบัน ก็สืบสายจาก “เคานต์แห่งบาร์เซโลนา” จะได้กล่าวต่อไป รัฐบาลกลางในมาดริดประกาศแผนที่จะทําให้ดินแดนในคาบสมุทรไอบิเรียเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับแคว้น คาสตีลที่มีมาดริดเป็นศูนย์กลาง โดยให้ทุกๆแคว้นมีส่วนร่วมในการสนับทางเศรษฐกิจและกําลังคน แต่ หลายแคว้นไม่เห็นด้วย คาตาโลเนียก็ไม่เห็นด้วย ทําให้สัมพันธภาพระหว่างรัฐบาลกลางกับคาตาโล เนียเสื่อมลง หลังจากนั้นกองทัพจากรัฐบาลกลางได้รุกเข้าดินแดนคาตาโลเนียเกิดการสู้รบกับประชาชนใน ชนบท กลายเป็นสงครามที่รุนแรง โดยเฉพาะพระที่เป็นผู้นําชาวคาตาลัน นามว่าปัว คลาริส ต่อสู้กับรัฐบาล กลางอย่างเข้มแข็ง แต่ต้องพ่ายแพ้ แม้รัฐบาลกลางจะได้รับชัยชนะ แต่ครั้งนี้ทุกๆฝ่ายมองว่ารัฐบาลกลาง กระทําการผิดพลาด หลังจากนั้นจึงได้คืนเสรีภาพและสิทธิต่างๆให้แก่ชาวคาตาลันดังเช่นในอดีต14 15 สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน (War of the Spanish Succession) (ค.ศ. 1702–ค.ศ. 1714) พระเจ้า คาร์ลอสที่ 2 แห่งสเปน (Carlos II de Espana) รัชทายาทพระเจ้าเฟลิเป ที่ 4 แห่งสเปน เมื่อพระราชบิดา สวรรคต จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าคาร์ลอสที่ 2 แห่งสเปน หรือชาร์ลสที่ 2 แห่งสเปน (Charles II of Spain) ทรงปกครองทั้งสเปนและโปรตุเกส เมื่อพระองค์สวรรคตในปี 1700 โดยไม่มีรัช ทายาท จึงเกิดสงครามสืบราชบัลลังก์ ระหว่างเจ้าชายฟิลิเป ดยุคแห่งอองชู พระราชโอรสของ กษัตรย์ หลุยส์ โดแฟง แห่งฝรั่งเศส กับดัชมาเรีย แอนนา แห่งบาวาเรีย จึงได้รับการสนับสนุนทั้งจากฝรั่งเศสและบา วาเรีย (แคว้นในเยอรมนี) ขณะที่อีกฝ่ายอาร์ชดยุคชาร์ลส (Archduke Charles) เจ้าชายแห่งแฮปสเบิร์ก(ออสเตรีย)ผู้ครองคาตาโล เนีย ที่มีบาร์ซาโลนา เป็นเมืองหลวง ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในหลายแคว้น โดยเฉพาะคาตาโล เนีย รวมทั้งแคว้นอารากอน เพราะเห็นตรงกันว่าเจ้าชายฟิลิเป ดยุคแห่งอองชู เป็นคนต่างชาติ จึง สนับสนุนอาร์ชดยุคชาร์ลส ซึ่งปกครองบาร์ซาโลนาอยู่แล้วเป็นกษัตริย์สเปน และเพื่อหวังให้ยังคงรักษา 15 The New Encyclopedia Britiannica,Vol.17(1981)อ้างใน ศฤงคาร พันธุพงศ์.ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง. 2548
  • 13. ระบบอภิสิทธิ์ หรือ Fueros ซึ่งมีอํานาจตรวจสอบกษัตริย์ได้ดังเดิม และที่สําคัญได้รับการสนับสนุนจาก จักรพรรดิเลโอ โปลด์ ที่ 1 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่เห็นด้วยที่ฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงการ สืบราชบัลลังก์สเปน จึงทรงต่อสู้เพื่อรักษาบัลลังก์สเปนไว้คงอยู่กับแฮปสเบิร์ก อาณาจักรอื่นๆ ในยุโรปได้ เข้าร่วมด้วย ทั้งอังกฤษ ปอร์ตุเกส เนเธอร์แลนด์ เพื่อต่อต้านไม่ให้ฝรั่งเศสขยายอิทธิพล แต่ท้ายสุดเจ้าชายฟิลิเป ดยุคแห่งอองชู เป็นฝ่ายชนะ ขึ้นเป็นกษัตริย์เฉลิมพระนามพระเจ้าฟิลิเปที่ 5 แห่ง สเปน (Philip V of Spain) หลังจากนั้นพระองค์ทรงปกครองสเปนในแบบฝรั่งเศส คือ การรวบอํานาจเข้าสู่ ศูนย์กลาง และทรงจัดการกับแคว้นที่ถือว่าก่อกบฏ บาเลนเซีย และอารากอนถูกจัดการปกครองใหม่ คา ตาโลเนีย มีการตรารัฐธรรมนูญใหม่ ยกเลิกระบบอํานาจตรวจสอบกษัตริย์(Fueros)สิทธิ ในการปกครอง ตนเองจึงหมดไปโดยสิ้นเชิง คาตาโลเนีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของสเปน15 16 เหลือเพียงแคว้นนาวาร์ และบาสก์ ที่ยังเป็นอิสระ สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ครั้งนี้ยุติลงด้วยการทําสนธิสัญญาอูเทรคท์ (เนเธอแลนด์)ในปี ค.ศ.171317 เป็นสนธิสัญญาที่สเปนทั้งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ไปพร้อมกัน กล่าวคือ พระเจ้าปิลิเป ที่ 5 จากเดิมที่ ได้สิทธิครองบัลลังก์ฝรั่งเศสด้วยนั้นจะต้องสละสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศส เพื่อเป็นการป้ องกันการรวมตัว ระหว่างราชอาณาจักรสเปนและฝรั่งเศสในการสร้างความยิ่งใหญ่ในยุโรป สเปนต้องยกดินแดน เนเธอร์แลนด์(ส่วนของดินแดนเบลเยียม) และดินแดนมิลาน รวมทั้งซาร์ดิเนีย ให้ออสเตรีย ยกเกาะไมนอร์ กา จิบรอลต้า และสิทธิเดินเรือในปานามา ให้อังกฤษ ยกชิชิลีให้กษัตริย์แห่งซาวอย เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ เป็นไปตามการต่อรองทางอํานาจ ดูเสมือนว่าทุกฝ่ายที่เข้าร่วมสงครามสมประโยชน์จากสงครามสืบราชบัลลังก์ในครั้งนี้สนธิสัญญาอูเทรคท์ เป็นการสร้างดุลยภาพทางอํานาจ (balance of power)ของมหาอํานาจยุโรป กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของมิติ ความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างประเทศ แต่อาณาจักรบาเลนเซีย อารากอน และคาทาโลเนีย เท่านั้นที่ สูญเสียตกเป็นของสเปนโดยสมบูรณ์ นั่นคือแม้สเปนจะสูญเสียดินแดนอื่น แต่เป็นผลให้สเปนรวมการ ปกครองไว้ที่ส่วนกลางได้สําเร็จมาดริดกลายเป็นศูนย์กลางของสเปน รัฐบาลสเปนได้ประโยชน์ทาง เศรษฐกิจในการเรียกเก็บภาษีจากแว่นแคว้นต่างๆ โดยเฉพาะคาตาโลเนียซึ่งเป็นแคว้นที่มั่งคั่งที่สุดที่หล่อ เลี้ยงสเปน และถือว่าเป็นวัตถุประสงค์หลักก็ว่าได้ในการพยายามรวมสเปนเป็นหนึ่งเดียวได้สําเร็จ สงคราม 16 ในวันที่ 11 กันยายน 1714 เป็นวันที่ฝ่ายสเปนปิดล้อมและยึดบาร์ซาโลนา(Siege of Barcelona) ได้สําเร็จนั้น ถือเป็นการสิ้นสุดของ อาณาจักรคาตาโลเนีย ดังนั้นชาวคาตาลัน จึงถือว่าวันที่ 11 กันยายน เป็นวันชาติของตน เพื่อระลึกถึงวันที่พ่ายแพ้ต่อสงคราม 17 ศฤงคาร พันธุพงศ์.ประวัติศาสตร์สเปนยุคใหม่.มหาวิทยาลัยรามคําแหง.2548
  • 14. จึงเป็นเหตุอันเนื่องมาจากการแย่งชิงอํานาจ ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองมากกว่า ความขัดแย้งด้านศาสนาและชาติพันธุ์ มิติใหม่ของอาณาจักรคาตาโลเนีย คริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากที่สเปนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 1812 เป็นห้วงเวลาแห่งความขัดแย้งของ สเปนอีกครา เพราะเกิดความขัดแย้งจากแนวคิดของคนหลายกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นพวกเสรีนิยม กลุ่มที่สอง เป็นพวกสังคมนิยม และกลุ่มที่สามคือพวกอนุรักษนิยมที่นิยมกษัตริย์ รวมทั้งพวกชาตินิยม ต่างฝ่ายต่าง ต้องการกําจัดอีกฝ่ายให้พ้นจากอํานาจทางการเมือง จึงประสบกับความขัดแย้งนําไปสู่สงครามกลางเมือง และการปฏิวัติหลายครั้ง อํานาจการปกครองจึงสลับกันไปมา ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษนิยมและกลุ่มชาตินิยม จึงมักจะขัดแย้งกับกลุ่มเสรีนิยม และสังคมนิยมอย่างต่อเนื่อง กระทั่งนําไปสู่สาธารณะรัฐสเปน ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1873 แต่คงอํานาจอยู่ได้ เพียงระยะสั้นๆ กลุ่มนิยมกษัตริย์ยึดอํานาจกลับมาได้อีกครั้ง ครองอํานาจตั้งแต่ ค.ศ. 1878 -1931 หลังจากนั้นราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจรักษาอํานาจของตนไว้ได้ สาธารณะรัฐสเปนที่ 2 ก็ถือกําเนิดขึ้น รวมเอา กลุ่มเสรีนิยมและสังคมนิยมไว้ด้วยกัน สเปนได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 1931 โดยกล่าวถึงเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของ ประชาชน ให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้ง แบ่งแยกศาสนาออกจากการเมือง รัฐบาลแทรกแซงกิจการของ ศาสนาได้ เช่นห้ามไม่ให้สอนศาสนาในโรงเรียนเอกชน การริบทรัพย์สินบางอย่างของคริสตจักร และการสั่ง ยุติลัทธิเยซูอิด ฯ ทําให้เกิดการต่อต้านมากขึ้น ผลของรัฐธรรมนูญ 1931 (Spanish Constitution 1931)นี้ เองที่ทําให้อาณาจักรคาตาโลเนีย มีสถานะเป็นรัฐอิสระปกครองตนเองอีกครั้ง มีการอนุญาตให้สอนภาษา และใช้ภาษาคาตาลันได้ดังเดิม อาณาจักบาสก์ก็ได้รับสิทธิดังกล่าวด้วย การเลือกตั้งในปี 1933 ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับฝ่ายกลุ่มสายกลาง แต่ไม่อาจปกครอง ประเทศให้ราบรื่นได้ รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงการปกครองและการตรากฎหมายของแคว้นต่างๆโดยเฉพาะ ในคาตาโลเนีย และบาสก์ หลายๆฝ่ายเริ่มไม่พอใจรัฐบาล ฝ่ายที่เคยสนับสนุนเริ่มออกมาต่อต้านมากขึ้น นําไปสู่การกบฏในมาดริด การลุกขึ้นสู้ของขบวนการกรรมกรในแอสตูเรียส และการประกาศเอกราชของคา ตาโลเนีย แต่รัฐบาลกลางปราบปรามลงได้ คาตาโลเนียต้องสูญเสียอิสระไปอีกครั้ง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ยืดเยื้อรุนแรงอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเพาะบ่มกลายเป็นสงครามกลางเมืองสเปนในเวลาต่อมา
  • 15. สงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) สงครามกลางเมืองสเปน (1936-1939 )เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่าย “นิยมสาธารณรัฐ”ประกอบด้วย กลุ่มเป็นกลาง กลุ่มสังคมนิยม รวมทั้งชาวคาตาลัน และชาวบาสก์ ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และเม็กซิโก กับฝ่าย "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ ขบวนการคาร์ลิสต์ พวก คาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสฟรังกิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากฟาสซิสต์อิตาลี และนาซีเยอรมัน ความคุกรุ่นเริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอํานาจ กล่าวคือหลังจากสาธารณรัฐสเปนที่ 2เป็นต้นมา ได้เกิด ความขัดแย้งทางสังคมการเมืองต่างๆมากมาย ปี 1933 พรรคการเมืองฝ่ายขวาคว้าชนะในการเลือกตั้ง ก็ เกิดการต่อต้านสร้างความวุ่นวายโดยฝ่ายซ้ายเกิดการจลาจลที่เมืองต่างๆ ทําให้รัฐบาลต้องใช้กาลังไป ปราบปราม เมื่อฝ่ายซ้ายชนะในการเลือกตั้ง ก็เกิดปัญหาจากการต่อต้านสร้างความวุ่นวายก่อจลาจลของ ฝ่ายขวา มีการประท้วงหยุดงาน เผาศาสนสถาน ถาวรวัตถุ จนทําให้ทั้งสองฝ่ายจับอาวุธเข้าต่อสู้กัน นาย พลฟรานซิสโก ฟรังโก ( Francisco Franco )จึงถือโอกาสทํารัฐประหารล้มรัฐบาลสาธารณะรัฐแต่ถูก ต่อต้านจากกองกําลังฝ่ายซ้ายกลุ่มต่างๆ สงครามเริ่มต้นโดยการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐ โดยกองทหารในหลายเมือง เช่น ในแอสตูเรียส เลออง อาลาญา นาวาร์ คาสติล อารากอน คาดิช และอัลเจซิรัส ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ ฝ่ายชาตินิยม(Nationalists ) ที่มี ฟรังโก ( Francisco Franco )เป็นแกนนํา สเปนจึงเป็นสมรภูมิสู้รบของ ลัทธิสังคมนิยมกับลัทธิฟาสซิสต์ไปโดยปริยาย ผลของสงครามเป็นการล้มการปกครองระบบสาธารณะรัฐ มาสู่การปกครองระบอบเผด็จการ(Dictatorship ) หลังจากนั้น ฟรังโก ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก สาธารณรัฐสเปนเป็น “รัฐสเปน”( Spanish state) เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างระบบการปกครองใหม่ให้ แตกต่างจากระบบราชาธิปไตย และระบบสาธารณรัฐ โดยมีนโยบาย “สเปนเดียว” คือการรวมแว่นแคว้น ต่างๆให้เป็นหนึ่งโดยให้มาดริดเป็นศูนย์กลาง หลังจากนั้นภารกิจจึงเต็มไปด้วยการปราบปราม17 18 การกดขี่ ข่มเหงประชาชน และแว่นแคว้น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการละเมิดสิทธิต่างๆ ไม่ว่า การ ห้ามพูดภาษาของแคว้น การห้ามใช้ธงประจําชาติ ทําให้แคว้นบาสก์และแคว้นคาตาโลเนีย ที่มีความเป็น ชาตินิยมอยู่แล้วเกิดการต่อต้านตลอดมา นอกจากการครอบงําทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมแล้ว กระทั่งกีฬาฟุตบอลอํานาจการเมืองยังรุกฆาต เข้าไปครอบงําด้วย กล่าวคือ 18 ชาวคาตาลันใช้ “สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลน่า” เป็นกระบอกเสียงทางการเมืองเพื่อต่อต้านและเรียกร้องอิสรภาพจากรัฐบาลสเปนอย่างสงบ แต่รัฐบาลของนายพลฟรังโก ที่มีนโยบายปราบปรามผู้ที่ต่อต้านได้ทําการปราบปรามโดยขว้างระเบิดลงบริเวณสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา เหตุการณ์ครั้งนั้น ทาให้มีจํานานผู้เสียชีวิตกว่า 3000 ราย