SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
ใบสมัคร
การประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจาปี 2555
ชื่อโครงการ รักษ์ไทย รักษ์ถิ่น
(การพัฒนาต่อยอดโครงการรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น)
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
การศึกษาระดับ มัธยมศึกษา
สถานที่/ที่อยู่ เลขที่ 90 หมู่ที่ 9 ถนน วาริชภูมิ-พังโคน อาเภอวาริชภูมิ
จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์47150
โทรศัพท์ 0-4278-1190 โทรสาร 0-4278-1193
ชื่อผู้ประสานงาน นางสุภาภรณ์ ภูดินทราย
โทรศัพท์ 0-4274-2032 โทรศัพท์มือถือ 08-8549-9737
1. หลักการและแนวคิด
ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ส่งผล
กระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทย ทาให้สภาพความเป็นอยู่
คุณภาพชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ยึดติดกับกระแสวัตถุนิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี
และวัฒนธรรมอันดีงามเริ่มเลือนหายไปกับกาลเวลา เพราะคนยุคใหม่ไม่ให้ความสาคัญในความเป็น
ชาติไทย คิดว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย สังคมไทยเบี่ยงเบนออกจากเอกลักษณ์ วัฒนธรรมที่ดีงามและ
วิถีชีวิตแบบไทยเดิม มีความหย่อนยานในศีลธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและ
เยาวชนเกิดความสับสน ขาดจิตสานึกที่ดี ไม่มีเป้ าหมายในชีวิตและขาดการควบคุมตนเอง
มักแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อันส่งผลให้เกิดวิกฤตทางจริยธรรมและศีลธรรม ตลอดทั้ง
ค่านิยมที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง และมีแนวโน้มที่ทาให้สังคมเสื่อมลง
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ
กระแสโลกาภิวัตน์จึงนับว่าเป็นผลกระทบโดยตรงที่สาคัญ ที่ทาลายกาแพงวัฒนธรรม
ที่ช่วยล้อมรอบเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้ จาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปกป้ อง ช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา
ให้เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชน สามารถปรับตัวและดารงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรู้เท่าทัน ปลอดภัยและมีความสุข การศึกษาเป็นทางออกที่สาคัญ เนื่องด้วยการศึกษานั้น
นอกจากจะเป็นกระบวนการสร้างความรู้แล้ว ยังจะทาให้เกิดแนวคิด ค่านิยมที่ถูกต้อง ดีงาม
2
ในการที่จะดูแลรับผิดชอบตนเอง ชุมชน สังคม และชาติบ้านเมือง ดังนั้น การที่จะสร้างค่านิยม
ให้กับสังคมจึงจาเป็นที่ต้องเริ่มในสถาบันการศึกษาซึ่งจะส่งผลให้เยาวชนที่ผ่านกระบวนการศึกษา
เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง นอกจากนี้แนวทางหนึ่งที่จะช่วย
ธารงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้ได้ ขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ
อย่างจริงจัง คือ การสอนเยาวชนไทยให้ซึมซับเอกลักษณ์ของชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจ
แก่นแท้ของวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของชาติ โดยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพราะ “ประวัติศาสตร์
ทาให้เราได้รู้ว่าลักษณะเฉพาะของสังคมของเราได้พัฒนามาบนพื้นฐานของอะไร” แม้ว่า
ประสบการณ์ในอดีตจะประสบความสาเร็จ หรือสร้างความเจ็บปวดแก่คนในชาติเท่าใด ก็เป็น
ข้อเท็จจริงหนึ่งที่เราทุกคนต่างก็เป็นผลผลิตของประสบการณ์ในอดีตของบรรพบุรุษที่ได้เสียสละ
สร้างมา ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันควรจะเรียนรู้ความเป็นมาของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึง
“ความรู้สึกร่วม” ของทุกคนในสังคม (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2553 : 3)
การศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่เยาวชนไทยไม่ควรมองข้าม
ประวัติศาสตร์มีความสาคัญยิ่งต่อมนุษย์ชาติในหลายประการ ได้แก่ ทาให้รู้จักตนเองชัดเจน
โดยรู้จักตนเองในฐานะที่ตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และตนเองในฐานะที่เป็นส่วนใหญ่
ของสังคมโลก การไม่รู้จักตนเองจะทาให้เรากลายเป็นคนหลักลอย เป็นคนแปลกหน้าในสังคม
ของตนเอง ไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรที่ทาได้และอะไรที่ทาไม่ได้ ประวัติศาสตร์ จึงช่วยให้ตนเอง
สามารถปรับตัวเข้ากับคนกลุ่มใหญ่ได้อย่างสันติสุขโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ ประวัติศาสตร์
สอนให้เราเป็นคนฉลาดทันสมัย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์ที่มีสมอง
ดังนั้นย่อมไม่กระทาผิดในสิ่งที่เคยผิดพลาดมาแล้ว มนุษย์จะคิดหาหนทางใหม่ที่ดีกว่าเสมอ
ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ารอย แต่ประวัติศาสตร์สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการคาดการณ์
หรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงทาให้เฉลียวฉลาด
มีไหวพริบ ทันคน ทันเหตุการณ์ ทันสมัยและทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ประวัติศาสตร์
สอนให้เป็นคนขยัน อดทน และมีความวิริยะ อุตสาหะ มนุษย์เราสร้างประวัติศาสตร์ทุก ๆ
นาที นักประวัติศาสตร์จึงมีความจาเป็นต้องติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเพื่อที่จะ
ไม่เป็นผู้ล้าหลัง การหยุดไปเพียงหนึ่งวินาทีก็อาจทาให้เรากลายเป็นคนแปลกหน้าในสังคมได้
ประวัติศาสตร์จึงเป็นตัวกระตุ้นให้คนต้องขยันติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้
ประวัติศาสตร์ยังแสดงให้เห็นถึงความสาเร็จของบุคคลต่าง ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องกระตุ้นและ
เป็นแบบอย่างที่คนรุ่นหลังจะใช้เป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตได้ เป็นรากฐานในศาสตร์สาขา
อื่น ๆ เพราะประวัติศาสตร์จะบอกถึงข้อผิดพลาดในอดีต ซึ่งเราจะต้องนาไปเป็นแนวทางในการ
ปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น เราต้องทราบว่าประชาธิปไตยของคนไทยในอดีตมีจุดอ่อนตรงไหน ซึ่งจะ
ให้เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบอบประชาธิปไตยให้มีจุดสมดุลกับคนไทยได้อย่างไร
3
และประวัติศาสตร์ช่วยสร้างคนดี ให้สังคม โดยทาให้คนมีความเห็นแก่ตัวลดลง มีความคิด
กว้างขวางโอบอ้อมอารี มีความยุติธรรม มีใจกว้างขวาง ไม่คับแคบและเป็นคนที่มีเหตุผล
ในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2553 : 9)
ดังนั้นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จึงมีคุณค่าอย่างมากต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นการเสริม
ปัญญาแก่ผู้เรียนที่ได้ผ่านกระบวนการอ่าน การคิด การเขียน การพินิจ พิจารณา วิเคราะห์
มาอย่างถ่องแท้ จะช่วยกระตุ้นให้เขาได้ตระหนักถึงความสาคัญของแนวโน้มในอนาคตที่ควรดาเนิน
ชีวิตอย่างรอบคอบ สุขุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แต่สังคมไทยในปัจจุบันคนส่วนใหญ่กาลังดาเนินชีวิตโดยขาดสติ ขาดการคิดวิเคราะห์ในการเลือก
รับวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์ ใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ละทิ้งถิ่นฐาน ขาดความรัก
และผูกพันในบ้านเกิด ไม่รู้คุณค่า ไม่เห็นความสาคัญของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมดั้งเดิมหรือสิ่งที่
อยู่ใกล้ตัวของชุมชนและท้องถิ่น ทาให้ไม่รู้จักตนเอง กลายเป็นคนหลักลอย เป็นคนแปลกหน้า
ในสังคมของตนเอง ไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรที่ทาได้และอะไรที่ทาไม่ได้ เป็นเหตุให้สังคม
วุ่นวาย ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้านเรา เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน
อังกฤษ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนามและมาเลเซีย ที่ต่างให้ความสาคัญแก่วิชา
ประวัติศาสตร์มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเขามองเห็นว่า “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เท่ากับเป็น
การทาความรู้จักสังคมของตนเอง และประวัติศาสตร์เป็นตัวช่วยปลูกฝังความรักมาตุภูมิ
ความมุ่งมั่นในปณิธานแห่งชาติและความมั่นใจวัฒนธรรมประจาชาติ” (กระทรวงศึกษาธิการ.
2543 : 3)
โดยเฉพาะการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นการศึกษากิจกรรมหรือประสบการณ์
ทุก ๆ ด้านของสังคมในท้องถิ่นโดยให้ความสาคัญที่ผู้รู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะเป็นผู้สร้าง
ประวัติศาสตร์ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา ทาให้เกิดความเข้าใจถึง
ความเป็นมาของวิถีชีวิตของคนซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทั้งด้านภาษา ศาสนา
ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและการดารงชีวิต เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่จะเป็นพลัง
ให้สามารถฟื้นฟูชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละท้องถิ่น เป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ก่อให้เกิด
ความเข้าใจ สมานฉันท์ สามัคคีและสันติสุข ซึ่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่จะนาไปสู่
ความสาเร็จตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้นั้นจาเป็นต้องปรับวิธีการและเทคนิคให้เหมาะสม
และหลากหลาย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กาหนดแนวการจัดการศึกษาไว้ว่า
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่า
ผู้เรียนมีความสาคัญมากที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดาเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม
4
ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้
เพื่อป้ องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ
ให้ทาได้ คิดเป็น ทาเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ
ดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การเรียนรู้ด้วยโครงงานจึงเป็นแนวทางเลือกหนึ่งที่มีความสาคัญและจาเป็นที่จะช่วยให้
การปฏิรูปการเรียนรู้สู่ความสาเร็จ เพราะกิจกรรมโครงงานเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความ
สนใจและมีโอกาสได้ศึกษาได้อย่างลุ่มลึกด้วยตัวเอง โดยครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน
และอานวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและเต็มศักยภาพ (สุรพล วังสินธ์. 2543 :
11–12) ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติตามหัวข้อเรื่องที่ตนสนใจ สงสัย หาคาตอบโดยใช้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากแหล่งความรู้ ทาให้เด็กได้เรียนอย่างลึกซึ้ง แตกฉาน สามารถคิด
วิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและสรุปความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เด็กเป็นผู้ชอบแสวงหาความรู้และ
เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (กรมวิชาการ. 2545 : 19)
โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้
ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชา
ท้องถิ่นของเรา รหัสวิชา ส21201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 จานวน 40 ชั่วโมง
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียน
เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามบริบทหรือเนื้อหาสาระ
ของสาขาวิชา และเรียนตามความถนัด ความสนใจ ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมยุววิจัย
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมหนึ่งที่พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้
สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วย
โครงงาน ให้นักเรียนเป็นผู้กาหนดหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า สืบเสาะ หาภูมิปัญญาท้องถิ่นและ
แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ วางแผน ดาเนินการปฏิบัติตามแผน สรุปผลการทากิจกรรมโครงงานและ
นาเสนอผลงานด้วยตัวนักเรียนเอง ครูผู้สอนมีหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษา
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในหัวข้อที่หลากหลาย เช่น ตานานหรือประวัติของหมู่บ้าน สภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติ (ดิน แหล่งน้า ประชากร แร่ธาตุ) การอพยพ การตั้งถิ่นฐาน ชาติพันธุ์วิทยา บุคคล
สาคัญ ศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ (การปลูกหวาย การทาสวนยางพารา การทอผ้าไหม การทา
ฟาร์มโคนม การจักสาน การทาข้าวฮาง ฯลฯ) วิถีการดาเนินชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรม
ประเพณีพื้นบ้าน ภาษาและอักษร การละเล่น ดนตรีนาฏศิลป์ กีฬาพื้นบ้าน โบราณวัตถุ
โบราณสถาน และแหล่งชุมชนโบราณ พาหนะพื้นบ้าน เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ประเพณี ความเชื่อ
5
ความเปลี่ยนแปลงที่สาคัญของเมือง (วิถีชีวิตชาวบ้านเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง) ฯลฯ จัดประสบการณ์
ในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทางานในชีวิตจริง เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง
ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง รู้จักวางแผนในการทางาน ฝึกการเป็นผู้นาผู้ตาม ฝึกการคิดวิเคราะห์
เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทางานอย่างมีระบบขั้นตอน ซึ่งในการเรียนรู้นั้นครูจะ
สร้างความตระหนักโดยการตั้งคาถามให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ก่อนจัดทาโครงงาน เช่น ประเด็นที่
นักเรียนสนใจศึกษามีความสาคัญต่อนักเรียนอย่างไร ทาไมจึงอยากศึกษาเรื่องนี้ เมื่อศึกษาแล้ว
เกิดผลดีอย่างไร ใครคือผู้ที่จะให้ข้อมูลหรือแหล่งค้นคว้าที่ดี นักเรียนมีวิธีการศึกษาและเก็บรวบรวม
ข้อมูลอย่างไร เป็นต้น
ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชา
ท้องถิ่นของเรา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน
ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามบริบทหรือเนื้อหาสาระของสาขาวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ของชุมนุมยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ แล้วพัฒนาต่อยอดโดยเสนอ
โครงการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านค่ายเยาวชนต้นแบบ
ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ) เสนอโครงการ “อบรมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
จากท้องถิ่น สู่อาเซียน” และโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จากยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สู่หนังสารคดีวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิได้รู้จักตัวตน รู้จักความเป็นมาของ
ท้องถิ่น นักเรียนได้ปฏิบัติสืบค้นด้วยตนเองในสิ่งที่ใกล้ตัว ทาให้นักเรียนสนใจมากกว่าสิ่งที่ไกลตัว
มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ วิธีการทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ และกระบวนการวิจัย สืบค้นข้อมูลประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นได้ง่ายและไม่รู้สึก
เบื่อหน่าย เกิดจิตสานึกรักบ้านเกิด หวงแหน ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ซึ่งถือเป็นหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง ตลอดจนเป็นการส่งเสริม พัฒนาการเรียนรู้
พัฒนาสื่อหรือผลงานการศึกษาค้นคว้าให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคโลกาภิวัตน์
หรือยุคข้อมูลสารสนเทศ (ICT)
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 นักเรียนมีความรู้ ความข้าใจ กระบวนการเรียนรู้ วิธีการทางประวัติศาสตร์
สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และกระบวนการวิจัย สืบค้นข้อมูลประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
2.2 นักเรียนเห็นความสาคัญของขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
ในท้องถิ่น เกิดจิตสานึกรักบ้านเกิด หวงแหน ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
2.3 นักเรียนร่วมกันอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
ของท้องถิ่นไว้ โดยชุมชนมีส่วนร่วม
6
2.4 ครอบครัว ศาสนา และชุมชน ให้ความร่วมมือในการปลูกฝังให้นักเรียนเกิด
ความสานึกที่จะเป็นคนดีของท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติสืบไป
2.5 ครูและนักเรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาสื่อหรือผลงานการศึกษาค้นคว้า
ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคโลกาภิวัตน์ หรือยุคข้อมูลสารสนเทศ (ICT)
3. วิธีการดาเนินการ
ในปีการศึกษา 2554 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ได้พัฒนาต่อยอดจากการดาเนินงาน
ในปีการศึกษา 2553 ดังนี้
3.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน
ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม เรียนรู้วิถีการดารงชีวิตชุมชน
ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน
รวมทั้งการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริม ปลูกจิตสานึกให้นักเรียนเกิดความรักชาติ
รักท้องถิ่น ในโครงการ “9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์ภูมินทร์จอมสยาม” เพื่อเทิดพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา
3.2 จัดอบรมให้ความรู้ พัฒนาสื่อและทักษะปฏิบัติ แก่ครูผู้สอนและนักเรียน ในการพัฒนา
ต่อยอดผลงานจากการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
3.3 พัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
3.4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่
4. ขั้นตอนการดาเนินการ
เป็นการพัฒนาต่อยอด โครงการรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น ซึ่งดาเนินการต่อเนื่องจากปีการศึกษา
ที่ผ่านมา (ปีการศึกษา 2552-2553)
4.1 ขั้นเตรียมการ
1) กาหนดเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้
ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชา
ท้องถิ่นของเรา รหัสวิชา ส21201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 จานวน 40 ชั่วโมง
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียน และเรียนตามความถนัด ความสนใจ ในกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน ชุมนุมยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ตลอดจนบูรณาการ
หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน
ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยครูเตรียมบทเรียนเนื้อหาสาระตามหลักสูตร สื่อ อุปกรณ์
และแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
7
2) เสนอโครงการ “อบรมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนจากท้องถิ่น
สู่อาเซียน” และโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จากยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สู่หนังสารคดี
วัฒนธรรม” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาสื่อหรือผลงานการศึกษาค้นคว้าให้ตอบสนอง
ตามความต้องการของผู้บริโภค และกระแสโลกาภิวัตน์
3) พัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่
4.2 ขั้นดาเนินการ
กิจกรรม /วิธีการในการพัฒนาในปีการศึกษา 2554 มีดังนี้
1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้
ในชุมชน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม เรียนรู้วิถี
การดารงชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้อง
กับวิถีชีวิตชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ต้องการอนุรักษ์สิ่งดี ๆ ที่เรามีอยู่ ฟื้นฟูสิ่งที่กาลังจะสูญหาย
และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากรากฐานที่มั่นคง สืบสานวัฒนธรรมภูไท ซึ่งถือ
เป็นอัตลักษณ์ของเรา ให้คงอยู่สืบไปภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
การจัดนิทรรศการผลงานจากการเรียนรู้ภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน ของทุกกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่าน
มีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา ภายใต้ชื่อโครงการ “ 9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์ภูมินทร์
จอมสยาม” ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้
1.1) ภูไทกะป๋ องคือใคร เป็นการค้นหารากเหง้า หรือประวัติความเป็นมา
ว่าเป็นใคร ? มาจากไหน ? มีประเพณีวัฒนธรรมอะไรบ้าง ? ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยนาเสนอผลการศึกษา 2 ภาษา
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
1.2) ศึกษาวิถีแห่งเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไทในด้านต่าง ๆ ตามจารีต
ประเพณี ฮีต 12 คอง 14 ทั้งงานมงคลและอวมงคล เช่น การแต่งงานโดยมีพ่อล่ามแม่ล่าม ประเพณี
งานศพ ความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าปู่มเหสักข์ งานบุญประเพณีต่าง ๆ ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ และฝ่ายกิจกรรมนักเรียน
1.3) วิถีการดาเนินชีวิตในด้านการแต่งกาย การทางาน การพักผ่อน ซึ่งสืบทอด
ทอดต่อ ๆ กันมา ในท่วงทานองของการขับร้องกลอนลา เพลงภูไท การพูดผญาภาษาภูไทซึ่งจะมี
8
การแสดงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองโดยการฟ้อนภูไท เรียนรู้การละเล่นของเด็กภูไทในอดีต ที่ไม่มี
เทคโนโลยีนั้น เขาเรียนและเล่นกันอย่างไร ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้
ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
1.4) เรียนรู้จากภูมิปัญญาเกี่ยวกับวิถีการกิน การอยู่ อาหารพื้นบ้านที่มีลักษณะ
เฉพาะที่น่าสนใจ เช่น การนาหวายมาปรุงอาหารได้ทั้งคาวและหวาน จนกล่าวได้ว่า ถ้ามาวาริชภูมิ
แล้วไม่ได้กินแกงหวาย ถือว่ามาไม่ถึงวาริชภูมิ ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คหกรรม)
1.5) การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษา เช่น นาผญามาใช้ได้เหมาะสมกับ
เหตุการณ์เฉพาะหน้า การพูดให้ข้อคิด คาอวยพร ผญาหนุ่มจีบสาวของชาวภูไทในอดีต หรือที่
เรียกว่า “ลงข่วง” ซึ่งเป็นประเพณีที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
1.6) การรักษาสุขภาพโดยดื่มน้าสมุนไพร การรักษาโรคของชาวภูไทในอดีตจะใช้
สมุนไพร เช่น ลูกประคบ ยาต้ม ยาทา ซึ่งอาจนามาปลูกไว้ในบ้าน หาตามป่า ในไร่ในนา
ซึ่งแม่บ้านชาวภูไทในอดีตถือเป็นหมอยาประจาบ้านของแต่ละครอบครัว ดาเนินการพัฒนาผู้เรียน
โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.7) งานอาชีพหรือหัตถกรรมพื้นบ้าน สามารถนามาบูรณาการจัดการเรียนรู้
ได้อย่างลงตัว ทั้งทักษะความสามารถของครู นักเรียน การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังคง
มีให้เห็นและเรียนรู้อยู่ในชีวิตประจาวัน จึงทาให้นักเรียนสามารถซึมซับและเรียนรู้ได้ดีทั้งใน
และนอกโรงเรียน ดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(งานช่าง/งานประดิษฐ์)
1.8) การรวบรวมและจัดแสดงวิถีชีวิต/สิ่งของเครื่องใช้ของชาวภูไทในอดีต
ณ ห้องวัฒนธรรมภูไท ถือว่าเป็นการสืบสานมรดกท้องถิ่นให้คงอยู่ได้อีกทางหนึ่ง ดาเนินการ
พัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลมาจัดทาหนังสารคดีวัฒนธรรม เช่น
พลังศรัทธาเจ้าปู่มเหสักข์ เปิดตานานพระธาตุศรีมงคล เบิ่งภูไทกินดอง เป็นต้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้
แบบโครงงาน บูรณาการความรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชิ้นงานคือ หนังสารคดี
วัฒนธรรม
1.9) กิจกรรมเปิดบ้านคุณธรรม “วัฒนธรรมภูไท เทิดไท้องค์ราชัน” เป็นการ
รวบรวมผลงานครู และนักเรียนแกนนาฯ ที่ได้ดาเนินการจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน
มาจัดแสดง เพื่อเป็นการตอกย้าความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่เราช่วยกัน
อนุรักษ์และสืบสานเอาไว้ ตามปณิธานของพ่อหลวง ดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยทุกกลุ่มสาระ
9
การเรียนรู้
(เอกสารประกอบ DVD & VCD แผ่นที่ ๑ และ ๒)
2) จัดอบรมให้ความรู้ พัฒนาสื่อและทักษะปฏิบัติ แก่ครูผู้สอนและนักเรียน ในการ
พัฒนาต่อยอดผลงานจากการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ดังนี้
2.1) ดาเนินงานตามโครงการ “อบรมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
จากท้องถิ่น สู่อาเซียน” ให้กับครูผู้สอนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของ
โรงเรียนในฝันรุ่นที่ 1-3 จังหวัดสกลนคร จานวน 50 คน ในวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2554
โดยเชิญวิทยากร คือ นางสาววิริยะ บุญยะนิวาสน์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป. ฉะเชิงเทรา เขต 1
2.2) ดาเนินงานตามโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จากยุววิจัยประวัติศาสตร์
ท้องถิ่น สู่หนังสารคดีวัฒนธรรม” ให้นักเรียนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ จานวน 60 คน เพื่อให้
นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ/ทฤษฎีการทาหนังสารคดีวัฒนธรรม สามารถนาความรู้
ที่ได้รับไปขยายผลทั้งในและนอกห้องเรียน และเป็นต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมและสื่อ
การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในวันที่ 22-23 ธันวาคม 2554 โดยเชิญวิทยากร คือ นายสนธยา
หลักทอง ศึกษานิเทศก์ชานาญการพิเศษ สพป. สกลนคร เขต 2 คณะครูและนักเรียนโรงเรียน
กุดบากพัฒนาศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23
(เอกสารประกอบ DVD & VCD แผ่นที่ ๓, ๔ และ ๕)
3) พัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยจัดทาเป็น
3.1) หนังสารคดีวัฒนธรรม
3.2) หนังสือ Pop-up
3.3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
ในหัวข้อ/ประเด็นที่ศึกษา เช่น พลังศรัทธาเจ้าปู่มเหสักข์ ภูไทกะป๋ องวาริชภูมิ
เปิดตานานพระธาตุศรีมงคล เบิ่งภูไทกินดอง เล่าขานตานานตีมีด ตานานบุญข้าวจี่ เป็นต้น
(เอกสารประกอบ DVD & VCD แผ่นที่ ๔, ๕ และ ๖)
4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่
4.1) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดฯ โรงเรียนในฝัน
กลุ่มสาระสังคมฯ สพม. 22 (นครพนม) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2554
4.2) ได้รับคัดเลือกจากคณะ Roving Team ที่ 8 ในการนาเสนอการปฏิบัติ
ที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในหัวข้อเรื่อง การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยโครงงาน
ในงาน Lab School Symposium ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ในวันที่ 16-18 สิงหาคม 2554
10
4.3) เป็นตัวแทนสหวิทยาเขตลุ่มน้าอูน ในการเสนอการปฏิบัติ
ที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในหัวข้อเรื่อง การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยโครงงาน ในงาน
มหกรรมวิชาการเทิดพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชา พระผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดิน ของ สพม.
เขต 23 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ในวันที่ 8-9 กันยายน 2554
4.4) ร่วมปิดโครงการโรงเรียนทาหนังสารคดีวัฒนธรรรม ปีที่ 2 ของกรมส่งเสริม
วัฒนธรรม (สวธ,) สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันรามจิตติ ณ โรงหนัง
วีกครูทวี อาเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 16-18 กันยายน 2554
(เอกสารประกอบ DVD แผ่นที่ ๗ และ ๘)
4.5) ร่วมโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ลาว ณ บ้านวังน้ามอก
อาเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ซึ่งจัดโดยสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
และโรงเรียนทาหนัง สถาบันรามจิตติ ในวันที่ 22-23 กันยายน 2554
4.6) เข้าร่วมเสนอโครงการเยาวชนคิดดี ทาดี 84 โครงการ กับครอบครัวข่าว 3
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นักเรียนที่เป็นตัวแทนนาเสนอโครงการ “9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์
ภูมินทร์จอมสยาม” ของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 84 โครงการยอดเยี่ยม
ที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 จะถ่ายทาเป็นสกู๊ปพิเศษ และนาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา
ในวันที่ 15 ธันวาคม 2554
4.7) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับ
คณะผู้บริหารโรงเรียน รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี ในโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจาปี 2554
จากสานักงาน ป.ป.ช. ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20 มกราคม
2555
4.8) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับคณะ
ครูและผู้บริหารโรงเรียน นาเสนอกิจกรรมให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 ถ่ายทาเป็นสกู๊ปพิเศษ
โครงการ “9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์ภูมินทร์จอมสยาม” ของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ เพื่อนา
ออกอากาศเผยแพร่ในรายการข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์ และนาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนพรรษา ครบ 84 พรรษา
ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555
4.9) การเผยแพร่ผลงานในรายการกระจกหกด้าน ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก
ช่อง 7 ซึ่งจะออกอากาศในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เวลา 16.00 น.
11
4.10) การเข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ “นักยุววิจัยประวัติศาสตร์ : ภูไทกะป๋ อง
วาริชภูมิ” ในงาน “มหกรรม 2 ทศวรรษ สกว. โซนเด็ก เยาวชน และการศึกษา” ณ ศูนย์แสดงสินค้า
และการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี (ฮอลล์ 7 - 8) ในวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2555
และวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2555 เวลา 10.00 – 22.00 น.
4.11) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ผลงานทางสถานีวิทยุชุมชนคนมัธยม
โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ซึ่งเป็นสถานีวิทยุในการประชาสัมพันธ์ข้อมูล/ข่าวสาร ของโรงเรียน
โดยเฉพาะ ที่คลื่นความถี่ FM 99.30 MHz
(เอกสารประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ ในภาคผนวก)
4.3 ขั้นติดตาม ประเมินผล
นาเสนอรายงานความก้าวหน้าของการดาเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมเป็นระยะ ๆ
4.4 ขั้นรายงานผล
รายงานผลการดาเนินงานต่อผู้บริหาร ครู อาจารย์ ในสถานศึกษา กรมต้นสังกัด
และต่อชุมชน ตลอดจนเผยแพร่ผลงานโดยจัดนิทรรศการในการประชุม อบรม สัมมนา หรือการศึกษา
ดูงานของโรงเรียนต่างๆ
5. คุณค่า/คุณประโยชน์ที่ได้รับ
จากการดาเนินงานทั้งก่อนดาเนินโครงการและหลังการดาเนินโครงการศูนย์พัฒนา
การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านค่ายเยาวชนต้นแบบยุววิจัยประวัติศาสตร์
ท้องถิ่น เกิดคุณประโยชน์ทั้งต่อผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน ดังนี้
5.1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
5.1.1 ด้านความสามารถ ทักษะ
1) แสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา
2) ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
3) มีทักษะการคิดขั้นสูง
4) มีทักษะชีวิต
5) มีทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
5.1.2 ด้านคุณลักษณะ
1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
1.1) รู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเองและชาติไทย รักบ้านเกิด
1.2) เป็นพลเมืองดีของชาติ
1.3) ภาคภูมิใจ และธารงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย
12
1.4) ศรัทธา และยึดมั่นในศาสนา
1.5) ปฏิบัติศาสนพิธีตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมา
1.6) ภูมิใจที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1.7) เคารพ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
1.8) น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
ในการดาเนินงาน
2) ซื่อสัตย์สุจริต
2.1) เขียนรายงานผลการศึกษาตามความเป็นจริงจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้
2.2) อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
2.3) ยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเอง
และผู้อื่นทั้งกาย วาจา ใจ
3) มีวินัย
3.1) ดาเนินงานตามระยะเวลาที่กาหนด (ตรงต่อเวลา)
3.2) ยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับของครอบครัว
โรงเรียน และสังคม
4) ใฝ่เรียนรู้
4.1) หมั่นสืบเสาะแสวงหาความรู้
4.2) มีนิสัยรักการอ่าน
4.3) ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการสืบค้นคว้า
4.4) มีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้
ภายในและภายนอกของโรงเรียน
5) อยู่อย่างพอเพียง
มีการดาเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลรอบคอบ มีคุณธรรม
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
มีเหตุผล
 ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูล
 ใช้ข้อมูล / หลักฐานในการสืบค้น ติดตาม
มีภูมิคุ้มกัน
 ปลูกจิตสานึกรัก บ้านเกิด
 รักและหวงแหนในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
13
พอประมาณ
 เวลาในการสืบค้น
 การบริหาร/ งบประมาณค่าใช้จ่าย
 การกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล
 ใช้วัสดุให้คุ้มค่า
6) มุ่งมั่นในการศึกษาและการทางาน
6.1) มีความตั้งใจ และรับผิดชอบในการทาหน้าที่การงานด้วยความเพียร
พยายาม อดทน เพื่อให้งานสาเร็จตามเป้าหมาย
6.2) เอาใจใส่ เสียสละเวลา/อุทิศตน
7) รักความเป็นไทย
7.1) เข้าร่วมประเพณี/วัฒนธรรมของท้องถิ่น
7.2) มีเอกลักษณ์ทางภาษา การแต่งกาย อาหารพื้นบ้าน ยารักษาโรค
/สมุนไพร
7.3) ให้ความรู้/เผยแพร่ผลงานจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
7.4) สืบทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
7.5) ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
8) มีจิตสาธารณะ
8.1) อุทิศเวลาในการศึกษาค้นคว้า เพื่อเผยแพร่ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ของตนสู่สาธารณชน
8.2) ร่วมกันสืบสานอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
ให้ดารงอยู่สืบไป
8.3) มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น
ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
5.1.3 นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทากิจกรรมกลุ่ม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน
ในกลุ่มนักเรียน
5.1.4 นักเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
5.1.5 นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการทาโครงงาน สามารถพัฒนาตนเอง
บาเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม
5.1.6 นักเรียนได้รับการยอมรับและชื่นชมจากผู้ปกครอง ชุมชน
14
5.2 ผลที่เกิดกับครู
5.2.1 ครูเข้าใจและเห็นความสาคัญในการสอนโดยใช้นวัตกรรมและคิดสร้างนวัตกรรม
ขึ้นใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
5.2.2 ครูมีสื่อนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาอื่น
5.2.3 ครูได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาในการจัดการเรียนการสอนจากนักเรียน ผู้ปกครอง
และชุมชน
5.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน
5.3.1 โรงเรียนได้รับการยอมรับจากชุมชน สังคม ในการพัฒนานักเรียนให้มี
คุณภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมได้
5.3.2 นักเรียนนาชื่อเสียงมาสู่โรงเรียน
5.4 ผลที่เกิดกับชุมชน
ชุมชนมีความภาคภูมิใจในตัวนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน
6. งบประมาณ (ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ)
ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องสนับสนุนในการดาเนินงาน
ตามโครงการ ดังนี้คือ
9.1 สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทุนผลิตสื่อนิทรรศการภูไทกะป๋ อง
จานวน 45,000 บาท
9.2 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ทุนในการปรับปรุง
ห้องศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จานวน 210,000 บาท
9.3 รางวัลสารคดีชนะเลิศ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโครงการโรงเรียนทาหนัง
สารคดีวัฒนธรรม ปีที่ 2 จานวน 10,000 บาท
9.4 สานักงาน ป.ป.ช. มอบเงินรางวัล จานวน 50,000 บาท ในโครงการรักชาติถูกทาง
สร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจาปี 2554
7. ผู้รับผิดชอบและร่วมดาเนินโครงการ
7.1 นางสุภาภรณ์ ภูดินทราย ผู้รับผิดชอบ/ครูที่ปรึกษาโครงการ
7.2 ผู้บริหาร คณะครูโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ผู้ร่วมดาเนินโครงการ
15
ว่าที่ ร.ต.
(ชัยเดช บุญรักษา)
ผู้อานวยการโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
15 พฤษภาคม 2555

More Related Content

Similar to โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2555

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน Sircom Smarnbua
 
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)SAKANAN ANANTASOOK
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 
แบบรายงานประกวดสื่อปี2564
แบบรายงานประกวดสื่อปี2564แบบรายงานประกวดสื่อปี2564
แบบรายงานประกวดสื่อปี2564PornpenInta
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อยKruBeeKa
 
profile :นฤมล ศรีจันทร์งาม
profile :นฤมล ศรีจันทร์งามprofile :นฤมล ศรีจันทร์งาม
profile :นฤมล ศรีจันทร์งาม์ืNarumon Srijungam
 
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุคKruBeeKa
 
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10นิรุทธิ์ อุทาทิพย์
 
หลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมหลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมkorakate
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2krupornpana55
 
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural SocietyICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural SocietyNikma Hj
 

Similar to โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2555 (20)

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเยาวชน
 
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
TSMT Journal16 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 16)
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
Exhibition NAC 2009
Exhibition NAC 2009Exhibition NAC 2009
Exhibition NAC 2009
 
Book Exhibition NAC 2009 Full
Book Exhibition NAC 2009 FullBook Exhibition NAC 2009 Full
Book Exhibition NAC 2009 Full
 
แบบรายงานประกวดสื่อปี2564
แบบรายงานประกวดสื่อปี2564แบบรายงานประกวดสื่อปี2564
แบบรายงานประกวดสื่อปี2564
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
 
profile :นฤมล ศรีจันทร์งาม
profile :นฤมล ศรีจันทร์งามprofile :นฤมล ศรีจันทร์งาม
profile :นฤมล ศรีจันทร์งาม
 
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
06 mini thesis-การศีกษาพฤติกรรมการใช้เฟสบุค
 
จุดเน้นที่ 2
จุดเน้นที่  2จุดเน้นที่  2
จุดเน้นที่ 2
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
 
หลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมหลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคม
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
 
By Colorfuls Mk22
By Colorfuls Mk22By Colorfuls Mk22
By Colorfuls Mk22
 
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural SocietyICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
 
จุดเน้นที่ 3
จุดเน้นที่  3 จุดเน้นที่  3
จุดเน้นที่ 3
 
Assignment 4
Assignment 4Assignment 4
Assignment 4
 
สอนภาพประเทศไทย
สอนภาพประเทศไทยสอนภาพประเทศไทย
สอนภาพประเทศไทย
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
 

More from พงษ์ขจร บุญพงษ์

ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...
ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...
ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557
กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557
กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
วารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
วารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิวารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
วารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิพงษ์ขจร บุญพงษ์
 
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”พงษ์ขจร บุญพงษ์
 

More from พงษ์ขจร บุญพงษ์ (20)

Reward love ๒๕๕๖
Reward love ๒๕๕๖Reward love ๒๕๕๖
Reward love ๒๕๕๖
 
Reward love ๒๕๕๕
Reward love ๒๕๕๕Reward love ๒๕๕๕
Reward love ๒๕๕๕
 
Reward love ๒๕๕๔
Reward love ๒๕๕๔Reward love ๒๕๕๔
Reward love ๒๕๕๔
 
ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...
ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...
ประกาศผลการตัดสินการประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ป...
 
คำสั่งส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
คำสั่งส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖คำสั่งส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
คำสั่งส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
 
โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
โครงการส่งเสริมการอ่าน ๒๕๕๖
 
คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
คู่มือการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
 
ปกคู่มือการดำเนินกิจกรรม
ปกคู่มือการดำเนินกิจกรรมปกคู่มือการดำเนินกิจกรรม
ปกคู่มือการดำเนินกิจกรรม
 
กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557
กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557
กิจกรรมเปิดบ้านอาเซียนและสิทธฺเด็ก 2557
 
วารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
วารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิวารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
วารสารโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ
 
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
โครงการรักษ์ไทยรักษ์ถิ่น โรงเรียนต้นแบบโครงการรักชาติถูกทางเสริมสร้างความซื่อ...
 
Gumnodkarn
GumnodkarnGumnodkarn
Gumnodkarn
 
Name for jura
Name for juraName for jura
Name for jura
 
รายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายชื่อนักเรียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมค่ายนิสิตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
 
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ “First Model”
 

โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2555

  • 1. ใบสมัคร การประกวดโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจาปี 2555 ชื่อโครงการ รักษ์ไทย รักษ์ถิ่น (การพัฒนาต่อยอดโครงการรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น) ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ การศึกษาระดับ มัธยมศึกษา สถานที่/ที่อยู่ เลขที่ 90 หมู่ที่ 9 ถนน วาริชภูมิ-พังโคน อาเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์47150 โทรศัพท์ 0-4278-1190 โทรสาร 0-4278-1193 ชื่อผู้ประสานงาน นางสุภาภรณ์ ภูดินทราย โทรศัพท์ 0-4274-2032 โทรศัพท์มือถือ 08-8549-9737 1. หลักการและแนวคิด ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ส่งผล กระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทย ทาให้สภาพความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ยึดติดกับกระแสวัตถุนิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามเริ่มเลือนหายไปกับกาลเวลา เพราะคนยุคใหม่ไม่ให้ความสาคัญในความเป็น ชาติไทย คิดว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย สังคมไทยเบี่ยงเบนออกจากเอกลักษณ์ วัฒนธรรมที่ดีงามและ วิถีชีวิตแบบไทยเดิม มีความหย่อนยานในศีลธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและ เยาวชนเกิดความสับสน ขาดจิตสานึกที่ดี ไม่มีเป้ าหมายในชีวิตและขาดการควบคุมตนเอง มักแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อันส่งผลให้เกิดวิกฤตทางจริยธรรมและศีลธรรม ตลอดทั้ง ค่านิยมที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง และมีแนวโน้มที่ทาให้สังคมเสื่อมลง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ กระแสโลกาภิวัตน์จึงนับว่าเป็นผลกระทบโดยตรงที่สาคัญ ที่ทาลายกาแพงวัฒนธรรม ที่ช่วยล้อมรอบเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้ จาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปกป้ อง ช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา ให้เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชน สามารถปรับตัวและดารงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลง อย่างรู้เท่าทัน ปลอดภัยและมีความสุข การศึกษาเป็นทางออกที่สาคัญ เนื่องด้วยการศึกษานั้น นอกจากจะเป็นกระบวนการสร้างความรู้แล้ว ยังจะทาให้เกิดแนวคิด ค่านิยมที่ถูกต้อง ดีงาม
  • 2. 2 ในการที่จะดูแลรับผิดชอบตนเอง ชุมชน สังคม และชาติบ้านเมือง ดังนั้น การที่จะสร้างค่านิยม ให้กับสังคมจึงจาเป็นที่ต้องเริ่มในสถาบันการศึกษาซึ่งจะส่งผลให้เยาวชนที่ผ่านกระบวนการศึกษา เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง นอกจากนี้แนวทางหนึ่งที่จะช่วย ธารงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้ได้ ขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ อย่างจริงจัง คือ การสอนเยาวชนไทยให้ซึมซับเอกลักษณ์ของชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจ แก่นแท้ของวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของชาติ โดยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพราะ “ประวัติศาสตร์ ทาให้เราได้รู้ว่าลักษณะเฉพาะของสังคมของเราได้พัฒนามาบนพื้นฐานของอะไร” แม้ว่า ประสบการณ์ในอดีตจะประสบความสาเร็จ หรือสร้างความเจ็บปวดแก่คนในชาติเท่าใด ก็เป็น ข้อเท็จจริงหนึ่งที่เราทุกคนต่างก็เป็นผลผลิตของประสบการณ์ในอดีตของบรรพบุรุษที่ได้เสียสละ สร้างมา ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันควรจะเรียนรู้ความเป็นมาของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึง “ความรู้สึกร่วม” ของทุกคนในสังคม (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2553 : 3) การศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่เยาวชนไทยไม่ควรมองข้าม ประวัติศาสตร์มีความสาคัญยิ่งต่อมนุษย์ชาติในหลายประการ ได้แก่ ทาให้รู้จักตนเองชัดเจน โดยรู้จักตนเองในฐานะที่ตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และตนเองในฐานะที่เป็นส่วนใหญ่ ของสังคมโลก การไม่รู้จักตนเองจะทาให้เรากลายเป็นคนหลักลอย เป็นคนแปลกหน้าในสังคม ของตนเอง ไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรที่ทาได้และอะไรที่ทาไม่ได้ ประวัติศาสตร์ จึงช่วยให้ตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับคนกลุ่มใหญ่ได้อย่างสันติสุขโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ ประวัติศาสตร์ สอนให้เราเป็นคนฉลาดทันสมัย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์ที่มีสมอง ดังนั้นย่อมไม่กระทาผิดในสิ่งที่เคยผิดพลาดมาแล้ว มนุษย์จะคิดหาหนทางใหม่ที่ดีกว่าเสมอ ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ารอย แต่ประวัติศาสตร์สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการคาดการณ์ หรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงทาให้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ทันคน ทันเหตุการณ์ ทันสมัยและทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ประวัติศาสตร์ สอนให้เป็นคนขยัน อดทน และมีความวิริยะ อุตสาหะ มนุษย์เราสร้างประวัติศาสตร์ทุก ๆ นาที นักประวัติศาสตร์จึงมีความจาเป็นต้องติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเพื่อที่จะ ไม่เป็นผู้ล้าหลัง การหยุดไปเพียงหนึ่งวินาทีก็อาจทาให้เรากลายเป็นคนแปลกหน้าในสังคมได้ ประวัติศาสตร์จึงเป็นตัวกระตุ้นให้คนต้องขยันติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ยังแสดงให้เห็นถึงความสาเร็จของบุคคลต่าง ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องกระตุ้นและ เป็นแบบอย่างที่คนรุ่นหลังจะใช้เป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตได้ เป็นรากฐานในศาสตร์สาขา อื่น ๆ เพราะประวัติศาสตร์จะบอกถึงข้อผิดพลาดในอดีต ซึ่งเราจะต้องนาไปเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น เราต้องทราบว่าประชาธิปไตยของคนไทยในอดีตมีจุดอ่อนตรงไหน ซึ่งจะ ให้เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบอบประชาธิปไตยให้มีจุดสมดุลกับคนไทยได้อย่างไร
  • 3. 3 และประวัติศาสตร์ช่วยสร้างคนดี ให้สังคม โดยทาให้คนมีความเห็นแก่ตัวลดลง มีความคิด กว้างขวางโอบอ้อมอารี มีความยุติธรรม มีใจกว้างขวาง ไม่คับแคบและเป็นคนที่มีเหตุผล ในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ (ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2553 : 9) ดังนั้นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จึงมีคุณค่าอย่างมากต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นการเสริม ปัญญาแก่ผู้เรียนที่ได้ผ่านกระบวนการอ่าน การคิด การเขียน การพินิจ พิจารณา วิเคราะห์ มาอย่างถ่องแท้ จะช่วยกระตุ้นให้เขาได้ตระหนักถึงความสาคัญของแนวโน้มในอนาคตที่ควรดาเนิน ชีวิตอย่างรอบคอบ สุขุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่สังคมไทยในปัจจุบันคนส่วนใหญ่กาลังดาเนินชีวิตโดยขาดสติ ขาดการคิดวิเคราะห์ในการเลือก รับวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์ ใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ละทิ้งถิ่นฐาน ขาดความรัก และผูกพันในบ้านเกิด ไม่รู้คุณค่า ไม่เห็นความสาคัญของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมดั้งเดิมหรือสิ่งที่ อยู่ใกล้ตัวของชุมชนและท้องถิ่น ทาให้ไม่รู้จักตนเอง กลายเป็นคนหลักลอย เป็นคนแปลกหน้า ในสังคมของตนเอง ไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรที่ทาได้และอะไรที่ทาไม่ได้ เป็นเหตุให้สังคม วุ่นวาย ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้านเรา เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนามและมาเลเซีย ที่ต่างให้ความสาคัญแก่วิชา ประวัติศาสตร์มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเขามองเห็นว่า “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เท่ากับเป็น การทาความรู้จักสังคมของตนเอง และประวัติศาสตร์เป็นตัวช่วยปลูกฝังความรักมาตุภูมิ ความมุ่งมั่นในปณิธานแห่งชาติและความมั่นใจวัฒนธรรมประจาชาติ” (กระทรวงศึกษาธิการ. 2543 : 3) โดยเฉพาะการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นการศึกษากิจกรรมหรือประสบการณ์ ทุก ๆ ด้านของสังคมในท้องถิ่นโดยให้ความสาคัญที่ผู้รู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะเป็นผู้สร้าง ประวัติศาสตร์ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา ทาให้เกิดความเข้าใจถึง ความเป็นมาของวิถีชีวิตของคนซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทั้งด้านภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและการดารงชีวิต เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่จะเป็นพลัง ให้สามารถฟื้นฟูชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละท้องถิ่น เป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ก่อให้เกิด ความเข้าใจ สมานฉันท์ สามัคคีและสันติสุข ซึ่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่จะนาไปสู่ ความสาเร็จตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้นั้นจาเป็นต้องปรับวิธีการและเทคนิคให้เหมาะสม และหลากหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กาหนดแนวการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่า ผู้เรียนมีความสาคัญมากที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดาเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม
  • 4. 4 ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้ องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทาได้ คิดเป็น ทาเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การเรียนรู้ด้วยโครงงานจึงเป็นแนวทางเลือกหนึ่งที่มีความสาคัญและจาเป็นที่จะช่วยให้ การปฏิรูปการเรียนรู้สู่ความสาเร็จ เพราะกิจกรรมโครงงานเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความ สนใจและมีโอกาสได้ศึกษาได้อย่างลุ่มลึกด้วยตัวเอง โดยครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน และอานวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและเต็มศักยภาพ (สุรพล วังสินธ์. 2543 : 11–12) ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติตามหัวข้อเรื่องที่ตนสนใจ สงสัย หาคาตอบโดยใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากแหล่งความรู้ ทาให้เด็กได้เรียนอย่างลึกซึ้ง แตกฉาน สามารถคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและสรุปความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เด็กเป็นผู้ชอบแสวงหาความรู้และ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (กรมวิชาการ. 2545 : 19) โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชา ท้องถิ่นของเรา รหัสวิชา ส21201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 จานวน 40 ชั่วโมง เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียน เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามบริบทหรือเนื้อหาสาระ ของสาขาวิชา และเรียนตามความถนัด ความสนใจ ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมยุววิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมหนึ่งที่พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วย โครงงาน ให้นักเรียนเป็นผู้กาหนดหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า สืบเสาะ หาภูมิปัญญาท้องถิ่นและ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ วางแผน ดาเนินการปฏิบัติตามแผน สรุปผลการทากิจกรรมโครงงานและ นาเสนอผลงานด้วยตัวนักเรียนเอง ครูผู้สอนมีหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในหัวข้อที่หลากหลาย เช่น ตานานหรือประวัติของหมู่บ้าน สภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ (ดิน แหล่งน้า ประชากร แร่ธาตุ) การอพยพ การตั้งถิ่นฐาน ชาติพันธุ์วิทยา บุคคล สาคัญ ศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ (การปลูกหวาย การทาสวนยางพารา การทอผ้าไหม การทา ฟาร์มโคนม การจักสาน การทาข้าวฮาง ฯลฯ) วิถีการดาเนินชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน ภาษาและอักษร การละเล่น ดนตรีนาฏศิลป์ กีฬาพื้นบ้าน โบราณวัตถุ โบราณสถาน และแหล่งชุมชนโบราณ พาหนะพื้นบ้าน เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ประเพณี ความเชื่อ
  • 5. 5 ความเปลี่ยนแปลงที่สาคัญของเมือง (วิถีชีวิตชาวบ้านเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง) ฯลฯ จัดประสบการณ์ ในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทางานในชีวิตจริง เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง รู้จักวางแผนในการทางาน ฝึกการเป็นผู้นาผู้ตาม ฝึกการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทางานอย่างมีระบบขั้นตอน ซึ่งในการเรียนรู้นั้นครูจะ สร้างความตระหนักโดยการตั้งคาถามให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ก่อนจัดทาโครงงาน เช่น ประเด็นที่ นักเรียนสนใจศึกษามีความสาคัญต่อนักเรียนอย่างไร ทาไมจึงอยากศึกษาเรื่องนี้ เมื่อศึกษาแล้ว เกิดผลดีอย่างไร ใครคือผู้ที่จะให้ข้อมูลหรือแหล่งค้นคว้าที่ดี นักเรียนมีวิธีการศึกษาและเก็บรวบรวม ข้อมูลอย่างไร เป็นต้น ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชา ท้องถิ่นของเรา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามบริบทหรือเนื้อหาสาระของสาขาวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของชุมนุมยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ แล้วพัฒนาต่อยอดโดยเสนอ โครงการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านค่ายเยาวชนต้นแบบ ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ) เสนอโครงการ “อบรมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน จากท้องถิ่น สู่อาเซียน” และโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จากยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สู่หนังสารคดีวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิได้รู้จักตัวตน รู้จักความเป็นมาของ ท้องถิ่น นักเรียนได้ปฏิบัติสืบค้นด้วยตนเองในสิ่งที่ใกล้ตัว ทาให้นักเรียนสนใจมากกว่าสิ่งที่ไกลตัว มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ วิธีการทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทาง ประวัติศาสตร์ และกระบวนการวิจัย สืบค้นข้อมูลประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นได้ง่ายและไม่รู้สึก เบื่อหน่าย เกิดจิตสานึกรักบ้านเกิด หวงแหน ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง ตลอดจนเป็นการส่งเสริม พัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาสื่อหรือผลงานการศึกษาค้นคว้าให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคโลกาภิวัตน์ หรือยุคข้อมูลสารสนเทศ (ICT) 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 นักเรียนมีความรู้ ความข้าใจ กระบวนการเรียนรู้ วิธีการทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และกระบวนการวิจัย สืบค้นข้อมูลประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น 2.2 นักเรียนเห็นความสาคัญของขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ในท้องถิ่น เกิดจิตสานึกรักบ้านเกิด หวงแหน ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 2.3 นักเรียนร่วมกันอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ของท้องถิ่นไว้ โดยชุมชนมีส่วนร่วม
  • 6. 6 2.4 ครอบครัว ศาสนา และชุมชน ให้ความร่วมมือในการปลูกฝังให้นักเรียนเกิด ความสานึกที่จะเป็นคนดีของท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติสืบไป 2.5 ครูและนักเรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาสื่อหรือผลงานการศึกษาค้นคว้า ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคโลกาภิวัตน์ หรือยุคข้อมูลสารสนเทศ (ICT) 3. วิธีการดาเนินการ ในปีการศึกษา 2554 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ได้พัฒนาต่อยอดจากการดาเนินงาน ในปีการศึกษา 2553 ดังนี้ 3.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม เรียนรู้วิถีการดารงชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน รวมทั้งการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริม ปลูกจิตสานึกให้นักเรียนเกิดความรักชาติ รักท้องถิ่น ในโครงการ “9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์ภูมินทร์จอมสยาม” เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา 3.2 จัดอบรมให้ความรู้ พัฒนาสื่อและทักษะปฏิบัติ แก่ครูผู้สอนและนักเรียน ในการพัฒนา ต่อยอดผลงานจากการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 3.3 พัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 3.4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ 4. ขั้นตอนการดาเนินการ เป็นการพัฒนาต่อยอด โครงการรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น ซึ่งดาเนินการต่อเนื่องจากปีการศึกษา ที่ผ่านมา (ปีการศึกษา 2552-2553) 4.1 ขั้นเตรียมการ 1) กาหนดเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชา ท้องถิ่นของเรา รหัสวิชา ส21201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 จานวน 40 ชั่วโมง เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/ สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียน และเรียนตามความถนัด ความสนใจ ในกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน ชุมนุมยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ตลอดจนบูรณาการ หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยครูเตรียมบทเรียนเนื้อหาสาระตามหลักสูตร สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
  • 7. 7 2) เสนอโครงการ “อบรมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนจากท้องถิ่น สู่อาเซียน” และโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จากยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สู่หนังสารคดี วัฒนธรรม” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาสื่อหรือผลงานการศึกษาค้นคว้าให้ตอบสนอง ตามความต้องการของผู้บริโภค และกระแสโลกาภิวัตน์ 3) พัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ 4.2 ขั้นดาเนินการ กิจกรรม /วิธีการในการพัฒนาในปีการศึกษา 2554 มีดังนี้ 1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้นักเรียนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ ในชุมชน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม เรียนรู้วิถี การดารงชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้อง กับวิถีชีวิตชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ต้องการอนุรักษ์สิ่งดี ๆ ที่เรามีอยู่ ฟื้นฟูสิ่งที่กาลังจะสูญหาย และสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากรากฐานที่มั่นคง สืบสานวัฒนธรรมภูไท ซึ่งถือ เป็นอัตลักษณ์ของเรา ให้คงอยู่สืบไปภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ การจัดนิทรรศการผลงานจากการเรียนรู้ภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน ของทุกกลุ่ม สาระการเรียนรู้ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่าน มีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา ภายใต้ชื่อโครงการ “ 9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์ภูมินทร์ จอมสยาม” ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1.1) ภูไทกะป๋ องคือใคร เป็นการค้นหารากเหง้า หรือประวัติความเป็นมา ว่าเป็นใคร ? มาจากไหน ? มีประเพณีวัฒนธรรมอะไรบ้าง ? ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยนาเสนอผลการศึกษา 2 ภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 1.2) ศึกษาวิถีแห่งเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไทในด้านต่าง ๆ ตามจารีต ประเพณี ฮีต 12 คอง 14 ทั้งงานมงคลและอวมงคล เช่น การแต่งงานโดยมีพ่อล่ามแม่ล่าม ประเพณี งานศพ ความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าปู่มเหสักข์ งานบุญประเพณีต่าง ๆ ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ และฝ่ายกิจกรรมนักเรียน 1.3) วิถีการดาเนินชีวิตในด้านการแต่งกาย การทางาน การพักผ่อน ซึ่งสืบทอด ทอดต่อ ๆ กันมา ในท่วงทานองของการขับร้องกลอนลา เพลงภูไท การพูดผญาภาษาภูไทซึ่งจะมี
  • 8. 8 การแสดงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองโดยการฟ้อนภูไท เรียนรู้การละเล่นของเด็กภูไทในอดีต ที่ไม่มี เทคโนโลยีนั้น เขาเรียนและเล่นกันอย่างไร ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 1.4) เรียนรู้จากภูมิปัญญาเกี่ยวกับวิถีการกิน การอยู่ อาหารพื้นบ้านที่มีลักษณะ เฉพาะที่น่าสนใจ เช่น การนาหวายมาปรุงอาหารได้ทั้งคาวและหวาน จนกล่าวได้ว่า ถ้ามาวาริชภูมิ แล้วไม่ได้กินแกงหวาย ถือว่ามาไม่ถึงวาริชภูมิ ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คหกรรม) 1.5) การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษา เช่น นาผญามาใช้ได้เหมาะสมกับ เหตุการณ์เฉพาะหน้า การพูดให้ข้อคิด คาอวยพร ผญาหนุ่มจีบสาวของชาวภูไทในอดีต หรือที่ เรียกว่า “ลงข่วง” ซึ่งเป็นประเพณีที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1.6) การรักษาสุขภาพโดยดื่มน้าสมุนไพร การรักษาโรคของชาวภูไทในอดีตจะใช้ สมุนไพร เช่น ลูกประคบ ยาต้ม ยาทา ซึ่งอาจนามาปลูกไว้ในบ้าน หาตามป่า ในไร่ในนา ซึ่งแม่บ้านชาวภูไทในอดีตถือเป็นหมอยาประจาบ้านของแต่ละครอบครัว ดาเนินการพัฒนาผู้เรียน โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.7) งานอาชีพหรือหัตถกรรมพื้นบ้าน สามารถนามาบูรณาการจัดการเรียนรู้ ได้อย่างลงตัว ทั้งทักษะความสามารถของครู นักเรียน การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังคง มีให้เห็นและเรียนรู้อยู่ในชีวิตประจาวัน จึงทาให้นักเรียนสามารถซึมซับและเรียนรู้ได้ดีทั้งใน และนอกโรงเรียน ดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานช่าง/งานประดิษฐ์) 1.8) การรวบรวมและจัดแสดงวิถีชีวิต/สิ่งของเครื่องใช้ของชาวภูไทในอดีต ณ ห้องวัฒนธรรมภูไท ถือว่าเป็นการสืบสานมรดกท้องถิ่นให้คงอยู่ได้อีกทางหนึ่ง ดาเนินการ พัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลมาจัดทาหนังสารคดีวัฒนธรรม เช่น พลังศรัทธาเจ้าปู่มเหสักข์ เปิดตานานพระธาตุศรีมงคล เบิ่งภูไทกินดอง เป็นต้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ แบบโครงงาน บูรณาการความรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดชิ้นงานคือ หนังสารคดี วัฒนธรรม 1.9) กิจกรรมเปิดบ้านคุณธรรม “วัฒนธรรมภูไท เทิดไท้องค์ราชัน” เป็นการ รวบรวมผลงานครู และนักเรียนแกนนาฯ ที่ได้ดาเนินการจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน มาจัดแสดง เพื่อเป็นการตอกย้าความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่เราช่วยกัน อนุรักษ์และสืบสานเอาไว้ ตามปณิธานของพ่อหลวง ดาเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยทุกกลุ่มสาระ
  • 9. 9 การเรียนรู้ (เอกสารประกอบ DVD & VCD แผ่นที่ ๑ และ ๒) 2) จัดอบรมให้ความรู้ พัฒนาสื่อและทักษะปฏิบัติ แก่ครูผู้สอนและนักเรียน ในการ พัฒนาต่อยอดผลงานจากการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ดังนี้ 2.1) ดาเนินงานตามโครงการ “อบรมพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน จากท้องถิ่น สู่อาเซียน” ให้กับครูผู้สอนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของ โรงเรียนในฝันรุ่นที่ 1-3 จังหวัดสกลนคร จานวน 50 คน ในวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2554 โดยเชิญวิทยากร คือ นางสาววิริยะ บุญยะนิวาสน์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป. ฉะเชิงเทรา เขต 1 2.2) ดาเนินงานตามโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จากยุววิจัยประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น สู่หนังสารคดีวัฒนธรรม” ให้นักเรียนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ จานวน 60 คน เพื่อให้ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ/ทฤษฎีการทาหนังสารคดีวัฒนธรรม สามารถนาความรู้ ที่ได้รับไปขยายผลทั้งในและนอกห้องเรียน และเป็นต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมและสื่อ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในวันที่ 22-23 ธันวาคม 2554 โดยเชิญวิทยากร คือ นายสนธยา หลักทอง ศึกษานิเทศก์ชานาญการพิเศษ สพป. สกลนคร เขต 2 คณะครูและนักเรียนโรงเรียน กุดบากพัฒนาศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 (เอกสารประกอบ DVD & VCD แผ่นที่ ๓, ๔ และ ๕) 3) พัฒนานวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยจัดทาเป็น 3.1) หนังสารคดีวัฒนธรรม 3.2) หนังสือ Pop-up 3.3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ในหัวข้อ/ประเด็นที่ศึกษา เช่น พลังศรัทธาเจ้าปู่มเหสักข์ ภูไทกะป๋ องวาริชภูมิ เปิดตานานพระธาตุศรีมงคล เบิ่งภูไทกินดอง เล่าขานตานานตีมีด ตานานบุญข้าวจี่ เป็นต้น (เอกสารประกอบ DVD & VCD แผ่นที่ ๔, ๕ และ ๖) 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ 4.1) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดฯ โรงเรียนในฝัน กลุ่มสาระสังคมฯ สพม. 22 (นครพนม) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2554 4.2) ได้รับคัดเลือกจากคณะ Roving Team ที่ 8 ในการนาเสนอการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในหัวข้อเรื่อง การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยโครงงาน ในงาน Lab School Symposium ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ในวันที่ 16-18 สิงหาคม 2554
  • 10. 10 4.3) เป็นตัวแทนสหวิทยาเขตลุ่มน้าอูน ในการเสนอการปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในหัวข้อเรื่อง การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วยโครงงาน ในงาน มหกรรมวิชาการเทิดพระเกียรติ 84 พรรษามหาราชา พระผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดิน ของ สพม. เขต 23 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ในวันที่ 8-9 กันยายน 2554 4.4) ร่วมปิดโครงการโรงเรียนทาหนังสารคดีวัฒนธรรรม ปีที่ 2 ของกรมส่งเสริม วัฒนธรรม (สวธ,) สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันรามจิตติ ณ โรงหนัง วีกครูทวี อาเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 16-18 กันยายน 2554 (เอกสารประกอบ DVD แผ่นที่ ๗ และ ๘) 4.5) ร่วมโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ลาว ณ บ้านวังน้ามอก อาเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ซึ่งจัดโดยสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และโรงเรียนทาหนัง สถาบันรามจิตติ ในวันที่ 22-23 กันยายน 2554 4.6) เข้าร่วมเสนอโครงการเยาวชนคิดดี ทาดี 84 โครงการ กับครอบครัวข่าว 3 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นักเรียนที่เป็นตัวแทนนาเสนอโครงการ “9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์ ภูมินทร์จอมสยาม” ของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 84 โครงการยอดเยี่ยม ที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 จะถ่ายทาเป็นสกู๊ปพิเศษ และนาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา ในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 4.7) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะผู้บริหารโรงเรียน รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจาปี 2554 จากสานักงาน ป.ป.ช. ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20 มกราคม 2555 4.8) คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกับคณะ ครูและผู้บริหารโรงเรียน นาเสนอกิจกรรมให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 ถ่ายทาเป็นสกู๊ปพิเศษ โครงการ “9 รักษ์ 9 ฮักถิ่น ถวายองค์ภูมินทร์จอมสยาม” ของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ เพื่อนา ออกอากาศเผยแพร่ในรายการข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์ และนาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนพรรษา ครบ 84 พรรษา ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 4.9) การเผยแพร่ผลงานในรายการกระจกหกด้าน ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ซึ่งจะออกอากาศในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เวลา 16.00 น.
  • 11. 11 4.10) การเข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการ “นักยุววิจัยประวัติศาสตร์ : ภูไทกะป๋ อง วาริชภูมิ” ในงาน “มหกรรม 2 ทศวรรษ สกว. โซนเด็ก เยาวชน และการศึกษา” ณ ศูนย์แสดงสินค้า และการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี (ฮอลล์ 7 - 8) ในวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2555 และวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2555 เวลา 10.00 – 22.00 น. 4.11) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ผลงานทางสถานีวิทยุชุมชนคนมัธยม โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ซึ่งเป็นสถานีวิทยุในการประชาสัมพันธ์ข้อมูล/ข่าวสาร ของโรงเรียน โดยเฉพาะ ที่คลื่นความถี่ FM 99.30 MHz (เอกสารประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ ในภาคผนวก) 4.3 ขั้นติดตาม ประเมินผล นาเสนอรายงานความก้าวหน้าของการดาเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมเป็นระยะ ๆ 4.4 ขั้นรายงานผล รายงานผลการดาเนินงานต่อผู้บริหาร ครู อาจารย์ ในสถานศึกษา กรมต้นสังกัด และต่อชุมชน ตลอดจนเผยแพร่ผลงานโดยจัดนิทรรศการในการประชุม อบรม สัมมนา หรือการศึกษา ดูงานของโรงเรียนต่างๆ 5. คุณค่า/คุณประโยชน์ที่ได้รับ จากการดาเนินงานทั้งก่อนดาเนินโครงการและหลังการดาเนินโครงการศูนย์พัฒนา การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านค่ายเยาวชนต้นแบบยุววิจัยประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น เกิดคุณประโยชน์ทั้งต่อผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน ดังนี้ 5.1 ผลที่เกิดกับผู้เรียน 5.1.1 ด้านความสามารถ ทักษะ 1) แสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา 2) ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 3) มีทักษะการคิดขั้นสูง 4) มีทักษะชีวิต 5) มีทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย 5.1.2 ด้านคุณลักษณะ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 1.1) รู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเองและชาติไทย รักบ้านเกิด 1.2) เป็นพลเมืองดีของชาติ 1.3) ภาคภูมิใจ และธารงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย
  • 12. 12 1.4) ศรัทธา และยึดมั่นในศาสนา 1.5) ปฏิบัติศาสนพิธีตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมา 1.6) ภูมิใจที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.7) เคารพ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.8) น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ในการดาเนินงาน 2) ซื่อสัตย์สุจริต 2.1) เขียนรายงานผลการศึกษาตามความเป็นจริงจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ 2.2) อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 2.3) ยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเอง และผู้อื่นทั้งกาย วาจา ใจ 3) มีวินัย 3.1) ดาเนินงานตามระยะเวลาที่กาหนด (ตรงต่อเวลา) 3.2) ยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม 4) ใฝ่เรียนรู้ 4.1) หมั่นสืบเสาะแสวงหาความรู้ 4.2) มีนิสัยรักการอ่าน 4.3) ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการสืบค้นคว้า 4.4) มีความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ภายในและภายนอกของโรงเรียน 5) อยู่อย่างพอเพียง มีการดาเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลรอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีเหตุผล  ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูล  ใช้ข้อมูล / หลักฐานในการสืบค้น ติดตาม มีภูมิคุ้มกัน  ปลูกจิตสานึกรัก บ้านเกิด  รักและหวงแหนในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • 13. 13 พอประมาณ  เวลาในการสืบค้น  การบริหาร/ งบประมาณค่าใช้จ่าย  การกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล  ใช้วัสดุให้คุ้มค่า 6) มุ่งมั่นในการศึกษาและการทางาน 6.1) มีความตั้งใจ และรับผิดชอบในการทาหน้าที่การงานด้วยความเพียร พยายาม อดทน เพื่อให้งานสาเร็จตามเป้าหมาย 6.2) เอาใจใส่ เสียสละเวลา/อุทิศตน 7) รักความเป็นไทย 7.1) เข้าร่วมประเพณี/วัฒนธรรมของท้องถิ่น 7.2) มีเอกลักษณ์ทางภาษา การแต่งกาย อาหารพื้นบ้าน ยารักษาโรค /สมุนไพร 7.3) ให้ความรู้/เผยแพร่ผลงานจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 7.4) สืบทอดภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม 7.5) ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 8) มีจิตสาธารณะ 8.1) อุทิศเวลาในการศึกษาค้นคว้า เพื่อเผยแพร่ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของตนสู่สาธารณชน 8.2) ร่วมกันสืบสานอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ดารงอยู่สืบไป 8.3) มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน 5.1.3 นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทากิจกรรมกลุ่ม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ในกลุ่มนักเรียน 5.1.4 นักเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ 5.1.5 นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการทาโครงงาน สามารถพัฒนาตนเอง บาเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม 5.1.6 นักเรียนได้รับการยอมรับและชื่นชมจากผู้ปกครอง ชุมชน
  • 14. 14 5.2 ผลที่เกิดกับครู 5.2.1 ครูเข้าใจและเห็นความสาคัญในการสอนโดยใช้นวัตกรรมและคิดสร้างนวัตกรรม ขึ้นใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน 5.2.2 ครูมีสื่อนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาอื่น 5.2.3 ครูได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาในการจัดการเรียนการสอนจากนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 5.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน 5.3.1 โรงเรียนได้รับการยอมรับจากชุมชน สังคม ในการพัฒนานักเรียนให้มี คุณภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมได้ 5.3.2 นักเรียนนาชื่อเสียงมาสู่โรงเรียน 5.4 ผลที่เกิดกับชุมชน ชุมชนมีความภาคภูมิใจในตัวนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน 6. งบประมาณ (ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องสนับสนุนในการดาเนินงาน ตามโครงการ ดังนี้คือ 9.1 สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทุนผลิตสื่อนิทรรศการภูไทกะป๋ อง จานวน 45,000 บาท 9.2 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ทุนในการปรับปรุง ห้องศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จานวน 210,000 บาท 9.3 รางวัลสารคดีชนะเลิศ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโครงการโรงเรียนทาหนัง สารคดีวัฒนธรรม ปีที่ 2 จานวน 10,000 บาท 9.4 สานักงาน ป.ป.ช. มอบเงินรางวัล จานวน 50,000 บาท ในโครงการรักชาติถูกทาง สร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจาปี 2554 7. ผู้รับผิดชอบและร่วมดาเนินโครงการ 7.1 นางสุภาภรณ์ ภูดินทราย ผู้รับผิดชอบ/ครูที่ปรึกษาโครงการ 7.2 ผู้บริหาร คณะครูโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ผู้ร่วมดาเนินโครงการ