SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
ความแตกต่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร สุวรรณ1
การวิจัย คือ การค้นคว้าหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอย่างมีระบบแบบแผน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นกระบวนการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งในการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์หากแบ่งตามลักษณะของการวิเคราะห์
ข้อมูล สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิง
คุณภาพ (Qualitative Research) โดยปกติเรามักจะคุ้นเคยกับการตอบแบบสอบถามที่มีใครก็ไม่รู้มักจะส่งมา
ให้เราตอบอยู่บ่อย ๆ นั่นคือ ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเป้าหมายใหญ่ คือ การศึกษาความรู้
ความคิด พฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นเหตุเป็นผล พิสูจน์และอ้างอิงได้ ซึ่งนําไปใช้อธิบายหรือ
ทํานายพฤติกรรมของคนในภาพกว้าง โดยให้ความสําคัญแก่ข้อมูลที่แจงนับหรือวัดออกมาเป็นตัวเลขได้
ใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลอาจบอกว่าอะไรมากน้อยกว่ากัน อะไรสัมพันธ์
หรือไม่สัมพันธ์กับอะไร อะไรแตกต่างจากอะไร เช่น การศึกษาเรื่องขวัญกําลังใจในการทํางานของข้าราชการ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล อาจพบว่า ขวัญกําลังใจในการทํางานของข้าราชการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 แปลความ
ได้ว่า ข้าราชการมีขวัญกําลังใจในการทํางานอยู่ในระดับปานกลาง ถ้าจําแนกข้อมูลตามตําแหน่งหน้าที่ พบว่า
ตําแหน่งอธิบดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 ตําแหน่งหัวหน้าแผนก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 แปลความหมายได้ว่า
มีขวัญกําลังใจในการทํางานอยู่ในระดับปานกลางเหมือนกัน หากดูตัวเลขในเบื้องต้นหัวหน้าแผนกน่าจะมีขวัญ
กําลังใจในการทํางานดีกว่าอธิบดี แต่ในการวิจัยนั้นถือว่ายังสรุปไม่ได้ว่ามีขวัญกําลังใจในการทํางานแตกต่างกัน
หรือไม่ ต้องทดสอบความหมายหรือที่เรียกว่าความมีนัยสําคัญทางสถิติ (significance) ก่อน โดยปกติงานวิจัย
ทางสังคมศาสตร์มักจะตั้งไว้ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป เช่น SPSS เครื่องก็จะคํานวณให้เสร็จว่า significance หรือไม่
ถ้า significance ก็แปลว่า ตําแหน่งหน้าที่แตกต่างกันมีขวัญกําลังใจในการทํางานแตกต่างกันจริง หมายความ
ว่า คนที่มีตําแหน่งหน้าที่สูงกว่า (อธิบดี) มีขวัญกําลังใจในการทํางานน้อยกว่าคนที่มีตําแหน่งหน้าที่ต่ํากว่า
(หัวหน้าแผนก) เพราะอะไรก็ต้องไปหาสาเหตุโดยการตั้งสมมติฐานและทดสอบต่อไป เช่น เพราะถูก
นักการเมืองสั่งย้ายบ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนรัฐบาลหรือใกล้ ๆ เดือนตุลาคม...
สําหรับการวิจัยอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นั้น เป็นการ
แสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ สนใจข้อมูล
ด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยม พฤติกรรมหรืออุดมการณ์
ของบุคคล เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง มักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะ
ยาว ไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการ
1
ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน
2
เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) ตัวอย่างเช่น
ถ้าเราอยากจะศึกษาว่าทําไมผู้หญิงหรือนักศึกษาถึงขายบริการทางเพศ ถ้าเราไปแจกแบบสอบถามสงสัยคงไม่
มีใครตอบให้หรอกว่าทําไมถึงมาขายบริการ ขายมาแล้วกี่ครั้ง ได้เงินกี่บาท เอาเงินไปทําอะไร เสียเวลาทํามา
หากินหมด แล้วก็ไม่มีความหมายอะไรมากนัก ไม่สามารถทดสอบได้ด้วยตัวเลขทางสถิติ ดังนั้นเราจึงต้องใช้
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเข้าไปสังเกตพฤติกรรมของผู้หญิงกลุ่มนี้ เช่น ในสถานอาบอบนวดหรือ
สถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ มีการพูดคุยกันชนิดที่เรียกว่า การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth
interview) ถ้าเป็นผู้ชายไปถามเขาอาจไม่ตอบก็ได้ เพราะกลัวเป็นตํารวจมาล่อซื้อเพื่อจะมาจับหรือเปล่า
การศึกษาโดยวิธีนี้ก็เพื่อศึกษาดูว่าเขาให้ความหมายและคุณค่าอะไรกับชีวิต เช่น “พรหมจรรย์” หรือ “เงิน”
หรือ “เกียรติยศและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” เมื่อได้ข้อมูลในระดับหนึ่งที่มากพอสมควรก็ให้นําข้อมูลเหล่านั้น
มาตีความและสร้างข้อสรุปว่า ทําไมผู้หญิงถึงขายบริการหรือเป็นโสเภณี ซึ่งศุลีมาน วงศ์สุภาพ ได้ทําการศึกษา
ในทํานองนี้ในราวปี พ.ศ.2537 เรื่อง “นางงามตู้กระจก : การศึกษากระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย”
พบว่า ความยากจนทําให้ผู้หญิงไทยในชนบทต้องมาเป็นหมอนวดหรือโสเภณี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันคงไม่ใช่
เพราะความยากจนแล้ว น่าจะเป็นเพราะสังคมเราได้กลายเป็นสังคมวัตถุนิยม ซึ่งให้ความสําคัญใน “วัตถุและ
เงินตรา” มากกว่าความถูกต้องดีงามหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของมนุษย์...
ลักษณะที่สําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ มีดังนี้
1. เน้นข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยม
หรืออุดมการณ์ของบุคคล
2. เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ในบริบทสังคมและวัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง
ในภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม มักจะมีการวิจัยในสนาม (field research)
3. เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึกบางเรื่อง บางประเด็น เพื่อให้เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง
ของปรากฏการณ์สังคมที่เกิดขึ้น
4. คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย โดยการเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกวิจัย เพื่อสร้างความสนิทสนม
คุ้นเคยและความไว้เนื้อเชื่อใจ
5. ใช้การพรรณนาให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของชุมชนหรือกรณีที่ศึกษา และใช้การ
วิเคราะห์ตีความ โดยนําข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กรณี มาสรุปเป็นเชิงนามธรรม โดยพิจารณาจาก
ลักษณะร่วมที่พบ
ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
1. การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นเรื่องของการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อย่างน้อย 2 ตัว เพื่อ
ตรวจสอบสมมติฐานที่ได้เจาะจงตั้งเอาไว้ก่อน โดยรองรับด้วยแนวคิดทฤษฎีหรือองค์ความรู้ต่าง ๆ แต่การวิจัย
เชิงคุณภาพจะเป็นเรื่องปรากฏการณ์ทางสังคม เพื่อทําความเข้าใจและอธิบายความหมายปรากฏการณ์
3
ทางสังคม ซึ่งต้องดูเป็นองค์รวม (holistic) เพราะชีวิตคนหรือสังคมมีเรื่องที่เข้ามาเกี่ยวพันธ์กันหลายเรื่อง
ไม่สามารถดูตัวแปร 2 - 3 ตัวได้ การวิจัยเชิงคุณภาพจึงไม่จําเป็นต้องตั้งสมมติฐานหรือมีแนวคิดทฤษฎีรองรับ
เอาไว้ก่อน แต่เป็นการสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎีใหม่ ๆ ตลอดจนข้อเท็จจริงใหม่จากที่เคยรู้มาแต่เดิม
2. การวิจัยเชิงปริมาณ ไม่ให้ความสนใจในบริบทรอบ ๆ ว่าเป็นอย่างไร เพราะสามารถควบคุมตัวแปร
ได้หมด แต่การวิจัยเชิงคุณภาพให้ความสนใจในเรื่องของบริบท (context) ทางสังคมวัฒนธรรม เพราะบริบท
ในแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เช่น ในเมืองกับในชนบท พุทธกับมุสลิม เป็นต้น
3. การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเป็นหลัก ใช้ระยะเวลาศึกษาไม่นาน
ไม่ต้องทําความรู้จักหรือสร้างความคุ้นเคยสนิทสนมก่อน เมื่อตอบแบบสอบถามให้เสร็จเรียบร้อยแล้วผู้วิจัย
ก็จากไปหรือที่เรียกว่า “ตีหัวแล้ววิ่งหนี” ในขณะที่แบบสอบถามอาจมีข้อจํากัด เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลกับ
ผู้ที่ไม่รู้หนังสือหรือมีการศึกษาน้อยเขาจะไม่สามารถตอบแบบสอบถามได้ หรือถ้าแบบสอบถามมีจํานวนมาก
คนก็ไม่อยากตอบแบบสอบถาม แต่การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต
การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การตะล่อมกล่อมเกลา การสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยต้องออกไปสัมผัส
แหล่งข้อมูลด้วยตนเองกับกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของปัญหา ในเบื้องต้นจะต้องสร้างความคุ้นเคยสนิทสนมก่อนและ
ใช้การศึกษาติดตามระยะยาว
4. การวิจัยเชิงปริมาณ ลักษณะข้อมูลที่ได้จะเป็นตัวเลขหรือสถิติ สามารถแจงนับได้ แต่การวิจัยเชิง
คุณภาพ ลักษณะข้อมูลจะเป็นการพรรณนาความเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา สภาพแวดล้อม บริบททางสังคม
วัฒนธรรม รากเหง้าของปัญหา ความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยม
พฤติกรรมหรืออุดมการณ์ของบุคคล
5. การวิจัยเชิงปริมาณ ตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามหรือแบบทดสอบ โดย
ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และนําแบบสอบถามไป
ทดลองใช้ (try out) กับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกันเพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของเครื่องมือที่ใช้ใน
การวัด แต่การวิจัยเชิงคุณภาพไม่จําเป็นต้องตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัย เพราะตัวผู้วิจัยถือเป็นเครื่องมือที่
สําคัญ ทําการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาโดยวิธีการที่เรียกว่า การตรวจสอบแบบสามเส้า (triangulation) ได้แก่
1) การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล โดยพิจารณาแหล่งเวลา แหล่งสถานที่ และแหล่งบุคคลที่แตกต่างกัน
กล่าวคือ ถ้าข้อมูลต่างเวลากันจะเหมือนกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลต่างสถานที่จะเหมือนกันหรือไม่ และถ้าบุคคลผู้ให้
ข้อมูลเปลี่ยนไปข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่ 2) การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย โดยการเปลี่ยนตัวผู้สังเกตหรือ
สัมภาษณ์ และ 3) การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ กัน
เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน เช่น ใช้วิธีสังเกตควบคู่ไปกับการซักถาม
4
6. การวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูงด้วยการป้อนข้อมูลลงใน
เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันมักจะนิยมใช้โปรแกรมสําเร็จรูป เช่น SPSS แต่การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการ
วิเคราะห์โดยการตีความในคําพูด ความรู้สึกหรือความคิดเห็นของคนที่เกี่ยวข้อง โดยโยงไปถึงแนวคิดทฤษฎี
เพื่อให้ความหมายแก่ข้อมูลที่ได้ หลังจากนั้นจึงทําการสร้างข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวขึ้น แต่หากเป็นการศึกษา
เอกสาร (Documentary Research) การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีที่เรียกว่า การวิเคราะห์เนื้อหา (Content
Analysis) ให้เห็นว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร...
7. การวิจัยเชิงปริมาณ นําเสนอข้อมูลด้วยตัวเลขในลักษณะของตารางประการบรรยาย มีความ
กระชับตรงไปตรงมาตามหลักฐานหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนําเสนอข้อมูลโดยการ
พรรณนาความเชิงบอกเล่าในลักษณะของตัวอักษรและรูปภาพของคนในสถานการณ์ที่ศึกษา เสริมด้วยข้อมูล
ซึ่งเป็นคําพูดที่น่าสนใจของให้ข้อมูล นอกจากนี้อาจกล่าวถึงบริบทในสภาพแวดล้อม โดยมีข้อมูลตัวเลข
ประกอบบ้าง เพื่อความน่าเชื่อถือหนักแน่นของการวิจัยก็ได้
อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการวิจัยทั้ง 2 วิธีนี้มีความแตกต่างกัน การวิจัยเชิงคุณภาพ
มีความยืดหยุ่นกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งในเรื่องความเป็นธรรมชาติในวิธีการศึกษา สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
อย่างผสมกลมกลืนกับบริบท ความเป็นองค์รวมของการศึกษาโดยไม่แยกส่วน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และ
จํานวนผู้ให้ข้อมูล แต่ก็มีข้อจํากัดในเรื่องของเวลาและทําได้เฉพาะกรณี ซึ่งไม่สามารถทําการศึกษากับคน
จํานวนมากได้หรือไม่ใช่ตัวแทนของประชากรที่ศึกษาทั้งหมด ดังนั้นข้อค้นพบจึงไม่สามารถนําไปใช้อ้างอิงกับ
กรณีอื่น ๆ ได้ (generalization) หรือได้น้อย อีกทั้งการศึกษาในภาคสนามตัวผู้วิจัยถือเป็นเครื่องมือสําคัญ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยจะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษสําหรับการวิจัยชนิดนี้ จึงมักถูกโจมตีในเรื่อง
อคติส่วนตัวหรือความรู้สึกนึกคิดที่หล่อหลอมมาจากประสบการณ์เดิม ซึ่งอาจส่งผลโน้มเอียงต่อความเที่ยงตรง
และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ดังนั้นการจะเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณหรือการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ผู้วิจัย
จะต้องตระหนักถึงเนื้อหาความรู้ในศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น ๆ รวมถึงลักษณะของเรื่องที่จะทําการวิจัย โจทย์
หรือคําถามการวิจัย วัตถุประสงค์ในการวิจัย ตลอดจนความถนัดหรือความสนใจของผู้วิจัยด้วย
เอกสารอ้างอิง
สุภางค์ จันทวานิช. 2554. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจา ยอดดําเนิน-แอ็ตติกจ์. 2552. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความ และ
การหาความหมาย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ผ่องพรรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. 2553. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
……………………………………………..

More Related Content

What's hot

เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ มเตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ มkrupornpana55
 
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสงประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสงThanyamon Chat.
 
บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1
บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1
บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1Wijitta DevilTeacher
 
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มkkrunuch
 
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์Kittiya GenEnjoy
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดpitsanu duangkartok
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์Aomiko Wipaporn
 
ทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีพัน พัน
 
ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3oraneehussem
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้าdnavaroj
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีืkanya pinyo
 
แบบทดสอบกระดูก
แบบทดสอบกระดูกแบบทดสอบกระดูก
แบบทดสอบกระดูกWichai Likitponrak
 
ติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตBally Achimar
 
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชdnavaroj
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองsukanya petin
 
ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2Weerachat Martluplao
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมAomiko Wipaporn
 

What's hot (20)

เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ มเตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
 
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสงประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1
บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1
บทที่ 20 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ แก้ไขครั้งที่ 1
 
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
 
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
 
การทำงานของเซลล์ประสาท
การทำงานของเซลล์ประสาทการทำงานของเซลล์ประสาท
การทำงานของเซลล์ประสาท
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
 
ทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ทฤษฎีและพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
แบบทดสอบกระดูก
แบบทดสอบกระดูกแบบทดสอบกระดูก
แบบทดสอบกระดูก
 
หน่วย 2
หน่วย 2หน่วย 2
หน่วย 2
 
ติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ติวสบายชีววิทยา (เพิ่มเติม) บทที่ 02 เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
 
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 
ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2
 
แบบทดสอบคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
แบบทดสอบคอมพิวเตอร์  ชุดที่  4แบบทดสอบคอมพิวเตอร์  ชุดที่  4
แบบทดสอบคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
 

Viewers also liked

La nasa dice_que
La nasa dice_queLa nasa dice_que
La nasa dice_quepatycmt
 
Curriculum-vitae
Curriculum-vitaeCurriculum-vitae
Curriculum-vitaeAmit Arora
 
1207 輔大心理
1207 輔大心理1207 輔大心理
1207 輔大心理Jax Huang
 
Equipo5 practicapowerpoint2
Equipo5 practicapowerpoint2Equipo5 practicapowerpoint2
Equipo5 practicapowerpoint2Andrea Balam
 
Tahmid presentaion data_scienc_v2
Tahmid presentaion data_scienc_v2Tahmid presentaion data_scienc_v2
Tahmid presentaion data_scienc_v2Tahmid Abtahi
 
Acessibilidade ibape web
Acessibilidade ibape webAcessibilidade ibape web
Acessibilidade ibape webEng Lopes
 
Region De Cuyo
Region De CuyoRegion De Cuyo
Region De CuyoEEM 22
 
Prova tipo1-integrado 2016-1
Prova tipo1-integrado 2016-1Prova tipo1-integrado 2016-1
Prova tipo1-integrado 2016-1Bruno Araujo Lima
 
แนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิต
แนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิตแนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิต
แนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิตประพันธ์ เวารัมย์
 
คุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประพันธ์ เวารัมย์
 
Phân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoàng
Phân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoàngPhân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoàng
Phân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoànghttps://www.facebook.com/garmentspace
 
เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่
เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่
เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์kidsana pajjaika
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...ประพันธ์ เวารัมย์
 

Viewers also liked (19)

La nasa dice_que
La nasa dice_queLa nasa dice_que
La nasa dice_que
 
55044 311170-2-pb
55044 311170-2-pb55044 311170-2-pb
55044 311170-2-pb
 
Curriculum-vitae
Curriculum-vitaeCurriculum-vitae
Curriculum-vitae
 
1 November 2016
1 November 20161 November 2016
1 November 2016
 
1207 輔大心理
1207 輔大心理1207 輔大心理
1207 輔大心理
 
Equipo5 practicapowerpoint2
Equipo5 practicapowerpoint2Equipo5 practicapowerpoint2
Equipo5 practicapowerpoint2
 
Segun CV 3
Segun CV 3Segun CV 3
Segun CV 3
 
Tahmid presentaion data_scienc_v2
Tahmid presentaion data_scienc_v2Tahmid presentaion data_scienc_v2
Tahmid presentaion data_scienc_v2
 
Acessibilidade ibape web
Acessibilidade ibape webAcessibilidade ibape web
Acessibilidade ibape web
 
Region De Cuyo
Region De CuyoRegion De Cuyo
Region De Cuyo
 
Ekdes 5
Ekdes 5Ekdes 5
Ekdes 5
 
Prova tipo1-integrado 2016-1
Prova tipo1-integrado 2016-1Prova tipo1-integrado 2016-1
Prova tipo1-integrado 2016-1
 
ชุดที่38
ชุดที่38ชุดที่38
ชุดที่38
 
แนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิต
แนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิตแนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิต
แนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัยอาจารย์บัณฑิต
 
คุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คุณวุฒินักวิเคราะห์นโยบายและแผน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
Phân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoàng
Phân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoàngPhân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoàng
Phân tích tình hình tài chính công ty cổ phần chứng khoán phượng hoàng
 
เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่
เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่
เรื่องหารือเกี่ยวกับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่
 
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมการแพทย์
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท...
 

Similar to ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ

Similar to ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ (20)

二十四章经
二十四章经二十四章经
二十四章经
 
Oo
OoOo
Oo
 
44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444
 
งาน
งานงาน
งาน
 
9789740330691
97897403306919789740330691
9789740330691
 
023 qualitative research
023 qualitative research023 qualitative research
023 qualitative research
 
9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comteสัปดาห์ที่ 7 auguste comte
สัปดาห์ที่ 7 auguste comte
 
การวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้นการวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้น
 
123
123123
123
 
123
123123
123
 
9789740335146
97897403351469789740335146
9789740335146
 
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นการสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
 
Mt research
Mt researchMt research
Mt research
 
Presentation 5
Presentation 5Presentation 5
Presentation 5
 
PPT qualitative research kriangkrai
PPT qualitative research kriangkraiPPT qualitative research kriangkrai
PPT qualitative research kriangkrai
 
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษาปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
 
maisooree
maisooreemaisooree
maisooree
 
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
 

More from ประพันธ์ เวารัมย์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นแนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นประพันธ์ เวารัมย์
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประพันธ์ เวารัมย์
 
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนสรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนประพันธ์ เวารัมย์
 
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประพันธ์ เวารัมย์
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...ประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)ประพันธ์ เวารัมย์
 

More from ประพันธ์ เวารัมย์ (20)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นแนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
 
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนสรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
 
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณแนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
 
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อแนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบท้องถิ่นแนวข้อสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบท้องถิ่น
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
 
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
 

ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ

  • 1. ความแตกต่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร สุวรรณ1 การวิจัย คือ การค้นคว้าหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอย่างมีระบบแบบแผน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งในการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์หากแบ่งตามลักษณะของการวิเคราะห์ ข้อมูล สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) โดยปกติเรามักจะคุ้นเคยกับการตอบแบบสอบถามที่มีใครก็ไม่รู้มักจะส่งมา ให้เราตอบอยู่บ่อย ๆ นั่นคือ ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเป้าหมายใหญ่ คือ การศึกษาความรู้ ความคิด พฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นเหตุเป็นผล พิสูจน์และอ้างอิงได้ ซึ่งนําไปใช้อธิบายหรือ ทํานายพฤติกรรมของคนในภาพกว้าง โดยให้ความสําคัญแก่ข้อมูลที่แจงนับหรือวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ ใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลอาจบอกว่าอะไรมากน้อยกว่ากัน อะไรสัมพันธ์ หรือไม่สัมพันธ์กับอะไร อะไรแตกต่างจากอะไร เช่น การศึกษาเรื่องขวัญกําลังใจในการทํางานของข้าราชการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล อาจพบว่า ขวัญกําลังใจในการทํางานของข้าราชการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 แปลความ ได้ว่า ข้าราชการมีขวัญกําลังใจในการทํางานอยู่ในระดับปานกลาง ถ้าจําแนกข้อมูลตามตําแหน่งหน้าที่ พบว่า ตําแหน่งอธิบดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 ตําแหน่งหัวหน้าแผนก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 แปลความหมายได้ว่า มีขวัญกําลังใจในการทํางานอยู่ในระดับปานกลางเหมือนกัน หากดูตัวเลขในเบื้องต้นหัวหน้าแผนกน่าจะมีขวัญ กําลังใจในการทํางานดีกว่าอธิบดี แต่ในการวิจัยนั้นถือว่ายังสรุปไม่ได้ว่ามีขวัญกําลังใจในการทํางานแตกต่างกัน หรือไม่ ต้องทดสอบความหมายหรือที่เรียกว่าความมีนัยสําคัญทางสถิติ (significance) ก่อน โดยปกติงานวิจัย ทางสังคมศาสตร์มักจะตั้งไว้ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป เช่น SPSS เครื่องก็จะคํานวณให้เสร็จว่า significance หรือไม่ ถ้า significance ก็แปลว่า ตําแหน่งหน้าที่แตกต่างกันมีขวัญกําลังใจในการทํางานแตกต่างกันจริง หมายความ ว่า คนที่มีตําแหน่งหน้าที่สูงกว่า (อธิบดี) มีขวัญกําลังใจในการทํางานน้อยกว่าคนที่มีตําแหน่งหน้าที่ต่ํากว่า (หัวหน้าแผนก) เพราะอะไรก็ต้องไปหาสาเหตุโดยการตั้งสมมติฐานและทดสอบต่อไป เช่น เพราะถูก นักการเมืองสั่งย้ายบ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนรัฐบาลหรือใกล้ ๆ เดือนตุลาคม... สําหรับการวิจัยอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นั้น เป็นการ แสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ สนใจข้อมูล ด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยม พฤติกรรมหรืออุดมการณ์ ของบุคคล เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง มักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะ ยาว ไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการ 1 ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน
  • 2. 2 เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากจะศึกษาว่าทําไมผู้หญิงหรือนักศึกษาถึงขายบริการทางเพศ ถ้าเราไปแจกแบบสอบถามสงสัยคงไม่ มีใครตอบให้หรอกว่าทําไมถึงมาขายบริการ ขายมาแล้วกี่ครั้ง ได้เงินกี่บาท เอาเงินไปทําอะไร เสียเวลาทํามา หากินหมด แล้วก็ไม่มีความหมายอะไรมากนัก ไม่สามารถทดสอบได้ด้วยตัวเลขทางสถิติ ดังนั้นเราจึงต้องใช้ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเข้าไปสังเกตพฤติกรรมของผู้หญิงกลุ่มนี้ เช่น ในสถานอาบอบนวดหรือ สถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ มีการพูดคุยกันชนิดที่เรียกว่า การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ถ้าเป็นผู้ชายไปถามเขาอาจไม่ตอบก็ได้ เพราะกลัวเป็นตํารวจมาล่อซื้อเพื่อจะมาจับหรือเปล่า การศึกษาโดยวิธีนี้ก็เพื่อศึกษาดูว่าเขาให้ความหมายและคุณค่าอะไรกับชีวิต เช่น “พรหมจรรย์” หรือ “เงิน” หรือ “เกียรติยศและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” เมื่อได้ข้อมูลในระดับหนึ่งที่มากพอสมควรก็ให้นําข้อมูลเหล่านั้น มาตีความและสร้างข้อสรุปว่า ทําไมผู้หญิงถึงขายบริการหรือเป็นโสเภณี ซึ่งศุลีมาน วงศ์สุภาพ ได้ทําการศึกษา ในทํานองนี้ในราวปี พ.ศ.2537 เรื่อง “นางงามตู้กระจก : การศึกษากระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย” พบว่า ความยากจนทําให้ผู้หญิงไทยในชนบทต้องมาเป็นหมอนวดหรือโสเภณี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันคงไม่ใช่ เพราะความยากจนแล้ว น่าจะเป็นเพราะสังคมเราได้กลายเป็นสังคมวัตถุนิยม ซึ่งให้ความสําคัญใน “วัตถุและ เงินตรา” มากกว่าความถูกต้องดีงามหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของมนุษย์... ลักษณะที่สําคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ มีดังนี้ 1. เน้นข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยม หรืออุดมการณ์ของบุคคล 2. เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ในบริบทสังคมและวัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง ในภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม มักจะมีการวิจัยในสนาม (field research) 3. เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึกบางเรื่อง บางประเด็น เพื่อให้เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง ของปรากฏการณ์สังคมที่เกิดขึ้น 4. คํานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย โดยการเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกวิจัย เพื่อสร้างความสนิทสนม คุ้นเคยและความไว้เนื้อเชื่อใจ 5. ใช้การพรรณนาให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของชุมชนหรือกรณีที่ศึกษา และใช้การ วิเคราะห์ตีความ โดยนําข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กรณี มาสรุปเป็นเชิงนามธรรม โดยพิจารณาจาก ลักษณะร่วมที่พบ ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นเรื่องของการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อย่างน้อย 2 ตัว เพื่อ ตรวจสอบสมมติฐานที่ได้เจาะจงตั้งเอาไว้ก่อน โดยรองรับด้วยแนวคิดทฤษฎีหรือองค์ความรู้ต่าง ๆ แต่การวิจัย เชิงคุณภาพจะเป็นเรื่องปรากฏการณ์ทางสังคม เพื่อทําความเข้าใจและอธิบายความหมายปรากฏการณ์
  • 3. 3 ทางสังคม ซึ่งต้องดูเป็นองค์รวม (holistic) เพราะชีวิตคนหรือสังคมมีเรื่องที่เข้ามาเกี่ยวพันธ์กันหลายเรื่อง ไม่สามารถดูตัวแปร 2 - 3 ตัวได้ การวิจัยเชิงคุณภาพจึงไม่จําเป็นต้องตั้งสมมติฐานหรือมีแนวคิดทฤษฎีรองรับ เอาไว้ก่อน แต่เป็นการสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎีใหม่ ๆ ตลอดจนข้อเท็จจริงใหม่จากที่เคยรู้มาแต่เดิม 2. การวิจัยเชิงปริมาณ ไม่ให้ความสนใจในบริบทรอบ ๆ ว่าเป็นอย่างไร เพราะสามารถควบคุมตัวแปร ได้หมด แต่การวิจัยเชิงคุณภาพให้ความสนใจในเรื่องของบริบท (context) ทางสังคมวัฒนธรรม เพราะบริบท ในแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เช่น ในเมืองกับในชนบท พุทธกับมุสลิม เป็นต้น 3. การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเป็นหลัก ใช้ระยะเวลาศึกษาไม่นาน ไม่ต้องทําความรู้จักหรือสร้างความคุ้นเคยสนิทสนมก่อน เมื่อตอบแบบสอบถามให้เสร็จเรียบร้อยแล้วผู้วิจัย ก็จากไปหรือที่เรียกว่า “ตีหัวแล้ววิ่งหนี” ในขณะที่แบบสอบถามอาจมีข้อจํากัด เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลกับ ผู้ที่ไม่รู้หนังสือหรือมีการศึกษาน้อยเขาจะไม่สามารถตอบแบบสอบถามได้ หรือถ้าแบบสอบถามมีจํานวนมาก คนก็ไม่อยากตอบแบบสอบถาม แต่การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การตะล่อมกล่อมเกลา การสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยต้องออกไปสัมผัส แหล่งข้อมูลด้วยตนเองกับกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของปัญหา ในเบื้องต้นจะต้องสร้างความคุ้นเคยสนิทสนมก่อนและ ใช้การศึกษาติดตามระยะยาว 4. การวิจัยเชิงปริมาณ ลักษณะข้อมูลที่ได้จะเป็นตัวเลขหรือสถิติ สามารถแจงนับได้ แต่การวิจัยเชิง คุณภาพ ลักษณะข้อมูลจะเป็นการพรรณนาความเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา สภาพแวดล้อม บริบททางสังคม วัฒนธรรม รากเหง้าของปัญหา ความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยม พฤติกรรมหรืออุดมการณ์ของบุคคล 5. การวิจัยเชิงปริมาณ ตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามหรือแบบทดสอบ โดย ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และนําแบบสอบถามไป ทดลองใช้ (try out) กับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกันเพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของเครื่องมือที่ใช้ใน การวัด แต่การวิจัยเชิงคุณภาพไม่จําเป็นต้องตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัย เพราะตัวผู้วิจัยถือเป็นเครื่องมือที่ สําคัญ ทําการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาโดยวิธีการที่เรียกว่า การตรวจสอบแบบสามเส้า (triangulation) ได้แก่ 1) การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล โดยพิจารณาแหล่งเวลา แหล่งสถานที่ และแหล่งบุคคลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าข้อมูลต่างเวลากันจะเหมือนกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลต่างสถานที่จะเหมือนกันหรือไม่ และถ้าบุคคลผู้ให้ ข้อมูลเปลี่ยนไปข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่ 2) การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย โดยการเปลี่ยนตัวผู้สังเกตหรือ สัมภาษณ์ และ 3) การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ กัน เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน เช่น ใช้วิธีสังเกตควบคู่ไปกับการซักถาม
  • 4. 4 6. การวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูงด้วยการป้อนข้อมูลลงใน เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันมักจะนิยมใช้โปรแกรมสําเร็จรูป เช่น SPSS แต่การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการ วิเคราะห์โดยการตีความในคําพูด ความรู้สึกหรือความคิดเห็นของคนที่เกี่ยวข้อง โดยโยงไปถึงแนวคิดทฤษฎี เพื่อให้ความหมายแก่ข้อมูลที่ได้ หลังจากนั้นจึงทําการสร้างข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวขึ้น แต่หากเป็นการศึกษา เอกสาร (Documentary Research) การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีที่เรียกว่า การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ให้เห็นว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร... 7. การวิจัยเชิงปริมาณ นําเสนอข้อมูลด้วยตัวเลขในลักษณะของตารางประการบรรยาย มีความ กระชับตรงไปตรงมาตามหลักฐานหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนําเสนอข้อมูลโดยการ พรรณนาความเชิงบอกเล่าในลักษณะของตัวอักษรและรูปภาพของคนในสถานการณ์ที่ศึกษา เสริมด้วยข้อมูล ซึ่งเป็นคําพูดที่น่าสนใจของให้ข้อมูล นอกจากนี้อาจกล่าวถึงบริบทในสภาพแวดล้อม โดยมีข้อมูลตัวเลข ประกอบบ้าง เพื่อความน่าเชื่อถือหนักแน่นของการวิจัยก็ได้ อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการวิจัยทั้ง 2 วิธีนี้มีความแตกต่างกัน การวิจัยเชิงคุณภาพ มีความยืดหยุ่นกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งในเรื่องความเป็นธรรมชาติในวิธีการศึกษา สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างผสมกลมกลืนกับบริบท ความเป็นองค์รวมของการศึกษาโดยไม่แยกส่วน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และ จํานวนผู้ให้ข้อมูล แต่ก็มีข้อจํากัดในเรื่องของเวลาและทําได้เฉพาะกรณี ซึ่งไม่สามารถทําการศึกษากับคน จํานวนมากได้หรือไม่ใช่ตัวแทนของประชากรที่ศึกษาทั้งหมด ดังนั้นข้อค้นพบจึงไม่สามารถนําไปใช้อ้างอิงกับ กรณีอื่น ๆ ได้ (generalization) หรือได้น้อย อีกทั้งการศึกษาในภาคสนามตัวผู้วิจัยถือเป็นเครื่องมือสําคัญ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยจะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษสําหรับการวิจัยชนิดนี้ จึงมักถูกโจมตีในเรื่อง อคติส่วนตัวหรือความรู้สึกนึกคิดที่หล่อหลอมมาจากประสบการณ์เดิม ซึ่งอาจส่งผลโน้มเอียงต่อความเที่ยงตรง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ดังนั้นการจะเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณหรือการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ผู้วิจัย จะต้องตระหนักถึงเนื้อหาความรู้ในศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น ๆ รวมถึงลักษณะของเรื่องที่จะทําการวิจัย โจทย์ หรือคําถามการวิจัย วัตถุประสงค์ในการวิจัย ตลอดจนความถนัดหรือความสนใจของผู้วิจัยด้วย เอกสารอ้างอิง สุภางค์ จันทวานิช. 2554. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เบญจา ยอดดําเนิน-แอ็ตติกจ์. 2552. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความ และ การหาความหมาย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ผ่องพรรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. 2553. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ……………………………………………..