SlideShare a Scribd company logo
อ้อย
ภาพที่ 26.1 อ้อย
ชื่อสามัญ อ้อย (sugarcane)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum officinarum L.
ดัชนีเก็บเกี่ยว
(Harvesting index)
ดัชนีเก็บเกี่ยวอ้อย (อ้อยโรงงาน) พิจารณาดังนี้
1) อายุของต้นอ้อยไม่น้อยกว่า 10-14 เดือนหลังปลูก สังเกต
จากยอดอ้อยมีข้อถี่กว่าปกติ
2) น้ำอ้อยมีความหวานไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยเจาะ
วัดน้ำอ้อยจากส่วนโคนและปลายลำอ้อยแตกต่างกันไม่เกิน 2
เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำอ้อยมีความหวานมากกว่า 10 C.C.S.
(commercial cane sugar) ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาล
ซูโครส (น้ำตาลทราย) ที่ผลิตได้จากอ้อยจำนวนหนึ่ง
3) สังเกตการออกดอก สำหรับพันธุ์ที่ออกดอก เมื่อดอกโรย
ก้านช่อดอกเป็นสีฟางข้าว แสดงว่าเก็บเกี่ยวได้ ส่วนพันธุ์ที่ไม่
ออกดอก เมื่อแก่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยว สังเกตจากการ
เจริญเติบโตเป็นไปอย่างช้ามาก ใบเป็นกระจุกที่ยอด เมื่อใกล้
ค่ำได้กลิ่นหอมอ่อนๆ เหมือนน้ำผึ้ง
(สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553; กรม
ส่งเสริมการเกษตร, 2551; สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย,
2563)
ดัชนีคุณภาพ
(Quality index)
อ้อยใช้สำหรับในอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล ดัชนีคุณภาพหลัก
คือ ความหวาน ซึ่งต้องมีความหวานมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
- ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ ในทางปฏิบัติทั่วไปกำหนดให้มีสิ่งปลอมปนได้ไม่เกิน 7-10
เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักอ้อย เมื่อตรวจสอบขณะเทลำอ้อยลงจาก
ยานพาหนะ และเมื่อหีบน้ำอ้อยแล้ว ไม่ควรพบดินหรือทรายเกิน
3 เปอร์เซนต์ ในตัวอย่างน้ำอ้อยที่ตรวจสอบ (สำนักมาตรฐาน
สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553)
- การจัดชั้นคุณภาพ ไม่มีการรายงาน
การเก็บเกี่ยวและกระบวนการ
จัดการหลังการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว
ต้องไม่เผาใบอ้อย เนื่องจากทำให้คุณภาพของอ้อยโรงงานลดลง
วิธีเก็บเกี่ยวมีการปฏิบัติ 2 วิธี ได้แก่
1) แรงงานคน โดยใช้มีดถากใบและกาบใบออกทั้งสองด้าน เพื่อ
ลดจำนวนใบปะปนไปกับรถขนส่ง ควรตัดโคนต้นอ้อยให้ชิด
ดิน เนื่องจากส่วนโคนลำอ้อยมีการสะสมน้ำตาลซูโครสมาก
ที่สุด (อรรถสิทธิ์, 2547) และตัดยอดต้นอ้อยให้ต่ำกว่าจุดคอ
ใบประมาณ 25-30 เซนติเมตร สำหรับต้นอ้อยที่ยังไม่ออก
ดอก และตัดต่ำกว่าใบธงประมาณ 100-150 เซนติเมตร
สำหรับต้นอ้อยที่ออกดอกแล้ว ใช้ยอดอ้อยมัดโคนและปลาย
ลำวางเรียงในแปลงเพื่อรอขนย้าย (ภาพที่ 26.2ก)
เก็บเกี่ยว
มัด/รวบรวมอ้อย
แรงงานคน เครื่องจักร
แยกเศษใบออก
โรงงานน้ำตาล
ขนส่ง
ตรวจสอบคุณภาพ
2) เครื่องจักร โดยใช้เครื่องชนิดตัดเป็นท่อน (ภาพที่ 26.2ข) ตั้ง
ใบมีดล่างให้ชิดดิน และใบมีดบนให้ต่ำกว่าจุดคอใบประมาณ
25-30 เซนติเมตร ผ่านพัดลมเพื่อเป่าให้เศษใบอ้อยออก แล้ว
ขนส่งไปโรงงาน
(สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553)
(ก) (ข)
ภาพที่ 26.2 การเก็บเกี่ยวอ้อยโดยใช้แรงงานคน (ก)
และการใช้เครื่องจักร (ข)
ที่มา: ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (2564)
กระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
เมื่อเก็บเกี่ยวอ้อยแล้วต้องขนส่งไปยังโรงงานน้ำตาลอย่างช้าไม่
เกิน 3 วัน เพื่อใหได้คุณภาพและน้ำหนักอ้อยที่ดี โดยหากใช้
แรงงานคนเก็บเกี่ยวต้องส่งเข้าโรงงานภายใน 1-2 วัน ส่วนการใช้
เครื่องจักรเก็บเกี่ยวต้องส่งเข้าโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับ
ยานพาหนะที่ใช้บรรทุกอ้อยต้องสะอาด และเหมาะสมกับ
ปริมาณอ้อย ระมัดระวังไม่ให้มีสิ่งปลอมปน เช่น ดิน หิน หรือ
วัตถุอื่นๆ รวมทั้งส่วนของต้นอ้อยที่ไม่ต้องการติดไปกับลำอ้อย
(สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553; กรม
ส่งเสริมการเกษตร, 2551) ซึ่งการศึกษาทดลองใช้เครื่องแยกดิน
ทรายออกจากลำอ้อยด้วยตะแกรงฐานเรียบร่วมกับลูกกลิ้ง
สามารถคัดแยกดินทรายออกได้ไม่ต่ำกว่า 82.9 เปอร์เซ็นต์
(สุพรรณ และเสรี, 2550)
ข้อกำหนดในการจัดเรียงและ
บรรจุภัณฑ์
ระบบการส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยใช้รถบรรทุก
สิบล้อเป็นหลัก (อรรถสิทธิ์, 2547) เกษตรกรต้องเตรียม
รถบรรทุกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ตรวจสอบสภาพตาข่ายที่
ต่อจากรถบรรทุกให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่หลุด ข้อกำหนดของ
รถบรรทุกสิบล้อที่ขนอ้อยเข้าโรงงานต้องมีความสูงไม่เกิน 3.2
เมตร จากพื้นดิน และมีความยาวที่ยื่นออกไปท้ายกระบะไม่เกิน
1.5 เมตร (กิตติ, 2551) (ภาพที่ 26.3)
ภาพที่ 26.3 ลักษณะการบรรทุกอ้อยด้วยรถบรรทุกสิบล้อ
ที่มา: ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (2564)
เทคโนโลยีการลดอุณหภูมิ
ผลิตผลที่เหมาะสม
(Precooling technology)
การใช้เทคโนโลยีการลดอุณหภูมิผลิตผลอ้อยตัดแต่งสดเพื่อการ
บริโภคโดย การลดอุณหภูมิด้วยอากาศเย็น (air cooling หรือ
room cooling) ด้วยการนำไปแช่ตู้เย็นหรือห้องเย็นที่อุณหภูมิ 0-4
องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 คืน (Robert and Chao, 2015)
การเก็บรักษา อ้อยสำหรับส่งโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยในทางปฏิบัติไม่มี
การเก็บรักษา เนื่องจากโรงงานน้ำตาลเปิดรับหีบอ้อยในช่วง
ระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดเท่านั้น เกษตรกรจึงรีบตัดอ้อยส่งโรงงาน
ให้เสร็จสิ้นตามระบบคิวที่ได้ ก่อนโรงงานปิดรับหีบอ้อย ซึ่ง
เกษตรกรต้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกกลุ่มชาวไร่อ้อย (สำนัก
บริหารอ้อยและน้ำตาลทราย, 2563) และมีการศึกษาทดลอง
เก็บรักษาอ้อยลำในร่มอาคารที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็น
เวลา 7 วัน ทำให้ปริมาณน้ำอ้อยคั้นลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ โดย
น้ำหนักผลิตผลลดลงเฉลี่ยวันละ 1 เปอร์เซ็นต์ และคุณภาพ
น้ำอ้อยต่ำลง (ธงชัย และคณะ, 2541) การเก็บรักษาอ้อยลำที่
อุณหภูมิประมาณ 23-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-
75 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15 วัน อ้อยมีการสูญเสียน้ำหนักและมี
ปริมาณซูโครสลดลง รวมถึงมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงขึ้น
มากกว่าเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Lontom et al.,
2009) และหากต้องการเก็บรักษาอ้อยสามารถทำได้ ดังนี้
1) การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ร่วมกับอุณหภูมิต่ำ การเก็บรักษา
อ้อยตัดท่อนปอกเปลือกสำหรับบริโภคสดในถุงสุญญากาศที่
อุณหภูมิ 0-2 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 3
สัปดาห์ (Robert and Chao, 2015)
2) การใช้สภาพควบคุมบรรยากาศ (Controlled Atmosphere;
CA) โดยบรรจุอ้อยท่อนในถุงพอลีโพรพีลีน ควบคุมให้มีอัตรา
การหมุนเวียนของแก๊สไนโตรเจน 2 มิลลิลิตรต่อวินาที และ
ปริมาณแก๊สออกซิเจน 10-20 กิโลปาสคาล แล้วนำไปเก็บ
รักษาที่อุณหภูมิ 10±1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95
เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาอ้อยได้นาน 10 วัน (Frateschi
et al., 2013)
- ความชื้นสัมพัทธ์ที่
เหมาะสม
ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอ้อยคือ 95
เปอร์เซ็นต์ (Frateschi et al., 2013)
- อุณหภูมิที่เหมาะสม อุณหภูมิที่เหมาะสมการเก็บรักษาอ้อยตัดท่อนปอกเปลือก
สำหรับบริโภคสดคือ 0-2 องศาเซลเซียส (Robert and Chao,
2015) และสำหรับอ้อยไม่ปอกเปลือกคือ 10±1 องศาเซลเซียส
(Frateschi et al., 2013)
- อัตราการหายใจ อ้อยที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีอัตราการหายใจ
ประมาณ 5-22 มิลลิลิตรคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลกรัมต่อ
ชั่วโมง (Roderick, 1957) ส่วนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2, 10 และ
20 องศาเซลเซียส อ้อยมีอัตราการหายใจเท่ากับ 8, 10 และ 41
ไมโครกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง ตามลำดับ
(Robert and Huang, 2015)
- การผลิตเอทิลีน ไม่มีการรายงาน
- การตอบสนองต่อ
เอทิลีน
ไม่มีการรายงาน
ความเสียหาย ความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวของอ้อยพบไม่มาก เนื่องจากไม่มี
การเก็บรักษาอ้อยไว้เป็นระยะเวลานาน หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ
เกษตรกรต้องขนส่งไปยังโรงงานทันที และความเสียหายที่เกิดขึ้น
โดยมากมาจากในระยะแปลงปลูกแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อเนื่องไปถึงหลังการเก็บเกี่ยว
- ความเสียหายทางกล อ้อยเป็นพืชที่มีเปลือกแข็งสามารถป้องกันการช้ำหรือการเกิด
บาดแผลได้ดี จึงไม่พบความเสียหายทางกล
- ความเสียหายจากโรค ความเสียหายจากโรคที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกและส่งผลกระทบต่อ
คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของอ้อย ได้แก่
1) โรคเหี่ยวเน่าแดง (Red rot wilt diseases) เชื้อราสาเหตุ
Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum
ลักษณะอาการ พบในระยะอ้อยย่างปล้องและระยะอ้อยแก่
เริ่มแรกยอดเหลือง ต่อมายอดแห้ง เนื้อในลำอ้อยเน่าสีแดง
หรือสีน้ำตาลม่วง เมื่ออาการเน่ารุนแรงเนื้ออ้อยเน่ายุบเป็น
โพรง เส้นใยเชื้อราสีเทาอ่อนเจริญฟูอยู่ภายในปล้อง มีกลุ่ม
สปอร์เป็นเม็ดสีส้ม และทำให้ต้นอ้อยตายในที่สุด อ้อยที่เริ่ม
ปลูกใหม่แสดงอาการในเดือนที่ 6-7 ส่งผลให้ผลผลิตลดลง
50-100 เปอร์เซ็นต์ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551; วันทนีย์,
2547; ธวัช, 2559)
2) โรคเน่ากลิ่นสับปะรด (pineapple disease) เชื้อราสาเหตุ
Thielaviopsis paradoxa หรือ Ceratocystis paradoxa
ลักษณะอาการ เชื้อเข้าทำลายท่อนพันธุ์ทางปลายตัดท่อน
พันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์เน่าเป็นสีแดง กลิ่นคล้ายสับปะรดสุก
ต่อมาเนื้ออ้อยเน่าแห้งยุบตัวเป็นโพรง เห็นส่วนท่อน้ำท่อ
อาหารเป็นเส้นๆ ปกคลุมด้วยสปอร์สีดำของเชื้อรา และเชื้อ
เข้าทำลายลำอ้อยในระยะอ้อยแก่ได้ หากเกิดแผล เช่น หนูกัด
หนอนเจาะลำต้น หรือรอยแตกของลำ เป็นต้น (ธวัช, 2559;
วันทนีย์, 2546)
- ความเสียหายจากแมลง แมลงศัตรูอ้อยมีหลายชนิดที่เข้าทำลายในระยะแปลงปลูกทำให้
ต้นอ้อยชะงักการเจริญเติบโต แต่แมลงศัตรูสำคัญที่สร้างความ
เสียหายหลังการเก็บเกี่ยว คือ หนอนกอลายจุดใหญ่ หรือ
หนอนเจาะลำต้นอ้อย (stem borer)
ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาลเข้ม
วางไข่เป็นกลุ่มคล้ายเกล็ดปลา ตัวหนอนสีขาวนวลมีลายที่
ด้านข้างและบนลำตัว มีจุดกลมขนาดเท่าหัวเข็มหมุดหลังลำตัว
หนอนเจาะทำลายลำต้นเหลือแต่เปลือก โดยเข้าทำลายอ้อย
ระยะย่างปล้องและระยะเก็บเกี่ยว (กรมส่งเสริมการเกษตร,
2551; ณัฐกฤต, 2547)
- ความเสียหายจากสัตว์ หนูเป็นสัตว์ศัตรูอ้อยที่เข้าทำลายตั้งแต่ต้นอ้อยอายุ 7 เดือน ไป
จนถึงระยะเก็บเกี่ยวอ้อย โดยกัดแทะต้นอ้อยเป็นรอยแหว่ง และ
บาดแผลนั้นเป็นช่องทางทำให้เชื้อราสาเหตุโรคอ้อยเข้าทำลาย
เกิดความเสียหายมากขึ้น (ธวัช, 2559)
อาการผิดปกติทางสรีรวิทยา
หลังการเก็บเกี่ยว
เมื่อเก็บรักษาอ้อยที่อุณหภูมิต่ำเป็นเวลานานเกิดอาการผิดปกติ
ทางสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว ดังนี้
- Internal disorder ไม่มีการรายงาน
- External disorder การเก็บรักษาอ้อยตัดท่อนปอกเปลือกสำหรับบริโภคสด ที่
อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-10 วัน ส่งผลทำให้อ้อย
ตัดท่อนปอกเปลือกแล้ว เกิดรอยสีแดงโดยรอบบริเวณข้อปล้อง
ของอ้อย (Robert and Chao, 2015) (ภาพที่ 26.4)
ภาพที่ 26.4 รอยสีแดงที่เกิดบริเวณข้อปล้องของอ้อย
ที่มา: Robert and Chao (2015)
เอกสารอ้างอิง
กิตติ ชุณหวงศ์. 2551. การตัดและการขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน. หน้า 145-153. ใน พูลประเสริฐ ปิยะอนันต์
และอุดม พูลเกษ. 2551. คู่มือการจัดการผลิตอ้อยในไร่ที่มีประสิทธิภาพครบวงจร. โครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปลูกอ้อยครบ
วงจร. 193 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku.ac.th/
ebook27/ebook/2011-002-0353/#p=1 (16 สิงหาคม 2564).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2551. คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อ้อย. กรมส่งเสริมการเกษตร,
กรุงเทพฯ. 38 หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://www.agriman.doae.go.th/home/
t.n/t.n1/2filcrop_Requirement/05_Sugarcane.pdf (11 สิงหาคม 2564).
ณัฐกฤต พิทักษ์. 2547. แมลงศัตรูอ้อยและการป้องกันกำจัด. หน้า 57-118. ใน เอกสารวิชาการอ้อย.
กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 147 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook.
lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/2011-004-0051/ (16 สิงหาคม 2564).
ธงชัย ตั้งเปรมศรี, วันทนา ตั้งเปรมศรี และเฉลิมพล ไหลรุ่งเรือง. 2541. ระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีผล
ต่อคุณภาพน้ำอ้อยของอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 297 หน้า. [ระบบออนไลน์].
แหล่งข้อมูล https://kukr.lib.ku.ac.th/proceedings/KUCON2/search_detail/result/6537 (13
สิงหาคม 2564).
ธวัช หะหมาน. 2559. คู่มือการวินิจฉัยโรคอ้อย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและ
น้ำตาลทราย. 143 หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://www.ocsb.go.th/upload/journal/
fileupload/144-2275.pdf (13 สิงหาคม 2564).
วันทนีย์ อู่วาณิชย์. 2546. การจัดการโรคอ้อย. หน้า 5-32. ใน การจัดการศัตรูอ้อย. สำนักวิจัย
พัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 103 หน้า. ใน โครงการหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์].
แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/20130028/#p=1 (16 สิงหาคม 2564).
วันทนีย์ อู่วาณิชย์. 2547. โรคอ้อยและการป้องกันกำจัด. หน้า 43-53. ใน เอกสารวิชาการอ้อย. กรม
วิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 147 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิม
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku.
ac.th/ebook27/ebook/2011-004-0051/ (16 สิงหาคม 2564).
สุพรรณ ยั่งยืน และเสรี วงศ์พิเชษฐ. 2550. การศึกษาและพัฒนาเครื่องแยกดินทรายออกจากลำอ้อย.
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 38(5)(พิเศษ): 263-266.
สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย.2563. คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลตรวจสอบการปฏิบัติงาน
ณ หน่วยโรงงานน้ำตาลทรายและคลังสินค้า. สำนักคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 43
หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ocsmonline.com/novasoft/Download/การปฏิบัติ
หน้าที่และการปฏิบัติงาน.pdf (16 สิงหาคม 2564).
สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อย
โรงงาน (มกษ.5902-2553). สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 25
หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://www.acfs.go.th/files/files/commodity-standard/
20190608162802_496407.pdf (11 สิงหาคม 2564).
อรรถสิทธิ์ บุญธรรม. 2547. วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว. หน้า 123-133. ใน เอกสารวิชาการ
อ้อย. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 147 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้าน
การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล
https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/2011-004-0051/ (16 สิงหาคม 2564).
Frateschi, C. S., J. F. Durigana, M. O. Marques, E.T.D. Hojo, L. O. Santos, L. C. Cunha Júnior,
G. H. de Almeida Teixeira. 2013. Storage of sugarcane stalks (Saccharum officinarum cv.
SP 79-1011) in low oxygen atmospheres and the effects on enzymatic browning. Postharvest
Biology and Technology 86: 154–158.
Lontom, W., M. Kosittrakun, P. Weerathaworn, P. Wangsomnuk and Y.J. Zhu. 2009. Impact of
storage temperature and duration on sucrose catabolism in harvested sugarcane stalks.
Sugar Tech 11(2): 146-153.
Robert, E. P. and C. C. Huang. 2015. Sugarcane Pieces: Postharvest Quality-Maintenance Guidelines.
Vegetable and Root Crops (4): 1-3.
Roderick, L. B. 1957. The respiration of harvested sugarcane. P 315-328. In The physiology of
sugarcane. [Online]. Available https://www.publish.csiro.au/bi/pdf/bi9580315 (16 August
2021).
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย

More Related Content

What's hot

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบnokbiology
 
ลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรมลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรมrdschool
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์yuyjanpen
 
DENGUE
DENGUE DENGUE
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)
Thitaree Samphao
 
พื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตรพื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตร
amnesiacbend
 
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Sombom
 
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
เอเดียน คุณาสิทธิ์
 
การเขียนสูตรโครงสร้าง
การเขียนสูตรโครงสร้างการเขียนสูตรโครงสร้าง
การเขียนสูตรโครงสร้างMaruko Supertinger
 
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมวิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมkrusuparat01
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน Excel
เอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน Excelเอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน Excel
เอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน ExcelLerdrit Dangrathok
 
แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1
แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1
แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1
KruKaiNui
 
การแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาJintana Kujapan
 
การวัดการกระจาย
การวัดการกระจายการวัดการกระจาย
การวัดการกระจาย
Cholticha Boonliang
 
แบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า
แบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้าแบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า
แบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า
Ku'kab Ratthakiat
 
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2
ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน110.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
Wichai Likitponrak
 

What's hot (20)

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
 
ลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรมลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรม
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
 
DENGUE
DENGUE DENGUE
DENGUE
 
ลำต้น54
ลำต้น54ลำต้น54
ลำต้น54
 
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)
 
2 2
2 22 2
2 2
 
กฎบัตร
กฎบัตรกฎบัตร
กฎบัตร
 
พื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตรพื้นที่ผิวและปริมาตร
พื้นที่ผิวและปริมาตร
 
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
 
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
 
การเขียนสูตรโครงสร้าง
การเขียนสูตรโครงสร้างการเขียนสูตรโครงสร้าง
การเขียนสูตรโครงสร้าง
 
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมวิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน Excel
เอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน Excelเอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน Excel
เอกสารประกอบการเรียนวิชา การใช้โปรแกรมคำนวน Excel
 
แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1
แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1
แผ่นพับโครงงานคณิตศาสตร์ 1
 
การแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหา
 
การวัดการกระจาย
การวัดการกระจายการวัดการกระจาย
การวัดการกระจาย
 
แบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า
แบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้าแบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า
แบบฝึกเสริมทักษะการบัญชีเรื่องรายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า
 
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2
แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน2
 
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน110.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
 

More from Postharvest Technology Innovation Center

Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567
Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567
Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567
Postharvest Technology Innovation Center
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อนข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อน
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด
Postharvest Technology Innovation Center
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลี
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้า
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้าข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้า
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้า
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลี
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อนข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบ
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อ
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโดข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโด
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รี
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกร
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกรข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกร
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกร
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอ
Postharvest Technology Innovation Center
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับ
Postharvest Technology Innovation Center
 

More from Postharvest Technology Innovation Center (20)

Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567
Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567
Postharvest Newsletter ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2567
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2566
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อนข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลส้มเปลือกล่อน
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพด
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
Postharvest Newsletter ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2566
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบรอกโคลี
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้า
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้าข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้า
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวคะน้า
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลี
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อนข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อน
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมใบ
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมห่อ
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโดข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโด
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโด
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รีข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รี
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสตรอว์เบอร์รี
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกร
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกรข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกร
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกร
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลมะละกอ
 
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับ
ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลพลับ
 

ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย

  • 1.
  • 2. อ้อย ภาพที่ 26.1 อ้อย ชื่อสามัญ อ้อย (sugarcane) ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum officinarum L. ดัชนีเก็บเกี่ยว (Harvesting index) ดัชนีเก็บเกี่ยวอ้อย (อ้อยโรงงาน) พิจารณาดังนี้ 1) อายุของต้นอ้อยไม่น้อยกว่า 10-14 เดือนหลังปลูก สังเกต จากยอดอ้อยมีข้อถี่กว่าปกติ 2) น้ำอ้อยมีความหวานไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ โดยเจาะ วัดน้ำอ้อยจากส่วนโคนและปลายลำอ้อยแตกต่างกันไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำอ้อยมีความหวานมากกว่า 10 C.C.S. (commercial cane sugar) ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาล ซูโครส (น้ำตาลทราย) ที่ผลิตได้จากอ้อยจำนวนหนึ่ง 3) สังเกตการออกดอก สำหรับพันธุ์ที่ออกดอก เมื่อดอกโรย ก้านช่อดอกเป็นสีฟางข้าว แสดงว่าเก็บเกี่ยวได้ ส่วนพันธุ์ที่ไม่ ออกดอก เมื่อแก่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยว สังเกตจากการ เจริญเติบโตเป็นไปอย่างช้ามาก ใบเป็นกระจุกที่ยอด เมื่อใกล้ ค่ำได้กลิ่นหอมอ่อนๆ เหมือนน้ำผึ้ง (สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553; กรม ส่งเสริมการเกษตร, 2551; สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย, 2563)
  • 3. ดัชนีคุณภาพ (Quality index) อ้อยใช้สำหรับในอุตสาหกรรมโรงงานน้ำตาล ดัชนีคุณภาพหลัก คือ ความหวาน ซึ่งต้องมีความหวานมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ - ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ ในทางปฏิบัติทั่วไปกำหนดให้มีสิ่งปลอมปนได้ไม่เกิน 7-10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักอ้อย เมื่อตรวจสอบขณะเทลำอ้อยลงจาก ยานพาหนะ และเมื่อหีบน้ำอ้อยแล้ว ไม่ควรพบดินหรือทรายเกิน 3 เปอร์เซนต์ ในตัวอย่างน้ำอ้อยที่ตรวจสอบ (สำนักมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553) - การจัดชั้นคุณภาพ ไม่มีการรายงาน การเก็บเกี่ยวและกระบวนการ จัดการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว ต้องไม่เผาใบอ้อย เนื่องจากทำให้คุณภาพของอ้อยโรงงานลดลง วิธีเก็บเกี่ยวมีการปฏิบัติ 2 วิธี ได้แก่ 1) แรงงานคน โดยใช้มีดถากใบและกาบใบออกทั้งสองด้าน เพื่อ ลดจำนวนใบปะปนไปกับรถขนส่ง ควรตัดโคนต้นอ้อยให้ชิด ดิน เนื่องจากส่วนโคนลำอ้อยมีการสะสมน้ำตาลซูโครสมาก ที่สุด (อรรถสิทธิ์, 2547) และตัดยอดต้นอ้อยให้ต่ำกว่าจุดคอ ใบประมาณ 25-30 เซนติเมตร สำหรับต้นอ้อยที่ยังไม่ออก ดอก และตัดต่ำกว่าใบธงประมาณ 100-150 เซนติเมตร สำหรับต้นอ้อยที่ออกดอกแล้ว ใช้ยอดอ้อยมัดโคนและปลาย ลำวางเรียงในแปลงเพื่อรอขนย้าย (ภาพที่ 26.2ก) เก็บเกี่ยว มัด/รวบรวมอ้อย แรงงานคน เครื่องจักร แยกเศษใบออก โรงงานน้ำตาล ขนส่ง ตรวจสอบคุณภาพ
  • 4. 2) เครื่องจักร โดยใช้เครื่องชนิดตัดเป็นท่อน (ภาพที่ 26.2ข) ตั้ง ใบมีดล่างให้ชิดดิน และใบมีดบนให้ต่ำกว่าจุดคอใบประมาณ 25-30 เซนติเมตร ผ่านพัดลมเพื่อเป่าให้เศษใบอ้อยออก แล้ว ขนส่งไปโรงงาน (สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553) (ก) (ข) ภาพที่ 26.2 การเก็บเกี่ยวอ้อยโดยใช้แรงงานคน (ก) และการใช้เครื่องจักร (ข) ที่มา: ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (2564) กระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยวอ้อยแล้วต้องขนส่งไปยังโรงงานน้ำตาลอย่างช้าไม่ เกิน 3 วัน เพื่อใหได้คุณภาพและน้ำหนักอ้อยที่ดี โดยหากใช้ แรงงานคนเก็บเกี่ยวต้องส่งเข้าโรงงานภายใน 1-2 วัน ส่วนการใช้ เครื่องจักรเก็บเกี่ยวต้องส่งเข้าโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับ ยานพาหนะที่ใช้บรรทุกอ้อยต้องสะอาด และเหมาะสมกับ ปริมาณอ้อย ระมัดระวังไม่ให้มีสิ่งปลอมปน เช่น ดิน หิน หรือ วัตถุอื่นๆ รวมทั้งส่วนของต้นอ้อยที่ไม่ต้องการติดไปกับลำอ้อย (สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2553; กรม ส่งเสริมการเกษตร, 2551) ซึ่งการศึกษาทดลองใช้เครื่องแยกดิน ทรายออกจากลำอ้อยด้วยตะแกรงฐานเรียบร่วมกับลูกกลิ้ง สามารถคัดแยกดินทรายออกได้ไม่ต่ำกว่า 82.9 เปอร์เซ็นต์ (สุพรรณ และเสรี, 2550)
  • 5. ข้อกำหนดในการจัดเรียงและ บรรจุภัณฑ์ ระบบการส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยใช้รถบรรทุก สิบล้อเป็นหลัก (อรรถสิทธิ์, 2547) เกษตรกรต้องเตรียม รถบรรทุกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ตรวจสอบสภาพตาข่ายที่ ต่อจากรถบรรทุกให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่หลุด ข้อกำหนดของ รถบรรทุกสิบล้อที่ขนอ้อยเข้าโรงงานต้องมีความสูงไม่เกิน 3.2 เมตร จากพื้นดิน และมีความยาวที่ยื่นออกไปท้ายกระบะไม่เกิน 1.5 เมตร (กิตติ, 2551) (ภาพที่ 26.3) ภาพที่ 26.3 ลักษณะการบรรทุกอ้อยด้วยรถบรรทุกสิบล้อ ที่มา: ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (2564) เทคโนโลยีการลดอุณหภูมิ ผลิตผลที่เหมาะสม (Precooling technology) การใช้เทคโนโลยีการลดอุณหภูมิผลิตผลอ้อยตัดแต่งสดเพื่อการ บริโภคโดย การลดอุณหภูมิด้วยอากาศเย็น (air cooling หรือ room cooling) ด้วยการนำไปแช่ตู้เย็นหรือห้องเย็นที่อุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 คืน (Robert and Chao, 2015) การเก็บรักษา อ้อยสำหรับส่งโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยในทางปฏิบัติไม่มี การเก็บรักษา เนื่องจากโรงงานน้ำตาลเปิดรับหีบอ้อยในช่วง ระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดเท่านั้น เกษตรกรจึงรีบตัดอ้อยส่งโรงงาน ให้เสร็จสิ้นตามระบบคิวที่ได้ ก่อนโรงงานปิดรับหีบอ้อย ซึ่ง เกษตรกรต้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกกลุ่มชาวไร่อ้อย (สำนัก บริหารอ้อยและน้ำตาลทราย, 2563) และมีการศึกษาทดลอง เก็บรักษาอ้อยลำในร่มอาคารที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็น เวลา 7 วัน ทำให้ปริมาณน้ำอ้อยคั้นลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ โดย น้ำหนักผลิตผลลดลงเฉลี่ยวันละ 1 เปอร์เซ็นต์ และคุณภาพ น้ำอ้อยต่ำลง (ธงชัย และคณะ, 2541) การเก็บรักษาอ้อยลำที่
  • 6. อุณหภูมิประมาณ 23-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70- 75 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15 วัน อ้อยมีการสูญเสียน้ำหนักและมี ปริมาณซูโครสลดลง รวมถึงมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงขึ้น มากกว่าเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Lontom et al., 2009) และหากต้องการเก็บรักษาอ้อยสามารถทำได้ ดังนี้ 1) การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ร่วมกับอุณหภูมิต่ำ การเก็บรักษา อ้อยตัดท่อนปอกเปลือกสำหรับบริโภคสดในถุงสุญญากาศที่ อุณหภูมิ 0-2 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 3 สัปดาห์ (Robert and Chao, 2015) 2) การใช้สภาพควบคุมบรรยากาศ (Controlled Atmosphere; CA) โดยบรรจุอ้อยท่อนในถุงพอลีโพรพีลีน ควบคุมให้มีอัตรา การหมุนเวียนของแก๊สไนโตรเจน 2 มิลลิลิตรต่อวินาที และ ปริมาณแก๊สออกซิเจน 10-20 กิโลปาสคาล แล้วนำไปเก็บ รักษาที่อุณหภูมิ 10±1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาอ้อยได้นาน 10 วัน (Frateschi et al., 2013) - ความชื้นสัมพัทธ์ที่ เหมาะสม ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอ้อยคือ 95 เปอร์เซ็นต์ (Frateschi et al., 2013) - อุณหภูมิที่เหมาะสม อุณหภูมิที่เหมาะสมการเก็บรักษาอ้อยตัดท่อนปอกเปลือก สำหรับบริโภคสดคือ 0-2 องศาเซลเซียส (Robert and Chao, 2015) และสำหรับอ้อยไม่ปอกเปลือกคือ 10±1 องศาเซลเซียส (Frateschi et al., 2013) - อัตราการหายใจ อ้อยที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีอัตราการหายใจ ประมาณ 5-22 มิลลิลิตรคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลกรัมต่อ ชั่วโมง (Roderick, 1957) ส่วนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2, 10 และ 20 องศาเซลเซียส อ้อยมีอัตราการหายใจเท่ากับ 8, 10 และ 41 ไมโครกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง ตามลำดับ (Robert and Huang, 2015) - การผลิตเอทิลีน ไม่มีการรายงาน - การตอบสนองต่อ เอทิลีน ไม่มีการรายงาน
  • 7. ความเสียหาย ความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวของอ้อยพบไม่มาก เนื่องจากไม่มี การเก็บรักษาอ้อยไว้เป็นระยะเวลานาน หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ เกษตรกรต้องขนส่งไปยังโรงงานทันที และความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมากมาจากในระยะแปลงปลูกแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเนื่องไปถึงหลังการเก็บเกี่ยว - ความเสียหายทางกล อ้อยเป็นพืชที่มีเปลือกแข็งสามารถป้องกันการช้ำหรือการเกิด บาดแผลได้ดี จึงไม่พบความเสียหายทางกล - ความเสียหายจากโรค ความเสียหายจากโรคที่เกิดขึ้นในแปลงปลูกและส่งผลกระทบต่อ คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของอ้อย ได้แก่ 1) โรคเหี่ยวเน่าแดง (Red rot wilt diseases) เชื้อราสาเหตุ Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum ลักษณะอาการ พบในระยะอ้อยย่างปล้องและระยะอ้อยแก่ เริ่มแรกยอดเหลือง ต่อมายอดแห้ง เนื้อในลำอ้อยเน่าสีแดง หรือสีน้ำตาลม่วง เมื่ออาการเน่ารุนแรงเนื้ออ้อยเน่ายุบเป็น โพรง เส้นใยเชื้อราสีเทาอ่อนเจริญฟูอยู่ภายในปล้อง มีกลุ่ม สปอร์เป็นเม็ดสีส้ม และทำให้ต้นอ้อยตายในที่สุด อ้อยที่เริ่ม ปลูกใหม่แสดงอาการในเดือนที่ 6-7 ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 50-100 เปอร์เซ็นต์ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551; วันทนีย์, 2547; ธวัช, 2559) 2) โรคเน่ากลิ่นสับปะรด (pineapple disease) เชื้อราสาเหตุ Thielaviopsis paradoxa หรือ Ceratocystis paradoxa ลักษณะอาการ เชื้อเข้าทำลายท่อนพันธุ์ทางปลายตัดท่อน พันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์เน่าเป็นสีแดง กลิ่นคล้ายสับปะรดสุก ต่อมาเนื้ออ้อยเน่าแห้งยุบตัวเป็นโพรง เห็นส่วนท่อน้ำท่อ อาหารเป็นเส้นๆ ปกคลุมด้วยสปอร์สีดำของเชื้อรา และเชื้อ เข้าทำลายลำอ้อยในระยะอ้อยแก่ได้ หากเกิดแผล เช่น หนูกัด หนอนเจาะลำต้น หรือรอยแตกของลำ เป็นต้น (ธวัช, 2559; วันทนีย์, 2546)
  • 8. - ความเสียหายจากแมลง แมลงศัตรูอ้อยมีหลายชนิดที่เข้าทำลายในระยะแปลงปลูกทำให้ ต้นอ้อยชะงักการเจริญเติบโต แต่แมลงศัตรูสำคัญที่สร้างความ เสียหายหลังการเก็บเกี่ยว คือ หนอนกอลายจุดใหญ่ หรือ หนอนเจาะลำต้นอ้อย (stem borer) ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาลเข้ม วางไข่เป็นกลุ่มคล้ายเกล็ดปลา ตัวหนอนสีขาวนวลมีลายที่ ด้านข้างและบนลำตัว มีจุดกลมขนาดเท่าหัวเข็มหมุดหลังลำตัว หนอนเจาะทำลายลำต้นเหลือแต่เปลือก โดยเข้าทำลายอ้อย ระยะย่างปล้องและระยะเก็บเกี่ยว (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551; ณัฐกฤต, 2547) - ความเสียหายจากสัตว์ หนูเป็นสัตว์ศัตรูอ้อยที่เข้าทำลายตั้งแต่ต้นอ้อยอายุ 7 เดือน ไป จนถึงระยะเก็บเกี่ยวอ้อย โดยกัดแทะต้นอ้อยเป็นรอยแหว่ง และ บาดแผลนั้นเป็นช่องทางทำให้เชื้อราสาเหตุโรคอ้อยเข้าทำลาย เกิดความเสียหายมากขึ้น (ธวัช, 2559) อาการผิดปกติทางสรีรวิทยา หลังการเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บรักษาอ้อยที่อุณหภูมิต่ำเป็นเวลานานเกิดอาการผิดปกติ ทางสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว ดังนี้ - Internal disorder ไม่มีการรายงาน - External disorder การเก็บรักษาอ้อยตัดท่อนปอกเปลือกสำหรับบริโภคสด ที่ อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-10 วัน ส่งผลทำให้อ้อย ตัดท่อนปอกเปลือกแล้ว เกิดรอยสีแดงโดยรอบบริเวณข้อปล้อง ของอ้อย (Robert and Chao, 2015) (ภาพที่ 26.4) ภาพที่ 26.4 รอยสีแดงที่เกิดบริเวณข้อปล้องของอ้อย ที่มา: Robert and Chao (2015)
  • 9. เอกสารอ้างอิง กิตติ ชุณหวงศ์. 2551. การตัดและการขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน. หน้า 145-153. ใน พูลประเสริฐ ปิยะอนันต์ และอุดม พูลเกษ. 2551. คู่มือการจัดการผลิตอ้อยในไร่ที่มีประสิทธิภาพครบวงจร. โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปลูกอ้อยครบ วงจร. 193 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku.ac.th/ ebook27/ebook/2011-002-0353/#p=1 (16 สิงหาคม 2564). กรมส่งเสริมการเกษตร. 2551. คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อ้อย. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 38 หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://www.agriman.doae.go.th/home/ t.n/t.n1/2filcrop_Requirement/05_Sugarcane.pdf (11 สิงหาคม 2564). ณัฐกฤต พิทักษ์. 2547. แมลงศัตรูอ้อยและการป้องกันกำจัด. หน้า 57-118. ใน เอกสารวิชาการอ้อย. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 147 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook. lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/2011-004-0051/ (16 สิงหาคม 2564). ธงชัย ตั้งเปรมศรี, วันทนา ตั้งเปรมศรี และเฉลิมพล ไหลรุ่งเรือง. 2541. ระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีผล ต่อคุณภาพน้ำอ้อยของอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 297 หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://kukr.lib.ku.ac.th/proceedings/KUCON2/search_detail/result/6537 (13 สิงหาคม 2564). ธวัช หะหมาน. 2559. คู่มือการวินิจฉัยโรคอ้อย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและ น้ำตาลทราย. 143 หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://www.ocsb.go.th/upload/journal/ fileupload/144-2275.pdf (13 สิงหาคม 2564). วันทนีย์ อู่วาณิชย์. 2546. การจัดการโรคอ้อย. หน้า 5-32. ใน การจัดการศัตรูอ้อย. สำนักวิจัย พัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 103 หน้า. ใน โครงการหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/20130028/#p=1 (16 สิงหาคม 2564). วันทนีย์ อู่วาณิชย์. 2547. โรคอ้อยและการป้องกันกำจัด. หน้า 43-53. ใน เอกสารวิชาการอ้อย. กรม วิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 147 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku. ac.th/ebook27/ebook/2011-004-0051/ (16 สิงหาคม 2564).
  • 10. สุพรรณ ยั่งยืน และเสรี วงศ์พิเชษฐ. 2550. การศึกษาและพัฒนาเครื่องแยกดินทรายออกจากลำอ้อย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 38(5)(พิเศษ): 263-266. สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย.2563. คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลตรวจสอบการปฏิบัติงาน ณ หน่วยโรงงานน้ำตาลทรายและคลังสินค้า. สำนักคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 43 หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ocsmonline.com/novasoft/Download/การปฏิบัติ หน้าที่และการปฏิบัติงาน.pdf (16 สิงหาคม 2564). สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อย โรงงาน (มกษ.5902-2553). สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 25 หน้า. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://www.acfs.go.th/files/files/commodity-standard/ 20190608162802_496407.pdf (11 สิงหาคม 2564). อรรถสิทธิ์ บุญธรรม. 2547. วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว. หน้า 123-133. ใน เอกสารวิชาการ อ้อย. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 147 หน้า. ใน โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้าน การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. [ระบบออนไลน์]. แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/2011-004-0051/ (16 สิงหาคม 2564). Frateschi, C. S., J. F. Durigana, M. O. Marques, E.T.D. Hojo, L. O. Santos, L. C. Cunha Júnior, G. H. de Almeida Teixeira. 2013. Storage of sugarcane stalks (Saccharum officinarum cv. SP 79-1011) in low oxygen atmospheres and the effects on enzymatic browning. Postharvest Biology and Technology 86: 154–158. Lontom, W., M. Kosittrakun, P. Weerathaworn, P. Wangsomnuk and Y.J. Zhu. 2009. Impact of storage temperature and duration on sucrose catabolism in harvested sugarcane stalks. Sugar Tech 11(2): 146-153. Robert, E. P. and C. C. Huang. 2015. Sugarcane Pieces: Postharvest Quality-Maintenance Guidelines. Vegetable and Root Crops (4): 1-3. Roderick, L. B. 1957. The respiration of harvested sugarcane. P 315-328. In The physiology of sugarcane. [Online]. Available https://www.publish.csiro.au/bi/pdf/bi9580315 (16 August 2021).