SlideShare a Scribd company logo
ควายเผือกคืนสู่ทุ่งท่าเรือ 
ฤาความเชื่อในวิถีการทำานา1จะกลับคืนสู่ลุ่มนำ้าปากพนัง 
ดำารง โยธารักษ์2 
เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ผมและคณาจารย์ศูนย์เรียนรู้ 
มหาวิทยาลัยชีวิตปากพนัง เช่น อาจารย์ทวี วิริยฑูรย์ อาจารย์ 
ประเสริฐ เพชรแก้ว อาจารย์ วิภากรณ์ เนียมทรง อาจารย์ณรงค์ 
รักอาชีพ อาจารย์สุนันท์ คิดใจเดียว อาจารย์เลือดไทย ไหมนวล 
และอาจารย์มุกดาวรรณ เลื่องศรีนิลผู้อำานวยการศูนย์เรียนรู้ 
มหาวิทยาลัยชีวิตช้างกลาง (สมาชิกสภาจังหวัดอำาเภอช้างกลาง) 
พร้อมทั้งตัวแทนนักศึกษาจำานวนหนึ่ง อีกทั้งผู้สังเกตการณ์ เช่น 
อาจารย์นิเวศ วนคุณากร อาจารย์จำารัส เวทยาวงษ์ และอาจารย์ 
เจฟ (อาจารย์สอนภาษาอังกฤษชาวออสเตรเลีย)ได้เดินทางไปร่วม 
แสดงความยินดีกับศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อสุขภาพบ้านพลัง 
ท่าเรือ ซึ่งได้ดำาเนินโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและอนุรักษ์ 
วัฒนธรรม สร้างขึ้นเป็นชุมชนต้นแบบในเขตลุ่มนำ้าปากพนัง หมู่ที่ 
๑๒ ตำาบลท่าเรือ อำาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยก 
ระดับเศรษฐกิจชุมชน 
ทางศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อสุขภาพบ้านพลังท่าเรือ ซึ่งมี 
คุณสมพร บุญต่อ3 เป็นประธาน ได้รับมอบควายเผือกจากคณะ 
ทำางานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย 
นายสมภาช พจนปรีชา เพื่อนำาควายมาสาธิตการไถนาและเทียม 
เกวียนเพื่อให้กลุ่มผู้เรียนรู้และสนใจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ 
เข้ามาท่องเที่ยวและดูงานต่อไป 
คณะของเราเดินทางไปถึงเวลาประมาณ ๙.๓๐ น. นาย 
โกศล มาศศรี นักศึกษาศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตปากพนังมา 
ต้อนรับอาจารย์และเพื่อนๆด้วยสายตาที่ส่องประกายออกมาให้ทุก 
คนเห็นว่าเขามีความสุขมาก 
1 ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการทำานากับการทำาข้าว กล่าวคือ การทำา 
นาหมายถึงการทำานาปีหรือนาหยามที่ได้ทั้งข้าว กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น เรียกว่า เกษตรแบบ 
ผสมผสาน การทำาข้าวหมายถึงการทำานาปรังที่ต้องการข้าวอย่างเดียว เรียกว่า เกษตร 
เชิงเดี่ยว 
2 ผู้อำานวยการศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตปากพนัง จบปริญญาเอกจากโครงการปรัชญา 
ดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำาแหง 
3 นักธุรกิจท่องเที่ยวแห่งเกาะสมุย ชาวหนองหนอน ผู้ที่พยายามกลับมาพลิกฟื้นเศรษฐกิจ 
ชุมชนหนองหนอนให้เชื่อมกับโลกานุวัตร
2 
ผมประทับใจบรรยากาศของงานที่มีความเป็นกันเองเพราะ 
ไม่มีพิธีการอะไรมากมายนัก กล่าวคือ พิธีกรเชิญแขกที่เข้าร่วมได้ 
พบปะพูดคุยกับชาวบ้านหลังจากเสร็จพิธีทางศาสนา ผมได้รับ 
เกียรติเป็นคนแรกโดยไม่ทันตั้งตัวเพราะเข้าใจว่าเป็นเพียงผู้ร่วม 
งาน อย่างไรก็ตามผมได้อรรถาธิบายความว่า ทำาไมจึงต้องมี 
โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต โดยเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตก 
ต่างของการพัฒนา ๒ ยุค คือยุคผู้ใหญ่ลี (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๔๐) ที่ 
เน้นวิธีคิดการผลิตเพื่อมวลชน (ส่งเสริมการทำาธุรกิจที่ผลิตโดย 
ปัจเจกชนให้ได้ผลผลิตจำานวนมากเพื่อคนจำานวนมาก) และรัฐก็ 
ควบคุมธรรมชาติดิน นำ้า ป่าเพื่อการผลิตดังกล่าว และยุคผู้ใหญ่ 
วิบูลย์ เข็มเฉลิม (พ.ศ.๒๕๔๑-ปัจจุบัน) ที่เน้นวิธีคิดผลิตโดย 
มวลชน (ส่งเสริมการทำาวิสาหกิจที่ผลิตโดยชุมชนเพื่อชุมชน) และ 
รัฐต้องปรับบทบาทจากการเน้นวิธีคิดควบคุมธรรมชาติสู่วิธีคิด 
สอดคล้องกับธรรมชาติเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีคิดผลิตโดยมวลชน 
เป็นต้น และโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตก็เป็นโครงการหนึ่งที่ใช้ 
กระบวนการเรียนรู้ (ที่สังเคราะห์จากชุมชนที่เข้มแข็งและอยู่รอด 
ได้ด้วยการพึ่งตนเองทั่วประเทศ) มาปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนจาก 
กระบวนการผลิตเพื่อมวลชนและควบคุมธรรมชาติไปสู่ 
กระบวนการผลิตโดยมวลชนและอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ 
เป็นต้น และได้ตั้งคำาถามว่า ชาวบ้านหมู่ ๑๒ จะเลือกทางไหน 
หรือจะเลือกทั้งสองทางและถ้าเลือกทั้งสองเราจะสร้างความสมดุล 
ได้อย่างไร 
ผมประทับใจผู้ที่พูดต่อไปจากผมคือ นายบุญฤทธิ์ ผกากรอง 
ผู้อำานวยการโรงเรียนวัดหนองหนอน ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ 
สอดคล้องกับชีวิตจริง เช่น นักเรียนเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 
วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม เป็นต้น จากกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว 
กิจกรรมแปลงเกษตรจริงๆ และอาจารย์ยังเล่าให้ฟังต่ออีกว่า 
อาจารย์ซื้อเครื่องตัดหญ้ามา ๕ เครื่อง เครื่องตัดหญ้าของอาจารย์ 
ไม่ต้องใช้นำ้ามันและของเสียจากเครื่องตัดหญ้าก็เป็นปุ๋ยอีกต่าง 
หาก เครื่องตัดหญ้าของอาจารย์ก็คือ วัว และเด็กนักเรียนก็เรียน 
วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม โดยการทำารายงานว่าวัว 
กินหญ้าได้วันละกี่ตารางเมตร และมูลวัวประกอบด้วยอะไรบ้าง 
และการดูแลวัวก็สามารถทำาให้เด็กเรียนรู้ที่จะมีความเมตตา 
กรุณา มีความเอื้ออาทรต่อสัตว์ เป็นต้น 
ผมเห็นความปรารถนาดีของคุณสมภาช พจนปรีชาและคณะ 
ที่อยากให้ลุ่มนำ้าปากพนังเป็นแหล่งปลูกข้าวเพราะมีเราความอุดม 
สมบูรณ์ตามธรรมชาติมาก ผมคิดว่าประเด็นนี้ต้องขยายความ
3 
เพราะว่าต้องถามต่อว่าจะปลูกข้าวแบบไหน (ปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิม 
ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนัง หรือจะปลูกข้าวเลียนแบบ 
ที่ภาคกลางเขาปลูกกันอย่างมากมายอยู่แล้ว) 
ถามต่อว่าการปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิมหรือการทำานาหยามได้ 
อะไร ผมคิดว่าการปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิมจะได้ข้าวไม่ปริมาณมาก 
นักแต่ราคาดี และยังได้กุ้ง หอย ปู ปลาตามคลองธรรมชาติ ดิน 
ก็ได้พักเพราะเป็นการทำานาหยาม หรืออาจเรียกว่าเกษตรผสม 
ผสานตามรูปแบบของลุ่มนำ้าปากพนัง เป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียง 
ของลุ่มนำ้าปากพนัง ซึ่งไม่จำาเป็นต้องไปลอกแบบระบบเกษตรพอ 
เพียงของภาคกลาง ภาคอีสานที่มีลักษณะของระบบนิเวศต่างกัน 
และสิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า เจ้าหน้าที่รัฐกลับทำาลายความสมบูรณ์ 
ของระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังเพื่อให้เกิดระบบนิเวศใหม่ แล้วนำา 
ตัวแบบของภาคอื่นมาสวมใส่ให้ชาวลุ่มนำ้าปากพนัง เช่น การทำา 
นาปรังโดยบอกว่าถ้าผลิตได้มาก (ทั้งผลผลิตและจำานวนครั้งใน 
การผลิต) ก็จะขายได้มากและเมื่อขายได้มากก็จะมีเงินมากแล้วจะ 
หายจากความยากจน ทั้งๆที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็รู้อยู่ว่าเกษตร 
เชิงเดี่ยวนั้นไม่ได้ทำาให้เกษตรกรรำ่ารวยแต่คนที่รำ่ารวยคือพ่อค้า 
คนกลาง โรงสี พ่อค้าปุ๋ยและนักเขียนโครงการเพื่อช่วยเหลือ 
ชาวนาต่างหาก 
ถามว่าการปลูกข้าวพันธุ์ใหม่หรือการทำานาปรังได้อะไร ผม 
คิดว่า ชาวนาได้ทำาข้าวปีละหลายครั้ง โดยการจ้างทุกขั้นตอน ดัง 
ที่ในหลวงเรียกว่า “ผู้จัดการนา” และจะฝันว่าขายได้เงินเยอะ 
ส่วนกุ้งหอย ปู ปลา ตามคลองธรรมชาติก็จะหายไป เพราะรัฐต้อง 
ปิดคลองธรรมชาติเพื่อเก็บนำ้าให้ท่านทำาข้าวปีละหลายครั้ง ถ้ายาก 
จะกินปลาก็ต้องเลี้ยง ถ้าอยากจะกินปลาที่อร่อย เช่นปลานำ้ากร่อย 
ก็ค่อยขับรถไปหากินที่อื่น เป็นต้น เมื่อนำ้าไม่ท่วมเพราะมีเขื่อน 
ระบายนำ้า ปัญหาที่ตามมาก็คือ มด ปลวก แมลง เต็มพื้นที่และ 
กำาลังขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและน่ากลัว เมื่อนึกอะไรไม่ออกก็ใช้ 
ยาฆ่าปลวก ฆ่าแมลง ท้ายที่สุดลุ่มนำ้าปากพนังก็จะเต็มไปด้วยสาร 
เคมี ทั้งๆที่เราบอกว่าใช้ปุ๋ยชีวภาพในการทำาข้าว เป็นต้น 
การพัฒนาที่ทำาลายรากเหง้าของชาวบ้านจนชาวบ้านไม่รู้ว่า 
เขาเป็นใครมาจากไหน เขามีดีอะไร เปรียบเสมือนต้นไม้ไม่มีราก 
แก้ว ลมพัดมาก็ล้มได้ง่าย ใครมาชวน มาบอกให้ปลูกอะไรก็เชื่อ 
อย่างเช่น การปลูกปาล์มที่กำาลังมีอาการที่น่าเป็นห่วง นับเป็น 
นิยายอีกฉากหนึ่งของการพัฒนาลุ่มนำ้าปากพนังที่เกิดจากความ 
ร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐส่วนหนึ่งกับกลุ่มทุนและนักการ 
เมืองบอกให้ชาวบ้านปลูกตามโครงการพัฒนาของรัฐ เป็นต้น ที่
4 
ผมบอกว่าน่าเป็นห่วงก็เพราะพลังงานทางเลือกนั้นยังสามารถผลิต 
ได้จากพืชอีกหลายอย่างนอกจากปาล์ม (คุณสมภาช พจนปรีชา 
บอกว่าตอนนี้ราคาต้นทุนการกลั่นนำ้ามันจากปาล์มอยู่ที่ลิตรละ ๒๘ 
บาทซึ่งแพงกว่าราคานำ้ามัน) หรือถ้าทฤษฎีที่ว่าด้วยนำ้ามันดิบ 
ไม่หมดไปจากโลก เพราะแกนโลกเป็นผู้ผลิต ดังที่คุณบรรยง 
นันทโรจนาพร ปราชญ์แห่งลุ่มนำ้าย่อยคลองบางจากเป็นผู้นำาเสนอ 
เป็นจริงขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นกับเกษตรเชิงเดี่ยวในนามของสวน 
ปาล์มผมยังไม่อยากคิด (เพียงแต่เป็นห่วง) 
หลายคนอาจคิดว่าการส่งเสริมให้คนทำานาหยามนั้นทำาไม่ได้ 
เพราะระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังเปลี่ยนไปแล้ว และที่สำาคัญคือฝน 
ไม่ตกตามฤดูกาล เป็นต้น ตรงนี้ผมมีความเห็นอย่างนี้นะครับว่า 
ระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังเพิ่งถูกทำาให้เปลี่ยนไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 
๒๕๔๒ ด้วยเหตุผลที่สำาคัญคือ การป้องกันการทำานากุ้งที่รุกพื้นที่ 
เข้าไปในลำานำ้าปากพนังส่งผลให้ชาวนาข้าวเดือดร้อน จึงเกิด 
โครงการแยกนำ้า แต่ปัจจุบันการทำานากุ้งในลำานำ้าปากพนังได้เลิก 
ไปแล้ว และภาครัฐก็มีมาตรการการแบ่งโซนที่ชัดเจนแล้วอีกทั้ง 
ชาวนากุ้งได้รู้และเข้าใจแล้วว่าการทำานากุ้งนั้นเป็นอาชีพที่ 
ทำาลายทรัพยากรธรรมชาติและทำาลายตัวเองถ้าตกอยู่ในมายาคติ 
ของโลภะ ดังนั้นภาครัฐโดยกรมชลประทานจึงควรทบทวน 
มาตรการการบริหารจัดการประตูระบายนำ้าอุทกวิภาชประสิทธิโดย 
ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างจริงจังเสียที 
ผมคิดว่าถ้าให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังดังกล่าวก็จะ 
เกิดสองระบบการผลิตในลุ่มนำ้าปากพนังที่ต่างฝ่ายต่างเข้าใจซึ่ง 
กันและกันนำาไปสู่ค่านิยมแบบเฉลี่ยทุกข์แบ่งสุขแทนค่านิยมแบบ 
ได้อย่างเสียอย่างจนทำาให้ชาวลุ่มนำ้าปากพนังต้องย้ายถิ่นออกนอก 
พื้นที่เป็นจำานวนมากขึ้นหลังจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มนำ้า 
ปากพนังแล้วเสร็จทั้งๆที่เป้าประสงค์หลักของโครงการฯ ต้องการ 
ให้คนกลับถิ่น 
ผมพบว่าสาเหตุสำาคัญที่ทำาให้ชาวบ้านย้ายถิ่นเพราะชาว 
บ้านไม่สามารถหากินตามประสาคนเล็กคนน้อยที่ประกอบอาชีพ 
ผสมผสานตามระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังได้ เช่น ชาวบ้านส่วน 
มากมีที่ดินเป็นของตนเองแต่ไม่เกิน ๕ ไร่ ก็ไม่สามารถทำาเกษตร 
เชิงเดี่ยว เช่น ทำานาปรังหรือปลูกปาล์มได้เพราะไม่คุ้ม ท้ายที่สุดก็ 
ต้องขายที่ให้นายทุนเข้ามาปลูกปาล์ม เป็นต้น 
ส่วนการทำานาหยามนั้นชาวบ้านสามารถเก็บนำ้าไว้รองรับให้ 
เหมาะสมกับปริมาณที่ต้องการใช้ในกรณีที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล 
ได้ และหากไม่พอก็ค่อยมาใช้นำ้าที่ทางกรมชลประทานเก็บไว้ได้
5 
ดังแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ต้องการให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้ใน 
ระดับหนึ่งก่อน ที่เหลือกำาลังของชาวบ้านก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะ 
ต้องเข้าไปสนับสนุน การทำานาหยามนั้นกรมชลประทานก็ไม่ 
จำาเป็นต้องปิดคลองธรรมชาติ เพราะอาจใช้แนวคิด ๑ อบต. ๑ 
แหล่งนำ้า ๑ ป่าชุมชน ก็สามารถแก้ปัญหาให้ทุกอาชีพอยู่ร่วม 
กันได้ เช่น ใครต้องการทำานาปรังก็สามารถทำาได้แต่ต้องไม่ทำาให้ 
ชาวนาหยามเดือดร้อนจากการหากินกุ้งหอย ปู ปลา จากคลอง 
ธรรมชาติ เป็นต้น 
ผมคิดว่าลุ่มนำ้าปากพนังควรจะมีระบบเศรษฐกิจ ๒ ระบบ 
ควบคู่กันไป คือ ระบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง (เพื่อเตรียมความพร้อม 
สำาหรับการค้าขายต่อไป) และระบบเศรษฐกิจพึ่งพา (ผลิตเพื่อ 
ค้าขายสำาหรับคนที่มีความพร้อมซึ่งเป็นคนส่วนน้อยแต่มีทุน) ก็ 
สามารถอยู่ร่วมกันได้ดังค่านิยมเฉลี่ยทุกข์แบ่งสุขแทนค่านิยมได้ 
อย่างต้องเสียอย่าง 
สิ่งสำาคัญประการหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นก็คือ การนำาความ 
ต้องการของชาวบ้านมาแปรเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือของ 
รัฐ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่เรามักจะมองข้ามก็คือ 
การได้ข้อมูลจากชาวบ้านที่ไม่ได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ 
(กระบวนการที่สามารถทำาให้ชาวบ้านค้นพบตัวเอง และชุมชนว่า 
เป็นใครมาจากไหน มีอะไรดี มีอะไรต้องปรับปรุง มีโอกาสและ 
อุปสรรคอะไรจากภายนอกที่มากระทบต่อเขาบ้าง) ดังนั้นข้อมูลที่ 
ได้จึงเป็นข้อมูลที่เต็มไปด้วยความต้องการของแต่ละกลุ่มอาชีพ ที่ 
ต่างกลุ่มต่างต้องการให้ได้มากที่สุด และสุดท้ายก็นำาไปสู่การวิ่ง 
เต้นให้ได้โครงการจากเจ้าหน้าที่ นับเป็นโครงการที่แยกส่วนโดย 
ต่างคนต่างทำาและต่อกันไม่ติดอย่างน่าเสียดาย 
ท้ายที่สุดผมขอให้กำาลังใจและขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยจง 
อำานวยอวยพรให้ศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อสุขภาพบ้านพลังท่าเรือ 
ให้เดินหน้าต่อไปเพื่อสร้างพลังให้กับเศรษฐกิจชุมชน ดังที่ 
อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวอินเดีย ได้กล่าว 
เอาไว้ว่า 
เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหา ความจริงกัน 
ใหม่...... 
เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบ 
เศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง...... 
และขอให้กำาลังใจกับคุณสมพร บุญต่อ ที่ทุ่มเททั้งแรงกาย 
แรงใจ รวบรวมสมัครพรรคพวกให้มาพบปะพูดคุยและแก้ปัญหา 
ของส่วนรวมร่วมกัน ด้วยหัวใจที่มั่นคงแม้มีอุปสรรค และผมขอม
6 
อบความปรารถนาดีแด่ “ผู้ยิ่งใหญ่” ที่นอบน้อม และห้าวหาญ 
ในมวลหมู่ของพวกเรา ผู้แสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำาขึ้นอยู่ 
กับการตัดสินใจเลือกที่จะเป็น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับตำาแหน่ง 
หน้าที่ใดๆ
6 
อบความปรารถนาดีแด่ “ผู้ยิ่งใหญ่” ที่นอบน้อม และห้าวหาญ 
ในมวลหมู่ของพวกเรา ผู้แสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำาขึ้นอยู่ 
กับการตัดสินใจเลือกที่จะเป็น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับตำาแหน่ง 
หน้าที่ใดๆ

More Related Content

Similar to ควายเผือกคืนทุ่งท่าเรือ

แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
Klangpanya
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยWasan Yodsanit
 
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางorawan155
 
Saravit # 12/2557
Saravit # 12/2557Saravit # 12/2557
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่Chung Bowji
 
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่Chung Bowji
 
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่kima203
 
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุยโครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
tongkesmanee
 

Similar to ควายเผือกคืนทุ่งท่าเรือ (10)

แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทยแนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ไทย
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
 
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 
งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลาง
 
Saravit # 12/2557
Saravit # 12/2557Saravit # 12/2557
Saravit # 12/2557
 
ใบงานที่3
ใบงานที่3ใบงานที่3
ใบงานที่3
 
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่
 
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่
 
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่
 
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุยโครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
 

Recently uploaded

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 

Recently uploaded (10)

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 

ควายเผือกคืนทุ่งท่าเรือ

  • 1. ควายเผือกคืนสู่ทุ่งท่าเรือ ฤาความเชื่อในวิถีการทำานา1จะกลับคืนสู่ลุ่มนำ้าปากพนัง ดำารง โยธารักษ์2 เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ ผมและคณาจารย์ศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยชีวิตปากพนัง เช่น อาจารย์ทวี วิริยฑูรย์ อาจารย์ ประเสริฐ เพชรแก้ว อาจารย์ วิภากรณ์ เนียมทรง อาจารย์ณรงค์ รักอาชีพ อาจารย์สุนันท์ คิดใจเดียว อาจารย์เลือดไทย ไหมนวล และอาจารย์มุกดาวรรณ เลื่องศรีนิลผู้อำานวยการศูนย์เรียนรู้ มหาวิทยาลัยชีวิตช้างกลาง (สมาชิกสภาจังหวัดอำาเภอช้างกลาง) พร้อมทั้งตัวแทนนักศึกษาจำานวนหนึ่ง อีกทั้งผู้สังเกตการณ์ เช่น อาจารย์นิเวศ วนคุณากร อาจารย์จำารัส เวทยาวงษ์ และอาจารย์ เจฟ (อาจารย์สอนภาษาอังกฤษชาวออสเตรเลีย)ได้เดินทางไปร่วม แสดงความยินดีกับศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อสุขภาพบ้านพลัง ท่าเรือ ซึ่งได้ดำาเนินโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและอนุรักษ์ วัฒนธรรม สร้างขึ้นเป็นชุมชนต้นแบบในเขตลุ่มนำ้าปากพนัง หมู่ที่ ๑๒ ตำาบลท่าเรือ อำาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยก ระดับเศรษฐกิจชุมชน ทางศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อสุขภาพบ้านพลังท่าเรือ ซึ่งมี คุณสมพร บุญต่อ3 เป็นประธาน ได้รับมอบควายเผือกจากคณะ ทำางานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย นายสมภาช พจนปรีชา เพื่อนำาควายมาสาธิตการไถนาและเทียม เกวียนเพื่อให้กลุ่มผู้เรียนรู้และสนใจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ เข้ามาท่องเที่ยวและดูงานต่อไป คณะของเราเดินทางไปถึงเวลาประมาณ ๙.๓๐ น. นาย โกศล มาศศรี นักศึกษาศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตปากพนังมา ต้อนรับอาจารย์และเพื่อนๆด้วยสายตาที่ส่องประกายออกมาให้ทุก คนเห็นว่าเขามีความสุขมาก 1 ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการทำานากับการทำาข้าว กล่าวคือ การทำา นาหมายถึงการทำานาปีหรือนาหยามที่ได้ทั้งข้าว กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น เรียกว่า เกษตรแบบ ผสมผสาน การทำาข้าวหมายถึงการทำานาปรังที่ต้องการข้าวอย่างเดียว เรียกว่า เกษตร เชิงเดี่ยว 2 ผู้อำานวยการศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตปากพนัง จบปริญญาเอกจากโครงการปรัชญา ดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำาแหง 3 นักธุรกิจท่องเที่ยวแห่งเกาะสมุย ชาวหนองหนอน ผู้ที่พยายามกลับมาพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ชุมชนหนองหนอนให้เชื่อมกับโลกานุวัตร
  • 2. 2 ผมประทับใจบรรยากาศของงานที่มีความเป็นกันเองเพราะ ไม่มีพิธีการอะไรมากมายนัก กล่าวคือ พิธีกรเชิญแขกที่เข้าร่วมได้ พบปะพูดคุยกับชาวบ้านหลังจากเสร็จพิธีทางศาสนา ผมได้รับ เกียรติเป็นคนแรกโดยไม่ทันตั้งตัวเพราะเข้าใจว่าเป็นเพียงผู้ร่วม งาน อย่างไรก็ตามผมได้อรรถาธิบายความว่า ทำาไมจึงต้องมี โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต โดยเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตก ต่างของการพัฒนา ๒ ยุค คือยุคผู้ใหญ่ลี (พ.ศ.๒๕๐๔-๒๕๔๐) ที่ เน้นวิธีคิดการผลิตเพื่อมวลชน (ส่งเสริมการทำาธุรกิจที่ผลิตโดย ปัจเจกชนให้ได้ผลผลิตจำานวนมากเพื่อคนจำานวนมาก) และรัฐก็ ควบคุมธรรมชาติดิน นำ้า ป่าเพื่อการผลิตดังกล่าว และยุคผู้ใหญ่ วิบูลย์ เข็มเฉลิม (พ.ศ.๒๕๔๑-ปัจจุบัน) ที่เน้นวิธีคิดผลิตโดย มวลชน (ส่งเสริมการทำาวิสาหกิจที่ผลิตโดยชุมชนเพื่อชุมชน) และ รัฐต้องปรับบทบาทจากการเน้นวิธีคิดควบคุมธรรมชาติสู่วิธีคิด สอดคล้องกับธรรมชาติเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีคิดผลิตโดยมวลชน เป็นต้น และโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตก็เป็นโครงการหนึ่งที่ใช้ กระบวนการเรียนรู้ (ที่สังเคราะห์จากชุมชนที่เข้มแข็งและอยู่รอด ได้ด้วยการพึ่งตนเองทั่วประเทศ) มาปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนจาก กระบวนการผลิตเพื่อมวลชนและควบคุมธรรมชาติไปสู่ กระบวนการผลิตโดยมวลชนและอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เป็นต้น และได้ตั้งคำาถามว่า ชาวบ้านหมู่ ๑๒ จะเลือกทางไหน หรือจะเลือกทั้งสองทางและถ้าเลือกทั้งสองเราจะสร้างความสมดุล ได้อย่างไร ผมประทับใจผู้ที่พูดต่อไปจากผมคือ นายบุญฤทธิ์ ผกากรอง ผู้อำานวยการโรงเรียนวัดหนองหนอน ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ สอดคล้องกับชีวิตจริง เช่น นักเรียนเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม เป็นต้น จากกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว กิจกรรมแปลงเกษตรจริงๆ และอาจารย์ยังเล่าให้ฟังต่ออีกว่า อาจารย์ซื้อเครื่องตัดหญ้ามา ๕ เครื่อง เครื่องตัดหญ้าของอาจารย์ ไม่ต้องใช้นำ้ามันและของเสียจากเครื่องตัดหญ้าก็เป็นปุ๋ยอีกต่าง หาก เครื่องตัดหญ้าของอาจารย์ก็คือ วัว และเด็กนักเรียนก็เรียน วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม โดยการทำารายงานว่าวัว กินหญ้าได้วันละกี่ตารางเมตร และมูลวัวประกอบด้วยอะไรบ้าง และการดูแลวัวก็สามารถทำาให้เด็กเรียนรู้ที่จะมีความเมตตา กรุณา มีความเอื้ออาทรต่อสัตว์ เป็นต้น ผมเห็นความปรารถนาดีของคุณสมภาช พจนปรีชาและคณะ ที่อยากให้ลุ่มนำ้าปากพนังเป็นแหล่งปลูกข้าวเพราะมีเราความอุดม สมบูรณ์ตามธรรมชาติมาก ผมคิดว่าประเด็นนี้ต้องขยายความ
  • 3. 3 เพราะว่าต้องถามต่อว่าจะปลูกข้าวแบบไหน (ปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิม ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนัง หรือจะปลูกข้าวเลียนแบบ ที่ภาคกลางเขาปลูกกันอย่างมากมายอยู่แล้ว) ถามต่อว่าการปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิมหรือการทำานาหยามได้ อะไร ผมคิดว่าการปลูกข้าวพันธุ์ดั้งเดิมจะได้ข้าวไม่ปริมาณมาก นักแต่ราคาดี และยังได้กุ้ง หอย ปู ปลาตามคลองธรรมชาติ ดิน ก็ได้พักเพราะเป็นการทำานาหยาม หรืออาจเรียกว่าเกษตรผสม ผสานตามรูปแบบของลุ่มนำ้าปากพนัง เป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียง ของลุ่มนำ้าปากพนัง ซึ่งไม่จำาเป็นต้องไปลอกแบบระบบเกษตรพอ เพียงของภาคกลาง ภาคอีสานที่มีลักษณะของระบบนิเวศต่างกัน และสิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า เจ้าหน้าที่รัฐกลับทำาลายความสมบูรณ์ ของระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังเพื่อให้เกิดระบบนิเวศใหม่ แล้วนำา ตัวแบบของภาคอื่นมาสวมใส่ให้ชาวลุ่มนำ้าปากพนัง เช่น การทำา นาปรังโดยบอกว่าถ้าผลิตได้มาก (ทั้งผลผลิตและจำานวนครั้งใน การผลิต) ก็จะขายได้มากและเมื่อขายได้มากก็จะมีเงินมากแล้วจะ หายจากความยากจน ทั้งๆที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็รู้อยู่ว่าเกษตร เชิงเดี่ยวนั้นไม่ได้ทำาให้เกษตรกรรำ่ารวยแต่คนที่รำ่ารวยคือพ่อค้า คนกลาง โรงสี พ่อค้าปุ๋ยและนักเขียนโครงการเพื่อช่วยเหลือ ชาวนาต่างหาก ถามว่าการปลูกข้าวพันธุ์ใหม่หรือการทำานาปรังได้อะไร ผม คิดว่า ชาวนาได้ทำาข้าวปีละหลายครั้ง โดยการจ้างทุกขั้นตอน ดัง ที่ในหลวงเรียกว่า “ผู้จัดการนา” และจะฝันว่าขายได้เงินเยอะ ส่วนกุ้งหอย ปู ปลา ตามคลองธรรมชาติก็จะหายไป เพราะรัฐต้อง ปิดคลองธรรมชาติเพื่อเก็บนำ้าให้ท่านทำาข้าวปีละหลายครั้ง ถ้ายาก จะกินปลาก็ต้องเลี้ยง ถ้าอยากจะกินปลาที่อร่อย เช่นปลานำ้ากร่อย ก็ค่อยขับรถไปหากินที่อื่น เป็นต้น เมื่อนำ้าไม่ท่วมเพราะมีเขื่อน ระบายนำ้า ปัญหาที่ตามมาก็คือ มด ปลวก แมลง เต็มพื้นที่และ กำาลังขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและน่ากลัว เมื่อนึกอะไรไม่ออกก็ใช้ ยาฆ่าปลวก ฆ่าแมลง ท้ายที่สุดลุ่มนำ้าปากพนังก็จะเต็มไปด้วยสาร เคมี ทั้งๆที่เราบอกว่าใช้ปุ๋ยชีวภาพในการทำาข้าว เป็นต้น การพัฒนาที่ทำาลายรากเหง้าของชาวบ้านจนชาวบ้านไม่รู้ว่า เขาเป็นใครมาจากไหน เขามีดีอะไร เปรียบเสมือนต้นไม้ไม่มีราก แก้ว ลมพัดมาก็ล้มได้ง่าย ใครมาชวน มาบอกให้ปลูกอะไรก็เชื่อ อย่างเช่น การปลูกปาล์มที่กำาลังมีอาการที่น่าเป็นห่วง นับเป็น นิยายอีกฉากหนึ่งของการพัฒนาลุ่มนำ้าปากพนังที่เกิดจากความ ร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐส่วนหนึ่งกับกลุ่มทุนและนักการ เมืองบอกให้ชาวบ้านปลูกตามโครงการพัฒนาของรัฐ เป็นต้น ที่
  • 4. 4 ผมบอกว่าน่าเป็นห่วงก็เพราะพลังงานทางเลือกนั้นยังสามารถผลิต ได้จากพืชอีกหลายอย่างนอกจากปาล์ม (คุณสมภาช พจนปรีชา บอกว่าตอนนี้ราคาต้นทุนการกลั่นนำ้ามันจากปาล์มอยู่ที่ลิตรละ ๒๘ บาทซึ่งแพงกว่าราคานำ้ามัน) หรือถ้าทฤษฎีที่ว่าด้วยนำ้ามันดิบ ไม่หมดไปจากโลก เพราะแกนโลกเป็นผู้ผลิต ดังที่คุณบรรยง นันทโรจนาพร ปราชญ์แห่งลุ่มนำ้าย่อยคลองบางจากเป็นผู้นำาเสนอ เป็นจริงขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นกับเกษตรเชิงเดี่ยวในนามของสวน ปาล์มผมยังไม่อยากคิด (เพียงแต่เป็นห่วง) หลายคนอาจคิดว่าการส่งเสริมให้คนทำานาหยามนั้นทำาไม่ได้ เพราะระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังเปลี่ยนไปแล้ว และที่สำาคัญคือฝน ไม่ตกตามฤดูกาล เป็นต้น ตรงนี้ผมมีความเห็นอย่างนี้นะครับว่า ระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังเพิ่งถูกทำาให้เปลี่ยนไปเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วยเหตุผลที่สำาคัญคือ การป้องกันการทำานากุ้งที่รุกพื้นที่ เข้าไปในลำานำ้าปากพนังส่งผลให้ชาวนาข้าวเดือดร้อน จึงเกิด โครงการแยกนำ้า แต่ปัจจุบันการทำานากุ้งในลำานำ้าปากพนังได้เลิก ไปแล้ว และภาครัฐก็มีมาตรการการแบ่งโซนที่ชัดเจนแล้วอีกทั้ง ชาวนากุ้งได้รู้และเข้าใจแล้วว่าการทำานากุ้งนั้นเป็นอาชีพที่ ทำาลายทรัพยากรธรรมชาติและทำาลายตัวเองถ้าตกอยู่ในมายาคติ ของโลภะ ดังนั้นภาครัฐโดยกรมชลประทานจึงควรทบทวน มาตรการการบริหารจัดการประตูระบายนำ้าอุทกวิภาชประสิทธิโดย ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างจริงจังเสียที ผมคิดว่าถ้าให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังดังกล่าวก็จะ เกิดสองระบบการผลิตในลุ่มนำ้าปากพนังที่ต่างฝ่ายต่างเข้าใจซึ่ง กันและกันนำาไปสู่ค่านิยมแบบเฉลี่ยทุกข์แบ่งสุขแทนค่านิยมแบบ ได้อย่างเสียอย่างจนทำาให้ชาวลุ่มนำ้าปากพนังต้องย้ายถิ่นออกนอก พื้นที่เป็นจำานวนมากขึ้นหลังจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มนำ้า ปากพนังแล้วเสร็จทั้งๆที่เป้าประสงค์หลักของโครงการฯ ต้องการ ให้คนกลับถิ่น ผมพบว่าสาเหตุสำาคัญที่ทำาให้ชาวบ้านย้ายถิ่นเพราะชาว บ้านไม่สามารถหากินตามประสาคนเล็กคนน้อยที่ประกอบอาชีพ ผสมผสานตามระบบนิเวศลุ่มนำ้าปากพนังได้ เช่น ชาวบ้านส่วน มากมีที่ดินเป็นของตนเองแต่ไม่เกิน ๕ ไร่ ก็ไม่สามารถทำาเกษตร เชิงเดี่ยว เช่น ทำานาปรังหรือปลูกปาล์มได้เพราะไม่คุ้ม ท้ายที่สุดก็ ต้องขายที่ให้นายทุนเข้ามาปลูกปาล์ม เป็นต้น ส่วนการทำานาหยามนั้นชาวบ้านสามารถเก็บนำ้าไว้รองรับให้ เหมาะสมกับปริมาณที่ต้องการใช้ในกรณีที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ได้ และหากไม่พอก็ค่อยมาใช้นำ้าที่ทางกรมชลประทานเก็บไว้ได้
  • 5. 5 ดังแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ต้องการให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้ใน ระดับหนึ่งก่อน ที่เหลือกำาลังของชาวบ้านก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะ ต้องเข้าไปสนับสนุน การทำานาหยามนั้นกรมชลประทานก็ไม่ จำาเป็นต้องปิดคลองธรรมชาติ เพราะอาจใช้แนวคิด ๑ อบต. ๑ แหล่งนำ้า ๑ ป่าชุมชน ก็สามารถแก้ปัญหาให้ทุกอาชีพอยู่ร่วม กันได้ เช่น ใครต้องการทำานาปรังก็สามารถทำาได้แต่ต้องไม่ทำาให้ ชาวนาหยามเดือดร้อนจากการหากินกุ้งหอย ปู ปลา จากคลอง ธรรมชาติ เป็นต้น ผมคิดว่าลุ่มนำ้าปากพนังควรจะมีระบบเศรษฐกิจ ๒ ระบบ ควบคู่กันไป คือ ระบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง (เพื่อเตรียมความพร้อม สำาหรับการค้าขายต่อไป) และระบบเศรษฐกิจพึ่งพา (ผลิตเพื่อ ค้าขายสำาหรับคนที่มีความพร้อมซึ่งเป็นคนส่วนน้อยแต่มีทุน) ก็ สามารถอยู่ร่วมกันได้ดังค่านิยมเฉลี่ยทุกข์แบ่งสุขแทนค่านิยมได้ อย่างต้องเสียอย่าง สิ่งสำาคัญประการหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นก็คือ การนำาความ ต้องการของชาวบ้านมาแปรเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือของ รัฐ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่เรามักจะมองข้ามก็คือ การได้ข้อมูลจากชาวบ้านที่ไม่ได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ (กระบวนการที่สามารถทำาให้ชาวบ้านค้นพบตัวเอง และชุมชนว่า เป็นใครมาจากไหน มีอะไรดี มีอะไรต้องปรับปรุง มีโอกาสและ อุปสรรคอะไรจากภายนอกที่มากระทบต่อเขาบ้าง) ดังนั้นข้อมูลที่ ได้จึงเป็นข้อมูลที่เต็มไปด้วยความต้องการของแต่ละกลุ่มอาชีพ ที่ ต่างกลุ่มต่างต้องการให้ได้มากที่สุด และสุดท้ายก็นำาไปสู่การวิ่ง เต้นให้ได้โครงการจากเจ้าหน้าที่ นับเป็นโครงการที่แยกส่วนโดย ต่างคนต่างทำาและต่อกันไม่ติดอย่างน่าเสียดาย ท้ายที่สุดผมขอให้กำาลังใจและขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยจง อำานวยอวยพรให้ศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อสุขภาพบ้านพลังท่าเรือ ให้เดินหน้าต่อไปเพื่อสร้างพลังให้กับเศรษฐกิจชุมชน ดังที่ อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวอินเดีย ได้กล่าว เอาไว้ว่า เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหา ความจริงกัน ใหม่...... เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบ เศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง...... และขอให้กำาลังใจกับคุณสมพร บุญต่อ ที่ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ รวบรวมสมัครพรรคพวกให้มาพบปะพูดคุยและแก้ปัญหา ของส่วนรวมร่วมกัน ด้วยหัวใจที่มั่นคงแม้มีอุปสรรค และผมขอม
  • 6. 6 อบความปรารถนาดีแด่ “ผู้ยิ่งใหญ่” ที่นอบน้อม และห้าวหาญ ในมวลหมู่ของพวกเรา ผู้แสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำาขึ้นอยู่ กับการตัดสินใจเลือกที่จะเป็น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับตำาแหน่ง หน้าที่ใดๆ
  • 7. 6 อบความปรารถนาดีแด่ “ผู้ยิ่งใหญ่” ที่นอบน้อม และห้าวหาญ ในมวลหมู่ของพวกเรา ผู้แสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำาขึ้นอยู่ กับการตัดสินใจเลือกที่จะเป็น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับตำาแหน่ง หน้าที่ใดๆ