SlideShare a Scribd company logo
บทที่ ๑
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณกรรมไทย
คำาว่า "วรรณกรรม" มีความหมายตรงกับคำาภาษาอังกฤษ
ว่า "Literature Works" หรือ "General Literature" และการใช้
คำาว่า "วรรณกรรม" มีปรากฏครั้งแรกในพระราชบัญญัติ
คุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยให้คำานิยามคำา
ว่า "วรรณกรรมและศิลปกรรม" รวมกันไว้ดังนี้
"วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำา
ขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนก
ศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น
สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ
เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
หรือนาฏกียกรรม หรือนาฏกีย-ดนตรีกรรม หรือแบบฟ้อน
รำาและการเล่นแสดงให้คนดูโดยวิธีใบ้ ซึ่งการแสดงนั้นได้
กำาหนดไว้เป็นหนังสือหรืออย่างอื่น ๆ"
คำาว่า "วรรณกรรม" ก็ได้นิยมใช้กันแพร่หลายมาตามลำาดับ
และสมัยรัฐบาลจอมพล
ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสำานักงานวัฒนธรรมทางวรรณกรรม
รวมอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ มีหน้าที่
เผยแพร่วรรณกรรมและส่งเสริมศิลปะการแต่งหนังสือ เพื่อรักษา
วัฒนธรรมไทยอย่างเป็นทางราชการสืบต่อจากวรรณคดีสโมสร
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
(ธวัช ปุณโณทก. 2527 : 1)
กุหลาบ มัลลิกะมาส (2517 :7) กล่าวว่า คำาว่า
"วรรณกรรม" มาจากการสร้างศัพท์ใหม่ แทนคำาว่า
"Literature" โดยวิธีสมาส หรือรวมคำา จากคำาว่า วรรณ หรือ
บรรณ ซึ่งหมายถึงใบไม้ หรือ หนังสือ รวมกับคำาว่า กรรม ซึ่ง
หมายถึงการกระทำา ดังนั้นวรรณกรรม จึงหมายถึง การกระทำาที่
เกี่ยวกับหนังสือ โดยความหมายของวรรณกรรม หมายถึง สิ่งซึ่ง
เขียนขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปใด หรือเพื่อความมุ่งหมาย
1
ใด ซึ่งอาจจะเป็นใบปลิวหนังสือพิมพ์ นวนิยาย คำาอธิบาย ฉลาก
ยา เป็นต้นก็ได้
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 :
754) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่
ทำาขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือในรูปอย่างใด เช่น
หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำาปราศัย
สุนทรพจน์ สิ่งบันทึกเสียง ภาพ
ส่วน ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ และเจตนา นาควัชระ
(2520 : 58) ได้ให้ความหมายของวรรณกรรมว่า หมายถึง
หนังสือ หรือเอกสาร ที่มีศิลปกรรมในฐานะที่มีรูปแบบ มีสาระ
เนื้อหาที่ผู้เขียนพยายามสื่อความคิดด้วยวิธีการหนึ่งมายังผู้อ่าน
สิทธา พินิจภูวดล และคณะ (2515 : 35) กล่าวว่า
วรรณกรรม หมายถึงงานเขียนในรูปบทกวีนิพนธ์ ร้อยกรอง
และข้อเขียนทั้งหมดที่ใช้ภาษาร้อยแก้ว ได้แก่ บทความ สารคดี
นวนิยาย เรื้องสั้น เรียงความ บทละคร บทภาพยนตร์ บท
โทรทัศน์ ตลอดจนคอลัมน์ต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์
พระยาอนุมานราชธน หรือ เสฐียรโกเศศ (2515 : 24) ได้
กล่าวว่า วรรณกรรมหมายถึงการกระทำาหนังสือหรือหนังสือที่
แต่งขึ้นทั่วไปโดยมิได้จำากัดว่าเป็นหนังสือพวกใดพวกหนึ่งโดย
เฉพาะ ส่วนจะมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่าง
หาก
สมพร มันตะสูตร (2525 : 10-11) อธิบายว่า วรรณกรรม
หมายถึง งานเขียนทุกชนิด ทุกชิ้นที่สามารถสื่อสารได้น่าจะเป็น
วรรณกรรม ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้แต่งส่งสารไปยังผู้รับ ผู้รับ
สามารถสื่อความเข้าใจจากสารที่ผู้แต่งส่งมาได้ ก็ถือว่ามีการ
สื่อสารกันขึ้นแล้วงานเขียนนั้นนับว่าเป็นวรรณกรรม
โจเซฟ เมอร์แซนต์ (Mersand 1973 : 313) กล่าวว่า คำา
จำากัดความง่าย ๆ ของวรรณกรรมก็คือ การเขียนทั้งในรูปแบบ
ร้อยแก้วและร้อยกรอง ซึ่งถ้าพิจารณาคำาจำากัดความนี้ตามหลัก
การแล้วบทกวีที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรก หรือ รายการสั่งซื้อสินค้า
ทางจดหมายก็เรียกว่าวรรณกรรมด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้
ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น วรรณกรรมจะต้องเป็นรูปแบบการ
2
เขียนที่ดี มีประเด็นน่าวิจารณ์และมีความคิดที่น่าสนใจเป็น
อันดับสุดท้าย
ทัศนะต่าง ๆ ที่มีผู้ให้คำาจำากัดความตามที่กล่าวมา มีความ
สอดคล้องกับความหมายของวรรณกรรมที่ให้ไว้ในการสัมมนา
ของชุมนุมวรรณศิลป์ 6 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รามคำาแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยการค้า เมื่อปี พ.ศ. 2518 ว่า
“วรรณกรรมคืองานสร้างสรรค์ทางศิลปะที่ใช้ภาษา
เป็นสื่อกลางไม่ว่าจะมีเนื้อหาแบบใดก็ตาม มีขอบเขตถึง
งานเขียนทุกชนิด เช่น วรรณคดี นวนิยาย เรื้องสั้น
บทความ รวมถึงวรรณกรรมที่เล่าสืบต่อกันมาด้วยปาก เช่น
นิยายพื้นบ้าน บทเพลงต่าง ๆ เป็นต้น (อ้างถึงใน วรรณี ชา
ลี. 2522 : 4)”
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ให้ความหมายของวรรณกรรมที่แตก
ต่างออกไป มิใช่จำากัดอยู่แต่เฉพาะงานเขียนทั่ว ๆ ไป เช่น
เอมอร ชิตตะโสภณ (2521 : 11-12,21) อธิบายว่า
วรรณกรรม หมายถึงข้อเขียนต่าง ๆ ที่ทำาขึ้นด้วยความปราณีต
แต่ยังไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณคดี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ
กาลเวลาหนึ่ง ยังไม่มีหน่วยงานใดที่มีหน้าที่พิจารณาหนึ่ง และ
ฯลฯ พร้อมกับชี้ประเด็นว่าหากจะพิจารณาว่า วรรณกรรม คือ
งานเขียนทั่ว ๆ ไปแล้วไซร้ ทุกอย่างที่เป็นงานเขียน เช่น
พงศาวดาร ตัวบทกฏหมาย พระราชกฤษฎีกา ประกาศต่าง ๆ
หรือแม้กระทั่งจดหมายรัก ก็จะกลายเป็นวรรณกรรมไปหมด เรา
ควรคำานึงถึงความจริงข้อที่ว่า วรรณกรรมในภาษาอังกฤษก็มี
"Literature" ปนอยู่ด้วย ฉะนั้น วรรณกรรมไม่ควรจะเป็นเพียง
งานเขียนแต่ควรจะเป็นงานที่มีศิลปะปนอยู่ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง
ก็คือ วรรณกรรมชิ้นใดก็ตามควรจะเกิดมาจากความตั้งใจของผู้
เขียนในอันที่จะถ่ายทอดความรู้สึกหรือทัศนะของเขาออกมา
3
เป็นตัวอักษรอย่างมีศิลปะ ไม่ว่าจะมาจากประสบการณ์หรือแรง
บันดาลใจ หรืออารมณ์สะเทือนใจก็ตาม
สมพร มันตะสูตร (2524 : 5) อธิบายเพิ่มเติมจากคำาจำากัด
ความที่ได้กล่าวมาแล้วว่า วรรณกรรม หมายถึงงานเขียนที่เกิด
ขึ้นจากอารมณ์สะเทือนใจ และมีศิลปะในการนำาเสนอทั้งในด้าน
ความรู้ ความคิด ความสะเทือนใจด้วย การถ่ายทอดเป็นภาษา
ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ไม่จำากัดรูปแบบและเนื้อหา
วรรณกรรมนั้นมีความดีเด่น ให้ความประทับใจ
เสถียร จันทิมาธร (2516 : 8) อธิบายว่าวรรณกรรม คือ
ผลิตผลที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถ่ายความจัดเจนที่ได้รับจาก
การต่อสู้ของชีวิต ทั้งในทางธรรมชาติและทางสังคม เป็นการ
สร้างวัฒนธรรมทางศิลปะ รับใช้ผลประโยชน์ของกลุ่มความคิด
ที่ตนสังกัดอยู่
อย่างไรก็ตาม ความหมายของวรรณกรรมที่มีผู้ให้ไว้หลาก
หลายนี้ ตามความหมายของหนังสือความรู้ทั่วไปทาง
วรรณกรรมนั้นจะมีความหมายกว้าง โดยกินความครอบคลุม
งานหนังสือทุกชนิดหรือสิ่งพิมพ์ทุกประเภท ทั้งหนังสือทั่วไป
หนังสือตำารา หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร และเอกสารต่าง
ๆ เป็นต้น
4
บทที่ ๒
การศึกษาวรรณกรรมสมัยสุโขทัย
การศึกษาวรรณคดีต้องมีการวิเคราะห์ในหลายแง่มุม
ประกอบกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
หลากหลายด้าน และสามารถวิจักษณ์ หรือเข้าถึงได้อย่างลึกซึ้ง
แง่มุมหนึ่งซึ่งควรจะนำามาพิจารณาประกอบได้แก่ การศึกษา
สภาพทางประวัติศาสตร์สมัยนั้น เพราะจะเป็นบริบทสำาคัญใน
การกำาหนดแนวคิด ความเชื่อ หรือพฤติกรรมของบุคคล ดังคำา
กล่าวที่ว่า เราสามารถอ่านสังคมได้จากวรรณกรรม และอ่าน
วรรณกรรมได้จากสังคม ผู้ศึกษาวรรณคดี จึงสมควรทำาความ
เข้าใจในบริบทของสังคมด้วยส่วนหนึ่ง
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยมั่นคงเป็นปึกแผ่นขึ้น หลังจากที่เข้ามามี
อำานาจเหนือขอมได้เมื่อ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ โดยพ่อขุนบาง
กลางหาวเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้
รวมกำาลังกันยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นเมือง ใหญ่หน้า
ด่าน ของขอม มีผู้ปกครอง เมืองเรียกว่าขอมสมาดโขลญลำาพง
รักษาเมืองอยู่ เมื่อตีกรุงสุโขทัยได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองก็ได้
อภิเษกให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มี
พระนาม ตามอย่างที่ขอม เคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า
"ศรีอินทรปตินทราทิตย์" แต่ในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำาแหง
ว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย (ราชวงศ์
พระร่วง)
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง มีพระราชโอรส
สามพระองค์ องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ ตั้งแต่ยังเยาว์องค์กลางมี
5
นามว่าบานเมือง และองค์เล็กมีนามว่า พระรามคำาแหงในรัช
สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรเล็กๆ
มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ จดอาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักร
ลานนาไทยอาณาจักรพะเยาทิศตะวันตก จดเมืองฉอด
เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้น
ครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒ และได้ทรงตั้งพระรามคำาแหง
เป็นมหาอุปราชครองเมืองชะเลียง พ่อขุนบานเมือง ได้ครอง
ราชย์ อยู่จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๒๒ ก็สวรรคต พ่อขุนรามคำาแหง
(พระอนุชา)จึงขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓ พระองค์ทรง
เป็นนักรบที่ปรีชาสามารถ ก่อนครองราชสมบัติ เคยทรงชนช้าง
ชนะเจ้าเมืองฉอด และในสมัยของพระองค์อาณาจักรสุโขทัย
สงบราบคาบ กว้างใหญ่ไพศาล มีการเจริญสัมพันธไมตรีฉัน
เพื่อนกับพระเจ้าเม็งราย แห่งเชียงใหม่ พระยางำาเมืองแห่ง
พะเยา และในขณะเดียวกันก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับมอญ เล่า
กันว่า มะกะโทกษัตริย์มอญ ทรงเป็นราชบุตรเขยของพระองค์
นอกจากนี้ทรงได้เจริญสัมพันธไมตรี กับจีน จนได้ช่างฝีมือชาว
จีนมาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสังคโลกในสุโขทัย และในรัช
สมัย พ่อขุนรามคำาแหงนี้เริ่มมีวรรณคดีที่จารึกเป็นหลักฐานของ
ชาติขึ้นเป็นครั้งแรก
สุโขทัยเริ่มเสื่อมอำานาจลงหลังสมัยพ่อขุนรามคำาแหง
พระเจ้าเลอไทยกษัตริย์องค์ที่ ๔ ไม่ทรงมีพระปรีชาสามารถและ
เข้มแข็งเท่าพระราชบิดา ทำาให้หัวเมืองต่าง ๆ พากัน แข็งข้อ
เป็นอิสระพระเจ้า อู่ทองเจ้าเมืองอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ ได้ทรง
ขยาย อาณาเขต กว้างขวางขึ้นและทรงสถาปนาอยุธยาเป็น
ราชธานี ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๓๕๐)
พระเจ้าเลอไทยสวรรคตใน พ.ศ. ๑๘๙๐ มีการแย่งราช
สมบัติระหว่างราชโอรส ๒ พระองค์ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิ
ไท) ได้ทรงครองราชสมบัติแทน พระองค์เป็น กษัตริย์ที่ทรง
เลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทรงอุทิศเวลา ศึกษาพุทธ
ศาสนาอย่างจริงจัง ทรงนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงทรงสร้าง
วัดและสถูปเจดีย์ต่าง ๆ มากมาย และสร้างสถานที่ สำาคัญต่าง ๆ
ในสุโขทัยอีกหลายแห่ง
6
พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ราชโอรสของพระมหาธรรมราชา
ที่ ๑ (ลิไท) ได้ทรงสืบ ราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา อำานาจ
กรุงสุโขทัยได้สิ้นสุดลงหลังจากได้เอกราชมาประมาณ ๑๔๐ ปี
เมื่อ กองทัพของพระเจ้าบรมราชาที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาตีได้
ใน พ.ศ. ๑๙๒๑ แต่ราชวงศ์สุโขทัยยังคงครองสุโขทัยสืบต่อมา
อีกประมาณ ๖๐ ปีจนถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๔ พระเจ้า
บรมราชาที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อาณาจักร สุโขทัยเสียใหม่ โดยทรงตั้งสมเด็จพระราเมศวร พระ
ราชโอรสไปครองพิษณุโลก การปฏิบัติ เช่นนี้ถือว่าเป็นการสิ้น
สุดอำานาจของราชวงศ์สุโขทัยอย่างเด็ดขาดและสุโขทัยกลาย
เป็น ส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่นั้นมา
วรรณคดีสมัยสุโขทัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นเรื่องสำาคัญ
มีอยู่ ๔ เรื่อง คือ
๑. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกของพ่อขุนรามคำาแหง
มหาราช
๒. สุภาษิตพระร่วง
๓. เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิพระร่วง
๔. นางนพมาศ หรือตำารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง)
ประวัติความเป็นมา
เมื่อราชวงศ์สุโขทัยได้สูญเสียอำานาจและกลายเป็นเมือง
ร้าง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง และศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ที่จารึก
ในยุคนั้นก็สาบสูญ ไปจากความทรงจำาของชาวไทย จนกระทั่ง
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะยังทรงดำารง พระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และผนวชอยู่ที่วัดรา
ชาธิวาสได้เสด็จธุดงค์เมืองเหนือ (ปีมะเส็ง เญจศก จุลศักราช
๑๑๙๓) ในระหว่างประทับอยู่ที่สุโขทัยได้ทรงพบศิลาจารึก และ
พระแท่นมนังศิลา ณ บริเวณเนินประสาทพระราชวังเก่าสุโขทัย
ครั้นเมื่อจะเสด็จกลับก็โปรดเกล้าฯ ให้นำาพระแท่น มนังคศิลา
และศิลาจารึกกลับมาไว้ที่วัดสมอราย(ราชาธิวาส) ที่กรุงเทพฯ
แล้วย้ายมาไว้ ที่วัดบวรนิเวศ เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์
7
จึงได้โปรดให้นำามาไว้ที่วิหารขาว วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน
พระบรมมหา
ราชวัง ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้นำาศิลาจารึกนี้ไป
รวมกับศิลาจารึกอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ปัจจุบันนี้ อยู่ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผู้แต่ง
มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำาแหงหลาย
ท่าน และผู้ที่มีบทบาท สำาคัญก็คือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์
นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้าน ภาษาตะวัน
ออก ได้ศึกษาศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำาแหง และได้จัดทำาคำา
อ่านไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาสตราจารย์ฉำ่า ทองคำา
วรรณ และผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาโบราณ อีกหลายคน ได้ศึกษา
การอ่านคำาจารึก และการตีความถ้อยคำาในศิลาจารึกพ่อขุน
รามคำาแหง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาสตราจารย์
ดร.ประเสริฐ ณ นคร และศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิ
ศกุล ได้ศึกษาคำาอ่านทำาให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นจากการ
สันนิษฐาน ผู้แต่งอาจมีมากกว่า ๑ คน เพราะเนื้อเรื่อง ในหลัก
ศิลาจารึกแบ่งได้เป็น ๓ ตอน คือ
ตอนแรกกล่าวถึง พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำาแหง
ใช้คำาแทนชื่อว่า "กู" เข้าใจว่า พ่อขุนรามคำาแหงคงจะทรงแต่ง
เกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์เอง
ตอนที่ ๒ เป็นการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ใช้คำาว่า
พ่อขุนรามคำาแหง โดยเริ่มต้นว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำาแหงเมือง
สุโขทัยนี้ดี......" จึงเข้าใจว่าจะต้อง เป็นผู้อื่นแต่ง เพิ่มเติมภาย
หลัง ตอนที่ 3 เป็นตอนยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำาแหง โดยเริ่ม
ต้นว่า "พ่อขุนรามคำาแหง นั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้ง
หลาย......" ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าความ
ในตอนที่ ๓ คงจารึกหลังตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ จึงเข้าใจ
ว่าผู้อื่นแต่งต่อในภายหลัง
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
8
๑. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น
เช่น หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจน
ชี้แจงอาณาเขตของกรุงสุโข
๒. เพื่อสดุดีพระเกียรติพ่อขุนรามคำาแหง
ลักษณะการแต่ง
แต่งเป็นร้อยแก้ว ลักษณะเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด และมี
สัมผัสคล้องจองกันระหว่างวรรคบ้าง
เนื้อเรื่อง
โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่
รูปแบบการแต่งเป็นร้อยแก้ว เขียนลงบนแท่งหินสี่เหลี่ยม
ทั้งสี่ด้าน ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทยตามแบบอย่างการใช้
ภาษาสมัยสุโขทัยเนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอน
ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ – ๑๘ เป็นอัตชีวประวัติของ
พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์พระร่วง ดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้
ตอนที่ ๒ เล่าเรื่อง เหตุการณ์และธรรมเนียมนิยมของคน
สุโขทัย การดำาเนินชีวิต การนับ
ถือพุทธศาสนา การนับถือผี และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
ตอนที่ ๓ เป็นคำาสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุน
รามคำาแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัย
คำาอ่านปัจจุบันของหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง
ด้านที่ ๑
พ่อกู ชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง
ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญีงโสง พี่เผือผู้อ้ายตาย
จากเผือเตียมแต่ยักเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้ สิบเก้าเข้า ขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุน
สามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู
หนีญญ่ายพายจแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู
กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมือง
แพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ููชื่อพระรามคำาแหง
9
เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำาเรอแก่พ่อกู กูบำาเรอ
แก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมาก
หวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้
กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง
ได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพ่อกู กูพรำ่า
บำาเรอแก่พี่กู ดั่งบำาเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม
เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำาแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในนำ้ามีปลา ในนามี
ข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไป
ขาย ใคร่จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้า
เงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหาย
กว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำามัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้า
ข้าไท ป่าหมากพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้า
ลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึ่งแล่งความแก่ขา
ด้วยซื้อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใครพีน เห็นสินท่าน
บ่ใครเดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่
มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวง
เป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี ใน
ปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว ู้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลาง
บ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้า
เถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำาแหงเจ้า
เมืองได้
ด้านที่ ๒
ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมือง
สุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็
หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายใน
เมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลาง
เมืองสุโขทัยนี้ มีนำ้าตระพังโพยสี ใสกินดี ... ดั่งกินนำ้าโขงเมื่อ
แล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุ
โขทันนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำาแหงเจ้า
เมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน
ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธ
ศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน
10
เดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนม
ดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบ
ล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียง กัน
แต่อญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดำบงดำกลองด้วยเสียงพาดเสียงพิณ
เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจัก
มักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคน
เสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่ง
จักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระ
อัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอัน
ราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหา
เถร เบื้องตะวันตก เมืองสุโขทัยนี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำาแหง
กระทำา โอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตร
หลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ใน
กลางอรัญญิก มีพิหารอันณื่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐาร
ศอันณื่ง ลุกยืน เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มี
ทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้าน
เล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกส้
ด้านที่ ๓
(งแต่)ง เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอ
จนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่ มีนา มีถิ่น
ถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร
ปู่ครูอยู่ มีสรดีภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีนำ้าโคก มี
พระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุน
ผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิ
ไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ๑๒๑๔ ศก
ปีมะโรง พ่อขุนรามคำาแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูก
ไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ชั่งพันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาล
นี้ วันเดือนดับ เดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน
ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก
ฝูงท่วยจำาศีล ผิใช่วันสูดธรรม พ่อขุนรามคำาแหง เจ้าเมืองศรีสัช
ชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดานหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน
ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้าง
11
เผือกกระพัดลยาง เที้ยรย่อมทองงา... (ซ้าย) ขวา ชื่อรูจาครี
พ่อขุนรามคำาแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ (เถิง) อรัญญิกแล้วเข้ามา
จารึกอันณื่ง มีในเมืองชเลียง สถาบกไว้ ด้วยพระศรีรัตนธาตุ
จารึกอันณื่ง มีในถำ้ารัตนธาร ในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน
อันณื่งชื่อศาลาพระมาส อันณื่งชื่อพุทธศานา ขดานหินนี้ ชื่อ
มนังศิลาบาตร สถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น
ด้านที่ ๔
พ่อขุนพระรามคำาแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนใน
เมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ทั้งมาก
กาวลาว แลไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฎ... ไทยชาวอูชาวของมาออก
๑๒๐๗ ศกปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำาบูชา
บำาเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัช
ชนาลัยก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระ
มหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปี
มะแม พ่อขุนรามคำาแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้
ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำาแหงนั้นหา
เป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอน
ไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วย รู้
ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอ
มิได้ อาจปราบฝูงข้าเสีก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวัน
ออก รอด สรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถีง
เวียงจันทน์เวียงคำาเป็นที่แล้ว เบื้(อ)งหัวนอน รอดคนที พระบาง
แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพรชบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทร
เป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี
สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมือง
น... เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยง ฝูงลูก
บ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน
จะเห็นได้ว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำาแหง มี
คุณสมบัติเด่นในแง่ประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี และประวัติ
ภาษาไทยเป็นอย่างมาก คุณค่าของวรรณกรรมเรื่องนี้ ได้แก่
12
๑. ด้านภาษา จารึกของพ่อขุนรามคำาแหงเป็นหลักฐานที่
สำาคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงกำาเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย
เช่น กล่าวถึงหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย ด้านสำานวนการ
ใช้ถ้อยคำาในการเรียบเรียงจะเห็นว่า - ถ้อยคำาส่วนมากเป้นคำา
พยางค์เดียวและเป็นคำาไทยแท้ เช่น อ้าง โสง นาง เป็นต้น - มี
คำาที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตปนอยู่บ้าง เช่น ศรีอินทราทิตย์
ตรีบูร อรัญญิก ศรัทธา พรรษา เป็นต้น - ใช้ประโยคสั้น ๆ ให้
ความหมายกระชับ เช่น แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง -
ข้อความบางตอนใช้คำาซำ้า เช่น "ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่า
ลางก็หลายในเมืองนี้ - นิยมคำาคล้องจองในภาษาพูด ทำาให้เกิด
ความไพเราะ เช่น "ในนำ้ามีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบเอาจกอบ
ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" - ใช้ภาษาที่เป็น
ถ้อยคำาพื้น ๆ เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
๒. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติ
พ่อขุนรามคำาแหง จารึกไว้ทำานองเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจน
ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสภาพสังคมของกรุง
สุโขทัย ทำาให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย พระ
ปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำาแหง และสภาพชีวิตความเป็น
อยู่ของชาวสุโขทัย
๓. ด้านสังคม ให้ความรู้ด้านกฎหมายและการปกครอง
สมัยกรุงสุโขทัย ว่ามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหา
กษัตริย์ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด
๔. ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับ
วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาวสุโขทัยที่ปฏิสืบมาจนถึง
ปัจจุบัน เช่น การเคารพบูชาและเลี้ยงดูบิดามารดา นอกจากนั้น
ยังได้กล่าวถึงประเพณีทางศาสนา เช่น การทอดกฐินเมื่อออก
พรรษา ประเพณีการเล่นรื่นเริงมีการจุดเทียนเล่นไฟ พ่อขุน
รามคำาแหงโปรดให้ราษฎรทำาบุญและฟังเทศน์ในวันพระ เช่น
"คนเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน.......ฝูงท่วยมี
ศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"
13
กล่าวเฉพาะในแง่ของวรรณคดี และภาษาไทย ศิลาจารึก
คือต้นกำาเนิดของตัวอักษรไทยและการวางอักขรวิธีแบบไทยเดิม
ดังบทความต่อไปนี้ (ธนกร ช่อไม้ทอง. เว็บไซต์.)
ท่านผู้รู้นักประวัติศาสตร์หลายท่าน คาดกันว่า เริ่ม
จากแบบอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้ ได้ถูกนำามาดัดแปลง
เป็นอักษรขอม อักษรขอมนี้นำามาเขียนภาษาบาลี สันสกฤต
ได้สะดวก แต่พ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงเห็นว่าการนำา
มาเขียนเป็นภาษาไทยนั้นไม่สะดวก เพราะไม่มีวรรณยุกต์
เป็นเครื่องหมายกำาหนดเสียงสูงตำ่าและมีสระน้อย ไม่เพียง
พอจะเขียนภาษาไทยได้ตามต้องการ พระองค์จึงทรงมี
พระราชดำาริแก้ไขแบบอักษรเสียใหม่ให้เป็นลักษณะอักษร
ไทย (ซึ่งถ้าสังเกตถ้อยคำาในศิลาจารึก จะเห็นคำาว่า "นี้" อยู่
ต่อคำาว่า "ลายสือ" ทุกแห่ง คงจะมีความหมายว่าตัวอักษร
แบบนี้ยังไม่เคยมี) พระองค์ทรงแก้รูปตัวอักษรให้เขียนได้
รวดเร็วกว่าอักษรขอม ทั้งสระและพยัญชนะก็จะเขียนอยู่
ในบรรทัดเดียวกัน
แม้ว่าพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชจะมิได้เป็นผู้ทรง
ประดิษฐ์รูปอักษรขึ้นโดยพระองค์เองก็ตาม (๑) การที่
พระองค์ทรงแก้ไขตัวอักษรเสียใหม่ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น
นับเป็นการสำาคัญ เป็นการพัฒนาต่อยอดทางความคิด คือ
การนำาภูมิความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่เดิมในขณะนั้นมาพัฒนา
ให้เกิดความเหมาะสม ให้มีความสะดวกในการจารึกและ
อ่าน อีกทั้งเสียงที่ใช้นั้นก็มีความครบถ้วนตามลักษณะเสียง
ที่ใช้ในภาษาไทย สิ่งนี้นับเป็นคุณประโยชน์อย่างมหาศาล
เป็นวิวัฒนาการ อันทำาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทาง
ความรู้และวิทยาการในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง แสดงให้
เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในเชิงภาษาศาสตร์และความเป็น
นักปราชญ์ของพระองค์
ครั้นล่วงรัชกาลพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชแล้ว จะเป็น
ระยะเวลานานเท่าใดไม่ปรากฏแน่ชัด มีผู้แก้ไขกลับไปใช้
คุณลักษณะบางอย่างตามแบบหนังสือขอม ซึ่งมีสระอยู่ข้าง
14
หน้าพยัญชนะบ้าง อยู่ข้างหลังพยัญชนะบ้าง อย่างเช่นใช้
ในแบบหนังสือไทยมาจนทุกวันนี้
ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงคิดค้นขึ้นนี้
ได้มีผู้นำาไปใช้กันแพร่หลายต่อไปในประเทศใกล้เคียงในสมัย
นั้น เช่น ในล้านช้าง ล้านนา และประเทศข้างฝ่ายใต้ของ
อาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา
ลักษณะของตัวอักษรไทย
สระ ๒๐ ตัว
วรรณยุกต์ ๒ รูป ตัวเลข ๖ ตัว
พยัญชนะ ๓๙ ตัว
15
ท่านผู้รู้บางท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประดิษฐ์
ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชอีกนัยหนึ่งว่า จาก
การดูที่เหตุผลแวดล้อม พยัญชนะไทยน่าจะมีครบทั้ง ๔๔ ตัว
ตั้งแต่ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชแล้ว ทางขอมได้ภาษา
บาลี-สันสกฤตเป็นครู มีพยัญชนะจำานวน ๓๓ ตัวเท่ากับภาษา
บาลี พ่อขุนรามคำาแหงได้แบบอย่างจากขอมและอินเดีย ครั้ง
แรกนั้นคงเป็นพยัญชนะ ๓๔ ตัว (ตัดนิคหิต ออก ๑ ตัว แต่
พระองค์ได้นำามาใช้แทนตัว ม อย่างสันสกฤตและขอม) ต่อมา
พระองค์อาจจะทรงคิดค้นเพิ่มเติมอีก ๑๐ ตัว ที่เรียกว่า
"พยัญชนะเติม" เพื่อให้เสียงพอใช้ในภาษาไทย
พยัญชนะเติม ๑๐ ตัวคือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ จะ
เห็นว่าพยัญชนะเหล่านี้ได้เพิ่มเข้า
มาจากพยัญชนะวรรคมีเสียงที่พ้องกัน เช่น ฃ พ้องเสียงกับ ข
ฅ พ้องเสียงกับ ค ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชนั้น ตัว
อักษรนี้คงออกเสียงเป็นคนละหน่วยเสียงกัน แต่ ฃ กับ ฅ คงจะ
ออกเสียงได้ยากกว่า เราจึงรักษาเอาไว้ไม่ได้ มีอันต้องสูญไป
อย่างน่าเสียดาย (๒) เหตุผลคือ ถ้าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน
พระองค์จะไม่ทรงคิดเสียงซำ้ากัน เช่นนั้น ฃ กับ ข และ ฅ กับ ค
จึงน่าจะเป็นคนละหน่วยเสียงกันเช่นเดียวกับภาษาบาลี
สันสกฤต ที่ออกเสียงพยัญชนะวรรคตะ ต่างกับเสียงพยัญชนะ
วรรคฏะ แต่เมื่อเรารับเข้ามาใช้ เราออกเสียงอย่างเขาไม่ได้
เราจึงออกเสียงเหมือนกัน เช่นเดียวกับ ตัว ส, ษ, ศ ก็เช่น
เดียวกัน เขาออกเสียงต่างกันแต่เราออกเสียงเหมือนกันหมด
เสียงใดที่ออกยากย่อมสูญได้ง่าย
(๑) หนังสือพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำาแหง
มหาราช และรวมเรื่องเมืองสุโขทัย กรมศิลปากร
(๒) เลิกใช้เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ต่อมาเกิด
พจนานุกรมฉบับ ปีพระพุทธศักราช ๑๓๙๓ จึงได้ประกาศเลิก
ใช้อย่างเป็นทางการ
สำาหรับความงดงามในแง่ของวรรณคดีนั้น ศิลาจารึกหลักที่
๑ พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ได้รับการยอมรับดังต่อไปนี้
16
ศิลาจารึกจัดว่าเป็นวรรณคดีที่สำาคัญประเภทหนึ่ง ที่มี
ประโยชน์ในด้านการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
โบราณคดี ตลอดจนวิชาอักษรศาสตร์ วัฒนธรรม และอื่นๆ
ศิลาจารึกที่มีผู้นำามาเป็นหลักฐานหลักได้ มีทั้งสิ้น ๒๘ หลัก
และคงไม่มีผู้ใดปฏิเสธหากจะกล่าวว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑
ของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ที่เป็นต้นแบบแห่งอักษร
ไทยนั้น จะจัดเข้าเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งทางด้าน
วรรณกรรม ดังนี้
๑) ใช้คำากะทัดรัด สละสลวย เช่น
- กูไปตีหนังวังช้าง (ไปคล้องช้าง)
- บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน (ไม่เข้ากับคนผิด)
๒) เน้นคำาได้กระชับ เช่น
- เจ็บท้องข้องใจ
- ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี
- พ่อขุนรามคำาแหงนั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่
ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลาย
ให้รู้บุญรู้แท้ แต่คนอันมีเมืองไทยด้วยรู้หลวก ด้วย
แกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้
๓) มีโวหารเปรียบเทียบได้ดี ทำาให้เกิดภาพพจน์และมี
จินตนาการ เช่น
- เมืองสุโขทัยนี้ดี ในนำ้ามีปลาในนามีเข้า
- นำ้าตระพังโพยสีใสกินดีดั่งกินนำ้าโขงเมื่อแล้ง
- มีพระอัฎฐารศอันหนึ่งลุกยืน (กล่าวถึง
พระพุทธรูปยืน)
๔) มีคำาสัมผัส คล้องจอง
- ไพร่ฟ้าหน้าใส
- เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย
จะเห็นว่าภาษาของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชนั้น
อ่านแล้วได้อรรถรสของถ้อยคำา เป็นภาษาไทยแท้ที่
เขียนเป็นความสั้นๆ แต่ได้ใจความที่ลึกซึ้ง กินใจ
17
ทำาให้เกิดจินตนาการของผู้อ่านได้กว้างไกล เช่นท่อน
หนึ่งบนศิลาจารึก กล่าวว่า
"... เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำาแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ใน
นำ้ามีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง
เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า
ใครจักใคร่ค้าม้าค้า..."
วรรณคดีเรื่องนี้ ได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ในสมัยราช
อาณาจักรสุโขทัยไว้หลาย
ด้านนอกเหนือจากความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์และ
นิรุกติศาสตร์ ซึ่งพอจะยกมาเป็นตัวอย่างให้เห็นโดยสังเขป
ได้แก่
๑) ให้ความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ โดยบอกเล่าถึง
พระราชประวัติ
พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช, เรื่องราวของราชอาณาจักรสุโขทัย
๒) ด้านประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ บอกเล่าถึง
อาณาเขตของราชอาณาจักรสุโขทัย
ในขณะนั้นว่ามีเขตแดนติดต่อกับประเทศใดบ้าง
๓) ด้านนิติศาสตร์ บอกเล่าถึงเรื่องของกรรมสิทธิ์,
การรับมรดก, กฎหมาย
ระหว่างประเทศที่ไม่มีการทำาร้ายเชลยศึก และอื่นๆ ซึ่ง
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้กล่าวไว้ว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง
มหาราชนี้ นับได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
๔) ด้านรัฐศาสตร์ บอกเล่าถึงระบอบการปกครอง ที่
เป็นการปกครองที่เป็นแบบ
พ่อปกครองลูก, การตัดสินความต่างๆ ให้ทรงไว้ซึ่งความเป็น
จริง เป็นไปอย่างยุติธรรม
๕) ด้านเศรษฐศาสตร์ การพาณิชย์ บอกเล่าถึงการ
เก็บภาษี การค้าของประชาชน
มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า มีตลาดสำาหรับค้าขาย
18
๖) ด้านการเกษตร บอกเล่าถึงการปลูกสวนผลไม้ ทำา
นา พื้นที่ทำากิน มีความอุดม
สมบูรณ์ มีการกักเก็บนำ้าเพื่อไว้ใช้ในหน้าแล้ง
๗) ด้านสังคมศาสตร์ บอกเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่
เรียบง่าย ประชาชนมีศีลธรรม
การคบค้าสมาคมกันเป็นไปอย่างมีมิตรไมตรี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
บุตรทำานุบำารุงปรนนิบัติผู้เป็นบิดามารดา ผู้เป็นน้องให้ความ
เคารพและดูแลปรนนิบัติต่อผู้เป็นพี่เยี่ยงบิดามารดา
๘) ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี บอกเล่าถึงประเพณี
การถือศีลในช่วงเข้าพรรษา
ประเพณีกรานกฐินหลังออกพรรษา การเผาเทียนเล่นไฟ
๙) ด้านศาสนา บอกเล่าถึงการให้ทานรักษาศีล สร้าง
วัด โบสถ์ วิหาร ศาสนสถา
ต่างๆ มีการทำานุบำารุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง เป็นสิ่งที่แสดง
ให้เห็นว่าราชอาณาจักรสุโขทัยนั้น มีพระพุทธศาสนาเป็น
ศาสนาประจำาชาติ
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีประเด็นที่ถกเถียงกันถึงความจริง
บางประการเกี่ยวกับศิลาจารึก โดยบางส่วนมองว่า ศิลาจารึก
เป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์มากกว่าจะเป็นของ
โบราณที่ทำาขึ้นในสมัยสุโขทัย ดังนี้ (มติชน. วันที่ ๐๔ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๔๖ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๙๓๐๙. หน้า ๑)
ศิลาจารึก"เจ๋ง พิสูจน์ได้ทั้งวิทย์-โบราณคดีนัก
วิชาการสายกรมศิลป์ยัน เหมาะสมกับรางวัลยูเนสโก
ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณ ท้าลั่นพิสูจน์ศิลาจารึก
พ่อขุนรามคำาแหง หลักที่ ๑ ของจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ ใคร
บอกปลอมให้หาหลักฐานประวัติศาสตร์มายืนยัน "ปองพล"
เผยเคยมีคนส่งหนังสือคัดค้านถึงยูเนสโก
เมื่อวันที่ ๓ กันยายน นายปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ให้สัมภาษณ์
กรณีนักประวัติศาสตร์ระบุหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง
19
หลักที่ ๑ ไม่ได้ทำาขึ้นสมัยพ่อขุนรามคำาแหง แต่ทำาขึ้นใน
สมัยรัชกาลที่ ๔ ว่า ใครที่คัดค้านเรื่องนี้ก็ช่วยไม่ได้เพราะ
ทางองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง
สหประชาชาติ (ยูเนสโก) มีมติให้หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
ของพ่อขุนรามคำาแหงเป็นมรดกโลก ก่อนหน้านี้มีคนส่ง
หนังสือคัดค้านไปที่ยูเนสโกว่าไม่ใช่ของจริงที่สร้างสมัย
พ่อขุนรามคำาแหง ทางกระทรวงชี้แจงยูเนสโกไปแล้ว ส่วน
การจัดงานสมโภชศิลาจารึกดังกล่าวนี้ในวาระครบรอบ
๗๒๐ ปี จะจัดในปี ๒๕๔๖ นี้แต่ต้องหารือร่วมกับหน่วยงา
นอื่นๆ ด้วย สำาหรับหลักศิลาจารึกดังกล่าวนี้จัดเก็บไว้ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. กล่าวว่า
การที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นมรดกโลกเป็นเรื่องที่น่ายินดี
มากกว่า ประชาชนชาวไทยน่าดีใจเอาไว้ก่อน ยิ่งในช่วงที่
จะประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย
แปซิฟิก(เอเปค)ในเดือนตุลาคมน่าจะเป็นสิ่งดีมากๆ ส่วน
กรณีที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนบอกว่าไม่ใช่ของจริงเป็น
ของปลอมเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์กันภายหลังได้
นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา
โบราณ กรมศิลปากร กล่าวว่า หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของ
พ่อขุนรามคำาแหงเป็นของจริง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะจาก
การศึกษาตัวอักษรหลักศิลาจารึกพบว่าเป็นตัวอักษรที่
พ่อขุนรามคำาแหงคิดค้นขึ้น เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ที่ใช้ขึ้น
จะเห็นว่าพยัญชนะที่เขียนจะไม่มีขอบบนล่างเหมือนอักษร
ขอม สระพยัญชนะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน การเขียนอักษร
พ่อขุนรามคำาแหงไม่ต้องยกเครื่องมือเขียน สามารถเขียน
ติดต่อกันได้เลยในแต่ละพยัญชนะเป็นเอกลักษณ์มาจนถึง
ทุกวันนี้ แต่ถ้าเป็นอักษรของขอมหรือของภาษาอังกฤษ
เวลาเขียนพยัญชนะส่วนใหญ่ต้องยกเครื่องมือเขียน เช่น
ตัว T ต้องขีดเส้นตรงบนและถึงจะขีดเส้นตรงล่าง การ
เขียนต้องยกปากกาเวลาเขียน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึง
ความเป็นอิสระทางภาษา นอกจากนี้ในหลักศิลาจารึกดัง
20
กล่าวจะเขียนเป็นรูปสละลอยอย่างคำาในศิลาจารึกขุนศรี
อินทราทิตย์ ในศิลาจารึกรุ่นหลังๆ จะใช้รูปสระลอย
"นักประวัติศาสตร์และคนที่ออกมาบอกว่าหลักศิลา
จารึกนี้เป็นของปลอม อยากทราบว่าบุคคลเหล่านี้เคยอ่าน
หลักศิลาจารึกและมีความรู้เรื่องนี้หรือเปล่า หากออกมาระ
บุว่าทำาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ควรจะมีหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ออกมายืนยัน ไม่อยากให้ออกมาพูดลอยๆ
แบบนี้" ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณกล่าว
คุณหญิงแม้นมาศ ชวลิต ประธานที่ปรึกษาคณะ
กรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยแผนงานความทรงจำาของโลก
กล่าวว่า เหตุผลที่มีการเสนอหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของ
พ่อขุนรามคำาแหงเป็นมรดกโลก จะเห็นว่าในหลักศิลา
จารึก ๔ ด้านจะมีเนื้อหาที่บ่งบอกถึงหลักการปกครองบ้าน
เมืองของพ่อขุนรามคำาแหงตรงกับหลักสิทธิมนุษยชนที่เปิด
โอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง เช่น
การให้ราษฎรมาสั่นระฆังเวลามีเรื่องเดือดร้อน การจัด
ระเบียบบ้านเมืองใครใคร่ค้าช้างค้า ใคร่ค้าม้าค้า ราษฎร
จะเดินทางไปค้าที่ไหนก็ได้แสดงถึงความเป็นอิสระ การส่ง
เสริมให้ราษฎรอยู่ในศีลธรรม มีการเชิญพระเถระมาเทศน์
ให้ราษฎรฟัง สิ่งเหล่านี้ทางยูเนสโกก็เห็นความสำาคัญ
"ส่วนเรื่องที่มีคนค้านว่าไม่ใช่หลักศิลาจารึกจริงนั้น
ทางยูเนสโกไม่ได้สนใจประเด็นเหล่านี้เท่าไร แต่ทางคณะ
กรรมการก็ได้ทำาหนังสือชี้แจงเรื่องเหล่านี้ไปด้วย ว่ามีการ
ศึกษาและพิสูจน์แล้วว่าเป็นของจริงที่สร้างสมัยพ่อขุน
รามคำาแหง นอกจากนี้ยังพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์โดยสำานัก
โบราณคดี กรมศิลปากร จากหินหลักศิลาจารึกก็มีอายุอยู่
ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหง มีการพิสูจน์รอยขีดของตัวอักษร
ในหลักศิลาจารึกด้วย เรื่องเหล่านี้ปกติตามหลักการก็ต้องมี
การพิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปด้วย ส่วนที่บาง
ท่านบอกว่าคำาบางคำาไม่ควรจะมีในสมัยนั้นก็มีการถกเถียง
กันและได้มีการศึกษาพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน
อย่างคำาว่า "ช่าง" ก็มีการจารึกไว้หลักศิลาจารึกหลักที่
21
๑๐๖ หลักที่ ๑๐๒ เป็นคำาว่าช่างเกวียน หลักที่ ๕๔ เป็นช่าง
ลุ" คุณหญิงแม้นมาศกล่าว
คุณหญิงแม้นมาศกล่าวว่า การจะเสนอให้หลักศิลา
จารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายทำากันอย่าง
รอบคอบให้มากที่สุด เพราะการที่จะเอาชื่อเสียงของพ่อขุน
รามคำาแหงไปเสนอนั้นจะต้องทำาให้ทุกคนมีความเชื่อถือ
เลื่อมใสเคารพนับถือในพระองค์ หากไม่มีพระองค์เราก็
อาจจะไม่มีภาษาที่เป็นภาษาไทยจนทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม
จะการแปลหลักศิลาจารึกเพื่อเผยแพร่เป็นภาษาจีน
เยอรมนี จากเดิมที่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษและ
ภาษาฝรั่งเศสแล้ว อีกทั้งจะมีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ด้วย
นายวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปกรรมศาสตร์
และวัฒนธรรม กล่าวว่า เชื่อในศิลาจารึกมาตั้งแต่อดีตโดย
ไม่มีคำาว่าของจริงหรือปลอม จนกระทั่งมีงานวิจัยของนาย
พิริยะ ไกรฤกษ์ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำาวิจัยในช่วงที่เป็นอาจารย์
อยู่มหาวิทยาลัยศิลปากร(มศก.) โดยวิจัยในมุมมอง
ประวัติศาสตร์ศิลป์ และโบราณคดี ก็รับฟังได้ แต่ไม่ได้
หมายความว่าศิลาจารึกหลัก ๑ เป็นของปลอม เพราะ
เป็นการนำาเสนอโดยใช้ด้านมนุษยวิทยาเข้าไปแยกแยะ
ฉะนั้น จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าศิลาจารึกหลัก ๑ เป็นของ
ปลอม และส่วนใหญ่ยังเชื่อกันว่าเป็นของจริงมากกว่า
"ประวัติศาสตรศิลป์ไม่มีข้อมูลชัดเจนตายตัว ฉะนั้น
โดยความเชื่อส่วนตัวต้องถือว่าเป็นของจริง และการที่ยู
เนสโกยกย่องให้เป็นมรดกความทรงจำาของโลกเราก็น่าจะ
ยินดี เพราะจะเป็นพลังกระตุ้นถึงความเป็นคนไทยขึ้นมาใน
กระแสโลกปัจจุบัน ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ดี" นายวิรุณกล่าว
นายพุฒิ วีระประเสริฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัย
ศิลปากร กล่าวว่า เวลานี้ความเชื่อในเรื่องแบ่งออกเป็น ๒
ทฤษฎี ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการคิด พูด การกลายของภาษา และ
ตัวอักษร เป็นเรื่องของการตีความทั้งสิ้น บางคนเชื่อว่าศิลา
จารึกที่เก่าที่สุดคือหลัก ๒ และเป็นของจริง แต่บางคนบอก
22
ว่าทำาขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔ เพราะต้องสร้างความรู้สึกรักชาติ
อย่างไรก็ตาม คงต้องดูดีๆ เพราะมีศิลาจารึกอีกหลายหลัก
ที่เขียนอักษรเช่นเดียวกับหลัก ๑ แต่ทำาไมต้องตีความว่า
ศิลาจารึกหลัก ๑ เป็นของปลอม และถ้าทำาปลอมจริง คนทำา
ต้องเป็นยอดอัจฉริยะถึงทำาอันอื่นได้เหมือน
นายพุฒิกล่าวอีกว่า การที่ยูเนสโกยกย่องให้ศิลา
จารึกหลัก ๑ เป็นมรดกความทรงจำาของโลกนั้น ไม่เห็นว่า
เสียหายตรงไหน เพราะไม่ได้ทำาให้ประเทศเสียหาย จึงไม่
จำาเป็นจะต้องปฏิเสธ
นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ รองปลัด ศธ. ในฐานะ
เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยยูเนสโก หนึ่งใน
๓ คน ที่ร่วมเดินทางไปชี้แจงต่อคณะกรรมการที่ปรึกษา
นานาชาติ ของยูเนสโก กล่าวว่า ในการชี้แจงต่อยูเนสโก
นอกจากตน คุณหญิงแม้นมาศแล้ว ยังมีนักวิชาการที่ได้รับ
การยอมรับคือนายอดุล วิเชียรเจริญ กรรมการแห่งชาติว่า
ด้วยยูเนสโก ร่วมไปชี้แจงด้วย ได้นำาหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ทั้งเอกสารทางวิชาการ หนังสือ จาก
หอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุ ตลอดจนหนังสือที่
ชาวต่างชาติเขียนไว้ไปยืนยัน อาทิ Thailand a short
history เขียนโดย David K. Wyatt หรือแม้แต่ข้อทักท้วง
ของนักวิชาการบางกลุ่มเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ นำาไป
เสนอด้วย แต่คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติของยูเนส
โกยังยอมรับ และลงมติสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ให้จด
ทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ ๑ ในโครงการมรดกความทรงจำา
ของโลก
"ไม่คิดว่าคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติของยูเนส
โกให้จดทะเบียนเพราะเวทนา อย่างที่นายสุจิตต์ วงษ์เทศ
บรรณาธิการและผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือศิลปวัฒนธรรม
ระบุ เพราะคณะกรรมการดังกล่าวมีมาตรฐานและประกอบ
ด้วยผู้เชี่ยวชาญ เหมือนเป็นการดูถูกสติปัญญาของคณะ
กรรมการ และเป็นการก้าวล่วงเกินขอบเขตของนัก
วิชาการ ซึ่งถ้าคนวิจารณ์เข้าไปนั่งฟังอยู่ในที่ประชุมด้วย
23
แล้วเห็นว่าลงมติให้ด้วยความเวทนาจริง จึงจะพูดอย่างนั้น
ได้" นางสาวิตรีกล่าว
นางอมรา ศรีสุชาติ ผู้อำานวยการพิพิธสถานแห่งชาติ
รามคำาแหงสุโขทัย กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่
ยูเนสโกเห็นความสำาคัญของศิลาจารึก แต่เมื่อยกย่องหลัก
ที่ ๑ แล้ว น่าจะยกย่องหลักอื่นเสมอเหมือนกัน เนื่องจาก
ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยมีมากกว่า ๑๐ หลัก แต่ละหลักกล่าว
ถึงอารยธรรม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาสุโขทัยไว้มากมาย
ส่วนความเห็นของประวัติศาสตร์บางสายที่บอกว่าไม่ใช่
จารึกสมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช เพราะสร้างขึ้นใหม่
นั้น เห็นว่าด้านที่ ๑ บ่งบอกไว้ชัดเจนแล้วว่า "พ่อกูชื่อศรี
อินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูมีพี่น้อง
ท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจาก
เผือเตียมแต่ยังเล็ก" หมายถึงพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช
คิดและทรงเล่าเรื่องให้ช่างสลักลงบนหลักศิลา จึงถือได้ว่า
ศาลาจารึกหลักที่ ๑ เกิดขึ้นโดยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช
อย่างแท้จริง
"ทางจังหวัด โดยพิพิธภัณฑ์จะจัดสัมมนาทาง
โบราณคดีอดีตปัจจุบันอนาคตขึ้นในวันที่ ๕-๖ กันยายนนี้
ที่โรงแรมไพลินสุโขทัย มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้าน
ประวัติศาสตร์และโบราณคดีร่วมจำานวนมาก" นางอมรา
กล่าว
นายอมรทัติ นิรัตศยกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
กล่าวว่า ชาวสุโขทัยต่างดีใจและจะประชุมเพื่อจัดงาน
เฉลิมฉลองให้ยิ่งใหญ่พร้อมกับงานสมโภชวันอานุภาพ
พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ทางจังหวัดจัดมา ๗ ปีแล้ว ครั้ง
นี้นี้จะเฉลิมฉลองหลักศิลาจารึกไปพร้อมกันด้วยในวันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๔๗
จารึกพ่อขุนรามคำาแหง "ไม่ปลอม" : จากมุมมอง
ของนักวิทยาศาสตร์
คุณจิราภรณ์ อรัณยะนาค ได้เขียนบทความและให้
ทัศนะเกี่ยวกับจารึกพ่อขุน
24
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย
พัฒนาการวรรณกรรมไทย

More Related Content

What's hot

ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕
ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕
ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕
อร ครูสวย
 
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เกษสุดา สนน้อย
 
ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2ระดับภาษา 2
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยYanee Chaiwongsa
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน0872191189
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57Chok Ke
 
ตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความnurmedia
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความพัน พัน
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Thanawut Rattanadon
 
แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์
แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์
แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์bambookruble
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
สุภาพร สิทธิการ
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1
peter dontoom
 
ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี
ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดีความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี
ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี
Watcharapol Wiboolyasarin
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีSivagon Soontong
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docxหน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
SophinyaDara
 
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
sripayom
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1พัน พัน
 
G14 เรื่อง วารสาร นิตยสาร
G14 เรื่อง วารสาร นิตยสารG14 เรื่อง วารสาร นิตยสาร
G14 เรื่อง วารสาร นิตยสาร
อาฟีฟะห์ หะยีนอ
 
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
Blackrab Chiba
 

What's hot (20)

ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕
ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕
ข้อสอบปลายภาค ๑ ๒๕๕๕
 
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
 
ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน
 
คำประสม
คำประสมคำประสม
คำประสม
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57
 
ตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความ
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความ
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์
แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์
แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1
 
ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี
ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดีความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี
ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docxหน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
 
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
 
G14 เรื่อง วารสาร นิตยสาร
G14 เรื่อง วารสาร นิตยสารG14 เรื่อง วารสาร นิตยสาร
G14 เรื่อง วารสาร นิตยสาร
 
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
 

Viewers also liked

สรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆ
สรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆสรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆ
สรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆKachornrat Udomsri
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางNattha Namm
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
Ruangrat Watthanasaowalak
 
วรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางวรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางChalita Tabkhampa
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
vanichar
 
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
Parn Parai
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 

Viewers also liked (7)

สรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆ
สรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆสรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆ
สรุปวิวัฒนาการของวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆ
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
วรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางวรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
 
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 

More from Kun Cool Look Natt

Eng of pre – cadet
Eng  of  pre – cadetEng  of  pre – cadet
Eng of pre – cadet
Kun Cool Look Natt
 
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
Kun Cool Look Natt
 
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
Kun Cool Look Natt
 
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างบรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
Kun Cool Look Natt
 
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่างคำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
Kun Cool Look Natt
 
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
Kun Cool Look Natt
 
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
Kun Cool Look Natt
 
แนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่านแนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่าน
Kun Cool Look Natt
 
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี) แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
Kun Cool Look Natt
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
Kun Cool Look Natt
 
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
Kun Cool Look Natt
 
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
Kun Cool Look Natt
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
Kun Cool Look Natt
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
Kun Cool Look Natt
 

More from Kun Cool Look Natt (14)

Eng of pre – cadet
Eng  of  pre – cadetEng  of  pre – cadet
Eng of pre – cadet
 
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
การใช้ภาษาไทย สำหรับชาวต่างประเทศ
 
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
 
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างบรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
 
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่างคำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
คำนำ สารบัญ-บทคัดย่อ สลับร่าง
 
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
สารบัญ - ภาพรวมของงานวิจัย เรื่อง กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
 
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
กลวิธีหนีตาย ในนวนิยายของกิ่งฉัตร
 
แนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่านแนวการสอน ทักษะการอ่าน
แนวการสอน ทักษะการอ่าน
 
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี) แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
 
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
รายงานการปฏิบัติงานสอนที่ยูนนานนอร์มอล 2552 - 2553
 
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
รายงานผลการปฏิบัติการแลกเปลี่ยนการสอนที่ยูนนานนอร์มอล
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
 
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนทางสังคมเพื่อศึกษากา...
 

พัฒนาการวรรณกรรมไทย

  • 1. บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณกรรมไทย คำาว่า "วรรณกรรม" มีความหมายตรงกับคำาภาษาอังกฤษ ว่า "Literature Works" หรือ "General Literature" และการใช้ คำาว่า "วรรณกรรม" มีปรากฏครั้งแรกในพระราชบัญญัติ คุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยให้คำานิยามคำา ว่า "วรรณกรรมและศิลปกรรม" รวมกันไว้ดังนี้ "วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำา ขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนก ศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือนาฏกียกรรม หรือนาฏกีย-ดนตรีกรรม หรือแบบฟ้อน รำาและการเล่นแสดงให้คนดูโดยวิธีใบ้ ซึ่งการแสดงนั้นได้ กำาหนดไว้เป็นหนังสือหรืออย่างอื่น ๆ" คำาว่า "วรรณกรรม" ก็ได้นิยมใช้กันแพร่หลายมาตามลำาดับ และสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสำานักงานวัฒนธรรมทางวรรณกรรม รวมอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ มีหน้าที่ เผยแพร่วรรณกรรมและส่งเสริมศิลปะการแต่งหนังสือ เพื่อรักษา วัฒนธรรมไทยอย่างเป็นทางราชการสืบต่อจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ธวัช ปุณโณทก. 2527 : 1) กุหลาบ มัลลิกะมาส (2517 :7) กล่าวว่า คำาว่า "วรรณกรรม" มาจากการสร้างศัพท์ใหม่ แทนคำาว่า "Literature" โดยวิธีสมาส หรือรวมคำา จากคำาว่า วรรณ หรือ บรรณ ซึ่งหมายถึงใบไม้ หรือ หนังสือ รวมกับคำาว่า กรรม ซึ่ง หมายถึงการกระทำา ดังนั้นวรรณกรรม จึงหมายถึง การกระทำาที่ เกี่ยวกับหนังสือ โดยความหมายของวรรณกรรม หมายถึง สิ่งซึ่ง เขียนขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปใด หรือเพื่อความมุ่งหมาย 1
  • 2. ใด ซึ่งอาจจะเป็นใบปลิวหนังสือพิมพ์ นวนิยาย คำาอธิบาย ฉลาก ยา เป็นต้นก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ ทำาขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือในรูปอย่างใด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำาปราศัย สุนทรพจน์ สิ่งบันทึกเสียง ภาพ ส่วน ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ และเจตนา นาควัชระ (2520 : 58) ได้ให้ความหมายของวรรณกรรมว่า หมายถึง หนังสือ หรือเอกสาร ที่มีศิลปกรรมในฐานะที่มีรูปแบบ มีสาระ เนื้อหาที่ผู้เขียนพยายามสื่อความคิดด้วยวิธีการหนึ่งมายังผู้อ่าน สิทธา พินิจภูวดล และคณะ (2515 : 35) กล่าวว่า วรรณกรรม หมายถึงงานเขียนในรูปบทกวีนิพนธ์ ร้อยกรอง และข้อเขียนทั้งหมดที่ใช้ภาษาร้อยแก้ว ได้แก่ บทความ สารคดี นวนิยาย เรื้องสั้น เรียงความ บทละคร บทภาพยนตร์ บท โทรทัศน์ ตลอดจนคอลัมน์ต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์ พระยาอนุมานราชธน หรือ เสฐียรโกเศศ (2515 : 24) ได้ กล่าวว่า วรรณกรรมหมายถึงการกระทำาหนังสือหรือหนังสือที่ แต่งขึ้นทั่วไปโดยมิได้จำากัดว่าเป็นหนังสือพวกใดพวกหนึ่งโดย เฉพาะ ส่วนจะมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่าง หาก สมพร มันตะสูตร (2525 : 10-11) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนทุกชนิด ทุกชิ้นที่สามารถสื่อสารได้น่าจะเป็น วรรณกรรม ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้แต่งส่งสารไปยังผู้รับ ผู้รับ สามารถสื่อความเข้าใจจากสารที่ผู้แต่งส่งมาได้ ก็ถือว่ามีการ สื่อสารกันขึ้นแล้วงานเขียนนั้นนับว่าเป็นวรรณกรรม โจเซฟ เมอร์แซนต์ (Mersand 1973 : 313) กล่าวว่า คำา จำากัดความง่าย ๆ ของวรรณกรรมก็คือ การเขียนทั้งในรูปแบบ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ซึ่งถ้าพิจารณาคำาจำากัดความนี้ตามหลัก การแล้วบทกวีที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรก หรือ รายการสั่งซื้อสินค้า ทางจดหมายก็เรียกว่าวรรณกรรมด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้ ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น วรรณกรรมจะต้องเป็นรูปแบบการ 2
  • 3. เขียนที่ดี มีประเด็นน่าวิจารณ์และมีความคิดที่น่าสนใจเป็น อันดับสุดท้าย ทัศนะต่าง ๆ ที่มีผู้ให้คำาจำากัดความตามที่กล่าวมา มีความ สอดคล้องกับความหมายของวรรณกรรมที่ให้ไว้ในการสัมมนา ของชุมนุมวรรณศิลป์ 6 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำาแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยการค้า เมื่อปี พ.ศ. 2518 ว่า “วรรณกรรมคืองานสร้างสรรค์ทางศิลปะที่ใช้ภาษา เป็นสื่อกลางไม่ว่าจะมีเนื้อหาแบบใดก็ตาม มีขอบเขตถึง งานเขียนทุกชนิด เช่น วรรณคดี นวนิยาย เรื้องสั้น บทความ รวมถึงวรรณกรรมที่เล่าสืบต่อกันมาด้วยปาก เช่น นิยายพื้นบ้าน บทเพลงต่าง ๆ เป็นต้น (อ้างถึงใน วรรณี ชา ลี. 2522 : 4)” อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ให้ความหมายของวรรณกรรมที่แตก ต่างออกไป มิใช่จำากัดอยู่แต่เฉพาะงานเขียนทั่ว ๆ ไป เช่น เอมอร ชิตตะโสภณ (2521 : 11-12,21) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึงข้อเขียนต่าง ๆ ที่ทำาขึ้นด้วยความปราณีต แต่ยังไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณคดี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ กาลเวลาหนึ่ง ยังไม่มีหน่วยงานใดที่มีหน้าที่พิจารณาหนึ่ง และ ฯลฯ พร้อมกับชี้ประเด็นว่าหากจะพิจารณาว่า วรรณกรรม คือ งานเขียนทั่ว ๆ ไปแล้วไซร้ ทุกอย่างที่เป็นงานเขียน เช่น พงศาวดาร ตัวบทกฏหมาย พระราชกฤษฎีกา ประกาศต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งจดหมายรัก ก็จะกลายเป็นวรรณกรรมไปหมด เรา ควรคำานึงถึงความจริงข้อที่ว่า วรรณกรรมในภาษาอังกฤษก็มี "Literature" ปนอยู่ด้วย ฉะนั้น วรรณกรรมไม่ควรจะเป็นเพียง งานเขียนแต่ควรจะเป็นงานที่มีศิลปะปนอยู่ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ วรรณกรรมชิ้นใดก็ตามควรจะเกิดมาจากความตั้งใจของผู้ เขียนในอันที่จะถ่ายทอดความรู้สึกหรือทัศนะของเขาออกมา 3
  • 4. เป็นตัวอักษรอย่างมีศิลปะ ไม่ว่าจะมาจากประสบการณ์หรือแรง บันดาลใจ หรืออารมณ์สะเทือนใจก็ตาม สมพร มันตะสูตร (2524 : 5) อธิบายเพิ่มเติมจากคำาจำากัด ความที่ได้กล่าวมาแล้วว่า วรรณกรรม หมายถึงงานเขียนที่เกิด ขึ้นจากอารมณ์สะเทือนใจ และมีศิลปะในการนำาเสนอทั้งในด้าน ความรู้ ความคิด ความสะเทือนใจด้วย การถ่ายทอดเป็นภาษา ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ไม่จำากัดรูปแบบและเนื้อหา วรรณกรรมนั้นมีความดีเด่น ให้ความประทับใจ เสถียร จันทิมาธร (2516 : 8) อธิบายว่าวรรณกรรม คือ ผลิตผลที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถ่ายความจัดเจนที่ได้รับจาก การต่อสู้ของชีวิต ทั้งในทางธรรมชาติและทางสังคม เป็นการ สร้างวัฒนธรรมทางศิลปะ รับใช้ผลประโยชน์ของกลุ่มความคิด ที่ตนสังกัดอยู่ อย่างไรก็ตาม ความหมายของวรรณกรรมที่มีผู้ให้ไว้หลาก หลายนี้ ตามความหมายของหนังสือความรู้ทั่วไปทาง วรรณกรรมนั้นจะมีความหมายกว้าง โดยกินความครอบคลุม งานหนังสือทุกชนิดหรือสิ่งพิมพ์ทุกประเภท ทั้งหนังสือทั่วไป หนังสือตำารา หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร และเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น 4
  • 5. บทที่ ๒ การศึกษาวรรณกรรมสมัยสุโขทัย การศึกษาวรรณคดีต้องมีการวิเคราะห์ในหลายแง่มุม ประกอบกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจ หลากหลายด้าน และสามารถวิจักษณ์ หรือเข้าถึงได้อย่างลึกซึ้ง แง่มุมหนึ่งซึ่งควรจะนำามาพิจารณาประกอบได้แก่ การศึกษา สภาพทางประวัติศาสตร์สมัยนั้น เพราะจะเป็นบริบทสำาคัญใน การกำาหนดแนวคิด ความเชื่อ หรือพฤติกรรมของบุคคล ดังคำา กล่าวที่ว่า เราสามารถอ่านสังคมได้จากวรรณกรรม และอ่าน วรรณกรรมได้จากสังคม ผู้ศึกษาวรรณคดี จึงสมควรทำาความ เข้าใจในบริบทของสังคมด้วยส่วนหนึ่ง ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยมั่นคงเป็นปึกแผ่นขึ้น หลังจากที่เข้ามามี อำานาจเหนือขอมได้เมื่อ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ โดยพ่อขุนบาง กลางหาวเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้ รวมกำาลังกันยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นเมือง ใหญ่หน้า ด่าน ของขอม มีผู้ปกครอง เมืองเรียกว่าขอมสมาดโขลญลำาพง รักษาเมืองอยู่ เมื่อตีกรุงสุโขทัยได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองก็ได้ อภิเษกให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มี พระนาม ตามอย่างที่ขอม เคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า "ศรีอินทรปตินทราทิตย์" แต่ในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำาแหง ว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย (ราชวงศ์ พระร่วง) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง มีพระราชโอรส สามพระองค์ องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ ตั้งแต่ยังเยาว์องค์กลางมี 5
  • 6. นามว่าบานเมือง และองค์เล็กมีนามว่า พระรามคำาแหงในรัช สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรเล็กๆ มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ จดอาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักร ลานนาไทยอาณาจักรพะเยาทิศตะวันตก จดเมืองฉอด เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้น ครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒ และได้ทรงตั้งพระรามคำาแหง เป็นมหาอุปราชครองเมืองชะเลียง พ่อขุนบานเมือง ได้ครอง ราชย์ อยู่จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๒๒ ก็สวรรคต พ่อขุนรามคำาแหง (พระอนุชา)จึงขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓ พระองค์ทรง เป็นนักรบที่ปรีชาสามารถ ก่อนครองราชสมบัติ เคยทรงชนช้าง ชนะเจ้าเมืองฉอด และในสมัยของพระองค์อาณาจักรสุโขทัย สงบราบคาบ กว้างใหญ่ไพศาล มีการเจริญสัมพันธไมตรีฉัน เพื่อนกับพระเจ้าเม็งราย แห่งเชียงใหม่ พระยางำาเมืองแห่ง พะเยา และในขณะเดียวกันก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับมอญ เล่า กันว่า มะกะโทกษัตริย์มอญ ทรงเป็นราชบุตรเขยของพระองค์ นอกจากนี้ทรงได้เจริญสัมพันธไมตรี กับจีน จนได้ช่างฝีมือชาว จีนมาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสังคโลกในสุโขทัย และในรัช สมัย พ่อขุนรามคำาแหงนี้เริ่มมีวรรณคดีที่จารึกเป็นหลักฐานของ ชาติขึ้นเป็นครั้งแรก สุโขทัยเริ่มเสื่อมอำานาจลงหลังสมัยพ่อขุนรามคำาแหง พระเจ้าเลอไทยกษัตริย์องค์ที่ ๔ ไม่ทรงมีพระปรีชาสามารถและ เข้มแข็งเท่าพระราชบิดา ทำาให้หัวเมืองต่าง ๆ พากัน แข็งข้อ เป็นอิสระพระเจ้า อู่ทองเจ้าเมืองอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ ได้ทรง ขยาย อาณาเขต กว้างขวางขึ้นและทรงสถาปนาอยุธยาเป็น ราชธานี ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๓๕๐) พระเจ้าเลอไทยสวรรคตใน พ.ศ. ๑๘๙๐ มีการแย่งราช สมบัติระหว่างราชโอรส ๒ พระองค์ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิ ไท) ได้ทรงครองราชสมบัติแทน พระองค์เป็น กษัตริย์ที่ทรง เลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทรงอุทิศเวลา ศึกษาพุทธ ศาสนาอย่างจริงจัง ทรงนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงทรงสร้าง วัดและสถูปเจดีย์ต่าง ๆ มากมาย และสร้างสถานที่ สำาคัญต่าง ๆ ในสุโขทัยอีกหลายแห่ง 6
  • 7. พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ราชโอรสของพระมหาธรรมราชา ที่ ๑ (ลิไท) ได้ทรงสืบ ราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา อำานาจ กรุงสุโขทัยได้สิ้นสุดลงหลังจากได้เอกราชมาประมาณ ๑๔๐ ปี เมื่อ กองทัพของพระเจ้าบรมราชาที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาตีได้ ใน พ.ศ. ๑๙๒๑ แต่ราชวงศ์สุโขทัยยังคงครองสุโขทัยสืบต่อมา อีกประมาณ ๖๐ ปีจนถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๔ พระเจ้า บรมราชาที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาณาจักร สุโขทัยเสียใหม่ โดยทรงตั้งสมเด็จพระราเมศวร พระ ราชโอรสไปครองพิษณุโลก การปฏิบัติ เช่นนี้ถือว่าเป็นการสิ้น สุดอำานาจของราชวงศ์สุโขทัยอย่างเด็ดขาดและสุโขทัยกลาย เป็น ส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่นั้นมา วรรณคดีสมัยสุโขทัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นเรื่องสำาคัญ มีอยู่ ๔ เรื่อง คือ ๑. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกของพ่อขุนรามคำาแหง มหาราช ๒. สุภาษิตพระร่วง ๓. เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิพระร่วง ๔. นางนพมาศ หรือตำารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง) ประวัติความเป็นมา เมื่อราชวงศ์สุโขทัยได้สูญเสียอำานาจและกลายเป็นเมือง ร้าง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง และศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ที่จารึก ในยุคนั้นก็สาบสูญ ไปจากความทรงจำาของชาวไทย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำารง พระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และผนวชอยู่ที่วัดรา ชาธิวาสได้เสด็จธุดงค์เมืองเหนือ (ปีมะเส็ง เญจศก จุลศักราช ๑๑๙๓) ในระหว่างประทับอยู่ที่สุโขทัยได้ทรงพบศิลาจารึก และ พระแท่นมนังศิลา ณ บริเวณเนินประสาทพระราชวังเก่าสุโขทัย ครั้นเมื่อจะเสด็จกลับก็โปรดเกล้าฯ ให้นำาพระแท่น มนังคศิลา และศิลาจารึกกลับมาไว้ที่วัดสมอราย(ราชาธิวาส) ที่กรุงเทพฯ แล้วย้ายมาไว้ ที่วัดบวรนิเวศ เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ 7
  • 8. จึงได้โปรดให้นำามาไว้ที่วิหารขาว วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พระบรมมหา ราชวัง ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้นำาศิลาจารึกนี้ไป รวมกับศิลาจารึกอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ปัจจุบันนี้ อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้แต่ง มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำาแหงหลาย ท่าน และผู้ที่มีบทบาท สำาคัญก็คือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้าน ภาษาตะวัน ออก ได้ศึกษาศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำาแหง และได้จัดทำาคำา อ่านไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาสตราจารย์ฉำ่า ทองคำา วรรณ และผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาโบราณ อีกหลายคน ได้ศึกษา การอ่านคำาจารึก และการตีความถ้อยคำาในศิลาจารึกพ่อขุน รามคำาแหง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิ ศกุล ได้ศึกษาคำาอ่านทำาให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นจากการ สันนิษฐาน ผู้แต่งอาจมีมากกว่า ๑ คน เพราะเนื้อเรื่อง ในหลัก ศิลาจารึกแบ่งได้เป็น ๓ ตอน คือ ตอนแรกกล่าวถึง พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำาแหง ใช้คำาแทนชื่อว่า "กู" เข้าใจว่า พ่อขุนรามคำาแหงคงจะทรงแต่ง เกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์เอง ตอนที่ ๒ เป็นการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ใช้คำาว่า พ่อขุนรามคำาแหง โดยเริ่มต้นว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำาแหงเมือง สุโขทัยนี้ดี......" จึงเข้าใจว่าจะต้อง เป็นผู้อื่นแต่ง เพิ่มเติมภาย หลัง ตอนที่ 3 เป็นตอนยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำาแหง โดยเริ่ม ต้นว่า "พ่อขุนรามคำาแหง นั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้ง หลาย......" ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าความ ในตอนที่ ๓ คงจารึกหลังตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ จึงเข้าใจ ว่าผู้อื่นแต่งต่อในภายหลัง จุดมุ่งหมายในการแต่ง 8
  • 9. ๑. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เช่น หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจน ชี้แจงอาณาเขตของกรุงสุโข ๒. เพื่อสดุดีพระเกียรติพ่อขุนรามคำาแหง ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว ลักษณะเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด และมี สัมผัสคล้องจองกันระหว่างวรรคบ้าง เนื้อเรื่อง โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่ รูปแบบการแต่งเป็นร้อยแก้ว เขียนลงบนแท่งหินสี่เหลี่ยม ทั้งสี่ด้าน ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทยตามแบบอย่างการใช้ ภาษาสมัยสุโขทัยเนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอน ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ – ๑๘ เป็นอัตชีวประวัติของ พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์พระร่วง ดัง ตัวอย่างต่อไปนี้ ตอนที่ ๒ เล่าเรื่อง เหตุการณ์และธรรมเนียมนิยมของคน สุโขทัย การดำาเนินชีวิต การนับ ถือพุทธศาสนา การนับถือผี และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ตอนที่ ๓ เป็นคำาสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุน รามคำาแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัย คำาอ่านปัจจุบันของหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง ด้านที่ ๑ พ่อกู ชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญีงโสง พี่เผือผู้อ้ายตาย จากเผือเตียมแต่ยักเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้ สิบเก้าเข้า ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุน สามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมือง แพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ููชื่อพระรามคำาแหง 9
  • 10. เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำาเรอแก่พ่อกู กูบำาเรอ แก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมาก หวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพ่อกู กูพรำ่า บำาเรอแก่พี่กู ดั่งบำาเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำาแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในนำ้ามีปลา ในนามี ข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไป ขาย ใคร่จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้า เงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหาย กว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำามัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้า ข้าไท ป่าหมากพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้า ลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึ่งแล่งความแก่ขา ด้วยซื้อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใครพีน เห็นสินท่าน บ่ใครเดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่ มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวง เป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี ใน ปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว ู้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลาง บ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้า เถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำาแหงเจ้า เมืองได้ ด้านที่ ๒ ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมือง สุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็ หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายใน เมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลาง เมืองสุโขทัยนี้ มีนำ้าตระพังโพยสี ใสกินดี ... ดั่งกินนำ้าโขงเมื่อ แล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุ โขทันนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำาแหงเจ้า เมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธ ศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน 10
  • 11. เดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนม ดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบ ล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียง กัน แต่อญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดำบงดำกลองด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจัก มักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคน เสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่ง จักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระ อัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอัน ราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหา เถร เบื้องตะวันตก เมืองสุโขทัยนี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำาแหง กระทำา โอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตร หลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ใน กลางอรัญญิก มีพิหารอันณื่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐาร ศอันณื่ง ลุกยืน เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มี ทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้าน เล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกส้ ด้านที่ ๓ (งแต่)ง เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอ จนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่ มีนา มีถิ่น ถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรดีภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีนำ้าโคก มี พระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุน ผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิ ไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำาแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูก ไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ชั่งพันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาล นี้ วันเดือนดับ เดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจำาศีล ผิใช่วันสูดธรรม พ่อขุนรามคำาแหง เจ้าเมืองศรีสัช ชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดานหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้าง 11
  • 12. เผือกกระพัดลยาง เที้ยรย่อมทองงา... (ซ้าย) ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำาแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ (เถิง) อรัญญิกแล้วเข้ามา จารึกอันณื่ง มีในเมืองชเลียง สถาบกไว้ ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันณื่ง มีในถำ้ารัตนธาร ในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันณื่งชื่อศาลาพระมาส อันณื่งชื่อพุทธศานา ขดานหินนี้ ชื่อ มนังศิลาบาตร สถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น ด้านที่ ๔ พ่อขุนพระรามคำาแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนใน เมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ทั้งมาก กาวลาว แลไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฎ... ไทยชาวอูชาวของมาออก ๑๒๐๗ ศกปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำาบูชา บำาเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัช ชนาลัยก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระ มหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปี มะแม พ่อขุนรามคำาแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำาแหงนั้นหา เป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอน ไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วย รู้ ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอ มิได้ อาจปราบฝูงข้าเสีก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวัน ออก รอด สรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถีง เวียงจันทน์เวียงคำาเป็นที่แล้ว เบื้(อ)งหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพรชบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทร เป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมือง น... เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยง ฝูงลูก บ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน จะเห็นได้ว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำาแหง มี คุณสมบัติเด่นในแง่ประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี และประวัติ ภาษาไทยเป็นอย่างมาก คุณค่าของวรรณกรรมเรื่องนี้ ได้แก่ 12
  • 13. ๑. ด้านภาษา จารึกของพ่อขุนรามคำาแหงเป็นหลักฐานที่ สำาคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงกำาเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย เช่น กล่าวถึงหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย ด้านสำานวนการ ใช้ถ้อยคำาในการเรียบเรียงจะเห็นว่า - ถ้อยคำาส่วนมากเป้นคำา พยางค์เดียวและเป็นคำาไทยแท้ เช่น อ้าง โสง นาง เป็นต้น - มี คำาที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตปนอยู่บ้าง เช่น ศรีอินทราทิตย์ ตรีบูร อรัญญิก ศรัทธา พรรษา เป็นต้น - ใช้ประโยคสั้น ๆ ให้ ความหมายกระชับ เช่น แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง - ข้อความบางตอนใช้คำาซำ้า เช่น "ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่า ลางก็หลายในเมืองนี้ - นิยมคำาคล้องจองในภาษาพูด ทำาให้เกิด ความไพเราะ เช่น "ในนำ้ามีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบเอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" - ใช้ภาษาที่เป็น ถ้อยคำาพื้น ๆ เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน ๒. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติ พ่อขุนรามคำาแหง จารึกไว้ทำานองเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจน ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสภาพสังคมของกรุง สุโขทัย ทำาให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย พระ ปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำาแหง และสภาพชีวิตความเป็น อยู่ของชาวสุโขทัย ๓. ด้านสังคม ให้ความรู้ด้านกฎหมายและการปกครอง สมัยกรุงสุโขทัย ว่ามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหา กษัตริย์ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ๔. ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาวสุโขทัยที่ปฏิสืบมาจนถึง ปัจจุบัน เช่น การเคารพบูชาและเลี้ยงดูบิดามารดา นอกจากนั้น ยังได้กล่าวถึงประเพณีทางศาสนา เช่น การทอดกฐินเมื่อออก พรรษา ประเพณีการเล่นรื่นเริงมีการจุดเทียนเล่นไฟ พ่อขุน รามคำาแหงโปรดให้ราษฎรทำาบุญและฟังเทศน์ในวันพระ เช่น "คนเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน.......ฝูงท่วยมี ศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน" 13
  • 14. กล่าวเฉพาะในแง่ของวรรณคดี และภาษาไทย ศิลาจารึก คือต้นกำาเนิดของตัวอักษรไทยและการวางอักขรวิธีแบบไทยเดิม ดังบทความต่อไปนี้ (ธนกร ช่อไม้ทอง. เว็บไซต์.) ท่านผู้รู้นักประวัติศาสตร์หลายท่าน คาดกันว่า เริ่ม จากแบบอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้ ได้ถูกนำามาดัดแปลง เป็นอักษรขอม อักษรขอมนี้นำามาเขียนภาษาบาลี สันสกฤต ได้สะดวก แต่พ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงเห็นว่าการนำา มาเขียนเป็นภาษาไทยนั้นไม่สะดวก เพราะไม่มีวรรณยุกต์ เป็นเครื่องหมายกำาหนดเสียงสูงตำ่าและมีสระน้อย ไม่เพียง พอจะเขียนภาษาไทยได้ตามต้องการ พระองค์จึงทรงมี พระราชดำาริแก้ไขแบบอักษรเสียใหม่ให้เป็นลักษณะอักษร ไทย (ซึ่งถ้าสังเกตถ้อยคำาในศิลาจารึก จะเห็นคำาว่า "นี้" อยู่ ต่อคำาว่า "ลายสือ" ทุกแห่ง คงจะมีความหมายว่าตัวอักษร แบบนี้ยังไม่เคยมี) พระองค์ทรงแก้รูปตัวอักษรให้เขียนได้ รวดเร็วกว่าอักษรขอม ทั้งสระและพยัญชนะก็จะเขียนอยู่ ในบรรทัดเดียวกัน แม้ว่าพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชจะมิได้เป็นผู้ทรง ประดิษฐ์รูปอักษรขึ้นโดยพระองค์เองก็ตาม (๑) การที่ พระองค์ทรงแก้ไขตัวอักษรเสียใหม่ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น นับเป็นการสำาคัญ เป็นการพัฒนาต่อยอดทางความคิด คือ การนำาภูมิความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่เดิมในขณะนั้นมาพัฒนา ให้เกิดความเหมาะสม ให้มีความสะดวกในการจารึกและ อ่าน อีกทั้งเสียงที่ใช้นั้นก็มีความครบถ้วนตามลักษณะเสียง ที่ใช้ในภาษาไทย สิ่งนี้นับเป็นคุณประโยชน์อย่างมหาศาล เป็นวิวัฒนาการ อันทำาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทาง ความรู้และวิทยาการในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง แสดงให้ เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในเชิงภาษาศาสตร์และความเป็น นักปราชญ์ของพระองค์ ครั้นล่วงรัชกาลพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชแล้ว จะเป็น ระยะเวลานานเท่าใดไม่ปรากฏแน่ชัด มีผู้แก้ไขกลับไปใช้ คุณลักษณะบางอย่างตามแบบหนังสือขอม ซึ่งมีสระอยู่ข้าง 14
  • 15. หน้าพยัญชนะบ้าง อยู่ข้างหลังพยัญชนะบ้าง อย่างเช่นใช้ ในแบบหนังสือไทยมาจนทุกวันนี้ ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงคิดค้นขึ้นนี้ ได้มีผู้นำาไปใช้กันแพร่หลายต่อไปในประเทศใกล้เคียงในสมัย นั้น เช่น ในล้านช้าง ล้านนา และประเทศข้างฝ่ายใต้ของ อาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา ลักษณะของตัวอักษรไทย สระ ๒๐ ตัว วรรณยุกต์ ๒ รูป ตัวเลข ๖ ตัว พยัญชนะ ๓๙ ตัว 15
  • 16. ท่านผู้รู้บางท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประดิษฐ์ ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชอีกนัยหนึ่งว่า จาก การดูที่เหตุผลแวดล้อม พยัญชนะไทยน่าจะมีครบทั้ง ๔๔ ตัว ตั้งแต่ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชแล้ว ทางขอมได้ภาษา บาลี-สันสกฤตเป็นครู มีพยัญชนะจำานวน ๓๓ ตัวเท่ากับภาษา บาลี พ่อขุนรามคำาแหงได้แบบอย่างจากขอมและอินเดีย ครั้ง แรกนั้นคงเป็นพยัญชนะ ๓๔ ตัว (ตัดนิคหิต ออก ๑ ตัว แต่ พระองค์ได้นำามาใช้แทนตัว ม อย่างสันสกฤตและขอม) ต่อมา พระองค์อาจจะทรงคิดค้นเพิ่มเติมอีก ๑๐ ตัว ที่เรียกว่า "พยัญชนะเติม" เพื่อให้เสียงพอใช้ในภาษาไทย พยัญชนะเติม ๑๐ ตัวคือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ จะ เห็นว่าพยัญชนะเหล่านี้ได้เพิ่มเข้า มาจากพยัญชนะวรรคมีเสียงที่พ้องกัน เช่น ฃ พ้องเสียงกับ ข ฅ พ้องเสียงกับ ค ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชนั้น ตัว อักษรนี้คงออกเสียงเป็นคนละหน่วยเสียงกัน แต่ ฃ กับ ฅ คงจะ ออกเสียงได้ยากกว่า เราจึงรักษาเอาไว้ไม่ได้ มีอันต้องสูญไป อย่างน่าเสียดาย (๒) เหตุผลคือ ถ้าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน พระองค์จะไม่ทรงคิดเสียงซำ้ากัน เช่นนั้น ฃ กับ ข และ ฅ กับ ค จึงน่าจะเป็นคนละหน่วยเสียงกันเช่นเดียวกับภาษาบาลี สันสกฤต ที่ออกเสียงพยัญชนะวรรคตะ ต่างกับเสียงพยัญชนะ วรรคฏะ แต่เมื่อเรารับเข้ามาใช้ เราออกเสียงอย่างเขาไม่ได้ เราจึงออกเสียงเหมือนกัน เช่นเดียวกับ ตัว ส, ษ, ศ ก็เช่น เดียวกัน เขาออกเสียงต่างกันแต่เราออกเสียงเหมือนกันหมด เสียงใดที่ออกยากย่อมสูญได้ง่าย (๑) หนังสือพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำาแหง มหาราช และรวมเรื่องเมืองสุโขทัย กรมศิลปากร (๒) เลิกใช้เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ต่อมาเกิด พจนานุกรมฉบับ ปีพระพุทธศักราช ๑๓๙๓ จึงได้ประกาศเลิก ใช้อย่างเป็นทางการ สำาหรับความงดงามในแง่ของวรรณคดีนั้น ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ได้รับการยอมรับดังต่อไปนี้ 16
  • 17. ศิลาจารึกจัดว่าเป็นวรรณคดีที่สำาคัญประเภทหนึ่ง ที่มี ประโยชน์ในด้านการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตลอดจนวิชาอักษรศาสตร์ วัฒนธรรม และอื่นๆ ศิลาจารึกที่มีผู้นำามาเป็นหลักฐานหลักได้ มีทั้งสิ้น ๒๘ หลัก และคงไม่มีผู้ใดปฏิเสธหากจะกล่าวว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ที่เป็นต้นแบบแห่งอักษร ไทยนั้น จะจัดเข้าเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งทางด้าน วรรณกรรม ดังนี้ ๑) ใช้คำากะทัดรัด สละสลวย เช่น - กูไปตีหนังวังช้าง (ไปคล้องช้าง) - บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน (ไม่เข้ากับคนผิด) ๒) เน้นคำาได้กระชับ เช่น - เจ็บท้องข้องใจ - ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี - พ่อขุนรามคำาแหงนั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลาย ให้รู้บุญรู้แท้ แต่คนอันมีเมืองไทยด้วยรู้หลวก ด้วย แกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ ๓) มีโวหารเปรียบเทียบได้ดี ทำาให้เกิดภาพพจน์และมี จินตนาการ เช่น - เมืองสุโขทัยนี้ดี ในนำ้ามีปลาในนามีเข้า - นำ้าตระพังโพยสีใสกินดีดั่งกินนำ้าโขงเมื่อแล้ง - มีพระอัฎฐารศอันหนึ่งลุกยืน (กล่าวถึง พระพุทธรูปยืน) ๔) มีคำาสัมผัส คล้องจอง - ไพร่ฟ้าหน้าใส - เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย จะเห็นว่าภาษาของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชนั้น อ่านแล้วได้อรรถรสของถ้อยคำา เป็นภาษาไทยแท้ที่ เขียนเป็นความสั้นๆ แต่ได้ใจความที่ลึกซึ้ง กินใจ 17
  • 18. ทำาให้เกิดจินตนาการของผู้อ่านได้กว้างไกล เช่นท่อน หนึ่งบนศิลาจารึก กล่าวว่า "... เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำาแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ใน นำ้ามีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า..." วรรณคดีเรื่องนี้ ได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ในสมัยราช อาณาจักรสุโขทัยไว้หลาย ด้านนอกเหนือจากความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์และ นิรุกติศาสตร์ ซึ่งพอจะยกมาเป็นตัวอย่างให้เห็นโดยสังเขป ได้แก่ ๑) ให้ความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ โดยบอกเล่าถึง พระราชประวัติ พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช, เรื่องราวของราชอาณาจักรสุโขทัย ๒) ด้านประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ บอกเล่าถึง อาณาเขตของราชอาณาจักรสุโขทัย ในขณะนั้นว่ามีเขตแดนติดต่อกับประเทศใดบ้าง ๓) ด้านนิติศาสตร์ บอกเล่าถึงเรื่องของกรรมสิทธิ์, การรับมรดก, กฎหมาย ระหว่างประเทศที่ไม่มีการทำาร้ายเชลยศึก และอื่นๆ ซึ่ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้กล่าวไว้ว่า ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง มหาราชนี้ นับได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ๔) ด้านรัฐศาสตร์ บอกเล่าถึงระบอบการปกครอง ที่ เป็นการปกครองที่เป็นแบบ พ่อปกครองลูก, การตัดสินความต่างๆ ให้ทรงไว้ซึ่งความเป็น จริง เป็นไปอย่างยุติธรรม ๕) ด้านเศรษฐศาสตร์ การพาณิชย์ บอกเล่าถึงการ เก็บภาษี การค้าของประชาชน มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า มีตลาดสำาหรับค้าขาย 18
  • 19. ๖) ด้านการเกษตร บอกเล่าถึงการปลูกสวนผลไม้ ทำา นา พื้นที่ทำากิน มีความอุดม สมบูรณ์ มีการกักเก็บนำ้าเพื่อไว้ใช้ในหน้าแล้ง ๗) ด้านสังคมศาสตร์ บอกเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ เรียบง่าย ประชาชนมีศีลธรรม การคบค้าสมาคมกันเป็นไปอย่างมีมิตรไมตรี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุตรทำานุบำารุงปรนนิบัติผู้เป็นบิดามารดา ผู้เป็นน้องให้ความ เคารพและดูแลปรนนิบัติต่อผู้เป็นพี่เยี่ยงบิดามารดา ๘) ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี บอกเล่าถึงประเพณี การถือศีลในช่วงเข้าพรรษา ประเพณีกรานกฐินหลังออกพรรษา การเผาเทียนเล่นไฟ ๙) ด้านศาสนา บอกเล่าถึงการให้ทานรักษาศีล สร้าง วัด โบสถ์ วิหาร ศาสนสถา ต่างๆ มีการทำานุบำารุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง เป็นสิ่งที่แสดง ให้เห็นว่าราชอาณาจักรสุโขทัยนั้น มีพระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาประจำาชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีประเด็นที่ถกเถียงกันถึงความจริง บางประการเกี่ยวกับศิลาจารึก โดยบางส่วนมองว่า ศิลาจารึก เป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์มากกว่าจะเป็นของ โบราณที่ทำาขึ้นในสมัยสุโขทัย ดังนี้ (มติชน. วันที่ ๐๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๙๓๐๙. หน้า ๑) ศิลาจารึก"เจ๋ง พิสูจน์ได้ทั้งวิทย์-โบราณคดีนัก วิชาการสายกรมศิลป์ยัน เหมาะสมกับรางวัลยูเนสโก ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณ ท้าลั่นพิสูจน์ศิลาจารึก พ่อขุนรามคำาแหง หลักที่ ๑ ของจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ ใคร บอกปลอมให้หาหลักฐานประวัติศาสตร์มายืนยัน "ปองพล" เผยเคยมีคนส่งหนังสือคัดค้านถึงยูเนสโก เมื่อวันที่ ๓ กันยายน นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ให้สัมภาษณ์ กรณีนักประวัติศาสตร์ระบุหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง 19
  • 20. หลักที่ ๑ ไม่ได้ทำาขึ้นสมัยพ่อขุนรามคำาแหง แต่ทำาขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ ๔ ว่า ใครที่คัดค้านเรื่องนี้ก็ช่วยไม่ได้เพราะ ทางองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) มีมติให้หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำาแหงเป็นมรดกโลก ก่อนหน้านี้มีคนส่ง หนังสือคัดค้านไปที่ยูเนสโกว่าไม่ใช่ของจริงที่สร้างสมัย พ่อขุนรามคำาแหง ทางกระทรวงชี้แจงยูเนสโกไปแล้ว ส่วน การจัดงานสมโภชศิลาจารึกดังกล่าวนี้ในวาระครบรอบ ๗๒๐ ปี จะจัดในปี ๒๕๔๖ นี้แต่ต้องหารือร่วมกับหน่วยงา นอื่นๆ ด้วย สำาหรับหลักศิลาจารึกดังกล่าวนี้จัดเก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. กล่าวว่า การที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นมรดกโลกเป็นเรื่องที่น่ายินดี มากกว่า ประชาชนชาวไทยน่าดีใจเอาไว้ก่อน ยิ่งในช่วงที่ จะประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย แปซิฟิก(เอเปค)ในเดือนตุลาคมน่าจะเป็นสิ่งดีมากๆ ส่วน กรณีที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนบอกว่าไม่ใช่ของจริงเป็น ของปลอมเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์กันภายหลังได้ นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา โบราณ กรมศิลปากร กล่าวว่า หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของ พ่อขุนรามคำาแหงเป็นของจริง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะจาก การศึกษาตัวอักษรหลักศิลาจารึกพบว่าเป็นตัวอักษรที่ พ่อขุนรามคำาแหงคิดค้นขึ้น เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ที่ใช้ขึ้น จะเห็นว่าพยัญชนะที่เขียนจะไม่มีขอบบนล่างเหมือนอักษร ขอม สระพยัญชนะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน การเขียนอักษร พ่อขุนรามคำาแหงไม่ต้องยกเครื่องมือเขียน สามารถเขียน ติดต่อกันได้เลยในแต่ละพยัญชนะเป็นเอกลักษณ์มาจนถึง ทุกวันนี้ แต่ถ้าเป็นอักษรของขอมหรือของภาษาอังกฤษ เวลาเขียนพยัญชนะส่วนใหญ่ต้องยกเครื่องมือเขียน เช่น ตัว T ต้องขีดเส้นตรงบนและถึงจะขีดเส้นตรงล่าง การ เขียนต้องยกปากกาเวลาเขียน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึง ความเป็นอิสระทางภาษา นอกจากนี้ในหลักศิลาจารึกดัง 20
  • 21. กล่าวจะเขียนเป็นรูปสละลอยอย่างคำาในศิลาจารึกขุนศรี อินทราทิตย์ ในศิลาจารึกรุ่นหลังๆ จะใช้รูปสระลอย "นักประวัติศาสตร์และคนที่ออกมาบอกว่าหลักศิลา จารึกนี้เป็นของปลอม อยากทราบว่าบุคคลเหล่านี้เคยอ่าน หลักศิลาจารึกและมีความรู้เรื่องนี้หรือเปล่า หากออกมาระ บุว่าทำาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ควรจะมีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ออกมายืนยัน ไม่อยากให้ออกมาพูดลอยๆ แบบนี้" ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณกล่าว คุณหญิงแม้นมาศ ชวลิต ประธานที่ปรึกษาคณะ กรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยแผนงานความทรงจำาของโลก กล่าวว่า เหตุผลที่มีการเสนอหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของ พ่อขุนรามคำาแหงเป็นมรดกโลก จะเห็นว่าในหลักศิลา จารึก ๔ ด้านจะมีเนื้อหาที่บ่งบอกถึงหลักการปกครองบ้าน เมืองของพ่อขุนรามคำาแหงตรงกับหลักสิทธิมนุษยชนที่เปิด โอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง เช่น การให้ราษฎรมาสั่นระฆังเวลามีเรื่องเดือดร้อน การจัด ระเบียบบ้านเมืองใครใคร่ค้าช้างค้า ใคร่ค้าม้าค้า ราษฎร จะเดินทางไปค้าที่ไหนก็ได้แสดงถึงความเป็นอิสระ การส่ง เสริมให้ราษฎรอยู่ในศีลธรรม มีการเชิญพระเถระมาเทศน์ ให้ราษฎรฟัง สิ่งเหล่านี้ทางยูเนสโกก็เห็นความสำาคัญ "ส่วนเรื่องที่มีคนค้านว่าไม่ใช่หลักศิลาจารึกจริงนั้น ทางยูเนสโกไม่ได้สนใจประเด็นเหล่านี้เท่าไร แต่ทางคณะ กรรมการก็ได้ทำาหนังสือชี้แจงเรื่องเหล่านี้ไปด้วย ว่ามีการ ศึกษาและพิสูจน์แล้วว่าเป็นของจริงที่สร้างสมัยพ่อขุน รามคำาแหง นอกจากนี้ยังพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์โดยสำานัก โบราณคดี กรมศิลปากร จากหินหลักศิลาจารึกก็มีอายุอยู่ ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหง มีการพิสูจน์รอยขีดของตัวอักษร ในหลักศิลาจารึกด้วย เรื่องเหล่านี้ปกติตามหลักการก็ต้องมี การพิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปด้วย ส่วนที่บาง ท่านบอกว่าคำาบางคำาไม่ควรจะมีในสมัยนั้นก็มีการถกเถียง กันและได้มีการศึกษาพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน อย่างคำาว่า "ช่าง" ก็มีการจารึกไว้หลักศิลาจารึกหลักที่ 21
  • 22. ๑๐๖ หลักที่ ๑๐๒ เป็นคำาว่าช่างเกวียน หลักที่ ๕๔ เป็นช่าง ลุ" คุณหญิงแม้นมาศกล่าว คุณหญิงแม้นมาศกล่าวว่า การจะเสนอให้หลักศิลา จารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายทำากันอย่าง รอบคอบให้มากที่สุด เพราะการที่จะเอาชื่อเสียงของพ่อขุน รามคำาแหงไปเสนอนั้นจะต้องทำาให้ทุกคนมีความเชื่อถือ เลื่อมใสเคารพนับถือในพระองค์ หากไม่มีพระองค์เราก็ อาจจะไม่มีภาษาที่เป็นภาษาไทยจนทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม จะการแปลหลักศิลาจารึกเพื่อเผยแพร่เป็นภาษาจีน เยอรมนี จากเดิมที่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษและ ภาษาฝรั่งเศสแล้ว อีกทั้งจะมีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ด้วย นายวิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปกรรมศาสตร์ และวัฒนธรรม กล่าวว่า เชื่อในศิลาจารึกมาตั้งแต่อดีตโดย ไม่มีคำาว่าของจริงหรือปลอม จนกระทั่งมีงานวิจัยของนาย พิริยะ ไกรฤกษ์ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำาวิจัยในช่วงที่เป็นอาจารย์ อยู่มหาวิทยาลัยศิลปากร(มศก.) โดยวิจัยในมุมมอง ประวัติศาสตร์ศิลป์ และโบราณคดี ก็รับฟังได้ แต่ไม่ได้ หมายความว่าศิลาจารึกหลัก ๑ เป็นของปลอม เพราะ เป็นการนำาเสนอโดยใช้ด้านมนุษยวิทยาเข้าไปแยกแยะ ฉะนั้น จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าศิลาจารึกหลัก ๑ เป็นของ ปลอม และส่วนใหญ่ยังเชื่อกันว่าเป็นของจริงมากกว่า "ประวัติศาสตรศิลป์ไม่มีข้อมูลชัดเจนตายตัว ฉะนั้น โดยความเชื่อส่วนตัวต้องถือว่าเป็นของจริง และการที่ยู เนสโกยกย่องให้เป็นมรดกความทรงจำาของโลกเราก็น่าจะ ยินดี เพราะจะเป็นพลังกระตุ้นถึงความเป็นคนไทยขึ้นมาใน กระแสโลกปัจจุบัน ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ดี" นายวิรุณกล่าว นายพุฒิ วีระประเสริฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ศิลปากร กล่าวว่า เวลานี้ความเชื่อในเรื่องแบ่งออกเป็น ๒ ทฤษฎี ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการคิด พูด การกลายของภาษา และ ตัวอักษร เป็นเรื่องของการตีความทั้งสิ้น บางคนเชื่อว่าศิลา จารึกที่เก่าที่สุดคือหลัก ๒ และเป็นของจริง แต่บางคนบอก 22
  • 23. ว่าทำาขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔ เพราะต้องสร้างความรู้สึกรักชาติ อย่างไรก็ตาม คงต้องดูดีๆ เพราะมีศิลาจารึกอีกหลายหลัก ที่เขียนอักษรเช่นเดียวกับหลัก ๑ แต่ทำาไมต้องตีความว่า ศิลาจารึกหลัก ๑ เป็นของปลอม และถ้าทำาปลอมจริง คนทำา ต้องเป็นยอดอัจฉริยะถึงทำาอันอื่นได้เหมือน นายพุฒิกล่าวอีกว่า การที่ยูเนสโกยกย่องให้ศิลา จารึกหลัก ๑ เป็นมรดกความทรงจำาของโลกนั้น ไม่เห็นว่า เสียหายตรงไหน เพราะไม่ได้ทำาให้ประเทศเสียหาย จึงไม่ จำาเป็นจะต้องปฏิเสธ นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ รองปลัด ศธ. ในฐานะ เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยยูเนสโก หนึ่งใน ๓ คน ที่ร่วมเดินทางไปชี้แจงต่อคณะกรรมการที่ปรึกษา นานาชาติ ของยูเนสโก กล่าวว่า ในการชี้แจงต่อยูเนสโก นอกจากตน คุณหญิงแม้นมาศแล้ว ยังมีนักวิชาการที่ได้รับ การยอมรับคือนายอดุล วิเชียรเจริญ กรรมการแห่งชาติว่า ด้วยยูเนสโก ร่วมไปชี้แจงด้วย ได้นำาหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ทั้งเอกสารทางวิชาการ หนังสือ จาก หอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุ ตลอดจนหนังสือที่ ชาวต่างชาติเขียนไว้ไปยืนยัน อาทิ Thailand a short history เขียนโดย David K. Wyatt หรือแม้แต่ข้อทักท้วง ของนักวิชาการบางกลุ่มเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ นำาไป เสนอด้วย แต่คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติของยูเนส โกยังยอมรับ และลงมติสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ให้จด ทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ ๑ ในโครงการมรดกความทรงจำา ของโลก "ไม่คิดว่าคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติของยูเนส โกให้จดทะเบียนเพราะเวทนา อย่างที่นายสุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการและผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือศิลปวัฒนธรรม ระบุ เพราะคณะกรรมการดังกล่าวมีมาตรฐานและประกอบ ด้วยผู้เชี่ยวชาญ เหมือนเป็นการดูถูกสติปัญญาของคณะ กรรมการ และเป็นการก้าวล่วงเกินขอบเขตของนัก วิชาการ ซึ่งถ้าคนวิจารณ์เข้าไปนั่งฟังอยู่ในที่ประชุมด้วย 23
  • 24. แล้วเห็นว่าลงมติให้ด้วยความเวทนาจริง จึงจะพูดอย่างนั้น ได้" นางสาวิตรีกล่าว นางอมรา ศรีสุชาติ ผู้อำานวยการพิพิธสถานแห่งชาติ รามคำาแหงสุโขทัย กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่ ยูเนสโกเห็นความสำาคัญของศิลาจารึก แต่เมื่อยกย่องหลัก ที่ ๑ แล้ว น่าจะยกย่องหลักอื่นเสมอเหมือนกัน เนื่องจาก ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยมีมากกว่า ๑๐ หลัก แต่ละหลักกล่าว ถึงอารยธรรม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาสุโขทัยไว้มากมาย ส่วนความเห็นของประวัติศาสตร์บางสายที่บอกว่าไม่ใช่ จารึกสมัยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช เพราะสร้างขึ้นใหม่ นั้น เห็นว่าด้านที่ ๑ บ่งบอกไว้ชัดเจนแล้วว่า "พ่อกูชื่อศรี อินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูมีพี่น้อง ท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจาก เผือเตียมแต่ยังเล็ก" หมายถึงพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช คิดและทรงเล่าเรื่องให้ช่างสลักลงบนหลักศิลา จึงถือได้ว่า ศาลาจารึกหลักที่ ๑ เกิดขึ้นโดยพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช อย่างแท้จริง "ทางจังหวัด โดยพิพิธภัณฑ์จะจัดสัมมนาทาง โบราณคดีอดีตปัจจุบันอนาคตขึ้นในวันที่ ๕-๖ กันยายนนี้ ที่โรงแรมไพลินสุโขทัย มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้าน ประวัติศาสตร์และโบราณคดีร่วมจำานวนมาก" นางอมรา กล่าว นายอมรทัติ นิรัตศยกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า ชาวสุโขทัยต่างดีใจและจะประชุมเพื่อจัดงาน เฉลิมฉลองให้ยิ่งใหญ่พร้อมกับงานสมโภชวันอานุภาพ พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ทางจังหวัดจัดมา ๗ ปีแล้ว ครั้ง นี้นี้จะเฉลิมฉลองหลักศิลาจารึกไปพร้อมกันด้วยในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๗ จารึกพ่อขุนรามคำาแหง "ไม่ปลอม" : จากมุมมอง ของนักวิทยาศาสตร์ คุณจิราภรณ์ อรัณยะนาค ได้เขียนบทความและให้ ทัศนะเกี่ยวกับจารึกพ่อขุน 24