SlideShare a Scribd company logo
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ
Thai Underwater Medicine Journal
เจ้าของ
กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ
สำนักงาน
กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ
504 ถ.ตากสิน บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
โทรศัพท์ 0-2475-2641, 0-2475-2730 แฟกซ์ 0-2460-1105
จุดประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับงานเวชศาสตร์ใต้
น้ำ และเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูง
ข้อความและข้อคิดเห็น เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่
ความเห็นของ กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์
ทหารเรือ และคณะบรรณาธิการวารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ แต่
อย่างใด
ผู้อุปถัมภ์
ชมรมเวชศาสตร์ใต้น้ำ (ประเทศไทย)
คณะที่ปรึกษา
พลเรือตรี สุริยา ณ นคร
พลเรือตรี กิติพัฒน์ วัฒนาวงศ์
นาวาเอก ธนวัต พงศ์สุพัฒน์
นาวาเอก สฤษดิ์ชัย สุทธิพงศ์
นาวาเอก คณิน ชุมวรฐายี
ผู้อำนวยการ
นาวาเอก บริพนธ์ สุวชิรัตน์
ผู้จัดการ
นาวาเอก ธนษวัฒน์ ชัยกุล
ผู้ช่วยผู้จัดการ
นาวาตรีไพบูลย์ เทพประสิทธิ์
นาวาตรีประวิน ญาณอภิรักษ์
เรือเอก วุฒิชัย บรรจงปรุ
เรือตรี สมัคร ใจแสน
เหรัญญิก
นาวาโทหญิง แก้วตา กิจกำแหง
กองบรรณาธิการ
บรรณาธิการ
นาวาเอก ธนษวัฒน์ ชัยกุล
รองบรรณาธิการ
นาวาตรี คมสัน วุฒิประเสริฐ
นาวาตรี กมลศักดิ์ ต่างใจ
คณะบรรณาธิการ
นาวาเอก พรชัย แย้มกลิ่น
นาวาเอก ทรงพล วิชิตนาค
นาวาเอก ชลธร สุวรรณกิตติ
นาวาเอก นรเสทธ์ เอื้อไพบูลย์
นาวาเอก ขจิตร์ อุษณีย์สวัสดิ์ชัย
นาวาเอก ปิยะชาติ เจริญวัฒนาพานิช
นาวาเอก บริพนธ์ สุวชิรัตน์
นาวาเอก ประสิทธิ์ศักดิ์ วีระยุทธวิไล
นาวาตรี ไพบูลย์ เทพประสิทธิ์
นาวาตรี ประวิน ญาณอภิรักษ์
เรือเอก รุ่งนิรันดร์ สอาดโอษฐ์
เรือเอก สุธรรม มีแสง
เรือตรี สมัคร ใจแสน
พิสูจน์อักษร
นาวาตรีไพบูลย์ เทพประสิทธิ์
พันจ่าเอก สายรุ้ง สุขตะกั่ว
แจกจ่าย
เรือเอก วุฒิชัย บรรจงปรุ
พันจ่าเอก ประสาน พุ่มยงค์
พันจ่าโท ธนพงษ์ สีเที่ยงธรรม
รูปเล่ม
พันจ่าเอก สมบูรณ์ ปาลกะวงศ์
พันจ่าเอก เทวฤทธิ์ อุทธา
ออกแบบปก
พันจ่าเอก สมบูรณ์ ปาลกะวงศ์
กำหนดออกวารสาร
ราย 4 เดือน
อัตราค่าบำรุง
ปีละ 150 บาท
เรียงพิมพ์ที่
กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ
พิมพ์ที่
บ้านสวนการพิมพ์ กรุงเทพฯ
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กันยายน - ธันวาคม 2550 Volume 1/No.2 September-December 2007 ISSN 1905-5994
www.nmd.go.th/um
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
Thai Underwater Medicine Journal2
Volume 1 / No.2 September-December 2007
	 	 	 หน้า
บรรณาธิการแถลง	 3
บทความฟื้นวิชา
	 ®	 การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง รักษาภาวะกระดูกขากรรไกรตายภายหลังจากการได้รับรังสีรักษา	 4
		 ภูริศร์ ชมะนันทน์
บทความพิเศษ
	 ®	 การบาดเจ็บจากการดำน้ำ	 11
		 กมลศักดิ์ ต่างใจ
	 ®	 การดูแลผู้ประสบภัยจากสารเคมีด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง	 15
		 ขจิตร์ อุษณีย์สวัสดิ์ชัย
	 ®	 การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูงในการรักษาแผลหายยาก	 18
		 คมสัน วุฒิประเสริฐ
	 ®	 การลงรหัสโรค สำหรับงานเวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูง	 21
		 อัมรินทร์ สิทธิ์โชติหิรัญ
ย่อวารสาร	 24
มุมโคเครน	 27
มุมคุณภาพ
	 ®	 บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใต้แรงดัน	 28
	 	 ประวิน ญาณอภิรักษ์
จดหมายข่าว...ชาวใต้น้ำ	 31
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์	 32
สารบัญ
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 3
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550
วารสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ซึ่งฉบับนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ
มากมาย โดยมีหัวข้อด้านเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศ
สูงมากเป็นพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับการประชุมวิชาการกรม
แพทย์ทหารเรือในปีนี้ ที่มีหัวข้อที่น่าสนใจด้านเวชศาสตร์ความ
กดบรรยากาศสูง
	 แม้ว่าฉบับนี้จะไม่มีบทนิพนธ์ต้นฉบับ แต่มีบทความ
ฟื้นวิชา และบทความพิเศษที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก ได้แก่
บทความฟื้นวิชาเรื่อง การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูงใน
การรักษา ภาวะกระดูกขากรรไกรตาย ภายหลังการได้รับรังสี
รักษา ของ ภูริศม์ ชมะนันท์ ซึ่งเป็นทันตแพทย์ท่านหนึ่งที่มี
ประสบการณ์การดูแลคนไข้กลุ่มนี้มาก บทความพิเศษ เรื่อง
การดูแลผู้ประสบภัยจากสารเคมีด้วยออกซิเจนความกด
บรรยากาศสูง ของ ขจิตร์ อุษณีย์สวัสดิ์ชัย การบาดเจ็บจากการ
ดำน้ำ ของ กมลศักดิ์ ต่างใจ การใช้ออกซิเจนความกด
บรรยากาศสูงในการรักษาแผลหายยาก ของ คมสัน วุฒิ
ประเสริฐ
	 วารสารนี้ยังอุดมไปด้วย ย่อวารสาร ซึ่งอาจเป็น
วารสารด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศ
สูงที่หาอ่านได้ยาก หรือบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่
มี “ปัจจัยด้านผลกระทบ” สูง และเช่นเดียวกัน กับมุมโคเครน ที่
มีบทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารที่ได้รับการยอมรับว่ามีระดับเวช
ปฏิบัติอิงหลักฐานสูงสุดแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยทาง
คลินิก มีการมองเห็นความสำคัญ ของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน
	 ปกิณกะของฉบับนี้ ได้แก่ มุมคุณภาพ ที่จะมี
บทความต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพของงาน
ด้านนี้ โดยมีประวิน ญาณอภิรักษ์ เป็นผู้นิพนธ์หลัก นอกจากนี้
ฉบับนี้ยังมีมุมพิเศษเกิดขึ้นใหม่ คือ มุมเวชศาสตร์ใต้น้ำกับการ
ดำน้ำอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นมุมที่มีบทความ มุ่งเน้นให้นักดำน้ำ
หรือนักประดาน้ำ เข้าใจในหลักความปลอดภัยในการดำน้ำ
หรืออาจเป็นมุมพัฒนาคุณภาพด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำ คู่กับการ
บรรณาธิการแถลง
พัฒนาคุณภาพด้านเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูง ของมุม
คุณภาพ ซึ่ง สมัคร ใจแสน จะเป็นผู้นิพนธ์หลัก และอาจมี
บทความในอนาคตจากนักดำน้ำที่มากด้วยประสบการณ์หรือผู้
เชี่ยวชาญต่อไป
	 การก้าวต่อไปของวารสารมีความสำคัญเป็นอย่าง
มาก ซึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญของการพัฒนางานหนึ่งงานใด คือ
ศักยภาพในการดำเนินงานและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
วารสารนี้ก็เช่นเดียวกัน ที่มีเป้าหมายสอดคล้องกัน อย่างไร
ก็ตาม หากพบมีข้อผิดพลาดใด บรรณาธิการและคณะ พร้อม
รับฟังข้อเสนอแนะ และน้อมรับเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
	 บรรณาธิการและคณะ ขอเรียนเชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิ
และผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้สนใจในงานด้านนี้ เข้าร่วมเป็นกอง
บรรณาธิการ หรือมีส่วนร่วมในการจัดทำวารสารนี้ตามความ
ชำนาญ และเรียนเชิญส่งบทความของท่านเพื่อเข้ารับการตี
พิมพ์ โดยมีแนวทางตามคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ท้ายฉบับ อัน
จะเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาการด้านนี้ ให้เป็นที่
ประจักษ์ชัด และได้รับการศึกษาต่อยอดต่อไป ในประเทศ
ธนษวัฒน์ ชัยกุล
บรรณาธิการ
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
Thai Underwater Medicine Journal4
Volume 1 / No.2 September-December 2007
บทนำ
	 กระดูกขากรรไกรตายจากการฉายแสง
(Osteoradionecrosis of Jaws, ORN) เป็นภาวะที่พบได้ในผู้
ป่วยมะเร็ง บริเวณศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษา การตาย
ของกระดูกมิได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือการอักเสบของ
กระดูก (Osteomyelitis) แต่เกิดจากการที่เซลของกระดูกและ
เนื้อเยื่ออ่อนสูญเสียสมดุลย์ระหว่างการตายและการสร้างเซล
คือ มีการตายของเซลมากกว่าการสร้างเซลใหม่ ปัจจัยสำคัญ
คือ การเกิดภาวะ Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic
ของเนื้อเยื่ออันเนื่องมาจากผลของรังสีรักษา
	 การรักษา ORN ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการตาย
ของกระดูกและเนื้อเยื่อ ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีกำจัดกระดูก และ
เนื้อเยื่อที่ตายออกทั้งหมด การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศ
สูง หรือ Hyperbaric Oxygen Therapy ร่วมในการรักษาพบว่า
เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก โดยสามารถทำให้เกิดการสร้างเซลและ
หลอดเลือดใหม่เข้าไปในบริเวณแผล ทำให้ระดับของ Oxygen
ในแผลสูงขึ้นมากพอที่จะทำให้เกิดกระบวนการหายของแผลได้
มะเร็งของช่องปากและลำคอ
	 มะเร็ง คือ เนื้องอกชนิดร้ายแรงที่มีการเจริญเติบโต
อย่างรวดเร็ว สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ มะเร็ง ใน
ช่องปาก ลำคอ และหลังโพรงจมูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยใน
ประชากรไทย สาเหตุมักเกิดเนื่องมาจาก การเคี้ยวหมาก สูบ
บุหรี่ ดื่มสุรา การมีอนามัยในช่องปากไม่ดี มีแผลเรื้อรังในช่อง
ปาก หรือการใส่ฟันปลอมที่หลวมขยับได้ตลอดเวลา เป็นต้น
มะเร็งจะมีการโตขยายขนาดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการทำลาย
อวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยจะมีปัญหาต่างๆ เช่น ปวด เป็นแผล
เรื้อรังไม่หายและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แผลมีกลิ่นเหม็น มีก้อน
ที่คอ ต่อมน้ำเหลืองโต บางครั้งอาจทำให้เกิด การทำลายของ
กระดูกจนทำให้ฟันโยก หรือเกิดอาการชาในกรณีที่มะเร็งลุก
ลามไปยังเส้นประสาทในบริเวณนั้น
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำจากวารสารแพทย์นาวี
ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค.50 โดยได้รับอนุญาต
บทความฟื้นวิชา
การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง
รักษาภาวะกระดูกขากรรไกรตาย
ภายหลังจาการได้รับรังสีรักษา
	 การรักษามะเร็งบริเวณช่องปาก ศีรษะและลำคอ
สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี การใช้ยา
เคมีบำบัด หรือการรักษาร่วมกัน ในคนไทยซึ่งเป็นมะเร็งของ
ศีรษะ ลำคอ มักมาพบแพทย์เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ นั่นหมาย
ถึงว่ามะเร็งมีการลุกลามไปมากแล้ว ทำให้การรักษามีความยุ่ง
ยากและผลการรักษาไม่ดี ในกรณีที่มีการผ่าตัด ศัลยแพทย์
จำเป็นต้องตัดเนื้อเยื่อออกไปเป็นบริเวณกว้าง เพื่อให้มั่นใจว่า
สามารถกำจัดมะเร็งออกไปให้มากที่สุด จึงมีการ สูญเสีย
เนื้อเยื่อและอวัยวะไปในปริมาณมาก ส่งผลเกิดปัญหาสำคัญ
ตามมาหลายประการ ได้แก่
มีความพิการของอวัยวะที่ถูกตัดออกไป ทำให้ไม่สามารถ1.	
ทำหน้าที่ได้ตามปกติ เช่น ไม่สามารถกิน กลืนอาหาร
หรือพูดได้เนื่องจากถูกตัดลิ้น ตัดกระดูกขากรรไกร
มีความพิการของรูปร่างใบหน้า ทำให้มีปัญหาเรื่อง2.	
ความสวยงาม เช่น ใบหน้าผิดรูป
มีความยากลำบากในการผ่าตัดเพื่อบูรณะ(Reconstructive3.	
surgery)เนื่องจากมีการสูญเสียเนื้อเยื่อไปมากจำเป็นต้องใช้
เนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นในปริมาณที่ใกล้เคียงกันมาทดแทน
ทำให้อาจพบปัญหาแทรกซ้อนและความล้มเหลวในการ
ผ่าตัดได้ เช่น การหายของแผลผิดปกติ การติดเชื้อ และ
การตายของเนื้อเยื่อที่นำมาทดแทน เป็นต้น
	 การรักษาด้วยรังสี (Radiation therapy) มุ่งหวังให้
เกิดการตายของเซลมะเร็ง โดยรังสีไปทำให้เกิดการเรียงตัว ที่ผิด
ปกติของสายพันธุกรรม (Chromosome breakage,
Disintegration) ได้แก่ DNA และ RNA ซึ่งมีหน้าที่ในการ
จำลอง แบบเซลที่สร้างขึ้นใหม่ให้มีรูปร่างและสามารถทำหน้าที่
ได้ดังเดิม เมื่อเกิดการเรียงตัวที่ผิดปกติของสายพันธุกรรม ผลที่
ตาม มาคือ เซลที่สร้างใหม่นั้น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือน
เดิม และเกิดการตายของเซล
ภูริศร์ ชมะนันทน์
กองทันตกรรม รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
กรมแพทย์ทหารเรือ
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 5
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550
	 รังสีทำให้เกิดภาวะสำคัญ 3 ประการคือ การมี
ปริมาณเซลของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นลดลง (Hypocellular) มี
หลอดเลือด ลดลง (Hypovascular) และมีระดับของ Oxygen
ลดลง (Hypoxic tissue) เนื่องมาจากการตายของเซล สรุปแล้ว
ภายหลังการ ฉายแสงจะเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
เซลมะเร็งถูกทำลาย1.	
เซลของเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งอยู่ในแนวผ่านของรังสี เช่น ผิวหนัง2.	
กล้ามเนื้อ กระดูก หลอดเลือด ต่อมน้ำลาย ฟัน ฯลฯ
จะถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน อาการแสดงจากผลของรังสี
รักษาได้แก่ เกิดการไหม้เกรียม อักเสบของผิวหนัง และ
เนื้อเยื่ออ่อน (Burn, Mucositis) เกิดการแข็งตึงของเนื้อเยื่อ
(Fibrosis)ทำให้การเคลื่อนไหวจำกัดเช่นอ้าปากได้น้อยลง
(Trismus) มีปัญหาปากแห้ง น้ำลายน้อย (Xerostomia)
เนื่องจากต่อมน้ำลายถูกทำลาย เกิดกระดูกตาย (Necrotic
bone) มีฟันผุบริเวณคอฟัน (Cervical caries) เป็นต้น
การเกิด Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic3.	
tissue นั้น จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ตลอดชั่วอายุขัยของผู้ป่วย ทั้งนี้เนื่องมาจากความผิดปกติ
ของการเรียงตัวของสายพันธุกรรม ทำให้การสร้างเซลใหม่
ทำได้ไม่เหมือนเดิม เกิดการเสียสมดุลย์ของการสร้างใหม่
และการตายของเซล ดังนั้น อาการแสดงต่างๆ ที่ปรากฎ
ในข้อ 2. จะมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น
ส่วนอาการจะปรากฎมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่
แต่ละคนได้รับรวมถึงปัจจัยอื่นๆเช่นสภาพร่างกายของผู้ป่วย
การติดเชื้อ หรือเกิดแผลภายหลังการได้รับรังสีรักษา
เป็นต้น
เกิดการหายของแผลที่ผิดปกติ เนื่องจากในกระบวนการ4.	
หายของแผลนั้น ร่างกายต้องสร้างเซลใหม่ไปทดแทน
ต้องการหลอดเลือดเพื่อนำเอาสารต่างๆ ที่จำเป็นไปใช้
สร้างเนื้อเยื่อ และต้องใช้ Oxygen เป็นปัจจัยสำคัญ ในกระ
บวนการหายของแผล แต่ในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาเกิดภ
าวะ Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic tissue
จึงทำให้แผลที่เกิดขึ้น ไม่สามารถหายได้ตามปกติ
เมื่อมีปัจจัยจากภายนอก เช่น การถอนฟัน การติดเชื้อ หรือ5.	
การเกิดแผลซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกระดูกอาจทำให้แผลที่เกิดขึ้น
นั้นไม่สามารถหายได้ตามปกติในที่สุดก็เกิดเป็นกระดูกตาย
และลุกลามต่อไป โอกาสเกิดกระดูกตายนี้ จะเพิ่มขึ้นเมื่อ
ผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น อันเนื่องมาจากผลของ Hypocellular,
HypovascularและHypoxictissueที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับ
รังสีรักษามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
ภาวะกระดูกขากรรไกรตายจากการฉาย
แสง
(Osteoradionecrosis, ORN)
	 การเกิดกระดูกตายในผู้ป่วยมะเร็งของศีรษะ ลำคอ
ภายหลังที่ได้รับรังสีรักษา ส่วนมาก (ประมาณ 60%) เกิดจาก
การเกิดการบาดเจ็บ (Trauma) ของบริเวณใบหน้าและขา
กรรไกร (Trauma induced ORN) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Surgical
trauma ที่เหลือ (ประมาณ 40%) จะเกิดการตายของกระดูกขึ้น
มาเองโดยไม่เกี่ยวกับการบาดเจ็บ (Spontaneous ORN)
	 ในประเภทแรก คือ Trauma induced ORN นั้น พบ
ว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากการถอนฟัน ภายหลังได้รับ รังสี
รักษา (Late trauma induced ORN) ส่วนที่เหลือเกิดจากการที่
ได้รับรังสีรักษาในปริมาณสูงร่วมกับการเกิด Surgical trauma
ในเวลาที่ใกล้กัน เช่น ได้รับรังสีรักษาหลังจากการผ่าตัดมะเร็ง
ไป 1 สัปดาห์ หรือได้รับการถอนฟันในระหว่างที่ได้รับ รังสีรักษา
(Early trauma induced ORN) การเกิดกระดูกตายอธิบายได้
ว่า ในขณะหรือภายหลังได้รับรังสีรักษา เนื้อเยื่อ บริเวณนั้นจะมี
ปริมาณเซล หลอดเลือด และระดับของ Oxygen ลดต่ำลง ดัง
นั้น เมื่อเกิดแผล เช่น ได้รับอุบัติเหตุ ติดเชื้อ หรือ การถอนฟัน
จะทำให้แผลที่เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถหายได้ตามปกติ และยังมี
ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อ ได้แก่ Bacteria
ในช่องปาก สภาพ pH และ Enzyme ของน้ำลาย การอักเสบ
ติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้เกิดการตาย ของกระดูกมากขึ้น
	 ประเภทที่สอง คือ Spontaneous ORN เกิดเนื่องจาก
ผู้ป่วยอ้าปากได้น้อย (Trismus) เนื่องจากการเกิด Fibrosis
ของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
กระดูกตายบริเวณใบหน้าและช่องปาก
(Exposed necrotic bone)
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
Thai Underwater Medicine Journal6
Volume 1 / No.2 September-December 2007
การได้รับรังสีรักษาในปริมาณที่สูง (เกิน 7,000 Centi-Gray)
ทำให้เกิดการตายของกระดูกขึ้นมาเองเนื่องมาจากผลของ
Hypoxic, Hypocellular และ Hypovascular tissue โดยไม่
เกี่ยวข้อง กับ Trauma
Radiation tissue injury versus time แสดงการเกิด ORN 3 ชนิดภายหลังได้รับ
รังสีรักษา เมื่อกราฟขึ้นไปสูงกว่าจุดไข่ปลา หมายถึงการเกิด ORN (Clinical
damage)
	 กราฟเส้นบน คือผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาในปริมาณที่สูงมาก หากได้
รับการบาดเจ็บ เช่น การผ่าตัดในระยะเวลาที่ ใกล้กับการฉายแสง จะทำให้เกิด
การตายของกระดูกทันที (Early trauma induced ORN) แต่หากไม่ได้รับการ
บาดเจ็บ ในช่วงดังกล่าว เมื่อเวลาผ่านไป ก็อาจเกิดกระดูกตายได้เอง
(Spontaneous ORN)
	 กราฟเส้นล่าง คือผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาในปริมาณที่ไม่สูงมาก เมื่อ
เวลาผ่านไป เส้นกราฟจะสูงขึ้นไปหาจุดไข่ปลา แสดงว่าโอกาสในการเกิดกระดูก
ตายมากขึ้นเรื่อยๆอันเนื่องมาจากผลของ Hypocellular, Hypovascular และ
Hypoxic tissue และหากในช่วงใด ผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บ เช่น ถอนฟัน ก็จะ
ทำให้แผลไม่หายและเกิดเป็นกระดูกตายได้ (Late trauma induced ORN)
	 พบว่า HBO สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดกระดูก
ตายจากการฉายแสงได้
สรุปแล้ว Pathogenesis ของการเกิด ORN คือ
ผู้ป่วยได้รับรังสีรักษาเพื่อรักษามะเร็งบริเวณศีรษะลำคอรังสี1.	
ทำลายทั้งเซลมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติ
เกิดภาวะ Hypocellular, Hypovascular , Hypoxic tissue2.	
จากความผิดปกติของสายพันธุกรรม
เกิดTissuebreakdownโดยอาจเกิดขึ้นเองหรือจากปัจจัย3.	
ภายนอก เช่น Surgical trauma
แผลที่เกิดขึ้น ไม่สามารถหายได้ตามปกติ (Non-Healing4.	
wound)
เกิดการตาย (Necrosis) ของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน5.	
ตามมาด้วยอาการแสดงอื่นๆ เช่น กระดูกหัก
	 นิยามของ ORN คือ การมีกระดูกตาย (ภายหลังได้
รับรังสีรักษา) โผล่ออกมาในช่องปากหรือใบหน้า โดยไม่
สามารถหายได้เองภายใน 3-6 เดือน (Non-healing exposed
necrotic bone) อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยได้แก่ ปวด
อ้าปากได้น้อย ปากแห้ง ฟันผุ มีกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนตาย
(Necrosis of bone and soft tissue) ที่ไม่สามารถหายได้เอง
เกิดรูทะลุระหว่างช่องปากกับใบหน้า (Orofacial fistula) ใน
ที่สุดก็จะเกิดการหักของกระดูกขากรรไกร (Pathologic
fracture) การตายของกระดูกและเนื้อเยื่อดังกล่าว จะค่อยๆ
ลุกลามเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการตายเป็นบริเวณกว้าง หากทิ้ง
ไว้ จะเกิด ปัญหาแทรกซ้อนที่ตามมาหลายประการ เช่น ผู้ป่วยมี
ความเจ็บปวดทรมานมากขึ้น มีการติดเชื้อ เกิดแผลเนื้อตาย มี
หนอง และกลิ่นเหม็น มีใบหน้าและขากรรไกรผิดรูป ทำให้ไม่
สามารถเคี้ยว กลืนอาหาร หรือพูดได้ ไม่สามารถดำเนินชีวิต อยู่
ในสังคมได้ตามปกติ และหากการตายของเนื้อเยื่อลุกลามไปถูก
อวัยวะสำคัญเช่นหลอดเลือดบริเวณลำคอ อาจทำให้เกิดภาวะ
เลือดออกอย่างมากได้
การรักษาภาวะกระดูกขากรรไกรตายจาก
การตายของเนื้อเยื่อบริเวณลำคอ (Soft tissue necrosis)
รูทะลุที่เชื่อมต่อจากในช่องปากกับบริเวณใบหน้า
(Orofacial fistula)
กระดูกขากรรไกรหักเนื่องจากการตายของกระดูก
(Pathological fracture)การฉายแสง
	 ทำโดยการผ่าตัดกำจัดเอากระดูกและเนื้อเยื่อที่ตาย
ออกทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามต่อ ในกรณีที่แผลผ่าตัดมี
ขนาดใหญ่ หรือสูญเสียเนื้อเยื่อไปเป็นปริมาณมาก อาจจำเป็น
ต้องผ่าตัดเพื่อบูรณะซ่อมแซม (Reconstructive surgery) เพื่อ
ให้ผู้ป่วยสามารถพูด กินอาหารได้ และมีรูปร่างใบหน้าที่ดี การ
ผ่าตัดเพื่อบูรณะในผู้ป่วยเหล่านี้ ทำได้ยาก มีความสำเร็จต่ำ
และมักมีปัญหาแทรกซ้อน เนื่องจาก Surgical defect มีขนาด
ใหญ่ ที่สำคัญคือ การที่ผู้ป่วยมีปัญหา Hypocellular,
Hypovascular และ Hypoxic tissue ทำให้เนื้อเยื่อที่เหลืออยู่มี
คุณภาพไม่ดี (เซลน้อย, Blood supply น้อย) และมีปัญหาของ
การหายของแผล
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 7
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550
	 การผ่าตัดบูรณะที่ได้ผลดีคือการใช้ Distance flap
ซึ่งมี Vascular supply ที่เชื่อถือได้ เช่น Pectoralis Major
Myocutaneous flap หรือการใช้ Free flap เช่น Free
Vascularized Fibula Bone graft เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การ
เลือกใช้ Flap และ Graft เหล่านี้ มีข้อจำกัดหลายประการในผู้
ป่วยแต่ละราย เช่น คุณภาพและปริมาณของหลอดเลือดที่เหลือ
อยู่บริเวณลำคอ เป็นต้น
กระดูกขากรรไกรตายที่ถูกตัดออก (Necrotic mandible) และ กระดูกที่จะ
นำมาบูรณะ (Free vascularized fibula bone graft)
ภาพรังสีก่อนและหลังการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรที่ตายออกและบูรณะด้วย
Free vascularized fibula bone graft
	 กระบวนการทางวิสัญญีในการดมยาสลบ ต้องอาศัย
วิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ มักมี
ปัญหาอ้าปากได้น้อย (Trismus) เนื้อเยื่อบริเวณลำคอและ
กล่องเสียงแข็งตึง ทำให้การใส่ท่อหายใจ (Endotracheal tube)
ทำได้ยากลำบาก โดยมากใช้เทคนิค Fiber Optic Intubation
แต่ในกรณีที่ไม่สามารถใส่ท่อหายใจได้ หรืออาจมีปัญหาเรื่อง
ทางเดินหายใจหลังผ่าตัด พิจารณาเจาะคอ (Tracheostomy)
การใส่ท่อช่วยหายใจ•	
ด้วยวิธี Fiber Optic
intubation
	 การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต้องอาศัยทีมพยาบาลที่
มีความรู้และเอาใจใส่ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องของการหายใจ
และแผลผ่าตัด พยาบาลยังมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารข้อมูล
ระหว่างผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ผู้รักษา เพื่อให้เกิดความราบรื่น
ในการรักษา
	 เครื่องมือสำคัญที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยให้การรัก
ษาได้ผลที่ดีและเพิ่มความสำเร็จของการรักษาคือการใช้Hyper-
baricOxygen(HBO)ก่อนและภายหลังการผ่าตัดการได้รับOx-
ygenภายใต้แรงดันบรรยากาศสูงนอกจากจะช่วยเพิ่มระดับของ
Oxygen ในเนื้อเยื่อแล้ว ยังทำให้เกิดการสร้างเซล (Fibro-
plasia) และหลอดเลือดใหม่ (Angiogenesis) ในบริเวณแผล
ทำให้การหายของแผลดียิ่งขึ้น พบว่า ในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษ
ามากกว่า 5,000 Centi-Gray เมื่อได้รับ HBO ที่ความดัน 2.4
เท่าของความดันบรรยากาศปกติ วันละ 90 นาทีประมาณ 8-10
วัน จะมีระดับของ Oxygen ในบริเวณที่มีเนื้อเยื่อตายเพิ่มขึ้นอ
ย่างรวดเร็ว (Rapid rise phase) และจะสูงคงที่เมื่อได้รับ HBO
ต่อเนื่องไปถึง20-22ครั้ง(Plateauphase)อย่างไรก็ตามระดับของ
Oxygen ของผู้ป่วยหลังได้รับ HBO นี้ ก็ยังต่ำกว่าระดับของ
Oxygen ในเนื้อเยื่อของคนปกติที่ไม่เคยได้รับรังสีรักษาปร
ะมาณ 20% และผลของ HBO นี้จะคงอยู่ประมาณ 3-4 ปี
แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย
ที่ได้รับ HBO
เครื่อง Hyperbaric Oxygen Chamber ชนิด Multi-Place•	
	 การเกิด Fibroplasia และ Angiogenesis อธิบายได้
จากความแตกต่างของระดับ Oxygen (Oxygen gradient) ใน
เนื้อเยื่อบริเวณที่เป็น Necrosis กับเนื้อเยื่อรอบๆ กล่าวคือ ใน
แผลของคนปกติที่ไม่ได้รับรังสีรักษา ความแตกต่างระหว่าง
ปริมาณ Oxygen บริเวณแผลและเนื้อเยื่อปกติรอบๆมีความ
แตกต่างกันมาก (Steep Oxygen gradient) พบว่า Oxygen
gradient ที่มากกว่า 20 mmHg จะชักนำให้เกิด Fibroplasia
และ Angiogenesis ส่วนในแผลของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาใน
ปริมาณสูง จะมีความแตกต่างระหว่างระดับ Oxygen ในแผล
กับเนื้อเยื่อรอบๆต่ำ (Shallow Oxygen gradient) ทำให้ไม่
สามารถเกิด Fibroplasia และ Angiogenesis ได้ การได้รับ
HBO เป็นการเพิ่มระดับของ Oxygen ในเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ
แผลที่ต่ำอยู่ให้สูงขึ้น จนกระทั่งสูงพอที่จะเกิดความแตกต่าง
อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับบริเวณแผล จากนั้น กระบวนการ
Fibroplasia และ Angiogenesis จึงเกิดขึ้น จนกระทั่งระดับของ
Oxygen บริเวณแผลกับเนื้อเยื่อรอบๆใกล้เคียงกัน กระบวนการ
นี้ก็จะหยุดลง
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
Thai Underwater Medicine Journal8
Volume 1 / No.2 September-December 2007
Shallow Oxygen gradient ในแผลที่ได้รับ
รังสีรักษา ทำให้ไม่สามารถเกิดการสร้างเซล
และหลอดเลือดใหม่เข้าไปในแผล
ระหว่างได้รับ HBO ระดับของ Oxygen ของ
เนื้อเยื่อรอบๆแผลสูงขึ้น และเริ่มมีระดับที่
แตกต่างกับในแผล (Increase Oxygen
gradient)
หลังจากได้รับ HBO 10 ครั้ง เริ่มมีการสร้าง
ของเซลและหลอดเลือด จากบริเวณขอบ
แผลเข้าไปในใจกลางแผล
หลังได้รับ HBO 24 ครั้ง ระดับของ Oxygen
ของเนื้อเยื่อในแผลสูงขึ้น จนไม่แตกต่างกับ
บริเวณรอบๆ แผลมากนัก ทำให้กระบวนการ
สร้างเซลและหลอดเลือดเข้าสู่แผลหยุดลง
ผลการรักษากระดูกตายจากรังสีรักษาโดยใช้ HBO ทำให้สามารถเกิดการ
หายของแผลได้
	 การรักษาในองค์ประกอบอื่นๆซึ่งจำเป็นต้องทำควบคู่
ไปกับการผ่าตัดและ HBO คือ เรื่องของ Nutrition support การ
รักษาภาวะติดเชื้อ การฟื้นฟูสภาพของอวัยวะให้กลับมาทำ
หน้าที่ได้ใกล้เคียงดังเดิมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ได้
ที่สำคัญคือเรื่องของปัญหาด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐานะ
ของผู้ป่วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาหารที่มีประโยชน์
จำเป็นต่อการหายของแผล ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนมากจะกินอาหาร
ได้น้อย มีร่างกายผอม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ เนื่องจากมี
แผลเนื้อเยื่อและกระดูกตายในช่องปากและขากรรไกร กรามหัก
สบฟันไม่ได้ อ้าปากได้น้อย ปากแห้ง ไม่มีน้ำลาย ฟันผุมากหรือ
ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร เป็นต้น นักโภชนากรจึงเป็นบุคลากรที่มี
บทบาทสำคัญในการดูแลเรื่องโภชนาการในผู้ป่วยเหล่านี้
	 การฟื้นฟูสภาพของโครงสร้างใบหน้า ขากรรไกร และ
อวัยวะบดเคี้ยวโดยเฉพาะฟัน จะช่วยให้ผู้ป่วยมีใบหน้าที่ไม่ผิด
รูป สามารถเคี้ยว กลืนอาหารและพูดได้ ศัลยแพทย์ช่องปาก
และแมกซิลโลเฟเชี่ยล ศัลยแพทย์ตกแต่ง ศัลยแพทย์
ออร์โธปิดิกส์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาล เป็นทีมที่ช่วยให้การผ่าตัด
เกิดความสำเร็จสูงสุด ทันตแพทย์มีบทบาทสำคัญในการคง
สภาพอวัยวะในช่องปากและบูรณะให้สามารถใช้งานได้
	 ปัญหาด้านจิตใจ สังคมและเศรษฐานะ เป็นองค์
ประกอบสำคัญที่ต้องให้การดูแล ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องทนทุกข์
ทรมานและมีสภาพจิตใจที่ผิดปกติจากการเป็นโรคมะเร็ง ซึ่ง
แม้ว่าจะหายจากโรคแล้ว แต่ก็มีปัญหาของ ORN ตามมา ผู้
ป่วยเหล่านี้ส่วนมากมักเป็นผู้ที่มีฐานะและการศึกษาไม่ดีนัก
เป็นผู้หาเช้ากินค่ำ ประกอบกับการมีใบหน้าที่ผิดรูป มีแผล
ขนาดใหญ่ มีหนองและกลิ่นเหม็น กินอาหารลำบาก ทำให้เป็น
ปัญหาและภาระของญาติผู้ที่จะดูแล ทีมแพทย์ พยาบาล นัก
สังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิการรักษาพยาบาล
จำเป็นต้องช่วยกันประคับประคองและช่วยเหลือในเรื่องนี้
เพราะหากผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ไม่ดี ไม่มีญาติพี่น้องหรือผู้ดูแล
มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ฯลฯ จะทำให้การรักษาที่ยากลำบากอยู่
แล้ว ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย
การป้องกัน
	 ภาวะกระดูกขากรรไกรตายจากการฉายแสง มีความ
รุนแรงส่งผลร้ายต่อผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นปัญหาของ
ภาครัฐที่ต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรในการช่วยเหลือผู้ป่วย
เหล่านี้ ถึงแม้ว่าผู้ที่ได้รับรังสีรักษา จะมีโอกาสเกิดภาวะนี้แทบ
ทุกราย แต่เราก็ยังสามารถป้องกัน ชลอ และลดความรุนแรง
ของการเกิดโรคได้
	 การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ ต้องอาศัยความรู้ความ
เข้าใจและความร่วมมือจากบุคลากรทางการแพทย์หลายฝ่าย
นับตั้งแต่แพทย์ผู้ตรวจพบรอยโรคมะเร็งของศีรษะ ลำคอ
(ศัลยแพทย์ โสตศอนาสิกแพทย์ ทันตแพทย์) ต้องมีความรู้ที่จะ
แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติและได้รับการดูแลอย่างถูกต้องทั้งก่อน
ระหว่าง และภายหลังการได้รับรังสีรักษา
	 เป็นที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิด ORN
คือการได้รับ Surgical trauma ภายหลังได้รับรังสีรักษา เช่นการ
ผ่าตัด อุบัติเหตุ การติดเชื้อ และที่พบบ่อยมากที่สุดคือการถอน
ฟัน จึงควรทำทุกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงการเกิด Surgical trauma
ภายหลังการได้รับรังสีรักษาให้มากที่สุด ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องเตรียมสภาพร่างกาย และสภาพในช่องปากของผู้ป่วยให้
พร้อมก่อนเริ่มฉายแสง รวมถึงการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องภาย
หลังการฉายแสง ได้แก่
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 9
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550
1. การเตรียมผู้ป่วยก่อนได้รับรังสีรักษา
1.1	 กำจัดฟันที่มีรอยโรคและไม่สามารถบูรณะไว้ใช้งานได้
เช่นการถอนฟันที่ผุเหลือแต่รากฟันที่มีการสูญเสีย
กระดูกเบ้าฟันไปมากฟันคุดฟันกรามใหญ่ที่ผุมาก
ฯลฯการกำจัดรอยโรคของช่องปากและขากรรไกรเช่น
ถุงน้ำกระดูกงอกเกินฯลฯการพิจารณาว่าจะถอนหรือ
เก็บฟันซี่ใดนั้นนอกจากจะประเมินจากสภาพของฟัน
และอวัยวะปริทันต์แล้วยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ
เช่นOralhygiene,อายุสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย
ขนาดของมะเร็งและปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ
ทัศนคติในการดูแลช่องปากสภาพทางสังคมและ
เศรษฐานะของผู้ป่วยเป็นต้นสิ่งที่สำคัญคือในการ
ถอนฟันหรือผ่าตัดใดๆนั้นควรรอให้เกิดการหายของ
แผลก่อนอย่างน้อย2-3สัปดาห์ก่อนฉายแสงเพื่อลด
โอกาสการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายทันตแพทย์
และรังสีแพทย์จึงต้องสื่อสารข้อมูลและแผนการรักษา
ต่อกัน
1.2	 การรักษาสภาพฟันและเหงือกที่เหลือให้อยู่ในสภาพที่
ดีเช่นการอุดฟันที่ผุการรักษาคลองรากฟันการรักษา
โรคเหงือก ฯลฯ
1.3	 อธิบายให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติถึงความสำคัญของ
การดูแลสุขภาพช่องปากความจำเป็นที่ต้องมาติดตาม
อาการเป็นระยะ ฯลฯ
2. การดูแลผู้ป่วยระหว่างการได้รับรังสีรักษา
2.1	 ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น รักษาภาวะ
Mucositis และ Xerostomia
2.2	 หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแผลเช่นการถอนฟันหรือศัลย
กรรมใดๆในช่วงนี้
3. การดูแลรักษาผู้ป่วยภายหลังได้รับรังสีรักษา
3.1	 นัดหมายให้ผู้ป่วยมาพบเพื่อเฝ้าระวังและรักษาโรคใน
ช่องปากตั้งแต่เริ่มแรกเป็นระยะๆเช่นทุก3-6เดือน
โดยพยายามคงสภาพของฟันและอวัยวะปริทันต์ให้ดี
ที่สุดอาจพิจารณาให้TopicalFluorideเพื่อลดโอกาส
การเกิดฟันผุให้น้ำลายเทียมหรือให้จิบน้ำบ่อยๆเพื่อ
ลดปัญหาปากแห้ง และควรให้ Oral Hygiene
Instruction แก่ผู้ป่วยอยู่เสมอ
3.2	 ในกรณีที่มีฟันผุ ให้อุดฟันที่ผุ หากจำเป็นต้องรักษา
รากฟันสามารถทำได้แต่ต้องระวังการขยายคลอง
รากฟันไม่ให้เกินปลายรากเพราะจะทำให้เกิดการบาด
เจ็บต่อเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวการบูรณะฟันโดยการ
ครอบฟันควรให้ขอบของครอบฟันอยู่เหนือขอบเหงือก
เพื่อให้สามารถดูแลรักษาได้ง่าย
3.3	 ในกรณีที่มีหินปูนและเหงือกอักเสบ สามารถให้การ
รักษาได้ตามปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงการทำศัลย์ปริทันต์
ที่ต้องมีการเปิดแผ่นเหงือกหรือกรอแต่งกระดูกใน
บริเวณกว้างเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาของการหาย
ของแผลได้
3.4	 การใส่ฟันปลอมควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญและมี
ประสบการณ์การใส่ฟันปลอมถอดได้ควรพิจารณาใช้
ฐานชนิดนุ่ม
3.5	 การถอนฟันหรือการทำศัลยกรรมของช่องปากและ
กระดูกขากรรไกรใดๆควรพิจารณาให้HBOก่อนตาม
Protocolคือ20ครั้งก่อนและ10ครั้งหลังการถอนฟัน
หรือศัลยกรรมการทำศัลยกรรมดังกล่าวควรทำด้วย
ความนุ่มนวลและเกิดความชอกช้ำต่อเนื้อเยื่อให้น้อย
ที่สุด เพื่อให้เกิดการหายของแผลได้ดีที่สุด
3.6	 หากเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายจากการฉายแสง
(Osteoradionecrosis)รักษาเบื้องต้นแบบประคับ
ประคองเช่นให้ยาระงับปวดยาปฏิชีวนะล้างแผลใน
ปากฯลฯและพิจารณาให้HBOตามProtocolคือ30
ครั้งก่อนและ10ครั้งหลังการผ่าตัดการรักษาORN
แบ่งได้ตามระยะต่างๆดังนี้
	 •	Stage 1 ; Uncomplicated exposed necrotic
bone ให้ HBO 30 ครั้งแล้วพบว่าบริเวณ กระดูกที่ตายนั้น มี
การสร้างเนื้อเยื่อ (Granulation tissue) มาแทนที่ หรือสามารถ
หยิบเอาเศษกระดูกที่ตายออกแล้วไม่มี Expose necrotic bone
คงเหลืออยู่อีก จากนั้นให้ HBO อีก 10 ครั้ง
	 •	Stage 2 ; คือผู้ป่วย Stage 1 ที่ไม่ตอบสนองต่อการ
รักษาด้วย HBO 30 ครั้ง ให้ตัดกระดูกตายออก
(Sequestrectomy, Marginal resection) โดยยังคงความต่อ
เนื่องของกระดูกขากรรไกรไว้อย่างเดิม จากนั้นให้ HBO อีก 10
ครั้ง
	 •	Stage 3 ; คือผู้ป่วย Stage 2 ที่ไม่ตอบสนองต่อการ
รักษา หรือผู้ป่วยที่มี Pathologic fracture ของกระดูกขากรรไกร
แล้ว ให้ HBO 30 ครั้ง แล้วตัดกระดูกและเนื้อเยื่อที่ตายออก
ทั้งหมด จากนั้นให้ HBO 10 ครั้ง ส่วนการผ่าตัดเพื่อบูรณะ
พิจารณาเป็นรายๆ ไป
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
Thai Underwater Medicine Journal10
Volume 1 / No.2 September-December 2007
เอกสารอ้างอิง
HirschDL.AnalysisofMicrovascularFreeFlapsforReconstruc-1.	
tion of Advanced Osteoradionecrosis:A Retrospective Cohort
study. J Oral Maxillofac Surg 2006; 64(9): 38-39.
LamberPM,IntriereNandEichstaedtR.ManagementofDental2.	
Extractions in Irradiated Jaws : A Protocol with Hyperbaric
Oxygen Therapy. J Oral Maxillofac Surg 1997; 55: 268-274
Bras J, de Jonge HKT, van Merkesteyn JPR. Osteoradion-3.	
ecrosis of the Mandible :Pathogenesis . Am J Otolaryngology
1990; 11 :244-250.
Martins M, Dib LL. Osteoradionecrosis of the Jaws: A Retro-4.	
spective Study of the Background Factors and Treatment in
104 Cases . J Oral Maxillofac Surg 1997; 55 : 540-544.
Marx RE, Johnson RP. Studies in the radiobiology of osteora-5.	
dionecrosis and their clinical significance. Journal Oral Surg
Oral Med Oral Pathol 1987 ; 64 :379-390.
MarxRE.Osteoradionecrosis:Anewconceptofitspathophysi-6.	
ology. J Oral Maxillofac Surg 1993 ; 41 : 283-288.
Goldwaser B. Risk factor Assessment for the Development7.	
of Osteoradionecrosis. J Oral Maxillofac Surg 2006 ; 64(9)
24-25.
ChavezJA,AdkinsonCD.AdjunctiveHyperbaricOxygeninIr-8.	
radiatedPatientsRequiringDentalExtractions:Outcomesand
Complication. J Oral Maxillofac Surg 2001; 59(5) : 518-522.
Peleg M, Lopez EA. The Treatment of Osteoradionecrosis of9.	
Mandible:TheCaseforHyperbaricOxygenandBoneGraftRe-
construction. J Oral Maxillofac Surg 2006; 64(6) : 956-960.
Thorn JJ, Hansen HS, Specht L and Bastholt L. Osteoradi-10.	
onecrosis of the Jaws : Clinical characteristics and relation
to the field of radiation. J Oral Maxillofac Surg 2000 ;58(10)
: 1088-1093.
MakkonenTA,KiminkiA,MakkonenTKandNordmanE.Dental11.	
extractions in relation to radiation therapy of 224 patients. Int
J Oral Maxillofac Surg 1987; 16(1) :56-64.
สรุป
	 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณศีรษะ ลำคอ ไม่ว่าจะเป็นหรือยังไม่เป็น ORN ก็ตาม มีความยุ่งยาก ต้อง
อาศัยความพร้อม ประสบการณ์ และความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลากหลายสาขา การปฏิบัติตามแนวทางการดูแล
รักษาแบบสหวิชาชีพ (Care map) ตั้งแต่ก่อนเริ่มฉายแสงจนกระทั่งหลังจากนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนั้น ต้องมีเครื่องมือและ
อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ Hyperbaric Oxygen Chamber ต้องอาศัยความเข้าใจตลอดจนได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยและญาติ
ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารของโรงพยาบาลในเรื่องของทรัพยากรและค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สำหรับผู้ป่วยที่เบิกค่ารักษาตามระบบ DRG
	 การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยภายหลังที่ได้รับรังสีรักษา ต้องมีความรู้และ
ความเข้าใจในการปฏิบัติตัว บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเช่น ทันตแพทย์ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาทางทันต
กรรม ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการทำศัลยกรรมในช่องปาก ควรพิจารณาให้ HBO ก่อน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด ORN ถึง
แม้ว่าการรักษาด้วย HBO ต้องใช้เวลาหลายครั้ง และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ในการรักษา ตลอด
จนความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจากโรคและการรักษาที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยที่เป็น ORN แล้วนั้น นับว่าคุ้มค่ากว่าเป็นอย่างยิ่ง
WidmarkG,SgneSandHeikelP.Osteoradionecrosisofthejaws.12.	
Int J Oral Maxillofac Surg 1989; 18(5) : 302-306.
VudiniabolaS,PironeC,WilliamsonJandGossAN.Hyperbaric13.	
oxygen in the therapeutic management of osteoradionecrosis
of the facial bones. Int J Oral Maxillofac Surg 2000; 29(6) :
435-438.
Curi MM, Dib LL and Kowalski LP. Management of refractory14.	
osteoradionecrosis of the jaws with surgery and adjunctive
hyperbaric oxygen therapy. Int J Oral Maxillofac Surg 2000;
29(6) : 430-434.
ReutherT,SchusterT,MendeUandKüblerA.Osteoradionecro-15.	
sis of the jaws as a side effect of radiotherapy of head and neck
tumourpatients-areportofathirtyyearretrospectivereview.Int
J Oral Maxillofac Surg 2003; 32(3) :289-295.
Nierzwicki B and Kadyszewska J. Influence of post-radiation16.	
dentalextractionsontheincidenceofosteoradionecrosisofthe
jaws. Int J Oral Maxillofac Surg 2005; 34(1) : 32.
Maurer P, Meyer L, Eckert AW, Berginski M and Schubert J.17.	
Measurementofoxygenpartialpressureinthemandibularbone
using a polarographic fine needle probe. Int J Oral Maxillofac
Surg 2006; 35(3) :231-236.
Lye KW, Wee J, Gao F, Neo PSH, Soong YL and Poon CY. The18.	
effect of prior radiation therapy for treatment of nasopharyngeal
cancer on wound healing following extractions: incidence of
complications and risk factors. Int J Oral Maxillofac Surg 2007
; 36(4) : 315-320.
Morton ME and Simpson W. The management of osteoradi-19.	
onecrosis of the jaws. Br J Oral Maxillofac Surg 1986; 24(5)
:332-341.
Wood GA and Liggins SJ. Does hyperbaric oxygen have a role20.	
in the management of osteoradionecrosis? Br J Oral Maxillofac
Surg 1996; 34(5) :424-427.
Maier A, Gaggl A, Klemen H, et al. Review of severe osteoradi-21.	
onecrosistreatedbysurgeryaloneorsurgerywithpostoperative
hyperbaric oxygenation. Br J Oral Maxillofac Surg 2000; 38(3)
:173-176.
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
บทคัดย่อ
	 ในปัจจุบันมีกิจกรรมดำน้ำเพิ่มขึ้นมากในประเทศไทยซึ่งการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการดำน้ำทำให้พบการบาดเจ็บจากการ
ดำน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกลไกการเกิดการบาดเจ็บจากการดำน้ำมีหลายอย่างที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับความกดดัน ที่เปลี่ยนแปลงไป
การได้ศึกษาถึงพื้นฐานของการเกิดโรคใต้น้ำ และความเข้าใจในกลไกการเกิดโรค จะส่งเสริมกิจกรรม การดำน้ำในประเทศไทย เกิด
ความปลอดภัยสูงสุด
	 ในปัจจุบันมีกิจกรรมดำน้ำเพิ่มขึ้นมากในประเทศไทย มีการดำน้ำเพื่อการสันทนาการ (Recreational diving) การดำน้ำ
เพื่อภารกิจทางการทหาร (Military Diving) การดำน้ำแบบอาชีพ (Commercial diving) และ การดำน้ำแบบ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่ง
การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการดำน้ำนี้เองทำให้พบการบาดเจ็บจากการ ดำน้ำ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลไกของการบาดเจ็บจากการ
ดำน้ำหลายอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับ ความกดดัน (Pressure) ที่เปลี่ยนแปลงไป
	 บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องของการบาดเจ็บจากการดำน้ำซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ของความ
กดดันและคุณสมบัติของก๊าซที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ความกดดันเป็นหลักไม่ได้รวมถึงการบาดเจ็บจากการดำน้ำที่มีสาเหตุมาจาก
อย่างอื่น เช่น สัตว์ทะเลที่เป็นอันตราย อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมใต้น้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ ในการดำน้ำ ซึ่งจะได้นำเสนอใน
โอกาสต่อไป
รูปแสดงผลของความดันบรรยากาศที่มีต่อปริมาตร
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 11
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550
บทความพิเศษ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
กมลศักดิ์ ต่างใจ
กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์
ฐานทัพเรือสัตหีบ
Barotrauma
	 ที่ระดับน้ำทะเล น้ำหนักของชั้นบรรยากาศที่กดลงบน
ผิวโลก มีค่าเท่ากับ 1 ความดันบรรยากาศ (atm) และทุกๆ
ความลึกของน้ำทะเล 10 เมตรโดยประมาณ ความดันจะเพิ่มขึ้น
อีก 1 บรรยากาศ ดังนั้น ที่ความลึก 10, 20 และ 30 เมตร จะมี
ความดันเท่ากับ 2,3 และ 4 บรรยากาศสัมบูรณ์ (ata) ตาม
ลำดับ
	 Robert Boyle (1627 - 1691) นักวิทยาศาสตร์ชาว
ไอริช ได้อธิบายผลของความดันต่อปริมาตร ของก๊าซไว้เมื่อปี
ค.ศ. 1662 ว่า ปริมาตรของก๊าซจะแปรผกผันกับความดันที่เพิ่ม
ขึ้น ยกตัวอย่างอธิบายได้คือ ถ้าลูกโป่งมีปริมาตรอากาศอยู่ 6
ลิตร ที่ระดับน้ำทะเล ถูกนำลงไปใต้น้ำที่ความลึก 10 (2ata), 20
(3ata) และ 30 เมตร (4ata) ปริมาตรของลูกโป่งจะเหลือ 3
ลิตร, 2 ลิตร และ 1.5 ลิตร ตามลำดับ ในทางกลับกัน ถ้าเรา นำ
ลูกโป่งที่มีปริมาตร 3 ลิตร ขึ้นมาจากความลึก 30 เมตร (4ata)
เมื่อมาถึงผิวน้ำ ปริมาตรอากาศจะ ขยายตัวขึ้นเป็น 4 เท่า คือ
12 ลิตร
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
Thai Underwater Medicine Journal12
Volume 1 / No.2 September-December 2007
	 การเปลี่ยนแปลงทั้งการเพิ่มขึ้นและลดลงของ
ปริมาตรอากาศที่อยู่ตามช่องว่างในร่างกายเช่น ปอด หูชั้นกลาง
ไซนัส ฯลฯ อาจทำให้มีการบาดเจ็บที่เรียกว่า Barotrauma
อาการ อาการแสดง จะขึ้นอยู่กับ อวัยวะที่มีการบาดเจ็บ
ประมาณ 2/3 ของ Barotrauma ในนักดำน้ำมักจะเกิดบริเวณหู
ชั้นกลาง การวินิจฉัยใช้อาการทางคลินิกเป็นสำคัญ
	 Ear barotrauma หรือบางครั้งเรียกว่า Ear squeeze
จะเกิดขึ้นเมื่อมีการดำลงไปใต้ผิวน้ำ (descent) อากาศ ในหูชั้น
กลาง ระหว่างเยื่อแก้วหู กับหูชั้นใน จะมีปริมาตรลดลง ซึ่งทำให้
เกิดการขยับเข้าด้านใน ของเยื่อแก้วหู เกิดเป็น ความรู้สึกคล้าย
หูอื้อ จนกระทั่งปริมาตรอากาศลดลงถึงจุดหนึ่ง เยื่อแก้วหูจะมี
การตึงตัวมากจนกระทั่งเกิดเป็น ความรู้สึกปวดหู ซึ่งถ้าไม่ได้รับ
การปรับความดันในช่องหูชั้นกลาง (Equalization) ผ่าน
Eustachian tube จะมีเลือดออกในหู ชั้นกลาง หรือมีการฉีก
ขาดของเยื่อแก้วหูได้ การตรวจร่างกายจะพบว่ามี Tympanic
membrane congestion, Hemotympanum มีการเคลื่อนไหว
ของ tympanic membrane ลดลง เมื่อตรวจด้วย pneumatic
otoscope และมักจะมี conduction hearing loss
การแบ่งระดับการบาดเจ็บของเยื่อแก้วหู
	​Pulmonary​​Barotrauma​​ปอด​​เป็น​ช่อง​อากาศ​ใน​ลำ​
ตัว​ขนาด​ใหญ่​​โดย​ปกติ​มี​ปริมาตร​ประมาณ​​6​​ลิตร​​ภาวะ​การ​บาด​
เจ็บ​จาก​การ​ดำ​น้ำ​ที่​เกิด​ขึ้น​กับ​ปอด​มี​ได้​ใน​​2​​ลักษณะ​​คือ​
​ใน​กรณี​การ​ดำ​น้ำ​แบบ​กลั้น​หายใจ​​(​Breath​-​hold​​div-1.	
ing​,​​free​​diving​)​​เมื่อ​ดำ​ลง​ไป​ใต้​น้ำ​​ความ​ลึก​ที่​เพิ่ม​ขึ้น​
​จะ​ทำให้​ปริมาตร​อากาศ​ใน​ปอด​ลด​ลง​ ​ตาม​กฎ​
ของ​​Boyle​​มี​ผล​ทำให้​มี​​mucosal​​edema​,​​vascular​
​engorgement​ ​จน​กระทั่ง​ถึง​ ​lung​ ​hemorrhage​ ​ได้​​
อาการ​ทาง​คลินิก​ที่​พบ​ได้​คือ​​dyspnea​​และ​​hemoptysis​
​การ​บาด​เจ็บ​ชนิด​นี้​ ​เรียก​ว่า​ ​lung​ ​squeeze​
​	​ปัจจุบัน​​การ​ดำ​น้ำ​แบบ​กลั้น​หายใจ​​(​Free​​diving​)​​มี​
​องค์กร​ที่​กำหนด​กติกา​และ​เก็บ​สถิติ​โลก​​ที่​มีชื่อ​เสียง​​2​​องค์กร​​
คือ​​IADA​​(​International​​Association​​for​​Development​​
of​​Apnea​)​​และ​​CMAS​​(​Confederation​​Mondiale​​des​​
Activites​​Subaquatiques​)​​โดยที่​สถิติ​โลก​ของ​การ​ดำ​น้ำ​​
แบบ​​no​​limits​,​​free​​diving​​ปัจจุบัน​​(​AIDA​​2007​)​​เป็น​ของ​​
Herbert​​Nitsch​​ชาว​​Austria​​ดำ​ได้​ลึก​​214​​เมตร​​โดย​การ​
หายใจ​เพียง​ครั้ง​เดียว​
​ใน​กรณี​การ​ดำ​น้ำ​แบบ​​SCUBA​​(​Self​​Containing​​Un-2.	
derwater​​Breathing​​Apparatus​)​​​จะ​มี​การ​หายใจ​เอา​​
อากาศ​เข้าไป​ใน​ปอด​ใน​ขณะ​ที่​อยู่​ใต้​น้ำ​​ใน​ขณะ​ที่​ขึ้น​มา​จาก​
ความ​ลึก​​(​ascent​)​​อากาศ​​ใน​ปอด​จะ​มี​การ​ขยาย​ตัว​​ถ้า​มี​
การ​อุด​กั้น​ของ​อากาศ​ที่​ขยาย​ตัว​ใน​ปอด​​ทำให้​ไม่​สามารถ​
ระบาย​​อากาศ​ออก​มา​ได้​​เช่น​​นัก​ดำ​น้ำ​​กลั้น​หายใจ​​ปอด​
มี​พยาธิ​สภาพ​​ฯลฯ​​จะ​ทำให้​เกิด​​Lung​​overexpansion​​
syndrome​​และ​​alveolar​​rupture​​เกิด​​pneumothorax​
,​​pneumomediastinum​​อาการ​ทาง​​clinic​​ที่​พบ​ได้​​เช่น​​
แน่น​หน้าอก​​​pleuritic​​chest​​pain​​เสียง​แหบ​​กลืน​ลำบาก​​
หอบ​เหนื่อย​ ​อาจ​จะ​มี​ฟอง​อากาศ​หลุด​เข้าไป​ใน​หลอด​
เลือด​​กลาย​เป็น​​air​​embolism​​อุด​ตัน​ตาม​อวัยวะ​ต่างๆ​​ได้​​
​	​Barotrauma​​ยัง​สามารถ​เกิด​ได้​กับ​ช่อง​อา​กา​ศอื่นๆ​​ใน​
ร่างกาย​อีก​​เช่น​​sinus​​barotrauma​,​​Dental​​barotrauma​,​​
GI​​barotrauma​​หรือ​ช่อง​อากาศ​ที่​เกิด​ขึ้น​จาก​อุปกรณ์​ดำ​น้ำ​​
เช่น​​mask​​barotrauma​​โดย​มี​กลไก​การ​บาด​เจ็บ​มา​จาก​การ​
หด​ตัว​​และ​​ขยาย​ตัว​ของ​ปริมาตร​ก๊าซ​ทั้ง​สิ้น​​
​Decompression​​Sickness​​(​DCS​)​
​	​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​ความ​ดัน​บรรยากาศ​​นอกจาก​
ปริมาตร​ของ​ก๊าซ​จะ​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​ตาม​กฎ​​ของ​​Boyle​​แล้ว​​
อีก​คุณสมบัติ​หนึ่ง​ของ​ก๊าซ​ที่​เปลี่ยนแปลง​ไป​ด้วย​คือ​​การ​ละลาย​ลง​
ใน​ของเหลว​​William​​Henry​​(​1775​​-​​1836​)​​นัก​เคมี​​ชาว​อังกฤษ​​
ได้​กล่าว​ไว้​ว่า​​“​ความ​สามารถ​ใน​การ​ละลาย​ของ​ก๊าซ​ชนิด​หนึ่ง​ใน​
ของเหลว​​จะ​แปรผัน​ตรง​กับ​ความ​ดัน​​ที่​กระทำ​เหนือ​ของเหลว​และ​
ก๊าซ​นั้น​”​​​ยก​ตัวอย่าง​การ​ประยุกต์​ใช้​กฎ​ข้อ​นี้​ได้​​คือ​​การ​ผลิต​น้ำ​
อัดลม​​ซึ่ง​เป็น​น้ำ​หวาน​ผสม​กับ​​ก๊าซ​คาร์บอน​-​​ได​ออกไซด์​​(​CO2​)​​
ใน​ขณะ​ที่​น้ำ​อัดลม​​อยู่​ใน​ขวด​ปิด​ฝา​​ก๊าซ​​CO2​​จะ​ละลาย​อยู่​ใน​น้ำ​
หวาน​​ต่อ​เมื่อ​เรา​เปิด​ฝา​​น้ำ​อัดลม​​เรา​ก็​จะ​เห็น​ฟอง​ของ​ก๊าซ​​CO2​​
ผุด​ออก​มา​จาก​ของเหลว​​เนื่องจาก​ความ​ดัน​เหนือ​ของเหลว​ลด​ลง​
​	​ใน​อากาศ​ที่​เรา​ใช้​หายใจ​​ประกอบ​ด้วย​ก๊าซ​ออกซิเจน​​(​
O2​)​​ร้อย​ละ​​21​​และ​​ก๊าซ​ไนโตรเจน​​(​N2​)​​ร้อย​ละ​​79​​โดย​ประมาณ​​
ออกซิเจน​เป็น​ก๊าซ​ที่​จำเป็น​ต่อ​การ​ดำรง​ชีวิต​​ใน​ขณะ​ที่​ไนโตรเจน​​
จะ​เป็น​ก๊าซเฉื่อย​​(​Inert​​Gas​)​​ที่​ระดับ​น้ำ​ทะเล​​ร่างกาย​ของ​เรา​
มี​ไนโตรเจน​ละลาย​อยู่​ใน​เลือด​ปริมาณ​หนึ่ง​​เมื่อ​ความ​ดัน​เพิ่ม​
กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน
กรมแพทย์ทหารเรือ
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 13
วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550
ขึ้น​​จาก​การ​ที่​นัก​ดำ​น้ำ​ดำ​ลง​ไป​ใต้​น้ำ​​ก๊าซ​ไนโตรเจน​ใน​อากาศ​ที่​ใช้​หายใจ​ใต้​น้ำ​​ก็​จะ​สามารถ​ละลาย​เข้า​สู่​ร่างกาย​​ได้​มาก​ขึ้น​​ปริมาณ​
ไนโตรเจน​ที่​ละลาย​เพิ่ม​ขึ้น​นี้​​ขึ้น​อยู่​กับ​เวลา​ที่​ใช้​อยู่​ใต้​น้ำ​และ​ระดับ​ความ​ลึก​ของ​การ​ดำ​น้ำ​​(​รูป​ที่​​3​)​​โรค​​DCS​​จะ​เกิด​ขึ้น​เมื่อ​ความ​ดัน​
ลด​ลง​จาก​การ​ที่​​นัก​ดำ​น้ำ​จะ​ขึ้น​สู่​ผิวน้ำ​​ก๊าซ​ไนโตรเจน​ที่​ละลาย​อยู่​​ก็​จะ​เริ่ม​ผุด​กลาย​เป็น​ฟอง​ตาม​ร่างกาย​​ทำให้​มี​อาการ​ต่างๆ​​จาก​การ​
เกิด​ฟอง​ที่​อวัยวะ​นั้นๆ​​เช่น​​ฟอง​บริเวณ​ข้อ​ต่อ​ทำให้​มี​อาการ​ปวด​ตาม​ข้อ​​ฟอง​อุด​หลอด​เลือด​ทำให้​ขาด​เลือด​ไป​เลี้ยง​​ที่​อวัยวะ​ต่างๆ​​เกิด​
ฟอง​ใน​ไขสันหลัง​ทำให้​เป็น​อัมพาต​​ฟอง​ที่​เกิด​ขึ้น​ยัง​สามารถ​กระตุ้น​การ​แข็ง​ตัว​ของ​เลือด​​และ​กลไก​การ​​อักเสบ​ของ​ร่างกาย​ได้​อีก​ด้วย​​​
​Cerebral​​Arterial​​Gas​​Embolism​​(​CAGE​)​
​	​ฟอง​อากาศ​ที่​หลุด​เข้าไป​ใน​กระแส​เลือด​แดง​​สามารถ​ไป​อุด​หลอด​เลือด​ที่​อยู่​ใน​สมอง​​ทำให้​เกิด​​สมอง​ขาด​เลือด​​ซึ่ง​มี​อาการ​
รุนแรง​​พบ​ได้​ตั้งแต่​​ระดับ​ของ​ความ​รู้สึก​ตัว​ลด​ลง​​ชา​​แขน​ขาอ่อน​แรง​​อัมพาต​​ชัก​​หมด​สติ​​หยุด​หายใจ​​ถึง​ขั้น​เสีย​ชีวิต​
​	​กลไก​ที่​ใช้​อธิบาย​การ​มี​ฟอง​อากาศ​ใน​กระแส​เลือด​แดง​มี​หลาย​กลไก​​เช่น​
​•​	​Alveolar​​rupture​​ใน​กลุ่ม​​pulmonary​​barotrauma​​
​•​	​เกิด​ใน​กระแส​เลือด​แดง​เอง​​จาก​​severe​​DCS​​
​•​	​มา​จาก​กระแส​เลือด​ดำ​​ผ่าน​ทาง​​Right​​to​​Left​​shunt​​เช่น​​patent​​foramen​​ovale​,​​Atrial​​Septal​​Defect​​หรือ​ปอด​ไม่​
สามารถ​ดัก​จับ​ฟอง​อากาศ​ปริมาณ​มาก​ที่​เกิด​ขึ้น​ได้​ทั้งหมด​
ลักษณะ CAGE DCS
อาการและอาการแสดง หมดสติ อาจมีอาการชักร่วมด้วย มักพบ barotrauma
ร่วมด้วย
ปวดตามข้อ อาจมีอาการชาของแขนขา ตรวจพบอาการผิด
ปกติของระบบประสาท
onset พบทันทีระหว่างหรือเมื่อขึ้นถึงผิวน้ำ มักจะพบอาการหลังจากขึ้นสู่ผิวน้ำแล้ว จนกระทั่ง 24
ชั่วโมง อาการมักค่อยเป็นค่อยไป
สาเหตุ มีการกลั้นหายใจ หรืออุดกั้นของทางเดินหายใจขณะขึ้นสู่
ผิวน้ำ มีการดำน้ำเกินความลึกและระยะเวลาที่ปลอดภัย
กลไกการเกิด ภาวะ pulmonary overinflation ทำให้มีฟองอากาศเข้าไป
สู่กระแสเลือด
มีการผุดของฟองจากการที่มีก๊าซละลายอยู่ในเลือด ในขณะ
มีการลดความดัน
การรักษาเบื้องต้น
ดูแลภาวะฉุกเฉิน เตรียมการส่งกลับผู้ป่วยไปยัง
recompression chamber ที่ใกล้ที่สุด
นอนราบ ให้ออกซิเจน 100% ให้ iv fluid
เหมือน CAGE
ตารางเปรียบเทียบลักษณะของ CAGE และ DCS
Abnormal Gas Pressure
	 ก๊าซหลายๆ ชนิดจะส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป
เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะความกดดันที่สูงขึ้น ในบทความนี้ จะขอ
ยกตัวอย่างของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน
	 Nitrogen Narcosis เกิดจากคุณสมบัติของก๊าซ
ไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจะมีฤทธิ์ระงับความรู้สึกคล้าย
Nitrous Oxide เมื่อความดันย่อยของก๊าซไนโตรเจนในก๊าซที่ใช้
ในการหายใจขณะดำน้ำเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้
โดยจะ เริ่มพบอาการของ nitrogen narcosis ตั้งแต่ความดัน
บรรยากาศ 3 ata ขึ้นไป
ความดัน
บรรยากาศ
(ATA)
อาการ
2-4 เริ่มมีความผิดปกติของประสิทธิภาพการทำงาน มีการ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (visual, auditory stimuli) ช้าลง
4-6 การรับรู้แคบลง การคำนวณผิดพลาด การตัดสินใจผิด
พลาด
6-8 เวียนศีรษะ หัวเราะแบบควบคุมไม่ได้
8-10 ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้าลงเป็นอย่างมาก มี mental
confusion สูญเสีย intellectual และ perceptive
faculties
>10 เห็นภาพหลอน หมดสติ
ตารางแสดงผลของภาวะ Nitrogen
Narcosis ที่ความดันต่างๆ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ
การบาดเจ็บจากการดำน้ำ

More Related Content

What's hot

การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Tuang Thidarat Apinya
 
โรคจากการทำงาน nov2014
โรคจากการทำงาน nov2014โรคจากการทำงาน nov2014
โรคจากการทำงาน nov2014Hospital for Health
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
songsri
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Aphisit Aunbusdumberdor
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
Utai Sukviwatsirikul
 
ความรู้ IC
ความรู้ ICความรู้ IC
ความรู้ IC
wichudaice
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
yahapop
 
การดูแลความสะอาดสุขสบาย
การดูแลความสะอาดสุขสบายการดูแลความสะอาดสุขสบาย
การดูแลความสะอาดสุขสบาย
Nakhon Pathom Rajabhat University
 
การขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ
การขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศการขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ
การขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศUtai Sukviwatsirikul
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำPrathan Somrith
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Prachaya Sriswang
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
CAPD AngThong
 
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
Utai Sukviwatsirikul
 
Cpg copd
Cpg copdCpg copd
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความการอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
Surapong Klamboot
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
pueniiz
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Narenthorn EMS Center
 
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการเกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
กรรณิกา ปัญญาอมรวัฒน์
 

What's hot (20)

การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
โรคจากการทำงาน nov2014
โรคจากการทำงาน nov2014โรคจากการทำงาน nov2014
โรคจากการทำงาน nov2014
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
 
ความรู้ IC
ความรู้ ICความรู้ IC
ความรู้ IC
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
 
การดูแลความสะอาดสุขสบาย
การดูแลความสะอาดสุขสบายการดูแลความสะอาดสุขสบาย
การดูแลความสะอาดสุขสบาย
 
การขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ
การขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศการขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ
การขนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
 
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
 
Cpg copd
Cpg copdCpg copd
Cpg copd
 
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความการอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
การอ่านเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์และแสดงความ
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
 
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการเกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
Utai Sukviwatsirikul
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
Utai Sukviwatsirikul
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
Utai Sukviwatsirikul
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Utai Sukviwatsirikul
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
Utai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
Utai Sukviwatsirikul
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Utai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Utai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
Utai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
Utai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

การบาดเจ็บจากการดำน้ำ

  • 1. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ Thai Underwater Medicine Journal เจ้าของ กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ สำนักงาน กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ 504 ถ.ตากสิน บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ 0-2475-2641, 0-2475-2730 แฟกซ์ 0-2460-1105 จุดประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับงานเวชศาสตร์ใต้ น้ำ และเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูง ข้อความและข้อคิดเห็น เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ ความเห็นของ กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ ทหารเรือ และคณะบรรณาธิการวารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ แต่ อย่างใด ผู้อุปถัมภ์ ชมรมเวชศาสตร์ใต้น้ำ (ประเทศไทย) คณะที่ปรึกษา พลเรือตรี สุริยา ณ นคร พลเรือตรี กิติพัฒน์ วัฒนาวงศ์ นาวาเอก ธนวัต พงศ์สุพัฒน์ นาวาเอก สฤษดิ์ชัย สุทธิพงศ์ นาวาเอก คณิน ชุมวรฐายี ผู้อำนวยการ นาวาเอก บริพนธ์ สุวชิรัตน์ ผู้จัดการ นาวาเอก ธนษวัฒน์ ชัยกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ นาวาตรีไพบูลย์ เทพประสิทธิ์ นาวาตรีประวิน ญาณอภิรักษ์ เรือเอก วุฒิชัย บรรจงปรุ เรือตรี สมัคร ใจแสน เหรัญญิก นาวาโทหญิง แก้วตา กิจกำแหง กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ นาวาเอก ธนษวัฒน์ ชัยกุล รองบรรณาธิการ นาวาตรี คมสัน วุฒิประเสริฐ นาวาตรี กมลศักดิ์ ต่างใจ คณะบรรณาธิการ นาวาเอก พรชัย แย้มกลิ่น นาวาเอก ทรงพล วิชิตนาค นาวาเอก ชลธร สุวรรณกิตติ นาวาเอก นรเสทธ์ เอื้อไพบูลย์ นาวาเอก ขจิตร์ อุษณีย์สวัสดิ์ชัย นาวาเอก ปิยะชาติ เจริญวัฒนาพานิช นาวาเอก บริพนธ์ สุวชิรัตน์ นาวาเอก ประสิทธิ์ศักดิ์ วีระยุทธวิไล นาวาตรี ไพบูลย์ เทพประสิทธิ์ นาวาตรี ประวิน ญาณอภิรักษ์ เรือเอก รุ่งนิรันดร์ สอาดโอษฐ์ เรือเอก สุธรรม มีแสง เรือตรี สมัคร ใจแสน พิสูจน์อักษร นาวาตรีไพบูลย์ เทพประสิทธิ์ พันจ่าเอก สายรุ้ง สุขตะกั่ว แจกจ่าย เรือเอก วุฒิชัย บรรจงปรุ พันจ่าเอก ประสาน พุ่มยงค์ พันจ่าโท ธนพงษ์ สีเที่ยงธรรม รูปเล่ม พันจ่าเอก สมบูรณ์ ปาลกะวงศ์ พันจ่าเอก เทวฤทธิ์ อุทธา ออกแบบปก พันจ่าเอก สมบูรณ์ ปาลกะวงศ์ กำหนดออกวารสาร ราย 4 เดือน อัตราค่าบำรุง ปีละ 150 บาท เรียงพิมพ์ที่ กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ พิมพ์ที่ บ้านสวนการพิมพ์ กรุงเทพฯ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กันยายน - ธันวาคม 2550 Volume 1/No.2 September-December 2007 ISSN 1905-5994 www.nmd.go.th/um
  • 2. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ Thai Underwater Medicine Journal2 Volume 1 / No.2 September-December 2007 หน้า บรรณาธิการแถลง 3 บทความฟื้นวิชา ® การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง รักษาภาวะกระดูกขากรรไกรตายภายหลังจากการได้รับรังสีรักษา 4 ภูริศร์ ชมะนันทน์ บทความพิเศษ ® การบาดเจ็บจากการดำน้ำ 11 กมลศักดิ์ ต่างใจ ® การดูแลผู้ประสบภัยจากสารเคมีด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง 15 ขจิตร์ อุษณีย์สวัสดิ์ชัย ® การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูงในการรักษาแผลหายยาก 18 คมสัน วุฒิประเสริฐ ® การลงรหัสโรค สำหรับงานเวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูง 21 อัมรินทร์ สิทธิ์โชติหิรัญ ย่อวารสาร 24 มุมโคเครน 27 มุมคุณภาพ ® บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใต้แรงดัน 28 ประวิน ญาณอภิรักษ์ จดหมายข่าว...ชาวใต้น้ำ 31 คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ 32 สารบัญ
  • 3. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 3 วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550 วารสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ซึ่งฉบับนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ มากมาย โดยมีหัวข้อด้านเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศ สูงมากเป็นพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับการประชุมวิชาการกรม แพทย์ทหารเรือในปีนี้ ที่มีหัวข้อที่น่าสนใจด้านเวชศาสตร์ความ กดบรรยากาศสูง แม้ว่าฉบับนี้จะไม่มีบทนิพนธ์ต้นฉบับ แต่มีบทความ ฟื้นวิชา และบทความพิเศษที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บทความฟื้นวิชาเรื่อง การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูงใน การรักษา ภาวะกระดูกขากรรไกรตาย ภายหลังการได้รับรังสี รักษา ของ ภูริศม์ ชมะนันท์ ซึ่งเป็นทันตแพทย์ท่านหนึ่งที่มี ประสบการณ์การดูแลคนไข้กลุ่มนี้มาก บทความพิเศษ เรื่อง การดูแลผู้ประสบภัยจากสารเคมีด้วยออกซิเจนความกด บรรยากาศสูง ของ ขจิตร์ อุษณีย์สวัสดิ์ชัย การบาดเจ็บจากการ ดำน้ำ ของ กมลศักดิ์ ต่างใจ การใช้ออกซิเจนความกด บรรยากาศสูงในการรักษาแผลหายยาก ของ คมสัน วุฒิ ประเสริฐ วารสารนี้ยังอุดมไปด้วย ย่อวารสาร ซึ่งอาจเป็น วารสารด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศ สูงที่หาอ่านได้ยาก หรือบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ มี “ปัจจัยด้านผลกระทบ” สูง และเช่นเดียวกัน กับมุมโคเครน ที่ มีบทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารที่ได้รับการยอมรับว่ามีระดับเวช ปฏิบัติอิงหลักฐานสูงสุดแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยทาง คลินิก มีการมองเห็นความสำคัญ ของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน ปกิณกะของฉบับนี้ ได้แก่ มุมคุณภาพ ที่จะมี บทความต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพของงาน ด้านนี้ โดยมีประวิน ญาณอภิรักษ์ เป็นผู้นิพนธ์หลัก นอกจากนี้ ฉบับนี้ยังมีมุมพิเศษเกิดขึ้นใหม่ คือ มุมเวชศาสตร์ใต้น้ำกับการ ดำน้ำอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นมุมที่มีบทความ มุ่งเน้นให้นักดำน้ำ หรือนักประดาน้ำ เข้าใจในหลักความปลอดภัยในการดำน้ำ หรืออาจเป็นมุมพัฒนาคุณภาพด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำ คู่กับการ บรรณาธิการแถลง พัฒนาคุณภาพด้านเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูง ของมุม คุณภาพ ซึ่ง สมัคร ใจแสน จะเป็นผู้นิพนธ์หลัก และอาจมี บทความในอนาคตจากนักดำน้ำที่มากด้วยประสบการณ์หรือผู้ เชี่ยวชาญต่อไป การก้าวต่อไปของวารสารมีความสำคัญเป็นอย่าง มาก ซึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญของการพัฒนางานหนึ่งงานใด คือ ศักยภาพในการดำเนินงานและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วารสารนี้ก็เช่นเดียวกัน ที่มีเป้าหมายสอดคล้องกัน อย่างไร ก็ตาม หากพบมีข้อผิดพลาดใด บรรณาธิการและคณะ พร้อม รับฟังข้อเสนอแนะ และน้อมรับเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข บรรณาธิการและคณะ ขอเรียนเชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้สนใจในงานด้านนี้ เข้าร่วมเป็นกอง บรรณาธิการ หรือมีส่วนร่วมในการจัดทำวารสารนี้ตามความ ชำนาญ และเรียนเชิญส่งบทความของท่านเพื่อเข้ารับการตี พิมพ์ โดยมีแนวทางตามคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ท้ายฉบับ อัน จะเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาการด้านนี้ ให้เป็นที่ ประจักษ์ชัด และได้รับการศึกษาต่อยอดต่อไป ในประเทศ ธนษวัฒน์ ชัยกุล บรรณาธิการ
  • 4. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ Thai Underwater Medicine Journal4 Volume 1 / No.2 September-December 2007 บทนำ กระดูกขากรรไกรตายจากการฉายแสง (Osteoradionecrosis of Jaws, ORN) เป็นภาวะที่พบได้ในผู้ ป่วยมะเร็ง บริเวณศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษา การตาย ของกระดูกมิได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือการอักเสบของ กระดูก (Osteomyelitis) แต่เกิดจากการที่เซลของกระดูกและ เนื้อเยื่ออ่อนสูญเสียสมดุลย์ระหว่างการตายและการสร้างเซล คือ มีการตายของเซลมากกว่าการสร้างเซลใหม่ ปัจจัยสำคัญ คือ การเกิดภาวะ Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic ของเนื้อเยื่ออันเนื่องมาจากผลของรังสีรักษา การรักษา ORN ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการตาย ของกระดูกและเนื้อเยื่อ ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีกำจัดกระดูก และ เนื้อเยื่อที่ตายออกทั้งหมด การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศ สูง หรือ Hyperbaric Oxygen Therapy ร่วมในการรักษาพบว่า เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก โดยสามารถทำให้เกิดการสร้างเซลและ หลอดเลือดใหม่เข้าไปในบริเวณแผล ทำให้ระดับของ Oxygen ในแผลสูงขึ้นมากพอที่จะทำให้เกิดกระบวนการหายของแผลได้ มะเร็งของช่องปากและลำคอ มะเร็ง คือ เนื้องอกชนิดร้ายแรงที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ มะเร็ง ใน ช่องปาก ลำคอ และหลังโพรงจมูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยใน ประชากรไทย สาเหตุมักเกิดเนื่องมาจาก การเคี้ยวหมาก สูบ บุหรี่ ดื่มสุรา การมีอนามัยในช่องปากไม่ดี มีแผลเรื้อรังในช่อง ปาก หรือการใส่ฟันปลอมที่หลวมขยับได้ตลอดเวลา เป็นต้น มะเร็งจะมีการโตขยายขนาดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการทำลาย อวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยจะมีปัญหาต่างๆ เช่น ปวด เป็นแผล เรื้อรังไม่หายและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แผลมีกลิ่นเหม็น มีก้อน ที่คอ ต่อมน้ำเหลืองโต บางครั้งอาจทำให้เกิด การทำลายของ กระดูกจนทำให้ฟันโยก หรือเกิดอาการชาในกรณีที่มะเร็งลุก ลามไปยังเส้นประสาทในบริเวณนั้น บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำจากวารสารแพทย์นาวี ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค.50 โดยได้รับอนุญาต บทความฟื้นวิชา การใช้ออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง รักษาภาวะกระดูกขากรรไกรตาย ภายหลังจาการได้รับรังสีรักษา การรักษามะเร็งบริเวณช่องปาก ศีรษะและลำคอ สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การฉายรังสี การใช้ยา เคมีบำบัด หรือการรักษาร่วมกัน ในคนไทยซึ่งเป็นมะเร็งของ ศีรษะ ลำคอ มักมาพบแพทย์เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ นั่นหมาย ถึงว่ามะเร็งมีการลุกลามไปมากแล้ว ทำให้การรักษามีความยุ่ง ยากและผลการรักษาไม่ดี ในกรณีที่มีการผ่าตัด ศัลยแพทย์ จำเป็นต้องตัดเนื้อเยื่อออกไปเป็นบริเวณกว้าง เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถกำจัดมะเร็งออกไปให้มากที่สุด จึงมีการ สูญเสีย เนื้อเยื่อและอวัยวะไปในปริมาณมาก ส่งผลเกิดปัญหาสำคัญ ตามมาหลายประการ ได้แก่ มีความพิการของอวัยวะที่ถูกตัดออกไป ทำให้ไม่สามารถ1. ทำหน้าที่ได้ตามปกติ เช่น ไม่สามารถกิน กลืนอาหาร หรือพูดได้เนื่องจากถูกตัดลิ้น ตัดกระดูกขากรรไกร มีความพิการของรูปร่างใบหน้า ทำให้มีปัญหาเรื่อง2. ความสวยงาม เช่น ใบหน้าผิดรูป มีความยากลำบากในการผ่าตัดเพื่อบูรณะ(Reconstructive3. surgery)เนื่องจากมีการสูญเสียเนื้อเยื่อไปมากจำเป็นต้องใช้ เนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นในปริมาณที่ใกล้เคียงกันมาทดแทน ทำให้อาจพบปัญหาแทรกซ้อนและความล้มเหลวในการ ผ่าตัดได้ เช่น การหายของแผลผิดปกติ การติดเชื้อ และ การตายของเนื้อเยื่อที่นำมาทดแทน เป็นต้น การรักษาด้วยรังสี (Radiation therapy) มุ่งหวังให้ เกิดการตายของเซลมะเร็ง โดยรังสีไปทำให้เกิดการเรียงตัว ที่ผิด ปกติของสายพันธุกรรม (Chromosome breakage, Disintegration) ได้แก่ DNA และ RNA ซึ่งมีหน้าที่ในการ จำลอง แบบเซลที่สร้างขึ้นใหม่ให้มีรูปร่างและสามารถทำหน้าที่ ได้ดังเดิม เมื่อเกิดการเรียงตัวที่ผิดปกติของสายพันธุกรรม ผลที่ ตาม มาคือ เซลที่สร้างใหม่นั้น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือน เดิม และเกิดการตายของเซล ภูริศร์ ชมะนันทน์ กองทันตกรรม รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
  • 5. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 5 วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550 รังสีทำให้เกิดภาวะสำคัญ 3 ประการคือ การมี ปริมาณเซลของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นลดลง (Hypocellular) มี หลอดเลือด ลดลง (Hypovascular) และมีระดับของ Oxygen ลดลง (Hypoxic tissue) เนื่องมาจากการตายของเซล สรุปแล้ว ภายหลังการ ฉายแสงจะเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ เซลมะเร็งถูกทำลาย1. เซลของเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งอยู่ในแนวผ่านของรังสี เช่น ผิวหนัง2. กล้ามเนื้อ กระดูก หลอดเลือด ต่อมน้ำลาย ฟัน ฯลฯ จะถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน อาการแสดงจากผลของรังสี รักษาได้แก่ เกิดการไหม้เกรียม อักเสบของผิวหนัง และ เนื้อเยื่ออ่อน (Burn, Mucositis) เกิดการแข็งตึงของเนื้อเยื่อ (Fibrosis)ทำให้การเคลื่อนไหวจำกัดเช่นอ้าปากได้น้อยลง (Trismus) มีปัญหาปากแห้ง น้ำลายน้อย (Xerostomia) เนื่องจากต่อมน้ำลายถูกทำลาย เกิดกระดูกตาย (Necrotic bone) มีฟันผุบริเวณคอฟัน (Cervical caries) เป็นต้น การเกิด Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic3. tissue นั้น จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ตลอดชั่วอายุขัยของผู้ป่วย ทั้งนี้เนื่องมาจากความผิดปกติ ของการเรียงตัวของสายพันธุกรรม ทำให้การสร้างเซลใหม่ ทำได้ไม่เหมือนเดิม เกิดการเสียสมดุลย์ของการสร้างใหม่ และการตายของเซล ดังนั้น อาการแสดงต่างๆ ที่ปรากฎ ในข้อ 2. จะมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น ส่วนอาการจะปรากฎมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ แต่ละคนได้รับรวมถึงปัจจัยอื่นๆเช่นสภาพร่างกายของผู้ป่วย การติดเชื้อ หรือเกิดแผลภายหลังการได้รับรังสีรักษา เป็นต้น เกิดการหายของแผลที่ผิดปกติ เนื่องจากในกระบวนการ4. หายของแผลนั้น ร่างกายต้องสร้างเซลใหม่ไปทดแทน ต้องการหลอดเลือดเพื่อนำเอาสารต่างๆ ที่จำเป็นไปใช้ สร้างเนื้อเยื่อ และต้องใช้ Oxygen เป็นปัจจัยสำคัญ ในกระ บวนการหายของแผล แต่ในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาเกิดภ าวะ Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic tissue จึงทำให้แผลที่เกิดขึ้น ไม่สามารถหายได้ตามปกติ เมื่อมีปัจจัยจากภายนอก เช่น การถอนฟัน การติดเชื้อ หรือ5. การเกิดแผลซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกระดูกอาจทำให้แผลที่เกิดขึ้น นั้นไม่สามารถหายได้ตามปกติในที่สุดก็เกิดเป็นกระดูกตาย และลุกลามต่อไป โอกาสเกิดกระดูกตายนี้ จะเพิ่มขึ้นเมื่อ ผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น อันเนื่องมาจากผลของ Hypocellular, HypovascularและHypoxictissueที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับ รังสีรักษามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ภาวะกระดูกขากรรไกรตายจากการฉาย แสง (Osteoradionecrosis, ORN) การเกิดกระดูกตายในผู้ป่วยมะเร็งของศีรษะ ลำคอ ภายหลังที่ได้รับรังสีรักษา ส่วนมาก (ประมาณ 60%) เกิดจาก การเกิดการบาดเจ็บ (Trauma) ของบริเวณใบหน้าและขา กรรไกร (Trauma induced ORN) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Surgical trauma ที่เหลือ (ประมาณ 40%) จะเกิดการตายของกระดูกขึ้น มาเองโดยไม่เกี่ยวกับการบาดเจ็บ (Spontaneous ORN) ในประเภทแรก คือ Trauma induced ORN นั้น พบ ว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากการถอนฟัน ภายหลังได้รับ รังสี รักษา (Late trauma induced ORN) ส่วนที่เหลือเกิดจากการที่ ได้รับรังสีรักษาในปริมาณสูงร่วมกับการเกิด Surgical trauma ในเวลาที่ใกล้กัน เช่น ได้รับรังสีรักษาหลังจากการผ่าตัดมะเร็ง ไป 1 สัปดาห์ หรือได้รับการถอนฟันในระหว่างที่ได้รับ รังสีรักษา (Early trauma induced ORN) การเกิดกระดูกตายอธิบายได้ ว่า ในขณะหรือภายหลังได้รับรังสีรักษา เนื้อเยื่อ บริเวณนั้นจะมี ปริมาณเซล หลอดเลือด และระดับของ Oxygen ลดต่ำลง ดัง นั้น เมื่อเกิดแผล เช่น ได้รับอุบัติเหตุ ติดเชื้อ หรือ การถอนฟัน จะทำให้แผลที่เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถหายได้ตามปกติ และยังมี ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อ ได้แก่ Bacteria ในช่องปาก สภาพ pH และ Enzyme ของน้ำลาย การอักเสบ ติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้เกิดการตาย ของกระดูกมากขึ้น ประเภทที่สอง คือ Spontaneous ORN เกิดเนื่องจาก ผู้ป่วยอ้าปากได้น้อย (Trismus) เนื่องจากการเกิด Fibrosis ของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว กระดูกตายบริเวณใบหน้าและช่องปาก (Exposed necrotic bone)
  • 6. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ Thai Underwater Medicine Journal6 Volume 1 / No.2 September-December 2007 การได้รับรังสีรักษาในปริมาณที่สูง (เกิน 7,000 Centi-Gray) ทำให้เกิดการตายของกระดูกขึ้นมาเองเนื่องมาจากผลของ Hypoxic, Hypocellular และ Hypovascular tissue โดยไม่ เกี่ยวข้อง กับ Trauma Radiation tissue injury versus time แสดงการเกิด ORN 3 ชนิดภายหลังได้รับ รังสีรักษา เมื่อกราฟขึ้นไปสูงกว่าจุดไข่ปลา หมายถึงการเกิด ORN (Clinical damage) กราฟเส้นบน คือผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาในปริมาณที่สูงมาก หากได้ รับการบาดเจ็บ เช่น การผ่าตัดในระยะเวลาที่ ใกล้กับการฉายแสง จะทำให้เกิด การตายของกระดูกทันที (Early trauma induced ORN) แต่หากไม่ได้รับการ บาดเจ็บ ในช่วงดังกล่าว เมื่อเวลาผ่านไป ก็อาจเกิดกระดูกตายได้เอง (Spontaneous ORN) กราฟเส้นล่าง คือผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาในปริมาณที่ไม่สูงมาก เมื่อ เวลาผ่านไป เส้นกราฟจะสูงขึ้นไปหาจุดไข่ปลา แสดงว่าโอกาสในการเกิดกระดูก ตายมากขึ้นเรื่อยๆอันเนื่องมาจากผลของ Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic tissue และหากในช่วงใด ผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บ เช่น ถอนฟัน ก็จะ ทำให้แผลไม่หายและเกิดเป็นกระดูกตายได้ (Late trauma induced ORN) พบว่า HBO สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดกระดูก ตายจากการฉายแสงได้ สรุปแล้ว Pathogenesis ของการเกิด ORN คือ ผู้ป่วยได้รับรังสีรักษาเพื่อรักษามะเร็งบริเวณศีรษะลำคอรังสี1. ทำลายทั้งเซลมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติ เกิดภาวะ Hypocellular, Hypovascular , Hypoxic tissue2. จากความผิดปกติของสายพันธุกรรม เกิดTissuebreakdownโดยอาจเกิดขึ้นเองหรือจากปัจจัย3. ภายนอก เช่น Surgical trauma แผลที่เกิดขึ้น ไม่สามารถหายได้ตามปกติ (Non-Healing4. wound) เกิดการตาย (Necrosis) ของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน5. ตามมาด้วยอาการแสดงอื่นๆ เช่น กระดูกหัก นิยามของ ORN คือ การมีกระดูกตาย (ภายหลังได้ รับรังสีรักษา) โผล่ออกมาในช่องปากหรือใบหน้า โดยไม่ สามารถหายได้เองภายใน 3-6 เดือน (Non-healing exposed necrotic bone) อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยได้แก่ ปวด อ้าปากได้น้อย ปากแห้ง ฟันผุ มีกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนตาย (Necrosis of bone and soft tissue) ที่ไม่สามารถหายได้เอง เกิดรูทะลุระหว่างช่องปากกับใบหน้า (Orofacial fistula) ใน ที่สุดก็จะเกิดการหักของกระดูกขากรรไกร (Pathologic fracture) การตายของกระดูกและเนื้อเยื่อดังกล่าว จะค่อยๆ ลุกลามเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการตายเป็นบริเวณกว้าง หากทิ้ง ไว้ จะเกิด ปัญหาแทรกซ้อนที่ตามมาหลายประการ เช่น ผู้ป่วยมี ความเจ็บปวดทรมานมากขึ้น มีการติดเชื้อ เกิดแผลเนื้อตาย มี หนอง และกลิ่นเหม็น มีใบหน้าและขากรรไกรผิดรูป ทำให้ไม่ สามารถเคี้ยว กลืนอาหาร หรือพูดได้ ไม่สามารถดำเนินชีวิต อยู่ ในสังคมได้ตามปกติ และหากการตายของเนื้อเยื่อลุกลามไปถูก อวัยวะสำคัญเช่นหลอดเลือดบริเวณลำคอ อาจทำให้เกิดภาวะ เลือดออกอย่างมากได้ การรักษาภาวะกระดูกขากรรไกรตายจาก การตายของเนื้อเยื่อบริเวณลำคอ (Soft tissue necrosis) รูทะลุที่เชื่อมต่อจากในช่องปากกับบริเวณใบหน้า (Orofacial fistula) กระดูกขากรรไกรหักเนื่องจากการตายของกระดูก (Pathological fracture)การฉายแสง ทำโดยการผ่าตัดกำจัดเอากระดูกและเนื้อเยื่อที่ตาย ออกทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามต่อ ในกรณีที่แผลผ่าตัดมี ขนาดใหญ่ หรือสูญเสียเนื้อเยื่อไปเป็นปริมาณมาก อาจจำเป็น ต้องผ่าตัดเพื่อบูรณะซ่อมแซม (Reconstructive surgery) เพื่อ ให้ผู้ป่วยสามารถพูด กินอาหารได้ และมีรูปร่างใบหน้าที่ดี การ ผ่าตัดเพื่อบูรณะในผู้ป่วยเหล่านี้ ทำได้ยาก มีความสำเร็จต่ำ และมักมีปัญหาแทรกซ้อน เนื่องจาก Surgical defect มีขนาด ใหญ่ ที่สำคัญคือ การที่ผู้ป่วยมีปัญหา Hypocellular, Hypovascular และ Hypoxic tissue ทำให้เนื้อเยื่อที่เหลืออยู่มี คุณภาพไม่ดี (เซลน้อย, Blood supply น้อย) และมีปัญหาของ การหายของแผล
  • 7. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 7 วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550 การผ่าตัดบูรณะที่ได้ผลดีคือการใช้ Distance flap ซึ่งมี Vascular supply ที่เชื่อถือได้ เช่น Pectoralis Major Myocutaneous flap หรือการใช้ Free flap เช่น Free Vascularized Fibula Bone graft เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การ เลือกใช้ Flap และ Graft เหล่านี้ มีข้อจำกัดหลายประการในผู้ ป่วยแต่ละราย เช่น คุณภาพและปริมาณของหลอดเลือดที่เหลือ อยู่บริเวณลำคอ เป็นต้น กระดูกขากรรไกรตายที่ถูกตัดออก (Necrotic mandible) และ กระดูกที่จะ นำมาบูรณะ (Free vascularized fibula bone graft) ภาพรังสีก่อนและหลังการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรที่ตายออกและบูรณะด้วย Free vascularized fibula bone graft กระบวนการทางวิสัญญีในการดมยาสลบ ต้องอาศัย วิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ มักมี ปัญหาอ้าปากได้น้อย (Trismus) เนื้อเยื่อบริเวณลำคอและ กล่องเสียงแข็งตึง ทำให้การใส่ท่อหายใจ (Endotracheal tube) ทำได้ยากลำบาก โดยมากใช้เทคนิค Fiber Optic Intubation แต่ในกรณีที่ไม่สามารถใส่ท่อหายใจได้ หรืออาจมีปัญหาเรื่อง ทางเดินหายใจหลังผ่าตัด พิจารณาเจาะคอ (Tracheostomy) การใส่ท่อช่วยหายใจ• ด้วยวิธี Fiber Optic intubation การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต้องอาศัยทีมพยาบาลที่ มีความรู้และเอาใจใส่ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องของการหายใจ และแผลผ่าตัด พยาบาลยังมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารข้อมูล ระหว่างผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ผู้รักษา เพื่อให้เกิดความราบรื่น ในการรักษา เครื่องมือสำคัญที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยให้การรัก ษาได้ผลที่ดีและเพิ่มความสำเร็จของการรักษาคือการใช้Hyper- baricOxygen(HBO)ก่อนและภายหลังการผ่าตัดการได้รับOx- ygenภายใต้แรงดันบรรยากาศสูงนอกจากจะช่วยเพิ่มระดับของ Oxygen ในเนื้อเยื่อแล้ว ยังทำให้เกิดการสร้างเซล (Fibro- plasia) และหลอดเลือดใหม่ (Angiogenesis) ในบริเวณแผล ทำให้การหายของแผลดียิ่งขึ้น พบว่า ในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษ ามากกว่า 5,000 Centi-Gray เมื่อได้รับ HBO ที่ความดัน 2.4 เท่าของความดันบรรยากาศปกติ วันละ 90 นาทีประมาณ 8-10 วัน จะมีระดับของ Oxygen ในบริเวณที่มีเนื้อเยื่อตายเพิ่มขึ้นอ ย่างรวดเร็ว (Rapid rise phase) และจะสูงคงที่เมื่อได้รับ HBO ต่อเนื่องไปถึง20-22ครั้ง(Plateauphase)อย่างไรก็ตามระดับของ Oxygen ของผู้ป่วยหลังได้รับ HBO นี้ ก็ยังต่ำกว่าระดับของ Oxygen ในเนื้อเยื่อของคนปกติที่ไม่เคยได้รับรังสีรักษาปร ะมาณ 20% และผลของ HBO นี้จะคงอยู่ประมาณ 3-4 ปี แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับ HBO เครื่อง Hyperbaric Oxygen Chamber ชนิด Multi-Place• การเกิด Fibroplasia และ Angiogenesis อธิบายได้ จากความแตกต่างของระดับ Oxygen (Oxygen gradient) ใน เนื้อเยื่อบริเวณที่เป็น Necrosis กับเนื้อเยื่อรอบๆ กล่าวคือ ใน แผลของคนปกติที่ไม่ได้รับรังสีรักษา ความแตกต่างระหว่าง ปริมาณ Oxygen บริเวณแผลและเนื้อเยื่อปกติรอบๆมีความ แตกต่างกันมาก (Steep Oxygen gradient) พบว่า Oxygen gradient ที่มากกว่า 20 mmHg จะชักนำให้เกิด Fibroplasia และ Angiogenesis ส่วนในแผลของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาใน ปริมาณสูง จะมีความแตกต่างระหว่างระดับ Oxygen ในแผล กับเนื้อเยื่อรอบๆต่ำ (Shallow Oxygen gradient) ทำให้ไม่ สามารถเกิด Fibroplasia และ Angiogenesis ได้ การได้รับ HBO เป็นการเพิ่มระดับของ Oxygen ในเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ แผลที่ต่ำอยู่ให้สูงขึ้น จนกระทั่งสูงพอที่จะเกิดความแตกต่าง อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับบริเวณแผล จากนั้น กระบวนการ Fibroplasia และ Angiogenesis จึงเกิดขึ้น จนกระทั่งระดับของ Oxygen บริเวณแผลกับเนื้อเยื่อรอบๆใกล้เคียงกัน กระบวนการ นี้ก็จะหยุดลง
  • 8. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ Thai Underwater Medicine Journal8 Volume 1 / No.2 September-December 2007 Shallow Oxygen gradient ในแผลที่ได้รับ รังสีรักษา ทำให้ไม่สามารถเกิดการสร้างเซล และหลอดเลือดใหม่เข้าไปในแผล ระหว่างได้รับ HBO ระดับของ Oxygen ของ เนื้อเยื่อรอบๆแผลสูงขึ้น และเริ่มมีระดับที่ แตกต่างกับในแผล (Increase Oxygen gradient) หลังจากได้รับ HBO 10 ครั้ง เริ่มมีการสร้าง ของเซลและหลอดเลือด จากบริเวณขอบ แผลเข้าไปในใจกลางแผล หลังได้รับ HBO 24 ครั้ง ระดับของ Oxygen ของเนื้อเยื่อในแผลสูงขึ้น จนไม่แตกต่างกับ บริเวณรอบๆ แผลมากนัก ทำให้กระบวนการ สร้างเซลและหลอดเลือดเข้าสู่แผลหยุดลง ผลการรักษากระดูกตายจากรังสีรักษาโดยใช้ HBO ทำให้สามารถเกิดการ หายของแผลได้ การรักษาในองค์ประกอบอื่นๆซึ่งจำเป็นต้องทำควบคู่ ไปกับการผ่าตัดและ HBO คือ เรื่องของ Nutrition support การ รักษาภาวะติดเชื้อ การฟื้นฟูสภาพของอวัยวะให้กลับมาทำ หน้าที่ได้ใกล้เคียงดังเดิมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ได้ ที่สำคัญคือเรื่องของปัญหาด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐานะ ของผู้ป่วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อาหารที่มีประโยชน์ จำเป็นต่อการหายของแผล ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนมากจะกินอาหาร ได้น้อย มีร่างกายผอม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ เนื่องจากมี แผลเนื้อเยื่อและกระดูกตายในช่องปากและขากรรไกร กรามหัก สบฟันไม่ได้ อ้าปากได้น้อย ปากแห้ง ไม่มีน้ำลาย ฟันผุมากหรือ ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร เป็นต้น นักโภชนากรจึงเป็นบุคลากรที่มี บทบาทสำคัญในการดูแลเรื่องโภชนาการในผู้ป่วยเหล่านี้ การฟื้นฟูสภาพของโครงสร้างใบหน้า ขากรรไกร และ อวัยวะบดเคี้ยวโดยเฉพาะฟัน จะช่วยให้ผู้ป่วยมีใบหน้าที่ไม่ผิด รูป สามารถเคี้ยว กลืนอาหารและพูดได้ ศัลยแพทย์ช่องปาก และแมกซิลโลเฟเชี่ยล ศัลยแพทย์ตกแต่ง ศัลยแพทย์ ออร์โธปิดิกส์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาล เป็นทีมที่ช่วยให้การผ่าตัด เกิดความสำเร็จสูงสุด ทันตแพทย์มีบทบาทสำคัญในการคง สภาพอวัยวะในช่องปากและบูรณะให้สามารถใช้งานได้ ปัญหาด้านจิตใจ สังคมและเศรษฐานะ เป็นองค์ ประกอบสำคัญที่ต้องให้การดูแล ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องทนทุกข์ ทรมานและมีสภาพจิตใจที่ผิดปกติจากการเป็นโรคมะเร็ง ซึ่ง แม้ว่าจะหายจากโรคแล้ว แต่ก็มีปัญหาของ ORN ตามมา ผู้ ป่วยเหล่านี้ส่วนมากมักเป็นผู้ที่มีฐานะและการศึกษาไม่ดีนัก เป็นผู้หาเช้ากินค่ำ ประกอบกับการมีใบหน้าที่ผิดรูป มีแผล ขนาดใหญ่ มีหนองและกลิ่นเหม็น กินอาหารลำบาก ทำให้เป็น ปัญหาและภาระของญาติผู้ที่จะดูแล ทีมแพทย์ พยาบาล นัก สังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิการรักษาพยาบาล จำเป็นต้องช่วยกันประคับประคองและช่วยเหลือในเรื่องนี้ เพราะหากผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ไม่ดี ไม่มีญาติพี่น้องหรือผู้ดูแล มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ฯลฯ จะทำให้การรักษาที่ยากลำบากอยู่ แล้ว ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย การป้องกัน ภาวะกระดูกขากรรไกรตายจากการฉายแสง มีความ รุนแรงส่งผลร้ายต่อผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นปัญหาของ ภาครัฐที่ต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรในการช่วยเหลือผู้ป่วย เหล่านี้ ถึงแม้ว่าผู้ที่ได้รับรังสีรักษา จะมีโอกาสเกิดภาวะนี้แทบ ทุกราย แต่เราก็ยังสามารถป้องกัน ชลอ และลดความรุนแรง ของการเกิดโรคได้ การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ ต้องอาศัยความรู้ความ เข้าใจและความร่วมมือจากบุคลากรทางการแพทย์หลายฝ่าย นับตั้งแต่แพทย์ผู้ตรวจพบรอยโรคมะเร็งของศีรษะ ลำคอ (ศัลยแพทย์ โสตศอนาสิกแพทย์ ทันตแพทย์) ต้องมีความรู้ที่จะ แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติและได้รับการดูแลอย่างถูกต้องทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการได้รับรังสีรักษา เป็นที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิด ORN คือการได้รับ Surgical trauma ภายหลังได้รับรังสีรักษา เช่นการ ผ่าตัด อุบัติเหตุ การติดเชื้อ และที่พบบ่อยมากที่สุดคือการถอน ฟัน จึงควรทำทุกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงการเกิด Surgical trauma ภายหลังการได้รับรังสีรักษาให้มากที่สุด ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องเตรียมสภาพร่างกาย และสภาพในช่องปากของผู้ป่วยให้ พร้อมก่อนเริ่มฉายแสง รวมถึงการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องภาย หลังการฉายแสง ได้แก่
  • 9. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 9 วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550 1. การเตรียมผู้ป่วยก่อนได้รับรังสีรักษา 1.1 กำจัดฟันที่มีรอยโรคและไม่สามารถบูรณะไว้ใช้งานได้ เช่นการถอนฟันที่ผุเหลือแต่รากฟันที่มีการสูญเสีย กระดูกเบ้าฟันไปมากฟันคุดฟันกรามใหญ่ที่ผุมาก ฯลฯการกำจัดรอยโรคของช่องปากและขากรรไกรเช่น ถุงน้ำกระดูกงอกเกินฯลฯการพิจารณาว่าจะถอนหรือ เก็บฟันซี่ใดนั้นนอกจากจะประเมินจากสภาพของฟัน และอวัยวะปริทันต์แล้วยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่นOralhygiene,อายุสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย ขนาดของมะเร็งและปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ ทัศนคติในการดูแลช่องปากสภาพทางสังคมและ เศรษฐานะของผู้ป่วยเป็นต้นสิ่งที่สำคัญคือในการ ถอนฟันหรือผ่าตัดใดๆนั้นควรรอให้เกิดการหายของ แผลก่อนอย่างน้อย2-3สัปดาห์ก่อนฉายแสงเพื่อลด โอกาสการเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายทันตแพทย์ และรังสีแพทย์จึงต้องสื่อสารข้อมูลและแผนการรักษา ต่อกัน 1.2 การรักษาสภาพฟันและเหงือกที่เหลือให้อยู่ในสภาพที่ ดีเช่นการอุดฟันที่ผุการรักษาคลองรากฟันการรักษา โรคเหงือก ฯลฯ 1.3 อธิบายให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติถึงความสำคัญของ การดูแลสุขภาพช่องปากความจำเป็นที่ต้องมาติดตาม อาการเป็นระยะ ฯลฯ 2. การดูแลผู้ป่วยระหว่างการได้รับรังสีรักษา 2.1 ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น รักษาภาวะ Mucositis และ Xerostomia 2.2 หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแผลเช่นการถอนฟันหรือศัลย กรรมใดๆในช่วงนี้ 3. การดูแลรักษาผู้ป่วยภายหลังได้รับรังสีรักษา 3.1 นัดหมายให้ผู้ป่วยมาพบเพื่อเฝ้าระวังและรักษาโรคใน ช่องปากตั้งแต่เริ่มแรกเป็นระยะๆเช่นทุก3-6เดือน โดยพยายามคงสภาพของฟันและอวัยวะปริทันต์ให้ดี ที่สุดอาจพิจารณาให้TopicalFluorideเพื่อลดโอกาส การเกิดฟันผุให้น้ำลายเทียมหรือให้จิบน้ำบ่อยๆเพื่อ ลดปัญหาปากแห้ง และควรให้ Oral Hygiene Instruction แก่ผู้ป่วยอยู่เสมอ 3.2 ในกรณีที่มีฟันผุ ให้อุดฟันที่ผุ หากจำเป็นต้องรักษา รากฟันสามารถทำได้แต่ต้องระวังการขยายคลอง รากฟันไม่ให้เกินปลายรากเพราะจะทำให้เกิดการบาด เจ็บต่อเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวการบูรณะฟันโดยการ ครอบฟันควรให้ขอบของครอบฟันอยู่เหนือขอบเหงือก เพื่อให้สามารถดูแลรักษาได้ง่าย 3.3 ในกรณีที่มีหินปูนและเหงือกอักเสบ สามารถให้การ รักษาได้ตามปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงการทำศัลย์ปริทันต์ ที่ต้องมีการเปิดแผ่นเหงือกหรือกรอแต่งกระดูกใน บริเวณกว้างเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาของการหาย ของแผลได้ 3.4 การใส่ฟันปลอมควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญและมี ประสบการณ์การใส่ฟันปลอมถอดได้ควรพิจารณาใช้ ฐานชนิดนุ่ม 3.5 การถอนฟันหรือการทำศัลยกรรมของช่องปากและ กระดูกขากรรไกรใดๆควรพิจารณาให้HBOก่อนตาม Protocolคือ20ครั้งก่อนและ10ครั้งหลังการถอนฟัน หรือศัลยกรรมการทำศัลยกรรมดังกล่าวควรทำด้วย ความนุ่มนวลและเกิดความชอกช้ำต่อเนื้อเยื่อให้น้อย ที่สุด เพื่อให้เกิดการหายของแผลได้ดีที่สุด 3.6 หากเกิดภาวะกระดูกขากรรไกรตายจากการฉายแสง (Osteoradionecrosis)รักษาเบื้องต้นแบบประคับ ประคองเช่นให้ยาระงับปวดยาปฏิชีวนะล้างแผลใน ปากฯลฯและพิจารณาให้HBOตามProtocolคือ30 ครั้งก่อนและ10ครั้งหลังการผ่าตัดการรักษาORN แบ่งได้ตามระยะต่างๆดังนี้ • Stage 1 ; Uncomplicated exposed necrotic bone ให้ HBO 30 ครั้งแล้วพบว่าบริเวณ กระดูกที่ตายนั้น มี การสร้างเนื้อเยื่อ (Granulation tissue) มาแทนที่ หรือสามารถ หยิบเอาเศษกระดูกที่ตายออกแล้วไม่มี Expose necrotic bone คงเหลืออยู่อีก จากนั้นให้ HBO อีก 10 ครั้ง • Stage 2 ; คือผู้ป่วย Stage 1 ที่ไม่ตอบสนองต่อการ รักษาด้วย HBO 30 ครั้ง ให้ตัดกระดูกตายออก (Sequestrectomy, Marginal resection) โดยยังคงความต่อ เนื่องของกระดูกขากรรไกรไว้อย่างเดิม จากนั้นให้ HBO อีก 10 ครั้ง • Stage 3 ; คือผู้ป่วย Stage 2 ที่ไม่ตอบสนองต่อการ รักษา หรือผู้ป่วยที่มี Pathologic fracture ของกระดูกขากรรไกร แล้ว ให้ HBO 30 ครั้ง แล้วตัดกระดูกและเนื้อเยื่อที่ตายออก ทั้งหมด จากนั้นให้ HBO 10 ครั้ง ส่วนการผ่าตัดเพื่อบูรณะ พิจารณาเป็นรายๆ ไป
  • 10. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ Thai Underwater Medicine Journal10 Volume 1 / No.2 September-December 2007 เอกสารอ้างอิง HirschDL.AnalysisofMicrovascularFreeFlapsforReconstruc-1. tion of Advanced Osteoradionecrosis:A Retrospective Cohort study. J Oral Maxillofac Surg 2006; 64(9): 38-39. LamberPM,IntriereNandEichstaedtR.ManagementofDental2. Extractions in Irradiated Jaws : A Protocol with Hyperbaric Oxygen Therapy. J Oral Maxillofac Surg 1997; 55: 268-274 Bras J, de Jonge HKT, van Merkesteyn JPR. Osteoradion-3. ecrosis of the Mandible :Pathogenesis . Am J Otolaryngology 1990; 11 :244-250. Martins M, Dib LL. Osteoradionecrosis of the Jaws: A Retro-4. spective Study of the Background Factors and Treatment in 104 Cases . J Oral Maxillofac Surg 1997; 55 : 540-544. Marx RE, Johnson RP. Studies in the radiobiology of osteora-5. dionecrosis and their clinical significance. Journal Oral Surg Oral Med Oral Pathol 1987 ; 64 :379-390. MarxRE.Osteoradionecrosis:Anewconceptofitspathophysi-6. ology. J Oral Maxillofac Surg 1993 ; 41 : 283-288. Goldwaser B. Risk factor Assessment for the Development7. of Osteoradionecrosis. J Oral Maxillofac Surg 2006 ; 64(9) 24-25. ChavezJA,AdkinsonCD.AdjunctiveHyperbaricOxygeninIr-8. radiatedPatientsRequiringDentalExtractions:Outcomesand Complication. J Oral Maxillofac Surg 2001; 59(5) : 518-522. Peleg M, Lopez EA. The Treatment of Osteoradionecrosis of9. Mandible:TheCaseforHyperbaricOxygenandBoneGraftRe- construction. J Oral Maxillofac Surg 2006; 64(6) : 956-960. Thorn JJ, Hansen HS, Specht L and Bastholt L. Osteoradi-10. onecrosis of the Jaws : Clinical characteristics and relation to the field of radiation. J Oral Maxillofac Surg 2000 ;58(10) : 1088-1093. MakkonenTA,KiminkiA,MakkonenTKandNordmanE.Dental11. extractions in relation to radiation therapy of 224 patients. Int J Oral Maxillofac Surg 1987; 16(1) :56-64. สรุป การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณศีรษะ ลำคอ ไม่ว่าจะเป็นหรือยังไม่เป็น ORN ก็ตาม มีความยุ่งยาก ต้อง อาศัยความพร้อม ประสบการณ์ และความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลากหลายสาขา การปฏิบัติตามแนวทางการดูแล รักษาแบบสหวิชาชีพ (Care map) ตั้งแต่ก่อนเริ่มฉายแสงจนกระทั่งหลังจากนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนั้น ต้องมีเครื่องมือและ อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ Hyperbaric Oxygen Chamber ต้องอาศัยความเข้าใจตลอดจนได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยและญาติ ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารของโรงพยาบาลในเรื่องของทรัพยากรและค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ป่วยที่เบิกค่ารักษาตามระบบ DRG การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยภายหลังที่ได้รับรังสีรักษา ต้องมีความรู้และ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัว บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเช่น ทันตแพทย์ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาทางทันต กรรม ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการทำศัลยกรรมในช่องปาก ควรพิจารณาให้ HBO ก่อน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด ORN ถึง แม้ว่าการรักษาด้วย HBO ต้องใช้เวลาหลายครั้ง และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ในการรักษา ตลอด จนความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจากโรคและการรักษาที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยที่เป็น ORN แล้วนั้น นับว่าคุ้มค่ากว่าเป็นอย่างยิ่ง WidmarkG,SgneSandHeikelP.Osteoradionecrosisofthejaws.12. Int J Oral Maxillofac Surg 1989; 18(5) : 302-306. VudiniabolaS,PironeC,WilliamsonJandGossAN.Hyperbaric13. oxygen in the therapeutic management of osteoradionecrosis of the facial bones. Int J Oral Maxillofac Surg 2000; 29(6) : 435-438. Curi MM, Dib LL and Kowalski LP. Management of refractory14. osteoradionecrosis of the jaws with surgery and adjunctive hyperbaric oxygen therapy. Int J Oral Maxillofac Surg 2000; 29(6) : 430-434. ReutherT,SchusterT,MendeUandKüblerA.Osteoradionecro-15. sis of the jaws as a side effect of radiotherapy of head and neck tumourpatients-areportofathirtyyearretrospectivereview.Int J Oral Maxillofac Surg 2003; 32(3) :289-295. Nierzwicki B and Kadyszewska J. Influence of post-radiation16. dentalextractionsontheincidenceofosteoradionecrosisofthe jaws. Int J Oral Maxillofac Surg 2005; 34(1) : 32. Maurer P, Meyer L, Eckert AW, Berginski M and Schubert J.17. Measurementofoxygenpartialpressureinthemandibularbone using a polarographic fine needle probe. Int J Oral Maxillofac Surg 2006; 35(3) :231-236. Lye KW, Wee J, Gao F, Neo PSH, Soong YL and Poon CY. The18. effect of prior radiation therapy for treatment of nasopharyngeal cancer on wound healing following extractions: incidence of complications and risk factors. Int J Oral Maxillofac Surg 2007 ; 36(4) : 315-320. Morton ME and Simpson W. The management of osteoradi-19. onecrosis of the jaws. Br J Oral Maxillofac Surg 1986; 24(5) :332-341. Wood GA and Liggins SJ. Does hyperbaric oxygen have a role20. in the management of osteoradionecrosis? Br J Oral Maxillofac Surg 1996; 34(5) :424-427. Maier A, Gaggl A, Klemen H, et al. Review of severe osteoradi-21. onecrosistreatedbysurgeryaloneorsurgerywithpostoperative hyperbaric oxygenation. Br J Oral Maxillofac Surg 2000; 38(3) :173-176.
  • 11. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ บทคัดย่อ ในปัจจุบันมีกิจกรรมดำน้ำเพิ่มขึ้นมากในประเทศไทยซึ่งการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการดำน้ำทำให้พบการบาดเจ็บจากการ ดำน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกลไกการเกิดการบาดเจ็บจากการดำน้ำมีหลายอย่างที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับความกดดัน ที่เปลี่ยนแปลงไป การได้ศึกษาถึงพื้นฐานของการเกิดโรคใต้น้ำ และความเข้าใจในกลไกการเกิดโรค จะส่งเสริมกิจกรรม การดำน้ำในประเทศไทย เกิด ความปลอดภัยสูงสุด ในปัจจุบันมีกิจกรรมดำน้ำเพิ่มขึ้นมากในประเทศไทย มีการดำน้ำเพื่อการสันทนาการ (Recreational diving) การดำน้ำ เพื่อภารกิจทางการทหาร (Military Diving) การดำน้ำแบบอาชีพ (Commercial diving) และ การดำน้ำแบบ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่ง การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการดำน้ำนี้เองทำให้พบการบาดเจ็บจากการ ดำน้ำ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลไกของการบาดเจ็บจากการ ดำน้ำหลายอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับ ความกดดัน (Pressure) ที่เปลี่ยนแปลงไป บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องของการบาดเจ็บจากการดำน้ำซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ของความ กดดันและคุณสมบัติของก๊าซที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ความกดดันเป็นหลักไม่ได้รวมถึงการบาดเจ็บจากการดำน้ำที่มีสาเหตุมาจาก อย่างอื่น เช่น สัตว์ทะเลที่เป็นอันตราย อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมใต้น้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ ในการดำน้ำ ซึ่งจะได้นำเสนอใน โอกาสต่อไป รูปแสดงผลของความดันบรรยากาศที่มีต่อปริมาตร วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 11 วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550 บทความพิเศษ การบาดเจ็บจากการดำน้ำ กมลศักดิ์ ต่างใจ กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ Barotrauma ที่ระดับน้ำทะเล น้ำหนักของชั้นบรรยากาศที่กดลงบน ผิวโลก มีค่าเท่ากับ 1 ความดันบรรยากาศ (atm) และทุกๆ ความลึกของน้ำทะเล 10 เมตรโดยประมาณ ความดันจะเพิ่มขึ้น อีก 1 บรรยากาศ ดังนั้น ที่ความลึก 10, 20 และ 30 เมตร จะมี ความดันเท่ากับ 2,3 และ 4 บรรยากาศสัมบูรณ์ (ata) ตาม ลำดับ Robert Boyle (1627 - 1691) นักวิทยาศาสตร์ชาว ไอริช ได้อธิบายผลของความดันต่อปริมาตร ของก๊าซไว้เมื่อปี ค.ศ. 1662 ว่า ปริมาตรของก๊าซจะแปรผกผันกับความดันที่เพิ่ม ขึ้น ยกตัวอย่างอธิบายได้คือ ถ้าลูกโป่งมีปริมาตรอากาศอยู่ 6 ลิตร ที่ระดับน้ำทะเล ถูกนำลงไปใต้น้ำที่ความลึก 10 (2ata), 20 (3ata) และ 30 เมตร (4ata) ปริมาตรของลูกโป่งจะเหลือ 3 ลิตร, 2 ลิตร และ 1.5 ลิตร ตามลำดับ ในทางกลับกัน ถ้าเรา นำ ลูกโป่งที่มีปริมาตร 3 ลิตร ขึ้นมาจากความลึก 30 เมตร (4ata) เมื่อมาถึงผิวน้ำ ปริมาตรอากาศจะ ขยายตัวขึ้นเป็น 4 เท่า คือ 12 ลิตร
  • 12. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ Thai Underwater Medicine Journal12 Volume 1 / No.2 September-December 2007 การเปลี่ยนแปลงทั้งการเพิ่มขึ้นและลดลงของ ปริมาตรอากาศที่อยู่ตามช่องว่างในร่างกายเช่น ปอด หูชั้นกลาง ไซนัส ฯลฯ อาจทำให้มีการบาดเจ็บที่เรียกว่า Barotrauma อาการ อาการแสดง จะขึ้นอยู่กับ อวัยวะที่มีการบาดเจ็บ ประมาณ 2/3 ของ Barotrauma ในนักดำน้ำมักจะเกิดบริเวณหู ชั้นกลาง การวินิจฉัยใช้อาการทางคลินิกเป็นสำคัญ Ear barotrauma หรือบางครั้งเรียกว่า Ear squeeze จะเกิดขึ้นเมื่อมีการดำลงไปใต้ผิวน้ำ (descent) อากาศ ในหูชั้น กลาง ระหว่างเยื่อแก้วหู กับหูชั้นใน จะมีปริมาตรลดลง ซึ่งทำให้ เกิดการขยับเข้าด้านใน ของเยื่อแก้วหู เกิดเป็น ความรู้สึกคล้าย หูอื้อ จนกระทั่งปริมาตรอากาศลดลงถึงจุดหนึ่ง เยื่อแก้วหูจะมี การตึงตัวมากจนกระทั่งเกิดเป็น ความรู้สึกปวดหู ซึ่งถ้าไม่ได้รับ การปรับความดันในช่องหูชั้นกลาง (Equalization) ผ่าน Eustachian tube จะมีเลือดออกในหู ชั้นกลาง หรือมีการฉีก ขาดของเยื่อแก้วหูได้ การตรวจร่างกายจะพบว่ามี Tympanic membrane congestion, Hemotympanum มีการเคลื่อนไหว ของ tympanic membrane ลดลง เมื่อตรวจด้วย pneumatic otoscope และมักจะมี conduction hearing loss การแบ่งระดับการบาดเจ็บของเยื่อแก้วหู ​Pulmonary​​Barotrauma​​ปอด​​เป็น​ช่อง​อากาศ​ใน​ลำ​ ตัว​ขนาด​ใหญ่​​โดย​ปกติ​มี​ปริมาตร​ประมาณ​​6​​ลิตร​​ภาวะ​การ​บาด​ เจ็บ​จาก​การ​ดำ​น้ำ​ที่​เกิด​ขึ้น​กับ​ปอด​มี​ได้​ใน​​2​​ลักษณะ​​คือ​ ​ใน​กรณี​การ​ดำ​น้ำ​แบบ​กลั้น​หายใจ​​(​Breath​-​hold​​div-1. ing​,​​free​​diving​)​​เมื่อ​ดำ​ลง​ไป​ใต้​น้ำ​​ความ​ลึก​ที่​เพิ่ม​ขึ้น​ ​จะ​ทำให้​ปริมาตร​อากาศ​ใน​ปอด​ลด​ลง​ ​ตาม​กฎ​ ของ​​Boyle​​มี​ผล​ทำให้​มี​​mucosal​​edema​,​​vascular​ ​engorgement​ ​จน​กระทั่ง​ถึง​ ​lung​ ​hemorrhage​ ​ได้​​ อาการ​ทาง​คลินิก​ที่​พบ​ได้​คือ​​dyspnea​​และ​​hemoptysis​ ​การ​บาด​เจ็บ​ชนิด​นี้​ ​เรียก​ว่า​ ​lung​ ​squeeze​ ​ ​ปัจจุบัน​​การ​ดำ​น้ำ​แบบ​กลั้น​หายใจ​​(​Free​​diving​)​​มี​ ​องค์กร​ที่​กำหนด​กติกา​และ​เก็บ​สถิติ​โลก​​ที่​มีชื่อ​เสียง​​2​​องค์กร​​ คือ​​IADA​​(​International​​Association​​for​​Development​​ of​​Apnea​)​​และ​​CMAS​​(​Confederation​​Mondiale​​des​​ Activites​​Subaquatiques​)​​โดยที่​สถิติ​โลก​ของ​การ​ดำ​น้ำ​​ แบบ​​no​​limits​,​​free​​diving​​ปัจจุบัน​​(​AIDA​​2007​)​​เป็น​ของ​​ Herbert​​Nitsch​​ชาว​​Austria​​ดำ​ได้​ลึก​​214​​เมตร​​โดย​การ​ หายใจ​เพียง​ครั้ง​เดียว​ ​ใน​กรณี​การ​ดำ​น้ำ​แบบ​​SCUBA​​(​Self​​Containing​​Un-2. derwater​​Breathing​​Apparatus​)​​​จะ​มี​การ​หายใจ​เอา​​ อากาศ​เข้าไป​ใน​ปอด​ใน​ขณะ​ที่​อยู่​ใต้​น้ำ​​ใน​ขณะ​ที่​ขึ้น​มา​จาก​ ความ​ลึก​​(​ascent​)​​อากาศ​​ใน​ปอด​จะ​มี​การ​ขยาย​ตัว​​ถ้า​มี​ การ​อุด​กั้น​ของ​อากาศ​ที่​ขยาย​ตัว​ใน​ปอด​​ทำให้​ไม่​สามารถ​ ระบาย​​อากาศ​ออก​มา​ได้​​เช่น​​นัก​ดำ​น้ำ​​กลั้น​หายใจ​​ปอด​ มี​พยาธิ​สภาพ​​ฯลฯ​​จะ​ทำให้​เกิด​​Lung​​overexpansion​​ syndrome​​และ​​alveolar​​rupture​​เกิด​​pneumothorax​ ,​​pneumomediastinum​​อาการ​ทาง​​clinic​​ที่​พบ​ได้​​เช่น​​ แน่น​หน้าอก​​​pleuritic​​chest​​pain​​เสียง​แหบ​​กลืน​ลำบาก​​ หอบ​เหนื่อย​ ​อาจ​จะ​มี​ฟอง​อากาศ​หลุด​เข้าไป​ใน​หลอด​ เลือด​​กลาย​เป็น​​air​​embolism​​อุด​ตัน​ตาม​อวัยวะ​ต่างๆ​​ได้​​ ​ ​Barotrauma​​ยัง​สามารถ​เกิด​ได้​กับ​ช่อง​อา​กา​ศอื่นๆ​​ใน​ ร่างกาย​อีก​​เช่น​​sinus​​barotrauma​,​​Dental​​barotrauma​,​​ GI​​barotrauma​​หรือ​ช่อง​อากาศ​ที่​เกิด​ขึ้น​จาก​อุปกรณ์​ดำ​น้ำ​​ เช่น​​mask​​barotrauma​​โดย​มี​กลไก​การ​บาด​เจ็บ​มา​จาก​การ​ หด​ตัว​​และ​​ขยาย​ตัว​ของ​ปริมาตร​ก๊าซ​ทั้ง​สิ้น​​ ​Decompression​​Sickness​​(​DCS​)​ ​ ​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​ความ​ดัน​บรรยากาศ​​นอกจาก​ ปริมาตร​ของ​ก๊าซ​จะ​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​ตาม​กฎ​​ของ​​Boyle​​แล้ว​​ อีก​คุณสมบัติ​หนึ่ง​ของ​ก๊าซ​ที่​เปลี่ยนแปลง​ไป​ด้วย​คือ​​การ​ละลาย​ลง​ ใน​ของเหลว​​William​​Henry​​(​1775​​-​​1836​)​​นัก​เคมี​​ชาว​อังกฤษ​​ ได้​กล่าว​ไว้​ว่า​​“​ความ​สามารถ​ใน​การ​ละลาย​ของ​ก๊าซ​ชนิด​หนึ่ง​ใน​ ของเหลว​​จะ​แปรผัน​ตรง​กับ​ความ​ดัน​​ที่​กระทำ​เหนือ​ของเหลว​และ​ ก๊าซ​นั้น​”​​​ยก​ตัวอย่าง​การ​ประยุกต์​ใช้​กฎ​ข้อ​นี้​ได้​​คือ​​การ​ผลิต​น้ำ​ อัดลม​​ซึ่ง​เป็น​น้ำ​หวาน​ผสม​กับ​​ก๊าซ​คาร์บอน​-​​ได​ออกไซด์​​(​CO2​)​​ ใน​ขณะ​ที่​น้ำ​อัดลม​​อยู่​ใน​ขวด​ปิด​ฝา​​ก๊าซ​​CO2​​จะ​ละลาย​อยู่​ใน​น้ำ​ หวาน​​ต่อ​เมื่อ​เรา​เปิด​ฝา​​น้ำ​อัดลม​​เรา​ก็​จะ​เห็น​ฟอง​ของ​ก๊าซ​​CO2​​ ผุด​ออก​มา​จาก​ของเหลว​​เนื่องจาก​ความ​ดัน​เหนือ​ของเหลว​ลด​ลง​ ​ ​ใน​อากาศ​ที่​เรา​ใช้​หายใจ​​ประกอบ​ด้วย​ก๊าซ​ออกซิเจน​​(​ O2​)​​ร้อย​ละ​​21​​และ​​ก๊าซ​ไนโตรเจน​​(​N2​)​​ร้อย​ละ​​79​​โดย​ประมาณ​​ ออกซิเจน​เป็น​ก๊าซ​ที่​จำเป็น​ต่อ​การ​ดำรง​ชีวิต​​ใน​ขณะ​ที่​ไนโตรเจน​​ จะ​เป็น​ก๊าซเฉื่อย​​(​Inert​​Gas​)​​ที่​ระดับ​น้ำ​ทะเล​​ร่างกาย​ของ​เรา​ มี​ไนโตรเจน​ละลาย​อยู่​ใน​เลือด​ปริมาณ​หนึ่ง​​เมื่อ​ความ​ดัน​เพิ่ม​
  • 13. กองเวชศาสตร์ใต้น้�าและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ 13 วารสารเวชศาสตร์ใต้น้ำ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ย.-ธ.ค. 2550 ขึ้น​​จาก​การ​ที่​นัก​ดำ​น้ำ​ดำ​ลง​ไป​ใต้​น้ำ​​ก๊าซ​ไนโตรเจน​ใน​อากาศ​ที่​ใช้​หายใจ​ใต้​น้ำ​​ก็​จะ​สามารถ​ละลาย​เข้า​สู่​ร่างกาย​​ได้​มาก​ขึ้น​​ปริมาณ​ ไนโตรเจน​ที่​ละลาย​เพิ่ม​ขึ้น​นี้​​ขึ้น​อยู่​กับ​เวลา​ที่​ใช้​อยู่​ใต้​น้ำ​และ​ระดับ​ความ​ลึก​ของ​การ​ดำ​น้ำ​​(​รูป​ที่​​3​)​​โรค​​DCS​​จะ​เกิด​ขึ้น​เมื่อ​ความ​ดัน​ ลด​ลง​จาก​การ​ที่​​นัก​ดำ​น้ำ​จะ​ขึ้น​สู่​ผิวน้ำ​​ก๊าซ​ไนโตรเจน​ที่​ละลาย​อยู่​​ก็​จะ​เริ่ม​ผุด​กลาย​เป็น​ฟอง​ตาม​ร่างกาย​​ทำให้​มี​อาการ​ต่างๆ​​จาก​การ​ เกิด​ฟอง​ที่​อวัยวะ​นั้นๆ​​เช่น​​ฟอง​บริเวณ​ข้อ​ต่อ​ทำให้​มี​อาการ​ปวด​ตาม​ข้อ​​ฟอง​อุด​หลอด​เลือด​ทำให้​ขาด​เลือด​ไป​เลี้ยง​​ที่​อวัยวะ​ต่างๆ​​เกิด​ ฟอง​ใน​ไขสันหลัง​ทำให้​เป็น​อัมพาต​​ฟอง​ที่​เกิด​ขึ้น​ยัง​สามารถ​กระตุ้น​การ​แข็ง​ตัว​ของ​เลือด​​และ​กลไก​การ​​อักเสบ​ของ​ร่างกาย​ได้​อีก​ด้วย​​​ ​Cerebral​​Arterial​​Gas​​Embolism​​(​CAGE​)​ ​ ​ฟอง​อากาศ​ที่​หลุด​เข้าไป​ใน​กระแส​เลือด​แดง​​สามารถ​ไป​อุด​หลอด​เลือด​ที่​อยู่​ใน​สมอง​​ทำให้​เกิด​​สมอง​ขาด​เลือด​​ซึ่ง​มี​อาการ​ รุนแรง​​พบ​ได้​ตั้งแต่​​ระดับ​ของ​ความ​รู้สึก​ตัว​ลด​ลง​​ชา​​แขน​ขาอ่อน​แรง​​อัมพาต​​ชัก​​หมด​สติ​​หยุด​หายใจ​​ถึง​ขั้น​เสีย​ชีวิต​ ​ ​กลไก​ที่​ใช้​อธิบาย​การ​มี​ฟอง​อากาศ​ใน​กระแส​เลือด​แดง​มี​หลาย​กลไก​​เช่น​ ​•​ ​Alveolar​​rupture​​ใน​กลุ่ม​​pulmonary​​barotrauma​​ ​•​ ​เกิด​ใน​กระแส​เลือด​แดง​เอง​​จาก​​severe​​DCS​​ ​•​ ​มา​จาก​กระแส​เลือด​ดำ​​ผ่าน​ทาง​​Right​​to​​Left​​shunt​​เช่น​​patent​​foramen​​ovale​,​​Atrial​​Septal​​Defect​​หรือ​ปอด​ไม่​ สามารถ​ดัก​จับ​ฟอง​อากาศ​ปริมาณ​มาก​ที่​เกิด​ขึ้น​ได้​ทั้งหมด​ ลักษณะ CAGE DCS อาการและอาการแสดง หมดสติ อาจมีอาการชักร่วมด้วย มักพบ barotrauma ร่วมด้วย ปวดตามข้อ อาจมีอาการชาของแขนขา ตรวจพบอาการผิด ปกติของระบบประสาท onset พบทันทีระหว่างหรือเมื่อขึ้นถึงผิวน้ำ มักจะพบอาการหลังจากขึ้นสู่ผิวน้ำแล้ว จนกระทั่ง 24 ชั่วโมง อาการมักค่อยเป็นค่อยไป สาเหตุ มีการกลั้นหายใจ หรืออุดกั้นของทางเดินหายใจขณะขึ้นสู่ ผิวน้ำ มีการดำน้ำเกินความลึกและระยะเวลาที่ปลอดภัย กลไกการเกิด ภาวะ pulmonary overinflation ทำให้มีฟองอากาศเข้าไป สู่กระแสเลือด มีการผุดของฟองจากการที่มีก๊าซละลายอยู่ในเลือด ในขณะ มีการลดความดัน การรักษาเบื้องต้น ดูแลภาวะฉุกเฉิน เตรียมการส่งกลับผู้ป่วยไปยัง recompression chamber ที่ใกล้ที่สุด นอนราบ ให้ออกซิเจน 100% ให้ iv fluid เหมือน CAGE ตารางเปรียบเทียบลักษณะของ CAGE และ DCS Abnormal Gas Pressure ก๊าซหลายๆ ชนิดจะส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะความกดดันที่สูงขึ้น ในบทความนี้ จะขอ ยกตัวอย่างของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน Nitrogen Narcosis เกิดจากคุณสมบัติของก๊าซ ไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจะมีฤทธิ์ระงับความรู้สึกคล้าย Nitrous Oxide เมื่อความดันย่อยของก๊าซไนโตรเจนในก๊าซที่ใช้ ในการหายใจขณะดำน้ำเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้ โดยจะ เริ่มพบอาการของ nitrogen narcosis ตั้งแต่ความดัน บรรยากาศ 3 ata ขึ้นไป ความดัน บรรยากาศ (ATA) อาการ 2-4 เริ่มมีความผิดปกติของประสิทธิภาพการทำงาน มีการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (visual, auditory stimuli) ช้าลง 4-6 การรับรู้แคบลง การคำนวณผิดพลาด การตัดสินใจผิด พลาด 6-8 เวียนศีรษะ หัวเราะแบบควบคุมไม่ได้ 8-10 ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้าลงเป็นอย่างมาก มี mental confusion สูญเสีย intellectual และ perceptive faculties >10 เห็นภาพหลอน หมดสติ ตารางแสดงผลของภาวะ Nitrogen Narcosis ที่ความดันต่างๆ