SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา
ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ความสุขจากการทำงานวิชาการ
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
ปลัดกระทรวง อว.
จัดโดย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ความสุขจากการทำงานวิชาการ
ผู้นำเสนอ
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
ปลัดกระทรวง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ผู้ถอดความ: กฤตภัค พรหมมานุวัติ
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ
อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
1
ความสุขจากการทำงานวิชาการ1
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
กราบนมัสการพระคุณเจ้า เรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ท่านแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้ผม
รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ผมได้รับการติดต่อจากทางผู้จัดงานว่าให้มาพูด ตอนแรกผู้จัดงานก็บอกว่าให้พูดเรื่องอะไรก็
ได้ ผมก็เลยอยากจะพูดเรื่องงานที่ทำอย่างที่ท่านรัฐมนตรีได้พูดไปก่อนหน้านี้ ผมก็เลยตอบรับ อีกอันหนึ่งที่ผมไม่
ทราบมาก่อนก็คือว่า ผมได้พูดเป็นคนแรก ผมก็ถามว่าทำไม ก็เข้าใจว่าเนื่องจากว่าตามคิวแล้วผมเป็นคนที่ว่างที่สุด
ในวันนี้ ก็เลยได้พูดคุยในวันแรก
หัวข้อในวันนี้ผมสนใจมาก เพราะว่าโดยปกติเวลาที่ได้พูดคุยในลักษณะนี้ ก็จะคุยเรื่องงานในบทบาทของ
กระทรวง อว. และเรื่องต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ แต่ว่าท่านรัฐมนตรีได้พูดเรื่องงานไปหมดเรียบร้อยแล้วว่าเป็นอย่างไร
บ้าง โดยเฉพาะเรื่องของกลไกของการขับเคลื่อนอุดมศึกษา ผมก็เลยแจ้งผู้จัดงานไปว่า ผมจะพูดเรื่องที่ผมอยากพูด
ก็แล้วกัน
ผมอยากจะพูดเรื่องของการพัฒนานักวิชาการ การสร้างนักวิชาการ โดยเฉพาะนักวิชาการที่มีผลงาน
แล้วก็มีความสุขไปพร้อม ๆ กัน เพราะปกติแล้วท่านคงทราบว่าในช่วงนี้ ผมเองปฏิบัติหน้าที่ใด คนก็คิดว่าผมทำ
หน้าที่นั้นมานานมาก แต่จริง ๆ แล้วชีวิตส่วนใหญ่ของผมเป็นชีวิตนักวิชาการ ผมทำงานวิชาการมาประมาณ 30 -
40 ปีแล้ว ตอนนี้ก็ยังเป็นนักทำงานวิชาการอยู่ ในบทบาทของนักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็คือการที่ได้ดูแลนักวิชาการ
รุ่นน้อง ๆ เพื่อที่จะทำอย่างไรให้เขาเติบโตมา ตั้งแต่เรียนจบมาผมก็ทำหน้าที่นี้มาโดยตลอด และที่สำคัญก็คือว่า
อาจจะถือว่าโชคดีด้วยก็ได้ ที่สมัยผมยังเรียนอยู่ผมเป็นคนที่สอบเก่ง คือสอบได้เก่ง เวลาสอบได้เก่งมันก็จะมีงาน
เข้ามาเรื่อย ๆ แล้วก็มีงานเกิดขึ้นก่อนระยะเวลาของชาวบ้านเขาเสมอ โดยหลัก ๆ แล้ว career path ของผมก็จะ
เร็วกว่าชาวบ้านเขาประมาณ 15 - 20 ปี คนก็มักจะถามว่าทำไม มันเกิดอะไรขึ้น ผมเองก็พยายามนั่งนึกไปเรื่อย ๆ
ว่าเกิดอะไรขึ้น
1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวงการ
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข
ภาวะ (สสส.) ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
2
ผมต่างกับท่านรัฐมนตรีอย่างหนึ่งตรงที่ว่า ท่านรัฐมนตรีเป็นนักทฤษฎี ท่านมีทฤษฎีมาตั้งแต่เริ่มต้น ผมเอง
ไม่มีทฤษฎี อาศัยการทำไปเรื่อย ๆ เสร็จแล้วก็ค่อย ๆ บันทึกไปเรื่อย ๆ บันทึกแล้วก็กลั่นกรองไปเรื่อย ๆ วันนี้ก็
เลยอยากจะพูดคุยโดยแบ่งเป็น 3 ช่วงก็แล้วกัน ช่วงที่หนึ่งก็คือ “ชีวิตนักวิชาการในช่วงเริ่มต้นของชีวิต” ผม
จะพูดคุยว่า ในช่วงเริ่มต้นของชีวิตมันมีมุมอะไรบ้างในฐานะนักวิชการ ก็คือการที่จะเป็นนักวิชาการใน
ประเทศไทยที่ทำงานแล้วถือว่าประสบความสำเร็จ มันมีมิติอะไรอยู่บ้าง อีกอันหนึ่งก็คือเรื่องของ “ชีวิตกลาง
ทางของนักวิชาการ” และอันที่สาม ตอนแรกตั้งใจจะพูดว่า “ชีวิตปลายทาง” แต่ผมก็อาจจะเปลี่ยนชื่อ เพราะ
ปลายทางชีวิตมันคงดูไม่ดี มันดูไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ พัฒนาการมันก็จะมีอยู่ 3 ระยะ เป็นตอนต้น ตอนกลาง
ตอนปลาย
ตอนผมเรียนจบมาใหม่ ๆ ตัวผมเองก็เป็นนักวิชาการแพทย์ ซึ่งสมัยนั้นไม่ค่อยมีอยู่มากนักเท่าไหร่ ก็คือ
ผมเป็นแพทย์ทางด้านคลินิก แต่ในที่สุดแล้วก็ไปเรียน PhD แล้วก็จบมาทำงานวิจัย แล้วคนก็บอกว่าต้องการ
แพทย์ทำนองแบบนี้ คือปฏิบัติได้ แล้วก็ทฤษฎีดี แล้วก็เป็นนักวิจัยที่ดี อยากจะให้มีแบบนี้เยอะ ๆ
มหาวิทยาลัยมหิดลตอนนั้นทำโครงการอันหนึ่งที่สำคัญมาก เขาต้องการบอกว่า คนที่เป็นหมอเวลาเป็นหมออย่าง
เดียว ประเทศไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไหร่ จึงมีความต้องการได้แพทย์นักวิชาการ ดังนั้นจึงต้องการให้แพทย์ทำวิจัย
ได้เยอะ ๆ ก็เลยต้องการให้มี PhD ด้วย PhD ที่คิดตอนนั้นก็คือคนที่จบทั้งปริญญาเอกทางด้านการแพทย์ หรือ
MED แล้วก็จบปริญญาด้านการวิจัย หรือก็คือ PhD ก็จะกลายเป็น MD – PhD ผมเองก็เป็นหนึ่งใน MD – PhD
ทางมหาวิทยาลัยมหิดลก็คิดว่า เอาคนที่เป็นนักเรียนแพทย์อยู่แล้วมาเรียนปริญญาเอก เขาจะได้จบแพทย์ แล้วก็
จบปริญญาเอกไปด้วย ผมเองก็เป็นอย่างนั้น แต่ผมจบแพทย์ก่อน แล้วจบปริญญาเอกทีหลัง โปรแกรมที่ว่านี้ก็เลย
เอาคนที่เรียนแพทย์ศิริราชหรือรามาธิบดี ประมาณปี 3 ที่เรียนดีมาก ๆ เลือกเขาออกมาก่อน แล้วก็บอกเขาว่ายัง
ไม่ต้องเรียนแพทย์จนจบ จากนั้นก็ดึงเข้ามาทำปริญญาเอกก่อน จนจบปริญญาเอก จากนั้นไป เมื่อจบปริญญาเอก
แล้ว ก็กลับมาเรียนแพทย์จนจบ เพราะฉะนั้นเขาจะจบด้วย 2 ปริญญา
เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนักเรียนแพทย์ที่ดีที่สุด เพราะว่าถ้าเกรดไม่ถึงก็เข้าโครงการนี้ไม่ได้ ต้องประเภทเกรด
3.5 เรียนดี ดูมีแววดี แล้วก็เอาเข้ามาเรียน แล้วก็ปฏิบัติเป็นพิเศษเลย ให้ทำวิจัย ดูวิจัย แล้วก็หวังว่า อีก 2 ปีต่อมา
เขาจะจบปริญญาเอก แล้วจากนั้นเขาก็กลับมาเรียนแพทย์จนจบ อันนี้คือโครงการที่เรียกว่า “โครงการผลิต
อาจารย์แพทย์” ผมเป็นหนึ่งในผู้ดูแลโครงการนี้ตั้งแต่แรก ปรากฏว่า พอทำไปสักพักหนึ่งเราเจอเด็กเศร้า เราเจอ
เด็กนักเรียนแพทย์ที่เข้า PhD ประมาณปี 1 – 2 เป็นโรคซึมเศร้า เขาก็จะเข้ามาพบแล้วก็ดูหงอย เพื่อนนักเรียน
แพทย์ด้วยกันเองคนอื่น ๆ ที่จบปี 4 ส่วนใหญ่ก็ไปเรียนแพทย์ต่อ ไปทำคลินิก ไปเรียนศัลยแพทย์ ไปเรียนอะไรก็
ตามแต่ พออีก 2 ปีต่อมาเขาจบเป็นแพทย์ แต่ว่าเด็กกลุ่มนี้มาทำปริญญาเอกก่อน อยู่แต่ในห้องแล็บ ปรากฏว่าเด็ก
ที่ไปทำ PhD เนี่ย เศร้ามากเลย เพราะว่าถ้าทุกท่านทำวิจัยคงจะเข้าใจว่า การทำงานวิจัยส่วนใหญ่ไม่ประสบ
3
ความสำเร็จ คือทดลองไปแล้วไม่เวิร์ค ซึ่งส่วนใหญ่ในทางการแพทย์มันจะไม่ค่อยเวิร์ค ต้องอดทนทำไปสักพักมันถึง
จะเวิร์ค เพราะฉะนั้น เด็กที่ดีมาก ๆ กลุ่มนี้ เวลาเขาเดินเข้าไปอยู่ในศิริราชด้วยกันเอง เพื่อนของเขาที่อยู่ชั้นปี 4
เวลาเดินเข้าไป พยาบาลก็เรียกคุณหมอ ได้ใส่เสื้อกาวน์แบบแพทย์ เดินแบบคุณหมอก็ดูดี พอถึงเวลาสอบกลาง
เทอมก็สอบผ่าน แล้วเทอมต่อไปก็ก้าวหน้าในการเรียนไปเรื่อย ๆ แต่เด็กกลุ่มนี้ไม่ค่อยก้าวหน้า เขาใช้เวลานาน
เพราะฉะนั้น ชีวิตเขาจะมีความเศร้าอยู่พอสมควร เราใช้เวลาเยอะมากในการที่จะทำอย่างไรเพื่อที่จะช่วย
สนับสนุนให้เด็กกลุ่มนี้ไม่เศร้า อันที่จริงแล้ว ความคิดเรื่องโครงการ PhD MD นี้ดีมากเลยในแง่ long-term goal
แต่การจัดการกับ short และ medium-term มันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะเราต้องดูแลจิตใจ ดูแลสภาพต่าง ๆ
เหล่านี้เยอะมาก ตอนหลังผมก็เลยมานั่งคิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น
ผมโชคดีตรงที่ตัวผมเองยังไม่ได้เรียนแพทย์ปี 2 ก็เริ่มทำงานวิจัยแล้ว มีอาจารย์สำคัญท่านหนึ่ง ท่านอ่าน
หนังสือให้ผมฟังอยู่เล่มหนึ่ง พอตอนหลังผมก็ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เอง ประมาณปี ค.ศ. 1985 เมื่อ 37 ปีที่แล้ว มี
หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Advice to a Young Scientist (ภาพที่ 1) เป็นหนังสือที่ในสมัยนั้นมีชื่อเสียงมาก ๆ เป็น
หนังสือที่แนะนำนักวิชาการรุ่นใหม่ ๆ ว่าควรจะทำอะไร ควรมีมุมมองอย่างไรบ้าง จุดแรกที่ผมอยากจะขอพูดก็คือ
ว่า จุดเริ่มต้นของชีวิตนักวิชาการมันมีมุมอะไรบ้าง ใน Advice to a Young Scientist พูดถึงหลายเรื่องมาก คน
ที่เขียนคือ Peter Medawar ผมเองก็ได้เปิดอ่านดูว่าเป็นอย่างไร ในนั้นก็เขียนหลายเรื่อง มันเขียนว่า ชีวิต
นักวิชาการต้องมีทัศนะอย่างไรบ้าง แต่ข้อความที่สำคัญที่สุดของเขานั้นมีอยู่ 2 อัน อันแรกก็คือ “เลิกทำเรื่องที่
ถูก” และ “ระหว่างนั้นก็มีความสุขกับการทำไปเรื่อย ๆ” ตอนนั้นผมก็คิดว่า หลักคิดที่ผมดูอยู่ตอนนี้เป็นของ
Peter Medawar แต่ผมมานั่งอ่านทีหลังปรากฏว่าไม่ใช่ คือปัจจุบันนี้ผมก็คิดไม่เหมือนหนังสือเล่มนั้นแล้ว ก็
แปลว่ามันคงมีอะไรที่ผสมกันไปมาอีกเยอะ ในนั้นเขาเขียนหลายอย่างคล้าย ๆ กับที่เราคุยกันอยู่ตอนนี้ ก็คือการ
เป็นนักวิชาการต้องทำอย่างไรบ้าง ทำอย่างไรที่จะดูแลเรื่องความผิดหวัง ทำอย่างไรเพื่อรับมือเวลาที่มีคนอื่นมาข่ม
เขาเขียนเอาไว้ว่าคนที่มาข่ม scientist ส่วนใหญ่เนี่ย ก็คือคนที่ทำงานทางด้าน social science ซึ่งคิดว่าตัวเอง
“More superior to scientist” หนังสือเล่มนี้เขาเขียนดีมาก ตอนนี้ก็หายากแล้ว
ในช่วงต้นของชีวิต ก็ควรจะต้องมีการตั้งหลักว่าจะทำอะไร ต่อมา ผมเองก็ได้รับรู้ข้อมูลผ่านอาจารย์หลาย
ท่าน สิ่งที่ผมจะเล่าให้ฟังในวันนี้ก็มาจากความคิดของคนหลายคน แต่หลังจากผมไปตรวจสอบจากท่านเรียบร้อย
แล้ว ท่านก็บอกว่าที่ผมพูดเนี่ย ท่านไม่ได้พูด ท่านก็พูดบางประเด็นแต่ท่านไม่ได้พูดแบบนี้ ดังนั้น ที่ผมเล่ามาคง
ไม่ใช่ผมเป็นคนพูดเอง คงผสมกันมาเรื่อย ๆ อาจารย์ของผมก็มีหลายท่าน คงแนะนำได้ไม่หมด ก็จะขอแนะนำ
เฉพาะบางท่าน (ภาพที่ 2)
4
ภาพที่ 1 ปกของหนังเรื่อง Advice to a Young Scientist
ที่มา: จากการนำเสนอของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
ภาพที่ 2 อาจารย์ของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
ที่มา: จากการนำเสนอของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
5
ซ้ายมือบนสุดคืออาจารย์ปรีดา มาลาสิทธิ์ ท่านเป็นอาจารย์คนแรกที่สอนผมทำวิจัย สมัยนั้นท่านก็เป็น
คนหนุ่มไฟแรงมาก ท่านจบจากอังกฤษ แล้วก็เป็นคนที่เอาหนังสือของ Peter Medawar มาเล่าให้ผมฟัง
อีกท่านก็คืออาจารย์ประเวศ วะสี ผมทันในสมัยที่ท่านเป็นนักวิชาการแพทย์ หลายคนอาจจะทันในสมัยที่
ท่านเป็นนักคิดทางด้านการเมือง นักคิดทางด้านสังคม แต่ผมเจอท่านในสมัยที่ท่านอยู่บนจุดสูงสุดของการเป็น
นักวิจัยทางด้านโรคธาลัสซีเมียของประเทศ
แล้วก็ทางด้านขวามือบนสุดคือ Sir Peter Lachmann ท่านเป็นอาจารย์ของผมที่ Cambridge ท่าน
เป็นคนที่แปลกมาก เพราะเดิมทีท่านเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงมาก แต่ว่าท่านเปลี่ยนเส้นทางเข้ามาเป็นผู้บริหาร
สำคัญของ Royal Society แล้วก็มาเป็น Foreign Secretary และเป็น Biological Secretary อีกด้วย ก็คือเข้า
มาทำงานทางด้านการบริหารจัดการ แล้วก็ต่อมาท่านเป็นคนก่อตั้ง Royal College of Pathologists และอีก
อันหนึ่งก็คือ Royal Society for Medical Science ซึ่งปัจจุบันนี้ก็กลายเป็นสมาคมที่สำคัญของอังกฤษ ท่านได้
วางหลักคิดว่า ทำอย่างไรที่จะมีความสุขกับการทำงาน และมีงานออกมาเรื่อย ๆ
อีกท่านหนึ่งคืออาจารย์ประเสริฐ ทองเจริญ ท่านเป็นเจ้านายคนแรกของผมที่ศิริราช แล้วท่านก็สอนผม
หลายเรื่อง เช่น นักวิชาการจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้คนเขาเขม่นมากนัก แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ใน
ส่วนนี้
อีกท่านคืออาจารย์เสม พริ้งพวงแก้ว ตอนนั้นท่านเป็นประธานแผนกแพทยศาสตร์ของมูลนิธิอานันท
มหิดล ตอนที่ผมได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ท่านก็ช่วยดูแลผมตั้งแต่ก่อนไปเรียนต่อจนกระทั่งกลับมา
ตอนกลับมานี้มีระบบที่สำคัญอันหนึ่งคือ อาจารย์ผู้ใหญ่จะเชิญเรามาคุยว่า ที่ไปเรียนกลับมาได้รับความรู้อะไรบ้าง
คล้าย ๆ กับกระบวนการ Debriefing ท่านถามผมว่า ที่ไปเรียนมาทำวิจัยเรื่องอะไร เวลาที่เจอข้อมูลอะไรใหม่ ๆ
รู้สึกอย่างไร ผมก็เล่าถึงความรู้สึกในตอนนั้น ท่านก็บอกว่า ความรู้สึกแบบนี้ ภาษาของพระเขาเรียกว่า "ปีติ" เรา
จะต้องหาปีติเรื่อย ๆ ในการทำงาน
อีกท่านคืออาจารย์วิจารณ์ พานิช ท่านก็สอนผมมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยที่อาจารย์ยังอยู่ที่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โจทย์สำคัญก็คือ ในฐานะนักวิชาการไทยโดยเฉพาะคนที่จบจากต่างประเทศ ทำ
อย่างไรที่จะมาพัฒนางานวิชาการได้อย่างดีและมีความสุข นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ปกติแล้วคนที่จะมีประเด็น
ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่กลับมาจากต่างประเทศแล้ว โดยเฉพาะนักวิชาการทางสายการแพทย์ ที่ต้องใช้
เครื่องมือจำนวนมาก ในสายวิชาชีพที่ไปได้รวดเร็วเขาก็จะบ่นว่า มาอยู่เมืองไทยแล้วมันมีปัญหาแบบนี้ ไม่เหมือน
อยู่เมืองนอก ที่เมืองนอกมีเครื่องมือเยอะ กลับมาไม่เห็นมีเครื่องมือเลย จะซื้อของก็ต้องรอ 6 เดือนกว่าของจะมา
6
ถ้าอยู่เมืองนอก สั่งของวันนี้พรุ่งนี้ก็มาแล้ว อยู่เมืองไทยนี่ 6 เดือนกว่าจะมา ทำงานก็ช้า เบิกเงินก็ช้า มันจะเป็น
แบบนี้อยู่ประจำ อาจารย์ทั้ง 6 ท่านของผมก็บอกว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นเรื่องธรรมดา ต้องอยู่กับมันให้ได้แบบดี ๆ ถึง
เป็นแบบนี้ก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ แล้วก็ต้องไปแบบดี ๆ ด้วย
หน้าที่ของพวกเรา ผมเชื่อว่าอาจารย์ในที่นี้หลายท่านเป็นผู้บริหารแล้ว เราจะจัดการอย่างไรได้บ้าง ผมคิด
ว่ามีหลักอยู่ 3 ข้อ ซึ่งประมวลมาจากอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ผมก็จะบอกน้อง ๆ เสมอว่า ในฐานะนักวิชาการ
ตอนแรกต้องตั้งท่าดี ๆ ว่าจะทำอะไร แล้วใช้เวลาตั้งท่านั้นนานกว่าลงมือทำจริง ๆ ด้วยซ้ำ อาจารย์วิจารณ์
เคยสอนผมว่า ห้ามทำแล็บจนกว่าจะจำเป็นต้องทำจริง ๆ ต้องเลือกทำเรื่องที่น่าจะทำจริง ๆ และเราอยากจะ
ทำจริง ๆ และเรื่องนั้นก็สำคัญจริง ๆ ให้คิดว่าทำแล้วจะไม่เสียใจ แต่ละคนก็จะมีประเด็นที่แตกต่างกันไป ผม
ถือหลักว่า ชีวิตมันจะมีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ มันจะไม่ลื่นไหลไปตลอด ดังนั้นเมื่อรู้สึกท้อแท้ อย่างน้อยที่สุดเรา
จะทำเรื่องนี้แล้วเราก็จะสบายใจ อันนี้คือประเด็นที่หนึ่ง เวลาที่เราแนะนำนักวิชาการใหม่ ๆ มีอยู่จำนวนหนึ่งจะ
อยากทำเรื่องที่ตัวเองทำมาก่อนแล้วตอนอยู่เมืองนอก เวลาผมบริหารทุนวิจัย ผมจะพิจารณาที่สองอย่างคือคนที่จะ
ทำกับเรื่องที่เขาจะทำ อันนี้เป็นการเลือกเรื่อง ต้องเลือกเรื่องที่ดี
ประเด็นที่สอง เราต้องมองข้ามข้อจำกัดไปให้ได้ ในสายงานของผม ตอนที่ผมอยู่ที่ Cambridge ผมจะ
ทำอะไรมันก็สะดวกสบายไปหมด แต่อยู่เมืองไทยมันไม่มีแบบนั้น เราไม่มีความหรูหราแบบนั้น แล้วเราก็จะบ่นกัน
สิ่งที่สำคัญคือ นอกเหนือไปจากการเลือกเรื่องที่ดีแล้ว จะต้องเลือกเรื่องที่เรามีความได้เปรียบแบบ "ได้เปรียบ
อย่างยิ่งยวด" หรือ unfair advantage ในเชิงการวิจัยทางวิชาการ ทุกคนมี unfair advantage เสมอ อย่าคิด
ว่าไม่มี unfair advantage ซึ่งต้องมีในหลาย ๆ สภาวะด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามี unfair advantage ถึงแม้ว่าเรา
เดินไปข้างหน้าช้า ๆ ก็ชนะ คือถึงจะไปช้า ๆ ก็ได้ผล อาจารย์ประเวศ วะสี ผมเดาว่าตอนที่ท่านทำเรื่องโรคธาลัสซี
เมีย มันเป็นโรคที่ไม่มีในที่อื่น ๆ นอกจากภูมิภาคของเรา บางประเทศก็อาจจะมีบ้าง คนอังกฤษอยากจะทำวิจัย
เรื่องโรคธาลัสซีเมียก็ทำที่อังกฤษไม่ได้ ฉะนั้น ใครจะทำเรื่องโรคธาลัสซีเมียก็ต้องมาปรึกษาอาจารย์ ดังนั้นแล้ว
เวลาผมเลือกเรื่องที่จะวิจัย ผมจะเลือกเอาเรื่องที่ได้เปรียบอย่างยิ่งยวด บางเรื่องที่เราไม่ได้เปรียบ แข่งขันไป
อย่างไรก็แพ้ คือแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม มีคนถามว่า “แพ้แล้วไงล่ะ?” กระนั้น ผมก็จะมองว่า ถ้าแพ้แล้วอย่าไปทำเลย
ดีกว่า มันยังมีเรื่องที่จะทำอีกเยอะ มีหลายเรื่องที่มี unfair advantage ชาวตะวันตกทุกคนที่ทำวิจัยในแนวหน้า
ของโลกเขาก็มี unfair advantage กันทั้งนั้น
ประการที่สามก็คือว่ามันต้องหาความสำเร็จระหว่างทางไปเรื่อย ๆ คือคนเราจะผิดหวังไปตลอดชีวิต
ไม่ได้ มันก็ต้องมีการเก็บเกี่ยวอะไรมาระหว่างทางด้วย เวลาที่ผมบอกนักวิจัยรุ่นน้อง ผมก็จะบอกว่า แต่ละคนชอบ
7
ไม่เหมือนกัน แต่ว่า แต่ละคนจะหาความหมายของชีวิตจากเรื่องวิจัยที่สำคัญได้ แต่ละคนจะหา unfair advantage
ของตัวเองได้ อีกอันหนึ่งก็คือ แต่ละคนก็จะหาความสุขระหว่างทางของตัวเองได้
ทั้ง 3 ประเด็นนี้ ก็น่าจะอยู่ในช่วงต้นของชีวิตการเป็นนักวิจัย ผมแถมให้อีกเรื่อง มันจะต้องมี
“ดอกเบี้ย” (หมายถึงผลลัพธ์ข้างเคียงที่งอกเงยออกมา – ผู้ถอดความ) จากการวิจัย มันมีหลายเรื่องในทาวิชาการ
ที่ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว อยู่เฉย ๆ มันจะมีดอกเบี้ยออกมา ผมขอยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งในประเด็นนี้ ซึ่งเป็นเรื่องราว
ของผมเอง คืองานวิจัยของผมเรื่องเชื้อ Melioidosis ประเด็นที่ผมเลือกมานี้ ผมได้กำหนดลักษณะเชื้อที่เป็นสาย
พันธุ์หลัก ๆ ของโลกที่ชื่อว่า K96243 ซึ่งรายงานวิจัยของมันได้รับการตีพิมพ์ไปเมื่อ 25 ปีที่แล้ว จนถึงทุกวันนี้ ยังมี
คนเข้ามาค้นหาอยู่ตลอดเวลาทุกวัน เพราะว่ามันเป็นรายงานวิจัยหลักที่เกิดขึ้น นี่คือดอกเบี้ยที่ผมได้ค้นพบ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องที่อยากจะพูดในประเด็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตนักวิชาการ
เวลาที่ผมถูกเชิญให้ไปพูดกับรุ่นน้อง ส่วนใหญ่น้อง ๆ เขาจะถามว่า ทำอย่างไรที่จะประสบความสำเร็จ ใน
ประเด็นนี้พอผมพูดไปสักพักผมก็เบื่อ ผมก็เลยบอกว่า ผมจะขอพูดเรื่องประสบการณ์ที่เคยล้มเหลวมาก่อนในฐานะ
นักวิจัยก็แล้วกัน พอดีผมล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ ซึ่งก็เป็นลักษณะของนักวิจัยส่วนใหญ่
เวลาที่ผมผิดหวัง มันก็จะมี “silver lining” (สถานการณ์ที่ดูเหมือนจะย่ำแย่ก็อาจมีสิ่งที่ดีซ่อนอยู่ - ผู้ถอด
ความ) เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน งานวิจัยสองเรื่องแรกในชีวิตของผมล้มเหลวมาก ผมทำวิจัยตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ปี
2 เป็นเรื่องที่ผมสนใจว่า เซลล์ที่ตายในร่างกายมันหายไปไหน เพราะว่าเม็ดเลือดแดงของเรามันตายไปทุกวัน มัน
หายไปทุกวัน มันสร้างใหม่ทุกวัน นั่นแปลว่า ร่างกายต้องมีระบบ “เก็บขยะ” และขยะนี้จะต้องถูกย่อยออกไปจน
ไม่เหลืออยู่ มันหายไปไหน? มันเก็บอย่างไร? พูดง่าย ๆ ก็คือผมสนใจเรื่องระบบ “รถขนส่งขยะ” ของร่างกาย ซึ่ง
เป็นวิชาที่ผมทำอยู่ในทุกวันนี้ด้วย หลักการเป็นแบบนี้ คือเม็ดเลือดแดงที่ตายไปแล้ว มันจะมีเซลล์ชนิดหนึ่งใน
ร่างกายไปกิน เมื่อกินเสร็จมันก็ดึงเข้าไปในตัวมัน แล้วไปกำจัดที่ “โรงกำจัด” แต่การกินนี้มันไม่ได้กินเฉย ๆ มันรู้
ว่าจะเก็บตัวไหน และเก็บเมื่อไหร่ ผมทำวิจัยอยู่ประมาณ 2 ปี ตอนผมเรียนอยู่ปี 4 ผมพบว่า มันมีอยู่ 3
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเก็บเซลล์ที่ตายไปแล้วได้ แล้วในจิตใจของนักเรียนปี 4 ก็ถือว่าสิ่งนี้เป็นการค้นพบที่
ยิ่งใหญ่มาก ผมก็เขียนรายงานอย่างดีมาก อาจารย์ปรีดา เป็นคนตรวจให้ผม ผมเขียนอยู่ประมาณ 8 รอบได้ แก้
แล้วแก้อีก เสร็จแล้วผมก็เตรียมจะส่งไปตีพิมพ์ ปรากฏว่า งานวิจัยเรื่องนี้มีการตีพิมพ์ไปแล้วเมื่อ 5 ปีก่อน ผมก็รู้สึก
แย่ ทำมา 2 ปี อดนอนไม่รู้กี่คืน ปรากฏว่าล้มเหลว ตีพิมพ์ไม่ได้ ก็เสียใจมาก ผมก็เลยไปดูว่าใครเป็นคนเขียน วิจัย
ที่ว่านั้น ปรากฏว่า มีนักวิชาการคนหนึ่งชื่อ Peter Lachmann เป็นคนเขียน ผมก็เลยเขียนจดหมายไปหาเขาว่า
ผมค้นพบสิ่งเดียวกับที่เขาเจอเลย การทดลองเหมือนกันเลย ผมก็เขียนไปขอโทษเขาด้วย เพราะมันเหมือนกับผม
ไปคัดลอกงานของเขา เขาก็ตอบกลับจดหมายฉบับนั้นมา แล้วทิ้งท้ายในจดหมายว่า เรียนจบเมื่อไหร่ให้ไปทำงาน
8
กับเขา ผมก็เลยได้ไปอยู่กับเขาที่ Cambridge มันก็จะมีอะไรแบบนี้ในชีวิตเสมอ เรื่องแบบนี้ในทางวิชาการมันมี
ทั้งขาขึ้นและขาลง ทันทีที่เราชนกำแพงมันจะมีทางเลี้ยวออกที่จะกลับได้เสมอ
ประเด็นสุดท้าย ผมคิดว่า จะพูดช่วงกลางทางของชีวิตนักวิชาการอย่างเดียว ช่วงปลายทางเอาไว้ใน
โอกาสหน้าก็แล้วกัน ช่วงกลางเป็นแบบนี้ คือวิชาการแต่ละสาขามันก็จะพัฒนาไปเรื่อย ๆ เมื่อพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง
มันก็จะกลายเป็น linear growth คือมันจะค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปเรื่อย ๆ มันจะไม่ก้าวกระโดด แต่การก้าวกระโดด
ในทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มันจะเกิดขึ้นได้จาก 2 เหตุการณ์ เหตุการณ์ที่หนึ่งคือ ศาสตร์สองศาสตร์มันมาชน
กัน แล้วมันก็เกิดปฏิกิริยาในการชน เติมเต็มซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ที่สองก็คือ จุดที่คนที่รู้เรื่องศาสตร์หนึ่ง ๆ
ที่ดีมาก ๆ เข้าไปอยู่ในเรื่องของอีกศาสตร์หนึ่งที่ตัวเองไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ เสร็จแล้วเอาสิ่งที่ตัวเองมีอยู่เข้าไปใน
โลกใหม่ที่ตัวเองรู้น้อย ประโยชน์จะเกิดขึ้นกับศาสตร์นั้น เพราะว่ามันมีคนเอาความคิดใหม่ ๆ เข้าไป ในทำนอง
เดียวกัน มันเกิดการข้ามศาสตร์ได้เสมอ ไม่ได้แปลว่าศาสตร์ใดดีกว่าศาสตร์ใดทั้งสิ้น
ในสไลด์สุดท้าย เป็นภาพที่โด่งดังที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มันคือเรื่อง Double Helix เป็นการที่
DNA นั้นประกอบด้วยสายสองสายวิ่งสวนทางกัน ซึ่งมันเป็นพื้นฐานความรู้ชีววิทยาในปัจจุบันนอกเหนือไปจาก
เรื่องทฤษฎีของชาร์ล ดาวิน มันสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อเซลล์เกิดการแบ่งตัวไปเรื่อย ๆ แล้ว มันยังมี
ลักษณะเหมือนเดิมอยู่ แล้วก็อธิบายว่าการกลายพันธุ์มันเกิดขึ้นได้อย่างไร รูปนี้คือการค้นพบ Double Helix
(ภาพที่ 3) สองคนนี้ไปพบว่ามันควรจะมีการเรียงตัวแบบนี้ ก่อนหน้านั้นเราไม่รู้ว่ามันเรียงตัวอย่างไร เหตุการณ์นี้
เกิดขึ้นในปี 1953 ที่ Cambridge คนที่อยู่ทางซ้ายมือคือ James Watson คนขวามือคือ Francis Crick สองคน
นี้ไม่ได้เป็นคนที่เก่งที่สุดในโลก ทุกคนแปลกใจมากว่า สองคนนี้ค้นพบสิ่งนี้ได้อย่างไร Watson เป็นนักชีววิทยา
ชาวอเมริกัน อายุ 25 ปีในขณะนั้น จบ PhD แล้ว เขาเป็นเด็กอัจฉริยะ จบ PhD ตั้งแต่อายุ 20 ปี แต่ก็ยังไม่ใช่คนที่
เก่งที่สุด ณ ตอนนั้น คนที่เก่งที่สุด ณ เวลานั้นคือ Linus Pauling ใคร ๆ ต่างก็คิดว่า Pauling จะเป็นคนค้นพบ
โครงสร้างของ DNA ก่อน ขวามือนี้คือ Francis Crick อายุ 37 ปี แก่กว่า Watson เป็นนักฟิสิกส์ แต่ว่ายังเป็น
นักเรียน PhD อยู่ ถ้าจะว่ากันแล้ว Crick ก็ไม่ใช่คนที่ฝีมือดีเท่าไหร่ ทำอะไรก็ไม่ค่อยจะใช้ได้ สองคนนี้มาเจอกัน
ถูกเวลาพอดี คนหนึ่งรู้เรื่องชีววิทยา อีกคนหนึ่งเป็นนักฟิสิกส์ ด้วยกับการปะทะกันของสองศาสตร์ การค้นพบสิ่ง
ใหม่ ๆ จึงก้าวกระโดดอย่างมาก ในกระบวนการของวิทยาศาสตร์และวิชาการมันจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้บ่อย
ๆ
9
ภาพที่ 3 การค้นพบ Double Helix
ที่มา: จากการนำเสนอของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
หน้าที่ของพวกเราก็คือ เราจะทำอย่างไรให้ศาสตร์มันปะทะกัน ซึ่งมันมีอยู่หลากหลายวิธี ที่ทำงานของ
ผมที่ Cambridge จะมีกติกาว่า พอถึงเวลา 11 โมงจะมี coffee break และบ่าย 3 โมงจะมี tea break เมื่อถึง
เวลาทุกคนจะต้องหยุดพักหมด นั่งดื่มชา ดื่มกาแฟกันเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง แล้วต้องคุยแต่เรื่องไร้สาระเท่านั้น แต่
เอาเข้าจริงมันก็อดคุยเรื่องงานไม่ได้ และห้ามนั่งจับกลุ่มคุยกับพวกเดียว ผมทำแบบนี้จนเป็นนิสัยทุกวัน จนผม
รู้จักคนเกือบหมดทุกคน สิ่งที่สำคัญก็คือการพูดคุยกันนี้จะต้องก่อให้เกิดการปะทะกันของศาสตร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
และอีกที่คือ Harvard Kennedy School ที่อาคารหลักมีการออกแบบที่แปลกมาก คือมันไม่มีบันไดหลัก แต่มันมี
บันไดจำนวนมากโดยที่ไม่รู้ว่าอันไหนเป็นบันไดหลักกันแน่ ทำไมเขาถึงออกแบบในลักษณะนี้ ผมก็ได้คำตอบว่า แต่
ละวันคนจะได้คิดว่าจะเดินไปที่ต่าง ๆ ได้อย่างไร หลักคิดแบบนี้ก็คือ การทำให้แต่ละวันจะไม่เดินบนเส้นทางที่ซ้ำ
กันเลย ก็จะเดินไปพบปะกับผู้คนที่ไม่ซ้ำหน้ากัน ยิ่งไปกว่านั้น จะมีการย้ายห้องพักของบุคลากรทุก ๆ 2 ปี ฉะนั้น
จะไม่มีใครจำได้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน และห้องพักก็จะมีขนาดพอ ๆ กันทั้งหมด เพราะเขาถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
หมด สิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามานี้เป็นการออกแบบเชิงโครงสร้างเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน
ผมใช้เวลามาพอสมควรแล้วกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ ผมอาจจะคิดอะไรออกมาได้ก็พูด
ออกมาเลย ไม่ได้มีการเตรียมตัวอะไรมาก่อน ก็ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านด้วยครับ สวัสดีครับ

More Related Content

Similar to ความสุขจากการทำงานวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล

Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1taem
 
ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...
ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...
ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...Klangpanya
 
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรPed emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรtaem
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาsongsri
 
โครงการยุววิจัยสุขภาพ
โครงการยุววิจัยสุขภาพโครงการยุววิจัยสุขภาพ
โครงการยุววิจัยสุขภาพNIM Phimnaree
 
167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)
167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)
167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)45606
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canadasoftganz
 
หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55sivapong klongpanich
 
เทคโนโลย ทางการแพทย์
เทคโนโลย ทางการแพทย์เทคโนโลย ทางการแพทย์
เทคโนโลย ทางการแพทย์Aimmy_13
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranongNithimar Or
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ Utai Sukviwatsirikul
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชKanti Bkk
 
วิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิต
วิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิตวิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิต
วิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิตKlangpanya
 

Similar to ความสุขจากการทำงานวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล (20)

Literature And Journal in Emergency Medicine
Literature And Journal in Emergency MedicineLiterature And Journal in Emergency Medicine
Literature And Journal in Emergency Medicine
 
Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1Thai Emergency Medicine Journal no. 1
Thai Emergency Medicine Journal no. 1
 
Excellence In Otolaryngology
Excellence In OtolaryngologyExcellence In Otolaryngology
Excellence In Otolaryngology
 
ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...
ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...
ปฏิรูปอุดมศึกษาด้วยธรรม สร้างนักวิชาการไทยด้วย “อุดมธรรม” ศาสตราจารย์ (พิเศษ)...
 
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวรPed emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
Ped emergency final to ems พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
 
โครงการยุววิจัยสุขภาพ
โครงการยุววิจัยสุขภาพโครงการยุววิจัยสุขภาพ
โครงการยุววิจัยสุขภาพ
 
167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)
167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)
167895 article text-850909-1-10-20200623 (2)
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
Patient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in CanadaPatient Centered Care (PCC) in Canada
Patient Centered Care (PCC) in Canada
 
หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55
 
เทคโนโลย ทางการแพทย์
เทคโนโลย ทางการแพทย์เทคโนโลย ทางการแพทย์
เทคโนโลย ทางการแพทย์
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
 
วิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิต
วิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิตวิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิต
วิจัยทางการแพทย์และนาฬิกาชีวิต
 
Simenar Project
Simenar ProjectSimenar Project
Simenar Project
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 

ความสุขจากการทำงานวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล

  • 1. รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ความสุขจากการทำงานวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. ความสุขจากการทำงานวิชาการ ผู้นำเสนอ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ผู้ถอดความ: กฤตภัค พรหมมานุวัติ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
  • 3. 1 ความสุขจากการทำงานวิชาการ1 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล กราบนมัสการพระคุณเจ้า เรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ท่านแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้ผม รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ผมได้รับการติดต่อจากทางผู้จัดงานว่าให้มาพูด ตอนแรกผู้จัดงานก็บอกว่าให้พูดเรื่องอะไรก็ ได้ ผมก็เลยอยากจะพูดเรื่องงานที่ทำอย่างที่ท่านรัฐมนตรีได้พูดไปก่อนหน้านี้ ผมก็เลยตอบรับ อีกอันหนึ่งที่ผมไม่ ทราบมาก่อนก็คือว่า ผมได้พูดเป็นคนแรก ผมก็ถามว่าทำไม ก็เข้าใจว่าเนื่องจากว่าตามคิวแล้วผมเป็นคนที่ว่างที่สุด ในวันนี้ ก็เลยได้พูดคุยในวันแรก หัวข้อในวันนี้ผมสนใจมาก เพราะว่าโดยปกติเวลาที่ได้พูดคุยในลักษณะนี้ ก็จะคุยเรื่องงานในบทบาทของ กระทรวง อว. และเรื่องต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ แต่ว่าท่านรัฐมนตรีได้พูดเรื่องงานไปหมดเรียบร้อยแล้วว่าเป็นอย่างไร บ้าง โดยเฉพาะเรื่องของกลไกของการขับเคลื่อนอุดมศึกษา ผมก็เลยแจ้งผู้จัดงานไปว่า ผมจะพูดเรื่องที่ผมอยากพูด ก็แล้วกัน ผมอยากจะพูดเรื่องของการพัฒนานักวิชาการ การสร้างนักวิชาการ โดยเฉพาะนักวิชาการที่มีผลงาน แล้วก็มีความสุขไปพร้อม ๆ กัน เพราะปกติแล้วท่านคงทราบว่าในช่วงนี้ ผมเองปฏิบัติหน้าที่ใด คนก็คิดว่าผมทำ หน้าที่นั้นมานานมาก แต่จริง ๆ แล้วชีวิตส่วนใหญ่ของผมเป็นชีวิตนักวิชาการ ผมทำงานวิชาการมาประมาณ 30 - 40 ปีแล้ว ตอนนี้ก็ยังเป็นนักทำงานวิชาการอยู่ ในบทบาทของนักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็คือการที่ได้ดูแลนักวิชาการ รุ่นน้อง ๆ เพื่อที่จะทำอย่างไรให้เขาเติบโตมา ตั้งแต่เรียนจบมาผมก็ทำหน้าที่นี้มาโดยตลอด และที่สำคัญก็คือว่า อาจจะถือว่าโชคดีด้วยก็ได้ ที่สมัยผมยังเรียนอยู่ผมเป็นคนที่สอบเก่ง คือสอบได้เก่ง เวลาสอบได้เก่งมันก็จะมีงาน เข้ามาเรื่อย ๆ แล้วก็มีงานเกิดขึ้นก่อนระยะเวลาของชาวบ้านเขาเสมอ โดยหลัก ๆ แล้ว career path ของผมก็จะ เร็วกว่าชาวบ้านเขาประมาณ 15 - 20 ปี คนก็มักจะถามว่าทำไม มันเกิดอะไรขึ้น ผมเองก็พยายามนั่งนึกไปเรื่อย ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น 1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาวะ (สสส.) ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
  • 4. 2 ผมต่างกับท่านรัฐมนตรีอย่างหนึ่งตรงที่ว่า ท่านรัฐมนตรีเป็นนักทฤษฎี ท่านมีทฤษฎีมาตั้งแต่เริ่มต้น ผมเอง ไม่มีทฤษฎี อาศัยการทำไปเรื่อย ๆ เสร็จแล้วก็ค่อย ๆ บันทึกไปเรื่อย ๆ บันทึกแล้วก็กลั่นกรองไปเรื่อย ๆ วันนี้ก็ เลยอยากจะพูดคุยโดยแบ่งเป็น 3 ช่วงก็แล้วกัน ช่วงที่หนึ่งก็คือ “ชีวิตนักวิชาการในช่วงเริ่มต้นของชีวิต” ผม จะพูดคุยว่า ในช่วงเริ่มต้นของชีวิตมันมีมุมอะไรบ้างในฐานะนักวิชการ ก็คือการที่จะเป็นนักวิชาการใน ประเทศไทยที่ทำงานแล้วถือว่าประสบความสำเร็จ มันมีมิติอะไรอยู่บ้าง อีกอันหนึ่งก็คือเรื่องของ “ชีวิตกลาง ทางของนักวิชาการ” และอันที่สาม ตอนแรกตั้งใจจะพูดว่า “ชีวิตปลายทาง” แต่ผมก็อาจจะเปลี่ยนชื่อ เพราะ ปลายทางชีวิตมันคงดูไม่ดี มันดูไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ พัฒนาการมันก็จะมีอยู่ 3 ระยะ เป็นตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย ตอนผมเรียนจบมาใหม่ ๆ ตัวผมเองก็เป็นนักวิชาการแพทย์ ซึ่งสมัยนั้นไม่ค่อยมีอยู่มากนักเท่าไหร่ ก็คือ ผมเป็นแพทย์ทางด้านคลินิก แต่ในที่สุดแล้วก็ไปเรียน PhD แล้วก็จบมาทำงานวิจัย แล้วคนก็บอกว่าต้องการ แพทย์ทำนองแบบนี้ คือปฏิบัติได้ แล้วก็ทฤษฎีดี แล้วก็เป็นนักวิจัยที่ดี อยากจะให้มีแบบนี้เยอะ ๆ มหาวิทยาลัยมหิดลตอนนั้นทำโครงการอันหนึ่งที่สำคัญมาก เขาต้องการบอกว่า คนที่เป็นหมอเวลาเป็นหมออย่าง เดียว ประเทศไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไหร่ จึงมีความต้องการได้แพทย์นักวิชาการ ดังนั้นจึงต้องการให้แพทย์ทำวิจัย ได้เยอะ ๆ ก็เลยต้องการให้มี PhD ด้วย PhD ที่คิดตอนนั้นก็คือคนที่จบทั้งปริญญาเอกทางด้านการแพทย์ หรือ MED แล้วก็จบปริญญาด้านการวิจัย หรือก็คือ PhD ก็จะกลายเป็น MD – PhD ผมเองก็เป็นหนึ่งใน MD – PhD ทางมหาวิทยาลัยมหิดลก็คิดว่า เอาคนที่เป็นนักเรียนแพทย์อยู่แล้วมาเรียนปริญญาเอก เขาจะได้จบแพทย์ แล้วก็ จบปริญญาเอกไปด้วย ผมเองก็เป็นอย่างนั้น แต่ผมจบแพทย์ก่อน แล้วจบปริญญาเอกทีหลัง โปรแกรมที่ว่านี้ก็เลย เอาคนที่เรียนแพทย์ศิริราชหรือรามาธิบดี ประมาณปี 3 ที่เรียนดีมาก ๆ เลือกเขาออกมาก่อน แล้วก็บอกเขาว่ายัง ไม่ต้องเรียนแพทย์จนจบ จากนั้นก็ดึงเข้ามาทำปริญญาเอกก่อน จนจบปริญญาเอก จากนั้นไป เมื่อจบปริญญาเอก แล้ว ก็กลับมาเรียนแพทย์จนจบ เพราะฉะนั้นเขาจะจบด้วย 2 ปริญญา เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนักเรียนแพทย์ที่ดีที่สุด เพราะว่าถ้าเกรดไม่ถึงก็เข้าโครงการนี้ไม่ได้ ต้องประเภทเกรด 3.5 เรียนดี ดูมีแววดี แล้วก็เอาเข้ามาเรียน แล้วก็ปฏิบัติเป็นพิเศษเลย ให้ทำวิจัย ดูวิจัย แล้วก็หวังว่า อีก 2 ปีต่อมา เขาจะจบปริญญาเอก แล้วจากนั้นเขาก็กลับมาเรียนแพทย์จนจบ อันนี้คือโครงการที่เรียกว่า “โครงการผลิต อาจารย์แพทย์” ผมเป็นหนึ่งในผู้ดูแลโครงการนี้ตั้งแต่แรก ปรากฏว่า พอทำไปสักพักหนึ่งเราเจอเด็กเศร้า เราเจอ เด็กนักเรียนแพทย์ที่เข้า PhD ประมาณปี 1 – 2 เป็นโรคซึมเศร้า เขาก็จะเข้ามาพบแล้วก็ดูหงอย เพื่อนนักเรียน แพทย์ด้วยกันเองคนอื่น ๆ ที่จบปี 4 ส่วนใหญ่ก็ไปเรียนแพทย์ต่อ ไปทำคลินิก ไปเรียนศัลยแพทย์ ไปเรียนอะไรก็ ตามแต่ พออีก 2 ปีต่อมาเขาจบเป็นแพทย์ แต่ว่าเด็กกลุ่มนี้มาทำปริญญาเอกก่อน อยู่แต่ในห้องแล็บ ปรากฏว่าเด็ก ที่ไปทำ PhD เนี่ย เศร้ามากเลย เพราะว่าถ้าทุกท่านทำวิจัยคงจะเข้าใจว่า การทำงานวิจัยส่วนใหญ่ไม่ประสบ
  • 5. 3 ความสำเร็จ คือทดลองไปแล้วไม่เวิร์ค ซึ่งส่วนใหญ่ในทางการแพทย์มันจะไม่ค่อยเวิร์ค ต้องอดทนทำไปสักพักมันถึง จะเวิร์ค เพราะฉะนั้น เด็กที่ดีมาก ๆ กลุ่มนี้ เวลาเขาเดินเข้าไปอยู่ในศิริราชด้วยกันเอง เพื่อนของเขาที่อยู่ชั้นปี 4 เวลาเดินเข้าไป พยาบาลก็เรียกคุณหมอ ได้ใส่เสื้อกาวน์แบบแพทย์ เดินแบบคุณหมอก็ดูดี พอถึงเวลาสอบกลาง เทอมก็สอบผ่าน แล้วเทอมต่อไปก็ก้าวหน้าในการเรียนไปเรื่อย ๆ แต่เด็กกลุ่มนี้ไม่ค่อยก้าวหน้า เขาใช้เวลานาน เพราะฉะนั้น ชีวิตเขาจะมีความเศร้าอยู่พอสมควร เราใช้เวลาเยอะมากในการที่จะทำอย่างไรเพื่อที่จะช่วย สนับสนุนให้เด็กกลุ่มนี้ไม่เศร้า อันที่จริงแล้ว ความคิดเรื่องโครงการ PhD MD นี้ดีมากเลยในแง่ long-term goal แต่การจัดการกับ short และ medium-term มันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะเราต้องดูแลจิตใจ ดูแลสภาพต่าง ๆ เหล่านี้เยอะมาก ตอนหลังผมก็เลยมานั่งคิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น ผมโชคดีตรงที่ตัวผมเองยังไม่ได้เรียนแพทย์ปี 2 ก็เริ่มทำงานวิจัยแล้ว มีอาจารย์สำคัญท่านหนึ่ง ท่านอ่าน หนังสือให้ผมฟังอยู่เล่มหนึ่ง พอตอนหลังผมก็ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เอง ประมาณปี ค.ศ. 1985 เมื่อ 37 ปีที่แล้ว มี หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Advice to a Young Scientist (ภาพที่ 1) เป็นหนังสือที่ในสมัยนั้นมีชื่อเสียงมาก ๆ เป็น หนังสือที่แนะนำนักวิชาการรุ่นใหม่ ๆ ว่าควรจะทำอะไร ควรมีมุมมองอย่างไรบ้าง จุดแรกที่ผมอยากจะขอพูดก็คือ ว่า จุดเริ่มต้นของชีวิตนักวิชาการมันมีมุมอะไรบ้าง ใน Advice to a Young Scientist พูดถึงหลายเรื่องมาก คน ที่เขียนคือ Peter Medawar ผมเองก็ได้เปิดอ่านดูว่าเป็นอย่างไร ในนั้นก็เขียนหลายเรื่อง มันเขียนว่า ชีวิต นักวิชาการต้องมีทัศนะอย่างไรบ้าง แต่ข้อความที่สำคัญที่สุดของเขานั้นมีอยู่ 2 อัน อันแรกก็คือ “เลิกทำเรื่องที่ ถูก” และ “ระหว่างนั้นก็มีความสุขกับการทำไปเรื่อย ๆ” ตอนนั้นผมก็คิดว่า หลักคิดที่ผมดูอยู่ตอนนี้เป็นของ Peter Medawar แต่ผมมานั่งอ่านทีหลังปรากฏว่าไม่ใช่ คือปัจจุบันนี้ผมก็คิดไม่เหมือนหนังสือเล่มนั้นแล้ว ก็ แปลว่ามันคงมีอะไรที่ผสมกันไปมาอีกเยอะ ในนั้นเขาเขียนหลายอย่างคล้าย ๆ กับที่เราคุยกันอยู่ตอนนี้ ก็คือการ เป็นนักวิชาการต้องทำอย่างไรบ้าง ทำอย่างไรที่จะดูแลเรื่องความผิดหวัง ทำอย่างไรเพื่อรับมือเวลาที่มีคนอื่นมาข่ม เขาเขียนเอาไว้ว่าคนที่มาข่ม scientist ส่วนใหญ่เนี่ย ก็คือคนที่ทำงานทางด้าน social science ซึ่งคิดว่าตัวเอง “More superior to scientist” หนังสือเล่มนี้เขาเขียนดีมาก ตอนนี้ก็หายากแล้ว ในช่วงต้นของชีวิต ก็ควรจะต้องมีการตั้งหลักว่าจะทำอะไร ต่อมา ผมเองก็ได้รับรู้ข้อมูลผ่านอาจารย์หลาย ท่าน สิ่งที่ผมจะเล่าให้ฟังในวันนี้ก็มาจากความคิดของคนหลายคน แต่หลังจากผมไปตรวจสอบจากท่านเรียบร้อย แล้ว ท่านก็บอกว่าที่ผมพูดเนี่ย ท่านไม่ได้พูด ท่านก็พูดบางประเด็นแต่ท่านไม่ได้พูดแบบนี้ ดังนั้น ที่ผมเล่ามาคง ไม่ใช่ผมเป็นคนพูดเอง คงผสมกันมาเรื่อย ๆ อาจารย์ของผมก็มีหลายท่าน คงแนะนำได้ไม่หมด ก็จะขอแนะนำ เฉพาะบางท่าน (ภาพที่ 2)
  • 6. 4 ภาพที่ 1 ปกของหนังเรื่อง Advice to a Young Scientist ที่มา: จากการนำเสนอของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565 ภาพที่ 2 อาจารย์ของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ที่มา: จากการนำเสนอของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565
  • 7. 5 ซ้ายมือบนสุดคืออาจารย์ปรีดา มาลาสิทธิ์ ท่านเป็นอาจารย์คนแรกที่สอนผมทำวิจัย สมัยนั้นท่านก็เป็น คนหนุ่มไฟแรงมาก ท่านจบจากอังกฤษ แล้วก็เป็นคนที่เอาหนังสือของ Peter Medawar มาเล่าให้ผมฟัง อีกท่านก็คืออาจารย์ประเวศ วะสี ผมทันในสมัยที่ท่านเป็นนักวิชาการแพทย์ หลายคนอาจจะทันในสมัยที่ ท่านเป็นนักคิดทางด้านการเมือง นักคิดทางด้านสังคม แต่ผมเจอท่านในสมัยที่ท่านอยู่บนจุดสูงสุดของการเป็น นักวิจัยทางด้านโรคธาลัสซีเมียของประเทศ แล้วก็ทางด้านขวามือบนสุดคือ Sir Peter Lachmann ท่านเป็นอาจารย์ของผมที่ Cambridge ท่าน เป็นคนที่แปลกมาก เพราะเดิมทีท่านเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงมาก แต่ว่าท่านเปลี่ยนเส้นทางเข้ามาเป็นผู้บริหาร สำคัญของ Royal Society แล้วก็มาเป็น Foreign Secretary และเป็น Biological Secretary อีกด้วย ก็คือเข้า มาทำงานทางด้านการบริหารจัดการ แล้วก็ต่อมาท่านเป็นคนก่อตั้ง Royal College of Pathologists และอีก อันหนึ่งก็คือ Royal Society for Medical Science ซึ่งปัจจุบันนี้ก็กลายเป็นสมาคมที่สำคัญของอังกฤษ ท่านได้ วางหลักคิดว่า ทำอย่างไรที่จะมีความสุขกับการทำงาน และมีงานออกมาเรื่อย ๆ อีกท่านหนึ่งคืออาจารย์ประเสริฐ ทองเจริญ ท่านเป็นเจ้านายคนแรกของผมที่ศิริราช แล้วท่านก็สอนผม หลายเรื่อง เช่น นักวิชาการจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้คนเขาเขม่นมากนัก แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ใน ส่วนนี้ อีกท่านคืออาจารย์เสม พริ้งพวงแก้ว ตอนนั้นท่านเป็นประธานแผนกแพทยศาสตร์ของมูลนิธิอานันท มหิดล ตอนที่ผมได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ท่านก็ช่วยดูแลผมตั้งแต่ก่อนไปเรียนต่อจนกระทั่งกลับมา ตอนกลับมานี้มีระบบที่สำคัญอันหนึ่งคือ อาจารย์ผู้ใหญ่จะเชิญเรามาคุยว่า ที่ไปเรียนกลับมาได้รับความรู้อะไรบ้าง คล้าย ๆ กับกระบวนการ Debriefing ท่านถามผมว่า ที่ไปเรียนมาทำวิจัยเรื่องอะไร เวลาที่เจอข้อมูลอะไรใหม่ ๆ รู้สึกอย่างไร ผมก็เล่าถึงความรู้สึกในตอนนั้น ท่านก็บอกว่า ความรู้สึกแบบนี้ ภาษาของพระเขาเรียกว่า "ปีติ" เรา จะต้องหาปีติเรื่อย ๆ ในการทำงาน อีกท่านคืออาจารย์วิจารณ์ พานิช ท่านก็สอนผมมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยที่อาจารย์ยังอยู่ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โจทย์สำคัญก็คือ ในฐานะนักวิชาการไทยโดยเฉพาะคนที่จบจากต่างประเทศ ทำ อย่างไรที่จะมาพัฒนางานวิชาการได้อย่างดีและมีความสุข นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ปกติแล้วคนที่จะมีประเด็น ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่กลับมาจากต่างประเทศแล้ว โดยเฉพาะนักวิชาการทางสายการแพทย์ ที่ต้องใช้ เครื่องมือจำนวนมาก ในสายวิชาชีพที่ไปได้รวดเร็วเขาก็จะบ่นว่า มาอยู่เมืองไทยแล้วมันมีปัญหาแบบนี้ ไม่เหมือน อยู่เมืองนอก ที่เมืองนอกมีเครื่องมือเยอะ กลับมาไม่เห็นมีเครื่องมือเลย จะซื้อของก็ต้องรอ 6 เดือนกว่าของจะมา
  • 8. 6 ถ้าอยู่เมืองนอก สั่งของวันนี้พรุ่งนี้ก็มาแล้ว อยู่เมืองไทยนี่ 6 เดือนกว่าจะมา ทำงานก็ช้า เบิกเงินก็ช้า มันจะเป็น แบบนี้อยู่ประจำ อาจารย์ทั้ง 6 ท่านของผมก็บอกว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นเรื่องธรรมดา ต้องอยู่กับมันให้ได้แบบดี ๆ ถึง เป็นแบบนี้ก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ แล้วก็ต้องไปแบบดี ๆ ด้วย หน้าที่ของพวกเรา ผมเชื่อว่าอาจารย์ในที่นี้หลายท่านเป็นผู้บริหารแล้ว เราจะจัดการอย่างไรได้บ้าง ผมคิด ว่ามีหลักอยู่ 3 ข้อ ซึ่งประมวลมาจากอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ผมก็จะบอกน้อง ๆ เสมอว่า ในฐานะนักวิชาการ ตอนแรกต้องตั้งท่าดี ๆ ว่าจะทำอะไร แล้วใช้เวลาตั้งท่านั้นนานกว่าลงมือทำจริง ๆ ด้วยซ้ำ อาจารย์วิจารณ์ เคยสอนผมว่า ห้ามทำแล็บจนกว่าจะจำเป็นต้องทำจริง ๆ ต้องเลือกทำเรื่องที่น่าจะทำจริง ๆ และเราอยากจะ ทำจริง ๆ และเรื่องนั้นก็สำคัญจริง ๆ ให้คิดว่าทำแล้วจะไม่เสียใจ แต่ละคนก็จะมีประเด็นที่แตกต่างกันไป ผม ถือหลักว่า ชีวิตมันจะมีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ มันจะไม่ลื่นไหลไปตลอด ดังนั้นเมื่อรู้สึกท้อแท้ อย่างน้อยที่สุดเรา จะทำเรื่องนี้แล้วเราก็จะสบายใจ อันนี้คือประเด็นที่หนึ่ง เวลาที่เราแนะนำนักวิชาการใหม่ ๆ มีอยู่จำนวนหนึ่งจะ อยากทำเรื่องที่ตัวเองทำมาก่อนแล้วตอนอยู่เมืองนอก เวลาผมบริหารทุนวิจัย ผมจะพิจารณาที่สองอย่างคือคนที่จะ ทำกับเรื่องที่เขาจะทำ อันนี้เป็นการเลือกเรื่อง ต้องเลือกเรื่องที่ดี ประเด็นที่สอง เราต้องมองข้ามข้อจำกัดไปให้ได้ ในสายงานของผม ตอนที่ผมอยู่ที่ Cambridge ผมจะ ทำอะไรมันก็สะดวกสบายไปหมด แต่อยู่เมืองไทยมันไม่มีแบบนั้น เราไม่มีความหรูหราแบบนั้น แล้วเราก็จะบ่นกัน สิ่งที่สำคัญคือ นอกเหนือไปจากการเลือกเรื่องที่ดีแล้ว จะต้องเลือกเรื่องที่เรามีความได้เปรียบแบบ "ได้เปรียบ อย่างยิ่งยวด" หรือ unfair advantage ในเชิงการวิจัยทางวิชาการ ทุกคนมี unfair advantage เสมอ อย่าคิด ว่าไม่มี unfair advantage ซึ่งต้องมีในหลาย ๆ สภาวะด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามี unfair advantage ถึงแม้ว่าเรา เดินไปข้างหน้าช้า ๆ ก็ชนะ คือถึงจะไปช้า ๆ ก็ได้ผล อาจารย์ประเวศ วะสี ผมเดาว่าตอนที่ท่านทำเรื่องโรคธาลัสซี เมีย มันเป็นโรคที่ไม่มีในที่อื่น ๆ นอกจากภูมิภาคของเรา บางประเทศก็อาจจะมีบ้าง คนอังกฤษอยากจะทำวิจัย เรื่องโรคธาลัสซีเมียก็ทำที่อังกฤษไม่ได้ ฉะนั้น ใครจะทำเรื่องโรคธาลัสซีเมียก็ต้องมาปรึกษาอาจารย์ ดังนั้นแล้ว เวลาผมเลือกเรื่องที่จะวิจัย ผมจะเลือกเอาเรื่องที่ได้เปรียบอย่างยิ่งยวด บางเรื่องที่เราไม่ได้เปรียบ แข่งขันไป อย่างไรก็แพ้ คือแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม มีคนถามว่า “แพ้แล้วไงล่ะ?” กระนั้น ผมก็จะมองว่า ถ้าแพ้แล้วอย่าไปทำเลย ดีกว่า มันยังมีเรื่องที่จะทำอีกเยอะ มีหลายเรื่องที่มี unfair advantage ชาวตะวันตกทุกคนที่ทำวิจัยในแนวหน้า ของโลกเขาก็มี unfair advantage กันทั้งนั้น ประการที่สามก็คือว่ามันต้องหาความสำเร็จระหว่างทางไปเรื่อย ๆ คือคนเราจะผิดหวังไปตลอดชีวิต ไม่ได้ มันก็ต้องมีการเก็บเกี่ยวอะไรมาระหว่างทางด้วย เวลาที่ผมบอกนักวิจัยรุ่นน้อง ผมก็จะบอกว่า แต่ละคนชอบ
  • 9. 7 ไม่เหมือนกัน แต่ว่า แต่ละคนจะหาความหมายของชีวิตจากเรื่องวิจัยที่สำคัญได้ แต่ละคนจะหา unfair advantage ของตัวเองได้ อีกอันหนึ่งก็คือ แต่ละคนก็จะหาความสุขระหว่างทางของตัวเองได้ ทั้ง 3 ประเด็นนี้ ก็น่าจะอยู่ในช่วงต้นของชีวิตการเป็นนักวิจัย ผมแถมให้อีกเรื่อง มันจะต้องมี “ดอกเบี้ย” (หมายถึงผลลัพธ์ข้างเคียงที่งอกเงยออกมา – ผู้ถอดความ) จากการวิจัย มันมีหลายเรื่องในทาวิชาการ ที่ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว อยู่เฉย ๆ มันจะมีดอกเบี้ยออกมา ผมขอยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งในประเด็นนี้ ซึ่งเป็นเรื่องราว ของผมเอง คืองานวิจัยของผมเรื่องเชื้อ Melioidosis ประเด็นที่ผมเลือกมานี้ ผมได้กำหนดลักษณะเชื้อที่เป็นสาย พันธุ์หลัก ๆ ของโลกที่ชื่อว่า K96243 ซึ่งรายงานวิจัยของมันได้รับการตีพิมพ์ไปเมื่อ 25 ปีที่แล้ว จนถึงทุกวันนี้ ยังมี คนเข้ามาค้นหาอยู่ตลอดเวลาทุกวัน เพราะว่ามันเป็นรายงานวิจัยหลักที่เกิดขึ้น นี่คือดอกเบี้ยที่ผมได้ค้นพบ ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องที่อยากจะพูดในประเด็นช่วงเริ่มต้นของชีวิตนักวิชาการ เวลาที่ผมถูกเชิญให้ไปพูดกับรุ่นน้อง ส่วนใหญ่น้อง ๆ เขาจะถามว่า ทำอย่างไรที่จะประสบความสำเร็จ ใน ประเด็นนี้พอผมพูดไปสักพักผมก็เบื่อ ผมก็เลยบอกว่า ผมจะขอพูดเรื่องประสบการณ์ที่เคยล้มเหลวมาก่อนในฐานะ นักวิจัยก็แล้วกัน พอดีผมล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ ซึ่งก็เป็นลักษณะของนักวิจัยส่วนใหญ่ เวลาที่ผมผิดหวัง มันก็จะมี “silver lining” (สถานการณ์ที่ดูเหมือนจะย่ำแย่ก็อาจมีสิ่งที่ดีซ่อนอยู่ - ผู้ถอด ความ) เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน งานวิจัยสองเรื่องแรกในชีวิตของผมล้มเหลวมาก ผมทำวิจัยตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ปี 2 เป็นเรื่องที่ผมสนใจว่า เซลล์ที่ตายในร่างกายมันหายไปไหน เพราะว่าเม็ดเลือดแดงของเรามันตายไปทุกวัน มัน หายไปทุกวัน มันสร้างใหม่ทุกวัน นั่นแปลว่า ร่างกายต้องมีระบบ “เก็บขยะ” และขยะนี้จะต้องถูกย่อยออกไปจน ไม่เหลืออยู่ มันหายไปไหน? มันเก็บอย่างไร? พูดง่าย ๆ ก็คือผมสนใจเรื่องระบบ “รถขนส่งขยะ” ของร่างกาย ซึ่ง เป็นวิชาที่ผมทำอยู่ในทุกวันนี้ด้วย หลักการเป็นแบบนี้ คือเม็ดเลือดแดงที่ตายไปแล้ว มันจะมีเซลล์ชนิดหนึ่งใน ร่างกายไปกิน เมื่อกินเสร็จมันก็ดึงเข้าไปในตัวมัน แล้วไปกำจัดที่ “โรงกำจัด” แต่การกินนี้มันไม่ได้กินเฉย ๆ มันรู้ ว่าจะเก็บตัวไหน และเก็บเมื่อไหร่ ผมทำวิจัยอยู่ประมาณ 2 ปี ตอนผมเรียนอยู่ปี 4 ผมพบว่า มันมีอยู่ 3 องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเก็บเซลล์ที่ตายไปแล้วได้ แล้วในจิตใจของนักเรียนปี 4 ก็ถือว่าสิ่งนี้เป็นการค้นพบที่ ยิ่งใหญ่มาก ผมก็เขียนรายงานอย่างดีมาก อาจารย์ปรีดา เป็นคนตรวจให้ผม ผมเขียนอยู่ประมาณ 8 รอบได้ แก้ แล้วแก้อีก เสร็จแล้วผมก็เตรียมจะส่งไปตีพิมพ์ ปรากฏว่า งานวิจัยเรื่องนี้มีการตีพิมพ์ไปแล้วเมื่อ 5 ปีก่อน ผมก็รู้สึก แย่ ทำมา 2 ปี อดนอนไม่รู้กี่คืน ปรากฏว่าล้มเหลว ตีพิมพ์ไม่ได้ ก็เสียใจมาก ผมก็เลยไปดูว่าใครเป็นคนเขียน วิจัย ที่ว่านั้น ปรากฏว่า มีนักวิชาการคนหนึ่งชื่อ Peter Lachmann เป็นคนเขียน ผมก็เลยเขียนจดหมายไปหาเขาว่า ผมค้นพบสิ่งเดียวกับที่เขาเจอเลย การทดลองเหมือนกันเลย ผมก็เขียนไปขอโทษเขาด้วย เพราะมันเหมือนกับผม ไปคัดลอกงานของเขา เขาก็ตอบกลับจดหมายฉบับนั้นมา แล้วทิ้งท้ายในจดหมายว่า เรียนจบเมื่อไหร่ให้ไปทำงาน
  • 10. 8 กับเขา ผมก็เลยได้ไปอยู่กับเขาที่ Cambridge มันก็จะมีอะไรแบบนี้ในชีวิตเสมอ เรื่องแบบนี้ในทางวิชาการมันมี ทั้งขาขึ้นและขาลง ทันทีที่เราชนกำแพงมันจะมีทางเลี้ยวออกที่จะกลับได้เสมอ ประเด็นสุดท้าย ผมคิดว่า จะพูดช่วงกลางทางของชีวิตนักวิชาการอย่างเดียว ช่วงปลายทางเอาไว้ใน โอกาสหน้าก็แล้วกัน ช่วงกลางเป็นแบบนี้ คือวิชาการแต่ละสาขามันก็จะพัฒนาไปเรื่อย ๆ เมื่อพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง มันก็จะกลายเป็น linear growth คือมันจะค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปเรื่อย ๆ มันจะไม่ก้าวกระโดด แต่การก้าวกระโดด ในทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มันจะเกิดขึ้นได้จาก 2 เหตุการณ์ เหตุการณ์ที่หนึ่งคือ ศาสตร์สองศาสตร์มันมาชน กัน แล้วมันก็เกิดปฏิกิริยาในการชน เติมเต็มซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ที่สองก็คือ จุดที่คนที่รู้เรื่องศาสตร์หนึ่ง ๆ ที่ดีมาก ๆ เข้าไปอยู่ในเรื่องของอีกศาสตร์หนึ่งที่ตัวเองไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ เสร็จแล้วเอาสิ่งที่ตัวเองมีอยู่เข้าไปใน โลกใหม่ที่ตัวเองรู้น้อย ประโยชน์จะเกิดขึ้นกับศาสตร์นั้น เพราะว่ามันมีคนเอาความคิดใหม่ ๆ เข้าไป ในทำนอง เดียวกัน มันเกิดการข้ามศาสตร์ได้เสมอ ไม่ได้แปลว่าศาสตร์ใดดีกว่าศาสตร์ใดทั้งสิ้น ในสไลด์สุดท้าย เป็นภาพที่โด่งดังที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มันคือเรื่อง Double Helix เป็นการที่ DNA นั้นประกอบด้วยสายสองสายวิ่งสวนทางกัน ซึ่งมันเป็นพื้นฐานความรู้ชีววิทยาในปัจจุบันนอกเหนือไปจาก เรื่องทฤษฎีของชาร์ล ดาวิน มันสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อเซลล์เกิดการแบ่งตัวไปเรื่อย ๆ แล้ว มันยังมี ลักษณะเหมือนเดิมอยู่ แล้วก็อธิบายว่าการกลายพันธุ์มันเกิดขึ้นได้อย่างไร รูปนี้คือการค้นพบ Double Helix (ภาพที่ 3) สองคนนี้ไปพบว่ามันควรจะมีการเรียงตัวแบบนี้ ก่อนหน้านั้นเราไม่รู้ว่ามันเรียงตัวอย่างไร เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นในปี 1953 ที่ Cambridge คนที่อยู่ทางซ้ายมือคือ James Watson คนขวามือคือ Francis Crick สองคน นี้ไม่ได้เป็นคนที่เก่งที่สุดในโลก ทุกคนแปลกใจมากว่า สองคนนี้ค้นพบสิ่งนี้ได้อย่างไร Watson เป็นนักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อายุ 25 ปีในขณะนั้น จบ PhD แล้ว เขาเป็นเด็กอัจฉริยะ จบ PhD ตั้งแต่อายุ 20 ปี แต่ก็ยังไม่ใช่คนที่ เก่งที่สุด ณ ตอนนั้น คนที่เก่งที่สุด ณ เวลานั้นคือ Linus Pauling ใคร ๆ ต่างก็คิดว่า Pauling จะเป็นคนค้นพบ โครงสร้างของ DNA ก่อน ขวามือนี้คือ Francis Crick อายุ 37 ปี แก่กว่า Watson เป็นนักฟิสิกส์ แต่ว่ายังเป็น นักเรียน PhD อยู่ ถ้าจะว่ากันแล้ว Crick ก็ไม่ใช่คนที่ฝีมือดีเท่าไหร่ ทำอะไรก็ไม่ค่อยจะใช้ได้ สองคนนี้มาเจอกัน ถูกเวลาพอดี คนหนึ่งรู้เรื่องชีววิทยา อีกคนหนึ่งเป็นนักฟิสิกส์ ด้วยกับการปะทะกันของสองศาสตร์ การค้นพบสิ่ง ใหม่ ๆ จึงก้าวกระโดดอย่างมาก ในกระบวนการของวิทยาศาสตร์และวิชาการมันจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้บ่อย ๆ
  • 11. 9 ภาพที่ 3 การค้นพบ Double Helix ที่มา: จากการนำเสนอของ ศ. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ในงานอุดมธรรม พลังปัญญา พ.ศ. 2565 หน้าที่ของพวกเราก็คือ เราจะทำอย่างไรให้ศาสตร์มันปะทะกัน ซึ่งมันมีอยู่หลากหลายวิธี ที่ทำงานของ ผมที่ Cambridge จะมีกติกาว่า พอถึงเวลา 11 โมงจะมี coffee break และบ่าย 3 โมงจะมี tea break เมื่อถึง เวลาทุกคนจะต้องหยุดพักหมด นั่งดื่มชา ดื่มกาแฟกันเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง แล้วต้องคุยแต่เรื่องไร้สาระเท่านั้น แต่ เอาเข้าจริงมันก็อดคุยเรื่องงานไม่ได้ และห้ามนั่งจับกลุ่มคุยกับพวกเดียว ผมทำแบบนี้จนเป็นนิสัยทุกวัน จนผม รู้จักคนเกือบหมดทุกคน สิ่งที่สำคัญก็คือการพูดคุยกันนี้จะต้องก่อให้เกิดการปะทะกันของศาสตร์ต่าง ๆ ขึ้นมา และอีกที่คือ Harvard Kennedy School ที่อาคารหลักมีการออกแบบที่แปลกมาก คือมันไม่มีบันไดหลัก แต่มันมี บันไดจำนวนมากโดยที่ไม่รู้ว่าอันไหนเป็นบันไดหลักกันแน่ ทำไมเขาถึงออกแบบในลักษณะนี้ ผมก็ได้คำตอบว่า แต่ ละวันคนจะได้คิดว่าจะเดินไปที่ต่าง ๆ ได้อย่างไร หลักคิดแบบนี้ก็คือ การทำให้แต่ละวันจะไม่เดินบนเส้นทางที่ซ้ำ กันเลย ก็จะเดินไปพบปะกับผู้คนที่ไม่ซ้ำหน้ากัน ยิ่งไปกว่านั้น จะมีการย้ายห้องพักของบุคลากรทุก ๆ 2 ปี ฉะนั้น จะไม่มีใครจำได้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน และห้องพักก็จะมีขนาดพอ ๆ กันทั้งหมด เพราะเขาถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน หมด สิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามานี้เป็นการออกแบบเชิงโครงสร้างเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน ผมใช้เวลามาพอสมควรแล้วกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ ผมอาจจะคิดอะไรออกมาได้ก็พูด ออกมาเลย ไม่ได้มีการเตรียมตัวอะไรมาก่อน ก็ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านด้วยครับ สวัสดีครับ