SlideShare a Scribd company logo
1 of 8
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2557
ชื่อโครงงาน
ชื่อผู้ทําโครงงาน
1. น.ส. รุจิรา นาราช เลขที่ 13 ชั้น ม.6 ห้อง 5
2. น.ส. ณัฐกาล ฉันทะกิจ เลขที่ 23 ชั้น ม.6 ห้อง 5
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดําเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทําข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม .……
1 น.ส. รุจิรา นาราช เลขที่ 13 2 น.ส. ณัฐกาล ฉันทะกิจ เลขที่ 23
คําชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
กําเนิดโลก
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
The Earth’s Origin
ประเภทโครงงาน
ชื่อผู้ทําโครงงาน 1 น.ส. รุจิรา นาราช เลขที่ 13
2 น.ส. ณัฐกาล ฉันทะกิจ เลขที่ 23
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดําเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557
ที่มาและความสําคัญของโครงงาน
โลกได้กําเนิดขึ้นมาแล้วหลายพันล้านปี และมีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการต่างๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่แบคทีเรีย
พืชชั้นต่ําต่างๆ จนพัฒนากลายมาเป็นมนุษย์
และมีปรากฏการณ์ต่างๆทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อโครงสร้างของโลกที่น่าสนใจมากมาย
ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทําจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความเป็นมา และ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกเพื่อนําความรู้ที่มีอยู่ไปต่อยอด และ พัฒนาต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาประวัติการกําเนิดโลก
2. เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก
3. เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้แก่ผู้ที่ศึกษา
ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจํากัดของการทําโครงงาน)
- ศึกษาการแบ่งยุคสมัยก่อนกําเนิดโลก ถึงยุคกําเนิดโลก
- ศึกษาถึงวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิตยุคก่อนกําเนิดโลกจนถึงยุคกําเนิดโลก
3
หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทําโครงงาน)
ธรณีกาล
มาตราธรณีกาล (geology time scale) เป็นการลําดับอายุทางธรณีวิทยา
โดยเริ่มตั้งแต่โลกมีกําเนิดประมาณได้กว่า 4,500 ล้านปีมาแล้ว ระหว่างนั้นมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่และย่อยทั้ง
ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางโครง สร้างของโลกและชีวประวัติ เพื่อความสะดวก นักวิทยาศาสตร์จึง
ได้แบ่งธรณีกาลออกเป็นบรมยุค(eon) มหายุค (era) ยุค (period) สมัย (epoch) ช่วงอายุ ( age) และรุ่น
(chron) ตามลําดับ 
บรม ยุค (eon) ช่วงเวลาอันยาวนานไม่อาจกําหนดได้ในทางธรณีกาลหมายรวมมหายุคต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 บรมยุค คือ คริปโทโซอิก (Cryptozoic eon) โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic eon)
และ ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon ) 
ก. บรมยุคคริปโทโซอิก (Cryptozoic eon) บรมยุคที่เก่าที่สุดของช่วงเวลาทางธรณีกาล มีช่วงอายุมากกว่า
2,500 ล้านปี มีความหมายเหมือนกับ Archaeozoic Eon) 
ข. บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic eon) หมายถึงบรมยุคปลายช่วงเวลาก่อนยุคแคมเบรียน
มีช่วงเวลาตั้งแต่ 2,500-570 ล้านปีมาแล้ว 
ค. บรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon ) บรมยุคสุดท้ายของการแบ่งมาตราทางธรณีกาลนับตั้งแต่ 570
ล้านปีมาจนถึงปัจจุบัน
แบ่งออกได้เป็น 3 มหายุค คือ มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิก และมหายุคชีโนโซอิก
หินที่เกิดในบรมยุคนี้เรียกว่า หินบรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon )  
มหายุค (era) หมายถึงช่วงเวลาอันยาวนานทางธรณีกาล ซึ่งประกอบด้วยมหายุค 4 ยุค คือ
มหายุค พรีแคมเบรียน (Precambrain era) มหายุคพาลีโอโซอิก(Paleozoic era ) มหายุคมีโซโซิก
(Mesozoic era) และมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era)  
ก. มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) มหายุคแรกของธรณีกาล มีอายุก่อนยุคแคมเบรียน
ในมหายุคพาลีโอโซอิก เริ่มตั้งแต่กําเนิดโลกจนถึง 570 ล้านปีมาแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด
เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตชั้นต่ําเริ่มเกิดขึ้นในตอนปลายของมหายุคนี้ แต่ส่วนมากไม่ทิ้งร่องรอยหรือหลักฐาน
ที่ชัดเจนเหมือนซากดึกดําบรรพ์ในยุคแคม เบรียน หินที่เกิดขึ้นในยุคนี้เรียกว่า หินยุคพรีแคมเบรียน
(Precambrian Erathem) ในบางแห่งช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนตามหลักฐานการหาอายุโดย
กัมมันตรังสีเป็น 2 ช่วง คือ บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic Eon)ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 2,500 ถึง 570
ล้านปีมาแล้ว และบรมยุคคริป โทโซอิก ซึ่งมีอายุมากกว่า 2,500ล้านปี ขึ้นไป  
ข. มหายุคพาลีโอโซอิก (paleozoic era) พาลีโอโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยโบราณ”
เป็นมหายุคหนึ่งทางธรณีกาล อยู่ระหว่างมหายุค พรีแคมเบรียนกับมหายุคมีโซโซอิก มีอายุตั้งแต่ 570-245
ล้านปีมาแล้ว เป็นมหายุคที่พืชและสัตว์เริ่มมีวิวัฒนาการสูง สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในยุคนี้จะอยู่ในทะเล
โดยมีสัตว์ที่ไม่กระดูกสันหลังอยูมากเป็นพิเศษรวมทั้งปลายุคดึกดําบรรพ์ ชีวิตของพืชบนบกเริ่มขึ้น
ในตอนปลายยุคนี้ หินที่เกิดขึ้นในมหายุคนี้เรียกว่าหินยุคพาลีโอโซอิก(Paleozoic Erathem)
ในตอนปลายของยุค แผ่นดินส่วนใหญ่รวมกันเป็นทวีปขนาดใหญ่เรียกว่า แพนเจียหรือแพงจีอานา
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา สัตว์เลื้อยคลาน แมลงและสัตว์อื่น ๆ ครองแผ่นดินอยู่และกินพืชที่มีวิวัฒนาการ
ขึ้นมาเป็นอาหาร เช่น ไลโคพอด คลับมอส ต้นหางม้าและเฟิร์น สัตว์หลายชนิดได้สูญพันธ์เป็นจํานวนมาก คลับ
มอสเป็นพืชกลุ่มที่เรียกว่าไลโคพอด สืบพันธ์โดยการสร้างสปอร์ที่อยู่ในผลของมัน จัดเป็นตัวอย่างพืชบกโบราณ
ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง และเสื่อมไปในตอนปลายมหายุคนี้ 
4
ค. มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) มีโซโซอิก หมายถึง “ชีวิตในตอนกลาง” เป็นมหายุคหนึ่งทางธรณีกาล
อยู่ระหว่างมหายุคพาลีโอโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 245 ถึง 66.4 ล้านปีมาแล้ว
เป็นมหายุคที่สัตว์เลื้อยคลานเจริญมาก บนดินมีไดโนเสาร์ บนฟ้ามีเทอโรซอร์ และในทะเลมีอิกทิโอซอร์ว่ายน้ํา
อยู่กับพวกเบเลมไนต์และแอมโมไนต์ ทวีปแพนเจียเริ่มแยกออก หินที่เกิดในมหายุคนี้ เรียกว่า หินมหายุค
มีโซโซอิก (Mesozoic Erathem )  
ง. มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ซีโนโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยก่อน” เป็นมหายุคหนึ่งทางธรณีกาล
อยู่ถัดขึ้นมาจากมหายุคมีโซโซอิก มีอายุตั้งแต่ 66 ล้านปีมาแล้วจนถึงปัจจุบันโลกค่อย ๆเปลี่ยนรูปทรงไปในยุคนี้
ทวีปอินเดียเคลื่อนที่ไปทางเหนือชนกับเอเชียเกิดเป็นเทือกเขาหิมาลัย
เป็นมหายุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอกเจริญมาก ในทะเลมีพวกปลาก้างและเม่นทะเลอยู่มาก
มนุษย์เกิดขึ้นในสมัยไพลสโตซีนในยุคนี้ หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic
erathem) 
ยุค (period) ช่วงเวลาทางธรณีกาล เป็นหน่วยย่อยของมหายุค
มีช่วงเวลาค่อนข้างยาวนานพอที่จะเชื่อถือได้ทั่วโลก 
ก. ยุคแคมเบรียน (Cambrian period) ยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 570-505 ล้านปี
มาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มพบซากสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปะการัง หอย ฟองน้ํา ไทรโลไบต์ (trilobite)
หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคแคมเบรียน(Cambrian System) 
ข. ยุคออร์โดวิเชียน ( Ordovician) ยุคที่ 2 ของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่างยุคแคมเบรียนกับยุคไซลูเรียน
มีช่วงอายุตั้งแต่ 505 ถึง 438 ล้านปี มาแล้ว ยุคนี้มีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังอยู่มาก หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า
หินยุคออร์โดวิเชียน(Ordovician System) 
ค. ยุคไซลูเรียน (Silurian Period) ยุคที่ 3 ของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่างยุคออร์โดวิเชียนกับยุค
ดิโวเนียน มีช่วงอายุตั้งแต่438 ถึง 408 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคแรกเริ่มของพืชบก หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า
หินยุคไซลูเรียน(Silurian system) 
ง. ยุคดิโวเนียน ( Devonian Period) ยุคที่ 4 ของมหายุคพาลีโอโซอิกระหว่างยุคไซลูเรียนกับ
ยุคคาร์บอนิเฟอร์รัสมีช่วงอายุตั้งแต่ 408 ถึง 360 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้มีปลาจําพวกต่าง
ๆเจริญมาก บางทีเรียกว่า ยุคของปลา อิกไทโอสเตกาเป็นบรรพบุรุษของสัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก
พันธ์แรกสุดมีปอดสําหรับ หายใจ มีหางเป็นครีบแบบเดียวกับปลา เฟิร์นที่พบในยุคนี้จัดเป็น
เฟิร์นเก่าแก่ที่สุด หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคดิโวเนียน ( Devonian Period) 
จ. ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ยุคที่ 5 ของมหายุคพาลีโอโซอิก
อยู่ระหว่างยุคดิโวเนียนกับยุคเพอร์เมียน มีช่วงอายุตั้งแต่ 360-286 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มมีพืชมีเมล็ด เช่น
อาร์เคโอซิลกิลลาเรีย สน เฟิร์น สัตว์เลื้อยคลานชนิดแรกและแมลง เนื่องจากพบถ่านหินมากจึงถือยุคนี้เป็นยุค
ถ่านหิน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่าหินยุคคาร์บอนิเฟอรัส(CarboniferousSystem) 
ฉ. ยุคถ่านหิน (Coal Ages) คือช่วงเวลาทางธรณีกาลที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเกิดถ่านหินมาก
ทําให้ถ่านหินแหล่งใหญ่ ๆเกิดขึ้นในโลก ช่วงเวลาดังกล่าวมี 2 ช่วง คือยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนปลาย หรือ 325-
286 ล้านปีและช่วงเวลาติดต่อระหว่างยุคครีเทเชียส ถึง เทอร์เทียร์ หรือ 140-66 ล้านปี 
ช. ยุคเพอร์เมียน (Permian Period) ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 286 – 245
ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบกเจริญมาก บางทีเรียกยุคสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
หินที่เกิดขึ้นในยุคนี้เรียกว่าหินยุคเพอร์เมียน(Permian System)  
ซ. ยุคไทรแอสซิก (Triassic Period) ยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 245-210 ล้านปีมาแล้ว
เป็นยุคแรกเริ่มของ ๆ ไดโนเสาร์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กบเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคนี้ หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า
หินยุคไทรแอสซิก (Triassic System) 
5
ฉ. ยุคจูแรสซิก (Jurassic Period) ยุคที่ 2 ของมหายุคมีโซโซอิก อยู่ระหว่างยุคไทรแอสซิกกับยุคเทอเทียรี
มีช่วงอายุตั้งแต่ 210 ถึง 140 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้เป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลาน พืชที่อยู่ในยุคนี้ เช่น
เฟิร์นโคนิออพเทอริสเฟิร์นไอโอไดด์หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคจูแรสซิก(Jurassic System) 
ฌ. ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ยุคสุดท้ายของมหายุคมีโซโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 140-66.4
ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่ไดโนเสาร์และสัตว์ขนาดใหญ่สูญพันธ์และมีสัตว์พวกไพรเมตเกิดขึ้น เป็นครั้งแรก
สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธ์ในยุคนี้ได้แก่ มังกรทะเลสายพันธ์อิกทิโอซอร์ พลีซิโอซอร์ โมซาซอร์
หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่าหินยุคครีเทเชียส (Cretaceous System)  
ฎ. ยุคเทอร์เทียรี(Tertiary Period) ยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิกอยู่ระหว่างยุคครีเทเชียสกับยุคควาเทอร์นารี
มีช่วงอายุตั้งแต่ 66.4 –1.6 ล้านปีมาแล้ว  หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่าหินยุคเทอร์เทียรี ( tertiary
Period) 
ฏ. ยุคควอเทอร์นารี(Quaternary Period) ยุคที่ 2 ของมหายุคซีโนโซอิก มีช่วงอายุประมาณ 1.6 ล้านปีมาแล้ว
แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือสมัยไพล สโตซีนกับสมัยโฮโลซีน
ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนดินทรายบนผิวโลก
นับตั้งแต่สิ้นยุคเทอร์เซียรีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคควอเทอร์นารี (Quaternary
System)  
สมัย (epoch) ช่วงเวลาทางธรณีกาลเป็นหน่วยย่อยของยุค(period) 
ก. สมัยพาลีโอซีน(Palaeocene Epoch) สมัยแรกของยุคเทอร์เทียรี มีช่วงอายุตั้งแต่ 66.4 ถึง 57.8
ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยแรกของสัตว์ในวงศ์ม้า หินที่เกิดในสมัยนี้เรียกว่าหินพาลีโอซีน(Palaeocene
series) 
ข. สมัยอีโอซีน (Eocene Epoch) สมัยที่ 2 ของยุคเทอร์เทียรีอยู่ระหว่างสมัยพาลีโอซีนกับสมัยโอลิโกซีน
มีช่วงอายุตั้งแต่ 57.8 ปี ถึง 36.6 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยแรกเริ่มของช้าง และเป็นสมัยที่มีทุ่งหญ้าแพร่
กระจายไปทั่วโลก หินที่เกิดในสมัยนี้เรียก หินสมัยอีโอซีน( Eocene Series ) 
ค. สมัยโอลิโกซีน(Oligocene Epoch ) สมัยที่ 3 ของยุคเทอร์เทียรี อยู่ระหว่างสมัยอีโอซีนกับสมัยไมโอซีน
มีช่วงอายุตั้งแต่ 36.6 ถึง 23.7 ล้านปี มาแล้ว เป็นสมัยแรกเริ่มของมนุษย์วานร หินที่เกิดสมัยนี้เรียกว่า
หินสมัยโอลิโกซีน( Oligocene Series ) 
ง. สมัยไมโฮซีน (Miocene Epoch ) สมัยที่ 4 ของยุคเทอร์เทียรี อยู่ระหว่างสมัยโอลิโกซีนกับสมัยไพลโอซีน
มีช่วงอายุตั้งแต่ 23.7 ถึง 5.3 ล้านปีมาแล้ว เป็นช่วงเวลาที่การก่อเทือกเขาแบบแอลป์เกิดขึ้นอย่างเต็มที่
หินที่เกิดในสมัยนี้เรียกว่า หินสมัยไมโอซีน( Miocene Series ) 
จ. สมัยไพลโอซีน(Pliocene Epoch) สมัยสุดท้ายของยุคเทอร์เชียรี มีช่วงอายุตั้งแต่ 5.3 ถึง 1.6 ล้านปีมาแล้ว
เป็นสมัยแรกเริ่มของมนุษย์(Homo sapiens)หินที่เกิดในสมัยนี้เรียกว่า หินสมัยไพลโอซีน(Pliocene
Series) 
ฉ. สมัยไพลสโตซีน(Pleistocene Epoch ) สมัยที่ 1 ของยุคควาเทอร์นารี อยู่ระหว่างสมัยไพลโอซีน
กับสมัยโฮโลซีน มีช่วงอายุตั้งแต่ 1.6 ถึง 0.01 ล้านปีมาแล้ว สมัยไพลสโตซีนมีธารน้ําแข็งเกิดขึ้นมากมาย
หลายระยะจนมีสมญาว่าเป็นสมัยน้ํา แข็ง (ice age) หินที่เกิดในสมัยเรียกว่า หินสมัยไพลสโตซีน( Pleistocene
Series) 
ช. สมัยโฮโลซีน(holocene/Recent) สมัยที่ 2 ของยุคควอเทอร์นารี มีอายุตั้งแต่สิ้นสมัยไพลสโตซีน
ซึ่งเป็นสมัยน้ําแข็งช่วงสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดขึ้นในสมัยนี้เรียกว่าหินสมัยโฮโลซีน(Holocene Series)
ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัตถุน้ําพา พีต เนินทราย ชั้นหอย
และปะการัง ลําดับชั้นหินในประเทศไทย  
6
ก. หินมหายุคพรีแคมเบรียน
ส่วนใหญ่หมายถึงหินแปรสภาพอย่างไพศาลซึ่งเป็นหินแปรเกรดสูงจําพวกหินออร์โทไนส์
(หินแอนนาเท็กไซต์หรือหินมิกมาไทต์) หินพาราไนส์ หินชีสต์ หินแคลก์ซิลิเกตและหินอ่อน
พบแผ่กระจายตัวอยู่ตามแนวขอบตะวันตกของแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
และทางภาคตะวันออกในเขตจังหวัดชลบุรี 
ข. หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนล่าง ประกอบด้วยหินยุคแคมเบรียนถึงหินยุคดีโวเนียน หินชั้นเป็นพวกหินทราย
หินดินดาน หินคาร์บอเนตและหินแปรเกรดต่ํา โดยจะโผล่ให้เห็นเป็นแนวยาวจากบริเวณภาคเหนือและ
ภาคตะวันตกตอนบน ผ่านลงมาทางบริเวณภาคตะวันตกตอนล่างจนถึงสุดเขตภาคใต้ และทางบริเวณภา
คตะวันออก กลุ่มหินที่สําคัญในบริเวณภาคใต้ได้แก่ กลุ่มหินตะรุเตายุคแคมเบรียน หินคาร์บอเนตกลุ่มหินปูน
ทุ่งสงยุคออร์โดวิเชียน และกลุ่มหินตะนาวศรียุคไซลูเรียนถึงคาร์บอนิเฟอรัส 
ค. หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน ประกอบด้วยหินยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงหินยุคเพอร์เมียน
หินมหายุคนี้พบแผ่กระจายตัวอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ยกเว้นบริเวณที่ราบสูงโคราชเท่านั้น
หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสส่วนใหญ่เป็นพวกหินทราย หินดินดานและหินโคลนปนกรวด มีหินเชิร์ตและหินปูนบ้าง
ในขณะที่หินยุคเพอร์เมียนส่วนใหญ่เป็นหินปูนมีหินดินดาน หินทรายและหินเชิร์ตบ้าง ขอบเขตของหินปูน
ยุคเพอร์เมียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนว แนวที่ปรากฏอยู่ ทางด้านซีกตะวันตกของประเทศรวมถึง
บริเวณภาคใต้ด้วยนั้นกําหนดให้เป็นกลุ่มหิน ปูนราชบุรี ส่วนแนวที่ปรากฏทางตะวันออกครอบคลุมพื้นที่
ส่วนใหญ่ของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรีจังหวัดนครสวรรค์และพื้นที่ตามแนวขอบที่ราบสูงโคราชด้านตะวัน
ตกซึ่งมักพบว่ามีหินภูเขาไฟและหินอัลตราเมฟิกปนอยู่ด้วยได้รับการกําหนดให้ เป็นกลุ่มหินปูนสระบุรี
กลุ่มหินปูนทั้งสองกลุ่มนี้ในปัจจุบันเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และ ก่อสร้างที่สําคัญของประเทศ
สําหรับหินยุคเพอร์เมียนในบริเวณภาคเหนือใช้ชื่อเรียกว่ากลุ่มหินงาว 
ง. หินมหายุคมีโซโซอิก ได้แก่ หินยุคไทรแอสซิก หินยุคจูแรสซิกและหินยุคครีเทเชียส
ในช่วงยุคไทรแอสซิกเป็นการสะสมตัวของชั้นหินดินดาน หินปูน และหินทราย ในสภาพแวดล้อมภาคพื้นสมุทร
ขอบเขตของหินยุคไทรแอสซิกที่พบส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่กลุ่มหินลําปาง
แต่ก็มีปรากฏให้เห็นทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออกและภาคใต้เช่นกัน สําหรับหินในช่วงยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียส
นั้นเป็นพวกหินทราย หินทรายแป้ง หินดินดานและหินกรวดมน โดยชั้นหินมีลักษณะสีแดง
บ่งบอกถึงสภาวะแวดล้อมภาคพื้นทวีป ขอบเขตหินยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียสแผ่ปกคลุมบริเวณที่ราบสูง
โคราชทั้งหมด จึงกําหนดชื่อให้เป็นกลุ่มหินโคราช ส่วนเป็นบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ
และในบางพื้นที่ของภาคตะวันตกตอนบน ภาคตะวันตกตอนล่างและบริเวณภาคใต้นั้นเป็นพวกหินดินดานและ
หินปูนยุคจูแรสซิก เกิดสะสมตัวในสภาวะแวดล้อมภาคพื้นสมุทร 
จ. หินมหายุคซีโนโซอิก ประกอบด้วยหินยุคเทอร์เชียรีและหินยุคควอเทอร์นารี หินมหายุคนี้เป็นหินที่
สะสมตัวบนบกและในทะเลลึกของแอ่งที่จมตัวลงไปในลักษณะ เป็นบล็อกกึ่งกราเบนซึ่งวางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้
ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลการยกตัวของแผ่นดินและการเกิดรอยเลื่อนในช่วงที่ แผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนตัว
ขึ้นมาชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเมื่อ ประมาณ 40-50 ล้านปีที่ผ่านมา ชั้นหินภายในแอ่งเทอร์เชียรี
ประกอบด้วยพวกหินทราย หินดินดานและหินโคลน แอ่งเทอร์เชียรีที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั้งบนบกและในทะเล
ทั่วประเทศกว่า 60 แอ่งนี้มีความสําคัญทางเศรษฐกิจด้านแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงเพราะเป็นแหล่ง ถ่านหิน
ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทยปกคลุมด้วยชั้นตะกอน
ยุคควอเทอร์นารีซึ่งเป็นตะกอนสะสมตัวที่ยัง ไม่แข็งเป็นหิน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยตะกอน กรวด ทราย
ทรายแป้ง ดินเหนียว ชั้นศิลาแลงและเศษหิน ที่ผุพังจากหินเดิม เนื่องจากขบวนการกัดกร่อนทําลายและ
7
พัดพาทางธรณีวิทยาโดยอิทธิพลของ กระแสน้ําและกระแสลม แล้วเกิดการสะสมตัวบนตะพักลุ่มน้ํา
บริเวณที่ราบน้ําท่วม ชายฝั่งทะเลและในทะเลสาบ 
ฉ. หินอัคนี ในประเทศไทยเท่าที่สํารวจ พบว่ามีหลายชนิดและหลายช่วงอายุตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก
ถึงมหายุคซีโนโซอิก แบ่งออกได้เป็นสามแนว ได้แก่ แนวตะวันออก แนวตอนกลางและแนวตะวันตก
ส่วนใหญ่เป็นพวกหินแกรนิต และหินภูเขาไฟ โดยมีหินเมฟิกและอัลตราเมฟิกรวมอยู่ด้วย โผล่ให้เห็นเป็นบริเวณ
แคบๆ ตามแนวตะเข็บรอยต่อธรณี (suture)ในเขตจังหวัดน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนราธิวาส
วิธีดําเนินงาน
แนวทางการดําเนินงาน
1. เลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. วางโครงร่างของโครงงาน
3. สืบค้นข้อมูล
4. รวบรวมข้อมูล
5. วิเคราะห์ข้อมูล
6. จัดทําสื่อกานําเสนอ
7. นําเสนอ
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1. Computer
2. Internet
3. หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา และ ดาราศาสตร์
งบประมาณ
-
ขั้นตอนและแผนดําเนินงาน
ลําดับ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
12
1
3
1
4
1
5
16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
3 จัดทําโครงร่างงาน
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
5 ปรับปรุงทดสอบ
6 การทําเอกสารรายงาน
7 ประเมินผลงาน
8 นําเสนอโครงงาน
8
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- คณะผู้จัดทําเข้าใจเนื้อหาที่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง และ สามารถเผยแพร่ข้อมูลแก่บุคคลอื่นอย่างถูกต้อง
- คณะผู้จัดทําสามารถนําความรู้ที่ได้รับไปศึกษาเพิ่มเติมและประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- ผู้ที่ศึกษาโครงงานเกิดความเข้าใจและมีความรู้ที่สามารถนําไปเผยแพร่ต่อได้
สถานที่ดําเนินการ
ห้อง Computer โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และ บ้านของคณะผู้จัดทํา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
1. ชีววิทยาชีววิทยา
2. ดาราศาสตร์
3. คอมพิวเตอร์
แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นํามาใช้การทําโครงงาน)
- https://sites.google.com/site/earthkrupongchaicr/thrni-prawati
- http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geologic-time/fossil

More Related Content

Similar to Project

เค้าโครงโครงงานคอม
เค้าโครงโครงงานคอมเค้าโครงโครงงานคอม
เค้าโครงโครงงานคอมMark Siwadol
 
ไส้เดือนเพื่อนกู้โลก
ไส้เดือนเพื่อนกู้โลกไส้เดือนเพื่อนกู้โลก
ไส้เดือนเพื่อนกู้โลกkuanjai saelee
 
โครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลีโครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลีnoeiinoii
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานNayapaporn Jirajanjarus
 
2559 project3334
2559 project33342559 project3334
2559 project3334Sita_buf
 
การฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการังการฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการังNichaphat Sanguthai
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนSuwanan Thipphimwong
 
การใช้ชีวิตในอวกาศ
การใช้ชีวิตในอวกาศการใช้ชีวิตในอวกาศ
การใช้ชีวิตในอวกาศChapa Paha
 
ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Kansiri Sai-ud
 
Deep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสง
Deep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสงDeep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสง
Deep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสงApisit Sangatid
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์thitichaya24
 

Similar to Project (20)

2557 โครงงาน
2557 โครงงาน2557 โครงงาน
2557 โครงงาน
 
2557 โครงงาน
2557 โครงงาน2557 โครงงาน
2557 โครงงาน
 
History of the world
History of the worldHistory of the world
History of the world
 
เค้าโครงโครงงานคอม
เค้าโครงโครงงานคอมเค้าโครงโครงงานคอม
เค้าโครงโครงงานคอม
 
computer
computercomputer
computer
 
2560 project (1)
2560 project  (1)2560 project  (1)
2560 project (1)
 
ไส้เดือนเพื่อนกู้โลก
ไส้เดือนเพื่อนกู้โลกไส้เดือนเพื่อนกู้โลก
ไส้เดือนเพื่อนกู้โลก
 
โครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลีโครงงานเที่ยวเกาหลี
โครงงานเที่ยวเกาหลี
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
 
2559 project3334
2559 project33342559 project3334
2559 project3334
 
h6ju
h6juh6ju
h6ju
 
การฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการังการฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการัง
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
Com
ComCom
Com
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
การใช้ชีวิตในอวกาศ
การใช้ชีวิตในอวกาศการใช้ชีวิตในอวกาศ
การใช้ชีวิตในอวกาศ
 
ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 6 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Deep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสง
Deep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสงDeep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสง
Deep in the sea ลึกลงไป ไกลสุดแสง
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 

Project

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2557 ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทําโครงงาน 1. น.ส. รุจิรา นาราช เลขที่ 13 ชั้น ม.6 ห้อง 5 2. น.ส. ณัฐกาล ฉันทะกิจ เลขที่ 23 ชั้น ม.6 ห้อง 5 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดําเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทําข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม .…… 1 น.ส. รุจิรา นาราช เลขที่ 13 2 น.ส. ณัฐกาล ฉันทะกิจ เลขที่ 23 คําชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) กําเนิดโลก ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) The Earth’s Origin ประเภทโครงงาน ชื่อผู้ทําโครงงาน 1 น.ส. รุจิรา นาราช เลขที่ 13 2 น.ส. ณัฐกาล ฉันทะกิจ เลขที่ 23 ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดําเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557 ที่มาและความสําคัญของโครงงาน โลกได้กําเนิดขึ้นมาแล้วหลายพันล้านปี และมีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการต่างๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่แบคทีเรีย พืชชั้นต่ําต่างๆ จนพัฒนากลายมาเป็นมนุษย์ และมีปรากฏการณ์ต่างๆทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อโครงสร้างของโลกที่น่าสนใจมากมาย ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทําจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความเป็นมา และ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกเพื่อนําความรู้ที่มีอยู่ไปต่อยอด และ พัฒนาต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประวัติการกําเนิดโลก 2. เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก 3. เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้แก่ผู้ที่ศึกษา ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจํากัดของการทําโครงงาน) - ศึกษาการแบ่งยุคสมัยก่อนกําเนิดโลก ถึงยุคกําเนิดโลก - ศึกษาถึงวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิตยุคก่อนกําเนิดโลกจนถึงยุคกําเนิดโลก
  • 3. 3 หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทําโครงงาน) ธรณีกาล มาตราธรณีกาล (geology time scale) เป็นการลําดับอายุทางธรณีวิทยา โดยเริ่มตั้งแต่โลกมีกําเนิดประมาณได้กว่า 4,500 ล้านปีมาแล้ว ระหว่างนั้นมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่และย่อยทั้ง ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางโครง สร้างของโลกและชีวประวัติ เพื่อความสะดวก นักวิทยาศาสตร์จึง ได้แบ่งธรณีกาลออกเป็นบรมยุค(eon) มหายุค (era) ยุค (period) สมัย (epoch) ช่วงอายุ ( age) และรุ่น (chron) ตามลําดับ  บรม ยุค (eon) ช่วงเวลาอันยาวนานไม่อาจกําหนดได้ในทางธรณีกาลหมายรวมมหายุคต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 บรมยุค คือ คริปโทโซอิก (Cryptozoic eon) โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic eon) และ ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon )  ก. บรมยุคคริปโทโซอิก (Cryptozoic eon) บรมยุคที่เก่าที่สุดของช่วงเวลาทางธรณีกาล มีช่วงอายุมากกว่า 2,500 ล้านปี มีความหมายเหมือนกับ Archaeozoic Eon)  ข. บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic eon) หมายถึงบรมยุคปลายช่วงเวลาก่อนยุคแคมเบรียน มีช่วงเวลาตั้งแต่ 2,500-570 ล้านปีมาแล้ว  ค. บรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon ) บรมยุคสุดท้ายของการแบ่งมาตราทางธรณีกาลนับตั้งแต่ 570 ล้านปีมาจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 3 มหายุค คือ มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิก และมหายุคชีโนโซอิก หินที่เกิดในบรมยุคนี้เรียกว่า หินบรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon )   มหายุค (era) หมายถึงช่วงเวลาอันยาวนานทางธรณีกาล ซึ่งประกอบด้วยมหายุค 4 ยุค คือ มหายุค พรีแคมเบรียน (Precambrain era) มหายุคพาลีโอโซอิก(Paleozoic era ) มหายุคมีโซโซิก (Mesozoic era) และมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era)   ก. มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) มหายุคแรกของธรณีกาล มีอายุก่อนยุคแคมเบรียน ในมหายุคพาลีโอโซอิก เริ่มตั้งแต่กําเนิดโลกจนถึง 570 ล้านปีมาแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตชั้นต่ําเริ่มเกิดขึ้นในตอนปลายของมหายุคนี้ แต่ส่วนมากไม่ทิ้งร่องรอยหรือหลักฐาน ที่ชัดเจนเหมือนซากดึกดําบรรพ์ในยุคแคม เบรียน หินที่เกิดขึ้นในยุคนี้เรียกว่า หินยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Erathem) ในบางแห่งช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนตามหลักฐานการหาอายุโดย กัมมันตรังสีเป็น 2 ช่วง คือ บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic Eon)ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 2,500 ถึง 570 ล้านปีมาแล้ว และบรมยุคคริป โทโซอิก ซึ่งมีอายุมากกว่า 2,500ล้านปี ขึ้นไป   ข. มหายุคพาลีโอโซอิก (paleozoic era) พาลีโอโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยโบราณ” เป็นมหายุคหนึ่งทางธรณีกาล อยู่ระหว่างมหายุค พรีแคมเบรียนกับมหายุคมีโซโซอิก มีอายุตั้งแต่ 570-245 ล้านปีมาแล้ว เป็นมหายุคที่พืชและสัตว์เริ่มมีวิวัฒนาการสูง สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในยุคนี้จะอยู่ในทะเล โดยมีสัตว์ที่ไม่กระดูกสันหลังอยูมากเป็นพิเศษรวมทั้งปลายุคดึกดําบรรพ์ ชีวิตของพืชบนบกเริ่มขึ้น ในตอนปลายยุคนี้ หินที่เกิดขึ้นในมหายุคนี้เรียกว่าหินยุคพาลีโอโซอิก(Paleozoic Erathem) ในตอนปลายของยุค แผ่นดินส่วนใหญ่รวมกันเป็นทวีปขนาดใหญ่เรียกว่า แพนเจียหรือแพงจีอานา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา สัตว์เลื้อยคลาน แมลงและสัตว์อื่น ๆ ครองแผ่นดินอยู่และกินพืชที่มีวิวัฒนาการ ขึ้นมาเป็นอาหาร เช่น ไลโคพอด คลับมอส ต้นหางม้าและเฟิร์น สัตว์หลายชนิดได้สูญพันธ์เป็นจํานวนมาก คลับ มอสเป็นพืชกลุ่มที่เรียกว่าไลโคพอด สืบพันธ์โดยการสร้างสปอร์ที่อยู่ในผลของมัน จัดเป็นตัวอย่างพืชบกโบราณ ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง และเสื่อมไปในตอนปลายมหายุคนี้ 
  • 4. 4 ค. มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) มีโซโซอิก หมายถึง “ชีวิตในตอนกลาง” เป็นมหายุคหนึ่งทางธรณีกาล อยู่ระหว่างมหายุคพาลีโอโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 245 ถึง 66.4 ล้านปีมาแล้ว เป็นมหายุคที่สัตว์เลื้อยคลานเจริญมาก บนดินมีไดโนเสาร์ บนฟ้ามีเทอโรซอร์ และในทะเลมีอิกทิโอซอร์ว่ายน้ํา อยู่กับพวกเบเลมไนต์และแอมโมไนต์ ทวีปแพนเจียเริ่มแยกออก หินที่เกิดในมหายุคนี้ เรียกว่า หินมหายุค มีโซโซอิก (Mesozoic Erathem )   ง. มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ซีโนโซอิก หมายถึง “ชีวิตในสมัยก่อน” เป็นมหายุคหนึ่งทางธรณีกาล อยู่ถัดขึ้นมาจากมหายุคมีโซโซอิก มีอายุตั้งแต่ 66 ล้านปีมาแล้วจนถึงปัจจุบันโลกค่อย ๆเปลี่ยนรูปทรงไปในยุคนี้ ทวีปอินเดียเคลื่อนที่ไปทางเหนือชนกับเอเชียเกิดเป็นเทือกเขาหิมาลัย เป็นมหายุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอกเจริญมาก ในทะเลมีพวกปลาก้างและเม่นทะเลอยู่มาก มนุษย์เกิดขึ้นในสมัยไพลสโตซีนในยุคนี้ หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic erathem)  ยุค (period) ช่วงเวลาทางธรณีกาล เป็นหน่วยย่อยของมหายุค มีช่วงเวลาค่อนข้างยาวนานพอที่จะเชื่อถือได้ทั่วโลก  ก. ยุคแคมเบรียน (Cambrian period) ยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 570-505 ล้านปี มาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มพบซากสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปะการัง หอย ฟองน้ํา ไทรโลไบต์ (trilobite) หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคแคมเบรียน(Cambrian System)  ข. ยุคออร์โดวิเชียน ( Ordovician) ยุคที่ 2 ของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่างยุคแคมเบรียนกับยุคไซลูเรียน มีช่วงอายุตั้งแต่ 505 ถึง 438 ล้านปี มาแล้ว ยุคนี้มีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังอยู่มาก หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคออร์โดวิเชียน(Ordovician System)  ค. ยุคไซลูเรียน (Silurian Period) ยุคที่ 3 ของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่างยุคออร์โดวิเชียนกับยุค ดิโวเนียน มีช่วงอายุตั้งแต่438 ถึง 408 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคแรกเริ่มของพืชบก หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคไซลูเรียน(Silurian system)  ง. ยุคดิโวเนียน ( Devonian Period) ยุคที่ 4 ของมหายุคพาลีโอโซอิกระหว่างยุคไซลูเรียนกับ ยุคคาร์บอนิเฟอร์รัสมีช่วงอายุตั้งแต่ 408 ถึง 360 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้มีปลาจําพวกต่าง ๆเจริญมาก บางทีเรียกว่า ยุคของปลา อิกไทโอสเตกาเป็นบรรพบุรุษของสัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก พันธ์แรกสุดมีปอดสําหรับ หายใจ มีหางเป็นครีบแบบเดียวกับปลา เฟิร์นที่พบในยุคนี้จัดเป็น เฟิร์นเก่าแก่ที่สุด หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคดิโวเนียน ( Devonian Period)  จ. ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ยุคที่ 5 ของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่างยุคดิโวเนียนกับยุคเพอร์เมียน มีช่วงอายุตั้งแต่ 360-286 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่เริ่มมีพืชมีเมล็ด เช่น อาร์เคโอซิลกิลลาเรีย สน เฟิร์น สัตว์เลื้อยคลานชนิดแรกและแมลง เนื่องจากพบถ่านหินมากจึงถือยุคนี้เป็นยุค ถ่านหิน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่าหินยุคคาร์บอนิเฟอรัส(CarboniferousSystem)  ฉ. ยุคถ่านหิน (Coal Ages) คือช่วงเวลาทางธรณีกาลที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเกิดถ่านหินมาก ทําให้ถ่านหินแหล่งใหญ่ ๆเกิดขึ้นในโลก ช่วงเวลาดังกล่าวมี 2 ช่วง คือยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนปลาย หรือ 325- 286 ล้านปีและช่วงเวลาติดต่อระหว่างยุคครีเทเชียส ถึง เทอร์เทียร์ หรือ 140-66 ล้านปี  ช. ยุคเพอร์เมียน (Permian Period) ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 286 – 245 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบกเจริญมาก บางทีเรียกยุคสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา หินที่เกิดขึ้นในยุคนี้เรียกว่าหินยุคเพอร์เมียน(Permian System)   ซ. ยุคไทรแอสซิก (Triassic Period) ยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 245-210 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคแรกเริ่มของ ๆ ไดโนเสาร์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กบเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคนี้ หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคไทรแอสซิก (Triassic System) 
  • 5. 5 ฉ. ยุคจูแรสซิก (Jurassic Period) ยุคที่ 2 ของมหายุคมีโซโซอิก อยู่ระหว่างยุคไทรแอสซิกกับยุคเทอเทียรี มีช่วงอายุตั้งแต่ 210 ถึง 140 ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้เป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลาน พืชที่อยู่ในยุคนี้ เช่น เฟิร์นโคนิออพเทอริสเฟิร์นไอโอไดด์หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคจูแรสซิก(Jurassic System)  ฌ. ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ยุคสุดท้ายของมหายุคมีโซโซอิก มีช่วงอายุตั้งแต่ 140-66.4 ล้านปีมาแล้ว เป็นยุคที่ไดโนเสาร์และสัตว์ขนาดใหญ่สูญพันธ์และมีสัตว์พวกไพรเมตเกิดขึ้น เป็นครั้งแรก สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธ์ในยุคนี้ได้แก่ มังกรทะเลสายพันธ์อิกทิโอซอร์ พลีซิโอซอร์ โมซาซอร์ หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่าหินยุคครีเทเชียส (Cretaceous System)   ฎ. ยุคเทอร์เทียรี(Tertiary Period) ยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิกอยู่ระหว่างยุคครีเทเชียสกับยุคควาเทอร์นารี มีช่วงอายุตั้งแต่ 66.4 –1.6 ล้านปีมาแล้ว  หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่าหินยุคเทอร์เทียรี ( tertiary Period)  ฏ. ยุคควอเทอร์นารี(Quaternary Period) ยุคที่ 2 ของมหายุคซีโนโซอิก มีช่วงอายุประมาณ 1.6 ล้านปีมาแล้ว แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือสมัยไพล สโตซีนกับสมัยโฮโลซีน ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนดินทรายบนผิวโลก นับตั้งแต่สิ้นยุคเทอร์เซียรีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคควอเทอร์นารี (Quaternary System)   สมัย (epoch) ช่วงเวลาทางธรณีกาลเป็นหน่วยย่อยของยุค(period)  ก. สมัยพาลีโอซีน(Palaeocene Epoch) สมัยแรกของยุคเทอร์เทียรี มีช่วงอายุตั้งแต่ 66.4 ถึง 57.8 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยแรกของสัตว์ในวงศ์ม้า หินที่เกิดในสมัยนี้เรียกว่าหินพาลีโอซีน(Palaeocene series)  ข. สมัยอีโอซีน (Eocene Epoch) สมัยที่ 2 ของยุคเทอร์เทียรีอยู่ระหว่างสมัยพาลีโอซีนกับสมัยโอลิโกซีน มีช่วงอายุตั้งแต่ 57.8 ปี ถึง 36.6 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยแรกเริ่มของช้าง และเป็นสมัยที่มีทุ่งหญ้าแพร่ กระจายไปทั่วโลก หินที่เกิดในสมัยนี้เรียก หินสมัยอีโอซีน( Eocene Series )  ค. สมัยโอลิโกซีน(Oligocene Epoch ) สมัยที่ 3 ของยุคเทอร์เทียรี อยู่ระหว่างสมัยอีโอซีนกับสมัยไมโอซีน มีช่วงอายุตั้งแต่ 36.6 ถึง 23.7 ล้านปี มาแล้ว เป็นสมัยแรกเริ่มของมนุษย์วานร หินที่เกิดสมัยนี้เรียกว่า หินสมัยโอลิโกซีน( Oligocene Series )  ง. สมัยไมโฮซีน (Miocene Epoch ) สมัยที่ 4 ของยุคเทอร์เทียรี อยู่ระหว่างสมัยโอลิโกซีนกับสมัยไพลโอซีน มีช่วงอายุตั้งแต่ 23.7 ถึง 5.3 ล้านปีมาแล้ว เป็นช่วงเวลาที่การก่อเทือกเขาแบบแอลป์เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ หินที่เกิดในสมัยนี้เรียกว่า หินสมัยไมโอซีน( Miocene Series )  จ. สมัยไพลโอซีน(Pliocene Epoch) สมัยสุดท้ายของยุคเทอร์เชียรี มีช่วงอายุตั้งแต่ 5.3 ถึง 1.6 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยแรกเริ่มของมนุษย์(Homo sapiens)หินที่เกิดในสมัยนี้เรียกว่า หินสมัยไพลโอซีน(Pliocene Series)  ฉ. สมัยไพลสโตซีน(Pleistocene Epoch ) สมัยที่ 1 ของยุคควาเทอร์นารี อยู่ระหว่างสมัยไพลโอซีน กับสมัยโฮโลซีน มีช่วงอายุตั้งแต่ 1.6 ถึง 0.01 ล้านปีมาแล้ว สมัยไพลสโตซีนมีธารน้ําแข็งเกิดขึ้นมากมาย หลายระยะจนมีสมญาว่าเป็นสมัยน้ํา แข็ง (ice age) หินที่เกิดในสมัยเรียกว่า หินสมัยไพลสโตซีน( Pleistocene Series)  ช. สมัยโฮโลซีน(holocene/Recent) สมัยที่ 2 ของยุคควอเทอร์นารี มีอายุตั้งแต่สิ้นสมัยไพลสโตซีน ซึ่งเป็นสมัยน้ําแข็งช่วงสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดขึ้นในสมัยนี้เรียกว่าหินสมัยโฮโลซีน(Holocene Series) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัตถุน้ําพา พีต เนินทราย ชั้นหอย และปะการัง ลําดับชั้นหินในประเทศไทย  
  • 6. 6 ก. หินมหายุคพรีแคมเบรียน ส่วนใหญ่หมายถึงหินแปรสภาพอย่างไพศาลซึ่งเป็นหินแปรเกรดสูงจําพวกหินออร์โทไนส์ (หินแอนนาเท็กไซต์หรือหินมิกมาไทต์) หินพาราไนส์ หินชีสต์ หินแคลก์ซิลิเกตและหินอ่อน พบแผ่กระจายตัวอยู่ตามแนวขอบตะวันตกของแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และทางภาคตะวันออกในเขตจังหวัดชลบุรี  ข. หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนล่าง ประกอบด้วยหินยุคแคมเบรียนถึงหินยุคดีโวเนียน หินชั้นเป็นพวกหินทราย หินดินดาน หินคาร์บอเนตและหินแปรเกรดต่ํา โดยจะโผล่ให้เห็นเป็นแนวยาวจากบริเวณภาคเหนือและ ภาคตะวันตกตอนบน ผ่านลงมาทางบริเวณภาคตะวันตกตอนล่างจนถึงสุดเขตภาคใต้ และทางบริเวณภา คตะวันออก กลุ่มหินที่สําคัญในบริเวณภาคใต้ได้แก่ กลุ่มหินตะรุเตายุคแคมเบรียน หินคาร์บอเนตกลุ่มหินปูน ทุ่งสงยุคออร์โดวิเชียน และกลุ่มหินตะนาวศรียุคไซลูเรียนถึงคาร์บอนิเฟอรัส  ค. หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน ประกอบด้วยหินยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงหินยุคเพอร์เมียน หินมหายุคนี้พบแผ่กระจายตัวอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ยกเว้นบริเวณที่ราบสูงโคราชเท่านั้น หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสส่วนใหญ่เป็นพวกหินทราย หินดินดานและหินโคลนปนกรวด มีหินเชิร์ตและหินปูนบ้าง ในขณะที่หินยุคเพอร์เมียนส่วนใหญ่เป็นหินปูนมีหินดินดาน หินทรายและหินเชิร์ตบ้าง ขอบเขตของหินปูน ยุคเพอร์เมียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนว แนวที่ปรากฏอยู่ ทางด้านซีกตะวันตกของประเทศรวมถึง บริเวณภาคใต้ด้วยนั้นกําหนดให้เป็นกลุ่มหิน ปูนราชบุรี ส่วนแนวที่ปรากฏทางตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ ส่วนใหญ่ของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรีจังหวัดนครสวรรค์และพื้นที่ตามแนวขอบที่ราบสูงโคราชด้านตะวัน ตกซึ่งมักพบว่ามีหินภูเขาไฟและหินอัลตราเมฟิกปนอยู่ด้วยได้รับการกําหนดให้ เป็นกลุ่มหินปูนสระบุรี กลุ่มหินปูนทั้งสองกลุ่มนี้ในปัจจุบันเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และ ก่อสร้างที่สําคัญของประเทศ สําหรับหินยุคเพอร์เมียนในบริเวณภาคเหนือใช้ชื่อเรียกว่ากลุ่มหินงาว  ง. หินมหายุคมีโซโซอิก ได้แก่ หินยุคไทรแอสซิก หินยุคจูแรสซิกและหินยุคครีเทเชียส ในช่วงยุคไทรแอสซิกเป็นการสะสมตัวของชั้นหินดินดาน หินปูน และหินทราย ในสภาพแวดล้อมภาคพื้นสมุทร ขอบเขตของหินยุคไทรแอสซิกที่พบส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่กลุ่มหินลําปาง แต่ก็มีปรากฏให้เห็นทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันออกและภาคใต้เช่นกัน สําหรับหินในช่วงยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียส นั้นเป็นพวกหินทราย หินทรายแป้ง หินดินดานและหินกรวดมน โดยชั้นหินมีลักษณะสีแดง บ่งบอกถึงสภาวะแวดล้อมภาคพื้นทวีป ขอบเขตหินยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียสแผ่ปกคลุมบริเวณที่ราบสูง โคราชทั้งหมด จึงกําหนดชื่อให้เป็นกลุ่มหินโคราช ส่วนเป็นบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ และในบางพื้นที่ของภาคตะวันตกตอนบน ภาคตะวันตกตอนล่างและบริเวณภาคใต้นั้นเป็นพวกหินดินดานและ หินปูนยุคจูแรสซิก เกิดสะสมตัวในสภาวะแวดล้อมภาคพื้นสมุทร  จ. หินมหายุคซีโนโซอิก ประกอบด้วยหินยุคเทอร์เชียรีและหินยุคควอเทอร์นารี หินมหายุคนี้เป็นหินที่ สะสมตัวบนบกและในทะเลลึกของแอ่งที่จมตัวลงไปในลักษณะ เป็นบล็อกกึ่งกราเบนซึ่งวางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้ ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลการยกตัวของแผ่นดินและการเกิดรอยเลื่อนในช่วงที่ แผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนตัว ขึ้นมาชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเมื่อ ประมาณ 40-50 ล้านปีที่ผ่านมา ชั้นหินภายในแอ่งเทอร์เชียรี ประกอบด้วยพวกหินทราย หินดินดานและหินโคลน แอ่งเทอร์เชียรีที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั้งบนบกและในทะเล ทั่วประเทศกว่า 60 แอ่งนี้มีความสําคัญทางเศรษฐกิจด้านแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงเพราะเป็นแหล่ง ถ่านหิน ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทยปกคลุมด้วยชั้นตะกอน ยุคควอเทอร์นารีซึ่งเป็นตะกอนสะสมตัวที่ยัง ไม่แข็งเป็นหิน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยตะกอน กรวด ทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว ชั้นศิลาแลงและเศษหิน ที่ผุพังจากหินเดิม เนื่องจากขบวนการกัดกร่อนทําลายและ
  • 7. 7 พัดพาทางธรณีวิทยาโดยอิทธิพลของ กระแสน้ําและกระแสลม แล้วเกิดการสะสมตัวบนตะพักลุ่มน้ํา บริเวณที่ราบน้ําท่วม ชายฝั่งทะเลและในทะเลสาบ  ฉ. หินอัคนี ในประเทศไทยเท่าที่สํารวจ พบว่ามีหลายชนิดและหลายช่วงอายุตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ถึงมหายุคซีโนโซอิก แบ่งออกได้เป็นสามแนว ได้แก่ แนวตะวันออก แนวตอนกลางและแนวตะวันตก ส่วนใหญ่เป็นพวกหินแกรนิต และหินภูเขาไฟ โดยมีหินเมฟิกและอัลตราเมฟิกรวมอยู่ด้วย โผล่ให้เห็นเป็นบริเวณ แคบๆ ตามแนวตะเข็บรอยต่อธรณี (suture)ในเขตจังหวัดน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนราธิวาส วิธีดําเนินงาน แนวทางการดําเนินงาน 1. เลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ 2. วางโครงร่างของโครงงาน 3. สืบค้นข้อมูล 4. รวบรวมข้อมูล 5. วิเคราะห์ข้อมูล 6. จัดทําสื่อกานําเสนอ 7. นําเสนอ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 1. Computer 2. Internet 3. หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา และ ดาราศาสตร์ งบประมาณ - ขั้นตอนและแผนดําเนินงาน ลําดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 12 1 3 1 4 1 5 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล 3 จัดทําโครงร่างงาน 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน 5 ปรับปรุงทดสอบ 6 การทําเอกสารรายงาน 7 ประเมินผลงาน 8 นําเสนอโครงงาน
  • 8. 8 ผลที่คาดว่าจะได้รับ - คณะผู้จัดทําเข้าใจเนื้อหาที่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง และ สามารถเผยแพร่ข้อมูลแก่บุคคลอื่นอย่างถูกต้อง - คณะผู้จัดทําสามารถนําความรู้ที่ได้รับไปศึกษาเพิ่มเติมและประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม - ผู้ที่ศึกษาโครงงานเกิดความเข้าใจและมีความรู้ที่สามารถนําไปเผยแพร่ต่อได้ สถานที่ดําเนินการ ห้อง Computer โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และ บ้านของคณะผู้จัดทํา กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 1. ชีววิทยาชีววิทยา 2. ดาราศาสตร์ 3. คอมพิวเตอร์ แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นํามาใช้การทําโครงงาน) - https://sites.google.com/site/earthkrupongchaicr/thrni-prawati - http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geologic-time/fossil