SlideShare a Scribd company logo
แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่ วยโรคไข้รูมาติกในประเทศ
ไทย
(A Thai Guideline in the Diagnosis and Management of Acute Rheumatic Fever)
มนัส ปะนะมณฑา, ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน, กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล, สุเทพ วาณิชย์กุล, สมเกียรติ
โสภณธรรมรักษ์, ยุพดา พงษ์พรต, เฉลิมเกียรติ ตันตระกูล, ศุภชัย ถนอมทรัพย์, ทรงขวัญ ศิลารักษ์, เพ็ญ
ทิพย์ศุภโชคชัยวัฒนา, อรรฆิศา ไชกิจภิญโญ
ในปัจจุบันโรคไข้รูมาติกยังเป็นปัญหาสาคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย1-
2
เนื่องจากยังมีปัญหาในการวินิจฉัยและการรักษาที่หลากหลาย ดังนั้นสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศ
ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมติมอบหมายให้ชมรมกุมารแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยจัดทา แนว
ทางการปฎิบัติมาตรฐาน (Guideline) เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกในประเทศไทย
โดยมีคณะกรรมการที่มาจากอายุรแพทย์โรคหัวใจร่วมจัดทา Guideline ด้วย
Guideline นี้จะมีประโยชน์มากสาหรับการกาหนดแนวทางปฎิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยและการ
ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับ กุมารแพทย์กุมารแพทย์โรคหัวใจ อายุร
แพทย์อายุรแพทย์โรคหัวใจ แพทย์ทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศในการวินิจฉัยและการดูแล
รักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก (Rheumatic fever) อย่างมีหลักเกณฑ์ได้แก่
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับปัญหาของโรคไข้รูมาติกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งในด้านการ
รักษาพยาบาลและด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กาลังพัฒนาเช่นประเทศไทยที่มี
อุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคในอัตราที่สูง
2. ลดอัตราการเกิดโรคซ้าและลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจรูมาติก
3. เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย
วิธีการสร้าง Guideline นี้ประกอบด้วยการทบทวนผลงานวิจัยและแนวทางเวชปฏิบัติที่มีอยู่เดิม
นามาวิเคราะห์
Level of evidence คือสาระสาคัญและแหล่งที่มาของผลการศึกษาได้ถูกจัดระดับของความน่าเชื่อถือเป็น
5 ระดับ ดังนี้
A: systemic review of randomized controlled clinical trials (RCT), or large RCT
B: smaller randomized controlled clinical trial
C: systemic review of cohort studies, or prospective, controlled, nonrandomized cohort studies,
systemic review of case-control studies, or individual case-control study, descriptive studies or case series
D: Expert opinion, case reports
Class of recommendations คือความเหมาะสมที่จะนาไปประยุกต์ใช้ คาแนะนาวิธีปฏิบัติมีระดับ
ของความมั่นใจ (class of recommendations) แบ่งได้เป็น 4 classes
Strong recommendation เป็นระดับของความมั่นใจว่า procedure หรือ treatment นั้นควรกระทา
โดยมี benefit >>>harm
Recommendation เป็นระดับของความมั่นใจว่า procedure/treatment นั้น มีแนวโน้มไปทาง
benefit, useful และ effective โดยมี benefit>>harm ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติม
Option เป็นระดับของความไม่ค่อยมั่นใจว่า procedure/treatment นั้น มีแนวโน้มไปทาง benefit,
useful และ effective แต่ยังมี benefit>harm และควรมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมในหลายแง่หลายมุม
No recommendation เป็นระดับของความมั่นใจว่า procedure/treatment นั้นไม่ควรกระทาโดยมี
harm>benefit
วิธีการจัดทา guideline นี้เริ่มโดยคณะกรรมการจัดทาได้เตรียมบทความเบื้องต้น (draft) ต่อมา
นาเสนอบทความเบื้องต้นนี้เข้าที่ประชุมของคณะกรรมการชมรมกุมารแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย
และนามาปรับปรุงบทความให้สมบูรณ์มากขึ้น ต่อมาได้นาบทความที่ได้ปรับปรุงแล้วนาเสนอคณะที่
ปรึกษาที่มีความชานาญเรื่องโรคไข้รูมาติกเพื่อตรวจแก้ไข หลังจากนั้นคณะกรรมการจัดทาได้สรุปและ
นาเสนอต่อคณะกรรมการสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและ
คณะกรรมการจัดทาจะนาข้อคิดเห็นต่างๆมารวบรวมเพื่อพิมพ์รายงานฉบับสมบูรณ์ และเผยแพร่ไปยัง
องค์กรทางการแพทย์ต่างๆต่อไป
บทนา
ไข้รูมาติก (Acute rheumatic fever) เป็นกลุ่มอาการที่มีการอักเสบของระบบอวัยวะต่างๆของ
ร่างกายหลายแห่งได้แก่ หัวใจ (carditis) ข้อ (polyarthritis) สมอง (Sydenham’s chorea) ใต้หนัง
(subcutaneous nodules) และผิวหนัง (erythema marginatum)1-3
โรคนี้เกิดตามหลังการติดเชื้อ beta-
hemolytic streptococcus group A ในลาคอ (streptococcal pharygitis)2,4
โดยมีอาการตามหลังการติดเชื้อ
beta-hemolytic streptococcus group A (latent period) ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึงหลายเดือน
โรคไข้รูมาติกมีความรุนแรงแตกต่างกันมากตั้งแต่มีอาการไม่รุนแรงไปจนถึงมีอาการรุนแรงมาก
จนถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับความรุนแรงของการอักเสบของหัวใจ (carditis) กรณีที่มี
หัวใจอักเสบร่วมด้วยและมีอาการรุนแรงมากอาจทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าการเสียชีวิตจากหัวใจ
อักเสบจะพบได้ไม่บ่อย แต่การอักเสบของหัวใจมักก่อให้เกิดความพิการถาวรของหัวใจ ที่เรียกว่าโรคหัวใจ
รูมาติก (rheumatic heart disease) ผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติกที่มีอาการรุนแรงมาก จะศึกษาเล่าเรียนได้ไม่เต็ม
ความสามารถหรือทางานได้ไม่เต็มศักยภาพและอาจกลายเป็นคนทุพพลภาพไม่สามารถประกอบอาชีพได้
หรือถึงขั้นเสียชีวิต5-36
แนวทางปฏิบัตินี้ จะครอบคลุมเรื่องการวินิจฉัยและการบาบัดรักษาโรคไข้รูมาติก รวมทั้งการป้ องกันทุติย
ภูมิ (secondary prevention) แต่จะไม่ครอบคลุมในรายละเอียดเรื่องการป้ องกันปฐมภูมิ (primary prevention)
และการป้ องกันโรคด้วยวัคซีนเพื่อการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ถึงแม้ว่า
การป้ องกันปฐมภูมิและการป้ องกันโรคด้วยวัคซีน อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้ องกันและควบคุมการเกิด
โรคแต่ในทางปฏิบัติทาได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กาลังพัฒนาและยังไม่คุ้มค่าในการค้นหาและ
รักษาผู้ป่วยโรคคออักเสบจากเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ในชุมชน37-38
1. การวินิจฉัย (Diagnosis)
1.1 อาการแสดงทางคลินิกของโรคไข้รูมาติก อาการแสดงทางคลินิกในระยะเฉียบพลันของโรค
(acute attack) เกี่ยวข้องกับหลายระบบอวัยวะ ได้แก่ หัวใจ (heart) ข้อ (joints) สมอง (brain) ผิวหนัง (skin)
และ เนื้อเยื่อใต้หนัง (subcutaneous tissue)1-4, 6
1.1.1 หัวใจอักเสบ (Carditis)
หัวใจอักเสบพบได้ทุกชั้นของเนื้อเยื่อหัวใจ ได้แก่เยื่อบุหัวใจ (endocardium) กล้ามเนื้อหัวใจ
(myocardium) และ เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium)
อาการแสดงของอาการผิดปกติทางหัวใจ ส่วนใหญ่จะพบได้จากการฟัง (auscultation)ได้แก่ การ
ตรวจพบเสียงฟู่ของหัวใจ (heart murmur) และในบางครั้งอาจตรวจพบเสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มหัวใจ
(pericardial friction rub)6,36
สิ่งตรวจพบที่แสดงภาวะหัวใจอักเสบในผู้ป่วยคือเยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis หรือ
valvulitis) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis)1,3,6,36,39-40
ตารางที่ 1. อาการแสดงทางคลินิกของหัวใจอักเสบ
ชนิดของหัวใจอักเสบ การตรวจพบทางคลินิก
Endocarditis/Valvulitis Apical pansystolic murmur, apical mid-diastolic
murmur (Carey Coombs murmur), basal early diastolic
murmur
Myocarditis Cardiomegaly, congestive heart failure
Pericarditis Pericardial friction rub, echocardiographic evidence of
pericardial effusion with endocarditis/valvulitis
1.1.2 ข้ออักเสบ (Arthritis)
อาการข้ออักเสบเป็นอาการหลักของโรคไข้รูมาติกที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 30-79 ของผู้ป่วย
โรคไข้รูมาติก40-42
อาการข้ออักเสบพบได้ในระยะแรกๆของการเกิดโรคไข้รูมาติกและเป็นอาการนาที่ทาให้
ผู้ป่วยไปพบแพทย์เนื่องจากอาการข้ออักเสบจากโรคไข้รูมาติกจะมีอาการปวดที่ทรมานมาก6,36
ถ้าเป็นการ
ปวดที่ขา ผู้ป่วยจะเดินลาบาก36
อาการข้ออักเสบมีแนวโน้มที่จะเป็นในคนอายุมาก เช่น วัยรุ่นและผู้ใหญ่แต่
อาการหัวใจอักเสบและอาการเคลื่อนไหวผิดปกติมีแนวโน้มที่จะเป็นกับเด็กอายุน้อยๆ4,36,43
ตารางที่ 2. อาการแสดงทางคลินิกของข้ออักเสบ
อาการแสดง Painful,tenderness, swelling, limitation of movement, warm
ข้อที่พบ Migratory, large joints
การตอบสนองต่อการรักษา Very responsive to salicylate and NSAID therapy
1.1.3 อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s chorea)
อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s chorea หรือ St. Vitus’ dance หรือ chorea minor หรือ rheumatic
chorea) เป็นความผิดปกติทางระบบประสาท (neurological disorder) ซึ่งประกอบด้วย การเคลื่อนไหว
ผิดปกติ (involuntary movements) กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscular weakness) และมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง
(emotional disturbances) อาการผิดปกตินี้พบได้ร้อยละ 1-20 ของผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก36,41-42,44-45
และพบใน
เด็กผู้หญิงก่อนวัยสาวมากกว่าเด็กผู้ชาย1,36
ตารางที่ 3. อาการแสดงทางคลินิกของ Sydenham’s chorea
ลักษณะทั่วไป Involuntary movements, muscular weakness, emotional disturbances
อาการแสดง peculiar facial expression, inappropriate smiling, clumsy handwriting,
slurred speech
การตรวจพบทางระบบ
ประสาท
Milkmaid sign, darting tongue, pronator sign, spooning or dishing of the
hand, choreic hand, pendular knee jerks, hypotonia, jerkiness and
explosiveness of speech, facial grimacing, inappropriate behavior,
restlessness, transient psychosis, no sensory or pyramidal track
involvements
1.1.4 ปุ่ มใต้หนัง (Subcutaneous nodules)
ความชุกของการเกิดปุ่มใต้หนังในผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกมีความแตกต่างกันในแต่ละรายงานและใน
แต่ละประเทศ โดยพบประมาณร้อยละ 1-96,37,41
ปุ่มใต้หนังที่เกิดจากโรคไข้รูมาติกมักจะเกิดภายใน 2-3
สัปดาห์แรกของโรค6
ลักษณะปุ่มใต้หนังจะเป็นปุ่มกลมๆ ลักษณะแข็งประมาณเทียบเท่าความแข็งของ
ยางลบ เคลื่อนไหวได้สะดวกไม่ติดแน่นกับผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้หนัง
ตารางที่ 4. อาการแสดงทางคลินิกของปุ่มใต้หนัง
ขนาด ตั้งแต่ 0.3-2 เซนติเมตร
บริเวณที่พบ ใต้ผิวหนังบริเวณที่ห่อหุ้มกระดูกที่เห็นได้เด่นชัด (bony prominence) หรืออยู่บน
เอ็นของกล้ามเนื้อ extensor บริเวณที่พบบ่อยได้แก่ ศอก หลังมือ หัวเข่า ข้อเท้า
และเอ็นร้อยหวาย อาจพบได้ที่บริเวณหลังศีรษะ เช่น บริเวณท้ายทอย และที่
บริเวณกระดูกสันหลัง
อาการที่พบร่วม Carditis
1.1.5 ผื่นแดงที่ผิวหนัง (Erythema marginatum)
ผื่นแดงที่ผิวหนังมักจะปรากฏในระยะแรกของไข้รูมาติก พบได้ประมาณร้อยละ 0-16 ของผู้ป่วย
โรคไข้รูมาติก
ตารางที่ 5. อาการแสดงทางคลินิกของผื่นแดงที่ผิวหนัง
ขนาด ตั้งแต่ 1-3 เซนติเมตร
บริเวณที่พบ ลาตัวหรือแขนขาส่วนต้น
อาการที่พบร่วม Carditis
1.1.6 อาการอื่นๆ (Other manifestations)
1.1.6.1 อาการไข้ (Fever)
อาการไข้สูงมักเป็นในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูง 38.4 - 40 องศาเซลเซียส
หลังจากไข้สูงหลายวันไข้จะค่อยๆลดต่าลงเป็นปกติ หรือเกือบเป็นปกติในระยะเวลาไม่เกิน 2-
3 สัปดาห์ อาการไข้สูงมักพบในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการข้ออักเสบรูมาติก (polyarthritis) และไข้ต่าๆมักพบใน
ผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบอย่างเดียว (isolated carditis) แต่มักไม่พบอาการไข้ในผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
อย่างเดียว (pure Sydenham’s chorea)6,36
1.1.6.2 อาการปวดข้อ (Arthralgia)
อาการปวดข้อ (arthralgia) โดยไม่มีอาการแสดงของการอักเสบอื่นๆได้แก่ กดเจ็บ บวมแดงและ
ร้อน มักจะเกิดกับข้อใหญ่ๆและปวดหลายข้อ โดยเริ่มต้นปวดที่ข้อใดข้อหนึ่งก่อนแล้วย้ายไปปวดที่อีกข้อ
หนึ่ง6,36
1.1.6.3 อาการปวดท้อง (Abdominal pain)
อาจจะพบในโรคไข้รูมาติกที่มีหัวใจอักเสบและมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วยโดยอาการปวดท้องเป็นผล
จากอาการตับโต
1.1.6.4 เลือดกาเดาไหล (Epistaxis)
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดกาเดาไหลอย่างรุนแรงจากการที่โรคไข้รูมาติกทาให้เกิดอักเสบของ
หลอดเลือดหรืออาจเนื่องมาจากการใช้ยา salicylate ในการรักษาโรคไข้รูมาติกทาให้มีอาการเลือดออกง่าย
และเลือดไหลหยุดยาก (bleeding tendency)
1.1.6.5 อาการทางคลินิกอื่นๆ
อาการเบื่ออาหาร (anorexia) คลื่นไส้ (nausea) และอาเจียน (vomiting) พบได้บ้างและส่วนใหญ่เป็น
ผลเนื่องมาจากภาวะหัวใจวายหรือ salicylate toxicity อาการอ่อนเพลีย (fatigue) มักจะไม่ชัดเจนและพบได้
ไม่บ่อย แต่มักพบในผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย6,36
Erythema nodosum, pleurisy และ rheumatic pneumonia พบไม่บ่อยในปัจจุบัน อาการอื่นๆที่อาจ
พบได้คือ รู้สึกไม่สบาย เจ็บหน้าอกและซีด เป็นต้น36
1.2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory tests)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้รูมาติกมี 3 ประเภทคือ (1) การ
ตรวจว่ามีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ในเวลาที่ผ่านมาไม่นาน (recent streptococcal
infection) (2) การตรวจว่ามีการอักเสบ และ (3) การตรวจที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยอาการทางคลินิก
1.2.1 การตรวจว่าเคยมีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A (recent
streptococcal infection)
1.2.1.1 การเพาะเชื้อที่ลาคอ (throat culture)
เพาะเชื้อในลาคอขึ้นเป็นเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A อาจมีความเป็นไปได้ว่ามีการ
ติดเชื้อจริง (infection) หรือเป็นเพียงพาหะของเชื้อ (carrier)40-41,43
1.2.1.2 การตรวจ Streptococcal antibodies
การตรวจหา streptococcal antibodies จะมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ beta-
hemolytic streptococcus group A มาก่อน (prior streptococcal infection) ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นไข้รูมาติก
หรือมีอาการเข้าได้กับโรคไข้รูมาติก ควรได้รับการตรวจหาค่าของ streptococcal antibodies ทุกราย2,36-
37,40,43,46,47
โดยทั่วไปค่าของ streptococcal antibodies ที่มีค่าสูงในช่วงที่มีอาการของโรคไข้รูมาติกจะเริ่มมีค่า
ลดลงประมาณ 1-2 เดือนหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการของโรค ดังนั้น streptococcal antibodies จึงมีประโยชน์
ในการวินิจฉัยในขณะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ41,43,47
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจอักเสบแบบค่อยเป็นค่อยไป
(insidious rheumatic carditis) ซึ่งมักจะตรวจพบหลังการเริ่มต้นของไข้รูมาติกเป็นเวลาหลายเดือน ทาให้
streptococcal antibodies มีค่าไม่สูงหรือมีค่าปกติได้2
ในผู้ป่วยที่มีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s
chorea) ก็เช่นเดียวกัน อาการอาจเกิดตามหลังการติดเชื้อ สเตรปโตค็อกคัสเป็นเวลาหลายเดือน45
ในขณะที่
ผลของ streptococcal antibodies อาจกลับคืนมาเป็นปกติหรือมีค่าไม่สูงเช่นเดียวกับกรณีของผู้ป่วยที่มีภาวะ
หัวใจอักเสบแบบค่อยเป็นค่อยไป2
1.2.1.2.1. การตรวจหา antistreptolysin O (ASO) titer
การตรวจ ASO titer เป็นการตรวจที่มีมาตรฐานสูงและเป็นที่นิยมตรวจกันในห้องปฏิบัติการทั่วไป
6,36
ระดับ ASO titer จะเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 หลังการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสที่คอ47
โดยจะค่อยๆเพิ่ม
จนถึงค่าสูงสุดประมาณ 3–5 สัปดาห์หลังการติดเชื้อและจะค่อยๆลดลงจนปกติในเวลาประมาณ 6 เดือน
43
เนื่องจากค่า ASO titers มีทั้งขาขึ้น และลง ดังนั้นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากกว่า 2 ระดับ (tube dilutions)
ในการตรวจเลือด 2 ครั้ง สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยเคยมีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A มา
ก่อนแล้ว36
หรือในกรณีที่ตรวจโดยการวัดค่า titers (โดยไม่ได้ใช้ tube dilution) การแปลผลว่า titer เพิ่มขึ้น
หรือลดลงจะใช้ หลักการเดียวกันกับ tube dilution การเปลี่ยนแปลงของ titers ที่มากกว่า 0.2 log ของระดับ
titers36
การตรวจการเปลี่ยนแปลงของ titers ถ้าจะให้เชื่อถือได้ควรนา serum ของผู้ป่วยรายเดียวกันที่เก็บ
จากผู้ป่วยในช่วงเวลาต่างกัน (เช่น เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการและอีก 2 สัปดาห์ต่อมา เป็นต้น) ทาการตรวจใน
คราวเดียวกัน (the same run)1,36
เพื่อจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างได้ ค่า ASO titers อาจจะไม่สูงใน
ผู้ป่วยที่เป็น pure chorea หรือหัวใจอักเสบชนิดค่อยเป็นค่อยไป (insidious rheumatic carditis) เพราะเมื่อ
ผู้ป่วยเริ่มเข้ามารักษา ค่า ASO titers ที่เคยขึ้นสูงได้ลดลงสู่ระดับปกติแล้ว2
1.2.1.2.2. การตรวจหา antideoxyribonuclease B (Anti-DNase B) titer
การตรวจ anti-DNase B titer เป็นการตรวจที่มีมาตรฐานสูงเช่นเดียวกับ antistreptolysin O titer และ
เป็นที่นิยมตรวจกันในห้องปฏิบัติการทั่วไป ในปัจจุบันการตรวจหา antideoxyribonuclease B titerได้เข้ามา
แทนที่ antistreptokinase test และ antihyaluronidase test เพราะเชื่อถือได้มากกว่า36
1.2.2 การตรวจว่ามีการอักเสบ
โรคไข้รูมาติกเป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและมีการตรวจหลายชนิดที่ช่วย
ในการวินิจฉัยว่ามีการอักเสบหรือไม่และรุนแรงเพียงใด
Erythrocyte sedimentation rate (ESR) และ C-reactive protein test (CRP) เป็นการตรวจที่รู้จัก
กันดีและใช้กันทั่วไป การตรวจทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่มีความเฉพาะเจาะจงสาหรับโรคไข้รูมาติก แต่มีความไว
(sensitive) ที่จะบอกว่ามีการอักเสบ (inflammatory process)
1.2.3 การตรวจที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยอาการทางคลินิก
1.2.3.1 คลื่นไฟฟ้ าหัวใจ (Electrocardiogram)
PR interval ที่ยาวกว่าปกติ (prolonged PR interval หรือ first degree AV block) พบได้ร้อยละ 28-40
ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้รูมาติกและเป็นความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบได้บ่อยกว่าความผิดปกติของ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดอื่นๆ ที่สาคัญอีกประการหนึ่ง คือ prolonged PR interval เป็น minor criterion ของ
Updated Jones criteria, 199211
1.2.3.2 ภาพถ่ายรังสี (X ray)
ในผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบ (carditis) อาจพบเงาหัวใจโตกว่าปกติ และมีลักษณะการคั่งของเลือดใน
ปอด (pulmonary congestion)36
1.2.3.3 คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography)
ลักษณะของ physiological regurgitation จะมี regurgitant flow อยู่ใกล้ๆกับระดับของลิ้นหัวใจและ
ห่างไม่เกิน 1 ซม. ลักษณะของ flow จะสั้นๆ พื้นที่ของ flow เล็ก
1.2.3.3.1. การวินิจฉัยโรคหัวใจอักเสบจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของช่องหัวใจ ลิ้นหัวใจที่หนา ลิ้นหัวใจที่โป่ง การ
สบของลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิทจากการที่มี verucae53
การเคลื่อนไหวของลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ
และการทางานของกล้ามเนื้อหัวใจ48-56
รายงานจากอินเดียในผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกที่มีหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (acute rheumatic carditis)
สามารถตรวจพบปุ่มเล็กๆ (focal nodules) ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่บริเวณลิ้นหัวใจ (บริเวณ bodies
และ tips ของ mitral valve leaflets) ในช่วงที่มีการอักเสบของหัวใจและปุ่มเหล่านี้หายไปเมื่อผู้ป่วยดีขึ้นจาก
โรคไข้รูมาติก (level of evidence: C)50
1.2.3.3.2. ความรุนแรงของลิ้นหัวใจรั่ว
ความรุนแรงของลิ้นหัวใจรั่ว ถูกจัดเป็น 6 ระดับ ได้แก่ (0, 0+, 1+, 2+, 3+ และ 4+) โดยประเมินจาก
ผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ และเปรียบเทียบกับผลการฉีดสีในห้องตรวจสวนหัวใจ (Level of
evidence: D)43
จากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ความรุนแรงของลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วและ ลิ้นเอออร์ติกรั่ว
สามารถแบ่งได้ดังนี้36,43,48
0: คือ ไม่มีลิ้นหัวใจรั่วและรวมถึง physiological หรือ trivial regurgitant jet น้อยกว่า 1 ซม. ขนาด
ของ jet แคบ (narrow) เล็ก (small) มีช่วงเวลาสั้น (short duration) และ ที่ mitral valve เป็นลักษณะ early
systolic หรือ ที่ aortic valve เป็นลักษณะ early diastolic
0+: very mild regurgitant jet ความยาวของ jet มากกว่า 1 ซม. ขนาดของ jet กว้างขึ้น โดย jet จะอยู่
ติดกับลิ้นหัวใจ ความกว้างของ jet จะกว้างตลอดระยะ systole ในกรณีของ mitral valve หรือ ความกว้างของ
jet จะกว้างตลอดระยะ diastole ในกรณีของ aortic valve โดยที่ผู้ป่วยเหล่านี้ตรวจร่างกาย ไม่พบเสียงฟู่ของ
หัวใจ (no audible heart murmur)
1+: mild regurgitant jet ความยาวของ jet มากกว่า 1 ซม. ขนาดของ jet กว้างกว่า 0+ jet โดยที่
ผู้ป่วยเหล่านี้ตรวจร่างกายพบเสียงฟู่ของหัวใจ
2+: moderate regurgitant jet โดยขนาดของ jet ยาวกว่า 1+ jet และ ขนาดของ jet กว้างกว่า 1+ jet
พื้นที่ของ jet กว้างกว่า 1+ jet
3+ : moderately severe regurgitant jet ความยาวของ jet ยาวตลอดความยาวของหัวใจห้องซ้ายบน
(left atrium) ในกรณีของ mitral regurgitation หรือยาวตลอดความยาวของหัวใจห้องซ้ายล่าง (left ventricle)
ในกรณีของ aortic regurgitation
4+: severe regurgitant jet พื้นที่ของ jet ครอบคลุมทั่วหัวใจห้องซ้ายบนทั้งหมด และไหลย้อนกลับ
เข้าไปใน pulmonary veins ในกรณีของ mitral regurgitation และพื้นที่ของ jet กระจายเต็มหัวใจห้องซ้ายล่าง
ในกรณีของ aortic regurgitation36,43
1.2.3.3.3. การวินิจฉัย subclinical rheumatic carditis
การตรวจ color Doppler echocardiography สามารถพบ significant mitral regurgitation หรือ aortic
regurgitation ในผู้ป่วยที่ไม่มีเสียงฟู่ของหัวใจ ลักษณะของ color Doppler echocardiogram ที่แสดง
subclinical rheumatic carditis ได้แก่ (1) ความยาวของ regurgitant jet มากกว่า 1 ซม. (2) regurgitant jet
ปรากฏให้เห็นได้ตั้งแต่ 2 planes ขึ้นไป (3) มี mosaic color jet และมี peak velocity มากกว่า 2.5 เมตรต่อ
วินาที และ (4) ใน mitral regurgitation พบ jet กว้างตลอดช่วง systole และใน aortic regurgitation พบ jet
กว้างตลอดช่วง diastole (Level of evidence: D)1,36,43,48
Subclinical carditis สามารถพบได้ในผู้ป่วย Sydenham’s chorea และ polyarthritis
1.2.3.3.4. การติดตามผู้ป่ วยที่มีหัวใจอักเสบ
การใช้คลื่นเสียงสะท้อนตรวจหัวใจในการติดตามผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบ พบว่า color Doppler
echocardiography มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย subclinical valvulitis และ มีประโยชน์ในการช่วยติดตาม
ภาวะ rheumatic valvular heart disease1
(level of evidence: C)
1.2.3.4 Radionuclide imaging
Radionuclide techniques เป็นการตรวจหาความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือดชนิดที่ไม่
invasive ใช้ศึกษาพยาธิวิทยาของภาวะหัวใจอักเสบจากโรคไข้รูมาติกซึ่งอาจมีการอักเสบของกล้ามเนื้อ
หัวใจร่วมด้วย43
การใช้ Gallium-67 เพื่อ label เม็ดเลือดขาว สามารถใช้ตรวจภาวะหัวใจอักเสบจากไข้รูมาติกได้และ
ยังเป็นการตรวจเพื่อการวิจัยเท่านั้น54
1.2.3.5 Endomyocardial biopsy
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) เป็นอาการหนึ่งของอาการหัวใจอักเสบในโรคไข้รูมาติก จึงได้
มีการศึกษาบทบาทของ endomyocardial biopsy ในการวินิจฉัยโรคหัวใจอักเสบจากไข้รูมาติก การทา
endomyocardial biopsy ในผู้ป่วยหัวใจอักเสบจากโรคไข้รูมาติกพบ interstitial inflammation ในผู้ป่วยที่มี
หัวใจอักเสบไม่รุนแรงจะพบ mononuclear cells อยู่รอบๆหลอดเลือดและในผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบรุนแรง
จะพบมีการรวมกลุ่มของ histiocytes และมี Aschoff nodules36,43
1.2.3.6 Magnetic resonance imaging (MRI) และ Single photon emission
computed tomography (SPECT)
มีรายงานความผิดปกติที่ basal ganglia ในผู้ป่วยบางรายที่เป็น Sydenham’s chorea จากการตรวจ
สมองด้วย MRI และ SPECT30
(level of evidence: C)
1.3 การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก
การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกใช้ Jones criteria ที่กาหนดโดย Dr. T. Duckett Jones เมื่อปี ค.ศ. 194415
และในปี ค.ศ.1992 สมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้มีการแก้ไขเป็น Jones criteria (updated) โดยใช้
หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการติดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A มาประกอบในการวินิจฉัย
ถึงแม้ว่า Jones criteria จะถูกทบทวนหลายครั้ง แต่การทบทวนในแต่ละครั้ง ไม่ได้กระทาบนพื้นฐานของ
prospective studies แต่ถูกพิจารณาโดยใช้พื้นฐานของข้อกาหนดที่ตั้งไว้ในครั้งก่อนๆ36,43
(Level of
evidence: D)
ตารางที่ 6. The Jones criteria for Rheumatic Fever, Updated 1992
Major Criteria Minor Criteria
Carditis
Migratory polyarthritis
Sydenham’s chorea
Subcutaneous nodules
Erythema marginatum
Fever
Arthralgia
Elevated acute phase reactants
Prolonged PR interval
Plus Supporting evidence of a recent group A streptococcal infection (e.g., positive throat culture
or rapid antigen detection test; and/or elevated or increasing streptococcal antibody titers)
ใน 1992 updated Jones criteria นั้น การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกซ้าสามารถให้การวินิจฉัยในผู้ป่วยที่
เคยเป็นโรคไข้รูมาติกหรือโรคหัวใจรูมาติกร่วมกับมี 1 major criterion หรือมีหลาย minor criteria และ
ร่วมกับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A มาก่อน
2 นอกจากนั้นใน 1992 updated Jones criteria ยังไม่กาหนดบทบาทของคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจในการให้
การวินิจฉัยภาวะหัวใจอักเสบจากโรคไข้รูมาติก2 ผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจจะช่วยสนับสนุนการ
แปลผลของเสียงฟู่หัวใจให้ถูกต้อง36
องค์การอนามัยโลกได้กาหนด 2002-2003 WHO criteria เพื่อการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก โดย
ข้อกาหนดในการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกของ WHO (2002-2003) จะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกที่เป็น
ครั้งแรกและโรคไข้รูมาติกซ้า การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกที่เป็นครั้งแรกใช้ 2 major manifestations หรือ 1
major manifestation และ 2 minor manifestations และร่วมกับหลักฐานของการติดเชื้อ beta-hemolytic
streptococcus group A นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังได้กาหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกซ้า
ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจรูมาติกอยู่แล้วโดยใช้เพียง 2 minor manifestations ร่วมกับหลักฐานการติดเชื้อ beta-
hemolytic streptococcus group A 43
(ตารางที่ 7)
ตารางที่ 7. การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก
ประเภทของการวินิจฉัย Criteria
โรคไข้รูมาติกที่เป็นครั้งแรก Two major or one major and two minor
manifestations plus evidence of a preceding
group A streptococcal infection.
โรคไข้รูมาติกซ้าในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหัวใจรูมาติก Two major or one major and two minor
manifestations plus evidence of a preceding
group A streptococcal infection.
โรคไข้รูมาติกซ้าในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจรูมาติก Two minor manifestations plus evidence of a
preceding group A streptococcal infection.
Rheumatic chorea,
Insidious onset rheumatic carditis
Other major manifestations or evidence of a
preceding group A streptococcal infection not
required.
2. การดูแลรักษา (Management)
ในปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับโรครูมาติกได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมากแต่ในเรื่องการรักษาผู้ป่วย
กลับมีข้อมูลใหม่ไม่มากนัก แนวทางปฏิบัตินี้จะครอบคลุมเฉพาะการรักษาทางยาและการปฏิบัติตัวทั่วไป
สาหรับผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก36,37,40
หลักในการรักษาโรคไข้รูมาติก 2 มีประการ คือ ประการแรก ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกาจัดเชื้อ beta-hemolytic
streptococcus group A รวมทั้งการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A และ ประการที่
สอง รักษาอาการของโรค36,40
2.1 การกาจัดเชื้อและการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A
(Streptococcal eradication and prophylaxis)
2.1.1 การกาจัดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A (Streptococcal eradication)
การให้ยาปฏิชีวนะในการกาจัดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A ที่เกิดในลาคอและทอนซิล
สามารถให้ได้ตามข้อกาหนดในการรักษาการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ในลาคอ61
(ตารางที่ 8) ในปัจจุบันเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ยังไม่ดื้อต่อยาเพนนิซิลิน (penicillin)
ตารางที่ 8. ข้อกาหนดในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษา b-hemolytic streptococcal group A
tonsillopharyngitis (Primary prophylaxis of rheumatic fever)61
ยาปฏิชีวนะ ขนาดยา วิธีให้ยา
Benzathine penicillin G < 27 กก. 600,000 U ฉีดเข้ากล้ามครั้ง
เดียว> 27 กก. 1,200,000 U
Penicillin V เด็ก : 250 มก.วันละ 3 ครั้ง รับประทาน
10 วันผู้ใหญ่ : 500 มก.วันละ 3 ครั้ง
Amoxicillin62
40-60 มก/กก/วัน (ไม่เกิน 1 ก.) แบ่งให้ 2 ครั้ง/วันรับประทาน
10 วัน
Allergic to penicillin
Erythromycin
Estolate 20-40 มก/กก/วัน (ไม่เกิน 1 ก.) แบ่งให้ 2 ครั้ง/วันรับประทาน
10 วัน
Ethylsuccinate 40 มก/กก/วัน (ไม่เกิน 1 ก.) แบ่งให้ 2 ครั้ง/วัน รับประทาน
10 วัน
Azithromycin63
12 มก/กก/ครั้ง วันละ 1 ครั้ง รับประทาน
5 วัน
Cefdinir64
7 มก/กก/ครั้ง วันละ 2 ครั้ง รับประทาน
5 วัน
Cefpodoxime proxetil65
5 มก/กก/ครั้ง วันละ 2 ครั้ง รับประทาน
5 วัน
ยาปฏิชีวนะในการกาจัดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A ที่เกิดในลาคอควรให้ในผู้ป่วยทุก
รายไม่ว่าการเพาะเชื้อจากคอจะพบเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A หรือไม่ก็ตาม หลังจากให้ยา
ดังกล่าวข้างต้นแล้วก็เริ่มให้ยาเพื่อป้ องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นโรคซ้าอีกโดยให้อย่างสม่าเสมอ40
2.1.2 การป้ องกันการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Streptococcal prophylaxis)
Benzathine penicillin G เป็นยาที่แพทย์ส่วนใหญ่ชอบใช้เนื่องจากการฉีดยา Benzathine penicillin
G เข็มแรกนอกจากเป็นการกาจัดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A ในลาคอ ของผู้ป่วยแล้วยังเป็นการ
เริ่มต้นของการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A อีกด้วย5
Benzathine penicillin G
เป็นยาที่ได้ผลดีที่สุดในการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A6
ข้อกาหนดที่แนะนาโดย American Heart Association สาหรับการป้ องกันการเกิดโรคซ้าหรือการ
ป้ องกันทุติยภูมิ (secondary prophylaxis) โดยเป็นการป้ องกันการเกิดการติดเชื้อ beta-hemolytic
streptococcus group A ดังแสดงในตารางที่ 9
ตารางที่ 9. ข้อกาหนดในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A
ในลาคอ (Secondary prophylaxis of rheumatic fever)
ยาปฏิชีวนะ ขนาดยา วิธีให้ยา
Benzathine
penicillin G
6 แสน-1.2 ล้านยูนิต
(ขนาด 1.2 ล้านยูนิตในผู้ป่วยที่มีน้าหนักตัว
มากกว่า 27 กิโลกรัม และ
ขนาด 6 แสนยูนิตในผู้ป่วยที่มีน้าหนักตัวน้อย
กว่า 27 กิโลกรัม)
ฉีดเข้ากล้ามทุก 3-4 สัปดาห์
Penicillin V 250

More Related Content

What's hot

ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก
Prachaya Sriswang
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
Suradet Sriangkoon
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
Nursing Room By Rangsima
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจtechno UCH
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Narenthorn EMS Center
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009taem
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
Suradet Sriangkoon
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
Aphisit Aunbusdumberdor
 
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
Susheewa Mulmuang
 
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักPediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักAiman Sadeeyamu
 
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
Aiman Sadeeyamu
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuipiyarat wongnai
 
Cvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringCvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringpiyarat wongnai
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
Utai Sukviwatsirikul
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
Chutchavarn Wongsaree
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก
 
Thai nihss
Thai nihssThai nihss
Thai nihss
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
 
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักPediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
 
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
 
Cvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringCvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoring
 
Septic Shock
Septic ShockSeptic Shock
Septic Shock
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
 
2010_Cardiovascular Assessment
2010_Cardiovascular Assessment2010_Cardiovascular Assessment
2010_Cardiovascular Assessment
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2561
 

Similar to Guideline in the Diagnosis and Management of Acute Rheumatic Fever

Arf guideline
Arf guidelineArf guideline
Arf guidelineWawa Salm
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
Utai Sukviwatsirikul
 
Surgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร
Surgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกรSurgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร
Surgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกรpohgreen
 
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2008
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke  2008Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke  2008
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2008
Utai Sukviwatsirikul
 
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
Thorsang Chayovan
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
Tuang Thidarat Apinya
 
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
spchy
 
Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agentแนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
Supang Mp
 
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
Clinical practice guidelines for hemorrhagic strokeClinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
Clinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
Utai Sukviwatsirikul
 
CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555
CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555
CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555
Thorsang Chayovan
 

Similar to Guideline in the Diagnosis and Management of Acute Rheumatic Fever (20)

Arf guideline
Arf guidelineArf guideline
Arf guideline
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
 
Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014Guideline for ischemic heart disease 2014
Guideline for ischemic heart disease 2014
 
Chf guideline
Chf guidelineChf guideline
Chf guideline
 
Surgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร
Surgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกรSurgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร
Surgery of acquired heart disease อ.วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร
 
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2008
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke  2008Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke  2008
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2008
 
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
 
Pci guideline
Pci guidelinePci guideline
Pci guideline
 
Pci guideline
Pci guidelinePci guideline
Pci guideline
 
Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104Guideline for ischemic heart disease 2104
Guideline for ischemic heart disease 2104
 
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agentแนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
 
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke 2013
 
Clinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
Clinical practice guidelines for hemorrhagic strokeClinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
Clinical practice guidelines for hemorrhagic stroke
 
CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555
CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555
CPG Thai Stroke infarct retrieved since 2555
 
Triage
TriageTriage
Triage
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
Utai Sukviwatsirikul
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
Utai Sukviwatsirikul
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
Utai Sukviwatsirikul
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Utai Sukviwatsirikul
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
Utai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
Utai Sukviwatsirikul
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Utai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Utai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
Utai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
Utai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

Guideline in the Diagnosis and Management of Acute Rheumatic Fever

  • 1. แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่ วยโรคไข้รูมาติกในประเทศ ไทย (A Thai Guideline in the Diagnosis and Management of Acute Rheumatic Fever) มนัส ปะนะมณฑา, ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน, กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล, สุเทพ วาณิชย์กุล, สมเกียรติ โสภณธรรมรักษ์, ยุพดา พงษ์พรต, เฉลิมเกียรติ ตันตระกูล, ศุภชัย ถนอมทรัพย์, ทรงขวัญ ศิลารักษ์, เพ็ญ ทิพย์ศุภโชคชัยวัฒนา, อรรฆิศา ไชกิจภิญโญ ในปัจจุบันโรคไข้รูมาติกยังเป็นปัญหาสาคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย1- 2 เนื่องจากยังมีปัญหาในการวินิจฉัยและการรักษาที่หลากหลาย ดังนั้นสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศ ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมติมอบหมายให้ชมรมกุมารแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยจัดทา แนว ทางการปฎิบัติมาตรฐาน (Guideline) เพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกในประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการที่มาจากอายุรแพทย์โรคหัวใจร่วมจัดทา Guideline ด้วย Guideline นี้จะมีประโยชน์มากสาหรับการกาหนดแนวทางปฎิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยและการ ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับ กุมารแพทย์กุมารแพทย์โรคหัวใจ อายุร แพทย์อายุรแพทย์โรคหัวใจ แพทย์ทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศในการวินิจฉัยและการดูแล รักษาผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก (Rheumatic fever) อย่างมีหลักเกณฑ์ได้แก่ 1. เพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับปัญหาของโรคไข้รูมาติกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งในด้านการ รักษาพยาบาลและด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กาลังพัฒนาเช่นประเทศไทยที่มี อุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคในอัตราที่สูง 2. ลดอัตราการเกิดโรคซ้าและลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจรูมาติก 3. เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย วิธีการสร้าง Guideline นี้ประกอบด้วยการทบทวนผลงานวิจัยและแนวทางเวชปฏิบัติที่มีอยู่เดิม นามาวิเคราะห์ Level of evidence คือสาระสาคัญและแหล่งที่มาของผลการศึกษาได้ถูกจัดระดับของความน่าเชื่อถือเป็น 5 ระดับ ดังนี้ A: systemic review of randomized controlled clinical trials (RCT), or large RCT B: smaller randomized controlled clinical trial C: systemic review of cohort studies, or prospective, controlled, nonrandomized cohort studies, systemic review of case-control studies, or individual case-control study, descriptive studies or case series D: Expert opinion, case reports Class of recommendations คือความเหมาะสมที่จะนาไปประยุกต์ใช้ คาแนะนาวิธีปฏิบัติมีระดับ ของความมั่นใจ (class of recommendations) แบ่งได้เป็น 4 classes
  • 2. Strong recommendation เป็นระดับของความมั่นใจว่า procedure หรือ treatment นั้นควรกระทา โดยมี benefit >>>harm Recommendation เป็นระดับของความมั่นใจว่า procedure/treatment นั้น มีแนวโน้มไปทาง benefit, useful และ effective โดยมี benefit>>harm ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติม Option เป็นระดับของความไม่ค่อยมั่นใจว่า procedure/treatment นั้น มีแนวโน้มไปทาง benefit, useful และ effective แต่ยังมี benefit>harm และควรมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมในหลายแง่หลายมุม No recommendation เป็นระดับของความมั่นใจว่า procedure/treatment นั้นไม่ควรกระทาโดยมี harm>benefit วิธีการจัดทา guideline นี้เริ่มโดยคณะกรรมการจัดทาได้เตรียมบทความเบื้องต้น (draft) ต่อมา นาเสนอบทความเบื้องต้นนี้เข้าที่ประชุมของคณะกรรมการชมรมกุมารแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย และนามาปรับปรุงบทความให้สมบูรณ์มากขึ้น ต่อมาได้นาบทความที่ได้ปรับปรุงแล้วนาเสนอคณะที่ ปรึกษาที่มีความชานาญเรื่องโรคไข้รูมาติกเพื่อตรวจแก้ไข หลังจากนั้นคณะกรรมการจัดทาได้สรุปและ นาเสนอต่อคณะกรรมการสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและ คณะกรรมการจัดทาจะนาข้อคิดเห็นต่างๆมารวบรวมเพื่อพิมพ์รายงานฉบับสมบูรณ์ และเผยแพร่ไปยัง องค์กรทางการแพทย์ต่างๆต่อไป บทนา ไข้รูมาติก (Acute rheumatic fever) เป็นกลุ่มอาการที่มีการอักเสบของระบบอวัยวะต่างๆของ ร่างกายหลายแห่งได้แก่ หัวใจ (carditis) ข้อ (polyarthritis) สมอง (Sydenham’s chorea) ใต้หนัง (subcutaneous nodules) และผิวหนัง (erythema marginatum)1-3 โรคนี้เกิดตามหลังการติดเชื้อ beta- hemolytic streptococcus group A ในลาคอ (streptococcal pharygitis)2,4 โดยมีอาการตามหลังการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A (latent period) ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถึงหลายเดือน โรคไข้รูมาติกมีความรุนแรงแตกต่างกันมากตั้งแต่มีอาการไม่รุนแรงไปจนถึงมีอาการรุนแรงมาก จนถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับความรุนแรงของการอักเสบของหัวใจ (carditis) กรณีที่มี หัวใจอักเสบร่วมด้วยและมีอาการรุนแรงมากอาจทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าการเสียชีวิตจากหัวใจ อักเสบจะพบได้ไม่บ่อย แต่การอักเสบของหัวใจมักก่อให้เกิดความพิการถาวรของหัวใจ ที่เรียกว่าโรคหัวใจ รูมาติก (rheumatic heart disease) ผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติกที่มีอาการรุนแรงมาก จะศึกษาเล่าเรียนได้ไม่เต็ม ความสามารถหรือทางานได้ไม่เต็มศักยภาพและอาจกลายเป็นคนทุพพลภาพไม่สามารถประกอบอาชีพได้ หรือถึงขั้นเสียชีวิต5-36 แนวทางปฏิบัตินี้ จะครอบคลุมเรื่องการวินิจฉัยและการบาบัดรักษาโรคไข้รูมาติก รวมทั้งการป้ องกันทุติย ภูมิ (secondary prevention) แต่จะไม่ครอบคลุมในรายละเอียดเรื่องการป้ องกันปฐมภูมิ (primary prevention) และการป้ องกันโรคด้วยวัคซีนเพื่อการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ถึงแม้ว่า
  • 3. การป้ องกันปฐมภูมิและการป้ องกันโรคด้วยวัคซีน อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้ องกันและควบคุมการเกิด โรคแต่ในทางปฏิบัติทาได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กาลังพัฒนาและยังไม่คุ้มค่าในการค้นหาและ รักษาผู้ป่วยโรคคออักเสบจากเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ในชุมชน37-38 1. การวินิจฉัย (Diagnosis) 1.1 อาการแสดงทางคลินิกของโรคไข้รูมาติก อาการแสดงทางคลินิกในระยะเฉียบพลันของโรค (acute attack) เกี่ยวข้องกับหลายระบบอวัยวะ ได้แก่ หัวใจ (heart) ข้อ (joints) สมอง (brain) ผิวหนัง (skin) และ เนื้อเยื่อใต้หนัง (subcutaneous tissue)1-4, 6 1.1.1 หัวใจอักเสบ (Carditis) หัวใจอักเสบพบได้ทุกชั้นของเนื้อเยื่อหัวใจ ได้แก่เยื่อบุหัวใจ (endocardium) กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) และ เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) อาการแสดงของอาการผิดปกติทางหัวใจ ส่วนใหญ่จะพบได้จากการฟัง (auscultation)ได้แก่ การ ตรวจพบเสียงฟู่ของหัวใจ (heart murmur) และในบางครั้งอาจตรวจพบเสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial friction rub)6,36 สิ่งตรวจพบที่แสดงภาวะหัวใจอักเสบในผู้ป่วยคือเยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis หรือ valvulitis) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis)1,3,6,36,39-40 ตารางที่ 1. อาการแสดงทางคลินิกของหัวใจอักเสบ ชนิดของหัวใจอักเสบ การตรวจพบทางคลินิก Endocarditis/Valvulitis Apical pansystolic murmur, apical mid-diastolic murmur (Carey Coombs murmur), basal early diastolic murmur Myocarditis Cardiomegaly, congestive heart failure Pericarditis Pericardial friction rub, echocardiographic evidence of pericardial effusion with endocarditis/valvulitis 1.1.2 ข้ออักเสบ (Arthritis) อาการข้ออักเสบเป็นอาการหลักของโรคไข้รูมาติกที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 30-79 ของผู้ป่วย โรคไข้รูมาติก40-42 อาการข้ออักเสบพบได้ในระยะแรกๆของการเกิดโรคไข้รูมาติกและเป็นอาการนาที่ทาให้ ผู้ป่วยไปพบแพทย์เนื่องจากอาการข้ออักเสบจากโรคไข้รูมาติกจะมีอาการปวดที่ทรมานมาก6,36 ถ้าเป็นการ ปวดที่ขา ผู้ป่วยจะเดินลาบาก36 อาการข้ออักเสบมีแนวโน้มที่จะเป็นในคนอายุมาก เช่น วัยรุ่นและผู้ใหญ่แต่ อาการหัวใจอักเสบและอาการเคลื่อนไหวผิดปกติมีแนวโน้มที่จะเป็นกับเด็กอายุน้อยๆ4,36,43 ตารางที่ 2. อาการแสดงทางคลินิกของข้ออักเสบ อาการแสดง Painful,tenderness, swelling, limitation of movement, warm
  • 4. ข้อที่พบ Migratory, large joints การตอบสนองต่อการรักษา Very responsive to salicylate and NSAID therapy 1.1.3 อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s chorea) อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s chorea หรือ St. Vitus’ dance หรือ chorea minor หรือ rheumatic chorea) เป็นความผิดปกติทางระบบประสาท (neurological disorder) ซึ่งประกอบด้วย การเคลื่อนไหว ผิดปกติ (involuntary movements) กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscular weakness) และมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง (emotional disturbances) อาการผิดปกตินี้พบได้ร้อยละ 1-20 ของผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก36,41-42,44-45 และพบใน เด็กผู้หญิงก่อนวัยสาวมากกว่าเด็กผู้ชาย1,36 ตารางที่ 3. อาการแสดงทางคลินิกของ Sydenham’s chorea ลักษณะทั่วไป Involuntary movements, muscular weakness, emotional disturbances อาการแสดง peculiar facial expression, inappropriate smiling, clumsy handwriting, slurred speech การตรวจพบทางระบบ ประสาท Milkmaid sign, darting tongue, pronator sign, spooning or dishing of the hand, choreic hand, pendular knee jerks, hypotonia, jerkiness and explosiveness of speech, facial grimacing, inappropriate behavior, restlessness, transient psychosis, no sensory or pyramidal track involvements 1.1.4 ปุ่ มใต้หนัง (Subcutaneous nodules) ความชุกของการเกิดปุ่มใต้หนังในผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกมีความแตกต่างกันในแต่ละรายงานและใน แต่ละประเทศ โดยพบประมาณร้อยละ 1-96,37,41 ปุ่มใต้หนังที่เกิดจากโรคไข้รูมาติกมักจะเกิดภายใน 2-3 สัปดาห์แรกของโรค6 ลักษณะปุ่มใต้หนังจะเป็นปุ่มกลมๆ ลักษณะแข็งประมาณเทียบเท่าความแข็งของ ยางลบ เคลื่อนไหวได้สะดวกไม่ติดแน่นกับผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้หนัง ตารางที่ 4. อาการแสดงทางคลินิกของปุ่มใต้หนัง ขนาด ตั้งแต่ 0.3-2 เซนติเมตร บริเวณที่พบ ใต้ผิวหนังบริเวณที่ห่อหุ้มกระดูกที่เห็นได้เด่นชัด (bony prominence) หรืออยู่บน เอ็นของกล้ามเนื้อ extensor บริเวณที่พบบ่อยได้แก่ ศอก หลังมือ หัวเข่า ข้อเท้า และเอ็นร้อยหวาย อาจพบได้ที่บริเวณหลังศีรษะ เช่น บริเวณท้ายทอย และที่ บริเวณกระดูกสันหลัง อาการที่พบร่วม Carditis
  • 5. 1.1.5 ผื่นแดงที่ผิวหนัง (Erythema marginatum) ผื่นแดงที่ผิวหนังมักจะปรากฏในระยะแรกของไข้รูมาติก พบได้ประมาณร้อยละ 0-16 ของผู้ป่วย โรคไข้รูมาติก ตารางที่ 5. อาการแสดงทางคลินิกของผื่นแดงที่ผิวหนัง ขนาด ตั้งแต่ 1-3 เซนติเมตร บริเวณที่พบ ลาตัวหรือแขนขาส่วนต้น อาการที่พบร่วม Carditis 1.1.6 อาการอื่นๆ (Other manifestations) 1.1.6.1 อาการไข้ (Fever) อาการไข้สูงมักเป็นในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูง 38.4 - 40 องศาเซลเซียส หลังจากไข้สูงหลายวันไข้จะค่อยๆลดต่าลงเป็นปกติ หรือเกือบเป็นปกติในระยะเวลาไม่เกิน 2- 3 สัปดาห์ อาการไข้สูงมักพบในผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการข้ออักเสบรูมาติก (polyarthritis) และไข้ต่าๆมักพบใน ผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบอย่างเดียว (isolated carditis) แต่มักไม่พบอาการไข้ในผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ อย่างเดียว (pure Sydenham’s chorea)6,36 1.1.6.2 อาการปวดข้อ (Arthralgia) อาการปวดข้อ (arthralgia) โดยไม่มีอาการแสดงของการอักเสบอื่นๆได้แก่ กดเจ็บ บวมแดงและ ร้อน มักจะเกิดกับข้อใหญ่ๆและปวดหลายข้อ โดยเริ่มต้นปวดที่ข้อใดข้อหนึ่งก่อนแล้วย้ายไปปวดที่อีกข้อ หนึ่ง6,36 1.1.6.3 อาการปวดท้อง (Abdominal pain) อาจจะพบในโรคไข้รูมาติกที่มีหัวใจอักเสบและมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วยโดยอาการปวดท้องเป็นผล จากอาการตับโต 1.1.6.4 เลือดกาเดาไหล (Epistaxis) ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดกาเดาไหลอย่างรุนแรงจากการที่โรคไข้รูมาติกทาให้เกิดอักเสบของ หลอดเลือดหรืออาจเนื่องมาจากการใช้ยา salicylate ในการรักษาโรคไข้รูมาติกทาให้มีอาการเลือดออกง่าย และเลือดไหลหยุดยาก (bleeding tendency) 1.1.6.5 อาการทางคลินิกอื่นๆ อาการเบื่ออาหาร (anorexia) คลื่นไส้ (nausea) และอาเจียน (vomiting) พบได้บ้างและส่วนใหญ่เป็น ผลเนื่องมาจากภาวะหัวใจวายหรือ salicylate toxicity อาการอ่อนเพลีย (fatigue) มักจะไม่ชัดเจนและพบได้ ไม่บ่อย แต่มักพบในผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย6,36 Erythema nodosum, pleurisy และ rheumatic pneumonia พบไม่บ่อยในปัจจุบัน อาการอื่นๆที่อาจ พบได้คือ รู้สึกไม่สบาย เจ็บหน้าอกและซีด เป็นต้น36
  • 6. 1.2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory tests) การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้รูมาติกมี 3 ประเภทคือ (1) การ ตรวจว่ามีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ในเวลาที่ผ่านมาไม่นาน (recent streptococcal infection) (2) การตรวจว่ามีการอักเสบ และ (3) การตรวจที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยอาการทางคลินิก 1.2.1 การตรวจว่าเคยมีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A (recent streptococcal infection) 1.2.1.1 การเพาะเชื้อที่ลาคอ (throat culture) เพาะเชื้อในลาคอขึ้นเป็นเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A อาจมีความเป็นไปได้ว่ามีการ ติดเชื้อจริง (infection) หรือเป็นเพียงพาหะของเชื้อ (carrier)40-41,43 1.2.1.2 การตรวจ Streptococcal antibodies การตรวจหา streptococcal antibodies จะมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ beta- hemolytic streptococcus group A มาก่อน (prior streptococcal infection) ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นไข้รูมาติก หรือมีอาการเข้าได้กับโรคไข้รูมาติก ควรได้รับการตรวจหาค่าของ streptococcal antibodies ทุกราย2,36- 37,40,43,46,47 โดยทั่วไปค่าของ streptococcal antibodies ที่มีค่าสูงในช่วงที่มีอาการของโรคไข้รูมาติกจะเริ่มมีค่า ลดลงประมาณ 1-2 เดือนหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการของโรค ดังนั้น streptococcal antibodies จึงมีประโยชน์ ในการวินิจฉัยในขณะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ41,43,47 ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจอักเสบแบบค่อยเป็นค่อยไป (insidious rheumatic carditis) ซึ่งมักจะตรวจพบหลังการเริ่มต้นของไข้รูมาติกเป็นเวลาหลายเดือน ทาให้ streptococcal antibodies มีค่าไม่สูงหรือมีค่าปกติได้2 ในผู้ป่วยที่มีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s chorea) ก็เช่นเดียวกัน อาการอาจเกิดตามหลังการติดเชื้อ สเตรปโตค็อกคัสเป็นเวลาหลายเดือน45 ในขณะที่ ผลของ streptococcal antibodies อาจกลับคืนมาเป็นปกติหรือมีค่าไม่สูงเช่นเดียวกับกรณีของผู้ป่วยที่มีภาวะ หัวใจอักเสบแบบค่อยเป็นค่อยไป2 1.2.1.2.1. การตรวจหา antistreptolysin O (ASO) titer การตรวจ ASO titer เป็นการตรวจที่มีมาตรฐานสูงและเป็นที่นิยมตรวจกันในห้องปฏิบัติการทั่วไป 6,36 ระดับ ASO titer จะเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 หลังการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสที่คอ47 โดยจะค่อยๆเพิ่ม จนถึงค่าสูงสุดประมาณ 3–5 สัปดาห์หลังการติดเชื้อและจะค่อยๆลดลงจนปกติในเวลาประมาณ 6 เดือน 43 เนื่องจากค่า ASO titers มีทั้งขาขึ้น และลง ดังนั้นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากกว่า 2 ระดับ (tube dilutions) ในการตรวจเลือด 2 ครั้ง สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยเคยมีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A มา ก่อนแล้ว36 หรือในกรณีที่ตรวจโดยการวัดค่า titers (โดยไม่ได้ใช้ tube dilution) การแปลผลว่า titer เพิ่มขึ้น หรือลดลงจะใช้ หลักการเดียวกันกับ tube dilution การเปลี่ยนแปลงของ titers ที่มากกว่า 0.2 log ของระดับ titers36 การตรวจการเปลี่ยนแปลงของ titers ถ้าจะให้เชื่อถือได้ควรนา serum ของผู้ป่วยรายเดียวกันที่เก็บ จากผู้ป่วยในช่วงเวลาต่างกัน (เช่น เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการและอีก 2 สัปดาห์ต่อมา เป็นต้น) ทาการตรวจใน
  • 7. คราวเดียวกัน (the same run)1,36 เพื่อจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างได้ ค่า ASO titers อาจจะไม่สูงใน ผู้ป่วยที่เป็น pure chorea หรือหัวใจอักเสบชนิดค่อยเป็นค่อยไป (insidious rheumatic carditis) เพราะเมื่อ ผู้ป่วยเริ่มเข้ามารักษา ค่า ASO titers ที่เคยขึ้นสูงได้ลดลงสู่ระดับปกติแล้ว2 1.2.1.2.2. การตรวจหา antideoxyribonuclease B (Anti-DNase B) titer การตรวจ anti-DNase B titer เป็นการตรวจที่มีมาตรฐานสูงเช่นเดียวกับ antistreptolysin O titer และ เป็นที่นิยมตรวจกันในห้องปฏิบัติการทั่วไป ในปัจจุบันการตรวจหา antideoxyribonuclease B titerได้เข้ามา แทนที่ antistreptokinase test และ antihyaluronidase test เพราะเชื่อถือได้มากกว่า36 1.2.2 การตรวจว่ามีการอักเสบ โรคไข้รูมาติกเป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและมีการตรวจหลายชนิดที่ช่วย ในการวินิจฉัยว่ามีการอักเสบหรือไม่และรุนแรงเพียงใด Erythrocyte sedimentation rate (ESR) และ C-reactive protein test (CRP) เป็นการตรวจที่รู้จัก กันดีและใช้กันทั่วไป การตรวจทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่มีความเฉพาะเจาะจงสาหรับโรคไข้รูมาติก แต่มีความไว (sensitive) ที่จะบอกว่ามีการอักเสบ (inflammatory process) 1.2.3 การตรวจที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยอาการทางคลินิก 1.2.3.1 คลื่นไฟฟ้ าหัวใจ (Electrocardiogram) PR interval ที่ยาวกว่าปกติ (prolonged PR interval หรือ first degree AV block) พบได้ร้อยละ 28-40 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้รูมาติกและเป็นความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบได้บ่อยกว่าความผิดปกติของ คลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดอื่นๆ ที่สาคัญอีกประการหนึ่ง คือ prolonged PR interval เป็น minor criterion ของ Updated Jones criteria, 199211 1.2.3.2 ภาพถ่ายรังสี (X ray) ในผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบ (carditis) อาจพบเงาหัวใจโตกว่าปกติ และมีลักษณะการคั่งของเลือดใน ปอด (pulmonary congestion)36 1.2.3.3 คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ลักษณะของ physiological regurgitation จะมี regurgitant flow อยู่ใกล้ๆกับระดับของลิ้นหัวใจและ ห่างไม่เกิน 1 ซม. ลักษณะของ flow จะสั้นๆ พื้นที่ของ flow เล็ก 1.2.3.3.1. การวินิจฉัยโรคหัวใจอักเสบจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของช่องหัวใจ ลิ้นหัวใจที่หนา ลิ้นหัวใจที่โป่ง การ สบของลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิทจากการที่มี verucae53 การเคลื่อนไหวของลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ และการทางานของกล้ามเนื้อหัวใจ48-56 รายงานจากอินเดียในผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกที่มีหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (acute rheumatic carditis) สามารถตรวจพบปุ่มเล็กๆ (focal nodules) ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่บริเวณลิ้นหัวใจ (บริเวณ bodies
  • 8. และ tips ของ mitral valve leaflets) ในช่วงที่มีการอักเสบของหัวใจและปุ่มเหล่านี้หายไปเมื่อผู้ป่วยดีขึ้นจาก โรคไข้รูมาติก (level of evidence: C)50 1.2.3.3.2. ความรุนแรงของลิ้นหัวใจรั่ว ความรุนแรงของลิ้นหัวใจรั่ว ถูกจัดเป็น 6 ระดับ ได้แก่ (0, 0+, 1+, 2+, 3+ และ 4+) โดยประเมินจาก ผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ และเปรียบเทียบกับผลการฉีดสีในห้องตรวจสวนหัวใจ (Level of evidence: D)43 จากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ความรุนแรงของลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วและ ลิ้นเอออร์ติกรั่ว สามารถแบ่งได้ดังนี้36,43,48 0: คือ ไม่มีลิ้นหัวใจรั่วและรวมถึง physiological หรือ trivial regurgitant jet น้อยกว่า 1 ซม. ขนาด ของ jet แคบ (narrow) เล็ก (small) มีช่วงเวลาสั้น (short duration) และ ที่ mitral valve เป็นลักษณะ early systolic หรือ ที่ aortic valve เป็นลักษณะ early diastolic 0+: very mild regurgitant jet ความยาวของ jet มากกว่า 1 ซม. ขนาดของ jet กว้างขึ้น โดย jet จะอยู่ ติดกับลิ้นหัวใจ ความกว้างของ jet จะกว้างตลอดระยะ systole ในกรณีของ mitral valve หรือ ความกว้างของ jet จะกว้างตลอดระยะ diastole ในกรณีของ aortic valve โดยที่ผู้ป่วยเหล่านี้ตรวจร่างกาย ไม่พบเสียงฟู่ของ หัวใจ (no audible heart murmur) 1+: mild regurgitant jet ความยาวของ jet มากกว่า 1 ซม. ขนาดของ jet กว้างกว่า 0+ jet โดยที่ ผู้ป่วยเหล่านี้ตรวจร่างกายพบเสียงฟู่ของหัวใจ 2+: moderate regurgitant jet โดยขนาดของ jet ยาวกว่า 1+ jet และ ขนาดของ jet กว้างกว่า 1+ jet พื้นที่ของ jet กว้างกว่า 1+ jet 3+ : moderately severe regurgitant jet ความยาวของ jet ยาวตลอดความยาวของหัวใจห้องซ้ายบน (left atrium) ในกรณีของ mitral regurgitation หรือยาวตลอดความยาวของหัวใจห้องซ้ายล่าง (left ventricle) ในกรณีของ aortic regurgitation 4+: severe regurgitant jet พื้นที่ของ jet ครอบคลุมทั่วหัวใจห้องซ้ายบนทั้งหมด และไหลย้อนกลับ เข้าไปใน pulmonary veins ในกรณีของ mitral regurgitation และพื้นที่ของ jet กระจายเต็มหัวใจห้องซ้ายล่าง ในกรณีของ aortic regurgitation36,43 1.2.3.3.3. การวินิจฉัย subclinical rheumatic carditis การตรวจ color Doppler echocardiography สามารถพบ significant mitral regurgitation หรือ aortic regurgitation ในผู้ป่วยที่ไม่มีเสียงฟู่ของหัวใจ ลักษณะของ color Doppler echocardiogram ที่แสดง subclinical rheumatic carditis ได้แก่ (1) ความยาวของ regurgitant jet มากกว่า 1 ซม. (2) regurgitant jet ปรากฏให้เห็นได้ตั้งแต่ 2 planes ขึ้นไป (3) มี mosaic color jet และมี peak velocity มากกว่า 2.5 เมตรต่อ วินาที และ (4) ใน mitral regurgitation พบ jet กว้างตลอดช่วง systole และใน aortic regurgitation พบ jet กว้างตลอดช่วง diastole (Level of evidence: D)1,36,43,48
  • 9. Subclinical carditis สามารถพบได้ในผู้ป่วย Sydenham’s chorea และ polyarthritis 1.2.3.3.4. การติดตามผู้ป่ วยที่มีหัวใจอักเสบ การใช้คลื่นเสียงสะท้อนตรวจหัวใจในการติดตามผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบ พบว่า color Doppler echocardiography มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย subclinical valvulitis และ มีประโยชน์ในการช่วยติดตาม ภาวะ rheumatic valvular heart disease1 (level of evidence: C) 1.2.3.4 Radionuclide imaging Radionuclide techniques เป็นการตรวจหาความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือดชนิดที่ไม่ invasive ใช้ศึกษาพยาธิวิทยาของภาวะหัวใจอักเสบจากโรคไข้รูมาติกซึ่งอาจมีการอักเสบของกล้ามเนื้อ หัวใจร่วมด้วย43 การใช้ Gallium-67 เพื่อ label เม็ดเลือดขาว สามารถใช้ตรวจภาวะหัวใจอักเสบจากไข้รูมาติกได้และ ยังเป็นการตรวจเพื่อการวิจัยเท่านั้น54 1.2.3.5 Endomyocardial biopsy กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) เป็นอาการหนึ่งของอาการหัวใจอักเสบในโรคไข้รูมาติก จึงได้ มีการศึกษาบทบาทของ endomyocardial biopsy ในการวินิจฉัยโรคหัวใจอักเสบจากไข้รูมาติก การทา endomyocardial biopsy ในผู้ป่วยหัวใจอักเสบจากโรคไข้รูมาติกพบ interstitial inflammation ในผู้ป่วยที่มี หัวใจอักเสบไม่รุนแรงจะพบ mononuclear cells อยู่รอบๆหลอดเลือดและในผู้ป่วยที่มีหัวใจอักเสบรุนแรง จะพบมีการรวมกลุ่มของ histiocytes และมี Aschoff nodules36,43 1.2.3.6 Magnetic resonance imaging (MRI) และ Single photon emission computed tomography (SPECT) มีรายงานความผิดปกติที่ basal ganglia ในผู้ป่วยบางรายที่เป็น Sydenham’s chorea จากการตรวจ สมองด้วย MRI และ SPECT30 (level of evidence: C) 1.3 การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกใช้ Jones criteria ที่กาหนดโดย Dr. T. Duckett Jones เมื่อปี ค.ศ. 194415 และในปี ค.ศ.1992 สมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้มีการแก้ไขเป็น Jones criteria (updated) โดยใช้ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการติดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A มาประกอบในการวินิจฉัย ถึงแม้ว่า Jones criteria จะถูกทบทวนหลายครั้ง แต่การทบทวนในแต่ละครั้ง ไม่ได้กระทาบนพื้นฐานของ prospective studies แต่ถูกพิจารณาโดยใช้พื้นฐานของข้อกาหนดที่ตั้งไว้ในครั้งก่อนๆ36,43 (Level of evidence: D)
  • 10. ตารางที่ 6. The Jones criteria for Rheumatic Fever, Updated 1992 Major Criteria Minor Criteria Carditis Migratory polyarthritis Sydenham’s chorea Subcutaneous nodules Erythema marginatum Fever Arthralgia Elevated acute phase reactants Prolonged PR interval Plus Supporting evidence of a recent group A streptococcal infection (e.g., positive throat culture or rapid antigen detection test; and/or elevated or increasing streptococcal antibody titers) ใน 1992 updated Jones criteria นั้น การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกซ้าสามารถให้การวินิจฉัยในผู้ป่วยที่ เคยเป็นโรคไข้รูมาติกหรือโรคหัวใจรูมาติกร่วมกับมี 1 major criterion หรือมีหลาย minor criteria และ ร่วมกับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A มาก่อน 2 นอกจากนั้นใน 1992 updated Jones criteria ยังไม่กาหนดบทบาทของคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจในการให้ การวินิจฉัยภาวะหัวใจอักเสบจากโรคไข้รูมาติก2 ผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจจะช่วยสนับสนุนการ แปลผลของเสียงฟู่หัวใจให้ถูกต้อง36 องค์การอนามัยโลกได้กาหนด 2002-2003 WHO criteria เพื่อการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก โดย ข้อกาหนดในการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกของ WHO (2002-2003) จะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกที่เป็น ครั้งแรกและโรคไข้รูมาติกซ้า การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกที่เป็นครั้งแรกใช้ 2 major manifestations หรือ 1 major manifestation และ 2 minor manifestations และร่วมกับหลักฐานของการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังได้กาหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคไข้รูมาติกซ้า ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจรูมาติกอยู่แล้วโดยใช้เพียง 2 minor manifestations ร่วมกับหลักฐานการติดเชื้อ beta- hemolytic streptococcus group A 43 (ตารางที่ 7) ตารางที่ 7. การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก ประเภทของการวินิจฉัย Criteria โรคไข้รูมาติกที่เป็นครั้งแรก Two major or one major and two minor manifestations plus evidence of a preceding group A streptococcal infection. โรคไข้รูมาติกซ้าในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหัวใจรูมาติก Two major or one major and two minor manifestations plus evidence of a preceding group A streptococcal infection. โรคไข้รูมาติกซ้าในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจรูมาติก Two minor manifestations plus evidence of a
  • 11. preceding group A streptococcal infection. Rheumatic chorea, Insidious onset rheumatic carditis Other major manifestations or evidence of a preceding group A streptococcal infection not required. 2. การดูแลรักษา (Management) ในปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับโรครูมาติกได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมากแต่ในเรื่องการรักษาผู้ป่วย กลับมีข้อมูลใหม่ไม่มากนัก แนวทางปฏิบัตินี้จะครอบคลุมเฉพาะการรักษาทางยาและการปฏิบัติตัวทั่วไป สาหรับผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก36,37,40 หลักในการรักษาโรคไข้รูมาติก 2 มีประการ คือ ประการแรก ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกาจัดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A รวมทั้งการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A และ ประการที่ สอง รักษาอาการของโรค36,40 2.1 การกาจัดเชื้อและการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A (Streptococcal eradication and prophylaxis) 2.1.1 การกาจัดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A (Streptococcal eradication) การให้ยาปฏิชีวนะในการกาจัดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A ที่เกิดในลาคอและทอนซิล สามารถให้ได้ตามข้อกาหนดในการรักษาการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ในลาคอ61 (ตารางที่ 8) ในปัจจุบันเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ยังไม่ดื้อต่อยาเพนนิซิลิน (penicillin) ตารางที่ 8. ข้อกาหนดในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษา b-hemolytic streptococcal group A tonsillopharyngitis (Primary prophylaxis of rheumatic fever)61 ยาปฏิชีวนะ ขนาดยา วิธีให้ยา Benzathine penicillin G < 27 กก. 600,000 U ฉีดเข้ากล้ามครั้ง เดียว> 27 กก. 1,200,000 U Penicillin V เด็ก : 250 มก.วันละ 3 ครั้ง รับประทาน 10 วันผู้ใหญ่ : 500 มก.วันละ 3 ครั้ง Amoxicillin62 40-60 มก/กก/วัน (ไม่เกิน 1 ก.) แบ่งให้ 2 ครั้ง/วันรับประทาน 10 วัน Allergic to penicillin Erythromycin Estolate 20-40 มก/กก/วัน (ไม่เกิน 1 ก.) แบ่งให้ 2 ครั้ง/วันรับประทาน 10 วัน
  • 12. Ethylsuccinate 40 มก/กก/วัน (ไม่เกิน 1 ก.) แบ่งให้ 2 ครั้ง/วัน รับประทาน 10 วัน Azithromycin63 12 มก/กก/ครั้ง วันละ 1 ครั้ง รับประทาน 5 วัน Cefdinir64 7 มก/กก/ครั้ง วันละ 2 ครั้ง รับประทาน 5 วัน Cefpodoxime proxetil65 5 มก/กก/ครั้ง วันละ 2 ครั้ง รับประทาน 5 วัน ยาปฏิชีวนะในการกาจัดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A ที่เกิดในลาคอควรให้ในผู้ป่วยทุก รายไม่ว่าการเพาะเชื้อจากคอจะพบเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A หรือไม่ก็ตาม หลังจากให้ยา ดังกล่าวข้างต้นแล้วก็เริ่มให้ยาเพื่อป้ องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นโรคซ้าอีกโดยให้อย่างสม่าเสมอ40 2.1.2 การป้ องกันการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Streptococcal prophylaxis) Benzathine penicillin G เป็นยาที่แพทย์ส่วนใหญ่ชอบใช้เนื่องจากการฉีดยา Benzathine penicillin G เข็มแรกนอกจากเป็นการกาจัดเชื้อ b-hemolytic streptococcus group A ในลาคอ ของผู้ป่วยแล้วยังเป็นการ เริ่มต้นของการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A อีกด้วย5 Benzathine penicillin G เป็นยาที่ได้ผลดีที่สุดในการป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A6 ข้อกาหนดที่แนะนาโดย American Heart Association สาหรับการป้ องกันการเกิดโรคซ้าหรือการ ป้ องกันทุติยภูมิ (secondary prophylaxis) โดยเป็นการป้ องกันการเกิดการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ดังแสดงในตารางที่ 9 ตารางที่ 9. ข้อกาหนดในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้ องกันการติดเชื้อ beta-hemolytic streptococcus group A ในลาคอ (Secondary prophylaxis of rheumatic fever) ยาปฏิชีวนะ ขนาดยา วิธีให้ยา Benzathine penicillin G 6 แสน-1.2 ล้านยูนิต (ขนาด 1.2 ล้านยูนิตในผู้ป่วยที่มีน้าหนักตัว มากกว่า 27 กิโลกรัม และ ขนาด 6 แสนยูนิตในผู้ป่วยที่มีน้าหนักตัวน้อย กว่า 27 กิโลกรัม) ฉีดเข้ากล้ามทุก 3-4 สัปดาห์ Penicillin V 250