SlideShare a Scribd company logo
“ความจริงบันเทิง”รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
1
โดย สกุลศรี ศรีสารคาม
บทคัดย่อ
วงการโทรทัศน์ในประเทศไทยยังคงมีปัญหาในเรื่องรายการเพื่อการพัฒนาหรือสาระความรู้มี
สัดส่วนในตารางการออกอากาศของแต่ละช่องน้อยกว่ารายการบันเทิง ทั้งๆ ที่สื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่
สามารถมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพัฒนาสังคมได้ดีกว่าสื่อประเภทอื่น ปัจจัยหนึ่งที่สาคัญคือ รายการ
สาระเป็นรายการที่ไม่สามารถสร้างความนิยม ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนดูส่วนใหญ่ของสังคมได้ ทาให้
สถานีโทรทัศน์ที่เป็นโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ไม่สามารถให้เวลารายการเหล่านี้ได้ ดังนั้นสิ่งสาคัญคือ
ต้องพัฒนารูปแบบรายการสาระให้เป็นรายการที่สามารถเสนอสิ่งที่ “คนควรรู้” ให้ “น่าดู” ซึ่งบทความนี้
ได้ศึกษาเปรียบเทียบรายการประเภทความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) ของประเทศอังกฤษ
เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการเสนอรายการเกี่ยวกับความจริงด้วยรูปแบบความบันเทิง
โดยเฉพาะการรูปแบบรายการลูกผสม (Hybrid) และเรียลิตี้ทีวี (Reality TV) ซึ่งจะสามารถทาให้รายการ
สาระความรู้เป็นที่นิยมและเข้าถึงกลุ่มคนดูจานวนมากของสังคมได้ และเป็นโอกาสในการพัฒนารูปแบบ
รายการโทรทัศน์ในประเทศไทย
เนื้อหา
ความยากประการหนึ่งของคนทาทีวีไทยคือ วัฒนธรรมการดูของคนที่เน้นเรื่องของความบันเทิง
รวมถึงการที่ทีวีเมืองไทยเป็นโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Television) และยึดติดกับการ
วัดเรตติ้งหรือความนิยมของรายการ ซึ่งนั่นเป็นตัวกาหนดให้คนทีวีส่วนมากต้องทารายการในสิ่งที่คน
ต้องการดู คือ รายการบันเทิง ซึ่งมีสัดส่วนเกินครึ่งของรายการทีวีทั้งหมด แต่หากเรามองในแง่ของนัก
สื่อสารมวลชน เราเป็นผู้ส่งสาร ดังนั้น นอกจากทาสิ่งที่คนอยากดูแล้ว เราก็ควรส่งสารในสิ่งที่คนดู “ควร
ได้รู้” ด้วย
เมื่อพิจารณาถึง “สิ่งที่ควรรู้” ก็หนีไม่พ้นเรื่องข่าวสาร ข้อเท็จจริงในสังคม การตีแผ่ปัญหา
เพื่อให้เกิดการคิด และ กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา รายการรูปแบบนี้ จัดอยู่ในประเภทรายการ
1
ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนิเทศศาสตร์ ธุรกิจบัณฑิตย์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจาปี 2551
เสนอข้อเท็จจริง (Factual Programme) ซึ่งรูปแบบรายการที่นาเสนอเนื้อหาดังกล่าว สังคมไทยคุ้นชิน
กับ รายการข่าว เล่าข่าว และสารคดี
นักวิชาการและนักสื่อสารมวลชน หลายท่านต่างให้ความเห็นว่า ประเทศไทยจาเป็นต้องให้
ความสาคัญกับการผลิตรายการที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนามากขึ้น ปัญหาในการยกระดับโทรทัศน์ไทย
นั้น นักวิชาการมองไปได้หลายมุม ประกอบด้วย การอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมที่สถานีโทรทัศน์มองคนดู
เป็นผู้บริโภคมากกว่าเป็นพลเมือง จึงเน้นการผลิตรายการเพื่อตอบโจทย์เจ้าของสินค้าให้ซื้อพื้นที่
โฆษณา (อิทธิพล ปรีติประสงค์, 2550) หรือในอีกแง่คือ โทรทัศน์ในเมืองไทยจาเป็นต้องมีเสรีให้มากขึ้น
ทั้งโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ โทรทัศน์เฉพาะกลุ่ม และ ทีวีสาธารณะ เพื่อมีพื้นที่ในการเสนอรายการที่มี
คุณภาพได้ (ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิจ, 2550) รวมทั้งนโยบายของสถานีโทรทัศน์ในการใช้เรตติ้ง
รายการในการชี้วัดการดารงอยู่ของรายการ (ภัทราพร สังข์พวงทอง, 2550) ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่
ผ่านมามีความพยายามทาลายข้อจากัดเหล่านี้ ทั้งการตั้งทีวีสาธารณะแห่งแรกขึ้น การจัดระเบียบการ
วัดเรตติ้งเชิงคุณภาพ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัฒนธรรมของโทรทัศน์ไทยผูกติดกับความเป็นโทรทัศน์เพื่อการ
พาณิชย์มานาน และสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงมองเรตติ้งเป็นสิ่งสาคัญ แม้จะมีกฎระเบียบในการจัดสัดส่วน
ของรายการออกมาควบคุม แต่การจัดผังรายการให้รายการคุณภาพอยู่ในช่วงเวลาซึ่งคนดูน้อยก็ยังคง
เป็นปัจจัยสาคัญ และอีกประการหนึ่ง รายการสาระที่ผลิตกันยังคงมีรูปแบบรายการที่ซ้าเดิม มีความ
หลากหลายน้อย และยังไม่น่าสนใจเพียงพอ ทาให้ไม่สามารถจับกลุ่มผู้ชมกลุ่มใหญ่ของสังคมได้ ดังนั้น
ปัจจัยอีกประการที่ต้องศึกษาและพัฒนา คือ การสร้างเนื้อหาให้มีคุณภาพ และ น่าสนใจมากขึ้น หรือ
กล่าวคือ ต้องคิดว่าจะผลิตรายการอย่างไรให้สามารถสื่อสาร “สิ่งที่คนควรรู้” และทาให้ “คนอยากดู”
เนื่องจากโทรทัศน์ไทยต้องการรายการเพื่อการพัฒนามากขึ้น ดังนั้น บทความนี้จึงมีการศึกษา
เปรียบเทียบเนื้อหา และรูปแบบรายการในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นต้นแบบของทีวีสาธารณะและมีความ
เข้มข้นในการผลิตรายการเชิงคุณภาพเพื่อการพัฒนามายาวนาน เพื่อให้เห็นพัฒนาการรูปแบบและ
ประเภทรายการโทรทัศน์ที่มีการปรับตัวให้ตามทันรสนิยมของผู้ชม และเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทาให้
รูปแบบการชมรายการโทรทัศน์ของคนเปลี่ยนไป ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ระหว่างสถานีที่มีความรุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้ จากการศึกษารายการโทรทัศน์ในประเทศอังกฤษ พบว่า ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์เพื่อการ
พาณิชย์ (Commercial Television) หรือ ทีวีสาธารณะ (Public Service Broadcasting) ต่างให้
ความสาคัญในเรื่องการทารายการสาระความรู้เหมือนกัน โดยใช้รูปแบบรายการที่มีความบันเทิงเป็น
เครื่องดึงดูดใจคนดู รูปแบบรายการที่เป็นที่นิยมมากในอังกฤษตอนนี้คือ รายการประเภทความจริง
บันเทิง (Factual Entertainment) ซึ่งเป็นรายการที่มีการเสนอสิ่งที่เป็นสาระ โดยใช้ความบันเทิงเป็นตัว
ดาเนินเรื่อง ประกอบด้วยการใช้รายการลูกผสม (Hybrid Programme) และ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ใน
การสร้างสรรค์รายการเพื่อความรู้ และ ตีแผ่ข้อเท็จจริงในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเชิงการเข้าถึง
กลุ่มคนดูและประโยชน์ของรายการ ทั้งนี้ บทความนี้ จะศึกษารายการความจริงบันเทิง (Factual
Entertainment) ในเรื่องแนวคิด และ รูปแบบ ตลอดจนการใช้ลักษณะของรายการลูกผสม (Hybrid) และ
เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ควบคู่กับการวิเคราะห์วัฒนธรรมการดูรายการโทรทัศน์ของคนไทย เพื่อเสนอ
แนวทางในการผลิตรายการคุณภาพเพื่อการพัฒนาต่อไป
เส้นตรงกลางระหว่าง สาระ และ บันเทิง
หากพิจารณารายการโทรทัศน์ในมิติของเนื้อหาที่นาเสนอ สามารถแบ่งรายการได้เป็น 4
ประเภท คือ รายการเรื่องจริงทางโทรทัศน์ (Factual) รายการเรื่องแต่ง (Fiction) รายการบันเทิง
(Entertainment) และ รายการโฆษณา (Advertisement) ในบทความนี้เราจะพิจารณารายการที่เสนอ
ข้อเท็จจริง และ รายการบันเทิง Brennon Wood (2004) อธิบายความแตกต่างของรายการทั้งสอง
ประเภทว่า รายการเรื่องจริงทางโทรทัศน์เป็นการนาเสนอเรื่องจริงในสังคมในเชิงเป็นกลาง นาเสนอสิ่งที่
เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เป็นเรื่องจริงไม่ใช่เรื่องแต่ง ประกอบด้วยรายการข่าว (News) รายการ
เหตุการณ์ปัจจุบัน (Current Affair) รายการสารคดี (Documentary) รายการเพื่อสอน (Education) ส่วน
รายการบันเทิงนั้น เป็นรายการที่สร้างความเพลิดเพลินโดยให้ผู้ดาเนินรายการใช้ความเป็นตัวเองในการ
แสดงสิ่งต่างๆ ให้ผู้ชมได้ชมเพื่อความเพลิดเพลิน อาทิรายการ เกมโชว์ (Game Show) รายการแสดง
ดนตรี (Music Act) รายการสนทนา (Talk Show) วาไรตี้ (Variety Show) และรายการกีฬา (Sport)
รายการเรื่องจริงทางโทรทัศน์นั้น มีเป้าหมายในการนาเสนอข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการตีแผ่เรื่อง
ของสังคม และ การให้ความรู้ ซึ่งรายการประเภทนี้เป็นรายการที่มีเนื้อหาหนัก นอกเหนือจากรายการ
ข่าวแล้ว มักใช้รูปแบบการนาเสนอแบบสารคดี โดยเฉพาะการดาเนินเรื่องด้วยการบรรยาย หรือ มีผู้
ดาเนินรายการเล่าเรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์และนาเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ รูปแบบ
เช่นนี้เป็นรูปแบบดั้งเดิมของสารคดีที่เราคุ้นเคยกันมาเป็นเวลานาน หรือบางครั้งก็อยู่ในรูปแบบของ
รายการสนทนาที่มีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ รายการประเภทนี้ถือเป็นรายการคุณภาพ และ
เป็นรายการเพื่อการพัฒนา แต่มีข้อจากัดในการเข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง เพราะมีคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่
จะเลือกดูรายการประเภทนี้ ดังนั้นในประเทศที่ระบบโทรทัศน์เป็นโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์
(Commercial Television) และเน้นเรื่องเรตติ้งของรายการเพื่อดึงดูดโฆษณา อย่างโทรทัศน์ในประเทศ
ไทยนั้น รายการประเภทนี้จึงไม่ได้ถูกให้ความสาคัญในการจัดผังรายการเท่าที่ควร ถ้ามีก็มักอยู่ใน
ช่วงเวลาที่ไม่ใช่เวลาที่คนดูโทรทัศน์จานวนมาก (Prime Time)
ส่วนรายการบันเทิง ที่มีเนื้อหาสบาย เพลิดเพลิน เหมาะกับการดูเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งใน
รูปแบบของรายการเกมส์โชว์ รายการวาไรตี้ ถ้ามองจากมุมวัฒนธรรมการรักความสนุกของสังคมไทย
ซึ่งวิถีชีวิตแบบไทยผูกพันกับการรักความสนุก (วิลเลี่ยม เคลาส์เนอร์ อ้างใน กาญจนา แก้วเทพ, 2545)
เมื่อมาเป็นรายการโทรทัศน์ สิ่งหนึ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมนี้อย่างชัดเจนคือ คนไทยชอบดูสิ่งที่สนุก ไม่ว่า
จะรูปแบบใด หรือ ดูแล้วได้รับอะไร ขอให้สนุกสนานจะเป็นรายการที่ได้รับความนิยม ซึ่งการที่
สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยเป็นระบบพาณิชย์ ต้องมีการขายพื้นที่โฆษณา จึงให้ความสาคัญกับ
รายการบันเทิงซึ่งสามารถสร้างความนิยมได้มาก ในขณะเดียวกัน รายการสาระ ข้อเท็จจริง และรายการ
ความรู้หรือเพื่อสอนกลับมีพื้นที่ในการออกอากาศน้อยและไม่เป็นที่นิยม หนึ่งในสาเหตุสาคัญคือ รูปแบบ
รายการไม่จูงใจให้ชม
กาญจนา แก้วเทพ (2545) กล่าวไว้ว่า รายการทีวีเสนอทั้งมุมมองทางปัญญาและความบันเทิง
ได้ นั่นหมายความว่า รายการโทรทัศน์ก็ไม่ได้ให้เพียงสาระที่น่าเบื่อ หรือ บันเทิงเริงใจที่ไร้แก่นสาร แยก
จากกัน แต่สามารถผสมผสานสิ่งทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันได้ หากแต่ว่า การแบ่งรูปแบบรายการในการ
นาเสนอเนื้อหาสองประเภทที่แยกจากกัน และเป็นแบบแผนที่คนดูเคยชินนั้น ทาให้คนยังติดกับภาพ
ที่ว่า รายการมีสาระน่าเบื่อ และเลือกดูรายการบันเทิงมากกว่า ในขณะที่ผู้ผลิตที่ติดกับรูปแบบเดิมๆ ใน
การนาเสนอข้อเท็จจริง ความรู้ หรือการสอน ให้เสนอในรูปแบบจริงจัง และ เคร่งเครียด ทาให้สามารถ
ครองใจคนดูได้ลาบาก และไม่สามารถแย่งพื้นที่ความนิยมจากรายการบันเทิงได้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นได้
จากความนิยมต่อรายการโทรทัศน์ที่เรตติ้งละครยังคงสูงที่สุด และมีแนวโน้มว่า สถานีโทรทัศน์ อาทิ
ช่อง 3 ก็จะเพิ่มเวลาการออกอากาศให้กับละครมากขึ้น เพราะสามารถสร้างเรตติ้งและดึงเม็ดเงินโฆษณา
ได้มากกว่ารายการประเภทอื่น (สยามธุรกิจ, 2552) หรือแม้แต่ โมเดิร์น ไนน์ (Modern Nine) ที่วาง
ตาแหน่งช่องตัวเองเป็นช่องสังคมอุดมปัญญา ก็มีแนวโน้มจะปรับผังรายการเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิง
มากขึ้น (วสันต์ ภัยหลีกลี้ อ้างใน คมชัดลึก, 2551) แม้ว่าจะมีความพยายามในการนาเสนอสาระให้
น่าสนใจขึ้นด้วยการแทรกความรู้ในรายการบันเทิง หรือ ทาสารคดีให้มีรูปแบบที่น่าสนใจ แต่รายการ
บันเทิงยังคงได้รับความนิยมมากกว่า ซึ่งนั่นทาให้รายการสาระมีวงจรชีวิตสั้น และ มีผู้ที่เสี่ยงจะผลิต
รายการนี้น้อย สวนทางกับความจาเป็นที่โทรทัศน์ไทยควรมีรายการเพื่อการพัฒนามากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่จาเป็นต่อการพัฒนาโทรทัศน์ไทย คือ การก้าวข้ามระหว่างสาระ และ บันเทิงให้ได้ จาก
เดิมที่มีการแบ่งรูปแบบชัดเจนในการนาเสนอเนื้อหาทั้งสองประเภท ให้มีความเหลื่อมล้า และ ผสมผสาน
กันระหว่างสาระและบันเทิง โดยอาศัยจุดเด่นของรายการบันเทิงในการสามารถตรึงคนดูและเข้าถึงกลุ่ม
คนดูที่หลากหลายมาใช้นาเสนอเนื้อหาที่เป็นสาระให้มากขึ้น ในที่นี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างพัฒนาการ
รูปแบบในการเสนอเรื่องจริงและความรู้ของสถานีโทรทัศน์ในประเทศอังกฤษเพื่อเป็นกรณีศึกษา
เปรียบเทียบ
ในประเทศอังกฤษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของทีวีสาธารณะซึ่งมีพันธกิจหลักในการผลิตรายการ
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาของสังคม ก็ประสบปัญหาเรื่องรสนิยมการชมรายการโทรทัศน์ที่ต้องการ
รายการที่มีความบันเทิง และเข้าใจง่ายมากขึ้น อีกทั้งการเติบโตของสถานีโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์
อย่าง ITV และ Five รวมทั้ง ทีวีสาธารณะอีกสถานีอย่าง Channel 4 ตลอดจนเคเบิลทีวีและโทรทัศน์
ระบบดิจิตอล ทาให้คนอังกฤษมีทางเลือกในการรับชมรายการตามรสนิยมมากขึ้น รายการที่จะสามารถ
เข้าถึงกลุ่มคนดูกลุ่มใหญ่ในสังคมได้ยังคงเป็นรายการบันเทิงมากกว่ารายการเสนอข้อเท็จจริง แต่การจะ
นาเสนอเพียงรายการบันเทิงนั้นไม่ตรงกับพันธกิจของบีบีซี ดังนั้นบีบีซีจึงปรับตัวพัฒนารูปแบบรายการ
ที่สามารถเสนอข้อเท็จจริงและสิ่งที่เป็นประโยชน์ทางสังคมและในขณะเดียวกันก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชม
ที่หลากหลายและสามารถสร้างความนิยมได้ จึงนามาซึ่งการพัฒนาประเภทรายการที่เรียกว่า Factual
Entertainment หรือ ความจริงบันเทิง ซึ่งได้รับการตอบรับจากคนอังกฤษเป็นอย่างดี ทาให้ในทศวรรษที่
20 สถานีโทรทัศน์ในอังกฤษต่างให้ความสาคัญกับการพัฒนารายการประเภทนี้ เพื่อช่วงชิงกลุ่มคนดู
โดยในปัจจุบันรายการประเภทนี้เป็นอาวุธสาคัญในการจัดผังรายการช่วง พรามไทม์ (Prime Time) ของ
ประเทศอังกฤษด้วย
รายการเพื่อสาระความรู้ในประเทศอังกฤษ ไม่ได้หยุดอยู่ที่รายการสารคดีสั้น ยาว หรือรายการ
ข่าว เท่านั้น แต่ยังก้าวข้ามระหว่างรายการบันเทิงและรายการสาระ ด้วยการใช้รูปแบบรายการที่มีการ
ผสมผสานเรื่องบันเทิงในการเล่าเรื่อง และดาเนินรายการที่หลากหลาย เพื่อผลิตรายการที่ใช้ความ
บันเทิงเป็นเครื่องมือนาพาสาระและการตีแผ่ข้อเท็จจริงไปสู่ผู้ชม รูปแบบหลายการนี้ได้รับการจัด
หมวดหมู่รวมอยู่ในประเภทรายการ Factual Entertainment หรือ “ความจริงบันเทิง”
รายการ Factual Entertainment: ตรึงอารมณ์และก่อปัญญา
เมื่อกล่าวถึงการนาเสนอข้อเท็จจริงทางสังคม การให้ความรู้ และการศึกษาในสื่อโทรทัศน์ หรือ
Informative / educational programme หรือ Factual Programme นั้น แบบแผนดั้งเดิมที่รู้จักกันดีก็คือ
“สารคดี” บ้างก็เป็นสารคดีให้ความรู้ บ้างเป็นสารคดีเชิงข่าวเจาะลึกกระแสสังคมและตีแผ่ข้อเท็จจริง แต่
รูปแบบดั้งเดิมนี้ จะเป็นการที่นักข่าวหรือผู้ดาเนินรายการบรรยายเรื่องราว สัมภาษณ์ มีภาพประกอบ
อาจมีการจาลองเหตุการณ์ (Re-construct) ภาพเหตุการณ์ในอดีตประกอบบ้าง แต่ดาเนินเรื่องอย่างเป็น
ทางการ มุ่งเน้นการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างจริงจังจนบางครั้งดูเคร่งเครียดและเป็นเรื่องหนัก รายการ
สารคดีที่เป็นความรู้หรือข้อเท็จจริงของสังคมเหล่านี้ จึงมีกลุ่มคนดูที่จากัด และไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคน
ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่สนใจเรื่องของความบันเทิง เมื่อไม่มีคนดู ก็เป็นธรรมดาที่วงจรชีวิตของ
รายการที่ให้ความรู้จะสั้น และก็ต้องลาจอไปในเวลาไม่นาน ยิ่งในปัจจุบัน ช่องทางเลือกของการรับ
ข่าวสารข้อมูลมีมากขึ้น ทั้งในอินเตอร์เน็ต หรือ โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ทาให้ผู้รับสารไม่จาเป็นต้องพึ่งพา
ความรู้หรือข้อเท็จจริงจากโทรทัศน์อีกต่อไป Jane Root, ผู้ควบคุมการผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์
ช่อง BBC2 ระหว่างปี 1999-2004 (อ้างใน Kirk, 2004) กล่าวว่า ปัจจุบัน โทรทัศน์ไม่ใช่สื่อที่จะนาเสนอ
เพียงแค่ข้อเท็จจริงได้อีกแล้ว เพราะข้อเท็จจริงสามารถหาได้จากสื่ออื่นๆ มากมาย ดังนั้น ผู้ผลิตควรนา
ข้อดีของโทรทัศน์ในการเป็นสื่อที่สามารถสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกได้ดี มาใช้ในการสื่อสารแนวความคิด
ข้อมูล และข้อเท็จจริงสู่คนดู ซึ่งจะได้ประสิทธิผลที่มากกว่า
โทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Television) ให้ความสาคัญกับรายการประเภทนี้น้อย
อยู่แล้ว แต่แม้แต่ ทีวีสาธารณะ (Public Service Broadcasting) ซึ่งมีพันธะในการนาเสนอข้อเท็จจริง
และให้ความรู้กับคนดู ก็ยังต้องหาทางปรับตัวต่อโลกการสื่อสารและวัฒนธรรมการดูที่คนดูมีความช่าง
เลือกมากขึ้น และ เปลี่ยนใจเร็ว อีกทั้งมีความซับซ้อนในรสนิยมและความต้องการที่หลากหลาย
ทางออกของ BBC หนึ่งในยักษ์ใหญ่สื่อโทรทัศน์และต้นแบบการเป็นสื่อสาธารณะคือ การปรับรูปแบบ
รายการให้มีความเป็นนิยมมากขึ้น (Roscoe, 2004) เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลาย กระตุ้นให้เกิดการ
ติดตาม ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสามารถรักษาพันธะกิจในการเป็นสื่อเพื่อสังคม ตีแผ่เรื่องราว และ ให้
ความรู้ ข้อเท็จจริงกับประชาชนได้ด้วย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา BBC มีการให้ความสาคัญกับรายการ
โทรทัศน์ที่เรียกว่าความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงเวลา
กลางวันและ พรามไทม์ของสถานี เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ของอังกฤษ ก็ต่างให้
ความสาคัญกับรายการประเภทนี้
รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) หรือที่ผู้เขียนนิยามคาเรียกเป็นภาษาไทยว่า
รายการความจริงบันเทิงนั้นไม่ใช่ประเภทรายการที่เน้นเรื่องความบันเทิงเป็นหลัก แต่เป็นรายการที่มี
จุดเป้าหมายในการเสนอข้อเท็จจริง แต่ใช้รูปแบบรายการและการนาเสนอที่มีความบันเทิง ซึ่ง
นักวิชาการมองว่าเป็นประเภทรายการที่ผสม (Hybrid) กันระหว่าง ความจริง (Fact) และ เรื่องแต่ง
(Fiction) หรือ ความบันเทิง (Hill, 2005) โดยความท้าทายของการผลิตรายการรูปแบบนี้ คือ การนา
เรื่องที่เข้าใจยาก เรื่องที่เคร่งเครียด ข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบต่อชีวิตของคนและสังคมมาตีแผ่ โดยให้
สามารถเข้าถึงคนดูได้ในหลายระดับ หลายกลุ่ม และเกิดผลต่อยอดในการสร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
หรือ พัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ดังเช่นที่ Alistair Pegg บรรณาธิการรายการ Factual Entertainment ของ
Channel 4 ประเทศอังกฤษ (2008) กล่าวไว้ว่า ทุกอย่างที่นาเสนอในส่วนของรายการประเภทความจริง
บันเทิง (Factual Entertainment) นั้นเป็นรายการที่ต้องเข้าถึงกลุ่มคนดูส่วนใหญ่ ในวงกว้าง โดยมีความ
น่าสนใจที่สามารถตอบสนองรสนิยของคนดูที่หลากหลายได้ แต่ยังคงเน้นในเรื่องของเนื้อหาที่มี
วัตถุประสงค์ในการเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเสมอ
รายการประเภทนี้ไม่ได้เข้ามาแทนที่รายการความจริงหรือสารคดีแบบดั้งเดิม ที่มีความเข้มข้น
ในแง่เนื้อหาสาระ และ การนาเสนอที่จริงจัง รายการเหล่านั้น ยังคงจาเป็นต้องมีอยู่ในสังคม เพื่อ
ถ่ายทอดประเด็นปัญหา และ ตีแผ่ข้อเท็จจริงในสังคมอย่างจริงจัง แต่รายการความจริงบันเทิง (Factual
Entertainment) เป็นทางเลือกสาหรับการนาเสนอข้อเท็จจริง และ สาระความรู้อย่างรูปแบบนิยม เพื่อให้
สามารถเข้าถึงกลุ่มคนดูส่วนใหญ่ของสังคมที่ต้องการรับสารที่ง่ายและเพลิดเพลิน
รายการประเภทนี้มีการใช้รูปแบบของรายการประเภทอื่นๆ มาผสมผสานกับรูปแบบของสารคดี
เพื่อให้มีน่าดูโดยอาศัยความบันเทิงเป็นสิ่งดึงดูดคนดู (Andrew Mackensize, 2008) โดยเน้นเนื้อหา
รายการเป็นการนาเสนอเรื่องราวของชีวิต หรือ สิ่งที่มีผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตของคน
(Kilborn,2003) โดยสามารถเสนอออกมาได้ทั้งในหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
Super Slim Me ทาง BBC Three ในปี 2007 โดย Dawn Porter ผู้ดาเนินรายการใช้ตัวเอง
ทดลองการลดความอ้วนเป็นเวลา 2 เดือนเพื่อให้สามารถลดน้าหนักเป็น size zero ซึ่งเป็นปัญหาสังคม
ที่ เยาวชนพยายามทาตัวเองให้ผอมเช่นนั้น โดยนาเสนอให้เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเธอ
หลังจากความพยายามลดความอ้วนเช่นนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งในรายการเธอมีอาการเจ็บป่วย ซึมเศร้า
อย่างเห็นได้ชัด และสามารถบอกคนดูได้ว่า การทาเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่สมควร การนาเสนอนี้เรียกว่า
รูปแบบ Authored journey คือ ผู้ดาเนินรายการใช้ตัวเองเป็นผู้ทดลองกระทาบางสิ่งบางอย่าง เพื่อตีแผ่
ข้อเท็จจริง และ อธิบายปัญหาในเชิงลึก รายการแบบนี้ น่าสนใจตรงที่คนดูเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่าน
ประสบการณ์ของผู้ดาเนินรายการ เหมือนกับตัวเองได้มีประสบการณ์นั้นร่วมกัน การนาเสนออารมณ์
ความรู้สึก ของผู้ดาเนินรายการ หรือ สถานการณ์ที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของคนดู ทั้งความสุข
เศร้า หวาดกลัว ทาให้รายการมีความบันเทิง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ส่งสารที่ชัดเจนและมีผลกระทบสูงได้
รายการประเภทนี้ เน้นตีแผ่สิ่งที่เป็นปัญหาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีการดาเนินการเพื่อ
แก้ไขปัญหานั้น
The World's Strictest Parents ของ BBC Three ในปี 2008 เป็นรูปแบบการการทดลองใช้ชีวิต
โดยรายการนี้ ให้เด็กวัยรุ่นอังกฤษที่มีปัญหาไปอยู่กับครอบครัวในประเทศอื่นเพื่อทดลองการใช้ชีวิตที่
แตกต่าง และค้นหาวิธีการในการเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นเป็นคนดี รายการนี้ส่วนคนดูผ่านเรื่องราวของเด็ก
วัยรุ่นเหล่านั้น ในแง่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้มีการทบทวนตัวเองว่าวิธีการเลี้ยงลูกของพวกเขาเป็น
อย่างไร ในขณะที่วัยรุ่นที่ดูรายการ มีโอกาสแบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับปัญหาที่ตัวเองเป็นกับลักษณะ
ปัญหาของวัยรุ่นที่ร่วมรายการ และได้เรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งมีประโยชน์ต่อการคิด และ กระตุ้นการ
เปลี่ยนแปลงตัวเอง
Annette Hill (2005) มองว่าลักษณะของการรายการประเภทความจริงบันเทิง (Factual
Entertainment) เป็นเครื่องมือในการนาเสนอเรื่องจริงในแง่มุมที่ดึงดูดคนดูได้มากขึ้นและให้ความรู้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถส่งสารไปถึงกลุ่มคนที่ไม่ชอบดูรายการสาระที่เคร่งเครียดอย่างสารคดี
ได้ โดยเฉพาะมีแรงกระตุ้นให้เยาชนและวัยรุ่นได้คิดตามอย่างเป็นผลดี เช่นเดียวกับ Jane Roscoe
(2004) ที่มองว่า รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) สามารถดึงดูดคนดูได้ทั้งในแง่
ส่วนตัวและภาพรวมใหญ่ของสังคม ผ่านการใช้ละคร และ เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ของคนดู
ในขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์หรือให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นของสังคม ทาให้เรื่องเครียด เรื่องหนัก
ปัญหา หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการนาเสนอเป็นเรื่องในชีวิตประจาวันและใกล้ชิดคนดูมากขึ้น ก็จะมีผลต่อ
ความรู้สึกของคน สามารถตรึงคนดูได้ และสื่อสารสิ่งที่ต้องการให้คนดูได้รับรู้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น
จากความรู้สึกใกล้ชิดต่อเนื้อหารายการ และ อารมณ์ความสะเทือนใจ และประสบการณ์หรือ
เหตุการณ์ที่มีความเป็น dramatic ของรายการประเภทนี้ นาไปสู่การพูดคุย วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ
ประเด็นในรายการอย่างแผร่หลายได้ รายการประเภทนี้มักทาให้เกิดการ Talk of the town ในลักษณะที่
กว้างกว่ารูปแบบรายการสารคดีแบบเดิม (Hill, 2005) เพราะเข้าถึงคนดูได้หลายกลุ่ม ให้ความรู้สึก
ใกล้ชิดกับประสบการณ์ ชีวิตจริง เรื่องราวในชีวิตประจาวันของคนทั่วไปมากกว่า ทาให้เกิดการพูดกัน
อย่างหลากหลาย อาจมีทั้งในระดับของการพูดถึง จนถึงการวิเคราะห์ และ กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการ
เปลี่ยนแปลง หรือหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่ง Jane Roscoe (2004) มองว่าผู้ผลิตรายการโทรทัศน์
ควรมองหาวิธีในการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มคนดู และไม่ควรคิดเอาเองว่าคนดูอยากดูแต่เรื่องบันเทิงไร้
สาระ เพราะจากการที่รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) มีอัตราการเติบโตสูงใน
โทรทัศน์หลายๆ ประเทศ แสดงว่าคนก็ชอบดูเรื่องที่เป็นความจริง เพียงแต่คนผลิตต้องหาทางทาให้น่าดู
และสามารถตรึงคนดูได้ทั้งในเชิงอารมณ์และการเสริมสร้างปัญญาความรู้
ตัวอย่างเช่น รายการ Make Me Younger ของ BBC Three ตั้งแต่ปี 2008 ถึงปัจจุบัน เป็น
รายการที่ตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีการใช้ชีวิตที่ผิดซึ่งมีผลต่อการสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะการใช้
ชีวิตในแบบที่ผิดของวัยรุ่น ทั้งการทาให้เป็นสีแทน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยา ควบคุม
อาหารหรือลดน้าหนักมากเกินไป เป็นต้น โดยรายการให้คนธรรมดา โดยเฉพาะวัยรุ่น มาเป็นแขกใน
รายการ มีการตรวจร่างกายให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ ทาให้ร่างกายนั้นแก่ไปจากความจริงกี่ปี และมีการ
ช่วยเหลือให้ผู้ร่วมรายการแก้ไขลักษณะการดาเนินชีวิตเพื่อปรับสภาพให้สู่ปกติ โดยทาในลักษณะของ
เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ติดตามการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ร่วมรายการ เนื้อหา และ การนาเสนอ เน้น
ให้เห็นผลร้ายอย่างชัดเจน และการเดินเรื่องให้ติดตามผู้ดาเนินรายการให้การเปลี่ยนตัวเองทาให้น่า
ติดตาม ซึ่งหากต้องการอธิบายเรื่องสุขภาพหรือผลเสียของการใช้ชีวิตในแบบที่ผิดด้วยรูปแบบสารคดี
การเล่าเรื่องดั้งเดิม (Traditional Documentary) ก็จะไม่ทาให้รู้สึกเป็นเรื่องใกล้ตัวคนดู และ มีผลกระทบ
ต่อการคิดของคนได้น้อยกว่า อีกทั้งไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนดูวัยรุ่นด้วย นอกจากนี้ ผลกระทบของการ
รายนี้ยังนาไปสู่กระแสสังคมในการพูดถึงภัยต่างๆ ที่อาจเกิดกับสุขภาพได้มาก ดังเห็นได้จากมีเว็บไซด์
นาเสนอเรื่องราวต่อเนื่อง
โดยสรุปรูปแบบรายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) มีลักษณะสาคัญร่วมกันดังนี้
1. หาคาตอบเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ชีวิตประจาวันซึ่งมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่
2. ใช้คนดาเนินเรื่องในลักษณะที่แตกต่างกัน แต่มักเป็นเรื่องของคนทั่วไป ทาให้คนดูสามารถ
แบ่งปันความรู้สึก และ ประสบการณ์ส่วนตัวไปผู้เดินเรื่องในรายการ
3. เนื้อหาต้องการตีแผ่เรื่องราวบางอย่าง นาเสนอสิ่งที่ไม่คาดคิดให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อเสนอ
มุมมองต่อสังคมที่หลากหลาย
4. รายการมีลักษณะของการกระตุ้นให้เกิดการคิด สร้างประเด็นในสังคม เพื่อนาไปสู่การ
พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างทั้งในเชิงปัจเจกบุคคล และ สังคม
5. มีลักษณะของการให้ความบันเทิงมาก แต่นาเสนอเนื้อหาบนพื้นฐานของเรื่องจริงและ
ประเด็นปัญหาของสังคม ซึ่งผู้ชมจะเพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่มีการสะท้อนให้เห็นถึง
ประเด็นสาคัญในการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม
6. ผลของรายการมีลักษณะการสร้างผลกระทบทันทีทันใด กล่าวคือ ดูแล้วเข้าใจง่าย มีผลต่อ
ความรู้สึกและความคิดของผู้ชมโดยตรงและทันที นั่นหมายความว่า รายประเภทนี้ต้อง
สามารถตรึงคนดูให้ติดตาม นาเสนอความคิดและประเด็นอย่างชัดเจน ด้วยรูปแบบการ
นาเสนอที่ชาญฉลาดและมีความบันเทิง
7. รูปแบบรายการนี้สามารถนาเสนอประเด็นต่างๆ ได้ทั้งเรื่องที่หนักมากทั้งแง่การเมือง
เศรษฐกิจ และปัญหาสังคม ตลอดจนการเสนอเกร็ดความรู้ และการสอน
8. การนาเสนอไม่ใช่การบอกเล่า การสั่งสอน หรือบอกให้ทา แต่เป็นการสร้างความเข้าใจผ่าน
ประสบการณ์ ผ่านสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในรายการ โดยอาศัยหลักการ กระตุ้นให้คิดด้วย
การมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นแล้วสะท้อนภาพตัวเอง
จะเห็นได้ว่า รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) เป็นประเภทของรายการที่เป็น
ทางเลือกในการนาเสนอรายการที่มีคุณภาพให้เป็นที่นิยมได้ โดยสิ่งที่สาคัญคือการพัฒนาและพลิกแผลง
การใช้รูปแบบบันเทิงในการนาเสนอให้มีความหลากหลาย โดยอาศัยแนวคิดในเรื่องการผสมรูปแบบ
รายการหลายประเภทเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Hybridization
Hybrid Reality: ก้าวข้ามระหว่างข้อเท็จจริงและเรื่องแต่ง
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) มีพัฒนาการหลักเพื่อลดความจริงจังของสารคดี และ
ใช้ข้อดีของการรูปแบบรายการที่มีความบันเทิงมาสร้างความน่าดูให้กับรายการสาระ ลักษณะที่โดดเด่น
ของรายการความจริงบันเทิงที่ประสบความสาเร็จคือ การใช้รูปแบบที่เป็นลูกผสมระหว่างประเภท
รายการ และรูปแบบรายการที่หลากหลายเพื่อสร้างการนาเสนอที่แปลกใหม่ รายการความจริงบันเทิง
(Factual Entertainment) ที่ประสบความสาเร็จและได้รับการตอบรับที่ดีมากมักเป็นรายการที่ใช้ เรียลิตี้
ทีวี (Reality TV) และ ลักษณะรายการลูกผสม (Hybrid) ระหว่างเนื้อหาและรูปแบบรายการในการ
นาเสนอ
เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) คือรูปแบบรายการประเภทใหม่ที่กาลังเติบโตและเป็นที่นิยมทั่วโลก
โดยเป็นรายการที่จัดอยู่ในประเภทการนาเสนอข้อเท็จจริง (Factual Television) ในขณะเดียวกัน
นักวิชาการก็ให้ความสาคัญกับการศึกษารูปแบบรายการประเภทนี้ ซึ่งยังไม่มีใครสามารถให้นิยาม
รายการแบบนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะลักษณะสาคัญของรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) คือการผสม
ระหว่างรูปแบบและเนื้อหาที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองตามการนาไปใช้ได้หลายรูปแบบ Kilborn (1994)
พยายามให้คาอธิบายรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ไว้ว่าเป็นรายการลูกผสมระหว่างรูปแบบรายการ
ที่มีผู้ดาเนินรายการ (Presenter Talk) การถ่ายทาแบบติดตามดูพฤติกรรมของคนในรายการเพื่อให้เผย
ความจริงออกมาเองโดยไม่ต้องมีการกากับหรือชี้นา (Cinéma vérité) การสร้างภาพแทนเรื่องจริง
(reconstruction) และ การมีส่วนร่วมของคนดู (Audience Participation) ซึ่ง Cavender และ Maupin
(1993) ระบุให้รายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้นเป็นอีกรายการประเภทโทรทัศน์ประเภทใหม่ ส่วน
Dauncey (1996) แบ่งรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ออกเป็นสามรูปแบบคือ รายการล่าเกี่ยวกับ
ความกล้าหาญของชีวิตอย่างมีอารมณ์เข้มข้น รายการสนทนาหรือการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์
ความรู้สึก และ รายการสะท้อนหน้าที่การเป็นพลเมือง ทั้งนี้ การที่จะเข้าใจลักษณะความเป็น เรียลิตี้ ทีวี
(Reality TV) ได้นั้น จาเป็นต้องเข้าใจถึงพัฒนาการของรายการประเภทนี้
รายการ Reality TV ในยุคเริ่มแรกนั้นเป็นรูปแบบที่นาไปใช้ในการสร้างสีสันให้รายการนิตยสาร
ข่าวทางโทรทัศน์ โดยใช้นาเสนอเรื่องเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉิน เช่น การปฏิบัติงานของตารวจ (Creeber,
2001) โดยนักวิชาการเชื่อว่า เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มีจุดกาหนดที่สหรัฐอเมริกาจากรายการ
Unsolved Mysteries ของสถานีโทรทัศน์ NBC ในปี 1987 และมีสถานีต่างๆ พัฒนารายการเรียลิตี้ ทีวี
ที่เกี่ยวกับตารวจและเหตุการณ์ฉุกเฉินตามออกมาหลายรายการ อาทิ Rescue 911 ของ CBS, Cops
ของ Fox และ Emergency 999 ของ BBC (Bignell, 2005) John Dovey (2001) อธิบายลักษณะของ
เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ในแง่โครงสร้างรายการว่าประกอบด้วยการใช้กล่องบันทึกเหตุการณ์ในลักษณะ
การสังเกตการณ์ (Observation) และ ภาพที่ใช้เป็นภาพในสถานที่และเหตุการณ์จริง (Actuality
Footage) เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์หรือการทดลองของผู้ดาเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ หรือ ผู้พยานใน
เหตุการณ์ โดยอาจมีการจาลองเหตุการณ์เพื่อเสริมการเล่าเรื่องโดยใช้ลักษณะของละคร หรือ เรื่องแต่ง
รวมถึงมีการใช้ผู้ดาเนินรายการ ผู้เล่าเรื่อง หรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นและเชื่อมรายการให้น่าเชื่อถือ
พัฒนาการในยุคต่อมาของ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มาจากการเติบโตของรายการสารคดี
สังเกตการณ์หรือ Observational Documentaries หรือที่รู้จักกันดีจากการพัฒนารายการรูปแบบ Docu-
soap ในประเทศอังกฤษ ซึ่งในช่วงปี 1995-1999 มีรายการประเภท Docu-soap ในสถานีโทรทัศน์หลัก
ของอังกฤษกว่า 65 รายการ และสามารถดึงดูดคนดูได้กว่า 12 ล้านคน (Hill, 2005) เป็นรูปแบบการ
ผสมระหว่างสารคดี และ ละคร โดยติดตามดูพฤติกรรมของคนในรายการเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
เรื่องต่างๆ และมีการเร้าอารมณ์เหมือนกับดูละคร นอกจากนั้นรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) อีก
ประเภทที่เติบโตมากในช่วงเวลานี้คือรายการเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง
ให้ดีขึ้น (Makeover) ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ทั้งการจัดบ้าน จัดสวน
ทาอาหาร จากเดิมที่มีพิธีกรมาสาธิตการทา กลายเป็นการใช้รูปแบบที่มีการติดตามดูกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน
การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับคนอื่นในรูปแบบต่างๆ รายการประเภทนี้เริ่มต้นพัฒนาที่อังกฤษและ
ขยายความนิยมไปยังยุโรป
ยุคต่อมาของการพัฒนารายการรูปแบบ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) คือการใช้แนวคิดทดลองใช้
ชีวิตและทดลองสังคม โดยการให้คนธรรมดามาอยู่ในสถานการณ์หนึ่งที่กาหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อศึกษา
สิ่งที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการพัฒนาเรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มาใช้ในรูปแบบของเกมโชว์เพื่อศึกษา
พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้น เป็นการพัฒนารูปแบบจากยุโรปไปสู่อังกฤษ และยุคปัจจุบันของรายการเรียลิตี้
(Reality) คือการผสมผสานรูปแบบทั้งหลายโดยมีการคิดวิธีการนาเสนอที่ไม่มีข้อจากัดและสามารถ
พลิกแพลงได้หลากหลาย โดยในอเมริกาเน้นเรื่องของอาชญากรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฝั่ง
อังกฤษเน้นให้ความสาคัญกับเนื้อหาเรื่องการทดลองชีวิตเพื่อตีแผ่ความจริงของสังคมและรายการ
เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) ในขณะที่ยุโรปพัฒนารูปแบบของเรียลิตี้เกมโชว์ (Reality Game Show)
(Hill, 2005 และ Bignell, 2005)
เนื้อหาที่รายการเรียลิตี้นาเสนอ สามารถครอบคลุมได้ทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม
สุขภาพ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฯลฯ โดยสามารถมีรูปแบบในการดาเนินเรื่องที่
ต่างกัน อาทิ การใช้ผู้ดาเนินรายการทดลองสิ่งที่ต่างๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงและตีแผ่เรื่องนั้นๆ การมีผู้
ร่วมรายการทดลองใช้ชีวิตในข้อจากัดต่างๆ รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ๆ ให้ดีขึ้น ตลอดจน
รูปแบบของการเล่นเกม อย่างไรก็ตาม รายการประเภทนี้ยังคงมีลักษณะสาคัญสองประการคือ ความสด
ใหม่ (raw) และ ความแท้จริง (authentic) ของเนื้อหา (Dovey, 2001) ซึ่งการนารูปแบบเรียลิตี้ ทีวี มาใช้
ในประเภทรายการความจริงบันเทิงนั้น เป็นการนาข้อดีของรูปแบบการนาเสนอที่เพลิดเพลิน หวือหวา
และบันเทิงใจตามรูปแบบของสื่อแทบลอยด์ (Tabloid) คือ มีรูปแบบชาวบ้าน เข้าใจง่าย เป็นเรื่อง
เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก และวิถีชีวิตคน มาใช้ในการสื่อสารข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
ของสังคม หรือกล่าวในอีกแง่คือ การผสมเนื้อหาในแง่ของสาระและบันเทิงเข้ากันอย่างกลมเกลียว โดย
เนื้อหาของเรียลิตี้ ทีวีนั้นก็สามารถเป็นได้ทั้งเรื่องจริง สาระที่จริงจัง (Serious issue) ความรู้ทั่วไป
(Knowledge) รายการสาระบันเทิง (Edutainment) จนถึงรายการบันเทิงเพียงอย่างเดียว (Pure
Entertainment) ดังนั้น การนามารูปแบบเรียลิตี้มาใช้ในประเภทรายการความจริงบันเทิงจาเป็นต้องมี
ความชัดเจนในประเด็น เป้าหมาย และ เนื้อหา เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อเท็จจริงสู่ผู้ชมได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้น รายการนั้นก็จะกลายเป็นเพียงรายการบันเทิงที่คนดูเพื่อความเพลิดเพลินเพียง
อย่างเดียว
เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มักมีตัวแสดงหรือคนเดินเรื่องเป็นคนทั่วไป เพราะเป็นการสะท้อนสิ่งที่
ใกล้เคียงกับคนดู ทาให้เกิดความใกล้ชิด และมีการแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งจะทาให้เกิดอารมณ์ร่วม
ติดตาม และมีผลกระทบต่อการกระตุ้นความคิดของคนดูได้ง่าย เช่น รายการ สารคดี “The Family” ซึ่ง
ใช้การติดตามดูพฤติกรรมภายในบ้านของครอบครัวชนชั้นกลางครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ เพื่อสะท้อน
ถึงสภาพสังคม ปัญหาครอบครัวในปัจจุบันของอังกฤษ และมีการเปิดโอกาสให้วัยรุ่นมาร่วมวิเคราะห์และ
แสดงความเห็นต่อเหตุการณ์หรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวนั้นในท้ายรายการด้วย รายการนี้
นอกจากจะสะท้อนสิ่งที่เป็นจริงในสังคมให้เห็นแล้ว การนาเสนอในรูปแบบเรียลิตี้ ที่มีคนธรรมดาเป็นคน
ดาเนินเรื่องที่เป็นจริงให้คนดูได้ชม ทาให้คนดูมีความรู้สึกและประสบการณ์ร่วม เกิดการวิพากษ์วิจารณ์
เป็นกระแสสังคม และนาไปสู่การกระตุ้นการแก้ปัญหาและการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น นอกจากรายการจะ
ได้รับความนิยม ซึ่งดีต่อสถานีแล้ว คนดูยังได้รับรู้ถึงปัญหา และ แนวทางการคิด แก้ปัญหานั้น ในมุมที่
แตกต่างกันด้วย เรียกได้ว่า คนทาได้ทาสิ่งที่ต้องนาเสนอ และคนดูก็ได้ดูสิ่งที่เพลิดเพลินด้วย
John Corner (1995) กล่าวว่า รายการประเภทเรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้น มีลักษณะพิเศษใน
การถ่ายทอดประสบการณ์ประสบการณ์ของคนที่อยู่ในรายการให้ผู้ชม โดยให้ความรู้สึกว่า เป็นการพบ
ประสบการณ์นั้นเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น การนารูปแบบเรียลิตี้ เปิดเผยข้อเท็จจริงที่สังคมไม่เคย
รู้มาก่อน แต่ควรรับรู้ เป็นแนวทางที่สามารถทาได้ และจากความรู้สึกใกล้ชิดเหมือนเป็นประสบการณ์
ส่วนตัวของผู้ชมจะให้ผลในเชิงการกระตุ้นการคิดหรือพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่ารายการสาระที่
เป็นเพียงการบอกเล่าเนื้อหาประกอบภาพ อาจกล่าวได้ว่า การใช้ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ในเชิงการ
สื่อสารสาระ และข้อเท็จจริงผ่านการสังเกตการณ์ประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในรายการ ทาให้เกิดการเรียนรู้
ในประเด็นต่างๆ อย่างไม่เป็นทางการ การเรียนรู้เช่นนี้ มีผลกระทบที่ก่อให้เกิดการคิด นาไปสู่การ
กระทา หรืออย่างน้อยก็ทาให้เกิดการพูดจาเป็นประเด็นในสังคมเพื่อกระตุ้นการพัฒนาได้ดีกว่า
เช่นเดียวกับที่ อ. กาญจนา แก้วเทพ (2545) กล่าวไว้ว่า รายการสาระที่เป็นบันเทิง ให้ผลในการสื่อสาร
ดีกว่า สาระเพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ รายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ที่มีความเป็น ไฮบริด (hybrid) หรือมีลักษณะรูปผสม
ระหว่างเนื้อหาและรูปแบบการนาเสนอ จะเป็นรูปแบบรายการความจริงบันเทิง (Factual
Entertainment) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารสาระ ข้อเท็จจริงพร้อมกับดึงดูดคนดูหลากหลายกลุ่ม
ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทั้งการเป็นรายการคุณภาพและรายการยอดนิยม ลักษณะการเป็นลูกผสม
หรือ ไฮบริด (Hybrid) ใน รายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้นเป็นได้สองลักษณะ คือ
ประการแรก ไฮบริด (Hybrid) ในเชิงรูปแบบรายการ ด้วยความเป็นเรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้น
มีการผสมผสานระหว่างรูปแบบรายการอยู่แล้ว ซึ่งหากสามารถเลือกใช้การข้ามระหว่างรูปแบบรายการ
ประเภทต่างๆ มาผสมผสานกันได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์และลงตัว จะทาให้รายการน่าดู เสนอสิ่ง
แปลกใหม่ เกิดรูปแบบรายการที่หลากหลาย น่าติดตาม เหมือนการสร้างนวัตกรรมให้วงการโทรทัศน์
เนื่องจากธรรมชาติของเรียลิตี้สามารถผสมผสานรูปแบบการนาเสนอได้อย่างสร้างสรรค์โดยไม่มี
ขีดจากัด จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่จะทดลองผสมผสานรูปแบบรายการต่างๆ ให้เกิด
เป็นรูปแบบใหม่ โดยเน้นอยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือ เสนอสิ่งที่ เป็นจริง (Hill, 2005) เพราะความเป็นจริง
สถานการณ์จริง ชีวิตจริงของคน คือจุดเด่นของเรียลิตี้ที่สามารถทาให้การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ และ
การนาเสนอข้อเท็จจริง เกิดประสิทธิภาพต่อการคิดของคนได้ดี เราสามารถนารูปแบบรายการแบบใดก็
ได้ และ กี่แบบก็ได้มาผสมผสานเป็นการเล่าเรื่องใน 1 รายการ
ประการที่สอง คือการ การผสมระหว่าง สาระ และ ความบันเทิง ซึ่งเป็นหัวใจของรายการ ความ
จริงบันเทิง (Factual Entertainment) โดยการทาให้ข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องหนัก ผสมเข้ากับเนื้อหาที่มี
ความบันเทิงนั้น จะทาให้รายการสามารถเข้าถึงคนดูง่าย กว้าง และมีผลกระทบสูง (Roscoe, 2004)
การไฮบริดเนื้อหารายการแบบนี้ ไม่ใช่รายการบันเทิงที่แทรกสาระ แต่ต้องเป็นรายการสาระที่ใช้รูปแบบ
ที่มีความบันเทิง กล่าวคือการเป็นรายการบันเทิงแล้วแทรกสาระนั้น เพื่อเพิ่มคุณค่าให้รายการ เช่น ดู
ละคร แล้วได้คติสอนใจ ดูเกมโชว์แล้วได้ความรู้จากสิ่งที่รายการถาม แบบนี้เป็นบันเทิงที่แทรกสาระ แต่
รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) สาระต้องเป็นตัวนา โดยมีความชัดเจน เข้มข้น และ
มีเป้าหมายในการให้ข้อเท็จจริง ผ่านการใช้รูปแบบรายการที่มีความบันเทิง หรือ มีบางส่วนของเนื้อหา
เป็นความบันเทิงเพื่อตรึงคนดูให้ติดตาม รายการลักษณะนี้จะไม่ได้มีการนาเสนอเนื้อหาเพียงมิติเดียว
แต่มีการเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจสาคัญของรายการอย่างหลากหลาย เพื่อให้สามารถ
เข้าถึงความสนใจและรสนิยมของคนดูที่แตกต่างกัน เช่น รายการ Victorian Farm ของ BBC ในปี 2008
เป็นรายการเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนในชนบทในยุค 1885 ซึ่งให้ผู้ร่วมรายการดาเนินชีวิตทุกอย่าง
เหมือนที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหารการกิน และ
วิถีชีวิตดั้งเดิม รายการมีความเป็นลูกผสมในแง่เนื้อหาทั้งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ให้ทราบถึงเหตุการณ์
ในยุคสมัยนั้น การสังเกตการณ์สังคมในยุคก่อนว่าผู้คนมีวิถีการดาเนินชีวิตอย่างไร ตลอดจน สร้างความ
น่าสนใจด้วยกันให้คนได้ติดตามพฤติกรรมของผู้ดาเนินรายการว่าการค้นพบความจริงของเรื่องราวใน
อดีตนั้นมีผลต่อเขาอย่างไร การผสมผสานเนื้อหาและแง่มุมในการนาเสนอนี้ทาให้รายการมีมิติ สามารถ
จับความสนใจของกลุ่มคนดูที่แตกต่างกันได้ โดยสามารถเข้าถึงคนที่ต้องการรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์
เข้าถึงกลุ่มคนที่ชอบดูเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตและวัฒนธรรม หรือแม้แต่กลุ่มคนที่ต้องการความบันเทิงจาก
การสังเกตพฤติกรรมและสนุกกับการติดตามประสบการณ์ของผู้อื่นตามลักษณะของผู้ชื่นชอบรายการ
แบบเรียลิตี้ โดยไม่ว่ากลุ่มผู้ชมประเภทใดก็ตามได้ดูรายการ สุดท้ายแล้วสิ่งที่ได้รับคือความรู้เกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ในอดีต และชีวิตที่ต่างจากความเป็นอยู่อย่างที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า โดยภาพรวมแล้ว การทารายการสาระแบบผสมผสานข้อเท็จจริงกับความบันเทิง
ด้วยรูปแบบรายการที่หลากหลายนั้น มีจุดเด่นซึ่งเป็นข้อดีที่น่าสนใจคือ ประการแรก สามารถเข้าถึงกลุ่ม
คนดูที่หลากหลาย (Boyle, 2008) เนื่องจากเนื้อหามีความเป็นไฮบริด (hybrid) สามารถเสนอมุมมองซึ่ง
คนแต่ละกลุ่มสนใจต่างกัน ทาให้มีกลุ่มคนดูมากขึ้น ประการที่สอง ความบันเทิงช่วยดึงดูดกลุ่มคนที่ไม่
ต้องการดูรายการสาระที่หนักและเคร่งเครียด แต่ในการดูสิ่งที่เพลิดเพลิน ผู้ชมยังคงได้รับสารที่เป็น
ประโยชน์ที่ผู้ผลิตรายการต้องการบอกในลักษณะของการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ (Informal learning)
โดยเฉพาะรายการตีแผ่ข้อเท็จจริง และ รายการเพื่อสอน ประการที่สาม ลักษณะของการตรึงผู้ชมและ
การรับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นเหมือนว่าเป็นประสบการณ์ของตัวเองตามลักษณะของรายการ
ประเภทเรียลิตี้ในรายการเพื่อรณรงค์ให้เกิดการคิด หรือ สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตัวเองและสังคม
มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนดูชัดเจนและสามารถกระตุ้นให้เกิดการคิดและการเปลี่ยนพฤติกรรมได้
(Langer, 1998 และ Wood, 2004)
ยกตัวอย่างเช่น รายการ The British Food Fight ทาง Channel 4 ในปี 2008 ซึ่งตอนที่ประสบ
ความสาเร็จในการกระตุ้นกระแสสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีคือ Hugh’s Chicken Run โดยมีเนื้อหา
เกี่ยวกับการณรงค์ให้เห็นว่า การเลี้ยงไก่ฟาร์มเปิดและฟาร์มปิดนั้นดีไม่ดีต่างกันอย่างไร ประเด็นของ
เรื่องคือต้องการชักชวนคนให้เห็นว่า ฟาร์มเปิดที่ให้อิสระกับไก่เป็นวิธีการเลี้ยงที่ดีกว่า นอกจากจะได้ไก่
ที่มีคุณภาพแล้วยังไม่เป็นการทารุณสัตว์ด้วย อีกทั้งรายการยังต้องการกระตุ้นให้คนหันมาบริโภคสินค้า
ไก่และไข่ที่มาจากฟาร์มเปิด การดาเนินรายการใช้รูปแบบ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ให้พ่อครัวชื่อดังเปิด
ฟาร์มเลี้ยงไก่ โดยทาฟาร์มในสองลักษณะทั้งฟาร์มเปิดและปิดคู่กัน คนดูจะได้เห็นขั้นตอนของการเลี้ยง
และการเก็บผลผลิตจากรูปแบบของฟาร์มทั้งสองผ่านประสบการณ์ของพ่อครัว ซึ่งมีเหตุการณ์ที่เป็นจริง
และสะเทือนใจจากการเลี้ยงไก่ฟาร์มเปิดให้ผู้ชมได้เห็น เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและไม่มี
การปั้นแต่ง แต่คนดูที่ติดตามรายการได้รู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์นั้น ผลกระทบต่อ
ความรู้สึกของคนหลังจากดูรายการมีค่อนข้างสูง นอกจากนั้น ในรายการยังมีการเปิดโอกาสให้คน
ธรรมดาในหมู่บ้านนั้นเป็นตัวแทนบอกเล่าความรู้สึกของสิ่งที่ได้เห็น โดยในรายการพ่อครัวที่ดาเนิน
รายการ ไปเผยแพร่ความรู้ให้คนในหมู่บ้าน พาคนในหมู่บ้านมาดูลักษณะของฟาร์ม และทาอาหารจาก
ผลิตภัณฑ์ของไก่จากทั้งสองฟาร์มให้ชิมเปรียบเทียบ ความเห็นและความรู้สึกของคนธรรมดาที่เข้า
มาร่วมในรายการนั้น สะท้อนความรู้สึกให้คนดูรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นผู้ได้รับประสบการณ์นั้น ยิ่งช่วย
กระตุ้นการคิดและการเรียนรู้จากเหตุการณ์ในรายการได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งผลต่อเนื่องจากรายการทาให้เกิด
กระแสสังคมในการรณรงค์การเลี้ยงไก่แบบฟาร์มเปิดตลอดจนการบริโภคสินค้าจากฟาร์มเปิดมากขึ้น
แม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ก็ตื่นตัวให้ความสาคัญกับสินค้าจากฟาร์มเปิดและมีการปรับราคาสินค้าจาก
ฟาร์มเปิด (Free Range Product) ให้คนทั่วไปสามารถซื้อได้มากขึ้น จากการวิเคราะห์จะเห็นว่า การที่
รายการพาคนดูติดตามเหตุการณ์ที่เป็นจริงอย่างใกล้ชิด ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกแท้จริงของคน
ดาเนินรายการและผู้ร่วมรายการที่เป็นคนธรรมดาเหมือนกับคนดูรายการ มีผลกระทบต่อการกระตุ้น
ความคิดและความรู้สึกของคนดูได้มากกว่าการจัดทาเป็นสารคดีเล่าเรื่องแบบดั้งเดิม อีกทั้งรายการยัง
ดาเนินเรื่องด้วยความบันเทิง ทาให้เกิดการติดตามว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นการสื่อสารที่
เข้าใจง่าย ชัดเจน ตรงไปตรงมา เป็นเทคนิคในการทาให้ “รู้สึก” และ “คิดตาม” (Hill,2005)
อีกตัวอย่างหนึ่งจากรายการ Britain’s Missing Top Model ทาง BBC Three ในปี 2008 เป็น
รายการเรียลิตี้ เกมโชว์ แข่งขันการหานางแบบหน้าใหม่ แต่ที่พิเศษคือนางแบบเหล่านั้นเป็นผู้มีความ
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน
ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน

More Related Content

What's hot

[CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI "
[CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI " [CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI "
[CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI "
Dao Hieu
 
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..Samorn Tara
 
Bản Lĩnh Marketer 2018
Bản Lĩnh Marketer 2018Bản Lĩnh Marketer 2018
Bản Lĩnh Marketer 2018
Phuong Anh Vu
 
Young marketers 5+1 + Lê Văn Thiên Phúc
Young marketers 5+1 + Lê Văn Thiên PhúcYoung marketers 5+1 + Lê Văn Thiên Phúc
Young marketers 5+1 + Lê Văn Thiên Phúc
Phúc Thiên
 
Young Marketers 5+1 + Trần Hoàng Dương
Young Marketers 5+1 + Trần Hoàng DươngYoung Marketers 5+1 + Trần Hoàng Dương
Young Marketers 5+1 + Trần Hoàng Dương
Dương Trần Hoàng
 
ภาพยนตร์เบื้องต้น
ภาพยนตร์เบื้องต้นภาพยนตร์เบื้องต้น
ภาพยนตร์เบื้องต้นWorapon Masee
 
Young Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNG
Young Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNGYoung Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNG
Young Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNG
Hoang BUI
 
[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline
[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline
[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline
Sao Kim Brand Creation and Consultancy Company
 
The dark knight poster analysis
The dark knight poster analysisThe dark knight poster analysis
The dark knight poster analysis
Hussein Al-Aasadi
 
Khảo sát về quảng cáo trên truyền hình
Khảo sát về quảng cáo trên truyền hìnhKhảo sát về quảng cáo trên truyền hình
Khảo sát về quảng cáo trên truyền hình
InfoQ - GMO Research
 
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinotiสร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
Hoat dong pr va ngan hang techcombank
Hoat dong pr va ngan hang techcombankHoat dong pr va ngan hang techcombank
Hoat dong pr va ngan hang techcombank
nguyenhamar
 
Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9
Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9
Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9
ssuserf08d02
 
การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )
การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )
การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )
Ananta Nana
 
YME7 - Thien Long Individual Mid-term assignment
YME7 - Thien Long Individual Mid-term assignmentYME7 - Thien Long Individual Mid-term assignment
YME7 - Thien Long Individual Mid-term assignment
roojames
 
Young Marketers 5+1 + Đặng Quang Minh
Young Marketers 5+1 + Đặng Quang MinhYoung Marketers 5+1 + Đặng Quang Minh
Young Marketers 5+1 + Đặng Quang Minh
Quang-Minh (Eddie) Dang
 
Ok condom campaign
Ok condom campaignOk condom campaign
Ok condom campaign
Cường Nguyễn Văn
 
Young Marketers 7 + Trịnh Phương Anh
Young Marketers 7 + Trịnh Phương AnhYoung Marketers 7 + Trịnh Phương Anh
Young Marketers 7 + Trịnh Phương Anh
Phuong Bossie
 

What's hot (20)

[CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI "
[CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI " [CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI "
[CHAM VIET NAM ] HỒ SƠ TÀI TRỢ MV " HƯỚNG VỀ HÀ NỘI "
 
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
 
Bản Lĩnh Marketer 2018
Bản Lĩnh Marketer 2018Bản Lĩnh Marketer 2018
Bản Lĩnh Marketer 2018
 
Young marketers 5+1 + Lê Văn Thiên Phúc
Young marketers 5+1 + Lê Văn Thiên PhúcYoung marketers 5+1 + Lê Văn Thiên Phúc
Young marketers 5+1 + Lê Văn Thiên Phúc
 
Young Marketers 5+1 + Trần Hoàng Dương
Young Marketers 5+1 + Trần Hoàng DươngYoung Marketers 5+1 + Trần Hoàng Dương
Young Marketers 5+1 + Trần Hoàng Dương
 
ภาพยนตร์เบื้องต้น
ภาพยนตร์เบื้องต้นภาพยนตร์เบื้องต้น
ภาพยนตร์เบื้องต้น
 
Young Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNG
Young Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNGYoung Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNG
Young Marketers 7 + BÙI HUY HOÀNG
 
[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline
[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline
[SaoKim.com.vn] - Hệ thống nhận diện thương hiệu Eposi brand guideline
 
The dark knight poster analysis
The dark knight poster analysisThe dark knight poster analysis
The dark knight poster analysis
 
Kich ban phong su
Kich ban phong suKich ban phong su
Kich ban phong su
 
Khảo sát về quảng cáo trên truyền hình
Khảo sát về quảng cáo trên truyền hìnhKhảo sát về quảng cáo trên truyền hình
Khảo sát về quảng cáo trên truyền hình
 
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinotiสร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
 
Hoat dong pr va ngan hang techcombank
Hoat dong pr va ngan hang techcombankHoat dong pr va ngan hang techcombank
Hoat dong pr va ngan hang techcombank
 
ใบส่งมอบงาน
ใบส่งมอบงานใบส่งมอบงาน
ใบส่งมอบงาน
 
Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9
Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9
Vu Nguyen Mai Linh - Young Marketer Contest 9
 
การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )
การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )
การผลิตสื่อดิจิทัล (DIGITAL MEDIA )
 
YME7 - Thien Long Individual Mid-term assignment
YME7 - Thien Long Individual Mid-term assignmentYME7 - Thien Long Individual Mid-term assignment
YME7 - Thien Long Individual Mid-term assignment
 
Young Marketers 5+1 + Đặng Quang Minh
Young Marketers 5+1 + Đặng Quang MinhYoung Marketers 5+1 + Đặng Quang Minh
Young Marketers 5+1 + Đặng Quang Minh
 
Ok condom campaign
Ok condom campaignOk condom campaign
Ok condom campaign
 
Young Marketers 7 + Trịnh Phương Anh
Young Marketers 7 + Trịnh Phương AnhYoung Marketers 7 + Trịnh Phương Anh
Young Marketers 7 + Trịnh Phương Anh
 

Viewers also liked

สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
Watermalon Singha
 
Proposal รายการอยากรู้ป่ะ !
Proposal  รายการอยากรู้ป่ะ !Proposal  รายการอยากรู้ป่ะ !
Proposal รายการอยากรู้ป่ะ !
Tanpisit Lerdbamrungchai
 
หลักการ3P กับการผลิตสื่อ
หลักการ3P กับการผลิตสื่อหลักการ3P กับการผลิตสื่อ
หลักการ3P กับการผลิตสื่อAcacia Lizm Wayne
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติwaraporny
 
Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6
Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6
Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6
Mahasarakham Business School, Mahasarakham University
 

Viewers also liked (6)

สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
 
Proposal รายการอยากรู้ป่ะ !
Proposal  รายการอยากรู้ป่ะ !Proposal  รายการอยากรู้ป่ะ !
Proposal รายการอยากรู้ป่ะ !
 
หลักการ3P กับการผลิตสื่อ
หลักการ3P กับการผลิตสื่อหลักการ3P กับการผลิตสื่อ
หลักการ3P กับการผลิตสื่อ
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติ
 
Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6
Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6
Media planing : การวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บทที่ 6
 
บทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำบทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำ
 

More from Sakulsri Srisaracam

คู่มือ Design thinking & transmedia storytelling
คู่มือ Design thinking & transmedia storytellingคู่มือ Design thinking & transmedia storytelling
คู่มือ Design thinking & transmedia storytelling
Sakulsri Srisaracam
 
การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movement
การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movementการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movement
การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movement
Sakulsri Srisaracam
 
Online community & journalism
Online community & journalismOnline community & journalism
Online community & journalism
Sakulsri Srisaracam
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting process
Sakulsri Srisaracam
 
Reseachconvergence
ReseachconvergenceReseachconvergence
Reseachconvergence
Sakulsri Srisaracam
 
Social Media กับการทำข่าวสอบสวน
Social Media กับการทำข่าวสอบสวนSocial Media กับการทำข่าวสอบสวน
Social Media กับการทำข่าวสอบสวน
Sakulsri Srisaracam
 
Social TV & Transmedia for Documentary
Social TV & Transmedia for DocumentarySocial TV & Transmedia for Documentary
Social TV & Transmedia for Documentary
Sakulsri Srisaracam
 
Social Media & Journalism
Social Media & JournalismSocial Media & Journalism
Social Media & Journalism
Sakulsri Srisaracam
 
Digital Media & University
Digital Media & UniversityDigital Media & University
Digital Media & University
Sakulsri Srisaracam
 
Adjective & Adverb
Adjective & AdverbAdjective & Adverb
Adjective & Adverb
Sakulsri Srisaracam
 
News21century
News21century News21century
News21century
Sakulsri Srisaracam
 

More from Sakulsri Srisaracam (20)

คู่มือ Design thinking & transmedia storytelling
คู่มือ Design thinking & transmedia storytellingคู่มือ Design thinking & transmedia storytelling
คู่มือ Design thinking & transmedia storytelling
 
การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movement
การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movementการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movement
การขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม Social Movement
 
Online community & journalism
Online community & journalismOnline community & journalism
Online community & journalism
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting process
 
Reseachconvergence
ReseachconvergenceReseachconvergence
Reseachconvergence
 
Social Media กับการทำข่าวสอบสวน
Social Media กับการทำข่าวสอบสวนSocial Media กับการทำข่าวสอบสวน
Social Media กับการทำข่าวสอบสวน
 
Social TV & Transmedia for Documentary
Social TV & Transmedia for DocumentarySocial TV & Transmedia for Documentary
Social TV & Transmedia for Documentary
 
Newsreportprocess
NewsreportprocessNewsreportprocess
Newsreportprocess
 
Social Media & Journalism
Social Media & JournalismSocial Media & Journalism
Social Media & Journalism
 
Digital Media & University
Digital Media & UniversityDigital Media & University
Digital Media & University
 
Irregularverb
IrregularverbIrregularverb
Irregularverb
 
Agreement of verb
Agreement of verbAgreement of verb
Agreement of verb
 
Adjectiveadverb
AdjectiveadverbAdjectiveadverb
Adjectiveadverb
 
Conjunctions
ConjunctionsConjunctions
Conjunctions
 
Conjunctions
ConjunctionsConjunctions
Conjunctions
 
Adjective & Adverb
Adjective & AdverbAdjective & Adverb
Adjective & Adverb
 
News21century
News21century News21century
News21century
 
Radio drama
Radio dramaRadio drama
Radio drama
 
TV Production 2
TV Production 2TV Production 2
TV Production 2
 
TV Production 1
TV Production 1TV Production 1
TV Production 1
 

ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน

  • 1. “ความจริงบันเทิง”รายการโทรทัศน์ทางเลือกใหม่ของประชาชน 1 โดย สกุลศรี ศรีสารคาม บทคัดย่อ วงการโทรทัศน์ในประเทศไทยยังคงมีปัญหาในเรื่องรายการเพื่อการพัฒนาหรือสาระความรู้มี สัดส่วนในตารางการออกอากาศของแต่ละช่องน้อยกว่ารายการบันเทิง ทั้งๆ ที่สื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่ สามารถมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพัฒนาสังคมได้ดีกว่าสื่อประเภทอื่น ปัจจัยหนึ่งที่สาคัญคือ รายการ สาระเป็นรายการที่ไม่สามารถสร้างความนิยม ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนดูส่วนใหญ่ของสังคมได้ ทาให้ สถานีโทรทัศน์ที่เป็นโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ไม่สามารถให้เวลารายการเหล่านี้ได้ ดังนั้นสิ่งสาคัญคือ ต้องพัฒนารูปแบบรายการสาระให้เป็นรายการที่สามารถเสนอสิ่งที่ “คนควรรู้” ให้ “น่าดู” ซึ่งบทความนี้ ได้ศึกษาเปรียบเทียบรายการประเภทความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) ของประเทศอังกฤษ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการเสนอรายการเกี่ยวกับความจริงด้วยรูปแบบความบันเทิง โดยเฉพาะการรูปแบบรายการลูกผสม (Hybrid) และเรียลิตี้ทีวี (Reality TV) ซึ่งจะสามารถทาให้รายการ สาระความรู้เป็นที่นิยมและเข้าถึงกลุ่มคนดูจานวนมากของสังคมได้ และเป็นโอกาสในการพัฒนารูปแบบ รายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เนื้อหา ความยากประการหนึ่งของคนทาทีวีไทยคือ วัฒนธรรมการดูของคนที่เน้นเรื่องของความบันเทิง รวมถึงการที่ทีวีเมืองไทยเป็นโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Television) และยึดติดกับการ วัดเรตติ้งหรือความนิยมของรายการ ซึ่งนั่นเป็นตัวกาหนดให้คนทีวีส่วนมากต้องทารายการในสิ่งที่คน ต้องการดู คือ รายการบันเทิง ซึ่งมีสัดส่วนเกินครึ่งของรายการทีวีทั้งหมด แต่หากเรามองในแง่ของนัก สื่อสารมวลชน เราเป็นผู้ส่งสาร ดังนั้น นอกจากทาสิ่งที่คนอยากดูแล้ว เราก็ควรส่งสารในสิ่งที่คนดู “ควร ได้รู้” ด้วย เมื่อพิจารณาถึง “สิ่งที่ควรรู้” ก็หนีไม่พ้นเรื่องข่าวสาร ข้อเท็จจริงในสังคม การตีแผ่ปัญหา เพื่อให้เกิดการคิด และ กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา รายการรูปแบบนี้ จัดอยู่ในประเภทรายการ 1 ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนิเทศศาสตร์ ธุรกิจบัณฑิตย์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจาปี 2551
  • 2. เสนอข้อเท็จจริง (Factual Programme) ซึ่งรูปแบบรายการที่นาเสนอเนื้อหาดังกล่าว สังคมไทยคุ้นชิน กับ รายการข่าว เล่าข่าว และสารคดี นักวิชาการและนักสื่อสารมวลชน หลายท่านต่างให้ความเห็นว่า ประเทศไทยจาเป็นต้องให้ ความสาคัญกับการผลิตรายการที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนามากขึ้น ปัญหาในการยกระดับโทรทัศน์ไทย นั้น นักวิชาการมองไปได้หลายมุม ประกอบด้วย การอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมที่สถานีโทรทัศน์มองคนดู เป็นผู้บริโภคมากกว่าเป็นพลเมือง จึงเน้นการผลิตรายการเพื่อตอบโจทย์เจ้าของสินค้าให้ซื้อพื้นที่ โฆษณา (อิทธิพล ปรีติประสงค์, 2550) หรือในอีกแง่คือ โทรทัศน์ในเมืองไทยจาเป็นต้องมีเสรีให้มากขึ้น ทั้งโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ โทรทัศน์เฉพาะกลุ่ม และ ทีวีสาธารณะ เพื่อมีพื้นที่ในการเสนอรายการที่มี คุณภาพได้ (ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิจ, 2550) รวมทั้งนโยบายของสถานีโทรทัศน์ในการใช้เรตติ้ง รายการในการชี้วัดการดารงอยู่ของรายการ (ภัทราพร สังข์พวงทอง, 2550) ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ ผ่านมามีความพยายามทาลายข้อจากัดเหล่านี้ ทั้งการตั้งทีวีสาธารณะแห่งแรกขึ้น การจัดระเบียบการ วัดเรตติ้งเชิงคุณภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัฒนธรรมของโทรทัศน์ไทยผูกติดกับความเป็นโทรทัศน์เพื่อการ พาณิชย์มานาน และสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงมองเรตติ้งเป็นสิ่งสาคัญ แม้จะมีกฎระเบียบในการจัดสัดส่วน ของรายการออกมาควบคุม แต่การจัดผังรายการให้รายการคุณภาพอยู่ในช่วงเวลาซึ่งคนดูน้อยก็ยังคง เป็นปัจจัยสาคัญ และอีกประการหนึ่ง รายการสาระที่ผลิตกันยังคงมีรูปแบบรายการที่ซ้าเดิม มีความ หลากหลายน้อย และยังไม่น่าสนใจเพียงพอ ทาให้ไม่สามารถจับกลุ่มผู้ชมกลุ่มใหญ่ของสังคมได้ ดังนั้น ปัจจัยอีกประการที่ต้องศึกษาและพัฒนา คือ การสร้างเนื้อหาให้มีคุณภาพ และ น่าสนใจมากขึ้น หรือ กล่าวคือ ต้องคิดว่าจะผลิตรายการอย่างไรให้สามารถสื่อสาร “สิ่งที่คนควรรู้” และทาให้ “คนอยากดู” เนื่องจากโทรทัศน์ไทยต้องการรายการเพื่อการพัฒนามากขึ้น ดังนั้น บทความนี้จึงมีการศึกษา เปรียบเทียบเนื้อหา และรูปแบบรายการในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นต้นแบบของทีวีสาธารณะและมีความ เข้มข้นในการผลิตรายการเชิงคุณภาพเพื่อการพัฒนามายาวนาน เพื่อให้เห็นพัฒนาการรูปแบบและ ประเภทรายการโทรทัศน์ที่มีการปรับตัวให้ตามทันรสนิยมของผู้ชม และเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทาให้ รูปแบบการชมรายการโทรทัศน์ของคนเปลี่ยนไป ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ระหว่างสถานีที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ จากการศึกษารายการโทรทัศน์ในประเทศอังกฤษ พบว่า ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์เพื่อการ พาณิชย์ (Commercial Television) หรือ ทีวีสาธารณะ (Public Service Broadcasting) ต่างให้ ความสาคัญในเรื่องการทารายการสาระความรู้เหมือนกัน โดยใช้รูปแบบรายการที่มีความบันเทิงเป็น
  • 3. เครื่องดึงดูดใจคนดู รูปแบบรายการที่เป็นที่นิยมมากในอังกฤษตอนนี้คือ รายการประเภทความจริง บันเทิง (Factual Entertainment) ซึ่งเป็นรายการที่มีการเสนอสิ่งที่เป็นสาระ โดยใช้ความบันเทิงเป็นตัว ดาเนินเรื่อง ประกอบด้วยการใช้รายการลูกผสม (Hybrid Programme) และ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ใน การสร้างสรรค์รายการเพื่อความรู้ และ ตีแผ่ข้อเท็จจริงในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเชิงการเข้าถึง กลุ่มคนดูและประโยชน์ของรายการ ทั้งนี้ บทความนี้ จะศึกษารายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) ในเรื่องแนวคิด และ รูปแบบ ตลอดจนการใช้ลักษณะของรายการลูกผสม (Hybrid) และ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ควบคู่กับการวิเคราะห์วัฒนธรรมการดูรายการโทรทัศน์ของคนไทย เพื่อเสนอ แนวทางในการผลิตรายการคุณภาพเพื่อการพัฒนาต่อไป เส้นตรงกลางระหว่าง สาระ และ บันเทิง หากพิจารณารายการโทรทัศน์ในมิติของเนื้อหาที่นาเสนอ สามารถแบ่งรายการได้เป็น 4 ประเภท คือ รายการเรื่องจริงทางโทรทัศน์ (Factual) รายการเรื่องแต่ง (Fiction) รายการบันเทิง (Entertainment) และ รายการโฆษณา (Advertisement) ในบทความนี้เราจะพิจารณารายการที่เสนอ ข้อเท็จจริง และ รายการบันเทิง Brennon Wood (2004) อธิบายความแตกต่างของรายการทั้งสอง ประเภทว่า รายการเรื่องจริงทางโทรทัศน์เป็นการนาเสนอเรื่องจริงในสังคมในเชิงเป็นกลาง นาเสนอสิ่งที่ เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เป็นเรื่องจริงไม่ใช่เรื่องแต่ง ประกอบด้วยรายการข่าว (News) รายการ เหตุการณ์ปัจจุบัน (Current Affair) รายการสารคดี (Documentary) รายการเพื่อสอน (Education) ส่วน รายการบันเทิงนั้น เป็นรายการที่สร้างความเพลิดเพลินโดยให้ผู้ดาเนินรายการใช้ความเป็นตัวเองในการ แสดงสิ่งต่างๆ ให้ผู้ชมได้ชมเพื่อความเพลิดเพลิน อาทิรายการ เกมโชว์ (Game Show) รายการแสดง ดนตรี (Music Act) รายการสนทนา (Talk Show) วาไรตี้ (Variety Show) และรายการกีฬา (Sport) รายการเรื่องจริงทางโทรทัศน์นั้น มีเป้าหมายในการนาเสนอข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการตีแผ่เรื่อง ของสังคม และ การให้ความรู้ ซึ่งรายการประเภทนี้เป็นรายการที่มีเนื้อหาหนัก นอกเหนือจากรายการ ข่าวแล้ว มักใช้รูปแบบการนาเสนอแบบสารคดี โดยเฉพาะการดาเนินเรื่องด้วยการบรรยาย หรือ มีผู้ ดาเนินรายการเล่าเรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์และนาเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ รูปแบบ เช่นนี้เป็นรูปแบบดั้งเดิมของสารคดีที่เราคุ้นเคยกันมาเป็นเวลานาน หรือบางครั้งก็อยู่ในรูปแบบของ รายการสนทนาที่มีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ รายการประเภทนี้ถือเป็นรายการคุณภาพ และ เป็นรายการเพื่อการพัฒนา แต่มีข้อจากัดในการเข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง เพราะมีคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ จะเลือกดูรายการประเภทนี้ ดังนั้นในประเทศที่ระบบโทรทัศน์เป็นโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์
  • 4. (Commercial Television) และเน้นเรื่องเรตติ้งของรายการเพื่อดึงดูดโฆษณา อย่างโทรทัศน์ในประเทศ ไทยนั้น รายการประเภทนี้จึงไม่ได้ถูกให้ความสาคัญในการจัดผังรายการเท่าที่ควร ถ้ามีก็มักอยู่ใน ช่วงเวลาที่ไม่ใช่เวลาที่คนดูโทรทัศน์จานวนมาก (Prime Time) ส่วนรายการบันเทิง ที่มีเนื้อหาสบาย เพลิดเพลิน เหมาะกับการดูเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งใน รูปแบบของรายการเกมส์โชว์ รายการวาไรตี้ ถ้ามองจากมุมวัฒนธรรมการรักความสนุกของสังคมไทย ซึ่งวิถีชีวิตแบบไทยผูกพันกับการรักความสนุก (วิลเลี่ยม เคลาส์เนอร์ อ้างใน กาญจนา แก้วเทพ, 2545) เมื่อมาเป็นรายการโทรทัศน์ สิ่งหนึ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมนี้อย่างชัดเจนคือ คนไทยชอบดูสิ่งที่สนุก ไม่ว่า จะรูปแบบใด หรือ ดูแล้วได้รับอะไร ขอให้สนุกสนานจะเป็นรายการที่ได้รับความนิยม ซึ่งการที่ สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยเป็นระบบพาณิชย์ ต้องมีการขายพื้นที่โฆษณา จึงให้ความสาคัญกับ รายการบันเทิงซึ่งสามารถสร้างความนิยมได้มาก ในขณะเดียวกัน รายการสาระ ข้อเท็จจริง และรายการ ความรู้หรือเพื่อสอนกลับมีพื้นที่ในการออกอากาศน้อยและไม่เป็นที่นิยม หนึ่งในสาเหตุสาคัญคือ รูปแบบ รายการไม่จูงใจให้ชม กาญจนา แก้วเทพ (2545) กล่าวไว้ว่า รายการทีวีเสนอทั้งมุมมองทางปัญญาและความบันเทิง ได้ นั่นหมายความว่า รายการโทรทัศน์ก็ไม่ได้ให้เพียงสาระที่น่าเบื่อ หรือ บันเทิงเริงใจที่ไร้แก่นสาร แยก จากกัน แต่สามารถผสมผสานสิ่งทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันได้ หากแต่ว่า การแบ่งรูปแบบรายการในการ นาเสนอเนื้อหาสองประเภทที่แยกจากกัน และเป็นแบบแผนที่คนดูเคยชินนั้น ทาให้คนยังติดกับภาพ ที่ว่า รายการมีสาระน่าเบื่อ และเลือกดูรายการบันเทิงมากกว่า ในขณะที่ผู้ผลิตที่ติดกับรูปแบบเดิมๆ ใน การนาเสนอข้อเท็จจริง ความรู้ หรือการสอน ให้เสนอในรูปแบบจริงจัง และ เคร่งเครียด ทาให้สามารถ ครองใจคนดูได้ลาบาก และไม่สามารถแย่งพื้นที่ความนิยมจากรายการบันเทิงได้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นได้ จากความนิยมต่อรายการโทรทัศน์ที่เรตติ้งละครยังคงสูงที่สุด และมีแนวโน้มว่า สถานีโทรทัศน์ อาทิ ช่อง 3 ก็จะเพิ่มเวลาการออกอากาศให้กับละครมากขึ้น เพราะสามารถสร้างเรตติ้งและดึงเม็ดเงินโฆษณา ได้มากกว่ารายการประเภทอื่น (สยามธุรกิจ, 2552) หรือแม้แต่ โมเดิร์น ไนน์ (Modern Nine) ที่วาง ตาแหน่งช่องตัวเองเป็นช่องสังคมอุดมปัญญา ก็มีแนวโน้มจะปรับผังรายการเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิง มากขึ้น (วสันต์ ภัยหลีกลี้ อ้างใน คมชัดลึก, 2551) แม้ว่าจะมีความพยายามในการนาเสนอสาระให้ น่าสนใจขึ้นด้วยการแทรกความรู้ในรายการบันเทิง หรือ ทาสารคดีให้มีรูปแบบที่น่าสนใจ แต่รายการ บันเทิงยังคงได้รับความนิยมมากกว่า ซึ่งนั่นทาให้รายการสาระมีวงจรชีวิตสั้น และ มีผู้ที่เสี่ยงจะผลิต รายการนี้น้อย สวนทางกับความจาเป็นที่โทรทัศน์ไทยควรมีรายการเพื่อการพัฒนามากขึ้น สิ่งหนึ่งที่จาเป็นต่อการพัฒนาโทรทัศน์ไทย คือ การก้าวข้ามระหว่างสาระ และ บันเทิงให้ได้ จาก เดิมที่มีการแบ่งรูปแบบชัดเจนในการนาเสนอเนื้อหาทั้งสองประเภท ให้มีความเหลื่อมล้า และ ผสมผสาน
  • 5. กันระหว่างสาระและบันเทิง โดยอาศัยจุดเด่นของรายการบันเทิงในการสามารถตรึงคนดูและเข้าถึงกลุ่ม คนดูที่หลากหลายมาใช้นาเสนอเนื้อหาที่เป็นสาระให้มากขึ้น ในที่นี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างพัฒนาการ รูปแบบในการเสนอเรื่องจริงและความรู้ของสถานีโทรทัศน์ในประเทศอังกฤษเพื่อเป็นกรณีศึกษา เปรียบเทียบ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบของทีวีสาธารณะซึ่งมีพันธกิจหลักในการผลิตรายการ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาของสังคม ก็ประสบปัญหาเรื่องรสนิยมการชมรายการโทรทัศน์ที่ต้องการ รายการที่มีความบันเทิง และเข้าใจง่ายมากขึ้น อีกทั้งการเติบโตของสถานีโทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ อย่าง ITV และ Five รวมทั้ง ทีวีสาธารณะอีกสถานีอย่าง Channel 4 ตลอดจนเคเบิลทีวีและโทรทัศน์ ระบบดิจิตอล ทาให้คนอังกฤษมีทางเลือกในการรับชมรายการตามรสนิยมมากขึ้น รายการที่จะสามารถ เข้าถึงกลุ่มคนดูกลุ่มใหญ่ในสังคมได้ยังคงเป็นรายการบันเทิงมากกว่ารายการเสนอข้อเท็จจริง แต่การจะ นาเสนอเพียงรายการบันเทิงนั้นไม่ตรงกับพันธกิจของบีบีซี ดังนั้นบีบีซีจึงปรับตัวพัฒนารูปแบบรายการ ที่สามารถเสนอข้อเท็จจริงและสิ่งที่เป็นประโยชน์ทางสังคมและในขณะเดียวกันก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชม ที่หลากหลายและสามารถสร้างความนิยมได้ จึงนามาซึ่งการพัฒนาประเภทรายการที่เรียกว่า Factual Entertainment หรือ ความจริงบันเทิง ซึ่งได้รับการตอบรับจากคนอังกฤษเป็นอย่างดี ทาให้ในทศวรรษที่ 20 สถานีโทรทัศน์ในอังกฤษต่างให้ความสาคัญกับการพัฒนารายการประเภทนี้ เพื่อช่วงชิงกลุ่มคนดู โดยในปัจจุบันรายการประเภทนี้เป็นอาวุธสาคัญในการจัดผังรายการช่วง พรามไทม์ (Prime Time) ของ ประเทศอังกฤษด้วย รายการเพื่อสาระความรู้ในประเทศอังกฤษ ไม่ได้หยุดอยู่ที่รายการสารคดีสั้น ยาว หรือรายการ ข่าว เท่านั้น แต่ยังก้าวข้ามระหว่างรายการบันเทิงและรายการสาระ ด้วยการใช้รูปแบบรายการที่มีการ ผสมผสานเรื่องบันเทิงในการเล่าเรื่อง และดาเนินรายการที่หลากหลาย เพื่อผลิตรายการที่ใช้ความ บันเทิงเป็นเครื่องมือนาพาสาระและการตีแผ่ข้อเท็จจริงไปสู่ผู้ชม รูปแบบหลายการนี้ได้รับการจัด หมวดหมู่รวมอยู่ในประเภทรายการ Factual Entertainment หรือ “ความจริงบันเทิง” รายการ Factual Entertainment: ตรึงอารมณ์และก่อปัญญา เมื่อกล่าวถึงการนาเสนอข้อเท็จจริงทางสังคม การให้ความรู้ และการศึกษาในสื่อโทรทัศน์ หรือ Informative / educational programme หรือ Factual Programme นั้น แบบแผนดั้งเดิมที่รู้จักกันดีก็คือ “สารคดี” บ้างก็เป็นสารคดีให้ความรู้ บ้างเป็นสารคดีเชิงข่าวเจาะลึกกระแสสังคมและตีแผ่ข้อเท็จจริง แต่ รูปแบบดั้งเดิมนี้ จะเป็นการที่นักข่าวหรือผู้ดาเนินรายการบรรยายเรื่องราว สัมภาษณ์ มีภาพประกอบ
  • 6. อาจมีการจาลองเหตุการณ์ (Re-construct) ภาพเหตุการณ์ในอดีตประกอบบ้าง แต่ดาเนินเรื่องอย่างเป็น ทางการ มุ่งเน้นการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างจริงจังจนบางครั้งดูเคร่งเครียดและเป็นเรื่องหนัก รายการ สารคดีที่เป็นความรู้หรือข้อเท็จจริงของสังคมเหล่านี้ จึงมีกลุ่มคนดูที่จากัด และไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคน ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่สนใจเรื่องของความบันเทิง เมื่อไม่มีคนดู ก็เป็นธรรมดาที่วงจรชีวิตของ รายการที่ให้ความรู้จะสั้น และก็ต้องลาจอไปในเวลาไม่นาน ยิ่งในปัจจุบัน ช่องทางเลือกของการรับ ข่าวสารข้อมูลมีมากขึ้น ทั้งในอินเตอร์เน็ต หรือ โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ทาให้ผู้รับสารไม่จาเป็นต้องพึ่งพา ความรู้หรือข้อเท็จจริงจากโทรทัศน์อีกต่อไป Jane Root, ผู้ควบคุมการผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์ ช่อง BBC2 ระหว่างปี 1999-2004 (อ้างใน Kirk, 2004) กล่าวว่า ปัจจุบัน โทรทัศน์ไม่ใช่สื่อที่จะนาเสนอ เพียงแค่ข้อเท็จจริงได้อีกแล้ว เพราะข้อเท็จจริงสามารถหาได้จากสื่ออื่นๆ มากมาย ดังนั้น ผู้ผลิตควรนา ข้อดีของโทรทัศน์ในการเป็นสื่อที่สามารถสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกได้ดี มาใช้ในการสื่อสารแนวความคิด ข้อมูล และข้อเท็จจริงสู่คนดู ซึ่งจะได้ประสิทธิผลที่มากกว่า โทรทัศน์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Television) ให้ความสาคัญกับรายการประเภทนี้น้อย อยู่แล้ว แต่แม้แต่ ทีวีสาธารณะ (Public Service Broadcasting) ซึ่งมีพันธะในการนาเสนอข้อเท็จจริง และให้ความรู้กับคนดู ก็ยังต้องหาทางปรับตัวต่อโลกการสื่อสารและวัฒนธรรมการดูที่คนดูมีความช่าง เลือกมากขึ้น และ เปลี่ยนใจเร็ว อีกทั้งมีความซับซ้อนในรสนิยมและความต้องการที่หลากหลาย ทางออกของ BBC หนึ่งในยักษ์ใหญ่สื่อโทรทัศน์และต้นแบบการเป็นสื่อสาธารณะคือ การปรับรูปแบบ รายการให้มีความเป็นนิยมมากขึ้น (Roscoe, 2004) เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลาย กระตุ้นให้เกิดการ ติดตาม ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสามารถรักษาพันธะกิจในการเป็นสื่อเพื่อสังคม ตีแผ่เรื่องราว และ ให้ ความรู้ ข้อเท็จจริงกับประชาชนได้ด้วย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา BBC มีการให้ความสาคัญกับรายการ โทรทัศน์ที่เรียกว่าความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงเวลา กลางวันและ พรามไทม์ของสถานี เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ของอังกฤษ ก็ต่างให้ ความสาคัญกับรายการประเภทนี้ รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) หรือที่ผู้เขียนนิยามคาเรียกเป็นภาษาไทยว่า รายการความจริงบันเทิงนั้นไม่ใช่ประเภทรายการที่เน้นเรื่องความบันเทิงเป็นหลัก แต่เป็นรายการที่มี จุดเป้าหมายในการเสนอข้อเท็จจริง แต่ใช้รูปแบบรายการและการนาเสนอที่มีความบันเทิง ซึ่ง นักวิชาการมองว่าเป็นประเภทรายการที่ผสม (Hybrid) กันระหว่าง ความจริง (Fact) และ เรื่องแต่ง (Fiction) หรือ ความบันเทิง (Hill, 2005) โดยความท้าทายของการผลิตรายการรูปแบบนี้ คือ การนา เรื่องที่เข้าใจยาก เรื่องที่เคร่งเครียด ข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบต่อชีวิตของคนและสังคมมาตีแผ่ โดยให้ สามารถเข้าถึงคนดูได้ในหลายระดับ หลายกลุ่ม และเกิดผลต่อยอดในการสร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
  • 7. หรือ พัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ดังเช่นที่ Alistair Pegg บรรณาธิการรายการ Factual Entertainment ของ Channel 4 ประเทศอังกฤษ (2008) กล่าวไว้ว่า ทุกอย่างที่นาเสนอในส่วนของรายการประเภทความจริง บันเทิง (Factual Entertainment) นั้นเป็นรายการที่ต้องเข้าถึงกลุ่มคนดูส่วนใหญ่ ในวงกว้าง โดยมีความ น่าสนใจที่สามารถตอบสนองรสนิยของคนดูที่หลากหลายได้ แต่ยังคงเน้นในเรื่องของเนื้อหาที่มี วัตถุประสงค์ในการเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเสมอ รายการประเภทนี้ไม่ได้เข้ามาแทนที่รายการความจริงหรือสารคดีแบบดั้งเดิม ที่มีความเข้มข้น ในแง่เนื้อหาสาระ และ การนาเสนอที่จริงจัง รายการเหล่านั้น ยังคงจาเป็นต้องมีอยู่ในสังคม เพื่อ ถ่ายทอดประเด็นปัญหา และ ตีแผ่ข้อเท็จจริงในสังคมอย่างจริงจัง แต่รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) เป็นทางเลือกสาหรับการนาเสนอข้อเท็จจริง และ สาระความรู้อย่างรูปแบบนิยม เพื่อให้ สามารถเข้าถึงกลุ่มคนดูส่วนใหญ่ของสังคมที่ต้องการรับสารที่ง่ายและเพลิดเพลิน รายการประเภทนี้มีการใช้รูปแบบของรายการประเภทอื่นๆ มาผสมผสานกับรูปแบบของสารคดี เพื่อให้มีน่าดูโดยอาศัยความบันเทิงเป็นสิ่งดึงดูดคนดู (Andrew Mackensize, 2008) โดยเน้นเนื้อหา รายการเป็นการนาเสนอเรื่องราวของชีวิต หรือ สิ่งที่มีผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตของคน (Kilborn,2003) โดยสามารถเสนอออกมาได้ทั้งในหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น Super Slim Me ทาง BBC Three ในปี 2007 โดย Dawn Porter ผู้ดาเนินรายการใช้ตัวเอง ทดลองการลดความอ้วนเป็นเวลา 2 เดือนเพื่อให้สามารถลดน้าหนักเป็น size zero ซึ่งเป็นปัญหาสังคม ที่ เยาวชนพยายามทาตัวเองให้ผอมเช่นนั้น โดยนาเสนอให้เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเธอ หลังจากความพยายามลดความอ้วนเช่นนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งในรายการเธอมีอาการเจ็บป่วย ซึมเศร้า อย่างเห็นได้ชัด และสามารถบอกคนดูได้ว่า การทาเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่สมควร การนาเสนอนี้เรียกว่า รูปแบบ Authored journey คือ ผู้ดาเนินรายการใช้ตัวเองเป็นผู้ทดลองกระทาบางสิ่งบางอย่าง เพื่อตีแผ่ ข้อเท็จจริง และ อธิบายปัญหาในเชิงลึก รายการแบบนี้ น่าสนใจตรงที่คนดูเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่าน ประสบการณ์ของผู้ดาเนินรายการ เหมือนกับตัวเองได้มีประสบการณ์นั้นร่วมกัน การนาเสนออารมณ์ ความรู้สึก ของผู้ดาเนินรายการ หรือ สถานการณ์ที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของคนดู ทั้งความสุข เศร้า หวาดกลัว ทาให้รายการมีความบันเทิง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ส่งสารที่ชัดเจนและมีผลกระทบสูงได้ รายการประเภทนี้ เน้นตีแผ่สิ่งที่เป็นปัญหาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีการดาเนินการเพื่อ แก้ไขปัญหานั้น The World's Strictest Parents ของ BBC Three ในปี 2008 เป็นรูปแบบการการทดลองใช้ชีวิต โดยรายการนี้ ให้เด็กวัยรุ่นอังกฤษที่มีปัญหาไปอยู่กับครอบครัวในประเทศอื่นเพื่อทดลองการใช้ชีวิตที่
  • 8. แตกต่าง และค้นหาวิธีการในการเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นเป็นคนดี รายการนี้ส่วนคนดูผ่านเรื่องราวของเด็ก วัยรุ่นเหล่านั้น ในแง่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้มีการทบทวนตัวเองว่าวิธีการเลี้ยงลูกของพวกเขาเป็น อย่างไร ในขณะที่วัยรุ่นที่ดูรายการ มีโอกาสแบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับปัญหาที่ตัวเองเป็นกับลักษณะ ปัญหาของวัยรุ่นที่ร่วมรายการ และได้เรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งมีประโยชน์ต่อการคิด และ กระตุ้นการ เปลี่ยนแปลงตัวเอง Annette Hill (2005) มองว่าลักษณะของการรายการประเภทความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) เป็นเครื่องมือในการนาเสนอเรื่องจริงในแง่มุมที่ดึงดูดคนดูได้มากขึ้นและให้ความรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถส่งสารไปถึงกลุ่มคนที่ไม่ชอบดูรายการสาระที่เคร่งเครียดอย่างสารคดี ได้ โดยเฉพาะมีแรงกระตุ้นให้เยาชนและวัยรุ่นได้คิดตามอย่างเป็นผลดี เช่นเดียวกับ Jane Roscoe (2004) ที่มองว่า รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) สามารถดึงดูดคนดูได้ทั้งในแง่ ส่วนตัวและภาพรวมใหญ่ของสังคม ผ่านการใช้ละคร และ เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ของคนดู ในขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์หรือให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นของสังคม ทาให้เรื่องเครียด เรื่องหนัก ปัญหา หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการนาเสนอเป็นเรื่องในชีวิตประจาวันและใกล้ชิดคนดูมากขึ้น ก็จะมีผลต่อ ความรู้สึกของคน สามารถตรึงคนดูได้ และสื่อสารสิ่งที่ต้องการให้คนดูได้รับรู้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น จากความรู้สึกใกล้ชิดต่อเนื้อหารายการ และ อารมณ์ความสะเทือนใจ และประสบการณ์หรือ เหตุการณ์ที่มีความเป็น dramatic ของรายการประเภทนี้ นาไปสู่การพูดคุย วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ ประเด็นในรายการอย่างแผร่หลายได้ รายการประเภทนี้มักทาให้เกิดการ Talk of the town ในลักษณะที่ กว้างกว่ารูปแบบรายการสารคดีแบบเดิม (Hill, 2005) เพราะเข้าถึงคนดูได้หลายกลุ่ม ให้ความรู้สึก ใกล้ชิดกับประสบการณ์ ชีวิตจริง เรื่องราวในชีวิตประจาวันของคนทั่วไปมากกว่า ทาให้เกิดการพูดกัน อย่างหลากหลาย อาจมีทั้งในระดับของการพูดถึง จนถึงการวิเคราะห์ และ กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการ เปลี่ยนแปลง หรือหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่ง Jane Roscoe (2004) มองว่าผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ควรมองหาวิธีในการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มคนดู และไม่ควรคิดเอาเองว่าคนดูอยากดูแต่เรื่องบันเทิงไร้ สาระ เพราะจากการที่รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) มีอัตราการเติบโตสูงใน โทรทัศน์หลายๆ ประเทศ แสดงว่าคนก็ชอบดูเรื่องที่เป็นความจริง เพียงแต่คนผลิตต้องหาทางทาให้น่าดู และสามารถตรึงคนดูได้ทั้งในเชิงอารมณ์และการเสริมสร้างปัญญาความรู้ ตัวอย่างเช่น รายการ Make Me Younger ของ BBC Three ตั้งแต่ปี 2008 ถึงปัจจุบัน เป็น รายการที่ตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีการใช้ชีวิตที่ผิดซึ่งมีผลต่อการสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะการใช้ ชีวิตในแบบที่ผิดของวัยรุ่น ทั้งการทาให้เป็นสีแทน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยา ควบคุม
  • 9. อาหารหรือลดน้าหนักมากเกินไป เป็นต้น โดยรายการให้คนธรรมดา โดยเฉพาะวัยรุ่น มาเป็นแขกใน รายการ มีการตรวจร่างกายให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ ทาให้ร่างกายนั้นแก่ไปจากความจริงกี่ปี และมีการ ช่วยเหลือให้ผู้ร่วมรายการแก้ไขลักษณะการดาเนินชีวิตเพื่อปรับสภาพให้สู่ปกติ โดยทาในลักษณะของ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ติดตามการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ร่วมรายการ เนื้อหา และ การนาเสนอ เน้น ให้เห็นผลร้ายอย่างชัดเจน และการเดินเรื่องให้ติดตามผู้ดาเนินรายการให้การเปลี่ยนตัวเองทาให้น่า ติดตาม ซึ่งหากต้องการอธิบายเรื่องสุขภาพหรือผลเสียของการใช้ชีวิตในแบบที่ผิดด้วยรูปแบบสารคดี การเล่าเรื่องดั้งเดิม (Traditional Documentary) ก็จะไม่ทาให้รู้สึกเป็นเรื่องใกล้ตัวคนดู และ มีผลกระทบ ต่อการคิดของคนได้น้อยกว่า อีกทั้งไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนดูวัยรุ่นด้วย นอกจากนี้ ผลกระทบของการ รายนี้ยังนาไปสู่กระแสสังคมในการพูดถึงภัยต่างๆ ที่อาจเกิดกับสุขภาพได้มาก ดังเห็นได้จากมีเว็บไซด์ นาเสนอเรื่องราวต่อเนื่อง โดยสรุปรูปแบบรายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) มีลักษณะสาคัญร่วมกันดังนี้ 1. หาคาตอบเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ชีวิตประจาวันซึ่งมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ 2. ใช้คนดาเนินเรื่องในลักษณะที่แตกต่างกัน แต่มักเป็นเรื่องของคนทั่วไป ทาให้คนดูสามารถ แบ่งปันความรู้สึก และ ประสบการณ์ส่วนตัวไปผู้เดินเรื่องในรายการ 3. เนื้อหาต้องการตีแผ่เรื่องราวบางอย่าง นาเสนอสิ่งที่ไม่คาดคิดให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อเสนอ มุมมองต่อสังคมที่หลากหลาย 4. รายการมีลักษณะของการกระตุ้นให้เกิดการคิด สร้างประเด็นในสังคม เพื่อนาไปสู่การ พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างทั้งในเชิงปัจเจกบุคคล และ สังคม 5. มีลักษณะของการให้ความบันเทิงมาก แต่นาเสนอเนื้อหาบนพื้นฐานของเรื่องจริงและ ประเด็นปัญหาของสังคม ซึ่งผู้ชมจะเพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่มีการสะท้อนให้เห็นถึง ประเด็นสาคัญในการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม 6. ผลของรายการมีลักษณะการสร้างผลกระทบทันทีทันใด กล่าวคือ ดูแล้วเข้าใจง่าย มีผลต่อ ความรู้สึกและความคิดของผู้ชมโดยตรงและทันที นั่นหมายความว่า รายประเภทนี้ต้อง สามารถตรึงคนดูให้ติดตาม นาเสนอความคิดและประเด็นอย่างชัดเจน ด้วยรูปแบบการ นาเสนอที่ชาญฉลาดและมีความบันเทิง 7. รูปแบบรายการนี้สามารถนาเสนอประเด็นต่างๆ ได้ทั้งเรื่องที่หนักมากทั้งแง่การเมือง เศรษฐกิจ และปัญหาสังคม ตลอดจนการเสนอเกร็ดความรู้ และการสอน
  • 10. 8. การนาเสนอไม่ใช่การบอกเล่า การสั่งสอน หรือบอกให้ทา แต่เป็นการสร้างความเข้าใจผ่าน ประสบการณ์ ผ่านสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในรายการ โดยอาศัยหลักการ กระตุ้นให้คิดด้วย การมองสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นแล้วสะท้อนภาพตัวเอง จะเห็นได้ว่า รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) เป็นประเภทของรายการที่เป็น ทางเลือกในการนาเสนอรายการที่มีคุณภาพให้เป็นที่นิยมได้ โดยสิ่งที่สาคัญคือการพัฒนาและพลิกแผลง การใช้รูปแบบบันเทิงในการนาเสนอให้มีความหลากหลาย โดยอาศัยแนวคิดในเรื่องการผสมรูปแบบ รายการหลายประเภทเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Hybridization Hybrid Reality: ก้าวข้ามระหว่างข้อเท็จจริงและเรื่องแต่ง ความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) มีพัฒนาการหลักเพื่อลดความจริงจังของสารคดี และ ใช้ข้อดีของการรูปแบบรายการที่มีความบันเทิงมาสร้างความน่าดูให้กับรายการสาระ ลักษณะที่โดดเด่น ของรายการความจริงบันเทิงที่ประสบความสาเร็จคือ การใช้รูปแบบที่เป็นลูกผสมระหว่างประเภท รายการ และรูปแบบรายการที่หลากหลายเพื่อสร้างการนาเสนอที่แปลกใหม่ รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) ที่ประสบความสาเร็จและได้รับการตอบรับที่ดีมากมักเป็นรายการที่ใช้ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) และ ลักษณะรายการลูกผสม (Hybrid) ระหว่างเนื้อหาและรูปแบบรายการในการ นาเสนอ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) คือรูปแบบรายการประเภทใหม่ที่กาลังเติบโตและเป็นที่นิยมทั่วโลก โดยเป็นรายการที่จัดอยู่ในประเภทการนาเสนอข้อเท็จจริง (Factual Television) ในขณะเดียวกัน นักวิชาการก็ให้ความสาคัญกับการศึกษารูปแบบรายการประเภทนี้ ซึ่งยังไม่มีใครสามารถให้นิยาม รายการแบบนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะลักษณะสาคัญของรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) คือการผสม ระหว่างรูปแบบและเนื้อหาที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองตามการนาไปใช้ได้หลายรูปแบบ Kilborn (1994) พยายามให้คาอธิบายรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ไว้ว่าเป็นรายการลูกผสมระหว่างรูปแบบรายการ ที่มีผู้ดาเนินรายการ (Presenter Talk) การถ่ายทาแบบติดตามดูพฤติกรรมของคนในรายการเพื่อให้เผย ความจริงออกมาเองโดยไม่ต้องมีการกากับหรือชี้นา (Cinéma vérité) การสร้างภาพแทนเรื่องจริง (reconstruction) และ การมีส่วนร่วมของคนดู (Audience Participation) ซึ่ง Cavender และ Maupin (1993) ระบุให้รายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้นเป็นอีกรายการประเภทโทรทัศน์ประเภทใหม่ ส่วน Dauncey (1996) แบ่งรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ออกเป็นสามรูปแบบคือ รายการล่าเกี่ยวกับ ความกล้าหาญของชีวิตอย่างมีอารมณ์เข้มข้น รายการสนทนาหรือการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์
  • 11. ความรู้สึก และ รายการสะท้อนหน้าที่การเป็นพลเมือง ทั้งนี้ การที่จะเข้าใจลักษณะความเป็น เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ได้นั้น จาเป็นต้องเข้าใจถึงพัฒนาการของรายการประเภทนี้ รายการ Reality TV ในยุคเริ่มแรกนั้นเป็นรูปแบบที่นาไปใช้ในการสร้างสีสันให้รายการนิตยสาร ข่าวทางโทรทัศน์ โดยใช้นาเสนอเรื่องเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉิน เช่น การปฏิบัติงานของตารวจ (Creeber, 2001) โดยนักวิชาการเชื่อว่า เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มีจุดกาหนดที่สหรัฐอเมริกาจากรายการ Unsolved Mysteries ของสถานีโทรทัศน์ NBC ในปี 1987 และมีสถานีต่างๆ พัฒนารายการเรียลิตี้ ทีวี ที่เกี่ยวกับตารวจและเหตุการณ์ฉุกเฉินตามออกมาหลายรายการ อาทิ Rescue 911 ของ CBS, Cops ของ Fox และ Emergency 999 ของ BBC (Bignell, 2005) John Dovey (2001) อธิบายลักษณะของ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ในแง่โครงสร้างรายการว่าประกอบด้วยการใช้กล่องบันทึกเหตุการณ์ในลักษณะ การสังเกตการณ์ (Observation) และ ภาพที่ใช้เป็นภาพในสถานที่และเหตุการณ์จริง (Actuality Footage) เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์หรือการทดลองของผู้ดาเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ หรือ ผู้พยานใน เหตุการณ์ โดยอาจมีการจาลองเหตุการณ์เพื่อเสริมการเล่าเรื่องโดยใช้ลักษณะของละคร หรือ เรื่องแต่ง รวมถึงมีการใช้ผู้ดาเนินรายการ ผู้เล่าเรื่อง หรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นและเชื่อมรายการให้น่าเชื่อถือ พัฒนาการในยุคต่อมาของ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มาจากการเติบโตของรายการสารคดี สังเกตการณ์หรือ Observational Documentaries หรือที่รู้จักกันดีจากการพัฒนารายการรูปแบบ Docu- soap ในประเทศอังกฤษ ซึ่งในช่วงปี 1995-1999 มีรายการประเภท Docu-soap ในสถานีโทรทัศน์หลัก ของอังกฤษกว่า 65 รายการ และสามารถดึงดูดคนดูได้กว่า 12 ล้านคน (Hill, 2005) เป็นรูปแบบการ ผสมระหว่างสารคดี และ ละคร โดยติดตามดูพฤติกรรมของคนในรายการเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ และมีการเร้าอารมณ์เหมือนกับดูละคร นอกจากนั้นรายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) อีก ประเภทที่เติบโตมากในช่วงเวลานี้คือรายการเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ให้ดีขึ้น (Makeover) ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ทั้งการจัดบ้าน จัดสวน ทาอาหาร จากเดิมที่มีพิธีกรมาสาธิตการทา กลายเป็นการใช้รูปแบบที่มีการติดตามดูกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับคนอื่นในรูปแบบต่างๆ รายการประเภทนี้เริ่มต้นพัฒนาที่อังกฤษและ ขยายความนิยมไปยังยุโรป ยุคต่อมาของการพัฒนารายการรูปแบบ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) คือการใช้แนวคิดทดลองใช้ ชีวิตและทดลองสังคม โดยการให้คนธรรมดามาอยู่ในสถานการณ์หนึ่งที่กาหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อศึกษา สิ่งที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการพัฒนาเรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มาใช้ในรูปแบบของเกมโชว์เพื่อศึกษา พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้น เป็นการพัฒนารูปแบบจากยุโรปไปสู่อังกฤษ และยุคปัจจุบันของรายการเรียลิตี้ (Reality) คือการผสมผสานรูปแบบทั้งหลายโดยมีการคิดวิธีการนาเสนอที่ไม่มีข้อจากัดและสามารถ
  • 12. พลิกแพลงได้หลากหลาย โดยในอเมริกาเน้นเรื่องของอาชญากรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฝั่ง อังกฤษเน้นให้ความสาคัญกับเนื้อหาเรื่องการทดลองชีวิตเพื่อตีแผ่ความจริงของสังคมและรายการ เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) ในขณะที่ยุโรปพัฒนารูปแบบของเรียลิตี้เกมโชว์ (Reality Game Show) (Hill, 2005 และ Bignell, 2005) เนื้อหาที่รายการเรียลิตี้นาเสนอ สามารถครอบคลุมได้ทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม สุขภาพ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฯลฯ โดยสามารถมีรูปแบบในการดาเนินเรื่องที่ ต่างกัน อาทิ การใช้ผู้ดาเนินรายการทดลองสิ่งที่ต่างๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงและตีแผ่เรื่องนั้นๆ การมีผู้ ร่วมรายการทดลองใช้ชีวิตในข้อจากัดต่างๆ รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ๆ ให้ดีขึ้น ตลอดจน รูปแบบของการเล่นเกม อย่างไรก็ตาม รายการประเภทนี้ยังคงมีลักษณะสาคัญสองประการคือ ความสด ใหม่ (raw) และ ความแท้จริง (authentic) ของเนื้อหา (Dovey, 2001) ซึ่งการนารูปแบบเรียลิตี้ ทีวี มาใช้ ในประเภทรายการความจริงบันเทิงนั้น เป็นการนาข้อดีของรูปแบบการนาเสนอที่เพลิดเพลิน หวือหวา และบันเทิงใจตามรูปแบบของสื่อแทบลอยด์ (Tabloid) คือ มีรูปแบบชาวบ้าน เข้าใจง่าย เป็นเรื่อง เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก และวิถีชีวิตคน มาใช้ในการสื่อสารข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ของสังคม หรือกล่าวในอีกแง่คือ การผสมเนื้อหาในแง่ของสาระและบันเทิงเข้ากันอย่างกลมเกลียว โดย เนื้อหาของเรียลิตี้ ทีวีนั้นก็สามารถเป็นได้ทั้งเรื่องจริง สาระที่จริงจัง (Serious issue) ความรู้ทั่วไป (Knowledge) รายการสาระบันเทิง (Edutainment) จนถึงรายการบันเทิงเพียงอย่างเดียว (Pure Entertainment) ดังนั้น การนามารูปแบบเรียลิตี้มาใช้ในประเภทรายการความจริงบันเทิงจาเป็นต้องมี ความชัดเจนในประเด็น เป้าหมาย และ เนื้อหา เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อเท็จจริงสู่ผู้ชมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้น รายการนั้นก็จะกลายเป็นเพียงรายการบันเทิงที่คนดูเพื่อความเพลิดเพลินเพียง อย่างเดียว เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) มักมีตัวแสดงหรือคนเดินเรื่องเป็นคนทั่วไป เพราะเป็นการสะท้อนสิ่งที่ ใกล้เคียงกับคนดู ทาให้เกิดความใกล้ชิด และมีการแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งจะทาให้เกิดอารมณ์ร่วม ติดตาม และมีผลกระทบต่อการกระตุ้นความคิดของคนดูได้ง่าย เช่น รายการ สารคดี “The Family” ซึ่ง ใช้การติดตามดูพฤติกรรมภายในบ้านของครอบครัวชนชั้นกลางครอบครัวหนึ่งของอังกฤษ เพื่อสะท้อน ถึงสภาพสังคม ปัญหาครอบครัวในปัจจุบันของอังกฤษ และมีการเปิดโอกาสให้วัยรุ่นมาร่วมวิเคราะห์และ แสดงความเห็นต่อเหตุการณ์หรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวนั้นในท้ายรายการด้วย รายการนี้ นอกจากจะสะท้อนสิ่งที่เป็นจริงในสังคมให้เห็นแล้ว การนาเสนอในรูปแบบเรียลิตี้ ที่มีคนธรรมดาเป็นคน ดาเนินเรื่องที่เป็นจริงให้คนดูได้ชม ทาให้คนดูมีความรู้สึกและประสบการณ์ร่วม เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ เป็นกระแสสังคม และนาไปสู่การกระตุ้นการแก้ปัญหาและการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น นอกจากรายการจะ
  • 13. ได้รับความนิยม ซึ่งดีต่อสถานีแล้ว คนดูยังได้รับรู้ถึงปัญหา และ แนวทางการคิด แก้ปัญหานั้น ในมุมที่ แตกต่างกันด้วย เรียกได้ว่า คนทาได้ทาสิ่งที่ต้องนาเสนอ และคนดูก็ได้ดูสิ่งที่เพลิดเพลินด้วย John Corner (1995) กล่าวว่า รายการประเภทเรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้น มีลักษณะพิเศษใน การถ่ายทอดประสบการณ์ประสบการณ์ของคนที่อยู่ในรายการให้ผู้ชม โดยให้ความรู้สึกว่า เป็นการพบ ประสบการณ์นั้นเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น การนารูปแบบเรียลิตี้ เปิดเผยข้อเท็จจริงที่สังคมไม่เคย รู้มาก่อน แต่ควรรับรู้ เป็นแนวทางที่สามารถทาได้ และจากความรู้สึกใกล้ชิดเหมือนเป็นประสบการณ์ ส่วนตัวของผู้ชมจะให้ผลในเชิงการกระตุ้นการคิดหรือพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่ารายการสาระที่ เป็นเพียงการบอกเล่าเนื้อหาประกอบภาพ อาจกล่าวได้ว่า การใช้ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ในเชิงการ สื่อสารสาระ และข้อเท็จจริงผ่านการสังเกตการณ์ประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในรายการ ทาให้เกิดการเรียนรู้ ในประเด็นต่างๆ อย่างไม่เป็นทางการ การเรียนรู้เช่นนี้ มีผลกระทบที่ก่อให้เกิดการคิด นาไปสู่การ กระทา หรืออย่างน้อยก็ทาให้เกิดการพูดจาเป็นประเด็นในสังคมเพื่อกระตุ้นการพัฒนาได้ดีกว่า เช่นเดียวกับที่ อ. กาญจนา แก้วเทพ (2545) กล่าวไว้ว่า รายการสาระที่เป็นบันเทิง ให้ผลในการสื่อสาร ดีกว่า สาระเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ รายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ที่มีความเป็น ไฮบริด (hybrid) หรือมีลักษณะรูปผสม ระหว่างเนื้อหาและรูปแบบการนาเสนอ จะเป็นรูปแบบรายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารสาระ ข้อเท็จจริงพร้อมกับดึงดูดคนดูหลากหลายกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทั้งการเป็นรายการคุณภาพและรายการยอดนิยม ลักษณะการเป็นลูกผสม หรือ ไฮบริด (Hybrid) ใน รายการ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้นเป็นได้สองลักษณะ คือ ประการแรก ไฮบริด (Hybrid) ในเชิงรูปแบบรายการ ด้วยความเป็นเรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) นั้น มีการผสมผสานระหว่างรูปแบบรายการอยู่แล้ว ซึ่งหากสามารถเลือกใช้การข้ามระหว่างรูปแบบรายการ ประเภทต่างๆ มาผสมผสานกันได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์และลงตัว จะทาให้รายการน่าดู เสนอสิ่ง แปลกใหม่ เกิดรูปแบบรายการที่หลากหลาย น่าติดตาม เหมือนการสร้างนวัตกรรมให้วงการโทรทัศน์ เนื่องจากธรรมชาติของเรียลิตี้สามารถผสมผสานรูปแบบการนาเสนอได้อย่างสร้างสรรค์โดยไม่มี ขีดจากัด จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่จะทดลองผสมผสานรูปแบบรายการต่างๆ ให้เกิด เป็นรูปแบบใหม่ โดยเน้นอยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือ เสนอสิ่งที่ เป็นจริง (Hill, 2005) เพราะความเป็นจริง สถานการณ์จริง ชีวิตจริงของคน คือจุดเด่นของเรียลิตี้ที่สามารถทาให้การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ และ การนาเสนอข้อเท็จจริง เกิดประสิทธิภาพต่อการคิดของคนได้ดี เราสามารถนารูปแบบรายการแบบใดก็ ได้ และ กี่แบบก็ได้มาผสมผสานเป็นการเล่าเรื่องใน 1 รายการ
  • 14. ประการที่สอง คือการ การผสมระหว่าง สาระ และ ความบันเทิง ซึ่งเป็นหัวใจของรายการ ความ จริงบันเทิง (Factual Entertainment) โดยการทาให้ข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องหนัก ผสมเข้ากับเนื้อหาที่มี ความบันเทิงนั้น จะทาให้รายการสามารถเข้าถึงคนดูง่าย กว้าง และมีผลกระทบสูง (Roscoe, 2004) การไฮบริดเนื้อหารายการแบบนี้ ไม่ใช่รายการบันเทิงที่แทรกสาระ แต่ต้องเป็นรายการสาระที่ใช้รูปแบบ ที่มีความบันเทิง กล่าวคือการเป็นรายการบันเทิงแล้วแทรกสาระนั้น เพื่อเพิ่มคุณค่าให้รายการ เช่น ดู ละคร แล้วได้คติสอนใจ ดูเกมโชว์แล้วได้ความรู้จากสิ่งที่รายการถาม แบบนี้เป็นบันเทิงที่แทรกสาระ แต่ รายการความจริงบันเทิง (Factual Entertainment) สาระต้องเป็นตัวนา โดยมีความชัดเจน เข้มข้น และ มีเป้าหมายในการให้ข้อเท็จจริง ผ่านการใช้รูปแบบรายการที่มีความบันเทิง หรือ มีบางส่วนของเนื้อหา เป็นความบันเทิงเพื่อตรึงคนดูให้ติดตาม รายการลักษณะนี้จะไม่ได้มีการนาเสนอเนื้อหาเพียงมิติเดียว แต่มีการเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจสาคัญของรายการอย่างหลากหลาย เพื่อให้สามารถ เข้าถึงความสนใจและรสนิยมของคนดูที่แตกต่างกัน เช่น รายการ Victorian Farm ของ BBC ในปี 2008 เป็นรายการเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของคนในชนบทในยุค 1885 ซึ่งให้ผู้ร่วมรายการดาเนินชีวิตทุกอย่าง เหมือนที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหารการกิน และ วิถีชีวิตดั้งเดิม รายการมีความเป็นลูกผสมในแง่เนื้อหาทั้งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ให้ทราบถึงเหตุการณ์ ในยุคสมัยนั้น การสังเกตการณ์สังคมในยุคก่อนว่าผู้คนมีวิถีการดาเนินชีวิตอย่างไร ตลอดจน สร้างความ น่าสนใจด้วยกันให้คนได้ติดตามพฤติกรรมของผู้ดาเนินรายการว่าการค้นพบความจริงของเรื่องราวใน อดีตนั้นมีผลต่อเขาอย่างไร การผสมผสานเนื้อหาและแง่มุมในการนาเสนอนี้ทาให้รายการมีมิติ สามารถ จับความสนใจของกลุ่มคนดูที่แตกต่างกันได้ โดยสามารถเข้าถึงคนที่ต้องการรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ เข้าถึงกลุ่มคนที่ชอบดูเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตและวัฒนธรรม หรือแม้แต่กลุ่มคนที่ต้องการความบันเทิงจาก การสังเกตพฤติกรรมและสนุกกับการติดตามประสบการณ์ของผู้อื่นตามลักษณะของผู้ชื่นชอบรายการ แบบเรียลิตี้ โดยไม่ว่ากลุ่มผู้ชมประเภทใดก็ตามได้ดูรายการ สุดท้ายแล้วสิ่งที่ได้รับคือความรู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ในอดีต และชีวิตที่ต่างจากความเป็นอยู่อย่างที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า โดยภาพรวมแล้ว การทารายการสาระแบบผสมผสานข้อเท็จจริงกับความบันเทิง ด้วยรูปแบบรายการที่หลากหลายนั้น มีจุดเด่นซึ่งเป็นข้อดีที่น่าสนใจคือ ประการแรก สามารถเข้าถึงกลุ่ม คนดูที่หลากหลาย (Boyle, 2008) เนื่องจากเนื้อหามีความเป็นไฮบริด (hybrid) สามารถเสนอมุมมองซึ่ง คนแต่ละกลุ่มสนใจต่างกัน ทาให้มีกลุ่มคนดูมากขึ้น ประการที่สอง ความบันเทิงช่วยดึงดูดกลุ่มคนที่ไม่ ต้องการดูรายการสาระที่หนักและเคร่งเครียด แต่ในการดูสิ่งที่เพลิดเพลิน ผู้ชมยังคงได้รับสารที่เป็น ประโยชน์ที่ผู้ผลิตรายการต้องการบอกในลักษณะของการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ (Informal learning) โดยเฉพาะรายการตีแผ่ข้อเท็จจริง และ รายการเพื่อสอน ประการที่สาม ลักษณะของการตรึงผู้ชมและ การรับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นเหมือนว่าเป็นประสบการณ์ของตัวเองตามลักษณะของรายการ
  • 15. ประเภทเรียลิตี้ในรายการเพื่อรณรงค์ให้เกิดการคิด หรือ สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตัวเองและสังคม มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนดูชัดเจนและสามารถกระตุ้นให้เกิดการคิดและการเปลี่ยนพฤติกรรมได้ (Langer, 1998 และ Wood, 2004) ยกตัวอย่างเช่น รายการ The British Food Fight ทาง Channel 4 ในปี 2008 ซึ่งตอนที่ประสบ ความสาเร็จในการกระตุ้นกระแสสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีคือ Hugh’s Chicken Run โดยมีเนื้อหา เกี่ยวกับการณรงค์ให้เห็นว่า การเลี้ยงไก่ฟาร์มเปิดและฟาร์มปิดนั้นดีไม่ดีต่างกันอย่างไร ประเด็นของ เรื่องคือต้องการชักชวนคนให้เห็นว่า ฟาร์มเปิดที่ให้อิสระกับไก่เป็นวิธีการเลี้ยงที่ดีกว่า นอกจากจะได้ไก่ ที่มีคุณภาพแล้วยังไม่เป็นการทารุณสัตว์ด้วย อีกทั้งรายการยังต้องการกระตุ้นให้คนหันมาบริโภคสินค้า ไก่และไข่ที่มาจากฟาร์มเปิด การดาเนินรายการใช้รูปแบบ เรียลิตี้ ทีวี (Reality TV) ให้พ่อครัวชื่อดังเปิด ฟาร์มเลี้ยงไก่ โดยทาฟาร์มในสองลักษณะทั้งฟาร์มเปิดและปิดคู่กัน คนดูจะได้เห็นขั้นตอนของการเลี้ยง และการเก็บผลผลิตจากรูปแบบของฟาร์มทั้งสองผ่านประสบการณ์ของพ่อครัว ซึ่งมีเหตุการณ์ที่เป็นจริง และสะเทือนใจจากการเลี้ยงไก่ฟาร์มเปิดให้ผู้ชมได้เห็น เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและไม่มี การปั้นแต่ง แต่คนดูที่ติดตามรายการได้รู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์นั้น ผลกระทบต่อ ความรู้สึกของคนหลังจากดูรายการมีค่อนข้างสูง นอกจากนั้น ในรายการยังมีการเปิดโอกาสให้คน ธรรมดาในหมู่บ้านนั้นเป็นตัวแทนบอกเล่าความรู้สึกของสิ่งที่ได้เห็น โดยในรายการพ่อครัวที่ดาเนิน รายการ ไปเผยแพร่ความรู้ให้คนในหมู่บ้าน พาคนในหมู่บ้านมาดูลักษณะของฟาร์ม และทาอาหารจาก ผลิตภัณฑ์ของไก่จากทั้งสองฟาร์มให้ชิมเปรียบเทียบ ความเห็นและความรู้สึกของคนธรรมดาที่เข้า มาร่วมในรายการนั้น สะท้อนความรู้สึกให้คนดูรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นผู้ได้รับประสบการณ์นั้น ยิ่งช่วย กระตุ้นการคิดและการเรียนรู้จากเหตุการณ์ในรายการได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งผลต่อเนื่องจากรายการทาให้เกิด กระแสสังคมในการรณรงค์การเลี้ยงไก่แบบฟาร์มเปิดตลอดจนการบริโภคสินค้าจากฟาร์มเปิดมากขึ้น แม้แต่ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ก็ตื่นตัวให้ความสาคัญกับสินค้าจากฟาร์มเปิดและมีการปรับราคาสินค้าจาก ฟาร์มเปิด (Free Range Product) ให้คนทั่วไปสามารถซื้อได้มากขึ้น จากการวิเคราะห์จะเห็นว่า การที่ รายการพาคนดูติดตามเหตุการณ์ที่เป็นจริงอย่างใกล้ชิด ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกแท้จริงของคน ดาเนินรายการและผู้ร่วมรายการที่เป็นคนธรรมดาเหมือนกับคนดูรายการ มีผลกระทบต่อการกระตุ้น ความคิดและความรู้สึกของคนดูได้มากกว่าการจัดทาเป็นสารคดีเล่าเรื่องแบบดั้งเดิม อีกทั้งรายการยัง ดาเนินเรื่องด้วยความบันเทิง ทาให้เกิดการติดตามว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นการสื่อสารที่ เข้าใจง่าย ชัดเจน ตรงไปตรงมา เป็นเทคนิคในการทาให้ “รู้สึก” และ “คิดตาม” (Hill,2005) อีกตัวอย่างหนึ่งจากรายการ Britain’s Missing Top Model ทาง BBC Three ในปี 2008 เป็น รายการเรียลิตี้ เกมโชว์ แข่งขันการหานางแบบหน้าใหม่ แต่ที่พิเศษคือนางแบบเหล่านั้นเป็นผู้มีความ