SlideShare a Scribd company logo
99
บทที่ 5
เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้
เทคนิคเป็นศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะ ส่วนเทคนิคการสอน เป็นกลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริม
กระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน หรือการดาเนินทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพ
และประสิทธิภาพมากขึ้น “วิทยาการของความรู้แขนงต่างๆ วิทยาการจัดการเรียนรู้ เป็นวิธีการหรือ
กระบวนการในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนแขนงต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน ในวิชาชีพ
ครู เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้ จึงเป็นเครื่องมือสาคัญในการนาไปใช้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนา
คุณภาพผู้เรียน ในบทนี้จึงนาเสนอเกี่ยวกับ แนวคิดของวิทยาการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการ
สอน วิธีสอน และเทคนิคการสอน
แนวคิดของวิทยาการจัดการเรียนรู้
วิทยาการจัดการเรียนรู้ (Learning Management Science) หมายถึงศาสตร์หรือ
วิทยาการที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ทั้งหมดที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเหมายของการ
เรียนรู้ ซึ่งคาว่า “ศาสตร์” กับ “วิทยาการ” มีความหมายใกล้เคียงกัน ภาษาอังกฤษ ใช้คาว่า
“Science” และ “Management Science” ส่วนคาว่า “ศาสตร์การสอน” ใช้คาว่า “Teaching
Science” ปัจจุบันนิยมใช้คาว่า “การจัดการเรียนรู้” แทนคาว่า “การสอน” เพราะเน้นที่ผู้เรียนให้
เกิดการเรียนรู้เป็นสาคัญ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย
ตนเอง ได้ฝึกทักษะการคิด แลแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นจากการสร้างองค์ความรู้ด้วย
ตนเองของผู้เรียนมากกว่าที่จะได้รับความรู้จากผู้สอนโดยตรง นั่งคือ เปลี่ยนจาก “Teaching
Science” เป็น “Learning Management Science” ซึ่งมีความหมายเหมือนกันแต่จุดเน้นต่างกัน
วิทยาการจัดการเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้หลายในหลายองค์ประกอบ เช่น
ทฤษฏีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอน ระบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ การ
จัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะการจัดการ
เรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน การใช้สื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอน และ การวัดและ
ประเมินผล (ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. 2558 : 99)
100
รูปแบบการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน เป็นกระบวนการสาคัญที่ผู้สอนนาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้
เกิดการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของการเรียนการสอน
คือหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ที่มีการวางแผนอย่างเป็น
ระบบ ดังนั้นผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอน ดังนี้
1. ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน
ในศาสตร์ทางการศึกษามีคาที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน (Teaching
Models หรือ Training Models) และ รูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบการจัดการเรียนการ
สอน (Instructional Model หรือ Teaching Learning Model) คาว่า “รูปแบบการเรียนการสอน”
สามารถให้คาจากัดความได้ในหลายประเด็น โดยมีข้อพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่น
นักวิชาการหลายท่านกล่าวไว้ ดังนี้
ทิศนา แขมมณี (2550 : 477) ให้ความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนว่า
หมายถึง แบบแผนการดาเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี
หลักการเรียนรู้ หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ
สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการ
ดาเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ ที่รูปแบบขั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่
มีลักษณะเฉพาะอันจะนาผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกาหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนาไปใช้
เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดาเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย (2558 : 101) ได้สรุปความหมายของรูปแบบการสอนไว้
ว่า หมายถึงสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีสอน
เทคนิคการสอน เข้ามาช่วยให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือ ซึ่ง
รูปแบบการเรียนการสอนต้องกาหนดรายละเอียดในการเตรียมการสอน การดาเนินการสอนและการ
ประเมินผล เพื่อให้ทราบถึงวิธีการที่ผู้เรียนจะบรรลุจุดหมายที่กาหนดไว้
Saylor, Alexander and Lewis (1981) ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอน (teaching
model) หมายถึง แบบหรือแผน (pattern) ของการสอนที่มีการจัดกระทาพฤติกรรมขึ้นจานวนหนึ่ง
ซึ่งมีความแตกต่างกันเพื่อจุดหมายหรือจุดเน้นเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
Eggen and Kauchak (1997: 11) ให้คาจากัดความของ รูปแบบการสอน ว่าเป็น
การจัดทารายละเอียดเบื้องต้นสาหรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการสอนของผู้สอน ซึ่งจะออกแบบขึ้นเพื่อ
เป้าหมายในการสอนอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยที่ผู้สอนจะพิจารณาว่าจะสอนอะไร และมี
101
ยุทธวิธีใดที่จะไปสู่เป้าหมายของการสอนได้ กระบวนการที่ถูกออกแบบจะเป็นการออกแบบเฉพาะ
เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เฉพาะในเป้าหมายที่กาหนดไว้ และจะถูกกาหนดให้เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ของ
ผู้สอนในการสอน
Joyce, Weil and Calhoun (2004) สรุปความหมายของรูปแบบการสอนไว้ว่า
เป็นแผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้เพื่อการสอนในห้องเรียนทางตรงหรือการสอนเป็นกลุ่มย่อย เพื่อจัดสื่อ
การสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งจะให้แนวทางในการออกแบบการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุ
วัตถุประสงค์แตกต่างกัน
จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพการ
ดาเนินการที่มีการจัดขึ้นอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ หรือแนวคิด หรือหลักการที่
รูปแบบนั้นยึดถือเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่รูปแบบการเรียนการสอนนั้นยึดถือ
ผู้สอนสารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่
แตกต่างกัน
2. องค์ประกอบของรูปแบบการสอน
รูปแบบการสอนมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบได้ดาเนินการเพื่อสนอง
จุดมุ่งหมายของโครงการ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้พิจารณารูปแบบการสอนที่นักการศึกษาได้เสนอ
ไว้เพื่อนามาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยมีสาระที่สาคัญของรูปแบบ
การสอนที่ประกอบด้วย การกาหนดเป้าหมายของการเรียน เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การ
วัดและประเมินผลการเรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่สาคัญในการพัฒนารูปแบบ
การสอนที่ควรคานึงถึงมีองค์ประกอบที่สาคัญ 5 ประการได้แก่
1. หลักการของรูปแบบการสอน เป็นส่วนที่กล่าวถึงความเชื่อและแนวคิด ทฤษฎีที่
เป็นพื้นฐานของรูปแบบการสอน หลักการของรูปแบบการสอนที่จะเป็นตัวชี้นา การกาหนด
จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และขั้นตอนการดาเนินงานในรูปแบบการสอน
2. จุดประสงค์การสอน เป็นส่วนที่ระบุถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการ
ใช้รูปแบบการสอน
3. เนื้อหา เป็นส่วนที่ระบุถึงเนื้อหาและกิจกรรมต่างๆ ที่จะใช้ในการเรียนการสอน
เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของรูปแบบการสอน
4. กิจกรรมและขั้นตอนการดาเนินงาน เป็นส่วนที่ระบุถึงวิธีการปฏิบัติในขั้นตอน
ต่างๆ เมื่อนารูปแบบการสอนไปใช้
102
5. การวัดและประเมินผลเป็นส่วนที่ประเมินถึงประสิทธิผลของรูปแบบการสอน
Dick and Carey (2004 : 38 อ้างใน ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. 2558 : 102) ได้
กล่าวถึงรูปแบบการออกแบบกาเรียนการสอนเชิงระบบว่ามีองค์ประกอบ 10 ประการดังนี้
1. การระบุเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goal)
2. การดาเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis)
3. การวิเคราะห์ผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้เรียน (Analyze Learners and
Contexts)
4. การเขียนจุดประสงค์การปฏิบัติ (Write Performance Objectives)
5. การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล (Develop Assessment Instrument)
6. การพัฒนากลยุทธ์การเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy)
7. การพัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select
Instructional Materials)
8. การออกแบบและดาเนินการประเมินผลย่อยในการจัดการเรียนการสอน
(Design and Conduct Formative Evaluation of Instruction)
9. การออกแบบและดาเนินการประเมินผลรวม (Design and Conduct
Summative Evaluation of Instruction)
10. ทบทวนการจัดการเรียนการสอน (Revise Instructional)
Joyce and Weil (2009 : 281-284) ได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
โดยเริ่มจากการเสนอภาพเหตุการณ์ในห้องเรียน (Scenario) เพื่อนาไปสู่การจัดการเรียนการสอนแต่
ละแบบซึ่งแต่ละแบบมีองค์ประกอบสี่ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 กล่าวถึงที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน (Orientation to The
model)ประกอบด้วยเป้าหมายของรูปแบบ ข้อตกลงเบื้องต้น หลักการ มโนทัศน์ที่สาคัญที่เป็น
พื้นฐานของรูปแบบการสอน
ส่วนที่ 2 รูปแบบการจัดการเรียนการสอน (The Model of Teaching) มี 4 ตอน
ประกอบด้วย
1. ขั้นตอนของรูปแบบ (Syntax หรือ Phases) เป็นการจัดเรียงตามลาดับกิจกรรมที่
จะสอนเป็นขั้นๆ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีจานวนขั้นตอนการสอนแตกต่างกัน
2. รูปแบบของสังคม (Social System) เป็นการอธิบายบทบาทผู้สอน ผู้เรียน และ
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและการในแต่ละรูปแบบ บทบาทของผู้สอนจะแตกต่างกันไป ในแต่ละรูปแบบ
การสอน
103
3. หลักการแสดงการโต้ตอบ (Principle of Reaction) เป็นการบอกวิธีการที่ผู้สอน
จะตอบสนองต่อสิ่งที่ผู้เรียนกระทา อาจเป็นการให้รางวัล พัฒนาความคิดสร้างสรรค์การสร้าง
บรรยากาศอิสระและไม่มีการประเมินว่าถูกหรือผิด
4. ระบบการสนับสนุน (Support System) เป็นการบอกเงื่อนไขหรือสิ่งจาเป็นใน
การที่จะใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เกิดผล เช่น การสอนฝึกทักษะ ผู้เรียนจะต้องได้ฝึกการ
ทางานในสถานที่ด้วยอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับสภาพการทางานจริงๆส่วนที่ 3 การนารูปแบบการจัดการ
เรียนการสอนไปใช้ (application) เป็นการแนะนาและให้ข้อสังเกตการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการ
สอนนั้น เช่น จะใช้กับเนื้อหาประเภทใดใช้กับผู้เรียนระดับใดจึงจะเหมาะสม
ส่วนที่ 3 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทางตรงและทางอ้อม เป็นการบอกให้รู้ว่าแต่ละ
รูปแบบจะเกิดอะไรบ้างกับผู้เรียน โดยผลทางตรงมาจากการสอนของผู้สอนที่จัดขึ้นตามขั้นตอน หรือ
ผลทางอ้อมมาจากสภาพแวดล้อม ซึ่งถือเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแฝงไปกับผลการสอนซึ่งสามารถใช้
เป็นข้อพิจารณาในการเลือกรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ในห้องเรียน
จากแนวคิดดังกล่าวสรุปองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ควร
ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1) ปรัชญา หลักการ แนวคิดหรือทฤษฎีซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
รูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอน และ
4) การวัดและประเมินผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอน
3. แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอน
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อนารูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ในการพัฒนารูปแบบการสอนจะต้องคานึงถึง
หลักเกณฑ์ในการเลือกเพื่อให้บรรลุผลตามที่ต้องการ ดังที่ Saylor, Alexander, and Lewis (1981)
ได้เสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่พอสรุปได้ดังนี้
1. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ ผู้พัฒนารูปแบบการสอนต้องคานึงถึงวัตถุประสงค์ใน
การกาหนดจุดประสงค์ของกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายโดยทั่วไป
ของการสอนมากที่สุด ดังนั้นรูปแบบที่จะพัฒนาขึ้นจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
โดยทั่วไป
2. ความมีโอกาสสูงในการบรรลุเป้าหมาย ผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจะต้อง
คานึงถึงความเป็นไปได้ในการที่จะบรรลุเป้าหมาย ระดับความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับความสอดคล้อง
ระหว่างกิจกรรมการฝึกในรูปแบบกับวัตถุประสงค์ในการสอน
104
3. แรงจูงใจของผู้เรียน ความมีประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับ
ระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน ผู้พัฒนารูปแบบจึงควรจัดให้มีกิจกรรมที่จะสร้าง
แรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียน อาจจะทาได้โดยการจัดให้มีสื่อใหม่ๆ ที่ท้าทายผู้เรียนเพื่อไม่ให้
ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
4. หลักการเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบการสอนไม่ควรยึดมั่นกับทฤษฎีหรือหลักการ
เรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่ควรนาหลักการเรียนรู้หลายๆ อย่างมาปรับใช้ในทางปฏิบัติด้วย เช่น
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา แรงจูงใจ การเสริมแรง พัฒนาการด้านเจตคติและค่านิยม ความ
ต้องการพื้นฐานของมนุษย์
5. สิ่งอานวยความสะดวก เครื่องมือและทรัพยากร ผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
จะต้องคานึงถึงความพร้อมในด้านเครื่องมือ สิ่งอานวยความสะดวก และทรัพยากรที่จาเป็นต่อการ
พัฒนารูปแบบการสอน
วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) ได้กล่าวถึงหลักการพื้นฐานในการออกแบบและพัฒนา
ระบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนนั้นมีจุดมุ่งหมายที่สาคัญ 4 ประการคือ
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนโดยวิธีแก้ปัญหาและมีข้อมูลย้อนกลับอย่างเป็นระบบ
2. ปรับปรุงการจัดการด้านออกแบบและพัฒนาคนโดยใช้การตรวจตราคนอย่างเป็น
ระบบ
3. ปรับปรุงกระบวนการประเมินโดยประเมินการออกแบบ ส่วนประกอบและลาดับ
ขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งข้อมูลย้อนกลับและทาการปรับปรุงให้เป็นไปตามการออกแบบอย่างเป็นระบบ
4. สร้างหรือทดสอบทฤษฎีการสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ที่นามาใช้ในการออกแบบ
และพัฒนาระบบการสอน
การออกแบบการสอนที่มีข้อมูลย้อนกลับเพื่อการประเมินทุกขั้นตอน (Cybernetic) มา
ใช้กับการออกแบบและพัฒนาระบบการสอนสามารถแสดงเป็นขั้นตอนได้จากที่ 5.1
105
ภาพที่ 5.1 การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน
จากการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนารูปแบบการสอนจากนักการศึกษา พอสรุปเป็น
ขั้นตอนสาคัญในการพัฒนารูปแบบการสอนได้ดังนี้
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และข้อค้นพบจากการวิจัยตลอดจน
การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน หรือปัญหาจากเอกสาร ผลการวิจัยหรือจากการสังเกต
สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. กาหนดหลักการเป้าหมาย และองค์ประกอบอื่นๆ ของรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับ
ข้อมูลพื้นฐาน และสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบระเบียบ การกาหนดเป้าหมายของรูปแบบการสอน จะ
ช่วยให้ผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบการสอนไปใช้ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการสอนเพื่อให้การสอน
บรรลุผลสูงสุด
3. การกาหนดแนวทางในการนารูปแบบการสอนไปใช้ ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับ
วิธีการและเงื่อนไขต่างๆ เช่น ใช้กับผู้เรียนในกลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มย่อย ผู้สอนจะต้องเตรียมงานหรือจัด
สภาพการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้การใช้รูปแบบการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การประเมินรูปแบบการสอนเป็นการทดสอบความมีประสิทธิภาพของรูปแบบที่สร้างขึ้น
โดยทั่วไปจะใช้วิธีการดังนี้
4.1 ประเมินความเป็นไปได้ในเชิงทฤษฎีโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะประเมินความ
สอดคล้องภายในระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
4.2 ประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยการนารูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลอง
ใช้ในสถานการณ์จริงในลักษณะของการวิจัยเชิงทดลองหรือกึ่งทดลอง
5. การปรับปรุงรูปแบบการสอน มี 2 ระยะประกอบด้วย
5.1 ระยะก่อนนารูปแบบไปทดลองใช้ การปรับปรุงรูปแบบการสอนในระยะนี้ใช้ผลจาก
การประเมินความเป็นไปได้เชิงทฤษฎีเป็นข้อมูลในการปรับปรุง
วัตถุประสงค์
(Objective)
ทดสอบก่อน
เรียน
ทดสอบหลัง
เรียน
พัฒนาระบบ
การสอน
ประเมินผล
(Evaluation)
106
5.2 ระยะหลังการนารูปแบบการสอนไปทดลองใช้ การปรับปรุงการสอนในระยะนี้ อาศัย
ข้อมูลจากการทดลองเป็นตัวชี้นาในการปรับปรุง และอาจมีการนารูปแบบการสอนไปทดลองใช้และ
ปรับปรุงซ้าจนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพอสรุปได้ว่า
แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนนั้นจะต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบ
การเรียนการสอน การทดลองใช้ และการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน
4. การจัดกลุ่มรูปแบบการเรียนการสอน
มีนักการศึกษาได้จัดกลุ่มรูปแบบการเรียนการสอนไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ทิศนา แขมมณี (2556 : 6-7) ได้จัดรูปแบบการเรียนการสอนตามลักษณะวัตถุประสงค์
เฉพาะหรือตามเจตนารมณ์ของรูปแบบได้ 5 กลุ่ม คือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เช่น
รูปแบบการเรียนการสอนแบบมโนทัศน์ล่วงหน้า รูปแบบการเรียนการสอนของ Gagne รูปแบบการ
เรียนการสอนโดยการนาเสนอมโนทัศน์ล่วงหน้า รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความจา รูปแบบการ
เรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก เป็นต้น
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นจิตพิสัย (Affective Domain) เช่น รูปแบบการเรียน
การสอนเพื่อพัฒนาจิตพิสัยของ Bloom รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้าน รูปแบบการเรียนการ
สอนโดยใช้บทบาทสมมติ รูปแบบการเรียนการสอนโดยวิธีทาความกระจ่างค่านิยม เป็นต้น
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เช่น รูปแบบ
การเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะการปฏิบัติของ Simpson รูปแบบการเรียนการสอนที่
เน้นทักษะการปฏิบัติของ Harrow รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการปฏิบัติของ Davis
เป็นต้น
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (Process Skill) เช่น
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม รูปแบบการเรียนการสอก
ระบวนการคิดอุปนัย รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการเรียนการสอน
กระบวนการแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของ Torrance เป็นต้น
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (Integration) เช่น รูปแบบการเรียน
การสอนทางตรง รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง (Story Line) รูปแบบการเรียนการ
สอนตามวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) รูปแบบการเรียนการสอนที่แบบร่วมมือเรียนรู้ เป็นต้น
นอกจากนี้ Joyce and Weil (Joyce and Weil. 2009 : 68) จัดประเภทของรูปแบบ
การเรียนการสอนที่เป็นสากล มี 80 วิธี จัดเป็น 4 กลุ่มคือ
107
1. กลุ่มเน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (The Social Family) รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นรูปแบบที่เน้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะทางสังคม ฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองและ
เพื่อน เพื่อการเรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมของคนในสังคมเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่สังคม
ภายนอก การเรียนรู้ที่เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทาให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับเพื่อนร่วมชั้น
มากขึ้น การสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ การสอนแบบซักค้าน (Jurisprudential Inquiry) การจัดการ
เรียนรู้แบบ IG (Group Investigation) วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ (Role Playing)
2. กลุ่มเน้นการประมวลผลข้อมูล (The Information Processing Family) รูปแบบ
การเรียนการสอนที่เน้นการประมวลผลข้อมูล เป็นรูปแบบที่เน้นการค้นหาและการประมวลผลข้อมูล
โดยการค้นคว้าหาปัญหาและแนวทางแก้ไข ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการคิดและการสร้าง
มโนทัศน์ ตัวอย่างการสอน เช่น การสอนแบบสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) การ
สอนแบบเน้นความจา (Memory Model) รูปแบบการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment)
3. กลุ่มเน้นอัตบุคคล (The Personal Family) รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น
อัตบุคคลเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นตัวบุคคลให้มีทัศนคติ ค่านิยมที่ดีงามเพื่อให้บุคคลมีความ
เข้าใจในตนเองดีขึ้น มีความรับผิดชอบต่อการกระทาของตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ในการยกระดับ
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น รูปแบบการสอนแบบสั่งการ (Non Directive Teaching Model) เป็นต้น
4. กลุ่มเน้นพฤติกรรม (The Behavioral Systems Family) รูปแบบการเรียนการสอน
ที่เน้นพฤติกรรมเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นการพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนและทักษะการปฏิบัติ ทฤษฎี
พื้นฐานที่รองรับรูปแบบการสอนในกลุ่มนี้คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory)
ตัวอย่างรูปแบบการสอนตามรูปแบบนี้คือ รูปแบบการฝึกความกล้าแสดงออก (Assertive Training
Model) รูปแบบการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Contingency Management Model) เป็นต้น
จากรูแบบการเรียนการสอนที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าแต่ละรูปแบบมีลักษณะที่เน้นบทบาท
ของผู้เรียนเป็นหลัก แต่มีลักษะที่เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปตามจุดเน้นของ
รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบนั่นเอง
108
วิธีสอน
มีคากล่าวว่า “ไม่มีวิธีสอนที่ดีที่สุด” เพราะการเรียนการสอนต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ
หลายประการ ดังนั้น ยิ่งเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีสอนตามความเหมาะสมของ
จุดประสงค์และเนื้อหา ตลอดจนบริบทที่เป็นอยู่เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
1. ความหมายของวิธีสอน
วิธีสอนนั้นมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของวิธีสอนไว้ดังนี้
กาญจนา เกียรติประวัติ (2534 : 134) ให้ความหมายไว้ว่าวิธีสอน หมายถึง วิธีการ
ที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรวมทั้งการใช้เทคนิคการสอน เนื้อหาวิชา และสื่อการสอนเพื่อให้
บรรลุวัตถุประสงค์ของการสอน
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553 : 139) สรุปไว้ว่า วิธีสอน หมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่
ผู้สอนใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้
ทิศนา แขมมณี (2550 : 477) ได้กล่าวถึง วิธีสอนไว้ว่า วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่
ผู้สอนดาเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตาม
องค์ประกอบและขั้นตอนสาคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือเป็นลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีการ
นั้น ๆ เช่น วิธีสอน โยการบรรยายก็คือขั้นตอนที่ผู้สอนดาเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์โดยใช้วิธีการบรรยาย ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสาคัญของการบรรยายและขั้นตอน
สาคัญที่ขาดไม่ได้ของการบรรยาย
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า วิธีสอน หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้สอนใช้ในการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ดังนั้น วิธีสอน
จึงเป็นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ นั่นเอง ซึ่งวิธีสอนหรือวิธีการที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการจัด
กระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธี
2. หลักการเลือกวิธีสอน
วิธีสอนมีหลากหลายวิธี การเลือกวิธีสอนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน
และต้องคานึงถึงผู้เรียน ช่วงระยะเวลาเรียน สาระที่จะสอน การเลือกวิธีสอนจึงเป็นยุทธศาสตร์สาคัญ
ของการสอน การเลือกวิธีสอนผู้สอนควรคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ (ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. 2558 : 106)
1. วิธีสอนนั้นควรเหมาะกับความสามารถ ความรู้ในเนื้อหาวิชา และความ
สนใจของผู้เรียน
109
2. วิธีสอนควรเหมาะสมกับผู้เรียนทั้งในด้านความแตกต่างของสติปัญญา ความ
สามารถ การแสดงออก วัยและความสนใจของผู้เรียน
3. วิธีสอนต้องสอดคล้องเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ
ความรู้หรือประสบการณ์ใด
4. เลือกใช้วิธีสอนที่เหมาะสมกับวัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นหาได้ง่าย
5. วิธีสอนนั้นก่อให้เกิดแนวทางในการนาความรู้ ทักษะและเจตคติที่ได้รับการฝึกฝน
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้
เมื่อพิจารณาหลักการเลือกเนื้อหาแล้วผู้สอนย่อมสามารถที่จะนาวิธีสอนไปใช้ในการ
เรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมายที่กาหนดไว้
3. ประเภทของวิธีการสอน
วิธีสอนมีหลากหลายวิธีดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ละวิธีมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแต่
เมื่อได้พิจารณาด้านบทบาทของผู้สอนและผู้เรียนแล้ว สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ (อาภรณ์
ใจเที่ยง. 2553 : 140)
2.1 วิธีสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher – center Method) เป็นวิธีสอน
ที่ผู้สอนมีบทบาทสาคัญโดยเป็นผู้จัดและดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น เป็นผู้
วางแผน ดาเนินการ และปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผู้เรียนมีบทบาทค่อนข้างน้อยในการร่วมกิจกรรมการ
เรียนรู้ การเรียนการสอนจึงมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว โดยมีผู้สอนเป็นศูนย์กลางของการ
เรียนการสอน ตัวอย่างของวิธีการสอนแบบนี้ ได้แก่ วิธีสอน แบบบรรยาย แบบสาธิต แบบใช้คาถาม
แบบใช้หนังสือเรียน เป็นต้น
2.2 วิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (Student – center Method) เป็นวิธีสอนที่
เน้นบทบาทของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ดาเนินการค้นคว้า หาความรู้ให้
ตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้ประสานงาน ให้คาแนะนา ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้กาลังใจ และช่วยเหลือ
เมื่อมีปัญหา วิธีสอนแบบนี้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเป็นการเรียนจากการกระทา
ด้วยตนเอง (Learning by Doing) และยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนอีกด้วย เช่น
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม แบบบทบาทสมมุติ แบบวิทยาศาสตร์ แบบทดลอง เป็นต้น
จากประเภทของวิธีสอนผู้เขียนได้ศึกษาประเภทของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ และ
นามาจัดกลุ่มหาตามวัตถุประสงค์หลักและลักษณะสาคัญของวิธีการสอนได้เป็น
110
4. ลักษณะของวิธีสอนแบบต่าง ๆ
วิธีสอนแต่ละแบบมีวัตถุประสงค์ ลักษณะขั้นตอนการสอน ข้อดี ข้อจากัดและ
วิธีการนาไปใช้แตกต่างกัน ในที่นี้จะเสนอวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จานวน 11
วิธีสอน ดังนี้
4.1 วิธีสอนแบบบรรยาย
วิธีสอนแบบบรรยาย หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนพูด บอก
เล่าอธิบายเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ แก่ผู้เรียน โดยที่ผู้สอนเป็นฝ่ายเตรียมการศึกษาค้นคว้าเนื้อเรื่อง
มาแล้วเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายมารับการศึกษาค้นคว้านั้น โดยทั่วไปมักจะเป็นการสื่อความหมาย
ทางเดียว คือ จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมการเรียนการสอน
ค่อนข้างน้อย เพียงแต่ฟัง จดบันทึก หรือซักถามเป็นบางครั้ง วิธีสอนแบบนี้จะยึดบทบาทของ
ผู้สอนเป็นหลักสาคัญ
ความมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียนเป็นความรู้ที่ผู้เรียน
ค้นคว้าแสวงหาได้ค่อนข้างยาก หรือ เป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
2. เพื่อช่วยนาทางในการอ่านหนังสือของผู้เรียนและช่วยสรุปประเด็น
สาคัญในกรณีที่ผู้สอนมอบหมายให้ไปอ่านหนังสือมาล่วงหน้าแล้ว
3. เพื่อมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนในเวลาอันจากัด
การนาวิธีการสอนแบบบรรยายไปใช้ การใช้วิธีการสอนแบบบรรยายให้มี
ประสิทธิภาพ ควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
1. ใช้การสอนแบบบรรยายร่วมกับวิธีการสอนอื่นได้ เช่นใช้การบรรยายคู่
กับการอภิปรายการบรรยายกับการทดลอง เป็นต้น
2. ใช้ทักษะการสอนหลาย ๆ ลักษณะเพื่อเพิ่มการบรรยายให้มีคุณค่า
และน่าสนใจ เช่น การใช้กิริยาท่าทาง การเล่าเรื่องหรือการอธิบายเรื่อง การใช้กระดานดา การใช้
คาถาม การเสริมกาลังใจ เป็นต้น
3. ควรมีเอกสารสิ่งพิมพ์เพิ่มเติมเพื่อขยายความรู้ให้กว้างขวางกว่าที่ผู้สอน
บรรยายหรืออาจเป็นหัวข้อสรุปประเด็นสาคัญ
4. ควรให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการฟังเสียก่อน และควรใช้เทคนิคการ
จูงใจ เร้าความสนใจให้เหมาะสม
5. ควรใช้วิธีสอนแบบบรรยายในสภาพการณ์ต่อไปนี้
5.1 เมื่อต้องการเสนอข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป หรือข้อมูลที่
111
ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรมากมายนัก เช่น โลกเรานี้มีอยู่ 8 ทวีป คือ เอเชีย อเมริกาใต้ อเมริกา
เหนือ แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาร์กติก และแอนตาร์กติกา เป็นต้น
5.2 เมื่อต้องการดึงความสนใจของผู้เรียน เช่น เมื่อเริ่มบทเรียนใหม่
จาเป็นต้องให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลใหม่ หรือข้อมูลพื้นฐานบางประการ
5.3 เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รู้เนื้อหาสาระของบทเรียน ตามขั้นตอน
ของหลักสูตรแต่มีเวลาจากัด
5.4 เมื่อต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้หรือมโนมติเบื้องต้น ก่อนที่จะแยก
ย้ายไปประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนอื่น ๆ
5.5 เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐานที่ผู้เรียนยังไม่เคยได้
เรียนหรือเคยรับรู้มาก่อน
5.6 เมื่อข้อมูลหรือความรู้นั้น ๆ ยังมีข้อโต้แย้งหรือสับสนอยู่ก็ควรใช้
วิธีการบรรยายมากกว่าการเรียนการสอนด้วยวิธีอื่น
5.7 เมื่อมีเวลาในการเรียนจากัด แต่ข้อมูลหรือความรู้ที่สอนนั้นมีมาก
และกระจัดกระจาย
5.8 เมื่อต้องการสรุปบทเรียนหรือสิ่งที่ได้รับการศึกษาค้นคว้ามาแล้ว
ซึ่งเป็นการให้มโนมติขั้นสุดท้าย
5.9 เมื่อต้องการจะทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้วให้แก่ผู้เรียน
4.2 วิธีสอนแบบสาธิต
วิธีสอนแบบสาธิต หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนหรือบุคคล
ใดบุคคลหนึ่งที่ผู้สอนเชิญมาเป็นวิทยากร แสดงให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงในเชิงรูปธรรม ผู้เรียน
จะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนของการสาธิตนั้น ๆ
วิธีสอนแบบสาธิตจึงเป็นการสอนที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เพราะผู้สอน
เป็นผู้วางแผนดาเนินการละลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนอาจมีส่วนร่วมบ้างแต่ก็เพียงเล็กน้อย วิธีสอนแบบนี้
เหมาะสาหรับการสอนที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้
ในรายวิชาพลศึกษา ศิลปศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ นาฏศิลป์ วิชาในกลุ่มการงานอาชีพและ
เทคโนโลยีเป็นต้น
ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งจะช่วย
ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างชัดเจนและสามารถปฏิบัติตามได้
การนาเสนอสอนแบบสาธิตและนาไปใช้ การสอนสาธิตจะมีคุณค่ามาก
น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวิธีสอนอย่างถูกวิธี แนวทางการใช้วิธีสอนแบบสาธิตให้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. ในระหว่างที่ทาการสาธิตผู้สอนต้องเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคนโดยมั่นใจ
112
ผู้เรียนทุกคนกาลังใจสนใจการสาธิตอยู่
2. ในกรณีที่ผู้สอนแสดงการสาธิตเอง ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมบ้าง เช่น ถ้าเวลามากพออาจให้ผู้เรียนออกมาแสดงบ้างเพื่อเป็นการประเมินผลว่า ผู้เรียน
เข้าใจบทเรียนนั้นมากน้อยเพียงใด
3. ในระหว่างที่ทาการสาธิต ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามเพราะ
อาจมีบางจุดหรือบางตอนที่ผู้เรียนได้ดี
4. ผู้สอนควรมั่นใจว่า การสาธิตนั้นมีประโยชน์ต่อผู้เรียนความมั่นใจ
ดังกล่าวอาจใช้วิธีการสังเกตในโอกาสต่าง ๆ ไป เช่น เมื่อมีการสาธิตเรื่องมารยาทในการรับประทาน
อาหารแล้ว ผู้เรียนนาไปใช้หรือเปล่า ผู้สอนอาจสังเกตได้จากการรับประทานอาหารกลางวัน ของ
ผู้เรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปมากน้อยเพียงใด ถ้าพฤติกรรมยังคงเดิมหรือไม่ค่อยมี
มารยาทในการรับประทานอาหารแล้ว ผู้สอนอาจใช้วิธีกระตุ้นหรือตักเตือน ให้นักเรียนได้นาสิ่งที่ได้
เรียนรู้จากการสาธิตมาใช้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
5. ในระหว่างการเรียนการสอนด้วยวิธีการสาธิต ผู้สอนไม่ควรอธิบาย
มากจนเกินไปเพราะจะทาให้การสาธิตขาดความตื่นเต้นเร้าใจไป ดังนั้น ผู้สอนควรพิจารณาว่าตอน
ใด ควรเสริมด้วยการอธิบายตอนใดไม่ควรอธิบาย เป็นต้น
6. ผู้สอนไม่ควรเร่งการสาธิตเกินไปควรสาธิตให้ผู้เรียนได้ดูลาดับขั้นตอน
ไม่ควรคิดว่าบางอย่างผู้เรียนเข้าใจแล้วและข้ามผ่านไป การเร่งการสอนจนผู้เรียนไม่เข้าใจจะเป็นการ
ทาให้การสาธิตนั้นขาดคุณค่าไป
4.3 วิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่ม
วิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่ม หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัด
กิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือพิจารณาหัวข้อที่กลุ่มมีความสนใจ
ร่วมกันโดยมีจุดหมายเพื่อหาคาตอบแนวทางหรือเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน วิธีสอนแบบ
อภิปรายจึงเป็นวิธีสอนแบบที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน คือ ได้คิด ได้ทาได้แก้ปัญหา และได้ฝึก
การทางานร่วมกันแบบประชาธิปไตยผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลาง ของการเรียน มีลักษณะการเรียนรู้
แบบกระตือรือร้นเป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะการเรียนรู้ เช่น
ทักษะการคิด การพูด การรับฟัง การแสดงความคิดเห็น การทางานร่วมกับกลุ่ม เป็นต้น
ความมุ่งหมาย
1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน เป็นการพัฒนา
ทักษะการพูดและการคิด
2. เพื่อฝึกการทางานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นา ผู้ตาม การรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น และการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
113
3. เพื่อฝึกค้นคว้าหาความรู้เพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ
การนาวิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มไปใช้ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
1. ผู้สอนควรเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นให้มาก และเป็นผู้กระตุ้นให้
คาแนะนามากกว่าที่จะเป็นผู้พูดเอง
2. ผู้สอนควรเป็นผู้มีใจกว้าง มีน้าใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความ
คิดเห็นที่ได้จากการอภิปรายกลุ่ม
3. ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้มีความพร้อมก่อนการอภิปราย โดยที่ผู้เรียนต้อง
เตรียมตัวค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการอภิปรายมาล่วงหน้า
4. ผู้สอนกาหนดหัวข้อหรือประเด็นการอภิปรายให้ชัดเจน ให้เข้าใจตรงกัน
เป็นหัวข้อที่ยั่วยุให้มีการคิด อภิปรายได้อย่างกวางขวาง และเรื่องที่จะอภิปราย ควรส่งเสริมวิชาที่
เรียนจุดประสงค์ที่สอนและก่อให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน
5. ขณะที่ผู้เรียนอภิปราย ผู้สอนควรได้เก็บความคิดและข้อคิดเห็นของ
สมาชิกผู้อภิปรายไว้ให้มากที่สุด เพื่อไว้ใช้ในการสรุปบทเรียน โดยสรุปเป็นแนวคิดหลักก่อน แล้ว
ขยายด้วย แนวคิดย่อยทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยพร้อมทั้งขยายประเด็นสาหรับการคิดและการขยาย
ครั้งต่อไป
4.4 วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่
ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทางานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันค้นคว้าหรือทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
ให้สาเร็จ เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพราะได้ลงมือ
ปฏิบัติด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ
2. เพื่อฝึกการทางานร่วมกับผู้อื่นจนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม
สามารถนาไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตได้
3. เพื่อฝึกคุณลักษณะนิสัยผู้เรียน เช่น ความรับผิดชอบในการทางาน
ความมีระเบียบวินัย ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความมีน้าใจ
4. เพื่อฝึกทักษะการพูด การคิด การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การ
สรุป เพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก
114
การนาวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรมไปใช้ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อ
ต่อไปนี้
1. ผู้สอนต้องเตรียมการสอนและมอบหมายงานกลุ่มให้ผู้เรียนอย่าง
เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และระยะเวลาในการเรียน
2. งานที่มอบหมายควรอยู่ในขอบเขตของหลักสูตร และเสริมความรู้ความ
เข้าใจในบทเรียนอย่างแท้จริง
3. ในกรณีที่มอบหมายงานที่ไม่เหมือนกันให้แต่ละกลุ่ม ผู้สอนต้องกาหนด
ปริมาณงานและความยากง่ายของงานให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
4. ขณะที่ผู้เรียนทางานเป็นกลุ่ม ผู้สอนต้องดูแลให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบ
การทางานกลุ่มทั่วทุกคน บางครั้งอาจต้องกระตุ้นผู้เรียนบางคนที่ไม่สนใจทางานกลุ่ม
5. ผู้สอนต้องเอาใจใส่ ดูแล ให้คาปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนา และย้า
ระเบียบวินัยในการทางานกลุ่มถ้าเกิดความวุ่นวายขณะทางานในกลุ่ม
6. ผู้สอนควรได้สรุปความรู้ ความคิด ประเด็นสาคัญของงานที่ผู้เรียนทา
ให้ผู้เรียนได้รับตรงกันหลังจากที่ผู้เรียนเสนอผลงานของกลุ่มแล้ว
7. ผู้สอนควรใช้กิจกรรมกลุ่มหลาย ๆ ลักษณะ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้มากที่สุดโดยอาจจะแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนเล่นเกม ทาการทดลอง แสดงบทบาทสมมุติ ฝึกทักษะ
แข่งขันตอบปัญหา ศึกษาจากชุดการสอน แก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์จาลอง เป็น
ต้น
8. การจัดกลุ่ม จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ระยะ
เวลาเรียน ลักษณะเนื้อหา และกิจกรรมที่จัด ขนาดของกลุ่มย่อยที่มีจานวนสมาชิกประมาณ 4-5 คน
จะเหมาะสมเพราะทุกคนในกลุ่มจะร่วมกันคิดแก้ปัญหา หรือทางานที่ได้รับมอบหมายโดยทั่วถึงกัน
ทุกคนจะให้ความร่วมมือต่อทุกคนเป็นอย่างดี
4.5 วิธีสอนแบบนิรนัย
วิธีสอนแบบนิรนัย หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจาก ทฤษฎี
กฎ หรือหลักการต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนหาหลักฐานหรือเหตุผลมาพิสูจน์ ยืนยันวิธีสอนแบบนี้ช่วยฝึก
ให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงเสียก่อน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักใช้ทฤษฎี กฎ สูตร นิยาม และหลักการ
ต่าง ๆ มาช่วยในการแก้ปัญหาไม่ตัดสินใจในการทางานอย่างง่าย ๆ จนกว่าจะผ่านการพิสูจน์
ข้อเท็จจริงเสียก่อน
การนาวิธีสอนแบบนิรนัยไปใช้ การใช้วิธีการสอนแบบนิรนัยให้มี
ประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
115
1. การเตรียมการ ผู้สอนต้องทาความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฎ
นิยาม หรือข้อสรุปที่ต้องการสอนอย่างชัดเจน และต้องเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ การแก้ปัญหาที่
ผู้เรียนสามารถนาทฤษฎี หลักการ กฎ นิยามหรือข้อสรุป ไปใช้ให้เกิดผลสาเร็จ ตัวอย่างควรเป็น
สถนการณ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่ชัดเจน
2. เป็นการนาเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกใช้ความรู้ เมื่อเห็นว่า
ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี กฎ นิยามหรือข้อสรุปพอสมควรแล้ว ผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนเกิด
การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่มีลักษณะตรงตามสภาพจริงในชีวิตของผู้เรียน
และควรมีความหลากหลายพอสมควร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น
4.6 วิธีสอนแบบอุปนัย
วิธีสอนแบบอุปนัย หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจากการศึกษา
รายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือส่วนร่วม เป็นการสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์
หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยให้ผู้เรียนทาการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้ว
พิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนาไปสู่ข้อสรุป
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อนาไปสู่การ
ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สาคัญ ๆ ด้วยตัวเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความเข้าใจอย่างมี
ความหมายและสร้างความสัมพันธ์ของความคิดต่าง ๆ อย่างชัดเจน ตลอดจนรู้จักกระตุ้นให้ผู้เรียน
รู้จักทาการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
การนาวิธีสอนแบบอุปนัยไปใช้ การใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยให้มี
ประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
1. การเตรียมตัวอย่าง ผู้สอนจาเป็นต้องเตรียมตัวอย่างของข้อมูล
สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ความคิด ทีมีหลักการของแนวคิด ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้แฝงอยู่ โดยตัวอย่างที่ให้ควรประกอบด้วยลักษณะหรือคุณสมบัติย่อย ๆ ที่ครอบคลุม
หลักการของแนวคิดนั้น เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ว่า “ดอกสมบูรณ์คืออะไร” ตัวอย่างที่ให้ก็
ควรครอบคลุมคุณสมบัติย่อยของดอกสมบูรณ์ ผู้สอนอาจจาเป็นต้องสอนมโนทัศน์และหลักการต่าง
ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการทาความเข้าใจกับตัวอย่างที่ผู้สอนเตรียมให้ นอกจากนั้น
ตัวอย่างที่ให้ควรจะเป็นตัวอย่าที่น่าสนใจและท้าทายความคิด ความสามารถของผู้เรียนด้วย
2. ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ร่วมกันคิดร่วมกันวิเคราะห์เป็นกลุ่มย่อย เพื่อจะ
ได้แลกเปลี่ยนความคิดของกันและกัน อันจะนาไปสู่ความคิดที่รอบคอบขึ้นและถูกต้องมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การร่วมกันคิดเป็นกลุ่มนี้ก็มีข้อเสียตรงที่ว่า ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า มักจะถูกครอบงา
หรือถูกข่มโดยผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วกว่า ดังนั้นผู้สอนจึงควรจัดให้ผู้เรียนได้มีเวลาในการคิดเป็น
116
รายบุคคลด้วยก่อนที่จะอภิปรายกลุ่มย่อย และควรให้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุก
คนมีส่วนร่วมในการอภิปรายกลุ่มย่อยอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันพอสมควร
3. ผู้สอนควรจะเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลายมาให้
ผู้เรียน มีโอกาสนาข้อมูลสรุปไปใช้ ผู้สอนควรให้ผู้เรียนยกตัวอย่างจากประสบการณ์ก็ได้ การ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนนาความรู้ที่ได้รับนาไปใช้ นอกจากจะเป็นการให้ความรู้เกิดประโยชน์อย่างชีวิตอย่าง
แท้จริงแล้ว ยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ลึกซึ้งขึ้น และยังเป็นการเปิดโอกาส
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมด้วย
4.7 วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
วิธีสอนแบบแก้ปัญหา หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ทา
กิจกรรมคิดแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอน มีเหตุผล มี
การรวบรวมข้อมูล มีการทดลอง วิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ดังนั้น จึงเรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์
1. มุ่งฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ บทสรุป
2. มุ่งฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีเหตุผลจะ
เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในกานพวิธีการไปใช้แก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจาวันได้
3. มุ่งฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผล และความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
4. มุ่งฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดอิสระ และการทางานร่วมกับ
เพื่อน
การนาวิธีสอนแบบแก้ไขปัญหาไปใช้ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
1. ปัญหาที่นามาให้ผู้เรียนศึกษาควรเป็นปัญหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัย
ประสบการณ์ของผู้เรียน และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน เช่น ปัญหาความไม่สะอาดของห้องเรียน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาการเรียน ปัญหาอุบัติเหตุ เป็นต้น
2. ถ้าผู้เรียนยังไม่เห็นปัญหาผู้สอนควรใช้เทคนิคชี้นาให้ผู้เรียนคิดและ
มองเห็นปัญหา เช่น เทคนิคการถามคาถาม การเล่าเรื่อง การยกตัวอย่าง เป็นต้น
3. ผู้สอนควรเตรียมเนื้อหา แหล่งค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์
ที่จาเป็น ต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ล่วงหน้า
4. ในการสอนต้องให้เวลาและให้อิสระแก่ผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้า การ
วิเคราะห์และการสรุปผลข้อมูล
117
5. ผู้สอนควรควบคุมให้การแก้ปัญหาของกลุ่มหรือรายบุคคลดาเนินไปได้
ด้วยดีและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกาลังใจในการแก้ปัญหา
4.8 วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอน
ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการทางความคิด หาเหตุผล ผู้เรียนจะค้นพบ
ความรู้ หรือแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยผู้สอนตั้งคาถามประเภทกระตุ้นให้ผู้เรียน
ใช้ความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยผู้สอนตั้งคาถามประเภทกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้
ความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้เองและสามารถนาการแก้ปัญหานั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจาวันได้ต่อไป
วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนทาการสืบค้นความรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้
ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล และฝึกให้ผู้เรียนคิดหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
การนาวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนไปใช้
การนาวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพนั้นผู้สอนควร
ตระหนักถึงบทบาทการเป็นผู้แนะแนวทาง คอยช่วยเหลือและสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
โดยมีบทบาทหลัก 3 ประการคือ
1. เป็นผู้ป้อนคาถามผู้เรียนเพื่อนาไปสู่การค้นคว้า ผู้สอนจะต้องรู้วีการ
ป้อนคาถามและจะต้องรู้ลักษณะการถาม ว่าถามอย่างไรผู้เรียนจึงจะเกิดความคิด
2. เมื่อได้ตัวปัญหาแล้วให้ผู้เรียนทั้งชั้นอภิปราย วางแผนแก้ปัญหาและ
กาหนดวีการแก้ปัญหาเอง
3. ถ้าปัญหาใดยากเกินไป ผู้เรียนไม่สามารถวางแผนแก้ปัญหาได้ ผู้สอน
กับผู้เรียนอาจร่วมกันหาทางแก้ปัญหาได้
4.9 วิธีสอนแบบทดลอง
วิธีสอนแบบทดลอง หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียน
ได้ลงมือปฏิบัติศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลองเพื่อพิสูจน์หลักการทฤษฎีที่ผู้อื่นได้ค้นพบไว้ วิธีสอนแบบ
นี้มักใช้ในวิทยาศาสตร์ เช่น การเพาะพืชด้วยเมล็ด ทดลองการสะท้อนของแสง ทดลองว่าแสง
เดินทางเป็นเส้นตรง เป็นต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการทดลอง ผ่านการค้นคว้า
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5

More Related Content

What's hot

องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
Sunisa199444
 
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
kruthai40
 
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
wanichaya kingchaikerd
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตร
thana1989
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรTawatchai Bunchuay
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
Noawanit Songkram
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรmaturos1984
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
Tawatchai Bunchuay
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
tanongsak
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรJiraprapa Suwannajak
 
คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
Bhayubhong
 
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
kruthai40
 
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
นภดล รุ่งจรูญ
 
คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรBigbic Thanyarat
 
หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางsawitreesantawee
 
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5
นางสาวอัมพร แสงมณี
 

What's hot (20)

องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
 
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
 
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตร
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
 
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตรความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
ความหมาย ความสำคัญของหลักสูตร
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
 
คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
 
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
 
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
 
คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
 
หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลาง
 
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
 
คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5
 
01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word
 

Viewers also liked

การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนananphar
 
รูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอนwannaphakdee
 
รูปแบบการสอนแบบทางตรง
รูปแบบการสอนแบบทางตรงรูปแบบการสอนแบบทางตรง
รูปแบบการสอนแบบทางตรง
ปุญญิศา เกิดมณี
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีParichart Ampon
 
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
Amporn Patin
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
Nattayaporn Dokbua
 
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
Mayko Chan
 
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกตศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกตorawan chaiyakhan
 
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่าบทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
บทที่2  ระบบการเรียนการสอนบทที่2  ระบบการเรียนการสอน
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
นางสาวอัมพร แสงมณี
 

Viewers also liked (19)

การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน
 
รูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอน
 
รูปแบบการสอนแบบทางตรง
รูปแบบการสอนแบบทางตรงรูปแบบการสอนแบบทางตรง
รูปแบบการสอนแบบทางตรง
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
 
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
 
บทที่ 2
บทที่ 2 บทที่ 2
บทที่ 2
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
 
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1บทท   2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
บทท 2 หล_กเบ__องต_นในการให_การศ_กษาแก_ผ__ปกครอง 1
 
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกตศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
 
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
 
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่าบทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
 
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
บทที่2  ระบบการเรียนการสอนบทที่2  ระบบการเรียนการสอน
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
 
คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 

Similar to แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5

งานดร.นิป24ม.ค.52
งานดร.นิป24ม.ค.52งานดร.นิป24ม.ค.52
งานดร.นิป24ม.ค.52guest7f765e
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
kanwan0429
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
kanwan0429
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
nattawad147
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
Piyapong Chaichana
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
Theerayut Ponman
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
poppai041507094142
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
wanitchaya001
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
fernfielook
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
benty2443
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
nattapong147
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
teerayut123
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
wanneemayss
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
gam030
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
teerayut123
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
benty2443
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
gam030
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
fernfielook
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
poppai041507094142
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
wanneemayss
 

Similar to แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5 (20)

งานดร.นิป24ม.ค.52
งานดร.นิป24ม.ค.52งานดร.นิป24ม.ค.52
งานดร.นิป24ม.ค.52
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี

คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
นางสาวอัมพร แสงมณี
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี (13)

คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6
 
คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
 
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
 
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
 
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
 
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
 
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
 
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5

  • 1. 99 บทที่ 5 เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้ เทคนิคเป็นศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะ ส่วนเทคนิคการสอน เป็นกลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริม กระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน หรือการดาเนินทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น “วิทยาการของความรู้แขนงต่างๆ วิทยาการจัดการเรียนรู้ เป็นวิธีการหรือ กระบวนการในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนแขนงต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน ในวิชาชีพ ครู เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้ จึงเป็นเครื่องมือสาคัญในการนาไปใช้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนา คุณภาพผู้เรียน ในบทนี้จึงนาเสนอเกี่ยวกับ แนวคิดของวิทยาการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการ สอน วิธีสอน และเทคนิคการสอน แนวคิดของวิทยาการจัดการเรียนรู้ วิทยาการจัดการเรียนรู้ (Learning Management Science) หมายถึงศาสตร์หรือ วิทยาการที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ทั้งหมดที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเหมายของการ เรียนรู้ ซึ่งคาว่า “ศาสตร์” กับ “วิทยาการ” มีความหมายใกล้เคียงกัน ภาษาอังกฤษ ใช้คาว่า “Science” และ “Management Science” ส่วนคาว่า “ศาสตร์การสอน” ใช้คาว่า “Teaching Science” ปัจจุบันนิยมใช้คาว่า “การจัดการเรียนรู้” แทนคาว่า “การสอน” เพราะเน้นที่ผู้เรียนให้ เกิดการเรียนรู้เป็นสาคัญ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย ตนเอง ได้ฝึกทักษะการคิด แลแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นจากการสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเองของผู้เรียนมากกว่าที่จะได้รับความรู้จากผู้สอนโดยตรง นั่งคือ เปลี่ยนจาก “Teaching Science” เป็น “Learning Management Science” ซึ่งมีความหมายเหมือนกันแต่จุดเน้นต่างกัน วิทยาการจัดการเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้หลายในหลายองค์ประกอบ เช่น ทฤษฏีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอน ระบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ การ จัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะการจัดการ เรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน การใช้สื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอน และ การวัดและ ประเมินผล (ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. 2558 : 99)
  • 2. 100 รูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน เป็นกระบวนการสาคัญที่ผู้สอนนาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้ เกิดการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของการเรียนการสอน คือหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ที่มีการวางแผนอย่างเป็น ระบบ ดังนั้นผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอน ดังนี้ 1. ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน ในศาสตร์ทางการศึกษามีคาที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน (Teaching Models หรือ Training Models) และ รูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบการจัดการเรียนการ สอน (Instructional Model หรือ Teaching Learning Model) คาว่า “รูปแบบการเรียนการสอน” สามารถให้คาจากัดความได้ในหลายประเด็น โดยมีข้อพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่น นักวิชาการหลายท่านกล่าวไว้ ดังนี้ ทิศนา แขมมณี (2550 : 477) ให้ความหมายของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนว่า หมายถึง แบบแผนการดาเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี หลักการเรียนรู้ หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการ ดาเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ ที่รูปแบบขั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่ มีลักษณะเฉพาะอันจะนาผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกาหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนาไปใช้ เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดาเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย (2558 : 101) ได้สรุปความหมายของรูปแบบการสอนไว้ ว่า หมายถึงสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีสอน เทคนิคการสอน เข้ามาช่วยให้การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือ ซึ่ง รูปแบบการเรียนการสอนต้องกาหนดรายละเอียดในการเตรียมการสอน การดาเนินการสอนและการ ประเมินผล เพื่อให้ทราบถึงวิธีการที่ผู้เรียนจะบรรลุจุดหมายที่กาหนดไว้ Saylor, Alexander and Lewis (1981) ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอน (teaching model) หมายถึง แบบหรือแผน (pattern) ของการสอนที่มีการจัดกระทาพฤติกรรมขึ้นจานวนหนึ่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันเพื่อจุดหมายหรือจุดเน้นเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง Eggen and Kauchak (1997: 11) ให้คาจากัดความของ รูปแบบการสอน ว่าเป็น การจัดทารายละเอียดเบื้องต้นสาหรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการสอนของผู้สอน ซึ่งจะออกแบบขึ้นเพื่อ เป้าหมายในการสอนอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยที่ผู้สอนจะพิจารณาว่าจะสอนอะไร และมี
  • 3. 101 ยุทธวิธีใดที่จะไปสู่เป้าหมายของการสอนได้ กระบวนการที่ถูกออกแบบจะเป็นการออกแบบเฉพาะ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เฉพาะในเป้าหมายที่กาหนดไว้ และจะถูกกาหนดให้เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ของ ผู้สอนในการสอน Joyce, Weil and Calhoun (2004) สรุปความหมายของรูปแบบการสอนไว้ว่า เป็นแผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้เพื่อการสอนในห้องเรียนทางตรงหรือการสอนเป็นกลุ่มย่อย เพื่อจัดสื่อ การสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งจะให้แนวทางในการออกแบบการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุ วัตถุประสงค์แตกต่างกัน จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพการ ดาเนินการที่มีการจัดขึ้นอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ หรือแนวคิด หรือหลักการที่ รูปแบบนั้นยึดถือเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่รูปแบบการเรียนการสอนนั้นยึดถือ ผู้สอนสารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ แตกต่างกัน 2. องค์ประกอบของรูปแบบการสอน รูปแบบการสอนมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบได้ดาเนินการเพื่อสนอง จุดมุ่งหมายของโครงการ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้พิจารณารูปแบบการสอนที่นักการศึกษาได้เสนอ ไว้เพื่อนามาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยมีสาระที่สาคัญของรูปแบบ การสอนที่ประกอบด้วย การกาหนดเป้าหมายของการเรียน เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การ วัดและประเมินผลการเรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่สาคัญในการพัฒนารูปแบบ การสอนที่ควรคานึงถึงมีองค์ประกอบที่สาคัญ 5 ประการได้แก่ 1. หลักการของรูปแบบการสอน เป็นส่วนที่กล่าวถึงความเชื่อและแนวคิด ทฤษฎีที่ เป็นพื้นฐานของรูปแบบการสอน หลักการของรูปแบบการสอนที่จะเป็นตัวชี้นา การกาหนด จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และขั้นตอนการดาเนินงานในรูปแบบการสอน 2. จุดประสงค์การสอน เป็นส่วนที่ระบุถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการ ใช้รูปแบบการสอน 3. เนื้อหา เป็นส่วนที่ระบุถึงเนื้อหาและกิจกรรมต่างๆ ที่จะใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของรูปแบบการสอน 4. กิจกรรมและขั้นตอนการดาเนินงาน เป็นส่วนที่ระบุถึงวิธีการปฏิบัติในขั้นตอน ต่างๆ เมื่อนารูปแบบการสอนไปใช้
  • 4. 102 5. การวัดและประเมินผลเป็นส่วนที่ประเมินถึงประสิทธิผลของรูปแบบการสอน Dick and Carey (2004 : 38 อ้างใน ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. 2558 : 102) ได้ กล่าวถึงรูปแบบการออกแบบกาเรียนการสอนเชิงระบบว่ามีองค์ประกอบ 10 ประการดังนี้ 1. การระบุเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goal) 2. การดาเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis) 3. การวิเคราะห์ผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้เรียน (Analyze Learners and Contexts) 4. การเขียนจุดประสงค์การปฏิบัติ (Write Performance Objectives) 5. การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล (Develop Assessment Instrument) 6. การพัฒนากลยุทธ์การเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy) 7. การพัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials) 8. การออกแบบและดาเนินการประเมินผลย่อยในการจัดการเรียนการสอน (Design and Conduct Formative Evaluation of Instruction) 9. การออกแบบและดาเนินการประเมินผลรวม (Design and Conduct Summative Evaluation of Instruction) 10. ทบทวนการจัดการเรียนการสอน (Revise Instructional) Joyce and Weil (2009 : 281-284) ได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยเริ่มจากการเสนอภาพเหตุการณ์ในห้องเรียน (Scenario) เพื่อนาไปสู่การจัดการเรียนการสอนแต่ ละแบบซึ่งแต่ละแบบมีองค์ประกอบสี่ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 กล่าวถึงที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน (Orientation to The model)ประกอบด้วยเป้าหมายของรูปแบบ ข้อตกลงเบื้องต้น หลักการ มโนทัศน์ที่สาคัญที่เป็น พื้นฐานของรูปแบบการสอน ส่วนที่ 2 รูปแบบการจัดการเรียนการสอน (The Model of Teaching) มี 4 ตอน ประกอบด้วย 1. ขั้นตอนของรูปแบบ (Syntax หรือ Phases) เป็นการจัดเรียงตามลาดับกิจกรรมที่ จะสอนเป็นขั้นๆ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีจานวนขั้นตอนการสอนแตกต่างกัน 2. รูปแบบของสังคม (Social System) เป็นการอธิบายบทบาทผู้สอน ผู้เรียน และ ความสัมพันธ์ซึ่งกันและการในแต่ละรูปแบบ บทบาทของผู้สอนจะแตกต่างกันไป ในแต่ละรูปแบบ การสอน
  • 5. 103 3. หลักการแสดงการโต้ตอบ (Principle of Reaction) เป็นการบอกวิธีการที่ผู้สอน จะตอบสนองต่อสิ่งที่ผู้เรียนกระทา อาจเป็นการให้รางวัล พัฒนาความคิดสร้างสรรค์การสร้าง บรรยากาศอิสระและไม่มีการประเมินว่าถูกหรือผิด 4. ระบบการสนับสนุน (Support System) เป็นการบอกเงื่อนไขหรือสิ่งจาเป็นใน การที่จะใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เกิดผล เช่น การสอนฝึกทักษะ ผู้เรียนจะต้องได้ฝึกการ ทางานในสถานที่ด้วยอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับสภาพการทางานจริงๆส่วนที่ 3 การนารูปแบบการจัดการ เรียนการสอนไปใช้ (application) เป็นการแนะนาและให้ข้อสังเกตการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการ สอนนั้น เช่น จะใช้กับเนื้อหาประเภทใดใช้กับผู้เรียนระดับใดจึงจะเหมาะสม ส่วนที่ 3 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทางตรงและทางอ้อม เป็นการบอกให้รู้ว่าแต่ละ รูปแบบจะเกิดอะไรบ้างกับผู้เรียน โดยผลทางตรงมาจากการสอนของผู้สอนที่จัดขึ้นตามขั้นตอน หรือ ผลทางอ้อมมาจากสภาพแวดล้อม ซึ่งถือเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแฝงไปกับผลการสอนซึ่งสามารถใช้ เป็นข้อพิจารณาในการเลือกรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ในห้องเรียน จากแนวคิดดังกล่าวสรุปองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ควร ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1) ปรัชญา หลักการ แนวคิดหรือทฤษฎีซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนา รูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอน และ 4) การวัดและประเมินผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3. แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อนารูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ในการพัฒนารูปแบบการสอนจะต้องคานึงถึง หลักเกณฑ์ในการเลือกเพื่อให้บรรลุผลตามที่ต้องการ ดังที่ Saylor, Alexander, and Lewis (1981) ได้เสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่พอสรุปได้ดังนี้ 1. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ ผู้พัฒนารูปแบบการสอนต้องคานึงถึงวัตถุประสงค์ใน การกาหนดจุดประสงค์ของกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายโดยทั่วไป ของการสอนมากที่สุด ดังนั้นรูปแบบที่จะพัฒนาขึ้นจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยทั่วไป 2. ความมีโอกาสสูงในการบรรลุเป้าหมาย ผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจะต้อง คานึงถึงความเป็นไปได้ในการที่จะบรรลุเป้าหมาย ระดับความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับความสอดคล้อง ระหว่างกิจกรรมการฝึกในรูปแบบกับวัตถุประสงค์ในการสอน
  • 6. 104 3. แรงจูงใจของผู้เรียน ความมีประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับ ระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน ผู้พัฒนารูปแบบจึงควรจัดให้มีกิจกรรมที่จะสร้าง แรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียน อาจจะทาได้โดยการจัดให้มีสื่อใหม่ๆ ที่ท้าทายผู้เรียนเพื่อไม่ให้ ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน 4. หลักการเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบการสอนไม่ควรยึดมั่นกับทฤษฎีหรือหลักการ เรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่ควรนาหลักการเรียนรู้หลายๆ อย่างมาปรับใช้ในทางปฏิบัติด้วย เช่น พัฒนาการทางด้านสติปัญญา แรงจูงใจ การเสริมแรง พัฒนาการด้านเจตคติและค่านิยม ความ ต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5. สิ่งอานวยความสะดวก เครื่องมือและทรัพยากร ผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน จะต้องคานึงถึงความพร้อมในด้านเครื่องมือ สิ่งอานวยความสะดวก และทรัพยากรที่จาเป็นต่อการ พัฒนารูปแบบการสอน วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) ได้กล่าวถึงหลักการพื้นฐานในการออกแบบและพัฒนา ระบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนนั้นมีจุดมุ่งหมายที่สาคัญ 4 ประการคือ 1. ปรับปรุงการเรียนการสอนโดยวิธีแก้ปัญหาและมีข้อมูลย้อนกลับอย่างเป็นระบบ 2. ปรับปรุงการจัดการด้านออกแบบและพัฒนาคนโดยใช้การตรวจตราคนอย่างเป็น ระบบ 3. ปรับปรุงกระบวนการประเมินโดยประเมินการออกแบบ ส่วนประกอบและลาดับ ขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งข้อมูลย้อนกลับและทาการปรับปรุงให้เป็นไปตามการออกแบบอย่างเป็นระบบ 4. สร้างหรือทดสอบทฤษฎีการสอนและทฤษฎีการเรียนรู้ที่นามาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาระบบการสอน การออกแบบการสอนที่มีข้อมูลย้อนกลับเพื่อการประเมินทุกขั้นตอน (Cybernetic) มา ใช้กับการออกแบบและพัฒนาระบบการสอนสามารถแสดงเป็นขั้นตอนได้จากที่ 5.1
  • 7. 105 ภาพที่ 5.1 การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน จากการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนารูปแบบการสอนจากนักการศึกษา พอสรุปเป็น ขั้นตอนสาคัญในการพัฒนารูปแบบการสอนได้ดังนี้ 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และข้อค้นพบจากการวิจัยตลอดจน การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน หรือปัญหาจากเอกสาร ผลการวิจัยหรือจากการสังเกต สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. กาหนดหลักการเป้าหมาย และองค์ประกอบอื่นๆ ของรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับ ข้อมูลพื้นฐาน และสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบระเบียบ การกาหนดเป้าหมายของรูปแบบการสอน จะ ช่วยให้ผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบการสอนไปใช้ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการสอนเพื่อให้การสอน บรรลุผลสูงสุด 3. การกาหนดแนวทางในการนารูปแบบการสอนไปใช้ ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับ วิธีการและเงื่อนไขต่างๆ เช่น ใช้กับผู้เรียนในกลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มย่อย ผู้สอนจะต้องเตรียมงานหรือจัด สภาพการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้การใช้รูปแบบการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การประเมินรูปแบบการสอนเป็นการทดสอบความมีประสิทธิภาพของรูปแบบที่สร้างขึ้น โดยทั่วไปจะใช้วิธีการดังนี้ 4.1 ประเมินความเป็นไปได้ในเชิงทฤษฎีโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะประเมินความ สอดคล้องภายในระหว่างองค์ประกอบต่างๆ 4.2 ประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยการนารูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลอง ใช้ในสถานการณ์จริงในลักษณะของการวิจัยเชิงทดลองหรือกึ่งทดลอง 5. การปรับปรุงรูปแบบการสอน มี 2 ระยะประกอบด้วย 5.1 ระยะก่อนนารูปแบบไปทดลองใช้ การปรับปรุงรูปแบบการสอนในระยะนี้ใช้ผลจาก การประเมินความเป็นไปได้เชิงทฤษฎีเป็นข้อมูลในการปรับปรุง วัตถุประสงค์ (Objective) ทดสอบก่อน เรียน ทดสอบหลัง เรียน พัฒนาระบบ การสอน ประเมินผล (Evaluation)
  • 8. 106 5.2 ระยะหลังการนารูปแบบการสอนไปทดลองใช้ การปรับปรุงการสอนในระยะนี้ อาศัย ข้อมูลจากการทดลองเป็นตัวชี้นาในการปรับปรุง และอาจมีการนารูปแบบการสอนไปทดลองใช้และ ปรับปรุงซ้าจนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพอสรุปได้ว่า แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนนั้นจะต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบ การเรียนการสอน การทดลองใช้ และการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 4. การจัดกลุ่มรูปแบบการเรียนการสอน มีนักการศึกษาได้จัดกลุ่มรูปแบบการเรียนการสอนไว้แตกต่างกัน ดังนี้ ทิศนา แขมมณี (2556 : 6-7) ได้จัดรูปแบบการเรียนการสอนตามลักษณะวัตถุประสงค์ เฉพาะหรือตามเจตนารมณ์ของรูปแบบได้ 5 กลุ่ม คือ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เช่น รูปแบบการเรียนการสอนแบบมโนทัศน์ล่วงหน้า รูปแบบการเรียนการสอนของ Gagne รูปแบบการ เรียนการสอนโดยการนาเสนอมโนทัศน์ล่วงหน้า รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความจา รูปแบบการ เรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก เป็นต้น 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นจิตพิสัย (Affective Domain) เช่น รูปแบบการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาจิตพิสัยของ Bloom รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้าน รูปแบบการเรียนการ สอนโดยใช้บทบาทสมมติ รูปแบบการเรียนการสอนโดยวิธีทาความกระจ่างค่านิยม เป็นต้น 3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เช่น รูปแบบ การเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะการปฏิบัติของ Simpson รูปแบบการเรียนการสอนที่ เน้นทักษะการปฏิบัติของ Harrow รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการปฏิบัติของ Davis เป็นต้น 4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (Process Skill) เช่น รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม รูปแบบการเรียนการสอก ระบวนการคิดอุปนัย รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของ Torrance เป็นต้น 5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (Integration) เช่น รูปแบบการเรียน การสอนทางตรง รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง (Story Line) รูปแบบการเรียนการ สอนตามวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) รูปแบบการเรียนการสอนที่แบบร่วมมือเรียนรู้ เป็นต้น นอกจากนี้ Joyce and Weil (Joyce and Weil. 2009 : 68) จัดประเภทของรูปแบบ การเรียนการสอนที่เป็นสากล มี 80 วิธี จัดเป็น 4 กลุ่มคือ
  • 9. 107 1. กลุ่มเน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (The Social Family) รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นรูปแบบที่เน้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะทางสังคม ฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองและ เพื่อน เพื่อการเรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมของคนในสังคมเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่สังคม ภายนอก การเรียนรู้ที่เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทาให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับเพื่อนร่วมชั้น มากขึ้น การสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ การสอนแบบซักค้าน (Jurisprudential Inquiry) การจัดการ เรียนรู้แบบ IG (Group Investigation) วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ (Role Playing) 2. กลุ่มเน้นการประมวลผลข้อมูล (The Information Processing Family) รูปแบบ การเรียนการสอนที่เน้นการประมวลผลข้อมูล เป็นรูปแบบที่เน้นการค้นหาและการประมวลผลข้อมูล โดยการค้นคว้าหาปัญหาและแนวทางแก้ไข ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการคิดและการสร้าง มโนทัศน์ ตัวอย่างการสอน เช่น การสอนแบบสืบสอบทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) การ สอนแบบเน้นความจา (Memory Model) รูปแบบการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment) 3. กลุ่มเน้นอัตบุคคล (The Personal Family) รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น อัตบุคคลเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นตัวบุคคลให้มีทัศนคติ ค่านิยมที่ดีงามเพื่อให้บุคคลมีความ เข้าใจในตนเองดีขึ้น มีความรับผิดชอบต่อการกระทาของตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ในการยกระดับ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น รูปแบบการสอนแบบสั่งการ (Non Directive Teaching Model) เป็นต้น 4. กลุ่มเน้นพฤติกรรม (The Behavioral Systems Family) รูปแบบการเรียนการสอน ที่เน้นพฤติกรรมเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นการพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนและทักษะการปฏิบัติ ทฤษฎี พื้นฐานที่รองรับรูปแบบการสอนในกลุ่มนี้คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ตัวอย่างรูปแบบการสอนตามรูปแบบนี้คือ รูปแบบการฝึกความกล้าแสดงออก (Assertive Training Model) รูปแบบการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Contingency Management Model) เป็นต้น จากรูแบบการเรียนการสอนที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าแต่ละรูปแบบมีลักษณะที่เน้นบทบาท ของผู้เรียนเป็นหลัก แต่มีลักษะที่เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปตามจุดเน้นของ รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบนั่นเอง
  • 10. 108 วิธีสอน มีคากล่าวว่า “ไม่มีวิธีสอนที่ดีที่สุด” เพราะการเรียนการสอนต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หลายประการ ดังนั้น ยิ่งเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีสอนตามความเหมาะสมของ จุดประสงค์และเนื้อหา ตลอดจนบริบทที่เป็นอยู่เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 1. ความหมายของวิธีสอน วิธีสอนนั้นมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของวิธีสอนไว้ดังนี้ กาญจนา เกียรติประวัติ (2534 : 134) ให้ความหมายไว้ว่าวิธีสอน หมายถึง วิธีการ ที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรวมทั้งการใช้เทคนิคการสอน เนื้อหาวิชา และสื่อการสอนเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของการสอน อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553 : 139) สรุปไว้ว่า วิธีสอน หมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่ ผู้สอนใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้ ทิศนา แขมมณี (2550 : 477) ได้กล่าวถึง วิธีสอนไว้ว่า วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ ผู้สอนดาเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตาม องค์ประกอบและขั้นตอนสาคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือเป็นลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีการ นั้น ๆ เช่น วิธีสอน โยการบรรยายก็คือขั้นตอนที่ผู้สอนดาเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์โดยใช้วิธีการบรรยาย ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสาคัญของการบรรยายและขั้นตอน สาคัญที่ขาดไม่ได้ของการบรรยาย จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า วิธีสอน หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้สอนใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ดังนั้น วิธีสอน จึงเป็นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ นั่นเอง ซึ่งวิธีสอนหรือวิธีการที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการจัด กระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธี 2. หลักการเลือกวิธีสอน วิธีสอนมีหลากหลายวิธี การเลือกวิธีสอนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และต้องคานึงถึงผู้เรียน ช่วงระยะเวลาเรียน สาระที่จะสอน การเลือกวิธีสอนจึงเป็นยุทธศาสตร์สาคัญ ของการสอน การเลือกวิธีสอนผู้สอนควรคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ (ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. 2558 : 106) 1. วิธีสอนนั้นควรเหมาะกับความสามารถ ความรู้ในเนื้อหาวิชา และความ สนใจของผู้เรียน
  • 11. 109 2. วิธีสอนควรเหมาะสมกับผู้เรียนทั้งในด้านความแตกต่างของสติปัญญา ความ สามารถ การแสดงออก วัยและความสนใจของผู้เรียน 3. วิธีสอนต้องสอดคล้องเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ ความรู้หรือประสบการณ์ใด 4. เลือกใช้วิธีสอนที่เหมาะสมกับวัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นหาได้ง่าย 5. วิธีสอนนั้นก่อให้เกิดแนวทางในการนาความรู้ ทักษะและเจตคติที่ได้รับการฝึกฝน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ เมื่อพิจารณาหลักการเลือกเนื้อหาแล้วผู้สอนย่อมสามารถที่จะนาวิธีสอนไปใช้ในการ เรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ 3. ประเภทของวิธีการสอน วิธีสอนมีหลากหลายวิธีดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ละวิธีมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแต่ เมื่อได้พิจารณาด้านบทบาทของผู้สอนและผู้เรียนแล้ว สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553 : 140) 2.1 วิธีสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher – center Method) เป็นวิธีสอน ที่ผู้สอนมีบทบาทสาคัญโดยเป็นผู้จัดและดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น เป็นผู้ วางแผน ดาเนินการ และปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผู้เรียนมีบทบาทค่อนข้างน้อยในการร่วมกิจกรรมการ เรียนรู้ การเรียนการสอนจึงมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว โดยมีผู้สอนเป็นศูนย์กลางของการ เรียนการสอน ตัวอย่างของวิธีการสอนแบบนี้ ได้แก่ วิธีสอน แบบบรรยาย แบบสาธิต แบบใช้คาถาม แบบใช้หนังสือเรียน เป็นต้น 2.2 วิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (Student – center Method) เป็นวิธีสอนที่ เน้นบทบาทของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ดาเนินการค้นคว้า หาความรู้ให้ ตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้ประสานงาน ให้คาแนะนา ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้กาลังใจ และช่วยเหลือ เมื่อมีปัญหา วิธีสอนแบบนี้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเป็นการเรียนจากการกระทา ด้วยตนเอง (Learning by Doing) และยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของผู้เรียนอีกด้วย เช่น วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม แบบบทบาทสมมุติ แบบวิทยาศาสตร์ แบบทดลอง เป็นต้น จากประเภทของวิธีสอนผู้เขียนได้ศึกษาประเภทของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ และ นามาจัดกลุ่มหาตามวัตถุประสงค์หลักและลักษณะสาคัญของวิธีการสอนได้เป็น
  • 12. 110 4. ลักษณะของวิธีสอนแบบต่าง ๆ วิธีสอนแต่ละแบบมีวัตถุประสงค์ ลักษณะขั้นตอนการสอน ข้อดี ข้อจากัดและ วิธีการนาไปใช้แตกต่างกัน ในที่นี้จะเสนอวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จานวน 11 วิธีสอน ดังนี้ 4.1 วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนแบบบรรยาย หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนพูด บอก เล่าอธิบายเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ แก่ผู้เรียน โดยที่ผู้สอนเป็นฝ่ายเตรียมการศึกษาค้นคว้าเนื้อเรื่อง มาแล้วเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายมารับการศึกษาค้นคว้านั้น โดยทั่วไปมักจะเป็นการสื่อความหมาย ทางเดียว คือ จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมการเรียนการสอน ค่อนข้างน้อย เพียงแต่ฟัง จดบันทึก หรือซักถามเป็นบางครั้ง วิธีสอนแบบนี้จะยึดบทบาทของ ผู้สอนเป็นหลักสาคัญ ความมุ่งหมาย 1. เพื่อให้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียนเป็นความรู้ที่ผู้เรียน ค้นคว้าแสวงหาได้ค่อนข้างยาก หรือ เป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง 2. เพื่อช่วยนาทางในการอ่านหนังสือของผู้เรียนและช่วยสรุปประเด็น สาคัญในกรณีที่ผู้สอนมอบหมายให้ไปอ่านหนังสือมาล่วงหน้าแล้ว 3. เพื่อมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนในเวลาอันจากัด การนาวิธีการสอนแบบบรรยายไปใช้ การใช้วิธีการสอนแบบบรรยายให้มี ประสิทธิภาพ ควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้ 1. ใช้การสอนแบบบรรยายร่วมกับวิธีการสอนอื่นได้ เช่นใช้การบรรยายคู่ กับการอภิปรายการบรรยายกับการทดลอง เป็นต้น 2. ใช้ทักษะการสอนหลาย ๆ ลักษณะเพื่อเพิ่มการบรรยายให้มีคุณค่า และน่าสนใจ เช่น การใช้กิริยาท่าทาง การเล่าเรื่องหรือการอธิบายเรื่อง การใช้กระดานดา การใช้ คาถาม การเสริมกาลังใจ เป็นต้น 3. ควรมีเอกสารสิ่งพิมพ์เพิ่มเติมเพื่อขยายความรู้ให้กว้างขวางกว่าที่ผู้สอน บรรยายหรืออาจเป็นหัวข้อสรุปประเด็นสาคัญ 4. ควรให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการฟังเสียก่อน และควรใช้เทคนิคการ จูงใจ เร้าความสนใจให้เหมาะสม 5. ควรใช้วิธีสอนแบบบรรยายในสภาพการณ์ต่อไปนี้ 5.1 เมื่อต้องการเสนอข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป หรือข้อมูลที่
  • 13. 111 ไม่ต้องการพิสูจน์อะไรมากมายนัก เช่น โลกเรานี้มีอยู่ 8 ทวีป คือ เอเชีย อเมริกาใต้ อเมริกา เหนือ แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาร์กติก และแอนตาร์กติกา เป็นต้น 5.2 เมื่อต้องการดึงความสนใจของผู้เรียน เช่น เมื่อเริ่มบทเรียนใหม่ จาเป็นต้องให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลใหม่ หรือข้อมูลพื้นฐานบางประการ 5.3 เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รู้เนื้อหาสาระของบทเรียน ตามขั้นตอน ของหลักสูตรแต่มีเวลาจากัด 5.4 เมื่อต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้หรือมโนมติเบื้องต้น ก่อนที่จะแยก ย้ายไปประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนอื่น ๆ 5.5 เมื่อต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐานที่ผู้เรียนยังไม่เคยได้ เรียนหรือเคยรับรู้มาก่อน 5.6 เมื่อข้อมูลหรือความรู้นั้น ๆ ยังมีข้อโต้แย้งหรือสับสนอยู่ก็ควรใช้ วิธีการบรรยายมากกว่าการเรียนการสอนด้วยวิธีอื่น 5.7 เมื่อมีเวลาในการเรียนจากัด แต่ข้อมูลหรือความรู้ที่สอนนั้นมีมาก และกระจัดกระจาย 5.8 เมื่อต้องการสรุปบทเรียนหรือสิ่งที่ได้รับการศึกษาค้นคว้ามาแล้ว ซึ่งเป็นการให้มโนมติขั้นสุดท้าย 5.9 เมื่อต้องการจะทบทวนบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้วให้แก่ผู้เรียน 4.2 วิธีสอนแบบสาธิต วิธีสอนแบบสาธิต หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนหรือบุคคล ใดบุคคลหนึ่งที่ผู้สอนเชิญมาเป็นวิทยากร แสดงให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงในเชิงรูปธรรม ผู้เรียน จะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนของการสาธิตนั้น ๆ วิธีสอนแบบสาธิตจึงเป็นการสอนที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เพราะผู้สอน เป็นผู้วางแผนดาเนินการละลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนอาจมีส่วนร่วมบ้างแต่ก็เพียงเล็กน้อย วิธีสอนแบบนี้ เหมาะสาหรับการสอนที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ ในรายวิชาพลศึกษา ศิลปศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ นาฏศิลป์ วิชาในกลุ่มการงานอาชีพและ เทคโนโลยีเป็นต้น ความมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งจะช่วย ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างชัดเจนและสามารถปฏิบัติตามได้ การนาเสนอสอนแบบสาธิตและนาไปใช้ การสอนสาธิตจะมีคุณค่ามาก น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวิธีสอนอย่างถูกวิธี แนวทางการใช้วิธีสอนแบบสาธิตให้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้ 1. ในระหว่างที่ทาการสาธิตผู้สอนต้องเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคนโดยมั่นใจ
  • 14. 112 ผู้เรียนทุกคนกาลังใจสนใจการสาธิตอยู่ 2. ในกรณีที่ผู้สอนแสดงการสาธิตเอง ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในกิจกรรมบ้าง เช่น ถ้าเวลามากพออาจให้ผู้เรียนออกมาแสดงบ้างเพื่อเป็นการประเมินผลว่า ผู้เรียน เข้าใจบทเรียนนั้นมากน้อยเพียงใด 3. ในระหว่างที่ทาการสาธิต ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามเพราะ อาจมีบางจุดหรือบางตอนที่ผู้เรียนได้ดี 4. ผู้สอนควรมั่นใจว่า การสาธิตนั้นมีประโยชน์ต่อผู้เรียนความมั่นใจ ดังกล่าวอาจใช้วิธีการสังเกตในโอกาสต่าง ๆ ไป เช่น เมื่อมีการสาธิตเรื่องมารยาทในการรับประทาน อาหารแล้ว ผู้เรียนนาไปใช้หรือเปล่า ผู้สอนอาจสังเกตได้จากการรับประทานอาหารกลางวัน ของ ผู้เรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปมากน้อยเพียงใด ถ้าพฤติกรรมยังคงเดิมหรือไม่ค่อยมี มารยาทในการรับประทานอาหารแล้ว ผู้สอนอาจใช้วิธีกระตุ้นหรือตักเตือน ให้นักเรียนได้นาสิ่งที่ได้ เรียนรู้จากการสาธิตมาใช้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง 5. ในระหว่างการเรียนการสอนด้วยวิธีการสาธิต ผู้สอนไม่ควรอธิบาย มากจนเกินไปเพราะจะทาให้การสาธิตขาดความตื่นเต้นเร้าใจไป ดังนั้น ผู้สอนควรพิจารณาว่าตอน ใด ควรเสริมด้วยการอธิบายตอนใดไม่ควรอธิบาย เป็นต้น 6. ผู้สอนไม่ควรเร่งการสาธิตเกินไปควรสาธิตให้ผู้เรียนได้ดูลาดับขั้นตอน ไม่ควรคิดว่าบางอย่างผู้เรียนเข้าใจแล้วและข้ามผ่านไป การเร่งการสอนจนผู้เรียนไม่เข้าใจจะเป็นการ ทาให้การสาธิตนั้นขาดคุณค่าไป 4.3 วิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่ม วิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่ม หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัด กิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือพิจารณาหัวข้อที่กลุ่มมีความสนใจ ร่วมกันโดยมีจุดหมายเพื่อหาคาตอบแนวทางหรือเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน วิธีสอนแบบ อภิปรายจึงเป็นวิธีสอนแบบที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน คือ ได้คิด ได้ทาได้แก้ปัญหา และได้ฝึก การทางานร่วมกันแบบประชาธิปไตยผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลาง ของการเรียน มีลักษณะการเรียนรู้ แบบกระตือรือร้นเป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะการเรียนรู้ เช่น ทักษะการคิด การพูด การรับฟัง การแสดงความคิดเห็น การทางานร่วมกับกลุ่ม เป็นต้น ความมุ่งหมาย 1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน เป็นการพัฒนา ทักษะการพูดและการคิด 2. เพื่อฝึกการทางานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นา ผู้ตาม การรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น และการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
  • 15. 113 3. เพื่อฝึกค้นคว้าหาความรู้เพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ การนาวิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มไปใช้ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้ 1. ผู้สอนควรเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นให้มาก และเป็นผู้กระตุ้นให้ คาแนะนามากกว่าที่จะเป็นผู้พูดเอง 2. ผู้สอนควรเป็นผู้มีใจกว้าง มีน้าใจเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความ คิดเห็นที่ได้จากการอภิปรายกลุ่ม 3. ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้มีความพร้อมก่อนการอภิปราย โดยที่ผู้เรียนต้อง เตรียมตัวค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการอภิปรายมาล่วงหน้า 4. ผู้สอนกาหนดหัวข้อหรือประเด็นการอภิปรายให้ชัดเจน ให้เข้าใจตรงกัน เป็นหัวข้อที่ยั่วยุให้มีการคิด อภิปรายได้อย่างกวางขวาง และเรื่องที่จะอภิปราย ควรส่งเสริมวิชาที่ เรียนจุดประสงค์ที่สอนและก่อให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน 5. ขณะที่ผู้เรียนอภิปราย ผู้สอนควรได้เก็บความคิดและข้อคิดเห็นของ สมาชิกผู้อภิปรายไว้ให้มากที่สุด เพื่อไว้ใช้ในการสรุปบทเรียน โดยสรุปเป็นแนวคิดหลักก่อน แล้ว ขยายด้วย แนวคิดย่อยทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยพร้อมทั้งขยายประเด็นสาหรับการคิดและการขยาย ครั้งต่อไป 4.4 วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรม หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทางานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันค้นคว้าหรือทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ให้สาเร็จ เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพราะได้ลงมือ ปฏิบัติด้วยตัวเอง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ 2. เพื่อฝึกการทางานร่วมกับผู้อื่นจนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม สามารถนาไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตได้ 3. เพื่อฝึกคุณลักษณะนิสัยผู้เรียน เช่น ความรับผิดชอบในการทางาน ความมีระเบียบวินัย ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความมีน้าใจ 4. เพื่อฝึกทักษะการพูด การคิด การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การ สรุป เพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก
  • 16. 114 การนาวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทากิจกรรมไปใช้ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อ ต่อไปนี้ 1. ผู้สอนต้องเตรียมการสอนและมอบหมายงานกลุ่มให้ผู้เรียนอย่าง เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และระยะเวลาในการเรียน 2. งานที่มอบหมายควรอยู่ในขอบเขตของหลักสูตร และเสริมความรู้ความ เข้าใจในบทเรียนอย่างแท้จริง 3. ในกรณีที่มอบหมายงานที่ไม่เหมือนกันให้แต่ละกลุ่ม ผู้สอนต้องกาหนด ปริมาณงานและความยากง่ายของงานให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน 4. ขณะที่ผู้เรียนทางานเป็นกลุ่ม ผู้สอนต้องดูแลให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบ การทางานกลุ่มทั่วทุกคน บางครั้งอาจต้องกระตุ้นผู้เรียนบางคนที่ไม่สนใจทางานกลุ่ม 5. ผู้สอนต้องเอาใจใส่ ดูแล ให้คาปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนา และย้า ระเบียบวินัยในการทางานกลุ่มถ้าเกิดความวุ่นวายขณะทางานในกลุ่ม 6. ผู้สอนควรได้สรุปความรู้ ความคิด ประเด็นสาคัญของงานที่ผู้เรียนทา ให้ผู้เรียนได้รับตรงกันหลังจากที่ผู้เรียนเสนอผลงานของกลุ่มแล้ว 7. ผู้สอนควรใช้กิจกรรมกลุ่มหลาย ๆ ลักษณะ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้มากที่สุดโดยอาจจะแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนเล่นเกม ทาการทดลอง แสดงบทบาทสมมุติ ฝึกทักษะ แข่งขันตอบปัญหา ศึกษาจากชุดการสอน แก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์จาลอง เป็น ต้น 8. การจัดกลุ่ม จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ระยะ เวลาเรียน ลักษณะเนื้อหา และกิจกรรมที่จัด ขนาดของกลุ่มย่อยที่มีจานวนสมาชิกประมาณ 4-5 คน จะเหมาะสมเพราะทุกคนในกลุ่มจะร่วมกันคิดแก้ปัญหา หรือทางานที่ได้รับมอบหมายโดยทั่วถึงกัน ทุกคนจะให้ความร่วมมือต่อทุกคนเป็นอย่างดี 4.5 วิธีสอนแบบนิรนัย วิธีสอนแบบนิรนัย หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจาก ทฤษฎี กฎ หรือหลักการต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนหาหลักฐานหรือเหตุผลมาพิสูจน์ ยืนยันวิธีสอนแบบนี้ช่วยฝึก ให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงเสียก่อน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักใช้ทฤษฎี กฎ สูตร นิยาม และหลักการ ต่าง ๆ มาช่วยในการแก้ปัญหาไม่ตัดสินใจในการทางานอย่างง่าย ๆ จนกว่าจะผ่านการพิสูจน์ ข้อเท็จจริงเสียก่อน การนาวิธีสอนแบบนิรนัยไปใช้ การใช้วิธีการสอนแบบนิรนัยให้มี ประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
  • 17. 115 1. การเตรียมการ ผู้สอนต้องทาความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฎ นิยาม หรือข้อสรุปที่ต้องการสอนอย่างชัดเจน และต้องเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ การแก้ปัญหาที่ ผู้เรียนสามารถนาทฤษฎี หลักการ กฎ นิยามหรือข้อสรุป ไปใช้ให้เกิดผลสาเร็จ ตัวอย่างควรเป็น สถนการณ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่ชัดเจน 2. เป็นการนาเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกใช้ความรู้ เมื่อเห็นว่า ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี กฎ นิยามหรือข้อสรุปพอสมควรแล้ว ผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนเกิด การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่มีลักษณะตรงตามสภาพจริงในชีวิตของผู้เรียน และควรมีความหลากหลายพอสมควร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น 4.6 วิธีสอนแบบอุปนัย วิธีสอนแบบอุปนัย หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจากการศึกษา รายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือส่วนร่วม เป็นการสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยให้ผู้เรียนทาการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้ว พิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนาไปสู่ข้อสรุป วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อนาไปสู่การ ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สาคัญ ๆ ด้วยตัวเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความเข้าใจอย่างมี ความหมายและสร้างความสัมพันธ์ของความคิดต่าง ๆ อย่างชัดเจน ตลอดจนรู้จักกระตุ้นให้ผู้เรียน รู้จักทาการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การนาวิธีสอนแบบอุปนัยไปใช้ การใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยให้มี ประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้ 1. การเตรียมตัวอย่าง ผู้สอนจาเป็นต้องเตรียมตัวอย่างของข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ความคิด ทีมีหลักการของแนวคิด ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้แฝงอยู่ โดยตัวอย่างที่ให้ควรประกอบด้วยลักษณะหรือคุณสมบัติย่อย ๆ ที่ครอบคลุม หลักการของแนวคิดนั้น เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ว่า “ดอกสมบูรณ์คืออะไร” ตัวอย่างที่ให้ก็ ควรครอบคลุมคุณสมบัติย่อยของดอกสมบูรณ์ ผู้สอนอาจจาเป็นต้องสอนมโนทัศน์และหลักการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการทาความเข้าใจกับตัวอย่างที่ผู้สอนเตรียมให้ นอกจากนั้น ตัวอย่างที่ให้ควรจะเป็นตัวอย่าที่น่าสนใจและท้าทายความคิด ความสามารถของผู้เรียนด้วย 2. ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ร่วมกันคิดร่วมกันวิเคราะห์เป็นกลุ่มย่อย เพื่อจะ ได้แลกเปลี่ยนความคิดของกันและกัน อันจะนาไปสู่ความคิดที่รอบคอบขึ้นและถูกต้องมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การร่วมกันคิดเป็นกลุ่มนี้ก็มีข้อเสียตรงที่ว่า ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า มักจะถูกครอบงา หรือถูกข่มโดยผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วกว่า ดังนั้นผู้สอนจึงควรจัดให้ผู้เรียนได้มีเวลาในการคิดเป็น
  • 18. 116 รายบุคคลด้วยก่อนที่จะอภิปรายกลุ่มย่อย และควรให้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุก คนมีส่วนร่วมในการอภิปรายกลุ่มย่อยอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันพอสมควร 3. ผู้สอนควรจะเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลายมาให้ ผู้เรียน มีโอกาสนาข้อมูลสรุปไปใช้ ผู้สอนควรให้ผู้เรียนยกตัวอย่างจากประสบการณ์ก็ได้ การ ส่งเสริมให้ผู้เรียนนาความรู้ที่ได้รับนาไปใช้ นอกจากจะเป็นการให้ความรู้เกิดประโยชน์อย่างชีวิตอย่าง แท้จริงแล้ว ยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ลึกซึ้งขึ้น และยังเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมด้วย 4.7 วิธีสอนแบบแก้ปัญหาหรือวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ วิธีสอนแบบแก้ปัญหา หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ทา กิจกรรมคิดแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอน มีเหตุผล มี การรวบรวมข้อมูล มีการทดลอง วิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ดังนั้น จึงเรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์ 1. มุ่งฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ บทสรุป 2. มุ่งฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีเหตุผลจะ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในกานพวิธีการไปใช้แก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจาวันได้ 3. มุ่งฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผล และความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ 4. มุ่งฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดอิสระ และการทางานร่วมกับ เพื่อน การนาวิธีสอนแบบแก้ไขปัญหาไปใช้ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้ 1. ปัญหาที่นามาให้ผู้เรียนศึกษาควรเป็นปัญหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ประสบการณ์ของผู้เรียน และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน เช่น ปัญหาความไม่สะอาดของห้องเรียน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาการเรียน ปัญหาอุบัติเหตุ เป็นต้น 2. ถ้าผู้เรียนยังไม่เห็นปัญหาผู้สอนควรใช้เทคนิคชี้นาให้ผู้เรียนคิดและ มองเห็นปัญหา เช่น เทคนิคการถามคาถาม การเล่าเรื่อง การยกตัวอย่าง เป็นต้น 3. ผู้สอนควรเตรียมเนื้อหา แหล่งค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ ที่จาเป็น ต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ล่วงหน้า 4. ในการสอนต้องให้เวลาและให้อิสระแก่ผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้า การ วิเคราะห์และการสรุปผลข้อมูล
  • 19. 117 5. ผู้สอนควรควบคุมให้การแก้ปัญหาของกลุ่มหรือรายบุคคลดาเนินไปได้ ด้วยดีและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกาลังใจในการแก้ปัญหา 4.8 วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอน ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการทางความคิด หาเหตุผล ผู้เรียนจะค้นพบ ความรู้ หรือแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยผู้สอนตั้งคาถามประเภทกระตุ้นให้ผู้เรียน ใช้ความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยผู้สอนตั้งคาถามประเภทกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ ความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้เองและสามารถนาการแก้ปัญหานั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจาวันได้ต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนทาการสืบค้นความรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้ ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล และฝึกให้ผู้เรียนคิดหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง การนาวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนไปใช้ การนาวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพนั้นผู้สอนควร ตระหนักถึงบทบาทการเป็นผู้แนะแนวทาง คอยช่วยเหลือและสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยมีบทบาทหลัก 3 ประการคือ 1. เป็นผู้ป้อนคาถามผู้เรียนเพื่อนาไปสู่การค้นคว้า ผู้สอนจะต้องรู้วีการ ป้อนคาถามและจะต้องรู้ลักษณะการถาม ว่าถามอย่างไรผู้เรียนจึงจะเกิดความคิด 2. เมื่อได้ตัวปัญหาแล้วให้ผู้เรียนทั้งชั้นอภิปราย วางแผนแก้ปัญหาและ กาหนดวีการแก้ปัญหาเอง 3. ถ้าปัญหาใดยากเกินไป ผู้เรียนไม่สามารถวางแผนแก้ปัญหาได้ ผู้สอน กับผู้เรียนอาจร่วมกันหาทางแก้ปัญหาได้ 4.9 วิธีสอนแบบทดลอง วิธีสอนแบบทดลอง หมายถึง วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลองเพื่อพิสูจน์หลักการทฤษฎีที่ผู้อื่นได้ค้นพบไว้ วิธีสอนแบบ นี้มักใช้ในวิทยาศาสตร์ เช่น การเพาะพืชด้วยเมล็ด ทดลองการสะท้อนของแสง ทดลองว่าแสง เดินทางเป็นเส้นตรง เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการทดลอง ผ่านการค้นคว้า