SlideShare a Scribd company logo
บทที่ 10
นันทนาการเพื่อความบาบัด
ในสังคมปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเมือง เต็มไปด้วยความหวัง และความหมาย คน
ทุกระดับวัยตั้งแต่เด็ก วัยผู้ใหญ่ ตลอดจนคนสูงอายุ ต่างก็มีความต้องการที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
เพื่อเสริมสร้างและปรุงแต่งคุณภาพชีวิต เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ คือ การพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนานพึง
พอใจ และความสุขทางใจสงบ บุคคลทุกคนควรจะได้รับสิทธิในการแสดงออก และเสรีภาพในขอบเขตของ
สังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรพิเศษ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความพิการทางสมอง
สติปัญญา หรือทุพพลภาพทางร่างกาย ผู้ป่วยรวมทั้งทาง ร่างกาย ทางจิตใจ ตลอดจนผู้สูงอายุเป็นกลุ่ม
ประชากรที่ค่อนข้างจะมีโอกาสในการเล่น การแสดงออกหรือเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ น้อยกว่า กลุ่ม
ประชากรปกติและไม่ได้รับการเหลียวแล เอาใจใส่ในสิ่งที่ควร ทั้งๆที่เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกมากมาย อย่าไรก็
ตาม ประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรป ต่างก็เห็นความสาคัญของกลุ่มประชากรพิเศษ ในช่วง 2 ทศวรรษที่
ผ่านมา โดยออกกฎหมายหลายฉบับ เพื่อให้ประชากรพิเศษ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่าง
ทัดเทียมกลุ่มคนปกติ น่าจะเป็นแบบอย่างในการพัฒนาโปรแกรมนันทนาการสาหรับประชากรพิเศษ หรือ
เรียกว่า นันทนาการเพื่อการบาบัดแก่ประเทศไทยเราต่อไป
ความต้องการนันทนาการสากรับประชากรพิเศษ
ในสหรัฐอเมริกา สังคมได้ตระหนักถึงความต้องการอันมีลักษณะพิเศษของกลุ่มประชากรพิเศษ
เช่น คนพิการอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านของความสะดวกสบายและด้านนันทนาการ เป็นที่ยอมรับกันว่า
ในขณะที่คนปกติทั่วไปนั้นต่างก็มีความต้องการทางต่างนันทนาการในรูปแบบต่างๆมากมายในขณะที่คน
พิการ โปรแกรมนันทนาการมักจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะบรรลุความต้องการอันนี้ในวิธีทางสะดวกสบายเหตุที่
เป็นเช่นนี้เนื่องจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายอย่างรุนแรงของคนพิการ เป็นขีดกาจัดในการมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น
อย่างไรก็ตามคนที่พิการได้ถูกกีดกันจากการได้รับนันทนาการส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความ
ผิดพลาดของสังคมที่จะให้ความช่วยเหลือของพวกเขามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มศักยภาพที่มีอยู่
ชุมชนและองค์การหลายๆแห่งไม่ได้ปรับปรุงออกแบบเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าใช้สิ่งอานวยความสะดวก
ด้านนันทนาการได้อย่างเต็มที่ แหล่งนันทนาการและอุทยานบางแห่งกลับกีดกันไม่ให้คนพิการ เข้ามีส่วน
ร่วมในโครงการ ด้วยความเข้าใจที่ว่าคนพิการนั้นจะต้องมีผู้คอยดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งพวกเขาไม่สามารถที่จะ
จัดให้ได้คิดที่น่าอดสูอยู่ที่ว่าสังคมใดที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับคนพิการแล้ว ผู้บริหารมักจะเกิดความกลัวว่าการ
ปรากฏตัวของคนตาบอด คนปัญญาอ่อน หรือคนพิการแขวนขาจะสร้างบรรยากาศที่น่ารื่นรมย์สาหรับคน
ปกติทั่วไป และจะทาให้พวกเขาเลิกบริการนั้นๆ พ่อแม่หรือญาติพี่น้องของคนพิการบางรายก็ปล่อยพวกเขา
ให้อยู่แต่ในบ้านมากเกินไป ทาให้บ่อยครั้งที่คนพิการต้องขาดประสบการณ์ และเกิดความกลัวว่าต้อง
ถูกปฎิเสธ จากคนทั่วไปอาจเป็นข้อจากัดในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆ
ภาพต่างๆเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บรรดานักวิชาการด้ายนันทนาการรวมทั้งบุคคล
อื่นๆที่มีความเกี่ยวกับความต้องการของคนพิการภายใต้สังคมสมัยใหม่ได้ต่อสู้มากขึ้น เพื่อปรับปรุงพัฒนา
เปิดโอกาสให้แก่พวกเขาเหล่านั้นทั้งในรูปแบบการจัดตั้งเป็นสถาบัน และชุมชน
ตามรูปแบบแล้ว ความกังวลถึงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนพิการในสังคมนั้น จะได้รับการ
ส่งเสริมสนับสนุนจากเหตุการณ์หรือองค์กรต่างๆ เช่น สภาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา จัดปีคนพิการสากล
ได้เน้นถึงความต้องการอันยิ่งใหญ่ของคนพิการในการเข้ามีส่วนร่วมใน “ นันทนาการ กิจกรรมด้านสังคม
และวัฒนธรรม ” ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างแข็งขัน
การเปลี่ยนความสนใจเข้าสู่ชุมชน
โปรแกรมนันทนาการเพื่อการบาบัดได้รับความสนใจเป็นเรื่องที่กล่าวถึงอยู่เสมอในสังคม การให้
นันทนาการแก่คนป่วยและคนพิการถือเป็นหน้าที่โดยตรงของสถาบันที่อยู่ตามเมืองที่เจริญ ในเป็นการจัด
นันทนาการในโรงพยาบาล จัดเป็นแนวคิดที่ไม่เหมาะสมอีกต่อไป ได้มีการยอมรับกันว่าผู้พิการทางปัญญา
หรือคนพิการทางร่างกายอื่นเป็นจานวนมากนั้นอาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่าอยู่ในศูนย์บาบัดรักษาตามเมือง
ใหญ่ เพระพวกเขาเหล่านั้นก็มีความต้องการนันทนาการสูงเท่าๆกัน ยิ่งกว่านั้นตามหน่วยงานด้าน
นันทนาการ และวนอุทยานของเทศบาลก็เริ่มยอมรับความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการจัดให้มีโครงการ
พิเศษสาหรับคนพิการโดยปกติจะอยู่ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมสาหรับคนกลุ่มที่มีขีดจากัดเฉพาะอย่าง
เช่น คนตาบอด , คนพิการร่างกาย หรือคนพิการทางปัญญา หน่วยงานอาสาสมัครก็เข้ามามีส่วนร่วมอย่าง
เต็มที่โดยเน้นการจัดโครงการพิเศษ การกีฬาสาหรับคนกลุ่มพิเศษ การเข้าค่ายของคนกลุ่มพิเศษ เป็นต้น
ในที่สุดแนวคิดเรื่อง การบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด ( THERAPEUTIC RECREATICN ) ได้นามาใช้
ทั้งในโรงพยาบาล และการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวางในรูปแบบของความคิดวิธีบาบัดและการจัดตั้ง
ชุมชนขึ้นมากล่าวโดยสรุป การบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด หมายถึง การอาศัยกิจกรรมด้าน
นันทนาการโดนเฉพาะเพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการและผู้สูงอายุด้วยโปรแกรมและ
กิจกรรมนันทนาการที่ได้จัดขึ้นตามความเหมาะสมของกลุ่มประชากรนั้นๆ
การกาหนดแนวทางและเป้ าหมาย
การสนับสนุนทางกฎหมายของสหพันธรัฐ ( FEDERAL LAW ) ค.ศ. 1970 ซึ่งได้ออก พ.ร.บ.
การศึกษาสาหรับเด็กพิการ ( TITLE 9 ) ข้อ 504 เกี่ยวกับการดูถูก – แบ่งแยก ( DRSCRIMINATION ACT
) และกฎหมายเลขที่ 93 – 112 ( LAW 142 ) เปิดโอกาสให้โรงเรียนและหน่วยงานชุมชนอื่นๆ ได้เริ่ม
โปรแกรมเพื่อเปิดโอกาสให้แก่คนพิการมากขึ้นอย่างเต็มที่ในรูปแบบต่างๆ
การเปลี่ยนแนวความคิดจากการให้การดูแลรักษาโดยสถาบันที่เกี่ยวข้องเท่านั้น มาเป็นการจัด
โปรแกรมอันเป็นการผสมผสานที่จาทาได้ขึ้นในชุมชนนี้ที่จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้พิการทางปัญญา
และผู้มีอาการทางจิตนับแสนราย ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษนี้นับเป็นครั้งแรกเช่นกันที่คน
พิการจานวนมากไม่ต้องปิดตัวเองรับการดูแลรักษาอย่างโดเดี่ยวอีกต่อไป แต่สามารถร่วมอาศัยอยู่ใน
ชุมชนรับบริการที่ศูนย์สุขภาพจิตใจในท้องถิ่นและใช้ชีวิตอย่างอิสระหรือคนค่อยข้างอิสระ
การกาหนดแนวทางที่เด่นชัดของรัฐบาลกลาง เริ่มเป็นสโลแกนที่แพร่หลาย พร้อมๆกับการ
เรียกร้องให้มีการร่วมตัวของคนพิการและพยายามช่วยเหลือพวกเขาให้สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี
ขีดจากัดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ตามความเป็นจริงแล้วมันเริ่มปรากฏว่าแม้เราจะให้ความสนใจต่อเรื่องนี้
อย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะให้บริการแก่คนพิการทุกประเภทอย่างสมบูรณ์ในการจัดตั้ง
ชุมชนผสมผสานขึ้นมา
การยอมรับในปัจจัยเหล่านี้ทาให้มีการพัฒนารูปแบบต่างๆ ในการให้บริการแก่คนพิการในชุมชน
จัดตั้ง ในบางกรณีคนพิการอย่างรุนแรงอาจได้รับบริการทั้งหมดจากหน่วยงานหรือสถานบาบัดที่แยกตัว
ออกต่างหาก กรณีที่ระดับความพิการลดน้อยลงก็อาจมีส่วนร่วมเป็นบางส่วนกับคนที่ปกติได้ ทากิจกรรม
บางอย่างร่วมกับคนปกติ และก็อาจทากิจกรรมอื่นที่จาเป็นต้องอาศัยการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพ
ความพิการตามลาพังต่างหากและในกรณีอื่นๆอีก การกาหนดแนวทางที่เด่นชัดก็อาจบรรลุได้ในลักษณะที่
ต่างกัน คือไม่เพียงแต่พยายามส่งเสริมให้คนพิการเข้าร่วมในกิจกรรมหรือโครงการของชุมชนแล้ว ยังมีการ
กระตุ้นให้คนปกติเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมาสาหรับคนพิการ
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโปรแกรมนันทนาการเพื่อการบาบัด
ในปัจจุบันได้มีองค์กรประเภทต่างๆ เป็นอันมากที่จัดให้มีโปรแกรมนันทนาการสาหรับคนพิการ
องค์กรต่างๆเหล่านี้ได้แก่
1.โรงพยาบาลทุกประเภท ให้บริการด้านความเจ็บป่วยและความพิการทุกชนิด ทั้งในลักษณะ
พิเศษและแบบสามัญ
2.สถานสงเคราะห์คนชรา ( CONVALESCENT ) ให้บริการสาหรับผู้สูงอายุมีร่างกายไม่แข็งแรง
แต่ยังรวมถึงผู้ที่มีอาการป่วยอย่างรุนแรง เช่น โรคลมชัก หรือ ได้รับบาดเจ็บขั้นพิการ ซึ่งไม่สามารถใช้ชีวิต
ตามลาพังได้
3.โรงเรียนหรือศูนย์บริการชุมชนสาหรับคนพิการเฉพาะทาง รวมทั้งผู้พิการทางปัญญา ผู้หย่อน
ความสามารถในการเรียนรู้อย่างรุนแรง หรือผู้ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ
4.ศูนย์บาบัดรักษาหรือสถานดัดสันดานและสถานกักขังอื่นๆ สาหรับบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม
5.ศูนย์บริการสาหรับผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการการดูแลตลอดเวลา แต่ก็ไม่สามารถอยู่ตามลาพังอย่าง
ปลอดภัยได้
6.ศูนย์การบาบัดทางกายภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งมีโปรแกรมครบวงจรทั้งกายภาพบาบัด
จิตบาบัด และอาชีวะบาบัด
7.โปรแกรมที่จัดขึ้นโดยสานักงานด้านนันทนาการชุมชนและสวนสาธารณะต่างๆ
8.โปรแกรมต่างๆของหน่วยงานอาสาสมัครต่างๆรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความพิการ
โดยเฉพาะ และความต้องการที่แตกต่างกันของคนพิการ และความเกี่ยวข้องหลักๆอย่างอื่นซึ่งจัดให้มีการ
นันทนาการและบริการที่เกี่ยวข้องกับคนพิการประเภทต่างๆ
9.โครงการให้การดูแลภายหลังการรักษาและการจัดหาที่พานัก หรือโครงการโรงงานแบบพิเศษ ซึ่ง
จัดโปรแกรมให้บริการหลายรูปแบบเพื่อช่วยเหลือผู้พิการที่อาศัยอยู่ตามชุมชน
จากการสร้างสภาพแวดล้อมให้คนพิการ รวมทั้งตัวคนพิการที่ได้รับการบริการเองด้วยนั้น ปรากฏ
ว่า “ การบาบัดรักษา ” มิได้รับการประยุกต์เข้าในโครงการหลายๆโครงการ แต่พวกเขากลับหาวิธีง่ายๆ
สามารถเข้าถึงความต้องการขั้นปกติของคนพิการ เช่น สุภาพที่ดี การดารงอยู่และหาความเพลิดเพลินใน
นันทนาการต่างๆ โดยอาศัยการดัดแปลงปรับปรุงอย่างไรก็ได้ที่จะทาให้คนพิการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรม
อย่างสมบูรณ์
จากัดความปัจจุบันของการบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด
อดีตที่ผ่านมาได้เคยมีการนิยามความหมายเอาไว้หลายอย่างและรูปแบบบริการด้านนี้ก็ได้รับการพัฒนา
เช่นกัน มักจะเป็นเรื่องของ “ ความสนุกสนานและเกมส์ ” มากกว่าการเน้นแนวทางการบาบัดฟื้นฟู โอ มอร์
โรว์ ได้ให้คาจากัดความเอาไว้ 5 รูปแบบด้วยกันคือ
รูปแบบการคุ้มครอง เป็นนันทนาการที่จัดให้การดูแลในระยะยาว แต่ไม่ค่อยเน้นเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพ
หรือการให้การศึกษาที่จาเป็นหรือการบริการที่จาเป็นอื่นๆ เพื่อสร้างบรรยากาศและพัฒนาขวัญ อาจจะใช้
รูปแบบการให้รางวัลและการลงทัณฑ์ หรืออาจเป็นวิธีที่เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ภาพพจน์การ
ประชาสัมพันธ์น่าพึงพอใจต่อโลกภายนอก
รูปแบบทางการแพทย์ เป็นรูปแบบที่เด่นชัดในการให้บาบัด คือถือว่านันทนาการเป็นปัจจัยสาคัญในการ
บาบัดรักษา และได้รับการวางแผนให้เป็นการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยภายใต้วิธีการทางแพทย์
รูปแบบทางการบาบัด พบได้มากในโครงการสาหรับผู้ป่วยทางจิตหรือผู้ที่มีปัญหาทางสังคม รูปแบบนี้เน้น
ความเป็นในการสร้างสภาพแวดล้อมด้านอนามัย หรือการบาบัดในชุมชน ซึ่งทั้งเจ้าหน้าที่ คนไข้ และผู้มา
ใช้บริการต่างถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา
รูปแบบการฝึกและการศึกษา เป็นรูปแบบที่ต้องอาศัยแนวทางที่แน่นอนมักใช้กับผู้พิการทางด้านปัญญา
รูปแบบของชุมชน เป็นการบอกลักษณะของการบริการนันทนาการอันเป็นส่วนหนึ่งของการบาบัดรักษา ซึ่ง
จะทาในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ บ่อยครั้งที่มันเหมือนเป็นเป้ าหมายในการช่วยเหลือให้คนไข้หรือผู้ที่มารับ
บริการกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนและทางานอย่างประสบความสาเร็จ
ในความเป็นจริงแล้ว โครงการนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษามีความเกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่ง
แนวทางในปี 1979 กันน์และปีเตอร์สัน ( GUNS AND PETERSON ) ได้ยอมรับว่าผู้ทาหน้าที่ด้านนี้นั้น
จะต้องมีบทบาทที่แตกต่างกันหลายอย่างในอันที่จะบรรลุความต้องการของผู้มาใช้บริการนันทนาการผู้
ชานาญด้านนี้หลายท่านได้ทางานเกี่ยวกับ การจัดการรักษาอย่างเด่นชัดและเข้าไปมีส่วนตั้งแต่ระยะต้นๆ
ในฐานะของนักบาบัดทีเดียว ท่านอื่นก็ทางานในชุมชนเมือง สถาบัน และชุมชน ซึ่งงานหลักก็คือการให้
ความรู้เรื่องทักษะต่างๆที่จะสร้างความสะดวกสบาย ส่วนท่านอื่นๆอาจจะทางานในหน่วยงานชุมชน
เล็งการณ์ถึงความมุ่งหมาย ในปี 1982 จากความพยายามในการที่จะทาความกระจ่างเกี่ยวกับ
ความหมายที่เหมาะสม รวมทั้งปรัชญาร่วมสมัยของการบริการนันทนาการอันเป็นส่วนหนึ่งของการ
บาบัดรักษาให้สมาคมนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษาแห่งชาติได้มีการสารวจเสียงสมาชิก เพื่อกาหนด
แถลงการณ์ปรัชญาอันเป็นที่ยอมรับ โดยมีพื้นฐานในการกาหนดบริการ 3 อย่าง เพื่อใช้เป็นแนวทางหลัก
ของการบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด ได้แก่ การให้การบาบัด การให้ความรู้ที่นามาซึ่งความ
สะดวกสบาย และการมีส่วนร่วมด้านนันทนาการ ในบางสถานการณ์ผู้ชานาญด้านนี้จะต้องสามารถจัดให้
มีบริการทั้ง 3 รูปแบบทีเดียว
แนวความคิดอื่นๆเกี่ยวกับการให้การดูแลบาบัด
การพื้นฐานของการบริการด้านนี้คือ การให้ดูแลต่อคนไข้หรือผู้รับบริการในขั้นก้าวหน้า หมายถึงแต่ละขั้นที่
คนไข้มีอาการดีขึ้นนั้น โปรแกรมที่จัดควรจะเป็นเครื่องเสริมให้เขาบรรลุถึงขีดความสามารถสุดเท่าที่จะทา
ได้ในขั้นนั้นๆ อันเป็นการช่วยให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไป ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่คนไข้ทางจิตมีอาการ
เริ่มแรกหรือขั้นที่ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลนั้น ควรเน้นความสาคัญอย่างเต็มที่ในเรื่องการให้การบาบัดโดย
การนันทนาการ หลังจากที่คนไข้มีอาการดีขึ้นก็เปลี่ยนเป็นเน้นการที่ให้คาปรึกษาและการศึกษาเพื่อให้เกิด
ความสบายใจ
แนวทางปฏิบัติรอง
ในขณะที่แนวทางที่กาหนดไว้นี้เริ่มเป็นที่เด่นชัดในโรงพยาบาลหรือศูนย์ฟื้นฟูต่างๆ แต่ก็ควรทาความ
กระจ่างว่าในสภาพแวดล้อมอื่นๆนั้นแนวทางเป้ าหมายที่นามาใช้อาจไม่เด่นชัดพอ เช่น โปรแกรมหลาย
อย่างที่เกี่ยวกับการกีฬาสาหรับคนพิการทางร่างกายที่อาศัยอยู่ในชุมชนหรือโครงการพิเศษเพื่อผู้สูงอายุนั้น
จะให้ความสาคัญในเรื่องการกาหนดวัตถุประสงค์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลของคนไข้ หรือ
ผู้รับบริการแต่ละคนน้อย
แต่กลับไปเน้นเรื่องการนันทนาการเพื่อให้ความสุข ประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ซึ่งอาจมีการปรับปรุง
อะไรก็ได้เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์นี้ดังเช่นที่ทากับคนปกติธรรมดา ความเข้าใจพื้นฐานของการทางาน
เกี่ยวกับคนพิการคือ ต้องเน้นถึงความเข้มแข็งและความสามารถที่เขาพอมีอยู่หรือตั้งใจที่จะสร้างหรือ
เพิ่มพูนคุณสมบัติอันนี้แทนที่จะไปเน้นถึงขีดจากัดและความอ่อนแอของพวกเขา ภายใต้งานนันทนาการ
เช่นนี้โดยส่วนรวมแล้วเราจะต้องพบกับคนพิการในรูปแบบต่างๆกัน ดังเช่นจะกล่าวดังต่อไปนี้
นันทนาการกับการป่วยทางจิตใจ
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น งานบริการด้านนันทนาการเป็นที่ยอมรับกันในโรงพยาบาลโรคจิต
หลายแห่งอเมริกาและแคนนาดา บางแห่งถือว่าเป็นวิธีขั้นต้นเพื่อการบรรเทาอาการและเพิ่มขวัญให้แก่
คนไข้ ในที่อื่นๆอาจเป็นวิธีทางการแพทย์พื้นฐานเพื่อช่วยคนไข้ในการดึงดูดคนไข้กลับสู่สังคมอีกครั้ง
ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ชี้ว่ามีเป้ าหมายใหญ่ๆ ในการรักษาดังนี้( ตารางที่ 1 )
ตารางที่ 1 ลาดับเป้ าหมายของนันทนาการในโรงพยาบาลโรคจิต
1. เพื่อช่วยให้คนไข้รับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
2.5 เพื่อช่วยให้คนไข้ที่ถอนตัวออกจากสังคมได้กลับเข้าร่วมสังคมอีกครั้ง
2.5 เพื่อช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์และให้มีความสนใจต่อสิ่งภายนอก
4. เพื่อช่วยให้คนไข้มีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น
5. ให้คนไข้ตระหนักถึงความจาเป็นของความสะดวกสบายและความจูงใจให้คนไข้เข้ามีส่วนร่วม
6.5 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยหรือการให้การรักษา
6.5 เพื่อบรรเทาอาการก้าวร้าวของคนไข้
8. เพื่อรักษากาลังใจของคนไข้
9. เพื่อสอนทักษะที่เกิดประโยชน์ในการสร้างความสะดวกสบายภายหลังที่ออกจากโรงพยาบาลไป
แล้ว
หมายเหตุ เป้ าหมายที่ 2 , 3 อยู่ในลาดับเท่ากัน น้าหนัก 2.5 , เป้ าหมายที่ 6 , 7 อยู่ในลาดับที่เท่ากัน
น้าหนัก 6.5
ในปัจจุบันนี้การจัดบริการนันทนาการสาหรับผู้ป่ วยทางจิตนั้นมีความตื่นตัวมากขึ้น ด้วย
แนวความคิดที่กาลังเปลี่ยนไป รวมทั้งเทคนิคการวินิจฉัยโรคและการให้การรักษาด้วย แนวคิดสมัยใหม่ใน
การรักษาทางจิตเวชนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ “ ศูนย์สุขภาพจิตชุมชนในท้องถิ่น ” ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงงานบริการ
ทางจิตเวชเข้าด้วยกัน
วิธีการรักษาแผนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาระงับประสาทและยาชนิดใหม่ๆที่มี
ประสิทธิภาพสูง ได้นามาสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้และได้ก่อให้เกิดแนวทางในการรักษาโรคจิต
ซึ่งเน้นถึงความต่อเนื่องในการรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยจนกระทั่งผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ตามปกติ
ฝนหลายๆรัฐนั้น จานวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลโรคจิตได้ลดลงอย่างมาก ในขณะที่มีการเพิ่มการ
ให้บริการคนไข้นอกขึ้นถึง 10 เท่า เน้นที่การอาสาสมัครและให้คนไข้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ปัจจัย
สาคัญต่อแนวทางนี้คือ การจัดให้มีศูนย์สุขภาพจิตในชุมชนขึ้น โดยการให้บริการทางจิตบาบัดและอื่นๆ
รวมทั้งนันทนาการด้วย
1.1 โปรแกรมต่างๆภายในศูนย์บาบัดทางจิตเวช
นันทนาการในโรงพยาบาลโรคจิตเท่าที่ปฏิบัติกันมานั้น นอกเหนือจากการจัดรายการและมี
กิจกรรมพิเศษ ( ภาพยนตร์และการบันเทิงรูปแบบอื่น ) แล้วยังมีรายการตามปกติต่างๆอีก เช่น กีฬาและ
เกมส์ และหัตถกรรม ดนตรี เต้นรา หรืองานสังคมอื่นๆ อีกด้วย ในทศวรรษ 1960 และ 1970 การเน้นที่
กิจกรรมที่ค่อนข้างเป็นทางการเริ่มน้อยลง และกลับมาเน้นสร้างสรรค์หนักไปทางด้านให้ความรู้สึกละเอียด
หรือมีการทางานร่วมกัน เช่น การร่วมวงดื่มกาแฟและสนทนากัน การแต่งตัว ลีลาบาบัดหรอการบาบัด
อาศัยการเต้นรา ละคร และกลุ่มวรรณศิลป์ โยคะ การทาอาหารและงานกิจวัตรประจาวันอื่น งานอดิเรก
ส่วนตัว การละเล่นใหม่ๆ และโครงการที่มีความแปลกใหม่อื่นๆ โปรแกรมขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ใหญ่ๆ คล้ายกับของสมาคมนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษาแห่งชาติที่แถลงความมุ่งหมายไว้เมื่อปี 1982
ได้แก่
1.กลุ่มนันทนาการบาบัด ประกอบไปด้วยกิจกรรมภาคบังคับ เน้นเป้ าหมายการรักษาเฉพาะทาง (
เพื่อทาการประเมินค่าความสามารถคนไข้ ยกระดับความสัมพันธ์และการสังคม รวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็ง
ให้ตัวคนไข้ )
2.กิจกรรมเพื่อสร้างความสบายใจ ประกอบด้วยการให้คาปรึกษาและให้การศึกษาเพื่อรับทัศนคติ
ที่น่าพึงพอใจของคนไข้ ทักษะและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
3.โปรแกรมเพื่อเสริมเวลาว่าง ให้คนไข้สมัครใจเข้ามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เพื่อยกระดับความเป็นตัว
ของตัวเอง ความชื่นชมตัวเอง และความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ภายใต้ขอบเขตของงานนี้ได้มีการพัฒนากลุ่มพิเศษประเภทต่างๆขึ้นมามากมาย ซึ่งเป็นลักษณะ
ของงานสร้างความท้าทายและการปฏิบัติต่อกันระหว่างคนไข้ งานเหล่านี้รวมถึง
ความคิดริเริ่ม เป็นความคิดริเริ่มที่เกิดจากงานทางด้านกายภาพ ซึ่งมีความล่อแหลมมากต่อ
ทางด้านจิตวิทยา คนไข้กลุ่มเล็กๆจะพยายามรวบรวมทรัพยากรที่เขามีอยู่เพื่อเผชิญกับความท้าทายซึ่งเกิด
กับพวกเขา จุดประสงค์ของความคิดริเริ่มนี้รวมถึงเพื่อให้มีการเฝ้ าสังเกตและเปรียบเทียบกัน ตัดสินใจ
อย่างมีเสรีและเป็นตัวของตัวเอง
การปรับสภาพทางกายภาพ เป็นการเปิดห้องกว้าง มีกิจกรรมรวมกัน ชาย – หญิง เพื่อการปฏิบัติ
ต่อกันโดยอาศัยการออกกาลังกายทั้งที่เป็นส่วนตัวและเป็นกลุ่ม ซึ่งคิดขึ้นเพื่อบรรลุความต้องการของคนไข้
แต่ละรายในวัยต่างๆกัน ความมุ่งหมายของงานนี้เพื่อยกระดับความต้องการของการออกกาลังกาย การ
ควบคุมด้านอาหารและการปรับบรรยากาศความสัมพันธ์ทางกายภาพทางสังคม และด้านอารมณ์
นันทนาการบาบัด คนไข้ที่ได้รับการจัดเข้าเป็นกลุ่มนันทนาการนั้น ต้องสามารถปฏิบัติตามที่
ซับซ้อนด้วยการชี้นาทางวาจาท่าทางได้ สามารถร่วมมือคนไข้กับคนอื่นได้และรับสภาพการแข่งขันได้
กิจกรรมเหล่านี้เป็นการส่งเสริมการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล เพิ่มความสนุกสนานและการพักผ่อน
สาหรับโปรแกรมเพื่อเสริมเวลาว่างในตอนเย็นนั้น คนไข้อาจจะเลือกเข้าร่วมกิจกรรมหรือเพื่อ
เป้ าหมายด้านการบาบัดเพิ่มเติมก็ได้ กิจกรรมจะมีความแตกต่างกันไปทุกเย็นในแต่ละสัปดาห์รวมทั้งเกมส์
ทางด้านร่างกาย การบริหารทรวดทรง ศิลปะและหัตถกรรม
1.2 บทบาทให้คาปรึกษาเพื่อความสบายใจ
องค์ประกอบสาคัญที่ให้ความช่วยเหลือให้คนไข้กลับเข้าสู่สังคม คือ การพัฒนาด้านด้านการให้
คาปรึกษาเพื่อให้คนไข้เกิดความสบายใจ การอภิปรายส่วนตัวและกลุ่ม หรือการเปิดโอกาสในการศึกษา
จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปนี้ ( 1 ) เพื่อช่วยให้คนไข้เข้าใจถึงบทบาทของเวลาและ
นันทนาการในชีวิตของเขาเอง ( 2 ) เพื่อเสริมสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นและเชื่อมโยงคนไข้เข้ากลับ
ครอบครัว เพื่อนฝูง ( 3 ) เพื่อแนะนาเพื่อนใหม่และกลุ่มคนอื่นๆในชุมชนกับคนไข้ ( 4 ) เพื่อเคลื่อนไหว
ความพยายามของชุมชนในการยอมรับคนไข้โรคจิตกลับเข้าสังคม และให้พวกเขาสามารถเข้าร่วมกิจกรรม
ทั่วๆไปได้
1.3 การศึกษายามว่างกับการจัดตั้งชุมชนเพื่อสุขภาพจิต
ในขณะที่แนวทางนี้เริ่มมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษา
อยู่ตามศูนย์สุขภาพจิตชุมชนก็ได้ให้คาปรึกษาเพื่อความสะดวกสบายแก่คนไข้ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของ
กระทรวงการศึกษายามว่างที่กว้างขวางขึ้น
เขาชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ความคิดหลักของสถานบริการเหล่านี้อยู่ที่การช่วยเหลือคนไข้ให้กลับหลัง
ในการทางานอีกครั้ง คนไข้ส่วนมากไม่สามารถบรรลุขั้นตอนเหล่านี้ไปได้และต้องเสียเวลาไปมากเรื่องที่ไม่
เกี่ยวข้องกับการทางานและการบาบัด จากการอ้างผลการศึกษาคนไข้ที่ได้รับการส่งตัวกลับบ้านโดรง
พยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่งทางตอนใต้ ได้แสดงให้เห็นว่าคนไข้ที่กลับไปแล้วและไม่ต้องมาเข้าโรงพยาบาล
ดังนั้นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการใช้เวลาว่างเพื่อความสบายใจเมื่อครั้งเข้าโรงพยาบาลแรก มากกว่าผู้
ที่ต้องกลับเข้ารับการรักษาอีกครั้ง
แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการใช้แนวทางนี้ไปมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องมีความถามที่สาคัญ
จะต้องถูกยกขึ้นมา เกี่ยวกับการขยายตัวของบริการนันทนาการที่มีความจาเป็นจะต้องจัดให้แก่ผู้ป่วยทาง
จิต หรือได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจที่อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งจะได้มีการอธิบายกันอย่างละเอียด
ต่อไป
การนันทนาการสาหรับผู้ปัญญาอ่อน
บุคคลปัญญาอ่อน หมายถึงเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องอย่างเห็นได้ชัดเกี่ยวกับ
ความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคม กระทรวงแรงงานของอเมริกาได้ประมาณว่าในแต่ละปี
จะมีผู้ปัญญาอ่อนเกิดขึ้นประมาณ 125,000 คน และมีความอเมริกันประมาณ 6 ล้านคนที่มีอาการ
ทางด้านนี้ไม่มากก็น้อย และคนอเมริกัน 30 ล้านคน ( หมายถึงครอบครัวของผู้ปัญญาอ่อน ) ที่ต้องได้รับ
ผลกระทบจากปัญหานี้
ได้รับการประมาณว่าในจานวนเด็กปัญญาอ่อนทุกรายที่เข้าเรียนในโรงเรียนพิเศษที่จัดขึ้นนั้น 4
รายที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือพิเศษ โดยเฉพาะในการเล่น ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องปกติที่จะได้รับการรักษา ก็ยัง
ต้องขาดหายไปจากชีวิตของเด็กปัญญาอ่อนเหล่านี้สตีน ( STIGN ) กล่าวว่าเด็กๆที่ปัญญาอ่อนทั้งหลาย
มิได้เล่นหัวกันอย่างเป็นธรรมชาติเหมือนกับเด็กทั่วไป พวกเขาต้องได้รับการสอนถึงวิธีการเล่น ทั้งเป็นการ
เล่นลาพัง เล่นเป็นคู่หรือเล่นเป็นกลุ่มก็ตาม ทักษะและความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายอันเป็น
พื้นฐานในการเล่นและนันทนาการที่เด็กทั่วไปสามารถเรียนรู้จากการเข้าสังคมและเล่นกับเพื่อนๆนั้น
จาเป็นต้องสอนให้เก็บเด็กปัญญาอ่อน
โรงเรียนหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับคนปัญญาอ่อนมีโปรแกรมสาหรับพวกเขาจากัดมาก ได้มีการให้
ความสนใจเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับนันทนาการและความต้องการทางสังคมของคนปัญญาอ่อน มาจนกระทั่ง
ทศวรรษ 1960 หน่วยงานสาธารณะชนและองค์กรอาสาสมัครต่างๆ ได้เริ่มโปรแกรมพิเศษสาหรับคน
ปัญญาอ่อน โดยการสนับสนุนของมูลนิธิโจเสฟ พี. เคนเนดี้โปรแกรมเหล่านี้มีความสาคัญมากเนื่องจากที่
ผ่านมานั้น คนปัญญาอ่อนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นสถาบัน แต่อาศัยอยู่กับครอบครัวเท่านั้น
โปรแกรม ( HRANS ) อธิบายข้อเปรียบเทียบระหว่างเด็กปัญญาอ่อนกับเด็กปกติสามัญว่า เด็กปัญญา
อ่อนที่อยู่กับบ้านนั้นมีโอกาสรับนันทนาการน้อยมาก เขาอาจจะเป็นเพื่อนกับเด็กในชั้นเรียนเดียวกันเท่านั้น
แต่เด็กปกติสามารถกลับมาเล่นกับเพื่อนที่บ้านหลังจากเลิกเรียนแล้วได้ด้วย เด็กปัญญาอ่อนจะเดินทาง
จากบ้านซึ่งอยู่คนละส่วนในเมืองและมีเพื่อนเพียงไม่กี่คนในละแวกบ้าน สถานการณ์คล้ายๆกันนี้เกิดกับ
ผู้ใหญ่ที่ปัญญาอ่อนเช่นกัน เนื่องจากต้องทางานอยู่แต่ในโรงงานที่ที่จากัดหรือมิฉะนั้นก็ไม่ได้ทางานเลย
คนเหล่านี้ต้องอยู่ในสภาพถูกบังคับ เขาจะมีเวลาที่ถูกกาหนดไว้ให้ในแต่ละวัน 6 – 8 ชั่วโมง และในช่วงวัน
สุดสัปดาห์หรือวันหยุดอาจจะมีเวลามากกว่านี้แต่จะไม่มีกิจกรรมอะไรไว้รองรับเลย หลายคนได้เพียงแต่
นั่งและดูโทรทัศน์เท่านั้น ความมุ่งหมายของโปรแกรมในชุมชนหลายๆอย่างนั้นไม่เพียงแค่จัดให้มีกิจกรรม
ยามว่างอันต้องการสร้างความพึงพอใจให้แก่คนปัญญาอ่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยเหลือพัฒนาในทุก
รูปแบบ
ความหมายเฉพาะของโปรแกรมเหล่านี้
( 1 ) เพื่อให้มีข้อมูลและการศึกษาด้านนันทนาการ ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาขีดความสามารถส่วน
บุคคลเพื่อให้บรรลุถึงความต้องการเรื่องความสะดวกสบายของตัวเองได้
( 2 ) เพื่อใช้นันทนาการเพื่อการปรับปรุงด้านสุขภาพทั่วๆไป ลดท่าทางที่ไม่เป็นปกติลงให้น้อยที่สุด
และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อให้ผู้ปัญญาอ่อนสามารถเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น
( 3 ) เพื่อช่วยในการเรียนรู้และฝึกเกี่ยวกับทักษะด้านสังคมและนันทนาการ
( 4 ) ให้คาปรึกษาแก่คนปัญญาอ่อนทั้งเด็กและผู้ใหญ่เกี่ยวกับแหล่งนันทนาการที่มีในชุมชนพร้อม
ทั้งจัดโอกาสให้ได้เข้ามีส่วนร่วมด้วย
( 5 ) ทาหน้าที่เป็นคนติดต่อระหว่างชุมชนและคนปัญญาอ่อน รวมทั้งครอบครัว เพื่อยกระดับให้
คนปัญญาอ่อนเป็นที่ยอมรับในโครงการของชุมชนและสถานบริการต่างๆ
( 6 ) ประสานความพยายามทั่งทั้งชุมชนเพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของคนปัญญาอ่อน
นอกเหนือไปจากโปรแกรมนันทนาการแล้ว นันทนาการระดับอาชีพได้เสริมการให้คาแนะนาการ
บาบัดรักษาเฉพาะเกี่ยวกับบริการชุมชนอื่นๆ ที่ง่ายๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่คนปัญญาอ่อน การกีฬาเฉพาะ
โปรแกรมด้านสังคม งานอดิเรก และการจัดไปเที่ยวพิเศษ โปรแกรมเหล่านี้มีส่วนอย่างในการพัฒนาชีวิต
สาหรับคนปัญญาอ่อนในชุมชน และบางทียังเป็นการเพิ่งขีดความสามารถที่จะใช้ชีวิตตามลาพังอย่างมี
ความสุขได้อีกด้วย
นันทนาการสาหรับผู้สูงอายุ
พลเมืองอเมริกันที่เป็นผู้สูงอายุนี้ได้มีการแสดงท่าที่ที่เด่นชัดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องบริการนันทนาการในปี 1900
มีคนอเมริกันที่อายุเกิน 65 ปี เพียง 3.1 ล้านคน หรือหนึ่งคนจาก 25 คน เนื่องมาจากพืชภัณฑ์สมัยใหม่และ
การมีอายุยืนยาวขึ้น ทาให้การสารวจในปี ค.ศ. 1980 พบว่ามีผู้ที่อายุ 65 ปี หรือมากกว่าอยู่ 25.5 ล้านคน
เพิ่มขึ้นจากปี 1970 จานวน 28 % จากการพยากรณ์คาดว่าก่อนสิ้นศตวรรษนี้จะมีคนอเมริกันที่อายุเกิน 65
ปีมากกว่า 30 ล้านคน ซึ่ง 2 ใน 3 ของจานวนนี้จะอยู่ในกลุ่ม 75 ปี หรือมากกว่า และต้องบริโภคบริการ
ต่างๆทั้งด้านสุขภาพโรงพยาบาล และบริการด้านการดูแลพยาบาล ดังนั้นผู้ที่มีความสามารถเกี่ยวข้องกับ
การให้บริการแก่คนสูงอายุจะต้องพิจารณาห้วงต่างกัน 4 ห้วง ต่อไปนี้คือ ก่อนเกษียณอายุ หลัง
เกษียณอายุ ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และปีหลังจากนั้น
3.1 ก่อนเกษียณอายุ
ในช่วงเวลาที่อายุ 50 และ 65 ปีนั้นจะมีภาระเกี่ยวกับทางเศรษฐกิจ เช่น ต้องเลี้ยงดูเด็กๆ การ
ตกแต่งบ้านและการปรับปรุงสิ่งที่ชารุดทรุดโทรม ในช่วงที่ควรจะได้มีการเตรียมการสาหรับเกษียณอายุ ใน
บางประเทศ เช่น สวีเดน ได้มีการกาหนดแผนงานให้คนมีชั่วโมงการทางานน้อยลงเรื่อย อายุ 60 ถึง 70 ปี
โดยอาจให้ทางานไม่เต็มเวลาและเริ่มให้รับบานาญเป็นบางส่วน ทาอย่างนี้จนถึงช่วงที่ต้องเกษียณจริง
สามารถปรับตัวได้
3.2 ช่วงหลังเกษียณอายุ
ตอนนี้ความรับผิดชอบด้านการงานได้จบสิ้นลงแล้ว หลายคนที่ต้องประสบปัญหาที่ต้องมีเวลาว่าง
ในส่วนอีกหลายคนนั้นถือว่าการติดต่อด้านสังคมและความรู้สึกได้รับความสาคัญจากหน้าที่การงานก็ถึง
ขีดสุดไปด้วย และจะเกิดความพยายามที่จะแสวงหาเพื่อนพ้องและความผูกพันใหม่ๆขึ้น พวกที่มีฐานะเงิน
ดีมักจะเข้าร่วมสมาคมผูที่เกษียณด้วยกัน ซึ่งสามคมเหล่านี้มักจะมีโครงการพิเศษและสิ่งอานวยความ
สะดวกอื่นๆ บางแห่งมีสโมสรต่างๆถึง 160 ประเภท
3.3 ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยู่ระหว่าง 75 – 85 ปี ส่วนใหญ่จะเริ่มมีการถดถอยทางกายภาพ โดดเดี่ยวจากสังคมมากขึ้นต้อง
เข้ารับรักษาดูแลจากบ้านพักคนชรา แม้ว่าจะต้องมีความสูญเสียความคล่องแค่ลงและความสามารถด้าน
ร่างกายอื่นอีกอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่จาเป็นว่าจะต้องสูญเสียการทางานของอวัยวะสาคัญๆไปด้วย และ
อายุหลายคนก็สามารถรักษาสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ไว้ได้ ทั้งด้านอารมณ์และด้านสังคม
3.4 ช่วงหลังจากหัวเลี้ยวหัวต่อ
ช่วงเวลาที่เหลือนี้มีโอกาสจะเป็นช่วงแห่งความพิการ มักจะมาในรูปของการไร้ความสามารถต่อ
ร่างกายและความทรงจา แม้ว่าจะมีคนแก่บางรายที่มีอายุกว่า 80 – 90 ปี แล้วยังสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้
ก็ตามแต่ส่วนใหญ่แล้วจะต้องพึงพาคนอื่นมากขึ้นและมักจะต้องได้รับการรักษาตัวหรือรับการคุ้มครองกับ
สถาบันที่เกี่ยวข้อง
จานวนคนสูงอายุที่เพิ่งขึ้นภายใต้สังคมสมัยใหม่ ทาให้ช่วงอายุหลังจาก 65 ปี เป็นเวลาแห่งความ
โดดเดี่ยวและเศรษฐกิจไม่ค่อยมั่นคง ในช่วงของทศวรรษที่ 20 นั้น คนสูงอายุถูกโดดเดี่ยวมากอย่างเด่นชัด
เนื่องจากโครงสร้างของครอบครัว คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ไดมีครอบครัวที่ผูกพันชิดใกล้กันอีกต่อไปแล้วมัก
แยกตัวออกจากพ่อแม่
ในปัจจุบันคนสูงอายุมีแนวโน้มที่จะถอนตัวออกจากการเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น นักสังคมกลุ่มหนึ่ง
อธิบายอาการเช่นนี้ด้วยทฤษฏีแห่งการปล่อยวาง ซึ่งหมายถึงการถอนตัวออกจากการข้องเกี่ยวทางสังคม
เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น นักทฤษฏีนี้ถือว่าเป็นการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างนั้น กระบวนการ
ที่เป็นและไม่สามารถเลี่ยงได้สาหรับคนสูงอายุ เป็นหนทางที่พวกเขาเลือกก่อนจะถึงจุดจบแห่งชีวิต
3.5 ผลกระทบจากการมีอายุมากขึ้น
คนหลายคนมักจะมองกระบวนการที่เกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วยความหวาดกลัว อย่างไรก็ตาม
การศึกษาเปิดเผยว่าคนอายุ 70 – 80 ปี จานวนไม่น้อยเลยที่เดียวที่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางเพศอยู่เป็น
ลักษณะคู่สมรสและไม่ใช่ กฎหมายประกันสังคมของเราได้กาหนดโทษหญิงหม้ายที่แต่งงานใหม่ควรตัดเงิน
ประกันสังคม และด้วยเหตุผลนี้ที่ทาให้คนแก่ที่เกษียณแล้วใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันโดยไม่แต่งงานเลี่ยงการถูกตัด
เงินดังกล่าว
ประเด็นอยู่ที่ว่าคนสูงอายุยังคงมีความต้องการและความอยากอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์เขายังมี
สุขภาพร่างกายและอารมณ์ที่สมบูรณ์อยู่ ก็ควรจะยังมีโอกาสเต็มที่ที่จะสร้างมิตรสัมพันธ์กับสังคม
สร้างสรรค์ความคิดและนันทนาการ ถ้าเราปฏิเสธโอกาสเหล่านี้ก็เท่ากับว่า เป็นการคนสูงอายุทั้งทางด้าน
จิตใจและร่างกาย อัตราการฆ่าตัวตายของคนอายุ 65 ปีหรือแก่กว่ามีสูงกว่าวัยอื่นๆ ความว้าเหว่ก็ส่งผลให้
คนแก่ต้องเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง อัตราการเสียชีวิตที่มีผลเนื่องมาจากวัยของคนสูงอายุนั้น เพิ่มขึ้นกว่า 50
% ระหว่างทศวรรษ 1950 และ 1960
การเปรียบเทียบคนสูงอายุว่าเสมือน “ สัญลักษณ์ของความชราภาพ ” และต้องประสบกับการถูก
ทิ้งต่างๆนานานั้น เป็นการลงความเห็นที่ไม่ถูกต้องอย่างชัดเจนที่เดียว
ความพิการด้านการทางานต่างๆของร่างกายที่แท้จริงที่เกิดกับคนสูงอายุ เนื่องจากพวกเขาถูกส่ง
เข้าโรงพยาบาลหรือเนิร์ซริ่ง โฮม เพื่อการพักฟื้นเริ่มมีอาการเซื่องซึมอย่างรวดเร็ว และก็ต้องเสียพฤติกรรมที่
เคยเป็นตัวของตัวเองไปด้วย ส่วนใหญ่เนื่องจากการบาบัดที่ให้นั้นเป็นการบั่นทอนความกระตือรือร้นที่จะ
เข้าร่วมสังคมของพวกเขา มันยังมีทางเป็นไปได้ที่จะหยุดวิธีการเหล่านี้และเพื่อต้านกับการรู้สึกโดดเดี่ยว
ถูกปฏิเสธ และสูญเสียความนับถือตัวเอง ซึ่งมักมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่ถูกส่งเข้าเนิร์ซริ่ง โฮม
3.6 คุณค่าของนันทนาการสาหรับผู้สูงอายุ
ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ได้มีการเพิ่มการตระหนักมากขึ้นถึงความสาคัญของประโยชน์จากการที่จัด
ให้ผู้สูงอายุ กล่าวง่ายๆว่ามันเป็นการช่วยรักษาสุขภาพร่างกายและความฟิต พัฒนาอารมณ์ ความ
สร้างสรรค์หรือกระตุ้นความคิดใหม่ๆ เพื่อการเข้าร่วมสังคม และให้โอกาสในการมีบทบาทของตนเอง
ความท้าทายที่สาคัญที่สุดสาหรับเราในปัจจุบันนี้คือ การทาให้ชีวิตของคนสูงอายุที่อยู่ตามชุมชน
สุขเสมือนเป็นรางวัลชีวิต มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ เพื่อป้ องกันความพิการ การถอนตัวออกจากสังคมและ
เรื่องเข้าสถานบาบัดพักฟื้นต่างๆ หน่วยงานเพื่อคนสูงอายุของรัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่รัฐ
และชุมชนต่างๆ ในการพัฒนาโปรแกรมสาหรับผู้สูงอายุและให้ทุนวิจัยเรื่องนี้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เน้นถึงเรื่อง
เวลาในชีวิตของคนสูงอายุ ได้มีการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ โดยได้รับทุนเป็นพิเศษจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ
และเอกชน
การจัดให้มีบริการทางสังคมและด้านนันทนาการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนักโดยหน่วยงาน
ราชการและอาสาสมัครนั้นมีความจาเป็นสาหรับคนสูงอายุจานวนหลายล้านคนที่มีรายได้ต่า ชุมชนหลาย
พันแห่ง ได้จัดตั้งศูนย์และสโมสรสาหรับผู้สูงอายุขึ้นและมักเปิดโอกาสเต็มที่ทั้งด้านงานอดิเรก กิจกรรม
สังคม กลุ่มที่มีความสนใจพิเศษเรื่องต่างๆและให้โอกาสมีความรับผิดชอบ เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ เป็น
กรรมการสมาชิก หรือมีส่วนในการทางานของสโมสร เพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของคนสูงอายุอย่างมี
ประสิทธิภาพนั้น นันทนาการไม่ควรถูกจับแยกออกจากบริการด้านอื่นๆ แต่จะต้องผสมผสานกันกับเรื่อง
สุขภาพอนามัย โภชนาการ ที่อยู่อาศัย กฎหมาย เศรษฐกิจ และความช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ
3.7 บริการดูแลพิเศษช่วงกลางวันสาหรับผู้สูงอายุ
เป็นโครงการอย่างหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้มีลักษณะเป็นศูนย์ ซึ่งปกติจะอยู่กับ
โรงพยาบาล หรือบริเวณเดียวกับศูนย์บริการอนามัยชุมชน ให้บริการแก่คนสูงอายุที่ต้องอยู่กับบ้านและมี
ความไม่สมประกอบร้ายแรงพอสมควร ในแต่ละวัน ช่วงกลางวันจะมีผู้คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้าน
การแพทย์และสังคมรวมทั้งนันทนาการและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ นิตยสารไทม์ ได้รายงานว่ามีการตั้ง
ศูนย์ให้บริการช่วงกลางวันนี้มากกว่า 800 แห่ง ใน 44 รัฐ จากจานวนประชากรที่สูงอายุที่กาลังเพิ่มมากขึ้น
ทุกวัน โครงการนี้จัดเป็นวิธีแก้ปัญหาที่สามารถให้ความสุขแก่ผู้สูงอายุได้
4. บริการนันทนาการกับคนพิการทางร่างกาย
ส่วนหนึ่งของประชากรในชาตินั้น ได้รวมเอาคนที่มีความพิการทางร่างกายเข้าไว้ด้วย ได้แก่ ผู้ที่แขน ขา
ขาด เป็นอัมพาต คนตาบอดหรือสายตาไม่ดี คนหูตึง เป็นต้น จากการเผยแพร่ของสมาคมวนอุทยาน
แห่งชาติ มีคนอเมริกันมากกว่า 67 ล้านคนที่มีสภาพจากัดทางร่างกาย ที่จาเป็นต้องได้รับความสนใจเป็น
พิเศษเกี่ยวกับบริการนันทนาการภายนอกบ้าน บ่อยครั้งที่คนพิการต้องถูกกีดกันจากการได้รับความ
สนุกสนานกิจกรรมอย่างว่างอย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่เนื่องจากสาเหตุแห่งความพิการที่เป็นอยู่เท่านั้น แต่ยัง
เนื่องจากสังคมไม่เต็มใจที่จะให้การส่งเสริมหรือช่วยเหลือมนการเข้าร่วมของพวกเขาอีก และจากการ
ออกแบบสถานที่อาคารต่างๆ อย่างไม่คานึงถึงคนพิการว่าจะสามารถเข้าถึงได้หรือไม่
4.1 ประเภทและผลกระทบจากความพิการทางร่างกาย
แม้ว่าในสังคมปัจจุบัน มันเป็นการยากที่จะรวบรวมสถิติเกี่ยวกับประเภทของความพิการที่มีมาก
อย่างถูกต้อง แต่ก็มีรายงานช่วงกลางทศวรรษ 1970 ว่าในสหรัฐอเมริกามีคนอเมริกันที่ใช้เก้าอี้เข็นมาก ถึง
400,000 คน 1.1 ล้านคนต้องใช้เบรสหรือเครื่องช่วยพยุงขา 2.1 ล้านคนใช้ไม้เท้า 404,000 เครื่องช่วยเดิน
หรือว้อคเกอร์ 443,000 คนใช้ไม้ยันรักแร้หรือครัทช์ 172,000 คนใช้แขนขาเทียมกว่า 600,000 คน ที่มี
อาการทางสมองหรือซีรีบรัส พัลซี่ คนตาบอดที่ขึ้นทะเบียนอีกประมาณ 430,000 คน คนหูตึง เป็นโรคข้อ
โรคหืดและพิการประเภทอื่นๆ อีกจานวนใกล้เคียงกัน
4.2 เป้ าหมายและโครงการสาหรับคนพิการทางร่างกาย
โปรแกรมนันทนาการที่จัดสาหรับคนพิการนั้นมีเป้ าหมาย 8 ประการดังต่อไปนี้
1.เพื่อเสริมสร้างขวัญแกคนพิการและปรับตัวเข้ากับสภาพการรักษาในกรณีที่เขาต้องได้รับการ
รักษาจากโรคลมชัก โรคหัวใจ หรืออุบัติเหตุอย่างสาหัส
2.เพื่อเสริมกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการจัดให้มีการออกกาลังกายเพื่อช่วยฟื้นฟูในส่วน
ของร่างการที่ได้รับผลกระทบ
3.เพื่อขอโอกาสให้คนพิการที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเมืองหรือชุมชนและไม่ได้รับการรักษาตามตรง
สามารถใช้เวลาว่างอย่างพึงพอใจและสร้างสรรค์
4.เพื่อเพิ่มความเป็นตัวของตัวเองในสังคมให้มากขึ้น และให้มีการรวมกลุ่มเพื่อผลทางด้านการเข้า
รวมเมื่อมีโอกาส
5.เพื่อช่วยบรรเทาภาระของครอบครัวที่มีคนพิการทั้งในด้านจิตใจและเวลาที่ต้องเสียไปกับการ
ดูแลคนพิการอย่างไม่มีสิ้นสุด
6.เพื่อช่วยให้คนพิการทางร่างกายสามารถหาสิ่งทดแทนที่ไม่สมประกอบของตัวเองโดยการทา
กิจกรรมอื่นๆที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความพิการ
7.เพื่อยกระดับกิจกรรมด้านพลศึกษาเป็นการสร้างสุขภาพอนามัยและกันมิให้อวัยวะส่วนที่ไม่ได้
ใช้งานนานๆต้องเสื่อมสภาพลงไปได้อีก
8.เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนพิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตในชุมชนมากขึ้นและเสริมความข้องเกี่ยวกับ
งานสังคมอื่นๆ อาชีพ การศึกษาและอื่นๆ ที่เกี่ยวกับคนทั่วไป โดยการจัดเป็นตารางปฏิบัติวงรอบอันเป็น
การเสริมความรู้สึกที่เป็นปกติมากขึ้น
4.3 ตัวอย่างความพิการเฉพาะอย่าง – การสร้างสังคมใหม่ให้กับผู้เป็นลม ( สโตรกด์ )
เพื่อเป็นการอธิบายให้เห็นว่านันทนาการนั้นสามารถนามาประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้ าหมายเฉพาะ
สาหรับความพิการที่กาหนด จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษาขึ้นเป็นจานวน
มากในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชีวิตสังคมใหม่ให้กับผู้เป็นโรคลม โรคลมหรือสโตรกด์ เกิดขึ้นเมื่อมี
โลหิตขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอหรือถูกตัดขาดไปเลย ส่งผลให้เซลล์ประสาทในส่วนนั้นของสมองหยุดการ
ทางานเกิดอาการสาหัสอย่างถาวรหรือชั่วคราว มักรวมถึงอาการอ่อนเพลีย สูญเสียความรู้สึกหรือ อัมพาต
ข้างหนึ่งข้างใด เกิดปัญหาเรื่องการมองเห็น การเดิน และการพูดหรือการเข้าใจ
หลังจากที่คนไข้ผ่านการรักษาจากโรงพยาบาลหรือการฟื้นฟูขั้นต้นแล้ว เขาจะยังคงต้องเผชิญกับ
ความเป็นจริงของครอบครัวและสภาพแวดล้อมทางสังคม การปรับตัวใหม่และความสิ้นหวังต่างๆทาให้เกิด
ความท้อแท้และอาการถดถอยทางร่างกายและอารมณ์ แพทย์เน้นว่าช่วงปีแรกหลังจากเป็นโรคจะมี
ความสาคัญมาก ผู้ป่วยต้องก้าวออกมาสู่โรคภายนอก ครอบครัวของเขาต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์
เฮิร์สได้อธิบายโปรแกรมนี้ว่า “ นักนันทนาการบาบัดในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคณะทางานฟื้นฟูสมรรถภาพ
ร่างกาย จะทางานร่วมกับตัวคนป่วยและครอบครัวเพื่อช่วยให้คนป่ วยกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกภายใต้
สภาพแวดล้อมในบ้านหรือชุมชน นักนันทนาการบาบัดจะสอนคนป่วยถึงวิธีการปรับตัวเข้ากับเวลาว่างและ
งานอดิเรก ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะได้รับการสอนทักษะใหม่ๆแทน ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือ
ส่วนตัว คนไข้จะสามารถพัฒนาภาพพจน์ตัวเองมากขึ้น ทั้งตัวคนไข้และครอบครัวปรับตัวด้านสังคมอย่าง
สาคัญ คนป่วยและสมาชิกครอบครัวจะร่วมเดินทางไปไหนมาไหนด้วยกันภายในชุมชน ”
แมคนีล และพริงนิตช์ ได้ชี้แจงว่าแต่ละปีมีคนอเมริกันเป็นโรคนี้ราว 5 แสนราย 40 % ต้องเสียชีวิต
ส่วนใหญ่จะรอดชีวิต จากสถิตินี้สถาบันประสาท ความบกพร่องทางด้านการสื่อสารและโรคลมแห่งชาติ
ได้สรุปว่า “ โรคนี้ได้ทาให้คนสูญเสียความสามารถเป็นจานวนมากกว่าที่ทาให้เสียชีวิต และอาจจะเป็น
สาเหตุนาแห่งความพิการระยะยาวในสหรัฐอเมริกา ”
คอร์เบต ได้เขียนเรื่องหนทางสาหรับคนพิการที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังว่า
นอกเหนือจากกิจกรรมต่างๆที่เห็นได้ชัด เช่น อ่านหนังสือ ถักไหมพรม เล่นไพ่ ศิลปะ การทาสวนและงาน
อดิเรกอื่นๆแล้ว พวกเขายังสามารถทาอย่างอื่นที่เป็นการฆ่าเวลาได้อีก ได้มีการประดิษฐ์เครื่องอานวย
ความสะดวกพิเศษในการเล่นโบว์ลิ่ง บิลเลียร์ด เทเบิลเทนนิส และการละเล่นอื่นๆ อีกมากมาย
4.4 การจัดโปรแกรมกีฬาสาหรับคนพิการทางร่างกาย
ทั้งคนทั่วไปและคนมีอาชีพด้านนันทนาการมักจะมีสายตาคับแคบ ทาให้ไม่สามารถเข้าใจถึง
ศักยภาพของคนพิการอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น มีคนเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าคนตาบอดสามารถเล่นสกีได้โดยมี
เพื่อนคอยบอกทิศทางให้ข้างๆและสามารถเล่นบนเขาสูงชันได้อย่างชานาญ หรือคนทั่วไปอาจต้องตะลึง
เขาเดียวสกี นี่เป็นเพียงสองตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคนพิการที่เอาชนะความพิการด้วยการเล่นกีฬาที่ค่อย
ข้างเสี่ยง
กีฬาสาหรับผู้ใช้เก้าอี้เข็นก็เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากแรงกระตุ้นจากผลของสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ที่มีทหารผ่านศึกมากมาย ต้องขาขาดขาเดียวบ้าง สองข้างบ้าง สมาคมการกีฬาบนเก้าอี้เข็น
แห่งชาติ และการแข่งขันกีฬาบนเก้าอี้แห่งชาติที่จัดขึ้นทุกปีในสหรัฐอเมริกาได้ ช่วยให้คนพิการจานวนมาก
มีส่วนร่วมในการแข่งขันบาสเก็ตบอลบนเก้าอี้เข็น กีฬาลู่เกาะลาน และกีฬาประเภทอื่นๆได้อีกมาก ตั้งแต่ปี
1960 เริ่มมีการแข่งขันกีฬาบนเก้าอี้เข็นระดับนานาชาติขึ้น คือ พาราลิมปิก จัดประจาที่โตก แมนดวิลล์
ประเทศอังกฤษ และมีการจัดการแข่งขันพิเศษขึ้นอีกทุกๆ 4 ปี ภายหลังจากกีฬาโอลิมปิก โดยประเทศ
เจ้าภาพโอลิมปิก เป็นผู้รับผิดชอบในปี 1976 คนพิการ 17,000 คนจาก 70 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน
โอลิมปิกพิเศษที่แคนนาดา ความสาเร็จของพวกเขาบางอย่างน่าทึ่งมาก เช่น นักวิ่งชาวโปรแลนด์ซึ่งเป็นคน
ตาบอดสามารถทาเวลาในการวิ่งระยะทาง 100 เมตรได้ 11.5 วินาที
4.5 โปรแกรมและสิ่งอานวยความสะดวกพิเศษ
ความก้าวหน้าในเรื่องนี้สามารถเห็นได้จากได้มีการออกแบบสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆเป็น
พิเศษ เพื่อให้บริการแก่คนพิการ มีเมืองหลายเมืองที่จัดให้มีสนามเล่นหรือสวนพักผ่อนเล็กๆที่ออกแบบ
พิเศษ สมาคมและศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายที่ให้บริการคนพิการทางร่างกายก็ได้พัฒนาในเรื่อง
เหล่านี้ด้วย
ศูนย์นันทนาการที่ได้รับการสนับสนุนจากทางการเป็นแห่งแรกและมีการวางแผน ออกแบบเป็น
พิเศษสาหรับคนพิการทางร่างกายและทางสมอง ได้ก่อสร้างขึ้นในปี 1976 ในวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งได้รับการ
สนับสนุนจากสานักงานนันทนาการแห่งดิสตริค อ็อฟ โคลัมเบีย เป็นเงิน 2 ล้านดอลลาร์ มีอาคารต่างๆ
รวมทั้งสระว่ายน้า โรงยิ้ม – ห้องประชุม ร้านสินค้าศิลปหัตถกรรม ศูนย์ดูแลกลางวัน และสนามเล่น
กลางแจ้ง พื้นที่พักผ่อนอื่นๆ ทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบด้วยความรอบคอบให้เหมาะสาหรับผู้ที่ใช้เก้าอี้
เข็น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
นอกเหนือไปจากการสร้างสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการประเภทต่างๆแล้ว หน่วยงาน
อาสาสมัครอีกหลายแห่งก็ได้จัดโปรแกรมพิเศษขึ้นมากมาย รวมทั้งจัดท่องเที่ยวนอกสถานที่ อีกทั้ง
สานักงานท่องเที่ยวจานวนมากก็เริ่มให้บริการเที่ยวบินไปต่างประเทศสาหรับคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็น ไม้ยัน
รักแร้ หรือเครื่องพยุงขา
ต้นทศวรรษ 1980 สานักงานอุทยานแห่งชาติได้จัดตั้งกองงานพิเศษเพื่อเป็นการประกันว่า
สวนสาธารณะใหญ่ๆแหล่งนันทนาการ สถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ จะต้องสามารถให้คนพิการเข้าใช้ได้
ด้วยและต้องพัฒนาโปรแกรมพิเศษขึ้นมา เพื่อให้ตรงตามความต้องการของคนพิการ
5. นันทนาการสาหรับผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม
บทที่ 10
บทที่ 10
บทที่ 10

More Related Content

Viewers also liked

ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการteaw-sirinapa
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการteaw-sirinapa
 
ประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการnok_bb
 
การนันทนาการ
การนันทนาการการนันทนาการ
การนันทนาการChamchang
 

Viewers also liked (15)

บทที่ 16
บทที่ 16บทที่ 16
บทที่ 16
 
บทที่ 12
บทที่ 12บทที่ 12
บทที่ 12
 
บทที่ 15
บทที่ 15บทที่ 15
บทที่ 15
 
บทที่ 17
บทที่ 17บทที่ 17
บทที่ 17
 
บทที่ 14
บทที่ 14บทที่ 14
บทที่ 14
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
 
ประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการ
 
การนันทนาการ
การนันทนาการการนันทนาการ
การนันทนาการ
 

More from teaw-sirinapa

รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1teaw-sirinapa
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการteaw-sirinapa
 
การจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการการจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการteaw-sirinapa
 
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการสังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการteaw-sirinapa
 
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการteaw-sirinapa
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการteaw-sirinapa
 
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1teaw-sirinapa
 

More from teaw-sirinapa (13)

รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
 
การจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการการจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการ
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการสังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
 
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการ
 
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
 
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
 
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
 
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
 
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
 
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
 

บทที่ 10

  • 1. บทที่ 10 นันทนาการเพื่อความบาบัด ในสังคมปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเมือง เต็มไปด้วยความหวัง และความหมาย คน ทุกระดับวัยตั้งแต่เด็ก วัยผู้ใหญ่ ตลอดจนคนสูงอายุ ต่างก็มีความต้องการที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ เพื่อเสริมสร้างและปรุงแต่งคุณภาพชีวิต เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ คือ การพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนานพึง พอใจ และความสุขทางใจสงบ บุคคลทุกคนควรจะได้รับสิทธิในการแสดงออก และเสรีภาพในขอบเขตของ สังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรพิเศษ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความพิการทางสมอง สติปัญญา หรือทุพพลภาพทางร่างกาย ผู้ป่วยรวมทั้งทาง ร่างกาย ทางจิตใจ ตลอดจนผู้สูงอายุเป็นกลุ่ม ประชากรที่ค่อนข้างจะมีโอกาสในการเล่น การแสดงออกหรือเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ น้อยกว่า กลุ่ม ประชากรปกติและไม่ได้รับการเหลียวแล เอาใจใส่ในสิ่งที่ควร ทั้งๆที่เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกมากมาย อย่าไรก็ ตาม ประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรป ต่างก็เห็นความสาคัญของกลุ่มประชากรพิเศษ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ ผ่านมา โดยออกกฎหมายหลายฉบับ เพื่อให้ประชากรพิเศษ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่าง ทัดเทียมกลุ่มคนปกติ น่าจะเป็นแบบอย่างในการพัฒนาโปรแกรมนันทนาการสาหรับประชากรพิเศษ หรือ เรียกว่า นันทนาการเพื่อการบาบัดแก่ประเทศไทยเราต่อไป ความต้องการนันทนาการสากรับประชากรพิเศษ ในสหรัฐอเมริกา สังคมได้ตระหนักถึงความต้องการอันมีลักษณะพิเศษของกลุ่มประชากรพิเศษ เช่น คนพิการอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านของความสะดวกสบายและด้านนันทนาการ เป็นที่ยอมรับกันว่า ในขณะที่คนปกติทั่วไปนั้นต่างก็มีความต้องการทางต่างนันทนาการในรูปแบบต่างๆมากมายในขณะที่คน พิการ โปรแกรมนันทนาการมักจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะบรรลุความต้องการอันนี้ในวิธีทางสะดวกสบายเหตุที่ เป็นเช่นนี้เนื่องจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายอย่างรุนแรงของคนพิการ เป็นขีดกาจัดในการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น อย่างไรก็ตามคนที่พิการได้ถูกกีดกันจากการได้รับนันทนาการส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความ ผิดพลาดของสังคมที่จะให้ความช่วยเหลือของพวกเขามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มศักยภาพที่มีอยู่ ชุมชนและองค์การหลายๆแห่งไม่ได้ปรับปรุงออกแบบเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าใช้สิ่งอานวยความสะดวก ด้านนันทนาการได้อย่างเต็มที่ แหล่งนันทนาการและอุทยานบางแห่งกลับกีดกันไม่ให้คนพิการ เข้ามีส่วน ร่วมในโครงการ ด้วยความเข้าใจที่ว่าคนพิการนั้นจะต้องมีผู้คอยดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งพวกเขาไม่สามารถที่จะ จัดให้ได้คิดที่น่าอดสูอยู่ที่ว่าสังคมใดที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับคนพิการแล้ว ผู้บริหารมักจะเกิดความกลัวว่าการ ปรากฏตัวของคนตาบอด คนปัญญาอ่อน หรือคนพิการแขวนขาจะสร้างบรรยากาศที่น่ารื่นรมย์สาหรับคน ปกติทั่วไป และจะทาให้พวกเขาเลิกบริการนั้นๆ พ่อแม่หรือญาติพี่น้องของคนพิการบางรายก็ปล่อยพวกเขา
  • 2. ให้อยู่แต่ในบ้านมากเกินไป ทาให้บ่อยครั้งที่คนพิการต้องขาดประสบการณ์ และเกิดความกลัวว่าต้อง ถูกปฎิเสธ จากคนทั่วไปอาจเป็นข้อจากัดในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ภาพต่างๆเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บรรดานักวิชาการด้ายนันทนาการรวมทั้งบุคคล อื่นๆที่มีความเกี่ยวกับความต้องการของคนพิการภายใต้สังคมสมัยใหม่ได้ต่อสู้มากขึ้น เพื่อปรับปรุงพัฒนา เปิดโอกาสให้แก่พวกเขาเหล่านั้นทั้งในรูปแบบการจัดตั้งเป็นสถาบัน และชุมชน ตามรูปแบบแล้ว ความกังวลถึงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนพิการในสังคมนั้น จะได้รับการ ส่งเสริมสนับสนุนจากเหตุการณ์หรือองค์กรต่างๆ เช่น สภาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา จัดปีคนพิการสากล ได้เน้นถึงความต้องการอันยิ่งใหญ่ของคนพิการในการเข้ามีส่วนร่วมใน “ นันทนาการ กิจกรรมด้านสังคม และวัฒนธรรม ” ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างแข็งขัน การเปลี่ยนความสนใจเข้าสู่ชุมชน โปรแกรมนันทนาการเพื่อการบาบัดได้รับความสนใจเป็นเรื่องที่กล่าวถึงอยู่เสมอในสังคม การให้ นันทนาการแก่คนป่วยและคนพิการถือเป็นหน้าที่โดยตรงของสถาบันที่อยู่ตามเมืองที่เจริญ ในเป็นการจัด นันทนาการในโรงพยาบาล จัดเป็นแนวคิดที่ไม่เหมาะสมอีกต่อไป ได้มีการยอมรับกันว่าผู้พิการทางปัญญา หรือคนพิการทางร่างกายอื่นเป็นจานวนมากนั้นอาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่าอยู่ในศูนย์บาบัดรักษาตามเมือง ใหญ่ เพระพวกเขาเหล่านั้นก็มีความต้องการนันทนาการสูงเท่าๆกัน ยิ่งกว่านั้นตามหน่วยงานด้าน นันทนาการ และวนอุทยานของเทศบาลก็เริ่มยอมรับความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการจัดให้มีโครงการ พิเศษสาหรับคนพิการโดยปกติจะอยู่ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมสาหรับคนกลุ่มที่มีขีดจากัดเฉพาะอย่าง เช่น คนตาบอด , คนพิการร่างกาย หรือคนพิการทางปัญญา หน่วยงานอาสาสมัครก็เข้ามามีส่วนร่วมอย่าง เต็มที่โดยเน้นการจัดโครงการพิเศษ การกีฬาสาหรับคนกลุ่มพิเศษ การเข้าค่ายของคนกลุ่มพิเศษ เป็นต้น ในที่สุดแนวคิดเรื่อง การบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด ( THERAPEUTIC RECREATICN ) ได้นามาใช้ ทั้งในโรงพยาบาล และการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวางในรูปแบบของความคิดวิธีบาบัดและการจัดตั้ง ชุมชนขึ้นมากล่าวโดยสรุป การบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด หมายถึง การอาศัยกิจกรรมด้าน นันทนาการโดนเฉพาะเพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการและผู้สูงอายุด้วยโปรแกรมและ กิจกรรมนันทนาการที่ได้จัดขึ้นตามความเหมาะสมของกลุ่มประชากรนั้นๆ การกาหนดแนวทางและเป้ าหมาย การสนับสนุนทางกฎหมายของสหพันธรัฐ ( FEDERAL LAW ) ค.ศ. 1970 ซึ่งได้ออก พ.ร.บ. การศึกษาสาหรับเด็กพิการ ( TITLE 9 ) ข้อ 504 เกี่ยวกับการดูถูก – แบ่งแยก ( DRSCRIMINATION ACT ) และกฎหมายเลขที่ 93 – 112 ( LAW 142 ) เปิดโอกาสให้โรงเรียนและหน่วยงานชุมชนอื่นๆ ได้เริ่ม โปรแกรมเพื่อเปิดโอกาสให้แก่คนพิการมากขึ้นอย่างเต็มที่ในรูปแบบต่างๆ
  • 3. การเปลี่ยนแนวความคิดจากการให้การดูแลรักษาโดยสถาบันที่เกี่ยวข้องเท่านั้น มาเป็นการจัด โปรแกรมอันเป็นการผสมผสานที่จาทาได้ขึ้นในชุมชนนี้ที่จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้พิการทางปัญญา และผู้มีอาการทางจิตนับแสนราย ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษนี้นับเป็นครั้งแรกเช่นกันที่คน พิการจานวนมากไม่ต้องปิดตัวเองรับการดูแลรักษาอย่างโดเดี่ยวอีกต่อไป แต่สามารถร่วมอาศัยอยู่ใน ชุมชนรับบริการที่ศูนย์สุขภาพจิตใจในท้องถิ่นและใช้ชีวิตอย่างอิสระหรือคนค่อยข้างอิสระ การกาหนดแนวทางที่เด่นชัดของรัฐบาลกลาง เริ่มเป็นสโลแกนที่แพร่หลาย พร้อมๆกับการ เรียกร้องให้มีการร่วมตัวของคนพิการและพยายามช่วยเหลือพวกเขาให้สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี ขีดจากัดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ตามความเป็นจริงแล้วมันเริ่มปรากฏว่าแม้เราจะให้ความสนใจต่อเรื่องนี้ อย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะให้บริการแก่คนพิการทุกประเภทอย่างสมบูรณ์ในการจัดตั้ง ชุมชนผสมผสานขึ้นมา การยอมรับในปัจจัยเหล่านี้ทาให้มีการพัฒนารูปแบบต่างๆ ในการให้บริการแก่คนพิการในชุมชน จัดตั้ง ในบางกรณีคนพิการอย่างรุนแรงอาจได้รับบริการทั้งหมดจากหน่วยงานหรือสถานบาบัดที่แยกตัว ออกต่างหาก กรณีที่ระดับความพิการลดน้อยลงก็อาจมีส่วนร่วมเป็นบางส่วนกับคนที่ปกติได้ ทากิจกรรม บางอย่างร่วมกับคนปกติ และก็อาจทากิจกรรมอื่นที่จาเป็นต้องอาศัยการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพ ความพิการตามลาพังต่างหากและในกรณีอื่นๆอีก การกาหนดแนวทางที่เด่นชัดก็อาจบรรลุได้ในลักษณะที่ ต่างกัน คือไม่เพียงแต่พยายามส่งเสริมให้คนพิการเข้าร่วมในกิจกรรมหรือโครงการของชุมชนแล้ว ยังมีการ กระตุ้นให้คนปกติเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมาสาหรับคนพิการ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโปรแกรมนันทนาการเพื่อการบาบัด ในปัจจุบันได้มีองค์กรประเภทต่างๆ เป็นอันมากที่จัดให้มีโปรแกรมนันทนาการสาหรับคนพิการ องค์กรต่างๆเหล่านี้ได้แก่ 1.โรงพยาบาลทุกประเภท ให้บริการด้านความเจ็บป่วยและความพิการทุกชนิด ทั้งในลักษณะ พิเศษและแบบสามัญ 2.สถานสงเคราะห์คนชรา ( CONVALESCENT ) ให้บริการสาหรับผู้สูงอายุมีร่างกายไม่แข็งแรง แต่ยังรวมถึงผู้ที่มีอาการป่วยอย่างรุนแรง เช่น โรคลมชัก หรือ ได้รับบาดเจ็บขั้นพิการ ซึ่งไม่สามารถใช้ชีวิต ตามลาพังได้ 3.โรงเรียนหรือศูนย์บริการชุมชนสาหรับคนพิการเฉพาะทาง รวมทั้งผู้พิการทางปัญญา ผู้หย่อน ความสามารถในการเรียนรู้อย่างรุนแรง หรือผู้ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ 4.ศูนย์บาบัดรักษาหรือสถานดัดสันดานและสถานกักขังอื่นๆ สาหรับบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม 5.ศูนย์บริการสาหรับผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการการดูแลตลอดเวลา แต่ก็ไม่สามารถอยู่ตามลาพังอย่าง ปลอดภัยได้
  • 4. 6.ศูนย์การบาบัดทางกายภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพซึ่งมีโปรแกรมครบวงจรทั้งกายภาพบาบัด จิตบาบัด และอาชีวะบาบัด 7.โปรแกรมที่จัดขึ้นโดยสานักงานด้านนันทนาการชุมชนและสวนสาธารณะต่างๆ 8.โปรแกรมต่างๆของหน่วยงานอาสาสมัครต่างๆรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความพิการ โดยเฉพาะ และความต้องการที่แตกต่างกันของคนพิการ และความเกี่ยวข้องหลักๆอย่างอื่นซึ่งจัดให้มีการ นันทนาการและบริการที่เกี่ยวข้องกับคนพิการประเภทต่างๆ 9.โครงการให้การดูแลภายหลังการรักษาและการจัดหาที่พานัก หรือโครงการโรงงานแบบพิเศษ ซึ่ง จัดโปรแกรมให้บริการหลายรูปแบบเพื่อช่วยเหลือผู้พิการที่อาศัยอยู่ตามชุมชน จากการสร้างสภาพแวดล้อมให้คนพิการ รวมทั้งตัวคนพิการที่ได้รับการบริการเองด้วยนั้น ปรากฏ ว่า “ การบาบัดรักษา ” มิได้รับการประยุกต์เข้าในโครงการหลายๆโครงการ แต่พวกเขากลับหาวิธีง่ายๆ สามารถเข้าถึงความต้องการขั้นปกติของคนพิการ เช่น สุภาพที่ดี การดารงอยู่และหาความเพลิดเพลินใน นันทนาการต่างๆ โดยอาศัยการดัดแปลงปรับปรุงอย่างไรก็ได้ที่จะทาให้คนพิการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรม อย่างสมบูรณ์ จากัดความปัจจุบันของการบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด อดีตที่ผ่านมาได้เคยมีการนิยามความหมายเอาไว้หลายอย่างและรูปแบบบริการด้านนี้ก็ได้รับการพัฒนา เช่นกัน มักจะเป็นเรื่องของ “ ความสนุกสนานและเกมส์ ” มากกว่าการเน้นแนวทางการบาบัดฟื้นฟู โอ มอร์ โรว์ ได้ให้คาจากัดความเอาไว้ 5 รูปแบบด้วยกันคือ รูปแบบการคุ้มครอง เป็นนันทนาการที่จัดให้การดูแลในระยะยาว แต่ไม่ค่อยเน้นเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการให้การศึกษาที่จาเป็นหรือการบริการที่จาเป็นอื่นๆ เพื่อสร้างบรรยากาศและพัฒนาขวัญ อาจจะใช้ รูปแบบการให้รางวัลและการลงทัณฑ์ หรืออาจเป็นวิธีที่เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ภาพพจน์การ ประชาสัมพันธ์น่าพึงพอใจต่อโลกภายนอก รูปแบบทางการแพทย์ เป็นรูปแบบที่เด่นชัดในการให้บาบัด คือถือว่านันทนาการเป็นปัจจัยสาคัญในการ บาบัดรักษา และได้รับการวางแผนให้เป็นการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยภายใต้วิธีการทางแพทย์ รูปแบบทางการบาบัด พบได้มากในโครงการสาหรับผู้ป่วยทางจิตหรือผู้ที่มีปัญหาทางสังคม รูปแบบนี้เน้น ความเป็นในการสร้างสภาพแวดล้อมด้านอนามัย หรือการบาบัดในชุมชน ซึ่งทั้งเจ้าหน้าที่ คนไข้ และผู้มา ใช้บริการต่างถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา รูปแบบการฝึกและการศึกษา เป็นรูปแบบที่ต้องอาศัยแนวทางที่แน่นอนมักใช้กับผู้พิการทางด้านปัญญา รูปแบบของชุมชน เป็นการบอกลักษณะของการบริการนันทนาการอันเป็นส่วนหนึ่งของการบาบัดรักษา ซึ่ง จะทาในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ บ่อยครั้งที่มันเหมือนเป็นเป้ าหมายในการช่วยเหลือให้คนไข้หรือผู้ที่มารับ บริการกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนและทางานอย่างประสบความสาเร็จ
  • 5. ในความเป็นจริงแล้ว โครงการนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษามีความเกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่ง แนวทางในปี 1979 กันน์และปีเตอร์สัน ( GUNS AND PETERSON ) ได้ยอมรับว่าผู้ทาหน้าที่ด้านนี้นั้น จะต้องมีบทบาทที่แตกต่างกันหลายอย่างในอันที่จะบรรลุความต้องการของผู้มาใช้บริการนันทนาการผู้ ชานาญด้านนี้หลายท่านได้ทางานเกี่ยวกับ การจัดการรักษาอย่างเด่นชัดและเข้าไปมีส่วนตั้งแต่ระยะต้นๆ ในฐานะของนักบาบัดทีเดียว ท่านอื่นก็ทางานในชุมชนเมือง สถาบัน และชุมชน ซึ่งงานหลักก็คือการให้ ความรู้เรื่องทักษะต่างๆที่จะสร้างความสะดวกสบาย ส่วนท่านอื่นๆอาจจะทางานในหน่วยงานชุมชน เล็งการณ์ถึงความมุ่งหมาย ในปี 1982 จากความพยายามในการที่จะทาความกระจ่างเกี่ยวกับ ความหมายที่เหมาะสม รวมทั้งปรัชญาร่วมสมัยของการบริการนันทนาการอันเป็นส่วนหนึ่งของการ บาบัดรักษาให้สมาคมนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษาแห่งชาติได้มีการสารวจเสียงสมาชิก เพื่อกาหนด แถลงการณ์ปรัชญาอันเป็นที่ยอมรับ โดยมีพื้นฐานในการกาหนดบริการ 3 อย่าง เพื่อใช้เป็นแนวทางหลัก ของการบริการนันทนาการเพื่อการบาบัด ได้แก่ การให้การบาบัด การให้ความรู้ที่นามาซึ่งความ สะดวกสบาย และการมีส่วนร่วมด้านนันทนาการ ในบางสถานการณ์ผู้ชานาญด้านนี้จะต้องสามารถจัดให้ มีบริการทั้ง 3 รูปแบบทีเดียว แนวความคิดอื่นๆเกี่ยวกับการให้การดูแลบาบัด การพื้นฐานของการบริการด้านนี้คือ การให้ดูแลต่อคนไข้หรือผู้รับบริการในขั้นก้าวหน้า หมายถึงแต่ละขั้นที่ คนไข้มีอาการดีขึ้นนั้น โปรแกรมที่จัดควรจะเป็นเครื่องเสริมให้เขาบรรลุถึงขีดความสามารถสุดเท่าที่จะทา ได้ในขั้นนั้นๆ อันเป็นการช่วยให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไป ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่คนไข้ทางจิตมีอาการ เริ่มแรกหรือขั้นที่ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลนั้น ควรเน้นความสาคัญอย่างเต็มที่ในเรื่องการให้การบาบัดโดย การนันทนาการ หลังจากที่คนไข้มีอาการดีขึ้นก็เปลี่ยนเป็นเน้นการที่ให้คาปรึกษาและการศึกษาเพื่อให้เกิด ความสบายใจ แนวทางปฏิบัติรอง ในขณะที่แนวทางที่กาหนดไว้นี้เริ่มเป็นที่เด่นชัดในโรงพยาบาลหรือศูนย์ฟื้นฟูต่างๆ แต่ก็ควรทาความ กระจ่างว่าในสภาพแวดล้อมอื่นๆนั้นแนวทางเป้ าหมายที่นามาใช้อาจไม่เด่นชัดพอ เช่น โปรแกรมหลาย อย่างที่เกี่ยวกับการกีฬาสาหรับคนพิการทางร่างกายที่อาศัยอยู่ในชุมชนหรือโครงการพิเศษเพื่อผู้สูงอายุนั้น จะให้ความสาคัญในเรื่องการกาหนดวัตถุประสงค์ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลของคนไข้ หรือ ผู้รับบริการแต่ละคนน้อย แต่กลับไปเน้นเรื่องการนันทนาการเพื่อให้ความสุข ประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ซึ่งอาจมีการปรับปรุง อะไรก็ได้เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์นี้ดังเช่นที่ทากับคนปกติธรรมดา ความเข้าใจพื้นฐานของการทางาน เกี่ยวกับคนพิการคือ ต้องเน้นถึงความเข้มแข็งและความสามารถที่เขาพอมีอยู่หรือตั้งใจที่จะสร้างหรือ เพิ่มพูนคุณสมบัติอันนี้แทนที่จะไปเน้นถึงขีดจากัดและความอ่อนแอของพวกเขา ภายใต้งานนันทนาการ เช่นนี้โดยส่วนรวมแล้วเราจะต้องพบกับคนพิการในรูปแบบต่างๆกัน ดังเช่นจะกล่าวดังต่อไปนี้
  • 6. นันทนาการกับการป่วยทางจิตใจ ในหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น งานบริการด้านนันทนาการเป็นที่ยอมรับกันในโรงพยาบาลโรคจิต หลายแห่งอเมริกาและแคนนาดา บางแห่งถือว่าเป็นวิธีขั้นต้นเพื่อการบรรเทาอาการและเพิ่มขวัญให้แก่ คนไข้ ในที่อื่นๆอาจเป็นวิธีทางการแพทย์พื้นฐานเพื่อช่วยคนไข้ในการดึงดูดคนไข้กลับสู่สังคมอีกครั้ง ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ชี้ว่ามีเป้ าหมายใหญ่ๆ ในการรักษาดังนี้( ตารางที่ 1 ) ตารางที่ 1 ลาดับเป้ าหมายของนันทนาการในโรงพยาบาลโรคจิต 1. เพื่อช่วยให้คนไข้รับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง 2.5 เพื่อช่วยให้คนไข้ที่ถอนตัวออกจากสังคมได้กลับเข้าร่วมสังคมอีกครั้ง 2.5 เพื่อช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์และให้มีความสนใจต่อสิ่งภายนอก 4. เพื่อช่วยให้คนไข้มีความเข้าใจตัวเองมากขึ้น 5. ให้คนไข้ตระหนักถึงความจาเป็นของความสะดวกสบายและความจูงใจให้คนไข้เข้ามีส่วนร่วม 6.5 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยหรือการให้การรักษา 6.5 เพื่อบรรเทาอาการก้าวร้าวของคนไข้ 8. เพื่อรักษากาลังใจของคนไข้ 9. เพื่อสอนทักษะที่เกิดประโยชน์ในการสร้างความสะดวกสบายภายหลังที่ออกจากโรงพยาบาลไป แล้ว หมายเหตุ เป้ าหมายที่ 2 , 3 อยู่ในลาดับเท่ากัน น้าหนัก 2.5 , เป้ าหมายที่ 6 , 7 อยู่ในลาดับที่เท่ากัน น้าหนัก 6.5 ในปัจจุบันนี้การจัดบริการนันทนาการสาหรับผู้ป่ วยทางจิตนั้นมีความตื่นตัวมากขึ้น ด้วย แนวความคิดที่กาลังเปลี่ยนไป รวมทั้งเทคนิคการวินิจฉัยโรคและการให้การรักษาด้วย แนวคิดสมัยใหม่ใน การรักษาทางจิตเวชนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ “ ศูนย์สุขภาพจิตชุมชนในท้องถิ่น ” ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงงานบริการ ทางจิตเวชเข้าด้วยกัน วิธีการรักษาแผนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาระงับประสาทและยาชนิดใหม่ๆที่มี ประสิทธิภาพสูง ได้นามาสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้และได้ก่อให้เกิดแนวทางในการรักษาโรคจิต ซึ่งเน้นถึงความต่อเนื่องในการรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยจนกระทั่งผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ตามปกติ ฝนหลายๆรัฐนั้น จานวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลโรคจิตได้ลดลงอย่างมาก ในขณะที่มีการเพิ่มการ ให้บริการคนไข้นอกขึ้นถึง 10 เท่า เน้นที่การอาสาสมัครและให้คนไข้มีความรับผิดชอบมากขึ้น ปัจจัย สาคัญต่อแนวทางนี้คือ การจัดให้มีศูนย์สุขภาพจิตในชุมชนขึ้น โดยการให้บริการทางจิตบาบัดและอื่นๆ รวมทั้งนันทนาการด้วย 1.1 โปรแกรมต่างๆภายในศูนย์บาบัดทางจิตเวช
  • 7. นันทนาการในโรงพยาบาลโรคจิตเท่าที่ปฏิบัติกันมานั้น นอกเหนือจากการจัดรายการและมี กิจกรรมพิเศษ ( ภาพยนตร์และการบันเทิงรูปแบบอื่น ) แล้วยังมีรายการตามปกติต่างๆอีก เช่น กีฬาและ เกมส์ และหัตถกรรม ดนตรี เต้นรา หรืองานสังคมอื่นๆ อีกด้วย ในทศวรรษ 1960 และ 1970 การเน้นที่ กิจกรรมที่ค่อนข้างเป็นทางการเริ่มน้อยลง และกลับมาเน้นสร้างสรรค์หนักไปทางด้านให้ความรู้สึกละเอียด หรือมีการทางานร่วมกัน เช่น การร่วมวงดื่มกาแฟและสนทนากัน การแต่งตัว ลีลาบาบัดหรอการบาบัด อาศัยการเต้นรา ละคร และกลุ่มวรรณศิลป์ โยคะ การทาอาหารและงานกิจวัตรประจาวันอื่น งานอดิเรก ส่วนตัว การละเล่นใหม่ๆ และโครงการที่มีความแปลกใหม่อื่นๆ โปรแกรมขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ใหญ่ๆ คล้ายกับของสมาคมนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษาแห่งชาติที่แถลงความมุ่งหมายไว้เมื่อปี 1982 ได้แก่ 1.กลุ่มนันทนาการบาบัด ประกอบไปด้วยกิจกรรมภาคบังคับ เน้นเป้ าหมายการรักษาเฉพาะทาง ( เพื่อทาการประเมินค่าความสามารถคนไข้ ยกระดับความสัมพันธ์และการสังคม รวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็ง ให้ตัวคนไข้ ) 2.กิจกรรมเพื่อสร้างความสบายใจ ประกอบด้วยการให้คาปรึกษาและให้การศึกษาเพื่อรับทัศนคติ ที่น่าพึงพอใจของคนไข้ ทักษะและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร 3.โปรแกรมเพื่อเสริมเวลาว่าง ให้คนไข้สมัครใจเข้ามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เพื่อยกระดับความเป็นตัว ของตัวเอง ความชื่นชมตัวเอง และความสนุกสนานเพลิดเพลิน ภายใต้ขอบเขตของงานนี้ได้มีการพัฒนากลุ่มพิเศษประเภทต่างๆขึ้นมามากมาย ซึ่งเป็นลักษณะ ของงานสร้างความท้าทายและการปฏิบัติต่อกันระหว่างคนไข้ งานเหล่านี้รวมถึง ความคิดริเริ่ม เป็นความคิดริเริ่มที่เกิดจากงานทางด้านกายภาพ ซึ่งมีความล่อแหลมมากต่อ ทางด้านจิตวิทยา คนไข้กลุ่มเล็กๆจะพยายามรวบรวมทรัพยากรที่เขามีอยู่เพื่อเผชิญกับความท้าทายซึ่งเกิด กับพวกเขา จุดประสงค์ของความคิดริเริ่มนี้รวมถึงเพื่อให้มีการเฝ้ าสังเกตและเปรียบเทียบกัน ตัดสินใจ อย่างมีเสรีและเป็นตัวของตัวเอง การปรับสภาพทางกายภาพ เป็นการเปิดห้องกว้าง มีกิจกรรมรวมกัน ชาย – หญิง เพื่อการปฏิบัติ ต่อกันโดยอาศัยการออกกาลังกายทั้งที่เป็นส่วนตัวและเป็นกลุ่ม ซึ่งคิดขึ้นเพื่อบรรลุความต้องการของคนไข้ แต่ละรายในวัยต่างๆกัน ความมุ่งหมายของงานนี้เพื่อยกระดับความต้องการของการออกกาลังกาย การ ควบคุมด้านอาหารและการปรับบรรยากาศความสัมพันธ์ทางกายภาพทางสังคม และด้านอารมณ์ นันทนาการบาบัด คนไข้ที่ได้รับการจัดเข้าเป็นกลุ่มนันทนาการนั้น ต้องสามารถปฏิบัติตามที่ ซับซ้อนด้วยการชี้นาทางวาจาท่าทางได้ สามารถร่วมมือคนไข้กับคนอื่นได้และรับสภาพการแข่งขันได้ กิจกรรมเหล่านี้เป็นการส่งเสริมการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล เพิ่มความสนุกสนานและการพักผ่อน
  • 8. สาหรับโปรแกรมเพื่อเสริมเวลาว่างในตอนเย็นนั้น คนไข้อาจจะเลือกเข้าร่วมกิจกรรมหรือเพื่อ เป้ าหมายด้านการบาบัดเพิ่มเติมก็ได้ กิจกรรมจะมีความแตกต่างกันไปทุกเย็นในแต่ละสัปดาห์รวมทั้งเกมส์ ทางด้านร่างกาย การบริหารทรวดทรง ศิลปะและหัตถกรรม 1.2 บทบาทให้คาปรึกษาเพื่อความสบายใจ องค์ประกอบสาคัญที่ให้ความช่วยเหลือให้คนไข้กลับเข้าสู่สังคม คือ การพัฒนาด้านด้านการให้ คาปรึกษาเพื่อให้คนไข้เกิดความสบายใจ การอภิปรายส่วนตัวและกลุ่ม หรือการเปิดโอกาสในการศึกษา จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปนี้ ( 1 ) เพื่อช่วยให้คนไข้เข้าใจถึงบทบาทของเวลาและ นันทนาการในชีวิตของเขาเอง ( 2 ) เพื่อเสริมสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นและเชื่อมโยงคนไข้เข้ากลับ ครอบครัว เพื่อนฝูง ( 3 ) เพื่อแนะนาเพื่อนใหม่และกลุ่มคนอื่นๆในชุมชนกับคนไข้ ( 4 ) เพื่อเคลื่อนไหว ความพยายามของชุมชนในการยอมรับคนไข้โรคจิตกลับเข้าสังคม และให้พวกเขาสามารถเข้าร่วมกิจกรรม ทั่วๆไปได้ 1.3 การศึกษายามว่างกับการจัดตั้งชุมชนเพื่อสุขภาพจิต ในขณะที่แนวทางนี้เริ่มมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษา อยู่ตามศูนย์สุขภาพจิตชุมชนก็ได้ให้คาปรึกษาเพื่อความสะดวกสบายแก่คนไข้ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของ กระทรวงการศึกษายามว่างที่กว้างขวางขึ้น เขาชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ความคิดหลักของสถานบริการเหล่านี้อยู่ที่การช่วยเหลือคนไข้ให้กลับหลัง ในการทางานอีกครั้ง คนไข้ส่วนมากไม่สามารถบรรลุขั้นตอนเหล่านี้ไปได้และต้องเสียเวลาไปมากเรื่องที่ไม่ เกี่ยวข้องกับการทางานและการบาบัด จากการอ้างผลการศึกษาคนไข้ที่ได้รับการส่งตัวกลับบ้านโดรง พยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่งทางตอนใต้ ได้แสดงให้เห็นว่าคนไข้ที่กลับไปแล้วและไม่ต้องมาเข้าโรงพยาบาล ดังนั้นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการใช้เวลาว่างเพื่อความสบายใจเมื่อครั้งเข้าโรงพยาบาลแรก มากกว่าผู้ ที่ต้องกลับเข้ารับการรักษาอีกครั้ง แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการใช้แนวทางนี้ไปมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องมีความถามที่สาคัญ จะต้องถูกยกขึ้นมา เกี่ยวกับการขยายตัวของบริการนันทนาการที่มีความจาเป็นจะต้องจัดให้แก่ผู้ป่วยทาง จิต หรือได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจที่อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งจะได้มีการอธิบายกันอย่างละเอียด ต่อไป การนันทนาการสาหรับผู้ปัญญาอ่อน บุคคลปัญญาอ่อน หมายถึงเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องอย่างเห็นได้ชัดเกี่ยวกับ ความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคม กระทรวงแรงงานของอเมริกาได้ประมาณว่าในแต่ละปี จะมีผู้ปัญญาอ่อนเกิดขึ้นประมาณ 125,000 คน และมีความอเมริกันประมาณ 6 ล้านคนที่มีอาการ ทางด้านนี้ไม่มากก็น้อย และคนอเมริกัน 30 ล้านคน ( หมายถึงครอบครัวของผู้ปัญญาอ่อน ) ที่ต้องได้รับ ผลกระทบจากปัญหานี้
  • 9. ได้รับการประมาณว่าในจานวนเด็กปัญญาอ่อนทุกรายที่เข้าเรียนในโรงเรียนพิเศษที่จัดขึ้นนั้น 4 รายที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือพิเศษ โดยเฉพาะในการเล่น ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องปกติที่จะได้รับการรักษา ก็ยัง ต้องขาดหายไปจากชีวิตของเด็กปัญญาอ่อนเหล่านี้สตีน ( STIGN ) กล่าวว่าเด็กๆที่ปัญญาอ่อนทั้งหลาย มิได้เล่นหัวกันอย่างเป็นธรรมชาติเหมือนกับเด็กทั่วไป พวกเขาต้องได้รับการสอนถึงวิธีการเล่น ทั้งเป็นการ เล่นลาพัง เล่นเป็นคู่หรือเล่นเป็นกลุ่มก็ตาม ทักษะและความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายอันเป็น พื้นฐานในการเล่นและนันทนาการที่เด็กทั่วไปสามารถเรียนรู้จากการเข้าสังคมและเล่นกับเพื่อนๆนั้น จาเป็นต้องสอนให้เก็บเด็กปัญญาอ่อน โรงเรียนหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับคนปัญญาอ่อนมีโปรแกรมสาหรับพวกเขาจากัดมาก ได้มีการให้ ความสนใจเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับนันทนาการและความต้องการทางสังคมของคนปัญญาอ่อน มาจนกระทั่ง ทศวรรษ 1960 หน่วยงานสาธารณะชนและองค์กรอาสาสมัครต่างๆ ได้เริ่มโปรแกรมพิเศษสาหรับคน ปัญญาอ่อน โดยการสนับสนุนของมูลนิธิโจเสฟ พี. เคนเนดี้โปรแกรมเหล่านี้มีความสาคัญมากเนื่องจากที่ ผ่านมานั้น คนปัญญาอ่อนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นสถาบัน แต่อาศัยอยู่กับครอบครัวเท่านั้น โปรแกรม ( HRANS ) อธิบายข้อเปรียบเทียบระหว่างเด็กปัญญาอ่อนกับเด็กปกติสามัญว่า เด็กปัญญา อ่อนที่อยู่กับบ้านนั้นมีโอกาสรับนันทนาการน้อยมาก เขาอาจจะเป็นเพื่อนกับเด็กในชั้นเรียนเดียวกันเท่านั้น แต่เด็กปกติสามารถกลับมาเล่นกับเพื่อนที่บ้านหลังจากเลิกเรียนแล้วได้ด้วย เด็กปัญญาอ่อนจะเดินทาง จากบ้านซึ่งอยู่คนละส่วนในเมืองและมีเพื่อนเพียงไม่กี่คนในละแวกบ้าน สถานการณ์คล้ายๆกันนี้เกิดกับ ผู้ใหญ่ที่ปัญญาอ่อนเช่นกัน เนื่องจากต้องทางานอยู่แต่ในโรงงานที่ที่จากัดหรือมิฉะนั้นก็ไม่ได้ทางานเลย คนเหล่านี้ต้องอยู่ในสภาพถูกบังคับ เขาจะมีเวลาที่ถูกกาหนดไว้ให้ในแต่ละวัน 6 – 8 ชั่วโมง และในช่วงวัน สุดสัปดาห์หรือวันหยุดอาจจะมีเวลามากกว่านี้แต่จะไม่มีกิจกรรมอะไรไว้รองรับเลย หลายคนได้เพียงแต่ นั่งและดูโทรทัศน์เท่านั้น ความมุ่งหมายของโปรแกรมในชุมชนหลายๆอย่างนั้นไม่เพียงแค่จัดให้มีกิจกรรม ยามว่างอันต้องการสร้างความพึงพอใจให้แก่คนปัญญาอ่อนเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยเหลือพัฒนาในทุก รูปแบบ ความหมายเฉพาะของโปรแกรมเหล่านี้ ( 1 ) เพื่อให้มีข้อมูลและการศึกษาด้านนันทนาการ ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาขีดความสามารถส่วน บุคคลเพื่อให้บรรลุถึงความต้องการเรื่องความสะดวกสบายของตัวเองได้ ( 2 ) เพื่อใช้นันทนาการเพื่อการปรับปรุงด้านสุขภาพทั่วๆไป ลดท่าทางที่ไม่เป็นปกติลงให้น้อยที่สุด และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อให้ผู้ปัญญาอ่อนสามารถเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น ( 3 ) เพื่อช่วยในการเรียนรู้และฝึกเกี่ยวกับทักษะด้านสังคมและนันทนาการ ( 4 ) ให้คาปรึกษาแก่คนปัญญาอ่อนทั้งเด็กและผู้ใหญ่เกี่ยวกับแหล่งนันทนาการที่มีในชุมชนพร้อม ทั้งจัดโอกาสให้ได้เข้ามีส่วนร่วมด้วย
  • 10. ( 5 ) ทาหน้าที่เป็นคนติดต่อระหว่างชุมชนและคนปัญญาอ่อน รวมทั้งครอบครัว เพื่อยกระดับให้ คนปัญญาอ่อนเป็นที่ยอมรับในโครงการของชุมชนและสถานบริการต่างๆ ( 6 ) ประสานความพยายามทั่งทั้งชุมชนเพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของคนปัญญาอ่อน นอกเหนือไปจากโปรแกรมนันทนาการแล้ว นันทนาการระดับอาชีพได้เสริมการให้คาแนะนาการ บาบัดรักษาเฉพาะเกี่ยวกับบริการชุมชนอื่นๆ ที่ง่ายๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่คนปัญญาอ่อน การกีฬาเฉพาะ โปรแกรมด้านสังคม งานอดิเรก และการจัดไปเที่ยวพิเศษ โปรแกรมเหล่านี้มีส่วนอย่างในการพัฒนาชีวิต สาหรับคนปัญญาอ่อนในชุมชน และบางทียังเป็นการเพิ่งขีดความสามารถที่จะใช้ชีวิตตามลาพังอย่างมี ความสุขได้อีกด้วย นันทนาการสาหรับผู้สูงอายุ พลเมืองอเมริกันที่เป็นผู้สูงอายุนี้ได้มีการแสดงท่าที่ที่เด่นชัดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องบริการนันทนาการในปี 1900 มีคนอเมริกันที่อายุเกิน 65 ปี เพียง 3.1 ล้านคน หรือหนึ่งคนจาก 25 คน เนื่องมาจากพืชภัณฑ์สมัยใหม่และ การมีอายุยืนยาวขึ้น ทาให้การสารวจในปี ค.ศ. 1980 พบว่ามีผู้ที่อายุ 65 ปี หรือมากกว่าอยู่ 25.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 1970 จานวน 28 % จากการพยากรณ์คาดว่าก่อนสิ้นศตวรรษนี้จะมีคนอเมริกันที่อายุเกิน 65 ปีมากกว่า 30 ล้านคน ซึ่ง 2 ใน 3 ของจานวนนี้จะอยู่ในกลุ่ม 75 ปี หรือมากกว่า และต้องบริโภคบริการ ต่างๆทั้งด้านสุขภาพโรงพยาบาล และบริการด้านการดูแลพยาบาล ดังนั้นผู้ที่มีความสามารถเกี่ยวข้องกับ การให้บริการแก่คนสูงอายุจะต้องพิจารณาห้วงต่างกัน 4 ห้วง ต่อไปนี้คือ ก่อนเกษียณอายุ หลัง เกษียณอายุ ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และปีหลังจากนั้น 3.1 ก่อนเกษียณอายุ ในช่วงเวลาที่อายุ 50 และ 65 ปีนั้นจะมีภาระเกี่ยวกับทางเศรษฐกิจ เช่น ต้องเลี้ยงดูเด็กๆ การ ตกแต่งบ้านและการปรับปรุงสิ่งที่ชารุดทรุดโทรม ในช่วงที่ควรจะได้มีการเตรียมการสาหรับเกษียณอายุ ใน บางประเทศ เช่น สวีเดน ได้มีการกาหนดแผนงานให้คนมีชั่วโมงการทางานน้อยลงเรื่อย อายุ 60 ถึง 70 ปี โดยอาจให้ทางานไม่เต็มเวลาและเริ่มให้รับบานาญเป็นบางส่วน ทาอย่างนี้จนถึงช่วงที่ต้องเกษียณจริง สามารถปรับตัวได้ 3.2 ช่วงหลังเกษียณอายุ ตอนนี้ความรับผิดชอบด้านการงานได้จบสิ้นลงแล้ว หลายคนที่ต้องประสบปัญหาที่ต้องมีเวลาว่าง ในส่วนอีกหลายคนนั้นถือว่าการติดต่อด้านสังคมและความรู้สึกได้รับความสาคัญจากหน้าที่การงานก็ถึง ขีดสุดไปด้วย และจะเกิดความพยายามที่จะแสวงหาเพื่อนพ้องและความผูกพันใหม่ๆขึ้น พวกที่มีฐานะเงิน ดีมักจะเข้าร่วมสมาคมผูที่เกษียณด้วยกัน ซึ่งสามคมเหล่านี้มักจะมีโครงการพิเศษและสิ่งอานวยความ สะดวกอื่นๆ บางแห่งมีสโมสรต่างๆถึง 160 ประเภท 3.3 ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
  • 11. อยู่ระหว่าง 75 – 85 ปี ส่วนใหญ่จะเริ่มมีการถดถอยทางกายภาพ โดดเดี่ยวจากสังคมมากขึ้นต้อง เข้ารับรักษาดูแลจากบ้านพักคนชรา แม้ว่าจะต้องมีความสูญเสียความคล่องแค่ลงและความสามารถด้าน ร่างกายอื่นอีกอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่จาเป็นว่าจะต้องสูญเสียการทางานของอวัยวะสาคัญๆไปด้วย และ อายุหลายคนก็สามารถรักษาสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ไว้ได้ ทั้งด้านอารมณ์และด้านสังคม 3.4 ช่วงหลังจากหัวเลี้ยวหัวต่อ ช่วงเวลาที่เหลือนี้มีโอกาสจะเป็นช่วงแห่งความพิการ มักจะมาในรูปของการไร้ความสามารถต่อ ร่างกายและความทรงจา แม้ว่าจะมีคนแก่บางรายที่มีอายุกว่า 80 – 90 ปี แล้วยังสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ ก็ตามแต่ส่วนใหญ่แล้วจะต้องพึงพาคนอื่นมากขึ้นและมักจะต้องได้รับการรักษาตัวหรือรับการคุ้มครองกับ สถาบันที่เกี่ยวข้อง จานวนคนสูงอายุที่เพิ่งขึ้นภายใต้สังคมสมัยใหม่ ทาให้ช่วงอายุหลังจาก 65 ปี เป็นเวลาแห่งความ โดดเดี่ยวและเศรษฐกิจไม่ค่อยมั่นคง ในช่วงของทศวรรษที่ 20 นั้น คนสูงอายุถูกโดดเดี่ยวมากอย่างเด่นชัด เนื่องจากโครงสร้างของครอบครัว คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ไดมีครอบครัวที่ผูกพันชิดใกล้กันอีกต่อไปแล้วมัก แยกตัวออกจากพ่อแม่ ในปัจจุบันคนสูงอายุมีแนวโน้มที่จะถอนตัวออกจากการเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น นักสังคมกลุ่มหนึ่ง อธิบายอาการเช่นนี้ด้วยทฤษฏีแห่งการปล่อยวาง ซึ่งหมายถึงการถอนตัวออกจากการข้องเกี่ยวทางสังคม เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น นักทฤษฏีนี้ถือว่าเป็นการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างนั้น กระบวนการ ที่เป็นและไม่สามารถเลี่ยงได้สาหรับคนสูงอายุ เป็นหนทางที่พวกเขาเลือกก่อนจะถึงจุดจบแห่งชีวิต 3.5 ผลกระทบจากการมีอายุมากขึ้น คนหลายคนมักจะมองกระบวนการที่เกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วยความหวาดกลัว อย่างไรก็ตาม การศึกษาเปิดเผยว่าคนอายุ 70 – 80 ปี จานวนไม่น้อยเลยที่เดียวที่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางเพศอยู่เป็น ลักษณะคู่สมรสและไม่ใช่ กฎหมายประกันสังคมของเราได้กาหนดโทษหญิงหม้ายที่แต่งงานใหม่ควรตัดเงิน ประกันสังคม และด้วยเหตุผลนี้ที่ทาให้คนแก่ที่เกษียณแล้วใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันโดยไม่แต่งงานเลี่ยงการถูกตัด เงินดังกล่าว ประเด็นอยู่ที่ว่าคนสูงอายุยังคงมีความต้องการและความอยากอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์เขายังมี สุขภาพร่างกายและอารมณ์ที่สมบูรณ์อยู่ ก็ควรจะยังมีโอกาสเต็มที่ที่จะสร้างมิตรสัมพันธ์กับสังคม สร้างสรรค์ความคิดและนันทนาการ ถ้าเราปฏิเสธโอกาสเหล่านี้ก็เท่ากับว่า เป็นการคนสูงอายุทั้งทางด้าน จิตใจและร่างกาย อัตราการฆ่าตัวตายของคนอายุ 65 ปีหรือแก่กว่ามีสูงกว่าวัยอื่นๆ ความว้าเหว่ก็ส่งผลให้ คนแก่ต้องเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง อัตราการเสียชีวิตที่มีผลเนื่องมาจากวัยของคนสูงอายุนั้น เพิ่มขึ้นกว่า 50 % ระหว่างทศวรรษ 1950 และ 1960 การเปรียบเทียบคนสูงอายุว่าเสมือน “ สัญลักษณ์ของความชราภาพ ” และต้องประสบกับการถูก ทิ้งต่างๆนานานั้น เป็นการลงความเห็นที่ไม่ถูกต้องอย่างชัดเจนที่เดียว
  • 12. ความพิการด้านการทางานต่างๆของร่างกายที่แท้จริงที่เกิดกับคนสูงอายุ เนื่องจากพวกเขาถูกส่ง เข้าโรงพยาบาลหรือเนิร์ซริ่ง โฮม เพื่อการพักฟื้นเริ่มมีอาการเซื่องซึมอย่างรวดเร็ว และก็ต้องเสียพฤติกรรมที่ เคยเป็นตัวของตัวเองไปด้วย ส่วนใหญ่เนื่องจากการบาบัดที่ให้นั้นเป็นการบั่นทอนความกระตือรือร้นที่จะ เข้าร่วมสังคมของพวกเขา มันยังมีทางเป็นไปได้ที่จะหยุดวิธีการเหล่านี้และเพื่อต้านกับการรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกปฏิเสธ และสูญเสียความนับถือตัวเอง ซึ่งมักมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่ถูกส่งเข้าเนิร์ซริ่ง โฮม 3.6 คุณค่าของนันทนาการสาหรับผู้สูงอายุ ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ได้มีการเพิ่มการตระหนักมากขึ้นถึงความสาคัญของประโยชน์จากการที่จัด ให้ผู้สูงอายุ กล่าวง่ายๆว่ามันเป็นการช่วยรักษาสุขภาพร่างกายและความฟิต พัฒนาอารมณ์ ความ สร้างสรรค์หรือกระตุ้นความคิดใหม่ๆ เพื่อการเข้าร่วมสังคม และให้โอกาสในการมีบทบาทของตนเอง ความท้าทายที่สาคัญที่สุดสาหรับเราในปัจจุบันนี้คือ การทาให้ชีวิตของคนสูงอายุที่อยู่ตามชุมชน สุขเสมือนเป็นรางวัลชีวิต มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ เพื่อป้ องกันความพิการ การถอนตัวออกจากสังคมและ เรื่องเข้าสถานบาบัดพักฟื้นต่างๆ หน่วยงานเพื่อคนสูงอายุของรัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่รัฐ และชุมชนต่างๆ ในการพัฒนาโปรแกรมสาหรับผู้สูงอายุและให้ทุนวิจัยเรื่องนี้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เน้นถึงเรื่อง เวลาในชีวิตของคนสูงอายุ ได้มีการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ โดยได้รับทุนเป็นพิเศษจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน การจัดให้มีบริการทางสังคมและด้านนันทนาการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนักโดยหน่วยงาน ราชการและอาสาสมัครนั้นมีความจาเป็นสาหรับคนสูงอายุจานวนหลายล้านคนที่มีรายได้ต่า ชุมชนหลาย พันแห่ง ได้จัดตั้งศูนย์และสโมสรสาหรับผู้สูงอายุขึ้นและมักเปิดโอกาสเต็มที่ทั้งด้านงานอดิเรก กิจกรรม สังคม กลุ่มที่มีความสนใจพิเศษเรื่องต่างๆและให้โอกาสมีความรับผิดชอบ เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ เป็น กรรมการสมาชิก หรือมีส่วนในการทางานของสโมสร เพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของคนสูงอายุอย่างมี ประสิทธิภาพนั้น นันทนาการไม่ควรถูกจับแยกออกจากบริการด้านอื่นๆ แต่จะต้องผสมผสานกันกับเรื่อง สุขภาพอนามัย โภชนาการ ที่อยู่อาศัย กฎหมาย เศรษฐกิจ และความช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ 3.7 บริการดูแลพิเศษช่วงกลางวันสาหรับผู้สูงอายุ เป็นโครงการอย่างหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้มีลักษณะเป็นศูนย์ ซึ่งปกติจะอยู่กับ โรงพยาบาล หรือบริเวณเดียวกับศูนย์บริการอนามัยชุมชน ให้บริการแก่คนสูงอายุที่ต้องอยู่กับบ้านและมี ความไม่สมประกอบร้ายแรงพอสมควร ในแต่ละวัน ช่วงกลางวันจะมีผู้คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้าน การแพทย์และสังคมรวมทั้งนันทนาการและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ นิตยสารไทม์ ได้รายงานว่ามีการตั้ง ศูนย์ให้บริการช่วงกลางวันนี้มากกว่า 800 แห่ง ใน 44 รัฐ จากจานวนประชากรที่สูงอายุที่กาลังเพิ่มมากขึ้น ทุกวัน โครงการนี้จัดเป็นวิธีแก้ปัญหาที่สามารถให้ความสุขแก่ผู้สูงอายุได้ 4. บริการนันทนาการกับคนพิการทางร่างกาย
  • 13. ส่วนหนึ่งของประชากรในชาตินั้น ได้รวมเอาคนที่มีความพิการทางร่างกายเข้าไว้ด้วย ได้แก่ ผู้ที่แขน ขา ขาด เป็นอัมพาต คนตาบอดหรือสายตาไม่ดี คนหูตึง เป็นต้น จากการเผยแพร่ของสมาคมวนอุทยาน แห่งชาติ มีคนอเมริกันมากกว่า 67 ล้านคนที่มีสภาพจากัดทางร่างกาย ที่จาเป็นต้องได้รับความสนใจเป็น พิเศษเกี่ยวกับบริการนันทนาการภายนอกบ้าน บ่อยครั้งที่คนพิการต้องถูกกีดกันจากการได้รับความ สนุกสนานกิจกรรมอย่างว่างอย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่เนื่องจากสาเหตุแห่งความพิการที่เป็นอยู่เท่านั้น แต่ยัง เนื่องจากสังคมไม่เต็มใจที่จะให้การส่งเสริมหรือช่วยเหลือมนการเข้าร่วมของพวกเขาอีก และจากการ ออกแบบสถานที่อาคารต่างๆ อย่างไม่คานึงถึงคนพิการว่าจะสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ 4.1 ประเภทและผลกระทบจากความพิการทางร่างกาย แม้ว่าในสังคมปัจจุบัน มันเป็นการยากที่จะรวบรวมสถิติเกี่ยวกับประเภทของความพิการที่มีมาก อย่างถูกต้อง แต่ก็มีรายงานช่วงกลางทศวรรษ 1970 ว่าในสหรัฐอเมริกามีคนอเมริกันที่ใช้เก้าอี้เข็นมาก ถึง 400,000 คน 1.1 ล้านคนต้องใช้เบรสหรือเครื่องช่วยพยุงขา 2.1 ล้านคนใช้ไม้เท้า 404,000 เครื่องช่วยเดิน หรือว้อคเกอร์ 443,000 คนใช้ไม้ยันรักแร้หรือครัทช์ 172,000 คนใช้แขนขาเทียมกว่า 600,000 คน ที่มี อาการทางสมองหรือซีรีบรัส พัลซี่ คนตาบอดที่ขึ้นทะเบียนอีกประมาณ 430,000 คน คนหูตึง เป็นโรคข้อ โรคหืดและพิการประเภทอื่นๆ อีกจานวนใกล้เคียงกัน 4.2 เป้ าหมายและโครงการสาหรับคนพิการทางร่างกาย โปรแกรมนันทนาการที่จัดสาหรับคนพิการนั้นมีเป้ าหมาย 8 ประการดังต่อไปนี้ 1.เพื่อเสริมสร้างขวัญแกคนพิการและปรับตัวเข้ากับสภาพการรักษาในกรณีที่เขาต้องได้รับการ รักษาจากโรคลมชัก โรคหัวใจ หรืออุบัติเหตุอย่างสาหัส 2.เพื่อเสริมกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการจัดให้มีการออกกาลังกายเพื่อช่วยฟื้นฟูในส่วน ของร่างการที่ได้รับผลกระทบ 3.เพื่อขอโอกาสให้คนพิการที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในเมืองหรือชุมชนและไม่ได้รับการรักษาตามตรง สามารถใช้เวลาว่างอย่างพึงพอใจและสร้างสรรค์ 4.เพื่อเพิ่มความเป็นตัวของตัวเองในสังคมให้มากขึ้น และให้มีการรวมกลุ่มเพื่อผลทางด้านการเข้า รวมเมื่อมีโอกาส 5.เพื่อช่วยบรรเทาภาระของครอบครัวที่มีคนพิการทั้งในด้านจิตใจและเวลาที่ต้องเสียไปกับการ ดูแลคนพิการอย่างไม่มีสิ้นสุด 6.เพื่อช่วยให้คนพิการทางร่างกายสามารถหาสิ่งทดแทนที่ไม่สมประกอบของตัวเองโดยการทา กิจกรรมอื่นๆที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความพิการ 7.เพื่อยกระดับกิจกรรมด้านพลศึกษาเป็นการสร้างสุขภาพอนามัยและกันมิให้อวัยวะส่วนที่ไม่ได้ ใช้งานนานๆต้องเสื่อมสภาพลงไปได้อีก
  • 14. 8.เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนพิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตในชุมชนมากขึ้นและเสริมความข้องเกี่ยวกับ งานสังคมอื่นๆ อาชีพ การศึกษาและอื่นๆ ที่เกี่ยวกับคนทั่วไป โดยการจัดเป็นตารางปฏิบัติวงรอบอันเป็น การเสริมความรู้สึกที่เป็นปกติมากขึ้น 4.3 ตัวอย่างความพิการเฉพาะอย่าง – การสร้างสังคมใหม่ให้กับผู้เป็นลม ( สโตรกด์ ) เพื่อเป็นการอธิบายให้เห็นว่านันทนาการนั้นสามารถนามาประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้ าหมายเฉพาะ สาหรับความพิการที่กาหนด จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมนันทนาการเพื่อการบาบัดรักษาขึ้นเป็นจานวน มากในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชีวิตสังคมใหม่ให้กับผู้เป็นโรคลม โรคลมหรือสโตรกด์ เกิดขึ้นเมื่อมี โลหิตขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอหรือถูกตัดขาดไปเลย ส่งผลให้เซลล์ประสาทในส่วนนั้นของสมองหยุดการ ทางานเกิดอาการสาหัสอย่างถาวรหรือชั่วคราว มักรวมถึงอาการอ่อนเพลีย สูญเสียความรู้สึกหรือ อัมพาต ข้างหนึ่งข้างใด เกิดปัญหาเรื่องการมองเห็น การเดิน และการพูดหรือการเข้าใจ หลังจากที่คนไข้ผ่านการรักษาจากโรงพยาบาลหรือการฟื้นฟูขั้นต้นแล้ว เขาจะยังคงต้องเผชิญกับ ความเป็นจริงของครอบครัวและสภาพแวดล้อมทางสังคม การปรับตัวใหม่และความสิ้นหวังต่างๆทาให้เกิด ความท้อแท้และอาการถดถอยทางร่างกายและอารมณ์ แพทย์เน้นว่าช่วงปีแรกหลังจากเป็นโรคจะมี ความสาคัญมาก ผู้ป่วยต้องก้าวออกมาสู่โรคภายนอก ครอบครัวของเขาต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ เฮิร์สได้อธิบายโปรแกรมนี้ว่า “ นักนันทนาการบาบัดในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคณะทางานฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่างกาย จะทางานร่วมกับตัวคนป่วยและครอบครัวเพื่อช่วยให้คนป่ วยกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกภายใต้ สภาพแวดล้อมในบ้านหรือชุมชน นักนันทนาการบาบัดจะสอนคนป่วยถึงวิธีการปรับตัวเข้ากับเวลาว่างและ งานอดิเรก ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะได้รับการสอนทักษะใหม่ๆแทน ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือ ส่วนตัว คนไข้จะสามารถพัฒนาภาพพจน์ตัวเองมากขึ้น ทั้งตัวคนไข้และครอบครัวปรับตัวด้านสังคมอย่าง สาคัญ คนป่วยและสมาชิกครอบครัวจะร่วมเดินทางไปไหนมาไหนด้วยกันภายในชุมชน ” แมคนีล และพริงนิตช์ ได้ชี้แจงว่าแต่ละปีมีคนอเมริกันเป็นโรคนี้ราว 5 แสนราย 40 % ต้องเสียชีวิต ส่วนใหญ่จะรอดชีวิต จากสถิตินี้สถาบันประสาท ความบกพร่องทางด้านการสื่อสารและโรคลมแห่งชาติ ได้สรุปว่า “ โรคนี้ได้ทาให้คนสูญเสียความสามารถเป็นจานวนมากกว่าที่ทาให้เสียชีวิต และอาจจะเป็น สาเหตุนาแห่งความพิการระยะยาวในสหรัฐอเมริกา ” คอร์เบต ได้เขียนเรื่องหนทางสาหรับคนพิการที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังว่า นอกเหนือจากกิจกรรมต่างๆที่เห็นได้ชัด เช่น อ่านหนังสือ ถักไหมพรม เล่นไพ่ ศิลปะ การทาสวนและงาน อดิเรกอื่นๆแล้ว พวกเขายังสามารถทาอย่างอื่นที่เป็นการฆ่าเวลาได้อีก ได้มีการประดิษฐ์เครื่องอานวย ความสะดวกพิเศษในการเล่นโบว์ลิ่ง บิลเลียร์ด เทเบิลเทนนิส และการละเล่นอื่นๆ อีกมากมาย 4.4 การจัดโปรแกรมกีฬาสาหรับคนพิการทางร่างกาย ทั้งคนทั่วไปและคนมีอาชีพด้านนันทนาการมักจะมีสายตาคับแคบ ทาให้ไม่สามารถเข้าใจถึง ศักยภาพของคนพิการอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น มีคนเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าคนตาบอดสามารถเล่นสกีได้โดยมี
  • 15. เพื่อนคอยบอกทิศทางให้ข้างๆและสามารถเล่นบนเขาสูงชันได้อย่างชานาญ หรือคนทั่วไปอาจต้องตะลึง เขาเดียวสกี นี่เป็นเพียงสองตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคนพิการที่เอาชนะความพิการด้วยการเล่นกีฬาที่ค่อย ข้างเสี่ยง กีฬาสาหรับผู้ใช้เก้าอี้เข็นก็เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากแรงกระตุ้นจากผลของสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่มีทหารผ่านศึกมากมาย ต้องขาขาดขาเดียวบ้าง สองข้างบ้าง สมาคมการกีฬาบนเก้าอี้เข็น แห่งชาติ และการแข่งขันกีฬาบนเก้าอี้แห่งชาติที่จัดขึ้นทุกปีในสหรัฐอเมริกาได้ ช่วยให้คนพิการจานวนมาก มีส่วนร่วมในการแข่งขันบาสเก็ตบอลบนเก้าอี้เข็น กีฬาลู่เกาะลาน และกีฬาประเภทอื่นๆได้อีกมาก ตั้งแต่ปี 1960 เริ่มมีการแข่งขันกีฬาบนเก้าอี้เข็นระดับนานาชาติขึ้น คือ พาราลิมปิก จัดประจาที่โตก แมนดวิลล์ ประเทศอังกฤษ และมีการจัดการแข่งขันพิเศษขึ้นอีกทุกๆ 4 ปี ภายหลังจากกีฬาโอลิมปิก โดยประเทศ เจ้าภาพโอลิมปิก เป็นผู้รับผิดชอบในปี 1976 คนพิการ 17,000 คนจาก 70 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน โอลิมปิกพิเศษที่แคนนาดา ความสาเร็จของพวกเขาบางอย่างน่าทึ่งมาก เช่น นักวิ่งชาวโปรแลนด์ซึ่งเป็นคน ตาบอดสามารถทาเวลาในการวิ่งระยะทาง 100 เมตรได้ 11.5 วินาที 4.5 โปรแกรมและสิ่งอานวยความสะดวกพิเศษ ความก้าวหน้าในเรื่องนี้สามารถเห็นได้จากได้มีการออกแบบสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆเป็น พิเศษ เพื่อให้บริการแก่คนพิการ มีเมืองหลายเมืองที่จัดให้มีสนามเล่นหรือสวนพักผ่อนเล็กๆที่ออกแบบ พิเศษ สมาคมและศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายที่ให้บริการคนพิการทางร่างกายก็ได้พัฒนาในเรื่อง เหล่านี้ด้วย ศูนย์นันทนาการที่ได้รับการสนับสนุนจากทางการเป็นแห่งแรกและมีการวางแผน ออกแบบเป็น พิเศษสาหรับคนพิการทางร่างกายและทางสมอง ได้ก่อสร้างขึ้นในปี 1976 ในวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากสานักงานนันทนาการแห่งดิสตริค อ็อฟ โคลัมเบีย เป็นเงิน 2 ล้านดอลลาร์ มีอาคารต่างๆ รวมทั้งสระว่ายน้า โรงยิ้ม – ห้องประชุม ร้านสินค้าศิลปหัตถกรรม ศูนย์ดูแลกลางวัน และสนามเล่น กลางแจ้ง พื้นที่พักผ่อนอื่นๆ ทั้งหมดนี้ได้รับการออกแบบด้วยความรอบคอบให้เหมาะสาหรับผู้ที่ใช้เก้าอี้ เข็น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นอกเหนือไปจากการสร้างสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการประเภทต่างๆแล้ว หน่วยงาน อาสาสมัครอีกหลายแห่งก็ได้จัดโปรแกรมพิเศษขึ้นมากมาย รวมทั้งจัดท่องเที่ยวนอกสถานที่ อีกทั้ง สานักงานท่องเที่ยวจานวนมากก็เริ่มให้บริการเที่ยวบินไปต่างประเทศสาหรับคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็น ไม้ยัน รักแร้ หรือเครื่องพยุงขา ต้นทศวรรษ 1980 สานักงานอุทยานแห่งชาติได้จัดตั้งกองงานพิเศษเพื่อเป็นการประกันว่า สวนสาธารณะใหญ่ๆแหล่งนันทนาการ สถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ จะต้องสามารถให้คนพิการเข้าใช้ได้ ด้วยและต้องพัฒนาโปรแกรมพิเศษขึ้นมา เพื่อให้ตรงตามความต้องการของคนพิการ 5. นันทนาการสาหรับผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม