SlideShare a Scribd company logo
1 of 21
Download to read offline
1
พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง
(The Dynamics of Naan-Pred-Nai Community under the Sufficiency Economy Concept)
จัดทาโดย
1. นายจิรายุส แก้วชมภู รหัสนักศึกษา 54211803
2. นางสาวคุณญภัทร ซังปาน รหัสนักศึกษา 54211809
3. นายพูนศักดิ์ ทรัพย์ศรีเจริญ รหัสนักศึกษา 54211822
4. นางสาวจุฑาลา บุญช่วย รหัสนักศึกษา 54211834
5. นางสาวณัฐชณา พระสว่าง รหัสนักศึกษา 54219004
6. นายทวีศักดิ์ พูนศรีเจริญกุล รหัสนักศึกษา 54219007
7. นายอรรถชัย ชื่นชิตพิชัยกุล รหัสนักศึกษา 54219015
8. นางสาวเมริกา ศรีเศษ รหัสนักศึกษา 54219017
9. นายชุมพล มานะเมธีกุล รหัสนักศึกษา 55080501418
นาเสนอ
อาจารย์ศิรินันต์ สุวรรณโมลี
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา GEN 211 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
The Philosophy of Sufficiency Economy
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
2
พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง
(The Dynamics of Naan-Pred-Nai Community under the Sufficiency Economy Concept)
ชุมชนบ้านเปร็ดใน ตาบลห้วงน้าขาว อาเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นชุมชนหนึ่งที่เดินตามกระแส
ของการพัฒนาที่เน้นความเจริญเติบโตของประเทศ รูปแบบการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากการผลิตเพื่อ
ยังชีพเป็นการผลิตเพื่อขายที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง เป็นกระแสความเจริญที่
หลั่งไหลเข้ามาในชุมชนทาให้การดารงชีวิตของชุมชนเปลี่ยนไป เมื่อชุมชนเป็นไปตามกระแสการพัฒนา
ก็จะเกิดปัญหาต่างๆ แต่อย่างไรก็ดีชุมชนนี้มีความแตกต่างจากชุมชนอื่นเนื่องจากชุมชนบ้านเปร็ดในมี
การพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวหน้า คือ ชุมชนบ้านเปร็ดในแสดงให้เห็นว่าชุมชนมีศักยภาพ เกิดการรวม
พลังช่วยกันความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชน จนเป็นที่ยอมรับจากสังคมภายนอก
ความเป็นมาของชุมชนบ้านเปร็ดในมีอายุการตั้งถิ่นฐานประมาณ 146 ปีมาแล้วแต่เดิมหมู่บ้านนี้
เป็นหมู่บ้านปิดถูกล้อมรอบจากสองหมู่บ้านใกล้เคียง จนเมื่อมีการสร้างถนนจึงเริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาใน
หมู่บ้าน และหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากสังคมภายนอกทั้งในวงการวิชาการและระดับรากหญ้าว่า
เป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านการอนุรักษ์และพัฒนา
ป่าชายเลนและการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ขึ้นภายในหมู่บ้าน บ้านเปร็ดในเป็นหมู่บ้านที่มีการตั้ง
บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสวนไว้ด้วยกันทาให้บ้านเรือนแต่ละหลังอยู่ห่างกันขึ้นอยู่กับจานวนการถือครอง
ที่ดินว่ามีอาณาเขตมากน้อยเพียงใด การตั้งบ้านเรือนของเพื่อนบ้านก็อยู่ห่างตามนั้น แต่เดิมเป็นพื้นที่ป่า
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ประกอบไปด้วย
1. ป่าบก คือ บริเวณที่ดอนซึ่งมีต้นไม้ใหญ่อยู่มากมายทั้งที่เป็นพืชสมุนไพร พืชที่กินได้และส่ง
ขาย เช่น ไม้ยางใต้ ไม้ป่า ไม้พะนอง ไม้ตะบก รวมถึงสัตว์ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในปัจจุบันพื้นที่ป่า
บริเวณนี้ได้กลายเป็นที่ตั้งบ้านเรือนพร้อมกับสวนยางพาราและสวนผลไม้ไปแล้ว
2. ป่าล่าง คือ บริเวณที่ลุ่มและป่าชายเลนที่น้าทะเลท่วมถึงทุกปี
สภาพของชุมชน
ที่ตั้งของชุมชนบ้านเปร็ดในเป็นบริเวณที่ราบต่าชายฝั่งทะเลที่มีน้าท่วมถึงอยู่เสมอ ลักษณะ
อากาศเป็นแบบป่าฝนเมืองร้อนมีฝนตกอยู่ตลอดปี สถานบริการและระบบสาธารณูปโภคในหมู่บ้านมี
ร้านจาหน่ายอาหารสดและอาหารแห้ง และมีศูนย์สาธิตกองทุนอเนกประสงค์ที่ชาวบ้านเรียกว่า “สหกรณ์
ร้านค้า” ชุมชนบ้านเปร็ดในมีระบบประปาหมู่บ้านและเริ่มมีไฟฟ้าใช้ตั้งแต่ปี 2525 ชาวบ้านมีการรับรู้
ข่าวสารภายนอกจากการใช้วิทยุและโทรทัศน์ที่มีกันเกือบทุกครัวเรือน รวมทั้งมีหอกระจายข่าวของ
ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่ทาการผู้ใหญ่บ้าน หนังสือพิมพ์ชาวบ้านสามารถหาอ่านได้จากร้านค้าในชุมชน ภายใน
ชุมชนมีการตั้งโรงเรียนบ้านเปร็ดในขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กในชุมชนได้รับการศึกษา ตัวบ้านส่วนใหญ่เป็น
บ้านเก่าเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ระบบเครือญาติเป็นการอยู่อาศัยกันหลายหลังคาเรือนเป็น
ครอบครัวใหญ่ที่อาศัยรวมกัน 2-3 ครอบครัว โดยลักษณะเป็นครอบครัวขยายที่ยังมีสมาชิกอยู่รวมกัน
2-3 รุ่น ทั้งปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา พ่อแม่ ลูกและหลาน ชาวบ้านชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีการสืบ
เชื้อสายทั้งชาวไทยและชาวจีน ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี ชาวบ้านทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธและยังคง
3
ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีจีนเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนแต่ขนบธรรมเนียม
ประเพณีจีนได้มีการผสมกลมกลืนกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและชาวบ้านยังคงดารงไว้ทั้งสอง
ประเพณี
การมีหนี้สินส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินเพื่อนามาทาทุนในการประกอบอาชีพ การศึกษาของ
ลูกหลาน รักษาอาการเจ็บป่วย และใช้จ่ายในชีวิตประจาวัน ทรัพย์สินที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีก็คือ
โทรทัศน์ ตู้เย็น เตาแก๊ส หม้อหุงข้าว พัดลม รถจักรยานยนต์ รถกระบะ เครื่องซักผ้า ซึ่งเป็น
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อานวยความสะดวกให้กับคนในครอบครัว อาจเป็นเพราะคนในชุมชนนี้มีฐานะเศรษฐกิจ
อยู่ในระดับปานกลาง รวมถึงมีอาชีพที่ต้องใช้เวลาทั้งวันทาให้ต้องการความสะดวกสบายหลังจากทางาน
ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีอาชีพทาสวนผลไม้ สวนยางพารา ทานากุ้ง เพราะเลี้ยงสัตว์น้า รับจ้าง ค้าขาย และ
รับราชการ หลังจากที่ชาวนากุ้งเริ่มเจอกับปัญหาการขาดทุนทาให้ต้องเป็นหนี้กันจานวนมากในหมู่บ้าน
ไม่มีการสะสมทุนเลย หมอผ่องศรีจึงริเริ่มให้ชาวบ้านมารวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้นมา โดยจัดให้
ชาวบ้านรวมตัวกันไปศึกษาดูงานสหกรณ์ร้านค้า จากนั้นจึงกลับมาวางแผนการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาด้วย
ความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทุกคนในชุมชน และใช้ชื่อว่า “ศูนย์สาธิตกองทุนเอนกประสงค์และกองทุน
ยา”ซึ่งกลุ่มสหกรณ์ร้านค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ
1. เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ซื้อสินค้าในราคาถูกและได้รับเงินปันผล
2. เพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านได้ทากิจกรรมร่วมกัน ตั้งแต่เริ่มจากการเป็นผู้ขาย ทาบัญชี บริหาร
ร้าน ตลอดจนเป็นผู้ซื้อ
3. เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มมีอานาจการต่อรองกับร้านค้านายทุนได้
ชุมชนยังมีกลุ่ม อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน) มีหน้าที่ตรวจสุขภาพเบื้องต้นของ
คนในชุมชน ชาวบ้านยังมีการจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่มีจุดเริ่มต้นจากพระอาจารย์สุบิน ปณีโตได้
เชิญชวนให้ชาวบ้านกลุ่มที่เข้าวัดฟังธรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคนดีจัดตั้งกลุ่มขึ้น กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์
เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเพิ่มกิจกรรมการออมและการกู้ยืมเท่านั้น หลังจากการเกิดขึ้นของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์
ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีโอกาสปลดหนี้ที่ไม่มีทีท่าว่าจะชดใช้ได้พร้อมทั้งยังมี
เงินเก็บออมไว้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ทาให้สมาชิกได้พบปะพูดคุยเกิดการแลกเปลี่ยนการ
เรียนรู้แก่กัน เกิดการรวมตัวกันอย่างจริงจังเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชน
หลังจากมีการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ประมาณ 2 ปี กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนจึง
เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ
ทรัพยากรป่าชายเลนของหมู่บ้านจึงได้เกิดเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในขึ้น สาเหตุที่ทาให้
ชาวบ้านตระหนักถึงเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติก็เพราะนายทุนที่เริ่มเข้ามาทาลายป่าชายเลน
ในพื้นที่ โดยนายทุนใช้รถแบคโฮขุดทาคันกักเก็บน้าในป่าชายเลนไม่ให้น้าระบายออกไปทาให้ตันไม้ใน
ป่าชายเลนถูกน้าท่วมจนหมด จากเดิมที่เคยมีน้าขึ้นน้าลงก็กลายเป็นป่าชายเลนที่มีแต่น้าท่วมขังต้นไม้ก็
เริ่มตาย เมื่อต้นไม้ในป่าเริ่มตายไม้ที่สามารถขายได้นายทุนก็ตัดไปขายจนในที่สุดพื้นที่บริเวณนั้นก็
เตียนโล่งเหลือแต่ตอไม้ ทาให้ชาวบ้านทนไม่ไหวรวมตัวกันขับไล่นายทุนให้ออกไปจากพื้นที่ หลังจาก
นั้นชาวบ้านเปร็ดในจึงร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าชายเลนให้คืนสภาพความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้
4
พร้อมทั้งออกมาตรการต่างๆ ในการทากิจกรรมทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับการคง
อยู่ของสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นการใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีพื้นบ้าน
การดาเนินชีวิตที่อยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผลในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อเป็น
การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังที่เคยเป็นมา ซึ่งการดาเนินงานต่างๆภายในหมู่บ้านได้รับการสนับสนุน
จากหน่วยงานราชการและเอกชนต่างๆ ได้แก่
- คณะครูโรงเรียนบ้านเปร็ดใน มีส่วนร่วมในการเป็นที่ปรึกษาและเป็นกรรมการของกลุ่มอนุรักษ์
และพัฒนาป่าชายเลน ช่วยดูแลในส่วนที่เป็นเยาวชนและคอยแนะนาให้คาปรึกษาและวางนโยบาย
รวมถึงการลงมือปฏิบัติในบางกิจกรรมที่รับผิดชอบ
- กรมป่าไม้ให้ความร่วมมือกับชุมชนเรื่องของการเฝ้าระวังและตรวจจับผู้ที่กระทาผิดลักลอบตัด
ไม้ในเขตป่าชายเลน รวมถึงให้ความรู้เรื่องป่าและกฎหมายป่าชุมชน
- ประมงให้ความร่วมมือกับชุมชนในเรื่องของการเฝ้าระวังและตรวจจับผู้ที่กระทาผิดลักลอบจับ
สัตว์น้า รวมถึงให้ความรู้เรื่องป่า การจัดการกับสัตว์น้าและกฎหมายป่าชุมชน เช่น การให้ความรู้เรื่อง
การห้ามจับปลาในฤดูวางไข่
- สานักงานสงเคราะห์กองทุนสวนยาง ให้การช่วยเหลือชุมชนเรื่องเงินทุนและคาแนะนาในการ
เพาะปลูก การดูแล การกรีดยาง และการแปรรูปแผ่นยาง
- พัฒนากร เข้ามาส่งเสริมกลุ่มเยาวชนการประกอบอาชีพของเยาวชนในหมู่บ้าน โดยให้งบ
พัฒนาอาชีพแก่เยาวชน
- อนามัย มีส่วนร่วมในการบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนรวมทั้งตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน
ประจาปี และยังมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเรื่องสุขภาพเป็นประจา
- ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) โดยให้คาปรึกษาและ
ให้คาแนะนาช่วยเหลือทางด้านวิชาการเกี่ยวกับป่าชายเลน
- กองทุนการลงทุนเพื่อสังคม ให้การสนับสนุนเงินทุนในส่วนการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าชายเลน
พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของชุมชน
ช่วงก่อน พ.ศ. 2482 (ยุคการผลิตแบบตั้งเดิม): การทามาหากินยังคงเป็นการทาไรทานา โดยใช้
น้าฝนตามธรรมชาติเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ก็จะมีการตกกล้าพอเดือนกรกฎาคมก็จะมี
การดานาขอแรงลงแขกกัน เดือนพฤศจิกายนเริ่มเกี่ยวข้าวก็ขอแรงลงแขกกันอีกครั้ง การทานาในสมัย
นั้นใช้พันธุ์ข้าวขาวลาซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความทนทานต่อน้าเค็มมากและเนื่องจากพื้นที่ในการทานาเป็น
ดินโคลน ทาให้ยากลาต่อการไถนาความไม่สามารถไถนาได้เนื่องจากมีน้าหนักตัวมากจึงติดหล่ม ดังนั้น
จึงต้องใช้คนไถนาแทน ในสมัยนั้นยังมีพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทาขวัญข้าว ทาขวัญลาน การทาเซ่นกุม
พลีที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าถ้าไม่ทาพิธีนี้ไม่ดีทาให้ “ข้าวบูด” จะไม่ได้ผลผลิตที่ดี ในการทานาข้าวบางปีไม่
ได้ผลเท่าที่ควรเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใช้ปลูกข้าวเป็นที่ลุ่มต่า ในช่วงที่ต้นข้าวกาลังตั้งท้องหรืออกรวง
อ่อนๆจะมีน้าทะเลท่วมถึง เมื่อน้าทะเลท่วมต้นข้าวก็เสียหาย ดังนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทานาข้าวเพื่อ
เป็นการบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจากการบริโภคจึงนามาขาย มีบางครอบครัวที่ผลผลิตไม่
5
เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปีจึงต้องยืมจากญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน ในบางครั้งเป็นการให้เปล่าโดยไม่
ต้องนาไปคืนซึ่งถือว่าเป็นน้าใจที่เพื่อนบ้านมีต่อกัน นอกจากทานาข้าวและเลี้ยงวัวควายแล้วสัตว์ที่
ชาวบ้านนิยมเลี้ยงอีกก็คือ ไก่และหมูเพื่อเอาไว้บริโภคเองและบางครั้งมีพ่อค้าคนจีนเข้ามารับซื้อถึงใน
หมู่บ้าน นอกจากนี้ในป่าชายเลนยังมีต้นจากขึ้นเป็นจานวนมากชาวบ้านจึงตัดใบจากมามุงหลังคาบ้าน
นอกจากนั้นก็เอามาเย็บทาเป็นหมวกมีทั้งขนาดเล็กแค่บังแดดและขนาดใหญ่ที่สามารถบังฝนได้ ซึ่งทุก
ครัวเรือนในขณะนั้นสามารถทาใช้เองทุกครัวเรือน วิถีชีวิตของชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างเอื้ออาทรซึ่งกัน
และกัน มีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน เมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วยก็ทาการรักษาโดยหมอ
พื้นบ้านที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งมีการสืบทอดการเป็นหมอพื้นบ้านกันมาทางลูกหลานจึงไม่ต้องไปตามหมอ
จากที่อื่นมารักษา แม้กระทั่งการคลอดบุตรคนไหนมีความชานาญหรือถนัดด้านใดก็ช่วยกันทา ยาที่ใช้ใน
การรักษาส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่หาเก็บได้จากป่าบกและจากป่าชายเลน ชาวบ้านมีการเอื้ออาทร
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการแบ่งปันอาหาร พึ่งพาอาศัยกัน วิถีการผลิตเป็นการพึ่งพิงธรรมชาติและใช้
ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าให้ความสาคัญกับทรัพยากร เป็นระบบการผลิตที่เน้นการบริโภคใน
ครัวเรือนเป็นหลัก ในอดีตชุมชนบ้านเปร็ดในมีการดารงชีวิตที่เรียบง่ายเป็นการดารงชีวิตแบบพอยังชีพ
คือ ผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เองไม่ต้องพึ่งโลกภายนอกมีความผูกพันภายในสูง การดารงชีวิตของคนไทยใน
บุพกาลจะอยู่แบบรวมตัวกันเป็นชุมชน หมู่บ้านจะมีการเป็นอยู่แบบพอยังชีพ (Subsistence) ผลิตเพื่อ
พออยู่เพื่อกินเองไม่ได้ผลิตเพื่อแลกเปลี่ยน ไม่ได้ผลิตเพื่อขาย ที่ชาวบ้านมักพูดกันว่า “หากิน” หรือ “หา
อยู่หากิน” แค่มีอาหารกินก็พอใจ “หากิน ไม่ได้หาเพื่อขาย ทาเพื่อกินไม่รู้จะขายไปทางไหน” การยังชีพ
ของหมู่บ้านสาคัญที่สุดคือการทานาเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก
พ.ศ. 2482 – 2526 (ยุคการเข้ามาของพืชเศรษฐกิจ): เริ่มจากปี พ.ศ. 2482 มีการก่อตั้งโรงเรียน
บ้านเปร็ดใน ทุกคนจึงได้เรียนหนังสือนับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาที่ทุกคนในหมู่บ้านเริ่มอ่านออก
เขียนได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 เริ่มมีการทาสัมปทานป่าไม้ชายเลนขึ้นในพื้นที่ป่าของชาวบ้านซึ่งในการ
ทาสัมปทานป่านั้น ทางนายทุนแจ้งให้ทางราชการทราบว่าป่าของหมู่บ้านเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้วซึ่ง
สามารถตัดทิ้งได้ตามกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนั้น ทาให้ทางราชการอนุมัติให้ทาสัมปทานได้และมี
ข้อกาหนดว่าเมื่อตัดไม้ไปแล้วต้องปลูกป่าเสริมขึ้นมาใหม่แต่ทางนายทุนก็ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกาหนดนั้น
ในขณะนั้นชาวบ้านไม่ได้รู้สึกถึงความเดือดร้อนแต่อย่างใดเนื่องจากในป่านั้นยังมีความอุดมสมบูรณ์ของ
ทรัพยากรอยู่ การทามาหากินยังไม่ได้รับความเดือดร้อนดังนั้นชาวบ้านจึงไม่สนใจหรือเกิดความ
ตระหนักในปัญหาขึ้นมา การประกอบอาชีพของคนในยุคนั้นส่วนใหญ่ยังคงทานาข้าวถึงแม้ว่าผลผลิตได้
ราคาไม่ค่อยดีนักแต่ก็ยังพออยู่ได้เพราะส่วนใหญ่แล้วผลิตไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนเมื่อเหลือจาก
การบริโภคจึงนาออกขาย นอกจากนั้นอาหารการกินยังค่อนข้างอุดมสมบูรณ์อยู่เพราะมีข้าวไว้ให้กิน มีปู
มีปลา กุ้ง หอยและของป่าอย่างอุดมสมบูรณ์ ความเจริญเริ่มเข้ามามีการตัดถนนเข้ามาในหมู่บ้าน โดยที่
ชาวบ้านเปร็ดในช่วยกันทาทางไว้ให้สามารถสัญจรได้อย่างสะดวกเริ่มมีรถประจาทางเข้ามาในหมู่บ้าน
เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้นจึงทาให้หมู่บ้านเปร็ดในไม่เป็นหมู่บ้านปิดอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงครั้ง
ใหญ่ของหมู่บ้านจึงมีความสัมพันธ์กับถนนที่ตัดผ่านเข้ามาซึ่งเป็นปัจจัยที่สาคัญที่ทาให้อิทธิพลจาก
ภายนอกเข้ามาสู่หมู่บ้านทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายประการ ทั้งการดารงชีวิต สภาพความอุดม
6
สมบูรณ์ของป่า ความเชื่อ และสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้นความเจริญตางๆเริ่มเข้ามาในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็น
ในเรื่องของวัตถุ สิ่งของ หรือแม้กระทั่งคน อย่างเช่น ทางรัฐบาลจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง
ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 จากร่าง พ.ร.บ. สงเคราะห์เจ้าของสวนยางเพื่อทาหน้าที่ส่งเสริมให้ชาวสวนยางปลูก
ยางพันธุ์ดีแทนพันธุ์พื้นเมือง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2504 จึงมีเจ้าหน้าที่จากกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง
เข้ามาแนะนาสนับสนุน ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีการปลูกยางกันมากขึ้น โดนให้โค่นยางเก่าๆที่มีอยู่ดั้งเดิม
ทิ้งไป แล้วชักชวนให้ชาวบ้านหันมาปลูกยางตามวิธีการและรูปแบบของสานักงานกองทุนสงเคราะห์การ
ทาสวนยาง ซึ่งก็มีชาวบ้านจานวนมากทาตาม เพราะเห็นว่าให้แค่แรงงานของตนเองเท่า ส่วนเงินลงทุน
ได้รับมาจากกงทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง อีกทั้งในช่วงนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพทานา
ข้าวกันอยู่จึงมีเวลาว่างพอที่จะปลูกพืชเสริมได้ ชาวบ้านจึงเริ่มปลูกยางพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการส่งเสริมจาก
ทางราชการกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากปลูกยางใหม่แล้วต้นยางยังไม่สามารถกรีดเอาน้ายางออกมา
ได้ชาวบ้านจึงทาได้แค่การบารุงรักษาต้นยาง รวมถึงการดูแลพื้นที่บริเวณที่ปลูกยางไม่ให้รกมีหญ้าขึ้น
ประมาณปี พ.ศ. 2508 ชาวบ้านเริ่มหันมาทาสวนผลไม้กันมาขึ้นเนื่องจากชาวบ้านจังหวัดข้างเคียงเริ่ม
ปลูกเงาะ ทุเรียนและผลผลิตมีราคาสูง รวมถึงนาข้าวได้ผลผลิตน้อยลงราคาก็ตกต่าลง ชาวบ้านจึงได้หัน
มาถางหญ้าในพื้นที่ป่าบกมากขึ้นทาให้พอมีพื้นที่ว่างพอปลูกพืชได้ และเมื่อกระแสบริโภคนิยมได้เข้ามา
สู่ชุมชนทาให้ชาวบ้านมีภาระที่ต้องใช้จ่ายมากขึ้นจากเดิมที่เคยอยู่กันแบบไม่ต้องใช้เงินก็ต้องใช้เงินซื้อ
สินค้าทุกอย่างที่ไม่มีหรือผลิตไม่ได้ เช่น เกลือ น้าตาล น้ามัน เสื้อผ้า ของใช้ ในช่วงระยะเวลานี้ชาวบ้าน
ส่วนใหญ่จึงมีกิจกรรมเน้นไปทางด้านเกษตรกรรม คือการทานาข้าว ทาสวนยางพารา และทาสวนผลไม้
ซึ่งเป็นผลมาจากการรับกระแสการพัฒนาแบบใหม่ที่นอกจากส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการ
ประกอบอาชีพ วิถีชีวิตของชาวบ้านเปร็ดในยังปรับเปลี่ยนไปตามกระแสบริโภคนิยมอีกด้วย เห็นได้จาก
การเดินทางเข้าตัวจังหวัดได้สะดวกชาวบ้านในชุมชนเดินทางไปซื้อสินค้าจากตัวเมืองเข้ามาขายใน
ชุมชนและมีรถยนต์เข้ามาขายสินค้าในชุมชน ทาให้ชุมชนมีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาจาหน่ายสินค้าหลาย
ประเภทสิ่งของที่นามาจาหน่ายก็มีผู้สนใจและซื้อไปทดลองใช้ ชาวบ้านเริ่มรู้สึกสะดวกสบายไม่ต้องผลิต
ขึ้นมาเองเพียงแค่มีเงินทองไว้ใช้จ่ายสินค้าจึงพยายามเร่งการเจริญเติบโตของผลผลิตเพื่อที่จะขายแล้ว
ได้เงินมาซื้อสินค้าอีก เมื่อมีครอบครัวหนึ่งซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน ครอบครัวอื่นก็อยาก
ได้บ้าง จึงเข้าสู่ วัฏจักรของการผลิตแบบกระแสหลัก คือผลิตเพื่อขายนาเงินมาซื้อสินค้าที่ต้องการ เมื่อ
ไม่มีเงินทองก็เป็นหนี้เป็นสินเพื่อให้ตนเองเท่าเทียมกับผู้อื่น ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบ้านเปร็ดในจะมี
ลักษณะที่แนวคิดและพฤติกรรมเช่นนี้จนกระทั่งถึงยุคการเข้ามาของนากุ้ง การทานาของชาวบ้านในอดีต
เป็นการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก เมื่อมีการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความทันสมัยและลัทธิบริโภคนิยมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในด้านต่างๆ เริ่ม
มีการปลูกเพื่อขาย ผลิตเพื่อขาย เก็บเกี่ยวจากธรรมชาติเพื่อเป็นสินค้าเพื่อขายผลจากการเปลี่ยนแปลง
ในครั้งนั้นทาให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงชาวบ้านเริ่มมีคุณภาพชีวิตที่ต่าลง เริ่มมีการ
เปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านชาวบ้านจึงเริ่มปลูกข้าวเพื่อการขายไม่ใช่เพื่อการยังชีพแต่เพียงอย่างเดียว
รวมถึงการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจหลายๆอย่าง เช่น ยางพารา เงาะ ทุเรียน ทาให้ระบบเงินตรามี
ความสาคัญต่อคนในหมู่บ้านมากขึ้นเกิดการแย่งชิงการใช้ทรัพยากร คุณภาพชีวิตของชาวบ้านชุมชน
7
บ้านเปร็ดในตกต่าลงเรื่อยๆ เริ่มมีแนวคิดแบบปัจเจกบุคคลเริ่มมีการซื้อขายข้าวเปลือก ตัดไม้เป็น
จานวนมากในป่าชายเลนเพื่อขายให้กับคนภายนอกชุมชน แนวคิดการผลิตแบบกระแสหลักเริ่มเข้ามา
เมื่อมีเจ้าหน้าที่จากกองทุนสงเคราะห์สวนยางเข้ามาตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการปลูกยางพารา
ในพื้นที่ภาคตะวันออก หลังจากที่มีการปลูกสวนยางพาราประมาณ 4-5 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงที่บ้าน
เปร็ดในอีกครั้งเมื่อชาวบ้านหันเข้าไปหาแนวคิดทันสมัยอีกด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจอีก จากสภาพ
ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทาให้นายทุนหรือเอกชนมีความสนใจในพื้นที่และเข้ามาลงทัน
ต่างๆ ได้สร้างความสูญเสียให้แก่ระบบนิเวศและชาวบ้านในชุมชน เมื่อชาวบ้านเกิดความตระหนักถึง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงทาให้ชาวบ้านได้รวมตัวกันต่อต้านนายทุน
พ.ศ. 2525 – 2538 (ยุคการเข้ามาของนากุ้งและความเสื่อมโทรมของทรัพยากร): หมู่บ้านเปร็ด
ในซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการทานากุ้งจึงไม่รอดพ้นจากสายตาของนายทุนไปได้
ในช่วงปี พ.ศ. 2525 มีชาวบ้านเปร็ดในได้ไปศึกษาดูการทานากุ้งที่จังหวัดจันทบุรีแล้วเห็นว่าประสบ
ความสาเร็จอย่างดีจึงกลับมาทดลองปฏิบัติในชุมชนจานวน 3 ราย ซึ่งเมื่อทดลองทาแล้วปรากฏว่า
ประสบความสาเร็จได้กาไรมหาศาล จึงเป็นสาเหตุที่ทาให้ชาวนาข้าวเปลี่ยนอาชีพมาทานากุ้งกันเป็น
จานวนมาก ในระยะเริ่มแรกยังเป็นการทานากุ้งแบบธรรมชาติอยู่ คือใช้วิธีการกักน้าทะเลสูบเข้าไปในนา
ในน้านั้นจะมีลูกกุ้งปะปนอยู่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกกุ้งแชบ๊วย จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน ลูกกุ้ง
ก็เจริญเติบโตเต็มที่จับขายได้ก็ปล่อยน้าในบ่อออกไป เอาอวนมารอที่ปากบ่อกุ้งก็มาติดที่อวน ซึ่งการทา
ในสมัยนั้นไม่ต้องให้อาหารไม่ต้องใช้สารเคมีอีกทั้งความอุดมสมบูรณ์จากป่าชายเลนยังมีอยู่ ดังนั้น
ชาวนากุ้งจึงมีรายได้ดีชาวนาข้าวจึงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนมาทานากุ้งด้วยความหวังว่าเพิ่มฐานะของตนให้ดี
ขึ้น แต่ก็ยังมีชาวนาข้างอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เต็มใจทานากุ้งแต่ต้องจาใจหันมาทานากุ้ง เนื่องจากเริ่มมีปัญหา
จากที่ดินข้างเคียงที่ติดกับที่นาข้าวของตนเป็นนากุ้งกันหมดทาให้มีปัญหาเรื่องน้าเค็ม เพราะผลของการ
แพร่กระจายของน้าเค็มจากนากุ้งมีส่วนทาให้ไม่สามารถทานาข้าวได้อีก ซึ่งการทานากุ้งนั้นส่งผลกระทบ
ต่อชุมชนอย่างมาก คือไม่มีใครทานาข้าวได้อีก จาเป็นที่จะต้องซื้อข้าวสารมาบริโภคทุกครัวเรือน เป็น
ผลให้ต้องขายวัว ควาย เพราะไม่มีความจาเป็นอีกต่อไปและต้องทางานเพิ่มผลผลิตในส่วนอื่นๆเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาจากการต้องซื้อข้าวบริโภค วิธีการสีข้าวแบบโบราณก็หายไปนอกจากที่
ชาวนาข้าวจาเป็นต้องเปลี่ยนมาทานากุ้งแล้ว ยังเริ่มมีนายทุนเข้ามาทานากุ้งในหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2529
โดยประมาณ การทานากุ้งที่หมู่บ้านเปร็ดในมี 2 แบบ คือการเลี้ยงกุ้งแบบดั้งเดิมและการเลี้ยงกุ้งแบบ
พัฒนา ประมาณร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมดที่นานากุ้งแบบพัฒนาคือใช้ใบพัดตีน้าเพื่อเพิ่ม
ออกซิเจน มีการคัดเลือกพันธุ์กุ้ง ให้อาหารกุ้ง ใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้น พอนานๆเข้าน้าก็เริ่มเสียเพราะ
เมื่อระบายน้าจากนากุ้งไปตามลาคลองในพื้นที่ป่าชายเลน ยังไม่ทันที่น้าเสียไหลลงทะเลก็ถึงเวลาที่น้า
ขึ้น ซึ่งน้าขึ้นจะดันเอาน้าเสียที่ปล่อยลงไปกลับคืนมาอีก พอน้าไม่สะอาดการเลี้ยงกุ้งก็เริ่มมีปัญหาเมื่อกุ้ง
เกิดโรคก็ติดต่อลุกลามกันทุกบ่อ เนื่องจากใช้น้าจากลาคลองเดียวกันพอปล่อยน้าที่มีกุ้งเป็นโรคออกไป
บ่ออื่นดันน้าเข้าไปก็ได้รับเชื้อดังนั้นกุ้งจึงเป็นโรคกันหมดทุกบ่อ พอกุ้งเป็นโรคก็ต้องรีบจับขายซึ่งก็ทาให้
ขาดทุน หรือบางครั้งปล่อยลูกกุ้งลงไป ดูแลไม่ดี อากาศไม่ดี กุ้งตายหมดก็ขาดทุน แล้วชาวนากุ้งส่วน
ใหญ่นั้นต้องลงทุนประมาณบ่อละ 200,000 – 300,000 บาท หากมีหลายบ่อต้องใช้เงินนับล้านบาทซึ่งก็
8
ได้ทุนจากการไปกู้ยืมเงินทั้งในและนอกระบบ พอขาดทุนต้องขายที่ดินและทรัพย์สินใช้หนี้ แต่ก่อนการ
ทาอาชีพประมงใช้เครื่องมือที่ทาขึ้นเองหาได้ง่ายแต่ต่อมาเมื่อมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยขึ้นมี
ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งสูงขึ้น ทาให้สามารถจับปลาได้มากกว่าเดิมแต่ก็ต้องลงทุนสูง ดังนั้นชาวประมงจึง
ต้องจับสัตว์น้าให้ได้มากที่สุดในแต่ละครั้งเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่การใช้อวนรุนจับสัตว์น้าจะทาให้
ระบบนิเวศเสียหายเพราะอวนรุนเป็นอวนที่มีตาถี่ทาให้สามารถจับสัตว์น้าได้ทั้งเล็กและใหญ่ เพราะมัน
จะลากอวนไปตามหน้าดินไปเรื่อยๆ ซึ่งการจับสัตว์ตัวเล็กๆจะทาให้สัตว์น้าไม่มีโอกาสได้แพร่พันธุ์และ
เจริญเติบโตเป็นสัตว์น้าขนาดใหญ่ ถ้าทาแบบนี้ไปเรื่อยๆจะทาให้ต่อไปจะไม่มีสัตว์น้าให้จับอีก จะเห็นได้
ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหมู่บ้านเปร็ดในจากระบบเศรษฐกิจชุมชนมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุน
นิยม เงินเข้ามามีบทบาทกับชาวบ้านเพิ่มมากขึ้นจากการปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือนมาเป็นการปลูก
เพื่อเน้นการขายเพื่อนาเงินมาแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมาก
ขึ้นรายจ่ายก็สูงขึ้นและมีหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย เกิดการจ้างแรงงานเพราะกิจกรรมการผลิตมีขนาด
ใหญ่ขึ้นเกิดการพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้น ชาวบ้านเริ่มเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วจึงมีการ
รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้นมาใช้ชาวบ้านมีร้านค้าชุมชนเป็นของตนเองร่วมกันลงทุนค้าขาย
พอประมาณ พ.ศ. 2537 สภาพนากุ้งก็ไม่ค่อยดีสารเคมีทาให้น้าเสียคนก็เริ่มหยุดการทานากุ้งแบบ
พัฒนา ที่ยังคงทาอยู่ส่วนใหญ่เป็นการทานากุ้งแบบธรรมชาติที่ไม่ต้องใช้สารเคมี เริ่มมีการเลี้ยงปลา
เลี้ยงปูในนาแบบธรรมชาติกันขึ้น พอมีการทานากุ้งน้อยลงน้าก็เริ่มดีขึ้นจึงเริ่มมีการรณรงค์ไม่ให้ตัดไม้
ทาลายป่าชายเลนกันอย่างจริงจัง เพราะในช่วงนั้นชาวบ้านิยมปลูกแตงกวาขายกันมาก การปลูก
แตงกวาต้องใช้ไม้มาทาค้างแตงค้างถั่ว ซึ่งปีหนึ่งๆใช้ประมาณ 3 แสนตันก็เริ่มให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากไม้
ป่าชายเลนจาพวกไม้โปรง ไม้ฝาดมาเป็นไม้ป่าบก เช่น พวกต้นอ้อที่มีลักษณะคล้ายๆกับไม้ไผ่ ซึ่ง
ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเพราะเกิดความตระหนักแล้วว่าถ้ายังคงช่วยกันทาลายป่าอยู่นั้นจะ
ทาให้แหล่งทามาหากินขอตนสูญหายไป หลังจากที่ทรัพยากรและระบบนิเวศของป่าชายเลนถูกทาลาย
ลงไป ชาวบ้านเปร็ดในเริ่มรับรู้ถึงปัญหาจึงรวมตัวกันต่อต้านนายทุนที่เข้ามาทาลายผืนป่า รวมถึง
ร่วมกันคิดหาวิธีการที่จะทาให้ป่าชายเลนของพวกเขาคืนกลับมาเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ต่อไปได้
ชาวบ้านได้รวมตัวกันเรียกร้องต่อหน่วยงานราชการแต่ไม่ประสบผลสาเร็จ ชาวบ้านจึงได้คิด
กระบวนการแก้ปัญหาของชุมชนโดยได้รวมตัวกันเข้าหาสื่อมวลและผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง
ชาวบ้านในชุมชนได้รับความช่วยเหลือและได้รับความร่วมมือจากนักการเมืองของจังหวัดในขณะนั้นทั้ง
กาลังทรัพย์ กาลังคนและความรู้เรื่องกฎหมายทาให้เกิดการดาเนินงานต่อต้านลุล่วงไปได้ จากนั้น
ชาวบ้านจึงได้ร่วมมือปลูกป่ากันเอง หลังจากประสบปัญหาชาวบ้านจึงเริ่มตระหนักและมีกระบวนการ
แก้ไขปัญหาภายในชุมชนด้วยตนเอง กลุ่มแกนนาเริ่มปลูกจิตสานึกและสร้างความตระหนักใน
ความสาคัญของป่าชายเลนให้ชาวบ้านได้รับความรู้และความเข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากร
พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน (ยุคการปรับตัวของชุมชนในปัจจุบัน): หลังจากที่ชาวบ้านในชุมชนเริ่มมี
หนี้สินกันมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนเพื่อการประกอบอาชีพ พระอาจารย์สุบิน ปณีโต เริ่มเข้ามา
เผยแพร่เรื่องกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์หลังจากมีการรวมกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์แล้ว ชาวบ้านได้มีโอกาส
พบปะพูดคุยกันมากขึ้นในทุกๆวันที่ 18 ของทุกเดือน เพราะชาวบ้านต้องมาส่งเงินออมดังนั้นจึงเริ่มได้
9
คุยถึงแนวคิดในการอนุรักษ์ป่าชายเลนและได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบันกลุ่มทั้งสองนี้มี
บทบาทอย่างมากในการพัฒนาหมู่บ้าน ในปัจจุบัน พ.ศ. 2543 ชาวบ้านเปร็ดในส่วนใหญ่มีรายได้หลักมา
จากการประกอบอาชีพทาสวนผลไม้ชนิดสวนผสม ได้แก่ เงาะ ทุเรียน สัปปะรด ลางสาด ลองกอง มังคุด
ระกา และสละเป็นส่วนใหญ่ อาชีพรองลงมาคือการทาสวนยางพารา การทานากุ้งและเพาะเลี้ยงสัตว์น้า
นอกนั้นรับจ้างกรีดยางและจับปู ปลา และค้าขายรวมถึงการรับจ้างทางานทุกประเภทในเวลาว่างจาก
การทางานหลัก เช่น ทาขนม ซ่อมเครื่องยนต์ รับสร้างบ้าน เป็นช่างไม้ ขายประกันชีวิตและขายตรง
สินค้า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาชาวบ้านในชุมชนส่วนหนึ่งได้เรียนรู้ผลเสียจากการพัฒนาที่ผ่านมาจึง
ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดาเนินชีวิตกลับมาเป็นแนวทางแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้
เทคโนโลยีที่พึ่งพาธรรมชาติ วิถีการผลิตแบบดั้งเดิมที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับธรรมชาติมากนัก การนา
ภูมิปัญญาหรือความรู้ที่สั่งสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาใช้ รวมถึงการเปิดรับและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร
ที่นามาใช้ประโยชน์กับชุมชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งชาวประมงส่วนหนึ่งที่รับรู้และเข้าใจก็เริ่มเปลี่ยนมา
ทาประมงแบบพื้นบ้านทีใช้เครื่องมือหรือวัสดุง่ายๆและเป็นวิธีการจับสัตว์น้าที่มีขนาดใหญ่แทนการจับ
สัตว์น้าทุกขนาดเพื่อปล่อยให้สัตว์น้าสามารถแพร่พันธุ์และเจริญเติบโตต่อไปได้ เมื่อการรณรงค์ให้
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเริ่มเห็นผลดีขึ้น คือชาวบ้านให้ความร่วมมือ และหลังจากที่ชาวบ้าน
ตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ก็ได้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นในชุมชน ในชุนชนก็ยังมีกลุ่ม
อนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน การดาเนินงานของกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนในระยะแรกนั้นมี
ปัญหาจากการไม่เข้าใจและข้อบังคับที่ขัดแย้งกับการประกอบอาชีพของชาวบ้านบางกลุ่มทาให้การ
ดาเนินงานไม่ราบรื่นแต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งทรัพยากรสัตว์น้าอุดมสมบูรณ์มากเหมือนกับในอดีต
ชาวบ้านจึงยอมรับและให้ความร่วมมือ เมื่อชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทางแกนนา
ชุมชนจึงได้เริ่มหาเครือข่ายที่จะดาเนินการเรื่องอนุรักษ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายไปที่ชุมชนใกล้เคียงที่มีพื้นที่
ป่าชายเลนติดกันเพราะการอนุรักษ์ผืนป่าไม่สามารถทาได้เพียงแค่หมู่บ้านเดียวเท่านั้น
ชุมชนบ้านเปร็ดในมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชุมชนอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การผลิตเพื่อบริโภค
ในครัวเรือนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการผลิตเพื่อขายซึ่งทาให้เกิดผลกระทบอย่างมากมายต่อชุมชน หลังจาก
ที่ชาวบ้านเปร็ดในร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ชาวบ้านเริ่มมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและ
การใช้ทรัพยากรที่เน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น มีจิตสานึกและพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งกิจกรรม
ดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงอาชีพที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในการปรับเปลี่ยน
วิถีชีวิตเป็นกระแสการพึ่งพาตนเอง คือ อาชีพทาสวนผลไม้ การทานากุ้งแบบธรรมชาติและประมง
พื้นบ้าน จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้มีแนวคิดทางการดาเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจาก
เดิมบ้าง คือมีความผสมผสานระหว่างแนวคิดทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งถือได้ว่าเป็น
ความพยายามของคนในชุมชนส่วนหนึ่งที่หาหนทางเพื่อปรับตัวเพื่อให้สามารถดารงอยู่ได้ แต่ด้วยความ
แตกต่างในด้านต่างๆ ที่ทาให้แต่ละคนมีการแสวงกาทางออกที่จะนาไปสู่การรักษาความพอเพียงซึ่งเป็น
หนทางอยู่รอดในรูปแบบที่แตกต่างกัน เราจะพบว่าส่วนหนึ่งยังเลือกวิธีการอยู่รอดโดยผสานตนเองเข้า
ไปกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแต่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่บนพื้นฐานของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
10
หรืออีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาที่รักษาความพอเพียงไว้ด้วยความพยายามไม่พึ่งพิงผู้อื่น
โดยพยายามทาการผลิตเพื่อการบริโภคของตนเองและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มากที่สุดและใช้วิธีการสร้าง
ทุนทางสังคมโดยที่อยู่บนพื้นฐานของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยกันอย่างเท่าเทียม
กัน ชาวบ้านในชุมชนได้น้อมนาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เพื่อให้
ชุมชนของพวกเขาผ่านพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งชาวบ้านได้นาความคิดของการพอเพียงสามารถ
อุ้มชูตัวเองได้อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีก่อน ตั้งตัวให้มี
ความพอดีพอกินพอใช้ไม่ใช่มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งพา
ตนเองได้ย่อมสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนให้ดีขึ้นได้โดยอยู่ในกรอบความ
พอเพียงสาคัญ 3 ประการ
1. ให้ความสาคัญต่อการพึ่งตนเอง มุ่งเน้นการผลิตให้พอเพียงกับความต้องการบริโภคใน
ครัวเรือนเป็นอันดับแรกหรือประกอบอาชีพที่พอเพียงต่อความต้องการของตน ลดค่าใช้จ่ายเพื่อเกิด
ความพออยู่พอกิน
2. ให้ความสาคัญกับการรวมกลุ่มและมีเครือข่ายที่กว้างขวาง รู้รักสามัคคี เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้
เกิดความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มชุมชนต่างๆ เพื่อเป็นรากฐานให้เกิดความอยู่ดีกินดี
3. เศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการเอื้ออาทรและความสงบ สันติสุขช่วยกระตุ้นให้
ชุมชนร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพ เพื่อประโยชน์ไม่ใช่เพียงเพื่อรายได้แต่ต้องเห็นประโยชน์อื่น
เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นและความปรองดองใน
ชุมชนและสังคม
ทาให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในรูปแบบของ
กลุ่มและองค์กรประชาชน ซึ่งในชุมชนบ้านเปร็ดในมีพัฒนาการของการปรับเปลี่ยนวิถีทางการดาเนิน
ชีวิตอยู่ตลอดเวลาและมีกระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนโดยการรวมกลุ่มในเรื่องของการ
ระดมทุนในชุมชน คือกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ
ชุมชนหรือกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ซึ่งเป็นผลทาให้ชุมชนได้รับการยอมนับจากนักวิชาการ
และสังคมภายนอกว่ามีความเข้มแข็ง
สรุป การศึกษาเรื่องพลวัตรชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงมี
วัตถุประสงค์ดังนี้คือ
1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนในด้านเศรษฐกิจ
2) เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงที่มีในชุมชน
3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านเปร็ดในเริ่มจากการมีเศรษฐกิจที่
เป็นระบบการผลิตแบบดั้งเดิม เพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน มีการปลูกข้าวกินเองการหาอาหารจาก
แหล่งธรรมชาติ มีการพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จากนั้นเริ่มมีการปรับเปลี่ยนวีถีชีวิตและรูปแบบ
ผลิต ตามกระแสการพัฒนาแบบตะวันตกเริ่มจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา เงาะ ทุเรียน
เป็นผลให้วิถีชีวิตแบบการพึ่งพาตนเองหมดไปต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก มีการเข้ามาของ
11
นายทุนเพื่อสัมปทานป่าไม้และปรับเปลี่ยนนาข้าวเป็นนากุ้ง เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลน
ทรัพยากรและแหล่งอาหารเสื่อมโทรม และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมค่อยๆลดลง จนกระทั่งชาวบ้าน
ในชุมชนตระหนักและช่วยกันแก้ปัญหา ส่วนหนึ่งพยายามปรับเปลี่ยนวิถีการดารงชีวิตตามแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การผลิตที่มีแนวทางการเกษตรทางเลือกเข้ามาปฏิบัติ ซึ่งใช้
ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและระมัดระวัง การบริโภคที่มีความเรียบง่ายประหยัดใส่ใจสุขภาพและ
สิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตและพ่อค้ารู้เท่าทันการมีอานาจต่อรองราคาสินค้า มีจิตใจไม่โลภ ทาให้ทั้งสองฝ่าย
ได้รับผลประโยชน์เท่ากัน และในการจัดสรรผลผลิต มีการแบ่งสรรปันส่วนทั้งปัจจัยการผลิตและแบ่งปัน
ผลผลิต อาชีพที่เห็นได้ชัดในการดาเนินบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงคือ อาชีพทาสวนผลไม้ การทา
นากุ้งแบบธรรมชาติ และประมงพื้นบ้าน
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง
1. ผู้นา พระสงฆ์และผู้ใหญ่บ้านนอกจากเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะของความเป็นผู้นาที่ดีในการ
พัฒนาและเปลี่ยนแปลงชุมชนแล้วยังมีบทบาทในการกระตุ้นและจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ
ดาเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์
2. กระบวนการเรียนรู้และการได้รับการฝึกอบรม การดูงาน ค่านิยม ทัศนคติและการขาด
จิตสานึกของสมาชิกในชุมชนทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนบ้าน
เปร็ดในเอง
3. กลุ่ม องค์กร และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เด่นชัดคือ กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน
และกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยเป็นกลุ่มองค์กรที่ออกกฎและข้อกาหนดที่จะต้องใช้ในกระบวนการผลิต
ก่อให้เกิดจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
4. สังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านเปร็ด
ในมีความคิดที่จะพึ่งตนเองไม่เบียดเบียนผู้อื่นใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีเหตุผล ใส่ใจผลกระทบกระบวนการ
ผลิต การเคารพกฎชุมชน การเลือกใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องที่เหมาะสมมาใช้
5. เศรษฐกิจกับภาวะหนี้สิน ชาวบ้านดาเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล ใช้จ่ายอย่างประหยัด บริโภค
เท่าที่จาเป็น มีการเก็บออม ประกอบอาชีพสุจริตไม่เป็นที่เดือดร้อนของชาวบ้าน ส่วนภาวะหนี้สินที่
เกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนประกอบอาชีพตามแนวกระแสหลักที่ผ่านมา ทาให้ชาวบ้านเป็นหนี้ทั้งกับ
หน่วยงานของรัฐและเจ้าหนี้นอกระบบ ชาวบ้านต้องยังคงทาการผลิตกระแสหลักต่อไปเพื่อผลผลิตที่
เพียงพอสาหรับค่าตอบแทนที่จะนาไปใช้หนี้ แทนที่จะดาเนินการแบบเกษตรทางเลือกซึ่งจะไม่ทันการ
6. หน่วยงานจากภายนอกชุมชน หน่วยงานจากราชการเข้ามาส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา
อาชีพแก่ประชาชน และหน่วยงานจากเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจกับชาวบ้าน เหล่านี้ทาให้
ชาวบ้านได้รับทั้งผลประโยชน์และสูญเสียบางอย่างไป จนกระทั่งชุมชนเริ่มมีชื่อเสียง หน่วยงานต่างก็เริ่ม
ตั้งใจช่วยเหลือและให้คาปรึกษารวมทั้งหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ
จากการศึกษาชุมชนหมู่บ้านเปร็ดในสะท้อนให้เห็นว่าหมู่บ้านเปร็ดในประสบปัญหาจากกระแส
การพัฒนาแบบทันสมัย และมีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการดาเนินชีวิตและประกอบอาชีพ
12
แม้จะมาจากส่วนหนึ่งของชาวชุมชนแต่นับว่ามีความเหมาะสมดีแล้ว เพราะการปรับเปลี่ยนแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงได้นั้นต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งชุมชนเป็นการผสมผสานกันระหว่างแนวคิด
แบบกระแสหลักและแนวคิดแบบทางเลือก ซึ่งผู้ปฏิบัติควรเลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแนวคิดและ
วิถีทางของตนเองโดยไม่ว่าจะมีแนวคิดแบบใด แต่ถ้ามีแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงสอดแทรกก็กล่าว
ได้ว่าชุมชนนั้นใช้แนวคิดนี้เป็นแกนนาในการพลิกฟื้นชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้ง ทางเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อนาไปสู่ความเข้มแข็งที่ยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ
1. ควรกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกลุ่ม การมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ให้เกิดความรู้ความ
เข้าใจและทักษะในการพัฒนาแนวทางการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2. หน่วยงานต้องสร้างทัศนคติและความเข้าใจอันดีต่อชาวชุมชน และประสานร่วมมือมองปัญหา
และความต้องการของชุมชน และร่วมมือกันแก้ปัญหาและสนองความต้องการโดยคานึงถึงทรัพยากรที่มี
และศักยภาพของประชาชน
3. ควรพัฒนาศักยภาพผู้นาให้มากขึ้นทั้งผู้นาฝ่ายฆราวาสช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งมีพลังในการ
พัฒนาต่อไป และผู้นาผ่ายสงฆ์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจดึงชาวบ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
4. แนวคิดที่จะนาไปสู่การดาเนินชีวิตแบบพอเพียงต้องไม่เป็นขนาดที่ใหญ่เกินไปจนไม่สามารถ
ควบคุมได้
5. ควรให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมมากขึ้นโดยการแจ้งผลดีผลเสียให้เกิดการยอมรับที่กว้างขึ้น ควรมี
ข้อตกลงและการมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ สมาชิกชุมชน สิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากร
13
ความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนบ้านเปร็ดในกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ชาวบ้านในชุมชนได้นาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติตนของชาวบ้านใน
หมู่บ้านในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับชุมชน ชาวบ้านมีหลักการดารงชีวิตด้วยการพึ่งพา
ตนเองทางด้านจิตใจต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีจิตสานึกว่าตนนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ยึดหลักการพัฒนา
คน ชาวบ้านต้องพึ่งตนเองทางสังคม ให้ชาวบ้านในชุมชนมีการเกื้อกูลกันนาความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอด
และเผยแพร่ให้ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ทางทรัพยากรธรรมชาติ มี
การนาเอาศักยภาพของผู้คนในท้องถิ่นสามารถเสาะแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติหรือวัสดุในท้องถิ่นที่มี
อยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักมีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพึ่งพาตนเองได้ทางเทคโนโลยี
ชาวบ้านก็ส่งเสริมให้มีการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ และสิ่งสาคัญสามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้
อย่างเหมาะสม และชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ชมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองใน
ระดับพื้นฐาน แม้ไม่มีเงินก็ยังมีข้าว ปลา ผัก ผลไม้ ในท้องถิ่นเพื่อการยังชีพและสามารถนาไปสู่การ
พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน หมู่บ้านยังได้มีฐานคิดการพัฒนาเพื่อความพอเพียงจากฐานคิดดังนี้ คือ
1. ยึดแนวพระราชดาริในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง
2. สร้างพลังทางสังคมโดยการประสานพลังสร้างสรรค์ของทุกฝ่ายในชุมชนและภายนอกชุมชน
3. ยึดพื้นพี่เป็นหลักและใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
4. ยึดกิจกรรมของชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้และการจัดการร่วมกัน พร้อมทั้งพัฒนา
อาชีพที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกของคนในชุมชนที่มีความแตกต่างกันทั้งเทศ วัย การศึกษา ความ
ถนัด และฐานะเศรษฐกิจ
5. ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายของชุมชน เพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรมและการ
เรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างรอบด้าน ทั้งการศึกษา สาธารณสุข การฟื้นฟูวัฒนธรรม รวมถึงการจัดการ
สิ่งแวดล้อม
6. วิจัยและพัฒนาธุรกิจชุมชนอย่างครอบวงจร ทั้งการผลิต แปรรูป ขาบ และบริโภค โดยให้
ความสาคัญต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและทรัพยากรของท้องถิ่น
7. พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มีศักยภาพสูงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจชุมชน พร้อมทั้งใช้เป็น
สถานที่สาหรับศึกษาดูงานและฝึกอบรม
ชุมชนบ้านเปร็ดในถือเป็นชุมชนที่มีความเป็นพลวัต คือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งในการ
กาหนดกฎเกณฑ์ ข้อบังคับในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ความเป็นพวกเดียวกันการใส่ใจ เอื้ออาทรและใส่ใจ
ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่มีความเหมาะสมกับ
การดาเนินชีวิตในทุกๆด้านของชาวบ้านในชุมชน โดยที่สมาชิกของชุมชนเป็นผู้กาหนดโครงสร้าง
ระเบียบ กติกา และควบคุมทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ซึ่งผู้นาก็มีความสาคัญต่อชุมชนเป็นอย่าง
มาก เพราะเป็นผู้ที่สามารถนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชุมชนได้ ส่วนจะเป็นไปในทิศทางใดนั้นขึ้นอยู่
กับความเชื่อมั่น ศรัทธาของชาวบ้านและการนาของผู้นา ในชุนบ้านเปร็ดในได้ผู้นาที่ดีและมีคุณธรรม
รวมทั้งชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี มีความสามัคคีและเอื้ออาทรต่อกันทาให้สามารถพา
ชุมชนก้าวข้ามปัญหาต่างๆ ที่ชุมชนประสบปัญหาและสามารถแก้ปัญหานั้นให้ผ่านไปได้ด้วยดี ปัจจัยที่
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย
บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย

More Related Content

Similar to บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย

ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือPress Trade
 
โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015
โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015
โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015Sircom Smarnbua
 
รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4
รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4
รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ ประวัติครูบาอินก๋วน
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ  ประวัติครูบาอินก๋วนโครงงานการสืบค้นสารสนเทศ  ประวัติครูบาอินก๋วน
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ ประวัติครูบาอินก๋วนDuangnapa Inyayot
 
จุดเน้นที่ 5
จุดเน้นที่ 5จุดเน้นที่ 5
จุดเน้นที่ 5Suwakhon Phus
 
ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4
ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4
ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4Pochchara Tiamwong
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้Noom Theerayut
 
Chapter 7 educational innovation
Chapter 7 educational innovationChapter 7 educational innovation
Chapter 7 educational innovationApple Nipaporn
 
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)Turdsak Najumpa
 

Similar to บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย (18)

6รายชื่อคณะกรรมการเขียนแผน
6รายชื่อคณะกรรมการเขียนแผน6รายชื่อคณะกรรมการเขียนแผน
6รายชื่อคณะกรรมการเขียนแผน
 
297-AW-e-Book.pdf
297-AW-e-Book.pdf297-AW-e-Book.pdf
297-AW-e-Book.pdf
 
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015
โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015
โครงการค่ายเยาวชนนักสำรวจรักษ์แมงมุม (Youth spider camp)2015
 
S2
S2S2
S2
 
งานนำเสนอมฟลสันสลี
งานนำเสนอมฟลสันสลีงานนำเสนอมฟลสันสลี
งานนำเสนอมฟลสันสลี
 
รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4
รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4
รายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินบล็อก รุ่น 3 และรุ่น 4
 
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ ประวัติครูบาอินก๋วน
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ  ประวัติครูบาอินก๋วนโครงงานการสืบค้นสารสนเทศ  ประวัติครูบาอินก๋วน
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ ประวัติครูบาอินก๋วน
 
จุดเน้นที่ 5
จุดเน้นที่ 5จุดเน้นที่ 5
จุดเน้นที่ 5
 
2557-6
2557-62557-6
2557-6
 
ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4
ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4
ประกาศ ผู้ประเมิน รอบที่ 4
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
รายชื่อนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการติวความรู้กับค่ายนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์...
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
 
Chapter 7 educational innovation
Chapter 7 educational innovationChapter 7 educational innovation
Chapter 7 educational innovation
 
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
บทที่ 4 สื่อการเรียนรู้(pdf)
 

More from freelance

International disaster management
International disaster management  International disaster management
International disaster management freelance
 
Policy and disaster risk reduction
Policy and disaster risk reductionPolicy and disaster risk reduction
Policy and disaster risk reductionfreelance
 
geo hazard and Incident command systems
geo hazard and Incident command systemsgeo hazard and Incident command systems
geo hazard and Incident command systemsfreelance
 
Week 1 meteorological hazard and risk assessments
Week 1 meteorological hazard and risk assessmentsWeek 1 meteorological hazard and risk assessments
Week 1 meteorological hazard and risk assessmentsfreelance
 
Week14 summarize disaster education class
Week14 summarize disaster education classWeek14 summarize disaster education class
Week14 summarize disaster education classfreelance
 
Disaster education game
Disaster education gameDisaster education game
Disaster education gamefreelance
 
Ch 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triageCh 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triagefreelance
 
Ch 3 disaster risk assessment
Ch 3 disaster risk assessmentCh 3 disaster risk assessment
Ch 3 disaster risk assessmentfreelance
 
Ch 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informaticsCh 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informaticsfreelance
 
Ch 1 disaster education
Ch 1 disaster educationCh 1 disaster education
Ch 1 disaster educationfreelance
 
Ch 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentCh 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentfreelance
 
Ch 6 geological hazard
Ch 6  geological hazardCh 6  geological hazard
Ch 6 geological hazardfreelance
 
Ch 5 fire hazard
Ch 5 fire hazardCh 5 fire hazard
Ch 5 fire hazardfreelance
 
Ch 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionCh 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionfreelance
 
Week 8 survival
Week 8 survivalWeek 8 survival
Week 8 survivalfreelance
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalfreelance
 
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)freelance
 
Week 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsWeek 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsfreelance
 
Week 4 disaster risk reduction
Week 4  disaster risk reductionWeek 4  disaster risk reduction
Week 4 disaster risk reductionfreelance
 
Week 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsWeek 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsfreelance
 

More from freelance (20)

International disaster management
International disaster management  International disaster management
International disaster management
 
Policy and disaster risk reduction
Policy and disaster risk reductionPolicy and disaster risk reduction
Policy and disaster risk reduction
 
geo hazard and Incident command systems
geo hazard and Incident command systemsgeo hazard and Incident command systems
geo hazard and Incident command systems
 
Week 1 meteorological hazard and risk assessments
Week 1 meteorological hazard and risk assessmentsWeek 1 meteorological hazard and risk assessments
Week 1 meteorological hazard and risk assessments
 
Week14 summarize disaster education class
Week14 summarize disaster education classWeek14 summarize disaster education class
Week14 summarize disaster education class
 
Disaster education game
Disaster education gameDisaster education game
Disaster education game
 
Ch 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triageCh 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triage
 
Ch 3 disaster risk assessment
Ch 3 disaster risk assessmentCh 3 disaster risk assessment
Ch 3 disaster risk assessment
 
Ch 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informaticsCh 2 disaster informatics
Ch 2 disaster informatics
 
Ch 1 disaster education
Ch 1 disaster educationCh 1 disaster education
Ch 1 disaster education
 
Ch 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentCh 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessment
 
Ch 6 geological hazard
Ch 6  geological hazardCh 6  geological hazard
Ch 6 geological hazard
 
Ch 5 fire hazard
Ch 5 fire hazardCh 5 fire hazard
Ch 5 fire hazard
 
Ch 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionCh 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reduction
 
Week 8 survival
Week 8 survivalWeek 8 survival
Week 8 survival
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medical
 
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
 
Week 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsWeek 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systems
 
Week 4 disaster risk reduction
Week 4  disaster risk reductionWeek 4  disaster risk reduction
Week 4 disaster risk reduction
 
Week 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsWeek 2 disaster informatics
Week 2 disaster informatics
 

บ้านพ.พอเพียง --พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพีย

  • 1. 1 พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง (The Dynamics of Naan-Pred-Nai Community under the Sufficiency Economy Concept) จัดทาโดย 1. นายจิรายุส แก้วชมภู รหัสนักศึกษา 54211803 2. นางสาวคุณญภัทร ซังปาน รหัสนักศึกษา 54211809 3. นายพูนศักดิ์ ทรัพย์ศรีเจริญ รหัสนักศึกษา 54211822 4. นางสาวจุฑาลา บุญช่วย รหัสนักศึกษา 54211834 5. นางสาวณัฐชณา พระสว่าง รหัสนักศึกษา 54219004 6. นายทวีศักดิ์ พูนศรีเจริญกุล รหัสนักศึกษา 54219007 7. นายอรรถชัย ชื่นชิตพิชัยกุล รหัสนักศึกษา 54219015 8. นางสาวเมริกา ศรีเศษ รหัสนักศึกษา 54219017 9. นายชุมพล มานะเมธีกุล รหัสนักศึกษา 55080501418 นาเสนอ อาจารย์ศิรินันต์ สุวรรณโมลี รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา GEN 211 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Philosophy of Sufficiency Economy ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
  • 2. 2 พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง (The Dynamics of Naan-Pred-Nai Community under the Sufficiency Economy Concept) ชุมชนบ้านเปร็ดใน ตาบลห้วงน้าขาว อาเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นชุมชนหนึ่งที่เดินตามกระแส ของการพัฒนาที่เน้นความเจริญเติบโตของประเทศ รูปแบบการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากการผลิตเพื่อ ยังชีพเป็นการผลิตเพื่อขายที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง เป็นกระแสความเจริญที่ หลั่งไหลเข้ามาในชุมชนทาให้การดารงชีวิตของชุมชนเปลี่ยนไป เมื่อชุมชนเป็นไปตามกระแสการพัฒนา ก็จะเกิดปัญหาต่างๆ แต่อย่างไรก็ดีชุมชนนี้มีความแตกต่างจากชุมชนอื่นเนื่องจากชุมชนบ้านเปร็ดในมี การพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวหน้า คือ ชุมชนบ้านเปร็ดในแสดงให้เห็นว่าชุมชนมีศักยภาพ เกิดการรวม พลังช่วยกันความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชน จนเป็นที่ยอมรับจากสังคมภายนอก ความเป็นมาของชุมชนบ้านเปร็ดในมีอายุการตั้งถิ่นฐานประมาณ 146 ปีมาแล้วแต่เดิมหมู่บ้านนี้ เป็นหมู่บ้านปิดถูกล้อมรอบจากสองหมู่บ้านใกล้เคียง จนเมื่อมีการสร้างถนนจึงเริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาใน หมู่บ้าน และหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากสังคมภายนอกทั้งในวงการวิชาการและระดับรากหญ้าว่า เป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านการอนุรักษ์และพัฒนา ป่าชายเลนและการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ขึ้นภายในหมู่บ้าน บ้านเปร็ดในเป็นหมู่บ้านที่มีการตั้ง บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสวนไว้ด้วยกันทาให้บ้านเรือนแต่ละหลังอยู่ห่างกันขึ้นอยู่กับจานวนการถือครอง ที่ดินว่ามีอาณาเขตมากน้อยเพียงใด การตั้งบ้านเรือนของเพื่อนบ้านก็อยู่ห่างตามนั้น แต่เดิมเป็นพื้นที่ป่า ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ประกอบไปด้วย 1. ป่าบก คือ บริเวณที่ดอนซึ่งมีต้นไม้ใหญ่อยู่มากมายทั้งที่เป็นพืชสมุนไพร พืชที่กินได้และส่ง ขาย เช่น ไม้ยางใต้ ไม้ป่า ไม้พะนอง ไม้ตะบก รวมถึงสัตว์ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในปัจจุบันพื้นที่ป่า บริเวณนี้ได้กลายเป็นที่ตั้งบ้านเรือนพร้อมกับสวนยางพาราและสวนผลไม้ไปแล้ว 2. ป่าล่าง คือ บริเวณที่ลุ่มและป่าชายเลนที่น้าทะเลท่วมถึงทุกปี สภาพของชุมชน ที่ตั้งของชุมชนบ้านเปร็ดในเป็นบริเวณที่ราบต่าชายฝั่งทะเลที่มีน้าท่วมถึงอยู่เสมอ ลักษณะ อากาศเป็นแบบป่าฝนเมืองร้อนมีฝนตกอยู่ตลอดปี สถานบริการและระบบสาธารณูปโภคในหมู่บ้านมี ร้านจาหน่ายอาหารสดและอาหารแห้ง และมีศูนย์สาธิตกองทุนอเนกประสงค์ที่ชาวบ้านเรียกว่า “สหกรณ์ ร้านค้า” ชุมชนบ้านเปร็ดในมีระบบประปาหมู่บ้านและเริ่มมีไฟฟ้าใช้ตั้งแต่ปี 2525 ชาวบ้านมีการรับรู้ ข่าวสารภายนอกจากการใช้วิทยุและโทรทัศน์ที่มีกันเกือบทุกครัวเรือน รวมทั้งมีหอกระจายข่าวของ ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่ทาการผู้ใหญ่บ้าน หนังสือพิมพ์ชาวบ้านสามารถหาอ่านได้จากร้านค้าในชุมชน ภายใน ชุมชนมีการตั้งโรงเรียนบ้านเปร็ดในขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กในชุมชนได้รับการศึกษา ตัวบ้านส่วนใหญ่เป็น บ้านเก่าเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ระบบเครือญาติเป็นการอยู่อาศัยกันหลายหลังคาเรือนเป็น ครอบครัวใหญ่ที่อาศัยรวมกัน 2-3 ครอบครัว โดยลักษณะเป็นครอบครัวขยายที่ยังมีสมาชิกอยู่รวมกัน 2-3 รุ่น ทั้งปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา พ่อแม่ ลูกและหลาน ชาวบ้านชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีการสืบ เชื้อสายทั้งชาวไทยและชาวจีน ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี ชาวบ้านทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธและยังคง
  • 3. 3 ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีจีนเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนแต่ขนบธรรมเนียม ประเพณีจีนได้มีการผสมกลมกลืนกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและชาวบ้านยังคงดารงไว้ทั้งสอง ประเพณี การมีหนี้สินส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินเพื่อนามาทาทุนในการประกอบอาชีพ การศึกษาของ ลูกหลาน รักษาอาการเจ็บป่วย และใช้จ่ายในชีวิตประจาวัน ทรัพย์สินที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีก็คือ โทรทัศน์ ตู้เย็น เตาแก๊ส หม้อหุงข้าว พัดลม รถจักรยานยนต์ รถกระบะ เครื่องซักผ้า ซึ่งเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อานวยความสะดวกให้กับคนในครอบครัว อาจเป็นเพราะคนในชุมชนนี้มีฐานะเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง รวมถึงมีอาชีพที่ต้องใช้เวลาทั้งวันทาให้ต้องการความสะดวกสบายหลังจากทางาน ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีอาชีพทาสวนผลไม้ สวนยางพารา ทานากุ้ง เพราะเลี้ยงสัตว์น้า รับจ้าง ค้าขาย และ รับราชการ หลังจากที่ชาวนากุ้งเริ่มเจอกับปัญหาการขาดทุนทาให้ต้องเป็นหนี้กันจานวนมากในหมู่บ้าน ไม่มีการสะสมทุนเลย หมอผ่องศรีจึงริเริ่มให้ชาวบ้านมารวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้นมา โดยจัดให้ ชาวบ้านรวมตัวกันไปศึกษาดูงานสหกรณ์ร้านค้า จากนั้นจึงกลับมาวางแผนการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาด้วย ความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทุกคนในชุมชน และใช้ชื่อว่า “ศูนย์สาธิตกองทุนเอนกประสงค์และกองทุน ยา”ซึ่งกลุ่มสหกรณ์ร้านค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1. เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ซื้อสินค้าในราคาถูกและได้รับเงินปันผล 2. เพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านได้ทากิจกรรมร่วมกัน ตั้งแต่เริ่มจากการเป็นผู้ขาย ทาบัญชี บริหาร ร้าน ตลอดจนเป็นผู้ซื้อ 3. เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มมีอานาจการต่อรองกับร้านค้านายทุนได้ ชุมชนยังมีกลุ่ม อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน) มีหน้าที่ตรวจสุขภาพเบื้องต้นของ คนในชุมชน ชาวบ้านยังมีการจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่มีจุดเริ่มต้นจากพระอาจารย์สุบิน ปณีโตได้ เชิญชวนให้ชาวบ้านกลุ่มที่เข้าวัดฟังธรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคนดีจัดตั้งกลุ่มขึ้น กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเพิ่มกิจกรรมการออมและการกู้ยืมเท่านั้น หลังจากการเกิดขึ้นของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีโอกาสปลดหนี้ที่ไม่มีทีท่าว่าจะชดใช้ได้พร้อมทั้งยังมี เงินเก็บออมไว้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ทาให้สมาชิกได้พบปะพูดคุยเกิดการแลกเปลี่ยนการ เรียนรู้แก่กัน เกิดการรวมตัวกันอย่างจริงจังเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชน หลังจากมีการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ประมาณ 2 ปี กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนจึง เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ ทรัพยากรป่าชายเลนของหมู่บ้านจึงได้เกิดเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในขึ้น สาเหตุที่ทาให้ ชาวบ้านตระหนักถึงเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติก็เพราะนายทุนที่เริ่มเข้ามาทาลายป่าชายเลน ในพื้นที่ โดยนายทุนใช้รถแบคโฮขุดทาคันกักเก็บน้าในป่าชายเลนไม่ให้น้าระบายออกไปทาให้ตันไม้ใน ป่าชายเลนถูกน้าท่วมจนหมด จากเดิมที่เคยมีน้าขึ้นน้าลงก็กลายเป็นป่าชายเลนที่มีแต่น้าท่วมขังต้นไม้ก็ เริ่มตาย เมื่อต้นไม้ในป่าเริ่มตายไม้ที่สามารถขายได้นายทุนก็ตัดไปขายจนในที่สุดพื้นที่บริเวณนั้นก็ เตียนโล่งเหลือแต่ตอไม้ ทาให้ชาวบ้านทนไม่ไหวรวมตัวกันขับไล่นายทุนให้ออกไปจากพื้นที่ หลังจาก นั้นชาวบ้านเปร็ดในจึงร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าชายเลนให้คืนสภาพความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้
  • 4. 4 พร้อมทั้งออกมาตรการต่างๆ ในการทากิจกรรมทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับการคง อยู่ของสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นการใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีพื้นบ้าน การดาเนินชีวิตที่อยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผลในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อเป็น การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังที่เคยเป็นมา ซึ่งการดาเนินงานต่างๆภายในหมู่บ้านได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานราชการและเอกชนต่างๆ ได้แก่ - คณะครูโรงเรียนบ้านเปร็ดใน มีส่วนร่วมในการเป็นที่ปรึกษาและเป็นกรรมการของกลุ่มอนุรักษ์ และพัฒนาป่าชายเลน ช่วยดูแลในส่วนที่เป็นเยาวชนและคอยแนะนาให้คาปรึกษาและวางนโยบาย รวมถึงการลงมือปฏิบัติในบางกิจกรรมที่รับผิดชอบ - กรมป่าไม้ให้ความร่วมมือกับชุมชนเรื่องของการเฝ้าระวังและตรวจจับผู้ที่กระทาผิดลักลอบตัด ไม้ในเขตป่าชายเลน รวมถึงให้ความรู้เรื่องป่าและกฎหมายป่าชุมชน - ประมงให้ความร่วมมือกับชุมชนในเรื่องของการเฝ้าระวังและตรวจจับผู้ที่กระทาผิดลักลอบจับ สัตว์น้า รวมถึงให้ความรู้เรื่องป่า การจัดการกับสัตว์น้าและกฎหมายป่าชุมชน เช่น การให้ความรู้เรื่อง การห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ - สานักงานสงเคราะห์กองทุนสวนยาง ให้การช่วยเหลือชุมชนเรื่องเงินทุนและคาแนะนาในการ เพาะปลูก การดูแล การกรีดยาง และการแปรรูปแผ่นยาง - พัฒนากร เข้ามาส่งเสริมกลุ่มเยาวชนการประกอบอาชีพของเยาวชนในหมู่บ้าน โดยให้งบ พัฒนาอาชีพแก่เยาวชน - อนามัย มีส่วนร่วมในการบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนรวมทั้งตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน ประจาปี และยังมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเรื่องสุขภาพเป็นประจา - ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) โดยให้คาปรึกษาและ ให้คาแนะนาช่วยเหลือทางด้านวิชาการเกี่ยวกับป่าชายเลน - กองทุนการลงทุนเพื่อสังคม ให้การสนับสนุนเงินทุนในส่วนการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าชายเลน พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของชุมชน ช่วงก่อน พ.ศ. 2482 (ยุคการผลิตแบบตั้งเดิม): การทามาหากินยังคงเป็นการทาไรทานา โดยใช้ น้าฝนตามธรรมชาติเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ก็จะมีการตกกล้าพอเดือนกรกฎาคมก็จะมี การดานาขอแรงลงแขกกัน เดือนพฤศจิกายนเริ่มเกี่ยวข้าวก็ขอแรงลงแขกกันอีกครั้ง การทานาในสมัย นั้นใช้พันธุ์ข้าวขาวลาซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความทนทานต่อน้าเค็มมากและเนื่องจากพื้นที่ในการทานาเป็น ดินโคลน ทาให้ยากลาต่อการไถนาความไม่สามารถไถนาได้เนื่องจากมีน้าหนักตัวมากจึงติดหล่ม ดังนั้น จึงต้องใช้คนไถนาแทน ในสมัยนั้นยังมีพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทาขวัญข้าว ทาขวัญลาน การทาเซ่นกุม พลีที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าถ้าไม่ทาพิธีนี้ไม่ดีทาให้ “ข้าวบูด” จะไม่ได้ผลผลิตที่ดี ในการทานาข้าวบางปีไม่ ได้ผลเท่าที่ควรเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใช้ปลูกข้าวเป็นที่ลุ่มต่า ในช่วงที่ต้นข้าวกาลังตั้งท้องหรืออกรวง อ่อนๆจะมีน้าทะเลท่วมถึง เมื่อน้าทะเลท่วมต้นข้าวก็เสียหาย ดังนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทานาข้าวเพื่อ เป็นการบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจากการบริโภคจึงนามาขาย มีบางครอบครัวที่ผลผลิตไม่
  • 5. 5 เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปีจึงต้องยืมจากญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน ในบางครั้งเป็นการให้เปล่าโดยไม่ ต้องนาไปคืนซึ่งถือว่าเป็นน้าใจที่เพื่อนบ้านมีต่อกัน นอกจากทานาข้าวและเลี้ยงวัวควายแล้วสัตว์ที่ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงอีกก็คือ ไก่และหมูเพื่อเอาไว้บริโภคเองและบางครั้งมีพ่อค้าคนจีนเข้ามารับซื้อถึงใน หมู่บ้าน นอกจากนี้ในป่าชายเลนยังมีต้นจากขึ้นเป็นจานวนมากชาวบ้านจึงตัดใบจากมามุงหลังคาบ้าน นอกจากนั้นก็เอามาเย็บทาเป็นหมวกมีทั้งขนาดเล็กแค่บังแดดและขนาดใหญ่ที่สามารถบังฝนได้ ซึ่งทุก ครัวเรือนในขณะนั้นสามารถทาใช้เองทุกครัวเรือน วิถีชีวิตของชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างเอื้ออาทรซึ่งกัน และกัน มีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน เมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วยก็ทาการรักษาโดยหมอ พื้นบ้านที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งมีการสืบทอดการเป็นหมอพื้นบ้านกันมาทางลูกหลานจึงไม่ต้องไปตามหมอ จากที่อื่นมารักษา แม้กระทั่งการคลอดบุตรคนไหนมีความชานาญหรือถนัดด้านใดก็ช่วยกันทา ยาที่ใช้ใน การรักษาส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่หาเก็บได้จากป่าบกและจากป่าชายเลน ชาวบ้านมีการเอื้ออาทร ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการแบ่งปันอาหาร พึ่งพาอาศัยกัน วิถีการผลิตเป็นการพึ่งพิงธรรมชาติและใช้ ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าให้ความสาคัญกับทรัพยากร เป็นระบบการผลิตที่เน้นการบริโภคใน ครัวเรือนเป็นหลัก ในอดีตชุมชนบ้านเปร็ดในมีการดารงชีวิตที่เรียบง่ายเป็นการดารงชีวิตแบบพอยังชีพ คือ ผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เองไม่ต้องพึ่งโลกภายนอกมีความผูกพันภายในสูง การดารงชีวิตของคนไทยใน บุพกาลจะอยู่แบบรวมตัวกันเป็นชุมชน หมู่บ้านจะมีการเป็นอยู่แบบพอยังชีพ (Subsistence) ผลิตเพื่อ พออยู่เพื่อกินเองไม่ได้ผลิตเพื่อแลกเปลี่ยน ไม่ได้ผลิตเพื่อขาย ที่ชาวบ้านมักพูดกันว่า “หากิน” หรือ “หา อยู่หากิน” แค่มีอาหารกินก็พอใจ “หากิน ไม่ได้หาเพื่อขาย ทาเพื่อกินไม่รู้จะขายไปทางไหน” การยังชีพ ของหมู่บ้านสาคัญที่สุดคือการทานาเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก พ.ศ. 2482 – 2526 (ยุคการเข้ามาของพืชเศรษฐกิจ): เริ่มจากปี พ.ศ. 2482 มีการก่อตั้งโรงเรียน บ้านเปร็ดใน ทุกคนจึงได้เรียนหนังสือนับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาที่ทุกคนในหมู่บ้านเริ่มอ่านออก เขียนได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 เริ่มมีการทาสัมปทานป่าไม้ชายเลนขึ้นในพื้นที่ป่าของชาวบ้านซึ่งในการ ทาสัมปทานป่านั้น ทางนายทุนแจ้งให้ทางราชการทราบว่าป่าของหมู่บ้านเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้วซึ่ง สามารถตัดทิ้งได้ตามกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนั้น ทาให้ทางราชการอนุมัติให้ทาสัมปทานได้และมี ข้อกาหนดว่าเมื่อตัดไม้ไปแล้วต้องปลูกป่าเสริมขึ้นมาใหม่แต่ทางนายทุนก็ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกาหนดนั้น ในขณะนั้นชาวบ้านไม่ได้รู้สึกถึงความเดือดร้อนแต่อย่างใดเนื่องจากในป่านั้นยังมีความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรอยู่ การทามาหากินยังไม่ได้รับความเดือดร้อนดังนั้นชาวบ้านจึงไม่สนใจหรือเกิดความ ตระหนักในปัญหาขึ้นมา การประกอบอาชีพของคนในยุคนั้นส่วนใหญ่ยังคงทานาข้าวถึงแม้ว่าผลผลิตได้ ราคาไม่ค่อยดีนักแต่ก็ยังพออยู่ได้เพราะส่วนใหญ่แล้วผลิตไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนเมื่อเหลือจาก การบริโภคจึงนาออกขาย นอกจากนั้นอาหารการกินยังค่อนข้างอุดมสมบูรณ์อยู่เพราะมีข้าวไว้ให้กิน มีปู มีปลา กุ้ง หอยและของป่าอย่างอุดมสมบูรณ์ ความเจริญเริ่มเข้ามามีการตัดถนนเข้ามาในหมู่บ้าน โดยที่ ชาวบ้านเปร็ดในช่วยกันทาทางไว้ให้สามารถสัญจรได้อย่างสะดวกเริ่มมีรถประจาทางเข้ามาในหมู่บ้าน เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้นจึงทาให้หมู่บ้านเปร็ดในไม่เป็นหมู่บ้านปิดอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่ของหมู่บ้านจึงมีความสัมพันธ์กับถนนที่ตัดผ่านเข้ามาซึ่งเป็นปัจจัยที่สาคัญที่ทาให้อิทธิพลจาก ภายนอกเข้ามาสู่หมู่บ้านทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายประการ ทั้งการดารงชีวิต สภาพความอุดม
  • 6. 6 สมบูรณ์ของป่า ความเชื่อ และสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้นความเจริญตางๆเริ่มเข้ามาในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของวัตถุ สิ่งของ หรือแม้กระทั่งคน อย่างเช่น ทางรัฐบาลจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 จากร่าง พ.ร.บ. สงเคราะห์เจ้าของสวนยางเพื่อทาหน้าที่ส่งเสริมให้ชาวสวนยางปลูก ยางพันธุ์ดีแทนพันธุ์พื้นเมือง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2504 จึงมีเจ้าหน้าที่จากกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง เข้ามาแนะนาสนับสนุน ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีการปลูกยางกันมากขึ้น โดนให้โค่นยางเก่าๆที่มีอยู่ดั้งเดิม ทิ้งไป แล้วชักชวนให้ชาวบ้านหันมาปลูกยางตามวิธีการและรูปแบบของสานักงานกองทุนสงเคราะห์การ ทาสวนยาง ซึ่งก็มีชาวบ้านจานวนมากทาตาม เพราะเห็นว่าให้แค่แรงงานของตนเองเท่า ส่วนเงินลงทุน ได้รับมาจากกงทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง อีกทั้งในช่วงนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพทานา ข้าวกันอยู่จึงมีเวลาว่างพอที่จะปลูกพืชเสริมได้ ชาวบ้านจึงเริ่มปลูกยางพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการส่งเสริมจาก ทางราชการกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากปลูกยางใหม่แล้วต้นยางยังไม่สามารถกรีดเอาน้ายางออกมา ได้ชาวบ้านจึงทาได้แค่การบารุงรักษาต้นยาง รวมถึงการดูแลพื้นที่บริเวณที่ปลูกยางไม่ให้รกมีหญ้าขึ้น ประมาณปี พ.ศ. 2508 ชาวบ้านเริ่มหันมาทาสวนผลไม้กันมาขึ้นเนื่องจากชาวบ้านจังหวัดข้างเคียงเริ่ม ปลูกเงาะ ทุเรียนและผลผลิตมีราคาสูง รวมถึงนาข้าวได้ผลผลิตน้อยลงราคาก็ตกต่าลง ชาวบ้านจึงได้หัน มาถางหญ้าในพื้นที่ป่าบกมากขึ้นทาให้พอมีพื้นที่ว่างพอปลูกพืชได้ และเมื่อกระแสบริโภคนิยมได้เข้ามา สู่ชุมชนทาให้ชาวบ้านมีภาระที่ต้องใช้จ่ายมากขึ้นจากเดิมที่เคยอยู่กันแบบไม่ต้องใช้เงินก็ต้องใช้เงินซื้อ สินค้าทุกอย่างที่ไม่มีหรือผลิตไม่ได้ เช่น เกลือ น้าตาล น้ามัน เสื้อผ้า ของใช้ ในช่วงระยะเวลานี้ชาวบ้าน ส่วนใหญ่จึงมีกิจกรรมเน้นไปทางด้านเกษตรกรรม คือการทานาข้าว ทาสวนยางพารา และทาสวนผลไม้ ซึ่งเป็นผลมาจากการรับกระแสการพัฒนาแบบใหม่ที่นอกจากส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการ ประกอบอาชีพ วิถีชีวิตของชาวบ้านเปร็ดในยังปรับเปลี่ยนไปตามกระแสบริโภคนิยมอีกด้วย เห็นได้จาก การเดินทางเข้าตัวจังหวัดได้สะดวกชาวบ้านในชุมชนเดินทางไปซื้อสินค้าจากตัวเมืองเข้ามาขายใน ชุมชนและมีรถยนต์เข้ามาขายสินค้าในชุมชน ทาให้ชุมชนมีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาจาหน่ายสินค้าหลาย ประเภทสิ่งของที่นามาจาหน่ายก็มีผู้สนใจและซื้อไปทดลองใช้ ชาวบ้านเริ่มรู้สึกสะดวกสบายไม่ต้องผลิต ขึ้นมาเองเพียงแค่มีเงินทองไว้ใช้จ่ายสินค้าจึงพยายามเร่งการเจริญเติบโตของผลผลิตเพื่อที่จะขายแล้ว ได้เงินมาซื้อสินค้าอีก เมื่อมีครอบครัวหนึ่งซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน ครอบครัวอื่นก็อยาก ได้บ้าง จึงเข้าสู่ วัฏจักรของการผลิตแบบกระแสหลัก คือผลิตเพื่อขายนาเงินมาซื้อสินค้าที่ต้องการ เมื่อ ไม่มีเงินทองก็เป็นหนี้เป็นสินเพื่อให้ตนเองเท่าเทียมกับผู้อื่น ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบ้านเปร็ดในจะมี ลักษณะที่แนวคิดและพฤติกรรมเช่นนี้จนกระทั่งถึงยุคการเข้ามาของนากุ้ง การทานาของชาวบ้านในอดีต เป็นการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก เมื่อมีการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความทันสมัยและลัทธิบริโภคนิยมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในด้านต่างๆ เริ่ม มีการปลูกเพื่อขาย ผลิตเพื่อขาย เก็บเกี่ยวจากธรรมชาติเพื่อเป็นสินค้าเพื่อขายผลจากการเปลี่ยนแปลง ในครั้งนั้นทาให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงชาวบ้านเริ่มมีคุณภาพชีวิตที่ต่าลง เริ่มมีการ เปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านชาวบ้านจึงเริ่มปลูกข้าวเพื่อการขายไม่ใช่เพื่อการยังชีพแต่เพียงอย่างเดียว รวมถึงการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจหลายๆอย่าง เช่น ยางพารา เงาะ ทุเรียน ทาให้ระบบเงินตรามี ความสาคัญต่อคนในหมู่บ้านมากขึ้นเกิดการแย่งชิงการใช้ทรัพยากร คุณภาพชีวิตของชาวบ้านชุมชน
  • 7. 7 บ้านเปร็ดในตกต่าลงเรื่อยๆ เริ่มมีแนวคิดแบบปัจเจกบุคคลเริ่มมีการซื้อขายข้าวเปลือก ตัดไม้เป็น จานวนมากในป่าชายเลนเพื่อขายให้กับคนภายนอกชุมชน แนวคิดการผลิตแบบกระแสหลักเริ่มเข้ามา เมื่อมีเจ้าหน้าที่จากกองทุนสงเคราะห์สวนยางเข้ามาตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการปลูกยางพารา ในพื้นที่ภาคตะวันออก หลังจากที่มีการปลูกสวนยางพาราประมาณ 4-5 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงที่บ้าน เปร็ดในอีกครั้งเมื่อชาวบ้านหันเข้าไปหาแนวคิดทันสมัยอีกด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจอีก จากสภาพ ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทาให้นายทุนหรือเอกชนมีความสนใจในพื้นที่และเข้ามาลงทัน ต่างๆ ได้สร้างความสูญเสียให้แก่ระบบนิเวศและชาวบ้านในชุมชน เมื่อชาวบ้านเกิดความตระหนักถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงทาให้ชาวบ้านได้รวมตัวกันต่อต้านนายทุน พ.ศ. 2525 – 2538 (ยุคการเข้ามาของนากุ้งและความเสื่อมโทรมของทรัพยากร): หมู่บ้านเปร็ด ในซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการทานากุ้งจึงไม่รอดพ้นจากสายตาของนายทุนไปได้ ในช่วงปี พ.ศ. 2525 มีชาวบ้านเปร็ดในได้ไปศึกษาดูการทานากุ้งที่จังหวัดจันทบุรีแล้วเห็นว่าประสบ ความสาเร็จอย่างดีจึงกลับมาทดลองปฏิบัติในชุมชนจานวน 3 ราย ซึ่งเมื่อทดลองทาแล้วปรากฏว่า ประสบความสาเร็จได้กาไรมหาศาล จึงเป็นสาเหตุที่ทาให้ชาวนาข้าวเปลี่ยนอาชีพมาทานากุ้งกันเป็น จานวนมาก ในระยะเริ่มแรกยังเป็นการทานากุ้งแบบธรรมชาติอยู่ คือใช้วิธีการกักน้าทะเลสูบเข้าไปในนา ในน้านั้นจะมีลูกกุ้งปะปนอยู่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกกุ้งแชบ๊วย จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน ลูกกุ้ง ก็เจริญเติบโตเต็มที่จับขายได้ก็ปล่อยน้าในบ่อออกไป เอาอวนมารอที่ปากบ่อกุ้งก็มาติดที่อวน ซึ่งการทา ในสมัยนั้นไม่ต้องให้อาหารไม่ต้องใช้สารเคมีอีกทั้งความอุดมสมบูรณ์จากป่าชายเลนยังมีอยู่ ดังนั้น ชาวนากุ้งจึงมีรายได้ดีชาวนาข้าวจึงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนมาทานากุ้งด้วยความหวังว่าเพิ่มฐานะของตนให้ดี ขึ้น แต่ก็ยังมีชาวนาข้างอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เต็มใจทานากุ้งแต่ต้องจาใจหันมาทานากุ้ง เนื่องจากเริ่มมีปัญหา จากที่ดินข้างเคียงที่ติดกับที่นาข้าวของตนเป็นนากุ้งกันหมดทาให้มีปัญหาเรื่องน้าเค็ม เพราะผลของการ แพร่กระจายของน้าเค็มจากนากุ้งมีส่วนทาให้ไม่สามารถทานาข้าวได้อีก ซึ่งการทานากุ้งนั้นส่งผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างมาก คือไม่มีใครทานาข้าวได้อีก จาเป็นที่จะต้องซื้อข้าวสารมาบริโภคทุกครัวเรือน เป็น ผลให้ต้องขายวัว ควาย เพราะไม่มีความจาเป็นอีกต่อไปและต้องทางานเพิ่มผลผลิตในส่วนอื่นๆเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาจากการต้องซื้อข้าวบริโภค วิธีการสีข้าวแบบโบราณก็หายไปนอกจากที่ ชาวนาข้าวจาเป็นต้องเปลี่ยนมาทานากุ้งแล้ว ยังเริ่มมีนายทุนเข้ามาทานากุ้งในหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2529 โดยประมาณ การทานากุ้งที่หมู่บ้านเปร็ดในมี 2 แบบ คือการเลี้ยงกุ้งแบบดั้งเดิมและการเลี้ยงกุ้งแบบ พัฒนา ประมาณร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมดที่นานากุ้งแบบพัฒนาคือใช้ใบพัดตีน้าเพื่อเพิ่ม ออกซิเจน มีการคัดเลือกพันธุ์กุ้ง ให้อาหารกุ้ง ใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้น พอนานๆเข้าน้าก็เริ่มเสียเพราะ เมื่อระบายน้าจากนากุ้งไปตามลาคลองในพื้นที่ป่าชายเลน ยังไม่ทันที่น้าเสียไหลลงทะเลก็ถึงเวลาที่น้า ขึ้น ซึ่งน้าขึ้นจะดันเอาน้าเสียที่ปล่อยลงไปกลับคืนมาอีก พอน้าไม่สะอาดการเลี้ยงกุ้งก็เริ่มมีปัญหาเมื่อกุ้ง เกิดโรคก็ติดต่อลุกลามกันทุกบ่อ เนื่องจากใช้น้าจากลาคลองเดียวกันพอปล่อยน้าที่มีกุ้งเป็นโรคออกไป บ่ออื่นดันน้าเข้าไปก็ได้รับเชื้อดังนั้นกุ้งจึงเป็นโรคกันหมดทุกบ่อ พอกุ้งเป็นโรคก็ต้องรีบจับขายซึ่งก็ทาให้ ขาดทุน หรือบางครั้งปล่อยลูกกุ้งลงไป ดูแลไม่ดี อากาศไม่ดี กุ้งตายหมดก็ขาดทุน แล้วชาวนากุ้งส่วน ใหญ่นั้นต้องลงทุนประมาณบ่อละ 200,000 – 300,000 บาท หากมีหลายบ่อต้องใช้เงินนับล้านบาทซึ่งก็
  • 8. 8 ได้ทุนจากการไปกู้ยืมเงินทั้งในและนอกระบบ พอขาดทุนต้องขายที่ดินและทรัพย์สินใช้หนี้ แต่ก่อนการ ทาอาชีพประมงใช้เครื่องมือที่ทาขึ้นเองหาได้ง่ายแต่ต่อมาเมื่อมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยขึ้นมี ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งสูงขึ้น ทาให้สามารถจับปลาได้มากกว่าเดิมแต่ก็ต้องลงทุนสูง ดังนั้นชาวประมงจึง ต้องจับสัตว์น้าให้ได้มากที่สุดในแต่ละครั้งเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่การใช้อวนรุนจับสัตว์น้าจะทาให้ ระบบนิเวศเสียหายเพราะอวนรุนเป็นอวนที่มีตาถี่ทาให้สามารถจับสัตว์น้าได้ทั้งเล็กและใหญ่ เพราะมัน จะลากอวนไปตามหน้าดินไปเรื่อยๆ ซึ่งการจับสัตว์ตัวเล็กๆจะทาให้สัตว์น้าไม่มีโอกาสได้แพร่พันธุ์และ เจริญเติบโตเป็นสัตว์น้าขนาดใหญ่ ถ้าทาแบบนี้ไปเรื่อยๆจะทาให้ต่อไปจะไม่มีสัตว์น้าให้จับอีก จะเห็นได้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหมู่บ้านเปร็ดในจากระบบเศรษฐกิจชุมชนมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุน นิยม เงินเข้ามามีบทบาทกับชาวบ้านเพิ่มมากขึ้นจากการปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือนมาเป็นการปลูก เพื่อเน้นการขายเพื่อนาเงินมาแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมาก ขึ้นรายจ่ายก็สูงขึ้นและมีหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย เกิดการจ้างแรงงานเพราะกิจกรรมการผลิตมีขนาด ใหญ่ขึ้นเกิดการพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้น ชาวบ้านเริ่มเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วจึงมีการ รวมตัวจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้นมาใช้ชาวบ้านมีร้านค้าชุมชนเป็นของตนเองร่วมกันลงทุนค้าขาย พอประมาณ พ.ศ. 2537 สภาพนากุ้งก็ไม่ค่อยดีสารเคมีทาให้น้าเสียคนก็เริ่มหยุดการทานากุ้งแบบ พัฒนา ที่ยังคงทาอยู่ส่วนใหญ่เป็นการทานากุ้งแบบธรรมชาติที่ไม่ต้องใช้สารเคมี เริ่มมีการเลี้ยงปลา เลี้ยงปูในนาแบบธรรมชาติกันขึ้น พอมีการทานากุ้งน้อยลงน้าก็เริ่มดีขึ้นจึงเริ่มมีการรณรงค์ไม่ให้ตัดไม้ ทาลายป่าชายเลนกันอย่างจริงจัง เพราะในช่วงนั้นชาวบ้านิยมปลูกแตงกวาขายกันมาก การปลูก แตงกวาต้องใช้ไม้มาทาค้างแตงค้างถั่ว ซึ่งปีหนึ่งๆใช้ประมาณ 3 แสนตันก็เริ่มให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากไม้ ป่าชายเลนจาพวกไม้โปรง ไม้ฝาดมาเป็นไม้ป่าบก เช่น พวกต้นอ้อที่มีลักษณะคล้ายๆกับไม้ไผ่ ซึ่ง ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเพราะเกิดความตระหนักแล้วว่าถ้ายังคงช่วยกันทาลายป่าอยู่นั้นจะ ทาให้แหล่งทามาหากินขอตนสูญหายไป หลังจากที่ทรัพยากรและระบบนิเวศของป่าชายเลนถูกทาลาย ลงไป ชาวบ้านเปร็ดในเริ่มรับรู้ถึงปัญหาจึงรวมตัวกันต่อต้านนายทุนที่เข้ามาทาลายผืนป่า รวมถึง ร่วมกันคิดหาวิธีการที่จะทาให้ป่าชายเลนของพวกเขาคืนกลับมาเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ต่อไปได้ ชาวบ้านได้รวมตัวกันเรียกร้องต่อหน่วยงานราชการแต่ไม่ประสบผลสาเร็จ ชาวบ้านจึงได้คิด กระบวนการแก้ปัญหาของชุมชนโดยได้รวมตัวกันเข้าหาสื่อมวลและผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง ชาวบ้านในชุมชนได้รับความช่วยเหลือและได้รับความร่วมมือจากนักการเมืองของจังหวัดในขณะนั้นทั้ง กาลังทรัพย์ กาลังคนและความรู้เรื่องกฎหมายทาให้เกิดการดาเนินงานต่อต้านลุล่วงไปได้ จากนั้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมมือปลูกป่ากันเอง หลังจากประสบปัญหาชาวบ้านจึงเริ่มตระหนักและมีกระบวนการ แก้ไขปัญหาภายในชุมชนด้วยตนเอง กลุ่มแกนนาเริ่มปลูกจิตสานึกและสร้างความตระหนักใน ความสาคัญของป่าชายเลนให้ชาวบ้านได้รับความรู้และความเข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากร พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน (ยุคการปรับตัวของชุมชนในปัจจุบัน): หลังจากที่ชาวบ้านในชุมชนเริ่มมี หนี้สินกันมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนเพื่อการประกอบอาชีพ พระอาจารย์สุบิน ปณีโต เริ่มเข้ามา เผยแพร่เรื่องกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์หลังจากมีการรวมกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์แล้ว ชาวบ้านได้มีโอกาส พบปะพูดคุยกันมากขึ้นในทุกๆวันที่ 18 ของทุกเดือน เพราะชาวบ้านต้องมาส่งเงินออมดังนั้นจึงเริ่มได้
  • 9. 9 คุยถึงแนวคิดในการอนุรักษ์ป่าชายเลนและได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบันกลุ่มทั้งสองนี้มี บทบาทอย่างมากในการพัฒนาหมู่บ้าน ในปัจจุบัน พ.ศ. 2543 ชาวบ้านเปร็ดในส่วนใหญ่มีรายได้หลักมา จากการประกอบอาชีพทาสวนผลไม้ชนิดสวนผสม ได้แก่ เงาะ ทุเรียน สัปปะรด ลางสาด ลองกอง มังคุด ระกา และสละเป็นส่วนใหญ่ อาชีพรองลงมาคือการทาสวนยางพารา การทานากุ้งและเพาะเลี้ยงสัตว์น้า นอกนั้นรับจ้างกรีดยางและจับปู ปลา และค้าขายรวมถึงการรับจ้างทางานทุกประเภทในเวลาว่างจาก การทางานหลัก เช่น ทาขนม ซ่อมเครื่องยนต์ รับสร้างบ้าน เป็นช่างไม้ ขายประกันชีวิตและขายตรง สินค้า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาชาวบ้านในชุมชนส่วนหนึ่งได้เรียนรู้ผลเสียจากการพัฒนาที่ผ่านมาจึง ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดาเนินชีวิตกลับมาเป็นแนวทางแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ เทคโนโลยีที่พึ่งพาธรรมชาติ วิถีการผลิตแบบดั้งเดิมที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับธรรมชาติมากนัก การนา ภูมิปัญญาหรือความรู้ที่สั่งสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาใช้ รวมถึงการเปิดรับและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร ที่นามาใช้ประโยชน์กับชุมชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งชาวประมงส่วนหนึ่งที่รับรู้และเข้าใจก็เริ่มเปลี่ยนมา ทาประมงแบบพื้นบ้านทีใช้เครื่องมือหรือวัสดุง่ายๆและเป็นวิธีการจับสัตว์น้าที่มีขนาดใหญ่แทนการจับ สัตว์น้าทุกขนาดเพื่อปล่อยให้สัตว์น้าสามารถแพร่พันธุ์และเจริญเติบโตต่อไปได้ เมื่อการรณรงค์ให้ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเริ่มเห็นผลดีขึ้น คือชาวบ้านให้ความร่วมมือ และหลังจากที่ชาวบ้าน ตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ก็ได้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นในชุมชน ในชุนชนก็ยังมีกลุ่ม อนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน การดาเนินงานของกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนในระยะแรกนั้นมี ปัญหาจากการไม่เข้าใจและข้อบังคับที่ขัดแย้งกับการประกอบอาชีพของชาวบ้านบางกลุ่มทาให้การ ดาเนินงานไม่ราบรื่นแต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งทรัพยากรสัตว์น้าอุดมสมบูรณ์มากเหมือนกับในอดีต ชาวบ้านจึงยอมรับและให้ความร่วมมือ เมื่อชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทางแกนนา ชุมชนจึงได้เริ่มหาเครือข่ายที่จะดาเนินการเรื่องอนุรักษ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายไปที่ชุมชนใกล้เคียงที่มีพื้นที่ ป่าชายเลนติดกันเพราะการอนุรักษ์ผืนป่าไม่สามารถทาได้เพียงแค่หมู่บ้านเดียวเท่านั้น ชุมชนบ้านเปร็ดในมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชุมชนอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การผลิตเพื่อบริโภค ในครัวเรือนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการผลิตเพื่อขายซึ่งทาให้เกิดผลกระทบอย่างมากมายต่อชุมชน หลังจาก ที่ชาวบ้านเปร็ดในร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ชาวบ้านเริ่มมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและ การใช้ทรัพยากรที่เน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น มีจิตสานึกและพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งกิจกรรม ดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงอาชีพที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในการปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตเป็นกระแสการพึ่งพาตนเอง คือ อาชีพทาสวนผลไม้ การทานากุ้งแบบธรรมชาติและประมง พื้นบ้าน จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้มีแนวคิดทางการดาเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมบ้าง คือมีความผสมผสานระหว่างแนวคิดทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งถือได้ว่าเป็น ความพยายามของคนในชุมชนส่วนหนึ่งที่หาหนทางเพื่อปรับตัวเพื่อให้สามารถดารงอยู่ได้ แต่ด้วยความ แตกต่างในด้านต่างๆ ที่ทาให้แต่ละคนมีการแสวงกาทางออกที่จะนาไปสู่การรักษาความพอเพียงซึ่งเป็น หนทางอยู่รอดในรูปแบบที่แตกต่างกัน เราจะพบว่าส่วนหนึ่งยังเลือกวิธีการอยู่รอดโดยผสานตนเองเข้า ไปกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแต่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่บนพื้นฐานของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  • 10. 10 หรืออีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาที่รักษาความพอเพียงไว้ด้วยความพยายามไม่พึ่งพิงผู้อื่น โดยพยายามทาการผลิตเพื่อการบริโภคของตนเองและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มากที่สุดและใช้วิธีการสร้าง ทุนทางสังคมโดยที่อยู่บนพื้นฐานของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยกันอย่างเท่าเทียม กัน ชาวบ้านในชุมชนได้น้อมนาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เพื่อให้ ชุมชนของพวกเขาผ่านพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งชาวบ้านได้นาความคิดของการพอเพียงสามารถ อุ้มชูตัวเองได้อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีก่อน ตั้งตัวให้มี ความพอดีพอกินพอใช้ไม่ใช่มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งพา ตนเองได้ย่อมสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนให้ดีขึ้นได้โดยอยู่ในกรอบความ พอเพียงสาคัญ 3 ประการ 1. ให้ความสาคัญต่อการพึ่งตนเอง มุ่งเน้นการผลิตให้พอเพียงกับความต้องการบริโภคใน ครัวเรือนเป็นอันดับแรกหรือประกอบอาชีพที่พอเพียงต่อความต้องการของตน ลดค่าใช้จ่ายเพื่อเกิด ความพออยู่พอกิน 2. ให้ความสาคัญกับการรวมกลุ่มและมีเครือข่ายที่กว้างขวาง รู้รักสามัคคี เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ เกิดความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มชุมชนต่างๆ เพื่อเป็นรากฐานให้เกิดความอยู่ดีกินดี 3. เศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการเอื้ออาทรและความสงบ สันติสุขช่วยกระตุ้นให้ ชุมชนร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพ เพื่อประโยชน์ไม่ใช่เพียงเพื่อรายได้แต่ต้องเห็นประโยชน์อื่น เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นและความปรองดองใน ชุมชนและสังคม ทาให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในรูปแบบของ กลุ่มและองค์กรประชาชน ซึ่งในชุมชนบ้านเปร็ดในมีพัฒนาการของการปรับเปลี่ยนวิถีทางการดาเนิน ชีวิตอยู่ตลอดเวลาและมีกระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนโดยการรวมกลุ่มในเรื่องของการ ระดมทุนในชุมชน คือกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนหรือกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ซึ่งเป็นผลทาให้ชุมชนได้รับการยอมนับจากนักวิชาการ และสังคมภายนอกว่ามีความเข้มแข็ง สรุป การศึกษาเรื่องพลวัตรชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงมี วัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนในด้านเศรษฐกิจ 2) เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงที่มีในชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านเปร็ดในเริ่มจากการมีเศรษฐกิจที่ เป็นระบบการผลิตแบบดั้งเดิม เพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน มีการปลูกข้าวกินเองการหาอาหารจาก แหล่งธรรมชาติ มีการพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จากนั้นเริ่มมีการปรับเปลี่ยนวีถีชีวิตและรูปแบบ ผลิต ตามกระแสการพัฒนาแบบตะวันตกเริ่มจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา เงาะ ทุเรียน เป็นผลให้วิถีชีวิตแบบการพึ่งพาตนเองหมดไปต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก มีการเข้ามาของ
  • 11. 11 นายทุนเพื่อสัมปทานป่าไม้และปรับเปลี่ยนนาข้าวเป็นนากุ้ง เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลน ทรัพยากรและแหล่งอาหารเสื่อมโทรม และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมค่อยๆลดลง จนกระทั่งชาวบ้าน ในชุมชนตระหนักและช่วยกันแก้ปัญหา ส่วนหนึ่งพยายามปรับเปลี่ยนวิถีการดารงชีวิตตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การผลิตที่มีแนวทางการเกษตรทางเลือกเข้ามาปฏิบัติ ซึ่งใช้ ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและระมัดระวัง การบริโภคที่มีความเรียบง่ายประหยัดใส่ใจสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตและพ่อค้ารู้เท่าทันการมีอานาจต่อรองราคาสินค้า มีจิตใจไม่โลภ ทาให้ทั้งสองฝ่าย ได้รับผลประโยชน์เท่ากัน และในการจัดสรรผลผลิต มีการแบ่งสรรปันส่วนทั้งปัจจัยการผลิตและแบ่งปัน ผลผลิต อาชีพที่เห็นได้ชัดในการดาเนินบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงคือ อาชีพทาสวนผลไม้ การทา นากุ้งแบบธรรมชาติ และประมงพื้นบ้าน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง 1. ผู้นา พระสงฆ์และผู้ใหญ่บ้านนอกจากเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะของความเป็นผู้นาที่ดีในการ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงชุมชนแล้วยังมีบทบาทในการกระตุ้นและจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ดาเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ 2. กระบวนการเรียนรู้และการได้รับการฝึกอบรม การดูงาน ค่านิยม ทัศนคติและการขาด จิตสานึกของสมาชิกในชุมชนทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนบ้าน เปร็ดในเอง 3. กลุ่ม องค์กร และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เด่นชัดคือ กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน และกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยเป็นกลุ่มองค์กรที่ออกกฎและข้อกาหนดที่จะต้องใช้ในกระบวนการผลิต ก่อให้เกิดจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน 4. สังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านเปร็ด ในมีความคิดที่จะพึ่งตนเองไม่เบียดเบียนผู้อื่นใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีเหตุผล ใส่ใจผลกระทบกระบวนการ ผลิต การเคารพกฎชุมชน การเลือกใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องที่เหมาะสมมาใช้ 5. เศรษฐกิจกับภาวะหนี้สิน ชาวบ้านดาเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล ใช้จ่ายอย่างประหยัด บริโภค เท่าที่จาเป็น มีการเก็บออม ประกอบอาชีพสุจริตไม่เป็นที่เดือดร้อนของชาวบ้าน ส่วนภาวะหนี้สินที่ เกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนประกอบอาชีพตามแนวกระแสหลักที่ผ่านมา ทาให้ชาวบ้านเป็นหนี้ทั้งกับ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหนี้นอกระบบ ชาวบ้านต้องยังคงทาการผลิตกระแสหลักต่อไปเพื่อผลผลิตที่ เพียงพอสาหรับค่าตอบแทนที่จะนาไปใช้หนี้ แทนที่จะดาเนินการแบบเกษตรทางเลือกซึ่งจะไม่ทันการ 6. หน่วยงานจากภายนอกชุมชน หน่วยงานจากราชการเข้ามาส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนา อาชีพแก่ประชาชน และหน่วยงานจากเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจกับชาวบ้าน เหล่านี้ทาให้ ชาวบ้านได้รับทั้งผลประโยชน์และสูญเสียบางอย่างไป จนกระทั่งชุมชนเริ่มมีชื่อเสียง หน่วยงานต่างก็เริ่ม ตั้งใจช่วยเหลือและให้คาปรึกษารวมทั้งหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จากการศึกษาชุมชนหมู่บ้านเปร็ดในสะท้อนให้เห็นว่าหมู่บ้านเปร็ดในประสบปัญหาจากกระแส การพัฒนาแบบทันสมัย และมีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการดาเนินชีวิตและประกอบอาชีพ
  • 12. 12 แม้จะมาจากส่วนหนึ่งของชาวชุมชนแต่นับว่ามีความเหมาะสมดีแล้ว เพราะการปรับเปลี่ยนแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงได้นั้นต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งชุมชนเป็นการผสมผสานกันระหว่างแนวคิด แบบกระแสหลักและแนวคิดแบบทางเลือก ซึ่งผู้ปฏิบัติควรเลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแนวคิดและ วิถีทางของตนเองโดยไม่ว่าจะมีแนวคิดแบบใด แต่ถ้ามีแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงสอดแทรกก็กล่าว ได้ว่าชุมชนนั้นใช้แนวคิดนี้เป็นแกนนาในการพลิกฟื้นชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้ง ทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อนาไปสู่ความเข้มแข็งที่ยั่งยืน ข้อเสนอแนะ 1. ควรกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกลุ่ม การมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ให้เกิดความรู้ความ เข้าใจและทักษะในการพัฒนาแนวทางการประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2. หน่วยงานต้องสร้างทัศนคติและความเข้าใจอันดีต่อชาวชุมชน และประสานร่วมมือมองปัญหา และความต้องการของชุมชน และร่วมมือกันแก้ปัญหาและสนองความต้องการโดยคานึงถึงทรัพยากรที่มี และศักยภาพของประชาชน 3. ควรพัฒนาศักยภาพผู้นาให้มากขึ้นทั้งผู้นาฝ่ายฆราวาสช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งมีพลังในการ พัฒนาต่อไป และผู้นาผ่ายสงฆ์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจดึงชาวบ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา 4. แนวคิดที่จะนาไปสู่การดาเนินชีวิตแบบพอเพียงต้องไม่เป็นขนาดที่ใหญ่เกินไปจนไม่สามารถ ควบคุมได้ 5. ควรให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมมากขึ้นโดยการแจ้งผลดีผลเสียให้เกิดการยอมรับที่กว้างขึ้น ควรมี ข้อตกลงและการมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ สมาชิกชุมชน สิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากร
  • 13. 13 ความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนบ้านเปร็ดในกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ชาวบ้านในชุมชนได้นาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติตนของชาวบ้านใน หมู่บ้านในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับชุมชน ชาวบ้านมีหลักการดารงชีวิตด้วยการพึ่งพา ตนเองทางด้านจิตใจต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีจิตสานึกว่าตนนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ยึดหลักการพัฒนา คน ชาวบ้านต้องพึ่งตนเองทางสังคม ให้ชาวบ้านในชุมชนมีการเกื้อกูลกันนาความรู้ที่ได้รับมาถ่ายทอด และเผยแพร่ให้ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ทางทรัพยากรธรรมชาติ มี การนาเอาศักยภาพของผู้คนในท้องถิ่นสามารถเสาะแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติหรือวัสดุในท้องถิ่นที่มี อยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักมีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพึ่งพาตนเองได้ทางเทคโนโลยี ชาวบ้านก็ส่งเสริมให้มีการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ และสิ่งสาคัญสามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้ อย่างเหมาะสม และชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ ชมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองใน ระดับพื้นฐาน แม้ไม่มีเงินก็ยังมีข้าว ปลา ผัก ผลไม้ ในท้องถิ่นเพื่อการยังชีพและสามารถนาไปสู่การ พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน หมู่บ้านยังได้มีฐานคิดการพัฒนาเพื่อความพอเพียงจากฐานคิดดังนี้ คือ 1. ยึดแนวพระราชดาริในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง 2. สร้างพลังทางสังคมโดยการประสานพลังสร้างสรรค์ของทุกฝ่ายในชุมชนและภายนอกชุมชน 3. ยึดพื้นพี่เป็นหลักและใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา 4. ยึดกิจกรรมของชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้และการจัดการร่วมกัน พร้อมทั้งพัฒนา อาชีพที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกของคนในชุมชนที่มีความแตกต่างกันทั้งเทศ วัย การศึกษา ความ ถนัด และฐานะเศรษฐกิจ 5. ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายของชุมชน เพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรมและการ เรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างรอบด้าน ทั้งการศึกษา สาธารณสุข การฟื้นฟูวัฒนธรรม รวมถึงการจัดการ สิ่งแวดล้อม 6. วิจัยและพัฒนาธุรกิจชุมชนอย่างครอบวงจร ทั้งการผลิต แปรรูป ขาบ และบริโภค โดยให้ ความสาคัญต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและทรัพยากรของท้องถิ่น 7. พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มีศักยภาพสูงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจชุมชน พร้อมทั้งใช้เป็น สถานที่สาหรับศึกษาดูงานและฝึกอบรม ชุมชนบ้านเปร็ดในถือเป็นชุมชนที่มีความเป็นพลวัต คือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งในการ กาหนดกฎเกณฑ์ ข้อบังคับในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ความเป็นพวกเดียวกันการใส่ใจ เอื้ออาทรและใส่ใจ ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่มีความเหมาะสมกับ การดาเนินชีวิตในทุกๆด้านของชาวบ้านในชุมชน โดยที่สมาชิกของชุมชนเป็นผู้กาหนดโครงสร้าง ระเบียบ กติกา และควบคุมทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ซึ่งผู้นาก็มีความสาคัญต่อชุมชนเป็นอย่าง มาก เพราะเป็นผู้ที่สามารถนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชุมชนได้ ส่วนจะเป็นไปในทิศทางใดนั้นขึ้นอยู่ กับความเชื่อมั่น ศรัทธาของชาวบ้านและการนาของผู้นา ในชุนบ้านเปร็ดในได้ผู้นาที่ดีและมีคุณธรรม รวมทั้งชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี มีความสามัคคีและเอื้ออาทรต่อกันทาให้สามารถพา ชุมชนก้าวข้ามปัญหาต่างๆ ที่ชุมชนประสบปัญหาและสามารถแก้ปัญหานั้นให้ผ่านไปได้ด้วยดี ปัจจัยที่