SlideShare a Scribd company logo
1 of 5
Download to read offline
บทที่ 3
แนวคิดการประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติ (Risk Assessment)
การประเมินความเสี่ยง คือ ความพยายามที่จะอธิบายให้เห็นความเสี่ยงให้เด่นชัดและน่าสนใจ
เพื่อทาให้ผู้คนเกิดตระหนักต่อภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการคาดประมาณ (หรือผลผลิตของ
ความน่าจะเป็น) ซึ่งการประเมินความเสี่ยงนั้นเป็นการนาความน่าจะเป็นของการเกิดภัยพิบัติรอบใหม่ที่
มีฐานการคานวณมาจากข้อมูลการเกิดภัยพิบัติที่สนใจนั้นในอดีต โดยนามาอธิบายให้เป็นขนาดหรือ
ปริมาณ และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3.1 องค์ประกอบของการประเมินความเสี่ยง
ในการพิจารณาองค์ประกอบต่างๆในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยจากอดีต รวมทั้งพื้นที่ใหม่ที่คาดหมาย
เพื่อประเมินถึงความเสี่ยงบนพื้นที่เหล่านั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน (Nossin, 1989 )1 ได้แก่
1) การทาแผนที่ เพื่อแสดงบริเวณขอบเขตพื้นที่เสี่ยงภัยโดยอาศัยเทคนิควิธีต่างๆ
2) การประเมินความอ่อนแอของพื้นที่ วัตถุ หรือมนุษย์ ที่อาจทาให้เกิดความสูญเสีย เสียหาย
อันเป็นผลมาจากการเกิดภัย
3) ลาดับความสาคัญด้านปัจจัยทางภูมิศาสตร์ คือการลาดับความสาคัญในการรับมือ หรือการ
เน้นให้ความสาคัญเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อนหลังที่มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นระบบอย่างระมัดระวัง
ซึ่งต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่อยู่ภายในพื้นที่ คือ
ความเปราะบาง (Vulnerability)
คือสิ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือสิ่งที่อยู่ใน
ความเสี่ยง หรืออาจเป็นระบบที่มีความอ่อนแอ ง่ายต่อการเกิดความเสียหาย สามารถทาให้ชุมชนได้รับ
ผลกระทบจากภัยที่เกิดขึ้นมากขึ้น
องค์ประกอบของความเปราะบาง (Vulnerable Elements)
ได้แก่ มนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น สังหาริมทรัพย์ และ
อสังหาริมทรัพย์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความอ่อนแอ ง่ายต่อการเกิด
ความเสียหาย สามารถทาให้ชุมชนได้รับผลกระทบจากภัยที่เกิดขึ้นมากขึ้น
1 Nossin, 1989. Nossin J.Aerospace survey of natural hazards: the new possibilities. ITC J., 3/4 (1989), pp. 183-188.
ความสามารถในการรับมือ (Capacity)
หมายถึง กาลัง ทักษะเฉพาะทาง หรือทรัพยากร ที่ชุมชน องค์กรในพื้นที่ประสบภัยสามารถเอา
มาใช้ตอบโต้ ให้ภัยพิบัติลดความรุนแรงลง
การจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management)
หมายถึงการดาเนินการต่างๆ ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ เพื่อควบคุมภัย
พิบัติ และเพื่อจัดหากรอบให้ความช่วยเหลือบุคคล และ/หรือชุมชนที่อยู่ในอันตราย ให้หลีกเลี่ยง ลด และ
ฟื้นตัวจากผลกระทบจากภัยพิบัติ
ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ (Risk)
หมายถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายหรือคาดว่าจะมีความเสียหายทั้งในชีวิต การ
บาดเจ็บ สูญเสียทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ หรือความเสียหายต่อ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ หรือมนุษย์ และสภาวะที่มีความ
เปราะบาง
ความเสี่ยงจาเพาะ (Specific Risk)
ความเสี่ยงที่มีลักษณะเฉพาะตัว สามารถคาดประมาณระดับความสูญเสียได้ ทั้งนี้ขึ้นกับ
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางประเภท ซึ่งสามารถอธิบายได้จากผลกระทบหรือผลผลิตที่เกิดจาก
Hazard and Vulnerability ดังนี้
Specific Risk = (Hazard * Vulnerability) (2)
ความเสี่ยงสุทธิ (Total Risk)
คือปริมาณหรือจานวนความสูญเสียเชิงตัวเลขที่คาดประมาณ จานวนผู้บาดเจ็บ ความเสียหาย
ต่อทรัพย์สิน หรือความเสียหายทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เป็นผลมาจากปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบางประเภท ซึ่งสามารถอธิบาย ความเสี่ยงสุทธิที่ได้จากผลผลิตของ Specific
Risk และ Elements at Risk ดังนี้
Total Risk = (Elements at Risk)*(SpecificRisk)=(Elements at Risk)*(Hazard*Vulnerability) (3)
ดังภาพที่ 1 ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง ภัยอันตราย ความเปราะบางของสิ่งต่างๆที่อยู่ใน
ภาวะอันตราย และ ความเสี่ยง (รถยนต์, ถนน, ผู้โดยสารและคนขับรถ, ท่อสาธารณูปโภค) ในบริเวณพื้น
ที่ดินถล่ม (van Westen, 1993) 2
2 van Westen., C.J., 1993. Application of Geographical Information Systems to landslide hazard zonation, Ph.D.
Thesis, Technical University of Delft, International Institute for Aerospace Survey and Earth Sciences, Enschede, The
Netherlands, ITC Publication 15, v.1, 245p.
หากสถานการณ์นั้นไม่มีสิ่งที่เป็นความล่อแหลมก็ไม่ต้องเอาปัจจัยของความล่อแหลมเข้าไปใส่ใน
การคานวณ
แนวคิดการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ
ในการดาเนินชีวิตประจาวันของมนุษย์ อาจมีเหตุการณ์บางสิ่งบางอย่างที่เป็นภัยอันตรายต่อ
มนุษย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่เป็นภยันตรายไม่ว่าจะเป็นภัยที่เกิดจากมนุษย์ หรือ
ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ ดังนั้น ในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยอันตรายที่ไม่คาดฝันต่างๆ จึงได้มี
การประเมินหรือกาหนดความเสี่ยง ซึ่งการประเมินความเสี่ยงคือการประเมินเพื่อหาโอกาสความน่าจะ
เป็นของเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น โดยเป็นไปตามแนวความคิดพื้นฐานของ
Fournier d’Albe (1079) 3 ดังนี้
 ภัย (Hazard) หมายถึง อันตรายที่เกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทาของมนุษย์ ซึ่ง
นามาซึ่งความสูญเสียหรือความเสียหาย
 ความล่อแหลม (Vulnerability) หมายถึง ปัจจัยทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและ
สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดผลกระทบจากภัยนั้นๆ มากยิ่งขึ้น
 ศักยภาพหรือความสามารถในการจัดการกับภัย(Capacity)หมายถึง ความสามารถ
ในการจัดการหรือรับมือกับภัยที่เกิดขึ้น โดยการใช้ทักษะ องค์ความรู้ และทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในการ
ตอบสนองและเตรียมการรับมือกับภัย
3 E. M. Fournier d'Albe. (1979). Objectives of volcanic monitoring and prediction. Journal of the Geological Society ; 136 (3):
321–326. doi: https://doi.org/10.1144/gsjgs.136.3.0321
ความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ = ภัย x ความล่อแหลม .
ความสามารถในการจัดการกับภัย
หากชุมชนใดที่ประสบภัยและมีศักยภาพในการจัดการกับภัยได้ด้วยตนเอง ความเสียหายที่
มีต่อชีวิตและทรัพย์สินก็จะน้อยลง แต่ถ้าหากชุมชนใดไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการกับภัยที่เกิดขึ้น
จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก
ตามตัวอย่างนี้ ก้อนหินได้เคลื่อนตัวมาอยู่ตรงริมภูเขาที่อยู่เหนือบริเวณที่ตั้งชุมชน ซึ่งถือว่า
ก้อนหินคือ “ภัย” และหากมีการตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเชิงเขา หมู่บ้านเหล่านี้ถือว่ามี “ความล่อแหลม” ที่
จะถูกก้อนหินหล่นลงมาทับ ซึ่งหากชุมชนไม่มี “ศักยภาพหรือความสามารถในการจัดการ” กับก้อนหินที่
มีโอกาสหล่นลงมา ก็จะส่งผลให้เกิด “ความเสี่ยง” ที่จะเกิด “ภัยพิบัติ” แก่ชุมชนหรือหมู่บ้านนี้ได้
อย่างไรก็ตามการประเมินความเสี่ยงควรที่ดี จะต้องคานึงถึงองค์ประกอบต่างๆดังนี้
 เหตุการณ์ต่อเนื่องจากภัยหลักที่เกิดขึ้นคืออะไร
 ความรุนแรง ความถี่ และระยะเวลาของผลกระทบที่เกิดขึ้น
 ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้น และผลที่ตามมาในภายหลังต่อสุขภาพ
สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยง อื่นๆ
องค์ประกอบการประเมินความเสี่ยง
โดยทั่วไปแล้ว การประเมินความเสี่ยงจะถูกกาหนดโดยปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมเอาความรู้ทางด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับของประสบการณ์ในการประเมินความเสี่ยง ลักษณะเฉพาะของสภาพ
ทาเลที่ตั้งของท้องถิ่น ความเกี่ยวเนื่องของชุมชน และกฎเกณฑ์ของสภาพแวดล้อม ดังนั้นในการประเมิน
ความเสี่ยงจึงประกอบไปด้วยวิธีการต่อไปนี้
 การจาแนกประเภทของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น เป็นการกาหนดปริมาณ รูปแบบ และตาแหน่งที่ตั้ง
 การวิเคราะห์อันตราย คือกระบวนการวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสความน่าจะเป็น หรืออัตราการ
แพร่กระจายของอันตรายนั้นๆ
 การประมาณความเสี่ยง ซึ่งเป็นความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างผู้รับ และภัยพิบัติในการประมาณ
การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์
 การหาค่าความเสี่ยง เป็นการหาค่าที่ออกมาในรูปแบบของการประมาณการความเสียหาย
หากภัยพิบัติเกิดขึ้น โดยค่าที่ออกมาได้จะเป็นค่าจาเพาะของพื้นที่นั้น เพราะความสามารถใน
การรับมือกับเป็นสิ่งที่ตอบสนองสอดคล้อง ภัย ความล่อแหลมและความเปราะบางของพื้นที่ใน
จุดนั้นเอง หากความสามารถในการรับมือนั้นเคลื่อนย้ายไม่ได้ หรือศักยภาพไม่พอที่จะเอาไป
ช่วยเหลือพื้นที่อื่นมันก็ไม่สามารถเอาไปแชร์กับพื้นที่อื่นได้
ค่าความเสี่ยงที่ได้จึงเป็นเพียงตัวเลขสาหรับเทียบเคียง เอาไว้พิจารณาระดับความเสี่ยงกับพื้นที่
อื่นในเหตุการณ์เดียวกัน เพื่อประเมินสถานการณ์ในการให้ความช่วยเหลือหรือใช้วางแผนรับมือกับ
ภาวะฉุกเฉินที่จาเป็นจะต้องประสานการเคลื่อนย้ายทรัพยากรและกาลังคนเข้ามาควบคุมสถานการณ์
นั่นเอง

More Related Content

More from freelance

Ch 1 disaster education
Ch 1 disaster educationCh 1 disaster education
Ch 1 disaster educationfreelance
 
Ch 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentCh 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentfreelance
 
Ch 6 geological hazard
Ch 6  geological hazardCh 6  geological hazard
Ch 6 geological hazardfreelance
 
Ch 5 fire hazard
Ch 5 fire hazardCh 5 fire hazard
Ch 5 fire hazardfreelance
 
Ch 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionCh 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionfreelance
 
Week 8 survival
Week 8 survivalWeek 8 survival
Week 8 survivalfreelance
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalfreelance
 
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)freelance
 
Week 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsWeek 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsfreelance
 
Week 4 disaster risk reduction
Week 4  disaster risk reductionWeek 4  disaster risk reduction
Week 4 disaster risk reductionfreelance
 
Week 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsWeek 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsfreelance
 
Week 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessmentWeek 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessmentfreelance
 
Week 1 intro to disaster
Week 1 intro to disasterWeek 1 intro to disaster
Week 1 intro to disasterfreelance
 
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขปกลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขปfreelance
 
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2freelance
 
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงfreelance
 
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่freelance
 
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคงกลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคงfreelance
 
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือกลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือfreelance
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเราfreelance
 

More from freelance (20)

Ch 1 disaster education
Ch 1 disaster educationCh 1 disaster education
Ch 1 disaster education
 
Ch 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessmentCh 7 damange and need assessment
Ch 7 damange and need assessment
 
Ch 6 geological hazard
Ch 6  geological hazardCh 6  geological hazard
Ch 6 geological hazard
 
Ch 5 fire hazard
Ch 5 fire hazardCh 5 fire hazard
Ch 5 fire hazard
 
Ch 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reductionCh 4 disaster risk reduction
Ch 4 disaster risk reduction
 
Week 8 survival
Week 8 survivalWeek 8 survival
Week 8 survival
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medical
 
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
Week 7 geo hazard and damage and need assessment (DANA)
 
Week 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systemsWeek 6 geo hazard and Incident command systems
Week 6 geo hazard and Incident command systems
 
Week 4 disaster risk reduction
Week 4  disaster risk reductionWeek 4  disaster risk reduction
Week 4 disaster risk reduction
 
Week 2 disaster informatics
Week 2 disaster informaticsWeek 2 disaster informatics
Week 2 disaster informatics
 
Week 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessmentWeek 3 meteorological hazard and risk assessment
Week 3 meteorological hazard and risk assessment
 
Week 1 intro to disaster
Week 1 intro to disasterWeek 1 intro to disaster
Week 1 intro to disaster
 
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขปกลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
กลุ่มรียากระดาษแอนเดอะแก๊งค์ --สรุปหนังสือปราชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป
 
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
กลุ่มRobot มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน-2
 
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยงผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
ผู้ใหญ่ปอย --ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เชื่อมโยง
 
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
กลุ่มMixer --เสรีนิยมใหม่
 
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคงกลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
กลุ่มไหน -- สิ่งแวดล้อมกับความมั่นคง
 
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือกลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
กลุ่มควายโบ้ --พลังงานหมุนเวียนกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปหนังสือ
 
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรากลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
กลุ่มสตรีเหล็ก --ความเป็นโลก X ความเป็นเรา
 

Ch 3 disaster risk assessment

  • 1. บทที่ 3 แนวคิดการประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติ (Risk Assessment) การประเมินความเสี่ยง คือ ความพยายามที่จะอธิบายให้เห็นความเสี่ยงให้เด่นชัดและน่าสนใจ เพื่อทาให้ผู้คนเกิดตระหนักต่อภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการคาดประมาณ (หรือผลผลิตของ ความน่าจะเป็น) ซึ่งการประเมินความเสี่ยงนั้นเป็นการนาความน่าจะเป็นของการเกิดภัยพิบัติรอบใหม่ที่ มีฐานการคานวณมาจากข้อมูลการเกิดภัยพิบัติที่สนใจนั้นในอดีต โดยนามาอธิบายให้เป็นขนาดหรือ ปริมาณ และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 3.1 องค์ประกอบของการประเมินความเสี่ยง ในการพิจารณาองค์ประกอบต่างๆในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยจากอดีต รวมทั้งพื้นที่ใหม่ที่คาดหมาย เพื่อประเมินถึงความเสี่ยงบนพื้นที่เหล่านั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน (Nossin, 1989 )1 ได้แก่ 1) การทาแผนที่ เพื่อแสดงบริเวณขอบเขตพื้นที่เสี่ยงภัยโดยอาศัยเทคนิควิธีต่างๆ 2) การประเมินความอ่อนแอของพื้นที่ วัตถุ หรือมนุษย์ ที่อาจทาให้เกิดความสูญเสีย เสียหาย อันเป็นผลมาจากการเกิดภัย 3) ลาดับความสาคัญด้านปัจจัยทางภูมิศาสตร์ คือการลาดับความสาคัญในการรับมือ หรือการ เน้นให้ความสาคัญเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อนหลังที่มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นระบบอย่างระมัดระวัง ซึ่งต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบที่อยู่ภายในพื้นที่ คือ ความเปราะบาง (Vulnerability) คือสิ่งที่อาจได้รับความเสียหายจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือสิ่งที่อยู่ใน ความเสี่ยง หรืออาจเป็นระบบที่มีความอ่อนแอ ง่ายต่อการเกิดความเสียหาย สามารถทาให้ชุมชนได้รับ ผลกระทบจากภัยที่เกิดขึ้นมากขึ้น องค์ประกอบของความเปราะบาง (Vulnerable Elements) ได้แก่ มนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความอ่อนแอ ง่ายต่อการเกิด ความเสียหาย สามารถทาให้ชุมชนได้รับผลกระทบจากภัยที่เกิดขึ้นมากขึ้น 1 Nossin, 1989. Nossin J.Aerospace survey of natural hazards: the new possibilities. ITC J., 3/4 (1989), pp. 183-188.
  • 2. ความสามารถในการรับมือ (Capacity) หมายถึง กาลัง ทักษะเฉพาะทาง หรือทรัพยากร ที่ชุมชน องค์กรในพื้นที่ประสบภัยสามารถเอา มาใช้ตอบโต้ ให้ภัยพิบัติลดความรุนแรงลง การจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management) หมายถึงการดาเนินการต่างๆ ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ เพื่อควบคุมภัย พิบัติ และเพื่อจัดหากรอบให้ความช่วยเหลือบุคคล และ/หรือชุมชนที่อยู่ในอันตราย ให้หลีกเลี่ยง ลด และ ฟื้นตัวจากผลกระทบจากภัยพิบัติ ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ (Risk) หมายถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายหรือคาดว่าจะมีความเสียหายทั้งในชีวิต การ บาดเจ็บ สูญเสียทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ หรือความเสียหายต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ หรือมนุษย์ และสภาวะที่มีความ เปราะบาง ความเสี่ยงจาเพาะ (Specific Risk) ความเสี่ยงที่มีลักษณะเฉพาะตัว สามารถคาดประมาณระดับความสูญเสียได้ ทั้งนี้ขึ้นกับ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางประเภท ซึ่งสามารถอธิบายได้จากผลกระทบหรือผลผลิตที่เกิดจาก Hazard and Vulnerability ดังนี้ Specific Risk = (Hazard * Vulnerability) (2) ความเสี่ยงสุทธิ (Total Risk) คือปริมาณหรือจานวนความสูญเสียเชิงตัวเลขที่คาดประมาณ จานวนผู้บาดเจ็บ ความเสียหาย ต่อทรัพย์สิน หรือความเสียหายทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เป็นผลมาจากปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบางประเภท ซึ่งสามารถอธิบาย ความเสี่ยงสุทธิที่ได้จากผลผลิตของ Specific Risk และ Elements at Risk ดังนี้ Total Risk = (Elements at Risk)*(SpecificRisk)=(Elements at Risk)*(Hazard*Vulnerability) (3) ดังภาพที่ 1 ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง ภัยอันตราย ความเปราะบางของสิ่งต่างๆที่อยู่ใน ภาวะอันตราย และ ความเสี่ยง (รถยนต์, ถนน, ผู้โดยสารและคนขับรถ, ท่อสาธารณูปโภค) ในบริเวณพื้น ที่ดินถล่ม (van Westen, 1993) 2 2 van Westen., C.J., 1993. Application of Geographical Information Systems to landslide hazard zonation, Ph.D. Thesis, Technical University of Delft, International Institute for Aerospace Survey and Earth Sciences, Enschede, The Netherlands, ITC Publication 15, v.1, 245p.
  • 3. หากสถานการณ์นั้นไม่มีสิ่งที่เป็นความล่อแหลมก็ไม่ต้องเอาปัจจัยของความล่อแหลมเข้าไปใส่ใน การคานวณ แนวคิดการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ ในการดาเนินชีวิตประจาวันของมนุษย์ อาจมีเหตุการณ์บางสิ่งบางอย่างที่เป็นภัยอันตรายต่อ มนุษย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่เป็นภยันตรายไม่ว่าจะเป็นภัยที่เกิดจากมนุษย์ หรือ ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ ดังนั้น ในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยอันตรายที่ไม่คาดฝันต่างๆ จึงได้มี การประเมินหรือกาหนดความเสี่ยง ซึ่งการประเมินความเสี่ยงคือการประเมินเพื่อหาโอกาสความน่าจะ เป็นของเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น โดยเป็นไปตามแนวความคิดพื้นฐานของ Fournier d’Albe (1079) 3 ดังนี้  ภัย (Hazard) หมายถึง อันตรายที่เกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทาของมนุษย์ ซึ่ง นามาซึ่งความสูญเสียหรือความเสียหาย  ความล่อแหลม (Vulnerability) หมายถึง ปัจจัยทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดผลกระทบจากภัยนั้นๆ มากยิ่งขึ้น  ศักยภาพหรือความสามารถในการจัดการกับภัย(Capacity)หมายถึง ความสามารถ ในการจัดการหรือรับมือกับภัยที่เกิดขึ้น โดยการใช้ทักษะ องค์ความรู้ และทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในการ ตอบสนองและเตรียมการรับมือกับภัย 3 E. M. Fournier d'Albe. (1979). Objectives of volcanic monitoring and prediction. Journal of the Geological Society ; 136 (3): 321–326. doi: https://doi.org/10.1144/gsjgs.136.3.0321
  • 4. ความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ = ภัย x ความล่อแหลม . ความสามารถในการจัดการกับภัย หากชุมชนใดที่ประสบภัยและมีศักยภาพในการจัดการกับภัยได้ด้วยตนเอง ความเสียหายที่ มีต่อชีวิตและทรัพย์สินก็จะน้อยลง แต่ถ้าหากชุมชนใดไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการกับภัยที่เกิดขึ้น จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก ตามตัวอย่างนี้ ก้อนหินได้เคลื่อนตัวมาอยู่ตรงริมภูเขาที่อยู่เหนือบริเวณที่ตั้งชุมชน ซึ่งถือว่า ก้อนหินคือ “ภัย” และหากมีการตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเชิงเขา หมู่บ้านเหล่านี้ถือว่ามี “ความล่อแหลม” ที่ จะถูกก้อนหินหล่นลงมาทับ ซึ่งหากชุมชนไม่มี “ศักยภาพหรือความสามารถในการจัดการ” กับก้อนหินที่ มีโอกาสหล่นลงมา ก็จะส่งผลให้เกิด “ความเสี่ยง” ที่จะเกิด “ภัยพิบัติ” แก่ชุมชนหรือหมู่บ้านนี้ได้
  • 5. อย่างไรก็ตามการประเมินความเสี่ยงควรที่ดี จะต้องคานึงถึงองค์ประกอบต่างๆดังนี้  เหตุการณ์ต่อเนื่องจากภัยหลักที่เกิดขึ้นคืออะไร  ความรุนแรง ความถี่ และระยะเวลาของผลกระทบที่เกิดขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้น และผลที่ตามมาในภายหลังต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยง อื่นๆ องค์ประกอบการประเมินความเสี่ยง โดยทั่วไปแล้ว การประเมินความเสี่ยงจะถูกกาหนดโดยปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมเอาความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับของประสบการณ์ในการประเมินความเสี่ยง ลักษณะเฉพาะของสภาพ ทาเลที่ตั้งของท้องถิ่น ความเกี่ยวเนื่องของชุมชน และกฎเกณฑ์ของสภาพแวดล้อม ดังนั้นในการประเมิน ความเสี่ยงจึงประกอบไปด้วยวิธีการต่อไปนี้  การจาแนกประเภทของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น เป็นการกาหนดปริมาณ รูปแบบ และตาแหน่งที่ตั้ง  การวิเคราะห์อันตราย คือกระบวนการวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสความน่าจะเป็น หรืออัตราการ แพร่กระจายของอันตรายนั้นๆ  การประมาณความเสี่ยง ซึ่งเป็นความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างผู้รับ และภัยพิบัติในการประมาณ การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์  การหาค่าความเสี่ยง เป็นการหาค่าที่ออกมาในรูปแบบของการประมาณการความเสียหาย หากภัยพิบัติเกิดขึ้น โดยค่าที่ออกมาได้จะเป็นค่าจาเพาะของพื้นที่นั้น เพราะความสามารถใน การรับมือกับเป็นสิ่งที่ตอบสนองสอดคล้อง ภัย ความล่อแหลมและความเปราะบางของพื้นที่ใน จุดนั้นเอง หากความสามารถในการรับมือนั้นเคลื่อนย้ายไม่ได้ หรือศักยภาพไม่พอที่จะเอาไป ช่วยเหลือพื้นที่อื่นมันก็ไม่สามารถเอาไปแชร์กับพื้นที่อื่นได้ ค่าความเสี่ยงที่ได้จึงเป็นเพียงตัวเลขสาหรับเทียบเคียง เอาไว้พิจารณาระดับความเสี่ยงกับพื้นที่ อื่นในเหตุการณ์เดียวกัน เพื่อประเมินสถานการณ์ในการให้ความช่วยเหลือหรือใช้วางแผนรับมือกับ ภาวะฉุกเฉินที่จาเป็นจะต้องประสานการเคลื่อนย้ายทรัพยากรและกาลังคนเข้ามาควบคุมสถานการณ์ นั่นเอง