SlideShare a Scribd company logo
1 of 23
Download to read offline
1
ปัญหาและความท้าทายของการศึกษาไทย
รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
บทนา
การศึกษาไทยมีปัญหาสะสมมาอย่างยาวนานเฉกเช่นเดียวกับปัญหาสังคมการเมืองอื่นๆของ
สังคมไทย หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 เกิดกระแสการปฏิรูปการเมืองขึ้นมาอย่างเข้มข้น
และกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมไทยเกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาสังคมต่างๆที่เชื่อมโยงกับปัญหา
การเมือง ปัญหาการศึกษาก็เป็นหนึ่งในจานวนปัญหาสาคัญของสังคมไทย ดังนั้นเมื่อมีการเขียน
รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศพ.ศ. 2540 ขึ้นมา คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญจึงเขียนไว้ในมาตรา 81 ว่า
“ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติขึ้นมา” และเมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ประกาศใช้ได้
ประมาณ 2 ปี รัฐสภาจึงได้ออก “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” ขึ้นมา1
เพื่อใช้
กฎหมายฉบับนี้เป็นแนวทางและมาตรการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยทั้งระบบ
อย่างไรก็ตามภายหลังที่มีการนากฎหมายการศึกษาแห่งชาติไปปฏิบัติกว่าทศวรรษ ผลลัพธ์ที่
เกิดขึ้นกลับไม่เป็นตามเป้าประสงค์ที่คาดหวังเอาไว้ คุณภาพการศึกษาในภาพรวมของประเทศไทย
กลับมีแนวโน้มตกต่าลงอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การศึกษาทั้งระบบก็ยิ่งเลวร้ายกว่าเดิมเสียอีกมี
หลักฐานมากมายที่บ่งบอกถึงสถานการณ์วิกฤติของการศึกษาไทย หลักฐานอย่างแรกคืองานวิจัยของ
ทีดีอาร์ไอ ซึ่งทาในปี 2555 เรื่อง “การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง”
ซึ่งผลการศึกษาระบุอย่างชัดเจนว่า การปฏิรูปการศึกษาประสบความล้มเหลว ทั้งที่ประเทศไทยมีการ
เพิ่มงบประมาณการศึกษาเพิ่มขึ้น 2 เท่า จานวนงบประมาณที่ใช้ก็ไม่น้อยกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค
เดียวกัน เงินเดือนครูก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เด็กไทยก็ใช้เวลาในการเรียนมากเมื่อเทียบกับ
1
หลังจากประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติมีการแก้ไข 3 ครั้ง ครั้งแรกปี 2545 ภายใต้เหตุผลว่า
รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการการศึกษา และให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทาหน้าที่พิจารณาเสนอ
นโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรอาชีวศึกษา มีการแยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไป
จัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม มีการปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับ
ความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย (ดูใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๖/
๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕) ต่อมาแก้ไขครั้งที่ 2 ในปี 2553 โดยแยกพื้นที่การศึกษาระหว่างประถมศึกษาและ
มัธยมศึกษาออกจากกัน มีเหตุผลว่าการจัดพื้นที่การศึกษาแบบเดิมที่มีการรวมพื้นที่การศึกษาสองระดับเข้าด้วยกันมี
ความไม่คล่องตัวในการบริหารและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๔๕ ก/
หน้า ๑/ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓) ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศ
คาสั่งที่ 10/2559 และ 11/2559 ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
และจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และคณะกรรมการ
ศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ขึ้นมาทาหน้าที่แทน ภายใต้เหตุผลที่ว่า โครงสร้างแบบเดิมมีปัญหาการสั่งการและการ
บริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นเอกภาพ (ดูใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ /ตอนพิเศษ ๖๘ ง. /หน้า
๑ / ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙)
2
ประเทศเพื่อนบ้าน แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเมื่อวัดจากผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในระดับประถมและมัธยม กลับพบว่าคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนไทยได้รับ
แต่ละวิชากลับต่ากว่า 50 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นติดต่อกัน
แทบทุกปีและมีแนวโน้มตกต่าลงอย่างต่อเนื่อง2
ยิ่งกว่านั้นจากรายงานการศึกษาของโครงการประเมินนักเรียนระหว่างประเทศ (The
Programme for International Student Assessment PISA) ของกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การ
เพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการอ่าน คณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในระดับกลุ่มที่ได้คะแนนต่าเมื่อเทียบกับประเทศที่เข้าร่วม
โครงการ ในปี 2555 มีการประเมินนักเรียนจาก 64 ประเทศ คะแนนที่นักเรียนไทยได้รับทุกวิชาอยู่
ในระดับต่ากว่าค่าเฉลี่ยรวมของประเทศที่สารวจ การอ่านนักเรียนไทยได้ 441 คะแนน ขณะที่
คะแนนเฉลี่ยรวมทุกประเทศอยู่ที่ 496 คะแนน คณิตศาสตร์นักเรียนไทยได้ 427 คะแนน ขณะที่
คะแนนเฉลี่ยรวมทุกประเทศเท่ากับ 494 คะแนน และวิทยาศาสตร์นักเรียนไทยได้ 444 คะแนน
ขณะที่คะแนนเฉลี่ยรวมทุกประเทศเท่ากับ 501 คะแนน
ส่วนลาดับที่เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ ปรากฏว่านักเรียนไทยอยู่ในกลุ่ม
ต่าทุกวิชา เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน คะแนนของนักเรียนไทยต่ากว่าประเทศสิงคโปร์และ
เวียดนามมาก แต่สูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียเล็กน้อย ยิ่งกว่านั้นรายงานของ PISA ยังระบุว่า
นักเรียนไทยใช้เวลาในการเรียนวิชาต่างๆมากเป็นลาดับต้นๆในบรรดาประเทศต่างๆ3
ซึ่งแสดงว่า
การใช้เวลาเรียนมากไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนที่ได้รับแต่อย่างใด และรายงานของธนาคารโลกก็
ได้ระบุว่า หนึ่งในสามของเด็กไทยที่มีอายุ 15 ปี มีปัญหาการไม่รู้หนังสือ หรืออ่านหนังสืออย่าง
ยากลาบาก โดยอ่านไม่เข้าใจความหมาย จับประเด็นไม่ได้และไม่สามารถใช้งาน และปัญหาของการรู้
หนังสือไม่เพียงพอสาหรับการใช้งานของเด็กในโรงเรียนประจาหมู่บ้านมากถึง 47 %4
กล่าวอีกนัย
หนึ่งได้ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กชนบทที่เรียนในโรงเรียนประจาหมู่บ้านมีความรู้หนังสือไม่เพียงพอ
ในการใช้งานได้
นอกจากผลคะแนนการทดสอบต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย
แล้ว การขยายตัวของโรงเรียนกวดวิชาก็เป็นสิ่งบ่งชี้อีกประการหนึ่งถึงความล้มเหลวของระบบ
2
อัมมาร สยามวาลา และคณะ. (2555). การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
(ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://tdri.or.th/priority-research/s1-amma/ [9 เมษายน 2559]
3
PISA. (2012). Thailand Student performance (Online). Available at:
http://gpseducation.oecd.org/CountryProfile?primaryCountry=THA&treshold=10&topic=PI) [8
เมษายน 2559]
4
The World Bank. (2016). Wanted-A Quality Education for All in Thailand (Online). Available at:
http://www.worldbank.org/en/country/thailand/publication/wanted---a-quality-education-fบor-all-
in-thailand [8 เมษายน 2559]
3
การศึกษาด้วย ประเทศไทยโรงเรียนกวดวิชามีจานวนมากและมีแนวโน้มขยายออกไปทั่วทุกจังหวัด
และทุกระดับชั้นเรียนตั้งแต่ประถมถึงมัธยมปลาย สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช.) ระบุว่า ประเทศไทยมีกลุ่มโรงเรียนกวดวิชาทั้งหมด 1,983 แห่ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร 487
แห่ง และต่างจังหวัด 1,496 แห่งใน 74 จังหวัด และมีเพียง 3 จังหวัดเท่านั้นที่ไม่มีโรงเรียนกวดวิชา
คือ หนองบัวลาพู ปัตตานี และนราธิวาส5
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ชี้ว่า การกวดวิชามีผลลบต่อสังคมเพราะว่าคนจนไม่
สามารถเข้าถึงได้ กลุ่มคนที่เข้าถึงส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่อยู่ในเมือง ดังนั้นสถาบันกวดวิชาจึงเป็น
ปัจจัยหนึ่งที่ขยายความเหลื่อมล้าทางสังคม และการกวดวิชายังเป็นระบบที่บั่นทอนคุณภาพของ
การศึกษาในระบบปกติ เพราะว่าเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับผลประโยชน์มาก
ซึ่งอาจนาไปสู่การทุจริตได้ทั้งในเรื่องเวลาและเนื้อหาการสอนในระบบปกติ6
อะไรคือสาเหตุสาคัญที่ทาให้คุณภาพการศึกษาของไทยต่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
นักวิชาการและผู้กาหนดนโยบายต่างพยายามแสวงหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา
ด้วยหวังว่า หากสามารถค้นพบสาเหตุที่ชัดเจนก็จะได้นามากาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทาง
ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาได้ตรงประเด็น เป็นระบบ และครอบคลุมทุกมิติ ในบทความ
นี้ผู้เขียนจะประมวลและวิเคราะห์สาเหตุที่ส่งผลให้การศึกษาด้อยคุณภาพ และเสนอแนะแนวทางเชิง
นโยบายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สาหรับข้อมูลที่นามาวิเคราะห์เป็นข้อมูลเอกสารซึ่งมีทั้ง
งานวิจัย รายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เอกสารนโยบาย และกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในขั้นต้น
ผู้เขียนจะพิจารณาพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติโดยสังเขปเพื่อพิเคราะห์ในภาพรวมและกาหนดเป็นกรอบ
สาหรับใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ: หลักการและความเป็นจริง
สังคมไทยได้มีความพยายามปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถ
แก้ไขปัญหาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล ความพยายามแก้ปัญหาระบบการศึกษาครั้งใหญ่ได้รับ
การกาหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 25427
ซึ่งมีการนิยามการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มี
การกาหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการเชิงนโยบายและแนวทางการบริหารไว้เป็นหลายประการโดยหวัง
ว่าสิ่งต่างๆที่กาหนดขึ้นมาใหม่จะสร้างคุณภาพการศึกษาของสังคมให้สูงขึ้น พ.ร.บ.ฉบับนี้นิยาม
การศึกษาว่าหมายถึง “กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการ
ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้า
5
Thaipublica. (2013). กวดวิชา มาตรฐานการศึกษาไทยเรียนเพื่อสอบหรือเรียนเพื่อรู้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก:
http://thaipublica.org/2013/03/tutorial-critical-study-of-thailand/ [8 เมษายน 2559]
6
เดลินิวส์. (2557). ยูเนสโกชี้กวดวิชาเลิกยาก (ออนไลน์). สืบค้นจาก:
http://www.dailynews.co.th/education/235613 [ 8 เมษายน 2559]
7
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑/๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒
4
ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัย
เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” สาหรับจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ “การ
จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ต้ อ ง เ ป็ น ไ ป เ พื่ อ พั ฒ น า ค น ไ ท ย ใ ห้ เ ป็ น ม นุ ษ ย์ ที่ ส ม บู ร ณ์ ทั้ ง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิตสามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” หรือที่เรียกว่า “เก่ง ดี มีความสุข” นั่นเอง
สาหรับหลักการเชิงนโยบายและแนวทางการบริหารการศึกษาที่อยู่ใน พ.รบ.ได้มีการกาหนด
เอาไว้ 6 ประการ ประกอบด้วย (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอานาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) มี
การกาหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภท
การศึกษา (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการ
พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่ง
ต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และ
สถาบันสังคมอื่น
เมื่อพิจารณาหลักการเชิงนโยบายและแนวทางการบริหารทั้ง 6 ประการนี้ ผู้เขียนเห็นว่ามี
หลักการบางประการที่เป็นไปได้ยากในการนาไปปฏิบัติภายใต้บริบทการบริหารราชการและการเมือง
ของสังคมไทย และหลักการบางประการเมื่อนาไปปฏิบัติจริงแล้ว นอกจากไม่ช่วยเกื้อหนุนให้บรรลุ
เป้าประสงค์ของการศึกษาแล้ว กลับยังสร้างปัญหาจานวนมากแก่ระบบการศึกษาตามมา จนทาให้
คุณภาพการศึกษาของไทยตกต่าลงอย่างต่อเนื่อง และมิได้เป็นไปตามคานิยาม “การศึกษา” ตามที่
กาหนดไว้ใน พ.ร.บ.นี้แต่อย่างใด ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทาให้การศึกษาไทยประสบความล้มเหลวจึงมี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหลักการทั้ง 6 ประการ ซึ่งผู้เขียนจาแนกเพื่อใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ได้
6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นนโยบาย ประเด็นการบริหารและการจัดการศึกษา ประเด็น
มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ประเด็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ประเด็นผู้ปกครอง
และผู้เรียน และประเด็นการเรียนการสอน
ไร้เอกภาพทางนโยบาย มักง่ายในเชิงปฏิบัติ
พ.ร.บ. การศึกษาฯ ได้กาหนดหลักการเชิงนโยบายเอาไว้ว่า นโยบายการศึกษาต้องมี
เอกภาพทางนโยบายและมีความหลากหลายในเชิงปฏิบัติ หลักการนี้ถูกกาหนดภายใต้ความเชื่อว่า
นโยบายที่จะประสบความสาเร็จนั้นจะต้องมีความเป็นเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีความต่อเนื่อง เพราะความสาเร็จของนโยบายจานวน
มากด้านการศึกษานั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆ หากแต่ต้องใช้ระยะเวลาดาเนินการ
ติดต่อกันเป็นเวลานานพอสมควร เช่น นโยบายกระจายอานาจทางการศึกษาแก่องค์กรปกครองส่วน
5
ท้องถิ่น นโยบายผลิตครูพันธุ์ใหม่ นโยบายการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นอกจากนั้นหลักการนี้ยัง
มีความเชื่อว่าการนานโยบายไปปฏิบัติควรมีความหลากหลาย เพราะว่าบริบทของพื้นที่แต่ละแห่งไม่
เหมือนกัน ดังนั้นภายใต้แนวทางนโยบายเดียวกัน แต่ละพื้นที่อาจกาหนดเป็นวิธีการปฏิบัติได้อย่าง
หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและความถนัดของแต่ละพื้นที่ เช่น นโยบายการลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้ แต่ละพื้นที่อาจคิดวิธีการและกิจกรรมเพื่อเพิ่มการเรียนรู้ให้แก่เด็กแตกต่างกันก็ได้ กล่าว
ในแง่วิชาการด้านนโยบาย การกาหนดหลักการในลักษณะนี้ดูเหมือนมีความเหมาะสมกับนโยบาย
การศึกษา เพราะว่าเป็นนโยบายที่มีขอบเขตกว้างขวางและมีความแตกต่างหลากหลายของบริบท การ
ใช้นโยบายในลักษณะที่จากัดคับแคบ ซึ่งกาหนดวิธีการปฏิบัติจากส่วนกลางและสั่งการให้แต่ละพื้นที่
ปฏิบัติแบบเดียวกันทั้งประเทศดูจะขาดความสมเหตุสมผลไป
แต่ทว่าหลักการที่สมเหตุสมผลและดูเหมาะสมเช่นนี้ เมื่อนาไปใช้จริงกลับต้องประสบกับ
อุปสรรคมากมาย และมีแนวโน้มไปในทางที่ล้มเหลว สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีภายหลัง
หลักการนี้ได้รับการบัญญัติขึ้นมาคือ นโยบายการศึกษาของไทยมีแนวโน้มขาดความเป็นเอกภาพ ไม่มี
ความต่อเนื่อง ทั้งยังขาดความหลากหลายในเชิงปฏิบัติ ความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่องของ
นโยบายเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีระบบการกาหนดนโยบายที่มีประสิทธิผล ซึ่งหมายความว่าต้องมีการนา
ข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัญหา ความคาดหวัง ความต้องการ และวิสัยทัศน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
มาสังเคราะห์ร่วมกันเพื่อกาหนดเป็นเป้าประสงค์ เป้าหมาย และทางเลือกเชิงนโยบายที่มีเหตุผล มี
สมรรถนะสูง และมีความเป็นไปได้ในการนาไปปฏิบัติ อีกทั้งผู้บริหารซึ่งทาหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย
ในแต่ละรุ่นที่เข้ามารับผิดชอบก็ต้องยอมรับกรอบคิดรากฐานเกี่ยวกับเป้าประสงค์และแนวทางหลัก
ของนโยบายการศึกษาในทิศทางเดียวกัน และหากมีการปรับเปลี่ยนนโยบายก็จะต้องดาเนินการอย่าง
มีเหตุมีผลบนรากฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งมีงานวิจัยสนับสนุน มิใช่เป็นไปตามความชอบส่วนตัว
ของผู้บริหารหรือแรงกดดันทางการเมืองของผู้ได้หรือเสียประโยชน์จากนโยบาย ดังนั้นหากจะให้
นโยบายการศึกษามีเอกภาพและต่อเนื่องก็ต้องมีเงื่อนไขสาคัญเบื้องต้นคือ ผู้มาดารงตาแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหารระดับสูงอื่นๆของกระทรวงศึกษาธิการต้องมีกรอบ
คิดเชิงนโยบายที่คล้ายคลึงกัน และควรมีระยะเวลาการดารงตาแหน่งที่ยาวนานเพียงพอเพื่อให้เกิด
ความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนนโยบาย
แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่พ.ศ. 2542 ถึง 2559 ก็คือ
กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯถึง 18 คน เฉลี่ยระยะเวลาในการดารงตาแหน่งของ
แต่ละคนไม่ถึงหนึ่งปี และกลุ่มบุคคลที่มาเป็นรัฐมนตรีก็มีที่มาหลากหลายแหล่งจากพรรคการเมือง
หลายพรรคและจากบุคคลที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมือง8
อีกทั้งผู้มาเป็นรัฐมนตรีจานวนมากก็มี
8
Thaipublica. (2014). เมื่อกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อย 16 ปี 15 คน (ออนไลน์). สืบค้นจาก:
http://thaipublica.org/2014/01/the-performance-period-of-the-minister-of-education/. [ 9 เมษายน
2559]
6
แนวโน้มขาดวิสัยทัศน์ ไม่มีสานึกแห่งพันธกิจด้านการศึกษา และไร้ความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา เมื่อคุณลักษณะของผู้กาหนดนโยบายเป็นดังที่กล่าวทาให้นโยบายทางการ
ศึกษามีความสับสน ขาดเข็มมุ่ง และไม่มีทิศทางที่ชัดเจน และมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งจนขาด
ความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยครั้งมาจากฐานคิดการบริหารระบบราชการในสังคมไทย
ที่เกิดขึ้นอย่างสม่าเสมอจนกระทั่งกลายเป็นประเพณีปฏิบัติคือ เมื่อกระทรวงใดมีการเปลี่ยนแปลง
รัฐมนตรี นโยบายของกระทรวงนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงตามเสมอ ไม่เว้นแม้กระทั่งรัฐมนตรีที่มาจาก
พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเดียวกัน ดังตัวอย่าง นโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาโดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่าย บางช่วงกาหนดเป็น 12 ปีบ้าง บางช่วงก็กาหนด 15 ปี และสาหรับกรณีเรียนฟรี 12 ปี ก็มี
ความสับสนเรื่องการนับจานวนปีว่าจะเริ่มต้นจากระดับใดระหว่างเริ่มจากระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา
ปีที่สาม กับ ประถมปีที่หนึ่งถึงมัธยมศึกษาปีที่หก แต่ละรัฐบาลก็มีแนวทางในเรื่องนี้แตกต่างกัน
ออกไป หรืออย่างนโยบายการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งหาข้อตกลงเป็นแนวทางที่ชัดเจน
ไม่ได้ว่าจะจัดการอย่างไรกับผู้กู้ยืมที่หลีกเลี่ยงการจ่ายเงินคืนแก่กองทุน หรือนโยบายโอนสถาน
การศึกษาให้อยู่ในการกากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เช่นเดียวกัน รัฐมนตรีแต่ละยุคก็หา
แนวทางที่ชัดไม่ได้ว่าจะส่งเสริมให้โอนหรือไม่ส่งเสริมกันแน่
นอกจากนโยบายจะขาดเอกภาพแล้ว ด้านความหลากหลายในเชิงการปฏิบัติก็กลับไม่เกิดขึ้น
การนานโยบายไปปฏิบัติจานวนมากของกระทรวงศึกษาธิการมีลักษณะสับสนและคับแคบ ความ
สับสนเกิดจากความเข้าใจ การตีความในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติแตกต่างกัน ดังนโยบาย
การเรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองเพื่อเป็นเงื่อนไขในการเข้าเรียนของเด็ก มีรัฐมนตรีบางคนได้กล่าว
ถ้อยแถลงระหว่างมอบนโยบายแก่ผู้บริหารเกี่ยวกับเรื่อง ‘แปะเจี๊ยะ’ หรือเงินที่ทางโรงเรียนเรียกเก็บ
จากผู้ปกครองที่ประสงค์ให้บุตรหลานตนเองได้เรียน โดยรัฐมนตรีผู้นั้นได้กล่าวในทานองว่า ถ้า
สถานศึกษาแห่งใดคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการจัดงบประมาณให้ไม่เพียงพอ ก็อาจประกาศรับเงิน
บริจาคจากผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรของตนเองเรียนในโรงเรียนดังกล่าวโดยจัดห้องเรียนเพิ่มขึ้นเพื่อ
รองรับเด็กเหล่านั้น และนาเงินบริจาคไปพัฒนาโรงเรียน9
การแถลงระหว่างการมอบนโยบายใน
ลักษณะนี้ย่อมทาให้ผู้บริหารการศึกษาที่รับฟังเข้าใจและตีความแตกต่างกัน และการปฏิบัติก็แตกต่าง
กัน บางคนอาจเข้าใจว่ารัฐมนตรีสนับสนุนให้เรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองก็อาจนาไปปฏิบัติและเรียก
เก็บเงินจากผู้ปกครองโดยเพิ่มห้องเรียนพิเศษขึ้นมาให้เด็กเรียน บางคนอาจตีความว่านโยบายนี้
ขัดแย้งกับนโยบายเรียนฟรีของรัฐบาล ก็ไม่นาไปปฏิบัติ หรือบางคนอาจเห็นว่านโยบายนี้ไม่ถูกต้อง
เพราะอาจทาให้คุณภาพการศึกษาตกต่าลงไปอีก ทั้งยังสร้างความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้า
ทางการศึกษาขึ้นมา พวกเขาก็อาจจะคัดค้านและไม่ปฏิบัติตาม
9
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2555). เปิดห้องพิเศษรับ แปะเจี๊ยะ สุชาติ ธาดาธารงเวช WHO ARE YOU? (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9550000022245
[ 10 เมษายน 2559]
7
บางนโยบายผู้ปฏิบัติจานวนมากมีแนวโน้มไม่ให้ความสาคัญ และไม่ให้ความร่วมมือในการ
นาไปปฏิบัติเพราะว่าขาดความรู้และกระทบกับอานาจของครูในห้องเรียน ดังเช่น นโยบายการจัดการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นโยบายนี้มีงานวิจัยพบว่า ครูไม่เห็นความสาคัญของนโยบายและไม่ให้
ความร่วมมือในการนานโยบายไปปฏิบัติ เพราะว่าครูขาดความรู้ความเข้าใจหลักคิดและวิธีการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ อีกทั้งไม่มีเวลาเพียงพอสาหรับการเรียนรู้วิธีการสอนในลักษณะ
ดังกล่าวและการนาวิธีการสอนเช่นนั้นไปปฏิบัติจริง10
มีสาเหตุหลักสองประการที่ทาให้เกิดความคับแคบในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ประการแรก ผู้ปฏิบัติขาดความเข้าใจและไม่มีสมรรถนะในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ พวกเขา
จึงใช้การลอกเลียนจากตัวแบบที่ส่วนกลางจัดส่งไปให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือลอกเลียนจากเพื่อนครู
ด้วยกันเองที่มีความสามารถในการปฏิบัติ รูปแบบหรือวิธีการที่ใช้ในการดาเนินงานจึงมีแบบแผน
เดียวกัน ขาดการสร้างนวัตกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น
นโยบายการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นมีงานวิจัยที่ศึกษาปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคม
ศึกษา ซึ่งพบว่าครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์
ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรมาช่วยในการดาเนินการ11
จึงไม่สามารถจัดทาหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นได้ ประการที่สองเกิด
จากระเบียบราชการที่มีความแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น ทาให้โรงเรียนมีข้อจากัดในการเลือก
วิธีการและแนวทางที่นอกเหนือไปจากที่กาหนดเอาไว้ในระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือคู่มือการปฏิบัติ เช่น
นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีการกาหนดตัวชี้วัดจากส่วนกลาง และกาหนดให้ทุกแห่งใช้
ตัวชี้วัดเดียวกันประเมินโดยไม่คานึงถึงความแตกต่างของบริบทและสภาพปัญหาของสถานศึกษาแต่
อย่างใด
กล่าวโดยสรุป นโยบายการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีความมุ่งมั่นทางการเมือง รัฐมนตรีและพรรค
การเมืองที่เข้ามาบริหารมีแนวคิดแตกต่างกันมาก นโยบาย แผน และโครงการที่เกิดขึ้นมีการ
เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขาดความต่อเนื่อง และสร้างความสับสนแก่ผู้
ปฏิบัติเป็นอย่างมาก12
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนาหลักการ “มีเอกภาพทางนโยบาย มีความ
หลากหลายในเชิงปฏิบัติ” ไปใช้ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาจึงกลายเป็นไปในลักษณะที่ว่า “ไร้เอกภาพ
10
พุทธชาด ทองกร.( 2546) .การศึกษาการดาเนินการในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ของโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 (ออนไลน์). สืบค้นจาก:
https://www.researchgate.net/publication/27801232. [ 10 เมษายน 2559]
11
เสาวนีย์ เยาวโรจน์. (2544) การศึกษาการดาเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/259. [10
เมษายน 2559]
12
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). วรากรณ์ ชี้ รมว.ศธ.18 คน ต่างนโยบาย ฉุดการศึกษาไทย (ออนไลน์). สืบค้น
จาก: www.manager.co.th/Qoi/ViewNews.aspx?NewID=9540000086864 [10 เมษายน 2559]
8
ทางนโยบาย มีความมักง่ายในเชิงปฏิบัติ” หรือนโยบายไปปฏิบัติมักจะถูกดาเนินการอย่างเข้าใจบ้าง
ไม่เข้าใจบ้าง ใช้การลอกเลียนเป็นหลัก และทาตามที่ถูกสั่งลงมา
การบริหารและการจัดการการศึกษาเน้นการกระจายอานาจ แต่มีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบและ
ความไว้วางใจ
การบริหารและการจัดการศึกษาที่ผ่านมามีความพยายามกระจายอานาจไปสู่เขตพื้นที่
การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแนวคิดนี้มาจากฐานความเชื่อที่ว่า การ
กระจายอานาจการบริหารการศึกษาหรือการให้อิสระทางการบริหารบุคลากร งบประมาณ และ
วิชาการแก่สถานศึกษาและท้องถิ่น จะทาให้การพัฒนาการศึกษาเป็นไปโดยสอดคล้องกับบริบท
ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะนาไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมายใน
การสร้างคุณภาพการศึกษาขึ้นมาในที่สุด
โครงสร้างการบริหารแบบกระจายอานาจที่กาหนดไว้ใน พ.ร.บ. 2542 คือ การกาหนดหน่วย
บริหารในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยในระยะแรกมีการรวมประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นเขต
พื้นที่การศึกษาเดียวกัน ต่อมาเมื่อปี 2553 ได้มีการปรับปรุง พ.รบ. โดยแยกเขตพื้นที่มัธยมศึกษา
ออกมาเป็นหน่วยบริหารใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะทาให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น ผลจากการปรับปรุงพ.ร.บ.ทาให้มีพื้นที่เขตมัธยมศึกษา 42 เขต และพื้นที่ประถมศึกษา 183
เขต13
ในพื้นที่เขตการศึกษาแต่ละเขตมีคณะกรรมการและสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทาหน้าที่ใน
การบริหารการศึกษาในระดับพื้นที่ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยผู้แทนองค์กร
ชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู
ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบอาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้าน
การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และมีผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็น
กรรมการและเลขานุการ ขณะเดียวกันในแง่การบริหารบุคคลก็ได้มีอนุกรรมการข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่ขึ้นมา ซึ่งมีอานาจและมีความเป็นอิสระในการบริหารงาน
บุคคลภายในเขตพื้นที่การศึกษาสูงมาก
การกาหนดโครงสร้างการบริหารเป็นพื้นที่เขตการศึกษา แม้มีข้อดีในการทาให้แต่ละเขตพื้นที่
มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการบริหารงาน แต่ก็มีผลกระทบทางลบเกิดขึ้นในหลายด้าน
เช่นเดียวกัน ประการแรกคือการบริหารในลักษณะแบบสร้างอาณาจักร ซึ่งหมายถึงแต่ละพื้นที่เขต
การศึกษามุ่งแต่งานภายในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเขตพื้นที่อื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด
และขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้เขตพื้นที่อื่นหรือหน่วยงานอื่นของกระทรวงศึกษาธิการเข้ามายุ่งเกี่ยวใน
13
พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
(ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/098/62.PDF [10 เมษายน
2559]
9
เขตพื้นที่ของตนเองด้วย จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติการทางานแบบ “ต่างคนต่างทาแบบแยกส่วน”
ทาให้การศึกษาในระดับจังหวัดและภูมิภาคขาดการบูรณาการทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง
การบูรณาการในแนวระนาบระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาในระดับเดียวกันภายในจังหวัดไม่
อาจเกิดขึ้น ยิ่งจังหวัดใดมีพื้นที่เขตการศึกษาหลายเขตปัญหาก็ยิ่งมากขึ้น ส่วนการบูรณาการใน
แนวดิ่ง ระหว่างประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาก็เกิดขึ้นได้ยากเช่นเดียวกัน เพราะแต่ละ
ส่วนต่างมุ่งเน้นแต่ระบบย่อยที่ตนเองรับผิดชอบโดยไม่ได้พิจารณาการศึกษาระบบใหญ่ทั้งระบบของ
จังหวัด ทาให้ไม่มีการประสานงาน การแบ่งปันข้อมูล ทรัพยากร ความรู้ และความร่วมมือกันในการ
พัฒนาการศึกษาต่างเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งระดับเขตพื้นที่ประถมศึกษาด้วยกันและระหว่างเขตพื้นที่
ประถมศึกษากับมัธยมศึกษา ยิ่งกว่านั้นหากกระทรวงศึกษาธิการประสงค์จะขับเคลื่อนนโยบายและ
ยุทธศาสตร์การศึกษาในเชิงบูรณาการระดับจังหวัด ก็ทาได้ยากเพราะไม่มีหน่วยปฏิบัติใดที่ทาหน้าที่
เป็นแกนหลักในการประสานและเชื่อมโยงหน่วยงานและสถาบันการศึกษาระดับต่างๆเข้าด้วยกัน
ยิ่งกว่านั้นความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลในระดับเขตพื้นที่ ทาให้มีความเสี่ยงต่อการเกิด
พฤติกรรมการทุจริตขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะหากไม่มีระบบการกากับดูแลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดัง
เรื่องการเรียกรับผลประโยชน์จากการบรรจุครูผู้ช่วยใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นในบางพื้นที่และอาจมีแนวโน้ม
ขยายออกไป14
ด้วยปัญหาดังกล่าว ในต้นปี 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้มีคาสั่งที่
10/2559 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับภูมิภาคเสียใหม่ โดยให้มีการจัดตั้ง
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคขึ้นมาเพื่อ
กาหนดทิศทางในการดาเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด พร้อมกันนั้นก็
ได้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) และมีการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ขึ้นมา
รับผิดชอบการศึกษาของจังหวัดทั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการบริหาร
บุคคล รวมทั้งมีการจัดตั้งตาแหน่งศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัดขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกในการ
ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในระดับภาคและจังหวัดให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น15
เป้าประสงค์ของการปรับโครงสร้างแบบใหม่เพื่อสร้างเอกภาพและบูรณาการระหว่างการศึกษาทั้งใน
แนวระนาบและแนวดิ่ง อานาจต่างๆจากเดิมที่เคยเป็นของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและอ.ก.
ค.ศ. ได้ถูกโอนย้ายมาอยู่ที่ กศจ. กล่าวได้ว่าเป็นการกระชับอานาจที่กระจายตามเขตพื้นที่การศึกษา
ให้มาอยู่ในพื้นที่จังหวัด และหากพิจารณาในแง่การกระจายอานาจคือการใช้จังหวัดเป็นหน่วยหลัก
14
พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีศึกษาธิการ, มติชน 3 พ.ค. 2559.
15
กระทรวงศึกษาธิการ .(2559). คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2559 เรื่องการขับเคลื่อนการ
ปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (ออนไลน์). สืบค้นจาก:
http://www.moe.go.th/websm/2016/mar/134.html [ 11 เมษายน 2559]
10
ของการใช้อานาจ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทาให้การบริหารการศึกษาในจังหวัดมีทิศทางที่เป็นเอกภาพ
และมีการบูรณาการมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาในอนาคต
สาหรับการกระจายอานาจสู่สถานศึกษาหรือโรงเรียน ซึ่งได้เริ่มมีการขับเคลื่อนตั้งแต่มีการใช้
พ.ร.บ.การศึกษา 2542 ไม่ได้รับผลกระทบจากคาสั่ง คสช. ที่ 10/2559 มากนัก แบบแผนการกระทา
แบบเดิมเป็นอย่างไรก็ยังคงมีแนวโน้มเช่นนั้นต่อไป มีงานวิจัยจากหลายประเทศพบตรงกันว่า การให้
โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการบุคลากร งบประมาณ และวิชาการ และมีความรับผิดชอบในการ
ดาเนินงาน ทาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีค่อนข้างสูง16
อย่างไรก็ตาม สาหรับในประเทศไทย
ตั้งแต่มีการนาแนวคิดการกระจายอานาจลงสู่โรงเรียนไปปฏิบัติก็ประสบกับปัญหาหลายประการ
ประการแรกคือ การเตรียมการรับการกระจายอานาจของโรงเรียนมีน้อย เพราะขาดความชัดเจนใน
เชิงปฏิบัติ ประการที่สอง การดาเนินการมีลักษณะยึดคาสั่งจากส่วนกลางและขาดความคิด
สร้างสรรค์ โดยโรงเรียนมีความพยายามปฏิรูปการศึกษาตามหลักการกระจายอานาจ แต่การ
ดาเนินการมีแนวโน้มยึดนโยบายและแนวทางที่กรมเจ้าสังกัดกาหนดเป็นหลัก การริเริ่มสร้างสรรค์และ
การจัดการตนเองยังมีน้อย ประการที่สาม ความแตกต่างในการรับรู้ปัญหาระหว่างผู้บริหารโรงเรียน
กับครู ขณะที่ผู้บริหารโรงเรียนและสานักงานเขตการศึกษายังมีวิธีคิดแบบดั้งเดิม โดยมองว่าปัญหา
การกระจายอานาจเกิดจากการขาดแคลนปัจจัยนาเข้า เช่น งบประมาณ ครู และวัสดุอุปกรณ์ไม่
เพียงพอ ส่วนครูมองว่าปัญหาเกิดจากผู้บริหารโรงเรียนขาดการอุทิศตัวแก่โรงเรียน ส่วนใหญ่ใช้เวลา
อยู่นอกโรงเรียน ให้ความสนใจด้านวิชาการต่า และมีปัญหาด้านคุณธรรมและจริยธรรม17
กล่าวได้
ว่าในมุมมองของครู ปัญหาการกระจายอานาจคือความไม่รับผิดชอบและการขาดคุณธรรมของ
ผู้บริหารนั่นเอง มุมมองของครูสอดคล้องกับผลการวิจัยของ อัมมาร สยามวาลาและคณะที่พบว่า
การเพิ่มทรัพยากร เช่น งบประมาณการศึกษาไม่ได้เป็นหลักประกันที่จะทาให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น
แต่คุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับ “ความรับผิดชอบ”ในการจัดการศึกษาของกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และสถานประกอบการ18
สาหรับการกระจายอานาจการจัดการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีงานวิจัย
จานวนมากยืนยันว่าก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในระบบการศึกษาของหลายประเทศ โดยทาให้
16
The quardian. (2014). Greater autonomy for schools: does it really get better results? (Oneline).
Available at: http://www.theguardian.com/world/2014/feb/04/independent-schools-better-results-
analysis. [12 เมษายน 2559]
17
ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศ
ไทย. กรุงเทพฯ:สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. หน้า (ค) (ง) และ (จ)
18
อัมมาร สยามวาลา และคณะ (2555). การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง.
(ออนไลน์) สืบค้นจาก: http://tdri.or.th/priority-research/s1-amma/. [12 เมษายน 2559]
11
คุณภาพการศึกษาสูงขึ้น เช่น ประเทศเกาหลีใต้19
อย่างไรก็ตามในสังคมไทยนั้น การกระจาย
อานาจทางการศึกษาไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหาหลัก 3 ประการ ประการแรก
โครงสร้างอานาจทางการเมืองของสังคมไทยที่มิได้ให้การสนับสนุนการกระจายอานาจอย่างจริงจัง อัน
เกิดจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมการเมืองแบบอานาจนิยม ซึ่งส่วนกลางมีแนวโน้มที่พยายามรักษา
อานาจนาและอานาจเหนือท้องถิ่นเอาไว้ การกระจายอานาจถ่ายโอนสถานศึกษาไปให้ท้องถิ่นจึงมี
ลักษณะจากัดขอบเขตเฉพาะท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล
นครและเมืองเป็นหลัก ส่วนท้องถิ่นในระดับอื่นๆ ส่วนกลางไม่ยินยอมให้มีการถ่ายโอนแต่อย่างใด อีก
ทั้งการบริหารการศึกษายังมีลักษณะรวมศูนย์อานาจไว้ที่ส่วนกลาง ท้องถิ่นมิได้มีอิสระอย่างเพียงพอ
ในการบริหารวิชาการ เพราะว่าการกาหนดเนื้อหาหลักสูตรการเรียนส่วนใหญ่ยังคงขึ้นอยู่กับ
ส่วนกลาง20
การกระจายอานาจเท่าที่เป็นอยู่จึงมิใช่การดาเนินการตามหลักการอันเป็นสารัตถะ
หากแต่ดาเนินการแบบผิวเผินและแยกส่วนเสียมากกว่า
ประการที่สอง ความไม่ไว้วางใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อนักการเมืองท้องถิ่น
นักการเมืองท้องถิ่นของประเทศไทยมักถูกรับรู้ในทางลบ โดยถูกมองว่าเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล เข้ามาเป็น
ผู้บริหารท้องถิ่นโดยการซื้อเสียง ส่วนใหญ่ไร้วิสัยทัศน์และความสามารถทางวิชาการ มักจะใช้ระบบ
อุปถัมภ์ในการบริหาร เล่นพรรคเล่นพวก และอาจเข้ามาแทรกแซงการบริหารบุคคลและการจัด
การศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรการศึกษาจานวนมากจึงต่อต้านและไม่เห็นด้วยกับการ
โอนโรงเรียนไปสังกัดท้องถิ่น ประการที่สาม ความไม่พร้อมของท้องถิ่นในการรับการกระจาย
อานาจในสี่ประเด็นคือ ความไม่พร้อมด้านภาวะผู้นา โดยผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังขาดวิสัยทัศน์ใน
เรื่องการจัดการศึกษา ความไม่พร้อมในการประสานงานเพื่อสร้างภาคีความร่วมมือแบบมีส่วนร่วม
ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการศึกษา ความไม่พร้อมด้านวิชาการในการสร้างและพัฒนา
หลักสูตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น และความไม่พร้อมของ
ทรัพยากรสาคัญในท้องถิ่น เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทาง
ทรัพยากรธรรมชาติ ที่จาเป็นต่อการจัดการศึกษา
จากปัญหาดังกล่าวจึงทาให้หลักการกระจายอานาจการจัดการศึกษาสู่โรงเรียนและองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นของสังคมไทยมีการพัฒนาที่ล่าช้า ยังไม่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลที่จากัด
แม้ว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งสามารถดาเนินการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผล แต่ก็ดูเหมือนเป็นข้อยกเว้นและเกิดขึ้นจานวนไม่มากนัก การขับเคลื่อนเพื่อ
กระจายอานาจและสร้างความเป็นอิสระแก่โรงเรียนในการบริหารงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ
เป็นทิศทางที่ถูกต้องสาหรับการปฏิรูปการศึกษา จึงเป็นเรื่องที่ต้องดาเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
19
ดูรายละเอียดใน สุรัสวดี หุ่นพยนต์, อาพา แก้วกากง และ วทัญญู ใจบริสุทธิ์. 2556. การบริหารจัดการศึกษา
ภายใต้แนวคิดการกระจายอานาจ : ศึกษาเปรียบเทียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยและเกาหลีใต้
(ระยะที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา.
20
สุรัสวดี หุ่นพยนต์, อาพา แก้วกากง และ วทัญญู ใจบริสุทธิ์. อ้างแล้ว. หน้า 21.
12
เพื่อให้บรรลุผลสาเร็จอย่างทั่วถึงในอนาคต อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงระวังในเรื่องนี้คือ การมีอิสระในการ
บริหารโดยปราศจากความรับผิดชอบและการตรวจสอบที่เข้มแข็ง นอกจากไม่สามารถสร้าง
ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้แล้ว ยังบั่นทอนคุณภาพ
การศึกษาให้ตกต่าลงไปอีกด้วย
มาตรฐานที่ไร้ผล และการประกันคุณภาพที่บั่นทอนคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษาที่
มีการกาหนดเอาไว้ในพ.ร.บ.การศึกษา 2542 เป็นสิ่งที่ประเทศไทยเลียนแบบจากประเทศอังกฤษ
โดยมีรากฐานความเชื่อและการนาเสนอต่อสาธารณะว่า สถาบันการศึกษาต้องมีพันธะรับผิดชอบต่อ
สังคม เพราะสถาบันการศึกษานาภาษีอากรของประเทศมาใช้ในการดาเนินงาน การประกันคุณภาพ
การศึกษาเป็นมาตรการที่แสดงถึงความรับผิดชอบดังกล่าว เพราะว่าจะทาให้สถาบันการศึกษาเพิ่ม
ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการนาระบบ
ประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติจริง กลับสร้างปัญหาหลายประการที่ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาตก
ต่าลง ปัญหาของระบบประกันคุณภาพมีตั้งแต่ในเรื่องปรัชญาและหลักคิด จนไปถึงผลกระทบที่
เกิดขึ้นจากการนาระบบนี้ไปใช้ ในเชิงปรัชญา ยศ สันตสมบัติ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
ชี้ให้เห็นว่า ระบบประกันคุณภาพเป็นระบบที่ดารงอยู่ภายใต้แนวคิดของลัทธิเสรีนิยมใหม่ ที่
ปรับเปลี่ยนสถาบันการศึกษาระดับสูงให้กลายเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพ ประสิทธิภาพการทางานถูก
กาหนดเป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณอย่างไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สาหรับ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนาระบบประกันคุณภาพไปปฏิบัติในประเทศอังกฤษ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว
ว่า ระบบประกันคุณภาพมิได้ทาให้สถาบันการศึกษาเป็นอิสระหรือรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มขึ้นแต่อย่าง
ใด ในทางกลับกันกลายเป็นว่าระบบประกันคุณภาพเป็นกลไกอันทรงพลานุภาพในการกากับและ
ตรวจสอบการทางานของสถาบันการศึกษาให้อยู่ภายใต้อานาจของนักประเมินและนักธุรกิจการเมือง
ซึ่งเป็นการลดคุณค่าและศักดิ์ศรีของบุคลากรในสถาบันการศึกษาให้กลายเป็นพนักงานขององค์การ ที่
ถูกประเมินโดยแบบฟอร์มอันตื้นเขิน ซึ่งแปลงคุณภาพของงานให้เป็นตัวเลขเชิงปริมาณอย่างไม่
สมเหตุสมผล อีกทั้งการประเมินคุณภาพยังแฝงด้วยความสัมพันธ์อานาจแบบระบบอุปถัมภ์
บุคลากรที่ถูกประเมินถูกมองว่าเป็นลูกน้อง ซึ่งจะถูกซักถาม ไต่สวน และพิพากษาดุจดั่งจาเลย ขณะที่
ผู้ประเมินวางฐานะของตนเองเป็นเจ้านาย ทาหน้าที่ประดุจเป็นตารวจ อัยการ และศาลในเวลา
เดียวกัน การประกันคุณภาพจึงเป็นการทาลายวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และการวิพากษ์วิจารณ์ของ
สถาบันการศึกษาลงไป ขณะที่เสริมแรงและทาให้วัฒนธรรมแห่งการยอมจานนอานาจเบื้องบนมีความ
13
แข็งแกร่งขึ้น ยิ่งกว่านั้นการประกันคุณภาพอ้างความชอบธรรมในฐานะการบริหารจัดการแบบใหม่
เพื่อปิดบังซ่อนเร้นอานาจการควบคุมพฤติกรรม การให้รางวัล และการลงโทษเอาไว้21
สาหรับสังคมไทยเมื่อมีการนาระบบประกันคุณภาพไปใช้ก็เกิดผลกระทบที่คล้ายคลึงกับ
ประเทศอังกฤษ ประการแรก มีหลายแห่งที่ผู้ประเมินแสดงอานาจเหนือผู้ถูกประเมินอย่างชัดเจน โดย
แสดงพฤติกรรมวางอานาจและมองผู้ถูกประเมินประดุจจาเลย ประการที่สอง มีการใช้ตัวชี้วัดแบบ
“เหมาโหล” หรือใช้เหมือนกันทุกแห่งโดยไม่คานึงถึงความแตกต่างเชิงบริบทของสถาบันการศึกษา จึง
ทาให้ตัวชี้วัดจานวนไม่น้อยขาดความสมเหตุสมผลและสมจริง ประการที่สาม เป็นการเพิ่มภาระงาน
เอกสารให้ครูและอาจารย์ซึ่งต้องจัดหาข้อมูล เขียนเอกสาร และจัดหาหลักฐานเพื่อเตรียมสาหรับการ
ประเมิน กระบวนการเหล่านี้เป็นการสิ้นเปลืองเวลาและทรัพยากรเป็นจานวนมาก สถานศึกษาขนาด
ใหญ่บางแห่งโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยจึงต้องมีการกาหนดตาแหน่งและจ้างบุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อ
รับผิดชอบในการจัดทาเรื่องนี้โดยตรง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีงบประมาณจ้างบุคลากรเพิ่มก็
ต้องให้ครูเป็นผู้ทา ผลที่ตามมาคือเวลาในการเตรียมสอนของครูลดน้อยลงไป ส่งผลให้การสอนมี
คุณภาพต่าลงตามไปด้วย งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุอย่าง
ชัดเจนว่าสาเหตุสาคัญที่ทาให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่าคือ ครูใช้เวลาในการสอนน้อยลง เพราะ
ต้องใช้เวลาในการเตรียมและเขียนเอกสารสาหรับการประเมินต่างๆมากมายโดยเฉพาะการประเมิน
คุณภาพการศึกษา22
ประการที่สี่ ระบบประกันคุณภาพมิได้ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาไทยดีขึ้น ดัง
เห็นได้จากที่นักเรียนไทยได้คะแนนทดสอบระดับชาติและนานาชาติต่าอย่างต่อเนื่องทั้งที่มีระบบ
ประกันคุณภาพมานับสิบปี ในเรื่องนี้ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งคาถามเกี่ยวกับการดาเนินงานของสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งรับผิดชอบระบบประกันคุณภาพการศึกษา 4 ประเด็น คือ 1) วิธีการ
ประเมินที่สมศ.ใช้ในการประเมินคุณภาพก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพจริงหรือไม่ ทาไมหลังการ
ประเมินแล้วคุณภาพการศึกษายังไม่ดีขึ้น 2) วิธีการประเมินที่ใช้เอกสารจานวนมากสามารถให้ความ
เที่ยงตรงในการประเมินได้หรือไม่ สามารถทาให้ได้หลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงได้มากน้อย
เพียงใด 3) จากการวิจัยของสานักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)พบว่าการ
ประเมินคุณภาพการศึกษาใช้เวลาและเป็นภาระแก่ครูมาก กระดาษกลายเป็นนาย คนกลายเป็นทาส
แต่สมศ.กลับบอกว่าใช้เวลาน้อย และ 4) ทีมของกระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่าการประเมินคุณภาพ
21
ยศ สันตสมบัติ. (2552). มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติหรือสุสานทางปัญญา (ออนไลน์). สืบค้นจาก:
https://www.gotoknow.org/posts/323055. [12 เมษายน 2559]
22
อัมมาร สยามวาลา และคณะ, อ้างแล้ว.
14
การศึกษาของ สมศ.ไม่ได้ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษาแต่อย่าง
ใด เพราะมีตัวบ่งชี้และมาตรฐานหลายตัวที่กระทรวงศึกษาธิการไม่เห็นด้วย23
จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพที่กาหนดไว้
และถูกนาไปปฏิบัติประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือแทนที่จะทาให้การศึกษาไทยมีคุณภาพ
เพิ่มขึ้น กลับกลายเป็นว่าระบบประเมินคุณภาพเป็นปัจจัยถ่วงรั้งและบั่นทอนคุณภาพการศึกษาของ
ประเทศไทยให้ตกต่าเสียเอง
ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพยังน่ากังขา แรงจูงใจเจือจาง และเวลาสอนถูกรบกวน
ด้วยโครงสร้างค่านิยมของสังคมที่ให้คุณค่ากับอาชีพที่มีโอกาสทารายได้สูง มีอานาจบังคับใช้
กฎหมาย และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ทาให้นักเรียนที่มีสติปัญญาสูงแข่งขันกันเลือกเรียน
สาขาวิชาที่พวกเขาคาดว่าจะสามารถสร้างความมั่งคั่งและอานาจให้แก่ตัวเองได้ ส่วนสาขาที่ไม่
สามารถนาไปสู่เป้าหมายดังกล่าวผู้ที่เลือกเรียนส่วนใหญ่มักมีความสามารถทางสติปัญญาในระดับ
รองลงมา และสาขาด้านการศึกษาก็เป็นหนึ่งในจานวนนั้น ครูส่วนใหญ่ที่ได้รับการผลิตออกมาจึง
ไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่มีสติปัญญาชั้นนาของประเทศ และเมื่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไปถ่ายทอดความรู้แก่
นักเรียนก็ย่อมมีข้อจากัดในการพัฒนาศักยภาพและการเจริญเติบโตด้านปัญญาให้แก่ผู้ที่ตนเองสอน
ตามไปด้วย ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มีความแตกต่างจากประเทศที่มีการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาสูงอย่างเช่น สิงคโปร์ หรือ เกาหลีใต้ ซึ่งโครงสร้างค่านิยมให้ความสาคัญกับอาชีพครูเป็น
อย่างสูง และรัฐบาลประเทศเหล่านั้นก็ได้มีนโยบายและการบริหารในแนวทางที่ให้การสนับสนุนอาชีพ
ครูอย่างเต็มที่ เพราะมีวิธีคิดว่าผู้ที่จะสามารถสอนผู้อื่นได้จะต้องเป็นคนมีสติปัญญาสูง ภายใต้การ
บริหารประเทศที่ให้ความสาคัญกับอาชีพครู จึงทาให้ครูของประเทศเหล่านั้นเป็นกลุ่มผู้นาทางปัญญา
ของสังคมอย่างแท้จริง และสามารถผลิตเด็กที่มีคุณภาพสูงให้แก่ประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
สาหรับสังคมไทยมีเรื่องราวแตกต่างออกไป กล่าวคือแนวทางการบริหารราชการของไทย
โดยเฉพาะในอดีตมีส่วนทาให้ผู้มีสติปัญญาสูงไม่ประสงค์เป็นครู และทาให้ผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วไม่มี
แรงจูงใจในการพัฒนาการเรียนการสอน ครูซึ่งเป็นข้าราชการมีเงินเดือนค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับ
ภาคเอกชน อีกทั้งส่วนใหญ่ยังต้องไปรับราชการในหมู่บ้านชนบท และยังเป็นกลุ่มบุคคลที่จะต้องนา
นโยบายของรัฐไปปฏิบัติในระดับพื้นที่อีกด้วย การมีเงินเดือนต่าย่อมไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ครู
จานวนมากปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทเพียงพอ ทั้งยังไม่สามารถดึงดูดคนใหม่ๆที่มีความสามารถเข้ามา
เป็นครูได้ นี่อาจดูเหมือนเป็นข้ออ้างเพราะว่าข้าราชการหน่วยงานอื่นๆจานวนมากก็ได้รับเงินเดือนใน
ระดับเดียวกับครู แต่ก็มีคนเก่งจานวนไม่น้อยที่เข้าไปทางานในหน่วยงานเหล่านั้น แต่เหตุผลที่ทาให้
23
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2558). รมช.ศึกษา ธีระเกียรติ โต้ สมศ.เกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา แค่ติ๊กถูก
ปล่อยให้ กระดาษเป็นนาย ไม่ได้อีกแล้ว (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://thaipublica.org/2015/10/teerakiat-
1/ [ 13 เมษายน 2559]
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย
ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย

More Related Content

What's hot

โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงChok Ke
 
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง247515การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475JulPcc CR
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1suchinmam
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด Thitaree Samphao
 
การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์พัน พัน
 
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3O'Orh ChatmaNee
 
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบโครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบLorpiyanon Krittaya
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกพัน พัน
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจไพบููลย์ หัดรัดชัย
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2Enormity_tung
 
เรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆ
เรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆเรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆ
เรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆRujira Meechin
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์
โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์
โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์พัน พัน
 
จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษาจิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษาจารุวรรณ ชื่นใจชน
 
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016Kasem Boonlaor
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2LeoBlack1017
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์paifahnutya
 

What's hot (20)

แผนเศรษฐกิจพอเพียง
แผนเศรษฐกิจพอเพียงแผนเศรษฐกิจพอเพียง
แผนเศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผง
 
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง247515การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
รายงานกลุ่ม 1
รายงานกลุ่ม 1รายงานกลุ่ม 1
รายงานกลุ่ม 1
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์การแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์
 
โครงงานสังคม ม.ปลาย
โครงงานสังคม ม.ปลายโครงงานสังคม ม.ปลาย
โครงงานสังคม ม.ปลาย
 
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
 
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบโครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
 
เรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆ
เรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆเรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆ
เรื่อง มหัศจรรย์เรื่องกล้วยๆ
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์
โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์
โครงงานกระถางรีไซเคิล สมบูรณ์
 
จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษาจิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา
 
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 

Similar to ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย

Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculamZTu Zii ICe
 
Original edu 1
Original edu 1Original edu 1
Original edu 1pui003
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพปกรณ์กฤช ออนไลน์
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001Thidarat Termphon
 
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAkarimA SoommarT
 
สรุปนโยบายรัฐบาล
สรุปนโยบายรัฐบาลสรุปนโยบายรัฐบาล
สรุปนโยบายรัฐบาลAull Kcp
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)Tophit Sampootong
 
Teaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelTeaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelJessie SK
 
ศรีลังกา
ศรีลังกาศรีลังกา
ศรีลังกาTaraya Srivilas
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2krupornpana55
 
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษวิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษKritsadin Khemtong
 
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003Thidarat Termphon
 
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551คน ขี้เล่า
 

Similar to ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย (20)

Cheet5 curriculam
Cheet5 curriculamCheet5 curriculam
Cheet5 curriculam
 
Original edu 1
Original edu 1Original edu 1
Original edu 1
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
 
3 23-6-53
3 23-6-533 23-6-53
3 23-6-53
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
V 300
V 300V 300
V 300
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
 
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 4
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 4ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 4
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 4
 
สรุปนโยบายรัฐบาล
สรุปนโยบายรัฐบาลสรุปนโยบายรัฐบาล
สรุปนโยบายรัฐบาล
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
Teaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA modelTeaching English for communication using JITSUPA model
Teaching English for communication using JITSUPA model
 
ศรีลังกา
ศรีลังกาศรีลังกา
ศรีลังกา
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
 
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษวิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
 
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
 
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
 

ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาไทย

  • 1. 1 ปัญหาและความท้าทายของการศึกษาไทย รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต บทนา การศึกษาไทยมีปัญหาสะสมมาอย่างยาวนานเฉกเช่นเดียวกับปัญหาสังคมการเมืองอื่นๆของ สังคมไทย หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 เกิดกระแสการปฏิรูปการเมืองขึ้นมาอย่างเข้มข้น และกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมไทยเกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาสังคมต่างๆที่เชื่อมโยงกับปัญหา การเมือง ปัญหาการศึกษาก็เป็นหนึ่งในจานวนปัญหาสาคัญของสังคมไทย ดังนั้นเมื่อมีการเขียน รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศพ.ศ. 2540 ขึ้นมา คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญจึงเขียนไว้ในมาตรา 81 ว่า “ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติขึ้นมา” และเมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ประกาศใช้ได้ ประมาณ 2 ปี รัฐสภาจึงได้ออก “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” ขึ้นมา1 เพื่อใช้ กฎหมายฉบับนี้เป็นแนวทางและมาตรการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยทั้งระบบ อย่างไรก็ตามภายหลังที่มีการนากฎหมายการศึกษาแห่งชาติไปปฏิบัติกว่าทศวรรษ ผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้นกลับไม่เป็นตามเป้าประสงค์ที่คาดหวังเอาไว้ คุณภาพการศึกษาในภาพรวมของประเทศไทย กลับมีแนวโน้มตกต่าลงอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การศึกษาทั้งระบบก็ยิ่งเลวร้ายกว่าเดิมเสียอีกมี หลักฐานมากมายที่บ่งบอกถึงสถานการณ์วิกฤติของการศึกษาไทย หลักฐานอย่างแรกคืองานวิจัยของ ทีดีอาร์ไอ ซึ่งทาในปี 2555 เรื่อง “การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง” ซึ่งผลการศึกษาระบุอย่างชัดเจนว่า การปฏิรูปการศึกษาประสบความล้มเหลว ทั้งที่ประเทศไทยมีการ เพิ่มงบประมาณการศึกษาเพิ่มขึ้น 2 เท่า จานวนงบประมาณที่ใช้ก็ไม่น้อยกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค เดียวกัน เงินเดือนครูก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เด็กไทยก็ใช้เวลาในการเรียนมากเมื่อเทียบกับ 1 หลังจากประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติมีการแก้ไข 3 ครั้ง ครั้งแรกปี 2545 ภายใต้เหตุผลว่า รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการการศึกษา และให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทาหน้าที่พิจารณาเสนอ นโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรอาชีวศึกษา มีการแยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไป จัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม มีการปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย (ดูใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๖/ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕) ต่อมาแก้ไขครั้งที่ 2 ในปี 2553 โดยแยกพื้นที่การศึกษาระหว่างประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาออกจากกัน มีเหตุผลว่าการจัดพื้นที่การศึกษาแบบเดิมที่มีการรวมพื้นที่การศึกษาสองระดับเข้าด้วยกันมี ความไม่คล่องตัวในการบริหารและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๔๕ ก/ หน้า ๑/ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓) ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศ คาสั่งที่ 10/2559 และ 11/2559 ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และคณะกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ขึ้นมาทาหน้าที่แทน ภายใต้เหตุผลที่ว่า โครงสร้างแบบเดิมมีปัญหาการสั่งการและการ บริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นเอกภาพ (ดูใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ /ตอนพิเศษ ๖๘ ง. /หน้า ๑ / ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙)
  • 2. 2 ประเทศเพื่อนบ้าน แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเมื่อวัดจากผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในระดับประถมและมัธยม กลับพบว่าคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนไทยได้รับ แต่ละวิชากลับต่ากว่า 50 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นติดต่อกัน แทบทุกปีและมีแนวโน้มตกต่าลงอย่างต่อเนื่อง2 ยิ่งกว่านั้นจากรายงานการศึกษาของโครงการประเมินนักเรียนระหว่างประเทศ (The Programme for International Student Assessment PISA) ของกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การ เพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในระดับกลุ่มที่ได้คะแนนต่าเมื่อเทียบกับประเทศที่เข้าร่วม โครงการ ในปี 2555 มีการประเมินนักเรียนจาก 64 ประเทศ คะแนนที่นักเรียนไทยได้รับทุกวิชาอยู่ ในระดับต่ากว่าค่าเฉลี่ยรวมของประเทศที่สารวจ การอ่านนักเรียนไทยได้ 441 คะแนน ขณะที่ คะแนนเฉลี่ยรวมทุกประเทศอยู่ที่ 496 คะแนน คณิตศาสตร์นักเรียนไทยได้ 427 คะแนน ขณะที่ คะแนนเฉลี่ยรวมทุกประเทศเท่ากับ 494 คะแนน และวิทยาศาสตร์นักเรียนไทยได้ 444 คะแนน ขณะที่คะแนนเฉลี่ยรวมทุกประเทศเท่ากับ 501 คะแนน ส่วนลาดับที่เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ ปรากฏว่านักเรียนไทยอยู่ในกลุ่ม ต่าทุกวิชา เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน คะแนนของนักเรียนไทยต่ากว่าประเทศสิงคโปร์และ เวียดนามมาก แต่สูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียเล็กน้อย ยิ่งกว่านั้นรายงานของ PISA ยังระบุว่า นักเรียนไทยใช้เวลาในการเรียนวิชาต่างๆมากเป็นลาดับต้นๆในบรรดาประเทศต่างๆ3 ซึ่งแสดงว่า การใช้เวลาเรียนมากไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนที่ได้รับแต่อย่างใด และรายงานของธนาคารโลกก็ ได้ระบุว่า หนึ่งในสามของเด็กไทยที่มีอายุ 15 ปี มีปัญหาการไม่รู้หนังสือ หรืออ่านหนังสืออย่าง ยากลาบาก โดยอ่านไม่เข้าใจความหมาย จับประเด็นไม่ได้และไม่สามารถใช้งาน และปัญหาของการรู้ หนังสือไม่เพียงพอสาหรับการใช้งานของเด็กในโรงเรียนประจาหมู่บ้านมากถึง 47 %4 กล่าวอีกนัย หนึ่งได้ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กชนบทที่เรียนในโรงเรียนประจาหมู่บ้านมีความรู้หนังสือไม่เพียงพอ ในการใช้งานได้ นอกจากผลคะแนนการทดสอบต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย แล้ว การขยายตัวของโรงเรียนกวดวิชาก็เป็นสิ่งบ่งชี้อีกประการหนึ่งถึงความล้มเหลวของระบบ 2 อัมมาร สยามวาลา และคณะ. (2555). การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://tdri.or.th/priority-research/s1-amma/ [9 เมษายน 2559] 3 PISA. (2012). Thailand Student performance (Online). Available at: http://gpseducation.oecd.org/CountryProfile?primaryCountry=THA&treshold=10&topic=PI) [8 เมษายน 2559] 4 The World Bank. (2016). Wanted-A Quality Education for All in Thailand (Online). Available at: http://www.worldbank.org/en/country/thailand/publication/wanted---a-quality-education-fบor-all- in-thailand [8 เมษายน 2559]
  • 3. 3 การศึกษาด้วย ประเทศไทยโรงเรียนกวดวิชามีจานวนมากและมีแนวโน้มขยายออกไปทั่วทุกจังหวัด และทุกระดับชั้นเรียนตั้งแต่ประถมถึงมัธยมปลาย สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ระบุว่า ประเทศไทยมีกลุ่มโรงเรียนกวดวิชาทั้งหมด 1,983 แห่ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร 487 แห่ง และต่างจังหวัด 1,496 แห่งใน 74 จังหวัด และมีเพียง 3 จังหวัดเท่านั้นที่ไม่มีโรงเรียนกวดวิชา คือ หนองบัวลาพู ปัตตานี และนราธิวาส5 ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ชี้ว่า การกวดวิชามีผลลบต่อสังคมเพราะว่าคนจนไม่ สามารถเข้าถึงได้ กลุ่มคนที่เข้าถึงส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่อยู่ในเมือง ดังนั้นสถาบันกวดวิชาจึงเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ขยายความเหลื่อมล้าทางสังคม และการกวดวิชายังเป็นระบบที่บั่นทอนคุณภาพของ การศึกษาในระบบปกติ เพราะว่าเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับผลประโยชน์มาก ซึ่งอาจนาไปสู่การทุจริตได้ทั้งในเรื่องเวลาและเนื้อหาการสอนในระบบปกติ6 อะไรคือสาเหตุสาคัญที่ทาให้คุณภาพการศึกษาของไทยต่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นักวิชาการและผู้กาหนดนโยบายต่างพยายามแสวงหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ด้วยหวังว่า หากสามารถค้นพบสาเหตุที่ชัดเจนก็จะได้นามากาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทาง ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาได้ตรงประเด็น เป็นระบบ และครอบคลุมทุกมิติ ในบทความ นี้ผู้เขียนจะประมวลและวิเคราะห์สาเหตุที่ส่งผลให้การศึกษาด้อยคุณภาพ และเสนอแนะแนวทางเชิง นโยบายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สาหรับข้อมูลที่นามาวิเคราะห์เป็นข้อมูลเอกสารซึ่งมีทั้ง งานวิจัย รายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เอกสารนโยบาย และกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในขั้นต้น ผู้เขียนจะพิจารณาพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติโดยสังเขปเพื่อพิเคราะห์ในภาพรวมและกาหนดเป็นกรอบ สาหรับใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ: หลักการและความเป็นจริง สังคมไทยได้มีความพยายามปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถ แก้ไขปัญหาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล ความพยายามแก้ปัญหาระบบการศึกษาครั้งใหญ่ได้รับ การกาหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 25427 ซึ่งมีการนิยามการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มี การกาหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการเชิงนโยบายและแนวทางการบริหารไว้เป็นหลายประการโดยหวัง ว่าสิ่งต่างๆที่กาหนดขึ้นมาใหม่จะสร้างคุณภาพการศึกษาของสังคมให้สูงขึ้น พ.ร.บ.ฉบับนี้นิยาม การศึกษาว่าหมายถึง “กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการ ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้า 5 Thaipublica. (2013). กวดวิชา มาตรฐานการศึกษาไทยเรียนเพื่อสอบหรือเรียนเพื่อรู้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://thaipublica.org/2013/03/tutorial-critical-study-of-thailand/ [8 เมษายน 2559] 6 เดลินิวส์. (2557). ยูเนสโกชี้กวดวิชาเลิกยาก (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.dailynews.co.th/education/235613 [ 8 เมษายน 2559] 7 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑/๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒
  • 4. 4 ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัย เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” สาหรับจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือ “การ จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ต้ อ ง เ ป็ น ไ ป เ พื่ อ พั ฒ น า ค น ไ ท ย ใ ห้ เ ป็ น ม นุ ษ ย์ ที่ ส ม บู ร ณ์ ทั้ ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิตสามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” หรือที่เรียกว่า “เก่ง ดี มีความสุข” นั่นเอง สาหรับหลักการเชิงนโยบายและแนวทางการบริหารการศึกษาที่อยู่ใน พ.รบ.ได้มีการกาหนด เอาไว้ 6 ประการ ประกอบด้วย (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ (2) มีการกระจายอานาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) มี การกาหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภท การศึกษา (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการ พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่ง ต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และ สถาบันสังคมอื่น เมื่อพิจารณาหลักการเชิงนโยบายและแนวทางการบริหารทั้ง 6 ประการนี้ ผู้เขียนเห็นว่ามี หลักการบางประการที่เป็นไปได้ยากในการนาไปปฏิบัติภายใต้บริบทการบริหารราชการและการเมือง ของสังคมไทย และหลักการบางประการเมื่อนาไปปฏิบัติจริงแล้ว นอกจากไม่ช่วยเกื้อหนุนให้บรรลุ เป้าประสงค์ของการศึกษาแล้ว กลับยังสร้างปัญหาจานวนมากแก่ระบบการศึกษาตามมา จนทาให้ คุณภาพการศึกษาของไทยตกต่าลงอย่างต่อเนื่อง และมิได้เป็นไปตามคานิยาม “การศึกษา” ตามที่ กาหนดไว้ใน พ.ร.บ.นี้แต่อย่างใด ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทาให้การศึกษาไทยประสบความล้มเหลวจึงมี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหลักการทั้ง 6 ประการ ซึ่งผู้เขียนจาแนกเพื่อใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ได้ 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นนโยบาย ประเด็นการบริหารและการจัดการศึกษา ประเด็น มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ประเด็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ประเด็นผู้ปกครอง และผู้เรียน และประเด็นการเรียนการสอน ไร้เอกภาพทางนโยบาย มักง่ายในเชิงปฏิบัติ พ.ร.บ. การศึกษาฯ ได้กาหนดหลักการเชิงนโยบายเอาไว้ว่า นโยบายการศึกษาต้องมี เอกภาพทางนโยบายและมีความหลากหลายในเชิงปฏิบัติ หลักการนี้ถูกกาหนดภายใต้ความเชื่อว่า นโยบายที่จะประสบความสาเร็จนั้นจะต้องมีความเป็นเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีความต่อเนื่อง เพราะความสาเร็จของนโยบายจานวน มากด้านการศึกษานั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆ หากแต่ต้องใช้ระยะเวลาดาเนินการ ติดต่อกันเป็นเวลานานพอสมควร เช่น นโยบายกระจายอานาจทางการศึกษาแก่องค์กรปกครองส่วน
  • 5. 5 ท้องถิ่น นโยบายผลิตครูพันธุ์ใหม่ นโยบายการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นอกจากนั้นหลักการนี้ยัง มีความเชื่อว่าการนานโยบายไปปฏิบัติควรมีความหลากหลาย เพราะว่าบริบทของพื้นที่แต่ละแห่งไม่ เหมือนกัน ดังนั้นภายใต้แนวทางนโยบายเดียวกัน แต่ละพื้นที่อาจกาหนดเป็นวิธีการปฏิบัติได้อย่าง หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและความถนัดของแต่ละพื้นที่ เช่น นโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ แต่ละพื้นที่อาจคิดวิธีการและกิจกรรมเพื่อเพิ่มการเรียนรู้ให้แก่เด็กแตกต่างกันก็ได้ กล่าว ในแง่วิชาการด้านนโยบาย การกาหนดหลักการในลักษณะนี้ดูเหมือนมีความเหมาะสมกับนโยบาย การศึกษา เพราะว่าเป็นนโยบายที่มีขอบเขตกว้างขวางและมีความแตกต่างหลากหลายของบริบท การ ใช้นโยบายในลักษณะที่จากัดคับแคบ ซึ่งกาหนดวิธีการปฏิบัติจากส่วนกลางและสั่งการให้แต่ละพื้นที่ ปฏิบัติแบบเดียวกันทั้งประเทศดูจะขาดความสมเหตุสมผลไป แต่ทว่าหลักการที่สมเหตุสมผลและดูเหมาะสมเช่นนี้ เมื่อนาไปใช้จริงกลับต้องประสบกับ อุปสรรคมากมาย และมีแนวโน้มไปในทางที่ล้มเหลว สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีภายหลัง หลักการนี้ได้รับการบัญญัติขึ้นมาคือ นโยบายการศึกษาของไทยมีแนวโน้มขาดความเป็นเอกภาพ ไม่มี ความต่อเนื่อง ทั้งยังขาดความหลากหลายในเชิงปฏิบัติ ความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่องของ นโยบายเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีระบบการกาหนดนโยบายที่มีประสิทธิผล ซึ่งหมายความว่าต้องมีการนา ข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัญหา ความคาดหวัง ความต้องการ และวิสัยทัศน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย มาสังเคราะห์ร่วมกันเพื่อกาหนดเป็นเป้าประสงค์ เป้าหมาย และทางเลือกเชิงนโยบายที่มีเหตุผล มี สมรรถนะสูง และมีความเป็นไปได้ในการนาไปปฏิบัติ อีกทั้งผู้บริหารซึ่งทาหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย ในแต่ละรุ่นที่เข้ามารับผิดชอบก็ต้องยอมรับกรอบคิดรากฐานเกี่ยวกับเป้าประสงค์และแนวทางหลัก ของนโยบายการศึกษาในทิศทางเดียวกัน และหากมีการปรับเปลี่ยนนโยบายก็จะต้องดาเนินการอย่าง มีเหตุมีผลบนรากฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งมีงานวิจัยสนับสนุน มิใช่เป็นไปตามความชอบส่วนตัว ของผู้บริหารหรือแรงกดดันทางการเมืองของผู้ได้หรือเสียประโยชน์จากนโยบาย ดังนั้นหากจะให้ นโยบายการศึกษามีเอกภาพและต่อเนื่องก็ต้องมีเงื่อนไขสาคัญเบื้องต้นคือ ผู้มาดารงตาแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหารระดับสูงอื่นๆของกระทรวงศึกษาธิการต้องมีกรอบ คิดเชิงนโยบายที่คล้ายคลึงกัน และควรมีระยะเวลาการดารงตาแหน่งที่ยาวนานเพียงพอเพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนนโยบาย แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่พ.ศ. 2542 ถึง 2559 ก็คือ กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯถึง 18 คน เฉลี่ยระยะเวลาในการดารงตาแหน่งของ แต่ละคนไม่ถึงหนึ่งปี และกลุ่มบุคคลที่มาเป็นรัฐมนตรีก็มีที่มาหลากหลายแหล่งจากพรรคการเมือง หลายพรรคและจากบุคคลที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมือง8 อีกทั้งผู้มาเป็นรัฐมนตรีจานวนมากก็มี 8 Thaipublica. (2014). เมื่อกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อย 16 ปี 15 คน (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://thaipublica.org/2014/01/the-performance-period-of-the-minister-of-education/. [ 9 เมษายน 2559]
  • 6. 6 แนวโน้มขาดวิสัยทัศน์ ไม่มีสานึกแห่งพันธกิจด้านการศึกษา และไร้ความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา เมื่อคุณลักษณะของผู้กาหนดนโยบายเป็นดังที่กล่าวทาให้นโยบายทางการ ศึกษามีความสับสน ขาดเข็มมุ่ง และไม่มีทิศทางที่ชัดเจน และมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งจนขาด ความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยครั้งมาจากฐานคิดการบริหารระบบราชการในสังคมไทย ที่เกิดขึ้นอย่างสม่าเสมอจนกระทั่งกลายเป็นประเพณีปฏิบัติคือ เมื่อกระทรวงใดมีการเปลี่ยนแปลง รัฐมนตรี นโยบายของกระทรวงนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงตามเสมอ ไม่เว้นแม้กระทั่งรัฐมนตรีที่มาจาก พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเดียวกัน ดังตัวอย่าง นโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย บางช่วงกาหนดเป็น 12 ปีบ้าง บางช่วงก็กาหนด 15 ปี และสาหรับกรณีเรียนฟรี 12 ปี ก็มี ความสับสนเรื่องการนับจานวนปีว่าจะเริ่มต้นจากระดับใดระหว่างเริ่มจากระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ปีที่สาม กับ ประถมปีที่หนึ่งถึงมัธยมศึกษาปีที่หก แต่ละรัฐบาลก็มีแนวทางในเรื่องนี้แตกต่างกัน ออกไป หรืออย่างนโยบายการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งหาข้อตกลงเป็นแนวทางที่ชัดเจน ไม่ได้ว่าจะจัดการอย่างไรกับผู้กู้ยืมที่หลีกเลี่ยงการจ่ายเงินคืนแก่กองทุน หรือนโยบายโอนสถาน การศึกษาให้อยู่ในการกากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เช่นเดียวกัน รัฐมนตรีแต่ละยุคก็หา แนวทางที่ชัดไม่ได้ว่าจะส่งเสริมให้โอนหรือไม่ส่งเสริมกันแน่ นอกจากนโยบายจะขาดเอกภาพแล้ว ด้านความหลากหลายในเชิงการปฏิบัติก็กลับไม่เกิดขึ้น การนานโยบายไปปฏิบัติจานวนมากของกระทรวงศึกษาธิการมีลักษณะสับสนและคับแคบ ความ สับสนเกิดจากความเข้าใจ การตีความในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติแตกต่างกัน ดังนโยบาย การเรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองเพื่อเป็นเงื่อนไขในการเข้าเรียนของเด็ก มีรัฐมนตรีบางคนได้กล่าว ถ้อยแถลงระหว่างมอบนโยบายแก่ผู้บริหารเกี่ยวกับเรื่อง ‘แปะเจี๊ยะ’ หรือเงินที่ทางโรงเรียนเรียกเก็บ จากผู้ปกครองที่ประสงค์ให้บุตรหลานตนเองได้เรียน โดยรัฐมนตรีผู้นั้นได้กล่าวในทานองว่า ถ้า สถานศึกษาแห่งใดคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการจัดงบประมาณให้ไม่เพียงพอ ก็อาจประกาศรับเงิน บริจาคจากผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรของตนเองเรียนในโรงเรียนดังกล่าวโดยจัดห้องเรียนเพิ่มขึ้นเพื่อ รองรับเด็กเหล่านั้น และนาเงินบริจาคไปพัฒนาโรงเรียน9 การแถลงระหว่างการมอบนโยบายใน ลักษณะนี้ย่อมทาให้ผู้บริหารการศึกษาที่รับฟังเข้าใจและตีความแตกต่างกัน และการปฏิบัติก็แตกต่าง กัน บางคนอาจเข้าใจว่ารัฐมนตรีสนับสนุนให้เรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองก็อาจนาไปปฏิบัติและเรียก เก็บเงินจากผู้ปกครองโดยเพิ่มห้องเรียนพิเศษขึ้นมาให้เด็กเรียน บางคนอาจตีความว่านโยบายนี้ ขัดแย้งกับนโยบายเรียนฟรีของรัฐบาล ก็ไม่นาไปปฏิบัติ หรือบางคนอาจเห็นว่านโยบายนี้ไม่ถูกต้อง เพราะอาจทาให้คุณภาพการศึกษาตกต่าลงไปอีก ทั้งยังสร้างความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้า ทางการศึกษาขึ้นมา พวกเขาก็อาจจะคัดค้านและไม่ปฏิบัติตาม 9 ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2555). เปิดห้องพิเศษรับ แปะเจี๊ยะ สุชาติ ธาดาธารงเวช WHO ARE YOU? (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9550000022245 [ 10 เมษายน 2559]
  • 7. 7 บางนโยบายผู้ปฏิบัติจานวนมากมีแนวโน้มไม่ให้ความสาคัญ และไม่ให้ความร่วมมือในการ นาไปปฏิบัติเพราะว่าขาดความรู้และกระทบกับอานาจของครูในห้องเรียน ดังเช่น นโยบายการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นโยบายนี้มีงานวิจัยพบว่า ครูไม่เห็นความสาคัญของนโยบายและไม่ให้ ความร่วมมือในการนานโยบายไปปฏิบัติ เพราะว่าครูขาดความรู้ความเข้าใจหลักคิดและวิธีการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ อีกทั้งไม่มีเวลาเพียงพอสาหรับการเรียนรู้วิธีการสอนในลักษณะ ดังกล่าวและการนาวิธีการสอนเช่นนั้นไปปฏิบัติจริง10 มีสาเหตุหลักสองประการที่ทาให้เกิดความคับแคบในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ประการแรก ผู้ปฏิบัติขาดความเข้าใจและไม่มีสมรรถนะในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ พวกเขา จึงใช้การลอกเลียนจากตัวแบบที่ส่วนกลางจัดส่งไปให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือลอกเลียนจากเพื่อนครู ด้วยกันเองที่มีความสามารถในการปฏิบัติ รูปแบบหรือวิธีการที่ใช้ในการดาเนินงานจึงมีแบบแผน เดียวกัน ขาดการสร้างนวัตกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น นโยบายการจัดทาหลักสูตรท้องถิ่นมีงานวิจัยที่ศึกษาปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคม ศึกษา ซึ่งพบว่าครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรมาช่วยในการดาเนินการ11 จึงไม่สามารถจัดทาหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นได้ ประการที่สองเกิด จากระเบียบราชการที่มีความแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น ทาให้โรงเรียนมีข้อจากัดในการเลือก วิธีการและแนวทางที่นอกเหนือไปจากที่กาหนดเอาไว้ในระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือคู่มือการปฏิบัติ เช่น นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีการกาหนดตัวชี้วัดจากส่วนกลาง และกาหนดให้ทุกแห่งใช้ ตัวชี้วัดเดียวกันประเมินโดยไม่คานึงถึงความแตกต่างของบริบทและสภาพปัญหาของสถานศึกษาแต่ อย่างใด กล่าวโดยสรุป นโยบายการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีความมุ่งมั่นทางการเมือง รัฐมนตรีและพรรค การเมืองที่เข้ามาบริหารมีแนวคิดแตกต่างกันมาก นโยบาย แผน และโครงการที่เกิดขึ้นมีการ เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขาดความต่อเนื่อง และสร้างความสับสนแก่ผู้ ปฏิบัติเป็นอย่างมาก12 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนาหลักการ “มีเอกภาพทางนโยบาย มีความ หลากหลายในเชิงปฏิบัติ” ไปใช้ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาจึงกลายเป็นไปในลักษณะที่ว่า “ไร้เอกภาพ 10 พุทธชาด ทองกร.( 2546) .การศึกษาการดาเนินการในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ของโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.researchgate.net/publication/27801232. [ 10 เมษายน 2559] 11 เสาวนีย์ เยาวโรจน์. (2544) การศึกษาการดาเนินงานและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/259. [10 เมษายน 2559] 12 วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). วรากรณ์ ชี้ รมว.ศธ.18 คน ต่างนโยบาย ฉุดการศึกษาไทย (ออนไลน์). สืบค้น จาก: www.manager.co.th/Qoi/ViewNews.aspx?NewID=9540000086864 [10 เมษายน 2559]
  • 8. 8 ทางนโยบาย มีความมักง่ายในเชิงปฏิบัติ” หรือนโยบายไปปฏิบัติมักจะถูกดาเนินการอย่างเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ใช้การลอกเลียนเป็นหลัก และทาตามที่ถูกสั่งลงมา การบริหารและการจัดการการศึกษาเน้นการกระจายอานาจ แต่มีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบและ ความไว้วางใจ การบริหารและการจัดการศึกษาที่ผ่านมามีความพยายามกระจายอานาจไปสู่เขตพื้นที่ การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยแนวคิดนี้มาจากฐานความเชื่อที่ว่า การ กระจายอานาจการบริหารการศึกษาหรือการให้อิสระทางการบริหารบุคลากร งบประมาณ และ วิชาการแก่สถานศึกษาและท้องถิ่น จะทาให้การพัฒนาการศึกษาเป็นไปโดยสอดคล้องกับบริบท ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะนาไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมายใน การสร้างคุณภาพการศึกษาขึ้นมาในที่สุด โครงสร้างการบริหารแบบกระจายอานาจที่กาหนดไว้ใน พ.ร.บ. 2542 คือ การกาหนดหน่วย บริหารในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยในระยะแรกมีการรวมประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นเขต พื้นที่การศึกษาเดียวกัน ต่อมาเมื่อปี 2553 ได้มีการปรับปรุง พ.รบ. โดยแยกเขตพื้นที่มัธยมศึกษา ออกมาเป็นหน่วยบริหารใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะทาให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น ผลจากการปรับปรุงพ.ร.บ.ทาให้มีพื้นที่เขตมัธยมศึกษา 42 เขต และพื้นที่ประถมศึกษา 183 เขต13 ในพื้นที่เขตการศึกษาแต่ละเขตมีคณะกรรมการและสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทาหน้าที่ใน การบริหารการศึกษาในระดับพื้นที่ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยผู้แทนองค์กร ชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบอาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้าน การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และมีผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็น กรรมการและเลขานุการ ขณะเดียวกันในแง่การบริหารบุคคลก็ได้มีอนุกรรมการข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่ขึ้นมา ซึ่งมีอานาจและมีความเป็นอิสระในการบริหารงาน บุคคลภายในเขตพื้นที่การศึกษาสูงมาก การกาหนดโครงสร้างการบริหารเป็นพื้นที่เขตการศึกษา แม้มีข้อดีในการทาให้แต่ละเขตพื้นที่ มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการบริหารงาน แต่ก็มีผลกระทบทางลบเกิดขึ้นในหลายด้าน เช่นเดียวกัน ประการแรกคือการบริหารในลักษณะแบบสร้างอาณาจักร ซึ่งหมายถึงแต่ละพื้นที่เขต การศึกษามุ่งแต่งานภายในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเขตพื้นที่อื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด และขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้เขตพื้นที่อื่นหรือหน่วยงานอื่นของกระทรวงศึกษาธิการเข้ามายุ่งเกี่ยวใน 13 พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/098/62.PDF [10 เมษายน 2559]
  • 9. 9 เขตพื้นที่ของตนเองด้วย จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติการทางานแบบ “ต่างคนต่างทาแบบแยกส่วน” ทาให้การศึกษาในระดับจังหวัดและภูมิภาคขาดการบูรณาการทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง การบูรณาการในแนวระนาบระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาในระดับเดียวกันภายในจังหวัดไม่ อาจเกิดขึ้น ยิ่งจังหวัดใดมีพื้นที่เขตการศึกษาหลายเขตปัญหาก็ยิ่งมากขึ้น ส่วนการบูรณาการใน แนวดิ่ง ระหว่างประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาก็เกิดขึ้นได้ยากเช่นเดียวกัน เพราะแต่ละ ส่วนต่างมุ่งเน้นแต่ระบบย่อยที่ตนเองรับผิดชอบโดยไม่ได้พิจารณาการศึกษาระบบใหญ่ทั้งระบบของ จังหวัด ทาให้ไม่มีการประสานงาน การแบ่งปันข้อมูล ทรัพยากร ความรู้ และความร่วมมือกันในการ พัฒนาการศึกษาต่างเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งระดับเขตพื้นที่ประถมศึกษาด้วยกันและระหว่างเขตพื้นที่ ประถมศึกษากับมัธยมศึกษา ยิ่งกว่านั้นหากกระทรวงศึกษาธิการประสงค์จะขับเคลื่อนนโยบายและ ยุทธศาสตร์การศึกษาในเชิงบูรณาการระดับจังหวัด ก็ทาได้ยากเพราะไม่มีหน่วยปฏิบัติใดที่ทาหน้าที่ เป็นแกนหลักในการประสานและเชื่อมโยงหน่วยงานและสถาบันการศึกษาระดับต่างๆเข้าด้วยกัน ยิ่งกว่านั้นความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลในระดับเขตพื้นที่ ทาให้มีความเสี่ยงต่อการเกิด พฤติกรรมการทุจริตขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะหากไม่มีระบบการกากับดูแลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดัง เรื่องการเรียกรับผลประโยชน์จากการบรรจุครูผู้ช่วยใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นในบางพื้นที่และอาจมีแนวโน้ม ขยายออกไป14 ด้วยปัญหาดังกล่าว ในต้นปี 2559 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้มีคาสั่งที่ 10/2559 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับภูมิภาคเสียใหม่ โดยให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคขึ้นมาเพื่อ กาหนดทิศทางในการดาเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด พร้อมกันนั้นก็ ได้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) และมีการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ขึ้นมา รับผิดชอบการศึกษาของจังหวัดทั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการบริหาร บุคคล รวมทั้งมีการจัดตั้งตาแหน่งศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัดขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกในการ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในระดับภาคและจังหวัดให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น15 เป้าประสงค์ของการปรับโครงสร้างแบบใหม่เพื่อสร้างเอกภาพและบูรณาการระหว่างการศึกษาทั้งใน แนวระนาบและแนวดิ่ง อานาจต่างๆจากเดิมที่เคยเป็นของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและอ.ก. ค.ศ. ได้ถูกโอนย้ายมาอยู่ที่ กศจ. กล่าวได้ว่าเป็นการกระชับอานาจที่กระจายตามเขตพื้นที่การศึกษา ให้มาอยู่ในพื้นที่จังหวัด และหากพิจารณาในแง่การกระจายอานาจคือการใช้จังหวัดเป็นหน่วยหลัก 14 พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีศึกษาธิการ, มติชน 3 พ.ค. 2559. 15 กระทรวงศึกษาธิการ .(2559). คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2559 เรื่องการขับเคลื่อนการ ปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.moe.go.th/websm/2016/mar/134.html [ 11 เมษายน 2559]
  • 10. 10 ของการใช้อานาจ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทาให้การบริหารการศึกษาในจังหวัดมีทิศทางที่เป็นเอกภาพ และมีการบูรณาการมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาในอนาคต สาหรับการกระจายอานาจสู่สถานศึกษาหรือโรงเรียน ซึ่งได้เริ่มมีการขับเคลื่อนตั้งแต่มีการใช้ พ.ร.บ.การศึกษา 2542 ไม่ได้รับผลกระทบจากคาสั่ง คสช. ที่ 10/2559 มากนัก แบบแผนการกระทา แบบเดิมเป็นอย่างไรก็ยังคงมีแนวโน้มเช่นนั้นต่อไป มีงานวิจัยจากหลายประเทศพบตรงกันว่า การให้ โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการบุคลากร งบประมาณ และวิชาการ และมีความรับผิดชอบในการ ดาเนินงาน ทาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีค่อนข้างสูง16 อย่างไรก็ตาม สาหรับในประเทศไทย ตั้งแต่มีการนาแนวคิดการกระจายอานาจลงสู่โรงเรียนไปปฏิบัติก็ประสบกับปัญหาหลายประการ ประการแรกคือ การเตรียมการรับการกระจายอานาจของโรงเรียนมีน้อย เพราะขาดความชัดเจนใน เชิงปฏิบัติ ประการที่สอง การดาเนินการมีลักษณะยึดคาสั่งจากส่วนกลางและขาดความคิด สร้างสรรค์ โดยโรงเรียนมีความพยายามปฏิรูปการศึกษาตามหลักการกระจายอานาจ แต่การ ดาเนินการมีแนวโน้มยึดนโยบายและแนวทางที่กรมเจ้าสังกัดกาหนดเป็นหลัก การริเริ่มสร้างสรรค์และ การจัดการตนเองยังมีน้อย ประการที่สาม ความแตกต่างในการรับรู้ปัญหาระหว่างผู้บริหารโรงเรียน กับครู ขณะที่ผู้บริหารโรงเรียนและสานักงานเขตการศึกษายังมีวิธีคิดแบบดั้งเดิม โดยมองว่าปัญหา การกระจายอานาจเกิดจากการขาดแคลนปัจจัยนาเข้า เช่น งบประมาณ ครู และวัสดุอุปกรณ์ไม่ เพียงพอ ส่วนครูมองว่าปัญหาเกิดจากผู้บริหารโรงเรียนขาดการอุทิศตัวแก่โรงเรียน ส่วนใหญ่ใช้เวลา อยู่นอกโรงเรียน ให้ความสนใจด้านวิชาการต่า และมีปัญหาด้านคุณธรรมและจริยธรรม17 กล่าวได้ ว่าในมุมมองของครู ปัญหาการกระจายอานาจคือความไม่รับผิดชอบและการขาดคุณธรรมของ ผู้บริหารนั่นเอง มุมมองของครูสอดคล้องกับผลการวิจัยของ อัมมาร สยามวาลาและคณะที่พบว่า การเพิ่มทรัพยากร เช่น งบประมาณการศึกษาไม่ได้เป็นหลักประกันที่จะทาให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น แต่คุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับ “ความรับผิดชอบ”ในการจัดการศึกษาของกลุ่มที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และสถานประกอบการ18 สาหรับการกระจายอานาจการจัดการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีงานวิจัย จานวนมากยืนยันว่าก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในระบบการศึกษาของหลายประเทศ โดยทาให้ 16 The quardian. (2014). Greater autonomy for schools: does it really get better results? (Oneline). Available at: http://www.theguardian.com/world/2014/feb/04/independent-schools-better-results- analysis. [12 เมษายน 2559] 17 ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ:สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. หน้า (ค) (ง) และ (จ) 18 อัมมาร สยามวาลา และคณะ (2555). การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง. (ออนไลน์) สืบค้นจาก: http://tdri.or.th/priority-research/s1-amma/. [12 เมษายน 2559]
  • 11. 11 คุณภาพการศึกษาสูงขึ้น เช่น ประเทศเกาหลีใต้19 อย่างไรก็ตามในสังคมไทยนั้น การกระจาย อานาจทางการศึกษาไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัญหาหลัก 3 ประการ ประการแรก โครงสร้างอานาจทางการเมืองของสังคมไทยที่มิได้ให้การสนับสนุนการกระจายอานาจอย่างจริงจัง อัน เกิดจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมการเมืองแบบอานาจนิยม ซึ่งส่วนกลางมีแนวโน้มที่พยายามรักษา อานาจนาและอานาจเหนือท้องถิ่นเอาไว้ การกระจายอานาจถ่ายโอนสถานศึกษาไปให้ท้องถิ่นจึงมี ลักษณะจากัดขอบเขตเฉพาะท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล นครและเมืองเป็นหลัก ส่วนท้องถิ่นในระดับอื่นๆ ส่วนกลางไม่ยินยอมให้มีการถ่ายโอนแต่อย่างใด อีก ทั้งการบริหารการศึกษายังมีลักษณะรวมศูนย์อานาจไว้ที่ส่วนกลาง ท้องถิ่นมิได้มีอิสระอย่างเพียงพอ ในการบริหารวิชาการ เพราะว่าการกาหนดเนื้อหาหลักสูตรการเรียนส่วนใหญ่ยังคงขึ้นอยู่กับ ส่วนกลาง20 การกระจายอานาจเท่าที่เป็นอยู่จึงมิใช่การดาเนินการตามหลักการอันเป็นสารัตถะ หากแต่ดาเนินการแบบผิวเผินและแยกส่วนเสียมากกว่า ประการที่สอง ความไม่ไว้วางใจของบุคลากรทางการศึกษาต่อนักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่นของประเทศไทยมักถูกรับรู้ในทางลบ โดยถูกมองว่าเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล เข้ามาเป็น ผู้บริหารท้องถิ่นโดยการซื้อเสียง ส่วนใหญ่ไร้วิสัยทัศน์และความสามารถทางวิชาการ มักจะใช้ระบบ อุปถัมภ์ในการบริหาร เล่นพรรคเล่นพวก และอาจเข้ามาแทรกแซงการบริหารบุคคลและการจัด การศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรการศึกษาจานวนมากจึงต่อต้านและไม่เห็นด้วยกับการ โอนโรงเรียนไปสังกัดท้องถิ่น ประการที่สาม ความไม่พร้อมของท้องถิ่นในการรับการกระจาย อานาจในสี่ประเด็นคือ ความไม่พร้อมด้านภาวะผู้นา โดยผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังขาดวิสัยทัศน์ใน เรื่องการจัดการศึกษา ความไม่พร้อมในการประสานงานเพื่อสร้างภาคีความร่วมมือแบบมีส่วนร่วม ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการศึกษา ความไม่พร้อมด้านวิชาการในการสร้างและพัฒนา หลักสูตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น และความไม่พร้อมของ ทรัพยากรสาคัญในท้องถิ่น เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติ ที่จาเป็นต่อการจัดการศึกษา จากปัญหาดังกล่าวจึงทาให้หลักการกระจายอานาจการจัดการศึกษาสู่โรงเรียนและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นของสังคมไทยมีการพัฒนาที่ล่าช้า ยังไม่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลที่จากัด แม้ว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งสามารถดาเนินการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล แต่ก็ดูเหมือนเป็นข้อยกเว้นและเกิดขึ้นจานวนไม่มากนัก การขับเคลื่อนเพื่อ กระจายอานาจและสร้างความเป็นอิสระแก่โรงเรียนในการบริหารงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ เป็นทิศทางที่ถูกต้องสาหรับการปฏิรูปการศึกษา จึงเป็นเรื่องที่ต้องดาเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง 19 ดูรายละเอียดใน สุรัสวดี หุ่นพยนต์, อาพา แก้วกากง และ วทัญญู ใจบริสุทธิ์. 2556. การบริหารจัดการศึกษา ภายใต้แนวคิดการกระจายอานาจ : ศึกษาเปรียบเทียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยและเกาหลีใต้ (ระยะที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา. 20 สุรัสวดี หุ่นพยนต์, อาพา แก้วกากง และ วทัญญู ใจบริสุทธิ์. อ้างแล้ว. หน้า 21.
  • 12. 12 เพื่อให้บรรลุผลสาเร็จอย่างทั่วถึงในอนาคต อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงระวังในเรื่องนี้คือ การมีอิสระในการ บริหารโดยปราศจากความรับผิดชอบและการตรวจสอบที่เข้มแข็ง นอกจากไม่สามารถสร้าง ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้แล้ว ยังบั่นทอนคุณภาพ การศึกษาให้ตกต่าลงไปอีกด้วย มาตรฐานที่ไร้ผล และการประกันคุณภาพที่บั่นทอนคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษาที่ มีการกาหนดเอาไว้ในพ.ร.บ.การศึกษา 2542 เป็นสิ่งที่ประเทศไทยเลียนแบบจากประเทศอังกฤษ โดยมีรากฐานความเชื่อและการนาเสนอต่อสาธารณะว่า สถาบันการศึกษาต้องมีพันธะรับผิดชอบต่อ สังคม เพราะสถาบันการศึกษานาภาษีอากรของประเทศมาใช้ในการดาเนินงาน การประกันคุณภาพ การศึกษาเป็นมาตรการที่แสดงถึงความรับผิดชอบดังกล่าว เพราะว่าจะทาให้สถาบันการศึกษาเพิ่ม ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการนาระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติจริง กลับสร้างปัญหาหลายประการที่ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาตก ต่าลง ปัญหาของระบบประกันคุณภาพมีตั้งแต่ในเรื่องปรัชญาและหลักคิด จนไปถึงผลกระทบที่ เกิดขึ้นจากการนาระบบนี้ไปใช้ ในเชิงปรัชญา ยศ สันตสมบัติ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ ชี้ให้เห็นว่า ระบบประกันคุณภาพเป็นระบบที่ดารงอยู่ภายใต้แนวคิดของลัทธิเสรีนิยมใหม่ ที่ ปรับเปลี่ยนสถาบันการศึกษาระดับสูงให้กลายเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพ ประสิทธิภาพการทางานถูก กาหนดเป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณอย่างไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สาหรับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนาระบบประกันคุณภาพไปปฏิบัติในประเทศอังกฤษ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ว่า ระบบประกันคุณภาพมิได้ทาให้สถาบันการศึกษาเป็นอิสระหรือรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มขึ้นแต่อย่าง ใด ในทางกลับกันกลายเป็นว่าระบบประกันคุณภาพเป็นกลไกอันทรงพลานุภาพในการกากับและ ตรวจสอบการทางานของสถาบันการศึกษาให้อยู่ภายใต้อานาจของนักประเมินและนักธุรกิจการเมือง ซึ่งเป็นการลดคุณค่าและศักดิ์ศรีของบุคลากรในสถาบันการศึกษาให้กลายเป็นพนักงานขององค์การ ที่ ถูกประเมินโดยแบบฟอร์มอันตื้นเขิน ซึ่งแปลงคุณภาพของงานให้เป็นตัวเลขเชิงปริมาณอย่างไม่ สมเหตุสมผล อีกทั้งการประเมินคุณภาพยังแฝงด้วยความสัมพันธ์อานาจแบบระบบอุปถัมภ์ บุคลากรที่ถูกประเมินถูกมองว่าเป็นลูกน้อง ซึ่งจะถูกซักถาม ไต่สวน และพิพากษาดุจดั่งจาเลย ขณะที่ ผู้ประเมินวางฐานะของตนเองเป็นเจ้านาย ทาหน้าที่ประดุจเป็นตารวจ อัยการ และศาลในเวลา เดียวกัน การประกันคุณภาพจึงเป็นการทาลายวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และการวิพากษ์วิจารณ์ของ สถาบันการศึกษาลงไป ขณะที่เสริมแรงและทาให้วัฒนธรรมแห่งการยอมจานนอานาจเบื้องบนมีความ
  • 13. 13 แข็งแกร่งขึ้น ยิ่งกว่านั้นการประกันคุณภาพอ้างความชอบธรรมในฐานะการบริหารจัดการแบบใหม่ เพื่อปิดบังซ่อนเร้นอานาจการควบคุมพฤติกรรม การให้รางวัล และการลงโทษเอาไว้21 สาหรับสังคมไทยเมื่อมีการนาระบบประกันคุณภาพไปใช้ก็เกิดผลกระทบที่คล้ายคลึงกับ ประเทศอังกฤษ ประการแรก มีหลายแห่งที่ผู้ประเมินแสดงอานาจเหนือผู้ถูกประเมินอย่างชัดเจน โดย แสดงพฤติกรรมวางอานาจและมองผู้ถูกประเมินประดุจจาเลย ประการที่สอง มีการใช้ตัวชี้วัดแบบ “เหมาโหล” หรือใช้เหมือนกันทุกแห่งโดยไม่คานึงถึงความแตกต่างเชิงบริบทของสถาบันการศึกษา จึง ทาให้ตัวชี้วัดจานวนไม่น้อยขาดความสมเหตุสมผลและสมจริง ประการที่สาม เป็นการเพิ่มภาระงาน เอกสารให้ครูและอาจารย์ซึ่งต้องจัดหาข้อมูล เขียนเอกสาร และจัดหาหลักฐานเพื่อเตรียมสาหรับการ ประเมิน กระบวนการเหล่านี้เป็นการสิ้นเปลืองเวลาและทรัพยากรเป็นจานวนมาก สถานศึกษาขนาด ใหญ่บางแห่งโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยจึงต้องมีการกาหนดตาแหน่งและจ้างบุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อ รับผิดชอบในการจัดทาเรื่องนี้โดยตรง ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีงบประมาณจ้างบุคลากรเพิ่มก็ ต้องให้ครูเป็นผู้ทา ผลที่ตามมาคือเวลาในการเตรียมสอนของครูลดน้อยลงไป ส่งผลให้การสอนมี คุณภาพต่าลงตามไปด้วย งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุอย่าง ชัดเจนว่าสาเหตุสาคัญที่ทาให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่าคือ ครูใช้เวลาในการสอนน้อยลง เพราะ ต้องใช้เวลาในการเตรียมและเขียนเอกสารสาหรับการประเมินต่างๆมากมายโดยเฉพาะการประเมิน คุณภาพการศึกษา22 ประการที่สี่ ระบบประกันคุณภาพมิได้ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาไทยดีขึ้น ดัง เห็นได้จากที่นักเรียนไทยได้คะแนนทดสอบระดับชาติและนานาชาติต่าอย่างต่อเนื่องทั้งที่มีระบบ ประกันคุณภาพมานับสิบปี ในเรื่องนี้ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งคาถามเกี่ยวกับการดาเนินงานของสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งรับผิดชอบระบบประกันคุณภาพการศึกษา 4 ประเด็น คือ 1) วิธีการ ประเมินที่สมศ.ใช้ในการประเมินคุณภาพก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพจริงหรือไม่ ทาไมหลังการ ประเมินแล้วคุณภาพการศึกษายังไม่ดีขึ้น 2) วิธีการประเมินที่ใช้เอกสารจานวนมากสามารถให้ความ เที่ยงตรงในการประเมินได้หรือไม่ สามารถทาให้ได้หลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงได้มากน้อย เพียงใด 3) จากการวิจัยของสานักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)พบว่าการ ประเมินคุณภาพการศึกษาใช้เวลาและเป็นภาระแก่ครูมาก กระดาษกลายเป็นนาย คนกลายเป็นทาส แต่สมศ.กลับบอกว่าใช้เวลาน้อย และ 4) ทีมของกระทรวงศึกษาธิการยืนยันว่าการประเมินคุณภาพ 21 ยศ สันตสมบัติ. (2552). มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติหรือสุสานทางปัญญา (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.gotoknow.org/posts/323055. [12 เมษายน 2559] 22 อัมมาร สยามวาลา และคณะ, อ้างแล้ว.
  • 14. 14 การศึกษาของ สมศ.ไม่ได้ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษาแต่อย่าง ใด เพราะมีตัวบ่งชี้และมาตรฐานหลายตัวที่กระทรวงศึกษาธิการไม่เห็นด้วย23 จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพที่กาหนดไว้ และถูกนาไปปฏิบัติประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือแทนที่จะทาให้การศึกษาไทยมีคุณภาพ เพิ่มขึ้น กลับกลายเป็นว่าระบบประเมินคุณภาพเป็นปัจจัยถ่วงรั้งและบั่นทอนคุณภาพการศึกษาของ ประเทศไทยให้ตกต่าเสียเอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพยังน่ากังขา แรงจูงใจเจือจาง และเวลาสอนถูกรบกวน ด้วยโครงสร้างค่านิยมของสังคมที่ให้คุณค่ากับอาชีพที่มีโอกาสทารายได้สูง มีอานาจบังคับใช้ กฎหมาย และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ทาให้นักเรียนที่มีสติปัญญาสูงแข่งขันกันเลือกเรียน สาขาวิชาที่พวกเขาคาดว่าจะสามารถสร้างความมั่งคั่งและอานาจให้แก่ตัวเองได้ ส่วนสาขาที่ไม่ สามารถนาไปสู่เป้าหมายดังกล่าวผู้ที่เลือกเรียนส่วนใหญ่มักมีความสามารถทางสติปัญญาในระดับ รองลงมา และสาขาด้านการศึกษาก็เป็นหนึ่งในจานวนนั้น ครูส่วนใหญ่ที่ได้รับการผลิตออกมาจึง ไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่มีสติปัญญาชั้นนาของประเทศ และเมื่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไปถ่ายทอดความรู้แก่ นักเรียนก็ย่อมมีข้อจากัดในการพัฒนาศักยภาพและการเจริญเติบโตด้านปัญญาให้แก่ผู้ที่ตนเองสอน ตามไปด้วย ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มีความแตกต่างจากประเทศที่มีการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาสูงอย่างเช่น สิงคโปร์ หรือ เกาหลีใต้ ซึ่งโครงสร้างค่านิยมให้ความสาคัญกับอาชีพครูเป็น อย่างสูง และรัฐบาลประเทศเหล่านั้นก็ได้มีนโยบายและการบริหารในแนวทางที่ให้การสนับสนุนอาชีพ ครูอย่างเต็มที่ เพราะมีวิธีคิดว่าผู้ที่จะสามารถสอนผู้อื่นได้จะต้องเป็นคนมีสติปัญญาสูง ภายใต้การ บริหารประเทศที่ให้ความสาคัญกับอาชีพครู จึงทาให้ครูของประเทศเหล่านั้นเป็นกลุ่มผู้นาทางปัญญา ของสังคมอย่างแท้จริง และสามารถผลิตเด็กที่มีคุณภาพสูงให้แก่ประเทศได้อย่างต่อเนื่อง สาหรับสังคมไทยมีเรื่องราวแตกต่างออกไป กล่าวคือแนวทางการบริหารราชการของไทย โดยเฉพาะในอดีตมีส่วนทาให้ผู้มีสติปัญญาสูงไม่ประสงค์เป็นครู และทาให้ผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วไม่มี แรงจูงใจในการพัฒนาการเรียนการสอน ครูซึ่งเป็นข้าราชการมีเงินเดือนค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับ ภาคเอกชน อีกทั้งส่วนใหญ่ยังต้องไปรับราชการในหมู่บ้านชนบท และยังเป็นกลุ่มบุคคลที่จะต้องนา นโยบายของรัฐไปปฏิบัติในระดับพื้นที่อีกด้วย การมีเงินเดือนต่าย่อมไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ครู จานวนมากปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทเพียงพอ ทั้งยังไม่สามารถดึงดูดคนใหม่ๆที่มีความสามารถเข้ามา เป็นครูได้ นี่อาจดูเหมือนเป็นข้ออ้างเพราะว่าข้าราชการหน่วยงานอื่นๆจานวนมากก็ได้รับเงินเดือนใน ระดับเดียวกับครู แต่ก็มีคนเก่งจานวนไม่น้อยที่เข้าไปทางานในหน่วยงานเหล่านั้น แต่เหตุผลที่ทาให้ 23 ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2558). รมช.ศึกษา ธีระเกียรติ โต้ สมศ.เกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา แค่ติ๊กถูก ปล่อยให้ กระดาษเป็นนาย ไม่ได้อีกแล้ว (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://thaipublica.org/2015/10/teerakiat- 1/ [ 13 เมษายน 2559]