SlideShare a Scribd company logo
1 of 41
Download to read offline
รายงาน
เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จัดทําโดย
นางสาวลัดดาวัลย์ วังคําลุน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/5 เลขที่26
เสนอ
คุณครูประกาศิต ศรีสะอาด
วิชาคอมพิวเตอร์
โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล
อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามะยมศึกษาเขต29
2
คํานํา
เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ จัดทําขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับครู (รหัสวิชา PC 54504) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึง
ความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อนําไปใช้ในการเรียนการสอน และเป็นผู้
มีความสามารถมีทักษะในการนําเทคโนโลยีสารสนเทศไปศึกษาค้นคว้าประยุกต์ใช้ และพัฒนา
ตนเองทั้งทางด้านการเรียนการสอน และการดําเนินชีวิตได้
เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับครู แบ่ง
ออกเป็น 8 หน่วย ในแต่ละหน่วยจะมีแผนบริหารการสอนประจําหน่วย และคําถามท้ายหน่วยการ
เรียน
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารสําหรับครูเล่มนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไม่มากก็น้อย
ผู้จัดทํา
นางสาวลัดดาวัลย์วังคําลุน
3
สารบัญ
หน้า
หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1
กําเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3
ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4
ความหมายและความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 14
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจําวัน 18
กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 19
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม 21
คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1 22
หน่วยที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 23
ระบบและวิธีการเชิงระบบ 25
ระบบสารสนเทศ 25
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 27
ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ 29
ประเภทของระบบสารสนเทศ 30
ข้อมูลและสารสนเทศ 31
คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 2 39
หน่วยที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ 40
ประวัติของคอมพิวเตอร์ 42
ความหมายของคอมพิวเตอร์ 43
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 44
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ 44
ระบบคอมพิวเตอร์ 45
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 45
คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 3 55
หน่วยที่ 4 ซอฟต์แวร์ (Software) 56
ความหมายของซอฟต์แวร์ 58
ประเภทของซอฟต์แวร์ 59
ความจําเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์ 63
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ 64
4
สารบัญ
หน้า
คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4 65
หน่วยที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 66
ความหมายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 68
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 69
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 69
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 71
คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5 75
หน่วยที่ 6 อินเทอร์เน็ต 76
ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต 78
ความสําคัญของอินเทอร์เน็ต 78
ประโยชน์อินเทอร์เน็ต 79
การใช้อินเทอร์เน็ต 79
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 80
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 81
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 82
คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6 86
5
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
Basic Concepts of Computer and Information Technology
ส่วนประกอบทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวันและงานด้านต่างๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม
Basic physical make-up of a personal computer, computer and information network,
computer applications in everyday life, information technology and society.
เนื้อหาความรู้ในโมดูลที่ 1
1. บทนํา
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชนิดของคอมพิวเตอร์
การทํางานของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
2. ฮาร์ดแวร์ Hardware
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit)
อุปกรณ์นําเข้า (Input devices)
อุปกรณ์แสดงผล (Output devices)
3. หน่วยความจํา Memory
หน่วยความจํารอม (ROM) และ (RAM)
DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม) SIMM (ซิม)
หน่วยความจําเสมือน (Virtual Memory)
หน่วยความจําแคช (Memory Cache) และ บัส (Bus)
หน่วยข้อมูลสํารอง
4. ซอร์ฟแวร์ Software
ชนิดของ Software
5. คอมพิวเตอร์กับชีวิตประจําวันและงานด้านต่าง ๆ
คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
6
คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
คอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
คอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร
คอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ในวงราชการ
6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม
การเปลี่ยนแปลงของโลก
ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
ทรัพย์สินทางปัญญา
1. บทนํา
ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการทํางานเป็นอย่าง
มาก ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงความหมาย ชนิด การทํางาน ของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศกับ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในบทนี้จะกล่าวถึง ความหมายของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประโยชน์ที่มนุษย์นํามาใช้ด้าน
ต่างๆ
1.1.1 ความหมายของของพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทํางานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจําข้อมูลและคําสั่งได้ ทํา
ให้สามารถทํางานไปได้โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคํานวณหรือการทํางาน
ต่างๆได้เกือบทุกชนิด คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคํานวณและประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
คุณสมบัติ 3 ประการ คือ
ความเร็ว (Speed) เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางานด้วยความเร็วสูงมาก หน่วยความเร็วของการทํางานของ
คอมพิวเตอร์วัดเป็น
- มิลลิเซกัน (Millisacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000 วินาที
- ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที
- นาโนเซกัน (Nanosacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที
7
หน่วยความจํา (Memory) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยความจํา สามารถใช้บันทึกและเก็บ
ข้อมูลได้คราวละมากๆ สามารถเก็บคําสั่งต่อๆ กันที่เราเรียกว่า โปรแกรม และนํามาประมวลในคราว
เดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทําให้คอมพิวเตอร์สามารถทํางานเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถประมวลผล
ได้เร็วและถูกต้อง
ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยคํานวณและตรรกะ
นอกจากจะมีความสามารถในการคํานวณแล้วยังมีความสามารถในการเปรียบเทียบ ความสามารถนี้เองที่
ทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ที่ทําให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรม
อัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์ยังมีความแม่นยําในการคํานวณ มีความเที่ยงตรงแม้จะทํางาน
เหมือนเดิมซํ้ากันหลายรอบ และสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ อีกด้วย
8
1.1.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์กระจายไปอยู่ในทุกวงการ
- ด้านธุรกิจ ได้แก่การนําคอมพิวเตอร์มาประมวลงานด้านธุรกิจ
- ด้านการธนาคาร ปัจจุบันทุกธนาคารจะนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานในองค์กรของตนเพื่อ
ให้บริการลูกค้า
- ด้านตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ จะมีข้อมูลจํานวนมาก
และต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
- ธุรกิจโรงแรม ระบบคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการบริหารโรงแรม การจองห้องพัก การติดตั้งระบบ
Online ตามแผนกต่างๆ
- การแพทย์ มีการนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ทะเบียนประวัติคนไข้,ระบบข้อมูล
การให้ภูมิคุ้มกันโรค,สถิติด้านการแพทย์,ด้านการบัญชี
- วงการศึกษา การนําคอมพิวเตอร์มาใช้กับสถาบันการศึกษาจะมี ระบบงานที่เกี่ยวกับ การเรียนการ
สอน การวิจัย การบริหาร
- ด้านอุตสาหกรรมทั่วไป
- ด้านธุรกิจสายการบิน สายการบินต่างๆทั่วโลกได้นําเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายโดย
เฉพาะงานการสํารองที่นั่งและเที่ยวบิน
- ด้านการบันเทิง เช่น วงการภาพยนตร์ การดนตรี เต้นรํา
1.1.3 ความหมายและความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคําภาษาอังกฤษว่า Information Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อ
ว่า IT สุชาดา กีระนันท์ (2541) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้าร่วมกัน
ในกระบวนการจัดเก็บสร้าง และสื่อสารสนเทศ ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สําคัญสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ
ประมวลผลสืบค้น ส่งและรับข้อมูลในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น
9
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกและค้นคืน เครือข่ายสื่อสาร ข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้ง
ระบบที่ควบคุมการทํางานของอุปกรณ์เหล่านี้
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2541) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสําคัญ ดังนี้
1. สามารถจัดเก็บข้อมูลจากจุดเกิดได้อย่างรวดเร็ว
2. สามารถบันทึกข้อมูลจํานวนมากๆไว้ใช้งานหรือไว้อ้างอิงการดําเนินงานหรือการตัดสินใจใดๆ
3. สามารถคํานวณผลลัพธ์ต่างๆได้รวดเร็ว
4. สามารถสร้างผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบ
5. สามารถส่งสารสนเทศ ข้อมูล หรือผลลัพธ์ที่ได้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
1.2 ชนิดของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง
ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้คือ
1.2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Super Computer
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง
ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้คือ
หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง มีความเร็วในการทํางาน และประสิทธิ
ภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคํานวณทาง
คณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากได้
อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทาง
อวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์เคมี งานทําแบบจําลองโมเลกุลของ
สารเคมี งานด้านวิศวกรรมการออกแบบ งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคารที่ซับซ้อน ซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิด
10
อื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้อาจจะต้องใช้เวลาในการคํานวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์
คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจําที่ใหญ่มากๆ สามารถทํางานหลายอย่างได้พร้อมๆ กัน โดยที่งาน
เหล่านั้นอาจจะเป็นงานที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นงานใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปให้หน่วยประมวลผลแต่ละตัว
ทํางานก็ได้ และยังใช้โครงสร้างการคํานวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing :
MPP) ซึ่งเป็นการคํานวณที่กระทํากับข้อมูลหลายๆ ตัวหรือหลายๆ งานในเวลาเดียวกันได้พร้อมๆ กันเป็น
จํานวนมาก ทําให้มีความสามารถในการทํางานแบบมัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) หรือความสามารถ
ในการทํางานหลายงานพร้อมๆกันได้ ดังนั้น จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High
Performance Computer)
ความเร็วในการคํานวณของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็น นาโนวินาที (nanosecond)
หรือเศษหนึ่งส่วนพันล้านวินาที และ กิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคํานวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาที
ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้าน
วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
1.2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ Mainframe Computer
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถะสูง แต่ยังตํ่ากว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีความเร็วสูงมาก มี
หน่วยความจําขนาดมหึมา เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จํานวนหลายร้อยคน ที่ใช้โปรแกรมที่
แตกต่างกันนับร้อยพร้อมๆ กันได้ เหมาะกับการใช้งานทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดย
เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจํานวนมากๆ
11
เครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยพร้อมๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์
คอมพิวเตอร์ แต่จะมีจํานวนหน่วยประมวลที่น้อยกว่า และเครื่องเมนเฟรมจะวัดความเร็วอยู่ในหน่วยของ เม
กะฟลอป (Megaflop) หรือการคํานวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมจึงอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไป
เป็นจํานวนมากเช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐาน เครื่องเมนเฟรมจะเก็บโปรแกรมของผู้ใช้เหล่านั้นไว้ใน
หน่วยความจําหลัก และมีการสับเปลี่ยนหรือสวิทช์การทํางานระหว่างโปรแกรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างรวดเร็ว
โดยที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเลยว่าเครื่องเมนเฟรมที่ใช้ มีการสับเปลี่ยนการทํางานไปทํางานของผู้ใช้คนอื่นๆ อยู่
ตลอดเวลา หลักการที่เครื่องเมนเฟรมสามารถทํางานหลายโปรแกรมพร้อมๆ กันนั้นเรียกว่า มัลติโปรแกรม-
มิง (Multiprogramming)
12
1.2.3 มินิคอมพิวเตอร์
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีสมรรถนะตํ่ากว่าเครื่องเมนเฟรม แต่สูงกว่าเวิร์คสเตชัน จุดเด่นที่
สําคัญ คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม และการใช้งานใช้บุคลากรไม่มากนักมินิคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนาขึ้นใน
ค.ศ. 1960 ต่อมาบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ ประกาศตัวมินิ คอมพิวเตอร์ DEC
PDP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ.1965
ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก
เครื่องมินิ คอมพิวเตอร์ใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้
ใช้ได้นับร้อยคนพร้อมๆกัน แต่เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทํางานได้ช้ากว่า การควบคุมผู้ใช้งานต่างๆ ทําน้อย
กว่า สื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม
13
การทํางานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการ
แสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่นๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ชนิด
ที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูลหน่วย
ประมวลผล หน่วย แสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสํารอง สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้ โดยไม่ต้องกังวล
ว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น
1.2.4 เวิร์คสเตชั่น และไมโครคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สําหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็นสองรุ่น คือ เวิร์คสเตชัน หมายถึง คอมพิวเตอร์
ขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ สามารถทํางานพร้อมกันได้หลายงาน และ
ประมวลผลเร็วมาก มีความสามารถในการคํานวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการ
แสดงผลด้านกราฟิก เช่น นํามาช่วยในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วน เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้อง
ทํางานกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทําให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมี
หน่วยเก็บข้อมูลสํารองจํานวนมากด้วย เวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (Reduce instruction set
computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจํานวนคําสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จําเป็น เพื่อให้สามารถทํางานได้
ด้วยความเร็วสูง
14
ไมโครคอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้งานคนเดียว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้ง
ละคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน
บุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer)
1.3 การทํางานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทํางานได้เร็ว สะดวก และแม่นยํา
มากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทํางานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ
วิธีการทํางานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสําคัญคือ
ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคําสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคําสั่งผ่านอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล คือ เมาส์
คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคํานวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการ
ทํางานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคําสั่งของโปรแกรม หรือ
ซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นําข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทําการเรียงลําดับข้อมูล นําข้อมูลมาจัด
กลุ่ม นําข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้ อน หรือแสดงผลจากการ
ประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลําโพง
ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทําการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บ
ข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนํามาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
1.3 การทํางานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทํางานได้เร็ว สะดวก และแม่นยํา
มากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทํางานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ
วิธีการทํางานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสําคัญคือ
ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคําสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคําสั่งผ่านอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล คือ เมาส์
คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคํานวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการ
ทํางานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคําสั่งของโปรแกรม หรือ
ซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นําข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทําการเรียงลําดับข้อมูล นําข้อมูลมาจัด
กลุ่ม นําข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้ อน หรือแสดงผลจากการ
ประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลําโพง
ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทําการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บ
ข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนํามาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
15
1.4.1 จอภาพ (Monitor)
อาจเรียกทับศัพท์ว่า มอนิเตอร์ (Monitor), สกรีน (Screen), ดิสเพลย์ (Display) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้
แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบันส่วนมากใช้จอแบบหลอดภาพ (CRT หรือ
Cathode Ray Tube) เหมือนจอภาพของเครื่องรับโทรทัศน์ และจอแบบผลึกเหลว (LCD หรือ Liquid Crystal
Display) มีลักษณะเป็นจอแบน
1.4.2 ตัวเครื่อง (Computer Case)
เป็นส่วนที่เก็บอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, Disk Drive, Hard Disk ฯลฯ
1.4.3. คีย์บอร์ด (Keyboard)
หรือแป้ นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์คําสั่ง หรือป้ อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ดมีลักษณะ
คล้ายแป้ นพิมพ์ดีด แต่จะมีปุ่มพิมพ์มากกว่า
16
1.4.4 เมาส์ (Mouse)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชี้ตําแหน่งต่างๆบนจอภาพ ซึ่งจะเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางาน
เช่นเดียวกับการป้ อนคําสั่งทางคีย์บอร์ด เมื่อเลื่อนเมาส์ไปมาจะทําให้เครื่องหมายชี้ตําแหน่งบนจอภาพ (Cusor)
เลื่อนไปในทิศทางเดียวกันกับที่เลื่อนเมาส์นั้น
1.4.5 เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ เครื่องพิมพ์มีหลายแบบ เช่น เครื่องพิมพ์จุด
(Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer) เป็นต้น
1.4.6 สแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล โดยเอารูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อ
นําไปใช้งานต่อไป เครื่องสแกนมีทั้งชนิด อ่านได้เฉพาะภาพขาวดํา และชนิดอ่านภาพสีได้ นอกจากนี้ยังมีชนิด
มือถือ
17
1.4.7 โมเด็ม (Modem)
เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ได้ และแปลง
ข้อมูลจากสายโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้
2. ฮาร์ดแวร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร◌์ หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่ง
ประกอบด้วยส่วนที่สําคัญคือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจําหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล
และหน่วยเก็บข้อมูลสํารอง
2.1 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) หรืออาจเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์
(Microprocessor) หรือชิป (Chip) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการคิดคํานวณ ประมวลผล และ
ควบคุมการทํางานของอุปกรณ์อื่นในระบบ ลักษณะของซีพียูจะเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วย
ทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว ตัวอย่างเช่น ซีพียูรุ่นเพนเทียมจะมีทรานซิสเตอร์เล็กๆจํานวน
มากถึง 3.1 ล้านตัว
ซีพียูมีหน่วยที่ใช้ในการบอกขนาดเรียกว่า บิต (Bit) ถ้าจํานวนบิตมากจะสามารถทํางานได้เร็วมาก
ความเร็วของซีพียู (Speed) มีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮริตซ์ (MHz = MegaHertz) ถ้าค่าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ายิ่ง
มีความเร็วมาก ปัจจุบันความเร็วของซีพียูสามารถทํางานได้ถึงระดับกิกะเฮริตซ์ (GHz = Gigahertz) โดยมี
18
ความเร็วระหว่าง 2-3 GHz ในการเลือกใช้ซีพียู ผู้จําหน่ายจะบอกไว้ว่าเครื่องรุ่นนี้มีความเร็วเท่าใด เช่น
Pentium IV 2.8 GHz หมายความว่า CPU รุ่นเพนเทียม IV มีความเร็ว 2.8 กิกะเฮิรตซ์
2.1.1 องค์ประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลาง "ไมโครโปรเซสเซอร์" (Microprocessor) ประกอบด้วยหน่วยสําคัญสองหน่วย คือ หน่วย
ควบคุม (Control Unit) ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เปรียบเสมือนเป็น
ศูนย์กลางระบบประสาท ที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะรับรู้
คําสั่งต่างๆ ในรูปของคําสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น
หน่วยคํานวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) หรือที่เรียกสั้นๆว่า เอแอลยู (ALU)ทําหน้าที่
ประมวลผลการคํานวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเปรียบเทียบทางตรรกะทั้งหมด
การทํางานในซีพียูมี รีจิสเตอร์ (Register) คอยทําหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลหรือคําสั่งที่ถูกนําเข้ามา
ปฏิบัติการภายในซีพียู รวมทั้งมี บัส (Bus) เป็นเส้นทางในการส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้ าของหน่วยต่างๆภายใน
ระบบ
2.2 อุปกรณ์นําเข้า (Input devices)
ทําหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจําหลัก ที่พบเห็นอยู่ทั่วไปได้แก่
2.2.1 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)
แป้ นพิมพ์ (Keyboard) เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้ อนข้อมูล
สําหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายแป้ นของเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีจํานวนแป้ น
มากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ
- แป้ นอักขระ (Character Keys) มีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้ นบนเครื่องพิมพ์ดีด
- แป้ นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้ นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้ นอื่น
- แป้ นฟังก์ชัน (Function Keys) คือ แป้ นที่อยู่แถวบนสุด มีสัญลักษณ์เป็น F1,...F12 ซอฟต์แวร์แต่ละชนิด
อาจกําหนดแป้ นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป
19
- แป้ นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้ นที่แยกจากแป้ นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่อง
คิดเลข ช่วยอํานวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ยังมีแป้ นพิมพ์บางประเภทที่ออกแบบมาให้ใช้กับงานเฉพาะด้าน เช่น แป้ นพิมพ์ที่ใช้ใน
ร้านอาหารแบบเร่งด่วน (fast food restaurant) จะใช้พิมพ์เฉพาะชื่ออาหาร เช่น ถ้าต้องการ french fries ก็
กดที่แป้ นคําว่า “French fries” ตามด้วยราคาเท่านั้น หรือแป้ นพิมพ์ที่ใช้เครื่องฝาก-ถอนอัตโนมัติ
(Automatic Teller Machine) เป็นต้น
2.2.2 อุปกรณ์ชี้ตําแหน่ง Pointing Devices
เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สําหรับใช้เลื่อนตัวชี้ตําแหน่ง (Cursor) บนจอภาพ มีหลายขนาดและมี รูปร่าง
ต่างกันไป แต่ที่นิยมใช้จะมีขนาดเท่าฝ่ามือ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่าง หรือเป็นระบบแสง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้
กดจํานวนสอง สาม หรือสี่ปุ่ม แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ สองปุ่ม ใช้ส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจําหลักโดยการเลื่อน
เมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้ตําแหน่งบนจอภาพไปยังตําแหน่งที่ต้องการทําให้การโต้ตอบ
ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทําได้รวดเร็วกว่าแป้ นพิมพ์ ผู้ใช้อาจใช้เมาส์วาดรูป เลือกทาง เลือกจากเมนู
และเปลี่ยนแปลงหรือย้ายข้อความ ปัจจุบันเมาส์ได้มีการพัฒนาเป็นแบบเมาส์ไร้สาย อย่างไรก็ดี เมาส์ยังไม่
สามารถใช้ในการป้ อนตัวอักษรได้ จึงยังคงต้องใช้คู่กับแป้ นพิมพ์ในกรณีที่มีการพิมพ์ ตัวอักษร แต่สําหรับผู้ที่
เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ การใช้เมาส์เพียงอย่างเดียวจะทําให้เกิดความผิดพลาดน้อยกว่าการใช้แป้ นพิมพ์
20
ลูกกลมควบคุม (Trackball) เป็นอุปกรณ์ชี้ตําแหน่ง โดยจะเป็นลูกบอลเล็กๆซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอภาพในเนื้อที่
ของแป้ นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตําแหน่งของตัว
ชี้ตําแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทํางานเช่นเดียวกับเมาส์
แท่งชี้ควบคุม (Track Point) เป็นอุปกรณ์ชี้ตําแหน่งขนาดเล็ก นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาจะเป็น
แท่งพลาสติกเล็กๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเพื่อเลื่อนตําแหน่งของตัวชี้ตําแหน่งบน
จอภาพเช่นเดียวกับเมาส์
แผ่นรองสัมผัส จะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้ นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตําแหน่ง
ของตัวชี้ตําแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์
จอยสติก (Joy stick) จะเป็นก้านสําหรับใช้โยกขึ้นลง/ซ้ายขวา เพื่อย้ายตําแหน่งของตัวชี้ตําแหน่งบนจอภาพ มี
หลักการทํางานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้ นกดเพิ่มเติมมาจํานวนหนึ่งสําหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่น
เกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์
21
2.2.3 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส
จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen) เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพ
ในตําแหน่งที่กําหนดไว้ เพื่อเลือกการทํางานที่ต้องการ นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากใน
ร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น
2.2.4 ระบบปากกา (Pen-Based System)
ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสกับจอภาพเพื่อชี้ตําแหน่งและวาดข้อมูล โดยใช้เซลล์
แบบ photoelectric ซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกําหนดตําแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะ
หรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทําได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตาม
ตําแหน่งที่ต้องการนิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (CAD หรือ Computer Aided Design)
รวมทั้งนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้ อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น
2.2.5 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Devices)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ระบบการวิเคราะห์แสง (Optical recognition Systems) ช่วยให้มีการพิมพ์ข้อมูลเข้า
น้อยที่สุด โดยจะอ่านข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้ลําแสงกวาดผ่านข้อความ หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่
พิมพ์ไว้ เพื่อนําไปแยกแยะรูปแบบต่อไป ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในงานต่างๆกันมาก โดยมีอุปกรณ์ที่ได้รับ
22
ความนิยม คือ
เครื่องอ่านรหัสบาร์โคด (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายปากกาแสง ใช้ฉายแสงลงไปที่
รหัสแท่งที่ต้องการอ่าน ซึ่งรหัสสินค้าต่างๆจะอยู่ในรูปของแถบสีดําและขาวต่อเนื่องกันไป เรียกว่ารหัสบาร์โคด
เครื่องอ่านรหัสบาร์โคดจะอ่านข้อมูลบนแถบบาร์โคด เพื่อเรียกข้อมูลจากรายการสินค้านั้น เช่นราคาสินค้า
จํานวนที่เหลืออยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ออกมาจากฐานข้อมูล แล้วจึงทําการประมวลผลข้อมูลรายการนั้น ใน
ปัจจุบัน บาร์โคคได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องทําการพิมพ์ข้อมูลเข้าด้วยแป้ นพิมพ์ จึงลดความ
ผิดพลาดของข้อมูลและประหยัดเวลาได้มาก ระบบบาร์โคดเป็นสิ่งที่ผู้ใช้จะพบเห็นในชีวิตประจําวันได้บ่อยที่สุด
เช่น ในห้างสรรพสินค้า ร้านขายหนังสือ และห้องสมุด เป็นต้น
สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือสแกน (Scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีส่องแสงไปยังวัตถุที่ต้องการ แสงที่ส่องไปยังวัตถุแล้วสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่
เซลล์ไวแสง (Charge-Coupled Device หรือ CCD) ซึ่งจะทําการตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนออกมา
จากวัตถุและแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลทางดิจิตอล เอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูป
ภาพกราฟิกก็ได้
กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital camera) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับถ่ายภาพแบบไม่ต้องใช้ฟิล์ม โดยเก็บ
ภาพที่ถ่ายไว้ในลักษณะดิจิตอลด้วยอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) ภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุด
เล็กๆ จํานวนมาก และสามารถนําเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์สแกนเนอร์อีกเป็น
อุปกรณ์ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ต้องใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพและสามารถดูผลลัพธ์ได้จาก
จอที่ติดอยู่กับกล้องได้ในทันที
23
กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหว และเก็บเป็นข้อมูล
แบบดิจิตอล นิยมใช้ในการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (Video conference) ซึ่งเป็นการประชุมแบบกลุ่มผ่าน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น อย่างไรก็ดีกล้องถ่ายทอดวีดีโอแบบดิจิตอลยังอยู่
2.3 อุปกรณ์แสดงผล (Output devices)
หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทํางานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็
จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลใน
หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้คือ
2.3.1 หน่วยแสดงผลชั่วคราว
หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทํางานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้น
ก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลใน
หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้คือ
จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์บน
จอภาพประกอบด้วยจุดจํานวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า จุดภาพ (pixel) ถ้ามีจุดภาพจํานวนมากก็จะทําให้
ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
24
- จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบันใช้
หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์
- จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่มีลักษณะบาง นํ้าหนักเบาและกินไฟ
น้อย แต่มีราคาสูง เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาตํ่าแต่ขาดความ
คมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม ส่วน Active Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่าThin Film
Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่ามาก ในส่วนความละเอียดของจอภาพ ปัจจุบัน นิยม
ใช้จอภาพชนิดสีแบบ Super Video Graphic Adapter หรือเรียกสั้นๆว่า ซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) ซึ่งมีความ
ละเอียด 800x600 จุดภาพ สําหรับจอภาพที่มีความละเอียดตํ่า (low resolution) ส่วนจอภาพที่มีความละเอียด
สูง จะนิยมใช้ความละเอียดที่ 1024x768, 1280x1024 หรือ 1600x1200 จุดภาพ (pixel) ซึ่งจะให้ความคมชัดที่
สูงมาก
ปัจจัยหนึ่งที่ทําให้ภาพดูคมชัดมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีจํานวนจุดภาพเท่ากัน ก็คือ ระยะห่างระหว่าง
จุดภาพ (dot pitch) โดยระยะห่างระหว่างจุดภาพน้อยก็จะให้ความละเอียดได้มากกว่า จอภาพที่มีขายใน
ท้องตลาดปัจจุบันมีระยะห่างระหว่างจุดภาพอยู่ระหว่าง 0.25-0.28 หน่วย ซึ่งระยะห่างระหว่างจุดภาพนี้
เป็นสิ่งที่ติดมากับเครื่องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในส่วนของจํานวนสีนั้น ณ ขณะใดขณะหนึ่งแต่ละ
จุดภาพจะแสดงสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งสีต่างๆ จะถูก
25
แทนด้วยตัวเลข ดังนั้น ถ้าจอภาพแสดงได้ 16 สี เลขเหล่านั้นก็จะแทนด้วย 4 บิต ถ้าต้องการแสดงถึง 256 สี
ก็จะต้องใช้ 8 บิตแทนรหัสสีนั้นๆ
การ์ดวิดีโอ (Video Card) การต่อจอภาพเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีแผงวงจร
กราฟิก (Graphic Adapter Board) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดวีดีโอ (video card) ซึ่งจอภาพแต่ละ
ชนิดต้องการแผงวงจรที่ต่างกัน แผงวงจรกราฟิกจะถูกเสียบเข้ากับ ช่องขยายเพิ่มเติม (expansion slot) ใน
คอมพิวเตอร์แผงวงจรกราฟิกมักจะมีหน่วยความจําเฉพาะที่เรียกว่า หน่วยความจําวีดีโอ (video memory)
เพื่อให้ใช้โปรแกรมด้านกราฟิกได้สวยงามและรวดเร็ว ซึ่งหน่วยความจํานี้อาจใช้แรมธรรมดาหรือแรมแบบ
พิเศษต่างๆ เพื่อให้
สามารถทํางานได้เร็วขึ้น เช่น วีดีโอแรม (video RAM) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า วีแรม (VRAM) เป็นต้น
ปัจจัยประการหนึ่งที่ผู้ใช้จอภาพต้องคํานึง คือ อัตราการเปลี่ยนภาพ (refresh rate) ของการ์ดวีดีโอ
โดยภาพที่แสดงบนจอภาพแต่ละภาพนั้นจะถูกลบและแสดงภาพใหม่เริ่มจากบนลงล่าง หากอัตราการ
เปลี่ยนภาพในแนวดิ่ง (Vertical-refresh rate) เป็น 60 ครั้งต่อวินาที หรือ 60 Hz จะเกิดการกระพริบทําให้
ผู้ใช้ปวดศีรษะได้มีผู้วิจัยพบว่า อัตราเปลี่ยนภาพในแนวดิ่งไม่ควรตํ่ากว่า 70 Hz จึงจะไม่เกิดการกระพริบ
และทําให้ผู้ใช้ดูจอภาพได้อย่างสบายตา นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สําหรับถอดรหัสภาพแบบ MPEG (Motion
Picture Experts) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนการ์ดวีดีโอ อันจะทําให้สามารถ
แสดงภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
อุปกรณ์เสียง (Audio Output) คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบด้วย
ลําโพง(speaker) และ การ์ดเสียง (sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทํางาน หรือให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้ง
สามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลําโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจาก
คอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลําโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นํามาเสียงกับช่อง
เสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลําโพง รวมทั้งสามารถต่อ
26
ไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย
2.3.2 หน่วยแสดงผลถาวร
หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้องและเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการมักจะออกมาในรูปของ
กระดาษเช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก มีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของ
ตัวอักษร ความเร็วในการพิมพ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ชนิด
คือ
เครื่องพิมพ์แบบกระทบหรือตอก (Impact printer) เป็นการใช้หัวเข็มตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติด
บนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่าง
กระดาษแต่ละแผ่นได้ ส่วนข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ไม่ดีนัก
เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบหรือไม่ตอก (Nonimpact printer) เป็นการพิมพ์โดยใช้หมึกพ่นไปบน
กระดาษหรือใช้ความร้อนและความดันเพื่อละลายหมึกให้เป็นลักษณะของอักขระ เป็นการพิมพ์ที่เร็วและ
คมชัดกว่าแบบกระทบ และพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและภาพกราฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจํากัดคือ
ไม่สามารถพิมพ์กระดาษแบบสําเนา (copy) ได้
27
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทํางานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือ มีแสงเลเซอร์สร้างประจุ
ไฟฟ้ า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์
เลเซอร์จะมีรุ่นต่างๆที่แตกต่างกันในด้านความเร็ว และความละเอียดของงานพิมพ์ ในปัจจุบันสามารถพิมพ์
ได้ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)
เครื่องพิมพ์พ่นหมึก (Inkjet printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะพิมพ์สีได้ ถึงแม้
จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดตอก และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์
ชนิดเลเซอร์ นิยมนํามาใช้งานตามบ้านอย่างมาก
28
เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) ใช้วาดหรือเขียนภาพสําหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูงๆ นิยมใช้กับ
งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มีให้เลือกหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว
ขนาดกระดาษ และจํานวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดา
29
3. หน่วยความจํา Memory
อุปกรณ์ส่วนที่สําคัญอย่างหนึ่งที่คอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้คือ หน่วยความจํา Memory ซึ่งมีหลายประเภท
ตามลักษณะการทํางาน ดังนี้
3.1 หน่วยความจํารอม (ROM) และ (RAM)
คําว่า ROM ย่อมาจาก Read Only Memory เป็นหน่วยความจําที่เก็บข้อมูลแบบถาวร รอมที่ใช้บันทึก
ข้อมูลของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ขนาดและประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ขนาดของแรม หน่วย
ประมวลผลที่ใช้การติดตั้งหน่วยขับแผ่นบันทึก (Floppy drive) เป็นต้น ข้อมูลที่บันทึกในรอม จะยังคงอยู่แม้
จะปิดเครื่อง หน้าที่ของรอมคือจะตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ใดบ้าง ที่ติดตั้งใช้งาน หากตรวจสอบไม่อุปกรณ์ที่
สําคัญๆ เช่น ไม่พบฮาร์ดดิสก์ ซีพียู หรือแรม รอมจะหยุดการทํางาน
คําว่า RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็น หน่วยเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ แต่
ข้อมูลจะสูญหายทันที เมื่อปิดเครื่อง ในการใช้งานจริง จึงต้องบันทึกข้อมูลไว้ในฮาร์ดดิสก์ก่อนปิดเครื่อง
หน่วยความจําแรม มีหน่วยวัดเป็น ไบต์ (byte) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าจะนิยมใช้หน่วยความจําแรม 8
หรือ 16 เมกะไบต์ (Megabyte) แต่ถ้าเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะใช้แรมขนาด 128 หรือ 256 MB ขึ้นไป ซึ่งจะทํา
ให้สามารถทํางานกับโปรแกรมรุ่นใหม่ หรือกับแฟ้ มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น งานมัลติมีเดียหรืองานกราฟิก
ได้
3.2 DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม)
DRAM เป็นหน่วยความจําหลักของเครื่อง นิยมใช้มากในสมัยก่อนเพราะราคาไม่แพง แต่ทํางานได้ช้า
มากปัจจุบันมีการใช้ SDRAM (Synchronous DRAM) ซึ่งเป็นหน่วยความจําที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ใน
สมัยก่อนอาจจะมีราคาสูง แต่ปัจจุบันราคาได้ถูกลงมาก คนจึงนิยมใช้ SDRAM มากขึ้น
30
SIMM (ซิม) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สําหรับติดตั้งหน่วยความจํา ติดตั้งบนเมนบอร์ด เรา
สามารถเพิ่มจํานวนแรมโดยเสียบแผงวงจรเข้ากับซิมนี้เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มแรมได้อย่างง่ายๆสะดวก
รวดเร็วและสามารถทําได้ด้วยตนเอง ดังนั้นข้อจํากัดของการเพิ่มแรม คือ จํานวนช่องของ SIMM และขนาด
ของแรมแต่ละแผงที่นํามาเสียบลงบน SIMM
3.3 หน่วยความจําเสมือน (Virtual Memory)
หมายถึง หน่วยความจําประเภทหนึ่งใช้สําหรับแสดงผล เป็นหน่วยความจําที่ถูกสร้างขึ้นมาในกรณีที่
หน่วยความจําแรมไม่พอใช้ โดยระบบปฏิบัติการจะมีการนําเอาพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์บางส่วนมาเป็นพื้นที่
ทํางานชั่วคราวในขณะเปิดแฟ้ มข้อมูล และจะลบทิ้งเมื่อปิดแฟ้ มข้อมูล เราจึงเรียกว่า “หน่วยความจํา
เสมือน” ข้อเสียของการใช้หน่วยความจําเสมือนคือ ถ้าพื้นที่ว่างมีน้อยกว่าที่กําหนดไว้ คอมพิวเตอร์จะ
ทํางานช้าลง การใช้งานฮาร์ดดิสก์จึงมักจะให้มีเนื้อที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เหลือไว้ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น เราจะต้องเลือกขนาดของแรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะโปรแกรมปฏิบัติการ
(OS) รุ่นใหม่ๆ เช่น Windows 98, Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการขนาด 32 บิต ต้องใช้แรม 64 MB ขึ้น
ไป หากใช้แรมน้อยกว่านี้เครื่องอาจจะทํางานช้ามากหรืออาจหยุดชะงักได้ง่าย
3.4 หน่วยความจําแคช (Memory Cache) และ บัส (Bus)
หน่วยความจําแคชเป็นหน่วยความจําที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางานได้เร็วขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลที่
เราเคยเรียกใช้แล้วเอาไว้ในกรณีที่เราต้องการเรียกใช้ก็มาเรียกข้อมูลจากแคช ซึ่งจะดึงข้อมูลได้เร็วกว่า
31
หน่วยความจําดิสก์มาก
หน่วยความจําแคช มี 2 ประเภท คือ
1. แคชภายใน ติดตั้งอยู่ภายในซีพียู เวลาเครื่องประมวลผล ก็จะเรียกเก็บข้อมูลที่เก็บไว้ที่แคชใกล้ๆ
ซีพียูมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
2. แคชภายนอก จะติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดเหมือนแรม ถ้าเครื่องไม่พบแคชในซีพียูก็จะมองหาแคช
ภายนอก ถ้าพบก็จะนํามาใช้งาน ซึ่งก็จะทํางานได้ช้ากว่าแคชภายในอยู่บ้าง
เป็นเส้นทางวิ่งระหว่างข้อมูลหรือคําสั่ง การวัดขนาดความกว้างของ บัส เราเรียกว่า “บิต” 8 บิต เท่ากับ 1
ไบต์ หรือ 1 ตัวอักษร ส่วนความเร็วของ บัส วัดด้วยหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (Mhz) หรือหนึ่งล้านรอบต่อวินาที บัส
ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ บัสแบบ PCI (Peripheral Component Interconnect) มีความกว้างของสัญญาณที่
32
ใช้รับส่งข้อมูลถึง 32 หรือ 64 บิต ความเร็วมากกว่า 300 MHz ขึ้นไป นอกจากนี้PCI ยังสนับสนุนคุณสมบัติ
Plug and Play ที่ใช้ในการติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ใหม่ด้วย
3.5 หน่วยข้อมูลสํารอง
คอมพิวเตอร์หรือซีพียูจะเรียกใช้ข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลหลัก คือ แรมก่อน หากข้อมูลที่ต้องการไม่มี
ในแรม ก็จะทําการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสํารองไปเก็บไว้ที่แรม เพราะหน่วยเก็บข้อมูลสํารอง
สามารถจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะปิดเครื่อง และเก็บข้อมูลได้มากกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก หน่วย
เก็บข้อมูลสํารองแบ่งออกเป็น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) มีลักษณะ
เป็นแผ่นแม่เหล็ก ทรงกลม มีพลาสติกแข็งเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครอบไว้ชั้นนอก ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถจุข้อมูล
ได้ 1.44 MB ก่อนการใช้งาน
จะต้องทําการฟอร์แมตแผ่นก่อน ปัจจุบันแผ่นดิสเก็ตต์จะฟอร์แมตมาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว สามารถ
นํามาใช้งานได้ทันที การใช้งานจะเสียบใส่ในเครื่องขับแผ่นบันทึก (Floppy Drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อ่านและ
เขียนแผ่นดิสก์ ติดตั้งอยู่ภายในตัวถังของเครื่อง แผ่นบันทึก (Floppy disk) เก็บข้อมูลได้ไม่มากนัก เหมาะ
สําหรับการพกพา เพราะมีขนาดเล็กสามารถนําข้อมูลไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้สะดวก
จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์
หลายล้านเท่า ฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่อง มีขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว แต่มีความหนากว่าฟลอปปี้ดิสก์ มีตัว
อ่านข้อมูลอยู่ภายใน ในปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 40 กิกะไบต์ (GB) ขึ้นไป จึงสามารถเก็บข้อมูลได้มาก
รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน ที่ต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะโปรแกรมประเภท
กราฟฟิกหรือมัลติมีเดีย จําเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากพอจึงจะใช้งานได้
33
ซีดี – รอม (CD-ROM) ย่อมาจากคําว่า Compact Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับ
ความนิยมมากราคาไม่แพง มีอายุการใช้หลายปี และมีขนาดเล็ก ซีดีรอมเป็นแผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่าน
ศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสง เพื่อป้ องกันข้อมูลที่บันทึกไว้บันทึกและอ่านข้อมูล
ด้วยแสงเลเซอร์ ปกติซีดีรอมในปัจจุบันจะมีความจุประมาณ 700 MB หรือเท่ากับหนังสือประมาณ 700,000
หน้า หรือเท่ากับฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 1.44 MB ถึง 700 แผ่น สามารถบันทึกข้อมูลได้มาก โดยเฉพาะงานด้าน
มัลติมีเดียทั้งภาพ แสง เสียง ในเวลาเดียวกัน ที่สําคัญ คือ เป็นระบบที่ปลอดภัยจากไวรัส
ดีวีดี – รอม (DVD-ROM) ย่อมาจาก Digital Video Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลรอง
ชนิดหนึ่งที่กําลังได้รับความนิยมมากลักษณะคล้ายซีดีรอมแต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอมหลายเท่า
คือ ขนาดมาตรฐานเก็บข้อมูลได้ 4.7 GB หรือ 7 เท่าของซีดีรอม และพัฒนาต่อเนื่องไปตลอดดีวีดีแผ่นหนึ่ง
สามารถบรรจุภาพยนตร์ความยาวถึง 133 นาทีได้โดยใช้ลักษณะการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 และระบบ
เสียงแบบดอลบี (Dolby AC-3) ปัจจุบันดีวีดีนิยมใช้ในการบันทึกภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
34
4. ซอร์ฟแวร์ Software
คอมพิวเตอร์จะทํางานไม่ได้เลยหากปราศจาก ซอร์ฟแวร์ Software ที่จะคอยรับคําสั่งในรูปแบบต่าง ๆ ไป
ประมวลผล และแสดงผลออกมา
4.1 ชนิดของ software
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software-OS) หมายถึง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่
ควบคุมการทํางานทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่าง
ใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบัน คือ Windows 95, Windows 98, Windows
2000,Windows Me, Windows XP, Linux, DOS เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ทํางานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมสําเร็จรูปต่างๆ เช่น
Microsoft Word, Excel, PowerPoint เป็นต้น
การใช้คอมพิวเตอร์ในการทํางานด้านต่างๆ
เมื่อหลายปีก่อน คอมพิวเตอร์มีอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคา
แพง ส่วนมากจะใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันมากนัก แต่ใน
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับ
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์

More Related Content

What's hot

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
โครงงานระบบปฏิบัติการ
โครงงานระบบปฏิบัติการโครงงานระบบปฏิบัติการ
โครงงานระบบปฏิบัติการThanapon Seadthaisong
 
โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์Yok Sarinee
 
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นพัน พัน
 
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการโครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการpeepee kullabut
 
ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์devilp Nnop
 
การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์Peem Jirayut
 
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พัน พัน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับ
โครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับโครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับ
โครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับAngsuthorn
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์พัน พัน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ Cake
โครงงานคอมพิวเตอร์ Cakeโครงงานคอมพิวเตอร์ Cake
โครงงานคอมพิวเตอร์ CakeWannwimon Kanjan
 
สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์
สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์
สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์พัน พัน
 
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Bamm Thanwarat
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Sup's Tueng
 
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศพัน พัน
 

What's hot (20)

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
 
เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์
 
โครงงานระบบปฏิบัติการ
โครงงานระบบปฏิบัติการโครงงานระบบปฏิบัติการ
โครงงานระบบปฏิบัติการ
 
โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
โครงงานCai เรื่องการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
 
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการโครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
 
ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 
การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
 
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
โครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับ
โครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับโครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับ
โครงงานคอมพิวเตอร์เด้อคับ
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ Cake
โครงงานคอมพิวเตอร์ Cakeโครงงานคอมพิวเตอร์ Cake
โครงงานคอมพิวเตอร์ Cake
 
สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์
สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์
สาขาอาชีพอนาคตสดใสในโลกไซเบอร์
 
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
 

Similar to รายงานคอมพิวเตอร์

รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์kanlaya champatho
 
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้ว
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้ววิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้ว
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้วThank Chiro
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานknokrat
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์jamiezaa123
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์oiw1234
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ jamiezaa123
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .jamiezaa123
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ jamiezaa123
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”Justice MengKing
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ jamiezaa123
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์aonaon080
 
ป๊อก 5555
ป๊อก 5555 ป๊อก 5555
ป๊อก 5555 aonaon080
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28sawalee kongyuen
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ Day1 บ่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ  Day1 บ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  Day1 บ่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ Day1 บ่ายJenchoke Tachagomain
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์Wannapaainto8522
 
โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3
โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3
โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3Pop Nattakarn
 

Similar to รายงานคอมพิวเตอร์ (20)

รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
 
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้ว
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้ววิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้ว
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 รหัสวิชา ง32101 แก้ไขแล้ว
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่ิอง ระบบปฏิบัติการ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ .
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบปฏิบัติการ
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ความรู้ออนไลน์
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์  เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ป๊อก 5555
ป๊อก 5555 ป๊อก 5555
ป๊อก 5555
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 28
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
หน่วยที่1
หน่วยที่1หน่วยที่1
หน่วยที่1
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ Day1 บ่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ  Day1 บ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  Day1 บ่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ Day1 บ่าย
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
 
A0141 20
A0141 20A0141 20
A0141 20
 
โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3
โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3
โครงงาน เรื่อง คอมพิวเตอร์ จ๋า3
 

รายงานคอมพิวเตอร์

  • 1. รายงาน เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จัดทําโดย นางสาวลัดดาวัลย์ วังคําลุน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/5 เลขที่26 เสนอ คุณครูประกาศิต ศรีสะอาด วิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามะยมศึกษาเขต29
  • 2. 2 คํานํา เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ จัดทําขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับครู (รหัสวิชา PC 54504) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึง ความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อนําไปใช้ในการเรียนการสอน และเป็นผู้ มีความสามารถมีทักษะในการนําเทคโนโลยีสารสนเทศไปศึกษาค้นคว้าประยุกต์ใช้ และพัฒนา ตนเองทั้งทางด้านการเรียนการสอน และการดําเนินชีวิตได้ เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับครู แบ่ง ออกเป็น 8 หน่วย ในแต่ละหน่วยจะมีแผนบริหารการสอนประจําหน่วย และคําถามท้ายหน่วยการ เรียน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารสําหรับครูเล่มนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไม่มากก็น้อย ผู้จัดทํา นางสาวลัดดาวัลย์วังคําลุน
  • 3. 3 สารบัญ หน้า หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 กําเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3 ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4 ความหมายและความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 14 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจําวัน 18 กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 19 บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม 21 คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1 22 หน่วยที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 23 ระบบและวิธีการเชิงระบบ 25 ระบบสารสนเทศ 25 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 27 ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ 29 ประเภทของระบบสารสนเทศ 30 ข้อมูลและสารสนเทศ 31 คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 2 39 หน่วยที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ 40 ประวัติของคอมพิวเตอร์ 42 ความหมายของคอมพิวเตอร์ 43 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 44 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ 44 ระบบคอมพิวเตอร์ 45 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 45 คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 3 55 หน่วยที่ 4 ซอฟต์แวร์ (Software) 56 ความหมายของซอฟต์แวร์ 58 ประเภทของซอฟต์แวร์ 59 ความจําเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์ 63 ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ 64
  • 4. 4 สารบัญ หน้า คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4 65 หน่วยที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 66 ความหมายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 68 ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 69 ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 69 รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 71 คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5 75 หน่วยที่ 6 อินเทอร์เน็ต 76 ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต 78 ความสําคัญของอินเทอร์เน็ต 78 ประโยชน์อินเทอร์เน็ต 79 การใช้อินเทอร์เน็ต 79 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 80 องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 81 การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 82 คําถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6 86
  • 5. 5 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ Basic Concepts of Computer and Information Technology ส่วนประกอบทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวันและงานด้านต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม Basic physical make-up of a personal computer, computer and information network, computer applications in everyday life, information technology and society. เนื้อหาความรู้ในโมดูลที่ 1 1. บทนํา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ชนิดของคอมพิวเตอร์ การทํางานของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 2. ฮาร์ดแวร์ Hardware หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) อุปกรณ์นําเข้า (Input devices) อุปกรณ์แสดงผล (Output devices) 3. หน่วยความจํา Memory หน่วยความจํารอม (ROM) และ (RAM) DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม) SIMM (ซิม) หน่วยความจําเสมือน (Virtual Memory) หน่วยความจําแคช (Memory Cache) และ บัส (Bus) หน่วยข้อมูลสํารอง 4. ซอร์ฟแวร์ Software ชนิดของ Software 5. คอมพิวเตอร์กับชีวิตประจําวันและงานด้านต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
  • 6. 6 คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร คอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ คอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ในวงราชการ 6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม การเปลี่ยนแปลงของโลก ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สินทางปัญญา 1. บทนํา ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการทํางานเป็นอย่าง มาก ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงความหมาย ชนิด การทํางาน ของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศกับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในบทนี้จะกล่าวถึง ความหมายของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประโยชน์ที่มนุษย์นํามาใช้ด้าน ต่างๆ 1.1.1 ความหมายของของพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทํางานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจําข้อมูลและคําสั่งได้ ทํา ให้สามารถทํางานไปได้โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคํานวณหรือการทํางาน ต่างๆได้เกือบทุกชนิด คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคํานวณและประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติ 3 ประการ คือ ความเร็ว (Speed) เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางานด้วยความเร็วสูงมาก หน่วยความเร็วของการทํางานของ คอมพิวเตอร์วัดเป็น - มิลลิเซกัน (Millisacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000 วินาที - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที - นาโนเซกัน (Nanosacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที
  • 7. 7 หน่วยความจํา (Memory) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยความจํา สามารถใช้บันทึกและเก็บ ข้อมูลได้คราวละมากๆ สามารถเก็บคําสั่งต่อๆ กันที่เราเรียกว่า โปรแกรม และนํามาประมวลในคราว เดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทําให้คอมพิวเตอร์สามารถทํางานเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถประมวลผล ได้เร็วและถูกต้อง ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยคํานวณและตรรกะ นอกจากจะมีความสามารถในการคํานวณแล้วยังมีความสามารถในการเปรียบเทียบ ความสามารถนี้เองที่ ทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ที่ทําให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรม อัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์ยังมีความแม่นยําในการคํานวณ มีความเที่ยงตรงแม้จะทํางาน เหมือนเดิมซํ้ากันหลายรอบ และสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ อีกด้วย
  • 8. 8 1.1.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์กระจายไปอยู่ในทุกวงการ - ด้านธุรกิจ ได้แก่การนําคอมพิวเตอร์มาประมวลงานด้านธุรกิจ - ด้านการธนาคาร ปัจจุบันทุกธนาคารจะนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานในองค์กรของตนเพื่อ ให้บริการลูกค้า - ด้านตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ จะมีข้อมูลจํานวนมาก และต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน - ธุรกิจโรงแรม ระบบคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการบริหารโรงแรม การจองห้องพัก การติดตั้งระบบ Online ตามแผนกต่างๆ - การแพทย์ มีการนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ทะเบียนประวัติคนไข้,ระบบข้อมูล การให้ภูมิคุ้มกันโรค,สถิติด้านการแพทย์,ด้านการบัญชี - วงการศึกษา การนําคอมพิวเตอร์มาใช้กับสถาบันการศึกษาจะมี ระบบงานที่เกี่ยวกับ การเรียนการ สอน การวิจัย การบริหาร - ด้านอุตสาหกรรมทั่วไป - ด้านธุรกิจสายการบิน สายการบินต่างๆทั่วโลกได้นําเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายโดย เฉพาะงานการสํารองที่นั่งและเที่ยวบิน - ด้านการบันเทิง เช่น วงการภาพยนตร์ การดนตรี เต้นรํา 1.1.3 ความหมายและความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคําภาษาอังกฤษว่า Information Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อ ว่า IT สุชาดา กีระนันท์ (2541) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้าร่วมกัน ในกระบวนการจัดเก็บสร้าง และสื่อสารสนเทศ ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สําคัญสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลสืบค้น ส่งและรับข้อมูลในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น
  • 9. 9 คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกและค้นคืน เครือข่ายสื่อสาร ข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้ง ระบบที่ควบคุมการทํางานของอุปกรณ์เหล่านี้ ครรชิต มาลัยวงศ์ (2541) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสําคัญ ดังนี้ 1. สามารถจัดเก็บข้อมูลจากจุดเกิดได้อย่างรวดเร็ว 2. สามารถบันทึกข้อมูลจํานวนมากๆไว้ใช้งานหรือไว้อ้างอิงการดําเนินงานหรือการตัดสินใจใดๆ 3. สามารถคํานวณผลลัพธ์ต่างๆได้รวดเร็ว 4. สามารถสร้างผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบ 5. สามารถส่งสารสนเทศ ข้อมูล หรือผลลัพธ์ที่ได้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว 1.2 ชนิดของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้คือ 1.2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Super Computer เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้คือ หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง มีความเร็วในการทํางาน และประสิทธิ ภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคํานวณทาง คณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากได้ อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทาง อวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์เคมี งานทําแบบจําลองโมเลกุลของ สารเคมี งานด้านวิศวกรรมการออกแบบ งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคารที่ซับซ้อน ซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิด
  • 10. 10 อื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้อาจจะต้องใช้เวลาในการคํานวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์ คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจําที่ใหญ่มากๆ สามารถทํางานหลายอย่างได้พร้อมๆ กัน โดยที่งาน เหล่านั้นอาจจะเป็นงานที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นงานใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปให้หน่วยประมวลผลแต่ละตัว ทํางานก็ได้ และยังใช้โครงสร้างการคํานวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคํานวณที่กระทํากับข้อมูลหลายๆ ตัวหรือหลายๆ งานในเวลาเดียวกันได้พร้อมๆ กันเป็น จํานวนมาก ทําให้มีความสามารถในการทํางานแบบมัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) หรือความสามารถ ในการทํางานหลายงานพร้อมๆกันได้ ดังนั้น จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) ความเร็วในการคํานวณของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็น นาโนวินาที (nanosecond) หรือเศษหนึ่งส่วนพันล้านวินาที และ กิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคํานวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาที ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้าน วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ 1.2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ Mainframe Computer หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถะสูง แต่ยังตํ่ากว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีความเร็วสูงมาก มี หน่วยความจําขนาดมหึมา เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จํานวนหลายร้อยคน ที่ใช้โปรแกรมที่ แตกต่างกันนับร้อยพร้อมๆ กันได้ เหมาะกับการใช้งานทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดย เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจํานวนมากๆ
  • 11. 11 เครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยพร้อมๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ แต่จะมีจํานวนหน่วยประมวลที่น้อยกว่า และเครื่องเมนเฟรมจะวัดความเร็วอยู่ในหน่วยของ เม กะฟลอป (Megaflop) หรือการคํานวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมจึงอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไป เป็นจํานวนมากเช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐาน เครื่องเมนเฟรมจะเก็บโปรแกรมของผู้ใช้เหล่านั้นไว้ใน หน่วยความจําหลัก และมีการสับเปลี่ยนหรือสวิทช์การทํางานระหว่างโปรแกรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเลยว่าเครื่องเมนเฟรมที่ใช้ มีการสับเปลี่ยนการทํางานไปทํางานของผู้ใช้คนอื่นๆ อยู่ ตลอดเวลา หลักการที่เครื่องเมนเฟรมสามารถทํางานหลายโปรแกรมพร้อมๆ กันนั้นเรียกว่า มัลติโปรแกรม- มิง (Multiprogramming)
  • 12. 12 1.2.3 มินิคอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีสมรรถนะตํ่ากว่าเครื่องเมนเฟรม แต่สูงกว่าเวิร์คสเตชัน จุดเด่นที่ สําคัญ คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม และการใช้งานใช้บุคลากรไม่มากนักมินิคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1960 ต่อมาบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ ประกาศตัวมินิ คอมพิวเตอร์ DEC PDP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ.1965 ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก เครื่องมินิ คอมพิวเตอร์ใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ ใช้ได้นับร้อยคนพร้อมๆกัน แต่เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทํางานได้ช้ากว่า การควบคุมผู้ใช้งานต่างๆ ทําน้อย กว่า สื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม
  • 13. 13 การทํางานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการ แสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่นๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ชนิด ที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูลหน่วย ประมวลผล หน่วย แสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสํารอง สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้ โดยไม่ต้องกังวล ว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น 1.2.4 เวิร์คสเตชั่น และไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์สําหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็นสองรุ่น คือ เวิร์คสเตชัน หมายถึง คอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ สามารถทํางานพร้อมกันได้หลายงาน และ ประมวลผลเร็วมาก มีความสามารถในการคํานวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการ แสดงผลด้านกราฟิก เช่น นํามาช่วยในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วน เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้อง ทํางานกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทําให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมี หน่วยเก็บข้อมูลสํารองจํานวนมากด้วย เวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (Reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจํานวนคําสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จําเป็น เพื่อให้สามารถทํางานได้ ด้วยความเร็วสูง
  • 14. 14 ไมโครคอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้งานคนเดียว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้ง ละคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) 1.3 การทํางานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทํางานได้เร็ว สะดวก และแม่นยํา มากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทํางานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ วิธีการทํางานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสําคัญคือ ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคําสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคําสั่งผ่านอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคํานวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการ ทํางานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคําสั่งของโปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นําข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทําการเรียงลําดับข้อมูล นําข้อมูลมาจัด กลุ่ม นําข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้ อน หรือแสดงผลจากการ ประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลําโพง ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทําการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บ ข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนํามาใช้ใหม่ได้ในอนาคต 1.3 การทํางานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทํางานได้เร็ว สะดวก และแม่นยํา มากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทํางานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ วิธีการทํางานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสําคัญคือ ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคําสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคําสั่งผ่านอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคํานวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการ ทํางานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคําสั่งของโปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นําข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทําการเรียงลําดับข้อมูล นําข้อมูลมาจัด กลุ่ม นําข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้ อน หรือแสดงผลจากการ ประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลําโพง ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทําการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บ ข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนํามาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
  • 15. 15 1.4.1 จอภาพ (Monitor) อาจเรียกทับศัพท์ว่า มอนิเตอร์ (Monitor), สกรีน (Screen), ดิสเพลย์ (Display) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบันส่วนมากใช้จอแบบหลอดภาพ (CRT หรือ Cathode Ray Tube) เหมือนจอภาพของเครื่องรับโทรทัศน์ และจอแบบผลึกเหลว (LCD หรือ Liquid Crystal Display) มีลักษณะเป็นจอแบน 1.4.2 ตัวเครื่อง (Computer Case) เป็นส่วนที่เก็บอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, Disk Drive, Hard Disk ฯลฯ 1.4.3. คีย์บอร์ด (Keyboard) หรือแป้ นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์คําสั่ง หรือป้ อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ดมีลักษณะ คล้ายแป้ นพิมพ์ดีด แต่จะมีปุ่มพิมพ์มากกว่า
  • 16. 16 1.4.4 เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชี้ตําแหน่งต่างๆบนจอภาพ ซึ่งจะเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางาน เช่นเดียวกับการป้ อนคําสั่งทางคีย์บอร์ด เมื่อเลื่อนเมาส์ไปมาจะทําให้เครื่องหมายชี้ตําแหน่งบนจอภาพ (Cusor) เลื่อนไปในทิศทางเดียวกันกับที่เลื่อนเมาส์นั้น 1.4.5 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ เครื่องพิมพ์มีหลายแบบ เช่น เครื่องพิมพ์จุด (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer) เป็นต้น 1.4.6 สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล โดยเอารูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อ นําไปใช้งานต่อไป เครื่องสแกนมีทั้งชนิด อ่านได้เฉพาะภาพขาวดํา และชนิดอ่านภาพสีได้ นอกจากนี้ยังมีชนิด มือถือ
  • 17. 17 1.4.7 โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ได้ และแปลง ข้อมูลจากสายโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้ 2. ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร◌์ หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยส่วนที่สําคัญคือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจําหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสํารอง 2.1 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) หรืออาจเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) หรือชิป (Chip) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการคิดคํานวณ ประมวลผล และ ควบคุมการทํางานของอุปกรณ์อื่นในระบบ ลักษณะของซีพียูจะเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว ตัวอย่างเช่น ซีพียูรุ่นเพนเทียมจะมีทรานซิสเตอร์เล็กๆจํานวน มากถึง 3.1 ล้านตัว ซีพียูมีหน่วยที่ใช้ในการบอกขนาดเรียกว่า บิต (Bit) ถ้าจํานวนบิตมากจะสามารถทํางานได้เร็วมาก ความเร็วของซีพียู (Speed) มีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮริตซ์ (MHz = MegaHertz) ถ้าค่าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ายิ่ง มีความเร็วมาก ปัจจุบันความเร็วของซีพียูสามารถทํางานได้ถึงระดับกิกะเฮริตซ์ (GHz = Gigahertz) โดยมี
  • 18. 18 ความเร็วระหว่าง 2-3 GHz ในการเลือกใช้ซีพียู ผู้จําหน่ายจะบอกไว้ว่าเครื่องรุ่นนี้มีความเร็วเท่าใด เช่น Pentium IV 2.8 GHz หมายความว่า CPU รุ่นเพนเทียม IV มีความเร็ว 2.8 กิกะเฮิรตซ์ 2.1.1 องค์ประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผลกลาง "ไมโครโปรเซสเซอร์" (Microprocessor) ประกอบด้วยหน่วยสําคัญสองหน่วย คือ หน่วย ควบคุม (Control Unit) ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เปรียบเสมือนเป็น ศูนย์กลางระบบประสาท ที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะรับรู้ คําสั่งต่างๆ ในรูปของคําสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น หน่วยคํานวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) หรือที่เรียกสั้นๆว่า เอแอลยู (ALU)ทําหน้าที่ ประมวลผลการคํานวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเปรียบเทียบทางตรรกะทั้งหมด การทํางานในซีพียูมี รีจิสเตอร์ (Register) คอยทําหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลหรือคําสั่งที่ถูกนําเข้ามา ปฏิบัติการภายในซีพียู รวมทั้งมี บัส (Bus) เป็นเส้นทางในการส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้ าของหน่วยต่างๆภายใน ระบบ 2.2 อุปกรณ์นําเข้า (Input devices) ทําหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจําหลัก ที่พบเห็นอยู่ทั่วไปได้แก่ 2.2.1 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้ นพิมพ์ (Keyboard) เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้ อนข้อมูล สําหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายแป้ นของเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีจํานวนแป้ น มากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ - แป้ นอักขระ (Character Keys) มีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้ นบนเครื่องพิมพ์ดีด - แป้ นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้ นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้ นอื่น - แป้ นฟังก์ชัน (Function Keys) คือ แป้ นที่อยู่แถวบนสุด มีสัญลักษณ์เป็น F1,...F12 ซอฟต์แวร์แต่ละชนิด อาจกําหนดแป้ นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป
  • 19. 19 - แป้ นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้ นที่แยกจากแป้ นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่อง คิดเลข ช่วยอํานวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแป้ นพิมพ์บางประเภทที่ออกแบบมาให้ใช้กับงานเฉพาะด้าน เช่น แป้ นพิมพ์ที่ใช้ใน ร้านอาหารแบบเร่งด่วน (fast food restaurant) จะใช้พิมพ์เฉพาะชื่ออาหาร เช่น ถ้าต้องการ french fries ก็ กดที่แป้ นคําว่า “French fries” ตามด้วยราคาเท่านั้น หรือแป้ นพิมพ์ที่ใช้เครื่องฝาก-ถอนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine) เป็นต้น 2.2.2 อุปกรณ์ชี้ตําแหน่ง Pointing Devices เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์สําหรับใช้เลื่อนตัวชี้ตําแหน่ง (Cursor) บนจอภาพ มีหลายขนาดและมี รูปร่าง ต่างกันไป แต่ที่นิยมใช้จะมีขนาดเท่าฝ่ามือ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่าง หรือเป็นระบบแสง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้ กดจํานวนสอง สาม หรือสี่ปุ่ม แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ สองปุ่ม ใช้ส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจําหลักโดยการเลื่อน เมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อนตัวชี้ตําแหน่งบนจอภาพไปยังตําแหน่งที่ต้องการทําให้การโต้ตอบ ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทําได้รวดเร็วกว่าแป้ นพิมพ์ ผู้ใช้อาจใช้เมาส์วาดรูป เลือกทาง เลือกจากเมนู และเปลี่ยนแปลงหรือย้ายข้อความ ปัจจุบันเมาส์ได้มีการพัฒนาเป็นแบบเมาส์ไร้สาย อย่างไรก็ดี เมาส์ยังไม่ สามารถใช้ในการป้ อนตัวอักษรได้ จึงยังคงต้องใช้คู่กับแป้ นพิมพ์ในกรณีที่มีการพิมพ์ ตัวอักษร แต่สําหรับผู้ที่ เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ การใช้เมาส์เพียงอย่างเดียวจะทําให้เกิดความผิดพลาดน้อยกว่าการใช้แป้ นพิมพ์
  • 20. 20 ลูกกลมควบคุม (Trackball) เป็นอุปกรณ์ชี้ตําแหน่ง โดยจะเป็นลูกบอลเล็กๆซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอภาพในเนื้อที่ ของแป้ นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตําแหน่งของตัว ชี้ตําแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทํางานเช่นเดียวกับเมาส์ แท่งชี้ควบคุม (Track Point) เป็นอุปกรณ์ชี้ตําแหน่งขนาดเล็ก นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาจะเป็น แท่งพลาสติกเล็กๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเพื่อเลื่อนตําแหน่งของตัวชี้ตําแหน่งบน จอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ แผ่นรองสัมผัส จะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้ นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตําแหน่ง ของตัวชี้ตําแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ จอยสติก (Joy stick) จะเป็นก้านสําหรับใช้โยกขึ้นลง/ซ้ายขวา เพื่อย้ายตําแหน่งของตัวชี้ตําแหน่งบนจอภาพ มี หลักการทํางานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้ นกดเพิ่มเติมมาจํานวนหนึ่งสําหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่น เกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์
  • 21. 21 2.2.3 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen) เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพ ในตําแหน่งที่กําหนดไว้ เพื่อเลือกการทํางานที่ต้องการ นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากใน ร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น 2.2.4 ระบบปากกา (Pen-Based System) ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสกับจอภาพเพื่อชี้ตําแหน่งและวาดข้อมูล โดยใช้เซลล์ แบบ photoelectric ซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกําหนดตําแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะ หรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทําได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตาม ตําแหน่งที่ต้องการนิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (CAD หรือ Computer Aided Design) รวมทั้งนิยมใช้เป็นอุปกรณ์ป้ อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น 2.2.5 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ระบบการวิเคราะห์แสง (Optical recognition Systems) ช่วยให้มีการพิมพ์ข้อมูลเข้า น้อยที่สุด โดยจะอ่านข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้ลําแสงกวาดผ่านข้อความ หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่ พิมพ์ไว้ เพื่อนําไปแยกแยะรูปแบบต่อไป ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในงานต่างๆกันมาก โดยมีอุปกรณ์ที่ได้รับ
  • 22. 22 ความนิยม คือ เครื่องอ่านรหัสบาร์โคด (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายปากกาแสง ใช้ฉายแสงลงไปที่ รหัสแท่งที่ต้องการอ่าน ซึ่งรหัสสินค้าต่างๆจะอยู่ในรูปของแถบสีดําและขาวต่อเนื่องกันไป เรียกว่ารหัสบาร์โคด เครื่องอ่านรหัสบาร์โคดจะอ่านข้อมูลบนแถบบาร์โคด เพื่อเรียกข้อมูลจากรายการสินค้านั้น เช่นราคาสินค้า จํานวนที่เหลืออยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ออกมาจากฐานข้อมูล แล้วจึงทําการประมวลผลข้อมูลรายการนั้น ใน ปัจจุบัน บาร์โคคได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องทําการพิมพ์ข้อมูลเข้าด้วยแป้ นพิมพ์ จึงลดความ ผิดพลาดของข้อมูลและประหยัดเวลาได้มาก ระบบบาร์โคดเป็นสิ่งที่ผู้ใช้จะพบเห็นในชีวิตประจําวันได้บ่อยที่สุด เช่น ในห้างสรรพสินค้า ร้านขายหนังสือ และห้องสมุด เป็นต้น สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือสแกน (Scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีส่องแสงไปยังวัตถุที่ต้องการ แสงที่ส่องไปยังวัตถุแล้วสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ เซลล์ไวแสง (Charge-Coupled Device หรือ CCD) ซึ่งจะทําการตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนออกมา จากวัตถุและแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลทางดิจิตอล เอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูป ภาพกราฟิกก็ได้ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital camera) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับถ่ายภาพแบบไม่ต้องใช้ฟิล์ม โดยเก็บ ภาพที่ถ่ายไว้ในลักษณะดิจิตอลด้วยอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) ภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุด เล็กๆ จํานวนมาก และสามารถนําเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์สแกนเนอร์อีกเป็น อุปกรณ์ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ต้องใช้ฟิล์มในการถ่ายภาพและสามารถดูผลลัพธ์ได้จาก จอที่ติดอยู่กับกล้องได้ในทันที
  • 23. 23 กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหว และเก็บเป็นข้อมูล แบบดิจิตอล นิยมใช้ในการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (Video conference) ซึ่งเป็นการประชุมแบบกลุ่มผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น อย่างไรก็ดีกล้องถ่ายทอดวีดีโอแบบดิจิตอลยังอยู่ 2.3 อุปกรณ์แสดงผล (Output devices) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทํางานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็ จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลใน หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้คือ 2.3.1 หน่วยแสดงผลชั่วคราว หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทํางานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้น ก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลใน หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง เพื่อให้สามารถใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้คือ จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์บน จอภาพประกอบด้วยจุดจํานวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า จุดภาพ (pixel) ถ้ามีจุดภาพจํานวนมากก็จะทําให้ ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
  • 24. 24 - จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบันใช้ หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์ - จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่มีลักษณะบาง นํ้าหนักเบาและกินไฟ น้อย แต่มีราคาสูง เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาตํ่าแต่ขาดความ คมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม ส่วน Active Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่าThin Film Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่ามาก ในส่วนความละเอียดของจอภาพ ปัจจุบัน นิยม ใช้จอภาพชนิดสีแบบ Super Video Graphic Adapter หรือเรียกสั้นๆว่า ซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) ซึ่งมีความ ละเอียด 800x600 จุดภาพ สําหรับจอภาพที่มีความละเอียดตํ่า (low resolution) ส่วนจอภาพที่มีความละเอียด สูง จะนิยมใช้ความละเอียดที่ 1024x768, 1280x1024 หรือ 1600x1200 จุดภาพ (pixel) ซึ่งจะให้ความคมชัดที่ สูงมาก ปัจจัยหนึ่งที่ทําให้ภาพดูคมชัดมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีจํานวนจุดภาพเท่ากัน ก็คือ ระยะห่างระหว่าง จุดภาพ (dot pitch) โดยระยะห่างระหว่างจุดภาพน้อยก็จะให้ความละเอียดได้มากกว่า จอภาพที่มีขายใน ท้องตลาดปัจจุบันมีระยะห่างระหว่างจุดภาพอยู่ระหว่าง 0.25-0.28 หน่วย ซึ่งระยะห่างระหว่างจุดภาพนี้ เป็นสิ่งที่ติดมากับเครื่องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในส่วนของจํานวนสีนั้น ณ ขณะใดขณะหนึ่งแต่ละ จุดภาพจะแสดงสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งสีต่างๆ จะถูก
  • 25. 25 แทนด้วยตัวเลข ดังนั้น ถ้าจอภาพแสดงได้ 16 สี เลขเหล่านั้นก็จะแทนด้วย 4 บิต ถ้าต้องการแสดงถึง 256 สี ก็จะต้องใช้ 8 บิตแทนรหัสสีนั้นๆ การ์ดวิดีโอ (Video Card) การต่อจอภาพเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีแผงวงจร กราฟิก (Graphic Adapter Board) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดวีดีโอ (video card) ซึ่งจอภาพแต่ละ ชนิดต้องการแผงวงจรที่ต่างกัน แผงวงจรกราฟิกจะถูกเสียบเข้ากับ ช่องขยายเพิ่มเติม (expansion slot) ใน คอมพิวเตอร์แผงวงจรกราฟิกมักจะมีหน่วยความจําเฉพาะที่เรียกว่า หน่วยความจําวีดีโอ (video memory) เพื่อให้ใช้โปรแกรมด้านกราฟิกได้สวยงามและรวดเร็ว ซึ่งหน่วยความจํานี้อาจใช้แรมธรรมดาหรือแรมแบบ พิเศษต่างๆ เพื่อให้ สามารถทํางานได้เร็วขึ้น เช่น วีดีโอแรม (video RAM) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า วีแรม (VRAM) เป็นต้น ปัจจัยประการหนึ่งที่ผู้ใช้จอภาพต้องคํานึง คือ อัตราการเปลี่ยนภาพ (refresh rate) ของการ์ดวีดีโอ โดยภาพที่แสดงบนจอภาพแต่ละภาพนั้นจะถูกลบและแสดงภาพใหม่เริ่มจากบนลงล่าง หากอัตราการ เปลี่ยนภาพในแนวดิ่ง (Vertical-refresh rate) เป็น 60 ครั้งต่อวินาที หรือ 60 Hz จะเกิดการกระพริบทําให้ ผู้ใช้ปวดศีรษะได้มีผู้วิจัยพบว่า อัตราเปลี่ยนภาพในแนวดิ่งไม่ควรตํ่ากว่า 70 Hz จึงจะไม่เกิดการกระพริบ และทําให้ผู้ใช้ดูจอภาพได้อย่างสบายตา นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สําหรับถอดรหัสภาพแบบ MPEG (Motion Picture Experts) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนการ์ดวีดีโอ อันจะทําให้สามารถ แสดงภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์เสียง (Audio Output) คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบด้วย ลําโพง(speaker) และ การ์ดเสียง (sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทํางาน หรือให้เครื่อง คอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้ง สามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลําโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลําโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นํามาเสียงกับช่อง เสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลําโพง รวมทั้งสามารถต่อ
  • 26. 26 ไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย 2.3.2 หน่วยแสดงผลถาวร หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้องและเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการมักจะออกมาในรูปของ กระดาษเช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก มีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของ ตัวอักษร ความเร็วในการพิมพ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ชนิด คือ เครื่องพิมพ์แบบกระทบหรือตอก (Impact printer) เป็นการใช้หัวเข็มตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติด บนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่าง กระดาษแต่ละแผ่นได้ ส่วนข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ไม่ดีนัก เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบหรือไม่ตอก (Nonimpact printer) เป็นการพิมพ์โดยใช้หมึกพ่นไปบน กระดาษหรือใช้ความร้อนและความดันเพื่อละลายหมึกให้เป็นลักษณะของอักขระ เป็นการพิมพ์ที่เร็วและ คมชัดกว่าแบบกระทบ และพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและภาพกราฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจํากัดคือ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษแบบสําเนา (copy) ได้
  • 27. 27 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทํางานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือ มีแสงเลเซอร์สร้างประจุ ไฟฟ้ า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ เลเซอร์จะมีรุ่นต่างๆที่แตกต่างกันในด้านความเร็ว และความละเอียดของงานพิมพ์ ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ ได้ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi) เครื่องพิมพ์พ่นหมึก (Inkjet printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะพิมพ์สีได้ ถึงแม้ จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดตอก และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ ชนิดเลเซอร์ นิยมนํามาใช้งานตามบ้านอย่างมาก
  • 28. 28 เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) ใช้วาดหรือเขียนภาพสําหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูงๆ นิยมใช้กับ งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม มีให้เลือกหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจํานวนปากกาที่ใช้เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดา
  • 29. 29 3. หน่วยความจํา Memory อุปกรณ์ส่วนที่สําคัญอย่างหนึ่งที่คอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้คือ หน่วยความจํา Memory ซึ่งมีหลายประเภท ตามลักษณะการทํางาน ดังนี้ 3.1 หน่วยความจํารอม (ROM) และ (RAM) คําว่า ROM ย่อมาจาก Read Only Memory เป็นหน่วยความจําที่เก็บข้อมูลแบบถาวร รอมที่ใช้บันทึก ข้อมูลของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ขนาดและประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ขนาดของแรม หน่วย ประมวลผลที่ใช้การติดตั้งหน่วยขับแผ่นบันทึก (Floppy drive) เป็นต้น ข้อมูลที่บันทึกในรอม จะยังคงอยู่แม้ จะปิดเครื่อง หน้าที่ของรอมคือจะตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ใดบ้าง ที่ติดตั้งใช้งาน หากตรวจสอบไม่อุปกรณ์ที่ สําคัญๆ เช่น ไม่พบฮาร์ดดิสก์ ซีพียู หรือแรม รอมจะหยุดการทํางาน คําว่า RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็น หน่วยเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ แต่ ข้อมูลจะสูญหายทันที เมื่อปิดเครื่อง ในการใช้งานจริง จึงต้องบันทึกข้อมูลไว้ในฮาร์ดดิสก์ก่อนปิดเครื่อง หน่วยความจําแรม มีหน่วยวัดเป็น ไบต์ (byte) ซึ่งถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าจะนิยมใช้หน่วยความจําแรม 8 หรือ 16 เมกะไบต์ (Megabyte) แต่ถ้าเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะใช้แรมขนาด 128 หรือ 256 MB ขึ้นไป ซึ่งจะทํา ให้สามารถทํางานกับโปรแกรมรุ่นใหม่ หรือกับแฟ้ มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น งานมัลติมีเดียหรืองานกราฟิก ได้ 3.2 DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม) DRAM เป็นหน่วยความจําหลักของเครื่อง นิยมใช้มากในสมัยก่อนเพราะราคาไม่แพง แต่ทํางานได้ช้า มากปัจจุบันมีการใช้ SDRAM (Synchronous DRAM) ซึ่งเป็นหน่วยความจําที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ใน สมัยก่อนอาจจะมีราคาสูง แต่ปัจจุบันราคาได้ถูกลงมาก คนจึงนิยมใช้ SDRAM มากขึ้น
  • 30. 30 SIMM (ซิม) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สําหรับติดตั้งหน่วยความจํา ติดตั้งบนเมนบอร์ด เรา สามารถเพิ่มจํานวนแรมโดยเสียบแผงวงจรเข้ากับซิมนี้เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มแรมได้อย่างง่ายๆสะดวก รวดเร็วและสามารถทําได้ด้วยตนเอง ดังนั้นข้อจํากัดของการเพิ่มแรม คือ จํานวนช่องของ SIMM และขนาด ของแรมแต่ละแผงที่นํามาเสียบลงบน SIMM 3.3 หน่วยความจําเสมือน (Virtual Memory) หมายถึง หน่วยความจําประเภทหนึ่งใช้สําหรับแสดงผล เป็นหน่วยความจําที่ถูกสร้างขึ้นมาในกรณีที่ หน่วยความจําแรมไม่พอใช้ โดยระบบปฏิบัติการจะมีการนําเอาพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์บางส่วนมาเป็นพื้นที่ ทํางานชั่วคราวในขณะเปิดแฟ้ มข้อมูล และจะลบทิ้งเมื่อปิดแฟ้ มข้อมูล เราจึงเรียกว่า “หน่วยความจํา เสมือน” ข้อเสียของการใช้หน่วยความจําเสมือนคือ ถ้าพื้นที่ว่างมีน้อยกว่าที่กําหนดไว้ คอมพิวเตอร์จะ ทํางานช้าลง การใช้งานฮาร์ดดิสก์จึงมักจะให้มีเนื้อที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เหลือไว้ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น เราจะต้องเลือกขนาดของแรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะโปรแกรมปฏิบัติการ (OS) รุ่นใหม่ๆ เช่น Windows 98, Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการขนาด 32 บิต ต้องใช้แรม 64 MB ขึ้น ไป หากใช้แรมน้อยกว่านี้เครื่องอาจจะทํางานช้ามากหรืออาจหยุดชะงักได้ง่าย 3.4 หน่วยความจําแคช (Memory Cache) และ บัส (Bus) หน่วยความจําแคชเป็นหน่วยความจําที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทํางานได้เร็วขึ้น เป็นการเก็บข้อมูลที่ เราเคยเรียกใช้แล้วเอาไว้ในกรณีที่เราต้องการเรียกใช้ก็มาเรียกข้อมูลจากแคช ซึ่งจะดึงข้อมูลได้เร็วกว่า
  • 31. 31 หน่วยความจําดิสก์มาก หน่วยความจําแคช มี 2 ประเภท คือ 1. แคชภายใน ติดตั้งอยู่ภายในซีพียู เวลาเครื่องประมวลผล ก็จะเรียกเก็บข้อมูลที่เก็บไว้ที่แคชใกล้ๆ ซีพียูมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว 2. แคชภายนอก จะติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดเหมือนแรม ถ้าเครื่องไม่พบแคชในซีพียูก็จะมองหาแคช ภายนอก ถ้าพบก็จะนํามาใช้งาน ซึ่งก็จะทํางานได้ช้ากว่าแคชภายในอยู่บ้าง เป็นเส้นทางวิ่งระหว่างข้อมูลหรือคําสั่ง การวัดขนาดความกว้างของ บัส เราเรียกว่า “บิต” 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ หรือ 1 ตัวอักษร ส่วนความเร็วของ บัส วัดด้วยหน่วยเมกะเฮิรตซ์ (Mhz) หรือหนึ่งล้านรอบต่อวินาที บัส ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ บัสแบบ PCI (Peripheral Component Interconnect) มีความกว้างของสัญญาณที่
  • 32. 32 ใช้รับส่งข้อมูลถึง 32 หรือ 64 บิต ความเร็วมากกว่า 300 MHz ขึ้นไป นอกจากนี้PCI ยังสนับสนุนคุณสมบัติ Plug and Play ที่ใช้ในการติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ใหม่ด้วย 3.5 หน่วยข้อมูลสํารอง คอมพิวเตอร์หรือซีพียูจะเรียกใช้ข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลหลัก คือ แรมก่อน หากข้อมูลที่ต้องการไม่มี ในแรม ก็จะทําการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสํารองไปเก็บไว้ที่แรม เพราะหน่วยเก็บข้อมูลสํารอง สามารถจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะปิดเครื่อง และเก็บข้อมูลได้มากกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก หน่วย เก็บข้อมูลสํารองแบ่งออกเป็น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสเก็ตต์ (diskette) มีลักษณะ เป็นแผ่นแม่เหล็ก ทรงกลม มีพลาสติกแข็งเป็นกรอบสี่เหลี่ยมครอบไว้ชั้นนอก ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถจุข้อมูล ได้ 1.44 MB ก่อนการใช้งาน จะต้องทําการฟอร์แมตแผ่นก่อน ปัจจุบันแผ่นดิสเก็ตต์จะฟอร์แมตมาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว สามารถ นํามาใช้งานได้ทันที การใช้งานจะเสียบใส่ในเครื่องขับแผ่นบันทึก (Floppy Drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อ่านและ เขียนแผ่นดิสก์ ติดตั้งอยู่ภายในตัวถังของเครื่อง แผ่นบันทึก (Floppy disk) เก็บข้อมูลได้ไม่มากนัก เหมาะ สําหรับการพกพา เพราะมีขนาดเล็กสามารถนําข้อมูลไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้สะดวก จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์ หลายล้านเท่า ฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่อง มีขนาดประมาณ 3.5 นิ้ว แต่มีความหนากว่าฟลอปปี้ดิสก์ มีตัว อ่านข้อมูลอยู่ภายใน ในปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 40 กิกะไบต์ (GB) ขึ้นไป จึงสามารถเก็บข้อมูลได้มาก รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน ที่ต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น โดยเฉพาะโปรแกรมประเภท กราฟฟิกหรือมัลติมีเดีย จําเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากพอจึงจะใช้งานได้
  • 33. 33 ซีดี – รอม (CD-ROM) ย่อมาจากคําว่า Compact Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับ ความนิยมมากราคาไม่แพง มีอายุการใช้หลายปี และมีขนาดเล็ก ซีดีรอมเป็นแผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว ผิวหน้าเคลือบด้วยโลหะสะท้อนแสง เพื่อป้ องกันข้อมูลที่บันทึกไว้บันทึกและอ่านข้อมูล ด้วยแสงเลเซอร์ ปกติซีดีรอมในปัจจุบันจะมีความจุประมาณ 700 MB หรือเท่ากับหนังสือประมาณ 700,000 หน้า หรือเท่ากับฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 1.44 MB ถึง 700 แผ่น สามารถบันทึกข้อมูลได้มาก โดยเฉพาะงานด้าน มัลติมีเดียทั้งภาพ แสง เสียง ในเวลาเดียวกัน ที่สําคัญ คือ เป็นระบบที่ปลอดภัยจากไวรัส ดีวีดี – รอม (DVD-ROM) ย่อมาจาก Digital Video Disk Read – Only Memory เป็นหน่วยเก็บข้อมูลรอง ชนิดหนึ่งที่กําลังได้รับความนิยมมากลักษณะคล้ายซีดีรอมแต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอมหลายเท่า คือ ขนาดมาตรฐานเก็บข้อมูลได้ 4.7 GB หรือ 7 เท่าของซีดีรอม และพัฒนาต่อเนื่องไปตลอดดีวีดีแผ่นหนึ่ง สามารถบรรจุภาพยนตร์ความยาวถึง 133 นาทีได้โดยใช้ลักษณะการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 และระบบ เสียงแบบดอลบี (Dolby AC-3) ปัจจุบันดีวีดีนิยมใช้ในการบันทึกภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
  • 34. 34 4. ซอร์ฟแวร์ Software คอมพิวเตอร์จะทํางานไม่ได้เลยหากปราศจาก ซอร์ฟแวร์ Software ที่จะคอยรับคําสั่งในรูปแบบต่าง ๆ ไป ประมวลผล และแสดงผลออกมา 4.1 ชนิดของ software ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software-OS) หมายถึง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ ควบคุมการทํางานทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่าง ใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบัน คือ Windows 95, Windows 98, Windows 2000,Windows Me, Windows XP, Linux, DOS เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทํางานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมสําเร็จรูปต่างๆ เช่น Microsoft Word, Excel, PowerPoint เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์ในการทํางานด้านต่างๆ เมื่อหลายปีก่อน คอมพิวเตอร์มีอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคา แพง ส่วนมากจะใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันมากนัก แต่ใน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับ