SlideShare a Scribd company logo
1 of 61
Download to read offline
สรุปเข้มเนื้อหาหลักภาษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดําเนินสวัสดิ์
นักเรียนจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
๑. ธรรมชาติของภาษาหรือลักษณะทั่วไปของภาษาต่างๆ
๒.เสียงในภาษาไทย
๓.คํา: การประกอบคํา คํายืม
๔.ประโยค : ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร การลําดับคําในประโยค
ชนิดของประโยค ประโยคบกพร่อง
๕.ระดับภาษา
๖.ราชาศัพท์
๗.วัจนภาษากับอวัจนภาษา
เสียงและอักษรในภาษาไทย
เสียงสระ (๒๑) รูปสระ (๒๑)
เสียงในภาษาไทย เสียงพยัญชนะ (๒๑) รูปพยัญชนะ (๔๔) อักษรไทย
เสียงวรรณยุกต์(๕) รูปวรรณยุกต์(๔)
เดี่ยว = แท้ = ๑๘ เสียง ๙ คู่
เสียงสระ
ประสม = เลื่อน = ๓ เสียง (เอีย เอือ อัว)
ข้อใดประสมสระแท้หรือสระเดี่ยวทั้งหมด
๑. ไม่ไยดีปรีดาประสาโลก
๒.ไม่ทุกข์โศกอาลัยหรือไห้หวน
๓. มีความสุขอยู่ทุกยามตามที่ควร
๔. ไม่ปั่นป่วนไปตามความเร่าร้อน
* ความแตกต่างของสระเสียงสั้น สระเสียงยาวในสระแท้มีนัยสําคัญทางภาษา ส่วนใน
สระประสมไม่มีนัยสําคัญทางภาษา
จัก – จาก ริ – รี้ รึ – รื้อ ปุ – ปู่
เผียะ – เผี่ย ผัวะ – ผั่ว รั้ว เสือ
*รูปสระ อํา ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เป็นอักษรแทนพยางค์
อํา = เสียงสระ อะ เสียงพยัญชนะสะกด [-ม]
เสียงวรรณยุกต์สามัญ
ใอ,ไอ = เสียงสระ อะ เสียงพยัญชนะสะกด [-ย]
เสียงวรรณยุกต์สามัญ
เอา = เสียงสระ อะ เสียงพยัญชนะสะกด [-ว]
เสียงวรรณยุกต์สามัญ
“สั่นยังกับเจ้าเข้า” เจ้า เสียงยาวกว่า เข้า มีข้อใดที่มีลักษณะดังตัวอย่างนี้ คือใช้รูปสระ
เดียวกัน แต่ออกเสียง สั้น-ยาว ต่างกัน
๑.จ่ายเงินเกินกําหนด ๒.ถนัดชี้แจงแถลงไข
๓.ลุวันเกิดของแม่ซึ้งแก่ใจ ๔.ศิลปะจะดีอยู่ที่จิต
พยัญชนะต้นตัวเดียว
เดี่ยว ๒๑
ต้น อักษรควบไม่แท้อักษรนํา
ประสม = อักษรควบกลํ้า, ควบแท้= ๑๑
เสียงพยัญชนะ
ท้าย (สะกด) = ๙ เสียง
อักษรควบไม่แท้
๑.ออกเสียงพยัญชนะต้นตัวที่ ๑ เท่านั้น
จริง สรวง
๒.ออกเสียง ทร เป็น ซ
เทริด ทรวง
อักษรนํา
๑. อ นํา ย : อย่า อยู่ อย่าง อยาก
๒.ห นํา เดี่ยว : ใหญ่ แหวน หมอ
๓.กลาง นํา เดี่ยว : กนก จรัส อร่อย
๔.สูง นํา เดี่ยว : แถง สวัสดิ์ ผงก
คําในข้อใดอ่านออกเสียงอย่างอักษรนําทุกคํา
๑.ขนาง ขนิษฐ์ ขนอน
๒.ขมา ขมวน ขม่อม
๓.ขรัว ขรม ขริบ
๔.ขยอก ขยด ขย้อน
เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว รูปพยัญชนะ
๑. [ก-] ก
๒. [ค-] ข ฃ ค ฅ ฆ
๓. [ง-] ง หฺง (แหงน)
๔. [จ-] จ จฺร (จริง)
๕. [ช-] ฉ ช ฌ
๖. [ย-] ญ ย หฺญ หฺย อฺย
๗. [ด-] ฎ ฑ ด
๘. [ต-] ฏ ต
๙. [ท-] ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ
๑๐. [น-] ฌ น หฺน (ไหน)
เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว รูปพยัญชนะ
๑๑. [บ-] บ
๑๒. [ป-] ป
๑๓. [พ-] ผ พ ภ
๑๔. [ฟ-] ฝ ฟ
๑๕. [ม-] ม หฺม (ไหม)
๑๖. [ร-] ร หฺร (หรือ) ฤ ฤๅ
๑๗. [ล-] ล ฬ หฺล (หล่อ) ฦ ฦๅ
๑๘. [ว-] ว หฺว (หวั่น)
๑๙. [ซ-] ซ ศ ษ ส ซฺร ศฺร สฺร ทฺร
๒๐. [ฮ-] ห ฮ
๒๑. [อ-] อ
ข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นแตกต่างกันน้อยที่สุด
๑.และใจเจ้าจักเป็นเช่นสายนํ้า
๒.ใสเย็นฉํ่าชื่นแล้วไหลแผ่วผ่าน
๓.เพื่อเลี้ยงชีพชโลมไล้ให้เบิกบาน
๔.เพียงพ้องพานผิวแผ่วแล้วผ่านเลย
คําคู่ใดมีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกันทั้ง ๒ พยางค์
๑.ไรฟัน ลอยฟ้า
๒.วันไหน ไหวหวั่น
๓.ช่างเหล็ก ฉอเลาะ
๔.ฤกษ์ยาม ลดหย่อน
เสียงพยัญชนะต้นประสม = ๑๑ เสียง
[กร-] กรอง
[ก-] [กล-] กลอน
[กว-] กวาง
[คร-] ครั้ง ขริบ
[ค-] [คล-] คลอง ขลิบ
[คว-] ความ ขวาน
[ปร-] ปรัก
[ป-]
[ปล-] ปลัก
[พร-] แพร
[พ-]
[พล-] พลอย ผลัก
[ต-] [ตร-] แตร
เสียงพยัญชนะต้นควบกลํ้าในข้อใดตรงกับเสียงควบกลํ้าในภาษาไทยที่มีมาแต่เดิม
๑.ฟรักโทส
๒.ดราฟท์
๓.คริปตอน
๔.บริดจ์
ข้อใดมีทั้งอักษรควบและอักษรนํา
๑.สงครามครานี้หนัก ใจเจ็บ ใจนา
๒.เรียมเร่งแหนงหนาวเหน็บ อกโอ้
๓.ลูกตายฤๅใครเก็บ ผีฝาก พระเอย
๔.ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา
เสียงพยัญชนะท้าย ๙ เสียง
๑.แม่ กก เสียง [-ก] ๒.แม่ กด เสียง [-ต]
๓.แม่ กบ เสียง [-ป] ๔.แม่ กง เสียง [-ง]
๕.แม่ กน เสียง [-น] ๖.แม่ กม เสียง [-ม]
๗.แม่ เกย เสียง [-ย] ๘.แม่ เกอว เสียง [-ว]
๙.แม่ ก กา สระสั้น ที่ออกเสียงเน้นหนัก เพราะเป็น คําสําคัญในประโยค หรือ
เพราะเป็นพยางค์ท้ายของ คํา ๒ พยางค์ขึ้นไป หรือผู้พูดมีเจตนาจะเน้น
จะมีเสียง [-อ] ท้ายพยางค์ มีแต่เสียง ไม่ปรากฏรูปเขียน
*อํา เป็น แม่ กม มีเสียงพยัญชนะสะกดเป็น [-ม]
ใอ
เป็น แม่ เกย มีเสียงพยัญชนะสะกดเป็น [-ย]
ไอ
เอา เป็น แม่ เกอว มีเสียงพยัญชนะสะกดเป็น [-ว]
ข้อความต่อไปนี้มีพยางค์ที่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายกี่พยางค์
“มัวแต่พูดว่า “จะ จะ” อยู่นั่นเอง ทําไมไม่ลงมือเสียที”
๑. ๗ พยางค์ ๒. ๘ พยางค์
๓. ๙ พยางค์ ๔. ๑๐ พยางค์
คําใดมีเสียงพยัญชนะต้นและเสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงเดียวกัน
๑.เศษ ๒.นิล
๓.ภาพ ๔.วัว
ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดของพยางค์ต้นต่างจากเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดมา
๑.ชัยภูมิ ๒.นามรูป
๓.กุลบุตร ๔.คุณภาพ
เป็นรูปสระเฉพาะในสระ อัวะ อัว
* ว
นอกนั้นเป็นรูปพยัญชนะ
เป็นรูปสระเฉพาะในสระ เอียะ เอีย
ย
นอกนั้นเป็นรูปพยัญชนะ
เป็นรูปพยัญชนะเฉพาะเมื่อเป็นพยัญชนะต้น
อ
นอกนั้นเป็นรูปสระ
เธอ เอื้อ พ่อ
พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่
๑. แม่ ก กา สระเสียงยาว
๒. แม่ ก กา สระเสียงสั้น ที่ไม่ออกเสียงเน้น
พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสะกด ๙ เสียง ดังกล่าวมาแล้ว
ข้อใดเป็นพยางค์เปิดทุกคํา
๑. เคลียรู้ว่าเสือตัวนี้ดุ
๒.ใครก็สู้เสือตัวนี้มิได้
๓. แต่เคลียก็ทําใจดีสู้เสือ
๔. เพื่อให้รู้แน่แก่ใจเขา
ข้อใดเป็นพยางค์ปิดทุกคํา
๑. เขาทํางานจนภารโรงปิดห้อง
๒.คุณยายเป็นลมเมื่ออ่านจดหมายจบ
๓.ต้นกล้วยริมรั้วลวดหนามออกเครือแล้ว
๔.ภาคใต้ได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์
เสียงวรรณยุกต์
วรรณยุกต์มีรูป
กลาง
บอกเสียงตามรูป ก๊ก จ๋า ไขว้ หย่า
สูง
ตํ่า ย่า = เสียงโท ค้า = เสียงตรี
วรรณยุกต์ไม่มีรูป
กลาง ตํ่า เป็น (กิน งา) เสียงสามัญ
กลาง สูง ตาย (กัด ขาด) เสียงเอก
ตํ่า ตาย ยาว (คาด) เสียงโท
ตํ่า ตาย สั้น (คัด) เสียงตรี
สูง เป็น (ขาย ขัน) เสียงจัตวา
ประเภทของเสียงวรรณยุกต์
กลางระดับ(เสียงสามัญ)
วรรณยุกต์ระดับ ตํ่าระดับ (เสียงเอก)
สูงระดับ (เสียงตรี)
ประเภทของเสียงวรรณยุกต์
สูง-ตก (เสียงโท)
วรรรยุกต์เปลี่ยนระดับ
ตํ่า-ขึ้น (เสียงจัตวา)
ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบห้าเสียง
๑.โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยากฝากให้คิด
๒.ทางชีวิตจะรุ่งโรจน์โสตถิผล
๓.ต้องรู้โง่รู้ฉลาดปราดเปรื่องตน
๔.โง่สิบหนดีกว่าเบ่งเก่งเดี๋ยวเดียว
ข้อใดมีคําตายมากที่สุด
๑.ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์
๒.เรืองจรัสยิ่งมกุฎสุดสง่า
๓.ประดับพระวรเดชวิเศษฤทธิ์
๔.ที่สถิตอานุภาพสโมสร
อักษรตํ่าห้ามใช้ ผัน
อักษรตํ่าเป็นเสียงตรีได้๒ ลักษณะ ดังนี้
(1) ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี เช่น นํ้า ค้าง โน้ต เชิ้ต เค้ก
(2) อักษรตํ่า คําตาย สระสั้น เป็นเสียงตรี เช่น ยัวะ คลิก ล็อก
เชิ๊ต โน๊ต เค๊ก คลิ๊ก ล๊อก แท๊กซี่ โป๊ะเช๊ะ ท๊อปช๊อย
เชิ้ต โน้ต เค้ก คลิ้ก ล้อก แท้กซี่ โป๊ะเช้ะ ท้อปช้อย
คลิก ล็อก แท็กซี่ โป๊ะเชะ ท็อปช้อย
ข้อใดไม่มีวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ
๑.สรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์
๒.ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา
๓.พริ้งไพเราะเสนาะกรรณวรรณนา
๔.สมสมญาแห่งสวรรค์ชั้นกวี
คําคู่ใดต่างกันเฉพาะเสียงสระเท่านั้น
๑.ทรัพย์-ทราบ
๒.เนิบ-นับ
๓.หมั้น-ม่าน
๔.โชค-ชัก
๗
ทรัพย์-ทราบ เนิบ-นับ หมั้น-ม่าน
เสียงพยัญชนะต้น (ซ_) (ซ_)  (น_) (น_)  (ม_) (ม_) 
เสียงพยัญชนะท้าย (_ป) (_ป)  (_ป) (_ป)  (_น) (_น) 
เสียงสระ อะ อา  เออ อะ  อะ อา 
เสียงวรรณยุกต์ ตรี โท  โท ตรี  โท โท 
โครงสร้างพยางค์
โครงสร้างพยางค์เหมือนหรือต่าง
ท้ายต้นดนสระ
ไม่มี = พยางค์เปิด
๑.เสียงพยัญชนะท้าย
มี = พยางค์ปิด
เดี่ยว
๒.เสียงพยัญชนะต้น
ประสม
ระดับ (สามัญ เอก ตรี)
๓.เสียงวรรณยุกต์
เปลี่ยนระดับ (โท จัตวา)
สั้น
เดี่ยว ยาว
๔.เสียงสระ
ประสม
ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์ต่างกับข้ออื่น
๑.ข้างแรม
๒.ท่องจํา
๓.ตั้งใจ
๔.สร้อยเงิน
คําในข้อใดมีองค์ประกอบของพยางค์เหมือนคําว่า “อัศว์”
๑.โยชน์
๒.เสร็จ
๓.นิตย์
๔.มารค
ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกับคํา “บรรพบุรุษ”
๑.องค์อวตาร
๒.อินทรชิต
๓.กัลปพฤกษ์
๔.วรรณสุคนธ์
เสียงเน้นหนัก
๑.ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์
ครุ = หนัก
ลหุ = เบา
๒.ตําแหน่งของพยางค์ในคํา
คําสองพยางค์ เน้นที่พยางค์ท้าย ยกว้น คําซ้อน เน้นทั้ง ๒ พยางค์ เช่น
กะเกณฑ์ ละเลย ระราน
คําสองพยางค์ขึ้นไป เน้นที่พยางค์ท้าย พยางค์ต้น ๆ เน้นที่ครุ ลหุไม่เน้น เช่น
ยุทธหัตถี
พยางค์“กะ” ในข้อใดลงเสียงหนัก
๑.เขาเหมือนพ่อราวกะแกะ ๒.ครูกะเกณฑ์ให้นักเรียนทํางาน
๓.เสื้อตัวนี้กะดํากะด่าง ๔.ปู่กะย่าไปวัดทุกวันพระ
๓.ชนิดและหน้าที่ของคําในประโยค
คํานาม
คํากริยา เน้น
คําวิเศษณ์ที่ขยายอยู่ข้างหลัง
คําสรรพนาม คําเชื่อม
ไม่เน้น
คําวิเศษณ์ที่ขยายอยู่ข้างหน้า
“รถเมล์ก็เลยเลยป้ายเลย”
จะออกเสียงเน้นหนักที่ “เลย” คําใด
๑.คําที่ ๑ ๒.คําที่ ๒
๓.คําที่ ๓ ๔.คําที่ ๔
“ข้าวเย็นหมด” จะออกเสียงเช่นไร จึงจะสื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการ
๑.ออกเสียงเน้นหนัก
๒.เว้นวรรค
๓.ออกเสียงสั้น-ยาว
๔.ข้อ ๑ และ๒
อิทธิพลของการออกเสียงเน้น ไม่เน้น ที่มีต่อโครงสร้างพยางค์
๑.อิทธิพลต่อเสียงพยัญชนะท้าย เสียงเน้นหนักทําให้พยางค์เปิด แม่ ก กา สระสั้น
เป็น พยางค์ปิด
กะ (คํากริยา) (สมา)ธิ ชําแหละ
๒.อิทธิพลต่อเสียงสระ เสียงเน้นหนักทําให้ออกเสียงสระยาวกว่าพยางค์ที่ไม่ลงเสียง
เน้นหนัก
นํ้า ขันนํ้า ออกเสียง “นํ้า” ยาวกว่า “นํ้า” ในคํา นํ้าตก นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าตาล
๓.อิทธิพลต่อเสียงวรรณยุกต์ พยางค์ที่ไม่ลงเสียงเน้นออกเสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปจาก
รูปเขียน
เขาเป่ าเขาอยู่บนเขา
ข้อใดประกอบด้วยสระที่ออกเสียงสั้นทั้งหมด
๑.ไปเอานํ้าให้กินหน่อยได้ไหม ๒.ท่านแนะนําให้คุณไปขุดร่องมันฝรั่ง
๓.คนกินเหล้าเก้าสิบคนจะเป็นอะไรไหมครับ ๔.เด็กที่เกล้าผมคนนั้นตื่นเช้าจริง ๆ
ข้อใดออกเสียงต่างกับรูปเขียนทุกคํา
๑.ทราย ฉะเชิงเทรา ประปราย ๒.สร้างสรรค์ ทรุดโทรม ประสิทธิภาพ
๓.เพชรพลอย กิโลเมตร เลเซอร์ ๔.ไมโครโฟน ฟิสิกส์ นิวเคลียร์
อวัจนภาษา
๑. เทศภาษา ใช้ลักษณะสถานที่และช่วงระยะห่างของผู้สื่อสารสื่อความหมาย
เช่น หญิงชายนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน
๒.กาลภาษาใช้เวลาณจุดใดจุดหนึ่งและช่วงเวลาสื่อความหมาย
เช่น อดทนรอพบถึง๒–๓ชั่วโมง
๓.เนตรภาษาหรือนัยนภาษา ใช้สายตาดวงตาสื่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด
ความประสงค์และทัศนคติบางประการ
๔.สัมผัสภาษาใช้อาการ สัมผัสสื่อความรู้สึก อารมณ์ ความปรารถนา
เช่น สัมผัสมือแสดงความเป็นมิตร
๕.อาการภาษา ใช้อาการเคลื่อนไหวของศีรษะ แขน ขา ลําตัว เพื่อสื่อสาร
เช่น สั่นศีรษะ การเอางาน รวมถึง ท่ายืน ท่านั่งท่าทรงตัว และการแสดงสีหน้า
บึ้งตึง ยิ้มแย้ม เคร่งเครียด
๖.วัตถุภาษา ใช้วัตถุแสดงความหมาย เช่น เครื่องแต่งตัว เสื้อผ้าและของใช้ใกล้ตัว
๗.ปริภาษา ใช้นํ้าเสียงประกอบถ้อยคําที่พูดออกไปเพื่อสื่อความหมายถ้อยคําเดียวกัน
ถ้าใช้นํ้าเสียงต่างกัน อาจสื่อความหมายต่างกันได้ นํ้าเสียงที่ต่างกันนี้อาจจะเกิด
จากการเน้นเสียงความดัง ระดับความทุ้มแหลม ความเร็ว จังหวะ ความชัดเจน
และคุณภาพของเสียงเช่นแหบพร่า แจ่มใส
ตัวอย่างข้อสอบ
๑. ข้อความต่อไปนี้ ไม่มีอวัจนภาษาประเภทใด
“ฟ้าคืนนี้งามนัก มีดวงดาวระยิบพริบพราว ดุสิดานั่งชันเข่าอยู่ริมระเบียง
แหงนดูดาวด้วยความรู้สึกเหงาๆ ขณะนั้น เธอรู้สึกว่ามีใครเดินมาและเอื้อมมือ
มาลูบศีรษะเบาๆ พ่อนั่นเอง”
๑.อาการภาษา ๒.กาลภาษา
๓. สัมผัสภาษา ๔.ปริภาษา
๒. ข้อความต่อไปนี้ไม่มีอวัจนภาษาประเภทใด
หญิงสาวในชุดสีดํานั่งคุดคู้อย่างหมดอาลัยอยู่ริมหาดทรายเธอร้องไห้จนตัวสั่น
ดวงอาทิตย์กําลังจะลาโลกไปเหมือนชีวิตของเธอที่จะมีแต่ความมืดมิด
๑.วัตถุภาษา กาลภาษา ๒.นัยนภาษา เทศภาษา
๓.อาการภาษาวัตถุภาษา ๔.อาการภาษา กาลภาษา
๓. ข้อความต่อไปนี้ไม่มีการสื่อสารประเภทใด
เธอใช้ปากกาสีแดงขีดเส้นใต้คําว่ารักเธอเสมอหลังภาพถ่ายของสามีและกํา
ภาพนั้นไว้ด้วยมือสั่นระริกดวงตาเหม่อลอยมีนํ้าตาท่วมท้นเขาจากไปโดยไม่ได้สั่งลา
๑.วัจนภาษา ๒.วัตถุภาษา ๓.นัยนภาษา ๔.กาลภาษา
๔.ข้อใดมีคําที่แสดงวัจนภาษา
๑. แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
มัดกํากระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน
๒. นิ่งเงียบสงบงํา บมิทําประการใด
ปรากฏประหนึ่งใน บุรว่างและร้างคน
๓. ปรึกษาหารือกัน ไฉนนั่นก็ทําเนา
จักเรียกชุมนุมเรา บแลเห็นประโยชน์เลย
๔. ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป
หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ
๕. ข้อใดใช้อวัจนภาษา
๑.นาวาเอียงเสียงกุกลุกขึ้นร้อง มันดําล่องนํ้าไปช่างไวเหลือ
๒.ตลิ่งเบื้องบูรพาศาลาลาน เรือขนานจอดโจษกันจอแจ
๓.ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จํารัสเรือง แลชําเลืองเหลียวหลังหลั่งนํ้าตา
๔.พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง
สรุปเข้มเนื้อหาการใช้ภาษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดําเนินสวัสดิ์
นักเรียนจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
๑.ภาษากับเหตุผล การอนุมาน
๒.วิธีคิดกับการแสดงทรรศนะ
๓.การโต้แย้ง
๔.การบรรยาย การพรรณนา การอธิบาย
๕.การโน้มน้าวใจ
๖.การเขียนและการอ่านคําให้ถูกต้อง การเขียนคําทับศัพท์
๗.การใช้คํา
-คําพ้อง:พ้องรูป พ้องเสียง พ้องรูปพ้องเสียง พ้องความหมาย(ไวพจน์)
-คําประสม คําซ้อน คําซํ้า
-คําทับศัพท์
-คําลักษณนาม
๘.การใช้พจนานุกรม การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
๙.การกรอกแบบฟอร์ม
๑๐.การเขียนประกาศ
๑๑.การเขียนรายงานทางวิชาการ
๑๒.การใช้ภาษาในกิจกรรมการประชุม
๑๓.การเขียนเรียงความ:คํานํา สรุป
คําพ้อง
๑.คําพ้องรูป รูปเขียนเหมือนกัน ออกเสียงต่าง ความหมายต่าง
๒.คําพ้องเสียง ออกเสียงเหมือนกันรูปเขียนต่างความหมายต่าง
กาน การ การณ์ กาล กาฬ กานต์ กาญจน์ กานต์
นาด นาถ นาฏ นาท นาศ
มาด มาส มาศ มาตร มาตุ
๓.คําพ้องรูปพ้องเสียง รูปเขียนเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน ความหมายต่าง
กา กัน ขัด ขัน ฉัน นาก นาค บรรณ แปรก
๔.คําพ้องความหมาย (ไวพจน์) ความหมายเหมือนกัน รูปเขียนต่างกัน ออกเสียง
ต่างกัน
ช้าง สาร กรี กริน หัตถี หัสดิน คช คชินทร์ คเชนทร์ นาค พารณ กุณชร ไอยรา
ปฺรัก = เงิน 
ปะ-หรัก = หักพัง 
ปรัก
เส-มา =ใบเสมา,เครื่องหมายบอกเขต 
สะ-เหมา =หญ้า 
เสมา
เพ-ลา =เวลา 
เพฺลา=อ่อน,ตัก,เพลารถ 
เพลา
แหฺน=จอกแหน 
แหน=แห่แหน ห่วงแหน 
แหน
คําทับศัพท์
คําทับศัพท์ภาษาตระกูลยุโรปโดยเฉพาะภาษาอังกฤษมีวิธีเขียนทับศัพท์ของ
ราชบัณฑิตยสถานเป็นหลัก ดังนี้
๑.คําที่ใช้กันมานานจนใช้รูปวรรณยุกต์กํากับอย่างคําไทยเช่น แก๊ส เชิ้ต โน้ต
๒.คําที่พ้องกับคําไทยถ้าไม่ใช้รูปวรรณยุกต์กํากับแล้ว อาจทําให้เข้าใจความหมาย
ผิดไปได้ เช่น โคม่า เซรุ่ม ปลั๊ก โค้ก
คําทับศัพท์นอกเหนือจากนี้ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์กํากับ
การ์ตูน กราฟ เกม เกีย เกียร์ กงสุล แกรไฟต์ เกาต์ แกรนิต คอนเสิร์ต
คอนกรีต คอนแวนต์ ค็อกเทล คอมพิวเตอร์ โควตา คอมมิวนิสต์ คลัตช์
โคบอลต์ แคปซูล เคาน์เตอร์ คริสต์มาส แค็ตตาล็อก คลินิก คลอรีน
แคลเซียม ซิลิคอน เซลล์ ไซโคลน ไซเรน ไซโล เซลเซียส ซีไรต์ ช็อก
ดอลลาร์ ดีเปรสชัน ดีเซล ไดนาไมต์ เต็นท์ ดอกเตอร์ โน้ต ไนต์คลับ
ไนลอน นีออน นิวยอร์ก ปาร์เกต์ ปิกนิก โปสต์การ์ด ปริซึม พล็อต
พลาสติก พาราฟิน เบรก บาร์เรล แบคทีเรีย เบนซิน เลเซอร์ เลนส์
ลิปสติก ลิฟต์ ลินิน สวิตช์ สปาเกตตี สปอร์ สปริง สเต๊ก สตู เสิร์ฟ
แอลฟา โอลิมปิกเกมส์ อิเล็กทรอนิกส์ โอ๊ต ไอโอดีน โอเอซิส อินฟราเรด
อิเล็กโทน เซ็น(ชื่อ) เปอร์เซ็นต์ เซนต์โยเซฟ แท็งก์ ซีไรต์ รีสอร์ต แฟลต
มอเตอร์ ไมครอน เมตริก มอเตอร์ไซค์ ช็อก ชิมแปนซี เช็ค ซิลิคอน
โซเดียม เซลลูโลส ทังสเตน เทคนิค เทคโนโลยี โอเอซิส อิเล็กตรอน
ฟาร์ม ฟิล์ม
การใช้พจนานุกรม
จากคําอธิบายศัพท์ในพจนานุกรมต่อไปนี้ คําว่า “ชุ่มใจ”จัดอยู่ในข้อใด
ชุ่ม ก.มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบหรือเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
ชุ่มใจ, ชุ่มอกชุ่มใจก.อิ่มเอิบใจ.
๑. ตัวอย่างการใช้คํา ๒.ความหมายของคํา
๓.คําที่ใช้เฉพาะแห่ง ๔.ลูกคํา
ลูกคํา น.เรียกคํา๒คําเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่างไปจากคําเดิมว่า
ลูกคําของคําตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคําของคําตั้ง ลูก.
คําที่ใช้เฉพาะแห่ง คําย่อในวงเล็บหน้าบทนิยาม เช่น
(กฎ) คือ คําที่ใช้ในกฎหมาย
(กลอน) คือ คําที่ใช้ในบทร้อยกรอง
เว้า๑(ถิ่น–อีสาน) ก.พูด เว้าวอน ก. วิงวอนออดอ้อน.
วาฬ๑,วาฬ- [วาน,วาละ-]น.พาฬ.(ป.;ส.วฺยาล)
วาฬมิคน.พาฬมฤค,สัตว์ร้าย.(ป.)
ข้อใดมีลูกคํา
ก.กําปั่น กําปั้น กําตัด ข.คําใต้ คํานวณ คํานับ
ค.จําปา จํานอง จํากัด ง.ทํานบ ทําไม ทําเล
ไพร่ [ไพฺร่](โบ) น.ชาวเมือง,พลเมืองสามัญ;คนเลว.ว.สามัญ.
ไพร่พล น.กําลังทหาร,กําลังคน.
๑.(โบ) ๑.ชนิดของคําตามหลักไวยากรณ์
๒.พลเมืองสามัญ ๒.ลูกคํา
๓.ไพร่พล ๓.ตัวอย่างการใช้คํา
๔.ว. ๔.ประวัติของคํา
๕.ความหมาย
๖.คําอ่าน
๗.ลักษณะของคําที่ใช้เฉพาะแห่ง
จากคําอธิบายศัพท์ในพจนานุกรมต่อไปนี้ข้อใดไม่ปรากฏ
เดิม ว.แรก เช่น แต่เดิม,เก่า เช่น บ้านเดิม,
ก่อน เช่นเหมือนเดิม.(ข.เฎิมว่าต้น)
เดิมทีว.แต่แรกเริ่ม.
ก.ชนิดของคํา ข.ตัวอย่างคํา
ค.ที่มาของคํา ง.เสียงอ่าน
ข้อความต่อไปนี้ปรากฏที่ใด
ขลา [ขฺลา] น. เสือ.(ราชบัณฑิตยสถาน 2546:168)
ก. ดัชนี ข. พจนานุกรม
ค. บรรณานุกรม ง. บทความวิชาการ
ข้อใดใช้เครื่องหมายไม่ถูกต้อง
ก.คัมภีรภาพ [คําพีระพาบ]ความลึกซึ้ง
ข.“ไวตาแลค”ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมและวิตามินดีสําหรับเด็ก
ค.ผู้สนใจส่งใบสั่งซื้อสินค้ามาได้ที่ตู้ปณ.๑๕๕๕จตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
ง.เปิดสอนหลักสูตรธุรกิจความงามสนใจสมัครเรียนได้ทุกวัน
โทรฯ๐๒-๙๒๒๕๕๕
ชื่อต่อไปนี้ควรเรียงลําดับตามพจนานุกรมอย่างไร
ก.ปริพนธ์ ปนัดดา ปริศนา ปิลันธน์ ปวีณ
ข.ปริศนา ปนัดดา ปริพนธ์ ปิลันธน์ ปวีณ
ค.ปนัดดา ปริพนธ์ ปริศนา ปวีณ ปิลันธน์
ง.ปิลันธน์ ปวีณ ปนัดดา ปริพนธ์ ปริศนา
เครื่องหมายต่อไปนี้มีชื่อที่ถูกต้องอย่างไร(เรียงตามลําดับ)
1.____(ขีดเส้นใต้) 2. (แทนคําในบรรทัดข้างบน)
3.– (แยกคํา) 4.ฯลฯ
ก.อัฒภาค อัญประกาศ ยัติภังค์ ละ
ข.มหรรถสัญญา มหภาค เสมอภาค ละ
ค.อัญประกาศ นขลิขิต อัฒภาค ไปยาลใหญ่
ง.สัญประกาศ บุพสัญญา ยัติภังค์ ไปยาลใหญ่
”
ใช้ข้อความในพจนานุกรมต่อไปนี้ตอบคําถามข้อต่อไปนี้
จวัก [จะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วย กะลามะพร้าว
มีด้ามถือ,กระจ่า จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า.
จอ ๑น. ชื่อปีที่๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย.
จอ ๒ น.ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์ เป็นต้น;
โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
จ่อ ๑ ก.เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่นเช่น เอายาดมจ่อ
จมูก;มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมักใช้เข้าคู่กับคํา จด เป็น จดจ่อ
เช่น เขามีใจจดจ่อกับงาน.จ่อคิว (ปาก) ว. ใกล้ถึงลําดับที่จะได้หรือ
จะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้นเป็นหัวหน้า.
จ่อ ๒.(ถิ่น–อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่าง กระด้ง มีไส้
สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม.
มีคําที่เป็นคําตั้งหรือแม่คํากี่คํา
ก. ๓ คํา ข. ๔ คํา
ค. ๕ คํา ง. ๖ คํา
มีคําที่ระบุว่าใช้เฉพาะแห่งกี่คํา
ก. ๑ คํา ข. ๒ คํา
ค. ๓ คํา ง. ๔ คํา
การเขียนเรียงความ
๑. คํานําเกริ่นเข้าสู่เรื่อง ๑ ย่อหน้า
๒.เนื้อเรื่อง เนื้อหาของเรื่อง มีได้หลายย่อหน้า
๓.สรุป ขมวดปมสําคัญเพื่อปิดเรื่อง ๑ย่อหน้า
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อความต่อไปนี้เป็นส่วนใดของเรียงความไม่ได้
ธงของไทยสมัยโบราณอย่างหนึ่งมีพื้นสีแดงใจกลางของแผ่นธงเป็นรูปหนุมาน
เรียกว่ากบี่ธุชกับอีกอย่างหนึ่งเป็นรูปครุฑแดงพื้นเหลืองเรียกกันว่า“พระครุฑพ่าห์”
อันหมายถึงครุฑที่เป็นพาหนะ
ก. คํานํา ข. เนื้อเรื่อง
ค. ส่วนขยายเนื้อเรื่อง ง. สรุป
ข้อความต่อไปนี้เหมาะจะเป็นส่วนใดของเรียงความเรื่อง“อุดมการณ์ของชาวจีนใน
เมืองไทย”
ในบรรดากลุ่มชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองไทยดังกล่าว ชาวจีน
แต้จิ๋วนับเป็นกลุ่มที่มีจํานวนมากที่สุด รองลงมาเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน รองลงมาอีกคือ
ชาวจีนไหหลําและชาวจีนกวางตุ้ง ส่วนชาวจีนแคะนั้นมีจํานวนน้อยที่สุด
ก. ส่วนนําเรื่อง ข. ประเด็นสําคัญของเรื่อง
ค. ส่วนขยายความ ง. ส่วนสรุปเรื่อง
ข้อความต่อไปนี้ไม่ควรเป็นส่วนใดของเรียงความ
ประเพณีวิ่งควายซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวชลบุรีก็จะอยู่คู่จังหวัดชลบุรีไป
อีกนานเท่านาน
ก. ส่วนนําเรื่อง ข.ส่วนเนื้อเรื่อง
ค.ส่วนขยายเนื้อเรื่อง ง.ส่วนปิดเรื่อง
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
ขั้นตอนการเขียนรายงานเชิงวิชาการ มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. เลือกหัวข้อเรื่อง ควรเลือกเรื่องที่ผู้ทํารายงานสนใจมากที่สุด และเป็นเรื่องที่
ค้นคว้าได้สะดวก
2. กําหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง ผู้ทํารายงานต้องรู้ทิศทางว่าตน
จะทํารายงานเรื่องอะไร เพื่ออะไร และลึกซึ้งกว้างขวางเพียงใด
3. ค้นคว้าและรวบรวมความรู้ ด้วยการฟัง การอ่าน และการหา
ประสบการณ์ตรงดังกล่าวข้างต้น
4. การวางโครงเรื่อง คือ การแยกหัวข้อเรื่องออกเป็นหัวข้อย่อยๆ เมื่อเติม
รายละเอียดแล้ว จะได้รายงานทั้งเรื่อง การวางโครงเรื่องมีประโยชน์คือ ทําให้
ทราบว่าจะเขียนเรื่องอะไร เขียนไปทางใด สั้นยาวขนาดไหน เรียงลําดับเรื่องได้ถูก
ไม่สับสนและสําคัญที่สุดคือ ทําให้ไม่เขียนออกนอกเรื่อง
การวางโครงเรื่องควรทํา 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ร่างโครงเรื่อง ให้เขียนหัวข้อต่างๆ ลงไปโดยยังไม่ต้องเรียงลําดับเรื่อง
ขั้นที่ 2 กําหนดโครงเรื่อง มีขั้นตอนดังนี้
- พิจารณาจัดเรียงลําดับหัวข้อเรื่องก่อนหลัง
- จัดความสัมพันธ์ของเรื่องให้ดี
- แก้ไขภาษาให้ถูกต้อง
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ในการเขียนรายงานทางวิชาการ เมื่อได้ข้อมูลและร่างโครงเรื่องแล้ว ควรทําอย่างไร
ต่อไปตามลําดับ
1. แก้ไขภาษา พิจารณาความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อ และเรียงลําดับหัวข้อที่ควร
อธิบายก่อนหลัง
2. เรียงลําดับหัวข้อที่ควรอธิบายก่อนหลัง พิจารณาความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อและ
แก้ไขภาษา
3. เรียงลําดับหัวข้อที่ควรอธิบายก่อนหลัง แก้ไขภาษา และพิจารณาความสัมพันธ์ของ
แต่ละหัวข้อ
4. พิจารณาความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อ แก้ไขภาษาและเรียงลําดับหัวข้อที่ควรอธิบาย
ก่อนหลัง
2. ที่ยกมาข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของอะไร
1. ความนํา
2. ลักษณะและชนิดของนกนางนวล
2.1 ลักษณะทั่วไป
2.2 ชนิดต่างๆ ของนกนางนวล
3. ชีวิตความเป็นอยู่ของนกนางนวล
3.1 นกนางนวลกินอะไร
3.2 การขยายพันธุ์
3.2.1 การสร้างรัง
3.2.2 การเลี้ยงลูก
3.2.3 ศัตรูของนกนางนวล
4. สรุป
1. การเขียนภาคผนวก 2. การวางโครงเรื่อง
3. การเขียนสารบัญ 4. การรวบรวมข้อมูล
3. จากข้อ 2 ควรแก้ไขภาษาในข้อใด
1. นกนางนวลกินอะไร 2. การขยายพันธุ์
3. ศัตรูของนกนางนวล 4. ชนิดต่างๆ ของนกนางนวล
4. จากข้อ 2 ข้อใดควรวางเรียงลําดับใหม่
1. นกนางนวลกินอะไร 2. การขยายพันธุ์
3. ศัตรูของนกนางนวล 4. ชนิดต่างๆ ของนกนางนวล
ลักษณะภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ
1. ใช้ภาษาระดับทางการ คือ กระชับ ชัดเจน และสุภาพ
2. ใช้สํานวนภาษาสามัญ ไม่ใช้สํานวนการประพันธ์
3. ใช้การบรรยาย คือ บรรยายเสนอข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามาได้ ไม่ใช้การ
พรรณนาที่มุ่งให้ภาพให้อารมณ์
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ข้อใดใช้ภาษาในงานเขียนรายงานทางวิชาการได้เหมาะสมที่สุด
1. ตึกระฟ้าทั้งหลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นมิให้ลมพัดเข้าสู่ตัวเมือง
2. ถ้ายังมีฝุ่นและควันมากเช่นนี้ กรุงเทพฯ ก็คงมิใช่เมืองฟ้าอมรอีกต่อไป
3. ฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้างและควันจากโรงงานลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ
4. สิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นตัวการสําคัญที่สกัดกั้นไม่ให้ฝุ่นละอองกระจายไปในมุมกว้าง
2. ข้อใดใช้ภาษาไม่เหมาะสมในการเขียนรายงาน
1. ปรอทวัดไข้ที่นิยมใช้กันนั้นทําด้วยหลอดแก้วขนาดเล็ก
2. ปรอทวัดไข้เป็นเทอร์โมมิเตอร์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย
3. ถ้าคุณเป็นไข้ระดับปรอทในหลอดแก้วเล็กๆ จะค่อยๆ สูงขึ้นทีละนิด
4. การใช้หลังมือแตะหน้าผากย่อมไม่อาจบอกได้แน่นอนว่าผู้ป่วยมีไข้หรือไม่
* ข้อ 3 ใช้ภาษาระดับสนทนา จึงไม่เหมาะสมในการเขียนรายงาน
ศัพท์ที่ใช้เรียกเรื่องที่ประชุม
1. การประชุมของคณะกรรมการซึ่งมีการประชุมต่อเนื่อง เรื่องที่ประชุม
เรียกว่า “ระเบียบวาระ” หรือ “วาระ” เลขานุการเป็นผู้จัดระเบียบวาระตามความ
เห็นชอบของประธาน
วาระการประชุมจะเรียงลําดับดังนี้
วาระที่ 1 การรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
วาระที่ 2 การพิจารณาเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
วาระที่ 3 การพิจารณาเรื่องใหม่
2. การประชุมเฉพาะกลุ่มที่ประชุมเป็นครั้งคราว เช่น การประชุมปฏิบัติการ
การสัมมนา มีเรื่องสําคัญที่ประชุมกันเพียงเรื่องเดียว จึงไม่ต้องจัดเป็นระเบียบวาระ
แต่จะจัดเป็น “กําหนดการประชุม” แทน กําหนดการประชุมที่จัดเต็มรูปแบบ จะเริ่ม
ด้วยการลงทะเบียน พิธีเปิด การบรรยายและหรือการอภิปรายเป็นคณะ แยกประชุม
กลุ่มย่อย ประชุมรวมเพื่อฟังรายงานการประชุมกลุ่มย่อย เปิดคาบเวลาอภิปรายทั่วไป
พิธีปิดการประชุม
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ในตราสารประชุมจัดตั้งบริษัทกล่าวว่าการประชุมใหญ่จะดําเนินการได้ก็ต่อเมื่อ
กรรมการ จํานวนไม่น้อยกว่า 10 คน เข้าประชุม ในการประชุมครั้งหนึ่งกรรมการ
จําเป็นต้องออกจากที่ ประชุมจึงเหลือผู้เข้าประชุม 9 คน การประชุมครั้งนั้นต้องยุติ
เพราะเหตุใด
1. ไม่เป็นไปตามกําหนดการประชุม 2. ผิดระเบียบวาระการประชุม
3. ไม่ครบองค์ประชุม 4. ยังลงมติไม่ได้
2. คําพูดของประธานในที่ประชุมต่อไปนี้ ควรเรียงลําดับตามข้อใดจึงถูกต้องตามระเบียบ
วาระการประชุม
ก. “กรรมการท่านใดจะขอแก้ไขรายงานการประชุมนี้ เชิญได้ครับ”
ข. “ประธานฝ่ายจัดรายได้ได้แจ้งมายังผมว่าป่วย จึงขอลาประชุมในวันนี้”
ค. “ขอให้ประธานคณะกรรมการแต่ละฝ่ายรายงานความก้าวหน้าการเตรียมงานวัน
สุนทรภู่”
ง. “วาระต่อไปนี้เป็นการพิจารณาเสนอผู้แทนนักเรียนไปร่วมแข่งขันกลอนสดกับ
โรงเรียนประจําจังหวัด”
1. ข ค ง ก 2. ค ก ง ข 3. ก ข ค ง 4. ข ก ค ง
* ข้อ ข เป็นเรื่องแจ้งให้ทราบ อยู่ก่อนข้อ ก ที่เป็นวาระที่ 1 คือรับรองรายงานการประชุม
ครั้งที่แล้ว
ข้อ ค เป็นวาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่อง และข้อ ง เป็นวาระที่ 3 เรื่องพิจารณาใหม่
3. ข้อใดควรเป็นวาระที่ 1 ในการประชุมกิจกรรมนักเรียน ครั้งที่ 3/2549 ของ
คณะกรรมการนักเรียน
1. ประธานกล่าวเปิดประชุมและดําเนินการประชุม
2. ประธานขอให้คณะกรรมการนักเรียนพิจารณาเรื่องสืบเนื่อง
3. ประธานเสนอให้ที่ประชุมพิจารณารายงานการประชุมครั้งที่ 2/2549
4. ประธานขอให้คณะกรรมการนักเรียนพิจารณากําหนดวัน เวลา และรายการในการจัด
งานวัน กีฬาประจําปี
ศัพท์ที่ใช้เรียกวิธีการสื่อสารในการประชุม
เสนอ ใช้เมื่อผู้เข้าประชุมต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องใดก็ “เสนอ” เรื่อง
นั้นให้ที่ประชุมพิจารณา โดยกล่าวเป็นประโยคบอกเล่าธรรมดาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
เรื่องที่เสนอให้พิจารณา เรียกว่า “ข้อเสนอ” หรือ “ญัตติ”
การอภิปราย คือ การแสดงความคิดเห็นสนับสนุนข้อเสนอ หรือ คัดค้าน
ข้อเสนอ หรือ ตั้งข้อสังเกต หรือ ขอแก้ไขบางประเด็น
ผ่าน ใช้เมื่อที่ประชุมยอมรับข้อเสนอหรือญัตติ ข้อเสนอหรือญัตตินั้นก็ “ผ่าน”
ตก ใช้เมื่อที่ประชุมไม่ยอมรับข้อเสนอหรือญัตติ ข้อเสนอหรือญัตตินั้นก็ “ตก”
ขอมติ ใช้เมื่อประธานจําเป็นต้องหาข้อยุติจากที่ประชุม ก็จะ “ขอมติ” จากที่
ประชุม
มติของที่ประชุม เป็นข้อตัดสินใจของที่ประชุมเพื่อให้นําไปปฏิบัติ ถ้าผู้เข้า
ประชุมทุกคนเห็นพ้องต้องกันก็เป็น “มติโดยเอกฉันท์” ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อ
ตัดสินใจนั้นก็เป็น “มติโดยเสียงข้างมาก”
ตัวอย่างข้อสอบ
1. คําในข้อใดแทนที่ข้อความที่เป็นตัวหนาได้อย่างมีลําดับถูกต้อง
“ในการประชุมเมื่อวานนี้ ได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ ายที่
เห็นชอบกับข้อเสนอและฝ่ ายที่โต้แย้ง”
1. ถกเถียง เห็นด้วย คัดค้าน 2. ถกเถียง สนับสนุน คัดค้าน
3. อภิปราย เห็นด้วย คัดค้าน 4. อภิปราย สนับสนุน คัดค้าน
การใช้ภาษาในการประชุม
1.การใช้ภาษาของประธานในที่ประชุม
ภาษาที่ประธานใช้จะขึ้นอยู่กับระดับของการประชุม ถ้าเป็นการ
ประชุมปรึกษาอย่างกันเองก็ใช้ถ้อยคําแสดงความเป็นกันเองได้ แต่ถ้าเป็นการประชุม
ตามระเบียบแบบแผนก็ต้องใช้ภาษาทางการ เช่น กล่าวเปิดประชุมว่า “บัดนี้ท่าน
กรรมการได้มาประชุมครบองค์ประชุมแล้ว ผมขอเปิดประชุม” กล่าวขอมติจากที่
ประชุมว่า “สมาชิกผู้ใดเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว โปรดยกมือขึ้น”
2. ประธานกล่าวต่อที่ประชุมว่า “การประชุมครั้งนี้จะพิจารณาตามเรื่องที่เสนอที่ประชุม
ถ้ามีผู้ เข้าประชุมเห็นพ้องต้องกันทุกคน หรือมีผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วย ที่ประชุม
นี้จะได้ดําเนินการ ต่อไป”
1. ระเบียบวาระ มติโดยเอกฉันท์ มติโดยเสียงข้างมาก
2. ญัตติ มติโดยเสียงข้างมาก มติโดยเอกฉันท์
3. ระเบียบวาระ มติโดยเสียงข้างมาก มติโดยเอกฉันท์
4. ญัตติ มติโดยเอกฉันท์ มติโดยเสียงข้างมาก
ข้อสังเกต
1. ประธานที่ดีในการประชุมควรปฏิบัติตนตามสํานวน “ชักแม่นํ้าทั้งห้า” คือ พูด
โน้ม- น้าวใจชวนให้ผู้เข้าประชุมแสดงความคิดเห็นเพื่อนําไปสู่การลงมติ
2. เมื่อมีความขัดแย้งกันในที่ประชุม ประธานต้องวางตัวเป็นกลางและพูดสมาน
ไมตรีเพื่อให้ที่ประชุมดําเนินการประชุมต่อไปจนลงมติกันได้ในที่สุด
3. ประธานไม่ควรออกเสียงลงมติ ยกเว้นแต่ในกรณีที่มีเสียงเท่ากัน จึงออกเสียง
ลงมติ
ตัวอย่างข้อสอบ
ในการประชุมคณาจารย์ของโรงเรียน ผู้อํานวยการซึ่งเป็นประธานที่ประชุม
สังเกตว่าสมาชิกบางคนไม่ร่วมมือแสดงความคิดเห็น ทั้งยังแสดงทีท่าเบื่อหน่ายเมื่อการ
ประชุมเริ่มจะเนิ่นช้า ข้อใดน่าจะเลือกใช้เพื่อแก้ภาวการณ์ดังกล่าว
1. ท่านอาจารย์ครับ ผมเชื่อว่าทุกท่านที่นี่ต่างตระหนักว่า การร่วมระดมความเห็นกันใน
ที่ประชุมยังคงเป็นวิธีที่เหมาะสมและเป็นมารยาทสําหรับทุกคนใช่ไหมครับที่จะต้อง
แสดงสปิริตบ้าง
2. ท่านอาจารย์ครับ ผมก็คงเช่นเดียวกับทุกท่าน ที่พอการประชุมชักจะยืดเยื้อเราก็เริ่ม
เบื่อหน่าย แต่ทบทวนนิดนะครับ เราต่างกับเด็กก็ตรงนี้ ตรงที่เราอดทนและรู้เหมาะรู้
ควร ใช่ไหมครับ
3. ทุกท่านคงทราบดีว่า การอภิปรายถกเถียงไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเราเห็นแย้งกัน
อย่างสร้างสรรค์ เสียดายแต่หลายท่านที่ยังไม่ให้โอกาสเราได้รับทราบความคิดเห็น
อาจารย์......ว่าอย่างไรครับ
4. การโต้เถียงเป็นครรลองของเหตุผล เป็นหนทางของผู้มีปัญญา ท่านอาจารย์ครับ
ช่วยๆ กันออกความเห็นหน่อยเถอะครับ
2. การใช้ภาษาของผู้เข้าประชุม
ถ้าเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ก็ใช้ภาษาระดับสนทนาได้โดยระวัง
คําพูดให้ชัดเจนและไม่ว่าจะเป็นการประชุมระดับใด ในการแสดงความคิดเห็นก็ควร
กล่าวนําเสียก่อน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว และถ้าฟังไม่ทัน ก็ควรขอให้กล่าวทวน
อย่างสุภาพ เมื่อพูดอภิปรายยาว ก็ควรกล่าวสรุปตอนท้ายให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย
คําที่ควรใช้เสมอเพื่อแสดงความสุภาพ และไม่ยกตนข่มท่าน คือ คําว่า “ขอ”
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดในการประชุม
1. ดิฉันขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
2. ดิฉันอยากทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
3. ดิฉันประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
4. ดิฉันต้องการทราบข้อเท็จเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
2. เมื่อสมาชิกต้องการเสนอความเห็นในที่ประชุมเพื่อคัดค้านข้อเสนอของรัฐมนตรี เขา
ต้องพูดขึ้นต้นตามข้อใด
1. ท่านรัฐมนตรีที่เคารพ 2. ท่านประธานที่เคารพ
3. ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ 4. ท่านสมาชิกที่เคารพ
สรุปเข้มเนื้อหาวรรณคดีวรรณกรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดําเนินสวัสดิ์
นักเรียนจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
๑.คําประพันธ์หรือบทร้อยกรอง : โคลง ร่าย ฉันท์ กาพย์ กลอน
๒.องค์ประกอบของงานประพันธ์ : รูปแบบ เนื้อหา
๓.คุณค่าของงานประพันธ์
คุณค่าทางสังคม
คุณค่าทางวรรณศิลป์
๔.แนวคิดค่านิยมในงานประพันธ์
๕.ศิลปะการประพันธ์ : การซํ้าคํา การเล่นคํา การหลากคํา(ไวพจน์) อัพภาส
การเล่นเสียงสัมผัส การเล่นเสียงวรรณยุกต์ สัทพจน์
๖.โวหารภาพพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ บุคคลวัต นามนัย สัญลักษณ์ สัทพจน์
ปฏิพากย์ อติพจน์ อวพจน์
๗.จินตภาพเหมือนหรือต่าง
๘.ลักษณะการพูด
๙.นํ้าเสียง
บทร้อยกรอง
บังคับร่วม บังคับเฉพาะ
๑. โคลง คําเอก,คําโท
สัมผัส ๒.ร่าย สัมผัสคล้องจองกันทุกวรรค
คณะ ๓.ฉันท์ ครุ,ลหุ
๔.กาพย์ -
๕.กลอน เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค
โคลง
สุภาพ ดั้น
สอง สาม สี่ สอง สาม สี่
จํานวนวรรคที่มี ๕ คํา จํานวนวรรคที่มี ๕ คํา
(วรรคสุดท้ายมี ๔ คํา) (วรรคสุดท้ายมี ๒ คํา)
โคลงสองสุภาพ
โคลงสามสุภาพ
โคลงสี่สุภาพ
O O O O O O O O O O
O O O O (O O)
O O O O O
O O O O (O O)O O O O O
O O O O O O O (O O)
O O O O O
O O O O O (O O)
O O O O O O O
คําเอก
คําเอก คือ คําที่มี กํากับ
คําตาย ใช้ในตําแหน่งของคําเอกได้
เอกโทษ คือ คําเอกที่เขียนผิด
หิ่งห้อยส่องกั้นซู่ แสงจันทร์
คําโท
คําโทคือ คําที่ใช้ กํากับ
โทโทษ คือ คําโทที่เขียนผิด
ปวงประนมนบเกล้า งามเสงี่ยมเฟี้ยมเฝ้า
อยู่ถ้าทูลสนอง
คําสุภาพ
คําที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ
คําสร้อย
มี๒คําใช้ในกรณีที่ถ้อยคําในบทยังไม่จบกระแสความหรือเพื่อยํ้าเน้นให้เกิด
อารมณ์คําที่นิยมใช้เป็นคําสร้อยได้แก่แฮเฮยฮานานอแลแลนาฤๅไสร้ไซร้พ่อแม่
พี่เอยบารนี
ร่าย
ร่ายโบราณ ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายยาว
จบบท
เมื่อใดก็ได้
จบบทด้วย
โคลงสอง
สุภาพ
จบบทด้วย
โคลงดั้น
มีวรรคละ ๕
คําขึ้นไปถึง
สิบกว่าคํา
มีวรรคละ ๕ คํา
ลิลิต ร่าย + โคลง
สุภาพ
ดั้น
(ร่ายสุภาพ + โคลงสุภาพ)
(ร่ายดั้น + โคลงดั้น)
ลิลิต
=
=
=
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
ฉันท์
จากอินเดีย ไทยประดิษฐ์เอง
ฉันท์ ๘
ฉันท์ ๑๑
ฉันท์ ๑๒
ฉันท์ ๑๔
ฉันท์ ๑๙
ฉันท์ ๒๐
เปษณนาทฉันท์
สยามมณีฉันท์
O O O O
O O O O O O O O
O O O O O O O O
O O O O O O O O
กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
มาณวกฉันท์ ๘
O O O O
O O O O O O O O
O O O O O O O O
O O O O O O O O
= ครุล้วน
= ลหุสอดไส้ครุ
จิตรปทาฉันท์ ๘
กาพย์ยานี๑๑
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
O O O O O O O O O O O
O O O O O O O O O O O
ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
กาพย์ฉบัง๑๖
สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
ขอน้อมคุณพระคเณศวิเศษศิลปธร เวทางคบวร กวี
อีทิสังฉันท์๒๐
O O O O O O O O O O
O O O O O O
O O O O O O O O O O
O O O O O O
กลอน
กลอนหลัก กลอนประสม
กลอนหลัก
กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า
กลอนประสม
กลอนเพลง กลอนขับร้อง
กลอนเพลงยาว
กลอนนิราศ
กลอนนิทาน
กลอนบทละคร
กลอนเสภา
กลอนสักวา
กลอนดอกสร้อย
แผนผังกลอนสุภาพ
เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค
๑. วรรคสดับ หรือ วรรคสลับ นิยมเสียงจัตวา ไม่นิยมเสียงสามัญ
๒. วรรครับ นิยมเสียงจัตวา ไม่นิยมเสียงตรี ห้ามเสียงสามัญ
๓. วรรครอง นิยมเสียงสามัญ ห้ามเสียงจัตวา เลี่ยงเสียงวรรณยุกต์กับวรรครับ
๔. วรรคส่ง นิยมเสียงสามัญ หรือ เสียงตรี ห้ามเสียงจัตวา ไม่ควรเป็นเสียง
เดียวกับวรรครับและรอง ไม่นิยมคําตาย ไม่ใช้คําที่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ ยกเว้นใช้
ไม้โทให้เป็นเสียงตรี เช่น นํ้า ค้าง
คําที่ขีดเส้นใต้คําใดที่ผิดฉันทลักษณ์
ก. ไม่อยากให้ใครยํ้าคําสงสาร ข. เพื่อประจานใครใครว่าไร้ศักดิ์
ค. เวทนาค่าคนของตนหนัก ง. ซึ้งประจักษ์คําหยันหวั่นใจแล้ว
O O O , O O , O O O
O O O , O O , O O OO O O , O O , O O O
O O O , O O , O O O
วรรคสดับ วรรครับ
วรรครอง วรรคส่ง
= บาทเอก
= บาทโท
จินตภาพเหมือนหรือต่าง
การตอบข้อสอบที่ถามเรื่องจินตภาพเหมือนหรือต่าง ให้พิจารณาตอบ ดังนี้
1. จินตภาพทางภาพหรือทางเสียง
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ข้อใดให้จินตภาพแตกต่างกับข้ออื่น
1. ดูผกผันเพียงจะเลื้อยออกโลดแล่น 2. เห็นคล้ายคล้ายปลาว่ายเฉวียนฉวัด
3. กระทุงทองล่องเลื่อนค่อยเคลื่อนคลา 4. ร้องกรีดเกรียดเกรียวแซ่ดังแตรสังข์
2. ข้อใดสื่อภาพและเสียงได้เด่นชัดที่สุด
1. กูบกระโดกโยกอย่างทุกย่างเดิน เขยื้อนเยินยอบยวบยะยวบกาย
2. เงื้อมตลิ่งงิ้วงามตระหง่านยอด ระกะกอดเกะกะกิ่งไสว
3. ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก กลักพริกพลิกแพลงตะแคงหงาย
4. ทั้งจากที่จากคลองเป็นสองข้อ ยังจากกอนั้นก็ขึ้นในคลองขวาง
2. จินตภาพทางภาพเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหว ข้อสอบอาจจะใช้“นาฏการ”
แทน “การเคลื่อนไหว”
3. จินตภาพทางภาพที่มีแสงมีสี
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดมีนาฏการในข้อความที่พรรณนา
( ก ) กินนรฟ้อนรําร่ายบิน กระหนกนาคิน
ทุกเกล็ดก็เก็จสุรกานต์
( ข ) งามเทวธวัชชัชวาล โบกในคัคนานต์
แอร่มอร่ามงามตา
( ค ) พรั่งพร้อมทวยเทวเสนา ห้อมแห่แหนหน้า
และหลังสะพรั่งพร้อมมวล
( ง ) จามรีเฉิดฉายปลายทวน หอกดาบปลาบยวน
ยั่วตาพินิศพิศวง
1. ข้อ ก และ ข 2. ข้อ ค และ ง 3. ข้อ ก และ ค 4. ข้อ ข และ ง
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ข้อใดไม่ปรากฏในคําประพันธ์ต่อไปนี้
ฝนเป็นสายปรายโปรยเมื่อใกล้คํ่า ฟ้ารํ่าคํารนอยู่เลื่อนลั่น
แปลบประกายปลายคุ้งทุ่งสุพรรณ ลมกระชั้นกระโชกกระชากแรง
1. สี 2. แสง 3. เสียง 4. การเคลื่อนไหว
4. จินตภาพที่แสดงเวลาต่างกัน
2. คําที่ขีดเส้นใต้ข้อใดที่ให้จินตภาพด้อยที่สุด
1. มะลิวัลย์พันพุ่มคัดค้าว ระดูดอกออกขาวทั้งราวป่า
บ้างเลื้อยเลี้ยวเกี่ยวกิ่งเหมือนชิงช้า ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว
2. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียนํ้า แพนดอกฉํ่าช้อยช่อวรวิจิตร
งามดั่งเปลวเพลิงป่ ามานิรมิต สร้อยโสภิตอภิรุมพุ่มหัวใจ
3. ลดาดินติณชาติหลับใหล ตื่นขึ้นไหวไหวในลมหนาว
หยาดย้อยพลอยนํ้าค้างแวววาว ราวท้าแก้วแหวนทั้งแดนดิน
4. ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง
แล้วใบไม้ก็ไหวส่ายขึงข่ายกรอง ทอแสงทองประทับซับนํ้าค้าง
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดให้จินตภาพต่างจากข้ออื่น
1. พื้นนภางค์เผือดดาว แสงเงินขาวจับฟ้า แสงทองจ้าจับเมฆ
2. ดาวเดือนจะเลื่อนลับ แสงทองพยับโพยมหน
3. พอพระสุริยงเธอเยื้องรถบทจร เย็นยอแสงสั่งทวีป
4. แสงทองระรองรุ่ง รวิปรุงชโลมสรรพ์
5. จินตภาพที่ให้อารมณ์ทางบวกหรือทางลบ
ตัวอย่างข้อสอบ
1. ข้อใดให้จินตภาพแตกต่างกับข้ออื่น
1. เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
2. บ่างก่งคอคูคูกุกกูไป ฝูงเขาไฟฟุบแฝงที่แฝกฟาง
3. ประทัดประทุเปรี้ยง ตระหนกเพียงยินเสียงปืน
4. ผีเสื้อส่ายร่ายรําระบําบิน จะจี่เจื้อยเรื่อยรินพิณเรไร
2. ข้อใดมิได้มุ่งให้เกิดจินตภาพแก่ผู้อ่าน
1. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 5.55 นาฬิกา ฟ้าหลัว ลมอ่อนถึงปานกลาง
2. ทั่วบริเวณนั้นเงียบสงัด ดวงตะวันยามบ่ายแผดแสงระอุ
3. พระพิรุณโปรยปรายตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น และตกติดต่อกันไปจนคํ่า
4. เย็น... พระอาทิตย์คล้อยดวงตํ่าลง ยอแสงสุดท้าย
ลักษณะการพูด
1. การพูดเสียดสี เป็นการพูดลักษณะเดียวกับการพูดเหน็บแนม คือ การพูดที่
ทําให้ผู้ฟัง “ปวดแปลบแสบถึงใจ” ดังที่สุนทรภู่ได้กล่าวเปรียบเทียบลักษณะการ
พูดเสียดสีไว้ในนิราศพระบาท ดังนี้
“เห็นเทพีมีหนามลงรานํ้า เปรียบเหมือนคําคนพูดไม่อ่อนหวาน
เห็นกิ่งกีดมีดพร้าเข้ารารานถึงหนามกรานก็ไม่เหน็บเหมือนเจ็บทรวง”
2. การพูดประชด เป็นการพูดที่มีลักษณะ “แกล้งพูดให้เกินควรไปเพื่อแสดง
ความไม่พอใจ” เช่น คําพูดของพระเจ้านันทบุเรงที่ประชดมหาอุปราชา ว่า
“แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวม
อินทรีย์สร่างเคราะห์”
ที่พระเจ้านันทบุเรงตรัสเช่นนี้เป็นการแกล้งพูดให้เกินควรไป เพราะไม่พอ
พระทัยที่พระมหาอุปราชาทูลว่าพระองค์เคราะห์ร้ายถึงฆาต ขอไม่กรีธาทัพมาตีกรุง
ศรีอยุธยา
3. การพูดกระแหนะกระแหน เป็นลักษณะหนึ่งของการพูดเสียดสี แต่
นุ่มนวลกว่า เป็นเชิงเหน็บนิดแนมหน่อย ไม่รุนแรงเท่าเสียดสี ดังตัวอย่างข้อสอบปี
2534
“เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การศึกษาปัจจุบัน และระบบโรงเรียนสมัยนี้
โดยทั่วๆไปมักจะมุ่งส่งเสริมในด้านวิทยาการ โดยละลืมความเฉียบของวิจารณญาณ
ไปเสีย และมักจะถือเอาการอัดบรรจุวิชาความรู้ต่างๆ ให้แก่นักเรียนนั้น เป็น
จุดมุ่งหมายจมอยู่ตัวเอง ประหนึ่งว่าวิชาความรู้ล้นเหลือนั้น จะทําให้คนได้ชื่อว่าเป็น
ผู้มีการศึกษาขึ้นมาได้ฉะนั้น”
ข้อความนี้ ผู้เขียนต้องการว่ากระทบหรือเสียดสีผู้จัดการศึกษาโดยมุ่งอัดความรู้
ให้แก่เด็กอย่างเดียว จนลืมไปว่าแท้ที่จริงแล้ว ควรพัฒนาทางด้านการใช้
วิจารณญาณของเด็กอีกด้วย ลักษณะของข้อเขียนนี้จึงแฝงไว้ด้วยนํ้าเสียงกระแหนะ
กระแหนเอาไว้
4. การพูดตัดพ้อ เป็นลักษณะการพูดที่แสดงอารมณ์น้อยใจ เนื่องจากผู้ถูกตัด
พ้อไม่ทําตามบทบาทที่ควรทํา หรือไม่ทําตามที่พูดหรือให้สัญญาไว้ เช่น ตอนที่
พระกัณหาตัดพ้อพระเวสสันดรว่า
“พระคุณเอ๋ย พระคุณเจ้าเอ่ย เจ้าประคุณของลูกเอ่ย อย่าว่าลูกนี้มาล่วงดูถูก
ที่จะกลับมาเป็นพ่อลูกสืบไปนั้นอย่าสงสัย ด้วยว่ากระดูกและเลือดเนื้อจะเป็นเหยื่อ
ของตาพราหมณ์”
ตามปกติแล้วบทตัดพ้อจะเป็นลีลาสัลลาปังคพิสัย คือ เป็นบทครํ่าครวญ
โศกเศร้าแสดงความน้อยใจ หรือเสียใจ แต่ถ้าเป็นการเสียดสี ประชดประชัน
กระแหนะกระแหน ขอดค่อน จะเป็นลีลาพิโรธวาทัง คือ เป็นถ้อยคําแสดงความ
โกรธ
การตัดพ้อยังมีอีกลักษณะหนึ่งคือ “ตัดพ้อต่อว่า” ซึ่งมีลักษณะ “ว่ากล่าว” อยู่
ด้วย เช่นนี้จะมีสองอารมณ์ปนอยู่ด้วยกัน คือ ทั้งน้อยใจและโกรธ ปนกันทั้งสัลลา
ปังคพิสัยและพิโรธวาทัง เช่น ในเรื่องอิเหนา จินตะหราตัดพ้อต่อว่าอิเหนาว่า
ไหนพระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย
ไม่นิราศแรมร้างห่างไกล จนบรรลัยมอดม้วยไปด้วยกัน
5. การพูดเปรียบเปรย เป็นลักษณะการพูดว่าเปรียบอย่างไม่เจาะจง เช่น ใน
กลอนนิราศพระบาท สุนทรภู่ได้เปรียบเปรยลูกหัวล้านซึ่งเป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งกับ
คนหัวล้าน โดยพูดเปรียบเปรยอย่างไม่เจาะจงว่าเป็นผู้ใดผู้หนึ่ง ดังนี้
หัวล้านลูกละเบี้ยดูเสียหน้า ลูกขี้ข้าอะไรล้านประจานหัว
ใครล้านจ้อนควรเจียมเสงี่ยมตัว มันสิบหัวสิบเบี้ยออกเรี่ยไป
6. การพูดยั่วยุ คือ การพูดชักชวนให้ทําสิ่งที่ไม่ควร เช่น อธรรมเทวบุตรพูด
ยั่วยุให้คนทําในสิ่งที่ไม่ควร ดังนี้
มามัวแต่กลัวบาป ก็จะอยู่ทําไม่กัน
อยากสุขสนุกนัน- ทิก็ต้องดําริแสวง
ใครมีกําลังอ่อน ก็ต้องแพ้ผู้มีแรง
ใครเดชะสําแดง ก็จะสมอารมณ์ปอง
7. การพูดย้อน คือ การพูดสวนตอบ เช่น ในนิทานเวตาล เมื่อพระวิกรมาทิตย์
ตอบคําถามของเวตาลว่าใครควรเป็นสามีของนางมธุมาลตี แล้วตรัสถามว่า
“...คําอธิบายเช่นนี้ จะทะลุความโง่ของเอ็งเข้าไป ทําให้เอ็งเข้าใจได้หรือยัง”
เวตาลก็พูดย้อนสวนกลับไปทันทีว่า “ความโง่ของข้าพเจ้าทะลุแล้ว แต่พระองค์นั้นยัง
...”
8. การพูดเยาะเย้ย คือ การพูดให้ได้อาย ให้เจ็บชํ้านํ้าใจ เช่น คําพูดของ
เวตาลที่ย้อนพระวิกรมาทิตย์นั้น ยังต่อด้วยการเยาะเย้ยพระวิกรมาทิตย์ที่เสียรู้เวตาล
เผลอตอบคําถามของเวตาล ทําให้แพ้เวตาล ดังนี้
“...แต่พระองค์นั้นยัง จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้กลับไปแขวนตัวอยู่ยังต้น
อโศกในบัดนี้”
9. การพูดส่อเสียด คือ การพูดยุแหย่ พูดให้เขาแตกร้าวกัน ซึ่งนับเป็นการพูด
ที่เป็นภัยร้ายแรงกว่า พูดหยาบ พูดเท็จ และพูดเสียดสี
นํ้าเสียง
การจับนํ้าเสียงจากคําพูดหรือข้อเขียนจะต้องวินิจสารให้เข้าถึงสารที่แฝงอยู่
สารนั้นอาจเป็นอารมณ์ความรู้สึก หรือ เจตนา ที่ผู้พูดต้องการจะสื่อถึงผู้ฟังผู้อ่าน
ตัวอย่างข้อสอบ
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 1-2
“ส่วนนางชัยศิรินั้นก็ใช้ความงามที่มีส่วนน้อยนั้นเป็นเครื่องล่อให้ชายตอมได้มาก
แต่ใช้ความไม่สงบเสงี่ยมเป็นเครื่องล่อได้มากกว่า และใช้ความมีทรัพย์ของบิดาเป็น
เครื่องล่อได้มากที่สุด”
1. ข้อใดมิใช่กลวิธีที่ใช้ในข้อความข้างต้น
1. การใช้สํานวนตรงไปตรงมา 2. การซํ้าคําเพื่อยํ้าความ
3. การลําดับความให้มีนํ้าหนัก 4. การใช้คําอย่างมีอารมณ์ขัน
2. นํ้าเสียงของผู้เขียนตรงตามข้อใด
1. เอ็นดู 2. ชื่นชม 3. เสียดสี 4. เหยียดหยาม
Th 2014-01-01

More Related Content

What's hot

การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยbambookruble
 
ลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยpinyada
 
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรองบทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรองAj.Mallika Phongphaew
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยKittitus Sa-admoang
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษาsukuman139
 
อักษรสามหมู่
อักษรสามหมู่อักษรสามหมู่
อักษรสามหมู่Piyarerk Bunkoson
 
สรุปสังคม O-net
สรุปสังคม O-netสรุปสังคม O-net
สรุปสังคม O-netWarissa'nan Wrs
 
ติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O netติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O netvanichar
 
ครั้ง๗
ครั้ง๗ครั้ง๗
ครั้ง๗vp12052499
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้duangchan
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยNook Kanokwan
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ Thanit Lawyer
 
เพลง อักษรนำ อ
เพลง อักษรนำ อเพลง อักษรนำ อ
เพลง อักษรนำ อzomyoop
 
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทยคำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทยพัน พัน
 
ใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยssuser456899
 

What's hot (20)

การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
เสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทยเสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทย
 
Korat
KoratKorat
Korat
 
กวดวิชาภาษาไทย O net
กวดวิชาภาษาไทย O netกวดวิชาภาษาไทย O net
กวดวิชาภาษาไทย O net
 
สรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติวสรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติว
 
ลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทย
 
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรองบทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษา
 
อักษรสามหมู่
อักษรสามหมู่อักษรสามหมู่
อักษรสามหมู่
 
สรุปสังคม O-net
สรุปสังคม O-netสรุปสังคม O-net
สรุปสังคม O-net
 
ติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O netติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O net
 
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทยใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
 
ครั้ง๗
ครั้ง๗ครั้ง๗
ครั้ง๗
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ
 
เพลง อักษรนำ อ
เพลง อักษรนำ อเพลง อักษรนำ อ
เพลง อักษรนำ อ
 
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทยคำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
 
ใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทย
 

Similar to Th 2014-01-01

ไตรยางค์
ไตรยางค์ไตรยางค์
ไตรยางค์cherrynongnuch
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 
บาลี 01 80
บาลี 01 80บาลี 01 80
บาลี 01 80Rose Banioki
 
1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิWataustin Austin
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย Kun Cool Look Natt
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลยแบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลยRuangrat Watthanasaowalak
 
สรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้น
สรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้นสรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้น
สรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้นTook Took Rachataporn
 
สรุปภาษาไทย
สรุปภาษาไทยสรุปภาษาไทย
สรุปภาษาไทยwisita42
 
บาลี 07 80
บาลี 07 80บาลี 07 80
บาลี 07 80Rose Banioki
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิWataustin Austin
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษาkingkarn somchit
 

Similar to Th 2014-01-01 (20)

ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
Intro computer
Intro  computerIntro  computer
Intro computer
 
04
0404
04
 
03
0303
03
 
ไตรยางค์
ไตรยางค์ไตรยางค์
ไตรยางค์
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
บาลี 01 80
บาลี 01 80บาลี 01 80
บาลี 01 80
 
1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01 บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
ประมวลปัญหาเฉลยบาลี
ประมวลปัญหาเฉลยบาลีประมวลปัญหาเฉลยบาลี
ประมวลปัญหาเฉลยบาลี
 
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลยแบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
 
Thai
ThaiThai
Thai
 
สรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้น
สรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้นสรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้น
สรุปเนื้อหาภาษาไทย..ม.ต้น
 
สรุปภาษาไทย
สรุปภาษาไทยสรุปภาษาไทย
สรุปภาษาไทย
 
บาลี 07 80
บาลี 07 80บาลี 07 80
บาลี 07 80
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษา
 

Th 2014-01-01

  • 1. สรุปเข้มเนื้อหาหลักภาษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดําเนินสวัสดิ์ นักเรียนจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้ ๑. ธรรมชาติของภาษาหรือลักษณะทั่วไปของภาษาต่างๆ ๒.เสียงในภาษาไทย ๓.คํา: การประกอบคํา คํายืม ๔.ประโยค : ประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร การลําดับคําในประโยค ชนิดของประโยค ประโยคบกพร่อง ๕.ระดับภาษา ๖.ราชาศัพท์ ๗.วัจนภาษากับอวัจนภาษา
  • 2. เสียงและอักษรในภาษาไทย เสียงสระ (๒๑) รูปสระ (๒๑) เสียงในภาษาไทย เสียงพยัญชนะ (๒๑) รูปพยัญชนะ (๔๔) อักษรไทย เสียงวรรณยุกต์(๕) รูปวรรณยุกต์(๔) เดี่ยว = แท้ = ๑๘ เสียง ๙ คู่ เสียงสระ ประสม = เลื่อน = ๓ เสียง (เอีย เอือ อัว) ข้อใดประสมสระแท้หรือสระเดี่ยวทั้งหมด ๑. ไม่ไยดีปรีดาประสาโลก ๒.ไม่ทุกข์โศกอาลัยหรือไห้หวน ๓. มีความสุขอยู่ทุกยามตามที่ควร ๔. ไม่ปั่นป่วนไปตามความเร่าร้อน * ความแตกต่างของสระเสียงสั้น สระเสียงยาวในสระแท้มีนัยสําคัญทางภาษา ส่วนใน สระประสมไม่มีนัยสําคัญทางภาษา จัก – จาก ริ – รี้ รึ – รื้อ ปุ – ปู่ เผียะ – เผี่ย ผัวะ – ผั่ว รั้ว เสือ
  • 3. *รูปสระ อํา ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เป็นอักษรแทนพยางค์ อํา = เสียงสระ อะ เสียงพยัญชนะสะกด [-ม] เสียงวรรณยุกต์สามัญ ใอ,ไอ = เสียงสระ อะ เสียงพยัญชนะสะกด [-ย] เสียงวรรณยุกต์สามัญ เอา = เสียงสระ อะ เสียงพยัญชนะสะกด [-ว] เสียงวรรณยุกต์สามัญ “สั่นยังกับเจ้าเข้า” เจ้า เสียงยาวกว่า เข้า มีข้อใดที่มีลักษณะดังตัวอย่างนี้ คือใช้รูปสระ เดียวกัน แต่ออกเสียง สั้น-ยาว ต่างกัน ๑.จ่ายเงินเกินกําหนด ๒.ถนัดชี้แจงแถลงไข ๓.ลุวันเกิดของแม่ซึ้งแก่ใจ ๔.ศิลปะจะดีอยู่ที่จิต
  • 4. พยัญชนะต้นตัวเดียว เดี่ยว ๒๑ ต้น อักษรควบไม่แท้อักษรนํา ประสม = อักษรควบกลํ้า, ควบแท้= ๑๑ เสียงพยัญชนะ ท้าย (สะกด) = ๙ เสียง อักษรควบไม่แท้ ๑.ออกเสียงพยัญชนะต้นตัวที่ ๑ เท่านั้น จริง สรวง ๒.ออกเสียง ทร เป็น ซ เทริด ทรวง อักษรนํา ๑. อ นํา ย : อย่า อยู่ อย่าง อยาก ๒.ห นํา เดี่ยว : ใหญ่ แหวน หมอ ๓.กลาง นํา เดี่ยว : กนก จรัส อร่อย ๔.สูง นํา เดี่ยว : แถง สวัสดิ์ ผงก
  • 5. คําในข้อใดอ่านออกเสียงอย่างอักษรนําทุกคํา ๑.ขนาง ขนิษฐ์ ขนอน ๒.ขมา ขมวน ขม่อม ๓.ขรัว ขรม ขริบ ๔.ขยอก ขยด ขย้อน เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว รูปพยัญชนะ ๑. [ก-] ก ๒. [ค-] ข ฃ ค ฅ ฆ ๓. [ง-] ง หฺง (แหงน) ๔. [จ-] จ จฺร (จริง) ๕. [ช-] ฉ ช ฌ ๖. [ย-] ญ ย หฺญ หฺย อฺย ๗. [ด-] ฎ ฑ ด ๘. [ต-] ฏ ต ๙. [ท-] ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ ๑๐. [น-] ฌ น หฺน (ไหน)
  • 6. เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว รูปพยัญชนะ ๑๑. [บ-] บ ๑๒. [ป-] ป ๑๓. [พ-] ผ พ ภ ๑๔. [ฟ-] ฝ ฟ ๑๕. [ม-] ม หฺม (ไหม) ๑๖. [ร-] ร หฺร (หรือ) ฤ ฤๅ ๑๗. [ล-] ล ฬ หฺล (หล่อ) ฦ ฦๅ ๑๘. [ว-] ว หฺว (หวั่น) ๑๙. [ซ-] ซ ศ ษ ส ซฺร ศฺร สฺร ทฺร ๒๐. [ฮ-] ห ฮ ๒๑. [อ-] อ ข้อใดมีเสียงพยัญชนะต้นแตกต่างกันน้อยที่สุด ๑.และใจเจ้าจักเป็นเช่นสายนํ้า ๒.ใสเย็นฉํ่าชื่นแล้วไหลแผ่วผ่าน ๓.เพื่อเลี้ยงชีพชโลมไล้ให้เบิกบาน ๔.เพียงพ้องพานผิวแผ่วแล้วผ่านเลย
  • 7. คําคู่ใดมีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกันทั้ง ๒ พยางค์ ๑.ไรฟัน ลอยฟ้า ๒.วันไหน ไหวหวั่น ๓.ช่างเหล็ก ฉอเลาะ ๔.ฤกษ์ยาม ลดหย่อน เสียงพยัญชนะต้นประสม = ๑๑ เสียง [กร-] กรอง [ก-] [กล-] กลอน [กว-] กวาง [คร-] ครั้ง ขริบ [ค-] [คล-] คลอง ขลิบ [คว-] ความ ขวาน [ปร-] ปรัก [ป-] [ปล-] ปลัก
  • 8. [พร-] แพร [พ-] [พล-] พลอย ผลัก [ต-] [ตร-] แตร เสียงพยัญชนะต้นควบกลํ้าในข้อใดตรงกับเสียงควบกลํ้าในภาษาไทยที่มีมาแต่เดิม ๑.ฟรักโทส ๒.ดราฟท์ ๓.คริปตอน ๔.บริดจ์ ข้อใดมีทั้งอักษรควบและอักษรนํา ๑.สงครามครานี้หนัก ใจเจ็บ ใจนา ๒.เรียมเร่งแหนงหนาวเหน็บ อกโอ้ ๓.ลูกตายฤๅใครเก็บ ผีฝาก พระเอย ๔.ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา
  • 9. เสียงพยัญชนะท้าย ๙ เสียง ๑.แม่ กก เสียง [-ก] ๒.แม่ กด เสียง [-ต] ๓.แม่ กบ เสียง [-ป] ๔.แม่ กง เสียง [-ง] ๕.แม่ กน เสียง [-น] ๖.แม่ กม เสียง [-ม] ๗.แม่ เกย เสียง [-ย] ๘.แม่ เกอว เสียง [-ว] ๙.แม่ ก กา สระสั้น ที่ออกเสียงเน้นหนัก เพราะเป็น คําสําคัญในประโยค หรือ เพราะเป็นพยางค์ท้ายของ คํา ๒ พยางค์ขึ้นไป หรือผู้พูดมีเจตนาจะเน้น จะมีเสียง [-อ] ท้ายพยางค์ มีแต่เสียง ไม่ปรากฏรูปเขียน *อํา เป็น แม่ กม มีเสียงพยัญชนะสะกดเป็น [-ม] ใอ เป็น แม่ เกย มีเสียงพยัญชนะสะกดเป็น [-ย] ไอ เอา เป็น แม่ เกอว มีเสียงพยัญชนะสะกดเป็น [-ว] ข้อความต่อไปนี้มีพยางค์ที่ปรากฏเสียงพยัญชนะท้ายกี่พยางค์ “มัวแต่พูดว่า “จะ จะ” อยู่นั่นเอง ทําไมไม่ลงมือเสียที” ๑. ๗ พยางค์ ๒. ๘ พยางค์ ๓. ๙ พยางค์ ๔. ๑๐ พยางค์
  • 10. คําใดมีเสียงพยัญชนะต้นและเสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงเดียวกัน ๑.เศษ ๒.นิล ๓.ภาพ ๔.วัว ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดของพยางค์ต้นต่างจากเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดมา ๑.ชัยภูมิ ๒.นามรูป ๓.กุลบุตร ๔.คุณภาพ เป็นรูปสระเฉพาะในสระ อัวะ อัว * ว นอกนั้นเป็นรูปพยัญชนะ เป็นรูปสระเฉพาะในสระ เอียะ เอีย ย นอกนั้นเป็นรูปพยัญชนะ เป็นรูปพยัญชนะเฉพาะเมื่อเป็นพยัญชนะต้น อ นอกนั้นเป็นรูปสระ เธอ เอื้อ พ่อ
  • 11. พยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ ๑. แม่ ก กา สระเสียงยาว ๒. แม่ ก กา สระเสียงสั้น ที่ไม่ออกเสียงเน้น พยางค์ปิด คือ พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะสะกด ๙ เสียง ดังกล่าวมาแล้ว ข้อใดเป็นพยางค์เปิดทุกคํา ๑. เคลียรู้ว่าเสือตัวนี้ดุ ๒.ใครก็สู้เสือตัวนี้มิได้ ๓. แต่เคลียก็ทําใจดีสู้เสือ ๔. เพื่อให้รู้แน่แก่ใจเขา ข้อใดเป็นพยางค์ปิดทุกคํา ๑. เขาทํางานจนภารโรงปิดห้อง ๒.คุณยายเป็นลมเมื่ออ่านจดหมายจบ ๓.ต้นกล้วยริมรั้วลวดหนามออกเครือแล้ว ๔.ภาคใต้ได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์
  • 12. เสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์มีรูป กลาง บอกเสียงตามรูป ก๊ก จ๋า ไขว้ หย่า สูง ตํ่า ย่า = เสียงโท ค้า = เสียงตรี วรรณยุกต์ไม่มีรูป กลาง ตํ่า เป็น (กิน งา) เสียงสามัญ กลาง สูง ตาย (กัด ขาด) เสียงเอก ตํ่า ตาย ยาว (คาด) เสียงโท ตํ่า ตาย สั้น (คัด) เสียงตรี สูง เป็น (ขาย ขัน) เสียงจัตวา ประเภทของเสียงวรรณยุกต์ กลางระดับ(เสียงสามัญ) วรรณยุกต์ระดับ ตํ่าระดับ (เสียงเอก) สูงระดับ (เสียงตรี)
  • 13. ประเภทของเสียงวรรณยุกต์ สูง-ตก (เสียงโท) วรรรยุกต์เปลี่ยนระดับ ตํ่า-ขึ้น (เสียงจัตวา) ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบห้าเสียง ๑.โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยากฝากให้คิด ๒.ทางชีวิตจะรุ่งโรจน์โสตถิผล ๓.ต้องรู้โง่รู้ฉลาดปราดเปรื่องตน ๔.โง่สิบหนดีกว่าเบ่งเก่งเดี๋ยวเดียว ข้อใดมีคําตายมากที่สุด ๑.ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์ ๒.เรืองจรัสยิ่งมกุฎสุดสง่า ๓.ประดับพระวรเดชวิเศษฤทธิ์ ๔.ที่สถิตอานุภาพสโมสร
  • 14. อักษรตํ่าห้ามใช้ ผัน อักษรตํ่าเป็นเสียงตรีได้๒ ลักษณะ ดังนี้ (1) ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี เช่น นํ้า ค้าง โน้ต เชิ้ต เค้ก (2) อักษรตํ่า คําตาย สระสั้น เป็นเสียงตรี เช่น ยัวะ คลิก ล็อก เชิ๊ต โน๊ต เค๊ก คลิ๊ก ล๊อก แท๊กซี่ โป๊ะเช๊ะ ท๊อปช๊อย เชิ้ต โน้ต เค้ก คลิ้ก ล้อก แท้กซี่ โป๊ะเช้ะ ท้อปช้อย คลิก ล็อก แท็กซี่ โป๊ะเชะ ท็อปช้อย ข้อใดไม่มีวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ๑.สรวงสวรรค์ชั้นกวีรุจีรัตน์ ๒.ผ่องประภัศร์พลอยหาวพราวเวหา ๓.พริ้งไพเราะเสนาะกรรณวรรณนา ๔.สมสมญาแห่งสวรรค์ชั้นกวี คําคู่ใดต่างกันเฉพาะเสียงสระเท่านั้น ๑.ทรัพย์-ทราบ ๒.เนิบ-นับ ๓.หมั้น-ม่าน ๔.โชค-ชัก ๗
  • 15. ทรัพย์-ทราบ เนิบ-นับ หมั้น-ม่าน เสียงพยัญชนะต้น (ซ_) (ซ_)  (น_) (น_)  (ม_) (ม_)  เสียงพยัญชนะท้าย (_ป) (_ป)  (_ป) (_ป)  (_น) (_น)  เสียงสระ อะ อา  เออ อะ  อะ อา  เสียงวรรณยุกต์ ตรี โท  โท ตรี  โท โท  โครงสร้างพยางค์ โครงสร้างพยางค์เหมือนหรือต่าง ท้ายต้นดนสระ ไม่มี = พยางค์เปิด ๑.เสียงพยัญชนะท้าย มี = พยางค์ปิด เดี่ยว ๒.เสียงพยัญชนะต้น ประสม ระดับ (สามัญ เอก ตรี) ๓.เสียงวรรณยุกต์ เปลี่ยนระดับ (โท จัตวา)
  • 17. ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกับคํา “บรรพบุรุษ” ๑.องค์อวตาร ๒.อินทรชิต ๓.กัลปพฤกษ์ ๔.วรรณสุคนธ์ เสียงเน้นหนัก ๑.ลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ ครุ = หนัก ลหุ = เบา ๒.ตําแหน่งของพยางค์ในคํา คําสองพยางค์ เน้นที่พยางค์ท้าย ยกว้น คําซ้อน เน้นทั้ง ๒ พยางค์ เช่น กะเกณฑ์ ละเลย ระราน คําสองพยางค์ขึ้นไป เน้นที่พยางค์ท้าย พยางค์ต้น ๆ เน้นที่ครุ ลหุไม่เน้น เช่น ยุทธหัตถี พยางค์“กะ” ในข้อใดลงเสียงหนัก ๑.เขาเหมือนพ่อราวกะแกะ ๒.ครูกะเกณฑ์ให้นักเรียนทํางาน ๓.เสื้อตัวนี้กะดํากะด่าง ๔.ปู่กะย่าไปวัดทุกวันพระ
  • 18. ๓.ชนิดและหน้าที่ของคําในประโยค คํานาม คํากริยา เน้น คําวิเศษณ์ที่ขยายอยู่ข้างหลัง คําสรรพนาม คําเชื่อม ไม่เน้น คําวิเศษณ์ที่ขยายอยู่ข้างหน้า “รถเมล์ก็เลยเลยป้ายเลย” จะออกเสียงเน้นหนักที่ “เลย” คําใด ๑.คําที่ ๑ ๒.คําที่ ๒ ๓.คําที่ ๓ ๔.คําที่ ๔ “ข้าวเย็นหมด” จะออกเสียงเช่นไร จึงจะสื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการ ๑.ออกเสียงเน้นหนัก ๒.เว้นวรรค ๓.ออกเสียงสั้น-ยาว ๔.ข้อ ๑ และ๒
  • 19. อิทธิพลของการออกเสียงเน้น ไม่เน้น ที่มีต่อโครงสร้างพยางค์ ๑.อิทธิพลต่อเสียงพยัญชนะท้าย เสียงเน้นหนักทําให้พยางค์เปิด แม่ ก กา สระสั้น เป็น พยางค์ปิด กะ (คํากริยา) (สมา)ธิ ชําแหละ ๒.อิทธิพลต่อเสียงสระ เสียงเน้นหนักทําให้ออกเสียงสระยาวกว่าพยางค์ที่ไม่ลงเสียง เน้นหนัก นํ้า ขันนํ้า ออกเสียง “นํ้า” ยาวกว่า “นํ้า” ในคํา นํ้าตก นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าตาล ๓.อิทธิพลต่อเสียงวรรณยุกต์ พยางค์ที่ไม่ลงเสียงเน้นออกเสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปจาก รูปเขียน เขาเป่ าเขาอยู่บนเขา ข้อใดประกอบด้วยสระที่ออกเสียงสั้นทั้งหมด ๑.ไปเอานํ้าให้กินหน่อยได้ไหม ๒.ท่านแนะนําให้คุณไปขุดร่องมันฝรั่ง ๓.คนกินเหล้าเก้าสิบคนจะเป็นอะไรไหมครับ ๔.เด็กที่เกล้าผมคนนั้นตื่นเช้าจริง ๆ ข้อใดออกเสียงต่างกับรูปเขียนทุกคํา ๑.ทราย ฉะเชิงเทรา ประปราย ๒.สร้างสรรค์ ทรุดโทรม ประสิทธิภาพ ๓.เพชรพลอย กิโลเมตร เลเซอร์ ๔.ไมโครโฟน ฟิสิกส์ นิวเคลียร์
  • 20. อวัจนภาษา ๑. เทศภาษา ใช้ลักษณะสถานที่และช่วงระยะห่างของผู้สื่อสารสื่อความหมาย เช่น หญิงชายนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน ๒.กาลภาษาใช้เวลาณจุดใดจุดหนึ่งและช่วงเวลาสื่อความหมาย เช่น อดทนรอพบถึง๒–๓ชั่วโมง ๓.เนตรภาษาหรือนัยนภาษา ใช้สายตาดวงตาสื่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความประสงค์และทัศนคติบางประการ ๔.สัมผัสภาษาใช้อาการ สัมผัสสื่อความรู้สึก อารมณ์ ความปรารถนา เช่น สัมผัสมือแสดงความเป็นมิตร ๕.อาการภาษา ใช้อาการเคลื่อนไหวของศีรษะ แขน ขา ลําตัว เพื่อสื่อสาร เช่น สั่นศีรษะ การเอางาน รวมถึง ท่ายืน ท่านั่งท่าทรงตัว และการแสดงสีหน้า บึ้งตึง ยิ้มแย้ม เคร่งเครียด ๖.วัตถุภาษา ใช้วัตถุแสดงความหมาย เช่น เครื่องแต่งตัว เสื้อผ้าและของใช้ใกล้ตัว ๗.ปริภาษา ใช้นํ้าเสียงประกอบถ้อยคําที่พูดออกไปเพื่อสื่อความหมายถ้อยคําเดียวกัน ถ้าใช้นํ้าเสียงต่างกัน อาจสื่อความหมายต่างกันได้ นํ้าเสียงที่ต่างกันนี้อาจจะเกิด จากการเน้นเสียงความดัง ระดับความทุ้มแหลม ความเร็ว จังหวะ ความชัดเจน และคุณภาพของเสียงเช่นแหบพร่า แจ่มใส
  • 21. ตัวอย่างข้อสอบ ๑. ข้อความต่อไปนี้ ไม่มีอวัจนภาษาประเภทใด “ฟ้าคืนนี้งามนัก มีดวงดาวระยิบพริบพราว ดุสิดานั่งชันเข่าอยู่ริมระเบียง แหงนดูดาวด้วยความรู้สึกเหงาๆ ขณะนั้น เธอรู้สึกว่ามีใครเดินมาและเอื้อมมือ มาลูบศีรษะเบาๆ พ่อนั่นเอง” ๑.อาการภาษา ๒.กาลภาษา ๓. สัมผัสภาษา ๔.ปริภาษา ๒. ข้อความต่อไปนี้ไม่มีอวัจนภาษาประเภทใด หญิงสาวในชุดสีดํานั่งคุดคู้อย่างหมดอาลัยอยู่ริมหาดทรายเธอร้องไห้จนตัวสั่น ดวงอาทิตย์กําลังจะลาโลกไปเหมือนชีวิตของเธอที่จะมีแต่ความมืดมิด ๑.วัตถุภาษา กาลภาษา ๒.นัยนภาษา เทศภาษา ๓.อาการภาษาวัตถุภาษา ๔.อาการภาษา กาลภาษา ๓. ข้อความต่อไปนี้ไม่มีการสื่อสารประเภทใด เธอใช้ปากกาสีแดงขีดเส้นใต้คําว่ารักเธอเสมอหลังภาพถ่ายของสามีและกํา ภาพนั้นไว้ด้วยมือสั่นระริกดวงตาเหม่อลอยมีนํ้าตาท่วมท้นเขาจากไปโดยไม่ได้สั่งลา ๑.วัจนภาษา ๒.วัตถุภาษา ๓.นัยนภาษา ๔.กาลภาษา
  • 22. ๔.ข้อใดมีคําที่แสดงวัจนภาษา ๑. แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง มัดกํากระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน ๒. นิ่งเงียบสงบงํา บมิทําประการใด ปรากฏประหนึ่งใน บุรว่างและร้างคน ๓. ปรึกษาหารือกัน ไฉนนั่นก็ทําเนา จักเรียกชุมนุมเรา บแลเห็นประโยชน์เลย ๔. ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ ๕. ข้อใดใช้อวัจนภาษา ๑.นาวาเอียงเสียงกุกลุกขึ้นร้อง มันดําล่องนํ้าไปช่างไวเหลือ ๒.ตลิ่งเบื้องบูรพาศาลาลาน เรือขนานจอดโจษกันจอแจ ๓.ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จํารัสเรือง แลชําเลืองเหลียวหลังหลั่งนํ้าตา ๔.พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง
  • 23. สรุปเข้มเนื้อหาการใช้ภาษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดําเนินสวัสดิ์ นักเรียนจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้ ๑.ภาษากับเหตุผล การอนุมาน ๒.วิธีคิดกับการแสดงทรรศนะ ๓.การโต้แย้ง ๔.การบรรยาย การพรรณนา การอธิบาย ๕.การโน้มน้าวใจ ๖.การเขียนและการอ่านคําให้ถูกต้อง การเขียนคําทับศัพท์ ๗.การใช้คํา -คําพ้อง:พ้องรูป พ้องเสียง พ้องรูปพ้องเสียง พ้องความหมาย(ไวพจน์) -คําประสม คําซ้อน คําซํ้า -คําทับศัพท์ -คําลักษณนาม ๘.การใช้พจนานุกรม การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ๙.การกรอกแบบฟอร์ม ๑๐.การเขียนประกาศ ๑๑.การเขียนรายงานทางวิชาการ ๑๒.การใช้ภาษาในกิจกรรมการประชุม ๑๓.การเขียนเรียงความ:คํานํา สรุป
  • 24. คําพ้อง ๑.คําพ้องรูป รูปเขียนเหมือนกัน ออกเสียงต่าง ความหมายต่าง ๒.คําพ้องเสียง ออกเสียงเหมือนกันรูปเขียนต่างความหมายต่าง กาน การ การณ์ กาล กาฬ กานต์ กาญจน์ กานต์ นาด นาถ นาฏ นาท นาศ มาด มาส มาศ มาตร มาตุ ๓.คําพ้องรูปพ้องเสียง รูปเขียนเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน ความหมายต่าง กา กัน ขัด ขัน ฉัน นาก นาค บรรณ แปรก ๔.คําพ้องความหมาย (ไวพจน์) ความหมายเหมือนกัน รูปเขียนต่างกัน ออกเสียง ต่างกัน ช้าง สาร กรี กริน หัตถี หัสดิน คช คชินทร์ คเชนทร์ นาค พารณ กุณชร ไอยรา ปฺรัก = เงิน  ปะ-หรัก = หักพัง  ปรัก เส-มา =ใบเสมา,เครื่องหมายบอกเขต  สะ-เหมา =หญ้า  เสมา เพ-ลา =เวลา  เพฺลา=อ่อน,ตัก,เพลารถ  เพลา แหฺน=จอกแหน  แหน=แห่แหน ห่วงแหน  แหน
  • 25. คําทับศัพท์ คําทับศัพท์ภาษาตระกูลยุโรปโดยเฉพาะภาษาอังกฤษมีวิธีเขียนทับศัพท์ของ ราชบัณฑิตยสถานเป็นหลัก ดังนี้ ๑.คําที่ใช้กันมานานจนใช้รูปวรรณยุกต์กํากับอย่างคําไทยเช่น แก๊ส เชิ้ต โน้ต ๒.คําที่พ้องกับคําไทยถ้าไม่ใช้รูปวรรณยุกต์กํากับแล้ว อาจทําให้เข้าใจความหมาย ผิดไปได้ เช่น โคม่า เซรุ่ม ปลั๊ก โค้ก คําทับศัพท์นอกเหนือจากนี้ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์กํากับ การ์ตูน กราฟ เกม เกีย เกียร์ กงสุล แกรไฟต์ เกาต์ แกรนิต คอนเสิร์ต คอนกรีต คอนแวนต์ ค็อกเทล คอมพิวเตอร์ โควตา คอมมิวนิสต์ คลัตช์ โคบอลต์ แคปซูล เคาน์เตอร์ คริสต์มาส แค็ตตาล็อก คลินิก คลอรีน แคลเซียม ซิลิคอน เซลล์ ไซโคลน ไซเรน ไซโล เซลเซียส ซีไรต์ ช็อก ดอลลาร์ ดีเปรสชัน ดีเซล ไดนาไมต์ เต็นท์ ดอกเตอร์ โน้ต ไนต์คลับ ไนลอน นีออน นิวยอร์ก ปาร์เกต์ ปิกนิก โปสต์การ์ด ปริซึม พล็อต พลาสติก พาราฟิน เบรก บาร์เรล แบคทีเรีย เบนซิน เลเซอร์ เลนส์ ลิปสติก ลิฟต์ ลินิน สวิตช์ สปาเกตตี สปอร์ สปริง สเต๊ก สตู เสิร์ฟ แอลฟา โอลิมปิกเกมส์ อิเล็กทรอนิกส์ โอ๊ต ไอโอดีน โอเอซิส อินฟราเรด อิเล็กโทน เซ็น(ชื่อ) เปอร์เซ็นต์ เซนต์โยเซฟ แท็งก์ ซีไรต์ รีสอร์ต แฟลต มอเตอร์ ไมครอน เมตริก มอเตอร์ไซค์ ช็อก ชิมแปนซี เช็ค ซิลิคอน โซเดียม เซลลูโลส ทังสเตน เทคนิค เทคโนโลยี โอเอซิส อิเล็กตรอน ฟาร์ม ฟิล์ม
  • 26. การใช้พจนานุกรม จากคําอธิบายศัพท์ในพจนานุกรมต่อไปนี้ คําว่า “ชุ่มใจ”จัดอยู่ในข้อใด ชุ่ม ก.มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบหรือเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ. ชุ่มใจ, ชุ่มอกชุ่มใจก.อิ่มเอิบใจ. ๑. ตัวอย่างการใช้คํา ๒.ความหมายของคํา ๓.คําที่ใช้เฉพาะแห่ง ๔.ลูกคํา ลูกคํา น.เรียกคํา๒คําเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่างไปจากคําเดิมว่า ลูกคําของคําตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคําของคําตั้ง ลูก. คําที่ใช้เฉพาะแห่ง คําย่อในวงเล็บหน้าบทนิยาม เช่น (กฎ) คือ คําที่ใช้ในกฎหมาย (กลอน) คือ คําที่ใช้ในบทร้อยกรอง เว้า๑(ถิ่น–อีสาน) ก.พูด เว้าวอน ก. วิงวอนออดอ้อน. วาฬ๑,วาฬ- [วาน,วาละ-]น.พาฬ.(ป.;ส.วฺยาล) วาฬมิคน.พาฬมฤค,สัตว์ร้าย.(ป.) ข้อใดมีลูกคํา ก.กําปั่น กําปั้น กําตัด ข.คําใต้ คํานวณ คํานับ ค.จําปา จํานอง จํากัด ง.ทํานบ ทําไม ทําเล
  • 27. ไพร่ [ไพฺร่](โบ) น.ชาวเมือง,พลเมืองสามัญ;คนเลว.ว.สามัญ. ไพร่พล น.กําลังทหาร,กําลังคน. ๑.(โบ) ๑.ชนิดของคําตามหลักไวยากรณ์ ๒.พลเมืองสามัญ ๒.ลูกคํา ๓.ไพร่พล ๓.ตัวอย่างการใช้คํา ๔.ว. ๔.ประวัติของคํา ๕.ความหมาย ๖.คําอ่าน ๗.ลักษณะของคําที่ใช้เฉพาะแห่ง จากคําอธิบายศัพท์ในพจนานุกรมต่อไปนี้ข้อใดไม่ปรากฏ เดิม ว.แรก เช่น แต่เดิม,เก่า เช่น บ้านเดิม, ก่อน เช่นเหมือนเดิม.(ข.เฎิมว่าต้น) เดิมทีว.แต่แรกเริ่ม. ก.ชนิดของคํา ข.ตัวอย่างคํา ค.ที่มาของคํา ง.เสียงอ่าน ข้อความต่อไปนี้ปรากฏที่ใด ขลา [ขฺลา] น. เสือ.(ราชบัณฑิตยสถาน 2546:168) ก. ดัชนี ข. พจนานุกรม ค. บรรณานุกรม ง. บทความวิชาการ
  • 28. ข้อใดใช้เครื่องหมายไม่ถูกต้อง ก.คัมภีรภาพ [คําพีระพาบ]ความลึกซึ้ง ข.“ไวตาแลค”ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมและวิตามินดีสําหรับเด็ก ค.ผู้สนใจส่งใบสั่งซื้อสินค้ามาได้ที่ตู้ปณ.๑๕๕๕จตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ ง.เปิดสอนหลักสูตรธุรกิจความงามสนใจสมัครเรียนได้ทุกวัน โทรฯ๐๒-๙๒๒๕๕๕ ชื่อต่อไปนี้ควรเรียงลําดับตามพจนานุกรมอย่างไร ก.ปริพนธ์ ปนัดดา ปริศนา ปิลันธน์ ปวีณ ข.ปริศนา ปนัดดา ปริพนธ์ ปิลันธน์ ปวีณ ค.ปนัดดา ปริพนธ์ ปริศนา ปวีณ ปิลันธน์ ง.ปิลันธน์ ปวีณ ปนัดดา ปริพนธ์ ปริศนา เครื่องหมายต่อไปนี้มีชื่อที่ถูกต้องอย่างไร(เรียงตามลําดับ) 1.____(ขีดเส้นใต้) 2. (แทนคําในบรรทัดข้างบน) 3.– (แยกคํา) 4.ฯลฯ ก.อัฒภาค อัญประกาศ ยัติภังค์ ละ ข.มหรรถสัญญา มหภาค เสมอภาค ละ ค.อัญประกาศ นขลิขิต อัฒภาค ไปยาลใหญ่ ง.สัญประกาศ บุพสัญญา ยัติภังค์ ไปยาลใหญ่ ”
  • 29. ใช้ข้อความในพจนานุกรมต่อไปนี้ตอบคําถามข้อต่อไปนี้ จวัก [จะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วย กะลามะพร้าว มีด้ามถือ,กระจ่า จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า. จอ ๑น. ชื่อปีที่๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย. จอ ๒ น.ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์ เป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์. จ่อ ๑ ก.เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่นเช่น เอายาดมจ่อ จมูก;มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมักใช้เข้าคู่กับคํา จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามีใจจดจ่อกับงาน.จ่อคิว (ปาก) ว. ใกล้ถึงลําดับที่จะได้หรือ จะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้นเป็นหัวหน้า. จ่อ ๒.(ถิ่น–อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่าง กระด้ง มีไส้ สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม. มีคําที่เป็นคําตั้งหรือแม่คํากี่คํา ก. ๓ คํา ข. ๔ คํา ค. ๕ คํา ง. ๖ คํา มีคําที่ระบุว่าใช้เฉพาะแห่งกี่คํา ก. ๑ คํา ข. ๒ คํา ค. ๓ คํา ง. ๔ คํา
  • 30. การเขียนเรียงความ ๑. คํานําเกริ่นเข้าสู่เรื่อง ๑ ย่อหน้า ๒.เนื้อเรื่อง เนื้อหาของเรื่อง มีได้หลายย่อหน้า ๓.สรุป ขมวดปมสําคัญเพื่อปิดเรื่อง ๑ย่อหน้า ตัวอย่างข้อสอบ ข้อความต่อไปนี้เป็นส่วนใดของเรียงความไม่ได้ ธงของไทยสมัยโบราณอย่างหนึ่งมีพื้นสีแดงใจกลางของแผ่นธงเป็นรูปหนุมาน เรียกว่ากบี่ธุชกับอีกอย่างหนึ่งเป็นรูปครุฑแดงพื้นเหลืองเรียกกันว่า“พระครุฑพ่าห์” อันหมายถึงครุฑที่เป็นพาหนะ ก. คํานํา ข. เนื้อเรื่อง ค. ส่วนขยายเนื้อเรื่อง ง. สรุป ข้อความต่อไปนี้เหมาะจะเป็นส่วนใดของเรียงความเรื่อง“อุดมการณ์ของชาวจีนใน เมืองไทย” ในบรรดากลุ่มชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองไทยดังกล่าว ชาวจีน แต้จิ๋วนับเป็นกลุ่มที่มีจํานวนมากที่สุด รองลงมาเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน รองลงมาอีกคือ ชาวจีนไหหลําและชาวจีนกวางตุ้ง ส่วนชาวจีนแคะนั้นมีจํานวนน้อยที่สุด ก. ส่วนนําเรื่อง ข. ประเด็นสําคัญของเรื่อง ค. ส่วนขยายความ ง. ส่วนสรุปเรื่อง
  • 32. การเขียนรายงานเชิงวิชาการ ขั้นตอนการเขียนรายงานเชิงวิชาการ มี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1. เลือกหัวข้อเรื่อง ควรเลือกเรื่องที่ผู้ทํารายงานสนใจมากที่สุด และเป็นเรื่องที่ ค้นคว้าได้สะดวก 2. กําหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง ผู้ทํารายงานต้องรู้ทิศทางว่าตน จะทํารายงานเรื่องอะไร เพื่ออะไร และลึกซึ้งกว้างขวางเพียงใด 3. ค้นคว้าและรวบรวมความรู้ ด้วยการฟัง การอ่าน และการหา ประสบการณ์ตรงดังกล่าวข้างต้น 4. การวางโครงเรื่อง คือ การแยกหัวข้อเรื่องออกเป็นหัวข้อย่อยๆ เมื่อเติม รายละเอียดแล้ว จะได้รายงานทั้งเรื่อง การวางโครงเรื่องมีประโยชน์คือ ทําให้ ทราบว่าจะเขียนเรื่องอะไร เขียนไปทางใด สั้นยาวขนาดไหน เรียงลําดับเรื่องได้ถูก ไม่สับสนและสําคัญที่สุดคือ ทําให้ไม่เขียนออกนอกเรื่อง การวางโครงเรื่องควรทํา 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ร่างโครงเรื่อง ให้เขียนหัวข้อต่างๆ ลงไปโดยยังไม่ต้องเรียงลําดับเรื่อง ขั้นที่ 2 กําหนดโครงเรื่อง มีขั้นตอนดังนี้ - พิจารณาจัดเรียงลําดับหัวข้อเรื่องก่อนหลัง - จัดความสัมพันธ์ของเรื่องให้ดี - แก้ไขภาษาให้ถูกต้อง
  • 33. ตัวอย่างข้อสอบ 1. ในการเขียนรายงานทางวิชาการ เมื่อได้ข้อมูลและร่างโครงเรื่องแล้ว ควรทําอย่างไร ต่อไปตามลําดับ 1. แก้ไขภาษา พิจารณาความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อ และเรียงลําดับหัวข้อที่ควร อธิบายก่อนหลัง 2. เรียงลําดับหัวข้อที่ควรอธิบายก่อนหลัง พิจารณาความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อและ แก้ไขภาษา 3. เรียงลําดับหัวข้อที่ควรอธิบายก่อนหลัง แก้ไขภาษา และพิจารณาความสัมพันธ์ของ แต่ละหัวข้อ 4. พิจารณาความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อ แก้ไขภาษาและเรียงลําดับหัวข้อที่ควรอธิบาย ก่อนหลัง
  • 34. 2. ที่ยกมาข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของอะไร 1. ความนํา 2. ลักษณะและชนิดของนกนางนวล 2.1 ลักษณะทั่วไป 2.2 ชนิดต่างๆ ของนกนางนวล 3. ชีวิตความเป็นอยู่ของนกนางนวล 3.1 นกนางนวลกินอะไร 3.2 การขยายพันธุ์ 3.2.1 การสร้างรัง 3.2.2 การเลี้ยงลูก 3.2.3 ศัตรูของนกนางนวล 4. สรุป 1. การเขียนภาคผนวก 2. การวางโครงเรื่อง 3. การเขียนสารบัญ 4. การรวบรวมข้อมูล 3. จากข้อ 2 ควรแก้ไขภาษาในข้อใด 1. นกนางนวลกินอะไร 2. การขยายพันธุ์ 3. ศัตรูของนกนางนวล 4. ชนิดต่างๆ ของนกนางนวล 4. จากข้อ 2 ข้อใดควรวางเรียงลําดับใหม่ 1. นกนางนวลกินอะไร 2. การขยายพันธุ์ 3. ศัตรูของนกนางนวล 4. ชนิดต่างๆ ของนกนางนวล
  • 35. ลักษณะภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ 1. ใช้ภาษาระดับทางการ คือ กระชับ ชัดเจน และสุภาพ 2. ใช้สํานวนภาษาสามัญ ไม่ใช้สํานวนการประพันธ์ 3. ใช้การบรรยาย คือ บรรยายเสนอข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามาได้ ไม่ใช้การ พรรณนาที่มุ่งให้ภาพให้อารมณ์ ตัวอย่างข้อสอบ 1. ข้อใดใช้ภาษาในงานเขียนรายงานทางวิชาการได้เหมาะสมที่สุด 1. ตึกระฟ้าทั้งหลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นมิให้ลมพัดเข้าสู่ตัวเมือง 2. ถ้ายังมีฝุ่นและควันมากเช่นนี้ กรุงเทพฯ ก็คงมิใช่เมืองฟ้าอมรอีกต่อไป 3. ฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้างและควันจากโรงงานลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ 4. สิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นตัวการสําคัญที่สกัดกั้นไม่ให้ฝุ่นละอองกระจายไปในมุมกว้าง 2. ข้อใดใช้ภาษาไม่เหมาะสมในการเขียนรายงาน 1. ปรอทวัดไข้ที่นิยมใช้กันนั้นทําด้วยหลอดแก้วขนาดเล็ก 2. ปรอทวัดไข้เป็นเทอร์โมมิเตอร์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย 3. ถ้าคุณเป็นไข้ระดับปรอทในหลอดแก้วเล็กๆ จะค่อยๆ สูงขึ้นทีละนิด 4. การใช้หลังมือแตะหน้าผากย่อมไม่อาจบอกได้แน่นอนว่าผู้ป่วยมีไข้หรือไม่ * ข้อ 3 ใช้ภาษาระดับสนทนา จึงไม่เหมาะสมในการเขียนรายงาน
  • 36. ศัพท์ที่ใช้เรียกเรื่องที่ประชุม 1. การประชุมของคณะกรรมการซึ่งมีการประชุมต่อเนื่อง เรื่องที่ประชุม เรียกว่า “ระเบียบวาระ” หรือ “วาระ” เลขานุการเป็นผู้จัดระเบียบวาระตามความ เห็นชอบของประธาน วาระการประชุมจะเรียงลําดับดังนี้ วาระที่ 1 การรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว วาระที่ 2 การพิจารณาเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว วาระที่ 3 การพิจารณาเรื่องใหม่ 2. การประชุมเฉพาะกลุ่มที่ประชุมเป็นครั้งคราว เช่น การประชุมปฏิบัติการ การสัมมนา มีเรื่องสําคัญที่ประชุมกันเพียงเรื่องเดียว จึงไม่ต้องจัดเป็นระเบียบวาระ แต่จะจัดเป็น “กําหนดการประชุม” แทน กําหนดการประชุมที่จัดเต็มรูปแบบ จะเริ่ม ด้วยการลงทะเบียน พิธีเปิด การบรรยายและหรือการอภิปรายเป็นคณะ แยกประชุม กลุ่มย่อย ประชุมรวมเพื่อฟังรายงานการประชุมกลุ่มย่อย เปิดคาบเวลาอภิปรายทั่วไป พิธีปิดการประชุม ตัวอย่างข้อสอบ 1. ในตราสารประชุมจัดตั้งบริษัทกล่าวว่าการประชุมใหญ่จะดําเนินการได้ก็ต่อเมื่อ กรรมการ จํานวนไม่น้อยกว่า 10 คน เข้าประชุม ในการประชุมครั้งหนึ่งกรรมการ จําเป็นต้องออกจากที่ ประชุมจึงเหลือผู้เข้าประชุม 9 คน การประชุมครั้งนั้นต้องยุติ เพราะเหตุใด 1. ไม่เป็นไปตามกําหนดการประชุม 2. ผิดระเบียบวาระการประชุม 3. ไม่ครบองค์ประชุม 4. ยังลงมติไม่ได้
  • 37. 2. คําพูดของประธานในที่ประชุมต่อไปนี้ ควรเรียงลําดับตามข้อใดจึงถูกต้องตามระเบียบ วาระการประชุม ก. “กรรมการท่านใดจะขอแก้ไขรายงานการประชุมนี้ เชิญได้ครับ” ข. “ประธานฝ่ายจัดรายได้ได้แจ้งมายังผมว่าป่วย จึงขอลาประชุมในวันนี้” ค. “ขอให้ประธานคณะกรรมการแต่ละฝ่ายรายงานความก้าวหน้าการเตรียมงานวัน สุนทรภู่” ง. “วาระต่อไปนี้เป็นการพิจารณาเสนอผู้แทนนักเรียนไปร่วมแข่งขันกลอนสดกับ โรงเรียนประจําจังหวัด” 1. ข ค ง ก 2. ค ก ง ข 3. ก ข ค ง 4. ข ก ค ง * ข้อ ข เป็นเรื่องแจ้งให้ทราบ อยู่ก่อนข้อ ก ที่เป็นวาระที่ 1 คือรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่แล้ว ข้อ ค เป็นวาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่อง และข้อ ง เป็นวาระที่ 3 เรื่องพิจารณาใหม่ 3. ข้อใดควรเป็นวาระที่ 1 ในการประชุมกิจกรรมนักเรียน ครั้งที่ 3/2549 ของ คณะกรรมการนักเรียน 1. ประธานกล่าวเปิดประชุมและดําเนินการประชุม 2. ประธานขอให้คณะกรรมการนักเรียนพิจารณาเรื่องสืบเนื่อง 3. ประธานเสนอให้ที่ประชุมพิจารณารายงานการประชุมครั้งที่ 2/2549 4. ประธานขอให้คณะกรรมการนักเรียนพิจารณากําหนดวัน เวลา และรายการในการจัด งานวัน กีฬาประจําปี
  • 38. ศัพท์ที่ใช้เรียกวิธีการสื่อสารในการประชุม เสนอ ใช้เมื่อผู้เข้าประชุมต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องใดก็ “เสนอ” เรื่อง นั้นให้ที่ประชุมพิจารณา โดยกล่าวเป็นประโยคบอกเล่าธรรมดาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เรื่องที่เสนอให้พิจารณา เรียกว่า “ข้อเสนอ” หรือ “ญัตติ” การอภิปราย คือ การแสดงความคิดเห็นสนับสนุนข้อเสนอ หรือ คัดค้าน ข้อเสนอ หรือ ตั้งข้อสังเกต หรือ ขอแก้ไขบางประเด็น ผ่าน ใช้เมื่อที่ประชุมยอมรับข้อเสนอหรือญัตติ ข้อเสนอหรือญัตตินั้นก็ “ผ่าน” ตก ใช้เมื่อที่ประชุมไม่ยอมรับข้อเสนอหรือญัตติ ข้อเสนอหรือญัตตินั้นก็ “ตก” ขอมติ ใช้เมื่อประธานจําเป็นต้องหาข้อยุติจากที่ประชุม ก็จะ “ขอมติ” จากที่ ประชุม มติของที่ประชุม เป็นข้อตัดสินใจของที่ประชุมเพื่อให้นําไปปฏิบัติ ถ้าผู้เข้า ประชุมทุกคนเห็นพ้องต้องกันก็เป็น “มติโดยเอกฉันท์” ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อ ตัดสินใจนั้นก็เป็น “มติโดยเสียงข้างมาก” ตัวอย่างข้อสอบ 1. คําในข้อใดแทนที่ข้อความที่เป็นตัวหนาได้อย่างมีลําดับถูกต้อง “ในการประชุมเมื่อวานนี้ ได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ ายที่ เห็นชอบกับข้อเสนอและฝ่ ายที่โต้แย้ง” 1. ถกเถียง เห็นด้วย คัดค้าน 2. ถกเถียง สนับสนุน คัดค้าน 3. อภิปราย เห็นด้วย คัดค้าน 4. อภิปราย สนับสนุน คัดค้าน
  • 39. การใช้ภาษาในการประชุม 1.การใช้ภาษาของประธานในที่ประชุม ภาษาที่ประธานใช้จะขึ้นอยู่กับระดับของการประชุม ถ้าเป็นการ ประชุมปรึกษาอย่างกันเองก็ใช้ถ้อยคําแสดงความเป็นกันเองได้ แต่ถ้าเป็นการประชุม ตามระเบียบแบบแผนก็ต้องใช้ภาษาทางการ เช่น กล่าวเปิดประชุมว่า “บัดนี้ท่าน กรรมการได้มาประชุมครบองค์ประชุมแล้ว ผมขอเปิดประชุม” กล่าวขอมติจากที่ ประชุมว่า “สมาชิกผู้ใดเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว โปรดยกมือขึ้น” 2. ประธานกล่าวต่อที่ประชุมว่า “การประชุมครั้งนี้จะพิจารณาตามเรื่องที่เสนอที่ประชุม ถ้ามีผู้ เข้าประชุมเห็นพ้องต้องกันทุกคน หรือมีผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วย ที่ประชุม นี้จะได้ดําเนินการ ต่อไป” 1. ระเบียบวาระ มติโดยเอกฉันท์ มติโดยเสียงข้างมาก 2. ญัตติ มติโดยเสียงข้างมาก มติโดยเอกฉันท์ 3. ระเบียบวาระ มติโดยเสียงข้างมาก มติโดยเอกฉันท์ 4. ญัตติ มติโดยเอกฉันท์ มติโดยเสียงข้างมาก ข้อสังเกต 1. ประธานที่ดีในการประชุมควรปฏิบัติตนตามสํานวน “ชักแม่นํ้าทั้งห้า” คือ พูด โน้ม- น้าวใจชวนให้ผู้เข้าประชุมแสดงความคิดเห็นเพื่อนําไปสู่การลงมติ 2. เมื่อมีความขัดแย้งกันในที่ประชุม ประธานต้องวางตัวเป็นกลางและพูดสมาน ไมตรีเพื่อให้ที่ประชุมดําเนินการประชุมต่อไปจนลงมติกันได้ในที่สุด 3. ประธานไม่ควรออกเสียงลงมติ ยกเว้นแต่ในกรณีที่มีเสียงเท่ากัน จึงออกเสียง ลงมติ
  • 40. ตัวอย่างข้อสอบ ในการประชุมคณาจารย์ของโรงเรียน ผู้อํานวยการซึ่งเป็นประธานที่ประชุม สังเกตว่าสมาชิกบางคนไม่ร่วมมือแสดงความคิดเห็น ทั้งยังแสดงทีท่าเบื่อหน่ายเมื่อการ ประชุมเริ่มจะเนิ่นช้า ข้อใดน่าจะเลือกใช้เพื่อแก้ภาวการณ์ดังกล่าว 1. ท่านอาจารย์ครับ ผมเชื่อว่าทุกท่านที่นี่ต่างตระหนักว่า การร่วมระดมความเห็นกันใน ที่ประชุมยังคงเป็นวิธีที่เหมาะสมและเป็นมารยาทสําหรับทุกคนใช่ไหมครับที่จะต้อง แสดงสปิริตบ้าง 2. ท่านอาจารย์ครับ ผมก็คงเช่นเดียวกับทุกท่าน ที่พอการประชุมชักจะยืดเยื้อเราก็เริ่ม เบื่อหน่าย แต่ทบทวนนิดนะครับ เราต่างกับเด็กก็ตรงนี้ ตรงที่เราอดทนและรู้เหมาะรู้ ควร ใช่ไหมครับ 3. ทุกท่านคงทราบดีว่า การอภิปรายถกเถียงไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเราเห็นแย้งกัน อย่างสร้างสรรค์ เสียดายแต่หลายท่านที่ยังไม่ให้โอกาสเราได้รับทราบความคิดเห็น อาจารย์......ว่าอย่างไรครับ 4. การโต้เถียงเป็นครรลองของเหตุผล เป็นหนทางของผู้มีปัญญา ท่านอาจารย์ครับ ช่วยๆ กันออกความเห็นหน่อยเถอะครับ
  • 41. 2. การใช้ภาษาของผู้เข้าประชุม ถ้าเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ก็ใช้ภาษาระดับสนทนาได้โดยระวัง คําพูดให้ชัดเจนและไม่ว่าจะเป็นการประชุมระดับใด ในการแสดงความคิดเห็นก็ควร กล่าวนําเสียก่อน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว และถ้าฟังไม่ทัน ก็ควรขอให้กล่าวทวน อย่างสุภาพ เมื่อพูดอภิปรายยาว ก็ควรกล่าวสรุปตอนท้ายให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย คําที่ควรใช้เสมอเพื่อแสดงความสุภาพ และไม่ยกตนข่มท่าน คือ คําว่า “ขอ” ตัวอย่างข้อสอบ 1. ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมที่สุดในการประชุม 1. ดิฉันขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย 2. ดิฉันอยากทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย 3. ดิฉันประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย 4. ดิฉันต้องการทราบข้อเท็จเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย 2. เมื่อสมาชิกต้องการเสนอความเห็นในที่ประชุมเพื่อคัดค้านข้อเสนอของรัฐมนตรี เขา ต้องพูดขึ้นต้นตามข้อใด 1. ท่านรัฐมนตรีที่เคารพ 2. ท่านประธานที่เคารพ 3. ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ 4. ท่านสมาชิกที่เคารพ
  • 42. สรุปเข้มเนื้อหาวรรณคดีวรรณกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สอางค์ ดําเนินสวัสดิ์ นักเรียนจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้ ๑.คําประพันธ์หรือบทร้อยกรอง : โคลง ร่าย ฉันท์ กาพย์ กลอน ๒.องค์ประกอบของงานประพันธ์ : รูปแบบ เนื้อหา ๓.คุณค่าของงานประพันธ์ คุณค่าทางสังคม คุณค่าทางวรรณศิลป์ ๔.แนวคิดค่านิยมในงานประพันธ์ ๕.ศิลปะการประพันธ์ : การซํ้าคํา การเล่นคํา การหลากคํา(ไวพจน์) อัพภาส การเล่นเสียงสัมผัส การเล่นเสียงวรรณยุกต์ สัทพจน์ ๖.โวหารภาพพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ บุคคลวัต นามนัย สัญลักษณ์ สัทพจน์ ปฏิพากย์ อติพจน์ อวพจน์ ๗.จินตภาพเหมือนหรือต่าง ๘.ลักษณะการพูด ๙.นํ้าเสียง
  • 43. บทร้อยกรอง บังคับร่วม บังคับเฉพาะ ๑. โคลง คําเอก,คําโท สัมผัส ๒.ร่าย สัมผัสคล้องจองกันทุกวรรค คณะ ๓.ฉันท์ ครุ,ลหุ ๔.กาพย์ - ๕.กลอน เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค โคลง สุภาพ ดั้น สอง สาม สี่ สอง สาม สี่ จํานวนวรรคที่มี ๕ คํา จํานวนวรรคที่มี ๕ คํา (วรรคสุดท้ายมี ๔ คํา) (วรรคสุดท้ายมี ๒ คํา)
  • 44. โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ โคลงสี่สุภาพ O O O O O O O O O O O O O O (O O) O O O O O O O O O (O O)O O O O O O O O O O O O (O O) O O O O O O O O O O (O O) O O O O O O O
  • 45. คําเอก คําเอก คือ คําที่มี กํากับ คําตาย ใช้ในตําแหน่งของคําเอกได้ เอกโทษ คือ คําเอกที่เขียนผิด หิ่งห้อยส่องกั้นซู่ แสงจันทร์ คําโท คําโทคือ คําที่ใช้ กํากับ โทโทษ คือ คําโทที่เขียนผิด ปวงประนมนบเกล้า งามเสงี่ยมเฟี้ยมเฝ้า อยู่ถ้าทูลสนอง คําสุภาพ คําที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ คําสร้อย มี๒คําใช้ในกรณีที่ถ้อยคําในบทยังไม่จบกระแสความหรือเพื่อยํ้าเน้นให้เกิด อารมณ์คําที่นิยมใช้เป็นคําสร้อยได้แก่แฮเฮยฮานานอแลแลนาฤๅไสร้ไซร้พ่อแม่ พี่เอยบารนี
  • 46. ร่าย ร่ายโบราณ ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายยาว จบบท เมื่อใดก็ได้ จบบทด้วย โคลงสอง สุภาพ จบบทด้วย โคลงดั้น มีวรรคละ ๕ คําขึ้นไปถึง สิบกว่าคํา มีวรรคละ ๕ คํา ลิลิต ร่าย + โคลง สุภาพ ดั้น (ร่ายสุภาพ + โคลงสุภาพ) (ร่ายดั้น + โคลงดั้น) ลิลิต = = =
  • 47. กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ฉันท์ จากอินเดีย ไทยประดิษฐ์เอง ฉันท์ ๘ ฉันท์ ๑๑ ฉันท์ ๑๒ ฉันท์ ๑๔ ฉันท์ ๑๙ ฉันท์ ๒๐ เปษณนาทฉันท์ สยามมณีฉันท์ O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O
  • 48. กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ มาณวกฉันท์ ๘ O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O O = ครุล้วน = ลหุสอดไส้ครุ
  • 51. กลอน กลอนหลัก กลอนประสม กลอนหลัก กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนเก้า กลอนประสม กลอนเพลง กลอนขับร้อง กลอนเพลงยาว กลอนนิราศ กลอนนิทาน กลอนบทละคร กลอนเสภา กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย
  • 52. แผนผังกลอนสุภาพ เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ๑. วรรคสดับ หรือ วรรคสลับ นิยมเสียงจัตวา ไม่นิยมเสียงสามัญ ๒. วรรครับ นิยมเสียงจัตวา ไม่นิยมเสียงตรี ห้ามเสียงสามัญ ๓. วรรครอง นิยมเสียงสามัญ ห้ามเสียงจัตวา เลี่ยงเสียงวรรณยุกต์กับวรรครับ ๔. วรรคส่ง นิยมเสียงสามัญ หรือ เสียงตรี ห้ามเสียงจัตวา ไม่ควรเป็นเสียง เดียวกับวรรครับและรอง ไม่นิยมคําตาย ไม่ใช้คําที่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ ยกเว้นใช้ ไม้โทให้เป็นเสียงตรี เช่น นํ้า ค้าง คําที่ขีดเส้นใต้คําใดที่ผิดฉันทลักษณ์ ก. ไม่อยากให้ใครยํ้าคําสงสาร ข. เพื่อประจานใครใครว่าไร้ศักดิ์ ค. เวทนาค่าคนของตนหนัก ง. ซึ้งประจักษ์คําหยันหวั่นใจแล้ว O O O , O O , O O O O O O , O O , O O OO O O , O O , O O O O O O , O O , O O O วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง = บาทเอก = บาทโท
  • 53. จินตภาพเหมือนหรือต่าง การตอบข้อสอบที่ถามเรื่องจินตภาพเหมือนหรือต่าง ให้พิจารณาตอบ ดังนี้ 1. จินตภาพทางภาพหรือทางเสียง ตัวอย่างข้อสอบ 1. ข้อใดให้จินตภาพแตกต่างกับข้ออื่น 1. ดูผกผันเพียงจะเลื้อยออกโลดแล่น 2. เห็นคล้ายคล้ายปลาว่ายเฉวียนฉวัด 3. กระทุงทองล่องเลื่อนค่อยเคลื่อนคลา 4. ร้องกรีดเกรียดเกรียวแซ่ดังแตรสังข์ 2. ข้อใดสื่อภาพและเสียงได้เด่นชัดที่สุด 1. กูบกระโดกโยกอย่างทุกย่างเดิน เขยื้อนเยินยอบยวบยะยวบกาย 2. เงื้อมตลิ่งงิ้วงามตระหง่านยอด ระกะกอดเกะกะกิ่งไสว 3. ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก กลักพริกพลิกแพลงตะแคงหงาย 4. ทั้งจากที่จากคลองเป็นสองข้อ ยังจากกอนั้นก็ขึ้นในคลองขวาง
  • 54. 2. จินตภาพทางภาพเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหว ข้อสอบอาจจะใช้“นาฏการ” แทน “การเคลื่อนไหว” 3. จินตภาพทางภาพที่มีแสงมีสี ตัวอย่างข้อสอบ ข้อใดมีนาฏการในข้อความที่พรรณนา ( ก ) กินนรฟ้อนรําร่ายบิน กระหนกนาคิน ทุกเกล็ดก็เก็จสุรกานต์ ( ข ) งามเทวธวัชชัชวาล โบกในคัคนานต์ แอร่มอร่ามงามตา ( ค ) พรั่งพร้อมทวยเทวเสนา ห้อมแห่แหนหน้า และหลังสะพรั่งพร้อมมวล ( ง ) จามรีเฉิดฉายปลายทวน หอกดาบปลาบยวน ยั่วตาพินิศพิศวง 1. ข้อ ก และ ข 2. ข้อ ค และ ง 3. ข้อ ก และ ค 4. ข้อ ข และ ง ตัวอย่างข้อสอบ 1. ข้อใดไม่ปรากฏในคําประพันธ์ต่อไปนี้ ฝนเป็นสายปรายโปรยเมื่อใกล้คํ่า ฟ้ารํ่าคํารนอยู่เลื่อนลั่น แปลบประกายปลายคุ้งทุ่งสุพรรณ ลมกระชั้นกระโชกกระชากแรง 1. สี 2. แสง 3. เสียง 4. การเคลื่อนไหว
  • 55. 4. จินตภาพที่แสดงเวลาต่างกัน 2. คําที่ขีดเส้นใต้ข้อใดที่ให้จินตภาพด้อยที่สุด 1. มะลิวัลย์พันพุ่มคัดค้าว ระดูดอกออกขาวทั้งราวป่า บ้างเลื้อยเลี้ยวเกี่ยวกิ่งเหมือนชิงช้า ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว 2. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียนํ้า แพนดอกฉํ่าช้อยช่อวรวิจิตร งามดั่งเปลวเพลิงป่ ามานิรมิต สร้อยโสภิตอภิรุมพุ่มหัวใจ 3. ลดาดินติณชาติหลับใหล ตื่นขึ้นไหวไหวในลมหนาว หยาดย้อยพลอยนํ้าค้างแวววาว ราวท้าแก้วแหวนทั้งแดนดิน 4. ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง แล้วใบไม้ก็ไหวส่ายขึงข่ายกรอง ทอแสงทองประทับซับนํ้าค้าง ตัวอย่างข้อสอบ ข้อใดให้จินตภาพต่างจากข้ออื่น 1. พื้นนภางค์เผือดดาว แสงเงินขาวจับฟ้า แสงทองจ้าจับเมฆ 2. ดาวเดือนจะเลื่อนลับ แสงทองพยับโพยมหน 3. พอพระสุริยงเธอเยื้องรถบทจร เย็นยอแสงสั่งทวีป 4. แสงทองระรองรุ่ง รวิปรุงชโลมสรรพ์
  • 56. 5. จินตภาพที่ให้อารมณ์ทางบวกหรือทางลบ ตัวอย่างข้อสอบ 1. ข้อใดให้จินตภาพแตกต่างกับข้ออื่น 1. เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย 2. บ่างก่งคอคูคูกุกกูไป ฝูงเขาไฟฟุบแฝงที่แฝกฟาง 3. ประทัดประทุเปรี้ยง ตระหนกเพียงยินเสียงปืน 4. ผีเสื้อส่ายร่ายรําระบําบิน จะจี่เจื้อยเรื่อยรินพิณเรไร 2. ข้อใดมิได้มุ่งให้เกิดจินตภาพแก่ผู้อ่าน 1. ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 5.55 นาฬิกา ฟ้าหลัว ลมอ่อนถึงปานกลาง 2. ทั่วบริเวณนั้นเงียบสงัด ดวงตะวันยามบ่ายแผดแสงระอุ 3. พระพิรุณโปรยปรายตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น และตกติดต่อกันไปจนคํ่า 4. เย็น... พระอาทิตย์คล้อยดวงตํ่าลง ยอแสงสุดท้าย
  • 57. ลักษณะการพูด 1. การพูดเสียดสี เป็นการพูดลักษณะเดียวกับการพูดเหน็บแนม คือ การพูดที่ ทําให้ผู้ฟัง “ปวดแปลบแสบถึงใจ” ดังที่สุนทรภู่ได้กล่าวเปรียบเทียบลักษณะการ พูดเสียดสีไว้ในนิราศพระบาท ดังนี้ “เห็นเทพีมีหนามลงรานํ้า เปรียบเหมือนคําคนพูดไม่อ่อนหวาน เห็นกิ่งกีดมีดพร้าเข้ารารานถึงหนามกรานก็ไม่เหน็บเหมือนเจ็บทรวง” 2. การพูดประชด เป็นการพูดที่มีลักษณะ “แกล้งพูดให้เกินควรไปเพื่อแสดง ความไม่พอใจ” เช่น คําพูดของพระเจ้านันทบุเรงที่ประชดมหาอุปราชา ว่า “แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวม อินทรีย์สร่างเคราะห์” ที่พระเจ้านันทบุเรงตรัสเช่นนี้เป็นการแกล้งพูดให้เกินควรไป เพราะไม่พอ พระทัยที่พระมหาอุปราชาทูลว่าพระองค์เคราะห์ร้ายถึงฆาต ขอไม่กรีธาทัพมาตีกรุง ศรีอยุธยา 3. การพูดกระแหนะกระแหน เป็นลักษณะหนึ่งของการพูดเสียดสี แต่ นุ่มนวลกว่า เป็นเชิงเหน็บนิดแนมหน่อย ไม่รุนแรงเท่าเสียดสี ดังตัวอย่างข้อสอบปี 2534 “เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การศึกษาปัจจุบัน และระบบโรงเรียนสมัยนี้ โดยทั่วๆไปมักจะมุ่งส่งเสริมในด้านวิทยาการ โดยละลืมความเฉียบของวิจารณญาณ ไปเสีย และมักจะถือเอาการอัดบรรจุวิชาความรู้ต่างๆ ให้แก่นักเรียนนั้น เป็น จุดมุ่งหมายจมอยู่ตัวเอง ประหนึ่งว่าวิชาความรู้ล้นเหลือนั้น จะทําให้คนได้ชื่อว่าเป็น ผู้มีการศึกษาขึ้นมาได้ฉะนั้น”
  • 58. ข้อความนี้ ผู้เขียนต้องการว่ากระทบหรือเสียดสีผู้จัดการศึกษาโดยมุ่งอัดความรู้ ให้แก่เด็กอย่างเดียว จนลืมไปว่าแท้ที่จริงแล้ว ควรพัฒนาทางด้านการใช้ วิจารณญาณของเด็กอีกด้วย ลักษณะของข้อเขียนนี้จึงแฝงไว้ด้วยนํ้าเสียงกระแหนะ กระแหนเอาไว้ 4. การพูดตัดพ้อ เป็นลักษณะการพูดที่แสดงอารมณ์น้อยใจ เนื่องจากผู้ถูกตัด พ้อไม่ทําตามบทบาทที่ควรทํา หรือไม่ทําตามที่พูดหรือให้สัญญาไว้ เช่น ตอนที่ พระกัณหาตัดพ้อพระเวสสันดรว่า “พระคุณเอ๋ย พระคุณเจ้าเอ่ย เจ้าประคุณของลูกเอ่ย อย่าว่าลูกนี้มาล่วงดูถูก ที่จะกลับมาเป็นพ่อลูกสืบไปนั้นอย่าสงสัย ด้วยว่ากระดูกและเลือดเนื้อจะเป็นเหยื่อ ของตาพราหมณ์” ตามปกติแล้วบทตัดพ้อจะเป็นลีลาสัลลาปังคพิสัย คือ เป็นบทครํ่าครวญ โศกเศร้าแสดงความน้อยใจ หรือเสียใจ แต่ถ้าเป็นการเสียดสี ประชดประชัน กระแหนะกระแหน ขอดค่อน จะเป็นลีลาพิโรธวาทัง คือ เป็นถ้อยคําแสดงความ โกรธ การตัดพ้อยังมีอีกลักษณะหนึ่งคือ “ตัดพ้อต่อว่า” ซึ่งมีลักษณะ “ว่ากล่าว” อยู่ ด้วย เช่นนี้จะมีสองอารมณ์ปนอยู่ด้วยกัน คือ ทั้งน้อยใจและโกรธ ปนกันทั้งสัลลา ปังคพิสัยและพิโรธวาทัง เช่น ในเรื่องอิเหนา จินตะหราตัดพ้อต่อว่าอิเหนาว่า ไหนพระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย ไม่นิราศแรมร้างห่างไกล จนบรรลัยมอดม้วยไปด้วยกัน
  • 59. 5. การพูดเปรียบเปรย เป็นลักษณะการพูดว่าเปรียบอย่างไม่เจาะจง เช่น ใน กลอนนิราศพระบาท สุนทรภู่ได้เปรียบเปรยลูกหัวล้านซึ่งเป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งกับ คนหัวล้าน โดยพูดเปรียบเปรยอย่างไม่เจาะจงว่าเป็นผู้ใดผู้หนึ่ง ดังนี้ หัวล้านลูกละเบี้ยดูเสียหน้า ลูกขี้ข้าอะไรล้านประจานหัว ใครล้านจ้อนควรเจียมเสงี่ยมตัว มันสิบหัวสิบเบี้ยออกเรี่ยไป 6. การพูดยั่วยุ คือ การพูดชักชวนให้ทําสิ่งที่ไม่ควร เช่น อธรรมเทวบุตรพูด ยั่วยุให้คนทําในสิ่งที่ไม่ควร ดังนี้ มามัวแต่กลัวบาป ก็จะอยู่ทําไม่กัน อยากสุขสนุกนัน- ทิก็ต้องดําริแสวง ใครมีกําลังอ่อน ก็ต้องแพ้ผู้มีแรง ใครเดชะสําแดง ก็จะสมอารมณ์ปอง 7. การพูดย้อน คือ การพูดสวนตอบ เช่น ในนิทานเวตาล เมื่อพระวิกรมาทิตย์ ตอบคําถามของเวตาลว่าใครควรเป็นสามีของนางมธุมาลตี แล้วตรัสถามว่า “...คําอธิบายเช่นนี้ จะทะลุความโง่ของเอ็งเข้าไป ทําให้เอ็งเข้าใจได้หรือยัง” เวตาลก็พูดย้อนสวนกลับไปทันทีว่า “ความโง่ของข้าพเจ้าทะลุแล้ว แต่พระองค์นั้นยัง ...”
  • 60. 8. การพูดเยาะเย้ย คือ การพูดให้ได้อาย ให้เจ็บชํ้านํ้าใจ เช่น คําพูดของ เวตาลที่ย้อนพระวิกรมาทิตย์นั้น ยังต่อด้วยการเยาะเย้ยพระวิกรมาทิตย์ที่เสียรู้เวตาล เผลอตอบคําถามของเวตาล ทําให้แพ้เวตาล ดังนี้ “...แต่พระองค์นั้นยัง จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้กลับไปแขวนตัวอยู่ยังต้น อโศกในบัดนี้” 9. การพูดส่อเสียด คือ การพูดยุแหย่ พูดให้เขาแตกร้าวกัน ซึ่งนับเป็นการพูด ที่เป็นภัยร้ายแรงกว่า พูดหยาบ พูดเท็จ และพูดเสียดสี นํ้าเสียง การจับนํ้าเสียงจากคําพูดหรือข้อเขียนจะต้องวินิจสารให้เข้าถึงสารที่แฝงอยู่ สารนั้นอาจเป็นอารมณ์ความรู้สึก หรือ เจตนา ที่ผู้พูดต้องการจะสื่อถึงผู้ฟังผู้อ่าน ตัวอย่างข้อสอบ ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 1-2 “ส่วนนางชัยศิรินั้นก็ใช้ความงามที่มีส่วนน้อยนั้นเป็นเครื่องล่อให้ชายตอมได้มาก แต่ใช้ความไม่สงบเสงี่ยมเป็นเครื่องล่อได้มากกว่า และใช้ความมีทรัพย์ของบิดาเป็น เครื่องล่อได้มากที่สุด” 1. ข้อใดมิใช่กลวิธีที่ใช้ในข้อความข้างต้น 1. การใช้สํานวนตรงไปตรงมา 2. การซํ้าคําเพื่อยํ้าความ 3. การลําดับความให้มีนํ้าหนัก 4. การใช้คําอย่างมีอารมณ์ขัน 2. นํ้าเสียงของผู้เขียนตรงตามข้อใด 1. เอ็นดู 2. ชื่นชม 3. เสียดสี 4. เหยียดหยาม