SlideShare a Scribd company logo
1 of 91
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบน
เว็บไซต์โดยคำานึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สำาหรับวิชาภาษาอังกฤษหลัก ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์
A development of an adaptive web-
based learning model for individual
differences to enhance learning
achievement of Fundamental English
Subject in Mathayom 5 Students.
กฤตยา ศรีริ
ครูวิทยฐานะชำานาญการพิเศษ
วิจัยในชั้นเรียน และส่งเสริมการศึกษา
2
ใช้ประกอบการนำาเสนอผลงานด้านนวัตกรรม
การสอนออนไลน์
โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์
กิตติกรรมประกาศ
วิจัยเล่มนี้ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงจาก นายกิตติ
ศักดิ์ วิทยเดช ผู้อำานวยการโรงเรียนภัทรบพิตร ที่ได้กรุณาสละ
เวลาให้คำาแนะนำาปรึกษาตลอดจนให้ความช่วยเหลือในทุกขั้น
ตอนของการทำาวิจัย
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ปรียาภรณ์ พิมพ์จินดา ที่ได้กรุณา
ตรวจและให้คำาแนะนำาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์
ของงานวิจัยนี้
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้
แก่ผู้วิจัย อีกทั้งให้
ความเมตตาและให้กำาลังใจด้วยดีตลอดมา
ขอขอบคุณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทุกห้อง ปีการ
ศึกษา 2556 โรงเรียนภัทรบพิตร
ทุกคน ที่ได้ให้ความร่วมมือจนทำาให้งานวิจัยสำาเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ ที่เป็นกำาลังใจ ให้คำา
แนะนำา และให้การสนับสนุน
ส่งเสริมการศึกษา ตลอดจนความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ในการ
ทำาวิจัยครั้งนี้คุณประโยชน์ของวิจัยเล่มนี้ขอมอบให้ทุก ๆ ท่าน
และผู้วิจัยขอเป็นกำาลังใจให้ทุก ๆ ท่านต่อไป
กฤตยา ศรีริ
3
บทที่ 1
บทนำา
ความเป็นมาและความสำาคัญของปัญหา
ในโลกของการศึกษาท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์ คงไม่มี
อะไรจะสะดวกสบาย และรวดเร็วเท่ากับการเรียนการสอนผ่าน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความครอบคลุมตั้งแต่ประชาชนกลุ่ม
เล็กๆ ไปจนถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ การเอื้ออำานวยของเทคโนโลยี
ดังกล่าวส่งผลให้การศึกษาในประเทศไทยมีการพัฒนาอยู่ตลอด
เวลา โดยเฉพาะการมุ่งเน้นให้นำาเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณา
การกับการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเพื่อเป็นการ
เตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเรียนการสอนในลักษณะเดิมเป็นการเรียนการสอน
แบบทางเดียว ผู้สอนทำาหน้าที่สอนในห้องเรียน มอบหมายงานให้
ผู้เรียน จากนั้นผู้เรียนก็นำางานมาส่งเมื่อถึงวันเวลาที่กำาหนด การ
สอนด้วยวิธีดังกล่าว ในปัจจุบันนี้ไม่สามารถทำาให้ผู้เรียนเกิด
กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะได้เท่าที่ควร เพราะความ
แตกต่างระหว่างบุคคล ทำาให้ผู้เรียนแต่ละคนไม่สามารถที่จะรับสิ่ง
ที่ครูมอบให้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
ด้วยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจึงไม่
สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนได้
เนื่องจากการเรียนการสอนแบบกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้คำานึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น
อาจมีนักเรียนบางส่วนที่ไม่บรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ทักษะการแก้ปัญหาที่คาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ได้รับการ
ยอมรับมานานแล้วว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และการ
ตระหนักถึงความจำาเป็นในการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมให้
เข้ากันกับความแตกต่างระหว่างบุคคลก็มีมานานแล้วเช่นกัน
4
(Glaser, 1977) ย้อนกลับไปในช่วงระหว่างปลายศตวรรษที่ 19
และต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปและในทุกรัฐ
ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำาหนดการศึกษาภาคบังคับขึ้น
เพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้าโรงเรียน
ส่วนในประเทศไทยนั้น ได้ให้ความสำาคัญกับความแตก
ต่างระหว่างบุคคลเช่นกัน โดยกำาหนดไว้ในพระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำาหนดแนวทางในการจัดการ
ศึกษาไว้ให้ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ
พัฒนาความรู้ ความสามารถตามธรรมชาติและศักยภาพของตน
การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงควรคำานึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล การฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ
สถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้ในการจัดการปัญหาที่
เผชิญอยู่ในสังคม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
http://www.krupu.com/homework โดยคำานึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง
เรียนโดยคำานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
สมมติฐานของการวิจัย
1. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่าง
กัน จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
2. นักเรียนกลุ่มที่ใช้บนเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนการ
สอนในห้องเรียน (http://www.krupu.com/homework) มี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การเรียนการสอนในชั้นเรียน
ประสิทธิภาพการ
สอน
5
การเรียนการสอนออนไลน์ด้วย WordPress
(http://www.krupu.com/homework)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับผู้สอนในการจัดการเรียนการ
สอนด้วยการสอนรูปแบบปกติ
2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษ
ออนไลน์ และการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์
3. เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับการพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะ
การฟัง พูด อ่านและเขียน ภาษาอังกฤษ
ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5/1-5/6 โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ ที่
เรียนวิชาภาษาอังกฤษหลักในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
จำานวน 90 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนแบบปกติในชั้นเรียนผสม
ผสานการสอนบนเว็บไซต์ krupu.com/homework
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
2.2.1 ความรู้ความเข้าใจในการฟังและพูดภาษา
อังกฤษ
2.2.2 ความรู้ความเข้าใจในการอ่านและเขียนภาษา
อังกฤษ
2.2.3 การเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ขอบเขตของเนื้อหา
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย
WordPress
(http://www.krupu.com/homework)
อย่างมีประสิทธิภาพ
6
เนื้อหาที่จะใช้สอนในงานวิจัยเป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับ
หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และคลอบคลุมคำา
อธิบายรายวิชาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยปรับจากหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษและ
ปรับจากเนื้อหาที่เผยแพร่ออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ทที่เหมาะสมกับ
ความสามารถทางการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ
ของนักเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หมายถึง ความ
สามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของ
นักเรียน ในการเข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน ในระดับความ
เข้าใจตรงตามตัวอักษร ระดับความ
เข้าใจแบบตีความ ระดับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และระดับ
การอ่านอย่างสร้างสรรค์
การเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การที่บุคคลนั้นมีความ
ใฝ่รู้ ขวนขวาย ในการวางแผน
ควบคุม รับผิดชอบในการฝึกฝนและแสวงหาความรู้ มีอิสรเสรีใน
การที่จะเลือกศึกษา ทบทวน
ความรู้ และสามารถตรวจสอบ ประเมินความก้าวหน้าของตนเอง
ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ผู้เรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1-5/6
โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษหลัก
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำานวน 90 คน
บทเรียนออนไลน์ (online course)หมายถึง บทเรียน
ที่สร้างขึ้นผ่านเว็บซึ่งเป็นบทเรียน
สำาเร็จรูป ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับ
บทเรียนได้ ภายในบทเรียน
ประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง เสียงและภาพ
เคลื่อนไหว
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการ
ทำาแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัด
ความรู้ในเนื้อหาในบทเรียนออนไลน์
7
การประเมินผลระบบการจัดการเรียนการสอนซึ่ง
เป็นแบบประเมินบทเรียนของ สมศักดิ์ จีวัฒนา (2546 : 165-
166) ซึ่งเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณคำา (Rating
Scale) ซึ่งกำาหนดการตัดสินคุณภาพเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง ดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง ดี
ระดับ 3 หมายถึง พอใช้
ระดับ 2 หมายถึง ควรปรับปรุง
ระดับ 1 หมายถึง ไม่เหมาะสม
และมีเกณฑ์ประเมินดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00 สรุปผลการประเมิน ดีมาก
ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49 สรุปผลการประเมิน ดี
ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49 สรุปผลการประเมิน พอใช้
ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49 สรุปผลการประเมิน ควรปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย 1.00- 1.49 สรุปผลการประเมิน ไม่เหมาะสม
ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ความพอใจ ความ
สนใจเมื่อเรียนโดยใช้สื่อระบบการจัดการเรียนการสอนบน
เว็บไซต์ http://www.krupu.com/homework ซึ่งประเมิน
โดยครูผู้สอนและนักเรียน โรงเรียนภัทรบพิตร อำาเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บไซต์โดยคำานึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน สำาหรับวิชาภาษาอังกฤษหลัก ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ มีเอกสารและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Differences Theory)
2. แนวคิดเกี่ยวกับพุทธปรัชญาว่าด้วยดอกบัวสี่เหล่า
8
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์
3.1 ความหมายของการสอนออนไลน์
3.2 ลักษณะสำาคัญของการสอนออนไลน์
3.3 รูปแบบของการเรียนการสอนออนไลน์
3.4 องค์ประกอบของการสอนออนไลน์
3.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนร่วมกับออนไลน์
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.1 ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.2 ความสำาคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.3 ลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.4 กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Differences Theory)
ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ควรได้รับ
การยอมรับมานานแล้วว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นนัก
วิชาการจึงได้ตระหนักถึงความจำาเป็นในการออกแบบการเรียน
การสอนและจัดสภาพแวดล้อมให้เข้ากับความแตกต่างระหว่าง
บุคคล และได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างยาวนาน (Glaser,
1997 อ้างถึงใน สมชาย สุริยะไกร, 2550: 41) ตัวแปรด้าน
ความแตกต่างระหว่างบุคคลมีอยู่มากมาย แต่ที่เลือกนำามาศึกษา
วิจัยในครั้งนี้คือตัวแปรด้านแบบการเรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ตัวแปรด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล
มีการศึกษาจำานวนมากที่มุ่งค้นหาความเชื่อมโยงระหว่าง
ตัวแปรด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลกับผลของการเรียนรู้
(Cronbach and Snow, 1981l Tobias, 1976) ซึ่งตัวแปรที่
สำาคัญมีดังต่อไปนี้
1) ความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual ability)
ความสามารถทางสติปัญญาหลายประเภทมีปฏิสัมพันธ์กับ
การเรียนการสอน เช่น Crystallized Intelligence หรือ “สติ
ปัญญาที่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และประสบการณ์” สติปัญญาเหล่านี้
เป็นผลผลึกหรือตะกอนที่มาจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของ
บุคคล ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล การ
9
ประเมินค่า เป็นต้น และ Fluid Intelligence หรือ “สติปัญญาที่
เป็นอิสระปราศจากการเรียนรู้และประสบการณ์” สติปัญญาส่วนนี้
มาจากพันธุกรรม ประกอบด้วยความสามารถหลายประเภท เช่น
การใช้เหตุผล การอนุมาน การมองเห็น ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
เป็นต้น และจะมีแทรกอยู่ในลักษณะทางความคิด ความจำา การแก้
ปัญหา เป็นต้น (อารีย์ พันธ์มณี, 2546)
2) แบบการเรียน (Learning Style)
แบบการเรียน หมายถึงพฤติกรรมที่แตกต่างกันของผู้เรียน
ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลเรียนรู้อย่างไร และปรับตัวให้เข้ากับสภาพ
แวดล้อมของตนได้อย่างไร แบบการเรียนยังเป็นตัวชี้แนะว่าจิตใจ
ของบุคคลทำางานอย่างไร (Gregorc, 1979 อ้างถึงใน พัชรี
เกียรตินันทวิมล, 2530) แบบของการเรียนที่เหมาะสม ลักษณะ
ของผู้เรียนที่เหมาะสมจะช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอนมี
ประสิทธิภาพสูงสุด ผลการวิจัยเกี่ยวกับแบบการเรียน (Learning
Style) เป็นจำานวนมากที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมักจะเลือกใช้แบบ
การเรียนที่ตนถนัดในการเรียนรู้ และในบางกรณีผู้เรียนสามารถ
ปรับวิธีการเรียนตามลักษณะของเนื้อหาที่จะเรียนได้ (Kolb,
1984) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องคำานึงถึงแบบผู้เรียนอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้แบบการเรียนจึงได้
รับความสนใจศึกษาจากนักการศึกษาหลายท่าน
3) แบบการคิด (Cognitive Style)
แบบการคิดเป็นคุณลักษณะในการรับรู้ การจำา การแก้
ปัญหา และการตัดสินใจ แต่ไม่ได้สะท้อนถึงความสามารถของ
บุคคลนั้น กล่าวคือเป็นรูปแบบหรือสไตล์ในการนำาเอาความ
สามารถที่มีอยู่ไปใช้งาน ไม่ใช่คุณลักษณะที่บ่งบอกถึงระดับความ
สามารถที่มีอยู่ มีการศึกษาเรื่องการคิดแล้วแบ่งออกมาเป็นประเภท
ต่างๆ มากมาย เช่น Field dependence-Field
independence, Reflectivity-Impulsivity, Haptic-Visual,
Leveling-Sharpening, Cognitive Complexity-
Simplicity, Constricted-Flexible Control เป็นต้น แต่พบว่า
แบบการคิดที่ถูกนำาไปวิจัยด้านการเรียนการสอนมากที่สุด คือ
Field dependence-Field independence ซึ่งเสนอโดย
Witkin และคณะ (1997) โดย Field dependence (FD)
สามารถรับรู้ถึงภาพรวมได้ดี มีความสามารถสูงที่จะพัฒนาทักษะ
การสื่อสารระหว่างบุคคลแต่ด้อยในการกำาหนดโครงสร้าง
10
สารสนเทศด้วยตนเอง ผู้เรียนในกลุ่มนี้จะมีความลำาบากในการ
มองแยกส่วนในเรื่องที่มีความซับซ้อน มักต้องการแรงจูงใจ
ภายนอก และชอบที่จะเรียนแบบร่วมมือ ส่วน Filed
independence (FI) มีลักษณะของนักวิเคราะห์ สามารถกำาหนด
โครงสร้างของสารสนเทศของตนเองได้ดี มีแรงจูงใจภายในและ
ชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มีแนวโน้มที่จะกำาหนดเป้าหมายและ
การเสริมแรงด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้เสนอข้อโต้
แย้งเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง FD-FI (Crozier, 1997) โดยตั้งข้อ
สงสัยว่าคุณสมบัติ FD-FI ไม่ใช่ความถนัดแต่เป็นความแตกต่าง
ทางความสามารถ เนื่องจากวิธีการวัด FD-FI ทำาโดยให้บุคคลมอง
ส่วนประกอบภาพที่ซับซ้อน (Embeded Figure Test) ซึ่งมี
ลักษณะคล้ายการวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในแบบสติ
ปัญญา (Intelligence Quotient [IQ]) และอีกประการหนึ่งคือ
คำานิยามของ FI มีความสัมพันธ์กับการวัด IQ อีกทั้งยังพบว่าผล
สัมฤทธิ์ในโรงเรียนกลุ่มผู้เรียนประเภท FI มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า FD
ในทุกรายวิชา ซึ่งหาก FD-FI เป็นคุณลักษณะของความถนัดก็
ควรจะมีบางรายวิชาที่ผู้เรียนประเภท FD มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า FI
ข้อค้นพบเหล่านี้ทำาให้เกิดข้อสงสัยต่อคุณค่าของการกำาหนด
โครงสร้าง (Construct) ของเรื่อง FD-FI
4) ความรู้ก่อนเรียน (Prior knowledge)
ความรู้ก่อนเรียน มีความสำาคัญเนื่องจากมีความเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับกิจกรรมการเรียนการสอนและหลายการศึกษาได้
แสดงให้เห็นถึงผลของความรู้ก่อนเรียนในการทำานายผลสัมฤทธิ์
ของผู้เรียนและความต้องการสนับสนุนด้านการเรียนการสอน คือ
ระดับความรู้ก่อนเรียนสูง ก็ต้องการการสนับสนุนด้านการเรียน
การสอนที่น้อยลง ที่จะทำากิจกรรมได้สำาเร็จ นอกจากนี้ความรู้ก่อน
เรียนยังมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงอย่างเด่นชัดกับความสนใจใน
รายวิชานั้นด้วย
ความรู้ก่อนเรียนแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ความรู้ในรายวิชา
พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (Entry behavior) ซึ่งมีความจำาเป็นต่อการ
ทำาความเข้าใจและเรียนในรายวิชาหนึ่งๆ และอีกส่วนหนึ่งก็คือ
ความรู้ในเนื้อหาที่กำาลังจะเรียน ซึ่งวัดได้โดยแบบทดสอบก่อน
เรียน
5) ความเครียด/วิตกกังวล (Anxiety)
11
ผู้เรียนที่มีระดับความเครียดสูง จะทำาแบบทดสอบได้ไม่ดี
เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียดที่สูง จะรบกวน
กระบวนการทางสมองซึ่งควบคุมการเรียนรู้ เช่น Deutsh and
Tobias (1980 cited in Park and Lee, 2004) พบว่า
นักเรียนที่มีความเครียดสูงที่ได้รับทางเลือกในการทบทวนสื่อการ
เรียน (เช่น เทปวิดีทัศน์) ระหว่างการเรียนรู้ จะมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่า
นักเรียนที่มีความเครียดสูงแต่ไม่มีทางเลือกในการเรียนทบทวน
เป็นต้น
6) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motivation)
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) เป็น
แรงจูงใจที่ทำาให้บุคคลมีความต้องการที่จะกระทำาสิ่งต่างๆ ทั้งใน
หน้าที่การงานและเรื่องราวส่วนตัวให้สำาเร็จลุล่วง เป็นที่ทราบกัน
อยู่แล้วว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาของผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียน มีหลักฐานจากการศึกษาบ่งชี้ว่าจะต้องมี
การกระตุ้นแรงจูงใจต่อกิจกรรมแต่ละอย่าง การศึกษาของ Snow
(1986 cited in Park Lee, 2004) พบว่าผู้เรียนบรรลุถึงระดับ
ความสามารถที่เหมาะสมเมื่อได้รับแรงจูงใจระดับปานกลางเพื่อให้
ประสบผลสำาเร็จและหลีกเลี่ยงความล้มเหลว
ลักษณะของผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงคือ 1) เป็นผู้ที่มี
ความบากบั่น พยายาม อดทนเพื่อจะทำางานให้บรรลุเป้าหมาย 2)
ต้องการทำางานให้ดีที่สุด โดยเน้นถึงมาตรฐานที่ดีเลิศของความ
สำาเร็จ 3) ชอบความท้ามายของงาน โดยมุ่งทำางานที่สำาคัญให้
ประสบความสำาเร็จ 4) ชอบแสดงออกถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
งาน 5) ชอบแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ 6) ทำางานอย่างมี
หลักเกณฑ์เป็นขั้นตอน และมีการวางแผน 7) ชอบยกเหตุผลมา
ประกอบคำาพูดอยู่เสมอ 8) อยากให้ผู้อื่นยกย่องว่าทำางานเก่ง
2. แนวคิดเกี่ยวกับพุทธปรัชญาว่าด้วยดอกบัวสี่
เหล่า
พุทธปรัชญา (Buddhism)
พุทธปรัชญาการศึกษา มาจากคำาว่า Buddhishic
Philosophy of Education ซึ่งได้แนวคิดมาจากพระพุทธ
ศาสนา (Buddhism) จากพระธรรมคำาสอนของพระสัมมาสัมพุทธ
จ้า และปรัชญาการศึกษาอื่นๆ การศึกษาในพุทธปรัชญา คือ การ
12
ศึกษาเพื่อให้เข้าใจความจริง เข้าใจความหมายของชีวิต ทั้งดำารง
ชีวิตให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความจริง
พุทธปรัชญา ได้นำาหลักเหตุและผลไปวิเคราะห์และอธิบายความ
จริงและความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายในโลก ได้ชี้แนะให้ทราบว่า
อะไรคือความเป็นเลิศ หรือความดีที่พึ่งปรารถนาในชีวิต และจะ
ศึกษาปฏิบัติให้เป็นผลได้อย่างไร
พุทธปรัชญา หมายถึง ความรู้อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าได้
ตรัสรู้แล้วหรือพุทธธรรม
วิธีการสอนต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและ
สภาพของผู้เรียน ดังนั้นจะยึดหลักปฏิบัติตามอริยสัจสี่ และมรรค
แปด ดังนี้
1. ยึดผู้เรียนเป็นสำาคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมี
ความสุข
2. ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยวิธีการแก้ปัญหาและการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งวิธีการเรียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
3. คำานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
4. จัดสภาพภายในห้องเรียนและบริเวณสถานศึกษาและสภาพ
แวดล้อมภายนอกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเรียนด้วยตัว
เอง ส่งเสริมการมีวินัยในตนเองและการมีสมาธิของผู้เรียน
แต่ละคนและการเรียนเป็นกลุ่มในบางครั้งตามความเหมาะ
สม เพื่อส่งเสริมการเป็นคนดีในหมู่คณะ รู้จักแบ่งปัน และ
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมซึ้งส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดีของ
ชาติ รู้จักเสียสละ แบ่งปัน การให้ และการมีส่วนร่วมใน
สังคมประชาธิปไตยต่อไป
5. ให้ความสำาคัญกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นราย
บุคคล และต้องส่งเสริมเด็กเรียนเก่งให้เจริญงอกงามทั้ง
ความรู้สึกและสติปัญญา
6. คิดหาวิธีสอน และกิจกรรมและประสบการณ์ที่หลากหลายทั้ง
ในและนอกห้องเรียน และสอดคล้องกับสื่อและเนื้อหา ความ
รู้และทักษะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ผู้สอน - ครู
13
1. เป็นผู้ให้วิทยาการ (สิปปทายก) ได้แก่ การให้ความรู้ทาง
วิชาการและการประกอบอาชีพแก่ผู้เรียน รวมถึงต้องหมั่น
ค้นคว้าและหาความรู้
2. มีหน้าที่ชี้แนะแนวทางในการดำาเนินชีวิตที่ถูกต้อง
(กัลยาณมิตร) คือสอนให้รู้จักคิด มองความหมายของสิ่ง
ต่างๆ อย่างถูกต้อง รู้ตักแสดงออกอย่างมีเหตุผล มีความรับ
ผิดชอบและรู้จักดำาเนินชีวิตที่ดี
ผู้เรียน
1. เป็นผู้ที่มีความเคารพและศรัทธาต่อครู
2. เป็นผู้รับฟังคำาแนะนำาของครู
3. เป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีวุฒิภาวะ รู้จักใช้เหตุผลและ
คุณธรรมในการตัดสินใจ
การวัดและประเมินผล
1. โดยวัดผลจากการกระทำาของนักเรียน ด้วยการสังเกต
พฤติกรรม
2. ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียน
ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปฐมบท
ภาพพุทธประวัติปางประสูติ ที่ปรากฏมีดอกบัวผุดรับพระบาทที่
ทรงดำาเนิน 7 ก้าว มีความสัมพันธ์กับ "บัวสี่เหล่าที่พระพุทธเจ้า
เปรียบเทียบกับเวไนยสัตว์สี่" กล่าวคือ
1. ถ้าผู้อับปัญญาหรือ "บัวในตม" มองภาพปางประสูติ ก็
ทึกทักเอาว่าเป็น "บุญญาภินิหารของพระพุทธองค์" พอแรก
ประสูติก็ทรงดำาเนินได้เลย ไม่ต้องนอนแบเบาะเหมือนทารกทั่วๆ
ไป การดำาเนินแต่ละก้าว ก็มีดอกบัวผุดรับ เป็นที่อัศจรรย์เหนือกว่า
มนุษย์และเทวดาทั้งปวง
2. ถ้าผู้มีปัญญาเล็กน้อย "บัวใต้นำ้า" ก็มองภาพเดียวกันนี้
ว่า เป็นจินตนาการของผู้วาด ภาพเขียนดอกบัวใต้พระบาท เพื่อ
ความเหมาะสมในการตกแต่งภาพให้สวยสดงดงามขึ้นเท่านั้น
3. ถ้าผู้มีปัญญาปานกลาง "บัวปริ่มนำ้า" มองภาพที่กล่าวนี้
ก็ได้ความคิดว่า การที่พระพุทธองค์ทรงดำาเนิน 7 ก้าว ดอกบัว 7
ดอกผุดรับ จะต้องมีความหมายว่า เหตุใดจึงทรงดำาเนิน 7 ก้าว
และดอกบัวที่ผุดรับ 7 ดอก หมายถึงอะไร เลข 7 ในที่นี้ จะต้องมี
14
ความหมายชัดเจน ทำาไมจึงไม่เป็นเลข 3, 5, 9 หรือเลขอื่นๆ ซึ่ง
เมื่อศึกษาค้นคว้าต่อไป ก็จะเข้าใจกระจ่าง ปราศจากข้อสงสัย
4. ถ้าผู้มีปัญญาเฉียบแหลม "บัวพ้นนำ้า" มองภาพพุทธ
ประวัติปางประสูติดังแสดงไว้ข้างต้น ก็จะเข้าใจได้โดยฉับพลัน
ทันทีว่า "การที่พระพุทธองค์ทรงดำาเนิน 7 ก้าว มีความหมายว่า
พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนารวม 7 แคว้น ก่อน
ปรินิพพาน"
"ดอกบัว 7 ดอก ที่ผุดรับพระบาท หมายถึงแคว้น 7 แห่งที่
พระพุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคง เช่น แคว้นมคธ แคว้น
โกศล เป็นต้น"
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์
3.1 ความหมายของการสอนออนไลน์
ได้มีผู้ให้ความหมายของการสอนออนไลน์การสอน
ออนไลน์หลายทัศนะดังนี้
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(2546) ได้ให้ความหมายของการสอนออนไลน์ (Online
Learning) ว่าเป็นการนำาเทคโนโลยีไปใช้ในด้านการส่งเสริม
ประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบเช่น
การนำามัลติมีเดียมาใช้เป็นสื่อการสอนของครูและอาจารย์ให้
นักเรียนเรียนรู้ค้นคว้าด้วยตนเองด้วยการเรียนผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
สุรสิทธิ์วรรณไกรโรจน์ (2546) ได้ให้คำาจำากัดความของ
การสอนออนไลน์คือการเรียนรู้แบบออนไลน์หรือการศึกษาเรียนรู้
ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรือ
อินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองผู้เรียนจะได้เรียน
ตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียน
ซึ่งประกอบด้วยข้อความรูปภาพเสียงวิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆจะ
ถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเวบ (Web)โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วม
ชั้นเรียนทุกคนสามารถติดต่อปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติโดยอาศัย
เครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย(จดหมายอิเล็กทรอนิกส์,
กระดานเสวนาและห้องสนทนา)
15
จึงเป็นการเรียนสำาหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่
(Learn for All : Anyone, Anywhereand Anytime)
ไพฑูรย์ศรีฟ้า (2546)ได้ให้ความหมายของการสอน
ออนไลน์ว่าเป็นการเรียนการสอนทางไกลที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผ่านทางเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) ซึ่งผู้เรียนและ
ผู้สอนใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผู้เรียน
สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายที่มีอยู่
ทั่วโลกอย่างไร้ขอบเขตจำากัดผู้เรียนสามารถทำากิจกรรมหรือแบบ
ฝึกปฏิบัติต่างๆแบบออนไลน์โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยอำานวยความ
สะดวกเป็นการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
ในปัจจุบันเพราะไม่มีขีดจำากัดเรื่องระยะทางเวลาและสถานที่อีกทั้ง
ยังสนองตอบต่อศักยภาพ
และความสามารถของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ถนอมพรเลาหจรัสแสง (2545) กล่าวว่าการสอนออนไลน์
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันได้แก่ความหมายโดย
ทั่วไปและความหมายเฉพาะเจาะจงสำาหรับความหมายโดยทั่วไป
ของการสอนออนไลน์จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมากกล่าวคือ
จะหมายถึงการเรียนในลักษณะใดก็ได้ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา
ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เครือข่าย
อินเทอร์เน็ตอินทราเน็ตเอ็กซทราเน็ตหรือทางสัญญาณโทรทัศน์
หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจ
อยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกัน
มาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted
Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การ
เรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ใน
ลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวีดิทัศน์
ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น สำาหรับความหมาย
เจาะจงนั้น การสอนออนไลน์ เป็นการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศ
สำาหรับ
การสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้การนำาเสนอด้วยอักษร ภาพนิ่ง ผสม
ผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัย
เทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา
รวมทั้ง
การใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course
Management System) ในการบริหารจัดการสอน โดยจัดให้มี
16
เครื่องมือการสื่อสารต่างๆ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และ
กระดานเสวนา สำาหรับ
ตั้งคำาถามหรือแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือกับ
วิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบหลังจากเรียนจบ เพื่อวัดผลการ
เรียน รวมทั้งให้มีระบบบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล
การเรียน โดยผู้เรียนที่เรียนจากการสอนออนไลน์นี้ ส่วนใหญ่แล้ว
จะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องมือที่มี
การเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากความหมายของการสอนออนไลน์ ข้างต้น สามารถ
สรุปได้ว่าการสอนออนไลน์ หมายถึงการเรียนการสอนผ่านเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการเรียนสำาหรับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานที่
มีการนำาเสนอเนื้อหาสื่อประสม ด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ
เคลื่อนไหว เสียง และระบบวีดีทัศน์ ด้วยเครื่องมือสื่อสารประเภท
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กระดานเสวนา โดยใช้เทคโนโลยีระบบ
การจัดการคอร์ส
3.2 ลักษณะสำาคัญของการสอนออนไลน์
ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) ได้กล่าวว่าการสอน
ออนไลน์ที่ดีควรประกอบด้วย
ลักษณะสำาคัญดังนี้
1. ทุกเวลาและสถานที่ (Anytime, Anywhere) หมายถึง
การสอนออนไลน์ ควรต้อง
ช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง
ในที่นี้หมายถึงการที่ผู้เรียน
สามารถเรียกดูเนื้อหาตามความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่างเช่น
ในประเทศไทย ควรมีการใช้
เทคโนโลยีการนำาเสนอเนื้อหาที่สามารถเรียกดูได้ทั้งขณะที่
ออนไลน์ (เครื่องมีการต่อเชื่อมกับ
เครือข่าย) และในขณะที่ออฟไลน์ (เครื่องไม่มีการต่อเชื่อมกับ
เครือข่าย)
2. สื่อประสม (Multimedia) หมายถึง การสอนออนไลน์
ควรต้องมีการนำาเสนอเนื้อหา
โดยใช้ประโยชน์จากสื่อประสม เพื่อช่วยในการประมวลผล
สารสนเทศของผู้เรียนเพื่อให้เกิด
ความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
17
3. ไม่เป็นเชิงเส้นตรง (Non-linear) หมายถึง การสอน
ออนไลน์ควรต้องมีการนำาเสนอเนื้อหาในลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น
ตรง กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย
การจัดการเรียนการสอนผ่านการสอนออนไลน์นี้จะต้องจัดหาการ
เชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
4. ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) หมายถึง การสอนออนไลน์
นั้นควรต้องมีการเปิดโอกาส
ให้ผู้เรียนโต้ตอบกับเนื้อหาหรือกับผู้อื่นได้ กล่าวคือ
- การสอนออนไลน์ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่งผู้
เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา
รวมทั้งมีการจัดเตรียมแบบฝึกหัดและแบบทดสอบให้ผู้เรียน
สามารถตรวจสอบความเข้าใจด้วยตนเองได้
- การสอนออนไลน์ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้
ช่องทางแก่ผู้เรียนในการ
ติดต่อสื่อสารเพื่อการปรึกษา อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น
กับผู้สอน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อน ๆ
5. มีผลป้อนกลับทันที (Immediate Response) หมาย
ถึง การสอนออนไลน์ ควรต้อง
มีการออกแบบให้มีการทดสอบการวัดผลและการประเมินผล ซึ่ง
ให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียน
ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน หรือแบบทดสอบ
หลังเรียนก็ตาม
จากลักษณะสำาคัญของการสอนออนไลน์สรุปได้ว่าเป็นการ
เรียนการสอนโดยผู้สอน
และผู้เรียนสามารถที่จะเรียนในลักษณะช่วงเวลาที่ตรงกันหรือ
แตกต่างกันก็ได้ โดยอาศัยระบบ
สื่อประสม ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหว เสียงตัวอักษร
เป็นต้น มีแบบฝึกหัดที่มีการ
แสดงผลป้อนกลับในทันทีภายหลังจากที่ผู้เรียนศึกษา ผู้เรียน
สามารถตรวจสอบความเข้าใจของตน
ได้ สามารถปรึกษา สอบถาม อภิปราย แสดงความเห็นกับเพื่อน
หรือผู้สอน อันจะทำาให้การเรียน
การสอนน่าสนใจและมีประสิทธิภาพ
3.3 รูปแบบของการเรียนการสอนออนไลน์
18
ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2546) ได้กล่าวถึงการแบ่งรูป
แบบของการสอนออนไลน์
ว่า ได้มีความพยายามของนักการศึกษาหลายท่านซึ่งได้นำาเสนอ
รูปแบบของการจัดการเรียนการ
สอนด้วยการสอนออนไลน์ ไว้ โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยม
ได้แก่ การแบ่งการสอนออนไลน์
ออกตามมิติของเวลา และมิติของการโต้ตอบ เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. ประเภท A เป็นการเรียนการสอนปรกติ ที่มีการพบปะ
กันในชั้นเรียน ในลักษณะ
เวลาและสถานที่เดียวกันรวมทั้งการใช้สื่อ โทรทัศน์และวิทยุ เข้า
มาประกอบการเรียนการสอน แต่การโต้ตอบจะค่อนข้างจำากัด
ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้มักดำาเนินไปในลักษณะผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
2. ประเภท B เป็นการศึกษาด้วยตนเอง ในลักษณะเวลา
และสถานที่ต่างกัน โดยมีการ
จัดหาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะโสตทัศนะ รวมทั้งสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ เช่น CAI, CBT, CD-ROM หรือ VOD (Video
On Demand) การโต้ตอบมักจะจำากัดในลักษณะทางเดียว
3. ประเภท C เป็นการสอนผ่านเว็บ คือการเรียนการสอน
ออนไลน์โดยใช้เว็บเป็นฐาน
โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ASP ดังนั้น
การเรียนการสอนจะอยู่ในลักษณะเวลาและสถานที่ต่างกัน
อย่างไรก็ดี การโต้ตอบจะไม่จำากัด เพราะมีการจัดหาเครื่องมือใน
การโต้ตอบกับผู้สอน และผู้เรียนอย่างสะดวก
4. ประเภท D เป็นการประชุมภาพ (Video
Conferencing) ซึ่งเป็นการเรียนการสอน หรือ
การอบรมในลักษณะเวลาและสถานที่เดียวกัน โดยอาศัย
เทคโนโลยีโทรทัศน์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
โทรคมนาคมต่างๆ เพื่อถ่ายทอดการเรียนการสอนหรือการอบรม
นั้น โดยมักจะจัดให้มีอุปกรณ์การสื่อสารในสถานีปลายทางเพื่อให้
เกิดการโต้ตอบ 2 ทางระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้
การกำาหนดรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนผ่านการ
สอนออนไลน์นี้แบ่งตามมิติของการโต้ตอบได้ 4 ลักษณะดังกล่าว
มาแล้ว ข้างต้นนั้น ผู้สอนสามารถผสมผสานรูปแบบของการสอน
ออนไลน์เข้าด้วยกันทั้งในลักษณะเวลาเดียวกันและต่างเวลา เพื่อ
การจัดการเรียนการสอนที่มี
19
ประสิทธิภาพส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาศักยภาพยิ่งขึ้น
รูปแบบของการสอนออนไลน์ ที่ได้รับความนิยม (ถนอมพร
เลาหจรัสแสง, 2549) ได้แก่
ประเภท C หรือการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเว็บ โดยมีประเภท
D หรือการใช้การประชุมทาง
ภาพ (Video Conference) รองลงมา จะพบว่าลักษณะของการ
เรียนการสอนออนไลน์ที่กำาลังได้รับ
ความนิยมมากในขณะนี้จะมี 2 ลักษณะ คือ ในลักษณะของ การมี
ปฏิสัมพันธ์ในการเรียน
(Interactive Learning) และรูปแบบการเรียนด้วยข้อมูลเสมือน
จริง (Virtual Data Provision) ซึ่ง
ความแตกต่างระหว่างสองลักษณะได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ในการ
เรียนจะเน้นให้ผู้เรียนศึกษาผ่าน
การสอนออนไลน์ และการเรียนรู้นั้น เกิดจากการโต้ตอบกับระบบ
ร่วมกับผู้สอน หรือกลุ่มผู้เรียน
ด้วยกัน ในขณะที่รูปแบบการเรียนด้วยข้อมูลเสมือนจริง (Virtual
Data Provision) นั้น การเรียนรู้จะ
เกิดจากการที่ได้โต้ตอบกับเนื้อหาและแบบทดสอบความเข้าใจ
ของผู้เรียนที่ได้จัดหาไว้ ซึ่งมักจะอยู่
ในลักษณะของการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนสูง เช่น
การเรียนรู้เพื่อสอบเลื่อนขั้น หรือ
การเรียนรู้เพื่อการเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่สูงขึ้น เป็นต้น
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(2546) ได้กล่าวถึงรูปแบบของ
การสอนออนไลน์ ไว้ดังนี้
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education)
เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง เช่น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพ
และเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ (Online University หรือ
Virtual University)
เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ(Web
page) มีการสร้างกระดานเสวนาถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์หรือ
เรียกว่าเว็บบอร์ด(Web Board)
20
3. การเรียนการสอนผ่านออนไลน์และการศึกษาโดยใช้เว
บทางอินเทอร์เน็ตเป็นฐานความรู้ (Online Learning, Internet
Web Base Education) โดยเป็นการนำาเสนอเนื้อหาและการ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆ
อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้
ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้อง
ควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่
ในการเรียนรู้
4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส
(Asynchronous LearningNetwork: ALN) เป็นการเรียนการ
สอนที่ต้องมีการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การ
ทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
รูปแบบของการสอนออนไลน์ ในปัจจุบันจะเน้นที่การ
สื่อสารแบบ 2 ทางคือผู้สอนและ
ผู้เรียนจะสามารถเรียนในช่วงเวลาเดียวกันและช่วงเวลาที่แตก
ต่างกันโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยทรัพยากรต่างๆ
ของระบบอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในช่วงเวลา
เดียวกันจะมี
เครื่องมือการสื่อสารเช่น ห้องสนทนาสำาหรับแลกเปลี่ยนความคิด
เห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้อาจจะรวมไปถึง การประชุมภาพ
(Video Conferencing) เทคโนโลยีการ
สื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถมองเห็นภาพ
และโต้ตอบกันได้ตลอดจนการ
เรียนในช่วงเวลาที่แตกต่างกันก็จะมีเครื่องมือเช่น จดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) กระดานเสวนา
(Web Board) และห้องสนทนา (Chat Room) สำาหรับให้ผู้เรียน
และผู้สอนตั้งหัวข้อสนทนาเพื่อให้
ผู้เรียนหรือผู้สอนเข้ามาแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
3.4 องค์ประกอบของการสอนออนไลน์
ณัฐพงษ์ สมปินตา (2549) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่
สำาคัญของการสอนออนไลน์ 4 ส่วน
ดังนี้
1. เนื้อหาของบทเรียน
21
สำาหรับการเรียน การศึกษาแล้วไม่ว่าจะเรียนอย่างไรก็ตาม
เนื้อหาถือว่าเป็นสิ่งที่สำาคัญ
ที่สุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสอนออนไลน์ นั้นถือว่าเป็นการ
เรียนรู้แบบใหม่สำาหรับวงการ
การศึกษาในประเทศไทย ดังนั้นเนื้อหาของการเรียนแบบนี้ที่
พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีอยู่น้อย
มากทำาให้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการฝึกอบรม เพิ่มพูน
ความรู้ พัฒนาศักยภาพทั้งของบุคคล
โดยส่วนตัวและของหน่วยงานต่างๆ จึงต้องมีการประสาน สร้าง
เครือข่ายความร่วมมือกับ
มหาวิทยาลัยชั้นนำาของประเทศต่างๆรวมทั้งสถาบันการศึกษา
วิทยาลัย โรงเรียน หน่วยราชการ
และผู้สนใจทั่วไปที่มีความสนใจจะนำาเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่ มา
พัฒนาเป็นบทเรียนออนไลน์ โดย
เจ้าของเนื้อหาวิชา(Content Provider) ที่เป็นแหล่งความรู้ทั้ง
หลายนั้น ทุกๆท่านจะมีความเด่นใน
เนื้อหาด้านต่างๆ ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจน
ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ระบบบริหารการเรียน
เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือการสอนออนไลน์ นั้น
เป็นการเรียนที่สนับสนุนให้
ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำา
หน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำาหนดลำาดับ
ของเนื้อหาในบทเรียน นำาส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำาเร็จ
ของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้
เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบ
ของการจัดการเรียนการสอนผ่านการสอนออนไลน์ ที่สำาคัญมาก
เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหาร
การเรียน (LMS : Learning Management System) ถ้าจะ
กล่าวโดยรวม LMS จะทำาหน้าที่ตั้งแต่
ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร, บทเรียนทั้งหมด
เอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามา
เรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำางานโดยส่ง
บทเรียนตามคำาขอของผู้เรียนผ่าน
22
เครือข่ายคอมพิวเตอร์(อินเทอร์เน็ต, อินทราเน็ต หรือเครือข่าย
คอมพิวเตอร์อื่นๆ) ไปแสดงที่เว็บบราวเซอร์ (Web browser)
ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า
รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุก
หน่วยการเรียนอย่างละเอียด
จนกระทั่งจบหลักสูตร
3. การติดต่อสื่อสาร
การเรียนทางไกลโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการเรียนด้วยตัว
เอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน
ปกติ ซึ่งผู้เรียนจะเรียนจากสื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
และสื่ออื่น การเรียนด้วยการสอนออนไลน์ ก็เช่นกันถือว่าเป็นการ
เรียนทางไกลแบบหนึ่ง แต่สิ่ง
สำาคัญที่ทำาให้การเรียนด้วยการสอนออนไลน์ มีความโดดเด่นและ
แตกต่างไปจากการเรียนทางไกล
ทั่วๆไปก็คือการนำารูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้
ประกอบในการเรียนเพื่อเพิ่มความ
สนใจความตื่นตัวของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่นใน
ระหว่างเรียนถ้ามีคำาถามซึ่งเป็นการ
ทดสอบย่อยในบทเรียนเมื่อคำาถามปรากฏขึ้นมาผู้เรียนก็จะต้อง
เลือกคำาตอบและส่งคำาตอบกลับมา
ยังระบบในทันที เหตุการณ์ดังกล่าวจะทำาให้ผู้เรียนรักษาระดับ
ความสนใจในการเรียนได้เป็น
ระยะเวลามากขึ้น นอกจากนี้วัตถุประสงค์สำาคัญอีกประการของ
การติดต่อแบบ 2 ทางก็คือใช้เป็น
เครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อ สอบถาม ปรึกษาหารือ และ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง
ตัวผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคน
อื่นๆ
4. การสอบ/วัดผลการเรียน
โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด
หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมี
การสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/
วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบ
23
สำาคัญที่จะทำาให้การเรียนผ่านการสอนออนไลน์ เป็นการเรียนที่
สมบูรณ์ กล่าวคือในบางวิชา
จำาเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนเข้าสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียน
ได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่
เหมาะสมกับเขามากที่สุด ซึ่งจะทำาให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการ
เรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อ
เข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการ
สอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร
ระบบบริหารการเรียนจะเรียกข้อสอบที่จะใช้มากจากระบบบริหาร
คลังข้อสอบ (Test Bank System)
ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน
3.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนร่วมกับออนไลน์
ถนอมพร เลาหจรัสแสง(2546) ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้
รับจากการนำาการสอน
ออนไลน์ไปใช้ในการเรียนการสอนว่ามีดังนี้
1. การสอนออนไลน์ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะ
การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางมัลติมีเดียสามารถทำาให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ได้ดีกว่า การเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว หรือ
จากการสอนภายในห้องเรียนของผู้สอนซึ่งเน้นการบรรยายใน
ลักษณะ
ใช้ชอล์กและสอนด้วยวิธีการบรรยาย (Chalk and Talk) แต่
เพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้สื่อใด ๆ ซึ่งเมื่อ
เปรียบเทียบกับการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนออนไลน์ที่
ได้รับการออกแบบและผลิตอย่าง
มีระบบ การจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนออนไลน์นี้ สามารถ
ช่วยทำาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ในเวลาที่เร็วกว่า นอกจากนี้ยัง
เป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี เพราะผู้สอนจะสามารถใช้การ
สอนออนไลน์ ในการจัดการเรียน
การสอนที่ลดการบรรยาย (Lecture) ได้ และสามารถใช้การสอน
ออนไลน์ ในการจัดการเรียนการ
สอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง (Autonomous Learning) ได้
24
ดียิ่งขึ้น
2. การสอนออนไลน์ช่วยทำาให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบ
ความก้าวหน้าพฤติกรรม
การเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา เนื่องจากการ
สอนออนไลน์มีการจัดหาเครื่องมือ
ที่สามารถทำาให้ผู้สอนติดตามการเรียนของผู้เรียนได้ การสอน
ผ่านการสอนออนไลน์นี้ช่วยทำาให้
ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ เนื่องจากการนำาเอา
เทคโนโลยีไฮเปอร์มีเดีย
(Hypermedia) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมโยงข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้อความ
ภาพนิ่ง เสียง กราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ที่เกี่ยวเนื่องกันเข้า
ไว้ด้วยกันในลักษณะที่ไม่เป็นเชิง
เส้น (Non-Linear) ทำาให้สามารถนำาเสนอเนื้อหาในรูปแบบใย
แมงมุมได้ ดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถ
เข้าถึงข้อมูลใดก่อนหรือหลังได้ โดยไม่ต้องเรียงตามลำาดับ และ
เกิดความสะดวก ในการเข้าถึงของ
ผู้เรียนอีกด้วย
3. การสอนออนไลน์ ช่วยทำาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้
ตามจังหวะของตน (Self-
Paced Learning) เนื่องจากการนำาเสนอเนื้อหาในรูปแบบของ
ไฮเปอร์มีเดีย เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
สามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนในด้านของลำาดับการเรียนได้
ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด
และความสนใจของตน นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถทดสอบทักษะ
ของตนเองก่อนเรียนได้ ทำาให้
สามารถทราบจุดอ่อนของตนและเลือกเนื้อหาให้เข้ากับรูปแบบ
การเรียนของตัวเอง เช่น การเลือก
เรียนเนื้อหาเฉพาะบางส่วนที่ต้องการทบทวนโดยไม่ต้องเรียนใน
ส่วนที่เข้าใจแล้ว ซึ่งถือว่าผู้เรียน
ได้รับอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง จึงทำาให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้ตามจังหวะของตนเอง
4. การสอนออนไลน์ช่วยทำาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้
เรียนกับครูผู้สอน และกับ
25
เพื่อนๆ ได้เนื่องจากการสอนออนไลน์ มีเครื่องมือต่างๆ มากมาย
เช่น ห้องสนทนา กระดานเสวนา
และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่เอื้อต่อการโต้ตอบหรือการ
ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ที่
หลากหลาย และไม่จำากัดว่าจะอยู่ในสถาบันการศึกษาเดียวกัน
นอกจากนั้นการสอนออนไลน์ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีจะเอื้อให้
เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เช่น การออกแบบเนื้อหาในลักษณะเกม หรือการ
จำาลอง เป็นต้น
5. การสอนออนไลน์ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะ
ใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหาที่มี
ความทันสมัยและตอบสนองต่อเรื่องราวต่างๆ ในปัจจุบันได้อย่าง
ทันที เพราะการที่เนื้อหาการเรียน
อยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ข้อความซึ่งได้รับ
การจัดเก็บ ประมวลผล การนำาเสนอ
และเผยแพร่ทางคอมพิวเตอร์เหล่านี้ทำาให้มีข้อได้เปรียบสื่ออื่นๆ
หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในด้านของความสามารถในการปรับปรุงเนื้อหาสารสนเทศให้ทัน
สมัยได้ตลอดเวลา การเข้าถึง
ข้อมูลที่ต้องการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว และความคงทนของ
ข้อมูล
6. การสอนออนไลน์ทำาให้เกิดรูปแบบการเรียนที่สามารถ
จัดการเรียนการสอนให้แก่
ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เพราะผู้เรียนที่ใช้การเรียนลักษณะการสอน
ออนไลน์จะไม่มีข้อจำากัดในด้าน
การเดินทางมาศึกษาในเวลาใดเวลาหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่
หนึ่ง ดังนั้นการสอนออนไลน์จึง
สามารถนำาไปใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long
Learning) ได้ และยิ่งไปกว่านั้น
ยังสามารถนำาไปใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ขาดโอกาสทางการ
ศึกษาในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
โดยผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ในเมืองหรือในชนบท สามารถเข้ามา
ศึกษาเนื้อหาที่ได้มาตรฐานเท่า
เทียมกัน
26
7. การสอนออนไลน์ทำาให้สามารถลดต้นทุนในการจัดการ
ศึกษานั้น ๆ ได้ ในกรณีที่มี
การจัดการเรียนการสอนสำาหรับผู้เรียนที่มีจำานวนมาก และเปิด
กว้างให้สถาบันอื่น ๆ หรือบุคคล
ทั่วไปเข้ามาใช้การสอนออนไลน์ได้ ซึ่งจะพบว่าเมื่อต้นทุนการ
ผลิตการสอนออนไลน์เท่าเดิม
แต่ปริมาณผู้เรียนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นหรือขยายวงกว้างการใช้
ออกไป ก็เท่ากับเป็นการลดต้นทุน
ทางการศึกษานั่นเอง
จากประโยชน์ของการสอนออนไลน์ข้างต้น สรุปได้ว่า การ
สอนออนไลน์นั้น เป็นการ
เอื้อต่อการศึกษาตลอดชีวิต (Life Long Education) หรือการ
ศึกษาตามอัธยาศัย ผู้เรียนสามารถเลือก
เรียนตามความต้องการของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ ณ
สถานที่ใด และในช่วงเวลาใด
(Anywhere Anytime Anyone) การสอนออนไลน์กำาลังได้รับ
ความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
เป็นเทคโนโลยีการศึกษาที่ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ผู้
ออกแบบและพัฒนาการสอนจำาเป็นต้อง
ใช้กรอบแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษามาสร้างสรรค์และ
ออกแบบพัฒนาระบบการศึกษาแบบ
ออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพตามความเหมาะสมของผู้เรียน
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.1 ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) ได้มีผู้
ให้ความหมายไว้ต่างๆ กัน ดังนี้
Knowles (1975) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ด้วย
ตนเองว่าเป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ในการสร้างความต้องการใน
การเรียนรู้ การตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ การทำากิจกรรมเพื่อ
ค้นหาความรู้ เช่น การค้นคว้าเอกสารและแหล่งความรู้ต่างๆ การ
พบปะบุคคล การเลือกเสริมและกำาหนดแผนการเรียนรู้ การ
ประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นด้วยตนเอง จะโดย
ได้รับหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็ตาม
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)
งานวิจัย (ปรับใหม่)

More Related Content

Similar to งานวิจัย (ปรับใหม่)

Obec2013ของแท้39หน้า
Obec2013ของแท้39หน้าObec2013ของแท้39หน้า
Obec2013ของแท้39หน้าKruthai Kidsdee
 
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกรายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกNattapon
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai kruwanida
 
รายงานการวิจัย2
รายงานการวิจัย2รายงานการวิจัย2
รายงานการวิจัย2Kruthai Kidsdee
 
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิตประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิตtassanee chaicharoen
 
จุดเน้นที่ 7
จุดเน้นที่  7จุดเน้นที่  7
จุดเน้นที่ 7klongnamkeaw
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Powerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติ
Powerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติPowerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติ
Powerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติkruniti
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลwasan
 
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464SophinyaDara
 
บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมAiphie Sonia Haji
 
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานคู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานBoonlert Sangdee
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อKo Kung
 

Similar to งานวิจัย (ปรับใหม่) (20)

Obec2013ของแท้39หน้า
Obec2013ของแท้39หน้าObec2013ของแท้39หน้า
Obec2013ของแท้39หน้า
 
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกรายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai
 
รายงานการวิจัย2
รายงานการวิจัย2รายงานการวิจัย2
รายงานการวิจัย2
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิตประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
 
B1
B1B1
B1
 
Lesson 4
Lesson 4Lesson 4
Lesson 4
 
จุดเน้นที่ 7
จุดเน้นที่  7จุดเน้นที่  7
จุดเน้นที่ 7
 
Best practice
Best practiceBest practice
Best practice
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
 
Powerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติ
Powerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติPowerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติ
Powerpoint ประเมินรอบสาม อ.นิติ
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผล
 
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
 
บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานคู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
การนำเสนอผลการติดตามโครงการยกระดับคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การนำเสนอผลการติดตามโครงการยกระดับคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการนำเสนอผลการติดตามโครงการยกระดับคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การนำเสนอผลการติดตามโครงการยกระดับคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
 

More from ฺBadBoy 20151963

แนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝัน
แนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝันแนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝัน
แนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝันฺBadBoy 20151963
 
คู่มืออบรม Google sites
คู่มืออบรม  Google sitesคู่มืออบรม  Google sites
คู่มืออบรม Google sitesฺBadBoy 20151963
 
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google docคู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google docฺBadBoy 20151963
 
คู่มือการใช้งาน Google plus
คู่มือการใช้งาน Google plusคู่มือการใช้งาน Google plus
คู่มือการใช้งาน Google plusฺBadBoy 20151963
 
คู่มือการใช้งาน Google drive
คู่มือการใช้งาน Google driveคู่มือการใช้งาน Google drive
คู่มือการใช้งาน Google driveฺBadBoy 20151963
 
คู่มือการใช้งาน Google
คู่มือการใช้งาน  Googleคู่มือการใช้งาน  Google
คู่มือการใช้งาน GoogleฺBadBoy 20151963
 
การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sites
การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sitesการสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sites
การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sitesฺBadBoy 20151963
 
การใช้งาน Google docs
การใช้งาน Google docsการใช้งาน Google docs
การใช้งาน Google docsฺBadBoy 20151963
 
Final traininggoogleapps presentation2
Final traininggoogleapps presentation2Final traininggoogleapps presentation2
Final traininggoogleapps presentation2ฺBadBoy 20151963
 
30 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.32
30 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.3230 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.32
30 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.32ฺBadBoy 20151963
 

More from ฺBadBoy 20151963 (15)

Google apps content_1
Google apps content_1Google apps content_1
Google apps content_1
 
Google form 11
Google form 11Google form 11
Google form 11
 
Google drive
Google driveGoogle drive
Google drive
 
Google docs 11
Google docs 11Google docs 11
Google docs 11
 
แนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝัน
แนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝันแนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝัน
แนวทางการกรอกข้อมูลโรงเรียนในฝัน
 
คู่มืออบรม Google sites
คู่มืออบรม  Google sitesคู่มืออบรม  Google sites
คู่มืออบรม Google sites
 
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google docคู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์โดย Google doc
 
คู่มือการใช้งาน Google plus
คู่มือการใช้งาน Google plusคู่มือการใช้งาน Google plus
คู่มือการใช้งาน Google plus
 
คู่มือการใช้งาน Google drive
คู่มือการใช้งาน Google driveคู่มือการใช้งาน Google drive
คู่มือการใช้งาน Google drive
 
คู่มือการใช้งาน Google
คู่มือการใช้งาน  Googleคู่มือการใช้งาน  Google
คู่มือการใช้งาน Google
 
การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sites
การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sitesการสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sites
การสร้างเว็บไซต์ด้วย Google sites
 
การใช้งาน Google docs
การใช้งาน Google docsการใช้งาน Google docs
การใช้งาน Google docs
 
Final traininggoogleapps presentation2
Final traininggoogleapps presentation2Final traininggoogleapps presentation2
Final traininggoogleapps presentation2
 
30 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.32
30 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.3230 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.32
30 พ.ค.เอกสารยกระดับพัฒนา pisa สพม.32
 
Google appsall
Google appsallGoogle appsall
Google appsall
 

งานวิจัย (ปรับใหม่)

  • 1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบน เว็บไซต์โดยคำานึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำาหรับวิชาภาษาอังกฤษหลัก ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ A development of an adaptive web- based learning model for individual differences to enhance learning achievement of Fundamental English Subject in Mathayom 5 Students. กฤตยา ศรีริ ครูวิทยฐานะชำานาญการพิเศษ วิจัยในชั้นเรียน และส่งเสริมการศึกษา
  • 2. 2 ใช้ประกอบการนำาเสนอผลงานด้านนวัตกรรม การสอนออนไลน์ โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ กิตติกรรมประกาศ วิจัยเล่มนี้ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงจาก นายกิตติ ศักดิ์ วิทยเดช ผู้อำานวยการโรงเรียนภัทรบพิตร ที่ได้กรุณาสละ เวลาให้คำาแนะนำาปรึกษาตลอดจนให้ความช่วยเหลือในทุกขั้น ตอนของการทำาวิจัย ขอขอบพระคุณ อาจารย์ปรียาภรณ์ พิมพ์จินดา ที่ได้กรุณา ตรวจและให้คำาแนะนำาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์ ของงานวิจัยนี้ ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้ แก่ผู้วิจัย อีกทั้งให้ ความเมตตาและให้กำาลังใจด้วยดีตลอดมา ขอขอบคุณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทุกห้อง ปีการ ศึกษา 2556 โรงเรียนภัทรบพิตร ทุกคน ที่ได้ให้ความร่วมมือจนทำาให้งานวิจัยสำาเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ ที่เป็นกำาลังใจ ให้คำา แนะนำา และให้การสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา ตลอดจนความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ในการ ทำาวิจัยครั้งนี้คุณประโยชน์ของวิจัยเล่มนี้ขอมอบให้ทุก ๆ ท่าน และผู้วิจัยขอเป็นกำาลังใจให้ทุก ๆ ท่านต่อไป กฤตยา ศรีริ
  • 3. 3 บทที่ 1 บทนำา ความเป็นมาและความสำาคัญของปัญหา ในโลกของการศึกษาท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์ คงไม่มี อะไรจะสะดวกสบาย และรวดเร็วเท่ากับการเรียนการสอนผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความครอบคลุมตั้งแต่ประชาชนกลุ่ม เล็กๆ ไปจนถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ การเอื้ออำานวยของเทคโนโลยี ดังกล่าวส่งผลให้การศึกษาในประเทศไทยมีการพัฒนาอยู่ตลอด เวลา โดยเฉพาะการมุ่งเน้นให้นำาเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณา การกับการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเพื่อเป็นการ เตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเรียนการสอนในลักษณะเดิมเป็นการเรียนการสอน แบบทางเดียว ผู้สอนทำาหน้าที่สอนในห้องเรียน มอบหมายงานให้ ผู้เรียน จากนั้นผู้เรียนก็นำางานมาส่งเมื่อถึงวันเวลาที่กำาหนด การ สอนด้วยวิธีดังกล่าว ในปัจจุบันนี้ไม่สามารถทำาให้ผู้เรียนเกิด กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะได้เท่าที่ควร เพราะความ แตกต่างระหว่างบุคคล ทำาให้ผู้เรียนแต่ละคนไม่สามารถที่จะรับสิ่ง ที่ครูมอบให้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจึงไม่ สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนได้ เนื่องจากการเรียนการสอนแบบกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้คำานึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น อาจมีนักเรียนบางส่วนที่ไม่บรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ทักษะการแก้ปัญหาที่คาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ได้รับการ ยอมรับมานานแล้วว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และการ ตระหนักถึงความจำาเป็นในการออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมให้ เข้ากันกับความแตกต่างระหว่างบุคคลก็มีมานานแล้วเช่นกัน
  • 4. 4 (Glaser, 1977) ย้อนกลับไปในช่วงระหว่างปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปและในทุกรัฐ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำาหนดการศึกษาภาคบังคับขึ้น เพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้าโรงเรียน ส่วนในประเทศไทยนั้น ได้ให้ความสำาคัญกับความแตก ต่างระหว่างบุคคลเช่นกัน โดยกำาหนดไว้ในพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำาหนดแนวทางในการจัดการ ศึกษาไว้ให้ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาความรู้ ความสามารถตามธรรมชาติและศักยภาพของตน การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงควรคำานึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล การฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ สถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้ในการจัดการปัญหาที่ เผชิญอยู่ในสังคม วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บไซต์ http://www.krupu.com/homework โดยคำานึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง เรียนโดยคำานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน สมมติฐานของการวิจัย 1. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่าง กัน จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน 2. นักเรียนกลุ่มที่ใช้บนเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนการ สอนในห้องเรียน (http://www.krupu.com/homework) มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน กรอบแนวคิดในการวิจัย การเรียนการสอนในชั้นเรียน ประสิทธิภาพการ สอน
  • 5. 5 การเรียนการสอนออนไลน์ด้วย WordPress (http://www.krupu.com/homework) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับผู้สอนในการจัดการเรียนการ สอนด้วยการสอนรูปแบบปกติ 2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษ ออนไลน์ และการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ 3. เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับการพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะ การฟัง พูด อ่านและเขียน ภาษาอังกฤษ ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/1-5/6 โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ เรียนวิชาภาษาอังกฤษหลักในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำานวน 90 คน 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนแบบปกติในชั้นเรียนผสม ผสานการสอนบนเว็บไซต์ krupu.com/homework 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.2.1 ความรู้ความเข้าใจในการฟังและพูดภาษา อังกฤษ 2.2.2 ความรู้ความเข้าใจในการอ่านและเขียนภาษา อังกฤษ 2.2.3 การเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. ขอบเขตของเนื้อหา การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย WordPress (http://www.krupu.com/homework) อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 6. 6 เนื้อหาที่จะใช้สอนในงานวิจัยเป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับ หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และคลอบคลุมคำา อธิบายรายวิชาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยปรับจากหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษและ ปรับจากเนื้อหาที่เผยแพร่ออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ทที่เหมาะสมกับ ความสามารถทางการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียน นิยามศัพท์เฉพาะ ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หมายถึง ความ สามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของ นักเรียน ในการเข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน ในระดับความ เข้าใจตรงตามตัวอักษร ระดับความ เข้าใจแบบตีความ ระดับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และระดับ การอ่านอย่างสร้างสรรค์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การที่บุคคลนั้นมีความ ใฝ่รู้ ขวนขวาย ในการวางแผน ควบคุม รับผิดชอบในการฝึกฝนและแสวงหาความรู้ มีอิสรเสรีใน การที่จะเลือกศึกษา ทบทวน ความรู้ และสามารถตรวจสอบ ประเมินความก้าวหน้าของตนเอง ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้เรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1-5/6 โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษหลัก ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำานวน 90 คน บทเรียนออนไลน์ (online course)หมายถึง บทเรียน ที่สร้างขึ้นผ่านเว็บซึ่งเป็นบทเรียน สำาเร็จรูป ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับ บทเรียนได้ ภายในบทเรียน ประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง เสียงและภาพ เคลื่อนไหว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการ ทำาแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัด ความรู้ในเนื้อหาในบทเรียนออนไลน์
  • 7. 7 การประเมินผลระบบการจัดการเรียนการสอนซึ่ง เป็นแบบประเมินบทเรียนของ สมศักดิ์ จีวัฒนา (2546 : 165- 166) ซึ่งเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณคำา (Rating Scale) ซึ่งกำาหนดการตัดสินคุณภาพเป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับ 5 หมายถึง ดีมาก ระดับ 4 หมายถึง ดี ระดับ 3 หมายถึง พอใช้ ระดับ 2 หมายถึง ควรปรับปรุง ระดับ 1 หมายถึง ไม่เหมาะสม และมีเกณฑ์ประเมินดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00 สรุปผลการประเมิน ดีมาก ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49 สรุปผลการประเมิน ดี ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49 สรุปผลการประเมิน พอใช้ ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49 สรุปผลการประเมิน ควรปรับปรุง ค่าเฉลี่ย 1.00- 1.49 สรุปผลการประเมิน ไม่เหมาะสม ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ความพอใจ ความ สนใจเมื่อเรียนโดยใช้สื่อระบบการจัดการเรียนการสอนบน เว็บไซต์ http://www.krupu.com/homework ซึ่งประเมิน โดยครูผู้สอนและนักเรียน โรงเรียนภัทรบพิตร อำาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บไซต์โดยคำานึง ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน สำาหรับวิชาภาษาอังกฤษหลัก ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ มีเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences Theory) 2. แนวคิดเกี่ยวกับพุทธปรัชญาว่าด้วยดอกบัวสี่เหล่า
  • 8. 8 3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ 3.1 ความหมายของการสอนออนไลน์ 3.2 ลักษณะสำาคัญของการสอนออนไลน์ 3.3 รูปแบบของการเรียนการสอนออนไลน์ 3.4 องค์ประกอบของการสอนออนไลน์ 3.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนร่วมกับออนไลน์ 4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.1 ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.2 ความสำาคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.3 ลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.4 กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences Theory) ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ควรได้รับ การยอมรับมานานแล้วว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นนัก วิชาการจึงได้ตระหนักถึงความจำาเป็นในการออกแบบการเรียน การสอนและจัดสภาพแวดล้อมให้เข้ากับความแตกต่างระหว่าง บุคคล และได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างยาวนาน (Glaser, 1997 อ้างถึงใน สมชาย สุริยะไกร, 2550: 41) ตัวแปรด้าน ความแตกต่างระหว่างบุคคลมีอยู่มากมาย แต่ที่เลือกนำามาศึกษา วิจัยในครั้งนี้คือตัวแปรด้านแบบการเรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ตัวแปรด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการศึกษาจำานวนมากที่มุ่งค้นหาความเชื่อมโยงระหว่าง ตัวแปรด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลกับผลของการเรียนรู้ (Cronbach and Snow, 1981l Tobias, 1976) ซึ่งตัวแปรที่ สำาคัญมีดังต่อไปนี้ 1) ความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual ability) ความสามารถทางสติปัญญาหลายประเภทมีปฏิสัมพันธ์กับ การเรียนการสอน เช่น Crystallized Intelligence หรือ “สติ ปัญญาที่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และประสบการณ์” สติปัญญาเหล่านี้ เป็นผลผลึกหรือตะกอนที่มาจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของ บุคคล ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล การ
  • 9. 9 ประเมินค่า เป็นต้น และ Fluid Intelligence หรือ “สติปัญญาที่ เป็นอิสระปราศจากการเรียนรู้และประสบการณ์” สติปัญญาส่วนนี้ มาจากพันธุกรรม ประกอบด้วยความสามารถหลายประเภท เช่น การใช้เหตุผล การอนุมาน การมองเห็น ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เป็นต้น และจะมีแทรกอยู่ในลักษณะทางความคิด ความจำา การแก้ ปัญหา เป็นต้น (อารีย์ พันธ์มณี, 2546) 2) แบบการเรียน (Learning Style) แบบการเรียน หมายถึงพฤติกรรมที่แตกต่างกันของผู้เรียน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลเรียนรู้อย่างไร และปรับตัวให้เข้ากับสภาพ แวดล้อมของตนได้อย่างไร แบบการเรียนยังเป็นตัวชี้แนะว่าจิตใจ ของบุคคลทำางานอย่างไร (Gregorc, 1979 อ้างถึงใน พัชรี เกียรตินันทวิมล, 2530) แบบของการเรียนที่เหมาะสม ลักษณะ ของผู้เรียนที่เหมาะสมจะช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพสูงสุด ผลการวิจัยเกี่ยวกับแบบการเรียน (Learning Style) เป็นจำานวนมากที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมักจะเลือกใช้แบบ การเรียนที่ตนถนัดในการเรียนรู้ และในบางกรณีผู้เรียนสามารถ ปรับวิธีการเรียนตามลักษณะของเนื้อหาที่จะเรียนได้ (Kolb, 1984) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องคำานึงถึงแบบผู้เรียนอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้แบบการเรียนจึงได้ รับความสนใจศึกษาจากนักการศึกษาหลายท่าน 3) แบบการคิด (Cognitive Style) แบบการคิดเป็นคุณลักษณะในการรับรู้ การจำา การแก้ ปัญหา และการตัดสินใจ แต่ไม่ได้สะท้อนถึงความสามารถของ บุคคลนั้น กล่าวคือเป็นรูปแบบหรือสไตล์ในการนำาเอาความ สามารถที่มีอยู่ไปใช้งาน ไม่ใช่คุณลักษณะที่บ่งบอกถึงระดับความ สามารถที่มีอยู่ มีการศึกษาเรื่องการคิดแล้วแบ่งออกมาเป็นประเภท ต่างๆ มากมาย เช่น Field dependence-Field independence, Reflectivity-Impulsivity, Haptic-Visual, Leveling-Sharpening, Cognitive Complexity- Simplicity, Constricted-Flexible Control เป็นต้น แต่พบว่า แบบการคิดที่ถูกนำาไปวิจัยด้านการเรียนการสอนมากที่สุด คือ Field dependence-Field independence ซึ่งเสนอโดย Witkin และคณะ (1997) โดย Field dependence (FD) สามารถรับรู้ถึงภาพรวมได้ดี มีความสามารถสูงที่จะพัฒนาทักษะ การสื่อสารระหว่างบุคคลแต่ด้อยในการกำาหนดโครงสร้าง
  • 10. 10 สารสนเทศด้วยตนเอง ผู้เรียนในกลุ่มนี้จะมีความลำาบากในการ มองแยกส่วนในเรื่องที่มีความซับซ้อน มักต้องการแรงจูงใจ ภายนอก และชอบที่จะเรียนแบบร่วมมือ ส่วน Filed independence (FI) มีลักษณะของนักวิเคราะห์ สามารถกำาหนด โครงสร้างของสารสนเทศของตนเองได้ดี มีแรงจูงใจภายในและ ชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มีแนวโน้มที่จะกำาหนดเป้าหมายและ การเสริมแรงด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้เสนอข้อโต้ แย้งเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง FD-FI (Crozier, 1997) โดยตั้งข้อ สงสัยว่าคุณสมบัติ FD-FI ไม่ใช่ความถนัดแต่เป็นความแตกต่าง ทางความสามารถ เนื่องจากวิธีการวัด FD-FI ทำาโดยให้บุคคลมอง ส่วนประกอบภาพที่ซับซ้อน (Embeded Figure Test) ซึ่งมี ลักษณะคล้ายการวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในแบบสติ ปัญญา (Intelligence Quotient [IQ]) และอีกประการหนึ่งคือ คำานิยามของ FI มีความสัมพันธ์กับการวัด IQ อีกทั้งยังพบว่าผล สัมฤทธิ์ในโรงเรียนกลุ่มผู้เรียนประเภท FI มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า FD ในทุกรายวิชา ซึ่งหาก FD-FI เป็นคุณลักษณะของความถนัดก็ ควรจะมีบางรายวิชาที่ผู้เรียนประเภท FD มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า FI ข้อค้นพบเหล่านี้ทำาให้เกิดข้อสงสัยต่อคุณค่าของการกำาหนด โครงสร้าง (Construct) ของเรื่อง FD-FI 4) ความรู้ก่อนเรียน (Prior knowledge) ความรู้ก่อนเรียน มีความสำาคัญเนื่องจากมีความเกี่ยวข้อง โดยตรงกับกิจกรรมการเรียนการสอนและหลายการศึกษาได้ แสดงให้เห็นถึงผลของความรู้ก่อนเรียนในการทำานายผลสัมฤทธิ์ ของผู้เรียนและความต้องการสนับสนุนด้านการเรียนการสอน คือ ระดับความรู้ก่อนเรียนสูง ก็ต้องการการสนับสนุนด้านการเรียน การสอนที่น้อยลง ที่จะทำากิจกรรมได้สำาเร็จ นอกจากนี้ความรู้ก่อน เรียนยังมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงอย่างเด่นชัดกับความสนใจใน รายวิชานั้นด้วย ความรู้ก่อนเรียนแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ความรู้ในรายวิชา พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (Entry behavior) ซึ่งมีความจำาเป็นต่อการ ทำาความเข้าใจและเรียนในรายวิชาหนึ่งๆ และอีกส่วนหนึ่งก็คือ ความรู้ในเนื้อหาที่กำาลังจะเรียน ซึ่งวัดได้โดยแบบทดสอบก่อน เรียน 5) ความเครียด/วิตกกังวล (Anxiety)
  • 11. 11 ผู้เรียนที่มีระดับความเครียดสูง จะทำาแบบทดสอบได้ไม่ดี เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียดที่สูง จะรบกวน กระบวนการทางสมองซึ่งควบคุมการเรียนรู้ เช่น Deutsh and Tobias (1980 cited in Park and Lee, 2004) พบว่า นักเรียนที่มีความเครียดสูงที่ได้รับทางเลือกในการทบทวนสื่อการ เรียน (เช่น เทปวิดีทัศน์) ระหว่างการเรียนรู้ จะมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่า นักเรียนที่มีความเครียดสูงแต่ไม่มีทางเลือกในการเรียนทบทวน เป็นต้น 6) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) เป็น แรงจูงใจที่ทำาให้บุคคลมีความต้องการที่จะกระทำาสิ่งต่างๆ ทั้งใน หน้าที่การงานและเรื่องราวส่วนตัวให้สำาเร็จลุล่วง เป็นที่ทราบกัน อยู่แล้วว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาของผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน มีหลักฐานจากการศึกษาบ่งชี้ว่าจะต้องมี การกระตุ้นแรงจูงใจต่อกิจกรรมแต่ละอย่าง การศึกษาของ Snow (1986 cited in Park Lee, 2004) พบว่าผู้เรียนบรรลุถึงระดับ ความสามารถที่เหมาะสมเมื่อได้รับแรงจูงใจระดับปานกลางเพื่อให้ ประสบผลสำาเร็จและหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ลักษณะของผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงคือ 1) เป็นผู้ที่มี ความบากบั่น พยายาม อดทนเพื่อจะทำางานให้บรรลุเป้าหมาย 2) ต้องการทำางานให้ดีที่สุด โดยเน้นถึงมาตรฐานที่ดีเลิศของความ สำาเร็จ 3) ชอบความท้ามายของงาน โดยมุ่งทำางานที่สำาคัญให้ ประสบความสำาเร็จ 4) ชอบแสดงออกถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งาน 5) ชอบแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ 6) ทำางานอย่างมี หลักเกณฑ์เป็นขั้นตอน และมีการวางแผน 7) ชอบยกเหตุผลมา ประกอบคำาพูดอยู่เสมอ 8) อยากให้ผู้อื่นยกย่องว่าทำางานเก่ง 2. แนวคิดเกี่ยวกับพุทธปรัชญาว่าด้วยดอกบัวสี่ เหล่า พุทธปรัชญา (Buddhism) พุทธปรัชญาการศึกษา มาจากคำาว่า Buddhishic Philosophy of Education ซึ่งได้แนวคิดมาจากพระพุทธ ศาสนา (Buddhism) จากพระธรรมคำาสอนของพระสัมมาสัมพุทธ จ้า และปรัชญาการศึกษาอื่นๆ การศึกษาในพุทธปรัชญา คือ การ
  • 12. 12 ศึกษาเพื่อให้เข้าใจความจริง เข้าใจความหมายของชีวิต ทั้งดำารง ชีวิตให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความจริง พุทธปรัชญา ได้นำาหลักเหตุและผลไปวิเคราะห์และอธิบายความ จริงและความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายในโลก ได้ชี้แนะให้ทราบว่า อะไรคือความเป็นเลิศ หรือความดีที่พึ่งปรารถนาในชีวิต และจะ ศึกษาปฏิบัติให้เป็นผลได้อย่างไร พุทธปรัชญา หมายถึง ความรู้อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าได้ ตรัสรู้แล้วหรือพุทธธรรม วิธีการสอนต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและ สภาพของผู้เรียน ดังนั้นจะยึดหลักปฏิบัติตามอริยสัจสี่ และมรรค แปด ดังนี้ 1. ยึดผู้เรียนเป็นสำาคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมี ความสุข 2. ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยวิธีการแก้ปัญหาและการ เรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งวิธีการเรียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม 3. คำานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน 4. จัดสภาพภายในห้องเรียนและบริเวณสถานศึกษาและสภาพ แวดล้อมภายนอกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเรียนด้วยตัว เอง ส่งเสริมการมีวินัยในตนเองและการมีสมาธิของผู้เรียน แต่ละคนและการเรียนเป็นกลุ่มในบางครั้งตามความเหมาะ สม เพื่อส่งเสริมการเป็นคนดีในหมู่คณะ รู้จักแบ่งปัน และ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมซึ้งส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดีของ ชาติ รู้จักเสียสละ แบ่งปัน การให้ และการมีส่วนร่วมใน สังคมประชาธิปไตยต่อไป 5. ให้ความสำาคัญกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นราย บุคคล และต้องส่งเสริมเด็กเรียนเก่งให้เจริญงอกงามทั้ง ความรู้สึกและสติปัญญา 6. คิดหาวิธีสอน และกิจกรรมและประสบการณ์ที่หลากหลายทั้ง ในและนอกห้องเรียน และสอดคล้องกับสื่อและเนื้อหา ความ รู้และทักษะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอน - ครู
  • 13. 13 1. เป็นผู้ให้วิทยาการ (สิปปทายก) ได้แก่ การให้ความรู้ทาง วิชาการและการประกอบอาชีพแก่ผู้เรียน รวมถึงต้องหมั่น ค้นคว้าและหาความรู้ 2. มีหน้าที่ชี้แนะแนวทางในการดำาเนินชีวิตที่ถูกต้อง (กัลยาณมิตร) คือสอนให้รู้จักคิด มองความหมายของสิ่ง ต่างๆ อย่างถูกต้อง รู้ตักแสดงออกอย่างมีเหตุผล มีความรับ ผิดชอบและรู้จักดำาเนินชีวิตที่ดี ผู้เรียน 1. เป็นผู้ที่มีความเคารพและศรัทธาต่อครู 2. เป็นผู้รับฟังคำาแนะนำาของครู 3. เป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีวุฒิภาวะ รู้จักใช้เหตุผลและ คุณธรรมในการตัดสินใจ การวัดและประเมินผล 1. โดยวัดผลจากการกระทำาของนักเรียน ด้วยการสังเกต พฤติกรรม 2. ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียน ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปฐมบท ภาพพุทธประวัติปางประสูติ ที่ปรากฏมีดอกบัวผุดรับพระบาทที่ ทรงดำาเนิน 7 ก้าว มีความสัมพันธ์กับ "บัวสี่เหล่าที่พระพุทธเจ้า เปรียบเทียบกับเวไนยสัตว์สี่" กล่าวคือ 1. ถ้าผู้อับปัญญาหรือ "บัวในตม" มองภาพปางประสูติ ก็ ทึกทักเอาว่าเป็น "บุญญาภินิหารของพระพุทธองค์" พอแรก ประสูติก็ทรงดำาเนินได้เลย ไม่ต้องนอนแบเบาะเหมือนทารกทั่วๆ ไป การดำาเนินแต่ละก้าว ก็มีดอกบัวผุดรับ เป็นที่อัศจรรย์เหนือกว่า มนุษย์และเทวดาทั้งปวง 2. ถ้าผู้มีปัญญาเล็กน้อย "บัวใต้นำ้า" ก็มองภาพเดียวกันนี้ ว่า เป็นจินตนาการของผู้วาด ภาพเขียนดอกบัวใต้พระบาท เพื่อ ความเหมาะสมในการตกแต่งภาพให้สวยสดงดงามขึ้นเท่านั้น 3. ถ้าผู้มีปัญญาปานกลาง "บัวปริ่มนำ้า" มองภาพที่กล่าวนี้ ก็ได้ความคิดว่า การที่พระพุทธองค์ทรงดำาเนิน 7 ก้าว ดอกบัว 7 ดอกผุดรับ จะต้องมีความหมายว่า เหตุใดจึงทรงดำาเนิน 7 ก้าว และดอกบัวที่ผุดรับ 7 ดอก หมายถึงอะไร เลข 7 ในที่นี้ จะต้องมี
  • 14. 14 ความหมายชัดเจน ทำาไมจึงไม่เป็นเลข 3, 5, 9 หรือเลขอื่นๆ ซึ่ง เมื่อศึกษาค้นคว้าต่อไป ก็จะเข้าใจกระจ่าง ปราศจากข้อสงสัย 4. ถ้าผู้มีปัญญาเฉียบแหลม "บัวพ้นนำ้า" มองภาพพุทธ ประวัติปางประสูติดังแสดงไว้ข้างต้น ก็จะเข้าใจได้โดยฉับพลัน ทันทีว่า "การที่พระพุทธองค์ทรงดำาเนิน 7 ก้าว มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนารวม 7 แคว้น ก่อน ปรินิพพาน" "ดอกบัว 7 ดอก ที่ผุดรับพระบาท หมายถึงแคว้น 7 แห่งที่ พระพุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคง เช่น แคว้นมคธ แคว้น โกศล เป็นต้น" 3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ 3.1 ความหมายของการสอนออนไลน์ ได้มีผู้ให้ความหมายของการสอนออนไลน์การสอน ออนไลน์หลายทัศนะดังนี้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (2546) ได้ให้ความหมายของการสอนออนไลน์ (Online Learning) ว่าเป็นการนำาเทคโนโลยีไปใช้ในด้านการส่งเสริม ประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบเช่น การนำามัลติมีเดียมาใช้เป็นสื่อการสอนของครูและอาจารย์ให้ นักเรียนเรียนรู้ค้นคว้าด้วยตนเองด้วยการเรียนผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม สุรสิทธิ์วรรณไกรโรจน์ (2546) ได้ให้คำาจำากัดความของ การสอนออนไลน์คือการเรียนรู้แบบออนไลน์หรือการศึกษาเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรือ อินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองผู้เรียนจะได้เรียน ตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหาของบทเรียน ซึ่งประกอบด้วยข้อความรูปภาพเสียงวิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆจะ ถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเวบ (Web)โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วม ชั้นเรียนทุกคนสามารถติดต่อปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติโดยอาศัย เครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย(จดหมายอิเล็กทรอนิกส์, กระดานเสวนาและห้องสนทนา)
  • 15. 15 จึงเป็นการเรียนสำาหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learn for All : Anyone, Anywhereand Anytime) ไพฑูรย์ศรีฟ้า (2546)ได้ให้ความหมายของการสอน ออนไลน์ว่าเป็นการเรียนการสอนทางไกลที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) ซึ่งผู้เรียนและ ผู้สอนใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผู้เรียน สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายที่มีอยู่ ทั่วโลกอย่างไร้ขอบเขตจำากัดผู้เรียนสามารถทำากิจกรรมหรือแบบ ฝึกปฏิบัติต่างๆแบบออนไลน์โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยอำานวยความ สะดวกเป็นการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบันเพราะไม่มีขีดจำากัดเรื่องระยะทางเวลาและสถานที่อีกทั้ง ยังสนองตอบต่อศักยภาพ และความสามารถของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ถนอมพรเลาหจรัสแสง (2545) กล่าวว่าการสอนออนไลน์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันได้แก่ความหมายโดย ทั่วไปและความหมายเฉพาะเจาะจงสำาหรับความหมายโดยทั่วไป ของการสอนออนไลน์จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมากกล่าวคือ จะหมายถึงการเรียนในลักษณะใดก็ได้ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เครือข่าย อินเทอร์เน็ตอินทราเน็ตเอ็กซทราเน็ตหรือทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจ อยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกัน มาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การ เรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ใน ลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวีดิทัศน์ ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น สำาหรับความหมาย เจาะจงนั้น การสอนออนไลน์ เป็นการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศ สำาหรับ การสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้การนำาเสนอด้วยอักษร ภาพนิ่ง ผสม ผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัย เทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้ง การใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการสอน โดยจัดให้มี
  • 16. 16 เครื่องมือการสื่อสารต่างๆ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์และ กระดานเสวนา สำาหรับ ตั้งคำาถามหรือแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือกับ วิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบหลังจากเรียนจบ เพื่อวัดผลการ เรียน รวมทั้งให้มีระบบบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การเรียน โดยผู้เรียนที่เรียนจากการสอนออนไลน์นี้ ส่วนใหญ่แล้ว จะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องมือที่มี การเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากความหมายของการสอนออนไลน์ ข้างต้น สามารถ สรุปได้ว่าการสอนออนไลน์ หมายถึงการเรียนการสอนผ่านเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการเรียนสำาหรับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการนำาเสนอเนื้อหาสื่อประสม ด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ เคลื่อนไหว เสียง และระบบวีดีทัศน์ ด้วยเครื่องมือสื่อสารประเภท จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กระดานเสวนา โดยใช้เทคโนโลยีระบบ การจัดการคอร์ส 3.2 ลักษณะสำาคัญของการสอนออนไลน์ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) ได้กล่าวว่าการสอน ออนไลน์ที่ดีควรประกอบด้วย ลักษณะสำาคัญดังนี้ 1. ทุกเวลาและสถานที่ (Anytime, Anywhere) หมายถึง การสอนออนไลน์ ควรต้อง ช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ในที่นี้หมายถึงการที่ผู้เรียน สามารถเรียกดูเนื้อหาตามความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ควรมีการใช้ เทคโนโลยีการนำาเสนอเนื้อหาที่สามารถเรียกดูได้ทั้งขณะที่ ออนไลน์ (เครื่องมีการต่อเชื่อมกับ เครือข่าย) และในขณะที่ออฟไลน์ (เครื่องไม่มีการต่อเชื่อมกับ เครือข่าย) 2. สื่อประสม (Multimedia) หมายถึง การสอนออนไลน์ ควรต้องมีการนำาเสนอเนื้อหา โดยใช้ประโยชน์จากสื่อประสม เพื่อช่วยในการประมวลผล สารสนเทศของผู้เรียนเพื่อให้เกิด ความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
  • 17. 17 3. ไม่เป็นเชิงเส้นตรง (Non-linear) หมายถึง การสอน ออนไลน์ควรต้องมีการนำาเสนอเนื้อหาในลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น ตรง กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย การจัดการเรียนการสอนผ่านการสอนออนไลน์นี้จะต้องจัดหาการ เชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน 4. ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) หมายถึง การสอนออนไลน์ นั้นควรต้องมีการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนโต้ตอบกับเนื้อหาหรือกับผู้อื่นได้ กล่าวคือ - การสอนออนไลน์ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่งผู้ เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา รวมทั้งมีการจัดเตรียมแบบฝึกหัดและแบบทดสอบให้ผู้เรียน สามารถตรวจสอบความเข้าใจด้วยตนเองได้ - การสอนออนไลน์ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้ ช่องทางแก่ผู้เรียนในการ ติดต่อสื่อสารเพื่อการปรึกษา อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น กับผู้สอน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ หรือเพื่อน ๆ 5. มีผลป้อนกลับทันที (Immediate Response) หมาย ถึง การสอนออนไลน์ ควรต้อง มีการออกแบบให้มีการทดสอบการวัดผลและการประเมินผล ซึ่ง ให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน หรือแบบทดสอบ หลังเรียนก็ตาม จากลักษณะสำาคัญของการสอนออนไลน์สรุปได้ว่าเป็นการ เรียนการสอนโดยผู้สอน และผู้เรียนสามารถที่จะเรียนในลักษณะช่วงเวลาที่ตรงกันหรือ แตกต่างกันก็ได้ โดยอาศัยระบบ สื่อประสม ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหว เสียงตัวอักษร เป็นต้น มีแบบฝึกหัดที่มีการ แสดงผลป้อนกลับในทันทีภายหลังจากที่ผู้เรียนศึกษา ผู้เรียน สามารถตรวจสอบความเข้าใจของตน ได้ สามารถปรึกษา สอบถาม อภิปราย แสดงความเห็นกับเพื่อน หรือผู้สอน อันจะทำาให้การเรียน การสอนน่าสนใจและมีประสิทธิภาพ 3.3 รูปแบบของการเรียนการสอนออนไลน์
  • 18. 18 ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2546) ได้กล่าวถึงการแบ่งรูป แบบของการสอนออนไลน์ ว่า ได้มีความพยายามของนักการศึกษาหลายท่านซึ่งได้นำาเสนอ รูปแบบของการจัดการเรียนการ สอนด้วยการสอนออนไลน์ ไว้ โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การแบ่งการสอนออนไลน์ ออกตามมิติของเวลา และมิติของการโต้ตอบ เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ 1. ประเภท A เป็นการเรียนการสอนปรกติ ที่มีการพบปะ กันในชั้นเรียน ในลักษณะ เวลาและสถานที่เดียวกันรวมทั้งการใช้สื่อ โทรทัศน์และวิทยุ เข้า มาประกอบการเรียนการสอน แต่การโต้ตอบจะค่อนข้างจำากัด ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้มักดำาเนินไปในลักษณะผู้สอนเป็นศูนย์กลาง 2. ประเภท B เป็นการศึกษาด้วยตนเอง ในลักษณะเวลา และสถานที่ต่างกัน โดยมีการ จัดหาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะโสตทัศนะ รวมทั้งสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น CAI, CBT, CD-ROM หรือ VOD (Video On Demand) การโต้ตอบมักจะจำากัดในลักษณะทางเดียว 3. ประเภท C เป็นการสอนผ่านเว็บ คือการเรียนการสอน ออนไลน์โดยใช้เว็บเป็นฐาน โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ASP ดังนั้น การเรียนการสอนจะอยู่ในลักษณะเวลาและสถานที่ต่างกัน อย่างไรก็ดี การโต้ตอบจะไม่จำากัด เพราะมีการจัดหาเครื่องมือใน การโต้ตอบกับผู้สอน และผู้เรียนอย่างสะดวก 4. ประเภท D เป็นการประชุมภาพ (Video Conferencing) ซึ่งเป็นการเรียนการสอน หรือ การอบรมในลักษณะเวลาและสถานที่เดียวกัน โดยอาศัย เทคโนโลยีโทรทัศน์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โทรคมนาคมต่างๆ เพื่อถ่ายทอดการเรียนการสอนหรือการอบรม นั้น โดยมักจะจัดให้มีอุปกรณ์การสื่อสารในสถานีปลายทางเพื่อให้ เกิดการโต้ตอบ 2 ทางระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้ การกำาหนดรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนผ่านการ สอนออนไลน์นี้แบ่งตามมิติของการโต้ตอบได้ 4 ลักษณะดังกล่าว มาแล้ว ข้างต้นนั้น ผู้สอนสามารถผสมผสานรูปแบบของการสอน ออนไลน์เข้าด้วยกันทั้งในลักษณะเวลาเดียวกันและต่างเวลา เพื่อ การจัดการเรียนการสอนที่มี
  • 19. 19 ประสิทธิภาพส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาศักยภาพยิ่งขึ้น รูปแบบของการสอนออนไลน์ ที่ได้รับความนิยม (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2549) ได้แก่ ประเภท C หรือการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเว็บ โดยมีประเภท D หรือการใช้การประชุมทาง ภาพ (Video Conference) รองลงมา จะพบว่าลักษณะของการ เรียนการสอนออนไลน์ที่กำาลังได้รับ ความนิยมมากในขณะนี้จะมี 2 ลักษณะ คือ ในลักษณะของ การมี ปฏิสัมพันธ์ในการเรียน (Interactive Learning) และรูปแบบการเรียนด้วยข้อมูลเสมือน จริง (Virtual Data Provision) ซึ่ง ความแตกต่างระหว่างสองลักษณะได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ในการ เรียนจะเน้นให้ผู้เรียนศึกษาผ่าน การสอนออนไลน์ และการเรียนรู้นั้น เกิดจากการโต้ตอบกับระบบ ร่วมกับผู้สอน หรือกลุ่มผู้เรียน ด้วยกัน ในขณะที่รูปแบบการเรียนด้วยข้อมูลเสมือนจริง (Virtual Data Provision) นั้น การเรียนรู้จะ เกิดจากการที่ได้โต้ตอบกับเนื้อหาและแบบทดสอบความเข้าใจ ของผู้เรียนที่ได้จัดหาไว้ ซึ่งมักจะอยู่ ในลักษณะของการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนสูง เช่น การเรียนรู้เพื่อสอบเลื่อนขั้น หรือ การเรียนรู้เพื่อการเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่สูงขึ้น เป็นต้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (2546) ได้กล่าวถึงรูปแบบของ การสอนออนไลน์ ไว้ดังนี้ 1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพ และเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล 2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ (Online University หรือ Virtual University) เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ(Web page) มีการสร้างกระดานเสวนาถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์หรือ เรียกว่าเว็บบอร์ด(Web Board)
  • 20. 20 3. การเรียนการสอนผ่านออนไลน์และการศึกษาโดยใช้เว บทางอินเทอร์เน็ตเป็นฐานความรู้ (Online Learning, Internet Web Base Education) โดยเป็นการนำาเสนอเนื้อหาและการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้อง ควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ ในการเรียนรู้ 4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous LearningNetwork: ALN) เป็นการเรียนการ สอนที่ต้องมีการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การ ทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ รูปแบบของการสอนออนไลน์ ในปัจจุบันจะเน้นที่การ สื่อสารแบบ 2 ทางคือผู้สอนและ ผู้เรียนจะสามารถเรียนในช่วงเวลาเดียวกันและช่วงเวลาที่แตก ต่างกันโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยทรัพยากรต่างๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในช่วงเวลา เดียวกันจะมี เครื่องมือการสื่อสารเช่น ห้องสนทนาสำาหรับแลกเปลี่ยนความคิด เห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้อาจจะรวมไปถึง การประชุมภาพ (Video Conferencing) เทคโนโลยีการ สื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถมองเห็นภาพ และโต้ตอบกันได้ตลอดจนการ เรียนในช่วงเวลาที่แตกต่างกันก็จะมีเครื่องมือเช่น จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) กระดานเสวนา (Web Board) และห้องสนทนา (Chat Room) สำาหรับให้ผู้เรียน และผู้สอนตั้งหัวข้อสนทนาเพื่อให้ ผู้เรียนหรือผู้สอนเข้ามาแสดงความคิดเห็น เป็นต้น 3.4 องค์ประกอบของการสอนออนไลน์ ณัฐพงษ์ สมปินตา (2549) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่ สำาคัญของการสอนออนไลน์ 4 ส่วน ดังนี้ 1. เนื้อหาของบทเรียน
  • 21. 21 สำาหรับการเรียน การศึกษาแล้วไม่ว่าจะเรียนอย่างไรก็ตาม เนื้อหาถือว่าเป็นสิ่งที่สำาคัญ ที่สุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสอนออนไลน์ นั้นถือว่าเป็นการ เรียนรู้แบบใหม่สำาหรับวงการ การศึกษาในประเทศไทย ดังนั้นเนื้อหาของการเรียนแบบนี้ที่ พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีอยู่น้อย มากทำาให้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการฝึกอบรม เพิ่มพูน ความรู้ พัฒนาศักยภาพทั้งของบุคคล โดยส่วนตัวและของหน่วยงานต่างๆ จึงต้องมีการประสาน สร้าง เครือข่ายความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยชั้นนำาของประเทศต่างๆรวมทั้งสถาบันการศึกษา วิทยาลัย โรงเรียน หน่วยราชการ และผู้สนใจทั่วไปที่มีความสนใจจะนำาเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่ มา พัฒนาเป็นบทเรียนออนไลน์ โดย เจ้าของเนื้อหาวิชา(Content Provider) ที่เป็นแหล่งความรู้ทั้ง หลายนั้น ทุกๆท่านจะมีความเด่นใน เนื้อหาด้านต่างๆ ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจน ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. ระบบบริหารการเรียน เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือการสอนออนไลน์ นั้น เป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำา หน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำาหนดลำาดับ ของเนื้อหาในบทเรียน นำาส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำาเร็จ ของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้ เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบ ของการจัดการเรียนการสอนผ่านการสอนออนไลน์ ที่สำาคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหาร การเรียน (LMS : Learning Management System) ถ้าจะ กล่าวโดยรวม LMS จะทำาหน้าที่ตั้งแต่ ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร, บทเรียนทั้งหมด เอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามา เรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำางานโดยส่ง บทเรียนตามคำาขอของผู้เรียนผ่าน
  • 22. 22 เครือข่ายคอมพิวเตอร์(อินเทอร์เน็ต, อินทราเน็ต หรือเครือข่าย คอมพิวเตอร์อื่นๆ) ไปแสดงที่เว็บบราวเซอร์ (Web browser) ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุก หน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร 3. การติดต่อสื่อสาร การเรียนทางไกลโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการเรียนด้วยตัว เอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน ปกติ ซึ่งผู้เรียนจะเรียนจากสื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่ออื่น การเรียนด้วยการสอนออนไลน์ ก็เช่นกันถือว่าเป็นการ เรียนทางไกลแบบหนึ่ง แต่สิ่ง สำาคัญที่ทำาให้การเรียนด้วยการสอนออนไลน์ มีความโดดเด่นและ แตกต่างไปจากการเรียนทางไกล ทั่วๆไปก็คือการนำารูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ ประกอบในการเรียนเพื่อเพิ่มความ สนใจความตื่นตัวของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่นใน ระหว่างเรียนถ้ามีคำาถามซึ่งเป็นการ ทดสอบย่อยในบทเรียนเมื่อคำาถามปรากฏขึ้นมาผู้เรียนก็จะต้อง เลือกคำาตอบและส่งคำาตอบกลับมา ยังระบบในทันที เหตุการณ์ดังกล่าวจะทำาให้ผู้เรียนรักษาระดับ ความสนใจในการเรียนได้เป็น ระยะเวลามากขึ้น นอกจากนี้วัตถุประสงค์สำาคัญอีกประการของ การติดต่อแบบ 2 ทางก็คือใช้เป็น เครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อ สอบถาม ปรึกษาหารือ และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง ตัวผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคน อื่นๆ 4. การสอบ/วัดผลการเรียน โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมี การสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/ วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบ
  • 23. 23 สำาคัญที่จะทำาให้การเรียนผ่านการสอนออนไลน์ เป็นการเรียนที่ สมบูรณ์ กล่าวคือในบางวิชา จำาเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนเข้าสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียน ได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่ เหมาะสมกับเขามากที่สุด ซึ่งจะทำาให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการ เรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อ เข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการ สอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร ระบบบริหารการเรียนจะเรียกข้อสอบที่จะใช้มากจากระบบบริหาร คลังข้อสอบ (Test Bank System) ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน 3.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนร่วมกับออนไลน์ ถนอมพร เลาหจรัสแสง(2546) ได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้ รับจากการนำาการสอน ออนไลน์ไปใช้ในการเรียนการสอนว่ามีดังนี้ 1. การสอนออนไลน์ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะ การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางมัลติมีเดียสามารถทำาให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดีกว่า การเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว หรือ จากการสอนภายในห้องเรียนของผู้สอนซึ่งเน้นการบรรยายใน ลักษณะ ใช้ชอล์กและสอนด้วยวิธีการบรรยาย (Chalk and Talk) แต่ เพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้สื่อใด ๆ ซึ่งเมื่อ เปรียบเทียบกับการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนออนไลน์ที่ ได้รับการออกแบบและผลิตอย่าง มีระบบ การจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนออนไลน์นี้ สามารถ ช่วยทำาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ในเวลาที่เร็วกว่า นอกจากนี้ยัง เป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี เพราะผู้สอนจะสามารถใช้การ สอนออนไลน์ ในการจัดการเรียน การสอนที่ลดการบรรยาย (Lecture) ได้ และสามารถใช้การสอน ออนไลน์ ในการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ด้วย ตนเอง (Autonomous Learning) ได้
  • 24. 24 ดียิ่งขึ้น 2. การสอนออนไลน์ช่วยทำาให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบ ความก้าวหน้าพฤติกรรม การเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา เนื่องจากการ สอนออนไลน์มีการจัดหาเครื่องมือ ที่สามารถทำาให้ผู้สอนติดตามการเรียนของผู้เรียนได้ การสอน ผ่านการสอนออนไลน์นี้ช่วยทำาให้ ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ เนื่องจากการนำาเอา เทคโนโลยีไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมโยงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง เสียง กราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ที่เกี่ยวเนื่องกันเข้า ไว้ด้วยกันในลักษณะที่ไม่เป็นเชิง เส้น (Non-Linear) ทำาให้สามารถนำาเสนอเนื้อหาในรูปแบบใย แมงมุมได้ ดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถ เข้าถึงข้อมูลใดก่อนหรือหลังได้ โดยไม่ต้องเรียงตามลำาดับ และ เกิดความสะดวก ในการเข้าถึงของ ผู้เรียนอีกด้วย 3. การสอนออนไลน์ ช่วยทำาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ ตามจังหวะของตน (Self- Paced Learning) เนื่องจากการนำาเสนอเนื้อหาในรูปแบบของ ไฮเปอร์มีเดีย เปิดโอกาสให้ผู้เรียน สามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนในด้านของลำาดับการเรียนได้ ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด และความสนใจของตน นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถทดสอบทักษะ ของตนเองก่อนเรียนได้ ทำาให้ สามารถทราบจุดอ่อนของตนและเลือกเนื้อหาให้เข้ากับรูปแบบ การเรียนของตัวเอง เช่น การเลือก เรียนเนื้อหาเฉพาะบางส่วนที่ต้องการทบทวนโดยไม่ต้องเรียนใน ส่วนที่เข้าใจแล้ว ซึ่งถือว่าผู้เรียน ได้รับอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง จึงทำาให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ตามจังหวะของตนเอง 4. การสอนออนไลน์ช่วยทำาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ เรียนกับครูผู้สอน และกับ
  • 25. 25 เพื่อนๆ ได้เนื่องจากการสอนออนไลน์ มีเครื่องมือต่างๆ มากมาย เช่น ห้องสนทนา กระดานเสวนา และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ที่เอื้อต่อการโต้ตอบหรือการ ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ที่ หลากหลาย และไม่จำากัดว่าจะอยู่ในสถาบันการศึกษาเดียวกัน นอกจากนั้นการสอนออนไลน์ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีจะเอื้อให้ เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น การออกแบบเนื้อหาในลักษณะเกม หรือการ จำาลอง เป็นต้น 5. การสอนออนไลน์ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะ ใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหาที่มี ความทันสมัยและตอบสนองต่อเรื่องราวต่างๆ ในปัจจุบันได้อย่าง ทันที เพราะการที่เนื้อหาการเรียน อยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ข้อความซึ่งได้รับ การจัดเก็บ ประมวลผล การนำาเสนอ และเผยแพร่ทางคอมพิวเตอร์เหล่านี้ทำาให้มีข้อได้เปรียบสื่ออื่นๆ หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านของความสามารถในการปรับปรุงเนื้อหาสารสนเทศให้ทัน สมัยได้ตลอดเวลา การเข้าถึง ข้อมูลที่ต้องการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว และความคงทนของ ข้อมูล 6. การสอนออนไลน์ทำาให้เกิดรูปแบบการเรียนที่สามารถ จัดการเรียนการสอนให้แก่ ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เพราะผู้เรียนที่ใช้การเรียนลักษณะการสอน ออนไลน์จะไม่มีข้อจำากัดในด้าน การเดินทางมาศึกษาในเวลาใดเวลาหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่ หนึ่ง ดังนั้นการสอนออนไลน์จึง สามารถนำาไปใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ได้ และยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถนำาไปใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ขาดโอกาสทางการ ศึกษาในระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ในเมืองหรือในชนบท สามารถเข้ามา ศึกษาเนื้อหาที่ได้มาตรฐานเท่า เทียมกัน
  • 26. 26 7. การสอนออนไลน์ทำาให้สามารถลดต้นทุนในการจัดการ ศึกษานั้น ๆ ได้ ในกรณีที่มี การจัดการเรียนการสอนสำาหรับผู้เรียนที่มีจำานวนมาก และเปิด กว้างให้สถาบันอื่น ๆ หรือบุคคล ทั่วไปเข้ามาใช้การสอนออนไลน์ได้ ซึ่งจะพบว่าเมื่อต้นทุนการ ผลิตการสอนออนไลน์เท่าเดิม แต่ปริมาณผู้เรียนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นหรือขยายวงกว้างการใช้ ออกไป ก็เท่ากับเป็นการลดต้นทุน ทางการศึกษานั่นเอง จากประโยชน์ของการสอนออนไลน์ข้างต้น สรุปได้ว่า การ สอนออนไลน์นั้น เป็นการ เอื้อต่อการศึกษาตลอดชีวิต (Life Long Education) หรือการ ศึกษาตามอัธยาศัย ผู้เรียนสามารถเลือก เรียนตามความต้องการของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ ณ สถานที่ใด และในช่วงเวลาใด (Anywhere Anytime Anyone) การสอนออนไลน์กำาลังได้รับ ความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีการศึกษาที่ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ผู้ ออกแบบและพัฒนาการสอนจำาเป็นต้อง ใช้กรอบแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษามาสร้างสรรค์และ ออกแบบพัฒนาระบบการศึกษาแบบ ออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพตามความเหมาะสมของผู้เรียน 4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.1 ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) ได้มีผู้ ให้ความหมายไว้ต่างๆ กัน ดังนี้ Knowles (1975) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ด้วย ตนเองว่าเป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ในการสร้างความต้องการใน การเรียนรู้ การตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ การทำากิจกรรมเพื่อ ค้นหาความรู้ เช่น การค้นคว้าเอกสารและแหล่งความรู้ต่างๆ การ พบปะบุคคล การเลือกเสริมและกำาหนดแผนการเรียนรู้ การ ประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นด้วยตนเอง จะโดย ได้รับหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็ตาม