SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
กรณีศึกษาการปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์
ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
นายเสฏฐวุฒิ พูลหน่าย
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 รหัสนักศึกษา 613050502-4
รายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology for
Learning
นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
คำนำ
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology
for Learning นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ในรายงานนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการศึกษา
สถานการณ์ปัญหากรณีของครูเกษสุรางค์ซึ่งเป็นคุณครูสอนวิชาสังคมศึกษา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้เรียนรู้ มีความ
เข้าใจเรื่องแนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอน การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุค
ปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้จัดทำขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาสำหรับการจัดทำ
รายงานฉบับนี้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป
เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย
บทที่ 1
บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมา
“การศึกษามีความสำคัญสูงสุดและมีบทบาทต่อการพัฒนาที่ยังยืนของประเทศ ฉะนั้น ต้องจัด
การศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรม
มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข” (มาตรา 5) และสาระใน
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนว่า “ผู้เรียนทุกคนมี
ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้อง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (มาตรา 20) ทั้งนี้สถานศึกษาจะต้องพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้การสอนที่มีประสิทธิภาพ (มาตรา 21) และจัดกระบวนการเรียนรู้โดยจัดเนื้อหาสาระ
และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและ
แก้ไขปัญหา โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ ทำเป็น รักการอ่าน
และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (มาตรา 24) (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542, หน้า 22-31)
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน
ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญ
กับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความ
ต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่
มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็น
แนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม ต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับ
ทุกข์. 2542)
“การเรียนรู้” คือหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาไทยในครั้งนี้ เป็นกระบวนการการปลูกฝัง
ถ่ายทอด ฝึกอบรมสิ่งต่อไปนี้ คือ ความรู้ เจตคติ ความเข้าใจ ความเชื่อศรัทธา ระบบคุณค่า ระบบคุณธรรม
การควบคุมและดูแลตนเอง ทักษะและการทำงานให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกนึกคิด
และพฤติกรรมของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ดังนั้น หลักการปฏิรูปการเรียนรู้จึงยึดหลักว่า
ผู้เรียนมีความสำคัญสูงสุด สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน มีทักษะในการ
แสวงหาความรู้ และยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งสร้างแหล่งความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่
ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (เกษม วัฒนชัย. 2545) ทั้งนี้ การดำเนินงาน
กระทรวงศึกษาธิการในการปฏิรูปการเรียนรู้ เน้น 3 เรื่อง คือ จะให้เด็กได้เรียนอะไร ใครสอน และ สอน
อย่างไร ตามทัศนะของนักการศึกษาทั้งสองท่าน หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือการปฏิรูปการ
เรียนรู้ และการปฏิรูปการเรียนรู้ก็คือ การจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดอย่างแท้จริงนั่นเอง(ศูนย์
ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา. 2544)
โลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่ความรู้และข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ
ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเครื่องมือที่หลากหลายในการเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ
ทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงบันเทิง การพัฒนาเครื่องมือการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าว ส่งผลให้เยาวชนที่
อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตและการเรียนในแต่ละวัน ซึ่งแตกต่างไปจาก
เยาวชนในยุคก่อนอย่างมาก ซึ่งการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญกับ
การพัฒนาคนในประเทศ ให้เข็มแข็งพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21
การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตัวผู้เรียน หาก
การศึกษายังหลงติดอยู่กับสิ่งเดิมที่เคยใช้ได้ผลในยุคเก่า ย่อมจะส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่
สอดคล้องกับโลกที่เป็นจริงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่จะยิ่งเข้มข้นขึ้น (สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์,
2560)
จากความสำคัญดังที่กล่าวมา ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อ
ประกอบการเรียนในรายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology for Learning นวัตกรรม
และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ มีกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรณีศึกษา ซึ่งมีสถานการณ์ ดังนี้
เกษสุรางค์เป็นคุณครูสอนวิชาสังคมศึกษา คุณครูเกษสุรางค์สอนมาแล้วมากกว่า 20 ปี โดยทุกครั้ง
ที่สอน เกษสุรางค์จะเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีวิธีการสอนคือ ให้นักเรียนอ่านตามหนังสือเรียน แล้วทำ
แบบฝึกหัด บางทีก็ให้ท่องจำแล้วมาสอบเพื่อเก็บคะแนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ โดยให้
ท่องชื่อจังหวัดต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งในบางครั้งหนังสือเรียนที่คุณครูเกษสุรางค์ก็เป็นเล่มเดิมที่เรียนผ่านมา
หลาย ๆ รุ่น ซึ่งแต่ก่อนเด็กนักเรียนจะสอบได้คะแนนดี แต่ในปัจจุบันพบว่า ในชั้นเรียนคุณครูก็เก็บคะแนน
เด็กก็ท่อง มาสอบก็ได้คะแนนดี แต่พอเรียนไปนักเรียนก็จะรอรับแต่ความรู้จากครูเกษสุรางค์ ไม่ชอบคิดค้น
และพยายามหาความรู้ใหม่ ๆ แต่พอเวลาเป็นข้อสอบกลาง เช่น ข้อสอบ O-net นักเรียนจะได้คะแนนน้อย
มาก ทั้ง ๆ ที่เวลาที่คุณครูเกษสุรางตั้งใจสอนเป็นอย่างดี
จากสถานการณ์ตามกรณีศึกษาดังกล่าว มีการกำหนดภารกิจการเรียนรู้ ดังนี้
1. วิเคราะห์แนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ตลอดจน
วิธีการเรียนรู้ของนักเรียน ว่าสอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ พร้อมทั้งให้
เหตุผลประกอบ
2. วิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านใดบ้าง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลสนับสนุน
3. ปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษา
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์การรายงาน
1. เพื่อวิเคราะห์แนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์
ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนว่าสอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่
2. เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้ว่ามีการ
เปลี่ยนแปลงทางด้านใดบ้าง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลสนับสนุน
3. เพื่อปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูป
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ขอบเขตของการศึกษา
1.เนื้อหาที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา
เนื้อที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาเป็นไปตามสถานการณ์ กรณีศึกษาของครูเกษสุรางค์ ในรายวิชา
สังคมศึกษา และภารกิจการเรียนรู้ที่ตั้งไว้
2.ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา ดำเนินการระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม พ.ศ.2565 ภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
วิธีการศึกษาค้นคว้า
1. ศึกษาเนื้อหาตามสถานการณ์ กรณีศึกษาของครูเกษสุรางค์
2. ศึกษาภารกิจการเรียนรู้ที่กำหนดให้
3. ศึกษารูปแบบการทำรายงานทางวิชาการ
4. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5. นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เพื่อตอบคำถามตามภารกิจการเรียนรู้
6. นำเสนอรายงานทางวิชาการด้วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แนวทางการวิเคราะห์แนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอน ตลอดจน
วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนที่สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ได้แนวทางการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้
3. ได้แนวทางการปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอน ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กรณีศึกษาการปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูป
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้รายงานได้ศึกษาทบทวนเกี่ยวกับความรู้ แนวคิด และทฤษฎี โดยการ
ค้นคว้าจากเอกสารวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาในครั้งนี้
และได้ทำการรวบรวมมานำเสนอตามหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. สื่อการสอน
3. ยุคปฏิรูปการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.1 ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้ ดังนี้
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542) ให้ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการ
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะ
ต่าง ๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้
ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้
พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการจัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญา
การศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์
ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้แผนกวิจัย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544 : 5-7) ให้
ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการเรียน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ได้จัด หรือดาเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางปัญญา วิธีการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมอันพึง
ประสงค์ ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการ กระบวนการ และ แหล่งการเรียนรู้
ที่หลากหลาย ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงทั้งในและนอกห้องเรียน มีการวัดผล ประเมินผล ตามสภาพจริง ทำให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2549) ให้ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า หลักการพื้นฐาน
ของแนวคิด ผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียน
มีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการ ศึกษา
แบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็น
แนว ทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความ
สะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตน เองอย่างเต็มที่
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2550) ให้ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การเรียนการ
สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ แนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ใหม่และสิ่งประดิษฐ์
ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้
ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็น
ผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ ในศาสตร์
สาขาต่าง ๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย
คือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี
1.2 หลักการพื้นฐานของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สำนักวิชาการและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (2556) ให้หลักการพื้นฐานของ
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อ
ที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคน
ได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการ
เรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และ
การแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่
แตกต่างกันตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือผู้สอน
แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ผู้สอนยัง
แสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อ
แก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป การทบทวนบทบาทของผู้สอน ควรเริ่มจาก
การทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของการเรียน โดยต้องถือว่าแก่นแท้ของ
การเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง
หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ ถ้าจะเปรียบ
การทำงานของอาจารย์ (ผู้สอน) กับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของ
ผู้ป่วยด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดการบำบัดด้วยการ
ใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน วิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคน
เหมือน ๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน ผู้สอนก็จำเป็นต้องทำ
ความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูลอันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะสม เพื่อให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ และจาก
ข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาที่ไม่ส่งเสริม
ให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผู้สอนจึงต้องหันมาทบทวน
บทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้น
ไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการ คือ
การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและ การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติใน
การดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้การจัดการเรียนการสอนโดย
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือที่รู้จักในชื่อเดิมว่าการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student
Centered หรือChild Centered) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่รู้จักกันมานานในวงการศึกษาไทย
แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ รวมกับความเคยชินที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาด้วยรูปแบบการจัด
การเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher Centered) มาตลอด เมื่อผู้สอนเคยชินกับการจัด
การเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ที่เคยรู้จัก จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนโดยยึด
ผู้เรียนเป็นสำคัญเท่าที่ควร แต่ในยุคของการปฏิรูปการศึกษานี้ได้มีการกำหนดเป็นกฎหมายแล้วว่า ผู้สอน
ทุกคนจะต้องใช้รูปแบบการจัดการเรียน การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอน
ทุกคนจะต้องให้ความสนใจกับรายละเอียด ในส่วนนี้ โดยการศึกษาทำความเข้าใจ และหาแนวทางมาใช้
ในการปฏิบัติงานของตนให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นการจัดการบรรยากาศ
จัดกิจกรรม จัดสื่อจัด สถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ผู้สอนจึงมีความจำเป็น
ที่จะต้องรู้จักผู้เรียนให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปเป็นพื้นฐานการ
ออกแบบหรือวางแผนการ เรียนรู้ได้สอดคล้องกับผู้เรียน สำหรับในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบการเรียนรู้
อาจทำได้หลายวิธีการและหลายเทคนิค แต่มีข้อควรคำนึงว่า ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง
ได้เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้หรือไม่
1) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกหรือตัดสินใจในเนื้อหาสาระที่สนใจเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียน
หรือไม่
2) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้คิดได้รวบรวมความรู้และลงมือปฏิบัติ
จริงด้วยตนเองหรือไม่ ซึ่ง ทิศนา แขมมณี (2547) ได้นำเสนอแนวคิดในการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
และสามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ ดังนี้
2.1) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่ควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย (Physical
Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการเรียนรู้
ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
ถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดี ๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ดังจะเห็นได้ว่า ถ้าปล่อย
ให้ผู้เรียนนั่งนาน ๆ ในไม่ช้าผู้เรียนก็จะหลับหรือคิดเรื่องอื่น ๆ แต่ถ้าให้มีการเคลื่อนไหวทางกายบ้างก็จะทำให้
ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัวและพร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน
จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม
กับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
2.2) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual
Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางสติปัญญาต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทาย
ความคิดของผู้เรียน สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหวต้องเป็นเรื่องที่ไม่ยากหรือง่าย
เกินไป ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด
2.3) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี ควรช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation)
คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์
จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ มนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านสังคม
2.4) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional
Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิด
ความหมายต่อตนเองโดยกิจกรรมดังกล่าวควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง โดยปกติการมีส่วนร่วมทางอารมณ์
นี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับการกระทำอื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น กิจกรรมทางกาย สติปัญญาและสังคม ทุกครั้งที่ผู้สอนให้
ผู้เรียนเคลื่อนที่ เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรม ผู้เรียนจะเกิดอารมณ์ความรู้สึก อาจเป็นความพอใจ ไม่
พอใจ หรือเฉย ๆ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสามารถใช้ได้กับการจัดการเรียนการ
สอนทุกวิชา เพียงแต่ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาที่ต่างกันจะมีลักษณะที่เอื้ออำนวยให้ผู้สอนออกแบบกิจกรรมที่
ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในจุดเด่นที่ต่างกัน คือ
(1) รายวิชาที่มีเนื้อหามุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์และการนำเอากฎเกณฑ์ ไปประยุกต์ใช้
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ หรือการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ผู้สอนสามารถใช้
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย และเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ได้นำกฎเกณฑ์ที่ทำความเข้าใจได้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสอนแบบนิรนัย การ
เรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืนเพราะผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตัวเอง
(2) รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลอง และการอภิปราย
โดยใช้หลักเหตุผล เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สร้างความรู้เองโดยตรง เพียงแต่ผู้สอนต้อง
รู้จักการใช้คำถามที่ยั่วยุและเชื่อมโยงความคิด ประกอบกับการได้มีโอกาสทำการทดลองเป็นการปฏิบัติ
ร่วมกัน ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสร้างความรู้ผ่านกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ที่ทำกันมาอยู่แล้ว
(3) รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนใน
สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุให้ออกความคิดเห็นได้ เช่น วิชา สังคมศึกษา และ
วรรณคดีเป็นลักษณะพิเศษที่ผู้สอนจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดกิจกรรมการใช้ความคิด อภิปราย นำไปสู่
ข้อสรุป เป็นผลของการเรียนรู้และการสร้างนิสัยยอมรับฟังความคิดเห็นกัน เป็นวิถีทางที่ดีใน การปลูกฝัง
ประชาธิปไตยให้กับผู้เรียน
(4) รายวิชาที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นหลักเช่น วิชาพลศึกษา และการงาน
อาชีพ ผู้สอนควรใช้โอกาสดังกล่าว ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทำงาน
(5) รายวิชาที่ส่งเสริมความคิดจินตนาการ และการสร้างสุนทรียภาพ เช่น วิชาศิลปะและ
ดนตรี นอกจากจะมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ผู้เรียนยังมีโอกาสได้สร้างความรู้ และ ความรู้สึกที่ดี ผ่าน
กระบวนทำงานที่ผู้สอนออกแบบไว้ให้ ผู้สอนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญมักเป็นผู้สอนที่มีความตั้งใจและสนุกในการทำงานสอน เป็นคนช่างสังเกตและเอาใจใส่ผู้เรียนและ
มักจะได้ผลการตอบสนองที่ดีจากผู้เรียน แม้จะยังไม่มากในจุดเริ่มต้น แต่เมื่อปฏิบัติอย่าง สม่ำเสมอก็จะสังเกต
ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในทางที่ดีขึ้น
นรรัชต์ ฝันเชียร (2561) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center
Learning ) คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อ
และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความสนใจของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความ
สะดวก ซึ่งต่างจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั่วไปที่เน้นให้เด็กศึกษาหาความรู้จากการสอนของครูโดยตรง
แนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนา
ได้ตามของตัวเอง แต่แตกต่างที่ความต้องการ ความสนใจและความถนัด รวมไปถึงทักษะต่าง ๆ ดังนั้นการจัด
การศึกษาจึงไม่ควรที่จะเป็นไปในแนวทางเดียว ควรมีความหลากหลายและตอบสนองได้กับเด็กทุกกลุ่ม
ซึ่งข้อดีของการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Child Center นั้น คือการที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้
จนนำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง ตามความเหมาะสมและความต้องการของเขา ซึ่งจะแตกต่างกับ
การจัดการศึกษาในรูปแบบทั่วไป ที่ครูเป็นผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดี การจัดการ
เรียนรู้ในรูปแบบผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ครูผู้สอนจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ และเรียนรู้ทักษะความรู้
ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงต้องรู้จังหวะในการสอดแทรกสิ่งที่ต้องการสอนเข้าไปในการเรียนรู้ของ
พวกเขา เพราะการกำกับดูแลของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ ถือเป็นตัวแปรหนึ่งใน
การส่งเสริมให้การจัดการศึกษารูปแบบนี้มีประสิทธิภาพ
ถ้าเป็นบุคคลที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการการศึกษาของไทย จะเห็นได้ว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดย
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในการส่งเสริมการจัดการศึกษา
มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นปฏิรูปการศึกษาใหม่ ๆ โดยได้มีการระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ในส่วนของแนวจัดการการศึกษาไว้ดังนี้
“มาตราที่ 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม
ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
2. สื่อการสอน
2.1 ความหมายของสื่อการสอน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2539, หน้า 13) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติและทักษะไปยัง
ผู้เรียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
กิดานันท์ มลิทอง (2549, หน้า 100) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อ (media) เป็นคํา
มาจากภาษาลาตินว่า “ระหว่าง” (between) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลาง
ข้อมูลส่งผ่าน จากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and Packer, 1964, หน้า 11) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า
สื่อการสอน หมายถึง เครื่องมือ ที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้
ความเข้าใจ และความซาบซึ้ง ไปยังผู้เรียน หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอนที่สามารถได้ยินและมองเห็น
ได้เท่า ๆ กัน
เกอร์ลัช และอีไล (Gerlach and Ely, 1982, หน้า 282) กล่าวว่า คําว่า สื่อการเรียนการสอน
มีความหมายมาก ไม่ว่าจะเป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ หรือเหตุการณ์ที่สร้างเงื่อนไข ซึ่งสามารถทําให้
ผู้เรียนเกิดความรู้ทักษะและทัศนคติต่างๆ ตามความหมายนี้ อาจารย์ ตําราและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นสื่อ
ทั้งสิ้น
ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel, 1985, หน้า 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับ
สื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์ โทรทัศน์ วิทยุ เทปบันทึกเสียง
ภาพถ่าย วัสดุฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนําข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนํามาใช้กับ
การเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน
บราวน์ และคณะ (Brown and others, 1977, หน้า 5) ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน คือ
อุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งที่มีความหมาย รวมถึง
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น
2.2 ความสำคัญของสื่อการสอน
เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale, 1969, หน้า 92) ได้กล่าวสรุปถึงความสําคัญของสื่อการสอนไว้ ดังนี้
1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียว
นั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด
แต่สําหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทําได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทําให้ผู้เรียน
มีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ ด้วยตา หู
และการเคลื่อนไหว จับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจําอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนํา
ประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทําให้เห็น
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฎจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคําใหม่ ๆ ให้มากขึ้น
ผู้เรียนที่อานหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบ
สมคิด พรมจุ้ย (2547, หน้า 78-79) กล่าวถึงความสําคัญของสื่อการสอนไว้ ดังนี้
1. เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะเอื้อให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมาย
ตามที่หลักสูตรต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. การเรียนรู้ด้วยสื่อจะทําให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายและมีความยั่งยืน
3. ผู้เรียนสามารถสัมผัส แตะต้องจากของจริงซึ่งหมายถึงการลงมือปฏิบัติกิจกรรม โดยมีสื่ออุปกรณ์
เป็นเครื่องมือช่วย
4. สื่อการเรียนการสอนเร้าความสนใจ อยากรู้ อยากเรียน อยากดู อยากเห็นของผู้เรียน
5. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
6. สื่อ สามารถย่อขนาด ย่นระยะทาง และเวลา
7. สื่อสามารถเปลี่ยนนามธรรมเป็นรูปธรรม ง่ายแก่การเข้าใจ
8. ทําสิ่งยากเป็นสิ่งง่าย
3. ยุคปฏิรูปการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3.1 ที่มาของการปฏิรูปการศึกษา
ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤตและความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วน
ที่เป็นแรงกดดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติ
ดิจิทัล (Digital Revolution) การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industrial Revolution)
การดาเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2573 (Sustainable
Development Goals : SDGs, 2030) ที่ได้ร่วมให้สัตยาบันไว้ ผลกระทบของการเป็นประชาคมอาเซียนและ
ความต้องการกาลังคนที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้ง แรงกดดันจากภายในประเทศ ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่ส่งผลให้ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การติดกับดักประเทศที่มีรายได้
ปานกลาง ทัศนคติความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของคนไทยที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแส
โลกาภิวัตน์ การเติบโตของเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทาลายและเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่การบริหารจัดการภาครัฐยังด้อยประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใสและมีปัญหาคอร์รัปชันเป็นวงกว้าง
จึงส่งผลให้การผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเต็มที่ บางส่วนของสังคมยังไม่ได้รับ
การพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559, หน้า 1)
จากวิกฤตปัญหาของประเทศหลายภาคส่วน จึงมีความเห็นตรงกันว่าจาเป็นต้องมี
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “การปฏิรูปประเทศไทย” โดยรัฐบาลภายใต้คณะรักษาความสงบ
แห่งชาติได้กำหนด “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ไว้เป็นกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว กำหนดวิสัยทัศน์
การพัฒนาไว้ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง” และพัฒนาสู่การเป็น “ประเทศไทย 4.0” เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่
เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value–Based Economy) จึงมี ความจำเป็นต้องเตรียมกำลังคนที่มี
ความรู้ สมรรถนะและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การศึกษาจึงได้รับความคาดหวังจากทุกภาคส่วนว่าจะเป็น
เครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ดังนั้น การปฏิรูปประเทศจึงต้องเริ่มต้นที่ “การปฏิรูปการศึกษา”
เพื่อให้ระบบการศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) รวมถึง กรอบทิศทางของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 เป็นแผนแม่บทในการจัดการศึกษา
ทุกช่วงวัยและตลอดชีวิต ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมี
คุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ
โลกศตวรรษที่ 21” กรอบการพัฒนาด้านการศึกษาได้รับการปรับให้เป็น“การศึกษา 4.0: ผู้เรียนสร้าง
นวัตกรรมได้” เป็นแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกที่เป็นแผนระยะยาว 20 ปี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี นับว่าประเทศได้มีการวางกรอบทิศทางในการพัฒนาที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการศึกษาให้เป็น
เครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560)
3.2 ความแตกต่างของยุคปฏิรูปการศึกษากับยุคการศึกษาเดิม
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2549) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็น
การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป คือ
1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ บทบาทของครูคือผู้สนับสนุน
(supporter) และเป็นแหล่งความรู้ (resource person) ของผู้เรียน ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและ
วางแผนสิ่งที่ตนจะเรียน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมใน การเลือกและจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษา
ค้นคว้า รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ปัจจัย
สำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ได้แก่ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์เดิม และความต้องการของผู้เรียน
การเรียนรู้ที่สำคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้สอน (เทคนิคการสอน)
3. การเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอน ผู้เรียนจะได้รับ
ความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ค้นพบข้อ
คำถามและคำตอบใหม่ ๆ สิ่งใหม่ ๆ ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการ
บรรลุผลสำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง
4. สัมพันธภาพประกอบดีระหว่างผู้เรียน การมีสัมพันธภาพประกอบดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความ
เจริญงอกงาม การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทำงานและการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล
สัมพันธภาพประกอบเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เรียน
5. ครู คือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่า
ของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความเต็มใจของ
ครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และ
การฝึกฝน โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้
6. ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุม
ตนเองได้มากขึ้น สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้อง
กับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่าง ๆ มากขึ้น
7. การศึกษาคือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลาย ๆ ด้านพร้อมกันไปการเรียนรู้ที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลาย ๆ ด้าน เช่น คุณลักษณะด้านความรู้ความคิด
ด้านการปฏิบัติและด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันเมื่อรู้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญมีดีและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น พวกเราครูมืออาชีพก็ควรศึกษาและปฏิบัติ
ให้ถูกต้อง ผลที่ได้คือ ผลิตผลที่ดีนักเรียนมีความรู้ ดี เก่งและมีสุข ตามเจตนารมย์ของหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน
4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประพิศ นาโควงศ์ (2550: 108) ได้ทำการวิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนางัวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม
เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
และปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) สภาพและปัญหา
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนางัวสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ที่มีเพศต่างกันโดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 3) สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของข้าราชการครู
กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนางัวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ที่มีประสบการณ์ในงาน
ต่างกันโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
ตุล เชื้อจำรูญ (2555: 139) ได้ทำการวิจัยเรื่อง สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาด้านการ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า 1) สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการพัฒนาการจัดการ
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง ประสบการณ์ และวุฒิการศึกษา พบว่า
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สลิตา รินสิริ (2558: 75) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ
โรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบการจัดการเรียน
การสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ชลบุรี เขต 2 พบว่า จําแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ (p < .05)
โดยครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี-ป.บัณฑิต ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป แต่เมื่อจําแนกตาม
ประสบการณ์การสอน และจําแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ
ทางสถิติ 3) แนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 พบว่า แนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้าน
การประเมินผล ด้านการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทาง
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างจริงจัง ส่งเสริมให้ครูบุคลากรได้รับการอบรมการวัดผล ประเมินผล
ให้ครูมีวิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย นิเทศกำกับติดตามการเตรียมการสอนของครู นิเทศติดตาม
การใช้สื่อการของครู
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาตามสถานการณ์ปัญหาและภารกิจการเรียนรู้ บทที่ 2 รายวิชา ED001009 Innovation
and Digital Technology for Learning นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2565 ผู้รายงานได้ดำเนินการตามหัวข้อดังนี้
1. เนื้อหา
2. ระยะเวลาในการศึกษา
3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. การนำเสนอข้อมูล
1. เนื้อหา
ผู้รายงานศึกษาเนื้อหาตามสถานการณ์ปัญหา และภารกิจการเรียนรู้ที่กำหนดให้จากกรณีศึกษาของ
ครูเกษสุรางค์ จากใบงานสถานการณ์ปัญหาและภารกิจการเรียนรู้ บทที่ 2 รายวิชา ED001009 Innovation
and Digital Technology for Learning ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
2. ระยะเวลาในการศึกษา
ดำเนินการระหว่างวันที่ 15 – 19 ธันวาคม พ.ศ.2565 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
3. เครื่องมือที่ใชในการศึกษา
ผู้รายงานศึกษารูปแบบการทำรายงานทางวิชาการจาก
1) คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ โดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publication/student-
guide/ThesisManualThai/100/1)
2) เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การเขียนรายงานวิชาการ ศศภท 100 ศิลปะการใช้ภาษาไทย
เพื่อการสื่อสาร ภาคปลาย ปีการศึกษา 2558 โดย อาจารย์ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล
(https://tanadechcps.files.wordpress.com/2018/06/e0b881e0b8b2e0b8a3e0b980
e0b882e0b8b5e0b8a2e0b899e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899e0b8a
7e0b8b4e0b88ae0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a3.pdf)
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้รายงานทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องของ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการสอน และการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 จากเวปไซต์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้รายงานนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการสอน และการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาวิเคราะห์
เพื่อตอบคำถามตามภารกิจการเรียนรู้
6. การนำเสนอข้อมูล
ผู้รายงานนำเสนอรายงานทางวิชาการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ โดยการนำ
เอกสารรายงานทางวิชาการขึ้นไปไว้ในเว็บไซต์ https://www.slideshare.net/
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf
613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf

More Related Content

What's hot

Contrast Agents Introduction to Radiology
Contrast Agents Introduction to RadiologyContrast Agents Introduction to Radiology
Contrast Agents Introduction to Radiologyshabeel pn
 
Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...
Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...
Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...Man_Ebook
 
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.pongtum
 
แบบฟอร์มการเขียน Storyboard
แบบฟอร์มการเขียน Storyboardแบบฟอร์มการเขียน Storyboard
แบบฟอร์มการเขียน Storyboardrungtip boontiengtam
 
มัธยมต้น ภาคเรียนที่2
มัธยมต้น ภาคเรียนที่2มัธยมต้น ภาคเรียนที่2
มัธยมต้น ภาคเรียนที่2nang_phy29
 
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3thanaetch
 
Copy of Mitsumori-CT angiography techniques
Copy of Mitsumori-CT angiography techniquesCopy of Mitsumori-CT angiography techniques
Copy of Mitsumori-CT angiography techniquesamin usmani
 
Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...
Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...
Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...Dịch Vụ Viết Bài Trọn Gói ZALO 0917193864
 
Whats hot laboratory
Whats hot laboratoryWhats hot laboratory
Whats hot laboratorymaram Ahmed
 
ใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1page
ใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1pageใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1page
ใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1pagePrachoom Rangkasikorn
 

What's hot (20)

Contrast Agents Introduction to Radiology
Contrast Agents Introduction to RadiologyContrast Agents Introduction to Radiology
Contrast Agents Introduction to Radiology
 
Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...
Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...
Nghiên cứu giải pháp giảm ảnh hưởng tương hỗ giữa các phần tử anten dàn trong...
 
Đề tài: Thiết kế, lập trình nhà giữ xe tự động sử dụng PLC, HAY
Đề tài: Thiết kế, lập trình nhà giữ xe tự động sử dụng PLC, HAYĐề tài: Thiết kế, lập trình nhà giữ xe tự động sử dụng PLC, HAY
Đề tài: Thiết kế, lập trình nhà giữ xe tự động sử dụng PLC, HAY
 
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.
 
แบบฟอร์มการเขียน Storyboard
แบบฟอร์มการเขียน Storyboardแบบฟอร์มการเขียน Storyboard
แบบฟอร์มการเขียน Storyboard
 
Luận văn: Tra cứu ảnh sử dụng đặc trưng và phản hồi liên quan
Luận văn: Tra cứu ảnh sử dụng đặc trưng và phản hồi liên quanLuận văn: Tra cứu ảnh sử dụng đặc trưng và phản hồi liên quan
Luận văn: Tra cứu ảnh sử dụng đặc trưng và phản hồi liên quan
 
มัธยมต้น ภาคเรียนที่2
มัธยมต้น ภาคเรียนที่2มัธยมต้น ภาคเรียนที่2
มัธยมต้น ภาคเรียนที่2
 
Luận văn: Tìm hiểu động cơ một chiều không chổi than, HAY
Luận văn: Tìm hiểu động cơ một chiều không chổi than, HAYLuận văn: Tìm hiểu động cơ một chiều không chổi than, HAY
Luận văn: Tìm hiểu động cơ một chiều không chổi than, HAY
 
Luận văn: Xử phạt vi phạm hành chính trong lĩnh vực y tế, HAY
Luận văn: Xử phạt vi phạm hành chính trong lĩnh vực y tế, HAYLuận văn: Xử phạt vi phạm hành chính trong lĩnh vực y tế, HAY
Luận văn: Xử phạt vi phạm hành chính trong lĩnh vực y tế, HAY
 
US.ppt
US.pptUS.ppt
US.ppt
 
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
 
Digital X-ray Problems..
Digital X-ray Problems..Digital X-ray Problems..
Digital X-ray Problems..
 
Luận văn: Xử phạt vi phạm hành chính về y tế tỉnh Yên Bái, HAY
Luận văn: Xử phạt vi phạm hành chính về y tế tỉnh Yên Bái, HAYLuận văn: Xử phạt vi phạm hành chính về y tế tỉnh Yên Bái, HAY
Luận văn: Xử phạt vi phạm hành chính về y tế tỉnh Yên Bái, HAY
 
Copy of Mitsumori-CT angiography techniques
Copy of Mitsumori-CT angiography techniquesCopy of Mitsumori-CT angiography techniques
Copy of Mitsumori-CT angiography techniques
 
Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...
Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...
Đồ án thiết kế mô phỏng PVsyst hệ thống điện mặt trời nối lưới cho ...
 
Whats hot laboratory
Whats hot laboratoryWhats hot laboratory
Whats hot laboratory
 
Luận văn: Tình hình các tội về mại dâm
Luận văn: Tình hình các tội về mại dâmLuận văn: Tình hình các tội về mại dâm
Luận văn: Tình hình các tội về mại dâm
 
ใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1page
ใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1pageใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1page
ใบความรู้+ลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์2+ป.5+275+dltvscip5+54sc p05 f18-1page
 
Coronary CT
Coronary CTCoronary CT
Coronary CT
 
Luận văn: Vấn đề lý luận thực tiễn về thi hành hình phạt tử hình
Luận văn: Vấn đề lý luận thực tiễn về thi hành hình phạt tử hìnhLuận văn: Vấn đề lý luận thực tiễn về thi hành hình phạt tử hình
Luận văn: Vấn đề lý luận thực tiễn về thi hành hình phạt tử hình
 

Similar to 613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์mina612
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7Tar Bt
 
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนNatmol Thedsanabun
 
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนNatmol Thedsanabun
 
Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5kruwaeo
 
ใบงานที่ 2 8
ใบงานที่ 2   8ใบงานที่ 2   8
ใบงานที่ 2 8noputa3366
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
Introduction to technologies chapter 5
Introduction to technologies chapter 5Introduction to technologies chapter 5
Introduction to technologies chapter 5pompompam
 
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนAtigarn Tingchart
 
รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทJiraporn Chaimongkol
 
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์keeree samerpark
 
3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาa35974185
 

Similar to 613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf (20)

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7
 
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
นวัตกรรม Chapter 2
นวัตกรรม Chapter 2นวัตกรรม Chapter 2
นวัตกรรม Chapter 2
 
Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5
 
ใบงานที่ 2 8
ใบงานที่ 2   8ใบงานที่ 2   8
ใบงานที่ 2 8
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
Innovation and it for learning 1
Innovation and it for learning 1Innovation and it for learning 1
Innovation and it for learning 1
 
Id plan
Id planId plan
Id plan
 
Chapter 9
Chapter 9Chapter 9
Chapter 9
 
งาน2 8
งาน2 8งาน2 8
งาน2 8
 
Chapter 3
Chapter 3Chapter 3
Chapter 3
 
Introduction to technologies chapter 5
Introduction to technologies chapter 5Introduction to technologies chapter 5
Introduction to technologies chapter 5
 
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
 
รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บท
 
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
 
Learning21
Learning21Learning21
Learning21
 
3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
3มุมมองทางจิตวิทยาการเรียนรู้กับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
 

613050502-4 เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย รายงานทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใบงาน 3.pdf

  • 1. กรณีศึกษาการปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นายเสฏฐวุฒิ พูลหน่าย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 รหัสนักศึกษา 613050502-4 รายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology for Learning นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
  • 2. คำนำ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology for Learning นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ในรายงานนี้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการศึกษา สถานการณ์ปัญหากรณีของครูเกษสุรางค์ซึ่งเป็นคุณครูสอนวิชาสังคมศึกษา เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้เรียนรู้ มีความ เข้าใจเรื่องแนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอน การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุค ปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้จัดทำขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาสำหรับการจัดทำ รายงานฉบับนี้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป เสฏฐวุฒิ พูลหน่าย
  • 3. บทที่ 1 บทนำ ความสำคัญและความเป็นมา “การศึกษามีความสำคัญสูงสุดและมีบทบาทต่อการพัฒนาที่ยังยืนของประเทศ ฉะนั้น ต้องจัด การศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข” (มาตรา 5) และสาระใน หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนว่า “ผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (มาตรา 20) ทั้งนี้สถานศึกษาจะต้องพัฒนา กระบวนการเรียนรู้การสอนที่มีประสิทธิภาพ (มาตรา 21) และจัดกระบวนการเรียนรู้โดยจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและ แก้ไขปัญหา โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (มาตรา 24) (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542, หน้า 22-31) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญ กับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความ ต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่ มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็น แนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม ต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับ ทุกข์. 2542) “การเรียนรู้” คือหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาไทยในครั้งนี้ เป็นกระบวนการการปลูกฝัง ถ่ายทอด ฝึกอบรมสิ่งต่อไปนี้ คือ ความรู้ เจตคติ ความเข้าใจ ความเชื่อศรัทธา ระบบคุณค่า ระบบคุณธรรม การควบคุมและดูแลตนเอง ทักษะและการทำงานให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ดังนั้น หลักการปฏิรูปการเรียนรู้จึงยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญสูงสุด สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน มีทักษะในการ แสวงหาความรู้ และยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งสร้างแหล่งความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (เกษม วัฒนชัย. 2545) ทั้งนี้ การดำเนินงาน กระทรวงศึกษาธิการในการปฏิรูปการเรียนรู้ เน้น 3 เรื่อง คือ จะให้เด็กได้เรียนอะไร ใครสอน และ สอน อย่างไร ตามทัศนะของนักการศึกษาทั้งสองท่าน หัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือการปฏิรูปการ เรียนรู้ และการปฏิรูปการเรียนรู้ก็คือ การจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดอย่างแท้จริงนั่นเอง(ศูนย์ ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา. 2544) โลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่ความรู้และข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเครื่องมือที่หลากหลายในการเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงบันเทิง การพัฒนาเครื่องมือการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าว ส่งผลให้เยาวชนที่ อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตและการเรียนในแต่ละวัน ซึ่งแตกต่างไปจาก
  • 4. เยาวชนในยุคก่อนอย่างมาก ซึ่งการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญกับ การพัฒนาคนในประเทศ ให้เข็มแข็งพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตัวผู้เรียน หาก การศึกษายังหลงติดอยู่กับสิ่งเดิมที่เคยใช้ได้ผลในยุคเก่า ย่อมจะส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ สอดคล้องกับโลกที่เป็นจริงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่จะยิ่งเข้มข้นขึ้น (สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, 2560) จากความสำคัญดังที่กล่าวมา ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อ ประกอบการเรียนในรายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology for Learning นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ มีกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรณีศึกษา ซึ่งมีสถานการณ์ ดังนี้ เกษสุรางค์เป็นคุณครูสอนวิชาสังคมศึกษา คุณครูเกษสุรางค์สอนมาแล้วมากกว่า 20 ปี โดยทุกครั้ง ที่สอน เกษสุรางค์จะเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีวิธีการสอนคือ ให้นักเรียนอ่านตามหนังสือเรียน แล้วทำ แบบฝึกหัด บางทีก็ให้ท่องจำแล้วมาสอบเพื่อเก็บคะแนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ โดยให้ ท่องชื่อจังหวัดต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งในบางครั้งหนังสือเรียนที่คุณครูเกษสุรางค์ก็เป็นเล่มเดิมที่เรียนผ่านมา หลาย ๆ รุ่น ซึ่งแต่ก่อนเด็กนักเรียนจะสอบได้คะแนนดี แต่ในปัจจุบันพบว่า ในชั้นเรียนคุณครูก็เก็บคะแนน เด็กก็ท่อง มาสอบก็ได้คะแนนดี แต่พอเรียนไปนักเรียนก็จะรอรับแต่ความรู้จากครูเกษสุรางค์ ไม่ชอบคิดค้น และพยายามหาความรู้ใหม่ ๆ แต่พอเวลาเป็นข้อสอบกลาง เช่น ข้อสอบ O-net นักเรียนจะได้คะแนนน้อย มาก ทั้ง ๆ ที่เวลาที่คุณครูเกษสุรางตั้งใจสอนเป็นอย่างดี จากสถานการณ์ตามกรณีศึกษาดังกล่าว มีการกำหนดภารกิจการเรียนรู้ ดังนี้ 1. วิเคราะห์แนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ตลอดจน วิธีการเรียนรู้ของนักเรียน ว่าสอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ พร้อมทั้งให้ เหตุผลประกอบ 2. วิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง ทางด้านใดบ้าง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลสนับสนุน 3. ปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษา ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วัตถุประสงค์การรายงาน 1. เพื่อวิเคราะห์แนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนว่าสอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ 2. เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้ว่ามีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านใดบ้าง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลสนับสนุน 3. เพื่อปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูป การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขอบเขตของการศึกษา 1.เนื้อหาที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา เนื้อที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาเป็นไปตามสถานการณ์ กรณีศึกษาของครูเกษสุรางค์ ในรายวิชา สังคมศึกษา และภารกิจการเรียนรู้ที่ตั้งไว้
  • 5. 2.ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา ดำเนินการระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม พ.ศ.2565 ภาค เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิธีการศึกษาค้นคว้า 1. ศึกษาเนื้อหาตามสถานการณ์ กรณีศึกษาของครูเกษสุรางค์ 2. ศึกษาภารกิจการเรียนรู้ที่กำหนดให้ 3. ศึกษารูปแบบการทำรายงานทางวิชาการ 4. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5. นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เพื่อตอบคำถามตามภารกิจการเรียนรู้ 6. นำเสนอรายงานทางวิชาการด้วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้แนวทางการวิเคราะห์แนวคิดวิธีการจัดการเรียนการสอน และการใช้สื่อการสอน ตลอดจน วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนที่สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ได้แนวทางการวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเรียนรู้ 3. ได้แนวทางการปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอน ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • 6. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาการปรับวิธีการสอนและวิธีการใช้สื่อการสอนของครูเกษสุรางค์ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูป การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้รายงานได้ศึกษาทบทวนเกี่ยวกับความรู้ แนวคิด และทฤษฎี โดยการ ค้นคว้าจากเอกสารวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาในครั้งนี้ และได้ทำการรวบรวมมานำเสนอตามหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. สื่อการสอน 3. ยุคปฏิรูปการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.1 ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้ ดังนี้ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542) ให้ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะ ต่าง ๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้ พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการจัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญา การศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้แผนกวิจัย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544 : 5-7) ให้ ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ได้จัด หรือดาเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางปัญญา วิธีการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมอันพึง ประสงค์ ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการ กระบวนการ และ แหล่งการเรียนรู้ ที่หลากหลาย ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงทั้งในและนอกห้องเรียน มีการวัดผล ประเมินผล ตามสภาพจริง ทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2549) ให้ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า หลักการพื้นฐาน ของแนวคิด ผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียน มีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการ ศึกษา แบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจแนวทางนี้จึงเป็น แนว ทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความ สะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตน เองอย่างเต็มที่ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2550) ให้ความหมายของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ แนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ใหม่และสิ่งประดิษฐ์
  • 7. ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็น ผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ ในศาสตร์ สาขาต่าง ๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย คือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี 1.2 หลักการพื้นฐานของการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำนักวิชาการและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (2556) ให้หลักการพื้นฐานของ การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อ ที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคน ได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการ เรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และ การแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่ แตกต่างกันตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือผู้สอน แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ผู้สอนยัง แสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อ แก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป การทบทวนบทบาทของผู้สอน ควรเริ่มจาก การทบทวนและปรับแต่งความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของการเรียน โดยต้องถือว่าแก่นแท้ของ การเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ ถ้าจะเปรียบ การทำงานของอาจารย์ (ผู้สอน) กับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของ ผู้ป่วยด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดการบำบัดด้วยการ ใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน วิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคน เหมือน ๆ กันไม่ได้ นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน ผู้สอนก็จำเป็นต้องทำ ความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูลอันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะสม เพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ และจาก ข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาที่ไม่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผู้สอนจึงต้องหันมาทบทวน บทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้น ไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการ คือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและ การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติใน การดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้การจัดการเรียนการสอนโดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือที่รู้จักในชื่อเดิมว่าการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered หรือChild Centered) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่รู้จักกันมานานในวงการศึกษาไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ รวมกับความเคยชินที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาด้วยรูปแบบการจัด การเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher Centered) มาตลอด เมื่อผู้สอนเคยชินกับการจัด การเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ที่เคยรู้จัก จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนโดยยึด
  • 8. ผู้เรียนเป็นสำคัญเท่าที่ควร แต่ในยุคของการปฏิรูปการศึกษานี้ได้มีการกำหนดเป็นกฎหมายแล้วว่า ผู้สอน ทุกคนจะต้องใช้รูปแบบการจัดการเรียน การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้สอน ทุกคนจะต้องให้ความสนใจกับรายละเอียด ในส่วนนี้ โดยการศึกษาทำความเข้าใจ และหาแนวทางมาใช้ ในการปฏิบัติงานของตนให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นการจัดการบรรยากาศ จัดกิจกรรม จัดสื่อจัด สถานการณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ผู้สอนจึงมีความจำเป็น ที่จะต้องรู้จักผู้เรียนให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปเป็นพื้นฐานการ ออกแบบหรือวางแผนการ เรียนรู้ได้สอดคล้องกับผู้เรียน สำหรับในการจัดกิจกรรมหรือออกแบบการเรียนรู้ อาจทำได้หลายวิธีการและหลายเทคนิค แต่มีข้อควรคำนึงว่า ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง ได้เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนในเรื่องต่อไปนี้หรือไม่ 1) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้เลือกหรือตัดสินใจในเนื้อหาสาระที่สนใจเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียน หรือไม่ 2) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยได้คิดได้รวบรวมความรู้และลงมือปฏิบัติ จริงด้วยตนเองหรือไม่ ซึ่ง ทิศนา แขมมณี (2547) ได้นำเสนอแนวคิดในการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และสามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ ดังนี้ 2.1) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีที่ควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการเรียนรู้ ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดี ๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ดังจะเห็นได้ว่า ถ้าปล่อย ให้ผู้เรียนนั่งนาน ๆ ในไม่ช้าผู้เรียนก็จะหลับหรือคิดเรื่องอื่น ๆ แต่ถ้าให้มีการเคลื่อนไหวทางกายบ้างก็จะทำให้ ประสาทการเรียนรู้ของผู้เรียนตื่นตัวและพร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม กับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน 2.2) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเคลื่อนไหวทางสติปัญญาต้องเป็นกิจกรรมที่ท้าทาย ความคิดของผู้เรียน สามารถกระตุ้นสมองของผู้เรียนให้เกิดการเคลื่อนไหวต้องเป็นเรื่องที่ไม่ยากหรือง่าย เกินไป ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกที่จะคิด 2.3) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี ควรช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์ จำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ มนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านสังคม 2.4) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิด ความหมายต่อตนเองโดยกิจกรรมดังกล่าวควรเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง โดยปกติการมีส่วนร่วมทางอารมณ์ นี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับการกระทำอื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น กิจกรรมทางกาย สติปัญญาและสังคม ทุกครั้งที่ผู้สอนให้ ผู้เรียนเคลื่อนที่ เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรม ผู้เรียนจะเกิดอารมณ์ความรู้สึก อาจเป็นความพอใจ ไม่ พอใจ หรือเฉย ๆ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสามารถใช้ได้กับการจัดการเรียนการ สอนทุกวิชา เพียงแต่ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาที่ต่างกันจะมีลักษณะที่เอื้ออำนวยให้ผู้สอนออกแบบกิจกรรมที่ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในจุดเด่นที่ต่างกัน คือ
  • 9. (1) รายวิชาที่มีเนื้อหามุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้กฎเกณฑ์และการนำเอากฎเกณฑ์ ไปประยุกต์ใช้ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ หรือการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ผู้สอนสามารถใช้ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย และเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้นำกฎเกณฑ์ที่ทำความเข้าใจได้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสอนแบบนิรนัย การ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืนเพราะผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตัวเอง (2) รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้จากการค้นคว้าทดลอง และการอภิปราย โดยใช้หลักเหตุผล เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้สร้างความรู้เองโดยตรง เพียงแต่ผู้สอนต้อง รู้จักการใช้คำถามที่ยั่วยุและเชื่อมโยงความคิด ประกอบกับการได้มีโอกาสทำการทดลองเป็นการปฏิบัติ ร่วมกัน ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสร้างความรู้ผ่านกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ที่ทำกันมาอยู่แล้ว (3) รายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนใน สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุให้ออกความคิดเห็นได้ เช่น วิชา สังคมศึกษา และ วรรณคดีเป็นลักษณะพิเศษที่ผู้สอนจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดกิจกรรมการใช้ความคิด อภิปราย นำไปสู่ ข้อสรุป เป็นผลของการเรียนรู้และการสร้างนิสัยยอมรับฟังความคิดเห็นกัน เป็นวิถีทางที่ดีใน การปลูกฝัง ประชาธิปไตยให้กับผู้เรียน (4) รายวิชาที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นหลักเช่น วิชาพลศึกษา และการงาน อาชีพ ผู้สอนควรใช้โอกาสดังกล่าว ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทำงาน (5) รายวิชาที่ส่งเสริมความคิดจินตนาการ และการสร้างสุนทรียภาพ เช่น วิชาศิลปะและ ดนตรี นอกจากจะมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ผู้เรียนยังมีโอกาสได้สร้างความรู้ และ ความรู้สึกที่ดี ผ่าน กระบวนทำงานที่ผู้สอนออกแบบไว้ให้ ผู้สอนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญมักเป็นผู้สอนที่มีความตั้งใจและสนุกในการทำงานสอน เป็นคนช่างสังเกตและเอาใจใส่ผู้เรียนและ มักจะได้ผลการตอบสนองที่ดีจากผู้เรียน แม้จะยังไม่มากในจุดเริ่มต้น แต่เมื่อปฏิบัติอย่าง สม่ำเสมอก็จะสังเกต ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในทางที่ดีขึ้น นรรัชต์ ฝันเชียร (2561) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center Learning ) คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อ และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความสนใจของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความ สะดวก ซึ่งต่างจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั่วไปที่เน้นให้เด็กศึกษาหาความรู้จากการสอนของครูโดยตรง แนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนา ได้ตามของตัวเอง แต่แตกต่างที่ความต้องการ ความสนใจและความถนัด รวมไปถึงทักษะต่าง ๆ ดังนั้นการจัด การศึกษาจึงไม่ควรที่จะเป็นไปในแนวทางเดียว ควรมีความหลากหลายและตอบสนองได้กับเด็กทุกกลุ่ม ซึ่งข้อดีของการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Child Center นั้น คือการที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ จนนำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง ตามความเหมาะสมและความต้องการของเขา ซึ่งจะแตกต่างกับ การจัดการศึกษาในรูปแบบทั่วไป ที่ครูเป็นผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดี การจัดการ เรียนรู้ในรูปแบบผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ครูผู้สอนจะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ และเรียนรู้ทักษะความรู้ ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงต้องรู้จังหวะในการสอดแทรกสิ่งที่ต้องการสอนเข้าไปในการเรียนรู้ของ พวกเขา เพราะการกำกับดูแลของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ ถือเป็นตัวแปรหนึ่งใน การส่งเสริมให้การจัดการศึกษารูปแบบนี้มีประสิทธิภาพ ถ้าเป็นบุคคลที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการการศึกษาของไทย จะเห็นได้ว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในการส่งเสริมการจัดการศึกษา
  • 10. มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นปฏิรูปการศึกษาใหม่ ๆ โดยได้มีการระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในส่วนของแนวจัดการการศึกษาไว้ดังนี้ “มาตราที่ 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” 2. สื่อการสอน 2.1 ความหมายของสื่อการสอน ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2539, หน้า 13) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติและทักษะไปยัง ผู้เรียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ กิดานันท์ มลิทอง (2549, หน้า 100) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อ (media) เป็นคํา มาจากภาษาลาตินว่า “ระหว่าง” (between) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลาง ข้อมูลส่งผ่าน จากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and Packer, 1964, หน้า 11) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง เครื่องมือ ที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้ง ไปยังผู้เรียน หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอนที่สามารถได้ยินและมองเห็น ได้เท่า ๆ กัน เกอร์ลัช และอีไล (Gerlach and Ely, 1982, หน้า 282) กล่าวว่า คําว่า สื่อการเรียนการสอน มีความหมายมาก ไม่ว่าจะเป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ หรือเหตุการณ์ที่สร้างเงื่อนไข ซึ่งสามารถทําให้ ผู้เรียนเกิดความรู้ทักษะและทัศนคติต่างๆ ตามความหมายนี้ อาจารย์ ตําราและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นสื่อ ทั้งสิ้น ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel, 1985, หน้า 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับ สื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์ โทรทัศน์ วิทยุ เทปบันทึกเสียง ภาพถ่าย วัสดุฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนําข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนํามาใช้กับ การเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน บราวน์ และคณะ (Brown and others, 1977, หน้า 5) ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน คือ อุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งที่มีความหมาย รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น 2.2 ความสำคัญของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale, 1969, หน้า 92) ได้กล่าวสรุปถึงความสําคัญของสื่อการสอนไว้ ดังนี้ 1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียว นั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สําหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทําได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทําให้ผู้เรียน มีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้ 2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหว จับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
  • 11. 3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจําอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนํา ประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว 4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทําให้เห็น ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฎจักรของสิ่งมีชีวิต 5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคําใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อานหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบ สมคิด พรมจุ้ย (2547, หน้า 78-79) กล่าวถึงความสําคัญของสื่อการสอนไว้ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะเอื้อให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่หลักสูตรต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น 2. การเรียนรู้ด้วยสื่อจะทําให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายและมีความยั่งยืน 3. ผู้เรียนสามารถสัมผัส แตะต้องจากของจริงซึ่งหมายถึงการลงมือปฏิบัติกิจกรรม โดยมีสื่ออุปกรณ์ เป็นเครื่องมือช่วย 4. สื่อการเรียนการสอนเร้าความสนใจ อยากรู้ อยากเรียน อยากดู อยากเห็นของผู้เรียน 5. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 6. สื่อ สามารถย่อขนาด ย่นระยะทาง และเวลา 7. สื่อสามารถเปลี่ยนนามธรรมเป็นรูปธรรม ง่ายแก่การเข้าใจ 8. ทําสิ่งยากเป็นสิ่งง่าย 3. ยุคปฏิรูปการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3.1 ที่มาของการปฏิรูปการศึกษา ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤตและความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วน ที่เป็นแรงกดดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติ ดิจิทัล (Digital Revolution) การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industrial Revolution) การดาเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2573 (Sustainable Development Goals : SDGs, 2030) ที่ได้ร่วมให้สัตยาบันไว้ ผลกระทบของการเป็นประชาคมอาเซียนและ ความต้องการกาลังคนที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้ง แรงกดดันจากภายในประเทศ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่ส่งผลให้ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การติดกับดักประเทศที่มีรายได้ ปานกลาง ทัศนคติความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของคนไทยที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแส โลกาภิวัตน์ การเติบโตของเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทาลายและเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การบริหารจัดการภาครัฐยังด้อยประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใสและมีปัญหาคอร์รัปชันเป็นวงกว้าง จึงส่งผลให้การผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเต็มที่ บางส่วนของสังคมยังไม่ได้รับ การพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559, หน้า 1) จากวิกฤตปัญหาของประเทศหลายภาคส่วน จึงมีความเห็นตรงกันว่าจาเป็นต้องมี การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “การปฏิรูปประเทศไทย” โดยรัฐบาลภายใต้คณะรักษาความสงบ แห่งชาติได้กำหนด “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ไว้เป็นกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว กำหนดวิสัยทัศน์ การพัฒนาไว้ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของ
  • 12. เศรษฐกิจพอเพียง” และพัฒนาสู่การเป็น “ประเทศไทย 4.0” เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value–Based Economy) จึงมี ความจำเป็นต้องเตรียมกำลังคนที่มี ความรู้ สมรรถนะและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การศึกษาจึงได้รับความคาดหวังจากทุกภาคส่วนว่าจะเป็น เครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ดังนั้น การปฏิรูปประเทศจึงต้องเริ่มต้นที่ “การปฏิรูปการศึกษา” เพื่อให้ระบบการศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) รวมถึง กรอบทิศทางของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 เป็นแผนแม่บทในการจัดการศึกษา ทุกช่วงวัยและตลอดชีวิต ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมี คุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ 21” กรอบการพัฒนาด้านการศึกษาได้รับการปรับให้เป็น“การศึกษา 4.0: ผู้เรียนสร้าง นวัตกรรมได้” เป็นแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกที่เป็นแผนระยะยาว 20 ปี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นับว่าประเทศได้มีการวางกรอบทิศทางในการพัฒนาที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการศึกษาให้เป็น เครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) 3.2 ความแตกต่างของยุคปฏิรูปการศึกษากับยุคการศึกษาเดิม ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2549) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็น การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป คือ 1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ บทบาทของครูคือผู้สนับสนุน (supporter) และเป็นแหล่งความรู้ (resource person) ของผู้เรียน ผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและ วางแผนสิ่งที่ตนจะเรียน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมใน การเลือกและจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษา ค้นคว้า รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ปัจจัย สำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ได้แก่ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์เดิม และความต้องการของผู้เรียน การเรียนรู้ที่สำคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้สอน (เทคนิคการสอน) 3. การเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอน ผู้เรียนจะได้รับ ความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆได้ค้นพบข้อ คำถามและคำตอบใหม่ ๆ สิ่งใหม่ ๆ ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการ บรรลุผลสำเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง 4. สัมพันธภาพประกอบดีระหว่างผู้เรียน การมีสัมพันธภาพประกอบดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความ เจริญงอกงาม การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทำงานและการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล สัมพันธภาพประกอบเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เรียน 5. ครู คือผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน เป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่า ของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความเต็มใจของ ครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และ การฝึกฝน โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้
  • 13. 6. ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและควบคุม ตนเองได้มากขึ้น สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้สอดคล้อง กับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่าง ๆ มากขึ้น 7. การศึกษาคือการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลาย ๆ ด้านพร้อมกันไปการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลาย ๆ ด้าน เช่น คุณลักษณะด้านความรู้ความคิด ด้านการปฏิบัติและด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันเมื่อรู้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญมีดีและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น พวกเราครูมืออาชีพก็ควรศึกษาและปฏิบัติ ให้ถูกต้อง ผลที่ได้คือ ผลิตผลที่ดีนักเรียนมีความรู้ ดี เก่งและมีสุข ตามเจตนารมย์ของหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประพิศ นาโควงศ์ (2550: 108) ได้ทำการวิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนางัวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) สภาพและปัญหา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนางัวสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ที่มีเพศต่างกันโดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของข้าราชการครู กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนางัวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ที่มีประสบการณ์ในงาน ต่างกันโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ตุล เชื้อจำรูญ (2555: 139) ได้ทำการวิจัยเรื่อง สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาด้านการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า 1) สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการพัฒนาการจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง ประสบการณ์ และวุฒิการศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สลิตา รินสิริ (2558: 75) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ โรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบการจัดการเรียน การสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2 พบว่า จําแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ (p < .05) โดยครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี-ป.บัณฑิต ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป แต่เมื่อจําแนกตาม ประสบการณ์การสอน และจําแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญ ทางสถิติ 3) แนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 พบว่า แนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้าน การประเมินผล ด้านการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการจัดการเรียน
  • 15. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาตามสถานการณ์ปัญหาและภารกิจการเรียนรู้ บทที่ 2 รายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology for Learning นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ผู้รายงานได้ดำเนินการตามหัวข้อดังนี้ 1. เนื้อหา 2. ระยะเวลาในการศึกษา 3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. การนำเสนอข้อมูล 1. เนื้อหา ผู้รายงานศึกษาเนื้อหาตามสถานการณ์ปัญหา และภารกิจการเรียนรู้ที่กำหนดให้จากกรณีศึกษาของ ครูเกษสุรางค์ จากใบงานสถานการณ์ปัญหาและภารกิจการเรียนรู้ บทที่ 2 รายวิชา ED001009 Innovation and Digital Technology for Learning ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 2. ระยะเวลาในการศึกษา ดำเนินการระหว่างวันที่ 15 – 19 ธันวาคม พ.ศ.2565 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 3. เครื่องมือที่ใชในการศึกษา ผู้รายงานศึกษารูปแบบการทำรายงานทางวิชาการจาก 1) คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ โดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publication/student- guide/ThesisManualThai/100/1) 2) เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การเขียนรายงานวิชาการ ศศภท 100 ศิลปะการใช้ภาษาไทย เพื่อการสื่อสาร ภาคปลาย ปีการศึกษา 2558 โดย อาจารย์ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล (https://tanadechcps.files.wordpress.com/2018/06/e0b881e0b8b2e0b8a3e0b980 e0b882e0b8b5e0b8a2e0b899e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899e0b8a 7e0b8b4e0b88ae0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a3.pdf) 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้รายงานทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องของ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการสอน และการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 จากเวปไซต์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • 16. 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงานนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สื่อการสอน และการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาวิเคราะห์ เพื่อตอบคำถามตามภารกิจการเรียนรู้ 6. การนำเสนอข้อมูล ผู้รายงานนำเสนอรายงานทางวิชาการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมืออาชีพ โดยการนำ เอกสารรายงานทางวิชาการขึ้นไปไว้ในเว็บไซต์ https://www.slideshare.net/