SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านการสืบพันธ์และการ
เจริญเติบโตของตัวอย่างสัตว์ จานวน 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อ ฉลาม จระเข้
นาเสนอครูผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
คณะผู้จัดทา กลุ่มที่ 10
1. นายเตชิต เมธมโนศักดิ์ เลขที่ 33
2. นายธนดล เธียรรัตนากร เลขที่ 34
3. นายพสธร ภู่ประเสริฐ เลขที่ 36
4. นายพีรณัฐ โตปรีชา เลขที่ 37
ชั้น ม.5 ห้อง 932 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
ชิ้นงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 4 (ว 30244)
ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2561
คานา
หนังสือเล่มประกอบการศึกษาเรียนรู้การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของตัวอย่างสัตว์
ในวิชาชีววิทยา4 (ว 30244) จัดทาขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาการสืบพันธุ์และการ
เจริญเติบโตของตัวอย่างสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อ ปลาฉลาม จระเข้ สาหรับผู้อยู่ในวงการศึกษา
ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในตัวอย่างสัตว์ชนิดดังกล่าว
ทางผู้จัดทาหนังสือหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสาหรับผู้
ศึกษา หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทาต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะกลับไปปรับปรุงใน
โอกาสต่อไป
คณะผู้จัดทา
สารบัญ
หัวข้อนาเสนอ หน้า
1.การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ ผีเสื้อ 1
1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของผีเสื้อ 1
1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของผีเสื้อ 3
1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ 5
2.การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 2 คือ ปลาฉลาม 8
2.1 ลักษณะโดยทั่วไปของปลาฉลาม 8
2.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของปลาฉลาม 9
2.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของปลาฉลาม 11
3.การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 3 คือ จระเข้ 13
3.1 ลักษณะโดยทั่วไปของจระเข้ 13
3.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของจระเข้ 15
3.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของจระเข้ 16
4.คาถามทบทวนการเรียนรู้ 18
5.ภาคผนวก 24
Dichotomous key
ชนิดการสืบพันธุ์
อาศัยเพศ ไม่อาศัยเพศ
ปฏิสนธิภายนอก ปฏิสนธิภายใน
viviparousoviparous ovoviviparous
ฉลามจระเข้ ผีเสื้อ
การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ ผีเสื้อ
1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของผีเสื้อ
ชื่อสามัญภาษาไทย ผีเสื้อ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Butterfly
ชื่อวิทยาศาสตร์ Papiliomachaon
ชื่ออันดับ Lepidoptera
ชื่อวงศ์ Papilionidae
ลักษณะสาคัญทางสัตว์วิทยา
ผีเสื้อเป็นแมลงชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงมีส่วนประกอบเหมือนแมลงทั่วไป กล่าวคือมีลาตัวยาวหรือ
ค่อนข้างยาว ลาตัวซีกซ้ายขวามีลักษณะเหมือนกัน ( bilateral symmetry) แบ่งลาตัวออกเป็น
3 ส่วน คือ ส่วนหัว (head) ส่วนอก (thorax) และส่วนท้อง (abdomen)
1. ส่วนหัว (head) ประกอบด้วย ตาหนวด(antennae) และปาก(mouth)
ตา (eye) ประกอบด้วยตา 2 ชนิด คือ ตารวม และตาเดี่ยว
ตารวม มี 2 ตา ประกอบขึ้นด้วยเลนส์จานวนมากรวมกันทาหน้าที่ในการมองสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะ
การรับรู้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว
ตาเดี่ยว เป็นตาขนาดเล็กใช้ในการรับรู้แสงสว่างและรับรู้เวลากลางวันและกลางคืน
หนวด (antennae) มีอยู่ 2 เส้นอยู่ระหว่างตารวมหรือใต้ตารวม ใช้ในการดมกลิ่น
ปาก (mouth) มีลักษณะเป็นท่อครึ่งวงกลม ประกบกันเป็นหลอด เรียกว่า proboscis สามารถ
ม้วนตัวขดไว้ที่ใต้หัวใช้ดูดของเหลว ที่ปลายท่อมีต่อมรับรส การยืดของปากใช้แรงดันเลือดส่วน
การม้วนกลับใช้
2. ส่วนอก (thorax) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คืออกปล้องหน้า( prothorax) อกปล้องกลาง
(mesothorax) และอกปล้องหลัง (metathorax)
ขา (leg) มี 3 คู่ 6 ขา โดยที่อกแต่ละส่วนจะมีขาหนึ่งคู่ ยกเว้นผีเสื้อในวงศ์ขาหน้าพู่ ขาคู่หน้า
(foreleg) ซึ่งติดกับอกปล้องแรกจะหดสั้นลง มีลักษณะคล้ายพู่
ปีก (wing) มี 2 คู่ เป็นแผ่นไคตินบาง ๆ ยืดออกมาจากส่วนอก โดยจะมีปีกที่อกปล้องกลาง
และอกปล้องหลังเท่านั้น ปีกที่อกปล้องกลางเรียกว่า “ปีกคู่หน้า” และปีกที่อกปล้องหลังเรียกว่า
“ปีกคู่หลัง” ปีกคู่หน้ามีเส้นปีก 12 เส้นปีกคู่หลังมีเส้นปีก 9 เส้น
3. ส่วนท้อง (abdomen) มีลักษณะเป็นปล้องมี 11 ปล้อง ที่ด้านข้างของท้องมีรูหายใจปล้อง
ละคู่ และยังเป็นที่ตั้งของอวัยวะสาหรับการย่อยและการขับถ่ายรวมทั้งอวัยวะเพศด้วย
1 2
1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของผีเสื้อ
-การผสมพันธุ์ การหาคู่ของผีเสื้อเพศผู้มีหลายวิธีด้วยกัน บางชนิดรอให้ตัวเมียบินเข้ามาในพื้นที่
ของตัวเอง บางชนิดกาหนดอาณาเขตของตัวเองแล้วบินวนหาตัวเมีย ภายในพื้นที่นั้น ผีเสื้อที่
กาหนดอาณาเขตของตัวเองไว้จะไม่ยอมให้ผีเสื้อตัวอื่นเข้ามาใกล้ บางครั้งเมื่อมีผู้บุกรุก ผีเสื่อเจ้า
ถิ่นจะออกไปขับไล่ ถ้าผู้บุกรุกไม่ออกไปก็ต้องต่อสู้กันจนกว่าจะแพ้กันไปข้างหนึ่งเช่น ผีเสื้อในวงศ์
ขาหน้าพู่ จะหวงถิ่นมาก มันจะไล่ไม่เว้นแม้แต่แมลงปอ หรือนกที่บินเข้ามา แม้ว่าผลสุดท้ายมัน
อาจจะตกเป็นอาหารของนกก็ตาม
-หลังจากตัวผู้พบตัวเมียก็จะเริ่มเกี้ยว ด้วยการบินเข้าไปหา และกระพือปีก ปล่อยกลิ่น สัญญาณ
เพศ (pheromones) ให้กระจายออกไป เพื่อบอกให้ตัวเมียรู้ว่า เป็นผีเสื้อ ชนิด เดียวกัน จากนั้น
มันจะ พยายาม ให้ตัวเมียลงเกาะ เพื่อตัวเองจะได้ลงเกาะ บนหลัง และทาการผสม พันธุ์ กลิ่น
สัญญาณเป็นสิ่งสาคัญที่จะทาให้ตัวเมียยอมรับการผสมพันธุ์ ถ้าตัวเมียไม่พอใจก็จะบินหนีไป
ผีเสื้อบางชนิดมีต่อมสัญญาณกลิ่นที่ปีกคู่หลัง เช่น ผีเสื้อในสกุล ผีเสื้อหนอนใบรัก บางชนิดก็อยู่ที่
ปลายส่วนท้อง เช่น ผีเสื้อในสกุลผีเสื้อจรกา มีต่อมกลิ่นเพศในผีเสื้อหนอนใบรักเพศผู้
-การวางไข่หลังจากผีเสื้อตัวเมียได้รับการผสม พันธุ์เรียบร้อยแล้ว มันจะรอจนไข่ที่ผสมแล้วแก่
พอที่จะไข่ได้ มันจะบินหาพืชอาหาร ของตัวหนอนเพื่อวางไข่ โดยมันจะใช้ปลายส่วนท้องแตะที่
ใบพืช และรู้ด้วยสัญชาติญาณพิเศษทันทีว่าใช่พืชที่เป็นอาหารของหนอนหรือไม่ ถ้าไม่ใช่มันจะ
บินหาต่อไป แต่ถ้าใช่มันจะยืดส่วนหางเล็กน้อยแล้วค่อย ๆ วางไข่ ขณะที่วางไข่ผีเสื้อจะขับสาร
เหนียวๆออกมาด้วยเพื่อให้ไข่ยึดติดกับใบไม้ ลักษณะไข่ของผีเสื้อมีหลายลักษณะแตกต่างกันตาม
วงศ์ ซึ่งมีทั้งกลม เรียว แบน สี่เหลี่ยม ทั้งผิวเรียบและลวดลาย มีสีต่างกันไปตามแต่ละชนิด ผีเสื้อ
ตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรืออาจเป็นกลุ่ม 2-3 ฟองใต้ใบ จานวนไข่ที่วางต่อครั้ง คือ 30 -
50 ฟอง
3 4
1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ
วัฎจักรชีวิตของผีเสื้อนั้นแบ่งออกเป็น 4ระยะด้วยกันคือ
1. ระยะไข่ (Egg)
2. ระยะตัวหนอน (Larva, Caterpillar)
3. ระยะดักแด้ (Pupa, Chrysalis)
4. ระยะโตเต็มวัย (Adult)
1.ระยะไข่ (Egg)ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน
และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก
เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับ
เปลือกลาตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่าน
กล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า micropyle
เป็นรูที่ทาให้น้าเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมีย
2.ระยะตัวหนอน (Larva, Caterpillar)เมื่อไข่ฟักตัวได้ครบกาหนด ตัวหนอนก็จะกัดกิน เปลือก
ไข่เพื่อออกมาจากไข่ ในระยะนี้ ส่วนลาตัวจะประกอบไปด้วยขา 3 คู่ และในส่วนของท้อง
(abdomen) จะมีขา 5 คู่
-ตัวหนอนจะสร้างต่อมสร้างใยในช่วงเดือนแรก ที่ฟักเป็นตัวจะมีการเพิ่มขนาดของลาตัว เรื่อย ๆ
โดยการลอกคราบเพื่อ เปลี่ยนขนาดซึ่งโดยทั่วไปหนอนจะลอกคราบ 4-5 ครั้ง ผีเสื้อกลางวัน เมื่อ
ลอกคราบ ครั้งสุดท้ายผนังชั้นในเมื่อสัมผัสกับอากาศ ภายนอกจะแข็งตัว กลายเป็นเปลือกแข็ง
หุ้มลาตัวไว้เป็นดักแด้และรูปร่างจะเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง
3.ระยะดักแด้ (Pupa, Chrysalis)คือระยะเวลาตอนปลายของการเป็นตัว หนอน หนอนผีเสื้อ
เมื่อมีขนาดโตเต็มที่จะเข้าสู่ระยะดักแด้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหาร และถ่ายของเสีย
ออกจากร่างกายจนหมด แล้วคลานหาที่เหมาะสมที่มันคิดว่าปลอดภัยจากศัตรูแล้วชักใยให้ตัวเอง
ยึดติดกับกิ่งไม้
-หนอนที่แก่เต็มที่ ก็จะเริ่มหากิ่งไม้เล็ก ๆ เกาะ โดยผูกตัวของมันเองไว้กับกิ่งไม้โดยใช้ใย และเริ่ม
ลอกคราบเพื่อกลายเป็นดักแด้ซึ่งดักแด้ของหนอนผีเสื้อแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกัน ไป
ตามสายพันธุ์ หนอนบางชนิดจะชักใยหุ้มตัวเองไว้ภายในก่อน เช่น หนอนผีเสื้อกลางคืนบางชนิด
จาพวกผีเสื้อหนอนไหม ผีเสื้อหนอนกระท้อน ระยะนี้จะเห็นว่าตัวหนอนมีขนาดเล็กลง จากเดิม
หนอนจะเกาะ อยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับเขยื้อน เรียกระยะนี้ว่าระยะก่อนดักแด้ หลังจากนั้นอี ก2-3 วัน
หนอนจะลอกคราบออกเป็นดักแด้ต่อไป
-ดักแด้ในระยะแรกจะมีสีสว่างใส แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ดักแด้ก็เปลี่ยนแปลงตัวมันเองไปเรื่อย
ๆ เพื่อกลายเป็นผีเสื้อ ในระยะหลัง ๆ ของการเป็นดักแด้ สีของดักแด้ก็จะเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้น
-ระยะเวลาของการเป็นดักแด้ประมาณ 20 วัน
5 6
4. ระยะโตเต็มวัย (Adult)ตัวที่โตเต็มวัยแล้วจะออกจากการเป็นดักแด้ในตอนเช้าตรู่
ส่วนที่ออกจากดักแด่เป็นส่วนแรกคือ ส่วนหัว และส่วนอื่นๆตามมา
หลังออกจากดักแด้ใหม่ ๆ จะมีลาตัวอ้วนและปีกจะยับยู่ยี้เหมือนกระดาษถูกขยาผีเสื้อจะหายใจ
เอาอากาศเข้าไปในตัวให้มากที่สุดทั้งทางรูหายใจและทางปาก แรงดันของอากาศและการหดตัว
ของกล้ามเนื้อจะช่วยขับของเหลวในร่างกายเข้าไปในเส้นปีกเพื่อให้ปีกกางออกเต็มที่ ช่วงนี้จะใช้
เวลาประมาณ 20 นาที แล้วหลังจากนั้นอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อรอให้ปีกแข็งแรงและแห้ง
สนิท จึงจะออกบินไปหากินต่อไป ระหว่างที่รอให้ปีกแห้งผีเสื้อจะขับของเสียที่อยู่ในร่างกาย
ออกมาจนหมด ของเสียนี้เรียกว่า Meconiumทาให้ส่วนท้องมีขนาดเล็กลงเพื่อลดน้าหนักตัว
การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ ปลาฉลาม
1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของปลาฉลาม
ชื่อสามัญภาษาไทย ฉลาม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ shark
ชื่อวิทยาศาสตร์ Selachimorpha
ชื่ออันดับ Orectolobiformes
ชื่อวงศ์ Lamnidae
ลักษณะของปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม)
ปลากระดูกอ่อน(Cartilaginous Fish) มีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่าง
เดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ด
แบบพลาคอยด์ (Placoid) ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก
แคลสเปอร์ (Clasper) โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจาพวกนี้
พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้าจืดมีเพียงไม่กี่สิบ
ชนิด มีหลายอันดับ (Order) หลายวงศ์ (Family) หลายสกุล (Genus) โดยปลาในกลุ่มปลา
กระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน เป็นต้น
ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล มีในน้าจืด
เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้าจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มี
ความยาวเพียงไม่ถึงฟุต จนถึง20 เมตร หนักถึง 34 ตันคือฉลามวาฬ(Rhincodon typus) ซึ่งเป็น
ปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
7 8
1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของปลาฉลาม
อวัยวะสืบพันธุ์ของปลาเพศผู้จะเป็นอัณฑะ ส่วนในตัวเมียก็จะเป็นรังไข่ ลักษณะของอวัยวะ
สืบพันธุ์ทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันดังนี้
1. ระบบสืบพันธุ์ของตัวผู้
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของตัวผู้ ประกอบไปด้วยอัณฑะ ที่มีลักษณะเป็นถุงเล็กๆ
เรียวยาว 1 คู่ ติดแนบอยู่กับไต มีเยื่อยึดติดกับช่องท้อง ในปลาสวายอัณฑะตอนบนจะมีลักษณะ
เป็นถุงเล็กๆ สีเหลืองจานวนมากรวมกันอยู่เป็นพวงใหญ่ คล้ายติ่งไพลอริคซีคา น้าเชื้อตัวผู้หรือ
อสุจิจะถูกสร้างอยู่ภายในอัณฑะ และส่งเข้ามายังตอนต้นของท่อนาน้าเชื้อ หรือวาซาเอฟเฟอเรน
เทีย(vasa efferentia) มีลักษณะเหมือนหลอดขนาดเล็กขดรวมอยู่ด้วยกัน ส่วนตอนปลายของ
ท่อนาน้าเชื้อ เรียกว่า วาสเดเฟอเรนส์(vas deferens หรือ sperm duct) น้าเชื้อจะมายังถุง
พักสเปอร์ม หรือเซมินัลเวสิเคิล(seminal vesicle) โดยผ่านมาทางท่อนาน้าเชื้อ แล้วออกไปทาง
ท่อร่วมกับท่อปัสสาวะ ที่เรียกว่า ท่อยูโรเจนิทัล(urogenital sinus)
-การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ กระบวนการนี้ เรียกว่า สเปอร์มาโตเจเนซิสหรือสเปอร์ไมโอเจเน
ซิส(spermatogenesis หรือ spermeiogenesis) ลักษณะของอัณฑะจะแบ่งหยักมากกว่ารังไข่
มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ภายใน เรียกว่า สเปอร์มาโตโกเนีย และจะพัฒนาไปเป็น สเปอร์มา
โตไซท์สเปอร์มาติคสเปอร์มาโตซัว หรือ สเปอร์ม หรืออสุจิ จะมีการหลั่งน้าเมือกเพื่อช่วย
ในการหล่อลื่นและเจือจางความเข้มข้นลงด้วย อสุจิจะผ่านไปยังหลอดเซมินิเฟอรัส แล้วต่อไปยัง
ท่อวาสเดเฟอเรนส์ในระหว่างการสืบพันธุ์
2. ระบบสืบพันธุ์ของตัวเมีย
-อวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของตัวเมีย ที่เรียกว่า รังไข่ ลักษณะจะเป็นฝักกลมยาว สีเหลือง
หรือสีชมพู มีอยู่ 1 คู่ ภายในจะเป็นเม็ดๆ ภายในรังไข่จะมีไข่เต็มในฤดูสืบพันธุ์ การเติบโตของรัง
ไข่จะกินเนื้อที่จนเต็มช่องท้อง เยื่อมีโซวาเรียม(mesovarium)จะยึดรังไข่ให้ติดอยู่กับผนังช่อง
ท้อง และกรวยที่ต่อจากรังไข่ก็จะทาหน้าที่รับไข่ที่ตกลงมาจากรังไข่อีกที ท่อนาไข่ส่วนต้นที่ขยาย
ออกจะกลายมาเป็นกรวยนี้ เมื่อไข่ผ่านมาทางท่อนาไข่ก็จะถูกส่งออกนอกตัวทางช่องเพศและ
ช่องทวารรวม
รังไข่ที่อยู่ใกล้บริเวณโคนตับของฉลามตัวเมีย ทางซีกขวาจะมีการเจริญเพียงข้างเดียว ยึดติดกับ
ผนังลาตัวโดยเยื่อมีโซวาเรียม รังไข่ส่วนปลายล่างจะติดกับ อีพิโกเนียลออร์แกน(epigonial
organ) มีหน้าที่ในการเก็บอาหาร ฉลามมีท่อนาไข่เป็นท่อเล็กอยู่ทางตอนบนของลาตัว ท่อนาไข่
ด้านบนทั้งด้านซ้ายและขวาจะบรรจบกันเป็นช่องเดียว เรียกว่า กรวยท่อนาไข่ ท่อนาไข่บริเวณ
ตอนกลางจะมีต่อมเปลือกที่คอยทาหน้าที่สร้างเปลือกหุ้มไข่ เมื่อปลาที่ออกลูกเป็นไข่โตเต็มวัย
ต่อมนี้ก็จะเจริญขึ้น ท่อนาไข่จะขยายใหญ่ทางตอนปลาย เรียกว่า มดลูก มดลูกทางตอนปลายทั้ง
ซ้ายและขวาจะมารวมกันเพื่อออกนอกตัวทางช่องเพศ
ในฤดูสืบพันธุ์ ปลากระดูกแข็งตัวเมียจะมีรังไข่ที่เจริญได้ดี จะมีไข่สุกอยู่เต็มช่องท้องภายในรังไข่
ไข่จะสุกไม่พร้อมกันทั้งหมด ที่สุกก่อนก็จะเป็นไข่ที่อยู่ทางด้านท้าย ในปลาบางชนิดและแลม
เพรย์จะไม่มีท่อนาไข่ ภายในช่องตัวจะมีไข่ที่สุกแล้วอยู่เต็มไปหมด ไข่ของปลาที่ออกลูกเป็นตัว
จะเจริญเป็นตัวอ่อนอยู่ภายในท่อนาไข่ที่ขยายตัวทางส่วนท้าย ที่เรียกว่า มดลูก
9 10
1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของปลาฉลาม
ปลาที่ออกลูกเป็นตัวแบบโอโววิวิพารัส(ovoviviparous) อาหารของไข่ที่ผสมแล้วหรือลูกอ่อน
ที่อยู่ในตัวแม่ จะไม่ได้มาจากแม่โดยตรง แต่จะได้จากถุงไข่แดงของตัวเองเป็นหลัก ยกเว้นน้าและ
แร่ธาตุบางชนิดเท่านั้น แต่พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาหารของลูกในท้องจะได้มาทางสายรกและ
สายสะดือของแม่แบบวิวิพารัส ซึ่งพบได้ในปลาฉลามหลายชนิดที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปลาซีลา
แคนธ์ปลาร็อคฟิช ปลากินยุง ปลาหางดาบ
การผสมและปฏิสนธิจากการสืบพันธุ์แบบนี้มักอยู่ภายในตัวเมีย แต่ปลาพวกนี้ก็สามารถนาไข่เก็บ
ไว้ในตัวได้อีกแม้จะมีการปฏิสนธิภายนอกตัว เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย ไข่ของปลาดุกทะเลจะ
มีเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละฟอง 20 มิลลิเมตร ปลาดุกทะเลตัวผู้ Galeichthysfelisจะอมไข่ไว้
ในปากประมาณ 50 ฟอง จนกว่าจะฟักออกเป็นตัว มีการฟักไข่ไว้ในถุงหน้าท้องของม้าน้าและ
จิ้มฟันจระเข้ตัวผู้ แต่จิ้มฟันจระเข้ตัวเมีย ในสกุล Solenostomusจะมีถุงหน้าท้องที่ดัดแปลงมา
จากครีบท้อง และจะเก็บไข่ที่ผสมแล้วไว้ในนั้น
ปลาพวกนี้จะมีการพัฒนาของไข่อยู่ภายในมดลูก ซึ่งปลากระดูกอ่อนจะมีมดลูกที่ดัดแปลงมาจาก
ส่วนของท่อนาไข่ ส่วนในปลากระดูกแข็งมดลูกจะดัดแปลงมาจากรังไข่ ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน
มดลูกของแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะตั้งท้องอาจใช้เวลาเพียง 1-2 วัน และคลอดออกมา
เป็นตัวอ่อน ที่เรียกว่า ลาร์วา หรือลูกปลาเล็ก หรือจูวีไนล์( juvenile) พบได้ในปลากระดูกอ่อน
แถบเขตร้อนตัวเล็กๆ แต่ในฉลามบางชนิด ระยะตั้งท้องอาจกินเวลานาน 1-2 ปี เพื่อเป็นการ
ปกป้องลูกไม่ให้ได้รับอันตรายจากศัตรู และให้ลูกได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด แต่ลูก
ปลาทั้งหมดก็จะสูญหายไปด้วยถ้าแม่ปลาถูกจับกิน ขนาดของลูกปลาที่คลอดมาจะใหญ่กว่าลูก
ปลาที่คลอดแบบโอวิพารัส สามารถหลบหลีกศัตรูด้วยการเคลื่อนไหวได้ และสามารถกินอาหาร
ได้หลากหลาย ธรรมชาติได้สร้างคุณสมบัติเหล่านี้ให้กับมันก็เพื่อเป็นการช่วยรักษาเผ่าพันธุ์เอาไว้
เนื่องจากปลาพวกนี้มีอัตราการสืบพันธุ์ต่า การกาเนิดทายาทจึงมีปริมาณน้อยไปด้วย
11 12
การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ จระเข้
1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของจระเข้
ชื่อสามัญภาษาไทย : จระเข้
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Crocodile
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Crocodylidae
ชื่ออันดับ :Crocodylia
จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในโลกบางชนิดเมื่อโตเต็มที่อาจมีความยาวถึง 9 เมตรมี
อายุยืนถึง 70 ปีเป็นสัตว์เลือดเย็นมีหัวใจครบ 4 ห้องแต่ไม่สมบูรณ์สมองเจริญดีกว่า
สัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นบรรพบุรุษของจระเข้ถือกาเนิดในยุคไตรแอสสิค ( Triassic) ตอนต้น
ประมาณ 190 ล้านปีมาแล้วมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อา หาร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มี
ศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้
จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่
ขณะอยู่ใต้น้าและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น
ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของ
อุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบด
อาหารด้วย
ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบ
ปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตาแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า
ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรี
กอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและ
ไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของ ลิ้นไม่มีสารเคราติน ต่อมขจัด เกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มี
ก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา ซึ่งจะแตกต่าง
ออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน"
ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้า
13 14
1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของจระเข้
จระเข้เพศเมียอวัยวะสืบพันธุ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ
1.รังไข่รังไข่จระเข้มีจานวน 2 อันรูปร่างรีและแบนสีขาวเนื้อค่อนข้างแน่นแข็งติดอยู่ใกล้กับไตทั้ง
2 ข้างโดยแขวนลอยใต้กระดูกสันหลังส่วนเอวเมื่ออยู่ในฤดูผสมพันธุ์รังไข่จะขยายตัวและมีถุงไข่
อ่อนอยู่บนผิวเป็นจานวนมาก
2.ท่อนาไข่ท่อนาไข่ของจระเข้ได้แก่ส่วนที่เห็นเป็นท่อแบนๆรูปตัว ( Y) แยกเป็น 2 ปีกถัดจากรัง
ไข่ทั้งสองข้างท่อนาไข่จะเปิดออกสู่บริเวณช่องขับถ่ายร่วมด้านล่างของลาตัวตรงตาแหน่งโคนหาง
ของจระเข้
จระเข้เพศผู้อวัยวะสืบพันธุ์แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ
1. อัณฑะอัณฑะของจระเข้มีจานวน 2 อันอยู่ในช่องท้องบริเวณใกล้กับไตซึ่งติดอยู่ด้านหลังมี
หน้าที่ผลิตน้าเชื้อ(อสุจิ)
2. ท่อนาน้าเชื้อเป็นท่อที่ต่อจากอัณฑะมายัง อวัยเพศในช่องขับถ่ายร่วมทาหน้าที่เป็นทางขนส่ง
น้าเชื้อจากอัณฑะเพื่อออกผ่านทางอวัยวะเพศขณะผสมพันธุ์
3.อวัยวะเพศผู้มีลักษณะเป็นแท่งยาวปลายแหลมขยายออกเล็กน้อยโดยมีรอยคอดก่อนถึงส่วน
ขยายมีร่องเปิดด้านบนเพื่อให้น้าเชื้อซึ่งผ่านมาจากท่อนาน้าเชื้อไหลออกขณะทาการผสมพันธุ์โดย
ปกติแล้วอวัยวะเพศผู้จะพับซ่อนตัวอยู่ในช่องขับถ่ายร่วมและจะโผล่ออกมาเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์
เท่านั้น
1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของจระเข้
ฤดูกาลเป็นสัดของจระเข้คือช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปีรวม
ระยะเวลาประมาณ 5 เดือนเวลาที่ใช้ผสมพันธุ์นานมากคือ 2 ชั่วโมงหลังจากผสมพันธุ์ได้
ประมาณเดือนเศษนั้นตัวเมียจะเริ่มวางไข่ประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 1 ครั้งเท่านั้นในปี
หนึ่งๆก่อนถึงการวางไข่ประมาณ 2-3 วันแม่จระเข้จะขึ้นมาบนพื้นที่วางไข่โดยใช้หางกวาดสร้าง
กองใบไม้สูงราว 40-80 เซนติเมตรและพาตัวเองขึ้นทับบนกองใบไม้เพื่อสร้างความร้อน
พอประมาณและเมื่อถึงเวลาวางไข่มันจะกลับมาขุดหลุมตรงกองหญ้ากองใบไม้ที่ทาไว้โดยขุดลึก
ประมาณ 25-30 เซนติเมตรกว้างไม่เกิน 40 เซนติเมตรเมื่อเบ่งไข่แม่จระเข้มีความเจ็บปวดจน
น้าตาไหลโดยจะมีการวางไข่เวลากลางคืนจานวนไข่จะเพิ่มจากน้อยไปหามากตามอายุของจระเข้
โดยจระเข้น้าเค็มจะมีจานวนไข่ที่มากกว่าจระเข้น้าจืดแม่จระเข้ใช้เวลาฟักไข่ราว 65-80 วันกว่า
ลูกจะออกเป็นตัว
15 16
การฟักไข่
1.แบบธรรมชาติโดยการเตรียมวัสดุปูรังและรังไว้ในบ่อแม่จระเข้จะกวาดวัสดุเหล่านั้นมาพูนทารัง
ขึ้นเองและวางไข่ในนั้นตรงบริเวณพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ให้หลังจากแม่จระเข้วางไข่เรียบร้อยแล้วจึง
ทาการปิดกั้นมิให้แม่จระเข้เข้ามาที่รังอีกรอจนถึงเวลาฟักไข่ใกล้ฟักเป็นตัวหรือได้ยินเสียงร้องของ
ลูกจระเข้ก็ให้มาขุดเอาไข่ขึ้นเพื่อแกะเปลือกเอาลูกจระเข้ออกมา
ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสียคือไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ ไข่เน่าเสียมีมาก
2.แบบกึ่งธรรมชาติเก็บไข่จระเข้จากรังมาฟักในบ่ออนุบาลหรือหลุมที่ดูคล้ายรังจริงทาการ
ตรวจวัดอุณหภูมิทุกวันโดยใช้ปรอทด้ามยาวแทงลงไปในรังหากพบว่าร้อนจัดก็จะใช้น้าจากฝักบัว
รดบริเวณรังเป็นการลดความร้อนและให้ความชื้นไปในตัวหากอุณหภูมิต่ากว่าเกณฑ์มักใช้หลอด
ไฟฟ้า 100 แรงเทียนส่องเพื่อให้เกิดความร้อนรอฟังเสียงลูกจระเข้ร้องจึงทาการช่วยแกะเปลือก
ข้อดีคือสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ดีขึ้นกว่าแบบธรรมชาติ
ข้อเสียคือเพิ่มค่าใช้จ่ายและภาระการดูแลมากขึ้นโอกาสไข่เสียยังมีอยู่มาก
3.แบบใช้ตู้ฟักโดยใช้ตู้ฟักไข่ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อน
นาไข่เข้าตู้ฟักต้องล้างด้วยน้ายาฆ่าเชื้อและเช็ดไข่ให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรกจากนั้นวางบน
ตะแกรงในตู้ซึ่งสามารถตรวจสอบดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ทุกวันจนฟักเป็นตัว
ข้อดีคือควบคุมสภาวะแวดล้อมได้แน่นอนลดความสูญเสียลงมากสามารถตรวจดูและแยกไข่เสีย
ออกได้ตลอดเวลาและสามารถกาหนดเพศลูกจระเข้
ข้อเสียคือเพิ่มการลงทุนและค่าใช้จ่าย
คาถามทบทวนการเรียนรู้การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต
ของสัตว์ตัวอย่างจานวน 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อ ปลาฉลาม จระเข้
1.ส่วนประกอบทางสรีรวิทยาของผีเสื้อมีลักษณะคล้ายกับสัตว์ในข้อใด
1.นก 2.แมลงปอ3.เพนกวิน 4.ไก่ฟ้า
2.จากภาพเป็นระยะการเจริญเติบโตแบบใดของผีเสื้อ
1.egg 2.larva 3.pupa 4.adult
3.ตาเดี่ยวและตารวมของผีเสื้อมีความแตกต่างกันอย่างไร
1.ตาเดี่ยวจะทาหน้าที่รับแสงสว่างส่วนตารวมทาหน้าที่ในการมองเห็นและรับรู้การเคลื่อนไหว
2.ตาเดี่ยวเป็นตาเดียวที่มีขนาดใหญ่ในขณะที่ตารวมเป็นศูนย์รวมของตาขนาดเล็กหลายๆตา
3.ตาเดี่ยวจะพบในผีเสื้อกลางวันแต่ตารวมจะพบในผีเสื้อกลางคืน
4.ตาเดี่ยวมีประสิทธิภาพในการมองเห็นสูงกว่าตารวม
4.การปล่อยสัญญาณpheromoneของผีเสื้อทาเพื่ออะไร
1.เพื่อการออกหาอาหาร 2.เพื่อข่มศัตรูและป้องกันตัวเองจากอันตราย
3.เพื่อให้ผีเสื้อพัฒนาเป็นระยะหนอน 4.เพื่อให้ผีเสื้อตัวเมียรู้ว่าเป็นผีเสื้อชนิดเดียวกัน
5.บริเวณที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ของผีเสื้ออยู่ที่ใด
1.บริเวณหนวดของผีเสื้อ 2.บริเวณขาของผีเสื้อ
3.บริเวณท้องของผีเสื้อ 4.บริเวณปีกอกปล้องของผีเสื้อ
17 18
6.ฉลามมีการปฏิสนธิแบบใด
1.oviparous 2.ovoviviparous 3.viviparous 4.ถูกทุกข้อ
7.ตัวอ่อนของฉลามเมื่อเจริญต่อนอกร่างกายจะมาพร้อมสิ่งใด
1.ไข่แดง 2.ปอด 3.ไข่ขาว 4.เกร็ด
8.สัตว์ในข้อใดมีการปฏิสนธิเหมือนฉลาม
1.ปลาแซลม่อน 2.ปลาเข็ม 3.ปลากระเบน 4.ปลาดอลลี่
9.ตัวอ่อนเจริญตรงส่วนไหนของฉลาม
1.ภายใน 2.ภายนอกร่างกาย 3.ทั้งใน และนอกร่างกาย 4.ไข่ขาว
10.ข้อใดคือลักษณะไข่ของฉลาม
1.มีไข่แดงปานกลาง ไม่มีเปลือก 2.ไม่มีไข่แดง ไม่มีมีเปลือกหุ้ม
3มี.ไข่ขาว 4.มีไข่แดง มีเปลือก
11.บ้องตัน เป็นส่วนใดของจระเข้
1.อวัยวะสืบพันธุ์ 2.โคนหาง 3.ขา 4.ลิ้น
12.ลักษณะการออกลูกของจระเข้เป็นอย่างไร
1.ออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัว 2.ออกลูกเป็นตัว
3.ออกลูกเป็นไข่ครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งเป็นตัว 4.ถูกทุกข้อ
13.การให้จระเข้มีการฟักไข่แบบธรรมชาติมีข้อเสียอย่างไร
1.โอกาสที่ไข่จะเน่าเสียมีมาก 2.เสียค่าใช้จ่ายมาก 3.ใช้เวลานาน 4.ทาให้แม่จระเข้ตาย
14.จระเข้สืบพันธุ์ในช่วงใด
1.ช่วงใดก็ได้ 2.ก.พ.-ม.ค. 3.ม.ค.-ส.ค. 4.ธ.ค.-พ.ค.
15.ข้อใดไม่ใช่อวัยวะสืบพันธุ์ของจระเข้ตัวผู้
1.อัณฑะ 2.รังไข่ 3.ท่อนาน้าเชื้อ 4.ท่อน้าเชื้อ
16. ส่วนอกของผีเสื้อแบ่งได้เป็นกี่ส่วน
1. 1 ส่วน 2. 2 ส่วน 3. 3 ส่วน 4. 4 ส่วน
17. ระยะ Caterpillar ในผีเสื้อ มีอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
1. Egg 2. Larva 3. Pupa 4. Adult
18. ข้อใดคือข้อดีของลูกฉลามที่คลอดแบบโอโววิวิพารัส
1. อยู่กับแม่ปลาตลอดเวลา 2. ทายาทปริมาณมาก
3. สามารถหลบหลีกศัตรูได้ 4. ถูกทุกข้อ
19. การฟักไข่จระเข้แบบใดลดความสูญเสียมากที่สุด
1. แบบธรรมชาติ 2. แบบกึ่งธรรมชาติ 3.แบบใช้ตู้ฟัก 4. ถูกทุกข้อ
20. ก้อนขี้หมา ในจระเข้หมายถึงอะไร
1.ก้อนเนื้อปลายปาก 2. กล้ามเนื้อโคนหาง 3. ลิ้นขนาดใหญ่ 4. เพดานอุ้งปาก
19 20
เฉลยคาตอบพร้อมคาอธิบาย
1.เฉลยข้อ 2 เพราะแมลงปอและผีเสื้อจัดเป็นแมลงจึงมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน คือ มีลาตัวยาว
ลาตัวซีกซ้ายและขวาเหมือนกัน แบ่งลาตัวออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ( Head) ส่วนอก
(Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen)
2.เฉลยข้อ 3 จากภาพเป็นระยะ pupa ของผีเสื้อ สังเกตได้จากรูปภาพที่เป็นดักแด้ซึ่งเป็นจุดเด่น
ของระยะ pupa
ไม่ใช่ข้อ 2 (larva) เพราะในระยะ larvaจะยังเป็นหนอนอยู่ไม่มีการสร้างเปลือกแข็งมาหุ้มลาตัว
3.เฉลยข้อ 1ตาเดี่ยวจะทาหน้าที่เป็นรู้รับแสงสว่างส่วนตารวมทาหน้าที่ในการ
มองเห็นและรับรู้การเคลื่อนไหว
ข้อ 2 ผิด เพราะตาเดี่ยวของผีเสื้อเป็นตาขนาดเล็กมาก
ข้อ 3 ผิด เพราะ ผีเสื้อทุกชนิดจะมีทั้งตาเดี่ยวและตารวม
ข้อ 4 ผิด เพราะ ตารวมจะมีประสิทธิภาพในการมองเห็นสูงกว่าเพราะตาเดี่ยวทาได้เพียงแค่รับ
แสงไม่มีความสามารถในการมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเหมือนตารวม
4.เฉลยข้อ 4 เพราะpheromoneเป็นกลิ่นสัญญาณที่ผีเสื้อตัวผู้ปล่อยไปหาผีเสื้อตัวเมียเพื่อเกี้ยว
ให้ตัวเมียรู้ว่าเป็นผีเสื้อชนิดเดียวกัน หลังจากนั้นผีเสื้อตัวเมียจะลงเกาะและผสมพันธุ์กัน
5.เฉลยข้อ 3บริเวณท้อง (Abdomen) ของผีเสื้อเป็นที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังเป็น
ที่ตั้งของอวัยวะสาหรับย่อยและขับถ่ายอีกด้วย
6.เฉลยข้อ2 เพราะเอ็มบริโอเจริญเติบโตในตัวแม่โดยได้อาหารที่สะสมไว้ในไข่ เช่น ฉลาม
กระเบน เรียกสัตว์พวกนี้ว่า Ovoviviparous animalsเอ็มบริโอเจริญเติบโตในตัวแม่โดยได้
อาหารจากแม่ทางรก เช่น แมว สุนัข วัว ควาย รวมทั้งคน เรียกสัตว์พวกนี้ว่า viviparous
animals
7.เฉลยข้อ1 เพราะไข่แดงเป็นสิ่งที่ติดออกมาด้วยเมื่ออกจากไข่
8.เฉลยข้อ2 เพราะovoviviparous พบได้ในปลาฉลามหลายชนิดที่มีขนาดใหญ่ และ ปลาเข็ม
ปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลาสร้อย
9.เฉลยข้อ 3 เพราะ รกในฉลามเจริญไม่ดีจึงให้มีการเจริญของตัวอ่อน ครึ่งหนึ่งในรกและอีก
ครึ่งหนึ่งนอกร่างกายตัวเมียพร้อมไข่แดง
10.เฉลยข้อ1 เพราะ ลักษณะของ ovoviviparousคือไม่มีเปลือกหุ้ม และมีไข่แดงปานกลาง
(mesolecithal egg)
11.เฉลยข้อ2 เพราะโคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่าใช้ในการฟาดเพื่อป้องกัน
ตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้า
12.เฉลยข้อ1 เพราะจระเข้ออกลูกเป็นไข่จากนั้นใช้เวลาประมาณ 65-80 ไข่จะฟักเป็นตัว
13.เฉลยข้อ1 เพราะข้อเสียของการฟักไข่แบบธรรมชาติ คือ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและ
ความชื้นได้ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติโอกาสไข่เน่าเสียมีมาก
14.เฉลยข้อ4 เพราะฤดูกาลเป็นสัดของจระเข้คือช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี
รวมระยะเวลาประมาณ 5 เดือน
15.เฉลยข้อ2 เพราะรังไข่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของจระเข้เพศเมีย
16.เฉลยข้อ3 เพราะส่วนอกของผีเสื้อแบ่งออกเป็น3 ส่วนคืออกปล้องหน้า อกปล้องกลางและอก
ปล้องหลัง
17.เฉลยข้อ2 เพราะcaterpillarคือระยะตัวหนอนมีอีกชื่อหนึ่งคือlarva
18.เฉลยข้อ3 เพราะปลาที่คลอดแบบโอวิพารัส สามารถหลบหลีกศัตรูด้วยการเคลื่อนไหวได้ และ
สามารถกินอาหารได้หลากหลาย แต่การกาเนิดทายาทมีปริมาณน้อย
19.เฉลยข้อ3 เพราะข้อดีของการฟักแบบใช้ตู้ฟัก คือควบคุมสภาวะแวดล้อมได้แน่นอนลดความ
สูญเสียลงมากสามารถตรวจดูและแยกไข่เสียออกได้ตลอดเวลาและสามารถกาหนดเพศลูกจระเข้
20.เฉลยข้อ1 เพราะก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมู ของจระเข้กเรียกว่า "ก้อนขี้หมา"
หรือ "หัวขี้หมา
21 22
บรรณานุกรม
นันทิดา ลาโสภา. จระเข้น้าจืด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/fr
eshwatercrocodile1998/. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มกราคม 2562)
ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก. (2544). การเพาะเลี้ยงจระเข้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.fisheries.go.th/management/crocodile.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : 12
มกราคม 2562)
Wijak Larpyai. (2558). การขยายพันธุ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://sites. google.c
om/site/wijaklarpyai47782/page-1/page-1-2. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มกราคม 2562)
สุทัศน์ ยกส้าน. ธรรมชาติของผีเสื้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://web.ku.ac.th/scho
olnet/snet4/july8/butrfy.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มกราคม 2562)
ภาคผนวก
23 24
ภาคผนวก
ครูผู้สอน : นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตาแหน่ง ครู คศ.1 สาขาชีววิทยา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
คณะนักเรียนผู้จัดทา
25

More Related Content

What's hot

๊Unseen in Banrai's Plant
๊Unseen in Banrai's Plant๊Unseen in Banrai's Plant
๊Unseen in Banrai's PlantBus Blue Lotus
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์kruood
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2dnavaroj
 
เซลล์ประสาทและการทำงาน
เซลล์ประสาทและการทำงาน เซลล์ประสาทและการทำงาน
เซลล์ประสาทและการทำงาน Thitaree Samphao
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองsukanya petin
 
โครงสร้างของระบบประสาท
โครงสร้างของระบบประสาทโครงสร้างของระบบประสาท
โครงสร้างของระบบประสาทWan Ngamwongwan
 
13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชWichai Likitponrak
 
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5Wichai Likitponrak
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมJariya Jaiyot
 
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชThanyamon Chat.
 
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตIssara Mo
 
โครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาสโครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาสOui Nuchanart
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)Thitaree Samphao
 
โครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพ
โครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพโครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพ
โครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพteadateada
 
เทคโนDnaลายพิมพ์
เทคโนDnaลายพิมพ์เทคโนDnaลายพิมพ์
เทคโนDnaลายพิมพ์Wichai Likitponrak
 

What's hot (20)

หนังสือราชการ (ใหม่)
หนังสือราชการ (ใหม่)หนังสือราชการ (ใหม่)
หนังสือราชการ (ใหม่)
 
ใบความรู้การย่อยอาหาร
ใบความรู้การย่อยอาหารใบความรู้การย่อยอาหาร
ใบความรู้การย่อยอาหาร
 
๊Unseen in Banrai's Plant
๊Unseen in Banrai's Plant๊Unseen in Banrai's Plant
๊Unseen in Banrai's Plant
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
 
เซลล์ประสาทและการทำงาน
เซลล์ประสาทและการทำงาน เซลล์ประสาทและการทำงาน
เซลล์ประสาทและการทำงาน
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
 
โครงสร้างของระบบประสาท
โครงสร้างของระบบประสาทโครงสร้างของระบบประสาท
โครงสร้างของระบบประสาท
 
13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
13.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
 
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
 
โครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาสโครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาส
 
ไบโอม
ไบโอมไบโอม
ไบโอม
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)
 
โครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพ
โครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพโครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพ
โครงานเรื่องยาฆ่าหญ้าชีวภาพ
 
O-net วิทยาศาสตร์ 2557
O-net วิทยาศาสตร์ 2557O-net วิทยาศาสตร์ 2557
O-net วิทยาศาสตร์ 2557
 
เทคโนDnaลายพิมพ์
เทคโนDnaลายพิมพ์เทคโนDnaลายพิมพ์
เทคโนDnaลายพิมพ์
 

Similar to Minibookanimalgroup10

Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
Minibook pdf 931 number 5,6,15,32Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
Minibook pdf 931 number 5,6,15,32Sathitalookmai
 
Mosquito kraben snake
Mosquito kraben snakeMosquito kraben snake
Mosquito kraben snakelilyatc
 
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834Z-class Puttichon
 
การศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็ก
การศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็กการศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็ก
การศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็กแพรุ่ง สีโนรักษ์
 
Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931PhatharawarongChiera
 
Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931PhatharawarongChiera
 
วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2
วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2
วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2ponthip2507
 
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...JittapatS
 
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...JittapatS
 
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...JittapatS
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกWichai Likitponrak
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ThanyapornK1
 

Similar to Minibookanimalgroup10 (20)

Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
Minibook pdf 931 number 5,6,15,32Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
Minibook pdf 931 number 5,6,15,32
 
Mosquito kraben snake
Mosquito kraben snakeMosquito kraben snake
Mosquito kraben snake
 
Minibook bio
Minibook bioMinibook bio
Minibook bio
 
Minibook animal
Minibook animalMinibook animal
Minibook animal
 
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
Hibiscus, frangipani ,and white champaka group2 m.5/834
 
pracharat
pracharatpracharat
pracharat
 
การศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็ก
การศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็กการศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็ก
การศึกษาลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆของขี้เหล็ก
 
Lesson5animalgrowth
Lesson5animalgrowthLesson5animalgrowth
Lesson5animalgrowth
 
Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931
 
Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931Study of angiosperm group 1 room 931
Study of angiosperm group 1 room 931
 
วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2
วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2
วิทยาศาสตร์ ความหลากหลาย ป.5_สพป.ปน.2
 
Herbarium
HerbariumHerbarium
Herbarium
 
Minibookbio 5 932
Minibookbio 5 932Minibookbio 5 932
Minibookbio 5 932
 
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
 
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
 
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
การศึกษาโครงสร้างดอกคาร์เนชั่น พุด และกล้วยไม้ จัดทำโดยนักเรียนระดับชั้นม.5 ห...
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
 
Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561
 
656 pre2
656 pre2656 pre2
656 pre2
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
 

Minibookanimalgroup10

  • 1. หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านการสืบพันธ์และการ เจริญเติบโตของตัวอย่างสัตว์ จานวน 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อ ฉลาม จระเข้ นาเสนอครูผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณะผู้จัดทา กลุ่มที่ 10 1. นายเตชิต เมธมโนศักดิ์ เลขที่ 33 2. นายธนดล เธียรรัตนากร เลขที่ 34 3. นายพสธร ภู่ประเสริฐ เลขที่ 36 4. นายพีรณัฐ โตปรีชา เลขที่ 37 ชั้น ม.5 ห้อง 932 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ชิ้นงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 4 (ว 30244) ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2561 คานา หนังสือเล่มประกอบการศึกษาเรียนรู้การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของตัวอย่างสัตว์ ในวิชาชีววิทยา4 (ว 30244) จัดทาขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาการสืบพันธุ์และการ เจริญเติบโตของตัวอย่างสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อ ปลาฉลาม จระเข้ สาหรับผู้อยู่ในวงการศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในตัวอย่างสัตว์ชนิดดังกล่าว ทางผู้จัดทาหนังสือหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสาหรับผู้ ศึกษา หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทาต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะกลับไปปรับปรุงใน โอกาสต่อไป คณะผู้จัดทา
  • 2. สารบัญ หัวข้อนาเสนอ หน้า 1.การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ ผีเสื้อ 1 1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของผีเสื้อ 1 1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของผีเสื้อ 3 1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ 5 2.การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 2 คือ ปลาฉลาม 8 2.1 ลักษณะโดยทั่วไปของปลาฉลาม 8 2.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของปลาฉลาม 9 2.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของปลาฉลาม 11 3.การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 3 คือ จระเข้ 13 3.1 ลักษณะโดยทั่วไปของจระเข้ 13 3.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของจระเข้ 15 3.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของจระเข้ 16 4.คาถามทบทวนการเรียนรู้ 18 5.ภาคผนวก 24 Dichotomous key ชนิดการสืบพันธุ์ อาศัยเพศ ไม่อาศัยเพศ ปฏิสนธิภายนอก ปฏิสนธิภายใน viviparousoviparous ovoviviparous ฉลามจระเข้ ผีเสื้อ
  • 3. การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ ผีเสื้อ 1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของผีเสื้อ ชื่อสามัญภาษาไทย ผีเสื้อ ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Butterfly ชื่อวิทยาศาสตร์ Papiliomachaon ชื่ออันดับ Lepidoptera ชื่อวงศ์ Papilionidae ลักษณะสาคัญทางสัตว์วิทยา ผีเสื้อเป็นแมลงชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงมีส่วนประกอบเหมือนแมลงทั่วไป กล่าวคือมีลาตัวยาวหรือ ค่อนข้างยาว ลาตัวซีกซ้ายขวามีลักษณะเหมือนกัน ( bilateral symmetry) แบ่งลาตัวออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (head) ส่วนอก (thorax) และส่วนท้อง (abdomen) 1. ส่วนหัว (head) ประกอบด้วย ตาหนวด(antennae) และปาก(mouth) ตา (eye) ประกอบด้วยตา 2 ชนิด คือ ตารวม และตาเดี่ยว ตารวม มี 2 ตา ประกอบขึ้นด้วยเลนส์จานวนมากรวมกันทาหน้าที่ในการมองสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะ การรับรู้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว ตาเดี่ยว เป็นตาขนาดเล็กใช้ในการรับรู้แสงสว่างและรับรู้เวลากลางวันและกลางคืน หนวด (antennae) มีอยู่ 2 เส้นอยู่ระหว่างตารวมหรือใต้ตารวม ใช้ในการดมกลิ่น ปาก (mouth) มีลักษณะเป็นท่อครึ่งวงกลม ประกบกันเป็นหลอด เรียกว่า proboscis สามารถ ม้วนตัวขดไว้ที่ใต้หัวใช้ดูดของเหลว ที่ปลายท่อมีต่อมรับรส การยืดของปากใช้แรงดันเลือดส่วน การม้วนกลับใช้ 2. ส่วนอก (thorax) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คืออกปล้องหน้า( prothorax) อกปล้องกลาง (mesothorax) และอกปล้องหลัง (metathorax) ขา (leg) มี 3 คู่ 6 ขา โดยที่อกแต่ละส่วนจะมีขาหนึ่งคู่ ยกเว้นผีเสื้อในวงศ์ขาหน้าพู่ ขาคู่หน้า (foreleg) ซึ่งติดกับอกปล้องแรกจะหดสั้นลง มีลักษณะคล้ายพู่ ปีก (wing) มี 2 คู่ เป็นแผ่นไคตินบาง ๆ ยืดออกมาจากส่วนอก โดยจะมีปีกที่อกปล้องกลาง และอกปล้องหลังเท่านั้น ปีกที่อกปล้องกลางเรียกว่า “ปีกคู่หน้า” และปีกที่อกปล้องหลังเรียกว่า “ปีกคู่หลัง” ปีกคู่หน้ามีเส้นปีก 12 เส้นปีกคู่หลังมีเส้นปีก 9 เส้น 3. ส่วนท้อง (abdomen) มีลักษณะเป็นปล้องมี 11 ปล้อง ที่ด้านข้างของท้องมีรูหายใจปล้อง ละคู่ และยังเป็นที่ตั้งของอวัยวะสาหรับการย่อยและการขับถ่ายรวมทั้งอวัยวะเพศด้วย 1 2
  • 4. 1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของผีเสื้อ -การผสมพันธุ์ การหาคู่ของผีเสื้อเพศผู้มีหลายวิธีด้วยกัน บางชนิดรอให้ตัวเมียบินเข้ามาในพื้นที่ ของตัวเอง บางชนิดกาหนดอาณาเขตของตัวเองแล้วบินวนหาตัวเมีย ภายในพื้นที่นั้น ผีเสื้อที่ กาหนดอาณาเขตของตัวเองไว้จะไม่ยอมให้ผีเสื้อตัวอื่นเข้ามาใกล้ บางครั้งเมื่อมีผู้บุกรุก ผีเสื่อเจ้า ถิ่นจะออกไปขับไล่ ถ้าผู้บุกรุกไม่ออกไปก็ต้องต่อสู้กันจนกว่าจะแพ้กันไปข้างหนึ่งเช่น ผีเสื้อในวงศ์ ขาหน้าพู่ จะหวงถิ่นมาก มันจะไล่ไม่เว้นแม้แต่แมลงปอ หรือนกที่บินเข้ามา แม้ว่าผลสุดท้ายมัน อาจจะตกเป็นอาหารของนกก็ตาม -หลังจากตัวผู้พบตัวเมียก็จะเริ่มเกี้ยว ด้วยการบินเข้าไปหา และกระพือปีก ปล่อยกลิ่น สัญญาณ เพศ (pheromones) ให้กระจายออกไป เพื่อบอกให้ตัวเมียรู้ว่า เป็นผีเสื้อ ชนิด เดียวกัน จากนั้น มันจะ พยายาม ให้ตัวเมียลงเกาะ เพื่อตัวเองจะได้ลงเกาะ บนหลัง และทาการผสม พันธุ์ กลิ่น สัญญาณเป็นสิ่งสาคัญที่จะทาให้ตัวเมียยอมรับการผสมพันธุ์ ถ้าตัวเมียไม่พอใจก็จะบินหนีไป ผีเสื้อบางชนิดมีต่อมสัญญาณกลิ่นที่ปีกคู่หลัง เช่น ผีเสื้อในสกุล ผีเสื้อหนอนใบรัก บางชนิดก็อยู่ที่ ปลายส่วนท้อง เช่น ผีเสื้อในสกุลผีเสื้อจรกา มีต่อมกลิ่นเพศในผีเสื้อหนอนใบรักเพศผู้ -การวางไข่หลังจากผีเสื้อตัวเมียได้รับการผสม พันธุ์เรียบร้อยแล้ว มันจะรอจนไข่ที่ผสมแล้วแก่ พอที่จะไข่ได้ มันจะบินหาพืชอาหาร ของตัวหนอนเพื่อวางไข่ โดยมันจะใช้ปลายส่วนท้องแตะที่ ใบพืช และรู้ด้วยสัญชาติญาณพิเศษทันทีว่าใช่พืชที่เป็นอาหารของหนอนหรือไม่ ถ้าไม่ใช่มันจะ บินหาต่อไป แต่ถ้าใช่มันจะยืดส่วนหางเล็กน้อยแล้วค่อย ๆ วางไข่ ขณะที่วางไข่ผีเสื้อจะขับสาร เหนียวๆออกมาด้วยเพื่อให้ไข่ยึดติดกับใบไม้ ลักษณะไข่ของผีเสื้อมีหลายลักษณะแตกต่างกันตาม วงศ์ ซึ่งมีทั้งกลม เรียว แบน สี่เหลี่ยม ทั้งผิวเรียบและลวดลาย มีสีต่างกันไปตามแต่ละชนิด ผีเสื้อ ตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรืออาจเป็นกลุ่ม 2-3 ฟองใต้ใบ จานวนไข่ที่วางต่อครั้ง คือ 30 - 50 ฟอง 3 4
  • 5. 1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ วัฎจักรชีวิตของผีเสื้อนั้นแบ่งออกเป็น 4ระยะด้วยกันคือ 1. ระยะไข่ (Egg) 2. ระยะตัวหนอน (Larva, Caterpillar) 3. ระยะดักแด้ (Pupa, Chrysalis) 4. ระยะโตเต็มวัย (Adult) 1.ระยะไข่ (Egg)ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับ เปลือกลาตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่าน กล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า micropyle เป็นรูที่ทาให้น้าเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมีย 2.ระยะตัวหนอน (Larva, Caterpillar)เมื่อไข่ฟักตัวได้ครบกาหนด ตัวหนอนก็จะกัดกิน เปลือก ไข่เพื่อออกมาจากไข่ ในระยะนี้ ส่วนลาตัวจะประกอบไปด้วยขา 3 คู่ และในส่วนของท้อง (abdomen) จะมีขา 5 คู่ -ตัวหนอนจะสร้างต่อมสร้างใยในช่วงเดือนแรก ที่ฟักเป็นตัวจะมีการเพิ่มขนาดของลาตัว เรื่อย ๆ โดยการลอกคราบเพื่อ เปลี่ยนขนาดซึ่งโดยทั่วไปหนอนจะลอกคราบ 4-5 ครั้ง ผีเสื้อกลางวัน เมื่อ ลอกคราบ ครั้งสุดท้ายผนังชั้นในเมื่อสัมผัสกับอากาศ ภายนอกจะแข็งตัว กลายเป็นเปลือกแข็ง หุ้มลาตัวไว้เป็นดักแด้และรูปร่างจะเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง 3.ระยะดักแด้ (Pupa, Chrysalis)คือระยะเวลาตอนปลายของการเป็นตัว หนอน หนอนผีเสื้อ เมื่อมีขนาดโตเต็มที่จะเข้าสู่ระยะดักแด้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหาร และถ่ายของเสีย ออกจากร่างกายจนหมด แล้วคลานหาที่เหมาะสมที่มันคิดว่าปลอดภัยจากศัตรูแล้วชักใยให้ตัวเอง ยึดติดกับกิ่งไม้ -หนอนที่แก่เต็มที่ ก็จะเริ่มหากิ่งไม้เล็ก ๆ เกาะ โดยผูกตัวของมันเองไว้กับกิ่งไม้โดยใช้ใย และเริ่ม ลอกคราบเพื่อกลายเป็นดักแด้ซึ่งดักแด้ของหนอนผีเสื้อแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกัน ไป ตามสายพันธุ์ หนอนบางชนิดจะชักใยหุ้มตัวเองไว้ภายในก่อน เช่น หนอนผีเสื้อกลางคืนบางชนิด จาพวกผีเสื้อหนอนไหม ผีเสื้อหนอนกระท้อน ระยะนี้จะเห็นว่าตัวหนอนมีขนาดเล็กลง จากเดิม หนอนจะเกาะ อยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับเขยื้อน เรียกระยะนี้ว่าระยะก่อนดักแด้ หลังจากนั้นอี ก2-3 วัน หนอนจะลอกคราบออกเป็นดักแด้ต่อไป -ดักแด้ในระยะแรกจะมีสีสว่างใส แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ดักแด้ก็เปลี่ยนแปลงตัวมันเองไปเรื่อย ๆ เพื่อกลายเป็นผีเสื้อ ในระยะหลัง ๆ ของการเป็นดักแด้ สีของดักแด้ก็จะเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้น -ระยะเวลาของการเป็นดักแด้ประมาณ 20 วัน 5 6
  • 6. 4. ระยะโตเต็มวัย (Adult)ตัวที่โตเต็มวัยแล้วจะออกจากการเป็นดักแด้ในตอนเช้าตรู่ ส่วนที่ออกจากดักแด่เป็นส่วนแรกคือ ส่วนหัว และส่วนอื่นๆตามมา หลังออกจากดักแด้ใหม่ ๆ จะมีลาตัวอ้วนและปีกจะยับยู่ยี้เหมือนกระดาษถูกขยาผีเสื้อจะหายใจ เอาอากาศเข้าไปในตัวให้มากที่สุดทั้งทางรูหายใจและทางปาก แรงดันของอากาศและการหดตัว ของกล้ามเนื้อจะช่วยขับของเหลวในร่างกายเข้าไปในเส้นปีกเพื่อให้ปีกกางออกเต็มที่ ช่วงนี้จะใช้ เวลาประมาณ 20 นาที แล้วหลังจากนั้นอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อรอให้ปีกแข็งแรงและแห้ง สนิท จึงจะออกบินไปหากินต่อไป ระหว่างที่รอให้ปีกแห้งผีเสื้อจะขับของเสียที่อยู่ในร่างกาย ออกมาจนหมด ของเสียนี้เรียกว่า Meconiumทาให้ส่วนท้องมีขนาดเล็กลงเพื่อลดน้าหนักตัว การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ ปลาฉลาม 1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของปลาฉลาม ชื่อสามัญภาษาไทย ฉลาม ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ shark ชื่อวิทยาศาสตร์ Selachimorpha ชื่ออันดับ Orectolobiformes ชื่อวงศ์ Lamnidae ลักษณะของปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม) ปลากระดูกอ่อน(Cartilaginous Fish) มีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่าง เดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ด แบบพลาคอยด์ (Placoid) ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ (Clasper) โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจาพวกนี้ พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้าจืดมีเพียงไม่กี่สิบ ชนิด มีหลายอันดับ (Order) หลายวงศ์ (Family) หลายสกุล (Genus) โดยปลาในกลุ่มปลา กระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล มีในน้าจืด เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้าจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มี ความยาวเพียงไม่ถึงฟุต จนถึง20 เมตร หนักถึง 34 ตันคือฉลามวาฬ(Rhincodon typus) ซึ่งเป็น ปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก 7 8
  • 7. 1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของปลาฉลาม อวัยวะสืบพันธุ์ของปลาเพศผู้จะเป็นอัณฑะ ส่วนในตัวเมียก็จะเป็นรังไข่ ลักษณะของอวัยวะ สืบพันธุ์ทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันดังนี้ 1. ระบบสืบพันธุ์ของตัวผู้ -อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของตัวผู้ ประกอบไปด้วยอัณฑะ ที่มีลักษณะเป็นถุงเล็กๆ เรียวยาว 1 คู่ ติดแนบอยู่กับไต มีเยื่อยึดติดกับช่องท้อง ในปลาสวายอัณฑะตอนบนจะมีลักษณะ เป็นถุงเล็กๆ สีเหลืองจานวนมากรวมกันอยู่เป็นพวงใหญ่ คล้ายติ่งไพลอริคซีคา น้าเชื้อตัวผู้หรือ อสุจิจะถูกสร้างอยู่ภายในอัณฑะ และส่งเข้ามายังตอนต้นของท่อนาน้าเชื้อ หรือวาซาเอฟเฟอเรน เทีย(vasa efferentia) มีลักษณะเหมือนหลอดขนาดเล็กขดรวมอยู่ด้วยกัน ส่วนตอนปลายของ ท่อนาน้าเชื้อ เรียกว่า วาสเดเฟอเรนส์(vas deferens หรือ sperm duct) น้าเชื้อจะมายังถุง พักสเปอร์ม หรือเซมินัลเวสิเคิล(seminal vesicle) โดยผ่านมาทางท่อนาน้าเชื้อ แล้วออกไปทาง ท่อร่วมกับท่อปัสสาวะ ที่เรียกว่า ท่อยูโรเจนิทัล(urogenital sinus) -การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ กระบวนการนี้ เรียกว่า สเปอร์มาโตเจเนซิสหรือสเปอร์ไมโอเจเน ซิส(spermatogenesis หรือ spermeiogenesis) ลักษณะของอัณฑะจะแบ่งหยักมากกว่ารังไข่ มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ภายใน เรียกว่า สเปอร์มาโตโกเนีย และจะพัฒนาไปเป็น สเปอร์มา โตไซท์สเปอร์มาติคสเปอร์มาโตซัว หรือ สเปอร์ม หรืออสุจิ จะมีการหลั่งน้าเมือกเพื่อช่วย ในการหล่อลื่นและเจือจางความเข้มข้นลงด้วย อสุจิจะผ่านไปยังหลอดเซมินิเฟอรัส แล้วต่อไปยัง ท่อวาสเดเฟอเรนส์ในระหว่างการสืบพันธุ์ 2. ระบบสืบพันธุ์ของตัวเมีย -อวัยวะที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของตัวเมีย ที่เรียกว่า รังไข่ ลักษณะจะเป็นฝักกลมยาว สีเหลือง หรือสีชมพู มีอยู่ 1 คู่ ภายในจะเป็นเม็ดๆ ภายในรังไข่จะมีไข่เต็มในฤดูสืบพันธุ์ การเติบโตของรัง ไข่จะกินเนื้อที่จนเต็มช่องท้อง เยื่อมีโซวาเรียม(mesovarium)จะยึดรังไข่ให้ติดอยู่กับผนังช่อง ท้อง และกรวยที่ต่อจากรังไข่ก็จะทาหน้าที่รับไข่ที่ตกลงมาจากรังไข่อีกที ท่อนาไข่ส่วนต้นที่ขยาย ออกจะกลายมาเป็นกรวยนี้ เมื่อไข่ผ่านมาทางท่อนาไข่ก็จะถูกส่งออกนอกตัวทางช่องเพศและ ช่องทวารรวม รังไข่ที่อยู่ใกล้บริเวณโคนตับของฉลามตัวเมีย ทางซีกขวาจะมีการเจริญเพียงข้างเดียว ยึดติดกับ ผนังลาตัวโดยเยื่อมีโซวาเรียม รังไข่ส่วนปลายล่างจะติดกับ อีพิโกเนียลออร์แกน(epigonial organ) มีหน้าที่ในการเก็บอาหาร ฉลามมีท่อนาไข่เป็นท่อเล็กอยู่ทางตอนบนของลาตัว ท่อนาไข่ ด้านบนทั้งด้านซ้ายและขวาจะบรรจบกันเป็นช่องเดียว เรียกว่า กรวยท่อนาไข่ ท่อนาไข่บริเวณ ตอนกลางจะมีต่อมเปลือกที่คอยทาหน้าที่สร้างเปลือกหุ้มไข่ เมื่อปลาที่ออกลูกเป็นไข่โตเต็มวัย ต่อมนี้ก็จะเจริญขึ้น ท่อนาไข่จะขยายใหญ่ทางตอนปลาย เรียกว่า มดลูก มดลูกทางตอนปลายทั้ง ซ้ายและขวาจะมารวมกันเพื่อออกนอกตัวทางช่องเพศ ในฤดูสืบพันธุ์ ปลากระดูกแข็งตัวเมียจะมีรังไข่ที่เจริญได้ดี จะมีไข่สุกอยู่เต็มช่องท้องภายในรังไข่ ไข่จะสุกไม่พร้อมกันทั้งหมด ที่สุกก่อนก็จะเป็นไข่ที่อยู่ทางด้านท้าย ในปลาบางชนิดและแลม เพรย์จะไม่มีท่อนาไข่ ภายในช่องตัวจะมีไข่ที่สุกแล้วอยู่เต็มไปหมด ไข่ของปลาที่ออกลูกเป็นตัว จะเจริญเป็นตัวอ่อนอยู่ภายในท่อนาไข่ที่ขยายตัวทางส่วนท้าย ที่เรียกว่า มดลูก 9 10
  • 8. 1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของปลาฉลาม ปลาที่ออกลูกเป็นตัวแบบโอโววิวิพารัส(ovoviviparous) อาหารของไข่ที่ผสมแล้วหรือลูกอ่อน ที่อยู่ในตัวแม่ จะไม่ได้มาจากแม่โดยตรง แต่จะได้จากถุงไข่แดงของตัวเองเป็นหลัก ยกเว้นน้าและ แร่ธาตุบางชนิดเท่านั้น แต่พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาหารของลูกในท้องจะได้มาทางสายรกและ สายสะดือของแม่แบบวิวิพารัส ซึ่งพบได้ในปลาฉลามหลายชนิดที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปลาซีลา แคนธ์ปลาร็อคฟิช ปลากินยุง ปลาหางดาบ การผสมและปฏิสนธิจากการสืบพันธุ์แบบนี้มักอยู่ภายในตัวเมีย แต่ปลาพวกนี้ก็สามารถนาไข่เก็บ ไว้ในตัวได้อีกแม้จะมีการปฏิสนธิภายนอกตัว เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย ไข่ของปลาดุกทะเลจะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละฟอง 20 มิลลิเมตร ปลาดุกทะเลตัวผู้ Galeichthysfelisจะอมไข่ไว้ ในปากประมาณ 50 ฟอง จนกว่าจะฟักออกเป็นตัว มีการฟักไข่ไว้ในถุงหน้าท้องของม้าน้าและ จิ้มฟันจระเข้ตัวผู้ แต่จิ้มฟันจระเข้ตัวเมีย ในสกุล Solenostomusจะมีถุงหน้าท้องที่ดัดแปลงมา จากครีบท้อง และจะเก็บไข่ที่ผสมแล้วไว้ในนั้น ปลาพวกนี้จะมีการพัฒนาของไข่อยู่ภายในมดลูก ซึ่งปลากระดูกอ่อนจะมีมดลูกที่ดัดแปลงมาจาก ส่วนของท่อนาไข่ ส่วนในปลากระดูกแข็งมดลูกจะดัดแปลงมาจากรังไข่ ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน มดลูกของแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะตั้งท้องอาจใช้เวลาเพียง 1-2 วัน และคลอดออกมา เป็นตัวอ่อน ที่เรียกว่า ลาร์วา หรือลูกปลาเล็ก หรือจูวีไนล์( juvenile) พบได้ในปลากระดูกอ่อน แถบเขตร้อนตัวเล็กๆ แต่ในฉลามบางชนิด ระยะตั้งท้องอาจกินเวลานาน 1-2 ปี เพื่อเป็นการ ปกป้องลูกไม่ให้ได้รับอันตรายจากศัตรู และให้ลูกได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด แต่ลูก ปลาทั้งหมดก็จะสูญหายไปด้วยถ้าแม่ปลาถูกจับกิน ขนาดของลูกปลาที่คลอดมาจะใหญ่กว่าลูก ปลาที่คลอดแบบโอวิพารัส สามารถหลบหลีกศัตรูด้วยการเคลื่อนไหวได้ และสามารถกินอาหาร ได้หลากหลาย ธรรมชาติได้สร้างคุณสมบัติเหล่านี้ให้กับมันก็เพื่อเป็นการช่วยรักษาเผ่าพันธุ์เอาไว้ เนื่องจากปลาพวกนี้มีอัตราการสืบพันธุ์ต่า การกาเนิดทายาทจึงมีปริมาณน้อยไปด้วย 11 12
  • 9. การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ชนิดที่ 1 คือ จระเข้ 1.1 ลักษณะโดยทั่วไปของจระเข้ ชื่อสามัญภาษาไทย : จระเข้ ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Crocodile ชื่อวิทยาศาสตร์ :Crocodylidae ชื่ออันดับ :Crocodylia จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่สุดในโลกบางชนิดเมื่อโตเต็มที่อาจมีความยาวถึง 9 เมตรมี อายุยืนถึง 70 ปีเป็นสัตว์เลือดเย็นมีหัวใจครบ 4 ห้องแต่ไม่สมบูรณ์สมองเจริญดีกว่า สัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นบรรพบุรุษของจระเข้ถือกาเนิดในยุคไตรแอสสิค ( Triassic) ตอนต้น ประมาณ 190 ล้านปีมาแล้วมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อา หาร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มี ศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ ขณะอยู่ใต้น้าและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของ อุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบด อาหารด้วย ลักษณะทั่วไป มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบ ปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตาแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรี กอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและ ไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของ ลิ้นไม่มีสารเคราติน ต่อมขจัด เกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มี ก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา ซึ่งจะแตกต่าง ออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้า 13 14
  • 10. 1.2 ระบบสืบพันธุ์และการสืบพันธุ์ของจระเข้ จระเข้เพศเมียอวัยวะสืบพันธุ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ 1.รังไข่รังไข่จระเข้มีจานวน 2 อันรูปร่างรีและแบนสีขาวเนื้อค่อนข้างแน่นแข็งติดอยู่ใกล้กับไตทั้ง 2 ข้างโดยแขวนลอยใต้กระดูกสันหลังส่วนเอวเมื่ออยู่ในฤดูผสมพันธุ์รังไข่จะขยายตัวและมีถุงไข่ อ่อนอยู่บนผิวเป็นจานวนมาก 2.ท่อนาไข่ท่อนาไข่ของจระเข้ได้แก่ส่วนที่เห็นเป็นท่อแบนๆรูปตัว ( Y) แยกเป็น 2 ปีกถัดจากรัง ไข่ทั้งสองข้างท่อนาไข่จะเปิดออกสู่บริเวณช่องขับถ่ายร่วมด้านล่างของลาตัวตรงตาแหน่งโคนหาง ของจระเข้ จระเข้เพศผู้อวัยวะสืบพันธุ์แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ 1. อัณฑะอัณฑะของจระเข้มีจานวน 2 อันอยู่ในช่องท้องบริเวณใกล้กับไตซึ่งติดอยู่ด้านหลังมี หน้าที่ผลิตน้าเชื้อ(อสุจิ) 2. ท่อนาน้าเชื้อเป็นท่อที่ต่อจากอัณฑะมายัง อวัยเพศในช่องขับถ่ายร่วมทาหน้าที่เป็นทางขนส่ง น้าเชื้อจากอัณฑะเพื่อออกผ่านทางอวัยวะเพศขณะผสมพันธุ์ 3.อวัยวะเพศผู้มีลักษณะเป็นแท่งยาวปลายแหลมขยายออกเล็กน้อยโดยมีรอยคอดก่อนถึงส่วน ขยายมีร่องเปิดด้านบนเพื่อให้น้าเชื้อซึ่งผ่านมาจากท่อนาน้าเชื้อไหลออกขณะทาการผสมพันธุ์โดย ปกติแล้วอวัยวะเพศผู้จะพับซ่อนตัวอยู่ในช่องขับถ่ายร่วมและจะโผล่ออกมาเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ เท่านั้น 1.3 การเจริญเติบโตและวัฏจักรชีวิตของจระเข้ ฤดูกาลเป็นสัดของจระเข้คือช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปีรวม ระยะเวลาประมาณ 5 เดือนเวลาที่ใช้ผสมพันธุ์นานมากคือ 2 ชั่วโมงหลังจากผสมพันธุ์ได้ ประมาณเดือนเศษนั้นตัวเมียจะเริ่มวางไข่ประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 1 ครั้งเท่านั้นในปี หนึ่งๆก่อนถึงการวางไข่ประมาณ 2-3 วันแม่จระเข้จะขึ้นมาบนพื้นที่วางไข่โดยใช้หางกวาดสร้าง กองใบไม้สูงราว 40-80 เซนติเมตรและพาตัวเองขึ้นทับบนกองใบไม้เพื่อสร้างความร้อน พอประมาณและเมื่อถึงเวลาวางไข่มันจะกลับมาขุดหลุมตรงกองหญ้ากองใบไม้ที่ทาไว้โดยขุดลึก ประมาณ 25-30 เซนติเมตรกว้างไม่เกิน 40 เซนติเมตรเมื่อเบ่งไข่แม่จระเข้มีความเจ็บปวดจน น้าตาไหลโดยจะมีการวางไข่เวลากลางคืนจานวนไข่จะเพิ่มจากน้อยไปหามากตามอายุของจระเข้ โดยจระเข้น้าเค็มจะมีจานวนไข่ที่มากกว่าจระเข้น้าจืดแม่จระเข้ใช้เวลาฟักไข่ราว 65-80 วันกว่า ลูกจะออกเป็นตัว 15 16
  • 11. การฟักไข่ 1.แบบธรรมชาติโดยการเตรียมวัสดุปูรังและรังไว้ในบ่อแม่จระเข้จะกวาดวัสดุเหล่านั้นมาพูนทารัง ขึ้นเองและวางไข่ในนั้นตรงบริเวณพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ให้หลังจากแม่จระเข้วางไข่เรียบร้อยแล้วจึง ทาการปิดกั้นมิให้แม่จระเข้เข้ามาที่รังอีกรอจนถึงเวลาฟักไข่ใกล้ฟักเป็นตัวหรือได้ยินเสียงร้องของ ลูกจระเข้ก็ให้มาขุดเอาไข่ขึ้นเพื่อแกะเปลือกเอาลูกจระเข้ออกมา ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย ข้อเสียคือไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ ไข่เน่าเสียมีมาก 2.แบบกึ่งธรรมชาติเก็บไข่จระเข้จากรังมาฟักในบ่ออนุบาลหรือหลุมที่ดูคล้ายรังจริงทาการ ตรวจวัดอุณหภูมิทุกวันโดยใช้ปรอทด้ามยาวแทงลงไปในรังหากพบว่าร้อนจัดก็จะใช้น้าจากฝักบัว รดบริเวณรังเป็นการลดความร้อนและให้ความชื้นไปในตัวหากอุณหภูมิต่ากว่าเกณฑ์มักใช้หลอด ไฟฟ้า 100 แรงเทียนส่องเพื่อให้เกิดความร้อนรอฟังเสียงลูกจระเข้ร้องจึงทาการช่วยแกะเปลือก ข้อดีคือสามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ดีขึ้นกว่าแบบธรรมชาติ ข้อเสียคือเพิ่มค่าใช้จ่ายและภาระการดูแลมากขึ้นโอกาสไข่เสียยังมีอยู่มาก 3.แบบใช้ตู้ฟักโดยใช้ตู้ฟักไข่ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อน นาไข่เข้าตู้ฟักต้องล้างด้วยน้ายาฆ่าเชื้อและเช็ดไข่ให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรกจากนั้นวางบน ตะแกรงในตู้ซึ่งสามารถตรวจสอบดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ทุกวันจนฟักเป็นตัว ข้อดีคือควบคุมสภาวะแวดล้อมได้แน่นอนลดความสูญเสียลงมากสามารถตรวจดูและแยกไข่เสีย ออกได้ตลอดเวลาและสามารถกาหนดเพศลูกจระเข้ ข้อเสียคือเพิ่มการลงทุนและค่าใช้จ่าย คาถามทบทวนการเรียนรู้การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต ของสัตว์ตัวอย่างจานวน 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อ ปลาฉลาม จระเข้ 1.ส่วนประกอบทางสรีรวิทยาของผีเสื้อมีลักษณะคล้ายกับสัตว์ในข้อใด 1.นก 2.แมลงปอ3.เพนกวิน 4.ไก่ฟ้า 2.จากภาพเป็นระยะการเจริญเติบโตแบบใดของผีเสื้อ 1.egg 2.larva 3.pupa 4.adult 3.ตาเดี่ยวและตารวมของผีเสื้อมีความแตกต่างกันอย่างไร 1.ตาเดี่ยวจะทาหน้าที่รับแสงสว่างส่วนตารวมทาหน้าที่ในการมองเห็นและรับรู้การเคลื่อนไหว 2.ตาเดี่ยวเป็นตาเดียวที่มีขนาดใหญ่ในขณะที่ตารวมเป็นศูนย์รวมของตาขนาดเล็กหลายๆตา 3.ตาเดี่ยวจะพบในผีเสื้อกลางวันแต่ตารวมจะพบในผีเสื้อกลางคืน 4.ตาเดี่ยวมีประสิทธิภาพในการมองเห็นสูงกว่าตารวม 4.การปล่อยสัญญาณpheromoneของผีเสื้อทาเพื่ออะไร 1.เพื่อการออกหาอาหาร 2.เพื่อข่มศัตรูและป้องกันตัวเองจากอันตราย 3.เพื่อให้ผีเสื้อพัฒนาเป็นระยะหนอน 4.เพื่อให้ผีเสื้อตัวเมียรู้ว่าเป็นผีเสื้อชนิดเดียวกัน 5.บริเวณที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ของผีเสื้ออยู่ที่ใด 1.บริเวณหนวดของผีเสื้อ 2.บริเวณขาของผีเสื้อ 3.บริเวณท้องของผีเสื้อ 4.บริเวณปีกอกปล้องของผีเสื้อ 17 18
  • 12. 6.ฉลามมีการปฏิสนธิแบบใด 1.oviparous 2.ovoviviparous 3.viviparous 4.ถูกทุกข้อ 7.ตัวอ่อนของฉลามเมื่อเจริญต่อนอกร่างกายจะมาพร้อมสิ่งใด 1.ไข่แดง 2.ปอด 3.ไข่ขาว 4.เกร็ด 8.สัตว์ในข้อใดมีการปฏิสนธิเหมือนฉลาม 1.ปลาแซลม่อน 2.ปลาเข็ม 3.ปลากระเบน 4.ปลาดอลลี่ 9.ตัวอ่อนเจริญตรงส่วนไหนของฉลาม 1.ภายใน 2.ภายนอกร่างกาย 3.ทั้งใน และนอกร่างกาย 4.ไข่ขาว 10.ข้อใดคือลักษณะไข่ของฉลาม 1.มีไข่แดงปานกลาง ไม่มีเปลือก 2.ไม่มีไข่แดง ไม่มีมีเปลือกหุ้ม 3มี.ไข่ขาว 4.มีไข่แดง มีเปลือก 11.บ้องตัน เป็นส่วนใดของจระเข้ 1.อวัยวะสืบพันธุ์ 2.โคนหาง 3.ขา 4.ลิ้น 12.ลักษณะการออกลูกของจระเข้เป็นอย่างไร 1.ออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัว 2.ออกลูกเป็นตัว 3.ออกลูกเป็นไข่ครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งเป็นตัว 4.ถูกทุกข้อ 13.การให้จระเข้มีการฟักไข่แบบธรรมชาติมีข้อเสียอย่างไร 1.โอกาสที่ไข่จะเน่าเสียมีมาก 2.เสียค่าใช้จ่ายมาก 3.ใช้เวลานาน 4.ทาให้แม่จระเข้ตาย 14.จระเข้สืบพันธุ์ในช่วงใด 1.ช่วงใดก็ได้ 2.ก.พ.-ม.ค. 3.ม.ค.-ส.ค. 4.ธ.ค.-พ.ค. 15.ข้อใดไม่ใช่อวัยวะสืบพันธุ์ของจระเข้ตัวผู้ 1.อัณฑะ 2.รังไข่ 3.ท่อนาน้าเชื้อ 4.ท่อน้าเชื้อ 16. ส่วนอกของผีเสื้อแบ่งได้เป็นกี่ส่วน 1. 1 ส่วน 2. 2 ส่วน 3. 3 ส่วน 4. 4 ส่วน 17. ระยะ Caterpillar ในผีเสื้อ มีอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร 1. Egg 2. Larva 3. Pupa 4. Adult 18. ข้อใดคือข้อดีของลูกฉลามที่คลอดแบบโอโววิวิพารัส 1. อยู่กับแม่ปลาตลอดเวลา 2. ทายาทปริมาณมาก 3. สามารถหลบหลีกศัตรูได้ 4. ถูกทุกข้อ 19. การฟักไข่จระเข้แบบใดลดความสูญเสียมากที่สุด 1. แบบธรรมชาติ 2. แบบกึ่งธรรมชาติ 3.แบบใช้ตู้ฟัก 4. ถูกทุกข้อ 20. ก้อนขี้หมา ในจระเข้หมายถึงอะไร 1.ก้อนเนื้อปลายปาก 2. กล้ามเนื้อโคนหาง 3. ลิ้นขนาดใหญ่ 4. เพดานอุ้งปาก 19 20
  • 13. เฉลยคาตอบพร้อมคาอธิบาย 1.เฉลยข้อ 2 เพราะแมลงปอและผีเสื้อจัดเป็นแมลงจึงมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน คือ มีลาตัวยาว ลาตัวซีกซ้ายและขวาเหมือนกัน แบ่งลาตัวออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ( Head) ส่วนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen) 2.เฉลยข้อ 3 จากภาพเป็นระยะ pupa ของผีเสื้อ สังเกตได้จากรูปภาพที่เป็นดักแด้ซึ่งเป็นจุดเด่น ของระยะ pupa ไม่ใช่ข้อ 2 (larva) เพราะในระยะ larvaจะยังเป็นหนอนอยู่ไม่มีการสร้างเปลือกแข็งมาหุ้มลาตัว 3.เฉลยข้อ 1ตาเดี่ยวจะทาหน้าที่เป็นรู้รับแสงสว่างส่วนตารวมทาหน้าที่ในการ มองเห็นและรับรู้การเคลื่อนไหว ข้อ 2 ผิด เพราะตาเดี่ยวของผีเสื้อเป็นตาขนาดเล็กมาก ข้อ 3 ผิด เพราะ ผีเสื้อทุกชนิดจะมีทั้งตาเดี่ยวและตารวม ข้อ 4 ผิด เพราะ ตารวมจะมีประสิทธิภาพในการมองเห็นสูงกว่าเพราะตาเดี่ยวทาได้เพียงแค่รับ แสงไม่มีความสามารถในการมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเหมือนตารวม 4.เฉลยข้อ 4 เพราะpheromoneเป็นกลิ่นสัญญาณที่ผีเสื้อตัวผู้ปล่อยไปหาผีเสื้อตัวเมียเพื่อเกี้ยว ให้ตัวเมียรู้ว่าเป็นผีเสื้อชนิดเดียวกัน หลังจากนั้นผีเสื้อตัวเมียจะลงเกาะและผสมพันธุ์กัน 5.เฉลยข้อ 3บริเวณท้อง (Abdomen) ของผีเสื้อเป็นที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังเป็น ที่ตั้งของอวัยวะสาหรับย่อยและขับถ่ายอีกด้วย 6.เฉลยข้อ2 เพราะเอ็มบริโอเจริญเติบโตในตัวแม่โดยได้อาหารที่สะสมไว้ในไข่ เช่น ฉลาม กระเบน เรียกสัตว์พวกนี้ว่า Ovoviviparous animalsเอ็มบริโอเจริญเติบโตในตัวแม่โดยได้ อาหารจากแม่ทางรก เช่น แมว สุนัข วัว ควาย รวมทั้งคน เรียกสัตว์พวกนี้ว่า viviparous animals 7.เฉลยข้อ1 เพราะไข่แดงเป็นสิ่งที่ติดออกมาด้วยเมื่ออกจากไข่ 8.เฉลยข้อ2 เพราะovoviviparous พบได้ในปลาฉลามหลายชนิดที่มีขนาดใหญ่ และ ปลาเข็ม ปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลาสร้อย 9.เฉลยข้อ 3 เพราะ รกในฉลามเจริญไม่ดีจึงให้มีการเจริญของตัวอ่อน ครึ่งหนึ่งในรกและอีก ครึ่งหนึ่งนอกร่างกายตัวเมียพร้อมไข่แดง 10.เฉลยข้อ1 เพราะ ลักษณะของ ovoviviparousคือไม่มีเปลือกหุ้ม และมีไข่แดงปานกลาง (mesolecithal egg) 11.เฉลยข้อ2 เพราะโคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่าใช้ในการฟาดเพื่อป้องกัน ตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้า 12.เฉลยข้อ1 เพราะจระเข้ออกลูกเป็นไข่จากนั้นใช้เวลาประมาณ 65-80 ไข่จะฟักเป็นตัว 13.เฉลยข้อ1 เพราะข้อเสียของการฟักไข่แบบธรรมชาติ คือ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและ ความชื้นได้ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติโอกาสไข่เน่าเสียมีมาก 14.เฉลยข้อ4 เพราะฤดูกาลเป็นสัดของจระเข้คือช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี รวมระยะเวลาประมาณ 5 เดือน 15.เฉลยข้อ2 เพราะรังไข่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของจระเข้เพศเมีย 16.เฉลยข้อ3 เพราะส่วนอกของผีเสื้อแบ่งออกเป็น3 ส่วนคืออกปล้องหน้า อกปล้องกลางและอก ปล้องหลัง 17.เฉลยข้อ2 เพราะcaterpillarคือระยะตัวหนอนมีอีกชื่อหนึ่งคือlarva 18.เฉลยข้อ3 เพราะปลาที่คลอดแบบโอวิพารัส สามารถหลบหลีกศัตรูด้วยการเคลื่อนไหวได้ และ สามารถกินอาหารได้หลากหลาย แต่การกาเนิดทายาทมีปริมาณน้อย 19.เฉลยข้อ3 เพราะข้อดีของการฟักแบบใช้ตู้ฟัก คือควบคุมสภาวะแวดล้อมได้แน่นอนลดความ สูญเสียลงมากสามารถตรวจดูและแยกไข่เสียออกได้ตลอดเวลาและสามารถกาหนดเพศลูกจระเข้ 20.เฉลยข้อ1 เพราะก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมู ของจระเข้กเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา 21 22
  • 14. บรรณานุกรม นันทิดา ลาโสภา. จระเข้น้าจืด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/fr eshwatercrocodile1998/. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มกราคม 2562) ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก. (2544). การเพาะเลี้ยงจระเข้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.fisheries.go.th/management/crocodile.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มกราคม 2562) Wijak Larpyai. (2558). การขยายพันธุ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://sites. google.c om/site/wijaklarpyai47782/page-1/page-1-2. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มกราคม 2562) สุทัศน์ ยกส้าน. ธรรมชาติของผีเสื้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://web.ku.ac.th/scho olnet/snet4/july8/butrfy.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 มกราคม 2562) ภาคผนวก 23 24
  • 15. ภาคผนวก ครูผู้สอน : นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่ง ครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คณะนักเรียนผู้จัดทา 25