SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
Download to read offline
ต้นไม้กระบี่
ที่มีคุณค่าและความสำคัญ
จากอดีต... ศรีกระบี่
สู่อนาคต... กล้วยไม้
ยางพารา และปาล์มน้ำมัน
อนุวัตร ไทรทอง
๑๔๐ ปี...
การศึกษา ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
กระบี่
130 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 131
กระบี่
ชื่อสามัญ 	 ศรีกระบี่, มะซางทะเล  
ชื่อวิทยาศาสตร์ 	 Madhuca krabiensis (Aubrev.) Chantar 
ชื่อพ้อง 	 Aesandra krabiensis Aubreville  
ชื่อวงศ์ 	 SAPOTACEAE
ชื่ออื่นๆ 	 ไม้ซางเล (กระบี่)
ต้นศรีกระบี่
	 เป็นพืชยืนต้น สูง ๑๐–๒๕ เมตร ชอบขึ้นตามฝั่งโขดหิน
ตามเกาะในทะเล พบครั้งแรกที่กระบี่ จึงมีชื่อวิทยาศาสตร์เป็น
“krabiensis” พบมากที่เกาะห้อง เกาะลันตา และสามารถพบได้
ทั่วไป แถบฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่พังงา กระบี่ จนถึงสตูล มี

	
ชื่อพ้อง คือ Aesandra krabiensis Aubrev. (เต็ม สมิตินันทน์. 

	
ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย, ๒๕๒๓) วงศ์ SAPOTACEAE
(วงศ์พิกุล ละมุดสีดา)
	 เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนด

	
ไม้หวงห้าม พ.ศ. ๒๕๓๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๔ ตอนที่
๒๒๐ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ หน้า ๑๒๑ ลำดับที่ ๔๖)  
ลำต้น	ขรุขระแตกเป็นร่องตามแนวยืน 

	
	 ผิวลำต้นสีน้ำตาลเข้ม เกือบดำ 

	
	 มียางสีขาว
ใบ	 รูปหอกกลับ ปลายใบมน ขอบใบ

	
	 เรียบ ผิวใบมัน แตกเวียนสลับที่

	
	 ปลายกิ่ง  
ดอก	 มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอกซ้อน

	
	 เป็นชั้นๆ สีขาว เกสรสีเหลือง  
ผล 	 กลมรูปหัวใจ หรือ ลูกดิ่ง มีหลอด

	
	 เกสรตัวเมียแห้งติดอยู่ส่วนล่าง

	
	 เหมือนมะซางพันธุ์อื่นๆ เมื่อเป็น

	
	 ผลอ่อนมีขนอ่อนๆ สีเหลือง ผิวของ

	
	 ผลก็เป็นสีเหลือง เมื่อผลแก่ผิวของ

	
	 ผลเรียบสีเขียว ขนาดเส้นผ่า

	
	 ศูนย์กลาง ๒๕ มิลลิเมตร–๓๕ 

	
	 มิลลิเมตร  
แหล่งที่พบ	หมู่เกาะห้อง หมู่เกาะลันตา

	
	 และชายฝั่งทะเลจังหวัดกระบี่ 
ประโยชน์	 ลำต้นทำไม้สัก (ไว้แทงดินปลูก

	
	 ข้าวไร่ ซึ่งทนทานและแข็งกว่า

	
	 ไม้อื่นๆ)  
	 ผล ใช้ยางจากผล สกัดน้ำมันหอม

	
เคลือบธนบัตร ทำให้มีสีสดและเหนียว
แมลงไม่รบกวน       
	 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ประชิด  
วามานนท์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
การศึกษา ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
กระบี่
132 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 133
กระบี่
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  
วังสระปทุม ได้อนุเคราะห์ข้อมูลพร้อมภาพประกอบมาให้ผ่านทางท่านอาจารย์กลิ่น
คงเหมือนเพชร เพื่อยืนยันว่า พืชทั้งสองชนิด คือ มะซางบก Madhuca pierrei
Lam. และศรีกระบี่หรือมะซางทะเล Madhuca krabiensis (Aubrev.) Chantar.
เป็นไม้ประวัติศาสตร์ทางด้านการค้ากับยุโรป โดยทางประเทศไทย สมัยรัชกาลที่
๕ ได้ส่งน้ำมันที่สกัดจากผลและยางให้กับบริษัทที่ผลิตธนบัตร คือ บริษัท โทมัส
เดอ ลารู Thomas De Larue ประเทศอังกฤษ  
	 ดังนั้นต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่ ควรเป็นต้นศรีกระบี่มากกว่าต้นทุ้งฟ้า  
เพราะคุณค่าของไม้ประวัติศาสตร์ และชื่อวิทยาศาสตร์บ่งบอกชัดเจนว่า พบครั้งแรก

	
ที่จังหวัดกระบี่ จึงได้ชื่อว่า Madhuca krabiensis สำหรับมะซางบกนั้น พบ

	
ข้างทางเดินขึ้นเขาที่วัดถ้ำเสือทางเดินซ้ายมือ
ชื่อสามัญ 	 รองเท้านารีเหลืองกระบี่
ชื่อวิทยาศาสตร์	 Paphiopedilum exul (Ridl.) Rolfe
ชื่อวงศ์	 ORCHIDACEAE
ชื่ออื่นๆ	 -

	 มีการกระจายพันธุ์แถบชายฝั่งทะเลตะวันตกทาง
ภาคใต้ของไทย เช่น กระบี่ พังงา และภูเก็ต สูงจากระดับ
น้ำทะเล ๕๐ เมตรขึ้นไป เป็นพืชที่เจริญเติบโตบนดิน หรือ
ตามซอกหิน 
กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่
การศึกษา ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
กระบี่
134 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 135
กระบี่
ลำต้น		 เป็นกอ ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ขนาดพื้นที่ของพุ่ม ๓๐–๓๕ เซนติเมตร  
ใบ	 	 รูปร่างใบแบบขนาน ขอบใบเรียบ ใบหนาไม่อวบน้ำ กว้าง ๓–๓.๕

	
	 	 เซนติเมตร ยาว ๓๐–๓๕ เซนติเมตร สีเขียวเป็นมัน ไม่มีลาย  
ดอก	 	 ก้านดอกยาว ๑๓–๑๕ เซนติเมตร สีเขียว มีกระเป๋าสีเหลืองอมน้ำตาล 

	
	 	 โล่สีเหลืองรูปร่างคล้ายไข่กลับ กลีบดอกสีเหลือง งุ้มโค้งงอมาด้านหน้า

	
	 	 กลีบนอกบนมีสีขาวกว้างประมาณ ๒.๕–๓ เซนติเมตร ตรงกลางกลีบมี

	
	 	 สีเหลืองปนเขียว มีจุดสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ กลีบนอกด้านล่างมีขนาด

	
	 	 ใกล้เคียงกัน สีเขียว กลีบข้างโคนกลีบมีแต้มและมีขนอ่อนๆ ปกคลุม  
ฤดูออกดอก	 เดือน มีนาคม–มิถุนายน  
ลักษณะนิสัย	 ชอบความชื้นสูง แสงมาก  
ความสำคัญ	 เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่ เป็นกล้วยไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ 

	
	 	 	 สามารถปลูกได้ทั่วประเทศไทย
ชื่อสามัญ	 เอื้องกุหลาบกระบี่, 
	 	 เอื้องศรีกระบี่, 
	 	 เอื้องกุหลาบพวงชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์	 Aerides krabiensis 
ชื่อวงศ์	 VANDOIDEAE
ชื่ออื่นๆ	 กุหลาบกระบี่
กล้วยไม้เอื้องกุหลาบกระบี่
	 เป็นกล้วยไม้ในวงศ์ VANDOIDEAE ขึ้น
กระจายอยู่ทางใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย
(แหลมมาลายู) ดอกมีกลิ่นหอม
การศึกษา ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
กระบี่
136 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 137
กระบี่
ลำต้น		 ค่อนข้างผอม ยาว ๑๐–๒๐ เซนติเมตร
ใบ	 	 ขนาดกว้าง ๑ เซนติเมตร ยาว ๑๐–๑๒ เซนติเมตร ค่อนข้างหนา 

	
	 	 พับเป็นรางตามยาว เรียงซ้อนถี่  
ดอก	 	 ขนาด ๒–๓ เซนติเมตร มีจำนวน ๑๐–๑๕ ดอก เรียงตัวเป็นระเบียบ

	
	 	 ทยอยบานจากโคนช่อไปสู่ปลายช่อเกือบพร้อมกัน บานอยู่นานประมาณ

	
	 	 ๓–๔ อาทิตย์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตอนใกล้ค่ำ  
ฤดูออกดอก	 ช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม   
ลักษณะนิสัย	 ชอบแสงแดดไม่จัดมาก ความชื้นสูง ขึ้นบนต้นไม้ใหญ่มีลมพัดผ่าน
ความสำคัญ	 เป็นสินค้าตลาดในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ ของกว่า 

	
	 	 	 ๔๐ บริษัทที่ส่งออกดอกกล้วยไม้  
ชื่อสามัญ  	เขากวางอ่อน  
ชื่อวิทยาศาสตร์	 Phalaenopsis
cornucervi (Breda) Blume & Rchb.f.
ชื่อวงศ์	 ORCHIDACEAE
ชื่ออื่นๆ	 ม้าลาย เอื้องม้าลายเสือ  
เอื้องเขากวาง เอื้องจะเข็บ
กล้วยไม้เขากวางอ่อน
การศึกษา ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
กระบี่
138 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 139
กระบี่
	 เขากวางอ่อน เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญทางยอด “cornucervi” หมายถึง
แกนช่อที่ดูคล้ายเขากวาง พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ มักอาศัยบนต้นไม้ ที่โล่งแจ้ง
แดดจัดจนถึงแดดรำไร ในระดับความสูงจากน้ำทะเล ๓๐–๖๐๐ เมตร 
ลำต้น		 สั้น ใบเรียบสลับระนาบเดียว มีกาบที่โคนใบ 
ใบ		 รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๘ เซนติเมตร    
ดอก	 	 เป็นช่อแบบกระจะ หรือ แบบแขนง มีหลายช่อ ดอกขนาด ๒–๒.๕ 

	
	 	 เซนติเมตร ทยอยบานคราวละ ๑–๒ ดอก กลีบเลี้ยงบนรูปขอบขนาน

	
	 	 แกมรูปไข่ ปลายแหลม กลีบดอกคู่ข้างรูปรี กลีบดอกทั้งห้ากลีบสีเหลือง

	
	 	 มีจุดแดงประเกือบทั่วกลีบ  
ฤดูออกดอก	 ตั้งแต่ ตุลาคมถึงมีนาคม ช่วงออกดอก ไม่ทิ้งใบ  
ชื่อสามัญ	 ยางพารา
ชื่อวิทยาศาสตร์	 EHeveabrasiliensis (A.Juss.) Muell. Arg.
ชื่อวงศ์	 EUPHOBIACEAE
ยางพารา
	 	 เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกระบี่
ลำต้น		 เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลาง มีความสูง 15-20 เมตร ทรงพุ่มกว้าง

	
	 	 มีกิ่งในระดับสูง ผิวของลำต้นเรียบสีน้ำตาลอมขาว มีน้ำยางสีขาวขุ่นข้น

	
	 	 เมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ใสและยางยืดหยุ่นได้ดี
ใบ		 เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือมีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยมีผิวใบเป็นมันสีเขียว 

	
	 	 หลังใบสีเขียวนวล ตัวใบเป็นรูปรีถึงขอบขนาน ปลายใบแหลมโคนใบเว้ามน

	
	 	 เส้นใบแตกเป็นร่างแหโค้งไปยังขอบใบ 
ดอก		 เป็นแบบดอกช่อชนิดแตกแขนง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมี

	
	 	 ขนาดเล็ก สีของกลีบดอกเหลืองอ่อนอมขาว มีกลิ่นหอม ภายในมีเกสร

	
	 	 ตัวผู้ยื่นยาวมากกว่ากลีบดอก อับละอองเรณูสีเหลือง
ผล 	 	 เป็นผลเดี่ยว เป็นรูปเกือบทรงกลมผิวเกลี้ยงมีพูสามพู ภายในพูแต่ละพูมี

	
	 	 เมล็ดหนึ่งเมล็ด สีของเมล็ดสีน้ำตาลเป็นมันมีลวดลายสีขาวบนผิว ผลแก่

	
	 	 สีน้ำตาลและแตกตามพู เมื่อแตกแรงบิดจะเหวี่ยงให้เมล็ดกระเด็นไปได้

	
	 	 ไกลจากต้นและมีเสียงผลแตกได้ยินชัดเจน
ประโยชน์	
	 ยางใช้เป็นวัสดุในอุตสาหกรรมหลายชนิด เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ 

	
	 	 	 และเชื้อเพลิง
การศึกษา ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
กระบี่
140 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 141
กระบี่
	 	 เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกระบี่
ต้น	 	 ขนาดใหญ่ไม่แตกกิ่งก้าน ความสูง 15-20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง

	
	 	 ด้วยใบ ผิวลำต้นสีเทาดำ ผิวขรุขระด้วยแผลที่เกิดจากกาบใบที่หลุดร่วงไป

	
	 	 มีเศษของก้านใบที่หลุดร่วงไปไม่หมด 
ใบ	 	 เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวขนาดใหญ่ แตกออกเวียนรอบต้น 
ดอก	 	 เป็นดอกช่อ แยกเพศในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้เป็นแบบแตกแขนง

	
	 	 ดอกย่อยไม่มีก้านติดอยู่บนก้านช่อดอกสีเหลืองอมเทาบานพร้อมกัน

	
	 	 ทั้งช่อ ดอกมีกลิ่นหอม ส่วนช่อดอกตัวเมียเป็นแบบแขนง ดอกย่อยมี

	
	 	 ขนาดใหญ่อัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม
ผล	 	 เป็นผลเดี่ยว ผลเกาะกันแน่นบนช่อดอกมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วไม่มีก้านผล

	
	 	 ผลอ่อนสีเขียวอมม่วงผิวมันแข็ง ผลสุกผิวสีเหลืองเนื้ออ่อน เต็มไปด้วย

	
	 	 เส้นใยที่ยึดติดกับเปลือกหุ้มเมล็ด ภายในผลมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว
แหล่งที่พบ	 	 ในพื้นที่ราบจนถึงเนินเขา
ประโยชน์	
	 	 ผลใช้ผลิตน้ำมัน เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลายชนิด เป็น

	
	 	 	 	 พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวกระบี่
ชื่อสามัญ	 ปาล์มน้ำมัน
ชื่อวิทยาศาสตร์	 ELaeis guinensis Jacq.
ชื่อวงศ์	 PLAMAE
ปาล์มน้ำมัน
เอกสารอ้างอิง
ก่องกานดา ชยามฤต. ๒๕๔๑. คู่มือจำแนกพรรณไม้. กรมป่าไม้.
สลิล สิทธิสัจจธรรม. ๒๕๔๙. กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์บ้านและสวน.  
อุไร จิรมงคลการ. ๒๕๔๙. กล้วยไม้รองเท้านารี ฉบับปรับปรุงข้อมูลใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๔.

	
	 กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์บ้านและสวน.
http://www.dnp.go.th/EPAC/Ground/ground17.htm
http://orchids.wikia.com/wiki/Aerides_krabiensis

More Related Content

Similar to Part6 140 final[2]

หญ้าถอดปล้อง
หญ้าถอดปล้องหญ้าถอดปล้อง
หญ้าถอดปล้องphairoa
 
ผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลKrujhim
 
โครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ด
โครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ดโครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ด
โครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ดMint Jiratchaya
 
20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd20080801 Carena Pmd
20080801 Carena PmdAkradech M.
 
พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)
พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)
พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)Soda Soda
 
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20marknoppajron
 

Similar to Part6 140 final[2] (20)

หญ้าถอดปล้อง
หญ้าถอดปล้องหญ้าถอดปล้อง
หญ้าถอดปล้อง
 
ไม้ใบ
ไม้ใบไม้ใบ
ไม้ใบ
 
Plant ser 125_60_4
Plant ser 125_60_4Plant ser 125_60_4
Plant ser 125_60_4
 
ผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเล
 
Plant ser 144_60_1
Plant ser 144_60_1Plant ser 144_60_1
Plant ser 144_60_1
 
Plant ser 143_60_10
Plant ser 143_60_10Plant ser 143_60_10
Plant ser 143_60_10
 
Raitai
RaitaiRaitai
Raitai
 
Plant ser 144_60_7
Plant ser 144_60_7Plant ser 144_60_7
Plant ser 144_60_7
 
Chaingmai zoo
Chaingmai zooChaingmai zoo
Chaingmai zoo
 
Plant ser 126_60_7
Plant ser 126_60_7Plant ser 126_60_7
Plant ser 126_60_7
 
โครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ด
โครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ดโครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ด
โครงงานดอกไม ประจำจ งหว_ด
 
Plant ser 125_60_6
Plant ser 125_60_6Plant ser 125_60_6
Plant ser 125_60_6
 
20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd
 
ชงโค
ชงโคชงโค
ชงโค
 
พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)
พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)
พาวเวอร์พ้อย ดอกไม้นานาพันธุ์ (1)
 
Kreakjaksan
Kreakjaksan Kreakjaksan
Kreakjaksan
 
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
 
Sweet
SweetSweet
Sweet
 
Ita
ItaIta
Ita
 
Ita
ItaIta
Ita
 

More from krabi Primary Educational Service Area Office (14)

Part4 140 final[1]
Part4 140 final[1]Part4 140 final[1]
Part4 140 final[1]
 
Part2 140 final[2]
Part2 140 final[2]Part2 140 final[2]
Part2 140 final[2]
 
Part1 140final[1]
Part1 140final[1]Part1 140final[1]
Part1 140final[1]
 
Cove r[1] 140Yrs Krabi
Cove r[1] 140Yrs KrabiCove r[1] 140Yrs Krabi
Cove r[1] 140Yrs Krabi
 
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
 
CoralLec01
CoralLec01CoralLec01
CoralLec01
 
Coral lec02
Coral lec02Coral lec02
Coral lec02
 
Moon@night
Moon@nightMoon@night
Moon@night
 
หินบ่อม่วง
หินบ่อม่วงหินบ่อม่วง
หินบ่อม่วง
 
ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2
 
ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1
 
ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3
 
ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2
 
ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1
 

Part6 140 final[2]

  • 2. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ 130 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 131 กระบี่ ชื่อสามัญ ศรีกระบี่, มะซางทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Madhuca krabiensis (Aubrev.) Chantar ชื่อพ้อง Aesandra krabiensis Aubreville ชื่อวงศ์ SAPOTACEAE ชื่ออื่นๆ ไม้ซางเล (กระบี่) ต้นศรีกระบี่ เป็นพืชยืนต้น สูง ๑๐–๒๕ เมตร ชอบขึ้นตามฝั่งโขดหิน ตามเกาะในทะเล พบครั้งแรกที่กระบี่ จึงมีชื่อวิทยาศาสตร์เป็น “krabiensis” พบมากที่เกาะห้อง เกาะลันตา และสามารถพบได้ ทั่วไป แถบฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่พังงา กระบี่ จนถึงสตูล มี ชื่อพ้อง คือ Aesandra krabiensis Aubrev. (เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย, ๒๕๒๓) วงศ์ SAPOTACEAE (วงศ์พิกุล ละมุดสีดา) เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนด ไม้หวงห้าม พ.ศ. ๒๕๓๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๔ ตอนที่ ๒๒๐ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ หน้า ๑๒๑ ลำดับที่ ๔๖) ลำต้น ขรุขระแตกเป็นร่องตามแนวยืน ผิวลำต้นสีน้ำตาลเข้ม เกือบดำ มียางสีขาว ใบ รูปหอกกลับ ปลายใบมน ขอบใบ เรียบ ผิวใบมัน แตกเวียนสลับที่ ปลายกิ่ง ดอก มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอกซ้อน เป็นชั้นๆ สีขาว เกสรสีเหลือง ผล กลมรูปหัวใจ หรือ ลูกดิ่ง มีหลอด เกสรตัวเมียแห้งติดอยู่ส่วนล่าง เหมือนมะซางพันธุ์อื่นๆ เมื่อเป็น ผลอ่อนมีขนอ่อนๆ สีเหลือง ผิวของ ผลก็เป็นสีเหลือง เมื่อผลแก่ผิวของ ผลเรียบสีเขียว ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง ๒๕ มิลลิเมตร–๓๕ มิลลิเมตร แหล่งที่พบ หมู่เกาะห้อง หมู่เกาะลันตา และชายฝั่งทะเลจังหวัดกระบี่ ประโยชน์ ลำต้นทำไม้สัก (ไว้แทงดินปลูก ข้าวไร่ ซึ่งทนทานและแข็งกว่า ไม้อื่นๆ) ผล ใช้ยางจากผล สกัดน้ำมันหอม เคลือบธนบัตร ทำให้มีสีสดและเหนียว แมลงไม่รบกวน ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ประชิด วามานนท์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
  • 3. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ 132 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 133 กระบี่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วังสระปทุม ได้อนุเคราะห์ข้อมูลพร้อมภาพประกอบมาให้ผ่านทางท่านอาจารย์กลิ่น คงเหมือนเพชร เพื่อยืนยันว่า พืชทั้งสองชนิด คือ มะซางบก Madhuca pierrei Lam. และศรีกระบี่หรือมะซางทะเล Madhuca krabiensis (Aubrev.) Chantar. เป็นไม้ประวัติศาสตร์ทางด้านการค้ากับยุโรป โดยทางประเทศไทย สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ส่งน้ำมันที่สกัดจากผลและยางให้กับบริษัทที่ผลิตธนบัตร คือ บริษัท โทมัส เดอ ลารู Thomas De Larue ประเทศอังกฤษ ดังนั้นต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่ ควรเป็นต้นศรีกระบี่มากกว่าต้นทุ้งฟ้า เพราะคุณค่าของไม้ประวัติศาสตร์ และชื่อวิทยาศาสตร์บ่งบอกชัดเจนว่า พบครั้งแรก ที่จังหวัดกระบี่ จึงได้ชื่อว่า Madhuca krabiensis สำหรับมะซางบกนั้น พบ ข้างทางเดินขึ้นเขาที่วัดถ้ำเสือทางเดินซ้ายมือ ชื่อสามัญ รองเท้านารีเหลืองกระบี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum exul (Ridl.) Rolfe ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE ชื่ออื่นๆ - มีการกระจายพันธุ์แถบชายฝั่งทะเลตะวันตกทาง ภาคใต้ของไทย เช่น กระบี่ พังงา และภูเก็ต สูงจากระดับ น้ำทะเล ๕๐ เมตรขึ้นไป เป็นพืชที่เจริญเติบโตบนดิน หรือ ตามซอกหิน กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่
  • 4. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ 134 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 135 กระบี่ ลำต้น เป็นกอ ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ขนาดพื้นที่ของพุ่ม ๓๐–๓๕ เซนติเมตร ใบ รูปร่างใบแบบขนาน ขอบใบเรียบ ใบหนาไม่อวบน้ำ กว้าง ๓–๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๓๐–๓๕ เซนติเมตร สีเขียวเป็นมัน ไม่มีลาย ดอก ก้านดอกยาว ๑๓–๑๕ เซนติเมตร สีเขียว มีกระเป๋าสีเหลืองอมน้ำตาล โล่สีเหลืองรูปร่างคล้ายไข่กลับ กลีบดอกสีเหลือง งุ้มโค้งงอมาด้านหน้า กลีบนอกบนมีสีขาวกว้างประมาณ ๒.๕–๓ เซนติเมตร ตรงกลางกลีบมี สีเหลืองปนเขียว มีจุดสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ กลีบนอกด้านล่างมีขนาด ใกล้เคียงกัน สีเขียว กลีบข้างโคนกลีบมีแต้มและมีขนอ่อนๆ ปกคลุม ฤดูออกดอก เดือน มีนาคม–มิถุนายน ลักษณะนิสัย ชอบความชื้นสูง แสงมาก ความสำคัญ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่ เป็นกล้วยไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ทั่วประเทศไทย ชื่อสามัญ เอื้องกุหลาบกระบี่, เอื้องศรีกระบี่, เอื้องกุหลาบพวงชมพู ชื่อวิทยาศาสตร์ Aerides krabiensis ชื่อวงศ์ VANDOIDEAE ชื่ออื่นๆ กุหลาบกระบี่ กล้วยไม้เอื้องกุหลาบกระบี่ เป็นกล้วยไม้ในวงศ์ VANDOIDEAE ขึ้น กระจายอยู่ทางใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย (แหลมมาลายู) ดอกมีกลิ่นหอม
  • 5. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ 136 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 137 กระบี่ ลำต้น ค่อนข้างผอม ยาว ๑๐–๒๐ เซนติเมตร ใบ ขนาดกว้าง ๑ เซนติเมตร ยาว ๑๐–๑๒ เซนติเมตร ค่อนข้างหนา พับเป็นรางตามยาว เรียงซ้อนถี่ ดอก ขนาด ๒–๓ เซนติเมตร มีจำนวน ๑๐–๑๕ ดอก เรียงตัวเป็นระเบียบ ทยอยบานจากโคนช่อไปสู่ปลายช่อเกือบพร้อมกัน บานอยู่นานประมาณ ๓–๔ อาทิตย์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตอนใกล้ค่ำ ฤดูออกดอก ช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม ลักษณะนิสัย ชอบแสงแดดไม่จัดมาก ความชื้นสูง ขึ้นบนต้นไม้ใหญ่มีลมพัดผ่าน ความสำคัญ เป็นสินค้าตลาดในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ ของกว่า ๔๐ บริษัทที่ส่งออกดอกกล้วยไม้ ชื่อสามัญ เขากวางอ่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Phalaenopsis cornucervi (Breda) Blume & Rchb.f. ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE ชื่ออื่นๆ ม้าลาย เอื้องม้าลายเสือ เอื้องเขากวาง เอื้องจะเข็บ กล้วยไม้เขากวางอ่อน
  • 6. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ 138 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 139 กระบี่ เขากวางอ่อน เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญทางยอด “cornucervi” หมายถึง แกนช่อที่ดูคล้ายเขากวาง พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ มักอาศัยบนต้นไม้ ที่โล่งแจ้ง แดดจัดจนถึงแดดรำไร ในระดับความสูงจากน้ำทะเล ๓๐–๖๐๐ เมตร ลำต้น สั้น ใบเรียบสลับระนาบเดียว มีกาบที่โคนใบ ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๘ เซนติเมตร ดอก เป็นช่อแบบกระจะ หรือ แบบแขนง มีหลายช่อ ดอกขนาด ๒–๒.๕ เซนติเมตร ทยอยบานคราวละ ๑–๒ ดอก กลีบเลี้ยงบนรูปขอบขนาน แกมรูปไข่ ปลายแหลม กลีบดอกคู่ข้างรูปรี กลีบดอกทั้งห้ากลีบสีเหลือง มีจุดแดงประเกือบทั่วกลีบ ฤดูออกดอก ตั้งแต่ ตุลาคมถึงมีนาคม ช่วงออกดอก ไม่ทิ้งใบ ชื่อสามัญ ยางพารา ชื่อวิทยาศาสตร์ EHeveabrasiliensis (A.Juss.) Muell. Arg. ชื่อวงศ์ EUPHOBIACEAE ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกระบี่ ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลาง มีความสูง 15-20 เมตร ทรงพุ่มกว้าง มีกิ่งในระดับสูง ผิวของลำต้นเรียบสีน้ำตาลอมขาว มีน้ำยางสีขาวขุ่นข้น เมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ใสและยางยืดหยุ่นได้ดี ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือมีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยมีผิวใบเป็นมันสีเขียว หลังใบสีเขียวนวล ตัวใบเป็นรูปรีถึงขอบขนาน ปลายใบแหลมโคนใบเว้ามน เส้นใบแตกเป็นร่างแหโค้งไปยังขอบใบ ดอก เป็นแบบดอกช่อชนิดแตกแขนง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมี ขนาดเล็ก สีของกลีบดอกเหลืองอ่อนอมขาว มีกลิ่นหอม ภายในมีเกสร ตัวผู้ยื่นยาวมากกว่ากลีบดอก อับละอองเรณูสีเหลือง ผล เป็นผลเดี่ยว เป็นรูปเกือบทรงกลมผิวเกลี้ยงมีพูสามพู ภายในพูแต่ละพูมี เมล็ดหนึ่งเมล็ด สีของเมล็ดสีน้ำตาลเป็นมันมีลวดลายสีขาวบนผิว ผลแก่ สีน้ำตาลและแตกตามพู เมื่อแตกแรงบิดจะเหวี่ยงให้เมล็ดกระเด็นไปได้ ไกลจากต้นและมีเสียงผลแตกได้ยินชัดเจน ประโยชน์ ยางใช้เป็นวัสดุในอุตสาหกรรมหลายชนิด เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ และเชื้อเพลิง
  • 7. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ 140 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 141 กระบี่ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกระบี่ ต้น ขนาดใหญ่ไม่แตกกิ่งก้าน ความสูง 15-20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ด้วยใบ ผิวลำต้นสีเทาดำ ผิวขรุขระด้วยแผลที่เกิดจากกาบใบที่หลุดร่วงไป มีเศษของก้านใบที่หลุดร่วงไปไม่หมด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวขนาดใหญ่ แตกออกเวียนรอบต้น ดอก เป็นดอกช่อ แยกเพศในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้เป็นแบบแตกแขนง ดอกย่อยไม่มีก้านติดอยู่บนก้านช่อดอกสีเหลืองอมเทาบานพร้อมกัน ทั้งช่อ ดอกมีกลิ่นหอม ส่วนช่อดอกตัวเมียเป็นแบบแขนง ดอกย่อยมี ขนาดใหญ่อัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม ผล เป็นผลเดี่ยว ผลเกาะกันแน่นบนช่อดอกมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วไม่มีก้านผล ผลอ่อนสีเขียวอมม่วงผิวมันแข็ง ผลสุกผิวสีเหลืองเนื้ออ่อน เต็มไปด้วย เส้นใยที่ยึดติดกับเปลือกหุ้มเมล็ด ภายในผลมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว แหล่งที่พบ ในพื้นที่ราบจนถึงเนินเขา ประโยชน์ ผลใช้ผลิตน้ำมัน เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลายชนิด เป็น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวกระบี่ ชื่อสามัญ ปาล์มน้ำมัน ชื่อวิทยาศาสตร์ ELaeis guinensis Jacq. ชื่อวงศ์ PLAMAE ปาล์มน้ำมัน เอกสารอ้างอิง ก่องกานดา ชยามฤต. ๒๕๔๑. คู่มือจำแนกพรรณไม้. กรมป่าไม้. สลิล สิทธิสัจจธรรม. ๒๕๔๙. กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. อุไร จิรมงคลการ. ๒๕๔๙. กล้วยไม้รองเท้านารี ฉบับปรับปรุงข้อมูลใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. http://www.dnp.go.th/EPAC/Ground/ground17.htm http://orchids.wikia.com/wiki/Aerides_krabiensis