SlideShare a Scribd company logo
1 of 32
ทฤษฎีหลักการสร้างภาพ
บทที่ 3
จากข้อสังเกตในระยะแรกของการพัฒนาซีที ซึ่งคาดหมายกันว่า การศึกษา
การจำแนกหรือการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลงภายในของผู้ป่วยใน
ระนาบใดระนาบหนึ่ง สามารถทำได้ถ้านำความเข้มของเอกซเรย์ที่วัดได้ใน
ทิศทางต่างๆ ที่มันวิ่งทะลุผ่านระนาบของผู้ป่วยนั่นออกมาไปวิเคราะห์อย่าง
เหมาะสมตามที่กล่าวไปแล้วในบทที่ 1 ทำให้คอร์แม็กและเฮานสฟิลด์ต่างก็
ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้น่าสนใจอยู่ตรงที่คอมพิวเตอร์สามารถนำความ
เข้มของเอกซเรย์ไปคำนวณสร้างภาพได้อย่างไร ดังนั้น ในบทนี้จะได้กล่าวถึง
รายละเอียดของทฤษฎีการสร้างภาพ (image reconstruction theory) ของ
ซีที โดยจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอความซับซ้อนในเชิงคณิตศาสตร์ แต่จะเน้น
ให้เข้าถึงแนวคิดของทฤษฎีเป็นหลัก
3.1 พจน์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
การทำความเข้าใจทฤษฎีการสร้างภาพของซีที ในเบื้องต้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของพจน์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สัมประสิทธิ์การ
ลดลง เรย์ซัม(ray-sum) โพรไฟล์เป็นต้น
3.1.1 สัมประสิทธิ์การลดลง
รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง และเป็นรังีที่สามารถทำให้อะตอมของตัวกลางแตกตัว ขณะที่มันเคลื่อนที่ผ่านไปในตัวกลาง
นั้น เมื่อยิงรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานอยู่ในช่วงการวินิจฉัยโรคเข้าไปในตัวกลางใดๆ เช่น ร่างกายมนุษย์ เป็นต้น จะเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญ ได้แก่
ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก (photoelectric effect) และปรากฏการณ์คอมพ์ตัน (Compton effect) (รายละเอียดของปรากฏการณ์ทั้ง
สองไม่ขอกล่าวในที่นี้) ทำให้มีการสูญเสียพลังงานไปบางส่วน เมื่อรังสีเอกซ์ทะลุผ่านตัวกลางออกมาแล้วจึงมีความเข้มลดลง
สมมติยิงรังสีเอกซ์ซึ่งมีพลังงานค่าเดียวและมีความเข้ม I0 เข้าไปยังตัวกลางที่มีเนื้อเดียวตลอดและมีความหนาเท่ากับ X เมื่อรัง
สีเอกซ์ทะลุผ่านตัวกลางออกมาแล้วความเข้มลดลงเป็น I ดังรูปที่ 3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างI0,I และ X จะเป็นไปตามกฎของแล
มเบิร์ด-เบียร์(Lambert-beerlaw) ดังสมการ (3.1)
รูปที่ 3.1 ยิงรังสีเอกซ์ความเข้ม I0 ทะลุผ่านตัวกลาง X ออกมาแล้วมีความเข้มลดลงเป็น I
เมื่อ µ คือ สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้น(Linear attenuation coeffician) ของรังสีเอกซ์ e คือ ค่าคงตัวยูเลอร์(Euler’s
contant) มีค่าเท่ากับ 2.718 สำหรับเทอม e-µX แสดงถึงการลดลงของความเข้มของรังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านตัวกลางออกมา ซึ่ง
จะเห็นว่าค่าความเข้มของรังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านออกมาขึ้นกับ µ และ X
(3.1)
(3.1)
ตารางที่ 3.1 แสดงค่าสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายมนุษย์ที่พลังงานเอกซเรย์เท่ากับ
60keV,84 keV และ 122 keVตามลำดับ
พิจารณา µ จะสามารถสรุปได้ว่า เมื่อ
µ มีค่าสูงตัวกลางนั้นจะสามรถดูดกลืนรัง
สีเอกซ์ไว้ได้มากรังสีเอกซ์จึงทะลุผ่านออก
มาได้น้อยและในทางกลับกันเมื่อ µ มีค่า
น้อยตัวกลางนั้นจะสามารถดูดกลืนรังสี
เอกซ์ไว้ได้น้อยรังสีเอกซ์จึงทะลุผ่านออก
มาได้มาก นอกจากนี้พบว่า µ ขึ้นกับชนิด
ของตัวกลางและพลังงานของรังสีเอกซ์
กล่าวคือ ถ้าพลังงานของรังสีเอกซ์คงตัว
µ จะมีค่ามากขึ้นถ้าตัวกลางมีความหนา
แน่นสูงขึ้นหรือเลขอะตอมสูงขึ้น และ
สำหรับตัวกลางชนิดหนึ่ง µ จะมีค่าลดลง
ถ้าพลังงานของรังสีเอกซ์เพิ่มขึ้น(2-4) ดู
ตารางที่ 3.1 ประกอบ
ตามปกติร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยสารหลายชนิด จึงไม่เป็นตัวกลางที่มีเนื้อเดียว
ตลอด ดังนั้นเมื่อยิงรังสีเอกซ์ที่มีความเข้ม I0 ไปยังร่างกายมนุษย์รังสีเอกซ์จะเคลื่อนที่
ผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์และค่อยๆสูญเสียพลังงาน จนเมื่อทะลุผ่านออกมาแล้วมี
ความเข้มลดลงกลายเป็น I การที่ร่างกายมนุษย์ไม่เป็นตัวกลางที่มีเนื้อเดียวตลอด ทำให้
ต้องปรับปรุงกฎของแลมเบิร์ต-เบียร์ โดยพิจารณาแบ่งซอยร่างกายมนุษย์ออกเป็นแท่งที่
มีขนาดเล็กมาก dx ตามเส้นทางที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์ และ
กำหนดโดยอนุโลมให้แต่ละแท่งเป็นตัวกลางที่มีเนื้อเดียวและมีค่าสัมประสิทธิ์การลดลง
เป็น µ แต่ละแท่งซึ่งมีจำนวนมากมายนั้น ไม่จำเป็นต้องมีค่า µ เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเส้น
ทางการเคลื่อนที่ของรังสีเอกซ์ผ่านเข้าไปในอวัยวะส่วนใด ดูรูปที่ 3.2 ประกอบเมื่อ
พิจารณาเช่นนี้ กฎของแลมเบิร์ต-เบียร์จะกลายเป็น
รูปที่ 3.2 ยิงรังสีเอกซ์ความเข้ม I0 ทะลุผ่าน
ร่างกายมนุษย์ออกมาแล้วมีความเข้มลดลงเป็น I
(3.2)
เมื่อเทอม ∫ µdx คือ อินทิกรัลเชิงเส้น(line integral) ที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในร่างกายของมนุษย์ สมการ (3.2) เป็น
สมการที่มีความสำคัญมาก เพราะใช้ในการคำนวณการแจกแจง(distribution) ของสัมประสิทธิ์การลดลง µ บนระนาบของสไลซ์
ของร่างกายมนุษย์ที่ยิงรังสีเอกซ์ผ่านเข้าไป เมื่อทราบการแจกแจงของสัมประสิทธิ์การลดลงแล้วจะสามารถสร้างเป็นภาพที่มี
ประโยชน์ในการวินิจฉัยต่อไปได้
3.1.2 เรย์ซัม
เนื่องจากสมการ (3.2) เป็นสมการที่มีความสำคัญต่อการคำนวณสร้างภาพ เพื่อความสะดวกจึงเขียนสมการ (3.2) ใหม่ โดยจะ
เขียนให้อยู่ในรูปของลอกอริทึมธรรมชาติ (natural logaithm) ดังนี้
เมื่อ p คือ เรย์ซัมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรย์โพรเจกชัน (ray-projection) หมายถึงอินทิกรัลเชิงเส้นตามเส้นทางของรังสี
เอกซ์ที่ยิงผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์ตามรูปที่ 3.2 เรย์ซัมสะท้อนให้เห็นถึงการดูดกลืนของตัวกลางตามเส้นทางที่รังสีเอกซ์
เคลื่อนที่ผ่านไป ถ้าเรย์ซัมมีค่ามากแสดงว่ามีการดูดกลืนรังสีเอกซ์มาก และในทางกลับกัน ถ้าเรย์ซัมมีค่าน้อยแสดงว่ามีการดูด
กลืนรังสีเอกซ์น้อย ค่าเรย์ซัม(3.3) จะเป็นบวกเสมอ เช่น ถ้าอัตราส่วน I/I0 มีค่าเท่ากับ 0.5 ค่าเรย์ซัมจะเท่ากับ 0.693 เป็นต้น
(3.3)
3.1.3 โพรไฟล์
เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ จะพิจารณาการแสวงหาข้อมูลของซีทีรุ่นหนึ่ง ซึ่งมีการเคลื่อนที่แบบเลื่อน
ที่และหมุนผสมกัน หลอดเอกซเรย์จะปล่อยรังสีเอกซ์ลำแคบออกมาแล้วเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ตัดผ่านไปในระนาบ
ที่ต้องการสร้างภาพ
รูปที่ 3.3 การสแกนของซีทีรุ่นที่หนึ่งเพื่อให้เห็นโพรไฟล์ที่ได้จากการเคลื่อนที่
แบบเลื่อนที่ 1 ครั้ง
ตาราง 3.2 ค่าเรย์ซัมและโพรไฟล์ที่เฮานสฟิลด์ใช้สำหรับการสแกน 1 สไลซ์
หัวข้อเอกซเรย์อ่านค่าความเข้มของรังสีเอกซ์แล้ว ถูกเปลี่ยนให้เป็นเรย์ซัม เมื่อนำค่าเรย์ซัมที่ได้มาพิจารณาเทียบกับระยะทางที่
หลอดเอกซเรย์และหัววัดเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ไป จะได้ความสัมพันธ์ทีมีลักษณะตามรูปที่ 3.3 เซท (set) ของเรย์ซัมที่นำ
มาเรียงกันดังนี้เรียกว่า โพรไฟล์หรือโพรเจกชัน เครื่องซีทีที่เฮานสฟิลด์สร้างขึ้นครั้งแรกนั้น จะกำหนดให้ 1 สไลซ์จะใช้จำนวน
โพรไฟล์อย่างน้อย 180 โพรไฟล์ ดูตาราง 3.2 ประกอบ
3.1.4 ขั้นตอนวิธีหรือแอลกอริทึม (Algorithm)
คำว่า แอลกอริทึม ในปัจจุบันเป็นคำที่แพร่หลากหลายมากในทางรังสีวิทยา เนื่องจากมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทั้งใน
กระบวนการการสร้างภาพเพื่อวินิจฉัยโรคและกระบวนการในการรักษาโรคด้วยรังสี แอลกอริทึมหมายถึง ขั้นตอนวิธีดำเนินการ
โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดตามกฎเกณฑ์เป็นชุดที่สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะตัวมาทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ
ตามข้อกำหนด ในซีทีมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้คำตอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
เหล่านั้นจำเป็นต้องประกอบด้วยขั้นตอนวิธีการคำนวณสร้างภาพหรือแอลกอริทึมการคำนวณสร้างภาพ
3.1.5 การแปลงฟูเรียร์ (Fourier Transform)
รูปที่ 3.4 รูปภาพฟูเรียร์ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
การแปลงฟูเรียร์เป็นวิธีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งฟูเรียร์นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.1807 ปัจจุบัน
ได้มีการนำการแปลงฟูเรียร์มาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้ง ในด้านวิทยาศาสตร์และด้านวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับทางด้าน
การแพทย์ ได้มีกระบวนการแพทย์ได้มีการนำการแปลงฟูเรียร์มาใช้ในการคำนวณสร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายผู้ป่วย
ในเครื่องซีทีและเครื่องเอ็มอาร์ไอ เป็นต้น
การแปลงฟูเรียร์คือ ฟังก์ชัน(function) ทางคณิตศาสตร์ที่สามารถแปลงสัญญาณที่อยู่ในเมนเชิงระยะ (spatial
domain) ให้กลายเป็นสัญญาณที่อยู่ในโดเมนเชิงความถี่(frequency domain) ในธรรมชาติมีการแปลงฟูเรยร์เกิดขึ้น
ได้เช่น การรับฟังเสียงของหู เป็นต้น กล่าวคือเมื่อเสียงเคลื่อนที่เข้ามาที่หู หูจะทำหน้าที่แยกเสียงนั้นออกเป็นความถี่
และความเข้มต่างๆทำให้ประสาทหูสามารถรับรู้เสียงจากต้นกำเนิดได้ แสดงว่ามีการแปลงฟูเรียร์เกิดขึ้นในหู
3.1.6 การประมาณค่าในช่วง
การประมาณค่าในช่วงคือ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการประมาณค่าของฟังก์ชันจากค่าที่อยู่ใกล้เคียงกับค่าที่ต้องการทราบ
พิจารณารูปที่ 3.5 ซึ่งเป็นกราฟเส้นตรงที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวคือ x และ y ค่าที่ทราบคือ (x1,y1),(x2,y2),… ซึ่ง
เป็นค่าที่มีการเว้นช่วงไม่ต่อเนื่อง สมมติเมื่อต้องการทราบค่า y ในขณที่แกน x มีค่าเป็น x โดยที่ค่า y อยู่ระหว่างจุดที่ทราบค่าคือ
(x1,y1),(x2,y2) จะสามารถคำนวณค่า y ได้จากสมการ(3.4)
รูปที่ 3.5 เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปร x และ y เพื่อแสดงตัวอย่างหนึ่งของการ
ประมาณค่าในช่วง
(3.4)
ในขั้นตอนวิธีการคำนวณสร้างภาพของซีที มีการใช้การประมาณค่าในช่วงเพื่อหาข้อมูลที่ต้องการมราบค่า ซึ่งจะมีราย
ละเอียดแตกต่างออกไป โดยเฉพาะสำหรับสไปรอลซีทีและมัลติสไลซ์ซีทีนั้นใช้การประมาณค่าในช่วงที่มีความซับซ้อนมาก
ขึ้นตามที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่2
3.2 แบ็กโพรเจกชัน (Back-Projection)
การคำนวณสร้างภาพมีหลายวิธี ขั้นตอนวิธีการคำนวณสร้างภาพอันดับแรกที่จะกล่าวถึงเรียกว่า แบ็กโพรเจกชัน ซึ่งเป็น
วิธีที่ง่ายที่สุด ความยุ่งยากในทางคณิตศาสตร์มีน้อย คูห์ล (Kuhl) และเอดเวิร์ลดส์ (Edwards) นำวิธีนี้ไปใช้ในการสร้างภาพ
ของระนาบในตัวผู้ป่วยได้สำเร็จ
เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ จะได้พิจารณาจากหลักการแสวงหาข้อมูลของซีทีรุ่นที่หนึ่ง ซึ่งการแสวงหาข้อมูล
จะประกอบไปด้วยการเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่และการเคลื่อที่แบบหมุน ตามรูปที่ 3.6 แสดงให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลความเข้ม
ของรังสีเอกซ์ใน 2 ทิศทางหรือเก็บข้อมูลที่เป็นโพรไฟล์ได้ 2 โพรไฟล์ (โพรเจกชัน) คือ โพรไฟล์ 1 และโพรไฟล์ 2 ข้อมูลนี้ได้
จากการยิงรังสีเอกซ์ทะลุผ่านชิ้นวัตถุบางๆ (สไลซ์) และสมมติว่าวงกลมเล็กสีเข้มเป็นบริเวณที่มีค่าสัมประสิทธิ์การลดลง (µ)
สูง ดังนั้นในแต่ละโพรไฟล์ที่ได้ตำแหน่งที่สอดคล้องกับวงกลมเล็กสีเข้มจะมีค่าเรย์ซัมสูงและมีค่าเป็นบวก
รูปที่ 3.6 โพรไฟล์ที่ได้จากการสแกน 2 ทิศทาง
ในการคำนวณสร้างภาพตามวิธีแบ็กโพรเจกชัน สามารถแสดงให้เห็นหลักการได้ตามรูปที่ 3.7 กล่าวคือ ค่าเรย์ซัมจากโพร
ไฟล์ 1 และโพรไฟล์ 2 จะถูกนำมารวมกันบนระนาบของภาพที่เตรียมไว้ บริเวณที่สอดคล้องกับวงกลมเล็กสีเข้มจะได้ค่าผล
รวมของเรย์ซัมสูงมาก (ตามรูปที่ 3.7 คือตำแหน่งA) ในทางตรงกันข้ามบริเวณที่อยู่นอกวงกลมเล็กสีเข้มจะได้ค่าของผลรวม
ของเรย์ซัมต่ำซึ่งเมื่อมองภาพโดยรวมจะเห็นความสอดคล้องกันระหว่างภาพที่สร้าง (รูปที่3.7) กับวัตถุ (รูปที่3.6)
เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถพิจารณาการคำนวณสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชันได้ตามรูปที่ 3.8 โดยสมมติว่า มีวัตถุที่
เป็นชิ้นบางๆประกอบด้วยเซลล์เล็กๆจำนวน 4 เซลล์ภายในแต่ละเซลล์มีค่า -1,5,9,และ0 ตามลำดับ สมมติว่าค่าเหล่านี้
แปรผันโดยตรงกับค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของวัตถุ เมื่อสแกนในทิศทางต่างๆจะไข้อมูลเรย์ซัมเท่ากับ -1,8,5,14,4 และ 9 ตามลำดับ
ซึ่งข้อมูลเรย์ซัมเหล่านี้สามารถวัดได้ แต่ค่าภายในแต่ละเซลล์ไม่สามารถวัดได้ต้องใช้วิธีการคำนวณ
รูปที่ 3.7 การเกิดภาพตามวิธีแบ็กโพรเจกชัน รูปที่ 3.8 ขั้นตอนการำนวณสร้างภาพตามวิธีแบ็กโพร
เจกชัน
ตามรูปที่ 3.8 แบ่งการคำนวณออกเป็น 5 ขั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดให้ระนาบของภาพที่ต้องการสร้างประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ 4 เซลล์เท่ากับวัตถุ กำหนดให้แต่ละเซลล์มีค่าเริ่มต้นเท่ากับ
0 จากนั้นนำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวตั้งรวมเข้าไปในแต่ละเซลล์ให้สอดคล้อง
ขั้นที่ 2 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวทแยงมุมทั้งสองแนวไปรวมกับค่าที่ได้ในแต่ละเซลล์จากขั้นที่1 โดยให้สอดคล้องตามแนวทแยงมุม
ด้วย
ขั้นที่ 3 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวราบทั้งหมด ไปรวมกับค่าที่ได้แต่ละเซลล์จากขั้นที่ 2 โดยให้สอดคล้องตามแนวราบของแต่ละแถว
ขั้นที่ 4 ค่าที่ได้ในแต่ละเซลล์จากขั้นที่ 3 นำมาลบด้วย k โดยที่ k มีค่าเป็นไปตามสมการ(3.5)
เมื่อ ∑ p คือ ผลรวมของค่าเรย์ซัมที่วัดได้ทั้งหมดทุกทิศทาง(ซึ่งกรณีนี้มีค่าเท่ากับ -1+8+5+14+4+9 = 39) n คือจำนวนทิศทางที่มี
การสแกนเก็บข้อมูลเรย์ซัมหรือหมายถึงจำนวนโพรไฟล์ทั้งหมด(ซึ่งกรณีนี้มีค่าเท่ากับ 3 โพรไฟล์) ดังนั้น k จึงมีค่าตามสมการ (3.5)
เท่ากับ 1.3
ขั้นที่ 5 ค่าที่ได้ในแต่ละเซลล์จากขั้นที่ 4 จะถูกหารด้วยตัวเลขที่ทำให้ค่าในแต่ละเซลล์ลดลงอย่างเหมาะสม ซึ่งในที่นี้ตัวเลขที่นำไปหาร
คือ 2
(3.5)
หลังจากการคำนวณในขั้นที่ 5 เสร็จแล้ว จะได้ค่าภายในแต่ละเซลล์สอดคล้องหรือตรงกับวัตถุ หมายความว่าเมื่อแปลงเป็นภาพ
จะได้ภาพที่เหมือนวัตถุนั่นเอง ที่กล่าวมานี้คือขั้นตอนวิธีของการคำนวณสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน อย่างไรก็ตามการคำนวณ
สร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชันมีข้อเสียที่สำคัญคือ อาร์ติแฟ็คต์แบบดาว (star artifact) กล่าวคือ เนื่องจากการคำนวณตามวิธีนี้ได้
นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ย้อนกลับมารวมกันตามเส้นทางที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ผ่านไปในวัตถุ หรือตัวผู้ป่วยดังนั้นตำแหน่งที่อยุ่นอก
บริเวณที่มีค่าความหนาแน่นสูง ก็จะปรากฏให้เห็นบนภาพว่ามีความหนาแน่นสูงไปด้วย เช่นตามรูปที่ 3.7 บริเวณที่มีความหนา
แน่นต่ำ คือตำแหน่งที่อยู่นอกบริเวณจุด A จะปรากฏว่ามีค่าความหนาแน่สูงด้วย เหตุนี้ทำให้ขอบภาพของวัตถุไม่คมชัดมีลักษณะ
คล้ายแฉกดาวกระจายออกไป
3.3 การสร้างภาพแบบอินเทอเรชัน
การคำนวณสร้างภาพแบบที่สองที่จะกล่าวคือ การสร้างภาพแบบอินเทอเรชัน ในอดีตนักคณิตศาสตร์ได้นำเทคนิคอินเทอเรชัน
ไปใช้ในการแก้สมการเมทริกซ์ (matrix equation) ในทางการแพทย์เฮานสฟิลด์ได้นำวิธีนี้ไปคำนวณสร้างภาพตัดขวางชิ้นบางๆ
ของร่างกายผู่ป่วย
เทคนิคของอินเทอเรชันมีหลายแบบ ได้แก่ ไอแอลเอสที (ILST: Iterative Least-Squares Technique) เออาร์ที (ART:
Algebraic Reconstruction Technique) และเอสไออาร์ที (SIRT: Simulteneous Iterative Reconstruction Technique)
เฮานสฟิลด์เลือกใช้วิธีเออาร์ที
สมมติว่า มีวัตถุที่เป็นชิ้นบางๆประกอบด้วยเซลล์เล็กๆจำนวน 4 เซลล์ ภายในแต่ละเซลล์มีค่า -1,5,9 และ 0 ตามลำดับเหมือนกับที่
ได้กำหนดมาแลวในการคำนวณสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน เมื่อสแกนในทิศทางต่างๆจะได้ข้อมูลเรย์ซัมเท่ากับ -1,8,5,14,4 และ 9
ตามลำดับ เทคนิคของอินเทอเรชันแบบเออาร์ทีซึ่งเฮานสฟิลด์ใช้ในการคำนวณสร้างภาพมีหลักการดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดภาพให้มีจำนวนเซลล์สอดคล้องกับวัตถุดังรูปที่ 3.9 และเริ่มด้วยการสมมติให้แต่ละเซลล์มีค่าเป็น a=0,b=0,c=0,d=0
จากนั้นคำนวณค่าเรย์ซัมในแนวดิ่งซึ่งจะได้ 0,0
ขั้นที่ 2 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ 8,5 ไปเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณได้ กรณีนี้จะได้ +8,+5 เครื่องหมายบวกแสดงว่าค่าที่วัดได้มากกว่า
ค่าที่คำนวณได้แล้วหาค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน นำค่าเฉลี่ยไปรวมกับค่าเดิมในคอลัมน์แรกและคอลัมน์สอง สุดท้ายคำนวณค่าเรย์ซัมใน
แนวราบจะได้ค่า 6.5,6.5 ตามลำดับ
ขั้นที่ 3 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวราบ 4,9 ไปเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณได้ในแนวราบ 6.5,6.5 แล้วหาค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน นำค่า
เฉลี่ยไปรวมกับค่าเดิมในแถวแรกและแถวที่สอง สุดท้ายของขั้นตอนนี้คือคำนวณค่าเรย์ซัมในแนวทแยงมุมจะได้ 6.5,6.5
ขั้นที่ 4 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวทแยงมุม -1,14 ไปเปรียบเทียบกับค่าคำนวณได้ในแนวทแยงมุม 6.5,6.5 แล้วหาค่าเฉลี่ยที่แตกต่าง
กัน นำค่าเฉลี่ยไปรวมกับค่าเดิมในแนวทแยง ซึ่งจะได้ค่าในแต่ละเซลล์ตรงกับค่าในแต่ละเซลล์ของวัตถุ
เมื่อการคำนวณทั้ง 4 ขั้นจบลงเรียกว่า อินเทอเรชันครั้งที่ 1 จบลงอย่างสมบูรณ์และจะเห็นได้ว่าค่าในแต่ละเซลล์ตรงกับค่าในแต่ละ
เซลล์ของวัตถุการคำนวณจะหยุดแค่นี้
รูป 3.9 การคำนวณสร้างภาพแบบอินเทเรชันชนิดเออาร์ที
ปัจจุบันการคำนวณสร้างภาพอินเทเรชันเลิกใช้ในซีทีที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป เพราะเวลาที่ใช้การคำนวณสร้าง
ภาพนานมาก เนื่องจากการคำนวณสร้างภาพจะเริ่มต้นเมื่อได้มีการสแกนเก็บข้อมูลครบถ้วนแล้ว
3.4 การสร้างภาพแบบแอ็นนาลิซิส (Analytic Reconstruction)
การสร้างภาพแบบแอ็นนาลิซิสเกิดขึ้นเพราะความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการคำนวณสร้างภาพในสองวิธีแรก
ที่ได้กล่าวไปแล้วตามปกติการคำนวณสร้างภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาค่าการกระจายสัมประสิทธิ์การลดลงของ
ตัวกลางหรือวัตถุที่ต้องการจะสร้างภาพ ภาพที่ปรากฏขึ้นจะแสดงความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์การลดลงที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับการสร้างภาพแบบแอ็นนาลิซิสที่ใช้ในซีทีมี 2 วิธีคือ การสร้างภาพแบบฟูเรียน์ (Fourier reconstruction) และฟิล
เตอร์แบ็กโพรเจกชัน (Filtered Back-Projection) ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดของแต่ละวิธีดังต่อไปนี้
3.4.1 การสร้างภาพแบบฟูเรียร์
การคำนวณสร้างภาพด้วยวิธีนี้มีพื้นฐานมาจากคิดค้นของบราซเวลล์ ซึ่งเขาได้นำไปใช้ในการสร้างภาพทางด้าน
ดาราศาสตร์ หัวใจสำคัญของวิธีการนี้อยู่ที่การแปลงฟูเรียร์ ซึ่งเป็นวิธีทางคณิตศาสตร์ที่สามารถแปลงสัญญาณในโดเมนเชิง
ระยะให้กลายเป็นสัญญาณในโดเมนเชิงความถี่
รูปที่ 3.10 แผนภาพบล็อกแสดงขั้นตอนการคำนวณสร้างภาพแบบฟูเรียร์
จากรูปที่ 3.10 วัตถุอยู่ในโดเมนเชิงระยะ เมื่อทำการสแกนวัตถุจะได้ข้อมูลความเข้มของเอกซเรย์หรือโพรไพล์จำนวนมากพอสำหรับ
การคำนวณสร้างภาพ การคำนวณสร้างภาพแบบฟูเรียร์ จะเริ่มต้นจากการนำข้อมูลโพรไฟล์ ซึ่งเป็นข้อมูลในโดเมนเชิงระยะมาทำการ
แปลงฟูเรียร์ การแปลงฟูเรียร์ในขั้นนี้ใช้วิธีการที่เรียกว่า เอฟเอฟที (FFT: Fast Fourier Transform) ทำให้ข้อมูลถูกแปลงไปเป็นข้อมูล
ในโดเมนเชิงความถี่ขั้นต่อไปจึงนำข้อมูลที่อยู่ในโดเมนเชิงความถี่มาทำการประมาณค่าในช่วง ทำให้ได้ข้อมูลในโดเมนเชิงความถี่ที่จัด
เรียงไว้เป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อความรวดเร็วในการคำนวณการทำเอฟเอฟทีต้องการตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาด 2n เมื่อ n คือ
เลขจำนวนเต็ม เช่นถ้า n=9 จะได้ตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาด 512 เป็นต้น ต่อจากนั้นจึงทำการแปลงฟูเรียร์ผกผัน (inverse Fourier
transform) จะทำให้ได้ภาพที่ต้องการซึ่งอยู่ในโดเมนเชิงระยะ
การคำนวณตามวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อมูลโพรไฟล์ด้วยการใส่ตัวกรองเชิงคณิตศาสตร์เข้าไป เพราะการทำการประมาณค่าใน
ช่วงให้ผลเหมือนกับการกรองเชิงคณิตศาสตร์
3.4.2 การสร้างภาพแบบฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชัน
การสร้างภาพแบบฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชัน คล้ายกับการสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน แต่การสร้างภาพแบบฟิลเตอร์แบ็กโพรเจ
กชัน จะทำการกรองข้อมูลโพรไฟล์ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ก่อนดำเนินการทำแบ็กโพรเจกชัน ผลลัพธ์ทำให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยว
กับความไม่คมชัดของภาพที่เกิดขึ้นในการสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน
รูปที่ 3.11 โพรไฟล์ที่ผ่านการรองเชิงคณิตศาสตร์
เมื่อข้อมูลโพรไฟล์ถูกเก็บบันทึกแล้ว ข้อมูลนั้นจะถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์ ทำให้ข้อมูลโพรไฟล์เปลี่ยนไปมีลักษณะดังรูปที่ 3.11 ถ้า
เปรียบเทียบกับข้อมูลโพลไฟล์ที่ไม่ได้ถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์ตามรูปที่ 3.6 จะพบความแตกต่างที่ชัดเจนคือ ข้อมูลโพรไฟล์ที่ถูกกรองเชิง
คณิตศาสตร์มีทั้งค่าบวกและค่าลบ ขณะที่ข้อมูลโพรไฟล์ที่ไม่ได้ถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์มีเฉพาะค่าบวกท่านั้น การกรองเชิงคณิตศาสตร์มี
หลายวิธี เช่น การกรองแบบฟูเรียร์ (Fourier filtering) การกรองแบบราดอน (Radon filtering) การกรองแบบคอนโวลูชัน
(Convolution filtering) หรือเคอร์เนล (Kernel) เป็นต้น
หลังจากข้อมูลโพรไฟล์ถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์หรือแบบคอนโวลูชันแล้ว การสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชันจะเกิดขึ้น โดยการนำเรย์ซัม
ที่เหมาะสมมารวมกันตรงตำแหน่งที่ต้องการคำนวณ
รูปที่ 3.12 โพรไฟล์ 1 มีส่วนทำให้เซลล์ที่อยู่นอกวัตถุที่ตำแหน่ง X
แสดงค่าสูง แต่โพรไฟล์ 2 และ 3 จะมีส่วนในการทำให้ค่าลดลง
ค่าความหนาแน่นตามที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 3.2 แต่ครั้งนี้ภาพขอบของวัตถุจะมีความคมชัดมากขึ้น ดูรูปที่ 3.12 ประกอบ
จะเห็นว่าในการคำนวณค่าความหนาแน่นตรง X ซึ่งอยู่นอกวัตถุ และเป็นตำแน่งที่ไม่ควรจะมีค่าความหนาแน่นเลย การ
คำนวณค่าจะนำเรย์ซัม p1,p2,p3 มารวมกัน เนื่องจาก p1 มีค่าเป็นบวกแต่ p2,p3 มีค่าเป็นลบ ดังนั้นเมื่อรวมกันแล้วจึง
ทำให้ค่าความหนาแน่นของตำแหน่ง X ต่ำมากจึงทำให้ภาพขอบของวัตถุมีความคมชัดขึ้น ไม่เกิดอาร์ติแฟ็คต์แบบดาวเหมือน
การคำนวณสร้างภาพตามวิธีแบ็กโพรเจกชัน
ซีทีส่วนมากนิยมใช้การกรองแบบคอนโวลูชันซึ่งมีให้เลือกใช้จนเกินพอถึง 20 ชนิด เช่น การกรองแบบคอนโวลูชันชนิด
ความถี่สูง (High-frequency convolution filtering) จะปิดกั้นสัญญาณความถี่สูง ซึ่งมีลทำให้ได้ภาพที่มีความนุ่มนวลและมี
คอนทราสต์ที่ดีขึ้น ในทางกลับกันถ้าเป็นการกรองแบบคอนโวลูชันชนิดความถี่ต่ำ (Low-frequency convolution filtering)
จะปิดกั้นสัญญาณความถี่ต่ำ ซึ่งมีผลทำให้ได้ภาพที่แสดงขอบของวัตถุชัดมากขึ้น
3.5 ภาพซีที
ในหัวข้อ 3.2-3.4 ได้กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการคำนวณสร้างภาพ โดยสรุปแล้วคือการคำนวณหาค่าการกระจายของค่า
สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นในระนาบที่สนใจนั่นเอง จากรูป 3.13 ได้แสดงขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการสร้างภาพซีที เริ่มต้น
ด้วยการแสวงหาข้อมูล ตามด้วยขั้นตอนวิธีการคำนวณการสร้างภาพ ซึ่งจะประกอบด้วยขั้นตอนของการเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์
การลดลงเชิงเส้นให้เป็นเลขซีที (CT number) ด้วย ดังนั้นในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาพซีที เช่น
เลขซีที พิกซึล (pixel) ว็อกซึล ขนาดเมทริกซ์ (matrix size) เป็นต้น
รูปที่ 3.13 แสดงขั้นตอนสำคัญของกระบวนการสร้างภาพซีที
3.5.1 เลขซีที
ภาพซีทีเป็นภาพที่มีลักษณะเฉพาะต่างจากภาพเอกซเรย์ทั่วไป เพราะภาพซีทีเป็นภาพที่แสดงการกระจายของสัมประสิทธิ์
การลดลงเชิงเส้นในระนาบหนึ่งของตัวผู้ป่วยที่เราสนใจ เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย
ผู้ป่วยมีค่าใกล้เคียงกันดังตัวอย่างที่แสดงในตาราง 3.1 ก่อนการแสดงภาพซีที จึงเปลี่ยนสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นให้เป็น
เลขซีทีเพื่อให้เห็นความแตกต่างมากขึ้น โดยนิยามเลขซีทีตามสมการ (3.6)
เมื่อ HN คือ เลขซีทีหรือเลขเฮานสฟิลด์ (Hounsfield number) µ คือ สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของตัวกลางใดๆ µw
คือ สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของน้ำ k คือ แฟคเตอร์สเกล (factor scale) จากสมการ 3.6 จะเห็นว่าเลขซีทีของน้ำมีค่า
เท่ากับศูนย์ หมายความว่าการเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของตัวกลางใดๆให้เป็นเลขซีทีจะใช้น้ำเป็นบรรทัดฐาน
ตัวกลางใดที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะมีเลขซีทีเป็นบวกหรือมากกว่าศูนย์ ในทางตรงข้ามตัวกลางใดที่ความหนาแน่น
น้อยกว่าน้ำจะมีเลขซีทีเป็นลบหรือน้อยกว่าศูนย์ ดูตาราง 3.2 ประกอบ
(3.6)
เมื่อพิจารณาเลขซีทีในเฮานสฟิลด์สเกล (Hounsfiled scale) จะมีค่าในช่วงตั้งแต่ -1000 ถึง +1000 แต่มีซีทีบางรุ่นที่
ใช้เลขซีทีในช่วง -2000 ถึง +6000 จากตาราง 3.2 กระดูกมีค่าเลขซีทีใน
ตาราง 3.2 ตัวอย่างเลขซีทีของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายมนุษย์
เฮานสฟิลด์สเกลสูงที่สุดเท่ากับ +1000 ในขณะที่อากาศมีค่าต่ำเท่ากับ -1000 และน้ำมีเลขซีทีอยู่ตรงกลางเท่ากับ 0 ถ้าพิจารณา
สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของเกรย์แมตเตอร์เปรียบเทียบกับสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของเลือดจะมีค่าใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่เมื่อ
เป็นเลขซีทีแล้วจะมีค่าต่างกันคือ 43 และ 40 ตามลำดับ ซึ่งเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น
3.5.2 พิกซึล ว็อกซึล ขนาดเทริกซ์และเอฟโอวี (FOV)
พิกซึล การสร้างภาพด้วยการคำนวณค่าเลขซีทีของตัวกลางในระนาบที่สนใจ กระทำโดยการนำเลขซีทีมาเรียงกันตามตำแหน่งที่เหมาะ
สม ภาพซีทีที่สร้างขึ้นจึงประกอบด้วยเซลล์เล็กๆและเป็นภาพดิจิทัล ดังรูป 3.14 เซลล์เล็กๆเหล่านั้นมีลักษณะบนระนาบ 2 มิติเป็น
สี่เหลี่ยมจัตุรัสจำนวนมากเรียงเป็นระเบียบทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง และภายในเซลล์เล็กๆเหล่านั้นจะบรรจุค่าเลขซีทีซึ่งสามารถแสดง
ภาพเป็นเลขซีทีดังรูปที่ 3.15 และเมื่อเปลี่ยนค่าเลขซีทีให้เป็นความดำความขาวก็จะปรากฏเป็นภาพเหมือนภาพเอกซเรย์ทั่วไป โดยทั่วไป
บริเวณที่มีเลขซีทีสูงมากที่สุดจะแสดงความขาวมากที่สุด ในทางกลับกันบริเวณที่มีเลขซีทีต่ำที่สุดจะแสดงความดำมากที่สุด ดูตาราง 3.2
ประกอบ เมื่อมองลงไปตามแนวตั้งฉากกับระนาบของภาพซีที เซลล์เล็กๆแต่ละเซลล์ที่เห็นเรียกว่า พิกซึล (pixel มาจาก picture
element)
ขนาดเมทริกซ์ หมายถึงจำนวนพิกซึลทั้งหมดบนภาพซีที นิยามที่แสดงเป็นตัวเลขคูณกันเช่น 64×64, 128×128, 256×256,
512×512, 1024×1024, 2048×2048 เป็นต้น เมื่อกล่าวว่าภาพซีทีมีขนาดเมทริกซ์เท่ากับ 64×64 หรือ 642 หมายความว่า ภาพซี
ทีประกอบด้วยจำนวนพิกซึลในแนวนอนมีค่าเท่ากับ 64 และจำนวนพิกซึลทั้งหมดจึงมีค่าเท่ากับ 64×64 ถ้าภาพซีทีมีขนาดเมทริกซ์
มากจำนวนพิกซึลก็จะมากทำให้ภาพมีความละเอียดมากและใช้เวลาในการคำนวณสร้างภาพนาน แต่ถ้าภาพซีทีมีขนาดเมทริกซ์
น้อยจำนวนพิกซึลก็จะน้อยทำใหดภาพมีความละเอียดน้อยและใช้เวลาในการคำนวณสร้างภาพไม่นาน ปัจจุบันสามารถแสดงภาพซี
ทีให้มีความละเอียดสูงมากถึง 2048×2048 หรือ 20482
รูปที่ 3.14 ชิ้นภาพขนาดเล็กหรือพิกซึลจำนวนมากเรียงเป็นระเบียบทั้งแนวนอนและ
แนวตั้ง และแสดงว็อกซึลที่ได้รวมความหนาของชิ้นภาพด้วย
รูปที่ 3.15 ภาพซีทีหลังจากการคำนวณสร้างภาพ กรณีนี้แสดงตัวเลขค่าซีที
เอฟโอวี (FOV: field of view) หมายถึง บริเวณของวัตถุที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ทะลุผ่านเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลโพรไฟล์นำ
ไปคำนวณสร้างภาพ หรือกล่าวโดยย่อคือวงกลมของการสร้างภาพที่พิจารณาบนวัตถุ ในการพิจารณาเอฟโอวีจะ
พิจารณาจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมการสร้างภาพ ดังนั้นเอฟโอวีจึงมีหน่วยเป็น cm เอฟโอวี ขนาดเม
ทริกซ์และขนาดของพิกซึลมีความสัมพันธ์กันตามสมการ (3.7)
(3.7)
เมื่อ d คือขนาดองพิกซึล และ MS คือขนาดเมทริกซ์ ถ้าในการสแกนเลือกใช้ขนาดเมทริกซ์เท่ากับ 512 และเอฟโอวี
เท่ากับ 25 cm จะสามารถคำนวรค่าพิกซึลตามสมการ (3.7) ได้เท่ากับ 0.49 mm เป็นต้น การสแกนจำเป็นต้องกำหนด
เอฟโอวีและขนาดเมทริกซ์ซึ่งจะมีผลต่อความละเอียดของภาพซีที ถ้าเลือกให้ขนาดเมทริกซ์มีค่าคงตัว เมื่อปรับให้เอฟโอวีมี
ค่าสูงขึ้นหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น จะมีผลทำให้ขนาดพิกซึลเพิ่มขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือความละเอียดของภาพจะลดลง
ในบทนี้ได้กล่าวถึง พจน์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สัมประสิทธิ์การลดลงเรย์ซัมโพรไฟล์ขั้นตอนวิธีหรือแอลกอริทึม การแปลงฟู
เรียร์และการประมาณค่าในช่วง จากนั้นได้กล่าวถึง ทฤษฎีการสร้างภาพของซีทีได้แก่วิธีแบ็กโพรเจกชัน วิธีการสร้างภาพแบบ
แอ็นนาลิซิส ซึ่งแบ่งออกเป็น การสร้างภาพแบบฟูเรียร์และการสร้างภาพแลลฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชัน ซึ่งวิธีการสร้างภาพแบบ
ฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชันเป็นที่นิยมใช้กันมาก สุดท้ายได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของภาพซีทีโดยกล่าวถึงพื้นฐานของ เลขซีทีพิกซึล
วอกซึล ขนาดแมทริกซ์และเอฟโอวี
สรุป

More Related Content

What's hot

ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อSarawut Fnp
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)Weerawan Ueng-aram
 
ตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาทตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาทCotton On
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009taem
 
คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7
คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7
คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7Pitchayanida Khumwichai
 
ผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงSuradet Sriangkoon
 
การใช้ยาสูดชนิดต่างๆ
การใช้ยาสูดชนิดต่างๆการใช้ยาสูดชนิดต่างๆ
การใช้ยาสูดชนิดต่างๆUtai Sukviwatsirikul
 
ใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวkanjana2536
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรืองUtai Sukviwatsirikul
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPrachaya Sriswang
 
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงานระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงานNapitchaya Jina
 
Cvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringCvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringpiyarat wongnai
 
Case conference (1)
Case conference (1)Case conference (1)
Case conference (1)Toey Sutisa
 
การวัดความยาว
การวัดความยาวการวัดความยาว
การวัดความยาวt-surinrach
 

What's hot (20)

ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)
 
ตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาทตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาท
 
Cpg diarrhea in children
Cpg diarrhea in childrenCpg diarrhea in children
Cpg diarrhea in children
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009
 
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการเกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
 
คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7
คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7
คู่มือ practical data mining with rapid miner studio7
 
ผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ผู้ประสานงานคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
 
การใช้ยาสูดชนิดต่างๆ
การใช้ยาสูดชนิดต่างๆการใช้ยาสูดชนิดต่างๆ
การใช้ยาสูดชนิดต่างๆ
 
ใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ใบความรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
 
ระบบใบสำคัญจ่าย 2
ระบบใบสำคัญจ่าย 2ระบบใบสำคัญจ่าย 2
ระบบใบสำคัญจ่าย 2
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
 
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงานระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
 
Cvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringCvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoring
 
Statistics 06
Statistics 06Statistics 06
Statistics 06
 
Case conference (1)
Case conference (1)Case conference (1)
Case conference (1)
 
การวัดความยาว
การวัดความยาวการวัดความยาว
การวัดความยาว
 

ทฤษฎีหลักการสร้างภาพ

  • 2. จากข้อสังเกตในระยะแรกของการพัฒนาซีที ซึ่งคาดหมายกันว่า การศึกษา การจำแนกหรือการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลงภายในของผู้ป่วยใน ระนาบใดระนาบหนึ่ง สามารถทำได้ถ้านำความเข้มของเอกซเรย์ที่วัดได้ใน ทิศทางต่างๆ ที่มันวิ่งทะลุผ่านระนาบของผู้ป่วยนั่นออกมาไปวิเคราะห์อย่าง เหมาะสมตามที่กล่าวไปแล้วในบทที่ 1 ทำให้คอร์แม็กและเฮานสฟิลด์ต่างก็ ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้น่าสนใจอยู่ตรงที่คอมพิวเตอร์สามารถนำความ เข้มของเอกซเรย์ไปคำนวณสร้างภาพได้อย่างไร ดังนั้น ในบทนี้จะได้กล่าวถึง รายละเอียดของทฤษฎีการสร้างภาพ (image reconstruction theory) ของ ซีที โดยจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอความซับซ้อนในเชิงคณิตศาสตร์ แต่จะเน้น ให้เข้าถึงแนวคิดของทฤษฎีเป็นหลัก
  • 3. 3.1 พจน์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง การทำความเข้าใจทฤษฎีการสร้างภาพของซีที ในเบื้องต้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของพจน์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สัมประสิทธิ์การ ลดลง เรย์ซัม(ray-sum) โพรไฟล์เป็นต้น 3.1.1 สัมประสิทธิ์การลดลง รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง และเป็นรังีที่สามารถทำให้อะตอมของตัวกลางแตกตัว ขณะที่มันเคลื่อนที่ผ่านไปในตัวกลาง นั้น เมื่อยิงรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานอยู่ในช่วงการวินิจฉัยโรคเข้าไปในตัวกลางใดๆ เช่น ร่างกายมนุษย์ เป็นต้น จะเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญ ได้แก่ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก (photoelectric effect) และปรากฏการณ์คอมพ์ตัน (Compton effect) (รายละเอียดของปรากฏการณ์ทั้ง สองไม่ขอกล่าวในที่นี้) ทำให้มีการสูญเสียพลังงานไปบางส่วน เมื่อรังสีเอกซ์ทะลุผ่านตัวกลางออกมาแล้วจึงมีความเข้มลดลง
  • 4. สมมติยิงรังสีเอกซ์ซึ่งมีพลังงานค่าเดียวและมีความเข้ม I0 เข้าไปยังตัวกลางที่มีเนื้อเดียวตลอดและมีความหนาเท่ากับ X เมื่อรัง สีเอกซ์ทะลุผ่านตัวกลางออกมาแล้วความเข้มลดลงเป็น I ดังรูปที่ 3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างI0,I และ X จะเป็นไปตามกฎของแล มเบิร์ด-เบียร์(Lambert-beerlaw) ดังสมการ (3.1) รูปที่ 3.1 ยิงรังสีเอกซ์ความเข้ม I0 ทะลุผ่านตัวกลาง X ออกมาแล้วมีความเข้มลดลงเป็น I เมื่อ µ คือ สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้น(Linear attenuation coeffician) ของรังสีเอกซ์ e คือ ค่าคงตัวยูเลอร์(Euler’s contant) มีค่าเท่ากับ 2.718 สำหรับเทอม e-µX แสดงถึงการลดลงของความเข้มของรังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านตัวกลางออกมา ซึ่ง จะเห็นว่าค่าความเข้มของรังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านออกมาขึ้นกับ µ และ X (3.1) (3.1)
  • 6. พิจารณา µ จะสามารถสรุปได้ว่า เมื่อ µ มีค่าสูงตัวกลางนั้นจะสามรถดูดกลืนรัง สีเอกซ์ไว้ได้มากรังสีเอกซ์จึงทะลุผ่านออก มาได้น้อยและในทางกลับกันเมื่อ µ มีค่า น้อยตัวกลางนั้นจะสามารถดูดกลืนรังสี เอกซ์ไว้ได้น้อยรังสีเอกซ์จึงทะลุผ่านออก มาได้มาก นอกจากนี้พบว่า µ ขึ้นกับชนิด ของตัวกลางและพลังงานของรังสีเอกซ์ กล่าวคือ ถ้าพลังงานของรังสีเอกซ์คงตัว µ จะมีค่ามากขึ้นถ้าตัวกลางมีความหนา แน่นสูงขึ้นหรือเลขอะตอมสูงขึ้น และ สำหรับตัวกลางชนิดหนึ่ง µ จะมีค่าลดลง ถ้าพลังงานของรังสีเอกซ์เพิ่มขึ้น(2-4) ดู ตารางที่ 3.1 ประกอบ ตามปกติร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยสารหลายชนิด จึงไม่เป็นตัวกลางที่มีเนื้อเดียว ตลอด ดังนั้นเมื่อยิงรังสีเอกซ์ที่มีความเข้ม I0 ไปยังร่างกายมนุษย์รังสีเอกซ์จะเคลื่อนที่ ผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์และค่อยๆสูญเสียพลังงาน จนเมื่อทะลุผ่านออกมาแล้วมี ความเข้มลดลงกลายเป็น I การที่ร่างกายมนุษย์ไม่เป็นตัวกลางที่มีเนื้อเดียวตลอด ทำให้ ต้องปรับปรุงกฎของแลมเบิร์ต-เบียร์ โดยพิจารณาแบ่งซอยร่างกายมนุษย์ออกเป็นแท่งที่ มีขนาดเล็กมาก dx ตามเส้นทางที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์ และ กำหนดโดยอนุโลมให้แต่ละแท่งเป็นตัวกลางที่มีเนื้อเดียวและมีค่าสัมประสิทธิ์การลดลง เป็น µ แต่ละแท่งซึ่งมีจำนวนมากมายนั้น ไม่จำเป็นต้องมีค่า µ เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเส้น ทางการเคลื่อนที่ของรังสีเอกซ์ผ่านเข้าไปในอวัยวะส่วนใด ดูรูปที่ 3.2 ประกอบเมื่อ พิจารณาเช่นนี้ กฎของแลมเบิร์ต-เบียร์จะกลายเป็น รูปที่ 3.2 ยิงรังสีเอกซ์ความเข้ม I0 ทะลุผ่าน ร่างกายมนุษย์ออกมาแล้วมีความเข้มลดลงเป็น I (3.2)
  • 7. เมื่อเทอม ∫ µdx คือ อินทิกรัลเชิงเส้น(line integral) ที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในร่างกายของมนุษย์ สมการ (3.2) เป็น สมการที่มีความสำคัญมาก เพราะใช้ในการคำนวณการแจกแจง(distribution) ของสัมประสิทธิ์การลดลง µ บนระนาบของสไลซ์ ของร่างกายมนุษย์ที่ยิงรังสีเอกซ์ผ่านเข้าไป เมื่อทราบการแจกแจงของสัมประสิทธิ์การลดลงแล้วจะสามารถสร้างเป็นภาพที่มี ประโยชน์ในการวินิจฉัยต่อไปได้ 3.1.2 เรย์ซัม เนื่องจากสมการ (3.2) เป็นสมการที่มีความสำคัญต่อการคำนวณสร้างภาพ เพื่อความสะดวกจึงเขียนสมการ (3.2) ใหม่ โดยจะ เขียนให้อยู่ในรูปของลอกอริทึมธรรมชาติ (natural logaithm) ดังนี้ เมื่อ p คือ เรย์ซัมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรย์โพรเจกชัน (ray-projection) หมายถึงอินทิกรัลเชิงเส้นตามเส้นทางของรังสี เอกซ์ที่ยิงผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์ตามรูปที่ 3.2 เรย์ซัมสะท้อนให้เห็นถึงการดูดกลืนของตัวกลางตามเส้นทางที่รังสีเอกซ์ เคลื่อนที่ผ่านไป ถ้าเรย์ซัมมีค่ามากแสดงว่ามีการดูดกลืนรังสีเอกซ์มาก และในทางกลับกัน ถ้าเรย์ซัมมีค่าน้อยแสดงว่ามีการดูด กลืนรังสีเอกซ์น้อย ค่าเรย์ซัม(3.3) จะเป็นบวกเสมอ เช่น ถ้าอัตราส่วน I/I0 มีค่าเท่ากับ 0.5 ค่าเรย์ซัมจะเท่ากับ 0.693 เป็นต้น (3.3)
  • 8. 3.1.3 โพรไฟล์ เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ จะพิจารณาการแสวงหาข้อมูลของซีทีรุ่นหนึ่ง ซึ่งมีการเคลื่อนที่แบบเลื่อน ที่และหมุนผสมกัน หลอดเอกซเรย์จะปล่อยรังสีเอกซ์ลำแคบออกมาแล้วเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ตัดผ่านไปในระนาบ ที่ต้องการสร้างภาพ รูปที่ 3.3 การสแกนของซีทีรุ่นที่หนึ่งเพื่อให้เห็นโพรไฟล์ที่ได้จากการเคลื่อนที่ แบบเลื่อนที่ 1 ครั้ง
  • 9. ตาราง 3.2 ค่าเรย์ซัมและโพรไฟล์ที่เฮานสฟิลด์ใช้สำหรับการสแกน 1 สไลซ์ หัวข้อเอกซเรย์อ่านค่าความเข้มของรังสีเอกซ์แล้ว ถูกเปลี่ยนให้เป็นเรย์ซัม เมื่อนำค่าเรย์ซัมที่ได้มาพิจารณาเทียบกับระยะทางที่ หลอดเอกซเรย์และหัววัดเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ไป จะได้ความสัมพันธ์ทีมีลักษณะตามรูปที่ 3.3 เซท (set) ของเรย์ซัมที่นำ มาเรียงกันดังนี้เรียกว่า โพรไฟล์หรือโพรเจกชัน เครื่องซีทีที่เฮานสฟิลด์สร้างขึ้นครั้งแรกนั้น จะกำหนดให้ 1 สไลซ์จะใช้จำนวน โพรไฟล์อย่างน้อย 180 โพรไฟล์ ดูตาราง 3.2 ประกอบ
  • 10. 3.1.4 ขั้นตอนวิธีหรือแอลกอริทึม (Algorithm) คำว่า แอลกอริทึม ในปัจจุบันเป็นคำที่แพร่หลากหลายมากในทางรังสีวิทยา เนื่องจากมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทั้งใน กระบวนการการสร้างภาพเพื่อวินิจฉัยโรคและกระบวนการในการรักษาโรคด้วยรังสี แอลกอริทึมหมายถึง ขั้นตอนวิธีดำเนินการ โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดตามกฎเกณฑ์เป็นชุดที่สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะตัวมาทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ ตามข้อกำหนด ในซีทีมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้คำตอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เหล่านั้นจำเป็นต้องประกอบด้วยขั้นตอนวิธีการคำนวณสร้างภาพหรือแอลกอริทึมการคำนวณสร้างภาพ 3.1.5 การแปลงฟูเรียร์ (Fourier Transform) รูปที่ 3.4 รูปภาพฟูเรียร์ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
  • 11. การแปลงฟูเรียร์เป็นวิธีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งฟูเรียร์นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้คิดค้นขึ้นตั้งแต่ ค.ศ.1807 ปัจจุบัน ได้มีการนำการแปลงฟูเรียร์มาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้ง ในด้านวิทยาศาสตร์และด้านวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับทางด้าน การแพทย์ ได้มีกระบวนการแพทย์ได้มีการนำการแปลงฟูเรียร์มาใช้ในการคำนวณสร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายผู้ป่วย ในเครื่องซีทีและเครื่องเอ็มอาร์ไอ เป็นต้น การแปลงฟูเรียร์คือ ฟังก์ชัน(function) ทางคณิตศาสตร์ที่สามารถแปลงสัญญาณที่อยู่ในเมนเชิงระยะ (spatial domain) ให้กลายเป็นสัญญาณที่อยู่ในโดเมนเชิงความถี่(frequency domain) ในธรรมชาติมีการแปลงฟูเรยร์เกิดขึ้น ได้เช่น การรับฟังเสียงของหู เป็นต้น กล่าวคือเมื่อเสียงเคลื่อนที่เข้ามาที่หู หูจะทำหน้าที่แยกเสียงนั้นออกเป็นความถี่ และความเข้มต่างๆทำให้ประสาทหูสามารถรับรู้เสียงจากต้นกำเนิดได้ แสดงว่ามีการแปลงฟูเรียร์เกิดขึ้นในหู
  • 12. 3.1.6 การประมาณค่าในช่วง การประมาณค่าในช่วงคือ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการประมาณค่าของฟังก์ชันจากค่าที่อยู่ใกล้เคียงกับค่าที่ต้องการทราบ พิจารณารูปที่ 3.5 ซึ่งเป็นกราฟเส้นตรงที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวคือ x และ y ค่าที่ทราบคือ (x1,y1),(x2,y2),… ซึ่ง เป็นค่าที่มีการเว้นช่วงไม่ต่อเนื่อง สมมติเมื่อต้องการทราบค่า y ในขณที่แกน x มีค่าเป็น x โดยที่ค่า y อยู่ระหว่างจุดที่ทราบค่าคือ (x1,y1),(x2,y2) จะสามารถคำนวณค่า y ได้จากสมการ(3.4) รูปที่ 3.5 เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร x และ y เพื่อแสดงตัวอย่างหนึ่งของการ ประมาณค่าในช่วง (3.4)
  • 13. ในขั้นตอนวิธีการคำนวณสร้างภาพของซีที มีการใช้การประมาณค่าในช่วงเพื่อหาข้อมูลที่ต้องการมราบค่า ซึ่งจะมีราย ละเอียดแตกต่างออกไป โดยเฉพาะสำหรับสไปรอลซีทีและมัลติสไลซ์ซีทีนั้นใช้การประมาณค่าในช่วงที่มีความซับซ้อนมาก ขึ้นตามที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่2 3.2 แบ็กโพรเจกชัน (Back-Projection) การคำนวณสร้างภาพมีหลายวิธี ขั้นตอนวิธีการคำนวณสร้างภาพอันดับแรกที่จะกล่าวถึงเรียกว่า แบ็กโพรเจกชัน ซึ่งเป็น วิธีที่ง่ายที่สุด ความยุ่งยากในทางคณิตศาสตร์มีน้อย คูห์ล (Kuhl) และเอดเวิร์ลดส์ (Edwards) นำวิธีนี้ไปใช้ในการสร้างภาพ ของระนาบในตัวผู้ป่วยได้สำเร็จ เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ จะได้พิจารณาจากหลักการแสวงหาข้อมูลของซีทีรุ่นที่หนึ่ง ซึ่งการแสวงหาข้อมูล จะประกอบไปด้วยการเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่และการเคลื่อที่แบบหมุน ตามรูปที่ 3.6 แสดงให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลความเข้ม ของรังสีเอกซ์ใน 2 ทิศทางหรือเก็บข้อมูลที่เป็นโพรไฟล์ได้ 2 โพรไฟล์ (โพรเจกชัน) คือ โพรไฟล์ 1 และโพรไฟล์ 2 ข้อมูลนี้ได้ จากการยิงรังสีเอกซ์ทะลุผ่านชิ้นวัตถุบางๆ (สไลซ์) และสมมติว่าวงกลมเล็กสีเข้มเป็นบริเวณที่มีค่าสัมประสิทธิ์การลดลง (µ) สูง ดังนั้นในแต่ละโพรไฟล์ที่ได้ตำแหน่งที่สอดคล้องกับวงกลมเล็กสีเข้มจะมีค่าเรย์ซัมสูงและมีค่าเป็นบวก
  • 14. รูปที่ 3.6 โพรไฟล์ที่ได้จากการสแกน 2 ทิศทาง ในการคำนวณสร้างภาพตามวิธีแบ็กโพรเจกชัน สามารถแสดงให้เห็นหลักการได้ตามรูปที่ 3.7 กล่าวคือ ค่าเรย์ซัมจากโพร ไฟล์ 1 และโพรไฟล์ 2 จะถูกนำมารวมกันบนระนาบของภาพที่เตรียมไว้ บริเวณที่สอดคล้องกับวงกลมเล็กสีเข้มจะได้ค่าผล รวมของเรย์ซัมสูงมาก (ตามรูปที่ 3.7 คือตำแหน่งA) ในทางตรงกันข้ามบริเวณที่อยู่นอกวงกลมเล็กสีเข้มจะได้ค่าของผลรวม ของเรย์ซัมต่ำซึ่งเมื่อมองภาพโดยรวมจะเห็นความสอดคล้องกันระหว่างภาพที่สร้าง (รูปที่3.7) กับวัตถุ (รูปที่3.6)
  • 15. เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถพิจารณาการคำนวณสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชันได้ตามรูปที่ 3.8 โดยสมมติว่า มีวัตถุที่ เป็นชิ้นบางๆประกอบด้วยเซลล์เล็กๆจำนวน 4 เซลล์ภายในแต่ละเซลล์มีค่า -1,5,9,และ0 ตามลำดับ สมมติว่าค่าเหล่านี้ แปรผันโดยตรงกับค่าสัมประสิทธิ์การลดลงของวัตถุ เมื่อสแกนในทิศทางต่างๆจะไข้อมูลเรย์ซัมเท่ากับ -1,8,5,14,4 และ 9 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลเรย์ซัมเหล่านี้สามารถวัดได้ แต่ค่าภายในแต่ละเซลล์ไม่สามารถวัดได้ต้องใช้วิธีการคำนวณ รูปที่ 3.7 การเกิดภาพตามวิธีแบ็กโพรเจกชัน รูปที่ 3.8 ขั้นตอนการำนวณสร้างภาพตามวิธีแบ็กโพร เจกชัน
  • 16. ตามรูปที่ 3.8 แบ่งการคำนวณออกเป็น 5 ขั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดให้ระนาบของภาพที่ต้องการสร้างประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ 4 เซลล์เท่ากับวัตถุ กำหนดให้แต่ละเซลล์มีค่าเริ่มต้นเท่ากับ 0 จากนั้นนำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวตั้งรวมเข้าไปในแต่ละเซลล์ให้สอดคล้อง ขั้นที่ 2 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวทแยงมุมทั้งสองแนวไปรวมกับค่าที่ได้ในแต่ละเซลล์จากขั้นที่1 โดยให้สอดคล้องตามแนวทแยงมุม ด้วย ขั้นที่ 3 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวราบทั้งหมด ไปรวมกับค่าที่ได้แต่ละเซลล์จากขั้นที่ 2 โดยให้สอดคล้องตามแนวราบของแต่ละแถว ขั้นที่ 4 ค่าที่ได้ในแต่ละเซลล์จากขั้นที่ 3 นำมาลบด้วย k โดยที่ k มีค่าเป็นไปตามสมการ(3.5) เมื่อ ∑ p คือ ผลรวมของค่าเรย์ซัมที่วัดได้ทั้งหมดทุกทิศทาง(ซึ่งกรณีนี้มีค่าเท่ากับ -1+8+5+14+4+9 = 39) n คือจำนวนทิศทางที่มี การสแกนเก็บข้อมูลเรย์ซัมหรือหมายถึงจำนวนโพรไฟล์ทั้งหมด(ซึ่งกรณีนี้มีค่าเท่ากับ 3 โพรไฟล์) ดังนั้น k จึงมีค่าตามสมการ (3.5) เท่ากับ 1.3 ขั้นที่ 5 ค่าที่ได้ในแต่ละเซลล์จากขั้นที่ 4 จะถูกหารด้วยตัวเลขที่ทำให้ค่าในแต่ละเซลล์ลดลงอย่างเหมาะสม ซึ่งในที่นี้ตัวเลขที่นำไปหาร คือ 2 (3.5)
  • 17. หลังจากการคำนวณในขั้นที่ 5 เสร็จแล้ว จะได้ค่าภายในแต่ละเซลล์สอดคล้องหรือตรงกับวัตถุ หมายความว่าเมื่อแปลงเป็นภาพ จะได้ภาพที่เหมือนวัตถุนั่นเอง ที่กล่าวมานี้คือขั้นตอนวิธีของการคำนวณสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน อย่างไรก็ตามการคำนวณ สร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชันมีข้อเสียที่สำคัญคือ อาร์ติแฟ็คต์แบบดาว (star artifact) กล่าวคือ เนื่องจากการคำนวณตามวิธีนี้ได้ นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ย้อนกลับมารวมกันตามเส้นทางที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ผ่านไปในวัตถุ หรือตัวผู้ป่วยดังนั้นตำแหน่งที่อยุ่นอก บริเวณที่มีค่าความหนาแน่นสูง ก็จะปรากฏให้เห็นบนภาพว่ามีความหนาแน่นสูงไปด้วย เช่นตามรูปที่ 3.7 บริเวณที่มีความหนา แน่นต่ำ คือตำแหน่งที่อยู่นอกบริเวณจุด A จะปรากฏว่ามีค่าความหนาแน่สูงด้วย เหตุนี้ทำให้ขอบภาพของวัตถุไม่คมชัดมีลักษณะ คล้ายแฉกดาวกระจายออกไป
  • 18. 3.3 การสร้างภาพแบบอินเทอเรชัน การคำนวณสร้างภาพแบบที่สองที่จะกล่าวคือ การสร้างภาพแบบอินเทอเรชัน ในอดีตนักคณิตศาสตร์ได้นำเทคนิคอินเทอเรชัน ไปใช้ในการแก้สมการเมทริกซ์ (matrix equation) ในทางการแพทย์เฮานสฟิลด์ได้นำวิธีนี้ไปคำนวณสร้างภาพตัดขวางชิ้นบางๆ ของร่างกายผู่ป่วย เทคนิคของอินเทอเรชันมีหลายแบบ ได้แก่ ไอแอลเอสที (ILST: Iterative Least-Squares Technique) เออาร์ที (ART: Algebraic Reconstruction Technique) และเอสไออาร์ที (SIRT: Simulteneous Iterative Reconstruction Technique) เฮานสฟิลด์เลือกใช้วิธีเออาร์ที
  • 19. สมมติว่า มีวัตถุที่เป็นชิ้นบางๆประกอบด้วยเซลล์เล็กๆจำนวน 4 เซลล์ ภายในแต่ละเซลล์มีค่า -1,5,9 และ 0 ตามลำดับเหมือนกับที่ ได้กำหนดมาแลวในการคำนวณสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน เมื่อสแกนในทิศทางต่างๆจะได้ข้อมูลเรย์ซัมเท่ากับ -1,8,5,14,4 และ 9 ตามลำดับ เทคนิคของอินเทอเรชันแบบเออาร์ทีซึ่งเฮานสฟิลด์ใช้ในการคำนวณสร้างภาพมีหลักการดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดภาพให้มีจำนวนเซลล์สอดคล้องกับวัตถุดังรูปที่ 3.9 และเริ่มด้วยการสมมติให้แต่ละเซลล์มีค่าเป็น a=0,b=0,c=0,d=0 จากนั้นคำนวณค่าเรย์ซัมในแนวดิ่งซึ่งจะได้ 0,0 ขั้นที่ 2 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ 8,5 ไปเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณได้ กรณีนี้จะได้ +8,+5 เครื่องหมายบวกแสดงว่าค่าที่วัดได้มากกว่า ค่าที่คำนวณได้แล้วหาค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน นำค่าเฉลี่ยไปรวมกับค่าเดิมในคอลัมน์แรกและคอลัมน์สอง สุดท้ายคำนวณค่าเรย์ซัมใน แนวราบจะได้ค่า 6.5,6.5 ตามลำดับ ขั้นที่ 3 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวราบ 4,9 ไปเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณได้ในแนวราบ 6.5,6.5 แล้วหาค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน นำค่า เฉลี่ยไปรวมกับค่าเดิมในแถวแรกและแถวที่สอง สุดท้ายของขั้นตอนนี้คือคำนวณค่าเรย์ซัมในแนวทแยงมุมจะได้ 6.5,6.5 ขั้นที่ 4 นำค่าเรย์ซัมที่วัดได้ในแนวทแยงมุม -1,14 ไปเปรียบเทียบกับค่าคำนวณได้ในแนวทแยงมุม 6.5,6.5 แล้วหาค่าเฉลี่ยที่แตกต่าง กัน นำค่าเฉลี่ยไปรวมกับค่าเดิมในแนวทแยง ซึ่งจะได้ค่าในแต่ละเซลล์ตรงกับค่าในแต่ละเซลล์ของวัตถุ เมื่อการคำนวณทั้ง 4 ขั้นจบลงเรียกว่า อินเทอเรชันครั้งที่ 1 จบลงอย่างสมบูรณ์และจะเห็นได้ว่าค่าในแต่ละเซลล์ตรงกับค่าในแต่ละ เซลล์ของวัตถุการคำนวณจะหยุดแค่นี้
  • 20. รูป 3.9 การคำนวณสร้างภาพแบบอินเทเรชันชนิดเออาร์ที ปัจจุบันการคำนวณสร้างภาพอินเทเรชันเลิกใช้ในซีทีที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป เพราะเวลาที่ใช้การคำนวณสร้าง ภาพนานมาก เนื่องจากการคำนวณสร้างภาพจะเริ่มต้นเมื่อได้มีการสแกนเก็บข้อมูลครบถ้วนแล้ว
  • 21. 3.4 การสร้างภาพแบบแอ็นนาลิซิส (Analytic Reconstruction) การสร้างภาพแบบแอ็นนาลิซิสเกิดขึ้นเพราะความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการคำนวณสร้างภาพในสองวิธีแรก ที่ได้กล่าวไปแล้วตามปกติการคำนวณสร้างภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาค่าการกระจายสัมประสิทธิ์การลดลงของ ตัวกลางหรือวัตถุที่ต้องการจะสร้างภาพ ภาพที่ปรากฏขึ้นจะแสดงความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์การลดลงที่ใกล้เคียงกัน สำหรับการสร้างภาพแบบแอ็นนาลิซิสที่ใช้ในซีทีมี 2 วิธีคือ การสร้างภาพแบบฟูเรียน์ (Fourier reconstruction) และฟิล เตอร์แบ็กโพรเจกชัน (Filtered Back-Projection) ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดของแต่ละวิธีดังต่อไปนี้ 3.4.1 การสร้างภาพแบบฟูเรียร์ การคำนวณสร้างภาพด้วยวิธีนี้มีพื้นฐานมาจากคิดค้นของบราซเวลล์ ซึ่งเขาได้นำไปใช้ในการสร้างภาพทางด้าน ดาราศาสตร์ หัวใจสำคัญของวิธีการนี้อยู่ที่การแปลงฟูเรียร์ ซึ่งเป็นวิธีทางคณิตศาสตร์ที่สามารถแปลงสัญญาณในโดเมนเชิง ระยะให้กลายเป็นสัญญาณในโดเมนเชิงความถี่
  • 22. รูปที่ 3.10 แผนภาพบล็อกแสดงขั้นตอนการคำนวณสร้างภาพแบบฟูเรียร์ จากรูปที่ 3.10 วัตถุอยู่ในโดเมนเชิงระยะ เมื่อทำการสแกนวัตถุจะได้ข้อมูลความเข้มของเอกซเรย์หรือโพรไพล์จำนวนมากพอสำหรับ การคำนวณสร้างภาพ การคำนวณสร้างภาพแบบฟูเรียร์ จะเริ่มต้นจากการนำข้อมูลโพรไฟล์ ซึ่งเป็นข้อมูลในโดเมนเชิงระยะมาทำการ แปลงฟูเรียร์ การแปลงฟูเรียร์ในขั้นนี้ใช้วิธีการที่เรียกว่า เอฟเอฟที (FFT: Fast Fourier Transform) ทำให้ข้อมูลถูกแปลงไปเป็นข้อมูล ในโดเมนเชิงความถี่ขั้นต่อไปจึงนำข้อมูลที่อยู่ในโดเมนเชิงความถี่มาทำการประมาณค่าในช่วง ทำให้ได้ข้อมูลในโดเมนเชิงความถี่ที่จัด เรียงไว้เป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อความรวดเร็วในการคำนวณการทำเอฟเอฟทีต้องการตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาด 2n เมื่อ n คือ เลขจำนวนเต็ม เช่นถ้า n=9 จะได้ตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาด 512 เป็นต้น ต่อจากนั้นจึงทำการแปลงฟูเรียร์ผกผัน (inverse Fourier transform) จะทำให้ได้ภาพที่ต้องการซึ่งอยู่ในโดเมนเชิงระยะ
  • 23. การคำนวณตามวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อมูลโพรไฟล์ด้วยการใส่ตัวกรองเชิงคณิตศาสตร์เข้าไป เพราะการทำการประมาณค่าใน ช่วงให้ผลเหมือนกับการกรองเชิงคณิตศาสตร์ 3.4.2 การสร้างภาพแบบฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชัน การสร้างภาพแบบฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชัน คล้ายกับการสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน แต่การสร้างภาพแบบฟิลเตอร์แบ็กโพรเจ กชัน จะทำการกรองข้อมูลโพรไฟล์ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ก่อนดำเนินการทำแบ็กโพรเจกชัน ผลลัพธ์ทำให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยว กับความไม่คมชัดของภาพที่เกิดขึ้นในการสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชัน รูปที่ 3.11 โพรไฟล์ที่ผ่านการรองเชิงคณิตศาสตร์
  • 24. เมื่อข้อมูลโพรไฟล์ถูกเก็บบันทึกแล้ว ข้อมูลนั้นจะถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์ ทำให้ข้อมูลโพรไฟล์เปลี่ยนไปมีลักษณะดังรูปที่ 3.11 ถ้า เปรียบเทียบกับข้อมูลโพลไฟล์ที่ไม่ได้ถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์ตามรูปที่ 3.6 จะพบความแตกต่างที่ชัดเจนคือ ข้อมูลโพรไฟล์ที่ถูกกรองเชิง คณิตศาสตร์มีทั้งค่าบวกและค่าลบ ขณะที่ข้อมูลโพรไฟล์ที่ไม่ได้ถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์มีเฉพาะค่าบวกท่านั้น การกรองเชิงคณิตศาสตร์มี หลายวิธี เช่น การกรองแบบฟูเรียร์ (Fourier filtering) การกรองแบบราดอน (Radon filtering) การกรองแบบคอนโวลูชัน (Convolution filtering) หรือเคอร์เนล (Kernel) เป็นต้น หลังจากข้อมูลโพรไฟล์ถูกกรองเชิงคณิตศาสตร์หรือแบบคอนโวลูชันแล้ว การสร้างภาพแบบแบ็กโพรเจกชันจะเกิดขึ้น โดยการนำเรย์ซัม ที่เหมาะสมมารวมกันตรงตำแหน่งที่ต้องการคำนวณ รูปที่ 3.12 โพรไฟล์ 1 มีส่วนทำให้เซลล์ที่อยู่นอกวัตถุที่ตำแหน่ง X แสดงค่าสูง แต่โพรไฟล์ 2 และ 3 จะมีส่วนในการทำให้ค่าลดลง
  • 25. ค่าความหนาแน่นตามที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 3.2 แต่ครั้งนี้ภาพขอบของวัตถุจะมีความคมชัดมากขึ้น ดูรูปที่ 3.12 ประกอบ จะเห็นว่าในการคำนวณค่าความหนาแน่นตรง X ซึ่งอยู่นอกวัตถุ และเป็นตำแน่งที่ไม่ควรจะมีค่าความหนาแน่นเลย การ คำนวณค่าจะนำเรย์ซัม p1,p2,p3 มารวมกัน เนื่องจาก p1 มีค่าเป็นบวกแต่ p2,p3 มีค่าเป็นลบ ดังนั้นเมื่อรวมกันแล้วจึง ทำให้ค่าความหนาแน่นของตำแหน่ง X ต่ำมากจึงทำให้ภาพขอบของวัตถุมีความคมชัดขึ้น ไม่เกิดอาร์ติแฟ็คต์แบบดาวเหมือน การคำนวณสร้างภาพตามวิธีแบ็กโพรเจกชัน ซีทีส่วนมากนิยมใช้การกรองแบบคอนโวลูชันซึ่งมีให้เลือกใช้จนเกินพอถึง 20 ชนิด เช่น การกรองแบบคอนโวลูชันชนิด ความถี่สูง (High-frequency convolution filtering) จะปิดกั้นสัญญาณความถี่สูง ซึ่งมีลทำให้ได้ภาพที่มีความนุ่มนวลและมี คอนทราสต์ที่ดีขึ้น ในทางกลับกันถ้าเป็นการกรองแบบคอนโวลูชันชนิดความถี่ต่ำ (Low-frequency convolution filtering) จะปิดกั้นสัญญาณความถี่ต่ำ ซึ่งมีผลทำให้ได้ภาพที่แสดงขอบของวัตถุชัดมากขึ้น
  • 26. 3.5 ภาพซีที ในหัวข้อ 3.2-3.4 ได้กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการคำนวณสร้างภาพ โดยสรุปแล้วคือการคำนวณหาค่าการกระจายของค่า สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นในระนาบที่สนใจนั่นเอง จากรูป 3.13 ได้แสดงขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการสร้างภาพซีที เริ่มต้น ด้วยการแสวงหาข้อมูล ตามด้วยขั้นตอนวิธีการคำนวณการสร้างภาพ ซึ่งจะประกอบด้วยขั้นตอนของการเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์ การลดลงเชิงเส้นให้เป็นเลขซีที (CT number) ด้วย ดังนั้นในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาพซีที เช่น เลขซีที พิกซึล (pixel) ว็อกซึล ขนาดเมทริกซ์ (matrix size) เป็นต้น รูปที่ 3.13 แสดงขั้นตอนสำคัญของกระบวนการสร้างภาพซีที
  • 27. 3.5.1 เลขซีที ภาพซีทีเป็นภาพที่มีลักษณะเฉพาะต่างจากภาพเอกซเรย์ทั่วไป เพราะภาพซีทีเป็นภาพที่แสดงการกระจายของสัมประสิทธิ์ การลดลงเชิงเส้นในระนาบหนึ่งของตัวผู้ป่วยที่เราสนใจ เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย ผู้ป่วยมีค่าใกล้เคียงกันดังตัวอย่างที่แสดงในตาราง 3.1 ก่อนการแสดงภาพซีที จึงเปลี่ยนสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นให้เป็น เลขซีทีเพื่อให้เห็นความแตกต่างมากขึ้น โดยนิยามเลขซีทีตามสมการ (3.6) เมื่อ HN คือ เลขซีทีหรือเลขเฮานสฟิลด์ (Hounsfield number) µ คือ สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของตัวกลางใดๆ µw คือ สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของน้ำ k คือ แฟคเตอร์สเกล (factor scale) จากสมการ 3.6 จะเห็นว่าเลขซีทีของน้ำมีค่า เท่ากับศูนย์ หมายความว่าการเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของตัวกลางใดๆให้เป็นเลขซีทีจะใช้น้ำเป็นบรรทัดฐาน ตัวกลางใดที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะมีเลขซีทีเป็นบวกหรือมากกว่าศูนย์ ในทางตรงข้ามตัวกลางใดที่ความหนาแน่น น้อยกว่าน้ำจะมีเลขซีทีเป็นลบหรือน้อยกว่าศูนย์ ดูตาราง 3.2 ประกอบ (3.6)
  • 28. เมื่อพิจารณาเลขซีทีในเฮานสฟิลด์สเกล (Hounsfiled scale) จะมีค่าในช่วงตั้งแต่ -1000 ถึง +1000 แต่มีซีทีบางรุ่นที่ ใช้เลขซีทีในช่วง -2000 ถึง +6000 จากตาราง 3.2 กระดูกมีค่าเลขซีทีใน ตาราง 3.2 ตัวอย่างเลขซีทีของเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายมนุษย์
  • 29. เฮานสฟิลด์สเกลสูงที่สุดเท่ากับ +1000 ในขณะที่อากาศมีค่าต่ำเท่ากับ -1000 และน้ำมีเลขซีทีอยู่ตรงกลางเท่ากับ 0 ถ้าพิจารณา สัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของเกรย์แมตเตอร์เปรียบเทียบกับสัมประสิทธิ์การลดลงเชิงเส้นของเลือดจะมีค่าใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่เมื่อ เป็นเลขซีทีแล้วจะมีค่าต่างกันคือ 43 และ 40 ตามลำดับ ซึ่งเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น 3.5.2 พิกซึล ว็อกซึล ขนาดเทริกซ์และเอฟโอวี (FOV) พิกซึล การสร้างภาพด้วยการคำนวณค่าเลขซีทีของตัวกลางในระนาบที่สนใจ กระทำโดยการนำเลขซีทีมาเรียงกันตามตำแหน่งที่เหมาะ สม ภาพซีทีที่สร้างขึ้นจึงประกอบด้วยเซลล์เล็กๆและเป็นภาพดิจิทัล ดังรูป 3.14 เซลล์เล็กๆเหล่านั้นมีลักษณะบนระนาบ 2 มิติเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัสจำนวนมากเรียงเป็นระเบียบทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง และภายในเซลล์เล็กๆเหล่านั้นจะบรรจุค่าเลขซีทีซึ่งสามารถแสดง ภาพเป็นเลขซีทีดังรูปที่ 3.15 และเมื่อเปลี่ยนค่าเลขซีทีให้เป็นความดำความขาวก็จะปรากฏเป็นภาพเหมือนภาพเอกซเรย์ทั่วไป โดยทั่วไป บริเวณที่มีเลขซีทีสูงมากที่สุดจะแสดงความขาวมากที่สุด ในทางกลับกันบริเวณที่มีเลขซีทีต่ำที่สุดจะแสดงความดำมากที่สุด ดูตาราง 3.2 ประกอบ เมื่อมองลงไปตามแนวตั้งฉากกับระนาบของภาพซีที เซลล์เล็กๆแต่ละเซลล์ที่เห็นเรียกว่า พิกซึล (pixel มาจาก picture element)
  • 30. ขนาดเมทริกซ์ หมายถึงจำนวนพิกซึลทั้งหมดบนภาพซีที นิยามที่แสดงเป็นตัวเลขคูณกันเช่น 64×64, 128×128, 256×256, 512×512, 1024×1024, 2048×2048 เป็นต้น เมื่อกล่าวว่าภาพซีทีมีขนาดเมทริกซ์เท่ากับ 64×64 หรือ 642 หมายความว่า ภาพซี ทีประกอบด้วยจำนวนพิกซึลในแนวนอนมีค่าเท่ากับ 64 และจำนวนพิกซึลทั้งหมดจึงมีค่าเท่ากับ 64×64 ถ้าภาพซีทีมีขนาดเมทริกซ์ มากจำนวนพิกซึลก็จะมากทำให้ภาพมีความละเอียดมากและใช้เวลาในการคำนวณสร้างภาพนาน แต่ถ้าภาพซีทีมีขนาดเมทริกซ์ น้อยจำนวนพิกซึลก็จะน้อยทำใหดภาพมีความละเอียดน้อยและใช้เวลาในการคำนวณสร้างภาพไม่นาน ปัจจุบันสามารถแสดงภาพซี ทีให้มีความละเอียดสูงมากถึง 2048×2048 หรือ 20482 รูปที่ 3.14 ชิ้นภาพขนาดเล็กหรือพิกซึลจำนวนมากเรียงเป็นระเบียบทั้งแนวนอนและ แนวตั้ง และแสดงว็อกซึลที่ได้รวมความหนาของชิ้นภาพด้วย รูปที่ 3.15 ภาพซีทีหลังจากการคำนวณสร้างภาพ กรณีนี้แสดงตัวเลขค่าซีที
  • 31. เอฟโอวี (FOV: field of view) หมายถึง บริเวณของวัตถุที่รังสีเอกซ์เคลื่อนที่ทะลุผ่านเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลโพรไฟล์นำ ไปคำนวณสร้างภาพ หรือกล่าวโดยย่อคือวงกลมของการสร้างภาพที่พิจารณาบนวัตถุ ในการพิจารณาเอฟโอวีจะ พิจารณาจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมการสร้างภาพ ดังนั้นเอฟโอวีจึงมีหน่วยเป็น cm เอฟโอวี ขนาดเม ทริกซ์และขนาดของพิกซึลมีความสัมพันธ์กันตามสมการ (3.7) (3.7) เมื่อ d คือขนาดองพิกซึล และ MS คือขนาดเมทริกซ์ ถ้าในการสแกนเลือกใช้ขนาดเมทริกซ์เท่ากับ 512 และเอฟโอวี เท่ากับ 25 cm จะสามารถคำนวรค่าพิกซึลตามสมการ (3.7) ได้เท่ากับ 0.49 mm เป็นต้น การสแกนจำเป็นต้องกำหนด เอฟโอวีและขนาดเมทริกซ์ซึ่งจะมีผลต่อความละเอียดของภาพซีที ถ้าเลือกให้ขนาดเมทริกซ์มีค่าคงตัว เมื่อปรับให้เอฟโอวีมี ค่าสูงขึ้นหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น จะมีผลทำให้ขนาดพิกซึลเพิ่มขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือความละเอียดของภาพจะลดลง
  • 32. ในบทนี้ได้กล่าวถึง พจน์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สัมประสิทธิ์การลดลงเรย์ซัมโพรไฟล์ขั้นตอนวิธีหรือแอลกอริทึม การแปลงฟู เรียร์และการประมาณค่าในช่วง จากนั้นได้กล่าวถึง ทฤษฎีการสร้างภาพของซีทีได้แก่วิธีแบ็กโพรเจกชัน วิธีการสร้างภาพแบบ แอ็นนาลิซิส ซึ่งแบ่งออกเป็น การสร้างภาพแบบฟูเรียร์และการสร้างภาพแลลฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชัน ซึ่งวิธีการสร้างภาพแบบ ฟิลเตอร์แบ็กโพรเจกชันเป็นที่นิยมใช้กันมาก สุดท้ายได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของภาพซีทีโดยกล่าวถึงพื้นฐานของ เลขซีทีพิกซึล วอกซึล ขนาดแมทริกซ์และเอฟโอวี สรุป