SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
ความหมายของ คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์คืออะไร?<br />คอมพิวเตอร์ (computer)<br />     คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้อ) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย<br />     ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์<br />ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี<br />เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล<br />ความรู้พื้นฐานด้านดิจิตอล (Number System) <br />          ระบบเลขฐาน จัดเป็นระบบตัวเลขที่ใช้งานอยู่ใน PLC ดังนั้นผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องศึกษาระบบเลขฐานให้เข้าใจประกอบกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง<br />                       ระบบเลขฐานสอง (Binary)                       ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)                       ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)<br />ความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX สามารถกำหนดให้เป็นตารางได้ดังนี้<br />HEXBCDFOUR DIGIT BINARY  2^3 = 82^2 = 42^1 = 22^0 = 1000000110001220010330011440100550101660110770111881000991001A-1010B-1011C-1100D-1101E-1110F-1111<br />                    BIN (Binary)                          =       ระบบเลขฐานสอง                    BCD (Binary Code Decimal)  =       ระบบเลขฐานสิบ                     HEX (Hexadecimal)               =       ระบบเลขฐานสิบหก <br />1. ระบบเลขฐานสอง (Binary)         ระบบเลขฐานสอง (Binary) จะเป็นระบบเลขที่ง่ายกว่าเลขฐานสิบ เนื่องจากระบบเลขฐานสอง จะใช้ัอักขระแทนสองตัว ระบบเลขฐานสองนี้ใช้ในระบบดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะว่าวงจรดิจิตอลจะมีเพียงสองสถานะ(two states)หรือระดับสัญญาณสองระดับ (two signal levels)โดยมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 2 ตัว คือ  0   และ  1 หรืออาจใช้คำอื่นแทน<br />สถานะหนึ่งสถานะตรงข้าม01OffOnSpaceMarkOpenClosedLowHi<br />          ถ้าจะเทียบเลขฐานสองกับเลขฐานสิบแล้ว เลขฐานสองจะมีจำนวนหลักมากกว่า เพราะว่าในแต่ละหลักจะมีเลขได้สองค่า แต่ถ้าเป็นเลขฐานสิบแต่ละหลักจะมีเลขได้เก้าค่าคือ 0 ถึง 9          ระบบเลขฐานสิบ แต่ละหลักจะมีค่าเวจต์เป็นค่าสิบยกกำลังของหลักนั้น ระบบเลขฐานสองก็เช่นเดียวกัน จะมีฐานของเลขฐานสอง (base 2 system) การหาค่าเวจต์ในแต่ละหลักจะหาได้จากค่ายกกำลังสองของหลักนั้นๆ<br />ฐานสองฐานสิบ2^012^122^242^382^4162^5322^6642^71282^82562^95122^101024<br />ค่าของ2ยกกำลังต่างๆเป็นฐานสิบ <br />          ถ้าต้องการแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบก็สามารถทำได้ เช่นถ้าแปลงเลข 101101 เป็นเลขฐานสิบสามารถทำได้ดังนี้                             (1x2^5)+(0x2^4)+(1x2^3)+(1x2^2)+(0x2^1)+(1x2^0) = 45                    ตัวเลขฐานสอง 101101 จะมีค่าเท่ากับ 45 ในระบบเลขฐานสิบ          ระบบเลขฐานสองก็มีทศนิยมเช่นเดียวกับระบบเลขฐานสิบ ซึ่งเรียกว่าไบนารีพอยต์(binary point) โดยจะมีเครื่องหมายจุดแบ่งตัวเลขจำนวนเต็มกับเลขทศนิยมออกจากกัน ค่าเวจต์ของเลขทศนิยมแต่ละหลักจากซายไปขวาจะเป็นดังนี้ 1/2 , 1/4 , 1/8 , 1/16........ไปเรื่อยๆหรืออาจจะเขียนเป็นเลขยกกำลังค่าลบก็ได้<br />ฐานสองฐานสิบ2^ -10.52^ -20.252^ -30.1252^ -40.06522^ -50.031252^ -60.015625<br />ค่าของ2ยกกำลังค่าลบ เป็นเลขฐานสิบ<br />           ในระบบเลขฐานสิบนั้นแต่ละหลักจะเรียกว่าหลัก แต่ถ้่าเป็นระบบเลขฐานสองแต่ละหลักจะเรียกว่าบิต (bit) คำว่าบิต (bit) ย่อมาจาก binary digit ถ้าในงานดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ จะพบคำว่า “Bit” บ่อยมาก          ในแต่ละหลักของเลขฐานสอง หลักซึ่งมีค่าเวจต์ต่ำสุดซึ่งอยู่ทางด้านขวาสุด จะเรียกว่าบิตที่มีความสำคัญต่ำสุด(LSB : Least Significant Bit) สำหรับด้านที่อยู่ซ้ายสุดจะมีค่าเวจต์สูงสุด เรียกว่าบิตที่มีความสำคัญสูงสุด(MSB : Most Significant Bit) ถ้าใช้ในระบบเลขฐานสิบจะเรียกว่า LSD(Least Significant Digit) และ MSD(Most Significant Digit) ในระบบดิจิตอลในบางครั้งเราจะเห็นเขียนว่า MSD , LSD กำกับเอาไว้ด้วย<br />2. ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)          ระบบเลขฐานสิบ (Decimal) มีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 10 ตัว คือ   0   1   2   3   4   5   6   7   8   9  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ BCD code อันนี้คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากเพราะอยู่ใ้นชีวิตประจำวันอยู่แล้ว<br />3. ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)            ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ฐานของมันจะมีค่าเป็น 16 ซึ่งจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 16 ตัว คือ 0   1   2   3   4   5   6   7   8   9   A   B   C   D   E   F  (ตัวอักษร 6 ตัว แทน ตัวเลข 10 –15 ตามลำดับ)            ในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ตัวเลขที่ใช้ในการประมวลผลจะเป็นเลขฐานสอง แต่ถ้าตัวเลขมีค่ามากจะทำให้เลขฐานสองมีหลายหลัก จึงใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสอง แล้วจะมีการแปลงเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสองอีกทีหนึ่ง เลขฐานสิบหกนั้นจะนิยมใช้มากในคอมพิวเตอร์ ถ้าหากไบนารี่ที่ใ่ช้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นแบบ 8 บิต ซึ่งแทนเลขฐานสิบหกได้ตั้งเเต่ 0 ถึง 255 แต่สามารถแทนด้วยเลขฐานสิบหกเพียงสองหลักเท่านั้น ถ้าหากเรามีเลขฐานสิบ 99,999,999 ถ้าเขียนแทนด้วยเลขไบนารีจะต้องใช้หลายบิต แต่ถ้าเขียนเเทนด้วยเลขฐานสิบหกจะใช้เพียงไม่กี่หลัก           ค่าสิบหกสามารถแทนได้ด้วยสองยกกำลังสี่ หรือ 16 = 2^4 ดังนั้นเลขฐานสิบหกจึงสามารถเขียนแทนด้วยเลขฐานสองได้สี่บิต โดยมีค่าตั้งแต่ 0000 ถึง 1111 หรือแทนด้วยอักษร 0 ถึง F ความสัมพันธ์ระหว่างเลขฐานสอง ฐานสิบ และฐานสิบหกแสดงใ้ว้ในตารางความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX           การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบหกก็สามารถทำได้โดยง่าย โดยจัดเลขฐานสองตั้งแต่บิตแรกจนถึงบิตสุืดท้ายเป็นกลุ่มๆ โดยจัดกลุ่มละ 4 บิตและแทนค่าด้วยเลขฐานสิบหกแต่ละค่าให้สอดคล้องกันตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเลขฐานสองเป็นฐานสิบหก<br />            —การแปลงเลข 10101011111101 เป็นเลขฐานสิบหกสามารถทำได้โดย การแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 บิตดังนี้                              0010     1010     1111     1101          จะเห็นว่าถ้าแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 บิต จะมีสองบิตบนที่จัดกลุ่มไม่ได้ ก็ให้เติม 0 ไปในกลุ่มนั้นให้ครบ 4 บิต จากนั้นแทนค่าตัวเลขแต่ละกลุ่มด้วยเลขฐานสิบหกดังนี้                                2            A          F          Dดังนั้นจะได้ 10101011111101 มีค่าเท่ากับ 2AFD<br />          ให้จำไว้ว่าเลขฐานสิบหกที่เรามองเห็นนั้นเป็นการใช้แทนเลขไบนารีเพราะ CPU ไม่สามารถประมวลผลเลขฐานสิบหกได้<br />การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์<br />         คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานด้านต่างๆ อย่างแพร่หลายดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้งานด้านต่างๆ ย่อมมีวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น งานวิจัยเพื่อส่งยานอวกาศออกไปนอกโลก หรืองานของธนาคารที่มีสาขาทั่วไป หรืองานคุมสินค้าคงคลังของห้างสรรพสินค้า หรืองานฝึกอบรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมศึกษา หรืองานผลิตหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้มีการผลิตคอมพิวเตอร์ออกมาให้มีขนาดและความสามารถรวมทั้งราคาอย่างเหมาะสมกับงานด้านต่างๆ ซึ่งการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นี้พิจารณาจากสรรถนะของหน่วยประมวลผลกลาง ความรู้ของหน่วยความจำ และคุณสมบัติประกอบอื่นๆ           คอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้          1. แบ่งตามลักษณะการประมวลผล          2. แบ่งตามขนาดและความสามรถของเครื่อง          3. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน  <br />องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ <br />คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า quot;
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)quot;
 ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมาซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน<br />1162050161290<br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้<br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ <br />          เราได้นำเอาลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมและที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์รายงาน จดหมาย เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น<br />1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิต สำหรับงานด้านบันเทิง เราได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนต์ เพลง หนังสือ สิ่งพิมพ์ โฆษณา ผลิตสื่อต่าง ๆ เป็นต้น<br />2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น<br />3. งานคมนาคมและสื่อสาร  เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร เช่น สัญญาณไฟจราจร และการจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็จะใช้ในระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยให้การส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน<br />4. งานราชการ  การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ สำหรับสรรพกร จะนำไปใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่าง เป็นต้น<br />5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน<br />6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น<br />ข้อมูลจาก คณะบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต <br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์<br />เราได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนคอมพิวเตอร์ 1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก<br />2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI<br />3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่<br />4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว<br />5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง<br />6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม<br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ<br />1. ประโยชน์ทางตรง<br />        ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ<br />2. ประโยชน์ทางอ้อม<br />        คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น<br />ข้อมูลจาก  ครูอธิกา เพ็ชรคง  โรงเรียนสฤษดิเดช จันทบุรี<br /> <br />ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์<br />ข้อดี มีดังนี้1. ความเร็วสูง 2.ความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ 3. ความสามารถในการจำหรือรักษา 4. การประหยัด 5. การใช้งานได้อีกหลายๆด้าน <br />ข้อเสีย 1. การทำงานยังต้องขึ้นอยู่กับมนุษย์ 2. การวางระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลานาน 3. การรบกวนระบบงานปกติ <br />
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล

More Related Content

What's hot

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
สื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulse
สื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulseสื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulse
สื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulseNalai Rinrith
 
เคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณเคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณAui Ounjai
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องM'suKanya MinHyuk
 
สร้อยข้อมือ
สร้อยข้อมือสร้อยข้อมือ
สร้อยข้อมือTossaporn Sri
 
บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2
บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2
บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2Wichai Likitponrak
 
02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงาน02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงานPhanuwat Somvongs
 
ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์Pat Jitta
 
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร
บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร   บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร Pinutchaya Nakchumroon
 
01แบบฝึกแรงและงาน
01แบบฝึกแรงและงาน01แบบฝึกแรงและงาน
01แบบฝึกแรงและงานPhanuwat Somvongs
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันEyezz Alazy
 
บทที่ 2 งาน และพลังงาน
บทที่ 2  งาน และพลังงานบทที่ 2  งาน และพลังงาน
บทที่ 2 งาน และพลังงานPinutchaya Nakchumroon
 

What's hot (20)

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
 
สื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulse
สื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulseสื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulse
สื่อประสมชุดที่ 1 โมเมนตัมและการดล : Momentum and impulse
 
เคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณเคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณ
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
สร้อยข้อมือ
สร้อยข้อมือสร้อยข้อมือ
สร้อยข้อมือ
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2
บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2
บทที่5แรงในชีวิตประจำวันม 2
 
เฉลย06กฎการเคลื่อนที่
เฉลย06กฎการเคลื่อนที่เฉลย06กฎการเคลื่อนที่
เฉลย06กฎการเคลื่อนที่
 
02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงาน02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงาน
 
งานพลังงาน
งานพลังงานงานพลังงาน
งานพลังงาน
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
ตะลุยโจทย์ข้อสอบ งานและพลังงาน
ตะลุยโจทย์ข้อสอบ งานและพลังงานตะลุยโจทย์ข้อสอบ งานและพลังงาน
ตะลุยโจทย์ข้อสอบ งานและพลังงาน
 
Elect01
Elect01Elect01
Elect01
 
ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ที่ 1 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
 
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร
บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร   บทที่ 4  ระบบย่อยอาหาร
บทที่ 4 ระบบย่อยอาหาร
 
01แบบฝึกแรงและงาน
01แบบฝึกแรงและงาน01แบบฝึกแรงและงาน
01แบบฝึกแรงและงาน
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
บทที่ 2 งาน และพลังงาน
บทที่ 2  งาน และพลังงานบทที่ 2  งาน และพลังงาน
บทที่ 2 งาน และพลังงาน
 
สมดุลกล1
สมดุลกล1สมดุลกล1
สมดุลกล1
 
ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2
 

Similar to คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล

บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]Nattapon
 
Number bases
Number basesNumber bases
Number basesArtist Ar
 
จีระวรรณ มูลสาร
จีระวรรณ  มูลสารจีระวรรณ  มูลสาร
จีระวรรณ มูลสารKruaoming
 
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์จูน นะค่ะ
 
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์จูน นะค่ะ
 
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันkanit087
 
หน่วยที่2
หน่วยที่2หน่วยที่2
หน่วยที่2Nana Sara
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์Wanvisa Noikaew
 

Similar to คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล (20)

บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
บทที่ 3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ [slide]
 
Number bases
Number basesNumber bases
Number bases
 
Computer system
Computer systemComputer system
Computer system
 
จีระวรรณ มูลสาร
จีระวรรณ  มูลสารจีระวรรณ  มูลสาร
จีระวรรณ มูลสาร
 
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
 
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 การคำนวณของคอมพิวเตอร์
 
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน
 
S4
S4S4
S4
 
Computer system
Computer systemComputer system
Computer system
 
หน่วยที่2
หน่วยที่2หน่วยที่2
หน่วยที่2
 
C0143-05
C0143-05C0143-05
C0143-05
 
Ch1 com tech
Ch1 com techCh1 com tech
Ch1 com tech
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
 
computer
computercomputer
computer
 
Week01
Week01Week01
Week01
 
Week01
Week01Week01
Week01
 
Week01
Week01Week01
Week01
 
Week01
Week01Week01
Week01
 
Week01
Week01Week01
Week01
 

More from เกวลิน แก้ววิจิตร

More from เกวลิน แก้ววิจิตร (6)

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
การแต่งภาพด้วยPhoto scap
การแต่งภาพด้วยPhoto scapการแต่งภาพด้วยPhoto scap
การแต่งภาพด้วยPhoto scap
 
ข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลและสารสนเทศข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลและสารสนเทศ
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
การแต่งภาพด้วยPhoto scape
การแต่งภาพด้วยPhoto scapeการแต่งภาพด้วยPhoto scape
การแต่งภาพด้วยPhoto scape
 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวันเทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน
 

คอมพิวเตอร์กับการประมวลผลข้อมูล

  • 1. ความหมายของ คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์คืออะไร?<br />คอมพิวเตอร์ (computer)<br />     คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้อ) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย<br />     ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์<br />ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี<br />เลขฐานสองกับระบบดิจิทัล<br />ความรู้พื้นฐานด้านดิจิตอล (Number System) <br />          ระบบเลขฐาน จัดเป็นระบบตัวเลขที่ใช้งานอยู่ใน PLC ดังนั้นผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องศึกษาระบบเลขฐานให้เข้าใจประกอบกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง<br />                       ระบบเลขฐานสอง (Binary)                       ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)                       ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)<br />ความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX สามารถกำหนดให้เป็นตารางได้ดังนี้<br />HEXBCDFOUR DIGIT BINARY  2^3 = 82^2 = 42^1 = 22^0 = 1000000110001220010330011440100550101660110770111881000991001A-1010B-1011C-1100D-1101E-1110F-1111<br />                    BIN (Binary)                          =       ระบบเลขฐานสอง                    BCD (Binary Code Decimal)  =       ระบบเลขฐานสิบ                     HEX (Hexadecimal)               =       ระบบเลขฐานสิบหก <br />1. ระบบเลขฐานสอง (Binary)         ระบบเลขฐานสอง (Binary) จะเป็นระบบเลขที่ง่ายกว่าเลขฐานสิบ เนื่องจากระบบเลขฐานสอง จะใช้ัอักขระแทนสองตัว ระบบเลขฐานสองนี้ใช้ในระบบดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะว่าวงจรดิจิตอลจะมีเพียงสองสถานะ(two states)หรือระดับสัญญาณสองระดับ (two signal levels)โดยมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 2 ตัว คือ  0   และ  1 หรืออาจใช้คำอื่นแทน<br />สถานะหนึ่งสถานะตรงข้าม01OffOnSpaceMarkOpenClosedLowHi<br />          ถ้าจะเทียบเลขฐานสองกับเลขฐานสิบแล้ว เลขฐานสองจะมีจำนวนหลักมากกว่า เพราะว่าในแต่ละหลักจะมีเลขได้สองค่า แต่ถ้าเป็นเลขฐานสิบแต่ละหลักจะมีเลขได้เก้าค่าคือ 0 ถึง 9          ระบบเลขฐานสิบ แต่ละหลักจะมีค่าเวจต์เป็นค่าสิบยกกำลังของหลักนั้น ระบบเลขฐานสองก็เช่นเดียวกัน จะมีฐานของเลขฐานสอง (base 2 system) การหาค่าเวจต์ในแต่ละหลักจะหาได้จากค่ายกกำลังสองของหลักนั้นๆ<br />ฐานสองฐานสิบ2^012^122^242^382^4162^5322^6642^71282^82562^95122^101024<br />ค่าของ2ยกกำลังต่างๆเป็นฐานสิบ <br />          ถ้าต้องการแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบก็สามารถทำได้ เช่นถ้าแปลงเลข 101101 เป็นเลขฐานสิบสามารถทำได้ดังนี้                             (1x2^5)+(0x2^4)+(1x2^3)+(1x2^2)+(0x2^1)+(1x2^0) = 45                    ตัวเลขฐานสอง 101101 จะมีค่าเท่ากับ 45 ในระบบเลขฐานสิบ          ระบบเลขฐานสองก็มีทศนิยมเช่นเดียวกับระบบเลขฐานสิบ ซึ่งเรียกว่าไบนารีพอยต์(binary point) โดยจะมีเครื่องหมายจุดแบ่งตัวเลขจำนวนเต็มกับเลขทศนิยมออกจากกัน ค่าเวจต์ของเลขทศนิยมแต่ละหลักจากซายไปขวาจะเป็นดังนี้ 1/2 , 1/4 , 1/8 , 1/16........ไปเรื่อยๆหรืออาจจะเขียนเป็นเลขยกกำลังค่าลบก็ได้<br />ฐานสองฐานสิบ2^ -10.52^ -20.252^ -30.1252^ -40.06522^ -50.031252^ -60.015625<br />ค่าของ2ยกกำลังค่าลบ เป็นเลขฐานสิบ<br />           ในระบบเลขฐานสิบนั้นแต่ละหลักจะเรียกว่าหลัก แต่ถ้่าเป็นระบบเลขฐานสองแต่ละหลักจะเรียกว่าบิต (bit) คำว่าบิต (bit) ย่อมาจาก binary digit ถ้าในงานดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ จะพบคำว่า “Bit” บ่อยมาก          ในแต่ละหลักของเลขฐานสอง หลักซึ่งมีค่าเวจต์ต่ำสุดซึ่งอยู่ทางด้านขวาสุด จะเรียกว่าบิตที่มีความสำคัญต่ำสุด(LSB : Least Significant Bit) สำหรับด้านที่อยู่ซ้ายสุดจะมีค่าเวจต์สูงสุด เรียกว่าบิตที่มีความสำคัญสูงสุด(MSB : Most Significant Bit) ถ้าใช้ในระบบเลขฐานสิบจะเรียกว่า LSD(Least Significant Digit) และ MSD(Most Significant Digit) ในระบบดิจิตอลในบางครั้งเราจะเห็นเขียนว่า MSD , LSD กำกับเอาไว้ด้วย<br />2. ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)          ระบบเลขฐานสิบ (Decimal) มีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 10 ตัว คือ   0   1   2   3   4   5   6   7   8   9  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ BCD code อันนี้คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากเพราะอยู่ใ้นชีวิตประจำวันอยู่แล้ว<br />3. ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)            ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ฐานของมันจะมีค่าเป็น 16 ซึ่งจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 16 ตัว คือ 0   1   2   3   4   5   6   7   8   9   A   B   C   D   E   F  (ตัวอักษร 6 ตัว แทน ตัวเลข 10 –15 ตามลำดับ)            ในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ตัวเลขที่ใช้ในการประมวลผลจะเป็นเลขฐานสอง แต่ถ้าตัวเลขมีค่ามากจะทำให้เลขฐานสองมีหลายหลัก จึงใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสอง แล้วจะมีการแปลงเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสองอีกทีหนึ่ง เลขฐานสิบหกนั้นจะนิยมใช้มากในคอมพิวเตอร์ ถ้าหากไบนารี่ที่ใ่ช้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นแบบ 8 บิต ซึ่งแทนเลขฐานสิบหกได้ตั้งเเต่ 0 ถึง 255 แต่สามารถแทนด้วยเลขฐานสิบหกเพียงสองหลักเท่านั้น ถ้าหากเรามีเลขฐานสิบ 99,999,999 ถ้าเขียนแทนด้วยเลขไบนารีจะต้องใช้หลายบิต แต่ถ้าเขียนเเทนด้วยเลขฐานสิบหกจะใช้เพียงไม่กี่หลัก           ค่าสิบหกสามารถแทนได้ด้วยสองยกกำลังสี่ หรือ 16 = 2^4 ดังนั้นเลขฐานสิบหกจึงสามารถเขียนแทนด้วยเลขฐานสองได้สี่บิต โดยมีค่าตั้งแต่ 0000 ถึง 1111 หรือแทนด้วยอักษร 0 ถึง F ความสัมพันธ์ระหว่างเลขฐานสอง ฐานสิบ และฐานสิบหกแสดงใ้ว้ในตารางความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX           การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบหกก็สามารถทำได้โดยง่าย โดยจัดเลขฐานสองตั้งแต่บิตแรกจนถึงบิตสุืดท้ายเป็นกลุ่มๆ โดยจัดกลุ่มละ 4 บิตและแทนค่าด้วยเลขฐานสิบหกแต่ละค่าให้สอดคล้องกันตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเลขฐานสองเป็นฐานสิบหก<br />            —การแปลงเลข 10101011111101 เป็นเลขฐานสิบหกสามารถทำได้โดย การแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 บิตดังนี้                              0010     1010     1111     1101          จะเห็นว่าถ้าแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 บิต จะมีสองบิตบนที่จัดกลุ่มไม่ได้ ก็ให้เติม 0 ไปในกลุ่มนั้นให้ครบ 4 บิต จากนั้นแทนค่าตัวเลขแต่ละกลุ่มด้วยเลขฐานสิบหกดังนี้                                2            A          F          Dดังนั้นจะได้ 10101011111101 มีค่าเท่ากับ 2AFD<br />          ให้จำไว้ว่าเลขฐานสิบหกที่เรามองเห็นนั้นเป็นการใช้แทนเลขไบนารีเพราะ CPU ไม่สามารถประมวลผลเลขฐานสิบหกได้<br />การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์<br />         คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานด้านต่างๆ อย่างแพร่หลายดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้งานด้านต่างๆ ย่อมมีวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น งานวิจัยเพื่อส่งยานอวกาศออกไปนอกโลก หรืองานของธนาคารที่มีสาขาทั่วไป หรืองานคุมสินค้าคงคลังของห้างสรรพสินค้า หรืองานฝึกอบรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมศึกษา หรืองานผลิตหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้มีการผลิตคอมพิวเตอร์ออกมาให้มีขนาดและความสามารถรวมทั้งราคาอย่างเหมาะสมกับงานด้านต่างๆ ซึ่งการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นี้พิจารณาจากสรรถนะของหน่วยประมวลผลกลาง ความรู้ของหน่วยความจำ และคุณสมบัติประกอบอื่นๆ           คอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้          1. แบ่งตามลักษณะการประมวลผล          2. แบ่งตามขนาดและความสามรถของเครื่อง          3. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน  <br />องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ <br />คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า quot; ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)quot; ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมาซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน<br />1162050161290<br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้<br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ <br />          เราได้นำเอาลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมและที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์รายงาน จดหมาย เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น<br />1. งานธุรกิจ บริษัท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า รวมไปถึงโรงงานต่าง ๆ ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และใช้ติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ในงานอุตสาหกรรม จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการผลิต เช่น การใช้หุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์มาควบคุมการผลิต สำหรับงานด้านบันเทิง เราได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างภาพยนต์ เพลง หนังสือ สิ่งพิมพ์ โฆษณา ผลิตสื่อต่าง ๆ เป็นต้น<br />2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน งานศึกษาโมเลกุลเคมี หรืองานทะเบียน สถิติ และนอกจากนี้เรายังนำคอมพิวเตอร์ไปเป็นอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำและยังทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น<br />3. งานคมนาคมและสื่อสาร  เรานำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมระบบการจราจร เช่น สัญญาณไฟจราจร และการจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็จะใช้ในระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยให้การส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน<br />4. งานราชการ  การใช้งานในหน่วยงานราชการนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ สำหรับสรรพกร จะนำไปใช้ในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ในการจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่าง เป็นต้น<br />5. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  สถาปนิกและวิศวกรจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน<br />6. การศึกษา เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอน หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น<br />ข้อมูลจาก คณะบริหารธุรกิจ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต <br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์<br />เราได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนคอมพิวเตอร์ 1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก<br />2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI<br />3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่<br />4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว<br />5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง<br />6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม<br />ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ<br />1. ประโยชน์ทางตรง<br />        ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ<br />2. ประโยชน์ทางอ้อม<br />        คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น<br />ข้อมูลจาก  ครูอธิกา เพ็ชรคง  โรงเรียนสฤษดิเดช จันทบุรี<br /> <br />ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์<br />ข้อดี มีดังนี้1. ความเร็วสูง 2.ความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ 3. ความสามารถในการจำหรือรักษา 4. การประหยัด 5. การใช้งานได้อีกหลายๆด้าน <br />ข้อเสีย 1. การทำงานยังต้องขึ้นอยู่กับมนุษย์ 2. การวางระบบงานคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลานาน 3. การรบกวนระบบงานปกติ <br />