SlideShare a Scribd company logo
พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
ผู้แปล
ตำ�ราพิชัยสงคราม ๑๓ บท
孙子兵法十三计
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
ซุนวูเป็นชื่อตำ�ราพิชัยสงคราม ๑๓ บทไม้ตายที่เก่าแก่ที่สุด ๑ ในหนังสือว่าด้วยการทหารของจีน
โบราณ ๗ เล่ม เสียงที่ชาวไทยอ่านว่า “ซุนซู๊” เป็นเสียงอ่านตามที่ชาวตะวันตกอ่าน มิใช่เสียงที่ชาว
จีนอ่านออกเสียง คาดว่าไม่ ซุนวู (๕๑๔–๔๙๗ ปีก่อน ค.ศ.) หรือไม่ก็ ซุนปิง ( ๓๔๐ ปีก่อน ค.ศ.) เป็น
ผู้ประพันธ์ขึ้น โดยใช้สำ�นวนจีนที่คมคาย เข้าใจง่าย ประกอบกับใช้แนวคิดของชาวตะวันออกล้วนๆ
และเป็นแม่บททางความคิดของทั้งลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ อีกด้วย อย่างไรก็ตามหากถอดความตรง
ตัวแล้ว อาจแปลได้ว่า “ปราชญ์แซ่ซุน” 				
	
	 มีการอ้างถึงซุนวูบ่อยครั้ง ในระหว่างการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสงคราม ของสถาบัน
การศึกษาวิชาชีพทางทหาร แต่ความจริงแล้ว ทหารไทยน้อยคนนักที่เคยได้อ่านฉบับจริงจนจบเล่ม
หรือไม่ก็เพียงเคยได้อ่านจากเอกสารเรื่องอื่นๆที่ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากซุนวูที่ถอดความวาง
ขายในตลาดหนังสือทั่วไป มีการสอดแทรกความเห็นส่วนตัวที่ไม่ถูกต้องไว้มาก กับบางส่วนถูกถอด
ความจากเอกสารภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้แปลไว้ก่อนเป็นชาวตะวันตก จึงไม่สามารถทำ�ความเข้าใจกับ
ทัศนะของชาวตะวันออกได้ ทำ�ให้เกิดอุปสรรคในการค้นคว้า และอ่านไม่รู้เรื่อง
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
เอกสารฉบับนี้นั้นได้ถอดความอย่างตรงไปตรงมา มิได้สอดแทรกความเห็นส่วนตัวใดๆ จากอักษร
จีนโบราณ หรือ อักษรญี่ปุ่นโบราณ และการถอดความเป็นภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันของหนังสือชื่อซุนวู
(Suntzu) ของนาย Kanetani ซึ่งจัดพิมพ์ และแก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อปี ๑๙๘๐ โดยใช้เป็นตำ�ราเรียน
ของนักเรียนนายร้อยรวมประเทศญี่ปุ่นชั้นปีที่ ๒ ซึ่งผู้แปล น.อ.จอม รุ่งสว่าง (ยศในขณะนั้น) ได้
มีโอกาสศึกษาอย่างจริงจังเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วเหตุผลประการหนึ่งที่สถาบันทหารของญี่ปุ่นให้ความ
สำ�คัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เนื่องเพราะพวกเขาถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานทางทหารที่ต้องศึกษาตั้งแต่
ยังวัยเยาว์ ดังนั้นทหารญี่ปุ่นจะมีตำ�รานี้ครอบครองไว้เป็นส่วนตัวทุกคน ในขณะที่ทหารไทยนั้นมอง
ว่า ซุนวู เป็นเรื่องในระดับยุทธศาสตร์ที่จำ�เป็นต้องรู้เพียงเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น ซึ่งแสดงให้
เห็นถึงความแตกต่างกันในเรื่องแนวคิดด้านการศึกษา ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยได้อย่าง
ชัดเจน
	 อย่างไรก็ตามซุนวูเป็นตำ�ราพิชัยสงครามที่สะท้อนปรัชญาจิตนิยมสุดขั้ว และอธิบายด้วย
สำ�นวนจีนที่กระทัดรัด คมคาย ใช้ตรรกะบวกลบเชิงเส้นแบบธรรมดาๆ ทำ�ให้อ่านและสามารถทำ�ความ
เข้าใจได้ง่าย ผู้แปลหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักการอ่านทุกท่าน เพราะนอกจาก มันจะ
สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิต และการทำ�งานประจำ�วันแล้ว เนื้อหาสาระของซุนวู ยังได้รับการยอมรับ
อย่างกว้างขวางว่าอัดแน่นไปด้วย “FUNDAMENTAL DOCTRINE” ที่จะทำ�ให้ผู้ที่อ่านได้แตกฉาน
สามารถทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสงครามได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างบทที่สำ�คัญ
重要兵法的例子
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	
รบร้อยชนะร้อย
	 ซุนวูได้กล่าวไว้ว่า การรบถ้ารู้จักการวางแผนที่ดีมีสิทธิที่จะชนะทุกร้อยครั้งเหมือนสิงโต
ถ้าคราวใดที่ไม่สามารถจะล่าเหยื่อได้จะไม่ออกล่าเหยื่อ ในสงครามเมื่อมีการรู้กำ�ลังของกองทัพของ
เราเองรู้ความสามารถของแม่ทัพ รู้ความสามารถของกองทหารของฝ่ายเรา โอกาสรบชนะจะมีครึ่ง
หนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่เราเรียนรู้กองกำ�ลังของข้าศึก เรียนรู้ความสามารถของแม่ทัพข้าศึก และรู้ความ
สามารถของกองทหารของข้าศึก โอกาสรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งก็ไม่ไปไหนไกล แต่หากเมื่อใดก็ตาม
ที่ออกรบนั้น แม่ทัพไม่รู้กำ�ลังของตัวเอง ไม่รู้กำ�ลังของกองทหารตัวเอง ไม่ว่าจะออกรบกี่ครั้งก็ต้อง
แพ้ย่อยยับกลับมาทุกครั้ง ศาสตร์ข้อนี้ได้มีการนำ�ไปใช้ในเชิงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย ยกตัวอย่าง
เช่น ทฤษฎี SWOT Analysis
ตีใกล้แสร้งไกล ตีไกลแสร้งใกล้
	 ซุนวูกล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่จะรุกโจมตีเมืองที่ไกลห่างออกไป จงหลอกล่อให้ข้าศึกรู้ว่าเรา
จะตีเมืองอื่นที่ใกล้กับเรา หลอกให้ศัตรูคิดว่าเราไม่สามารถไปตีถึงเมืองนั้นได้ เมื่อคราใดที่เราเข้า
โจมตีศัตรู ศัตรูจะไหวตัวไม่ทันทำ�ให้รบชนะได้อย่างง่ายดาย เฉกเช่นเดียวกับโจมตีเมืองที่อยู่ใกล้
แต่หลอกศัตรูว่าเราจะไปตีเมืองที่ไกลห่างออกไป
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
จงสู้รบให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
	 • ไฟ
	 เมื่อยามบุก จงบุกให้เหมือนไฟ ให้รุกกระหน่ำ�ให้โหมหนักไปเรื่อยเรื่อยจนทุกอย่างมอดไหม้
	 • ภูเขา
	 เมื่อยามที่ตั้งรับ จงนิ่งสงบอย่างหุบเขา ไม่ให้ศัตรูจับได้ว่าเราซ่อนตัวอยู่ที่ไหน
	 • ลม
	 เมื่อยามเคลื่อนทัพ จงเคลื่อนให้เหมือนสายลม รวดเร็วโดยไม่ทิ้งร่องรอย สิ่งที่ผู้ปกครอง	
	 ไม่พึงทำ�ในการยุทธ
สิ่งที่ผู้ปกครองไม่พึงทำ�ในการยุทธ
	 ผู้ที่ปกครองห้ามทำ�ผิดกฎ 3 ข้อดังต่อไปนี้ หากไม่ทำ�ตามจะทำ�ให้ประสบกับความพ่ายแพ้ได้
	 • สั่งให้รุกขณะไม่ควรรุก หรือสั่งให้ถอยขณะเป็นต่อข้าศึก ทำ�ให้กองทัพระส่ำ�ระสาย
	 • ไม่มีความเข้าใจ ในกิจการของกองทัพ แต่สั่งการตามอำ�เภอใจ หรือสามัญสำ�นึก
	 ของตน ทำ�ให้เหล่าขุนพลสับสน
	 • ไม่เข้าใจหลักการผสมผสานการใช้กำ�ลังทหารเหล่าต่างๆ ในการดำ�เนินกลยุทธ์ 		
	 แต่เข้าแสดงบทผู้บัญชาการ ทำ�ให้เหล่านายทหารเกิดความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจเมื่อเหล่า	
	 ทัพต่าง ๆ ตกอยู่ในสภาพลังเล สงสัย สับสน ไม่แน่ใจ ก็เกิดความระส่ำ� ระสายในกองทัพ 	
	 ศัตรูก็ฉวยโอกาสนี้เข้ากระทำ�และได้รับชัยชนะ เป็น ต่อฝ่ายเรา
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
ปัจจัยสู่ชัยชนะ
	 การนำ�กองทัพสู่ชัยชนะมีปัจจัย 5 ประการ
	 • รู้ว่าเมื่อใดควรรบ และไม่ควรรบ
	 • รู้จักการออมกำ�ลัง
	 • นาย และพลทหารเป็นน้ำ�หนึ่ง ใจเดียวกัน
	 • วางแผนและเตรียมการดี
	 • มีขุนพลผู้ที่สามารถ และไม่ถูกแทรกแซงจากผู้ปกครอง
ที่กล่าวมา 5 ประการนี้ผู้ใดรู้จักใช้จะพบกับ “ชัยชนะ”
	 พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
บทที่ ๑
第一计
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ซุนวูกล่าวไว้ การสงครามเป็นงานยิ่งใหญ่ และยังมีความสำ�คัญต่อชาติใหญ่หลวง ชี้ขาด
ความเป็นตายคนในชาติเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาติ จึงต้องคิดอ่านพิจารณาด้วยความรอบคอบ
อย่างถึงที่สุดฉะนั้นจะต้องคิดคำ�นึงถึงเรื่องสำ�คัญ ๕ ประการ และพิจารณาเปรียบเทียบ ๗ ประการ
เพื่อเข้าใจสถานการณ์ได้ถ่องแท้ ๕ ประการดังกล่าว ได้แก่
	 • หนทาง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนแต่ละชั้นว่าสามารถอยู่ร่วมกัน ตายร่วมกัน	
	 ได้เพียงใด ( การเมืองภายใน )
	 • สภาพแวดล้อม เงื่อนไขเอื้ออำ�นวยของจังหวะเวลา และภูมิอากาศ
	 • สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
	 • แม่ทัพนายกอง ลักษณะคน
	 • กฎ ระเบียบ วินัย
ปกติการคิดคำ�นึง และศึกษาเรื่องราว ๕ ประการ แม่ทัพนายกองทุกคนเข้าใจดีอยู่แล้ว แต่ผู้เข้าใจลึก
ซึ้งกว่าเป็นผู้ชนะ ผู้เข้าใจลึกซึ้งน้อยกว่าเป็นผู้ไม่อาจชนะ ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งกว่าจำ�เป็นต้องมี
การพิจารณาเปรียบเทียบอีก ๗ ประการ ดังนี้
		 • ผู้นำ�ประเทศฝ่ายใดกำ�จิตใจคนในชาติมากกว่ากัน
		 • แม่ทัพนายกองฝ่ายใดมีความสามารถมากกว่ากัน
		 • เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ฝ่ายใดได้เปรียบ
		 • ฝ่ายใดรักษากฎ ระเบียบ วินัย เคร่งครัด กว่ากัน
		 • กองทัพฝ่ายใดเข้มแข็งกว่ากัน
๑.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
		 • ทหารหาญฝ่ายใดได้รับการฝึกมามากกว่ากัน
		 • การให้รางวัล และการลงโทษ ฝ่ายใดมีความยุติธรรมกว่ากัน
สำ�หรับซุนวูแล้ว จากที่กล่าวมา แม้ยังมิได้รบก็รู้แพ้ชนะกระจ่างแจ้งแล้ว
	 ในกรณีแม่ทัพนายกองปฏิบัติตามการคิดคำ�นวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการ
ของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะได้รับชัยชนะแน่นอน ต้องเอาคนคนนี้มาใช้งาน ในกรณีแม่ทัพ
นายกองมิได้ปฏิบัติตามการคิดคำ�นวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอา
คนนี้มาใช้งานจะประสบความพ่ายแพ้แน่นอน ต้องปลดคนคนนี้ทิ้งเสีย ถ้าปฏิบัติตาม และเข้าใจ
ความคิดอ่านนี้ การเตรียมการก่อนออกศึกจะเกิด “พลังอำ�นาจ” ซึ่งจะช่วยกองทัพในการศึก พลัง
อำ�นาจที่กล่าวช่วยให้ฝ่ายเราสามารถใช้ความอ่อนตัว บังคับสถานการณ์ได้เปรียบให้ตกอยู่กับฝ่าย
เรานั่นเอง (พลังอำ�นาจ ... ศักย์สงคราม)
	 การศึกนั้นเป็นการเคลื่อนไหวด้วยเล่ห์เหลี่ยม มีความหมายถึงการกระทำ�ที่กลับกันกับ
การกระทำ�ปกติ ฉะนั้น เมื่อเข้มแข็งต้องให้เห็นว่าอ่อนแอ เมื่อกล้าต้องให้เห็นว่ากลัว เมื่อใกล้ให้ดู
ไกล เมื่อไกลให้ดูใกล้ เมื่อข้าศึกต้องการประโยชน์เอาประโยชน์เข้าล่อ เมื่อข้าศึกวุ่นวายสับสนให้ฉวย
๒.
๓.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
โอกาสข้าศึกเหนียวแน่นให้ป้องกัน ข้าศึกเข้มแข็งให้ถอยออกมา เมื่อข้าศึกโกรธให้ยั่วยุ ข้าศึกสบาย
ทำ�ให้พวกเขาเหนื่อยล้า เมื่อข้าศึกกลมเกลียวทำ�ให้แตกแยก โจมตีข้าศึกในที่ซึ่งไม่มีการป้องกัน รุก
เข้าไปในที่ซึ่งข้าศึกไม่คาดคิด เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึก ก่อนรบไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าจะเผชิญ
หน้ากับสถานการณ์เช่นไร
	 ปกติการคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วชนะ หมายถึงผลจากการคิดคำ�นวณ ๕ ประการเปรียบ
เทียบ ๗ ประการ แล้วมีทางชนะมากกว่าทางแพ้นั่นเอง แต่หากคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วไม่อาจชนะ
ก็หมายถึงผลจากการคิดคำ�นวณ ๕ ประการเปรียบเทียบ ๗ ประการแล้วมีทางชนะน้อยนั่นเอง ดัง
นั้น จากการคิดคำ�นวณก่อนออกศึก ถ้ามีทางชนะมากจะชนะ ถ้ามีทางชนะน้อยกว่าก็จะมิอาจชนะ
สำ�หรับข้าพเจ้า เพียงสังเกตดังกล่าว ก็รู้แพ้ชนะชัดเจนแล้ว
๔.
บทที่ ๒ เตรียมศึก
第二计准备战争
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	
	 ซุนวูกล่าวไว้ กฎของสงครามนั้น การทหารเป็นความสิ้นเปลืองอย่างใหญ่หลวง กว่าจะ
สามารถใช้กำ�ลังเคลื่อนกำ�ลังทหารได้นั้น แม้เพียงวันเดียวก็ยังต้องใช้ทรัพย์สินมหาศาลการทำ�สงคราม
ยืดเยื้อทหารจะอ่อนล้า ความห้าวหาญจะลดลง การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นข้าศึกเป็นเวลานานกำ�ลัง
รบจะหมดไป เพราะฉะนั้น การใช้กำ�ลังทหารเป็นเวลานานเศรษฐกิจของชาติจะย่อยยับ
	 ถ้าทหารหาญของชาติเหนื่อยอ่อน ขาดความห้าวหาญ และถ้าเศรษฐกิจของชาติย่อยยับ
แล้วต่างชาติจะยกทัพมารบกับเราแน่นอน ซึ่งแม้จะมีผู้มีความสามารถสูงเพียงไรก็ยากที่จะต่อต้านกับทัพ
ต่างชาติที่ยกเข้ามาได้ดังนั้น “การสงครามจะต้องรวดเร็ว และเฉียบพลัน” ตัวอย่างที่ดีของสงคราม
ยืดเยื้อในประวัติศาสตร์ไม่มีประเทศใดเคยได้ประโยชน์จากสงครามยืดเยื้อไม่เคยปรากฏ ดั่งที่เคย
กล่าวแล้ว ผู้ที่ไม่เข้าใจความสูญเสียของสงครามอย่างเพียงพอ ย่อมไม่สามารถเข้าใจผลประโยชน์ที่
ได้รับจากสงครามอย่างเพียงพอเช่นกัน
	 นักรบที่ชำ�นาญศึก จะไม่เกณฑ์ประชาชนมารบหลายครั้ง จะไม่ขนเสบียงอาหารจากชาติ
ตนหลายครั้ง แม้ใช้อาวุธจากชาติตน แต่เสบียงอาหารเอาจากดินแดนข้าศึก การที่ประเทศชาติต้อง
ยากจนลงเพราะกองทัพก็เนื่องจากการขนส่งเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล เพราะถ้ากองทัพต้องขน
เสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล ประชาชนในประเทศก็จะยากจนลง ราคาสินค้าบริเวณสนามรบจะ
สูงขึ้น เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น ทรัพย์สินของประชาชาก็ยิ่งหมดลง เมื่อทรัพย์สินของประชาชนหมดลง
๑.
๒.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
การจะระดมเสบียงอาหารมาให้ทหาร ก็จะทำ�ได้ยากลำ�บาก กำ�ลังรบของกองทัพก็จะค่อยๆ หมดลง
ทรัพย์สินของประชาชนจาก ๑๐ จะเหลือ ๗ ข้าวของของรัฐที่เสียหายไปกับสงครามจาก ๑๐จะเหลือ
๖ เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่มีความสามารถจะแย่งเสบียงอาหาร และข้าวของของข้าศึกมาใช้การใช้ข้าว
ของของข้าศึก ๑ ส่วน ได้ประโยชน์เหมือนใช้ของของเรา ๒๐ ส่วน
	 การที่ทหารฝ่ายเราสังหารทหารฝ่ายข้าศึกได้ก็เนื่องจากกำ�ลังใจของทหาร การยึดเอา
สิ่งของของข้าศึกมา ก็เนื่องจากผลประโยชน์นั่นเองฉะนั้น การให้รางวัลแก่ทหารที่ยึดเอาสิ่งของจาก
ข้าศึกได้ และลงโทษทหารที่ถูกข้าศึกยึดสิ่งของไป เป็นการสร้างความเข้มแข็งขึ้นในกองทัพ
	
	 ดังกล่าวข้างต้น การสงครามนั้นชัยชนะเป็นอันดับหนึ่ง จะยืดเยื้อไม่ได้ แม่ทัพที่ระมัดระวัง
ผลได้เสียของสงครามรอบคอบ คือผู้กำ�ชะตากรรมของประชาชนไว้ เป็นอุปราชชี้ขาดความอยู่รอด
ของประเทศชาติ
๓.
๔.
บทที่ ๓ นโยบายศึก
第三计战争政策
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	
	 ซุนวูกล่าวไว้ กฎของสงครามโดยทั่วไปสยบประเทศข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นนโยบาย
หลัก ใช้กำ�ลังทางทหารเข้าตีประเทศข้าศึกแตก จึงสยบประเทศข้าศึกได้เป็นนโยบายรองสยบ
กองทัพข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นนโยบายหลักใช้กำ�ลังทางทหาร เข้าตีกองทัพข้าศึกแตกจึงสยบ
กองทัพข้าศึกได้เป็นนโยบายรองสยบหน่วยทหารข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นนโยบายหลัก ใช้กำ�ลัง
ทางทหารเข้าตีหน่วยทหารข้าศึกแตกจึงสยบหน่วยทหารข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง “รบร้อยครั้ง
ชนะร้อยครั้งยังมิใช่ยอด สยบข้าศึกได้ไม่ต้องรบ เป็นยอดนักรบ”
	
	
	 เพราะฉะนั้นสุดยอดของการสงครามก็คือ เข้าโจมตีแผนลับข้าศึกให้แตก จากนั้นตีความ
สามัคคีข้าศึก ตีสัมพันธไมตรีของกลุ่มพันธมิตรข้าศึกให้แตก สุดท้ายหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจึงใช้กำ�ลัง
ทางทหารเข้าตีกำ�ลังทหารข้าศึก สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก
	 การเข้าตีดังกล่าวจะเป็นเฉพาะเมื่อไม่มีหนทางอื่นแล้ว และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น
การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน และต้องพร้อมจริงๆ จึง
ทำ�ได้ ซึ่งในระหว่างเตรียมการหากแม่ทัพนายกองไม่สามารถระงับความเกรียวกราดได้ยกกำ�ลังเข้า
ทำ�การรบแตกหักก่อนที่การเตรียมการจะพร้อม ทหาร ๑ ใน ๓ จะต้องตาย แม้กระนั้นป้อมปราการ
ที่มั่นของข้าศึกก็จะยังไม่แตก นี้คือผลเสียของการโจมตีป้อมปราการที่มั่นของข้าศึก
	 นักรบผู้ชำ�นาญมิได้ใช้การต่อสู้เพื่อสยบข้าศึก ป้อมปราการที่มั่นข้าศึกแตกก็มิใช่ด้วยการ
๑.
๒.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
โจมตีตรงหน้า ประเทศข้าศึกต้องพินาศลงก็มิใช่ด้วยศึกสงครามยืดเยื้อ ใช้วิธีชนะโลก ชนะโดยไม่
เสียเลือดเนื้อ ด้วยเหตุนี้ ทหารหาญก็ไม่เหนื่อยอ่อน ผลประโยชน์ที่ได้รับย่อมเป็นผลประโยชน์
สูงสุด “นี่คือกฎของนโยบายในการทำ�ศึกสงคราม”
	 กฎของสงครามโดยทั่วไป เมื่อมีกำ�ลัง ๑๐ เท่าเข้าโอบล้อม เมื่อมีกำ�ลัง ๕ เท่าเปิดเกมรุก
เมื่อเท่ากันให้สู้ ถ้าน้อยกว่าให้ถอย ถ้ากำ�ลังปะทะกันไม่ได้ให้หลบซ่อน โดยปกติกำ�ลังน้อยกว่าปะทะ
ตรงหน้ากับกำ�ลังที่มากกว่าย่อมทำ�ไม่ได้เป็นทางปกติ กำ�ลังที่น้อยนิดคิดแต่จะใช้ความห้าวหาญ รัง
แต่จะถูกจับเป็นเชลยของกำ�ลังที่มากกว่าเท่านั้น
	 โดยทั่วไป แม่ทัพมีหน้าที่ช่วยเหลือชาติ ถ้าหน้าที่นั้นสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้นำ�ประเทศ
ชาตินั้นต้องเข้มแข็งแน่นอน ถ้าหน้าที่นั้นขัดแย้งกับผู้นำ�ประเทศ ชาตินั้นต้องอ่อนแอแน่นอน ฉะนั้น
สิ่งที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการศึกสำ�หรับ ผู้นำ�ประเทศมี ๓ ประการ ได้แก่
	 • ไม่รู้ว่าไม่ควรใช้กำ�ลังทหาร สั่งให้ใช้กำ�ลังทหาร
	 • ไม่รู้ว่าไม่ควรถอย สั่งให้ถอย
	 • ไม่รู้เรื่องภายในกองทัพ แต่เข้ามาปกครองกองทัพร่วมกับแม่ทัพ
	 • ไม่เข้าใจวิธีใช้กำ�ลังทหาร แต่เข้ามาบังคับบัญชาทหาร
๓.
๔.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 เมื่อใดที่ทหารนั้น อยู่ในความหลง ความงงงวยแปลกใจสงสัย ต่างชาติจะยกทัพเข้ามาและ
ชัยชนะของกองทัพที่สับสนก็จะจากหายไป
	 ฉะนั้น มี ๕ สิ่งที่ต้องรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับชัยชนะ ได้แก่
	 • เมื่อไรควรรบเมื่อไรไม่ควรรบ ระมัดระวังผลได้ผลเสียรอบคอบ ... ชนะ
	 • เข้าใจการใช้กำ�ลังใหญ่ กำ�ลังเล็ก นอกแบบในแบบ ... ชนะ
	 • ประสานจิตใจคนทุกชั้นได้ ... ชนะ
	 • เตรียมการดีปะทะที่ประมาท ... ชนะ
	 • แม่ทัพนายกองมีความสามารถ ผู้นำ�ประเทศไม่แทรกแซงกิจการภายในกองทัพ ... ชนะ
๕ ประการนี้เป็นวิธีเข้าใจชัยชนะ ดังนั้น “เมื่อ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งปราศจากอันตรายรู้สถานการณ์
ฝ่ายเขา ไม่รู้ฝ่ายเรา แพ้บ้างชนะบ้างไม่รู้เขา ไม่รู้เรา กล่าวได้ว่ารบทุกครั้งรังแต่จะมีอันตราย”
๕.
บทที่ ๔ ศักย์สงคราม
第四计战争
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ซุนวูกล่าวไว้ ยอดนักรบ ตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะเขาได้ รอคอยโอกาสซึ่งใครก็ได้
อาจชนะต่อข้าศึกรูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้อยู่ที่ฝ่ายเรา รูปแบบที่ใครก็ได้อาจสามารถชนะได้อยู่
ที่ฝ่ายเขาแม้จะเป็นยอดนักรบที่สามารถตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะได้ ก็ไม่สามารถทำ�ให้ข้าศึก
ตั้งอยู่ในที่ซึ่งใครใครก็อาจชนะได้จึงจำ�เป็นต้องรู้จักอดทนรอคอย รูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้นั้น
เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการตั้งรับ รูปแบบที่ใครก็อาจชนะได้ เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการรุก รับ
เนื่องจากกำ�ลังรบไม่เพียงพอ และรุกเนื่องจากกำ�ลังรบมีอยู่เพียงพอ นักรบที่ตั้งรับเก่งเหมือนซ่อนอยู่
ใต้ของใต้แผ่นดิน นักรบที่รุกเก่งเหมือนเคลื่อนไหวอยู่เหนือของเหนือฟ้า ฉะนั้นจึงอยู่ในที่ปลอดภัย
และสามารถเอาชัยเด็ดขาดได้สำ�เร็จ
	 ระดับชัยชนะที่คนทั่วไปมองออกยังมิใช่ยอด รบกันแล้วได้ชัยชนะคนทั่วโลกแซ่ซ้อง
สรรเสริญยังมิใช่เยี่ยม หยิบถือเส้นผมได้ว่ามีกำ�ลังมิได้ มองดวงอาทิตย์จะบอกว่าตาดีไม่ได้ ฟังเสียง
ฟ้าร้องว่าหูดีมิได้ สมัยก่อนยอดนักรบคนทั่วไปมองไม่ออก เขาจะเข้ายึดโอกาสชนะง่ายแล้วชนะ
เพราะฉะนั้น การต่อสู้ของยอดนักรบนั้น มิได้มีชื่อเสียง มิได้ใช้ความรู้ความสามารถหรือความมานะ
พยายามพิเศษพิศดารและกล้าหาญใดๆ เนื่องเพราะเขาจะทำ�สงครามที่ชนะแน่นอนเท่านั้น สงคราม
ที่ชนะแน่นอนก็คือเข้าตีข้าศึกที่แพ้แน่นอนแล้วชนะนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ยอดนักรบจะตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มี
ใครอาจชนะได้รอคอยโอกาสชนะ และไม่ปล่อยให้โอกาสชนะโอกาสแรกหลุดลอยไปนั่นเอง
๑.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
“กองทัพที่มีชัย คือกองทัพที่ก่อนออกศึกได้รับชัยชนะแล้วจึงรบ กองทัพที่พ่ายแพ้ คือกองทัพที่ออก
รบแล้วจึงแสวงหาชัยชนะนั่นเอง”
	
	 ยอดนักรบย่อมสามารถทำ�ให้จิตใจคนทุกชั้นเป็นหนึ่งได้ สามารถจัดระบบ รักษาวินัย และ
กฎระเบียบได้ ฉะนั้นจึงสามารถตัดสินแพ้ชนะได้อย่างอิสระ
	 ปัญหาในการจัดการทางทหารก่อนรบจะเกิดขึ้น ๕ ประการที่ต้องขบคิด
		 • ปัญหาขอบเขตของการรบ
		 • ปัญหาปริมาณสิ่งของที่ต้องทุ่มเทในการรบ
		 • ปัญหาจำ�นวนทหารที่จะนำ�มาใช้ในการรบ
		 • ปัญหาขีดความสามรถของหน่วยกำ�ลัง จะมีมากน้อยขนาดใด
		 • ปัญหาของชัยชนะ
กองทัพที่ได้ชัยต้องผ่านขั้นตอนดังกล่าว และมีความได้เปรียบ กองทัพที่พ่ายแพ้ คือกองทัพที่เสียเปรียบ
จากปัญหาดังกล่าวนั่นเอง ...
๓.
๔.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ผู้ชนะซึ่งทำ�ให้ผู้คนในชาติร่วมกันต่อสู้ได้ เหมือนกับแอ่งน้ำ�ในหุบเขา ซึ่งเกิดจากสาย
น้ำ�เล็กๆ หลายพันสายไหลมารวมกัน ซึ่งหากแอ่งน้ำ�นั้นตกลงมาเป็นน้ำ�ตกก็จะมีพลังมหาศาลพลัง
ที่ซ่อนอยู่ในแอ่งน้ำ�กลางหุบเขานี้เปรียบได้กับ “ศักย์สงคราม” และพลังของน้ำ�ที่กระทบเบื้องล่าง
เปรียบได้กับ “จลน์สงคราม” ฉันใดฉันนั้น...
๕.
บทที่ ๕ จลน์สงคราม
第五计 战争行动
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	
	 ซุนวูกล่าวไว้การปกครองกำ�ลังขนาดใหญ่จะทำ�ได้เนื่องจากการจัดกำ�ลังขนาดเล็กให้เป็น
หมวดหมู่นั่นเองการจะบังคับบัญชากำ�ลังขนาดใหญ่ได้ต้องจัดเตรียมเครื่องมือสื่อสาร ธงทิว กลอง
ฆ้อง เพื่อให้กำ�ลังขนาดเล็กเข้าใจคำ�สั่งจึงจะทำ�ได้
	 การที่กำ�ลังขนาดใหญ่สามารถต้านทานกำ�ลังของข้าศึกได้ดี ก็คือใช้ความอ่อนตัว แยกแยะ
การใช้กำ�ลังอย่างรวดเร็ว อย่างเข้มแข็ง ใช้กำ�ลังทั้งนอกแบบในแบบอย่างเหมาะสมในการรบ และ
การต่อสู้จะชนะข้าศึกได้เหมือนหินกระแทกไข่แตกได้เสมอๆ ก็เนื่องจากใช้การหลอกล่อข้าศึกนั่นเอง
	 การต่อสู้โดยทั่วไป ตั้งมั่นในที่ไม่มีทางแพ้เข้มแข็งดุจหินใหญ่ เหมือนสู้กันตามแบบ จู่โจม
ข้าศึกเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึกเหมือนสู้กันนอกแบบ เช่นเดียวกับฤดูกาลที่ไม่จบสิ้น จาก
มืดกลับสว่าง จากสว่างกลับมืด เสียงมี ๗ เสียงแต่ผสมกันแล้วฟังได้ไม่หมด สี ๓ สีผสมเกิดสีนับไม่
ถ้วน รสชาติ ๕ รสผสมกันเกิดรสชาติที่ลิ้มลองไม่หมดเช่นกันการใช้กำ�ลังก็มีนอกแบบในแบบแต่
ผสมกันแล้วเกิดรูปแบบนับไม่ถ้วน ต่างเกิดจากกันและกันระหว่างตามแบบจะมีนอกแบบ ระหว่าง
นอกแบบจะมีตามแบบ เรียกว่านอกแบบเกิดจากตามแบบและตามแบบเกิดจากนอกแบบ หมุนเวียน
เปลี่ยนไปหาจุดสิ้นสุดมิได้ ใครจะรู้ละว่าจะเป็นแบบใด ...
๑.
๒.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ยอดนักรบจะเพิ่มศักย์สงครามทำ�ให้จลน์สงครามเพิ่ม จลน์สงครามนั้นเหมือนลูกศรที่วิ่ง
ไปศักย์สงครามนั้นก็เหมือนขณะง้างคันศรนั่นเอง ...
	 ความวุ่นวายเกิดจากความมีระเบียบ ความขลาดเกิดจากความกล้า ความอ่อนแอเกิดจาก
ความเข้มแข็ง แต่ละสิ่งเคลื่อนไหวสู่กันและกันง่ายดายนัก จะวุ่นวายสับสนหรือมีระเบียบขึ้นอยู่กับ
ปัญหาการจัดหน่วยทหาร จะกลัวหรือกล้าหาญขึ้นอยู่กับปัญหาของจลน์สงคราม จะอ่อนแอหรือเข้ม
แข็งขึ้นอยู่กับปัญหาของศักย์สงคราม ๓ สิ่งระมัดระวังใส่ใจ ย่อมจะได้ ระเบียบ ความกล้าหาญ และ
ความเข้มแข็ง
	 เพราะฉะนั้น การจะล่อข้าศึกให้ออกมานั้นเมื่อชี้ให้เห็นรูปแบบการวางกำ�ลังให้ข้าศึกรู้
ข้าศึกต้องมาแน่นอน เมื่อชี้ให้เห็นว่าข้าศึกจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ข้าศึกต้องออกมาเอาแน่นอน
นั่นคือการใช้ประโยชน์ล่อข้าศึกให้ออกมา จงเข้าปะทะข้าศึกนั้นด้วยการดัดหลังคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
๓.
๔.
๕.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	
	 ยอดนักรบเมื่อต้องการชัยชนะจากจลน์สงคราม ที่มีอยู่มิได้พึ่งพาบุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็น
พิเศษแต่พึ่งพาพลังอำ�นาจของจลน์สงคราม ปล่อยให้ผู้คนต่างๆ เป็นไปตามจลน์สงครามนั้น เหมือน
กับสิ่งของท่อนไม้รูปแบบต่าง ๆ จะอยู่นิ่งบนพื้นราบ แต่เมื่อเอียงพื้นราบขึ้นสิ่งของเหล่านั้นจะกลิ้งไป
ตามจลน์สงครามนั่นเอง ฉะนั้นยอดนักรบจะให้ผู้คนเข้าต่อสู้เหมือนสิ่งของท่อนไม้กลิ้งจากที่สูง
นี่แหละที่เรียกว่า จลน์สงคราม
๖.
บทที่ ๖ หลอกล่อ
第六计 花招
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ซุนวูกล่าวไว้ กองทัพที่มาถึงสนามรบก่อน และรอคอยข้าศึกเป็นฝ่ายที่สบาย กองทัพที่มา
ถึงสนามรบทีหลัง และเข้าต่อสู้เป็นฝ่ายที่ลำ�บาก และทรมาน “ยอดนักรบนั้นฝ่ายตนจะต้องเป็นฝ่าย
ควบคุมการรบ หมายถึง ทำ�ให้ข้าศึกเป็นดั่งเช่นตนคิด และไม่เป็นอย่างที่ข้าศึกคิด” การที่ฝ่ายเราจะ
ทำ�ให้ข้าศึกออกมาได้นั้น ชี้ผลประโยชน์เข้าล่อ การที่ฝ่ายเราจะทำ�ให้ข้าศึกไม่เข้ามาได้นั้น ชี้ถึงผล
เสียนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงสามารถทำ�ให้ข้าศึกที่สุขสบาย เหนื่อยล้าได้ ทำ�ให้ข้าศึกที่ท้องอิ่ม หิวโหย
ได้การหลอกล่อข้าศึกที่อยู่นิ่งๆ ให้เคลื่อนไหว จึงทำ�ได้นั่นเอง ...
	
	 โจมตีสถานที่ที่ข้าศึกต้องออกมาอย่างแน่นอน รุกอย่างรวดเร็วเข้าไปในที่ที่ข้าศึกคาดไม่
ถึงการเคลื่อนกำ�ลังเข้าไปในสถานที่ไกลโดยไม่เหนื่อย ก็คือเข้าไปในเส้นทางที่ไม่มีการต้านทาน จาก
ข้าศึกหลังจากเข้าโจมตีแล้วสามารถยึดได้ ก็คือการเข้าโจมตีที่ไม่มีการป้องกันจากข้าศึก หลังจาก
วางกำ�ลังป้องกันแล้วเข้มแข็งแน่นอน ก็คือการรักษาที่มั่นที่ข้าศึกจะไม่เข้าตี นักรบที่รุกเก่ง ข้าศึกไม่รู้
ที่ป้องกัน นักรบที่รับเก่ง ข้าศึกไม่รู้ที่จะเข้าตี แยบคายลึกซึ้ง สุดยอดต้องปราศจากรูป ลี้ลับมหัศจรรย์
สุดยอดต้องปราศจากเสียง จึงเป็นอุปราชชี้ขาดชะตากรรมของข้าศึกได้
	 รุกเข้าไปแล้วไม่สามารถป้องกันได้เพราะว่ารุกเข้าไปในช่องว่างของข้าศึก ถอยออกมาแล้ว
๑.
๒.
๓.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
ตามไม่ทันเพราะว่ามิได้ติดตามไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น เมื่อฝ่ายเราต้องการรบ แม้ข้าศึกจะอยู่ในที่มั่น
เข้มแข็งไม่ยอมออกรบ แต่การที่ข้าศึกจะอย่างไรก็ต้องออกมา ก็เพราะว่าฝ่ายเราโจมตีในที่ที่ข้าศึกจะ
ต้องยกกำ�ลังมาช่วยนั่นเอง เมื่อเราไม่ต้องการรบ แม้จะมิได้วางกำ�ลังป้องกันใดใด แต่ข้าศึกอย่างไรก็
จะไม่ออกมาก็เพราะว่าสถานที่นั้นถูกลวงนั่นเอง
	 เพราะฉะนั้น ถ้าเราลวงข้าศึกให้ทราบชัดเกี่ยวกับกำ�ลังฝ่ายเรา แต่เราซ่อนกำ�ลังจริงไว้เมื่อ
ข้าศึกแยกกำ�ลังออกไป และเรารวมกำ�ลังไว้ ถ้าเรารวมกำ�ลังเป็นหนึ่ง และข้าศึกแยกกำ�ลังออกเป็น ๑๐
ส่วน ผลการปะทะกันฝ่ายเราจะมีทหารมากกว่า ๑๐ เท่า เราจะเป็นฝ่ายมีกำ�ลังมาก ข้าศึกจะเป็นฝ่าย
มีกำ�ลังน้อย ถ้าเราสามารถใช้กำ�ลังใหญ่เข้าปะทะกับกำ�ลังน้อยของข้าศึก ข้าศึกก็จะเป็นฝ่ายที่อ่อนกว่า
เราเสมอ เมื่อข้าศึกไม่ทราบที่เราจะรบ ไม่ทราบเวลาที่เราจะรบ ข้าศึกจะกระจายกำ�ลังออกป้องกัน
เมื่อทำ�เช่นนั้น การปะทะกับฝ่ายเรา ข้าศึกจะเป็นฝ่ายน้อยกว่าเราโดยตลอดดังนั้น เมื่อกำ�ลังใหญ่อยู่
หน้า กองหลังจะเป็นกำ�ลังน้อย เมื่อกองหลังกำ�ลังมาก กองหน้ากำ�ลังน้อย กำ�ลังหลักด้านขวากำ�ลัง
น้อยด้านซ้าย กำ�ลังหลักด้านซ้ายกำ�ลังน้อยด้านขวา จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
	 เพราะฉะนั้น รู้สถานที่รบ รู้เวลารบ แม้ไกลแต่ถ้าควบคุมได้ควรรบ ไม่รู้สถานที่รบ ไม่รู้เวลา
รบ ซ้ายจะช่วยขวาก็ไม่ได้ ขวาจะช่วยซ้ายก็ไม่ได้ กองหน้าจะช่วยกองหลัง กองหลังจะช่วยกองหน้า
ไม่ได้ “ตามที่ข้าพเจ้าคิด แม้ฝ่ายหนึ่งจะมีกำ�ลังมาก แต่หากถูกหลอกล่อ ถูกลวง อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรวม
กำ�ลังมากกว่าฝ่ายแรกอยู่ร่ำ�ไป ฝ่ายแรกย่อมมิอาจรบด้วยได้”
๔.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ฉะนั้นก่อนออกรบ เพื่อเข้าใจการหลอกล่อ การลวงของข้าศึก ต้องเข้าใจผลได้ผลเสีย กับ
สถานการณ์ข้าศึกให้แตกเสียก่อน ใช้การล่อให้ข้าศึกเคลื่อนไหวเป็นหลัก จับท่าทีของข้าศึกให้ได้รู้ที่
ใดรบได้รบไม่ได้ ที่ใดได้เปรียบเสียเปรียบ มีกำ�ลังน้อยกำ�ลังมาก และเมื่อไรนั่นเอง
	 เพราะว่าสุดยอดของศักย์สงครามคือ “ปราศจากรูป” การปราศจากรูปนี้ แม้ข้าศึกมี
สายลับแทรกซึมลึกซึ้งก็ไม่อาจรู้เราได้ แม้ใช้คนมีความรู้ก็คิดไม่ออก เพราะปราศจากรูป อ่านท่าที
เขาให้แตกใช้ท่าทีนั้นเปลี่ยนรูปเรา นำ�ชัยชนะที่คนธรรมดามิอาจเห็นได้ คนธรรมดาแม้รู้จักชัยชนะ
ของตนแต่ไม่ทราบจะชนะอย่างไร เมื่อใด และที่ใด ดังนั้น สภาพของชัยชนะไม่ควรให้เกิดขึ้นซ้ำ�สอง
เปลี่ยนแปลงตามศักย์สงครามข้าศึกนับไม่ถ้วนจึงดี
	
	 ฉะนั้น ศักย์สงคราม รูปแบบทางทหาร จึงเหมือนน้ำ�ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ� หลีกเลี่ยงที่สูง
เหมือนไม่ปะทะข้าศึกที่มีการเตรียมการดี โจมตีที่ที่มีการเตรียมการหลอก เอาชัยข้าศึกเปลี่ยนแปลง
ตามสถานการณ์ข้าศึก เหมือนน้ำ�ไหลตามรูปแบบภูมิประเทศเพราะฉะนั้น รูปแบบที่แน่นอนของการ
ใช้กำ�ลัง และศักย์สงครามจึงไม่มีเช่นเดียวกับน้ำ�ที่ปราศจากรูป เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ลึกซึ้ง
ยากจะคะเนได้
๕.
๖.
๗.
บทที่ ๗ การแข่งขัน
第七计 竞争
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
ซุนวูกล่าวไว้ จากกฎของสงคราม ตั้งแต่แม่ทัพรับคำ�สั่งผู้นำ�ประเทศให้จัดกำ�ลังทหารเข้ายันข้าศึก
จนถึงเมื่อเตรียมกำ�ลังพร้อมยกไปตั้งรับข้าศึกเสร็จสิ้น ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “การแข่งขันทาง
ทหาร” เป็นการแข่งขันที่ชิงความได้เปรียบ เป็นเรื่องที่ไม่ถึงกับยากนัก ความยากของการแข่งขันทาง
ทหาร ก็คือการทำ�เรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย การทำ�สิ่งที่จะเกิดความเสียหายให้พลิกกลับเป็นประโยชน์
นั่นเอง
	 การแข่งขันทางทหารนั้นยังมีอันตรายอย่างหนึ่ง เมื่อทหารทั้งหมดพยายามแข่งขันกับ
ข้าศึกเพื่อเข้ายึดพื้นที่ได้เปรียบให้ได้ก่อน การเคลื่อนกำ�ลังทั้งหมดย่อมล่าช้าเสียเวลา ซึ่งหากไม่
คำ�นึงถึงรังแต่จะรีบไปให้ถึงก่อนข้าศึก ก็อาจไม่สามารถขนเอาเสบียงอาหาร อาวุธที่จำ�เป็นไปด้วยได้
ทหารที่ขาดเสบียงอาหาร และอาวุธย่อมพ่ายแพ้ ขณะทิ้งเสบียงอาหาร และอาวุธรีบเดินทางทั้งกลาง
วันกลางคืนไม่มีพักเพื่อจะไปได้เร็วขึ้น ถ้าแม่ทัพถูกจับก็หมายถึงความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวง ทหาร
ที่แข็งแรงอาจจะไปถึงได้ ทหารที่อ่อนล้าจะถึงทีหลัง ๑๐๐ ลี้เคลื่อนไป ๑๐ คนจะมาถึงได้ ๑ คน ๕๐
ลี้จะมาได้ครึ่งหนึ่ง ๓๐ ลี้จะมาได้ ๒ ใน ๓ คนเท่านั้น ... อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดั่งนี้คือ ความลำ�บาก
ความยาก ของการแข่งขันทางทหาร
	
	 ดังนั้นไม่รู้เรื่องภายในของต่างชาติ เป็นพันธมิตรกับต่างชาตินั้น ย่อมไม่ได้ไม่รู้ภูมิประเทศ
การเคลื่อนทัพเข้าไปย่อมทำ�ไม่ได้ ไม่รู้วิธีใช้คนในพื้นที่นั้น ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น 	
๒.
๑.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ด้วยเหตุนี้การสงครามนั้นใช้การดัดหลังคู่ต่อสู้เป็นหลัก เคลื่อนไหวไปในที่ที่เป็นประโยชน์
เปลี่ยนแปลงรูปด้วยการ กระจายกำ�ลัง และรวมกำ�ลัง ฉะนั้นเคลื่อนไหวรวดเร็วเช่นดั่งลม รอคอย
เหมือนไม้ซ่อนลมหายใจ รุกรบเช่นเปลวเพลิง เข้าใจยากดุจความมืด เข้มแข็งดุจขุนเขา เกรียวกราด
เหมือนสายฟ้า จะรวบรวมเสบียงอาหารให้กระจายกำ�ลังออกไป จะขยายพื้นที่ยึดครองให้รักษาจุด
สำ�คัญมั่นคง เคลื่อนไหวระมัดระวังคิดอ่านรอบคอบ ชิงปฏิบัติการก่อนข้าศึก ทำ�เรื่องยากให้เป็นเรื่อง
ง่าย “ผู้รู้เข้าใจดีชนะ ดั่งนี้คือกฎของการแข่งขัน”
	 การศึกนั้นยากที่จะสั่งการใดใดด้วยปากให้ทุกคนเข้าใจได้ จะต้องเตรียมเครื่องมือบาง
อย่างที่จะทำ�ให้ หู และตาของเหล่าทหารหาญเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้การที่ทหารของฝ่ายเราเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ผู้กล้าก็ฝ่ามาไม่ได้ ผู้ขลาดก็ถอยหนีไม่พ้นความสับสนจะหมดไป จะทำ�ให้
สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบตามสถานการณ์ได้ทันต่อเหตุการณ์ นำ�มาซึ่งหนทางแห่งชัยชนะ
๓.
๔.
บทที่ ๘ เก้าเหตุการณ์
第八计 九个情况
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ซุนวูกล่าวไว้ ตามกฎของสงคราม
		 • อย่าโจมตีข้าศึกบนเนินสูง
		 • อย่าตั้งรับข้าศึกที่รุกเข้ามาโดยมีเนินเขาอยู่เบื้องหลัง
		 • อย่าเผชิญหน้ากับข้าศึกในที่รกชัดเป็นเวลานาน
		 • อย่ารุกไล่ข้าศึกที่หลอกถอย
		 • อย่าโจมตีข้าศึกที่ขวัญดี
		 • อย่ากินเหยื่อที่ข้าศึกลวงไว้
		 • อย่าหยุดข้าศึกที่กำ�ลังกลับบ้านเกิด
		 • อย่าล้อมข้าศึกโดยมิดชิด ต้องเปิดทางให้หนีอย่างน้อย ๑ ทาง
		 • อย่ารุกไล่ข้าศึกที่ถอยอย่างระมัดระวังเข้าไปชิดนัก
ทั้งหมดคือ เก้าเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้น เป็นกฎของสงคราม
	 ถนนที่น่าจะผ่านไปด้วยดี แต่ผ่านไม่ได้นั้นมีอยู่ กองทัพข้าศึกที่น่าเข้าตี แต่เข้าตีไม่ได้นั้นมี
อยู่ ป้อมปราการที่มั่นที่น่าเข้าโจมตี แต่เข้าโจมตีไม่ได้นั้นมีอยู่ พื้นที่ที่น่าเข้ายึดครอง แต่เข้ายึดครอง
ไม่ได้นั้นมีอยู่ “คำ�สั่งของผู้นำ�ประเทศที่น่าปฏิบัติตาม แต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็มีอยู่เช่นกัน”
	
๑.
๒.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่คำ�นึงผลได้ผลเสีย จากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี คือผู้ใช้ทหารอย่าง
ระมัดระวัง แม่ทัพที่ไม่คำ�นึงผลได้ผลเสียจากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี แม้จะเข้าใจภูมิประเทศดีแต่ก็
จะไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น ในการควบคุมการใช้กำ�ลังทหารนั้น เก้าเหตุการณ์นี้เข้าใจบ้างไม่เข้าใจ
บ้าง แม้จะเข้าใจถึง ๕ ส่วน ก็ยังมิสามารถใช้กำ�ลังทหารให้เกิดประโยชน์อย่างเพียงพอได้
	 ดังที่กล่าวมา การคิดอ่านของผู้รู้นั้น คิดเรื่องราวใดต้องระมัดระวังผลได้ และผลเสีย
ประกอบกันไปเรื่องราวใดเป็นประโยชน์ก็ต้องคิดอ่านด้านผลเสียด้วย งานก็จะสำ�เร็จบรรลุเป้าหมาย
เรื่องราวใดเป็นผลเสียก็ต้องคิดอ่านด้านดีด้วย ความกังวลก็จะหมดไป
	 ฉะนั้น ชี้ให้เห็นผลเสียจึงสยบต่างชาติ ชี้ให้เห็นว่าจำ�เป็นจึงใช้ทูตต่างชาติ ชี้ให้เห็น
ประโยชน์จึงให้ข้าศึกแตกหนี
	 เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้ยกกองทัพมา เราพึ่งพาการเตรียมการที่พร้อมต่อข้าศึกที่จะยก
มาทุกเมื่อ เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้เข้าโจมตี แต่เราพึ่งพาการตั้งมั่นที่มิอาจเข้าตีได้ต่างหาก
๓.
๔.
๕.
๖.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ฉะนั้น สำ�หรับแม่ทัพมีอันตรายอยู่ ๕ ประการ
	 • สำ�นึกว่าตนต้องสู้ตาย ไม่รู้จักถอย แล้วถูกฆ่าตาย
	 • คิดแต่จะเอาตนรอด ขาดความกล้า แล้วถูกจับเป็นเชลย
	 • เอาแต่ใจร้อนจนผู้คนทั้งหลายมองว่าบ้าเลือด
	 ขาดความกระตือรือร้น ตกอยู่ในสภาวะต้องอาย รักทหารจนต้องเหนื่อยเพราะทำ�งานให้
ทหาร ๕ ประการเหล่านี้ยามศึกเป็นผลเสีย กองทัพละลาย แม่ทัพตายในสนามรบ จะต้องเกิดขึ้นจาก
๕ ประการดังกล่าวแน่นอน จำ�เป็นที่แม่ทัพจะต้องระมัดระวังใส่ใจ
๗.
บทที่ ๙ เคลื่อนกำ�ลัง
第九计移动力
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ซุนวูกล่าวเกี่ยวกับ สถานที่ตั้งของกองทัพ กับการหาข่าวสถานการณ์ข้าศึกไว้ดังนี้
จะข้ามเขาให้เลาะร่องเขา พบที่สูงให้อยู่ที่สูง รบที่สูงอย่าหันหาข้าศึกที่สูงกว่า ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพบน
เขาถ้าข้ามแม่น้ำ�มาแล้วจงอยู่ให้ไกลจากฝั่งแม่น้ำ� ข้าศึกโจมตีข้ามแม่น้ำ�มาอย่ารับการโจมตีตรงกลาง
แม่น้ำ� จงเข้าตีขณะข้าศึกข้ามมาได้ครึ่งหนึ่งจะได้เปรียบ อย่ารับการโจมตีจากข้าศึกริมน้ำ� พบพื้นที่สูง
อยู่ที่สูง หากต้องอยู่ปลายน้ำ�อย่ารบกับข้าศึกต้นน้ำ� ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพกับแม่น้ำ�จะข้ามที่ลุ่มมีน้ำ�ขัง
ถ้าทำ�ได้รีบไปให้เลยออกไปโดยเร็ว ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องรบในที่ลุ่มเตรียมน้ำ�อาหาร หญ้าฟางมากๆ
และตั้งทัพโดยเอาป่าไว้เบื้องหลัง ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ลุ่มในที่ราบจงอยู่ที่สะดวก เอาที่สูงอยู่เบื้อง
หลังที่ต่ำ�อยู่เบื้องหน้า ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ราบ การใช้ประโยชน์พื้นที่ภูมิประเทศเป็นเหตุผลให้ได้
ชัยชนะมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์
	
	 โดยทั่วไปที่ตั้งกองทัพ ที่สูงกว่าดี ที่ต่ำ�กว่าไม่ดี มีแสงแดดดี ไม่มีแสงแดดไม่ดี อยู่ในที่อุดม
สมบูรณ์ปลอดโรคภัย โรคภัยไข้เจ็บในกองทัพก็เป็นเงื่อนไขแพ้ชนะ นี่เป็นผลที่ได้จากภูมิประเทศ
	
	 ต้นน้ำ�ที่ฝนตกลงมา น้ำ�จะเชี่ยวกราด รอให้กระแสน้ำ�เบาลงก่อนจึงคิดข้าม
๑.
๒.
๓.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	
	 พื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ เช่น หนองน้ำ� บึง หลุม หุบผาแคบ ต้องรีบผ่านไปอย่าง
รวดเร็ว อย่าเข้าใกล้ เราเมื่อพยายามอยู่ไกล แต่ชี้ให้ข้าศึกอยู่ใกล้ ฝ่ายเราเมื่อหันหน้าเข้าหา ชี้ให้
ข้าศึกมีพื้นที่นั้นอยู่เบื้องหลัง
	 บริเวณตั้งทัพมีป่ารก ให้ระมัดระวังให้ดี ที่นั่นจะเป็นที่ที่มีข้าศึกซุ่มอยู่ มีหน่วยลาดตระเวน
ข้าศึกอยู่
	
	 ข้าศึกยิ่งใกล้ยิ่งเงียบ แสดงว่าข้าศึกพึ่งพาความรกของภูมิประเทศ ข้าศึกแม้อยู่ไกลแต่
พยายามรบติดพัน แสดงว่าหวังจู่โจม ข้าศึกตั้งอยู่ในที่ราบ เหมือนข้าศึกชี้ให้เราเห็นประโยชน์ให้เรา
ออกรบมีเสียงต้นไม้ใบหญ้า แสดงว่าข้าศึกกำ�ลังโจมตีมา นกบินหนี แสดงว่ามีข้าศึกซุ่มอยู่ สัตว์ป่า
ตกใจ แสดงว่าข้าศึกจู่โจม ฝุ่นฟุ้งกระจาย แสดงรถรบข้าศึก ฝุ่นเป็นแผ่นกว้าง แสดงว่าเป็นทหารราบ
ฝุ่นฟุ้งกระจายเล็กน้อย นั่นแหละข้าศึกกำ�ลังสร้างกองบัญชาการ
๔.
๕.
๖.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
๖.
๗
	 ทูตข้าศึกเข้ามาพูดหลอกล่อพยายามแสดงว่าเพิ่มการตั้งรับ นั่นคือเตรียมการสำ�หรับรุก
ทูตข้าศึกแสดงให้ดูว่ากล้าหาญเตรียมการรุก นั่นคือข้าศึกเตรียมการถอยข้าศึกมิได้ตกอยู่ในสภาวะ
ลำ�บากพยายามปรองดอง แสดงว่าข้าศึกมีแผนลับ รถรบขนาดเบาออกหน้า แสดงว่ากำ�ลังหลักอยู่
สองข้าง ทหารวิ่งกันสับสนมาจัดใหม่เป็นแถวเป็นระเบียบ แสดงว่าเตรียมรบขั้นแตกหัก ครึ่งหนึ่งไป
ข้างหน้า อีกครึ่งหนึ่งไปข้างหลัง แสดงว่ากำ�ลังหลอกล่อ นั่นเอง …
	
	 การสงครามนั้นใช่ว่าคนยิ่งมากยิ่งดีก็หาไม่ เพียงแต่ไม่ผลีผลาม ถ้าสามารถคาดการณ์
ข้าศึกระดมพลได้เหมาะสม ก็สามารถรวบรวมชัยชนะได้เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคิดอ่านไม่รอบคอบ
ประมาทข้าศึก ต้องถูกข้าศึกจับเป็นเชลยแน่ ถ้าทหารหาญไม่ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง ทั้งยังถูกลงโทษ
เขาเหล่านั้นจะไม่เชื่อฟัง เมื่อไม่เชื่อฟังก็ปกครองยาก ถ้าทหารหาญแม้ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง แต่มิได้
ใช้การลงโทษแก่ผู้ทำ�ผิด คำ�สั่งที่ต้องปฏิบัติจะกลายเป็นเรื่องเล่นๆ ไม่สามารถปกครองใช้งานได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้น แม่ทัพนายกองต้องใช้ คุณธรรม ระเบียบวินัย และการลงโทษทัณฑ์ในการปกครอง นี้
เป็นเงื่อนไขชัยชนะ การรักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำ�วัน เมื่อออกคำ�สั่งทหารจะเชื่อฟัง ถ้าไม่
รักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำ�วัน เมื่อออกคำ�สั่งทหารจะไม่เชื่อฟัง ความจริงใจต่อระเบียบวินัย
จากชีวิตประจำ�วันของทหารชนะใจประชาชนได้ สามารถกำ�จิตใจประชาชนเป็นหนึ่งได้
บทที่ ๑๐ ภูมิประเทศ
第十计 形势
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ซุนวูกล่าวไว้ ลักษณะภูมิประเทศมี ๖ ประเภท ที่ไปมาสะดวกนั้นมีอยู่ ที่ไปสะดวกแต่
กลับลำ�บากก็มีอยู่ ทางแยกเป็นหลายแพร่งก็มีอยู่ มีที่แคบ มีที่รก มีที่ไกล สำ�หรับที่ไปมาสะดวก จง
รีบเข้ายึดโดยเฉพาะที่ดีเป็นที่สูงมีแสงแดด ก่อนออกศึกหากสถานที่ดังกล่าวไม่ถูกตัดเส้นทางส่งกำ�ลัง
บำ�รุง การรบจะมีเปรียบ สำ�หรับสถานที่ไปง่ายกลับลำ�บาก ถ้าเข้าไปในที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการ
ชนะได้ แต่ถ้าข้าศึกมีการเตรียมการจะไม่อาจชนะข้าศึกได้ จะถอนกลับก็ยาก การรบจะเสียเปรียบ
สำ�หรับทางหลายแยกจะออกจะเข้าล้วนเสียเปรียบ ข้าศึกใช้ผลประโยชน์หลอกล่อให้เราออกรบ อย่า
ออกรบ พยายามถอยออกให้ไกล ถ้าข้าศึกตามค่อยเข้าตีจะมีเปรียบสำ�หรับที่แคบ ควรยึดได้ก่อน
ข้าศึก จากนั้นรวมกำ�ลังรอคอยการมาของข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อน อย่าเข้าตีที่แคบ ถ้าข้าศึกมิได้
รวมกำ�ลังไว้เข้าตีดีคือที่รก เราควรยึดก่อน ควรอยู่ในที่สูงรอคอยข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อนควรอยู่ให้
ห่าง ฝ่ายเรา และข้าศึกตั้งทัพอยู่ไกลกัน ถ้ากำ�ลังรบพอกันรบกันยาก ฝ่ายรุกก่อนเสียเปรียบเหล่านี้
คือ ๖ ประเภทพื้นที่ภูมิประเทศ แม่ทัพต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างเพียงพอ
	 ในกองทัพนั้นมีพวกหนีทหาร พวกปล่อยตัว พวกซึมเศร้า พวกแหกคอก พวกวุ่นวาย และ
พวกแพ้แล้วหนี ทั้งหมด ๖ จำ�พวก โดยทั่วไปแม้มิได้เกิดเภทภัยก็จะทำ�ให้แม่ทัพเดือดร้อนอยู่เสมอๆ
พวกเหล่านี้ เมื่อฝ่ายเราห้าวหาญพอๆ กับข้าศึก แต่ข้าศึกมีมากกว่า ๑๐ เท่า แม้ยังมิได้ต่อสู้ก็หนี
ตายกันหมดสิ้นแล้วถ้าทหารเข้มแข็งแต่ตัวนายอ่อน กองทัพจะไม่มีกำ�ลัง ถ้าทหารอ่อนแต่ตัวนายเข้ม
แข็ง กองทัพก็จะไม่คึกคักขวัญจะไม่ดี ถ้าตัวนายโกรธไม่ปฏิบัติตามคำ�สั่งของแม่ทัพ แต่เมื่อข้าศึกยก
มาต้องออกรบโดยมีความโกรธอยู่ในใจ รบแต่ตามที่ตนเองคิด กองทัพก็จะไปไม่รอด แม่ทัพที่หย่อน
๑.
๒.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
ยานไม่เคร่งครัดออกคำ�สั่งไม่แน่นอน ตัวนาย และทหารย่อมปฏิบัติไม่ได้ เกิดความวุ่นวาย แม่ทัพจะ
คิดอ่านสถานการณ์ข้าศึกก็ย่อมทำ�ไม่ได้ ปะทะข้าศึกคราวใดก็ตีข้าศึกที่แข็งกว่าเสมอ ทหารจะหมด
ความกล้าหนีหายหมดทั้งหมดเกิดจากคน ๖ จำ�พวกดังที่กล่าวข้างต้น เป็นต้นเหตุแห่งความพ่ายแพ้
ถือเป็นหน้าที่ของแม่ทัพ จะต้องคิดอ่านเรื่องนี้อย่างเพียงพอ
	
	 ลักษณะของภูมิประเทศเป็นสิ่งช่วยการศึก ถ้าคิดอ่านพิจารณารอบคอบแล้วชนะได้ “การ
พิจารณาภูมิประเทศ และดัดแปลงมาใช้ทางยุทธวิธี เป็นงานยิ่งใหญ่ของแม่ทัพ” ถ้าพิจารณารอบคอบ
ระมัดระวังต้องชนะแน่นอน ถ้าพิจารณาไม่รอบคอบไม่ระมัดระวังต้องแพ้แน่นอน ถ้าคิดอ่านแล้ว
ชนะแน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งอย่าใช้กำ�ลัง การตัดสินใจรบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง ถ้าคิดอ่านแล้ว
แพ้แน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งให้ใช้กำ�ลัง การตัดสินใจไม่รบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง เพราะฉะนั้น
มิได้แสวงหาชื่อเสียง รุกเมื่อควรรุก มิกลัวผิด ถอยเมื่อควรถอย เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
“ถ้าผลประโยชน์ตรงกันกับผู้นำ�ประเทศ แม่ทัพคนนี้คือสมบัติล้ำ�ค่าของประเทศชาติ”
	 ปกครองทหารเหมือนดูแลเด็ก ทหารย่อมสามารถติดตามแม่ทัพไปในที่อันตรายได้ ปกครอง
ทหารเหมือนลูก มีความรักความผูกพัน ทหารก็พร้อมจะร่วมเป็นร่วมตายกับแม่ทัพได้ แต่ให้ความ
อบอุ่นอย่างเดียวใช้งานทหารไม่ได้ ให้แต่ความรักสั่งการใดใดย่อมไม่ได้จะใช้ประโยชน์อันใดย่อม
ทำ�ไม่ได้
๓.
๔.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
๕.
	 เมื่อรู้ว่ามีกำ�ลังพอ ที่จะเข้าตีข้าศึกรวบรวมชัยชนะได้ แต่ไม่รู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีไม่
ได้ จะชนะแน่นอนก็หาไม่ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้ แต่ไม่รู้ว่ากำ�ลังฝ่ายเราไม่เพียงพอ จะ
ชนะแน่นอนก็หาไม่ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้ และรู้ว่ากำ�ลังฝ่ายเรามีเพียงพอ แต่ไม่รู้ว่า
สภาพพื้นที่ภูมิประเทศรบไม่ได้ จะชนะแน่นอนก็หาไม่ ...
	 ฉะนั้นคนที่เข้าใจการรบดี รู้ข้าศึก รู้เรา รู้พื้นที่ภูมิประเทศ รู้เวลา จึงสามารถใช้กำ�ลังทหาร
ได้โดยไม่หลง การศึกก็จะไม่ลำ�บาก เพราะฉะนั้น รู้เขา รู้เรา ชัยชนะไม่ไปไหน รู้ภูมิประเทศ สภาพ
แวดล้อม และเวลากล่าวได้ว่าจะสามารถชนะได้อยู่เสมอ
บทที่ ๑๑ เก้าสนามรบ
第十一计 九个战场
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
	 ซุนวูกล่าวไว้ ลักษณะภูมิประเทศมี ๖ ประเภท ที่ไปมาสะดวกนั้นมีอยู่ ที่ไปสะดวกแต่กลับ
ลำ�บากก็มีอยู่ ทางแยกเป็นหลายแพร่งก็มีอยู่ มีที่แคบ มีที่รก มีที่ไกล สำ�หรับที่ไปมาสะดวก จงรีบเข้า
ยึดโดยเฉพาะที่ดีเป็นที่สูงมีแสงแดด ก่อนออกศึกหากสถานที่ดังกล่าวไม่ถูกตัดเส้นทางส่งกำ�ลังบำ�รุง
การรบจะมีเปรียบ สำ�หรับสถานที่ไปง่ายกลับลำ�บาก ถ้าเข้าไปในที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการชนะได้
แต่ถ้าข้าศึกมีการเตรียมการจะไม่อาจชนะข้าศึกได้ จะถอนกลับก็ยาก การรบจะเสียเปรียบ สำ�หรับ
ทางหลายแยกจะออกจะเข้าล้วนเสียเปรียบ ข้าศึกใช้ผลประโยชน์หลอกล่อให้เราออกรบ อย่าออก
รบ พยายามถอยออกให้ไกล ถ้าข้าศึกตามค่อยเข้าตีจะมีเปรียบสำ�หรับที่แคบ ควรยึดได้ก่อนข้าศึก
จากนั้นรวมกำ�ลังรอคอยการมาของข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อน อย่าเข้าตีที่แคบ ถ้าข้าศึกมิได้รวม
กำ�ลังไว้เข้าตีดีคือที่รก เราควรยึดก่อน ควรอยู่ในที่สูงรอคอยข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อนควรอยู่ให้
ห่าง ฝ่ายเรา และข้าศึกตั้งทัพอยู่ไกลกัน ถ้ากำ�ลังรบพอกันรบกันยาก ฝ่ายรุกก่อนเสียเปรียบเหล่า
นี้คือ ๖ ประเภทพื้นที่ภูมิประเทศ แม่ทัพต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างเพียงพอ
	 ในกองทัพนั้นมีพวกหนีทหาร พวกปล่อยตัว พวกซึมเศร้า พวกแหกคอก พวกวุ่นวาย
และพวกแพ้แล้วหนี ทั้งหมด ๖ จำ�พวก โดยทั่วไปแม้มิได้เกิดเภทภัยก็จะทำ�ให้แม่ทัพเดือดร้อนอยู่
เสมอๆพวกเหล่านี้ เมื่อฝ่ายเราห้าวหาญพอๆ กับข้าศึก แต่ข้าศึกมีมากกว่า ๑๐ เท่า แม้ยังมิได้ต่อสู้
ก็หนีตายกันหมดสิ้นแล้วถ้าทหารเข้มแข็งแต่ตัวนายอ่อน กองทัพจะไม่มีกำ�ลัง ถ้าทหารอ่อนแต่ตัว
๑.
๒.
กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法
นายเข้มแข็ง กองทัพก็จะไม่คึกคักขวัญจะไม่ดี ถ้าตัวนายโกรธไม่ปฏิบัติตามคำ�สั่งของแม่ทัพ แต่เมื่อ
ข้าศึกยกมาต้องออกรบโดยมีความโกรธอยู่ในใจ รบแต่ตามที่ตนเองคิด กองทัพก็จะไปไม่รอด แม่ทัพ
ที่หย่อนยานไม่เคร่งครัดออกคำ�สั่งไม่แน่นอน ตัวนาย และทหารย่อมปฏิบัติไม่ได้ เกิดความวุ่นวาย
แม่ทัพจะคิดอ่านสถานการณ์ข้าศึกก็ย่อมทำ�ไม่ได้ ปะทะข้าศึกคราวใดก็ตีข้าศึกที่แข็งกว่าเสมอ ทหาร
จะหมดความกล้าหนีหายหมดทั้งหมดเกิดจากคน ๖ จำ�พวกดังที่กล่าวข้างต้น เป็นต้นเหตุแห่งความ
พ่ายแพ้ถือเป็นหน้าที่ของแม่ทัพ จะต้องคิดอ่านเรื่องนี้อย่างเพียงพอ
	 ลักษณะของภูมิประเทศเป็นสิ่งช่วยการศึก ถ้าคิดอ่านพิจารณารอบคอบแล้วชนะได้ “การ
พิจารณาภูมิประเทศ และดัดแปลงมาใช้ทางยุทธวิธี เป็นงานยิ่งใหญ่ของแม่ทัพ” ถ้าพิจารณารอบคอบ
ระมัดระวังต้องชนะแน่นอน ถ้าพิจารณาไม่รอบคอบไม่ระมัดระวังต้องแพ้แน่นอน ถ้าคิดอ่านแล้วชนะ
แน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งอย่าใช้กำ�ลัง การตัดสินใจรบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง ถ้าคิดอ่านแล้วแพ้
แน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งให้ใช้กำ�ลัง การตัดสินใจไม่รบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง เพราะฉะนั้น มิได้
แสวงหาชื่อเสียง รุกเมื่อควรรุก มิกลัวผิด ถอยเมื่อควรถอย เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
“ถ้าผลประโยชน์ตรงกันกับผู้นำ�ประเทศ แม่ทัพคนนี้คือสมบัติล้ำ�ค่าของประเทศชาติ”
๓.
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU  ๑๓ บทไม้ตาย  น.อ. จอม รุ่งสว่าง

More Related Content

What's hot

ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานSamorn Tara
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยพัน พัน
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
Taraya Srivilas
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ณัฐพล บัวพันธ์
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนChittraporn Phalao
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
พจีกานต์ หว่านพืช
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
Wichai Likitponrak
 
โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์krubuatoom
 
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพบทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
Ornkapat Bualom
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Thanawut Rattanadon
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Sirisak Promtip
 
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพการเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
Yaowaluck Promdee
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
kruthai40
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
sudoooooo
 

What's hot (20)

ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงาน
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
 
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญใบความรู้ที่ 1 เรื่อง  วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญ
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
 
โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์
 
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพบทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพการเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
 
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทยความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
Utai Sukviwatsirikul
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
Utai Sukviwatsirikul
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
Utai Sukviwatsirikul
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Utai Sukviwatsirikul
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
Utai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
Utai Sukviwatsirikul
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Utai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Utai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
Utai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
Utai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

ตำราพิชัยสงครามซุนวู SUNTZU ๑๓ บทไม้ตาย น.อ. จอม รุ่งสว่าง

  • 1.
  • 3.
  • 5. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูเป็นชื่อตำ�ราพิชัยสงคราม ๑๓ บทไม้ตายที่เก่าแก่ที่สุด ๑ ในหนังสือว่าด้วยการทหารของจีน โบราณ ๗ เล่ม เสียงที่ชาวไทยอ่านว่า “ซุนซู๊” เป็นเสียงอ่านตามที่ชาวตะวันตกอ่าน มิใช่เสียงที่ชาว จีนอ่านออกเสียง คาดว่าไม่ ซุนวู (๕๑๔–๔๙๗ ปีก่อน ค.ศ.) หรือไม่ก็ ซุนปิง ( ๓๔๐ ปีก่อน ค.ศ.) เป็น ผู้ประพันธ์ขึ้น โดยใช้สำ�นวนจีนที่คมคาย เข้าใจง่าย ประกอบกับใช้แนวคิดของชาวตะวันออกล้วนๆ และเป็นแม่บททางความคิดของทั้งลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ อีกด้วย อย่างไรก็ตามหากถอดความตรง ตัวแล้ว อาจแปลได้ว่า “ปราชญ์แซ่ซุน” มีการอ้างถึงซุนวูบ่อยครั้ง ในระหว่างการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสงคราม ของสถาบัน การศึกษาวิชาชีพทางทหาร แต่ความจริงแล้ว ทหารไทยน้อยคนนักที่เคยได้อ่านฉบับจริงจนจบเล่ม หรือไม่ก็เพียงเคยได้อ่านจากเอกสารเรื่องอื่นๆที่ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากซุนวูที่ถอดความวาง ขายในตลาดหนังสือทั่วไป มีการสอดแทรกความเห็นส่วนตัวที่ไม่ถูกต้องไว้มาก กับบางส่วนถูกถอด ความจากเอกสารภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้แปลไว้ก่อนเป็นชาวตะวันตก จึงไม่สามารถทำ�ความเข้าใจกับ ทัศนะของชาวตะวันออกได้ ทำ�ให้เกิดอุปสรรคในการค้นคว้า และอ่านไม่รู้เรื่อง
  • 6. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 เอกสารฉบับนี้นั้นได้ถอดความอย่างตรงไปตรงมา มิได้สอดแทรกความเห็นส่วนตัวใดๆ จากอักษร จีนโบราณ หรือ อักษรญี่ปุ่นโบราณ และการถอดความเป็นภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันของหนังสือชื่อซุนวู (Suntzu) ของนาย Kanetani ซึ่งจัดพิมพ์ และแก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อปี ๑๙๘๐ โดยใช้เป็นตำ�ราเรียน ของนักเรียนนายร้อยรวมประเทศญี่ปุ่นชั้นปีที่ ๒ ซึ่งผู้แปล น.อ.จอม รุ่งสว่าง (ยศในขณะนั้น) ได้ มีโอกาสศึกษาอย่างจริงจังเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วเหตุผลประการหนึ่งที่สถาบันทหารของญี่ปุ่นให้ความ สำ�คัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เนื่องเพราะพวกเขาถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานทางทหารที่ต้องศึกษาตั้งแต่ ยังวัยเยาว์ ดังนั้นทหารญี่ปุ่นจะมีตำ�รานี้ครอบครองไว้เป็นส่วนตัวทุกคน ในขณะที่ทหารไทยนั้นมอง ว่า ซุนวู เป็นเรื่องในระดับยุทธศาสตร์ที่จำ�เป็นต้องรู้เพียงเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น ซึ่งแสดงให้ เห็นถึงความแตกต่างกันในเรื่องแนวคิดด้านการศึกษา ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยได้อย่าง ชัดเจน อย่างไรก็ตามซุนวูเป็นตำ�ราพิชัยสงครามที่สะท้อนปรัชญาจิตนิยมสุดขั้ว และอธิบายด้วย สำ�นวนจีนที่กระทัดรัด คมคาย ใช้ตรรกะบวกลบเชิงเส้นแบบธรรมดาๆ ทำ�ให้อ่านและสามารถทำ�ความ เข้าใจได้ง่าย ผู้แปลหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักการอ่านทุกท่าน เพราะนอกจาก มันจะ สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิต และการทำ�งานประจำ�วันแล้ว เนื้อหาสาระของซุนวู ยังได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวางว่าอัดแน่นไปด้วย “FUNDAMENTAL DOCTRINE” ที่จะทำ�ให้ผู้ที่อ่านได้แตกฉาน สามารถทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสงครามได้เป็นอย่างดี
  • 8. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 รบร้อยชนะร้อย ซุนวูได้กล่าวไว้ว่า การรบถ้ารู้จักการวางแผนที่ดีมีสิทธิที่จะชนะทุกร้อยครั้งเหมือนสิงโต ถ้าคราวใดที่ไม่สามารถจะล่าเหยื่อได้จะไม่ออกล่าเหยื่อ ในสงครามเมื่อมีการรู้กำ�ลังของกองทัพของ เราเองรู้ความสามารถของแม่ทัพ รู้ความสามารถของกองทหารของฝ่ายเรา โอกาสรบชนะจะมีครึ่ง หนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่เราเรียนรู้กองกำ�ลังของข้าศึก เรียนรู้ความสามารถของแม่ทัพข้าศึก และรู้ความ สามารถของกองทหารของข้าศึก โอกาสรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งก็ไม่ไปไหนไกล แต่หากเมื่อใดก็ตาม ที่ออกรบนั้น แม่ทัพไม่รู้กำ�ลังของตัวเอง ไม่รู้กำ�ลังของกองทหารตัวเอง ไม่ว่าจะออกรบกี่ครั้งก็ต้อง แพ้ย่อยยับกลับมาทุกครั้ง ศาสตร์ข้อนี้ได้มีการนำ�ไปใช้ในเชิงธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย ยกตัวอย่าง เช่น ทฤษฎี SWOT Analysis ตีใกล้แสร้งไกล ตีไกลแสร้งใกล้ ซุนวูกล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่จะรุกโจมตีเมืองที่ไกลห่างออกไป จงหลอกล่อให้ข้าศึกรู้ว่าเรา จะตีเมืองอื่นที่ใกล้กับเรา หลอกให้ศัตรูคิดว่าเราไม่สามารถไปตีถึงเมืองนั้นได้ เมื่อคราใดที่เราเข้า โจมตีศัตรู ศัตรูจะไหวตัวไม่ทันทำ�ให้รบชนะได้อย่างง่ายดาย เฉกเช่นเดียวกับโจมตีเมืองที่อยู่ใกล้ แต่หลอกศัตรูว่าเราจะไปตีเมืองที่ไกลห่างออกไป
  • 9. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 จงสู้รบให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ • ไฟ เมื่อยามบุก จงบุกให้เหมือนไฟ ให้รุกกระหน่ำ�ให้โหมหนักไปเรื่อยเรื่อยจนทุกอย่างมอดไหม้ • ภูเขา เมื่อยามที่ตั้งรับ จงนิ่งสงบอย่างหุบเขา ไม่ให้ศัตรูจับได้ว่าเราซ่อนตัวอยู่ที่ไหน • ลม เมื่อยามเคลื่อนทัพ จงเคลื่อนให้เหมือนสายลม รวดเร็วโดยไม่ทิ้งร่องรอย สิ่งที่ผู้ปกครอง ไม่พึงทำ�ในการยุทธ สิ่งที่ผู้ปกครองไม่พึงทำ�ในการยุทธ ผู้ที่ปกครองห้ามทำ�ผิดกฎ 3 ข้อดังต่อไปนี้ หากไม่ทำ�ตามจะทำ�ให้ประสบกับความพ่ายแพ้ได้ • สั่งให้รุกขณะไม่ควรรุก หรือสั่งให้ถอยขณะเป็นต่อข้าศึก ทำ�ให้กองทัพระส่ำ�ระสาย • ไม่มีความเข้าใจ ในกิจการของกองทัพ แต่สั่งการตามอำ�เภอใจ หรือสามัญสำ�นึก ของตน ทำ�ให้เหล่าขุนพลสับสน • ไม่เข้าใจหลักการผสมผสานการใช้กำ�ลังทหารเหล่าต่างๆ ในการดำ�เนินกลยุทธ์ แต่เข้าแสดงบทผู้บัญชาการ ทำ�ให้เหล่านายทหารเกิดความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจเมื่อเหล่า ทัพต่าง ๆ ตกอยู่ในสภาพลังเล สงสัย สับสน ไม่แน่ใจ ก็เกิดความระส่ำ� ระสายในกองทัพ ศัตรูก็ฉวยโอกาสนี้เข้ากระทำ�และได้รับชัยชนะ เป็น ต่อฝ่ายเรา
  • 10. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ปัจจัยสู่ชัยชนะ การนำ�กองทัพสู่ชัยชนะมีปัจจัย 5 ประการ • รู้ว่าเมื่อใดควรรบ และไม่ควรรบ • รู้จักการออมกำ�ลัง • นาย และพลทหารเป็นน้ำ�หนึ่ง ใจเดียวกัน • วางแผนและเตรียมการดี • มีขุนพลผู้ที่สามารถ และไม่ถูกแทรกแซงจากผู้ปกครอง ที่กล่าวมา 5 ประการนี้ผู้ใดรู้จักใช้จะพบกับ “ชัยชนะ” พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
  • 12. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ การสงครามเป็นงานยิ่งใหญ่ และยังมีความสำ�คัญต่อชาติใหญ่หลวง ชี้ขาด ความเป็นตายคนในชาติเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาติ จึงต้องคิดอ่านพิจารณาด้วยความรอบคอบ อย่างถึงที่สุดฉะนั้นจะต้องคิดคำ�นึงถึงเรื่องสำ�คัญ ๕ ประการ และพิจารณาเปรียบเทียบ ๗ ประการ เพื่อเข้าใจสถานการณ์ได้ถ่องแท้ ๕ ประการดังกล่าว ได้แก่ • หนทาง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนแต่ละชั้นว่าสามารถอยู่ร่วมกัน ตายร่วมกัน ได้เพียงใด ( การเมืองภายใน ) • สภาพแวดล้อม เงื่อนไขเอื้ออำ�นวยของจังหวะเวลา และภูมิอากาศ • สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ • แม่ทัพนายกอง ลักษณะคน • กฎ ระเบียบ วินัย ปกติการคิดคำ�นึง และศึกษาเรื่องราว ๕ ประการ แม่ทัพนายกองทุกคนเข้าใจดีอยู่แล้ว แต่ผู้เข้าใจลึก ซึ้งกว่าเป็นผู้ชนะ ผู้เข้าใจลึกซึ้งน้อยกว่าเป็นผู้ไม่อาจชนะ ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งกว่าจำ�เป็นต้องมี การพิจารณาเปรียบเทียบอีก ๗ ประการ ดังนี้ • ผู้นำ�ประเทศฝ่ายใดกำ�จิตใจคนในชาติมากกว่ากัน • แม่ทัพนายกองฝ่ายใดมีความสามารถมากกว่ากัน • เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ฝ่ายใดได้เปรียบ • ฝ่ายใดรักษากฎ ระเบียบ วินัย เคร่งครัด กว่ากัน • กองทัพฝ่ายใดเข้มแข็งกว่ากัน ๑.
  • 13. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 • ทหารหาญฝ่ายใดได้รับการฝึกมามากกว่ากัน • การให้รางวัล และการลงโทษ ฝ่ายใดมีความยุติธรรมกว่ากัน สำ�หรับซุนวูแล้ว จากที่กล่าวมา แม้ยังมิได้รบก็รู้แพ้ชนะกระจ่างแจ้งแล้ว ในกรณีแม่ทัพนายกองปฏิบัติตามการคิดคำ�นวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการ ของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะได้รับชัยชนะแน่นอน ต้องเอาคนคนนี้มาใช้งาน ในกรณีแม่ทัพ นายกองมิได้ปฏิบัติตามการคิดคำ�นวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอา คนนี้มาใช้งานจะประสบความพ่ายแพ้แน่นอน ต้องปลดคนคนนี้ทิ้งเสีย ถ้าปฏิบัติตาม และเข้าใจ ความคิดอ่านนี้ การเตรียมการก่อนออกศึกจะเกิด “พลังอำ�นาจ” ซึ่งจะช่วยกองทัพในการศึก พลัง อำ�นาจที่กล่าวช่วยให้ฝ่ายเราสามารถใช้ความอ่อนตัว บังคับสถานการณ์ได้เปรียบให้ตกอยู่กับฝ่าย เรานั่นเอง (พลังอำ�นาจ ... ศักย์สงคราม) การศึกนั้นเป็นการเคลื่อนไหวด้วยเล่ห์เหลี่ยม มีความหมายถึงการกระทำ�ที่กลับกันกับ การกระทำ�ปกติ ฉะนั้น เมื่อเข้มแข็งต้องให้เห็นว่าอ่อนแอ เมื่อกล้าต้องให้เห็นว่ากลัว เมื่อใกล้ให้ดู ไกล เมื่อไกลให้ดูใกล้ เมื่อข้าศึกต้องการประโยชน์เอาประโยชน์เข้าล่อ เมื่อข้าศึกวุ่นวายสับสนให้ฉวย ๒. ๓.
  • 14. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 โอกาสข้าศึกเหนียวแน่นให้ป้องกัน ข้าศึกเข้มแข็งให้ถอยออกมา เมื่อข้าศึกโกรธให้ยั่วยุ ข้าศึกสบาย ทำ�ให้พวกเขาเหนื่อยล้า เมื่อข้าศึกกลมเกลียวทำ�ให้แตกแยก โจมตีข้าศึกในที่ซึ่งไม่มีการป้องกัน รุก เข้าไปในที่ซึ่งข้าศึกไม่คาดคิด เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึก ก่อนรบไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าจะเผชิญ หน้ากับสถานการณ์เช่นไร ปกติการคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วชนะ หมายถึงผลจากการคิดคำ�นวณ ๕ ประการเปรียบ เทียบ ๗ ประการ แล้วมีทางชนะมากกว่าทางแพ้นั่นเอง แต่หากคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วไม่อาจชนะ ก็หมายถึงผลจากการคิดคำ�นวณ ๕ ประการเปรียบเทียบ ๗ ประการแล้วมีทางชนะน้อยนั่นเอง ดัง นั้น จากการคิดคำ�นวณก่อนออกศึก ถ้ามีทางชนะมากจะชนะ ถ้ามีทางชนะน้อยกว่าก็จะมิอาจชนะ สำ�หรับข้าพเจ้า เพียงสังเกตดังกล่าว ก็รู้แพ้ชนะชัดเจนแล้ว ๔.
  • 16. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ กฎของสงครามนั้น การทหารเป็นความสิ้นเปลืองอย่างใหญ่หลวง กว่าจะ สามารถใช้กำ�ลังเคลื่อนกำ�ลังทหารได้นั้น แม้เพียงวันเดียวก็ยังต้องใช้ทรัพย์สินมหาศาลการทำ�สงคราม ยืดเยื้อทหารจะอ่อนล้า ความห้าวหาญจะลดลง การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นข้าศึกเป็นเวลานานกำ�ลัง รบจะหมดไป เพราะฉะนั้น การใช้กำ�ลังทหารเป็นเวลานานเศรษฐกิจของชาติจะย่อยยับ ถ้าทหารหาญของชาติเหนื่อยอ่อน ขาดความห้าวหาญ และถ้าเศรษฐกิจของชาติย่อยยับ แล้วต่างชาติจะยกทัพมารบกับเราแน่นอน ซึ่งแม้จะมีผู้มีความสามารถสูงเพียงไรก็ยากที่จะต่อต้านกับทัพ ต่างชาติที่ยกเข้ามาได้ดังนั้น “การสงครามจะต้องรวดเร็ว และเฉียบพลัน” ตัวอย่างที่ดีของสงคราม ยืดเยื้อในประวัติศาสตร์ไม่มีประเทศใดเคยได้ประโยชน์จากสงครามยืดเยื้อไม่เคยปรากฏ ดั่งที่เคย กล่าวแล้ว ผู้ที่ไม่เข้าใจความสูญเสียของสงครามอย่างเพียงพอ ย่อมไม่สามารถเข้าใจผลประโยชน์ที่ ได้รับจากสงครามอย่างเพียงพอเช่นกัน นักรบที่ชำ�นาญศึก จะไม่เกณฑ์ประชาชนมารบหลายครั้ง จะไม่ขนเสบียงอาหารจากชาติ ตนหลายครั้ง แม้ใช้อาวุธจากชาติตน แต่เสบียงอาหารเอาจากดินแดนข้าศึก การที่ประเทศชาติต้อง ยากจนลงเพราะกองทัพก็เนื่องจากการขนส่งเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล เพราะถ้ากองทัพต้องขน เสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล ประชาชนในประเทศก็จะยากจนลง ราคาสินค้าบริเวณสนามรบจะ สูงขึ้น เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น ทรัพย์สินของประชาชาก็ยิ่งหมดลง เมื่อทรัพย์สินของประชาชนหมดลง ๑. ๒.
  • 17. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 การจะระดมเสบียงอาหารมาให้ทหาร ก็จะทำ�ได้ยากลำ�บาก กำ�ลังรบของกองทัพก็จะค่อยๆ หมดลง ทรัพย์สินของประชาชนจาก ๑๐ จะเหลือ ๗ ข้าวของของรัฐที่เสียหายไปกับสงครามจาก ๑๐จะเหลือ ๖ เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่มีความสามารถจะแย่งเสบียงอาหาร และข้าวของของข้าศึกมาใช้การใช้ข้าว ของของข้าศึก ๑ ส่วน ได้ประโยชน์เหมือนใช้ของของเรา ๒๐ ส่วน การที่ทหารฝ่ายเราสังหารทหารฝ่ายข้าศึกได้ก็เนื่องจากกำ�ลังใจของทหาร การยึดเอา สิ่งของของข้าศึกมา ก็เนื่องจากผลประโยชน์นั่นเองฉะนั้น การให้รางวัลแก่ทหารที่ยึดเอาสิ่งของจาก ข้าศึกได้ และลงโทษทหารที่ถูกข้าศึกยึดสิ่งของไป เป็นการสร้างความเข้มแข็งขึ้นในกองทัพ ดังกล่าวข้างต้น การสงครามนั้นชัยชนะเป็นอันดับหนึ่ง จะยืดเยื้อไม่ได้ แม่ทัพที่ระมัดระวัง ผลได้เสียของสงครามรอบคอบ คือผู้กำ�ชะตากรรมของประชาชนไว้ เป็นอุปราชชี้ขาดความอยู่รอด ของประเทศชาติ ๓. ๔.
  • 18.
  • 20. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ กฎของสงครามโดยทั่วไปสยบประเทศข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นนโยบาย หลัก ใช้กำ�ลังทางทหารเข้าตีประเทศข้าศึกแตก จึงสยบประเทศข้าศึกได้เป็นนโยบายรองสยบ กองทัพข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นนโยบายหลักใช้กำ�ลังทางทหาร เข้าตีกองทัพข้าศึกแตกจึงสยบ กองทัพข้าศึกได้เป็นนโยบายรองสยบหน่วยทหารข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นนโยบายหลัก ใช้กำ�ลัง ทางทหารเข้าตีหน่วยทหารข้าศึกแตกจึงสยบหน่วยทหารข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง “รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้งยังมิใช่ยอด สยบข้าศึกได้ไม่ต้องรบ เป็นยอดนักรบ” เพราะฉะนั้นสุดยอดของการสงครามก็คือ เข้าโจมตีแผนลับข้าศึกให้แตก จากนั้นตีความ สามัคคีข้าศึก ตีสัมพันธไมตรีของกลุ่มพันธมิตรข้าศึกให้แตก สุดท้ายหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจึงใช้กำ�ลัง ทางทหารเข้าตีกำ�ลังทหารข้าศึก สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก การเข้าตีดังกล่าวจะเป็นเฉพาะเมื่อไม่มีหนทางอื่นแล้ว และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน และต้องพร้อมจริงๆ จึง ทำ�ได้ ซึ่งในระหว่างเตรียมการหากแม่ทัพนายกองไม่สามารถระงับความเกรียวกราดได้ยกกำ�ลังเข้า ทำ�การรบแตกหักก่อนที่การเตรียมการจะพร้อม ทหาร ๑ ใน ๓ จะต้องตาย แม้กระนั้นป้อมปราการ ที่มั่นของข้าศึกก็จะยังไม่แตก นี้คือผลเสียของการโจมตีป้อมปราการที่มั่นของข้าศึก นักรบผู้ชำ�นาญมิได้ใช้การต่อสู้เพื่อสยบข้าศึก ป้อมปราการที่มั่นข้าศึกแตกก็มิใช่ด้วยการ ๑. ๒.
  • 21. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 โจมตีตรงหน้า ประเทศข้าศึกต้องพินาศลงก็มิใช่ด้วยศึกสงครามยืดเยื้อ ใช้วิธีชนะโลก ชนะโดยไม่ เสียเลือดเนื้อ ด้วยเหตุนี้ ทหารหาญก็ไม่เหนื่อยอ่อน ผลประโยชน์ที่ได้รับย่อมเป็นผลประโยชน์ สูงสุด “นี่คือกฎของนโยบายในการทำ�ศึกสงคราม” กฎของสงครามโดยทั่วไป เมื่อมีกำ�ลัง ๑๐ เท่าเข้าโอบล้อม เมื่อมีกำ�ลัง ๕ เท่าเปิดเกมรุก เมื่อเท่ากันให้สู้ ถ้าน้อยกว่าให้ถอย ถ้ากำ�ลังปะทะกันไม่ได้ให้หลบซ่อน โดยปกติกำ�ลังน้อยกว่าปะทะ ตรงหน้ากับกำ�ลังที่มากกว่าย่อมทำ�ไม่ได้เป็นทางปกติ กำ�ลังที่น้อยนิดคิดแต่จะใช้ความห้าวหาญ รัง แต่จะถูกจับเป็นเชลยของกำ�ลังที่มากกว่าเท่านั้น โดยทั่วไป แม่ทัพมีหน้าที่ช่วยเหลือชาติ ถ้าหน้าที่นั้นสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้นำ�ประเทศ ชาตินั้นต้องเข้มแข็งแน่นอน ถ้าหน้าที่นั้นขัดแย้งกับผู้นำ�ประเทศ ชาตินั้นต้องอ่อนแอแน่นอน ฉะนั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการศึกสำ�หรับ ผู้นำ�ประเทศมี ๓ ประการ ได้แก่ • ไม่รู้ว่าไม่ควรใช้กำ�ลังทหาร สั่งให้ใช้กำ�ลังทหาร • ไม่รู้ว่าไม่ควรถอย สั่งให้ถอย • ไม่รู้เรื่องภายในกองทัพ แต่เข้ามาปกครองกองทัพร่วมกับแม่ทัพ • ไม่เข้าใจวิธีใช้กำ�ลังทหาร แต่เข้ามาบังคับบัญชาทหาร ๓. ๔.
  • 22. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 เมื่อใดที่ทหารนั้น อยู่ในความหลง ความงงงวยแปลกใจสงสัย ต่างชาติจะยกทัพเข้ามาและ ชัยชนะของกองทัพที่สับสนก็จะจากหายไป ฉะนั้น มี ๕ สิ่งที่ต้องรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับชัยชนะ ได้แก่ • เมื่อไรควรรบเมื่อไรไม่ควรรบ ระมัดระวังผลได้ผลเสียรอบคอบ ... ชนะ • เข้าใจการใช้กำ�ลังใหญ่ กำ�ลังเล็ก นอกแบบในแบบ ... ชนะ • ประสานจิตใจคนทุกชั้นได้ ... ชนะ • เตรียมการดีปะทะที่ประมาท ... ชนะ • แม่ทัพนายกองมีความสามารถ ผู้นำ�ประเทศไม่แทรกแซงกิจการภายในกองทัพ ... ชนะ ๕ ประการนี้เป็นวิธีเข้าใจชัยชนะ ดังนั้น “เมื่อ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งปราศจากอันตรายรู้สถานการณ์ ฝ่ายเขา ไม่รู้ฝ่ายเรา แพ้บ้างชนะบ้างไม่รู้เขา ไม่รู้เรา กล่าวได้ว่ารบทุกครั้งรังแต่จะมีอันตราย” ๕.
  • 24. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ ยอดนักรบ ตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะเขาได้ รอคอยโอกาสซึ่งใครก็ได้ อาจชนะต่อข้าศึกรูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้อยู่ที่ฝ่ายเรา รูปแบบที่ใครก็ได้อาจสามารถชนะได้อยู่ ที่ฝ่ายเขาแม้จะเป็นยอดนักรบที่สามารถตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะได้ ก็ไม่สามารถทำ�ให้ข้าศึก ตั้งอยู่ในที่ซึ่งใครใครก็อาจชนะได้จึงจำ�เป็นต้องรู้จักอดทนรอคอย รูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้นั้น เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการตั้งรับ รูปแบบที่ใครก็อาจชนะได้ เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการรุก รับ เนื่องจากกำ�ลังรบไม่เพียงพอ และรุกเนื่องจากกำ�ลังรบมีอยู่เพียงพอ นักรบที่ตั้งรับเก่งเหมือนซ่อนอยู่ ใต้ของใต้แผ่นดิน นักรบที่รุกเก่งเหมือนเคลื่อนไหวอยู่เหนือของเหนือฟ้า ฉะนั้นจึงอยู่ในที่ปลอดภัย และสามารถเอาชัยเด็ดขาดได้สำ�เร็จ ระดับชัยชนะที่คนทั่วไปมองออกยังมิใช่ยอด รบกันแล้วได้ชัยชนะคนทั่วโลกแซ่ซ้อง สรรเสริญยังมิใช่เยี่ยม หยิบถือเส้นผมได้ว่ามีกำ�ลังมิได้ มองดวงอาทิตย์จะบอกว่าตาดีไม่ได้ ฟังเสียง ฟ้าร้องว่าหูดีมิได้ สมัยก่อนยอดนักรบคนทั่วไปมองไม่ออก เขาจะเข้ายึดโอกาสชนะง่ายแล้วชนะ เพราะฉะนั้น การต่อสู้ของยอดนักรบนั้น มิได้มีชื่อเสียง มิได้ใช้ความรู้ความสามารถหรือความมานะ พยายามพิเศษพิศดารและกล้าหาญใดๆ เนื่องเพราะเขาจะทำ�สงครามที่ชนะแน่นอนเท่านั้น สงคราม ที่ชนะแน่นอนก็คือเข้าตีข้าศึกที่แพ้แน่นอนแล้วชนะนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ยอดนักรบจะตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มี ใครอาจชนะได้รอคอยโอกาสชนะ และไม่ปล่อยให้โอกาสชนะโอกาสแรกหลุดลอยไปนั่นเอง ๑.
  • 25. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 “กองทัพที่มีชัย คือกองทัพที่ก่อนออกศึกได้รับชัยชนะแล้วจึงรบ กองทัพที่พ่ายแพ้ คือกองทัพที่ออก รบแล้วจึงแสวงหาชัยชนะนั่นเอง” ยอดนักรบย่อมสามารถทำ�ให้จิตใจคนทุกชั้นเป็นหนึ่งได้ สามารถจัดระบบ รักษาวินัย และ กฎระเบียบได้ ฉะนั้นจึงสามารถตัดสินแพ้ชนะได้อย่างอิสระ ปัญหาในการจัดการทางทหารก่อนรบจะเกิดขึ้น ๕ ประการที่ต้องขบคิด • ปัญหาขอบเขตของการรบ • ปัญหาปริมาณสิ่งของที่ต้องทุ่มเทในการรบ • ปัญหาจำ�นวนทหารที่จะนำ�มาใช้ในการรบ • ปัญหาขีดความสามรถของหน่วยกำ�ลัง จะมีมากน้อยขนาดใด • ปัญหาของชัยชนะ กองทัพที่ได้ชัยต้องผ่านขั้นตอนดังกล่าว และมีความได้เปรียบ กองทัพที่พ่ายแพ้ คือกองทัพที่เสียเปรียบ จากปัญหาดังกล่าวนั่นเอง ... ๓. ๔.
  • 26. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ผู้ชนะซึ่งทำ�ให้ผู้คนในชาติร่วมกันต่อสู้ได้ เหมือนกับแอ่งน้ำ�ในหุบเขา ซึ่งเกิดจากสาย น้ำ�เล็กๆ หลายพันสายไหลมารวมกัน ซึ่งหากแอ่งน้ำ�นั้นตกลงมาเป็นน้ำ�ตกก็จะมีพลังมหาศาลพลัง ที่ซ่อนอยู่ในแอ่งน้ำ�กลางหุบเขานี้เปรียบได้กับ “ศักย์สงคราม” และพลังของน้ำ�ที่กระทบเบื้องล่าง เปรียบได้กับ “จลน์สงคราม” ฉันใดฉันนั้น... ๕.
  • 28. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้การปกครองกำ�ลังขนาดใหญ่จะทำ�ได้เนื่องจากการจัดกำ�ลังขนาดเล็กให้เป็น หมวดหมู่นั่นเองการจะบังคับบัญชากำ�ลังขนาดใหญ่ได้ต้องจัดเตรียมเครื่องมือสื่อสาร ธงทิว กลอง ฆ้อง เพื่อให้กำ�ลังขนาดเล็กเข้าใจคำ�สั่งจึงจะทำ�ได้ การที่กำ�ลังขนาดใหญ่สามารถต้านทานกำ�ลังของข้าศึกได้ดี ก็คือใช้ความอ่อนตัว แยกแยะ การใช้กำ�ลังอย่างรวดเร็ว อย่างเข้มแข็ง ใช้กำ�ลังทั้งนอกแบบในแบบอย่างเหมาะสมในการรบ และ การต่อสู้จะชนะข้าศึกได้เหมือนหินกระแทกไข่แตกได้เสมอๆ ก็เนื่องจากใช้การหลอกล่อข้าศึกนั่นเอง การต่อสู้โดยทั่วไป ตั้งมั่นในที่ไม่มีทางแพ้เข้มแข็งดุจหินใหญ่ เหมือนสู้กันตามแบบ จู่โจม ข้าศึกเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึกเหมือนสู้กันนอกแบบ เช่นเดียวกับฤดูกาลที่ไม่จบสิ้น จาก มืดกลับสว่าง จากสว่างกลับมืด เสียงมี ๗ เสียงแต่ผสมกันแล้วฟังได้ไม่หมด สี ๓ สีผสมเกิดสีนับไม่ ถ้วน รสชาติ ๕ รสผสมกันเกิดรสชาติที่ลิ้มลองไม่หมดเช่นกันการใช้กำ�ลังก็มีนอกแบบในแบบแต่ ผสมกันแล้วเกิดรูปแบบนับไม่ถ้วน ต่างเกิดจากกันและกันระหว่างตามแบบจะมีนอกแบบ ระหว่าง นอกแบบจะมีตามแบบ เรียกว่านอกแบบเกิดจากตามแบบและตามแบบเกิดจากนอกแบบ หมุนเวียน เปลี่ยนไปหาจุดสิ้นสุดมิได้ ใครจะรู้ละว่าจะเป็นแบบใด ... ๑. ๒.
  • 29. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ยอดนักรบจะเพิ่มศักย์สงครามทำ�ให้จลน์สงครามเพิ่ม จลน์สงครามนั้นเหมือนลูกศรที่วิ่ง ไปศักย์สงครามนั้นก็เหมือนขณะง้างคันศรนั่นเอง ... ความวุ่นวายเกิดจากความมีระเบียบ ความขลาดเกิดจากความกล้า ความอ่อนแอเกิดจาก ความเข้มแข็ง แต่ละสิ่งเคลื่อนไหวสู่กันและกันง่ายดายนัก จะวุ่นวายสับสนหรือมีระเบียบขึ้นอยู่กับ ปัญหาการจัดหน่วยทหาร จะกลัวหรือกล้าหาญขึ้นอยู่กับปัญหาของจลน์สงคราม จะอ่อนแอหรือเข้ม แข็งขึ้นอยู่กับปัญหาของศักย์สงคราม ๓ สิ่งระมัดระวังใส่ใจ ย่อมจะได้ ระเบียบ ความกล้าหาญ และ ความเข้มแข็ง เพราะฉะนั้น การจะล่อข้าศึกให้ออกมานั้นเมื่อชี้ให้เห็นรูปแบบการวางกำ�ลังให้ข้าศึกรู้ ข้าศึกต้องมาแน่นอน เมื่อชี้ให้เห็นว่าข้าศึกจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ข้าศึกต้องออกมาเอาแน่นอน นั่นคือการใช้ประโยชน์ล่อข้าศึกให้ออกมา จงเข้าปะทะข้าศึกนั้นด้วยการดัดหลังคู่ต่อสู้ตลอดเวลา ๓. ๔. ๕.
  • 30. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ยอดนักรบเมื่อต้องการชัยชนะจากจลน์สงคราม ที่มีอยู่มิได้พึ่งพาบุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็น พิเศษแต่พึ่งพาพลังอำ�นาจของจลน์สงคราม ปล่อยให้ผู้คนต่างๆ เป็นไปตามจลน์สงครามนั้น เหมือน กับสิ่งของท่อนไม้รูปแบบต่าง ๆ จะอยู่นิ่งบนพื้นราบ แต่เมื่อเอียงพื้นราบขึ้นสิ่งของเหล่านั้นจะกลิ้งไป ตามจลน์สงครามนั่นเอง ฉะนั้นยอดนักรบจะให้ผู้คนเข้าต่อสู้เหมือนสิ่งของท่อนไม้กลิ้งจากที่สูง นี่แหละที่เรียกว่า จลน์สงคราม ๖.
  • 32. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ กองทัพที่มาถึงสนามรบก่อน และรอคอยข้าศึกเป็นฝ่ายที่สบาย กองทัพที่มา ถึงสนามรบทีหลัง และเข้าต่อสู้เป็นฝ่ายที่ลำ�บาก และทรมาน “ยอดนักรบนั้นฝ่ายตนจะต้องเป็นฝ่าย ควบคุมการรบ หมายถึง ทำ�ให้ข้าศึกเป็นดั่งเช่นตนคิด และไม่เป็นอย่างที่ข้าศึกคิด” การที่ฝ่ายเราจะ ทำ�ให้ข้าศึกออกมาได้นั้น ชี้ผลประโยชน์เข้าล่อ การที่ฝ่ายเราจะทำ�ให้ข้าศึกไม่เข้ามาได้นั้น ชี้ถึงผล เสียนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงสามารถทำ�ให้ข้าศึกที่สุขสบาย เหนื่อยล้าได้ ทำ�ให้ข้าศึกที่ท้องอิ่ม หิวโหย ได้การหลอกล่อข้าศึกที่อยู่นิ่งๆ ให้เคลื่อนไหว จึงทำ�ได้นั่นเอง ... โจมตีสถานที่ที่ข้าศึกต้องออกมาอย่างแน่นอน รุกอย่างรวดเร็วเข้าไปในที่ที่ข้าศึกคาดไม่ ถึงการเคลื่อนกำ�ลังเข้าไปในสถานที่ไกลโดยไม่เหนื่อย ก็คือเข้าไปในเส้นทางที่ไม่มีการต้านทาน จาก ข้าศึกหลังจากเข้าโจมตีแล้วสามารถยึดได้ ก็คือการเข้าโจมตีที่ไม่มีการป้องกันจากข้าศึก หลังจาก วางกำ�ลังป้องกันแล้วเข้มแข็งแน่นอน ก็คือการรักษาที่มั่นที่ข้าศึกจะไม่เข้าตี นักรบที่รุกเก่ง ข้าศึกไม่รู้ ที่ป้องกัน นักรบที่รับเก่ง ข้าศึกไม่รู้ที่จะเข้าตี แยบคายลึกซึ้ง สุดยอดต้องปราศจากรูป ลี้ลับมหัศจรรย์ สุดยอดต้องปราศจากเสียง จึงเป็นอุปราชชี้ขาดชะตากรรมของข้าศึกได้ รุกเข้าไปแล้วไม่สามารถป้องกันได้เพราะว่ารุกเข้าไปในช่องว่างของข้าศึก ถอยออกมาแล้ว ๑. ๒. ๓.
  • 33. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ตามไม่ทันเพราะว่ามิได้ติดตามไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น เมื่อฝ่ายเราต้องการรบ แม้ข้าศึกจะอยู่ในที่มั่น เข้มแข็งไม่ยอมออกรบ แต่การที่ข้าศึกจะอย่างไรก็ต้องออกมา ก็เพราะว่าฝ่ายเราโจมตีในที่ที่ข้าศึกจะ ต้องยกกำ�ลังมาช่วยนั่นเอง เมื่อเราไม่ต้องการรบ แม้จะมิได้วางกำ�ลังป้องกันใดใด แต่ข้าศึกอย่างไรก็ จะไม่ออกมาก็เพราะว่าสถานที่นั้นถูกลวงนั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเราลวงข้าศึกให้ทราบชัดเกี่ยวกับกำ�ลังฝ่ายเรา แต่เราซ่อนกำ�ลังจริงไว้เมื่อ ข้าศึกแยกกำ�ลังออกไป และเรารวมกำ�ลังไว้ ถ้าเรารวมกำ�ลังเป็นหนึ่ง และข้าศึกแยกกำ�ลังออกเป็น ๑๐ ส่วน ผลการปะทะกันฝ่ายเราจะมีทหารมากกว่า ๑๐ เท่า เราจะเป็นฝ่ายมีกำ�ลังมาก ข้าศึกจะเป็นฝ่าย มีกำ�ลังน้อย ถ้าเราสามารถใช้กำ�ลังใหญ่เข้าปะทะกับกำ�ลังน้อยของข้าศึก ข้าศึกก็จะเป็นฝ่ายที่อ่อนกว่า เราเสมอ เมื่อข้าศึกไม่ทราบที่เราจะรบ ไม่ทราบเวลาที่เราจะรบ ข้าศึกจะกระจายกำ�ลังออกป้องกัน เมื่อทำ�เช่นนั้น การปะทะกับฝ่ายเรา ข้าศึกจะเป็นฝ่ายน้อยกว่าเราโดยตลอดดังนั้น เมื่อกำ�ลังใหญ่อยู่ หน้า กองหลังจะเป็นกำ�ลังน้อย เมื่อกองหลังกำ�ลังมาก กองหน้ากำ�ลังน้อย กำ�ลังหลักด้านขวากำ�ลัง น้อยด้านซ้าย กำ�ลังหลักด้านซ้ายกำ�ลังน้อยด้านขวา จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ เพราะฉะนั้น รู้สถานที่รบ รู้เวลารบ แม้ไกลแต่ถ้าควบคุมได้ควรรบ ไม่รู้สถานที่รบ ไม่รู้เวลา รบ ซ้ายจะช่วยขวาก็ไม่ได้ ขวาจะช่วยซ้ายก็ไม่ได้ กองหน้าจะช่วยกองหลัง กองหลังจะช่วยกองหน้า ไม่ได้ “ตามที่ข้าพเจ้าคิด แม้ฝ่ายหนึ่งจะมีกำ�ลังมาก แต่หากถูกหลอกล่อ ถูกลวง อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรวม กำ�ลังมากกว่าฝ่ายแรกอยู่ร่ำ�ไป ฝ่ายแรกย่อมมิอาจรบด้วยได้” ๔.
  • 34. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ฉะนั้นก่อนออกรบ เพื่อเข้าใจการหลอกล่อ การลวงของข้าศึก ต้องเข้าใจผลได้ผลเสีย กับ สถานการณ์ข้าศึกให้แตกเสียก่อน ใช้การล่อให้ข้าศึกเคลื่อนไหวเป็นหลัก จับท่าทีของข้าศึกให้ได้รู้ที่ ใดรบได้รบไม่ได้ ที่ใดได้เปรียบเสียเปรียบ มีกำ�ลังน้อยกำ�ลังมาก และเมื่อไรนั่นเอง เพราะว่าสุดยอดของศักย์สงครามคือ “ปราศจากรูป” การปราศจากรูปนี้ แม้ข้าศึกมี สายลับแทรกซึมลึกซึ้งก็ไม่อาจรู้เราได้ แม้ใช้คนมีความรู้ก็คิดไม่ออก เพราะปราศจากรูป อ่านท่าที เขาให้แตกใช้ท่าทีนั้นเปลี่ยนรูปเรา นำ�ชัยชนะที่คนธรรมดามิอาจเห็นได้ คนธรรมดาแม้รู้จักชัยชนะ ของตนแต่ไม่ทราบจะชนะอย่างไร เมื่อใด และที่ใด ดังนั้น สภาพของชัยชนะไม่ควรให้เกิดขึ้นซ้ำ�สอง เปลี่ยนแปลงตามศักย์สงครามข้าศึกนับไม่ถ้วนจึงดี ฉะนั้น ศักย์สงคราม รูปแบบทางทหาร จึงเหมือนน้ำ�ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ� หลีกเลี่ยงที่สูง เหมือนไม่ปะทะข้าศึกที่มีการเตรียมการดี โจมตีที่ที่มีการเตรียมการหลอก เอาชัยข้าศึกเปลี่ยนแปลง ตามสถานการณ์ข้าศึก เหมือนน้ำ�ไหลตามรูปแบบภูมิประเทศเพราะฉะนั้น รูปแบบที่แน่นอนของการ ใช้กำ�ลัง และศักย์สงครามจึงไม่มีเช่นเดียวกับน้ำ�ที่ปราศจากรูป เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ลึกซึ้ง ยากจะคะเนได้ ๕. ๖. ๗.
  • 36. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ จากกฎของสงคราม ตั้งแต่แม่ทัพรับคำ�สั่งผู้นำ�ประเทศให้จัดกำ�ลังทหารเข้ายันข้าศึก จนถึงเมื่อเตรียมกำ�ลังพร้อมยกไปตั้งรับข้าศึกเสร็จสิ้น ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “การแข่งขันทาง ทหาร” เป็นการแข่งขันที่ชิงความได้เปรียบ เป็นเรื่องที่ไม่ถึงกับยากนัก ความยากของการแข่งขันทาง ทหาร ก็คือการทำ�เรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย การทำ�สิ่งที่จะเกิดความเสียหายให้พลิกกลับเป็นประโยชน์ นั่นเอง การแข่งขันทางทหารนั้นยังมีอันตรายอย่างหนึ่ง เมื่อทหารทั้งหมดพยายามแข่งขันกับ ข้าศึกเพื่อเข้ายึดพื้นที่ได้เปรียบให้ได้ก่อน การเคลื่อนกำ�ลังทั้งหมดย่อมล่าช้าเสียเวลา ซึ่งหากไม่ คำ�นึงถึงรังแต่จะรีบไปให้ถึงก่อนข้าศึก ก็อาจไม่สามารถขนเอาเสบียงอาหาร อาวุธที่จำ�เป็นไปด้วยได้ ทหารที่ขาดเสบียงอาหาร และอาวุธย่อมพ่ายแพ้ ขณะทิ้งเสบียงอาหาร และอาวุธรีบเดินทางทั้งกลาง วันกลางคืนไม่มีพักเพื่อจะไปได้เร็วขึ้น ถ้าแม่ทัพถูกจับก็หมายถึงความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวง ทหาร ที่แข็งแรงอาจจะไปถึงได้ ทหารที่อ่อนล้าจะถึงทีหลัง ๑๐๐ ลี้เคลื่อนไป ๑๐ คนจะมาถึงได้ ๑ คน ๕๐ ลี้จะมาได้ครึ่งหนึ่ง ๓๐ ลี้จะมาได้ ๒ ใน ๓ คนเท่านั้น ... อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดั่งนี้คือ ความลำ�บาก ความยาก ของการแข่งขันทางทหาร ดังนั้นไม่รู้เรื่องภายในของต่างชาติ เป็นพันธมิตรกับต่างชาตินั้น ย่อมไม่ได้ไม่รู้ภูมิประเทศ การเคลื่อนทัพเข้าไปย่อมทำ�ไม่ได้ ไม่รู้วิธีใช้คนในพื้นที่นั้น ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น ๒. ๑.
  • 37. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ด้วยเหตุนี้การสงครามนั้นใช้การดัดหลังคู่ต่อสู้เป็นหลัก เคลื่อนไหวไปในที่ที่เป็นประโยชน์ เปลี่ยนแปลงรูปด้วยการ กระจายกำ�ลัง และรวมกำ�ลัง ฉะนั้นเคลื่อนไหวรวดเร็วเช่นดั่งลม รอคอย เหมือนไม้ซ่อนลมหายใจ รุกรบเช่นเปลวเพลิง เข้าใจยากดุจความมืด เข้มแข็งดุจขุนเขา เกรียวกราด เหมือนสายฟ้า จะรวบรวมเสบียงอาหารให้กระจายกำ�ลังออกไป จะขยายพื้นที่ยึดครองให้รักษาจุด สำ�คัญมั่นคง เคลื่อนไหวระมัดระวังคิดอ่านรอบคอบ ชิงปฏิบัติการก่อนข้าศึก ทำ�เรื่องยากให้เป็นเรื่อง ง่าย “ผู้รู้เข้าใจดีชนะ ดั่งนี้คือกฎของการแข่งขัน” การศึกนั้นยากที่จะสั่งการใดใดด้วยปากให้ทุกคนเข้าใจได้ จะต้องเตรียมเครื่องมือบาง อย่างที่จะทำ�ให้ หู และตาของเหล่าทหารหาญเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้การที่ทหารของฝ่ายเราเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ผู้กล้าก็ฝ่ามาไม่ได้ ผู้ขลาดก็ถอยหนีไม่พ้นความสับสนจะหมดไป จะทำ�ให้ สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบตามสถานการณ์ได้ทันต่อเหตุการณ์ นำ�มาซึ่งหนทางแห่งชัยชนะ ๓. ๔.
  • 38.
  • 40. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ ตามกฎของสงคราม • อย่าโจมตีข้าศึกบนเนินสูง • อย่าตั้งรับข้าศึกที่รุกเข้ามาโดยมีเนินเขาอยู่เบื้องหลัง • อย่าเผชิญหน้ากับข้าศึกในที่รกชัดเป็นเวลานาน • อย่ารุกไล่ข้าศึกที่หลอกถอย • อย่าโจมตีข้าศึกที่ขวัญดี • อย่ากินเหยื่อที่ข้าศึกลวงไว้ • อย่าหยุดข้าศึกที่กำ�ลังกลับบ้านเกิด • อย่าล้อมข้าศึกโดยมิดชิด ต้องเปิดทางให้หนีอย่างน้อย ๑ ทาง • อย่ารุกไล่ข้าศึกที่ถอยอย่างระมัดระวังเข้าไปชิดนัก ทั้งหมดคือ เก้าเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้น เป็นกฎของสงคราม ถนนที่น่าจะผ่านไปด้วยดี แต่ผ่านไม่ได้นั้นมีอยู่ กองทัพข้าศึกที่น่าเข้าตี แต่เข้าตีไม่ได้นั้นมี อยู่ ป้อมปราการที่มั่นที่น่าเข้าโจมตี แต่เข้าโจมตีไม่ได้นั้นมีอยู่ พื้นที่ที่น่าเข้ายึดครอง แต่เข้ายึดครอง ไม่ได้นั้นมีอยู่ “คำ�สั่งของผู้นำ�ประเทศที่น่าปฏิบัติตาม แต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็มีอยู่เช่นกัน” ๑. ๒.
  • 41. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่คำ�นึงผลได้ผลเสีย จากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี คือผู้ใช้ทหารอย่าง ระมัดระวัง แม่ทัพที่ไม่คำ�นึงผลได้ผลเสียจากเก้าเหตุการณ์เป็นอย่างดี แม้จะเข้าใจภูมิประเทศดีแต่ก็ จะไม่ได้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น ในการควบคุมการใช้กำ�ลังทหารนั้น เก้าเหตุการณ์นี้เข้าใจบ้างไม่เข้าใจ บ้าง แม้จะเข้าใจถึง ๕ ส่วน ก็ยังมิสามารถใช้กำ�ลังทหารให้เกิดประโยชน์อย่างเพียงพอได้ ดังที่กล่าวมา การคิดอ่านของผู้รู้นั้น คิดเรื่องราวใดต้องระมัดระวังผลได้ และผลเสีย ประกอบกันไปเรื่องราวใดเป็นประโยชน์ก็ต้องคิดอ่านด้านผลเสียด้วย งานก็จะสำ�เร็จบรรลุเป้าหมาย เรื่องราวใดเป็นผลเสียก็ต้องคิดอ่านด้านดีด้วย ความกังวลก็จะหมดไป ฉะนั้น ชี้ให้เห็นผลเสียจึงสยบต่างชาติ ชี้ให้เห็นว่าจำ�เป็นจึงใช้ทูตต่างชาติ ชี้ให้เห็น ประโยชน์จึงให้ข้าศึกแตกหนี เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้ยกกองทัพมา เราพึ่งพาการเตรียมการที่พร้อมต่อข้าศึกที่จะยก มาทุกเมื่อ เรามิอาจขอร้องข้าศึกมิให้เข้าโจมตี แต่เราพึ่งพาการตั้งมั่นที่มิอาจเข้าตีได้ต่างหาก ๓. ๔. ๕. ๖.
  • 42. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ฉะนั้น สำ�หรับแม่ทัพมีอันตรายอยู่ ๕ ประการ • สำ�นึกว่าตนต้องสู้ตาย ไม่รู้จักถอย แล้วถูกฆ่าตาย • คิดแต่จะเอาตนรอด ขาดความกล้า แล้วถูกจับเป็นเชลย • เอาแต่ใจร้อนจนผู้คนทั้งหลายมองว่าบ้าเลือด ขาดความกระตือรือร้น ตกอยู่ในสภาวะต้องอาย รักทหารจนต้องเหนื่อยเพราะทำ�งานให้ ทหาร ๕ ประการเหล่านี้ยามศึกเป็นผลเสีย กองทัพละลาย แม่ทัพตายในสนามรบ จะต้องเกิดขึ้นจาก ๕ ประการดังกล่าวแน่นอน จำ�เป็นที่แม่ทัพจะต้องระมัดระวังใส่ใจ ๗.
  • 44. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวเกี่ยวกับ สถานที่ตั้งของกองทัพ กับการหาข่าวสถานการณ์ข้าศึกไว้ดังนี้ จะข้ามเขาให้เลาะร่องเขา พบที่สูงให้อยู่ที่สูง รบที่สูงอย่าหันหาข้าศึกที่สูงกว่า ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพบน เขาถ้าข้ามแม่น้ำ�มาแล้วจงอยู่ให้ไกลจากฝั่งแม่น้ำ� ข้าศึกโจมตีข้ามแม่น้ำ�มาอย่ารับการโจมตีตรงกลาง แม่น้ำ� จงเข้าตีขณะข้าศึกข้ามมาได้ครึ่งหนึ่งจะได้เปรียบ อย่ารับการโจมตีจากข้าศึกริมน้ำ� พบพื้นที่สูง อยู่ที่สูง หากต้องอยู่ปลายน้ำ�อย่ารบกับข้าศึกต้นน้ำ� ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพกับแม่น้ำ�จะข้ามที่ลุ่มมีน้ำ�ขัง ถ้าทำ�ได้รีบไปให้เลยออกไปโดยเร็ว ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องรบในที่ลุ่มเตรียมน้ำ�อาหาร หญ้าฟางมากๆ และตั้งทัพโดยเอาป่าไว้เบื้องหลัง ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ลุ่มในที่ราบจงอยู่ที่สะดวก เอาที่สูงอยู่เบื้อง หลังที่ต่ำ�อยู่เบื้องหน้า ดังนี้เกี่ยวกับกองทัพในที่ราบ การใช้ประโยชน์พื้นที่ภูมิประเทศเป็นเหตุผลให้ได้ ชัยชนะมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปที่ตั้งกองทัพ ที่สูงกว่าดี ที่ต่ำ�กว่าไม่ดี มีแสงแดดดี ไม่มีแสงแดดไม่ดี อยู่ในที่อุดม สมบูรณ์ปลอดโรคภัย โรคภัยไข้เจ็บในกองทัพก็เป็นเงื่อนไขแพ้ชนะ นี่เป็นผลที่ได้จากภูมิประเทศ ต้นน้ำ�ที่ฝนตกลงมา น้ำ�จะเชี่ยวกราด รอให้กระแสน้ำ�เบาลงก่อนจึงคิดข้าม ๑. ๒. ๓.
  • 45. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 พื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ เช่น หนองน้ำ� บึง หลุม หุบผาแคบ ต้องรีบผ่านไปอย่าง รวดเร็ว อย่าเข้าใกล้ เราเมื่อพยายามอยู่ไกล แต่ชี้ให้ข้าศึกอยู่ใกล้ ฝ่ายเราเมื่อหันหน้าเข้าหา ชี้ให้ ข้าศึกมีพื้นที่นั้นอยู่เบื้องหลัง บริเวณตั้งทัพมีป่ารก ให้ระมัดระวังให้ดี ที่นั่นจะเป็นที่ที่มีข้าศึกซุ่มอยู่ มีหน่วยลาดตระเวน ข้าศึกอยู่ ข้าศึกยิ่งใกล้ยิ่งเงียบ แสดงว่าข้าศึกพึ่งพาความรกของภูมิประเทศ ข้าศึกแม้อยู่ไกลแต่ พยายามรบติดพัน แสดงว่าหวังจู่โจม ข้าศึกตั้งอยู่ในที่ราบ เหมือนข้าศึกชี้ให้เราเห็นประโยชน์ให้เรา ออกรบมีเสียงต้นไม้ใบหญ้า แสดงว่าข้าศึกกำ�ลังโจมตีมา นกบินหนี แสดงว่ามีข้าศึกซุ่มอยู่ สัตว์ป่า ตกใจ แสดงว่าข้าศึกจู่โจม ฝุ่นฟุ้งกระจาย แสดงรถรบข้าศึก ฝุ่นเป็นแผ่นกว้าง แสดงว่าเป็นทหารราบ ฝุ่นฟุ้งกระจายเล็กน้อย นั่นแหละข้าศึกกำ�ลังสร้างกองบัญชาการ ๔. ๕. ๖.
  • 46. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ๖. ๗ ทูตข้าศึกเข้ามาพูดหลอกล่อพยายามแสดงว่าเพิ่มการตั้งรับ นั่นคือเตรียมการสำ�หรับรุก ทูตข้าศึกแสดงให้ดูว่ากล้าหาญเตรียมการรุก นั่นคือข้าศึกเตรียมการถอยข้าศึกมิได้ตกอยู่ในสภาวะ ลำ�บากพยายามปรองดอง แสดงว่าข้าศึกมีแผนลับ รถรบขนาดเบาออกหน้า แสดงว่ากำ�ลังหลักอยู่ สองข้าง ทหารวิ่งกันสับสนมาจัดใหม่เป็นแถวเป็นระเบียบ แสดงว่าเตรียมรบขั้นแตกหัก ครึ่งหนึ่งไป ข้างหน้า อีกครึ่งหนึ่งไปข้างหลัง แสดงว่ากำ�ลังหลอกล่อ นั่นเอง … การสงครามนั้นใช่ว่าคนยิ่งมากยิ่งดีก็หาไม่ เพียงแต่ไม่ผลีผลาม ถ้าสามารถคาดการณ์ ข้าศึกระดมพลได้เหมาะสม ก็สามารถรวบรวมชัยชนะได้เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคิดอ่านไม่รอบคอบ ประมาทข้าศึก ต้องถูกข้าศึกจับเป็นเชลยแน่ ถ้าทหารหาญไม่ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง ทั้งยังถูกลงโทษ เขาเหล่านั้นจะไม่เชื่อฟัง เมื่อไม่เชื่อฟังก็ปกครองยาก ถ้าทหารหาญแม้ใกล้ชิดแม่ทัพนายกอง แต่มิได้ ใช้การลงโทษแก่ผู้ทำ�ผิด คำ�สั่งที่ต้องปฏิบัติจะกลายเป็นเรื่องเล่นๆ ไม่สามารถปกครองใช้งานได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น แม่ทัพนายกองต้องใช้ คุณธรรม ระเบียบวินัย และการลงโทษทัณฑ์ในการปกครอง นี้ เป็นเงื่อนไขชัยชนะ การรักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำ�วัน เมื่อออกคำ�สั่งทหารจะเชื่อฟัง ถ้าไม่ รักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจำ�วัน เมื่อออกคำ�สั่งทหารจะไม่เชื่อฟัง ความจริงใจต่อระเบียบวินัย จากชีวิตประจำ�วันของทหารชนะใจประชาชนได้ สามารถกำ�จิตใจประชาชนเป็นหนึ่งได้
  • 48. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ ลักษณะภูมิประเทศมี ๖ ประเภท ที่ไปมาสะดวกนั้นมีอยู่ ที่ไปสะดวกแต่ กลับลำ�บากก็มีอยู่ ทางแยกเป็นหลายแพร่งก็มีอยู่ มีที่แคบ มีที่รก มีที่ไกล สำ�หรับที่ไปมาสะดวก จง รีบเข้ายึดโดยเฉพาะที่ดีเป็นที่สูงมีแสงแดด ก่อนออกศึกหากสถานที่ดังกล่าวไม่ถูกตัดเส้นทางส่งกำ�ลัง บำ�รุง การรบจะมีเปรียบ สำ�หรับสถานที่ไปง่ายกลับลำ�บาก ถ้าเข้าไปในที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการ ชนะได้ แต่ถ้าข้าศึกมีการเตรียมการจะไม่อาจชนะข้าศึกได้ จะถอนกลับก็ยาก การรบจะเสียเปรียบ สำ�หรับทางหลายแยกจะออกจะเข้าล้วนเสียเปรียบ ข้าศึกใช้ผลประโยชน์หลอกล่อให้เราออกรบ อย่า ออกรบ พยายามถอยออกให้ไกล ถ้าข้าศึกตามค่อยเข้าตีจะมีเปรียบสำ�หรับที่แคบ ควรยึดได้ก่อน ข้าศึก จากนั้นรวมกำ�ลังรอคอยการมาของข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อน อย่าเข้าตีที่แคบ ถ้าข้าศึกมิได้ รวมกำ�ลังไว้เข้าตีดีคือที่รก เราควรยึดก่อน ควรอยู่ในที่สูงรอคอยข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อนควรอยู่ให้ ห่าง ฝ่ายเรา และข้าศึกตั้งทัพอยู่ไกลกัน ถ้ากำ�ลังรบพอกันรบกันยาก ฝ่ายรุกก่อนเสียเปรียบเหล่านี้ คือ ๖ ประเภทพื้นที่ภูมิประเทศ แม่ทัพต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างเพียงพอ ในกองทัพนั้นมีพวกหนีทหาร พวกปล่อยตัว พวกซึมเศร้า พวกแหกคอก พวกวุ่นวาย และ พวกแพ้แล้วหนี ทั้งหมด ๖ จำ�พวก โดยทั่วไปแม้มิได้เกิดเภทภัยก็จะทำ�ให้แม่ทัพเดือดร้อนอยู่เสมอๆ พวกเหล่านี้ เมื่อฝ่ายเราห้าวหาญพอๆ กับข้าศึก แต่ข้าศึกมีมากกว่า ๑๐ เท่า แม้ยังมิได้ต่อสู้ก็หนี ตายกันหมดสิ้นแล้วถ้าทหารเข้มแข็งแต่ตัวนายอ่อน กองทัพจะไม่มีกำ�ลัง ถ้าทหารอ่อนแต่ตัวนายเข้ม แข็ง กองทัพก็จะไม่คึกคักขวัญจะไม่ดี ถ้าตัวนายโกรธไม่ปฏิบัติตามคำ�สั่งของแม่ทัพ แต่เมื่อข้าศึกยก มาต้องออกรบโดยมีความโกรธอยู่ในใจ รบแต่ตามที่ตนเองคิด กองทัพก็จะไปไม่รอด แม่ทัพที่หย่อน ๑. ๒.
  • 49. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ยานไม่เคร่งครัดออกคำ�สั่งไม่แน่นอน ตัวนาย และทหารย่อมปฏิบัติไม่ได้ เกิดความวุ่นวาย แม่ทัพจะ คิดอ่านสถานการณ์ข้าศึกก็ย่อมทำ�ไม่ได้ ปะทะข้าศึกคราวใดก็ตีข้าศึกที่แข็งกว่าเสมอ ทหารจะหมด ความกล้าหนีหายหมดทั้งหมดเกิดจากคน ๖ จำ�พวกดังที่กล่าวข้างต้น เป็นต้นเหตุแห่งความพ่ายแพ้ ถือเป็นหน้าที่ของแม่ทัพ จะต้องคิดอ่านเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ลักษณะของภูมิประเทศเป็นสิ่งช่วยการศึก ถ้าคิดอ่านพิจารณารอบคอบแล้วชนะได้ “การ พิจารณาภูมิประเทศ และดัดแปลงมาใช้ทางยุทธวิธี เป็นงานยิ่งใหญ่ของแม่ทัพ” ถ้าพิจารณารอบคอบ ระมัดระวังต้องชนะแน่นอน ถ้าพิจารณาไม่รอบคอบไม่ระมัดระวังต้องแพ้แน่นอน ถ้าคิดอ่านแล้ว ชนะแน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งอย่าใช้กำ�ลัง การตัดสินใจรบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง ถ้าคิดอ่านแล้ว แพ้แน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งให้ใช้กำ�ลัง การตัดสินใจไม่รบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง เพราะฉะนั้น มิได้แสวงหาชื่อเสียง รุกเมื่อควรรุก มิกลัวผิด ถอยเมื่อควรถอย เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก “ถ้าผลประโยชน์ตรงกันกับผู้นำ�ประเทศ แม่ทัพคนนี้คือสมบัติล้ำ�ค่าของประเทศชาติ” ปกครองทหารเหมือนดูแลเด็ก ทหารย่อมสามารถติดตามแม่ทัพไปในที่อันตรายได้ ปกครอง ทหารเหมือนลูก มีความรักความผูกพัน ทหารก็พร้อมจะร่วมเป็นร่วมตายกับแม่ทัพได้ แต่ให้ความ อบอุ่นอย่างเดียวใช้งานทหารไม่ได้ ให้แต่ความรักสั่งการใดใดย่อมไม่ได้จะใช้ประโยชน์อันใดย่อม ทำ�ไม่ได้ ๓. ๔.
  • 50. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ๕. เมื่อรู้ว่ามีกำ�ลังพอ ที่จะเข้าตีข้าศึกรวบรวมชัยชนะได้ แต่ไม่รู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีไม่ ได้ จะชนะแน่นอนก็หาไม่ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้ แต่ไม่รู้ว่ากำ�ลังฝ่ายเราไม่เพียงพอ จะ ชนะแน่นอนก็หาไม่ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์ข้าศึกเข้าตีได้ และรู้ว่ากำ�ลังฝ่ายเรามีเพียงพอ แต่ไม่รู้ว่า สภาพพื้นที่ภูมิประเทศรบไม่ได้ จะชนะแน่นอนก็หาไม่ ... ฉะนั้นคนที่เข้าใจการรบดี รู้ข้าศึก รู้เรา รู้พื้นที่ภูมิประเทศ รู้เวลา จึงสามารถใช้กำ�ลังทหาร ได้โดยไม่หลง การศึกก็จะไม่ลำ�บาก เพราะฉะนั้น รู้เขา รู้เรา ชัยชนะไม่ไปไหน รู้ภูมิประเทศ สภาพ แวดล้อม และเวลากล่าวได้ว่าจะสามารถชนะได้อยู่เสมอ
  • 52. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 ซุนวูกล่าวไว้ ลักษณะภูมิประเทศมี ๖ ประเภท ที่ไปมาสะดวกนั้นมีอยู่ ที่ไปสะดวกแต่กลับ ลำ�บากก็มีอยู่ ทางแยกเป็นหลายแพร่งก็มีอยู่ มีที่แคบ มีที่รก มีที่ไกล สำ�หรับที่ไปมาสะดวก จงรีบเข้า ยึดโดยเฉพาะที่ดีเป็นที่สูงมีแสงแดด ก่อนออกศึกหากสถานที่ดังกล่าวไม่ถูกตัดเส้นทางส่งกำ�ลังบำ�รุง การรบจะมีเปรียบ สำ�หรับสถานที่ไปง่ายกลับลำ�บาก ถ้าเข้าไปในที่ข้าศึกไม่มีการเตรียมการชนะได้ แต่ถ้าข้าศึกมีการเตรียมการจะไม่อาจชนะข้าศึกได้ จะถอนกลับก็ยาก การรบจะเสียเปรียบ สำ�หรับ ทางหลายแยกจะออกจะเข้าล้วนเสียเปรียบ ข้าศึกใช้ผลประโยชน์หลอกล่อให้เราออกรบ อย่าออก รบ พยายามถอยออกให้ไกล ถ้าข้าศึกตามค่อยเข้าตีจะมีเปรียบสำ�หรับที่แคบ ควรยึดได้ก่อนข้าศึก จากนั้นรวมกำ�ลังรอคอยการมาของข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อน อย่าเข้าตีที่แคบ ถ้าข้าศึกมิได้รวม กำ�ลังไว้เข้าตีดีคือที่รก เราควรยึดก่อน ควรอยู่ในที่สูงรอคอยข้าศึก ถ้าข้าศึกยึดได้ก่อนควรอยู่ให้ ห่าง ฝ่ายเรา และข้าศึกตั้งทัพอยู่ไกลกัน ถ้ากำ�ลังรบพอกันรบกันยาก ฝ่ายรุกก่อนเสียเปรียบเหล่า นี้คือ ๖ ประเภทพื้นที่ภูมิประเทศ แม่ทัพต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างเพียงพอ ในกองทัพนั้นมีพวกหนีทหาร พวกปล่อยตัว พวกซึมเศร้า พวกแหกคอก พวกวุ่นวาย และพวกแพ้แล้วหนี ทั้งหมด ๖ จำ�พวก โดยทั่วไปแม้มิได้เกิดเภทภัยก็จะทำ�ให้แม่ทัพเดือดร้อนอยู่ เสมอๆพวกเหล่านี้ เมื่อฝ่ายเราห้าวหาญพอๆ กับข้าศึก แต่ข้าศึกมีมากกว่า ๑๐ เท่า แม้ยังมิได้ต่อสู้ ก็หนีตายกันหมดสิ้นแล้วถ้าทหารเข้มแข็งแต่ตัวนายอ่อน กองทัพจะไม่มีกำ�ลัง ถ้าทหารอ่อนแต่ตัว ๑. ๒.
  • 53. กลยุทธ์ซุนวู 孙子兵法 นายเข้มแข็ง กองทัพก็จะไม่คึกคักขวัญจะไม่ดี ถ้าตัวนายโกรธไม่ปฏิบัติตามคำ�สั่งของแม่ทัพ แต่เมื่อ ข้าศึกยกมาต้องออกรบโดยมีความโกรธอยู่ในใจ รบแต่ตามที่ตนเองคิด กองทัพก็จะไปไม่รอด แม่ทัพ ที่หย่อนยานไม่เคร่งครัดออกคำ�สั่งไม่แน่นอน ตัวนาย และทหารย่อมปฏิบัติไม่ได้ เกิดความวุ่นวาย แม่ทัพจะคิดอ่านสถานการณ์ข้าศึกก็ย่อมทำ�ไม่ได้ ปะทะข้าศึกคราวใดก็ตีข้าศึกที่แข็งกว่าเสมอ ทหาร จะหมดความกล้าหนีหายหมดทั้งหมดเกิดจากคน ๖ จำ�พวกดังที่กล่าวข้างต้น เป็นต้นเหตุแห่งความ พ่ายแพ้ถือเป็นหน้าที่ของแม่ทัพ จะต้องคิดอ่านเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ลักษณะของภูมิประเทศเป็นสิ่งช่วยการศึก ถ้าคิดอ่านพิจารณารอบคอบแล้วชนะได้ “การ พิจารณาภูมิประเทศ และดัดแปลงมาใช้ทางยุทธวิธี เป็นงานยิ่งใหญ่ของแม่ทัพ” ถ้าพิจารณารอบคอบ ระมัดระวังต้องชนะแน่นอน ถ้าพิจารณาไม่รอบคอบไม่ระมัดระวังต้องแพ้แน่นอน ถ้าคิดอ่านแล้วชนะ แน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งอย่าใช้กำ�ลัง การตัดสินใจรบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง ถ้าคิดอ่านแล้วแพ้ แน่นอน แต่ผู้นำ�ประเทศสั่งให้ใช้กำ�ลัง การตัดสินใจไม่รบของแม่ทัพเป็นสิ่งถูกต้อง เพราะฉะนั้น มิได้ แสวงหาชื่อเสียง รุกเมื่อควรรุก มิกลัวผิด ถอยเมื่อควรถอย เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก “ถ้าผลประโยชน์ตรงกันกับผู้นำ�ประเทศ แม่ทัพคนนี้คือสมบัติล้ำ�ค่าของประเทศชาติ” ๓.