SlideShare a Scribd company logo
กีรนันท์ ลลิตพาณิชย์ ม.6/1 เลขที่ 32
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที =IT คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ
ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดําเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็
ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการ
กระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วยเช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนํา
อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่
ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้ง
ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้
ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุก
องค์ประกอบนี้ทํางานร่วมกันเพื่อกําหนด รวบรวม จัดเก็บ
ข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือ
สารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทํางาน การ
ตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และ
ติดตามผลการดําเนินงานขององค์กร
ระดับผู้ใช้สารสนเทศ
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศแบ่งตามลักษณะการบริหารจัดการได้ 3 ระดับดังนี้
- ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง
มีหน้าที่กําหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนําไปสู่เป้ าหมาย โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน
และสารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้
ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟ
ฟิคบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน
- ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและ
จัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นํามาสานต่อให้บรรลุตามเป้ าหมายที่
กําหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจาก
แหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่า
ทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทํานายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อนหรือ
ยุ่งยากมากเกินไป
- ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือ
การปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จําเป็นต้องใช้การ
วางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้
จะถูกนําไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทําหน้าที่ในการ
ปฏิบัติงานประจํา ทําการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
ทํางานแทนการทํางานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทําการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผล
รายการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสาร
เครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จําเป็น ระบบนี้มักจัดทํา
เพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจําได้ ผลลัพธ์ของ
ระบบนี้มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น
2. ระบบสํานักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนงานใน
สํานักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทํางานของบุคลากรรวมทั้งกับ
บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการ
พิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของเอกสาร
กําหนดการ สิ่งพิมพ์
3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน บุคลากรที่
ทํางานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อ
นําไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนา
เกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจําลองที่
สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดําเนินการ ก่อนที่จะนําเข้ามาดําเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์
ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระบบ
สารสนเทศสําหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะ
เชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสม
และจําเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของ
รายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ
5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารใน
การตัดสินใจสําหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคําตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่
ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือก
ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสําหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้าง
ขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทําให้สามารถ
วิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของ
ผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกําหนดเงื่อนไขและทําการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์
ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงาน
เฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทํานาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์
6. ระบบสารสนเทศสําหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็นระบบที่
สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สําหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทําหน้าที่กําหนดแผนระยะยาวและเป้ าหมายของ
กิจการ สารสนเทศสําหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จําเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่ง
ในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จําเป็นสําหรับ
การแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-การรวมตัวกันของเทคโนโลยี(Convergence)
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร
รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การกระจายเสียงเข้าไว้ด้วยกัน ทําให้สามารถรับส่งสัญญาณ
โดยเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในรูปของสื่อแบบผสม ที่ประกอบด้วยภาพ เสียงและข้อความต่างๆได้
อย่างรวดเร็ว สมบูรณ์และสามารถส่งได้ปริมาณมาก การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆทําได้อย่างทั่วถึง
กันมากขึ้น โดยเฉพาะการเผยแพร่ยุคไร้พรมแดน
- ต้นทุนที่ถูกลง(Cost reduction) เทคโนโลยีมีคุณสมบัติทําให้ราคาและการเป็น
เจ้าของ อุปกรณ์เทคโนโลยีถูกลง ทั้งในส่วนของอัตราค่าบริการสื่อโทรคมนาคม เช่น ค่า
โทรศัพท์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าเช่าสัญญาณเครือข่าย รวมถึงราคาของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ มีแรงโน้มถูกลงเรื่อยๆ
- การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง(Miniaturization) อุปกรณ์เทททททคโนโลยี
สารสนเทศหลากหลายประเภท รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับ
การพัฒนา ให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก ด้วยวิวัฒนาการของไมโครชิพ ทํา
ให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
- การประมวลผลที่ดีขึ้น(Processing Power) โดยอาศัยพัฒนาการของผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง
หรือพีซียูที่ทํางานเร็ซฃวขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทํางานของผู้ใช้ที่มีประสิทธื
ภาพดียิ่งขึ้น
- การใช้งานทีง่าย(User Friendliness) การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน มีการออกแบบส่วน
ประสานงานกับผู้ใช้เพื่อช่วยเหลือ และสนับสนุนการทํางานให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่
คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยีมากนัก หรือที่เรียกว่า user-friendliness นั่นเอง
- การเปลี่ยนอะตอมเป็นบิต(Bits versus Atoms) ทิศทางของความนิยมและการกระจายของการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการใช้งานโดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน
ของการหันเหกิจกรรมที่ใช้"อะตอม" เช่นการส่งเอกสารที่เป็นกระดาษ ไปสู่การใช้"บิต"มากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน
จะเห็นว่าหลายองค์กรปรับเปลี่ยนการใช้งาน ที่มุ่งเน้นสู่สํานักงานแบบไร้กระดาษ(paperless office) กันบ้าง
แล้ว
- สื่อผสม(Multimidia) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นแบบสื่อผสมมาก
ขึ้น ประกอบด้วยสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ภาพกราฟฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว
ต่างๆเข้าด้วยกัน
- เวลาและภูมิศาสตร์ (Time S Distance) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทําให้มนุษย์สามารถ
เอาชนะเงื่อนไขด้าน"เวลา" และ"ภูมิศาสตร์"ได้เป็นอย่างมาก เช่น การประชุมทางไกล
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนํามาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่ม
ขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และ
เพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม
ด้านสังคม ช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามพระราชดําริชองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มี
คอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถ
อ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY ( Digital Accessible Information System)
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540) และได้เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา
ไว้ 5 ประเด็น คือ
1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill
and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia,
Intelligence CAI
2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์
การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล
(Video Teleconference)
3.เครือข่ายการศึกษา (Education Network) ซึ่งเป็นการนําเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมี
บริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็น
ต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจํานวนมากมายที่
เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก
4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูล
หนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจําลองสถานการณ์
(Simulation) การใช้ในงานประจําและงาน เป็นการประยุกต์ใช้ในสํานักงานเพื่อช่วยในการบริหาร
จัดการ ทําให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยํา การตัดสินใจในการดําเนินการต่างๆ ย่อมเกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด
เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
ในโลกวิวัฒนาการและการแปรเปลี่ยนของเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีการตื่นตัวตลอดเวลา ผู้
ให้บริการโครงข่าย ผู้จัดให้มีการให้บริการ ผู้ผลิต และผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ จําเป็นต้องได้เปรียบใน
เชิงการแข่งขันโดยการจับมือกับห้องปฏิบัติการทดสอบและรับรองชั้นนําที่ความเชี่ยวชาญ ชํานาญ
การ มีประสิทธิภาพ และมีโครงข่ายผู้เชี่ยวชาญรอบโลกเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
อินเตอร์เทค ทําอย่างดีที่สุดเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าอุปกรณ์หรือบริการโทรคมนาคมของลูกค้า
รายละเอียดหรือการขออนุญาตพร้อมสําหรับการวางตลาดและเกินกว่าที่ลูกค้าของลูกค้าคาดหวัง
ไว้ เราส่งมอบบริการครอบคลุมตั้งแต่การทดสอบด้านความปลอดภัยเพื่อการรับรองซึ่งจะช่วยให้
ลูกค้าสามารถเร่งความเร็วในการวางตลาดได้ประสิทธิภาพใหม่
ลดความเสี่ยงของลูกค้า ในขณะเดียวกันกับปกป้ องชื่อเสียงและเครื่องหมายการค้า
เป็นไปตามข้อกําหนดมาตรฐานระดับประเทศและระดับโลก
แปลงเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ลูกค้าสู่ความสําเร็จ
ด้วยอินเตอร์เทค ผู้ให้บริการการทดสอบที่ที่ลูกค้าให้ความเชื่อถือ ลูกค้ายังได้รับประโยชน์เรื่อง
ความรู้ระดับโลกที่นําเสนออยู่ต่อหน้า หากไม่คํานึงถึงบทบาทของลูกค้าในเทคโนโลยีสารสนเทศ
และโทรคมนาคม หรือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เทคสามารถช่วยลูกค้าโดยการส่งมอบ
คุณค่าแห่งคุณภาพให้แก่ลูกค้า
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย
เมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ
พ.ศ.2544 – 2553 ของประเทศไทยได้เสนอเป้ าหมาย ยุทธศาสตร์ และความเชื่อมโยงระหว่าง
ยุทธศาสตร์กับการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพื่อใช้และ
สร้างภูมิปัญญาของคนไทยที่จะทําให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งและความสามารถเพื่อใช้
และสร้างภูมิปัญญาของคนไทยที่จะทําให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งและความสามารถที่จะ
รับการท้าทายของการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจใหม่ของสังคมโลกาภิวัฒน์ได้อย่างเต็มที่
นโยบายฯ นี้มีสาระโดยรวมว่า เทคโนโลยีใหม่ที่รวมคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และการ
สื่อสาร (โทรคมนาคม) เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and
Communications Technology หรือ ICT) ได้ก่อให้เกิดกิจรรมใหม่ๆ ในทางเศรษฐกิจและสังคม
อันส่งผลต่อการดํารงอยู่และการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในโลกที่แตกต่างจากอดีตอย่างมาก
จนเป็นที่ยอมรับกันว่าในศตวรรษที่ 21 (เริ่มจาก ค.ศ. 2001 หรือ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป) จะเกิด
เศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge – based
Learning Economy) และจะมีผลทําให้ประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรบุคคล อันมีความรู้เป็น
พื้นฐานสามารถจะพัฒนาลํ้าหน้าประเทศอื่นๆ ที่ด้อยในส่วนนี้อย่างมาก
กรอบนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทําให้ประเทศไทยบรรลุเป้ าหมายสําคัญ 3 ประการ คือ
1. เพิ่มขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ โดยมีเป้ าหมายในการเลื่อน
สถานภาพของประเทศไทยจากประเทศ ในกลุ่มผู้ตามมีพลวัต (dynamic adopters) อันดับต้นๆ ไปสู่
ประเทศ ในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้นํา (potential leaders) อันดับต้นๆ โดยใช้ดัชนีผลสัมฤทธิ์
ทางเทคโนโลยีของสํานักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นเครื่องมือประเมินวัด
2. เพิ่มจํานวนแรงงานความรู้ของประเทศจากประมาณร้อยละ 12 ของแรงงานทั้งหมดให้เป็นร้อยละ
30 ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของแรงงานความรู้ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) ใน พ.ศ. 2544 ตามสถิติ
ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
3. พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเพิ่มสัดส่วนของมูลค่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ความรู้เป็น
พื้นฐานให้มีมูลค่าถึงร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
จากวิสัยทัศน์และนโยบายดังกล่าว นําไปสู่การกําหนดกลยุทธ์การพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่
สําคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e – Government)
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e – Commerce)
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e – Industry)
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e – Education)
5. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e – Society)

More Related Content

What's hot

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
natdanai phetdeethon
 
นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5
นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5
นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5hattayagif
 
นางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณ
นางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณนางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณ
นางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณ
lovelovejung
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
Jaohjaaee
 
Ch08 slide
Ch08 slideCh08 slide
Ch08 slide
june006
 
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศnprave
 
Dss pp
Dss ppDss pp
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Nuttapon Punyaban
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Sirithorn609
 
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
Pairaya Armradid
 

What's hot (11)

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5
นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5
นางสาว หัทยา เชื้อสมเกียรติ ม.5
 
นางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณ
นางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณนางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณ
นางสาว อรอนงค์ สุขาวรรณ
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
Ch08 slide
Ch08 slideCh08 slide
Ch08 slide
 
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ
 
Part1
Part1Part1
Part1
 
Dss pp
Dss ppDss pp
Dss pp
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
 

Viewers also liked

Topic 6.1 rowe
Topic 6.1 roweTopic 6.1 rowe
Topic 6.1 rowe
strowe
 
The challenge of diabetes: how do we respond?
The challenge of diabetes: how do we respond?The challenge of diabetes: how do we respond?
The challenge of diabetes: how do we respond?
EU_CHRODIS
 
JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene
JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene
JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene
EU_CHRODIS
 
CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...
CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...
CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...
EU_CHRODIS
 
Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...
Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...
Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...
EU_CHRODIS
 
Resume MAR2016
Resume MAR2016Resume MAR2016
Resume MAR2016
Jeffrey Thomas, ASMP
 
Resume jan2016
Resume jan2016Resume jan2016
Resume jan2016
Jeffrey Thomas, ASMP
 
The internet
The internetThe internet
The internet
brfclouis
 
Daftar paket
Daftar paketDaftar paket
Orca HRM/HRIS on Idealounge
Orca HRM/HRIS on IdealoungeOrca HRM/HRIS on Idealounge
Orca HRM/HRIS on Idealounge
Mas Ajhie Slamet
 
Kisa i̇ngi̇li̇zce
Kisa i̇ngi̇li̇zceKisa i̇ngi̇li̇zce
Kisa i̇ngi̇li̇zce
Gökhan Çalbay
 
B. inggrijjkk
B. inggrijjkkB. inggrijjkk
B. inggrijjkk
ammidoang
 
Kevin_S_Lee_CV
Kevin_S_Lee_CVKevin_S_Lee_CV
Kevin_S_Lee_CV
Kevin S. Lee
 
Idealonge Company Profile
Idealonge Company ProfileIdealonge Company Profile
Idealonge Company Profile
Mas Ajhie Slamet
 
орлови рано лете 22
орлови рано лете 22орлови рано лете 22
орлови рано лете 22
ljubisaslavica
 

Viewers also liked (16)

Topic 6.1 rowe
Topic 6.1 roweTopic 6.1 rowe
Topic 6.1 rowe
 
The challenge of diabetes: how do we respond?
The challenge of diabetes: how do we respond?The challenge of diabetes: how do we respond?
The challenge of diabetes: how do we respond?
 
JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene
JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene
JA-CHRODIS at the 18th Nursing Research Conferene
 
CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...
CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...
CHRODIS - JA. The Joint Action on “Chronic Diseases and Promoting Healthy Age...
 
Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...
Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...
Chronic Diseases and Promoting Healthy Ageing across the Life Cycle, Enrique ...
 
Resume MAR2016
Resume MAR2016Resume MAR2016
Resume MAR2016
 
Compro Ruhidesain
Compro RuhidesainCompro Ruhidesain
Compro Ruhidesain
 
Resume jan2016
Resume jan2016Resume jan2016
Resume jan2016
 
The internet
The internetThe internet
The internet
 
Daftar paket
Daftar paketDaftar paket
Daftar paket
 
Orca HRM/HRIS on Idealounge
Orca HRM/HRIS on IdealoungeOrca HRM/HRIS on Idealounge
Orca HRM/HRIS on Idealounge
 
Kisa i̇ngi̇li̇zce
Kisa i̇ngi̇li̇zceKisa i̇ngi̇li̇zce
Kisa i̇ngi̇li̇zce
 
B. inggrijjkk
B. inggrijjkkB. inggrijjkk
B. inggrijjkk
 
Kevin_S_Lee_CV
Kevin_S_Lee_CVKevin_S_Lee_CV
Kevin_S_Lee_CV
 
Idealonge Company Profile
Idealonge Company ProfileIdealonge Company Profile
Idealonge Company Profile
 
орлови рано лете 22
орлови рано лете 22орлови рано лете 22
орлови рано лете 22
 

Similar to ระบบสารสนเทศ

งานคอมเกด
งานคอมเกดงานคอมเกด
งานคอมเกดG'ad Smile
 
งานคอมเกด
งานคอมเกดงานคอมเกด
งานคอมเกดG'ad Smile
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
ninjung
 
test upload
test uploadtest upload
test upload
pinnip2
 
โบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
โบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศโบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
โบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Min Jidapa
 
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศkatuckkt
 
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
galswen
 
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Tata Sisira
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
nut jpt
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
iamopg
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
kruchanon2555
 
บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศPokypoky Leonardo
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
jongkoi
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปิยะดนัย วิเคียน
 
อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25
อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25
อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25อรนุช พรฤทธา
 
อรณี มารดาวงค์
อรณี  มารดาวงค์ อรณี  มารดาวงค์
อรณี มารดาวงค์ orathai
 

Similar to ระบบสารสนเทศ (20)

งานคอมเกด
งานคอมเกดงานคอมเกด
งานคอมเกด
 
งานคอมเกด
งานคอมเกดงานคอมเกด
งานคอมเกด
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
test upload
test uploadtest upload
test upload
 
โบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
โบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศโบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
โบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
1
11
1
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
ฟิต
ฟิตฟิต
ฟิต
 
อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25
อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25
อรนุช พรฤทธา ม.201 เลขที่25
 
ณัฐชา ม.201 เลขที่20
ณัฐชา ม.201 เลขที่20ณัฐชา ม.201 เลขที่20
ณัฐชา ม.201 เลขที่20
 
วรกานต์ ต๋าตุ๋น
วรกานต์ ต๋าตุ๋น วรกานต์ ต๋าตุ๋น
วรกานต์ ต๋าตุ๋น
 
อรณี มารดาวงค์
อรณี  มารดาวงค์ อรณี  มารดาวงค์
อรณี มารดาวงค์
 

ระบบสารสนเทศ

  • 2. เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที =IT คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดําเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการ กระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วยเช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนํา อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุก องค์ประกอบนี้ทํางานร่วมกันเพื่อกําหนด รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือ สารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทํางาน การ ตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และ ติดตามผลการดําเนินงานขององค์กร
  • 3. ระดับผู้ใช้สารสนเทศ ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศแบ่งตามลักษณะการบริหารจัดการได้ 3 ระดับดังนี้ - ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่กําหนดและวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อนําไปสู่เป้ าหมาย โดยมีทั้งสารสนเทศภายใน และสารสนเทศภายนอก เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยรวม ซึ่งระบบสารสนเทศในระดับนี้ ต้องออกแบบให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยาก แสดงผลทางด้านกราฟ ฟิคบ้าง ต้องตอบสนองที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน - ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและ จัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง นํามาสานต่อให้บรรลุตามเป้ าหมายที่ กําหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจาก แหล่งข้อมูลภายใน ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่า ทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือทํานายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีความซับซ้อนหรือ ยุ่งยากมากเกินไป - ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือ การปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จําเป็นต้องใช้การ วางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนําไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป
  • 4. ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทําหน้าที่ในการ ปฏิบัติงานประจํา ทําการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ทํางานแทนการทํางานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทําการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผล รายการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสาร เครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จําเป็น ระบบนี้มักจัดทํา เพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจําได้ ผลลัพธ์ของ ระบบนี้มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น 2. ระบบสํานักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนงานใน สํานักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทํางานของบุคลากรรวมทั้งกับ บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการ พิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของเอกสาร กําหนดการ สิ่งพิมพ์
  • 5. 3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน บุคลากรที่ ทํางานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อ นําไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนา เกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจําลองที่ สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดําเนินการ ก่อนที่จะนําเข้ามาดําเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น 4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระบบ สารสนเทศสําหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะ เชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสม และจําเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของ รายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ 5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารใน การตัดสินใจสําหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคําตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่ ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือก ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสําหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้าง ขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทําให้สามารถ วิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของ ผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกําหนดเงื่อนไขและทําการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงาน เฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทํานาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์
  • 6. 6. ระบบสารสนเทศสําหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็นระบบที่ สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สําหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทําหน้าที่กําหนดแผนระยะยาวและเป้ าหมายของ กิจการ สารสนเทศสําหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จําเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่ง ในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จําเป็นสําหรับ การแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ -การรวมตัวกันของเทคโนโลยี(Convergence) เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การกระจายเสียงเข้าไว้ด้วยกัน ทําให้สามารถรับส่งสัญญาณ โดยเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในรูปของสื่อแบบผสม ที่ประกอบด้วยภาพ เสียงและข้อความต่างๆได้ อย่างรวดเร็ว สมบูรณ์และสามารถส่งได้ปริมาณมาก การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆทําได้อย่างทั่วถึง กันมากขึ้น โดยเฉพาะการเผยแพร่ยุคไร้พรมแดน - ต้นทุนที่ถูกลง(Cost reduction) เทคโนโลยีมีคุณสมบัติทําให้ราคาและการเป็น เจ้าของ อุปกรณ์เทคโนโลยีถูกลง ทั้งในส่วนของอัตราค่าบริการสื่อโทรคมนาคม เช่น ค่า โทรศัพท์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าเช่าสัญญาณเครือข่าย รวมถึงราคาของเครื่อง คอมพิวเตอร์ มีแรงโน้มถูกลงเรื่อยๆ - การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง(Miniaturization) อุปกรณ์เทททททคโนโลยี สารสนเทศหลากหลายประเภท รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับ การพัฒนา ให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก ด้วยวิวัฒนาการของไมโครชิพ ทํา ให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
  • 7. - การประมวลผลที่ดีขึ้น(Processing Power) โดยอาศัยพัฒนาการของผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง หรือพีซียูที่ทํางานเร็ซฃวขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทํางานของผู้ใช้ที่มีประสิทธื ภาพดียิ่งขึ้น - การใช้งานทีง่าย(User Friendliness) การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน มีการออกแบบส่วน ประสานงานกับผู้ใช้เพื่อช่วยเหลือ และสนับสนุนการทํางานให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่ คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยีมากนัก หรือที่เรียกว่า user-friendliness นั่นเอง - การเปลี่ยนอะตอมเป็นบิต(Bits versus Atoms) ทิศทางของความนิยมและการกระจายของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการใช้งานโดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ของการหันเหกิจกรรมที่ใช้"อะตอม" เช่นการส่งเอกสารที่เป็นกระดาษ ไปสู่การใช้"บิต"มากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน จะเห็นว่าหลายองค์กรปรับเปลี่ยนการใช้งาน ที่มุ่งเน้นสู่สํานักงานแบบไร้กระดาษ(paperless office) กันบ้าง แล้ว - สื่อผสม(Multimidia) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นแบบสื่อผสมมาก ขึ้น ประกอบด้วยสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ภาพกราฟฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว ต่างๆเข้าด้วยกัน - เวลาและภูมิศาสตร์ (Time S Distance) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทําให้มนุษย์สามารถ เอาชนะเงื่อนไขด้าน"เวลา" และ"ภูมิศาสตร์"ได้เป็นอย่างมาก เช่น การประชุมทางไกล
  • 8. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนํามาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่ม ขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และ เพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม ด้านสังคม ช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดําริชองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มี คอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถ อ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY ( Digital Accessible Information System)
  • 9. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540) และได้เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ไว้ 5 ประเด็น คือ 1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI 2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล (Video Teleconference) 3.เครือข่ายการศึกษา (Education Network) ซึ่งเป็นการนําเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมี บริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็น ต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจํานวนมากมายที่ เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก 4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูล หนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจําลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจําและงาน เป็นการประยุกต์ใช้ในสํานักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทําให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยํา การตัดสินใจในการดําเนินการต่างๆ ย่อมเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด
  • 10. เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ในโลกวิวัฒนาการและการแปรเปลี่ยนของเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีการตื่นตัวตลอดเวลา ผู้ ให้บริการโครงข่าย ผู้จัดให้มีการให้บริการ ผู้ผลิต และผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ จําเป็นต้องได้เปรียบใน เชิงการแข่งขันโดยการจับมือกับห้องปฏิบัติการทดสอบและรับรองชั้นนําที่ความเชี่ยวชาญ ชํานาญ การ มีประสิทธิภาพ และมีโครงข่ายผู้เชี่ยวชาญรอบโลกเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ อินเตอร์เทค ทําอย่างดีที่สุดเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าอุปกรณ์หรือบริการโทรคมนาคมของลูกค้า รายละเอียดหรือการขออนุญาตพร้อมสําหรับการวางตลาดและเกินกว่าที่ลูกค้าของลูกค้าคาดหวัง ไว้ เราส่งมอบบริการครอบคลุมตั้งแต่การทดสอบด้านความปลอดภัยเพื่อการรับรองซึ่งจะช่วยให้ ลูกค้าสามารถเร่งความเร็วในการวางตลาดได้ประสิทธิภาพใหม่ ลดความเสี่ยงของลูกค้า ในขณะเดียวกันกับปกป้ องชื่อเสียงและเครื่องหมายการค้า เป็นไปตามข้อกําหนดมาตรฐานระดับประเทศและระดับโลก แปลงเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ลูกค้าสู่ความสําเร็จ ด้วยอินเตอร์เทค ผู้ให้บริการการทดสอบที่ที่ลูกค้าให้ความเชื่อถือ ลูกค้ายังได้รับประโยชน์เรื่อง ความรู้ระดับโลกที่นําเสนออยู่ต่อหน้า หากไม่คํานึงถึงบทบาทของลูกค้าในเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม หรือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เทคสามารถช่วยลูกค้าโดยการส่งมอบ คุณค่าแห่งคุณภาพให้แก่ลูกค้า
  • 11. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย เมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ.2544 – 2553 ของประเทศไทยได้เสนอเป้ าหมาย ยุทธศาสตร์ และความเชื่อมโยงระหว่าง ยุทธศาสตร์กับการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพื่อใช้และ สร้างภูมิปัญญาของคนไทยที่จะทําให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งและความสามารถเพื่อใช้ และสร้างภูมิปัญญาของคนไทยที่จะทําให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งและความสามารถที่จะ รับการท้าทายของการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจใหม่ของสังคมโลกาภิวัฒน์ได้อย่างเต็มที่ นโยบายฯ นี้มีสาระโดยรวมว่า เทคโนโลยีใหม่ที่รวมคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และการ สื่อสาร (โทรคมนาคม) เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology หรือ ICT) ได้ก่อให้เกิดกิจรรมใหม่ๆ ในทางเศรษฐกิจและสังคม อันส่งผลต่อการดํารงอยู่และการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในโลกที่แตกต่างจากอดีตอย่างมาก จนเป็นที่ยอมรับกันว่าในศตวรรษที่ 21 (เริ่มจาก ค.ศ. 2001 หรือ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป) จะเกิด เศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge – based Learning Economy) และจะมีผลทําให้ประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรบุคคล อันมีความรู้เป็น พื้นฐานสามารถจะพัฒนาลํ้าหน้าประเทศอื่นๆ ที่ด้อยในส่วนนี้อย่างมาก
  • 12. กรอบนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทําให้ประเทศไทยบรรลุเป้ าหมายสําคัญ 3 ประการ คือ 1. เพิ่มขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ โดยมีเป้ าหมายในการเลื่อน สถานภาพของประเทศไทยจากประเทศ ในกลุ่มผู้ตามมีพลวัต (dynamic adopters) อันดับต้นๆ ไปสู่ ประเทศ ในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้นํา (potential leaders) อันดับต้นๆ โดยใช้ดัชนีผลสัมฤทธิ์ ทางเทคโนโลยีของสํานักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นเครื่องมือประเมินวัด 2. เพิ่มจํานวนแรงงานความรู้ของประเทศจากประมาณร้อยละ 12 ของแรงงานทั้งหมดให้เป็นร้อยละ 30 ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยของแรงงานความรู้ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) ใน พ.ศ. 2544 ตามสถิติ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) 3. พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเพิ่มสัดส่วนของมูลค่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ความรู้เป็น พื้นฐานให้มีมูลค่าถึงร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) จากวิสัยทัศน์และนโยบายดังกล่าว นําไปสู่การกําหนดกลยุทธ์การพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ สําคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e – Government) 2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e – Commerce) 3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e – Industry) 4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e – Education) 5. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e – Society)